ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

อนุสติ

๑๗ พ.ค. ๒๕๕๘

อนุสติ

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่องทางอันยาวไกล

กราบนมัสการหลวงพ่ออย่างสูง ในคำถามปัญหาธรรมะครั้งที่แล้วลูกได้กราบเรียนถามหลวงพ่อเรื่องความสุขใจจากการปฏิบัติ หลวงพ่อก็ได้เมตตาเตือนในความขึ้นลงของใจว่ามีทั้งเจริญและเสื่อมเป็นธรรมดา ขอให้เราไม่ประมาท ลูกก็ได้น้อมนำคำสอนไว้เตือนใจตัวเองเสมอ ในระหว่างนี้ก็ได้ปฏิบัติภาวนาอยู่ตลอด

ตอนเช้าเดินจงกรมและฝึกนั่งสมาธิเป็นเวลา หรือ ชั่วโมงก่อนไปทำงาน ส่วนตอนเย็นนั่งฟังเทศน์ของหลวงพ่อ หรือไม่ก็เดินจงกรมไปด้วย ฟังเทศน์ไปด้วย แล้วค่อยฝึกนั่งสมาธิก่อนนอน

ที่ผ่านมา ใจก็เบิกบานดี แต่ระยะหลังมีความรู้สึกว่า ทางที่เราเดินมันยังอีกยาวไกลเหลือเกิน ยิ่งอยู่ในสถานะที่ยังต้องทำงานเพื่อดำรงชีพไปด้วย ก็รู้สึกว่ามีข้อจำกัดในการภาวนา เหมือนที่หลวงพ่อเทศน์ว่าทางของฆราวาสมันคับแคบ

ลูกก็ได้แต่ให้กำลังใจตัวเอง เราทำงานเพื่อดำรงชีพ และมีชีวิตอยู่เพื่อการปฏิบัติภาวนา ในชีวิตเรานี้ การที่เราได้มีโอกาสพบครูบาอาจารย์ที่เมตตาสั่งสอนทางสู่มรรคผลนิพพาน และครูบาอาจารย์ที่ตั้งใจแก้ไขการภาวนาให้นั้นนับว่าเป็นบุญวาสนาอย่างยิ่งแล้ว ถ้าใครไม่คว้าโอกาสในชาตินี้หมั่นทำความเพียร ก็ไม่รู้ว่าจะได้มีโอกาสอีกหรือเปล่า หนทางนี้มันไกลเท่าไร เราไม่อาจรู้ได้ แต่ตราบใดที่ยังเดินไม่หยุด มันก็ต้องถึงในสักวัน

. กราบขอกำลังใจและคำสอนของหลวงพ่อด้วยเจ้าค่ะ

. ในการฝึกนั่งสมาธิ ลูกจะกำหนดพุทโธโดยลมหายใจเข้าออก สักพักลมหายใจเบาลง แต่ยังนึกพุทโธอยู่ บางครั้งจะค้างนิ่งๆ อยู่อย่างนั้นจนลมหายใจชัดขึ้น แล้วคลายตัวออกมา อันนี้เป็นเพราะว่ายังไม่ถึงสมาธิจริงๆ หรือเปล่าเจ้าคะ หรือบางทีอาจจะรู้สึกอึดอัดที่กลางหัวอก จุกลิ้นปี่ อันนี้ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะอะไร หรือลูกตั้งใจมากเกินไป

. เมื่อเช้าได้ฟังเทศน์หลวงพ่อว่า ตอนหลวงพ่อฝึกพุทโธๆ นึกเอาพุทโธอย่างเดียว ไม่สนใจเอาสมาธิ จนสุดท้ายสมาธิก็ลงถึงฐานได้ ลูกกำลังฝึกดูเจ้าค่ะ เพราะที่ผ่านมา ลูกคงมีกิเลสอยากได้สมาธิ เลยไม่ได้สมาธิจริง กราบขอบพระคุณ

ตอบ : อันนี้พูดถึงว่าเวลาเราปฏิบัติ เห็นไหม ทางอันยาวไกล ถ้าคนที่จิตใจเขาบารมีอ่อนเขาก็มองว่ามันสุดวิสัย มันยาวไกลมาก แต่คนที่มีกำลังใจนะ คนที่มีกำลังใจ สิ่งที่มันยาวไกลแค่ไหน ดูสิ เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่ารู้แจ้งทั้งโลกนอกและโลกใน

โลกนอกและโลกใน ใน ในคือในหัวใจของเรา โลกนอก โลกนอกคือโลกของสังคม ถ้าทางยาวไกล ทางยาวไกล ถ้าเราส่งออก ส่งออกมันก็อีกยาวไกลมหาศาลเลย

แต่ถ้าเราทวนกระแสกลับเข้ามา เราทวนกระแสกลับเข้ามาจากภายใน ถ้าจากภายใน ทางอันยาวไกลมันก็ยาวไกลอยู่ในหัวใจของเรานี่ เราเดินถึงได้ ถ้าเดินถึงได้นะ เวลาครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัตินะ เวลาท่านสนทนาธรรม บางองค์ ปี บางองค์ ๑๐ ปี บางองค์ ๒๐ กว่าปี บางองค์แล้วแต่ว่าจะได้ตอนไหนไง อำนาจวาสนาคนมันไม่เหมือนกัน ถ้าอำนาจวาสนาคนไม่เหมือนกันนะ หนึ่ง เราเจอครูบาอาจารย์ที่ดีหรือเปล่า ถ้าเจอครูบาอาจารย์ที่ดีนะ ท่านบอกความจริงกับเรานะ ชี้ขุมทรัพย์ๆ

หัวใจเราแท้ๆ เราไม่เข้าใจหรอกว่าเราเดินมาถูกทางหรือเปล่า แต่ครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านมาแล้วนะ ท่านชี้ขุมทรัพย์เข้ามาเลย แล้วก็เป็นวาสนาอีกแหละ วาสนาว่าเราจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

ถ้าเชื่อแล้วนะ พอเชื่อแล้วจะเอาความเชื่อนั้นมาเป็นของเราก็ไม่ได้ พอเชื่อปั๊บ เราต้องหามุมมอง พอเชื่อปั๊บ มันจะพิจารณาไง มันพิจารณา มันจะพลิกแพลง พลิกแพลงให้มันรู้แจ้ง ถ้ารู้แจ้งได้ อันนี้สำคัญ สำคัญที่ว่า ถ้ามันทวนกระแสกลับเข้ามาเป็นภายในจะยาวไกลขนาดไหนมันก็ทำได้

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า บอกว่าครั้งที่แล้วเราเตือนเอง เพราะอะไร เพราะเวลาคนที่จิตใจมันสูงส่ง จิตใจที่มันกำลังขาขึ้น มันดีไปหมดแหละ

เวลาพระบวชมาตั้งใจปรารถนา ทุกองค์ตั้งใจปรารถนาอยากสิ้นสุดแห่งทุกข์ มีพระตั้งใจปรารถนามาก เพราะเราอยู่ในวงการพระ เวลาบวชขึ้นมานี่ตั้งใจเลยนะว่าจะถึงที่สุดแห่งทุกข์ แล้วตั้งใจจะปฏิบัติ เพราะอะไร เพราะว่าอยู่ทางโลก หน้าที่การงานทุกอย่างมันบีบคั้นไง ก็พยายามจะหาทางออก พอบวชมาแล้วก็ตั้งใจ ปี ปี ปี ปีไปนะ พอ - พรรษาไปแล้ว ถอยแล้ว พอถอยขึ้นมา ใจมันถอยไง พอใจมันถอยนะ มันไปก็ไปไม่ไหว พอไปไม่ไหวขึ้นมา ถ้าอยู่ ถ้าอยู่ในเพศของพระก็อยู่แบบคนสิ้นไร้ไม้ตอก แต่ถ้าบางคนจิตใจตกนะ สึกเลย นี่มันเจออย่างนี้มาเยอะไง มันเจออย่างนี้มาเยอะ

แต่เวลาปฏิบัติ พระในเมืองไทยมี แสนกว่าองค์ ถ้าการปฏิบัติแล้วมันถูกต้องดีงามไปหมด แสนกว่าองค์นี่พระอรหันต์ทั้งหมด ใครบ้างไม่อยากพ้นจากทุกข์ ทุกคนปรารถนามาพ้นทุกข์ทั้งนั้นน่ะ ถ้ามันเป็นไปได้ ถ้าพ้นทุกข์ ทุกคนอยากจะพ้นทุกข์ทั้งนั้นน่ะ แต่เวลาปฏิบัติไปแล้วมันอยู่ที่วาสนาไง

ถ้าวาสนาปั๊บ ก็บอกว่า ในพระไตรปิฎกบอกว่า ถ้าพระอรหันต์อย่างน้อยต้องสร้างมาแสนกัป ต้องสร้างมาแสนกัปนะ อยู่ในอภิธรรม ต้องมีบุญ มีวาสนา มีบารมี ต้องสร้างมาเป็นแสนกัปเลย แล้วพอสร้างมาแสนกัปแล้วต้องพยายามปฏิบัติเอาตัวเองพ้นให้ได้อีกด้วย ถ้าสร้างมาแสนกัป ถ้ายังไม่ได้ก็ยังต้องต่อเนื่องไป

ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก อสงไขย อสงไขย ๑๖ อสงไขย เวลาปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นอย่างน้อยที่สุด อสงไขย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรานี่ อสงไขย ฉะนั้น เวลาตรัสรู้ขึ้นมาแล้ว อายุ ๘๐ ปี วางศาสนาไว้อีก ,๐๐๐ ปี แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ๘๐,๐๐๐ ปี เวลาเกิดมาแล้วอยู่ทางโลก ๔๐,๐๐๐ ปี เวลาออกปฏิบัติเป็นพระอรหันต์เลย สั่งสอนอยู่อีก ๔๐,๐๐๐ ปี จนสิ้นชีวิตไป อันนั้นพูดถึงว่าผู้ที่สร้างอำนาจวาสนามา

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเวลาที่ว่ามันดีงามนะ มันก็ดีงามทั้งนั้นน่ะ แต่เวลาปฏิบัติมันจะมีเจริญแล้วเสื่อม เพราะเราเห็นว่าเวลาเจริญ ทุกคนมีความสุขมาก เวลาเสื่อมนะ ถ้าเรามีสติอย่างนี้ คำว่ามีสติมันจะรักษาไว้ มันจะไม่ประมาท มันจะไม่เสื่อมไง แต่ถ้าเราคิดว่ามันดี

เวลามันดี ทุกคน ดูสิ เวลาคนขับรถประสบอุบัติเหตุก็เพราะประมาททั้งนั้นน่ะ เพราะประมาท เพราะประมาทถึงได้ประสบอุบัติเหตุ ในการปฏิบัติ ถ้ามันเจริญแล้ว เราก็อยู่กับคุณงามความดีนี่แหละ แล้วความดีนี้มันมาจากไหนล่ะ มันมาจากการเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ทุกอย่างมันต้องมีที่มาที่ไป มันไม่ลอยมาจากฟ้าหรอก ถ้ามันมีที่มาที่ไป ครูบาอาจารย์ของเราท่านถึงพยายามกันไว้ ถ้าครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัตินะ คนไหนภาวนาดี ท่านจะกันไว้เลย หนึ่ง ไม่ให้มาคลุกคลี แล้วกันพระจะเข้าไปถามปัญหา

เวลาอยู่ในวงปฏิบัตินะ พวกเราจะหูยาว คอยฟังเลยว่าใครภาวนาดี ถ้าใครภาวนาดี ไปแล้วดีอย่างไร บอกกันบ้างมันจะเป็นปัญหาไปหมดเลย ครูบาอาจารย์เวลาพูดธรรมนะ ท่านจะเก็บไว้ รู้กันสองคน เวลาเทศน์ เทศน์เป็นบุคลาธิษฐาน เทศน์เป็นตัวอย่างเท่านั้นเอง แต่ไม่เจาะจงว่าเป็นใคร

เพราะบอกว่าเจาะจงว่าเป็นใครนะ ทุกคนจะรุมไปเลย ทุกคนอยากจะเจอของดี ทุกคนอยากจะเจอของจริง ทุกคนอยากจะให้คนอธิบายให้เราฟัง แล้วพอไปแล้วนะ จะมีปัญหา นี่ครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงท่านจะกันไว้ เพราะอะไร เพราะกลัวมันเสื่อมไง กลัวมันเป็นภาระ

เราภาวนาอยู่ มีคนคอยมาถามปัญหา มีคนมาขอร้องให้เล่าให้ฟังว่ามันเป็นอย่างไร สมาธิเป็นอย่างไร ปัญญาเป็นอย่างไร เราก็ต้องมาคอยเล่าให้คนนู้นฟังคนนี้ฟัง เสียเวลาตาย แล้วเสียเวลา พอพูดกับใครก็แล้วแต่นะ พอคล้อยหลังไปนะ มันจะเกิดความวิตกวิจารณ์เลยว่าพูดไปนี่เขาเชื่อหรือไม่เชื่อ จริงหรือไม่จริง มันจะเป็นภาระเลย

แต่ถ้าเราเม้มไว้ เราเม้มปากไว้ เราไม่พูดกับใคร เราปฏิบัติของเรา มันจะดันหัวอกขนาดไหนก็เก็บไว้ในใจ ถ้าจะปรึกษาก็ปรึกษาครูบาอาจารย์เท่านั้น มันจะเป็นไม่ให้ไปทางสู่ความเสื่อม ฉะนั้น ถ้าไม่อยู่ในความเสื่อม เราต้องปฏิบัติของเรา เราอย่าประมาท ถ้าไม่ประมาท มันก็ได้ นี่พูดถึงความเสื่อม

แต่ปฏิบัติแล้วเขาว่าดีของเขา ถ้าปฏิบัติดีนะ ปฏิบัติแล้วดี มันดีจริงๆ มันไม่มีอะไรดีไปกว่านี้ งานทางโลก งานทางโลกเป็นงานสาธารณะ งานทางโลกไม่มีวันจบสิ้น เสร็จงานแล้วต้องตั้งงบบำรุงรักษาแล้ว เวลาทางบัญชี ความเสื่อมค่านี่เขาตั้งไว้เลย สร้างอะไรเสร็จปั๊บ ต่อปี ความเสื่อมค่ามันต้องจบไป ไม่มีอะไรคงที่ เป็นไปไม่ได้ งานทางโลกเป็นทั้งนั้นน่ะ

แต่ถ้างานทางธรรม งานในทางปฏิบัติ เพราะในทางปฏิบัติ ถ้ามันเจริญแล้วมันเสื่อมนะ มันก็ยังได้ความเจริญนั้นฝังใจไว้ ถ้าเราเคยปฏิบัติไว้สูงส่งขนาดไหน เราเคยสัมผัสได้ แล้วมันเสื่อมไป พอเสื่อมไปนะ ความจำอันนั้นมันมีอยู่ ถ้าความจำนั้นมีอยู่

ถ้าความจำนั้นมีอยู่ ถ้ามีสติสัมปชัญญะนะ ถ้าเวลาจะสิ้นชีวิตนะ มันพยายามจะกลับมาที่นี่ เพราะอะไร เพราะเวลาคนจะตายเขาจะระลึกถึงพระๆ แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เราจะระลึกถึงตรงนี้เลย ถ้าระลึกถึง จิตมาเกาะตรงนี้ไว้ เกาะอารมณ์นี้ไว้ ถ้าเกาะอารมณ์นี้ มันไปตามอารมณ์นั้นน่ะ มันพาให้จิตใจนี้วนในวัฏฏะ นี่พูดถึงว่า ถ้ามันภาวนาแล้วเสื่อมไป สิ่งที่เป็นสัญญาไว้มันยังเป็นสมบัติของใจ

แต่ที่ครูบาอาจารย์ท่านพูด ท่านต้องการความต่อเนื่อง ต้องการความเจริญตลอดไป ต้องการปฏิบัติต่อเนื่องๆ ขึ้นไป ถ้าต่อเนื่องขึ้นไป มันก็เป็นประโยชน์ขึ้นมา

ฉะนั้น เวลามันเป็นว่าภาวนาดีๆ แต่ระยะหลัง...”

พอแต่ระยะหลังตรงนี้มันบอกเลย เพราะกาลเวลาไง ความสม่ำเสมอนี้สำคัญมาก ความสม่ำเสมอนะ เวลาปฏิบัติ ในพระไตรปิฎกบอกไว้ทุกข้อเลย สิ่งที่ว่าวินัยนี้บัญญัติไว้เพื่อส่งเสริมคนดี ยับยั้งคนชั่ว ส่งเสริมผู้ที่มีศรัทธาความเชื่อ แล้วก็พยายามเจริญศรัทธาคนที่ไม่ศรัทธา แล้วในวงปฏิบัติภาวนาให้มันเจริญงอกงามขึ้น การภาวนาที่ไม่เจริญงอกงามเพราะขาดความปฏิบัติสม่ำเสมอ ถ้าปฏิบัติสม่ำเสมอต่อเนื่องๆ ไป มันเจริญก้าวหน้าไป

ทีนี้โดยธรรมดา ดูสิ ฤดูกาลมันยังเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในการปฏิบัติ คนเราเจริญขนาดไหน อารมณ์มันเปลี่ยนแปลงได้ พอเปลี่ยนแปลง ระยะเวลานี่สำคัญ ฉะนั้น การต่อเนื่อง ตรงนี้มันอยู่ที่วาสนา ถ้าคนมีวาสนามีบารมีนะ มันจะต่อเนื่องได้ตลอดไป ถ้าต่อเนื่องได้ตลอดไป

เพราะภาวนาไปมันไม่ดีตลอดหรอก อาหารที่ว่าสุดยอด แต่กินทุกวันแล้วมันก็ไม่อร่อย จิตใจเราดีขนาดไหน ภาวนาไป มันต้องมีทางเสื่อม มันต้องมีการบิดเบี้ยว บิดเบี้ยวเพราะอะไร เพราะกิเลสมันต่อต้านอยู่แล้ว ฉะนั้น เวลาไป อุปสรรคตรงนี้สำคัญ เวลาปฏิบัติไปแล้ว เวลากิเลสที่มันทำให้เราบิดเบือน มันบิดเบือนทำให้เราเสียหาย

ตรงนี้บอกว่าระยะหลังๆ การเดินจงกรม พอนั่งสมาธิไป มันมีความคิดโผล่เข้ามาแล้ว แล้วพอความคิดที่มันแย็บเข้ามา เหมือนกับพอฟังเทศน์หลวงพ่อ หลวงพ่อบอกว่าทางฆราวาสเป็นทางคับแคบ

ทางฆราวาสเป็นทางคับแคบ นี้ก็อยู่ในพระไตรปิฎกเหมือนกัน เวลาธรรมวินัยที่บัญญัติไว้ทุกข้อๆ มันจะมีตรงนี้อยู่ด้วยว่า ทางฆราวาสเป็นทางคับแคบ ทางของสมณะเป็นทางกว้างขวาง

ถ้าทางสมณะเป็นทางกว้างขวาง ทางสมณะ อย่างพระเราเจอครูบาอาจารย์ที่ดี เวลาฉันเสร็จแล้ว ๒๔ ชั่วโมงนะ ให้ภาวนาตลอด ๒๔ ชั่วโมง ภาวนาตลอดเลย นี่มันกว้างขวาง กว้างขวางอย่างนี้ กว้างขวาง มันมีโอกาสทำตลอด แต่กิเลสมันก็คอยแทรกแล้ว เวลาทำไปแล้ว ถ้าดีมันก็ดีตลอดเลย แต่เวลามันไม่ดี มันเสื่อมนะ มันหาทางออกแล้ว มันบิดเบือนแล้ว ครูบาอาจารย์ก็ต้องมีทางให้ไป

ถ้าทางฆราวาสเป็นทางคับแคบ ทางสมณะเป็นทางกว้างขวาง แล้วสมณะ เวลามีโอกาส พระ แสนกว่าองค์ เวลาเรียนจบ ประโยคแล้ว การศึกษาเขาศึกษามาไว้ให้ปฏิบัติ เวลาเรียนจบแล้วทำอะไรต่อ ทางวิชาการเขาคิดเลยนะ เวลาพระนี่จบแล้ว เรียนจบ ประโยค ฉะนั้น พอเรียนจบ ประโยคแล้ว เรียนธรรมะนี้จบแล้ว พอเรียนธรรมะจบแล้ว ตอนนี้ก็ดำรงชีวิตเป็นพระ ก็ได้สมณศักดิ์ ได้ตำแหน่งหน้าที่การงานขึ้นไป แล้วทางธรรมล่ะ ทางธรรมที่ปฏิบัติล่ะ

แต่เวลาพระกรรมฐานเรา หลวงปู่ฝั้น ครูบาอาจารย์ท่านบอกเลย การเรียนปริยัติของพวกเรา เวลาบวชกับอุปัชฌาย์ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี่กรรมฐาน อุปัชฌาย์ให้กรรมฐาน อยู่แล้ว พอได้กรรมฐาน เราเรียนปริยัติจบแล้ว ต่อไปนี้มันก็อยู่ที่ว่าเราจะปฏิบัติได้หรือไม่ได้ ถ้าเราจะปฏิบัติได้ เราทำของเรา นี่ถ้าทางมันกว้างขวาง มันกว้างขวางอย่างนี้ไง

พอกว้างขวางแล้วเข้าทางจงกรมสิ นั่งสมาธิภาวนาเข้าป่าเข้าเขาไปสิ ปฏิบัติไปสิ รุกขมูลน่ะ อยู่รุกขมูล ดูสิ เวลาฤดูกาลของเขา นกมันทำรัง มันฟักไข่ของมัน มันกกไข่ของมัน มันสร้างครอบครัวใหม่ของมัน มันดูแลลูกมัน พอลูกมันโตแล้วมันไล่ลูกมันไปนะ ต้องหากินเอง ต้องหากินเอง ต้องโตแล้วไป

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาทางฆราวาสเป็นทางคับแคบ สมณะเป็นทางที่กว้างขวาง แล้วสมณะเอาจริงหรือเปล่า สมณะที่ทางกว้างขวางได้สนใจทางปฏิบัติของตัวไหม

เวลาหลวงตาท่านเตือนประจำนะ ตอนอยู่วัดป่าบ้านตาด ท่านบอกเลย ทางจงกรม เสือมันเข้าไปหมอบได้แล้ว ทางจงกรม ทางสมาธิ พระมันสนใจหรือเปล่า พอพูดอย่างนี้ไปปั๊บ คนฟังเทศน์ก็บอกว่าพระคงจะไม่ปฏิบัติเลย

เวลาท่านพูดนะ เวลาท่านเทศน์พระ มันอยู่ในเทปใช่ไหม พอออกไปข้างนอกก็บอกว่าพระบ้านตาดแสดงว่าไม่ได้ภาวนากันเลย ไอ้ทางจงกรมนั่นแสดงว่าเสือเข้าไปอยู่ได้ แสดงว่ามันเป็นป่ารกไปเลย

เวลาพูด ท่านพูดเสียดสี พูดให้พระตื่นตัว ไอ้ทางกว้างขวางนี่ พูดแล้วให้พระมันสนใจทางจงกรม แต่ถ้าไม่สนใจทางจงกรม มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่ว่ามันจะรกชัฏจนเสือเข้าไปนอนได้น่ะ แต่คำพูดของหลวงตามันสุดโต่ง เวลาพูดอะไรมันพูดจริงจัง พูดให้คนฟังสะเทือนใจ

ทางจงกรม เสือมันจะนอนอยู่นั่นน่ะ มันรกชัฏจนไม่มีใคร คือว่าเหมือนพระไม่สนใจ พระไม่ปฏิบัติ ทั้งๆ ที่ว่าทางสมณะเป็นทางที่กว้างขวางนะ กว้างขวางแล้วมันทำจริงหรือเปล่า เวลาทำไปแล้วทำเป็นกิริยา ปฏิบัติไป เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาเป็นกิริยา จิตมันลงไหม ถ้าจิตมันลง แล้วลงได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าลง แล้วเวลาลงไปแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา มันเป็นวิปัสสนาจริงหรือเปล่า

ฉะนั้น ถ้าทางกว้างขวาง นี่มันเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เวลาเราคิดไง เวลาเอาคำนี้มาคิด ถ้าเอามาคิด มันเตือนใจตลอดนะ คนที่มีปัญญา เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์สั่งสอน อย่างที่ว่า คำพูดแต่ละคำนะ วรรคทอง วรรคทองมันสะเทือนใจไง อันไหนเป็นวรรคทอง อันไหนที่มันสะเทือนหัวใจ มันเป็นประโยชน์หมด

แล้วเวลาจิตใจเราห่อเหี่ยว จิตใจของเราท้อแท้ ไอ้พวกวรรคทอง ไอ้พวกสิ่งที่อย่างนี้มันกระตุ้นใจเราได้ไง ถ้ามันกระตุ้นใจขึ้นมา มันก็ฟื้น เหมือนนักมวย พี่เลี้ยงให้น้ำเลย พอหมดยก พี่เลี้ยงให้น้ำ ออกมาได้สู้ต่อ นี่ก็เหมือนกัน ปฏิบัติต่อ

เขาว่า ทางของฆราวาสเป็นทางคับแคบ ทางของสมณะเป็นทางกว้างขวาง ทางกว้างขวางมันเป็นโอกาส มันเป็นโอกาสในสถานะของความเป็นพระ สถานะของความเป็นโลก แต่ถ้าทางกว้างขวางแล้ว ถ้าเอาจริงนะ เอาจริงจะเป็นประโยชน์มาก

ฉะนั้น เขาบอกว่า สิ่งที่เขาปฏิบัติ มันปฏิบัติเพื่อกำลังใจ เพื่อความเป็นจริง ฉะนั้น สิ่งที่เป็นจริงมันจะเป็นความจริงขึ้นมา ฉะนั้น ถ้ามันคิดได้ มันมีปัญญาอย่างนี้ให้โอกาสเราตลอดเวลา เราทำอยู่แล้ว เราทำอยู่แล้ว มันมีธรรมเลี้ยงหัวใจให้มันฮึกเหิม ให้มันต่อสู้ไปต่อเนื่อง แล้วทำความเพียรของเราต่อเนื่องไปๆ

ฉะนั้น เขาบอกว่า ข้อที่ . กราบขอกำลังใจ

กำลังใจ เวลาฟังเทศน์มันได้กำลังใจ แล้วคำว่ากำลังใจนี่อย่างหนึ่งนะ แต่ในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มงคลชีวิตๆ การเห็นสมณะเป็นมงคลอย่างยิ่ง การเห็นสมณะไง การเห็นสมณะเป็นมงคลอย่างยิ่ง เราจะยกว่าพระสารีบุตรไปเห็นพระอัสสชิ

พระสารีบุตรศึกษามา ศึกษามากับสัญชัย ศึกษามาเต็มที่ ศึกษาจนความรู้สัญชัยหมดแล้ว อยู่ด้วยกัน คลุกคลีขนาดนั้นน่ะ มันจนตรอกไง พอจนตรอก พยายามหาทางออก พอหาทางออก ไปเห็นพระอัสสชิเดินบิณฑบาต กิริยามันสงบเสงี่ยม นี่เห็นสมณะ มันสะเทือนใจเลยนะ มันตามไปเลยล่ะ ตามไปเลย แค่เห็นกิริยาการก้าวเดิน เห็นสมณะ

เพราะเห็นสมณะ ตามสมณะนั้นไป พอสมณะสั่งสอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ให้เข้าไปแก้ที่เหตุนั้น พระสารีบุตรฟังปั๊บ เป็นพระโสดาบันเลย

สิ่งที่ว่ากำลังใจ การเห็นสมณะเป็นมงคลอย่างยิ่ง การฟังธรรม ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การฟังธรรมเป็นครั้งเป็นคราว การฟังธรรมเป็นการฟังได้ยาก ฟังได้ยาก มันเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง อีกอย่างหนึ่ง จิตใจเรายอมรับหรือไม่ยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับ ฟังแล้วมันก็โต้แย้ง แต่ถ้าเป็นความจริงก็เป็นความจริง นี่พูดถึงกำลังใจนะ กำลังใจอย่างนี้มันทำได้ ฉะนั้น สิ่งที่ทำได้มันเป็นไปได้ใช่ไหม

. ในการฝึกนั่งสมาธิ ลูกกำหนดพุทโธพร้อมกับลมหายใจเข้าออก สักพักลมหายใจมันเบา แต่ยังพุทโธได้อยู่ บางครั้งมันค้างนิ่งอยู่อย่างนั้น ลมหายใจมันชัดขึ้นมา แล้วมันคลายตัวออก

เขาบอกกำหนดพุทโธๆ พุทธานุสติ การกำหนดพุทธานุสตินี่สำคัญมาก คำว่าสำคัญมากถ้าเราฝึกหัด เราฝึกหัด เรามีสติปัญญา เราควบคุม สิ่งทุกๆ อย่างมันจะเจริญงอกงามขึ้นมา

เราทำของเราโดยสักแต่ว่า ทำสักแต่ว่า ที่ทำกันโดยสักแต่ว่าทำ ว่างๆ กำหนดว่างๆ ที่หลวงตาท่านบอก บอกว่าเราดูจิตๆ ท่านกำหนดดูเฉยๆ

ขณะที่ว่าก่อนที่ท่านจะดูจิต ท่านบวชใหม่ อุปัชฌาย์ให้กำหนดพุทโธ ท่านก็กำหนดพุทโธ สงบได้ หน เรียนอยู่ ปี เป็นอัปปนาสมาธิได้ ครั้ง แต่พอเรียนไปแล้ว เรียนไปแล้วมันมีปัญญาไง พอมีปัญญาขึ้นมา เวลาฝึกหัดครั้งแรกกำหนดจิตเฉยๆ ดูจิตเฉยๆ ก็มีปัญญาแล้ว รู้แล้ว ตอนยังไม่รู้นะ กำหนดพุทโธชัดๆ กลัวมันจะผิดพลาดไง อุปัชฌาย์บอกให้พุทโธ เพราะอยากภาวนา ไปถามอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์บอกว่าเรากำหนดพุทโธ ท่านก็กำหนดพุทโธด้วย

แล้วเวลามาศึกษา เรียนเป็นมหานั่นแหละ ท่านบอกเรียนอยู่ ท่านก็ปฏิบัติด้วย ปฏิบัติด้วย ระหว่างที่เรียน ปี เป็นสมาธิได้ หน แต่เวลามาปฏิบัติจริงๆ ไปดูจิต ดูจิตเพราะรู้มากไง ปัญญาเยอะไง พอดูจิต จิตเสื่อมหมดเลย ปีกับ เดือน ปีกับ เดือน

สุดท้ายแล้วเวลาจิตเสื่อมมันไปไหนไปไม่รอด เพราะอะไร เพราะกำหนดพุทโธก็เคยทำมาแล้ว มากำหนดดูจิตๆ มันสงบ มันก็สงบของมันได้ แต่มันไม่มีหลักมีเกณฑ์ สุดท้ายคนเรามันจนตรอก เข้าไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นถึงสอนตรงนี้ไง จิตนี้มันเหมือนเด็กน้อย มันต้องมีพี่เลี้ยง มันต้องมีอาหารของมัน ฉะนั้น ถ้าเด็กน้อยมันดื้อ เด็กน้อยมันเที่ยวเล่นไปโดยความประมาทของมันไป ถ้าเราตามหาเด็ก เด็กมันก็ยิ่งหนีไกล เด็กมันยิ่งงอแง เราไม่ต้องไปสนใจมันเลย เรากลับมาพุทโธๆ ไว้ เรากลับมารักษาอาหารของมันไว้ เด็กมันไปถึงที่สุดแล้ว มันไม่มีทางไป มันหิวกระหาย มันต้องกลับมาหาอาหารนั้น

ท่านก็เชื่อ ท่านเชื่อนะ เพราะอะไร เพราะก่อนหน้านั้นท่านก็พุทโธมาก่อน เสร็จแล้วท่านบอกว่ากำหนดดูจิตเฉยๆ พอเป็นมหาจะมาปฏิบัติ กำหนดดูจิตเฉยๆ แล้วพอมันเสื่อมไป จับต้องไม่ได้ ไม่มีสิ่งใดควบคุม เสื่อมไปปีกับ เดือน ท่านบอกตั้งแต่ปฏิบัติมาไม่เคยมีทุกข์คราวใดมากเท่าทุกข์คราวนี้เลย

สุดท้ายแล้วหลวงปู่มั่นให้กำหนดพุทโธ กำหนดพุทโธไว้ๆ เพื่อเวลาเด็กมันหิว มันต้องกลับมาที่นั่น ท่านก็ทำจริงๆ พุทโธจริงๆ แล้วมันก็ฟื้นมาจริงๆ นี่มันถึงเป็นการยืนยันให้เข็ดหลาบไง ถ้ามันยืนยันให้เข็ดหลาบ เราปฏิบัติไป ปฏิบัติถึงที่สุด เวลาหลวงปู่มั่นท่านจะเสีย เวลาท่านมีปัญหา ขึ้นไปถามหลวงปู่มั่นได้ทุกคราว แต่พอหลวงปู่มั่นจะเสียไป ต่อไปท่านจะไม่มีครูบาอาจารย์ ท่านมาระลึกถึงหลวงปู่มั่นท่านเคยสอนไว้ๆ ตลอดไง อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ จำไว้เลยนะ อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ จะไม่เสีย

เวลาครูบาอาจารย์เทศน์ปฏิบัติท่านห่วงตอนเสียหาย ตอนเสื่อม ตอนท้อแท้ ตอนไม่สู้ ตอนดี เวลาดี ดีอยู่พักหนึ่ง เวลาเสียคือชีวิตนั้นหมดไปเลย เวลาขวนขวาย เวลาทำคุณงามความดีกันพักหนึ่ง เวลาท้อแท้ เวลาเสียหายแล้วเลิกเลย เป็นอย่างนี้กันทั้งนั้นนะ ท่านถึงสั่งไว้ เน้นไว้เลย อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ จะไม่เสีย

พุทธานุสติ ถ้าไม่ทิ้งผู้รู้ พุทโธๆ เพราะผู้รู้มันทำงาน ผู้รู้กำหนดพุทโธ พุทโธมันอยู่ ไม่ทิ้งผู้รู้ ไม่ทิ้งพุทโธ ผู้รู้มันกำหนดพุทโธ พุทโธก็อยู่กับผู้รู้นั้น แล้วรักษาตรงนี้ไว้ ถ้ารักษาตรงนี้ไว้ ต้นทุนเดิมเราไม่เสียหาย ต้นทุนเดิมเราไม่เป็นไรไป ตรงนี้จะทำให้ไม่เสีย ตรงนี้เป็นประโยชน์กับเรา

แต่ทางโลก ทางโลกบอกเขาเป็นผู้ที่มีปัญญาๆ ไง กำหนดรู้เท่า กำหนดทุกอย่าง ใช้ปัญญาเป็นวิปัสสนา สติปัฏฐาน ไอ้พุทโธเป็นสมถะ ไม่มีประโยชน์อะไร มองข้ามไง ถ้าเขามองข้ามสิ่งนี้ไป มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้เพราะอะไร มรรคมันมีสัมมาสมาธิ ในญาณ ๑๖ ญาณที่ หรือญาณที่ มันก็มีสมถะ แต่เขาพลิกแพลงเอง มันเป็นโวหาร มันเป็นการเมือง มันเป็นการพูดใส่ไคล้ให้การปฏิบัตินั้นมันไม่ก้าวเดิน แต่ความจริงญาณ ๑๖ มันก็มีสมถะ แต่มันพูดไปเพราะภาวนาไม่เป็นไง แต่ถ้าภาวนาเป็น มันเป็นของมัน

แต่เราไม่ทิ้งผู้รู้ ไม่ทิ้งพุทโธ มันป้องกันตัวเองด้วย ป้องกันตัวเองไม่ให้จิตเสื่อม เพราะเวลาจิตเสื่อมไปแล้วมันทำให้เราทุกข์ ทำให้เราท้อแท้ เพราะอะไร เพราะว่าเวลาคนเรามันดี มันก็ดีของมันไป เวลามันถอย มันไปเลย เสียคนไปเลย แล้วจะฟื้นกลับมา เพราะมันมีบาดแผลแล้ว กรรมมันมีการกระทำแล้ว มันจะฟื้นมาไม่ได้ แต่ขณะที่ดี มันมีแต่สิ่งที่ดีๆ ขึ้นไป

ฉะนั้น สิ่งที่บอกว่าพุทธานุสติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้ทำความสงบของใจ ๔๐ วิธีการ แล้วหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราท่านปฏิบัติมา ตรงนี้สำคัญ เพราะรักษาตนเองได้ รักษาหัวใจเราไว้ได้ แล้วถ้ามันเสื่อม พอเสื่อม มันท้อแท้ ไปทำเวรทำกรรมที่ไม่ดีขึ้นมา มันจะกลับมาปฏิบัติมันก็อาย มันก็กลับมาไม่ได้

แต่ถ้าเรารักษาไว้ เราไม่ท้อแท้ ไม่ทำให้มันเสียหายไป เราปฏิบัติต่อหน้าๆ ไป มันเป็นประโยชน์ นี่พุทธานุสติ เรามีสติระลึกถึงพุทโธๆ ตลอดไป มันจะเป็นคุณงามความดี

ฉะนั้น เขาบอกว่า เวลาลมหายใจมันเบาลง แต่ยังพุทโธได้

นั้นต้องเน้นย้ำพุทโธต่อเนื่องไป เพราะมันยังพุทโธได้ คำว่าพุทโธได้จิตมันอย่างสูงก็เป็นขณิกสมาธิ ถ้าเป็นอัปปนาสมาธิ มันสงบแล้วมันออกรู้ ออกรู้คือออกเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง

ถ้ามันออกรู้เห็นนิมิต เราก็มีสติดึงกลับ ออกรู้ไปเห็นเทวดา อินทร์ พรหม เราก็เป็นเทวดามาก่อน จิตทุกดวงเคยเกิดในวัฏฏะ จิตทุกดวงที่นั่งอยู่นี่เคยเป็นเทวดา เคยตกนรกอเวจี เคยทุกข์เคยยากมาทั้งนั้น จิตทุกดวงเคยเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เพียงแต่ในปัจจุบันนี้มาเกิดเป็นมนุษย์นี้เท่านั้น ฉะนั้น สิ่งที่เวลาที่มันออกไปรู้ เราเคยเป็น มันจะตื่นเต้นอะไร จิตนี้เคยเป็น ของเราเคยเป็น เราเคยใช้สอย เราจะตื่นเต้นอะไร

แต่ถ้าเราเป็นมนุษย์ ปัจจุบันนี้เราเป็นมนุษย์ พอไปเจอเทวดา อินทร์ พรหม อู้ฮู! สูงส่ง...ก็เราก็เคยเป็น เราเคยเป็น ไม่ภพใดชาติใดเราก็เคยเป็นแบบนั้น แต่ในชาติปัจจุบันนี้เราเป็นมนุษย์ ถ้ามีสติสัมปชัญญะอย่างนี้มันก็ไม่ส่งออก

อยู่กับผู้รู้ อยู่กับพุทโธ เห็นไหม ไม่ทิ้ง ไม่ทิ้งผู้รู้ ไม่ทิ้งพุทโธ มันก็ไม่ออกไปรับรู้ ถ้าออกไปรับรู้ นึกพุทโธชัดๆ มันก็กลับ เวลาจะรู้สิ่งใด เราตั้งสติไว้ มันก็กลับ เราตั้งสติ มันจะกลับทันทีเลย

แต่ส่วนใหญ่คนปฏิบัติพอมันจิตสงบแล้ว มันส่งออกไปแล้ว ไปเห็นอะไรแล้วเพลิน สงสัย อยากรู้ ไปเลย ถ้ามีสตินะ กลับทันที ไม่ไปหรอก เพราะมันไปจากเรา ส่งออกไปจากเรา ถ้าสติมันพร้อม มันก็พร้อมจากเรา

ฉะนั้นบอกว่าเวลากำหนดลมหายใจเบาๆ แต่ยังพุทโธได้อยู่ บางทีก็ไปค้างนิ่งอยู่อย่างนั้น

การค้างนิ่งอยู่ ถ้าเราพุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ ไป ถ้าพุทโธชัดๆ นะ จิตใจมันจะบอกว่ามันออกไปหยาบ ตอนนี้เราพุทโธ มันละเอียดแล้ว มันจะไม่หยาบ

ไม่หยาบไม่ละเอียดหรอก ถ้าพุทโธชัดๆ ไอ้ค้างๆ อยู่นี่ก็จบ ไอ้ค้างๆ อยู่นี่เพราะมันพุทโธแล้วมันเหมือนกับจะลง แล้วมันก็ลงไม่ได้ ลงไม่ได้เพราะว่าจิตใจมันยังหยาบ ถ้าเรากำหนดพุทโธๆ มันก็จะทำให้จิตละเอียดขึ้น แต่นี้จิตใจมันหยาบ มันก็ค้างอยู่อย่างนั้น คือแบบว่ามันกินตัวมันเอง มันขัดแย้งในตัวมันเอง ถ้าพุทโธซะ มันก็ว่าจะหยาบ แต่ถ้ามันจะต่อไป มันก็ไปไม่ได้ เห็นไหม มันขัดแย้ง ที่ว่าเวลาภาวนาไป เพราะถ้าอวิชชามันสงสัย มันก็เป็นแบบนี้

สิ่งใดจะเกิดขึ้นก็แล้วแต่ พุทโธมันจะเบา มันจะชัดเจน มันจะหนักหน่วงขนาดไหนก็พุทโธไปเรื่อยๆ พุทโธชัดๆ พร้อมสติ เดี๋ยวธรรมะจัดสรรให้เลย เดี๋ยวแนวทางปฏิบัติของเรานี่มันจะจัดสรรให้เลยว่าจิตควรเป็นอย่างใด

เพียงแต่ว่าตอนนี้กิเลสมันจัดสรรให้ กิเลสมันต้องการให้เป็นอย่างนั้น เพราะกิเลสมันรู้อยู่ ถ้าพุทโธแล้วมันต้องว่างให้ได้ ถ้าพุทโธแล้วมันต้องเป็นไปให้ได้ บางคนบอกพุทโธแล้วเดี๋ยวมันก็จะหาย ก็นึกให้มันหายไปเลย พุทโธๆ แล้วก็พยายามปล่อยวางให้มันหายไป อันนี้มันเป็นการสร้างภาพหมด มันเป็นธรรมะสร้างภาพ ไม่ใช่เป็นความจริง ถ้าเป็นความจริงนะ เรารู้จริงเลย แล้วพอรู้จริงขึ้นมามันจะชัดเจนของมัน

ฉะนั้น ถ้ามันยังพุทโธได้ เราพุทโธไว้ พุทโธไว้ ไม่ต้องไปสนใจสิ่งใด พุทโธไว้กับความสุขความสงบของเรา เพราะถ้าพุทโธ อยู่กับพุทโธได้นี่สงบแล้วแหละ เพราะอะไร เพราะมันไม่ฟุ้งซ่าน ถ้ามันยังพุทโธไม่ได้ มันพุทโธแล้วมันแฉลบ นี่มันยังพุทโธไม่ได้

ถ้ามันพุทโธได้ มันไม่แฉลบแล้ว มันอยู่กับพุทโธแล้ว แต่พุทโธต่อเนื่องไป อยู่กับพุทโธแล้วมันก็จะดึงออกไง มันจะเป็นอย่างนั้นจะเป็นอย่างนี้ มันจะดึงออกไป เห็นไหม พุทธานุสติ มีสติระลึกรู้พุทโธของเราอยู่ พุทธานุสติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนถึงกรรมฐาน ๔๐ ห้อง พุทธานุสติ แล้วเรากำหนดพุทโธๆ ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย แล้วมีสติระลึกพุทโธในใจของเราด้วย เราทำของเราอย่างนี้ต่อเนื่องไป

เวลามันจะค้างอยู่ ลมหายใจมันจะขาด มันจะคลายตัวออกมา แล้วบางทีมันไม่ถึงสมาธิ บางทีรู้สึกว่ามันอึดอัด มันมีความจุกอยู่

มันมีอยู่ร้อยแปด ถ้าเริ่มต้นเวลาจิตเราดี มันจะดีไปหมดเลย ถ้าเวลามันจะถอยนะ เหตุผลมันจะอ้างเยอะไปหมดเลย เดี๋ยวจะจุกหน้าอก เดี๋ยวจะหายใจไม่ออก เดี๋ยวตัวมันจะเอียง เดี๋ยวจะกลืนน้ำลาย เดี๋ยวตัวมันจะพอง ร้อยแปดเลย มาเป็นขบวนเลย

เหมือนไปหาหมอ หมอเขาตรวจโรคเจอ รู้เลยว่าโอ้โฮ! โรคนี้เกิดจากอะไร โอ้โฮ! สมุฏฐานของโรคเต็มไปหมดเลย แต่ถ้าตรวจไม่เจอ ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่พอไปเจอนะ โอ้โฮ! เหตุให้เกิดโรคนี่เป็นตับเลย

วางให้หมด วางให้หมด เวลาถ้าจิตมันดีนะ สิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับใจเลย เวลาเราเริ่มถอย สิ่งนี้จะมาทันที แล้วมาทันทีแล้ว หญ้าปากคอก ฉะนั้น สิ่งต่างๆ พุทธานุสติ กำหนดพุทโธไว้ แล้วทุกอย่างมันจะดีขึ้น กำหนดพุทโธไว้

เขาบอกว่า หรือว่าเราตั้งใจมากเกินไป

บางทีตั้งใจมากเกินไป เราก็กลับมากำหนดพอประมาณ ถ้ามันท้อแท้ขึ้นไป เราก็พยายามระลึกถึงความเพียรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันต้องเป็นความสมดุลของเราเอง มันเป็นความพอดีของใจเอง ถ้าใจพอดี มันก็สมดุลของมัน นี่ข้อที่ .

. เมื่อเช้าได้ฟังเทศน์หลวงพ่อเล่าตอนที่หลวงพ่อฝึกพุทโธอย่างเดียวโดยไม่สนใจเอาสมาธิ สุดท้ายก็ลงสมาธิจนได้

อันนี้คนต้องมีหลักเกณฑ์นิดหนึ่ง ถ้ามันไม่มีหลักเกณฑ์ เรากำหนดพุทโธโดยไม่เอาสมาธิมันเหมือนกับประชดประชันชีวิต มันเหมือนกับเป็นการประชดประชันวิธีการปฏิบัติ

แต่ของเราไม่ใช่อย่างนั้น เพราะเวลาเราคุยธรรมะกับหลวงปู่เจี๊ยะ แล้วหลวงปู่เจี๊ยะท่านบอก ท่านบอกถึงวิธีการ เห็นไหม ครูบาอาจารย์ของเราแต่ละองค์ท่านจะบอกอย่างหนึ่ง ความถนัดของแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน หลวงปู่เจี๊ยะหรือครูบาอาจารย์ที่เป็นเจโตวิมุตติส่วนใหญ่ท่านจะบอกว่าให้พุทโธรัวๆ พุทโธๆๆๆ อยู่อย่างนี้ ท่านบอกอย่างนี้ แล้วถ้าเราทำเนิ่นช้าหรือเราทำ ท่านจะบอกว่าไม่พอกิน ทำไม่พอกินคือทำไม่พออยู่พอกิน ทำไม่พออิ่มท้อง

คนเราทำอาชีพแล้วเลี้ยงชีวิตไม่ได้นี่ทุกข์นะ แต่ถ้าเราทำอาชีพแล้วเลี้ยงตัวเองได้ด้วย ยังเลี้ยงครอบครัวได้ด้วย นั่นอีกเรื่องหนึ่งนะ ฉะนั้น ท่านบอกว่าต้องให้พุทโธมากๆ พุทโธรัวๆ พุทโธไวๆ มันถึงจะทันกิเลส แล้วมันจะเอาหัวใจนี้ไว้ได้ แล้วพุทโธๆ ไป พุทโธสัก - ชั่วโมง ได้สมาธิสัก - นาที ถ้าพุทโธสัก ชั่วโมงจะได้สมาธิ นาที ก็ทดสอบกัน เราก็เลยพุทโธ

เพราะโดยธรรมชาติ เราบวชใหม่ๆ เราก็พุทโธตลอดเวลาเหมือนกัน เราพุทโธทั้งวันทั้งคืน เพราะว่าตอนบวชใหม่ๆ มันฟุ้งซ่านมาก แล้วภาวนาไม่เป็น จะทำอะไร อยู่กับพุทโธ มันก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ยังรักษาชีวิตได้จนเป็นพระอยู่วันนี้ ก็ยังรักษาชีวิตนี้ได้มา แต่ไอ้เรื่องได้ผล ไม่ได้หรอก แต่ก็พยายามอยู่กับมัน แล้วพยายามหาหนทาง แล้วเราก็ไปเป็นปัญญาอบรมสมาธิ แล้วก็ภาวนาไปเป็นชั้นเป็นตอนไป

แต่เวลาหลวงปู่เจี๊ยะท่านพูดอย่างนี้ เราก็ลองกับท่าน แล้วลองกับท่าน ท่านพูดเองบอกว่า มันด้วยเหตุด้วยผลมันต้องเป็นตามจริงอย่างนั้น

ฉะนั้น อย่างเรา เราก็อยากได้ใช่ไหม มันเป็นทางต่อรองของกิเลส ถ้าเราทำสมาธิ เราจะได้อย่างนั้น ทำอย่างนี้มันจะได้อย่างนี้ ตัดทิ้งเลย ไม่เอา พุทโธเพื่อพุทโธ พุทโธโดยไม่เอาสมาธิ ไม่เอาอะไรเลย เราพุทโธอย่างนี้ ทีนี้อะไรมันจะมาต่อรอง อารมณ์มันจะเกิดขึ้น มันจะเป็นสมาธิ มันจะมีวี่แววว่าจะเป็นสมาธิ ปฏิเสธหมด พุทโธอย่างเดียว พุทโธๆๆ อยู่อย่างนั้นน่ะ ทำอยู่อย่างนั้นเป็นเดือนนะ เป็นเดือน

คำว่าเป็นเดือนเพราะว่าชีวิตประจำวันใช่ไหม เช้าก็บิณฑบาต ทำข้อวัตร ถ้ามีเวลาก็พุทโธตลอด พุทโธอย่างนั้นน่ะ แล้วธรรมดาคนปฏิบัติมันก็ทำทางนู้นบ้างทำนี้บ้าง ตอนนี้ไม่ทำอะไรเลย พุทโธอย่างเดียว พุทโธอย่างเดียว พุทโธอยู่อย่างนั้นน่ะเพื่อพิสูจน์กัน เพราะเรามันก็คนสุดโต่งพอสมควร

ทีนี้ก็พุทโธๆ มันก็อยู่กับพุทโธตลอด วันหนึ่งขณะพุทโธอยู่ในทางจงกรม มันเริ่มพุทโธๆ มันพุทโธละเอียดขึ้นๆ จนพุทโธมันจะหายหมด ไม่มีเลย พุทโธไม่ได้เลย ถ้าธรรมดาโดยทั่วไปก็ต้องตกใจ แต่นี่เราไม่ พอมันจะเป็นปั๊บนะ เชิญครับ มันทันนะ เชิญครับ โอ้โฮ! มันควงลง มันควง เดินจงกรมอยู่นะ เดินจงกรมอยู่ พอเดินจงกรมสักพักหนึ่ง เดินไม่ได้ พอมันจะพุทโธไม่ได้ เดินไม่ได้ ยืน ยืนอยู่ พอยืนอยู่ มันก็ยังจะล้ม เราพยายามนั่งลงอยู่ในทางจงกรม แต่นี่กิริยาภายนอกนะ แต่กิริยาภายในหัวใจมันควงเหมือนเราโดดหอ แต่มันเป็นตัวจิตล้วนๆ ควงลงไป ควงเป็นสว่านลงไปเลย ลงไปหวิวๆ

ถึงที่สุดนะ แต่สติเราตามไปพร้อม ควบคุมไปพร้อม ควงจนถึงที่สุดลงไปกึ๊ก! เงียบ ดับหมดเลย ดับหมด สักแต่ว่า สักแต่ว่ารู้ มันรู้อยู่ แต่ดับหมด แต่นั่งเฉย นั่งอย่างนี้ ถ้านั่งนี่แสดงว่าเรารู้อยู่ใช่ไหม เพราะเรารู้ เรานั่งอยู่ แต่อาการกระทบทั้งหมดดับหมด หลายชั่วโมงมาก แล้วคลายออก ถึงยืนยันว่าหลวงปู่เจี๊ยะพูดถูก

หลวงปู่เจี๊ยะ ครูบาอาจารย์ท่านพูดอะไร เราจะต้องไปทดสอบ เราทดสอบกับตัวเองเรื่องนี้ ถึงบอกว่าทำได้ คำว่าทำได้ทำได้จริงด้วย แต่ต้องคนที่มีอำนาจวาสนา เพราะคำนี้หลวงตาท่านพูดเอง หลวงตาเวลาท่านมาที่โพธาราม ท่านจะพูดถึงอัปปนาสมาธิบ่อยมาก ท่านบอกถึงอาจารย์เนตรที่เอาเสือมากัดคอ แล้วจิตลงอัปปนาเลย นี่เวลาคนอัปปนา แล้วท่านก็พูด อัปปนาสมาธิไม่ได้ทำได้ง่ายๆ พระบางองค์ไม่เคยประสบเลย พระบางองค์ พระบางองค์ที่มีคุณธรรมด้วย ไม่เคยลงอัปปนาสมาธิเลย ฉะนั้น เวลาเดินมรรค มันไม่จำเป็นต้องอัปปนาสมาธิ มันอุปจารสมาธิมันก็เดินมรรคได้แล้ว

อัปปนาสมาธิ หลวงตาท่านพูด พระหลายๆ องค์มากไม่เคยได้สัมผัสอัปปนาสมาธิ ไม่เคย น้อยองค์มากที่จะได้สัมผัสอัปปนาสมาธิ

แล้วอัปปนาสมาธิเป็นอย่างใด

ฉะนั้น เขาบอกว่า หลวงพ่อพูดว่าอย่างนั้นไง หลวงพ่อบอกพุทโธโดยไม่เอาสมาธิ

ถ้าพูดไปแล้วมันก็จะขัดแย้ง คำว่าไม่เอาสมาธิหมายความว่าไม่ให้กิเลสเอาเรื่องความจะได้ผลนี้มาต่อรอง ถ้าเวลาเราปฏิบัติไปแล้วกิเลสมันก็จะเอาขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ อ๋อ! จะได้แล้ว อ๋อ! จะเข้าแล้ว อ๋อ! จะพอดีแล้ว...ตัดทิ้งเลย ไม่เอา จบ เอามาต่อรองไม่ได้ ไม่อย่างนั้นกิเลสมันจะเอาตรงนี้แหละมาต่อรอง เฉียดๆ เฉียดๆ เกือบๆ เกือบได้แล้วๆ อยู่อย่างนั้นล่ะ แล้วเอ็งไม่ได้

ลองทำสมาธิโดยที่ไม่หวังสิ ไม่หวัง ไม่ต้องการ ไม่อยากได้อะไร แล้วทำของเราไป ถ้าได้ก็อานิสงส์ ถ้าไม่ได้ ปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถ้าไม่ได้ เราออกมา เราใช้ปัญญาของเราใคร่ครวญของเรา ฝึกหัดใช้ปัญญาของเราเดินมรรคเลย เพราะมันไม่จำเป็นจะต้องลงถึงตรงนั้น

แต่คำว่าอัปปนาสมาธิของเราเพราะว่าเวลาเขาดูจิตกันแล้วจิตเขาไม่ลงสมาธิ เขาบอกว่าลงอัปปนาสมาธิแล้วจะเกิดปัญญาเอง

เราถึงบอกมันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะอัปปนาสมาธิมันทำให้เกิดปัญญาไม่ได้ มันเป็นสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้มันเกินสัมมาสมาธิที่พระพุทธเจ้าต้องการ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการอุปจารสมาธิเท่านั้นเอง แต่ให้เป็นสัมมาสมาธิ ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ แต่ก็ไม่ใช่อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิมันลึกเกินกว่าที่จะเดินมรรคได้

เป็นไปไม่ได้ที่อัปปนาสมาธิจะมาเดินมรรค เพียงแต่ว่าอัปปนาสมาธิมันเป็นฐานของคนที่เจโตวิมุตติที่จะเอาเข้าไปถึงข้อมูลเดิม เอาเข้าไปถึงกำลังของจิต พลังงานของจิต แล้วออกใช้อภิญญา เข้าตรงนี้ปั๊บมันจะรู้

ดูสิ ที่เวลาหลวงตาท่านบอกว่าอาจารย์เนตรที่ท่านกำหนดเสือกัดคอ ท่านบอกว่า ถ้าวันไหนจิตลงอัปปนาสมาธิจะรู้เลย วิญญาณดวงไหน บ้านไหนจะมีสิ่งใด มันจะบอกหมด แล้วพอออกจากนั้นมานะ เพียะเลย เดี๋ยวมานิมนต์แล้ว บ้านนั้นตาย บ้านนี้ตาย รู้หมดถ้าเข้าไปตรงนั้น มันเป็นกำลังของจิต แต่ไม่ใช่มรรค ไม่ใช่การเดินมรรค แต่อันนั้นเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบจิตของตัวไง

ฉะนั้น นี่พูดถึงว่า ถ้าจะเอาอย่างนั้น เราถึงบอกว่าพุทโธต้องลงอัปปนาสมาธิ...ไม่ใช่ เราพุทโธเพื่อจิตสงบ ทำความสงบของใจให้ใจมีกำลังเข้มแข็ง ให้กิเลสครอบงำจิตใจนี้ไม่ได้ แล้วใจมีกำลังแล้วใจยกขึ้นสู่วิปัสสนา ฝึกหัดใช้ปัญญาเพื่อมรรคเพื่อผล เพื่อการชำระล้างกิเลสในใจของเรา การชำระล้างกิเลสในใจของเราประเสริฐที่สุด การดูแลหัวใจของเรา ชำระล้างกิเลสในใจสำคัญที่สุด

ไอ้สิ่งที่การปฏิบัติอย่างนั้นที่ลงอัปปนานั้นมันมีไง ฤๅษีชีไพรเขาทำมาได้ก่อน อภิญญา อภิญญา เจ้าชายสิทธัตถะไปเรียนกับอุทกดาบส อาฬารดาบสก็ได้มาก่อน แต่ยกขึ้นสู่ปัญญาไม่ได้ แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะยกขึ้นสู่ปัญญา ไม่เอาสมาบัติ สมาบัติ เอาสัมมาสมาธิ เอาสัมมาสมาธิ ไม่เอาอภิญญา ไม่เอาสมาบัติ เอาสมาธิ

เราทำตรงนี้ นี่พูดถึงในทางปฏิบัติของชาวพุทธ แต่สิ่งนั้นมันเป็นจริตเป็นนิสัย เพราะคนเวียนว่ายตายเกิดมาในวัฏฏะมาก ฉะนั้น ถ้าสิ่งนั้นก็ย้อนกลับมา ย้อนกลับมา อภิญญาตัวที่ คืออภิญญาตัวรู้ว่ากิเลสสิ้นไป คำว่ารู้ว่ากิเลสสิ้นไปต้องมีมรรค

ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล มรรค มรรคคืออะไร มรรคคือศีล สมาธิ ปัญญา ศีลกับปัญญา นั่นสมาธิ มันถึงจะเป็นมรรค ถ้าเป็นมรรคก็เป็นประโยชน์ขึ้นมา นี่พูดถึงปฏิบัติ

ทีนี้เราแก้หน่อยหนึ่งไง เขาบอกว่า พุทโธโดยไม่เอาสมาธิ มันก็ต้องลงสมาธิ

นั่นเป็นสมาธิ เป็นสมาธิ เป็นการประพฤติปฏิบัติ เป็นแนวทางปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ท่านทำ แล้วพุทโธไวๆ พุทโธต่อเนื่อง มีครูบาอาจารย์หลายองค์มากที่ท่านสอนแบบนี้ แต่เวลาผู้ที่มีปัญญา ดูสิ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านสอนกว้างขวาง ท่านสอนกรรมฐาน ๔๐ ห้อง ท่านสอนอานาปานสติ สอนมรณานุสติ สอนธัมมานุสติ เทวตานุสติ ถ้าจิตใจของคนมันสร้างจริตสิ่งใดมา พยายามให้ตรงกับจริตของตัว เพื่อประโยชน์กับจิตดวงนั้นภาวนาได้ง่าย ให้จิตดวงนั้นมีกำลัง ให้จิตดวงนั้นพัฒนาขึ้นมาเพื่อประโยชน์กับจิตดวงนั้น เอวัง