ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ตาลยอดด้วน

๔ พ.ค. ๒๕๕๘

ตาลยอดด้วน

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่องกราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพ

เรื่องปาราชิก รบกวนถามนิดหนึ่งนะครับ พวกที่ปาราชิกสึกออกมาเป็นบรรพชิตสามารถบรรลุมรรคผลได้ไหมครับ สงสัยนะครับ พอดีไปอ่านที่เขาเอาลงไว้ อ้างจากพระไตรปิฎกบอกว่า ถ้าสึกออกไปก็สามารถได้มรรค โสดา จนถึงอนาคามี แต่ไม่ถึงพระอรหันต์ ไม่รู้ข้อส่วนนี้จริงหรือไม่ครับ

ตอบ : แล้วเขาก็ยกมาเป็นพระไตรปิฎก เราไม่อ่านถึง เพราะถ้าอ่านแล้วเดี๋ยวมันจะเป็นประเด็นขึ้นมาตอนหลังไง คือประเด็นตอนหลังก็ประเด็นที่ว่าเราพูดไปแล้วคนก็จะมาอ้างอิงว่าหลวงพ่อพูดไว้อย่างนั้น หลวงพ่อพูดไว้อย่างนั้นแล้วเวลาภาวนากันแล้ว เวลาผิดถูกก็ไปเถียงกัน เถียงไม่จบก็หลวงพ่อว่าอย่างนั้นจะเอาหลวงพ่อเป็นกรรมการเรื่อยเลย

ฉะนั้น เราเอาความจริงก่อน

ความจริง เห็นไหม ดูสิ ปาราชิก เวลาพูดถึงปาราชิก ปาราชิก ภิกษุณีปาราชิก ๑๓ มั้ง แล้วสังฆาทิเสส ๒๐ กว่า จำไม่ได้แม่น แต่ปาราชิกของภิกษุณี ๑๓ ของพระ ฉะนั้น เวลาวินัยของภิกษุณีมากกว่าของภิกษุ มัน ๓๐๐ กว่าข้อ เฉพาะในปาฏิโมกข์นะ แต่ของพระ ๒๒๗ แต่เวลาพูดถึงธรรมวินัย ๒๑,๐๐๐ วินัยของพระ ๒๑,๐๐๐ แต่มันมานอกปาฏิโมกข์ไง แต่ถ้ามาในปาฏิโมกข์ มันมีปาราชิก

ถ้าปาราชิก เราเอาตรงตัวเลย ปาราชิกคือเวลาปฏิบัติเป็นปาราชิกขึ้นมาแล้วเหมือนตาลยอดด้วน ถ้าตาลยอดด้วน มันปิดกั้นมรรคผล มันทำแล้วมันจะไม่สมมรรคสมผล ถ้าไม่สมมรรคสมผล มันเป็นอาบัติปาราชิกนะ ปาราชิกที่เราเป็นปาราชิกแล้วเราเก็บไว้ในใจ เราไม่บอกใคร เราก็ยังครองสมณเพศอยู่ แต่มันก็เป็นตาลยอดด้วน ตาลยอดด้วนคือปฏิบัติแล้วมันจะไม่ได้ผล ถ้าเป็นปาราชิก แล้วปาราชิกแล้วเขาสึกออกไป เขาสึกออกไป เขาบอกว่า สึกออกไปแล้วถ้าไปบวชเณรหรือเป็นฆราวาส เวลาประพฤติปฏิบัติแล้วมันจะได้มรรคได้ผล

ถ้าคำว่าได้มรรคได้ผลสิ่งนี้ในพระไตรปิฎกที่ศึกษากันมาด้วยความเชื่อของเถรวาท ถ้าเป็นปาราชิกถือว่าเป็นตาลยอดด้วน คือปฏิบัติไปแล้วมันจะเข้าไม่ถึงมรรคถึงผล แต่ถ้าสึกออกไปแล้วเขาบอกว่า ถ้าสึกออกไปแล้วจะไม่ปิดกั้นสวรรค์ ถ้าสึกออกไปแล้ว ถ้าทำคุณงามความดีก็เป็นความดีของเพศฆราวาสไง

แต่ถ้าเป็นปาราชิก ปาราชิกเพราะมันเป็นอาบัติหนัก มันเป็นอาบัติโดยอัตโนมัติ มันเป็นเลย พอมันเป็นเลย มันตาลยอดด้วน ตาลยอดด้วนมันทำไปแล้วมันไม่ได้ผล ถ้ามันไม่ได้ผล ทีนี้พูดถึงเป็นปาราชิกนะ

ดูพระสุทินสิ พระสุทินเวลาบวชมา เป็นลูกชายคนเดียว ทีนี้เวลาบวชมาแล้วพ่อแม่ต้องการผู้สืบทอดมรดกไง ก็มาอ้อนวอนขอ ตอนนั้นพระพุทธเจ้ายังไม่ได้บัญญัติไง พอยังไม่บัญญัติ พระสุทินก็ไม่มีข้อห้าม ยังไม่มีกฎหมาย พระสุทินก็ด้วยความซื่อนะ เขาเป็นคนดี ด้วยความซื่อ ด้วยพ่อแม่ใช่ไหม พ่อแม่ญาติมาขอร้องมาอ้อนวอนประจำ บวชเป็นพระแล้ว ตอนนั้นยังไม่สำเร็จมรรคผล ยังไม่สำเร็จมรรคผลหรอก ก็มีเพศสัมพันธ์แล้วออกลูกด้วย ชื่อไอ้พืช สุดท้ายแล้วมาบวชพระเหมือนกัน

ตอนนั้นพอเป็นอาบัติไปแล้ว ด้วยความสำนึกไง ด้วยความสำนึกมันก็มีความซูบซีด ร่างกายก็ซูบซีด พระอยู่ด้วยกันเขาจะรู้ เพราะอย่างเรามีทุกข์อมทุกข์ คนข้างเคียงจะรู้ ก็ถาม ถามก็เล่าให้ฟัง โอ้โฮ! พระก็ตะลึงเลย พอตะลึงก็ไปฟ้องพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าก็เรียกมาสุทิน เธอทำอย่างนั้นหรือ

ครับ เพราะผมไม่รู้ครับ ผมก็ทำไป

เธอไม่ควรทำ

ความเป็นพรหมจรรย์ก็รู้แล้วว่ามันทำไม่ได้ แต่เพียงแต่พระพุทธเจ้ายังไม่บัญญัติ ทีนี้พอไม่บัญญัติปั๊บ พอไม่บัญญัติ ไม่มีกฎหมาย ถ้าไม่มีกฎหมาย พระสุทินก็ไม่เป็นอาบัติไง พอไม่เป็นอาบัติ ก็ติเตียนพระสุทิน เอาพระสุทินเป็นเหตุ ถึงได้บัญญัติปาราชิกข้อนี้ไง ข้อเสพเมถุน แต่พระสุทินไม่เป็นอาบัติ

ทีนี้เราบอกว่าเวลาเป็น มันเป็นในเพศ เป็นเลย แต่ถ้าเวลาที่ยังไม่บัญญัติ มันก็ไม่เป็น พอไม่เป็น นี่พูดถึงเวลาคนเป็นเขาบอก เวลาคนเป็น เรื่องปาราชิกแล้ว ถ้าสึกออกไปแล้ว ถ้าสึกออกไปแล้ว ไปบวชสามเณรต่างๆ จะได้โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสิ่งนั้น แต่ในความเชื่อของเถรวาทเรา เขาบอกว่าไม่ปิดกั้นสวรรค์ ไม่ปิดกั้นพรหม ไม่ปิดกั้นคุณงามความดี ความดี เวลาสึกไปแล้ว เพราะเวลาทำผิดแล้วมันสำนึกได้ สำนึกได้ก็ไปทำอย่างอื่นต่อ

แต่ถ้าพูดถึงเขาบอกว่า แล้วถ้าเขาเชื่อกันว่าถ้าสึกไปแล้วจะสามารถได้โสดาปัตติมรรค

อันนี้เราเอาต้นเหตุดีกว่า เอาต้นเหตุว่าถ้ามันปิดกั้นมรรคผลอย่างนั้น ถ้าเราไปปฏิบัติ เพราะคนเรานะ ถ้าจิตใจมันใฝ่ทำคุณงามความดี ถ้ามันมีความผิดพลาดไปแล้ว แต่สิ่งใดเราผิดไปแล้ว เขาปฏิบัติแล้วได้ผลไม่ได้ผลนั่นอีกเรื่องหนึ่งแล้ว แต่ถ้าให้มาบอกว่าต้องเป็นอย่างนั้นๆ พอเป็นแล้วมันเป็นประเด็นไง มันเป็นประเด็นว่าจะต้องเถียงกัน จะต้องว่ากันไปอีกยาวเลย อันนี้มันเป็นปัญหาของทางทฤษฎี มันเป็นปัญหาของความเชื่อ

แต่ถ้าความจริง ความจริงกรณีนี้เราพูดถึงพระฉันนะ พระฉันนะเป็นคนเอาพระพุทธเจ้าออกบวช แล้วถือตัวถือตนมาก คนเราออกบวชนะ ยังมีกิเลสอยู่ก็อ้างไปหมด เวลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่ไหนจะไปนั่งหน้ากุฏิ ใครจะเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าต้องผ่านพระฉันนะก่อน ทีนี้พระพุทธเจ้า ธรรมดาคนมีบุญคุณก็พูดไม่ออกไง

นี่พระพุทธเจ้านะ เดี๋ยวจะว่าเอาพระพุทธเจ้ามานินทาแล้ว

พระพุทธเจ้าท่านมีคุณธรรมในใจ ท่านสำนึกบุญคุณของคน แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานได้สั่งพระอานนท์ไว้ เพราะรู้เลยว่ามันจะเป็นปัญหาไปอนาคตอานนท์ ถ้าเราตายไปแล้วนะ พระฉันนะนี่ให้ลงพรหมทัณฑ์

พรหมทัณฑ์ก็สังฆาทิเสส ให้ลงพรหมทัณฑ์นะ ให้ลงพรหมทัณฑ์เลย เพราะว่าอย่าให้พระพูดคุยด้วย อย่าให้ใครเขาสังฆกรรมด้วย ถ้าเป็นปาราชิก เป็นสังฆาทิเสส เขาไม่ให้ร่วมสังฆกรรม ไม่ให้สามีจิกรรม เพราะมันไม่เป็นปกตัตตะภิกษุ ต้องลดชั้นไป จะมาร่วมสังฆกรรมไม่ได้

ทีนี้พอลงพรหมทัณฑ์ สมัยนั้นพระฉันนะเป็นคนที่อวดตัวอยู่แล้ว พอลงพรหมทัณฑ์ก็เสียใจมาก ลงพรหมทัณฑ์คือห้ามคนไปคุยด้วย ถ้าภาษาเราก็ตัดญาติขาดมิตรไม่ให้ยุ่งกับสงฆ์ เสียใจมาก

เพราะคนเรามัน โอ้โฮ! เชิดหน้าชูตานะ จะเหยียบย่ำเขาไปหมดเลย สุดท้ายสงฆ์ทั้งหมดคว่ำบาตร ทุกข์มาก เข้าป่าไปเลย คนเรานี่นะ มันสุดโต่งข้างหนึ่งใช่ไหม พอเข้าป่าก็ไปปฏิบัติเต็มที่เลย

พอปฏิบัติเต็มที่ พอบรรลุธรรม พอบรรลุธรรมขึ้นมา โอ้โฮ! มันสำนึกได้นะ เพราะเขาสร้างคุณงามความดีนะ ก็เป็นคนควบม้า พระฉันนะเป็นคนควบม้า ม้าที่พาพระพุทธเจ้าออกบวช เขาก็คิดว่าเพราะเขาเป็นคนทำให้เกิดพระพุทธเจ้า ฉะนั้น ใครจะหาพระพุทธเจ้าต้องผ่านฉันก่อนๆ มีปัญหาไปหมด

แต่พอพระพุทธเจ้าจะนิพพานก็สั่งไว้เลย พอสั่งไว้เลย พระอานนท์ก็บอกว่าพระพุทธเจ้าสั่งไว้ให้สงฆ์ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ พอลงพรหมทัณฑ์ เขาเสียใจ เขาเข้าป่าไปปฏิบัติ พอปฏิบัติจบ กลับมา สำนึกได้ ทีนี้เป็นคนดีแล้ว พอบรรลุธรรมแล้วเป็นคนดีเลย

พอคนดีแล้ว ตอนแรกลงพรหมทัณฑ์ ไม่ยอม ถ้าลงพรหมทัณฑ์นะ ลงพรหมทัณฑ์ปั๊บ ถ้าเขาจะแก้ก็ต้องแก้นิสัยไง ต้องแก้นิสัย ต้องขอขมาต่อสงฆ์ ตอนนั้นไม่ยอม แต่พอไปบรรลุธรรมขึ้นมา กลับมาขอพระอานนท์เองเลยนะ บอกว่าจะมาขอขมาสงฆ์ ที่ทำไปรู้ว่าผิด สำนึก

พระอานนท์บอกว่าจะขอขมาอะไรล่ะ ในเมื่อบรรลุธรรมก็จบแล้ว คืออาบัติมันก็ตกไปหมด นี้อยู่ในพระไตรปิฎก

ทีนี้ใครจะมีบุญเหมือนพระฉันนะที่ได้พาพระพุทธเจ้าออกบวชล่ะ ใครจะสร้างคุณงามความดีไว้ศาสนาล่ะ เพราะเราจะบอกว่า ถ้าจะบรรลุธรรม จะมีคุณงามความดี มันต้องมีอำนาจวาสนาบารมี คือเราต้องทำความดีมา ความดีมันรับกับความดีไง เราสร้างคุณงามความดีมาแล้วมาปฏิบัติคุณงามความดีต่อเนื่อง เราก็จะมีคุณธรรมในใจไง

เราเคยสร้างมา ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่สร้าง เราไม่ได้มาเกิดเป็นมนุษย์อยู่นี่หรอก เราก็สร้างของเรามา แต่เราสร้างของเรามา เราจะมาทำต่อเนื่อง เหมือนเราทุนน้อย เราสายป่านสั้น เราสู้คนสายป่านยาวไม่ไหวหรอก คนสายป่านยาว โอ๋ย! มันทุ่มเทเนาะ เราหงายท้องเลย สายป่านเรามีเท่านี้

นี่ก็เหมือนกัน พอเรามาเกิดเป็นมนุษย์ เรามาปฏิบัติ เราก็พยายามทุ่มเทของเรานี่แหละ เราสายป่านสั้น เราก็ธุรกิจเล็กๆ หลบๆ หลีกๆ เอา ไอ้สายป่านยาวก็ให้มันเต็มที่มันไปเลย ถ้าเราคิดได้อย่างนี้ เห็นไหม มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นเรื่องคุณธรรม เรื่องสัจธรรมตามความเป็นจริง

แต่ถ้าบอกว่ามันจะเป็นอย่างนั้นๆ ปั๊บ มันจะเป็นประเด็น พอเป็นประเด็นไปแล้ว เพราะตอนนี้มันมีปัญหาที่เวลาภาวนาไปแล้วต่างคนก็ว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิด อีกฝ่ายหนึ่งถูก

จะผิดจะถูก เห็นไหม ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่มีขัดมีแย้งในตัวมันเอง ถ้ามีขัดมีแย้งในตัวมันเองแสดงว่าต้องมีอันใดอันหนึ่งผิด

ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันไม่มีขัดไม่มีแย้งกันเลย มันจะขึ้นมาเป็นชั้นๆๆ ขึ้นมาเลย แต่เวลาเราพูดไป เวลาคนเขาไปนินทาข้างหลัง จะว่าเขานินทาต่อหน้า เดี๋ยวจะหาว่าเกินไป

เขาไปนินทากันข้างหลัง แล้วข้างหลังก็จะมาเล่าให้เราฟังไง บอกว่าคนที่มาฟังเทศน์หลวงพ่อแล้วบอกว่าหลวงพ่อพูดวนไปเวียนมา วกๆ วนๆ อยู่นั่นน่ะ

แต่ธรรมดาความรู้สึกของเรานะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีขัดไม่มีแย้ง มันจะส่งมันจะเสริมกันเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา แต่เวลาเขาไปฟังแล้ว โสดาปัตติมรรค แล้วเดี๋ยวก็สกิทาคามิมรรค แล้วอนาคามิมรรค อรหัตตมรรค เขาถือว่าเป็นมรรคอันเดียวกันไง เขาคิดว่าพูดว่ามรรคแล้วก็ควรจะจบ ทำไมมรรคแล้วมรรคเล่า วนแล้ววนเล่า ทำไมพูดวกๆ วนๆ นี่ความเห็นเขาไง แล้วเขาก็ไปนินทากัน แล้วก็มาเข้าหูเราจนได้ มันก็เข้ามาหูนี่

ฉะนั้น มาเข้าหูเรา เราก็ อืม! มันสังเวชไง สังเวชว่าคนเขาฟังเขาไม่เข้าใจ ไอ้เรานี่ เราพูดมรรค ผล มรรค ผล มันก็ระดับชั้นของมัน มันต้องยกขึ้นทีละชั้นๆ ทีนี้มรรค ผล ชื่อของมัน โสดาปัตติมรรค มันก็บอกอยู่แล้ว สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค

แต่เขาฟังคำว่ามรรคๆๆเขาก็เลยว่าเป็นมรรคอันเดียวกันไง มรรคอันเดียวกันแล้วหลวงพ่อก็จะพูดวนๆ อยู่นั่นน่ะ ฟังแล้วน่าเบื่อ น่าเบื่อ

ฉะนั้น ถ้าน่าเบื่อก็ไปฟังเพลง ไปฟังการละเล่นฟ้อนรำสนุกของมัน มันฟังเทศน์แล้วมันเบื่อ นี่มันไม่เข้าใจไง

แต่ถ้ามันเข้าใจ เราถึงบอกว่า เวลาพูดถึงธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่มีขัดไม่มีแย้งกัน มันจะไหลลื่นไป แล้วมันจะยกระดับขึ้นไปเหมือนระดับน้ำเลย ยกสูงขึ้นๆๆ ไปเลย

แต่พวกเรามันไม่รู้ ไม่รู้ก็ไม่เข้าใจ พอไม่เข้าใจ ฟังแล้วก็ยิ่งไม่เข้าใจ เพราะใจเราไม่เข้าใจอยู่แล้ว เวลาธรรมะเข้ามามันยิ่งงงเข้าไปใหญ่ แต่ถ้าเราปรับพื้นฐานของเรานะ ถ้าเราเข้าใจนะ ธรรมะเข้ามานะ อืม!

จริงๆ เราฟังเทศน์ครูบาอาจารย์นะ ถ้าองค์ไหนเป็นของจริงนะ เราฟังเสียงธรรมเปิดไว้ทั้งวัน ถ้าครูบาอาจารย์ที่ใช่นะ ใช่ ใช่เลย ถ้าที่ไม่ใช่นะ ฟังอย่างไรก็ไม่ใช่ ฟังอย่างไรก็ขัดแย้ง มันขัดมันแย้งกันน่ะ มันขัดมันแย้ง มันเป็นไปไม่ได้ มันขวาง มันขวางนะ

จะเข้าประตู มันแบกเสาเข้ามาเลย แล้วขวางไปเลย จะเข้าประตู ประตู ถ้าเอ็งทำเสาไปทางนอนก็ยังเข้าไม่ได้เพราะมันยาว นี่ขวางไปเลย แล้วก็บอกว่าเข้าประตู แล้วก็เข้าไปแล้วก็เข้าไปในห้อง แล้วเสาที่เอ็งแบกอยู่ไปไหนล่ะ มันไปได้อย่างไรล่ะ มันติดอยู่ มันไปไม่ได้หรอก ถ้าพูดถึงถ้ามันขัดมันแย้งมันเป็นอย่างนั้น แต่ถ้ามันถูกต้องนะ

นี่พูดถึงว่าเขาถามมาเรื่องปาราชิก ทีนี้คำว่าปาราชิกมันน่าเห็นใจนะ มันน่าเห็นใจนะ ปาราชิกข้ออวดอุตตริ เราอยู่ในวงการปฏิบัติ ถ้าอยู่ในวงการปฏิบัติ เวลาพระเรา เขาไม่ได้อวด บางทีเวลาเราคุยกันเรื่องแบบว่าประสบการณ์ คืออยากรู้ บางทีเราเข้าใจผิดหรือเราปฏิบัติไปแล้วมันมีความเห็น เขาจะมาคุยกัน มาคุยกัน มาปรับ คือว่าเวลาเราสู้ตัวเองไม่ได้ เราสู้ความหลอกของกิเลสไม่ได้ เราสู้ไม่ได้ เวลาเราออกมาเจอพระหรือเจอครูบาอาจารย์ เราก็จะถาม เราก็จะตอบ

ไอ้ถามตอบ บางทีพอถามตอบมันก็จบไง ทีนี้กิเลสมันไม่จบน่ะสิ พอถามตอบเสร็จแล้วมันกลับไปทางจงกรม เอ๊! เราโกหกเขาหรือเปล่า เราพูดอวดอุตตริหรือเปล่า เราพูดมากเกินไปหรือเปล่า

เวลาพูดธรรมะกันไปแล้ว เวลากลับไปทางจงกรมมันจะไปวิตกวิจารณ์แล้ว เราอวดอุตตริหรือเปล่า ในวงกรรมฐานมันมีกรณีขึ้นมาอย่างนี้หลายกรณี เวลาพูดธรรมะกันไง เราพูดธรรมะ เราก็พูดธรรมะ ธมฺมสากจฺฉา อุปสัมบัน อนุปสัมบัน เรามีธรรมอยู่นี่ อุปสัมบันก็ไม่เป็นอาบัติ เรามีของเราอยู่จริง แต่อนุปสัมบันก็เป็นปาจิตตีย์ เพราะพระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ให้อวดไง ใครมีความดีก็เก็บความดีไว้ในใจ อย่าไปอวดเขา แต่ถ้ามีใครสนใจ มีใครมาถามปัญหา เราค่อยสอนเขา

พระพุทธเจ้าไม่ให้อวด ให้เก็บไว้ คือว่าเหมือนกับเราดีคมในฝัก พระพุทธเจ้าต้องการให้คมในฝัก อย่าเอามีดไปบาดใคร อย่าถือมีดเที่ยวไปโชว์ไปเบียดเบียนใคร ให้คมในฝัก

ฉะนั้น เวลาเราพูดกัน เราพูดธรรมะกันมันก็จบ แต่กิเลสมันไม่จบ มันพูดเสร็จแล้วมันจะไปวิตกวิจารณ์ทีหลังว่า เอ๊! เราเป็นปาราชิกหรือเปล่า เราอวดอุตตริหรือเปล่า พออวดอุตตริปั๊บ มันก็จะมีปัญหา มีปัญหา ครูบาอาจารย์เราหลายๆ องค์เลย ถ้ามีความคิดอย่างนี้ ท่านจะตั้งสัจจะเลย ถ้ามันอวดอุตตริ ถ้าขาดจากความเป็นพระ คืนนี้นั่งภาวนาแล้วขอให้มันไม่ได้สิ่งใด แต่ถ้าคืนนี้นั่งแล้ว จิตมันเป็นสมาธิได้ มันมีปัญญาเกิดขึ้นได้ เราจะไม่เป็นไรเลย แล้วท่านเสี่ยงทายแล้วนั่งลง บางองค์นั่งไปสว่างโพลงหมดเลย จบ

กรณีอย่างนี้มันยังมีนะ ขนาดเราปรารถนาดี แต่กิเลสของเราเองมันยังหลอกลวงเลย มันยังทำให้เราไขว้เขวเลย แล้วนี่คือนิวรณธรรม ทำให้เราสงสัยไง เวลาปฏิบัติ ไม่ต้องมีอะไร กูก็สงสัยแย่อยู่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรเลย มันก็จะดำน้ำไปไม่โผล่อยู่นี่ บุ๋มๆๆ ดำน้ำไปเรื่อย มันยังไม่โผล่ขึ้นมาเลย แล้วพอมันมีอะไรเป็นประเด็นขึ้นมา โอ้โฮ! กิเลสมันเอามาอ้างเลย นี่พูดถึงว่าในวงปฏิบัติ ในวงปฏิบัติเรื่องอย่างนี้มันลึกลับซับซ้อน

ทั้งๆ ที่ไม่มีเจตนา ไม่ได้ตั้งใจอะไร คุยธรรมะกัน เวลาคุยธรรมะกัน คุยธรรมะ เวลาครูบาอาจารย์เราท่านปฏิบัตินะ ต่างคนต่างไปเที่ยวป่ามา ต่างคนต่างปฏิบัติมา แล้วอย่างเราไม่ได้สมาธิ เราก็อยากมีช่องทางใช่ไหม เราไม่เคย ธรรมดาเราก็อยากมีช่องทางใช่ไหม

เวลาครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติมา ดูสิ เวลาหลวงตาท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น เวลามีใครมาถามปัญหาหลวงปู่มั่น หลวงตาท่านเป็นคนอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นอยู่ ท่านได้ฟังหมดแหละ เสร็จแล้วพอผู้ถามกลับไปแล้ว ท่านจะไปถามหลวงปู่มั่นต่อเลย ไอ้ที่เขาว่าอย่างนั้นมันคืออะไร ไอ้ที่ว่าอย่างนี้คืออะไร

เพราะหลวงปู่มั่นท่านรู้รอบ ใครปฏิบัติแล้วมันติดขัดจะมาหาหลวงปู่มั่น แล้วถ้าใครมา หลวงตาท่านเป็นผู้ที่มีปัญญา ผู้ที่มีปัญญาท่านจะได้ประโยชน์ตลอด ผู้ที่มีปัญญานะ

ครูบาอาจารย์แต่ละองค์นะ ต้องสร้างบุญญาธิการมา เพราะว่ากึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านมาเป็นผู้รื้อฟื้นรื้อค้นขึ้นมา แล้วท่านเทศนาว่าการไป หลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว หลวงปู่พรหม หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่สิม เวลาท่านนิพพานไปแล้วมันเหมือนกัน

เรายกตัวอย่าง ตัวอย่างหนึ่งเราได้ยินมา ในหลวงท่านชื่นชมหลวงปู่ฝั้น เพราะหลวงปู่ฝั้นท่านแก้ปัญหาในใจของท่านได้ แล้วท่านก็อยากจะไปหาพระทั้งหมด ทีนี้ท่านไม่มีโอกาสได้ไปสัมผัส ท่านก็กลัวว่าไปแล้วมันอาจจะเวลาไม่พอ อาจจะเป็นอุปสรรคได้ ก็ให้ดอกเตอร์เชาวน์เป็นคนเล่า

ดอกเตอร์เชาวน์บอกว่าในหลวงสั่งให้ดอกเตอร์เชาวน์ไปหาพระองค์นั้นๆ ดอกเตอร์เชาวน์ก็ไปหมด ครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียง ดอกเตอร์เชาวน์ไปสัมผัสมาหมด ไปเก็บข้อมูลไปให้ในหลวง แล้วไปสรุปให้ในหลวงฟังว่า ส่วนใหญ่แล้วพูด นิสัยใจคอมันก็แตกต่างกันไป แต่สรุปลงแล้วจะเป็นธรรมอันเดียวกันหมด ไปรายงานในหลวง แล้วในหลวงถึงได้ว่า

ในหลวงที่จะไปหาครูบาอาจารย์ของเราสมัยก่อนนั้นน่ะ เมื่อก่อนท่านให้ดอกเตอร์เชาวน์ไปเซอร์เวย์ก่อน ไปสัมผัสก่อน แล้วเวลาสัมผัสแล้วเป็นอย่างไร แล้วดอกเตอร์เชาวน์ถึงไปรายงานให้ในหลวง ในหลวงท่านถึงไปเป็นการส่วนพระองค์ ท่านไม่ไปในนามพิธีการ เพราะว่าในนามพิธีการมันขัดแย้งกับความเป็นอยู่ของพระกรรมฐาน พระกรรมฐานต้องการความสงบสงัด แล้วถ้าเป็นพิธีการแล้วต้องไปบุกเบิก ไปถางทาง ไปสร้างถนนหนทาง แล้วมันเป็นภาระของพระกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นธรรมนะ แล้วผู้ที่จะเข้าแสวงหาธรรม ท่านเห็นอกเห็นใจกัน ท่านไปในทางเดียวกัน นี่เขาทำกันอย่างนั้น

นี่พูดถึงว่าอยู่ในเวลาที่ว่าจะมีอำนาจวาสนา ครูบาอาจารย์เราท่านปฏิบัติมาแต่ละองค์ต้องมีอำนาจวาสนา ถ้าไม่มีอำนาจวาสนา มันจะบรรลุธรรมขึ้นมาอย่างนี้ยากนะ เพราะอะไร เพราะเวลาเราดูในชาติปัจจุบันนี้ ในชาติปัจจุบันทุกคนดูเกิดมา ฉันมีเงินอยู่พันล้าน ฉันสละหมดเลย ฉันไปบวช ฉันจะเป็นพระอรหันต์ ภาวนาเกือบตาย ไม่ได้อะไร มันห่วงพันล้านนั้นน่ะ เพราะเราไปดูสถานะปัจจุบันนี้ไง เราไปดูสถานะชาติปัจจุบันนี้ เราไม่ดูสถานะว่าพันธุกรรมของจิตมันได้ตัดแต่งมาตั้งแต่เมื่อไหร่

ถ้าพันธุกรรมของจิตมันตัดแต่งมาดีนะ ดูสิ เด็กตัวเล็กตัวน้อยมันจะมีความคิดดีๆ เด็กตัวเล็กตัวน้อยมันจะคิดถึงพ่อถึงแม่มัน เด็กตัวเล็กตัวน้อยมันจะขวนขวายของมัน เรามีลูกมีเต้าขึ้นมา อู๋ย! ลูกเรา เราถนอมรักษาขนาดไหน มันงอแง มันจะเอาแต่ใจมัน นี่เพราะจิต ความคิดในหัวใจมันติดกับจิตนั้นมา

ครูบาอาจารย์ของเราแต่ละองค์นะ นี่เวลาอยู่ในวงการของเรา เขาบอกเลยนะ ครูบาอาจารย์ของเราทำไมท่านเป็นชาวนา ท่านเกิดอยู่ชายขอบของสังคม

มันไปมองศักยภาพของการเกิดชาตินี้ไงว่าเกิดมาต้องมีศักยภาพมาก โอ๋ย! คนมีบารมีมาก เกิดมาคาบช้อนเงินช้อนทองมาเลย ไอ้พวกนั้นไม่ได้บวชหรอก เพราะพ่อแม่มันไม่ให้บวช มันคาบช้อนเงินช้อนทองมา มันต้องอยู่เฝ้าช้อนเงินช้อนทองมัน ไอ้พวกเราเกิดอยู่ชายทุ่ง พ่อแม่ไม่มีจะกินนู่นน่ะ ไม่ได้เลี้ยงมาเลย

โอ๋ย! พ่อแม่มันให้บวช มันเปิดโอกาสบวชมาตั้งแต่ต้นเลย เป็นเด็ก ขวบ ขวบ พ่อแม่พาเข้าวัดแล้ว โตขึ้นมาหน่อย มันไปอยู่วัดแล้ว อยู่วัดแล้วไปเจอครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ดัดนิสัยมา พอโตขึ้นมาหน่อยก็บวชเณร บวชเณรก็ออกปฏิบัติมา เป็นพระอรหันต์หมดเลย

ไอ้ช้อนเงินช้อนทองมานี่ มันกลัวช้อนเงินช้อนทองมันหาย มันเฝ้าช้อนเงินช้อนทองนั่นน่ะ มันไม่ได้บวช

โลกกับธรรมมันกลับกันอย่างนี้ ธรรมก็เห็นว่า ปัจจุบันนี้เกิดมาชาตินี้ อู๋ย! มั่งมีศรีสุข อู๋ย! คนมีวาสนา ไอ้พวกนี้พวกภารโรง มันมาเฝ้าทรัพย์สมบัติ ไอ้อยู่ทุ่งนาไม่มีจะกินนั่นน่ะ อู้ฮู! พ่อแม่ปู่ย่าตายายพาเข้าวัด มันความคิดกับโลกมันแตกต่างกันอย่างนี้ไง ถ้าเป็นธรรมๆ มันจะเป็นประโยชน์นะ ถ้าเป็นประโยชน์ นี่พูดถึงทางโลก ทางโลกมองกันอย่างนั้น

ทีนี้มันเป็นประเด็นไง กรณีของเรา เราก็บอกว่า พระฉันนะท่านก็รอดพ้นมาได้ ฉะนั้น จะพูดอย่างนั้นไปแล้วเราไม่เห็นด้วยที่บอกว่าพระไตรปิฎกว่าอย่างนั้นๆ แล้วเราจะยืนยันอย่างนั้นๆ ยืนยันอย่างนั้นๆ มันก็เลยบอกว่าตาลยอดด้วน

มันเป็นหลัก เราต้องถือหลักไว้ก่อน แล้วถ้าพูดถึงถ้าใครเป็นปาราชิกแล้ว เขาจะสึกออกไป เขาจะทำคุณงามความดีของเขา อันนั้นเขาไม่ปิดกั้นสวรรค์ ความดีไม่ปิดกั้นความดีอยู่แล้ว

ไอ้คำว่าปาราชิกถ้ามันผิดพลาดโดยความพลั้งเผลอ ผิดพลาดไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อันนี้น่าเห็นใจมาก แต่ถ้าคนที่มันหยาบมันดื้อด้าน เวลาอย่างนี้มันเป็นอยู่แล้ว ที่ว่าเป็นของมันอยู่ในปัจจุบันนี้ แล้วก็ยังดำรงเพศอยู่บ้าบอคอแตก อันนี้น่าเกลียด

แต่ถ้าพูดถึงว่าเขาผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไอ้เรื่องอวดอุตตริอย่างนี้ ไอ้เรื่องลักของเขา ลักเงินค่าเกินบาท บางทีไม่ได้ลัก เราอยู่ในวงการ เราเห็นอยู่ มีเพื่อนพระที่รักกันสนิทกัน เขาใช้สอยร่วมกัน พอผิดใจกันบอกว่าปาราชิก เอาเงินเขาไปใช้

อ้าว! ก็เวลาเอ็งเป็น เขาเรียกสหธรรมิก เขาว่าเป็นบัดดี้กัน เหมือนกระเป๋าเดียวกันน่ะ เวลาพระเรามีกระเป๋าเดียวกัน ใช้ร่วมกัน ไปกิจนิมนต์มานะ เราเพื่อนรักกัน เราก็เอาเงินไว้ร่วมกัน ก็ต่างคนต่างใช้ พอไม่ชอบหน้า เอ็งเอาเงินกูไปใช้ เป็นปาราชิก เห็นไหม มันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อย่างนี้ไม่ถือว่าเป็น เราไม่คิดว่าถือว่าเป็น

แต่ในวงการมันมี พระก็มาจากคน มันมีความคิดหลากหลาย ความคิดนี้ร้อยแปด แล้วความคิดอย่างนั้นถ้ามันมีสัตย์ เราเอาตามสัตย์นั้น ถ้าตามสัตย์นั้น อย่างที่ว่านี่ เราถือว่าไม่เป็น ถ้าไม่เป็น อยากรู้ใช่ไหม อยากรู้ก็นั่งสมาธิทั้งคืนเลย ดูซิมันจะจบไหม ถ้าจบก็แสดงว่าไม่เป็น นี่พูดถึงเราคุยกันในวงกรรมฐาน เราคุยกันในวงการพระที่ซื่อสัตย์ มีสัจจะ ถ้ามีสัจจะเป็นอย่างนี้

แต่ถ้าโดยทั่วไปเขาไม่มีสัตย์ หน้าไหว้หลังหลอก ทำอะไรก็ไม่รู้เพื่อให้คนชอบใจเท่านั้น ไม่รู้ว่าเป็นพระอย่างไร ไอ้อย่างนั้นเราไม่พูดถึง

ฉะนั้น ทีนี้เขาบอกว่าเขาสงสัย คำถามไง สงสัยว่า ถ้าเป็นปาราชิกแล้ว สึกออกไปแล้วมันจะได้มรรคได้ผลไหม

ถ้าสึกออกไปแล้วนะ เรื่องของเขา ทีนี้เพียงแต่ว่าเราเอาหลัก โดยหลัก ถ้าภิกษุเราอ่อนด้อย ขาดสติ ทำให้ตัวเองถึงกับปาราชิกไปหรือว่าตาลยอดด้วน เพราะว่าเราไม่มีครูบาอาจารย์ที่ดี เราไม่มีหมู่คณะที่ดีคอยชักนำกัน ไอ้อย่างนั้นมันก็เป็นเวรเป็นกรรม แล้วถ้ามันเป็นเวรกรรมโดยที่ว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ สึกออกไปแล้ว หรือจะไปทำประโยชน์นั่นอีกเรื่องหนึ่ง อันนี้เราถือโดยหลัก แต่ไม่เอาข้อด้อยที่ว่าถ้าออกไปแล้วจะเป็นอย่างนั้นๆ...เอาข้อหลัก เอาข้อหลัก คำว่าปาราชิกจบ

ถาม : เรื่องการทำสมาธิ

ฝึกฝนทำสมาธิ ดูลมหายใจเข้าออก เมื่อดูลมหายใจไประยะหนึ่งแล้วประมาณ - นาที มีความรู้สึกเหมือนดิ่งลงไปในความสงบมากขึ้น ซึ่งตามความรู้สึกในขณะนั้นคิดว่าน่าจะดิ่งลงไปได้มากกว่านั้น แต่ในความเป็นจริงคือเมื่อดิ่งลงระยะหนึ่งที่รู้สึกได้ แทนที่จิตมันจะต่อเนื่องลงไป มันกลับมาดูลมหายใจเองทุกครั้ง ทำให้เหมือนกลับมาเริ่มต้นทำสมาธิใหม่ เป็นแบบนี้มานานนับเดือนแล้ว ประเด็นที่ผมขอกราบนมัสการขอคำชี้นำจากหลวงพ่อคือ

. การที่มันกลับมาดูลมหายใจใหม่ มันต้องแก้ที่จุดนี้หรือไม่ เพื่อให้จิตมันดิ่งลงไปอีก หรือผมเข้าใจเอาเองว่าถ้ายิ่งดิ่งลงไปนานเท่าไร ความสงบจะมากขึ้นเท่านั้น

. หรือว่าผมไม่ต้องสนใจการดิ่ง มันจะดิ่ง มันจะกลับมาดูลมอย่างไรให้รู้อยู่อย่างเดียว ขอบคุณเมตตาหลวงพ่อ

ตอบ : ไอ้กรณีที่มันไม่เคยดิ่งเลย เราก็ไม่ได้สัมผัสสิ่งใดเลย แต่เวลาพอมันจะดิ่ง เวลากรณีมันจะดิ่ง ที่ว่าจิตมันจะสงบ ถ้าจิตมันสงบมันจะมีอาการของมัน อาการของมัน เห็นไหม ดูสิ อุณหภูมิมันทำให้น้ำเดือดได้ น้ำธรรมดาเวลาด้วยอุณหภูมิ ด้วยความร้อน ทำให้จุดเดือด น้ำก็เดือด

นี่ก็เหมือนกัน เราทำสมาธิพุทโธๆๆ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าได้จุดสมดุลของมัน มันก็จะเป็นสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิขึ้นมา แต่ทีนี้เวลาจิตที่มันจะเป็นสมาธิ ดูสิ จากน้ำปกติมันจะเดือด มันต้องมีอุณหภูมิความร้อน

จิตของเราถ้ามันจะเป็นสมาธิ ถ้าคนที่มีอาการวูบ อาการที่มันลงไป มันจะมีอาการนี้เป็นการนำทาง แต่พอเป็นอาการนำทางปั๊บ อาการนั้นมันจะเดือดมันก็ไม่เดือด มันจะไม่เดือดหรือ มันก็เป็นน้ำอุ่นไปแล้ว

นี่ก็เหมือนกัน จิตมันต้องมีอาการ พอมีอาการปั๊บ มันก็จะมีอาการวูบไง ถ้ามีอาการวูบ อาการวูบถ้าคนไม่มีวาสนามันจะวูบๆๆ อยู่นั่นน่ะ แล้วถ้าอยู่กับวูบมันก็วูบไม่จบอยู่อย่างนั้นน่ะ

แต่ถ้าคนภาวนาเป็นนะ เขาจะไม่อยู่กับอาการวูบนั้น เขาจะอยู่กับพุทโธๆๆ ถ้ามันจะวูบก็ให้มันวูบไป วูบเป็นอาการ อาการเกิดจากเรากำหนดพุทโธ พุทโธคืออุณหภูมิ เรากำหนดพุทโธๆ จิตจะมีกำลังของมัน แล้วมันวูบไปๆ เห็นไหม

คนเราเวลาทำอะไร พูดถึงว่าอำนาจวาสนาบารมีอีกแหละ เวลาคนเราบางคนนะ นั่งสมาธิไปเป็นสมาธิเฉยๆ สมาธินิ่งๆ แล้วมีความสุข บางคนจะมีสมาธิ มันต้องลง มันต้องมีปีติ มันต้องมีอะไรร้อยแปด เห็นไหม อำนาจวาสนาของจิตมันไม่เหมือนกัน ถ้าไม่เหมือนกันนะ ทีนี้เวลาถ้ามันไม่เหมือนกัน เวลามันจะวูบ คนเราไม่มีอำนาจวาสนาไง มันจะวูบๆๆ อยู่อย่างนั้นน่ะ ไม่จบหรอก วูบอยู่นั่นน่ะ

แต่อันนี้เป็นอีกประเด็นหนึ่ง พอจิตมันจะวูบปั๊บ ถ้าจะตามปั๊บ มันจะเด้งกลับมา มันจะเด้งกลับมาที่ดูลมหายใจทุกทีเลย

อาการมันจะมีร้อยแปดเลย คนเราจะมีเป็นร้อยเป็นพันแบบ ถ้าเป็นร้อยเป็นพันแบบ เพราะอะไร เพราะอย่างเช่นเรากินอาหาร เราชอบรสอาหารนี้ เราชอบรสอาหารนั้น เราชอบอย่างนี้ เราชอบอย่างนั้น

อันนี้ก็เหมือนกัน ฉะนั้นว่าอาการที่มันวูบไป ด้วยความเข้าใจ ด้วยความเข้าใจเพราะก่อนผู้ที่ปฏิบัติมันก็ต้องศึกษามาแล้วใช่ไหม ถ้ามันศึกษามาแล้ว มันจะต้องดิ่งลงไป ดิ่งแล้วมันจะดีขึ้น

คำว่าดิ่งบางทีมันดิ่งก็มี บางคราวไม่ดิ่งก็มี ในใจของคนคนหนึ่งนี่แหละ เวลาบางทีมันจะดิ่ง ดิ่งเพราะอะไร ดิ่งเพราะให้ใจนั้นมีประสบการณ์ อย่างหลวงปู่มั่น ประสบการณ์ท่านเยอะมาก อย่างหลวงตาท่านติดสมาธิ ปี ใครมาพูดเรื่องนี้ท่านรู้หมด เพราะอะไร เพราะท่านติดอยู่ ปี แต่ท่านปฏิบัติ ปีจบ ปีนี้ประสบการณ์เต็มๆ เลยนะ

หลวงปู่มั่นท่านล้มลุกคลุกคลานมานะ เพราะอะไร เพราะท่านต้องหาของท่านเองไง ประสบการณ์ของจิต จิตมันหลอกอย่างไร จิตมันปลิ้นปล้อนอย่างไร จิตมันพลิกแพลงอย่างไรให้เราล้มลุกคลุกคลาน มันรู้ทันหมดล่ะ เพราะอะไร เพราะเราเคยเป็น แล้วตอนที่เป็น พอไม่รู้ ไม่รู้ก็ตามมันไป กว่าจะรู้ พอรู้แล้วต้องเอาชนะมันอีก ต้องพิจารณามันอีก โอ๋ย! มันซับมันซ้อน ไม่ใช่ว่าเราเห็นท่านทำ เราก็ทำตาม ทำตามมันสร้างภาพอย่างนั้น คนสร้างภาพก็ได้แต่ภาพ ไม่ได้อะไรหรอก

นี่ก็เหมือนกัน เพราะเราศึกษามาก บอกว่า มันจะดิ่ง มันจะวูบ เราก็คิดว่า เออ! มันต้องดิ่งก่อนเนาะ ภาวนามันต้องดิ่งก่อน แล้วพอดิ่งไปมันก็เด้งกลับมา คำว่าพอมันดิ่งแล้วเด้งกลับมาดูที่สัมมาสมาธิ ฉะนั้น ละทิ้งให้หมดเลย คือว่าเราศึกษามาเป็นแนวทาง ที่หลวงปู่มั่นบอกหลวงตา ศึกษามาจนเป็นมหานี่สุดยอดเลย ธรรมะของพระพุทธเจ้านี่สุดยอดเลย แต่เทิดใส่ศีรษะไว้ แล้วใส่ไว้ในลิ้นชักสมอง แล้วล็อกกุญแจมันไว้ อย่าให้มันออกมา แล้วปฏิบัติไป ปฏิบัติไปของเรานี่ของจริง

นี่ก็เหมือนกัน เราศึกษามานะ มันจะดิ่ง มันจะอะไร เก็บไว้ แล้วเราพุทโธของเราไป พุทโธๆ อาการที่มันเป็น มันเป็นเพราะจริตนิสัยมันมาพลิกแพลง แล้วถ้าเรายังสงสัยอยู่ก็ยังสงสัยอย่างนี้ตลอดไป

ฉะนั้น เข้าคำถามข้อที่ . การที่เราต้องกลับไปดู เวลามันดิ่งมันวูบแล้วมันกลับไปที่ลมหายใจ เราจะแก้จุดไหนเพื่อจะให้จิตมันดิ่งลงไปได้อีก หรือว่าเข้าใจเองว่ายิ่งดิ่งไปมากเท่าไรมันยิ่งมีความสงบขนาดนั้น

ไอ้กรณีนี้มันเหมือนกับกรณีที่เราเคยบอกไง เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิมา อยู่กับหลวงตามา หลวงตาท่านสอนอานาปานสติ สอนใช้ปัญญา แต่พอเรามาอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะบอกว่าไอ้หงบ กูไม่เชื่อมึงหรอก มึงต้องพุทโธอย่างเดียว

แล้วท่านก็บอกว่า เอ็งพุทโธมากๆ ขนาดไหนนะ มันจะพุทโธได้ - ชั่วโมงจะได้สมาธิ นาที ถ้าเอ็งพุทโธ ๒๐ ชั่วโมง เอ็งได้ นาที ถ้าเอ็งพุทโธ ๕๐ ชั่วโมง เอ็งจะได้ นาที

กำหนดพุทโธได้มากน้อยขนาดไหน เราฟังไว้ เราก็จะพิสูจน์ นิสัยเรานะ ครูบาอาจารย์จะสอนอะไร เราฟัง สาธุ แล้วเราจะต้องมาตรวจสอบ มาทำว่ามันจริงไม่จริง เราก็มากำหนดพุทโธแบบที่หลวงปู่เจี๊ยะสอน

หลวงปู่เจี๊ยะสอนพุทโธนะ แต่เราบวชใหม่ๆ เรายังภาวนาไม่เป็น เราก็พุทโธตั้งแต่พรรษาแรก แต่มันยังไม่ชำนาญ แล้วพอไปใช้ปัญญาอบรมสมาธิแล้วมันไปได้ไกลดีกว่า มันเลยเป็นทางถนัดของตัว ตัวเองก็เลยภาวนาก้าวหน้าไป แต่พอมาเจอหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะท่านบอกว่าให้กำหนดพุทโธ เราก็กลับมาทบทวน ทดสอบกับหลวงปู่เจี๊ยะ เพราะนั่งภาวนาด้วยกัน

หลวงปู่เจี๊ยะ ตอนสร้างวัดใหม่ๆ ท่านนั่งภาวนากับเราทุกคืน ทำวัตรเสร็จก็นั่งภาวนากัน นั่งตรงหน้ากันอย่างนี้ แล้วเรานั่งอย่างไร ท่านก็จะตรวจสอบเรา บอกไอ้หงบ มันเป็นอย่างนั้น ไอ้หงบ มันเป็นอย่างนี้เราโดนจี้ทุกคืนเลย

ฉะนั้น ท่านทำอย่างไร เราก็จะพิสูจน์กับท่าน พุทโธๆๆ เราพุทโธเป็นเดือนเลย เราไม่เอาสมาธิ ไม่เอาสมาธิเพราะว่าจะพิสูจน์กัน ฉะนั้น พอเวลามันจะเป็น ที่ว่าวูบ โอ้โฮ! มันวูบลงนะ พุทโธๆๆ ไปเถอะ เอ็งพุทโธไป แต่จิตกูจะลง กูไม่เกี่ยวกับมึง มันควงไปเต็มที่เลย

เราคงพูดบ่อยมั้ง ไอ้พวกนี้มันเลยบอกว่า ผมก็เข้าใจว่าถ้ามันดิ่งเยอะๆ แล้วมันจะได้เป็นอย่างนั้น

ไอ้ดิ่งเยอะดิ่งน้อยมันไม่สำคัญ ไอ้เพียงแต่เราจะโม้ เราจะโม้ว่ากูเคยเป็นไง แล้วพอใครฟังไปแล้วคิดว่าประตูมันจะมีประตูเดียวไง มีช่องทางเดียวไง ถ้าลงสมาธิต้องดิ่งอย่างนี้ ถ้าไม่ดิ่งอย่างนี้ ไอ้หงบมันไม่ยอมรับ ถ้าไม่ดิ่งอย่างนี้ ไอ้หงบมันไม่ยอมรับ

นี่ชื่อสงบนะเว้ย สาธุ ไม่ใช่ชื่อหลวงปู่เจี๊ยะ

ถ้าหลวงปู่เจี๊ยะท่านยืนกระต่ายขาเดียวเลย ถ้าไม่อย่างนี้ท่านไม่รับ หลวงปู่เจี๊ยะนี่ไม่ได้เลย ถ้ามึงไม่ทำตามกูนี่ไม่ใช่ ต้องทำตามกูอย่างเดียว เราอยู่กับหลวงปู่มา เรารู้

แต่นี่ไม่ใช่ นี่ชื่อสงบ ไม่ใช่ชื่อหลวงปู่เจี๊ยะ ไม่ใช่ พอชื่อว่าสงบปั๊บ เปิดกว้าง อานาปานสติก็ได้ พุทโธก็ได้ ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ ใครทำสิ่งใดตรงจริตนิสัย ทำอย่างไรก็ได้ ขอให้ได้สมาธิมาเถิด จะภาวนาอย่างไรก็ได้ ถ้าเอ็งมีความชำนาญ เอ็งทำได้แล้วทำไปเลย แล้วถ้าเป็นสมาธิมามันก็เป็นสมาธิของเอ็งนั่นแหละ มันจะเป็นสมาธิของใคร แต่เราเปิดกว้างไง เพราะมันชื่อสงบ

ฉะนั้นบอกว่า เพราะคำถามมันเขียนมาแล้วมันขำไง แสดงว่าฟังบ่อยแล้วกลัวผิด เลยบอกว่า ผมเข้าใจว่าถ้ามันดิ่งลงแล้ว ถ้ามันดิ่ง ยิ่งดิ่งเท่าไรยิ่งได้มากเท่านั้น

กรณีนี้เป็นกรณีหลวงตา หลวงตาเวลาท่านสอน ท่านพูดนะ แต่คนอื่นฟังแล้วไม่เข้าใจ เราฟังเข้าใจ ท่านบอกว่าท่านปฏิบัติใหม่ๆ เหมือนกัน ท่านกำหนดพุทโธๆ จิตมันจะรวมลง มันจะเห็นของจิตเราส่งออกเหมือนไฟพะเนียง ไฟพะเนียงมันจะส่งออก มันจะเหมือนไฟแตก ท่านก็อยากรู้ ท่านก็ตามไฟนั้นไป

ท่านบอกว่า ตามไฟไปเท่าไรไม่มีวันจบ มันไปอยู่อย่างนั้นน่ะ มันไปอยู่อย่างนั้นน่ะ มันไป เหมือนกับดิ่ง เหมือนกับพุทโธ มันไปอยู่อย่างนั้นน่ะ มันไม่จบสักที

กำหนดดูไฟพะเนียงมันจะไปไกลแค่ไหนไง ตามไฟพะเนียงไป ไฟพะเนียงมันก็ไปเรื่อย ไปไม่มีวันจบ จนสุดท้ายท่านได้สติ อ้าว! ไฟพะเนียง เอ็งจะไปไหนเอ็งก็ไปนะ ข้าจะกลับมาพุทโธแล้วล่ะ พอกลับมาพุทโธ ไฟพะเนียงก็จบ

มันไปไม่จบหรอก ไอ้ดิ่งก็เหมือนกัน ดิ่งขนาดไหน แต่มันเป็นวาสนาของคน เวลาของเราดิ่งลงไป ดิ่งๆๆ วืด พอวืดไป สติ เราภาวนาเป็นแล้ว พอมันจะวืดไปขนาดไหน ใจเรานะ ปัญญามันทัน ถ้าปัญญาไม่ทันมันจะเด้งกลับเหมือนที่เขาว่านี่

พอมันจะวืดไป เรามีสติเราคุมใช่ไหม แล้วสติเรามันก็พูด พูดกับจิตเชิญครับ เชิญดิ่งให้เต็มที่เลยครับ ผมจะตามดูมันก็ดิ่งมาเต็มที่เลย มันไปของมันเรื่อยเลย แต่เราไม่หลงไปกับมันน่ะ มันดิ่งไปเต็มที่เลยนะ ดิ่งเลย แล้วก็ไปกึ๊ก! ไปที่สุดเลย ถึงอัปปนาเลย จบ สักแต่ว่า เงียบ แต่รู้อยู่ตลอดเวลา ไปลงอยู่นั่นหลายชั่วโมง

นี่ไง เราถึงพูดกับพระปราโมทย์ เขาบอกว่าอัปปนาสมาธิแล้วจะเกิดปัญญาเอง มันเป็นไปได้อย่างไร ลงอัปปนาสมาธิแล้วจะเกิดปัญญา ใครพูดวะ ขอเจอหน้าหน่อย ถ้าลงอัปปนาสมาธิแล้วจะเกิดปัญญา ใครพูด ขอเจอหน้าหน่อย แล้วลองคุยกัน

ลงไปปั๊บ หลายชั่วโมงเลย แล้วก็คลายออกมา สาธุ หลวงปู่เจี๊ยะพูดถูก มันพิสูจน์เลยนะ สาธุ หลวงปู่เจี๊ยะพูดถูก แต่มันก็เป็นแขนงหนึ่งของการปฏิบัติ กรรมฐาน ๔๐ ห้อง การทำความสงบ ๔๐ วิธีการ พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ กรรมฐาน ๔๐ ห้อง การทำความสงบ ๔๐ วิธีการ

เราเคารพบูชาหลวงปู่เจี๊ยะ เราเคารพบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเคารพบูชาหลวงตา เราเคารพบูชาครูบาอาจารย์ของเราที่ท่านเป็นธรรม องค์ไหนเป็นธรรม เราเคารพบูชา แต่องค์ไหนเป็นธรรมแล้วปัญญากว้างขวางคับแคบ มันอยู่ที่อำนาจวาสนาของแต่ละองค์

องค์หลวงปู่มั่นท่านมีปัญญากว้างขวาง ท่านสามารถรื้อค้นลูกศิษย์ลูกหาได้มาก หลวงปู่แหวนท่านก็มีอำนาจวาสนาของท่าน ท่านได้สร้างเราสู้ๆ ของท่าน หลวงปู่ขาวท่านก็มีอำนาจวาสนาของท่าน อำนาจวาสนาของครูบาอาจารย์แต่ละองค์ไม่เหมือนกัน มาถึงหลวงตาเรา หลวงตาท่านมีอำนาจวาสนาของท่าน ท่านสอนลูกศิษย์ลูกหาได้มหาศาล แต่หลวงปู่เจี๊ยะท่านบอกว่าท่านต้องการพุทโธ เพราะท่านต้องการให้ทำเหมือนท่าน

อำนาจวาสนาของครูบาอาจารย์ไม่เหมือนกัน แต่เราเคารพ เราเคารพนะ แล้วเคารพแล้วเราก็บอกว่า ครูบาอาจารย์ที่กว้างขวาง หรือครูบาอาจารย์พอประมาณ หรือครูบาอาจารย์ที่มีปัญญาตรงนี้ แต่ท่านก็ภาวนาของท่านได้ คือท่านภาวนาของท่านจนบรรลุธรรม เราเคารพครูบาอาจารย์ที่มีธรรม มีคุณธรรม เพียงแต่ว่ามันมีกว้างแคบต่างกันด้วยอำนาจวาสนา

ฉะนั้น ไอ้ที่วืดๆ ดิ่งลงขนาดไหนนะ ดิ่งนี้มันเป็นอาการ คำว่าอาการอาการหนักอาการเบาแตกต่างกัน อาการหนักต้องเข้าไอซียู อาการเบาทายาแดงก็หาย อาการก็คืออาการ มันไม่ใช่สมาธิ

บางคนไม่มีอาการเลย เขาก็เป็นปกติมาตลอด มันไม่จำเป็นไง มันไม่จำเป็น มันไม่จำเป็นว่าต้องมี แต่เวลาคนที่เขามี เขามีอย่างนั้น ครูบาอาจารย์ก็ต้องแก้ไขตามนั้น เพราะมันเป็นอย่างนั้น มันเป็นจริตอย่างนั้น ต้องแก้ตามนั้น คนไม่มี บอกให้มี ก็ไม่ใช่ คนมี บอกให้ไม่มี ก็ไม่ใช่ คนมีอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนั้น

นี่ไง หลวงตาท่านบอกว่า ถ้าจิตมันคึกคะนอง มันต้องมีครูบาอาจารย์ตามทัน ถ้าจิตมันคึกคะนอง ไม่มีครูบาอาจารย์ตามทัน ใครจะแก้จิตประเภทนั้น

จิตที่ราบเรียบ ครูบาอาจารย์พอสมควรก็แก้จิตอย่างนั้นได้ แต่จิตที่มันคึกคะนอง คึกคะนองนี่มันไปหมดเลย มันรู้มันเห็น จะเป็นสมาธิหนึ่ง โอ๋ย! มันต้องไปตรวจโลกธาตุกลับมาถึงเป็นสมาธิ ถ้าไม่ได้ไปตรวจโลกธาตุมามันไม่เป็นสมาธินะ จิตอย่างนั้นก็มี

แต่เราไม่ต้องทุกข์ขนาดนั้นหรอก ไม่ต้องไปตรวจโลกธาตุหรอก ตรวจหัวใจเราก็พอ ไม่ต้องไปรับรู้ทั่วโลกหรอก แค่รับรู้หัวใจนี้ ขอให้สงบก็พอแล้ว

อันนี้มันเป็นจริตนิสัยไง ถ้าครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติเป็นท่านจะรู้อย่างนี้ ท่านจะเข้าใจอย่างนี้ แล้วมันจะไม่เป็นปัญหาไปเลย

แต่ถ้าเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องโลก เป็นพวกโยม เถียงกันตายเลย ถ้าไม่มีคุณสมบัติอย่างนี้เป็นสมาธิไม่ได้ ตายแล้ว เถียงกันอยู่นั่นล่ะ ไม่มีวันจบหรอก

แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์นะ ไร้สาระ เอ็งจะมาแนวทางไหนก็แล้วแต่ แต่เป็นสมาธิหรือเปล่าเท่านั้นเอง ถ้าเป็นนี่จบ ถ้าเอ็งเป็นสมาธิก็คือสมาธิ แล้วถ้ายกขึ้นปัญญานะ มันเป็นโลกุตตรปัญญาหรือโลกียะล่ะ ถ้าโลกียะก็ปัญญาที่เอ็งตรึกกันอยู่นี่ไง

แต่ถ้าเป็นโลกุตตระนะ โอ้โฮ! เอ็งจะมหัศจรรย์ เอ็งจะมหัศจรรย์เลย เพราะมันจะเป็นโลกุตตรปัญญา ปัญญาเหนือโลก ปัญญาจะเอาจิตเอ็งพ้น แล้วในตำราไม่มี ไม่มีใครบอกได้ ไม่มี ถ้าเป็นจริง มันเป็นจริงขึ้นมา

นี่พูดถึงสมาธิไง ถ้ามันดิ่งลง มันดิ่งลงขนาดไหน ดิ่งลงมากดิ่งลงน้อยนั่นอีกเรื่องหนึ่ง เรากำหนดพุทโธ กลับไปที่พุทโธ เพราะคำบริกรรมมันเป็นที่เกาะของจิต จิตนี้ถ้ามันมีสิ่งใดแล้ว ถ้ามันเกาะไว้ที่นี่มันจะดีมากเลย ถ้าเราพุทโธ เราก็พุทโธไว้ ถ้าอานาปานสติ เราก็อานาปานสติไว้ เพราะคำบริกรรมสำคัญมาก คำบริกรรมมันเหมือนกับจิตที่เป็นๆ มันสามารถจับต้องได้

ถ้าไม่มีคำบริกรรม เหมือนคนตาย จิตมันตายแล้ว มันเป็นสมาธิไม่ได้หรอก จิตมันตายแล้ว มันก็ลงอยู่อารมณ์อย่างนั้นน่ะ มันไปไหนไม่รอดหรอก แต่ถ้ามันมีคำบริกรรม มันมีอานาปานสติ แสดงว่าคนเป็นใช่ไหม

คนเป็นมันทำงานอยู่ใช่ไหม คนเป็นมีสติปัญญาใช่ไหม คนตายก็อยู่ในโลงไง ไม่กำหนดอะไรเลย ไม่ทำอะไรเลย แล้วก็บอกว่าเป็นธรรมๆ ไร้สาระ แต่นี้เพียงแต่ว่าความเชื่อของโลกเขาเชื่อกันอย่างนั้นน่ะ เขาเชื่อเพราะอะไร ก็มันสบาย ทำไมจะไม่สบาย ไม่ทำอะไรเลย มันไม่ต้องทำอะไร ทำไมไม่สบายล่ะ เรากำหนดพุทโธกันเกือบตาย กำหนดรวมลงเกือบตาย มันไม่ทำอะไรเลย มันบอกมันสบาย

ก็สบายสิ ก็คนไม่ทำอะไร อ้าว! คนไม่ทำอะไร ทำไมจะไม่สบาย มันต้องสบายอยู่แล้ว แล้วเอ็งได้อะไรล่ะ ก็ได้สบายไง ปฏิบัติแล้วต้องมีความสบายไง ไอ้พวกเอ็งพวกทุกข์ยาก ทำอะไรเหนื่อยตายห่า กูนี่สบาย

แต่มันเป็นสิ่งมีชีวิต จิตนี้มีชีวิต จิตที่มีสมาธิมันต้องมีหลักฐานอย่างนี้ ไอ้นั่นมันคนตายแล้ว หลวงตาบอกโง่อย่างกับหมาตาย หมามันตายไปแล้ว มันยังโง่กว่าด้วย แต่มันบอกมันเป็นนักปฏิบัติ...เออ! อันนี้เรื่องของเขานะ บอกว่าจะไม่พูดเสียดสีใคร

. หรือว่าผมไม่ต้องไปสนใจการดิ่งลง เพราะมันดิ่ง มันจะกลับมาดูลมหายใจให้มันรู้อย่างเดียว

ใช่ ให้มันรู้อยู่อย่างเดียว อาการดิ่ง เขาเรียกว่ามันเป็นอาการ มันเป็นผลตอบสนอง มันเป็นการให้เห็นว่าจิตมันจะลงสมาธิ มันจะลง เห็นไหม แต่มันไม่ลง

ถ้ามันลง มันลงไปแล้วจบ อาการมันหายไป มันเป็นสมาธิ ถ้ามันยังไม่ลง มันอยู่ที่อาการ อยู่ที่ความรู้สึกนั้น ความรู้สึกนั้นจะเข้าสู่สมาธิ แต่เข้าไม่ได้

ตรงนี้สำคัญมากเลย จะเข้าจะออก ชำนาญในวสี ชำนาญในการเข้าการออก อันนี้หลวงปู่เจี๊ยะพูดอย่างนี้เลย เพราะหลวงปู่เจี๊ยะท่านชำนาญของท่าน ชำนาญในวสี ชำนาญในการเข้าและการออก ต้องชำนาญนะ

หลวงตาท่านเป็นห่วงมาก ถ้าเข้าสมาธิแล้วอย่าไปดึงมันออกมานะ ถ้าดึงออกมาแล้วมันจะเข้ายาก เวลาเข้าไปแล้วนะ มันเข้าไปสงบเลย มันไม่รับรู้เลย ให้อยู่อย่างนั้น ให้มันคลายตัวออกมา แล้วคอยรักษามันไว้ การเข้าและการออก

เวลาพูดนะโอ๋ย! มีเข้ามีออกด้วยหรือ สมาธินี่ อู๋ย! มันเป็นอย่างนั้นหรือ

เอ็งทำดู เดี๋ยวเอ็งก็รู้ ถ้าเอ็งรู้ เอ็งคุยกับกูรู้เรื่อง ถ้าเอ็งไม่รู้ คุยกันไม่รู้เรื่อง เอ็งทำไป เดี๋ยวเอ็งก็รู้ แล้วถ้ารู้แล้วนะ มันเป็นสากล ใครจะประพฤติปฏิบัติทางไหนก็แล้วแต่ ถ้ามันผลเหมือนกันก็คือเหมือนกัน มึงจะไปหาอาจารย์ไหนก็แล้วแต่ ถ้ามันเป็นสมาธิก็สมาธิอันเดียวกันนี่ เอ็งจะทำงานอะไรก็แล้วแต่ ควักเงินออกมาสิ เงินเหมือนกันหมด อาชีพมึงอะไรก็แล้วแต่ มึงควักเงินออกมาสิ

เงินก็คือเงิน เรื่องของใจก็เรื่องของใจ สมาธิก็คือสมาธิ มันต่างกันตรงไหนวะ เพียงแต่มึงไม่มีสมาธิเท่านั้นน่ะ มึงควักมามึงเป็นแบงก์กงเต๊ก มึงควักมาเป็นสตางค์ กูควักมาเป็นเงินทุกทีเลย มึงควักมาเป็นกระดาษ อะไรก็ไม่รู้ มึงสมมุติกันเอง แต่ของกูควักมามันใช้หนี้ได้ตามกฎหมายนะมึง เออ! แต่ของเอ็งใช้ได้หรือเปล่าไม่รู้ เดี๋ยวตำรวจจับ ของกูควักมาใช้หนี้ได้ตามกฎหมายเลยล่ะ ของจริงมันเป็นแบบนี้

ฉะนั้นว่า ไม่ต้องดิ่งตามมันไป ให้อยู่กับพุทโธ นี่ไง หลวงปู่มั่นสั่งไว้เลย อยู่กับพุทโธ อยู่กับผู้รู้จะไม่เสีย มันจะไม่เสีย ปฏิบัติไปอย่างนี้

นี่พูดถึงเขาถามเรื่องสมาธิเนาะ ค่อยๆ ทำไป พูดนี้พูดให้กำลังใจมากนะ พูดให้กำลังใจ พูดเพื่อสังคมกรรมฐานเรา ใครจะว่าอย่างไร ช่างเขาเถอะ เราปฏิบัติกันเพื่อเอาคุณงามความดี ลงทุนลงแรง น้ำพักน้ำแรงเพื่อหัวใจของเรา ใครเขาจะสะดวกสบาย เขาจะไปเที่ยวโลกพระจันทร์ก็เชิญตามสบายไปเถอะ จบ

ถาม : เรื่องกราบอาราธนา

ขอให้พระสงบอยู่ด้วยความแข็งแรงเพื่อเป็นแบบอย่างของวัดป่ากรรมฐาน

ตอบ : เออ! กูรู้แล้ว สิ่งที่เอ็งเขียนมา เราจะบอกว่า ถ้าคนที่มันมีหลักในใจ เห็นแล้วมันก็จะเข้าใจว่าอะไรผิดอะไรถูก มันก็เป็นสิ่งที่ว่าเป็นคุณธรรม

แต่ถ้าพูดถึงคนที่เขาไม่มีหลักใจเลย เขาเห็นพวกเราทำเขาว่าอัตตกิลมถานุโยค หนึ่ง...สอง อวด อยากอวดดี อยากจะอยู่เหนือคนอื่น อันนั้นเป็นความคิดของเขา เป็นความคิดของเขา เราจะบอกว่า คนที่เขาเห็นแล้วเขาขัดหูขัดตาก็เยอะ

อย่าว่าแต่เอ็งเห็นนะ เพราะเขาเห็นไง เขาเขียนมาเขาบอกว่า เขาเห็นว่าหลวงพ่อทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ควรจะอยู่เพื่อเป็นหลักของกรรมฐาน ถ้าคนที่เขามีความเห็นที่ดีเขาก็คิดอย่างนี้

ไอ้คนที่เห็นไม่ดีก็บอก โอ้โฮ! หลวงพ่อ ไอ้หงบนี่มันชอบอวด

เราปฏิบัติใหม่ๆ เขาบอกไอ้หงบมันชอบเอาปักธงนำหน้า คือว่าปักธง โชว์ธง เรือธงไง อวดอยู่ตลอดเวลา

โดยนิสัยนะ โดยนิสัยเกลียดเรื่องนี้ที่สุด เกลียดเรื่องการเอารัดเอาเปรียบ เกลียดเรื่องการทำลายกัน เกลียดเรื่องโกหก เกลียดที่สุดเลย ของที่เกลียดที่สุดมันจะทำไหม เกลียดเรื่องนี้มากแต่ไหนแต่ไรเป็นนิสัย เกลียดเรื่องนี้มาก แล้วเกลียดเรื่องนี้ จะทำเสียเอง มันเป็นไปได้อย่างไร

แต่ที่ทำอย่างนี้ไม่ได้อวด มันเป็นเรื่องปกติ เขาเรียกว่าเป็นเรื่องธรรมดาของเรา คือใจรัก เพราะใจรักนี่แหละถึงไม่ได้อยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ เพราะอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ ท่านจะให้ทำแต่ช่าง งานช่าง ไอ้เราจะทำข้อวัตร พอถึงเวลาทำข้อวัตร บอกนี่ก็ข้อวัตร งานช่างนี่ข้อวัตร

โอ๋ย! สะอึกเลย จะกวาดวัด ท่านก็บอกว่าทำงานช่างนี่

ทีนี้เราก็มาคิดว่าเรารักข้อวัตร เรารักข้อวัตร เราถึงจะต้องออกมาเอง แล้วเราก็มาอยู่ของเราเอง

ฉะนั้นที่ว่าเขาพูดมานี่ นั่นอีกเรื่องหนึ่ง

นี้จะพูดบอกว่า ถ้าคนมีหลัก คือเคยรู้จักมา เคยเห็นครูบาอาจารย์ท่านทำมาก็บอกว่า เออ! ไอ้หงบมันมีแววเนาะ มันทำถูก แต่ถ้าคนที่เขาเกลียดขี้หน้าเขาบอกว่า อวดเนื้ออวดตัว อยากดังอยากใหญ่ มีคนพูดอย่างนี้เยอะ

แล้วเราก็พูด เราพูดให้พระฟังทุกวันเวลาฉันน้ำร้อน บอกว่าเขาด่าทั่วประเทศไทย เขาด่ากูทั่วประเทศไทย ต้องการให้พระมันไม่เหิมเกริม ถ้าพระหลงตัวเองก็คิดว่าตัวเองดีเด่นไปทั่ว

เราไปฉันน้ำร้อนกับพระจะพูดคำนี้ประจำ เขาด่ากูทั่วประเทศไทย เขาด่ากูทั่วประเทศไทย ให้เห็นว่าพวกเราไม่มีค่าไง พระสงบไม่มีค่าหรอก คำนี้พูดประจำนะ จะไปอุทัยฯ จะไปไหนก็แล้วแต่ เวลาฉันน้ำร้อนกับพระจะพูดอย่างนี้ เพราะว่าไม่ให้พระเหลิง

ชื่อกูนี่เขาด่า เขายังด่ากูเลย มึงจะเอาชื่อกูไปอ้าง ไม่มีประโยชน์หรอก เขาด่ากูทั่วประเทศไทย แล้วมึงจะเอากูไปอ้าง มึงก็โดนด่าด้วยน่ะสิ เราคิดของเราอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา จริงๆ นะ คิดอย่างนี้ตลอดเวลา แล้วจะไปไหนก็แล้วแต่ จะระวังตัวตลอดเวลา

เราอยู่กับหลวงตาตอนที่ท่านเข้มข้น ท่านบอกท่านไปไหนก็แล้วแต่ คนที่รู้จักท่านก็จะอำนวยความสะดวก ท่านบอกท่านไม่เอา ไม่เอาเพราะอะไร เพราะจะอำนวยความสะดวก เราได้ความสะดวก แต่พอเราได้ความสะดวกแล้ว ไอ้คนที่เขาเข้าคิวอยู่นั่นน่ะ พ้นจากนั้นไป เขาก็ไม่พอใจ ไม่มีใครพอใจหรอกที่เขาเข้าคิวกันอยู่ แล้วเราไปแซงคิวเขา ไม่มีใครพอใจหรอก แต่ลูกศิษย์ลูกหามันก็อยากจะอำนวยความสะดวกให้ แต่พอได้ความสะดวกนั้นแล้ว ไอ้คนที่ยืนรออยู่นั่นมันต้องมีความคิดในใจ

นี่หลวงตาพูดประจำตอนเราอยู่กับท่านใหม่ๆ ท่านจะไม่ลัดคิว ท่านจะไม่เอาเปรียบใคร หลวงตาตอนสมัยที่ท่านเข้มข้นนะ แล้วเราพอไปอยู่อย่างนั้นปั๊บ มันก็ดูดดื่มไง มันก็แบบว่า อืม! นิสัยตรงกัน คือตามเนื้อผ้า ตามความเป็นจริง

แต่ตอนนี้ในสังคมเขาเห็นไม่ได้ เขาก็ว่า เออ! ไอ้หงบมันทำดี นั่นก็ความคิดเอ็ง ไอ้คนที่เขาเห็นว่าอยากอวดดี เขาก็ด่ากันทั่วโลก

เขาจะชม เขาจะด่า โลกธรรม โมฆบุรุษตายเพราะลาภ ตายเพราะลาภสักการะ ตายเพราะอยากให้เขาสรรเสริญ นั่นน่ะเป็นที่ตายของโมฆบุรุษ คนที่ขาดสติ อยากจะให้เขายกย่องสรรเสริญ ไอ้คนนั้นน่ะตายไปแล้วครึ่งตัว

ไอ้คนที่มีสติสัมปชัญญะ ไอ้เรื่องการยกย่องสรรเสริญมันเรื่องไร้สาระ มันจะดูแลรักษาชีวิตได้ มันเลยไม่ตาย เอวัง