ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

เอะใจ

๒๓ พ.ค. ๒๕๕๘

เอะใจ

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่องทำไมเห็นสองครั้ง แต่ความรู้สึกต่างกันครับ

ขอกราบหลวงพ่อ คือผมภาวนาเคยเห็นเป็นภาพเรื่องต่างๆ วิ่งเข้ามาหาเรา แต่ถ้าเรารู้ก่อนที่เรื่องจะวิ่งมาหาเรา เรื่องนั้นก็จะหายไป ล่าสุดที่ภาวนาครับ ก็เห็นคล้ายในลักษณะเดียวกัน แต่ครั้งนี้มันรู้สึกเข้าใจอะไรบางอย่าง ซึ่งขณะที่เกิดสภาวะนั้นก็รู้ซึ้งถึงคำว่าสร้างภาพรู้สึกถึงคำว่าอย่าเชื่ออะไรง่ายๆเพราะมันมาจากอย่างนี้ และรู้สึกคำว่าพุทโธชัดๆมากขึ้น

โดยครั้งแรกผมใช้เครื่องมือภาวนาคือดูลมหายใจเป็นหลักครับ แต่ครั้งหลังผมใช้ภาวนาพุทโธครับ ที่ผมภาวนาพุทโธเพราะว่าลองฝึกครับ เพราะช่วงแรกๆ รู้สึกว่าใช้พุทโธไม่ได้ แต่ช่วงหลังคิดว่าทุกอย่างมันต้องฝึกหัดได้ เลยพยายามใช้ดูครับ เพราะจำได้ว่าหลวงพ่อเคยเทศน์ในถามตอบที่ผมเคยถามนานแล้วว่า มันเป็นแค่เครื่องมือ มันเป็นแค่เครื่องมือ

ตอบ : นี่คำถามเขา คำถามเขามันเหมือนกับเป็นคำตอบ คำถามเขาคือว่ามันไม่เป็นคำถาม มันเป็นคำที่ว่าเขาภาวนาแล้วมีประสบการณ์ เขาถึงเขียนมารายงาน

ฉะนั้น เขาถามปัญหามาเยอะมาก คนที่ภาวนาแล้ว พอเราไปรู้สิ่งใดแล้วเราจะแปลกใจ แล้วเราไม่รู้จะปรึกษาใคร เขาก็เลยหาคนที่รู้ แล้วพยายามจะเขียนมาถามไง

ฉะนั้น คำถามมันถามว่า เขาเคยภาวนาแล้วเห็นภาพมันวิ่งเข้ามาหา

นี่เวลาคนที่ภาวนาไง คนที่ภาวนา ส่วนใหญ่เราภาวนาเริ่มต้นเราก็หวังมรรคผลใช่ไหม เราหวังสิ้นสุดแห่งทุกข์ เราหวังจะพ้นทุกข์ ว่าอย่างนั้นเถอะ คนภาวนาหวังจะพ้นทุกข์ทั้งนั้นน่ะ เราเกิดมามันทุกข์มันยาก แล้วเวลาเราเป็นชาวพุทธ สิ่งที่เป้าหมายของเราคือนิพพาน นิพพานคือสิ้นสุดแห่งทุกข์ คือจะไม่เวียนว่ายตายเกิดอีกแล้วล่ะ แล้วเวลาไม่เวียนว่ายตายเกิดแล้ว เวลาสิ้นสุดแห่งทุกข์ไปแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกวิมุตติสุข

เวลาสุขทางโลก เห็นไหม สุขเวทนา ทุกขเวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา มันเป็นขันธ์ไง มันเป็นความรับรู้ มันไปกระทบ มันถึงจะมีความรู้สึกขึ้นมาได้ แต่เวลาจิตมันทำลาย มันปล่อยขันธ์เข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป จนมันทำลายตัวมันเอง แม้แต่ตัวตนของตัวเองก็ไม่มี เห็นไหม มันเป็นวิมุตติ มันเป็นวิมุตติสุข สุขเหนือโลก สุขเหนือขันธ์

ขันธ์คืออารมณ์ ขันธ์คือขันธ์ ขันธ์คือความรู้สึกนึกคิด แล้วตัวตน ตัวตนคือตัวจิต มันทำลายทั้งขันธ์ ทำลายทั้งตัวตน ตัวจิตนั้น แล้วมันพ้นไป มันเป็นวิมุตติสุข ถ้าวิมุตติสุขอย่างนั้นน่ะ เวลาพ้นทุกข์ไปแล้ว นิพพานคือเสวยวิมุตติสุขๆ สุขอันนั้นสุขอันเลิศ เราถึงปรารถนาอันนั้น ถ้าปรารถนาอันนั้น

เวลาเราเป็นชาวพุทธ เราจะประพฤติปฏิบัติ เราก็มีเป้าหมายว่าอยากจะพ้นจากทุกข์ พ้นจากทุกข์ปั๊บ สิ่งที่เราอยากจะพ้นจากทุกข์ แต่เรายังไม่เคยรู้จัก เรายังไม่เคยเห็นใช่ไหม เวลาคนที่ประพฤติปฏิบัติเขากลัวจะผิดจะพลาด ก็จะไปศึกษา พอศึกษาเป็นทฤษฎีขึ้นมาแล้ว ศึกษามาแล้วก็สร้างภาพอย่างนั้น กลัวทำแล้วมันจะผิดไง ต้องเป็นอย่างนั้นๆ เป็นอย่างที่เราคิดว่ามันจะเป็นไง เพราะเราคิด เราคิดนี่เป็นสัญญา

ฉะนั้น เวลาเป็นสัญญา เวลาครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติ หลวงปู่มั่นท่านบอกหลวงตา สิ่งที่ศึกษามา ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ประเสริฐมาก มันจะมีสิ่งใดที่มันจะเหมือนธรรมและวินัย ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเรา มันจะมีอะไรเหนือศาสดาของเราล่ะ แต่ศาสดาเป็นศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราไปจำมา เราไปจำมาแล้วมันก็จะสร้างภาพไง

ฉะนั้น หลวงปู่มั่นท่านบอกหลวงตาว่า สิ่งที่ศึกษามานี่ประเสริฐมาก เลอเลิศมาก มีคุณค่ามาก แต่ก็ใส่ไว้ในลิ้นชักในสมองนั้น แล้วลั่นกุญแจมันไว้ อย่าให้มันออกมา ถ้ามันออกมา เวลาปฏิบัติไป มันออกมามันคือสร้างภาพ สร้างภาพคือมันสร้างภาพ มันจินตนาการ การปฏิบัติเราก็ล้มลุกคลุกคลานไง แต่ถ้าเราใส่ในลิ้นชักในสมองเราซะ แล้วลั่นกุญแจไว้ เราปฏิบัติไปเป็นข้อเท็จจริง มันจะสุขมันจะทุกข์ มันจะรู้มันจะเห็น มันจะเป็นมันจะไม่เป็น เราพยายามตรวจสอบของเรา เห็นไหม มันจะเป็นความจริงอย่างนี้ แล้วถ้าเป็นความจริงขึ้นมา เขาเรียกว่าปัจจัตตัง ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโกเป็นข้อเท็จจริงตามนั้น

ขณะที่เป็นข้อเท็จจริงตามนั้นยังผิดเลย ผิดเพราะอะไร ผิดเพราะเรายังไม่รู้ ผิดเพราะเรามีความสงสัย เรามีความคิดเราเจือปน คำว่าสมุทัยมันเจือปนมา สมุทัยคือตัณหาความทะยานอยาก คืออยากได้ไม่อยากได้ คือถ้าเราคิดว่าใช่ เราก็อยากได้ ถ้าเราคิดว่าไม่ใช่ เราก็พยายามผลักไส นี่ตัณหาความทะยานอยากอย่างนี้มันเจือปนมา เขาเรียกสมุทัยมันปนมา

สมุทัยจะปนมา เราจะจัดการได้หรือเราจะแยกแยะได้ด้วยสมาธิ ฉะนั้น เราต้องทำความสงบของใจนี่ไง ทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบขึ้นมาได้ สิ่งที่มันสงสัย ถ้ามันสงสัยจะเป็นสมาธิได้ไหม ถ้าเราสงสัย เรายังลังเลอยู่นี่ เราทำสมาธิได้ไหม เราทำไม่ได้หรอก

ถ้าเราทำสมาธิได้ เราต้องตั้งใจ เราต้องพยายามทำของเรา ถ้ามันเป็นสมาธิก็เป็นสมาธิโดยข้อเท็จจริง คือสมาธิในตัวมันเอง

แต่นี่เป็นสมาธิก็ยังสงสัยนะว่างๆ ว่างๆ แบบนี้มันน่าจะเป็นสมาธิ มันกำลังจะเข้าสมาธิแล้ว กำลังๆ มันจะได้ๆ”...นี่ไง สงสัยไปหมด

สมาธิมันเป็นการทดสอบ มันเป็นการแยกแยะว่ามีสมุทัยและไม่มีสมุทัย ถ้ามันสมุทัย มันเริ่มห่างออกไปมากเท่าไร สมาธิจะเข้มข้นมากเท่านั้น สมาธิจะจริงจังมากเท่านั้น ตัวสมาธิเป็นตัวกรองไง

ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ท่านถึงสอนให้ทำสมาธิ พวกเราให้ทำสมาธิ ทำความสงบของใจเข้ามา พอใจสงบแล้วมันไม่มีสมุทัยเจือปน คือไม่มีการสร้างภาพ มันไม่มีความลังเลสงสัยขึ้นมา มากระตุ้นไง เพราะความสงสัยมันกระตุ้น

ดูสิ ว่ามีความอยากๆ เวลาปฏิบัติเขาบอกมีความอยาก ปฏิบัติไม่ได้

มันโดยสัญชาตญาณ โดยสัญชาตญาณของเรามันก็อยากได้ แต่เวลาอยากได้แล้วเราพยายามวางไว้ ตัณหาซ้อนตัณหาไง คือเราอยากได้อย่างหนึ่ง แล้วเวลาเราปฏิบัติไป ความจริงมันอีกอย่างหนึ่ง เวลามันซ้อน มันซ้อนกันไป ภาพมันเป็นเชิงซ้อน ภาพเชิงซ้อนมันก็ไม่จริงอยู่แล้ว เราต้องวางของเราให้เป็นความจริงของเรา ถ้าเป็นความจริงของเรา ทำอย่างนี้

ฉะนั้น คำถามเขาถามมาบ่อย เขาถามมาบ่อย เคยตอบปัญหากันมา เขาถึงบอกว่า คำถามเดิมๆ คำถามที่แล้วที่นานมาแล้ว หลวงพ่อบอกว่ามันก็เป็นแค่เครื่องมือ

มันเป็นแค่เครื่องมือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ มรณานุสติ อานาปานสติ เป็นเครื่องมือทั้งนั้นน่ะ เป็นเครื่องมือหมายความว่าให้จิตมันเกาะไป

เด็ก เด็กเวลาโตขึ้นมาแล้วจะฝึกเดิน มันจะมีราวบันได มันจะมีอะไรให้เกาะให้เด็กฝึกหัดเดิน ถ้ามันฝึกหัดเดิน พอเดินเป็นแล้วมันทิ้งหมดแหละ เด็กมันเดินไม่ได้ มันคลานไป มันอะไรไป มันอยากจะไปเร็วๆ มันอยากจะเกาะสิ่งใดไป เวลาถ้ามันเดินได้แล้ว มันวิ่งได้แล้ว มันไม่เอาอะไรมาขวางหน้าแล้ว มันจะไปเร็วที่สุดเลย มันเป็นแค่เกาะไป เห็นไหม

จิตต้องมีสิ่งใดเกาะไว้ ต้องมีพุทโธ ต้องมีอานาปานสติ ต้องมีสิ่งใดเกาะไว้

เราสังเกตได้ ถ้าเราไม่เกาะอะไรเลย ความรู้สึกเราอยู่ที่ไหน เราไม่เกาะอะไรเลย แล้วเราไม่ทำอะไรเลย มันจะอยู่ที่ไหน เริ่มต้นเราตั้งสติ เราก็ระลึกได้อยู่พักหนึ่งใช่ไหม แต่เดี๋ยวมันก็อยู่ไม่ได้ อยู่ไม่ได้หรอก

แต่ถ้าเรากำหนดพุทธานุสติ เรากำหนดพุทโธๆๆ มันจะเป็นอย่างไรให้มันเป็นไป จิตมันจะดิ้นอย่างไรให้มันเป็นไป แต่เราพุทโธของเราไว้ เราพุทโธของเราไว้จนมันไปไหนไม่ได้ มันก็ยอมสงบตัวลงเอง

เราพุทโธไว้ แต่เวลาเราพุทโธมันก็แฉลบ คิดนู่นคิดนี่ออกไป เพราะอะไร เพราะมันเป็นเรา กิเลสมันเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา แต่พุทโธนี่เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันอยู่ไกล มันยังไม่เห็นจริงไง

แต่ถ้าเราทำของเราต่อเนื่องไป พุทโธๆๆ มันจะแฉลบ มันจะไปอย่างไร มันเรื่องของมัน ไม่เกี่ยวกับเรา ไม่เกี่ยวกับเรา เราพุทโธของเราไป พุทโธจนมันสงบได้ ถ้ามันสงบได้ พุทโธละเอียดขึ้นๆ จากพุทโธไม่ได้ก็เป็นพุทโธได้ จากพุทโธได้แล้ว พุทโธมันจะชัดเจนขึ้น พุทโธมันจะเบาบางลง เรามีสติไว้ ไม่ต้องตกใจ ถ้าพุทโธมันจะหายไปเลย แต่เรายังรู้อยู่ ใช้ได้

แต่ถ้าพุทโธหายทั้งๆ ที่เราหายไปด้วย จบ ไม่ได้

ถ้าพุทโธหายคือว่ามันจะพุทโธหาย แต่เราก็รู้อยู่ เพราะมันจะเป็นตัวจริง มันจะเป็นพุทธะ พุทธะเป็นผู้รู้จริง แต่ถ้าขณะพุทโธๆ เราระลึกรู้ มันคนละชั้นกัน แต่เราอาศัยสิ่งนี้ทำของเราเข้ามาบ่อยครั้งเข้าๆ

ฉะนั้น ถ้าจิตมันสงบ ถ้ามันจะพุทโธ มันจะละเอียดขึ้นมา มันจะมีสภาวะแบบนี้แล้ว แบบว่าผมเคยภาวนาแล้วมันมีภาพต่างๆ วิ่งเข้ามา

มันจะมีภาพสิ่งใด มันจะมีสิ่งใดเกิดขึ้น เพราะจิตพอมันเริ่มมี มันสงบแล้วมันเริ่มรับรู้ มันจะรู้สิ่งต่างๆ ถ้ามันจะรู้สิ่งใด มันรู้แปลกแล้ว แต่ถ้าจิตเราไม่สงบ เราไม่รู้เรื่องอย่างนี้เลย พอจิตเราสงบ เราจะรู้สิ่งใด เขาเรียกว่ามันจะมีนิมิต มันจะมีอะไรเข้ามา เราวางไว้ เราอย่าไปตื่นเต้นกับสิ่งนั้น เราเกาะพุทโธไว้ ภาพนั้นจะหายไปเอง แต่ส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่คนทำงานไม่เป็น ถ้ามีใครคอยสอน มันจะคอยถามว่าถูกไหมๆ ตลอดไป

นี่ก็เหมือนกัน พอมันพุทโธๆ พอมันเป็นสิ่งใด มันเริ่มสงสัย มันสงสัย ถ้ามันสงสัย มันจะออกไป พอสงสัย มันอยากรู้ มันก็ออกไปรับรู้ มันก็ส่งออกอยู่อย่างนั้นน่ะ มันก็ไม่เจริญก้าวหน้า

ถ้ามันจะรู้สิ่งใด เรากำหนดพุทโธไว้ เราไม่รับรู้ แต่ถ้ามันอยากจะพิสูจน์กัน พอสิ่งใดเกิดขึ้น จับสิ่งนั้นเลยว่ามันคืออะไร พอจะจับปั๊บ มันหายเลย ไม่อยู่หรอก แต่ถ้าเรายังครึ่งๆ กลางๆ มันก็จะมาล่ออยู่อย่างนั้นน่ะ ถ้าเราเอาจริงเอาจัง มันก็จะหายไป ถ้าเราไม่ทำ มันก็มาล่อ

ฉะนั้น ถ้าครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นแล้วท่านบอกว่าอย่าไปสนใจมัน ให้พุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ มันจะแก้สิ่งนี้ไง

ฉะนั้นบอกว่า มันจะมีภาพวิ่งเข้ามา มันจะมีสิ่งใดเข้ามา แล้วในการปฏิบัติ เขาบอกว่า ถ้าเขาใช้ปัญญา อภิธรรมเขาว่าถ้าใช้ปัญญาไปเลย มันจะไม่เกิดนิมิต พวกพุทโธๆ พวกสมถะ มันจะเกิดนิมิต

มันจะเกิดหรือไม่เกิด มันเป็นจริตนิสัย บางคนไม่เกิดเลยก็มี แต่ถ้ามันเกิด มันเกิดถ้าเรามีสติปัญญาพิสูจน์แล้วมันไม่จริง มันก็จะวางเอง พอวางเอง ถ้าเราพุทโธๆ ไป จิตมันสงบ ถ้าจิตสงบขึ้นมา แล้วถ้ามันยกขึ้นสู่กาย มันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง อันนั้นอีกเรื่องหนึ่งนะ

แต่ถ้ามันมีภาพวิ่งเข้ามา ฉะนั้น พอเขามีสติขึ้นมา เราจะบอกว่า ถ้าเราภาวนาไป เราภาวนาไปเหมือนกับเรารับรู้สิ่งต่างๆ ไป มันไม่เอะใจ แต่ถ้าเราภาวนาไปแล้วมันมีวุฒิภาวะ คือจิตใจมันพัฒนาขึ้น มันเริ่มเอะใจนะ เอ๊ะ! ถ้าเอ๊ะ! นี่ได้เรื่องแล้ว มันไม่ใช่ มันไม่น่าจะใช่ มันไม่น่าเป็นแบบนี้ เห็นไหม มันมีทางเลือกออกแล้ว ถ้าเราภาวนาไป พอมันเห็นอะไรปั๊บ มันเอะใจ

เขาบอกว่า แต่เดิมมันมีภาพวิ่งเข้ามา แต่ถ้ารู้ก่อนเรื่องนั้นที่วิ่งเข้ามาหาเรา เรื่องนั้นก็จะหายไป

นี่ถ้าเรารู้ก่อน ถ้าเรารู้ก่อน เราก็อยู่กับพุทโธชัดๆ ไง แต่ถ้าเราไม่รู้ มันก็วิ่งเข้ามา นี่ถ้ามันส่งออก แล้วเวลาปฏิบัติ ตรงนี้เขาเรียกว่าสติ พอมีสติขึ้นมา มันพัฒนาขึ้น

จิตของเรา ถ้าเราปฏิบัติใหม่ๆ เราจะไม่รู้เหนือรู้ใต้อะไรเลย เราปฏิบัติไปเหมือนตาบอดคลำช้าง อะไรจะเกิดขึ้นมาก็ว่ามันจะเป็นธรรมๆ แต่มันไม่ใช่

แต่เราปฏิบัติไป เริ่มต้นลืมตาขึ้น อ๋อ! ช้างทั้งตัวมันเป็นแบบนี้ แล้วช้างมันมีลูกช้าง มีพ่อช้าง มีปู่ย่าตายายของช้าง ช้างมันเจริญเติบโต เห็นไหม นี่ก็เหมือนกัน จิตใจของเรามันดีขึ้น มันจะเริ่มเอะใจ มันมีเอะใจ มันมีความสะดุดใจ ถ้ามันมีความสะดุดใจ มันจะทำให้เราเริ่มมีปัญญา สิ่งใดที่รู้ที่เห็น มันจะมาพิจารณาแล้ว

ฉะนั้น เขาบอกว่า ถ้ามีภาพต่างๆ วิ่งเข้ามา

ถ้าคนภาวนา เริ่มต้นภาวนามันก็พอใจ เห็นว่าภาวนาแล้วรู้เห็นต่างๆ มันคิดว่าการภาวนาเป็นความเจริญ แต่ความจริงมันแค่เริ่มต้นไง เริ่มต้นถ้าจิตมันสงบแล้วมันจะรู้จะเห็นสิ่งใดบ้าง เราพุทโธไว้เพื่อให้จิตเรามีสมาธิมากขึ้น มีกำลังมากขึ้น

แล้วเขาบอกว่า ถ้ามันรู้ก่อนภาพที่วิ่งมานั้นมันก็จะหายไป แต่ล่าสุดสิ่งที่มันคล้ายในลักษณะเดียวกัน แต่มีความรู้สึกเข้าใจอะไรบางอย่าง และเกิดสภาวะที่รู้สึกขึ้นมาว่ามีการสร้างภาพ รู้สึกขึ้นมาว่าอย่าเชื่ออะไรง่ายๆ เพราะสิ่งนี้มันมาจากความรู้สึก ถึงมาเข้าใจคำว่าพุทโธชัดๆมากขึ้น

ถ้าพุทโธชัดๆ หมายความว่าสติสัมปชัญญะมันพร้อม ถ้าสติสัมปชัญญะมันพร้อม มันไม่สามารถแฉลบออกไปรู้สิ่งใดได้ แต่เวลาเราพุทโธสักแต่ว่า เรานึกว่าเรานึกพุทโธ แต่มันมีความแฉลบออกไป จิตมันยังออกไปรับรู้อย่างอื่นได้ พอมันแฉลบไปรับรู้อย่างอื่นได้ มันก็จะเห็นอย่างที่เราเห็นนี่

แต่ถ้าเราเห็นปั๊บ เราบอกคำว่าชัดๆชัดๆ มันต้องมีสติ ถ้าชัดๆ มีสติมีปัญญา มันเข้ามา เข้ามา จิตมันไม่แฉลบออกไป มันก็สร้างตัวมันเอง จิตมันก็มั่นคงขึ้นมา ถ้ามั่นคงขึ้นมา นี่ไง ศีล สมาธิ แล้วถ้าจิตมันสงบแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา ไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง อันนั้นมันจะเป็นสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน

แต่ถ้าเราไม่เอะใจ โดยธรรมดาคนเรามันไม่เอะใจ เพราะอะไร เพราะเราอยากได้ การภาวนา เราอยากจะมีความสุข เราอยากจะประสบความสำเร็จ เราต้องการผลทั้งนั้นน่ะ ฉะนั้น พอมีสิ่งใดเกิดขึ้น เราก็ว่านั่นน่ะมันจะเข้าสู่ทางสู่ผล แต่เราไม่ได้เข้าใจว่าเวลาเราปฏิบัติ กิเลสมันอยู่กับเราไง กิเลสมันก็สร้าง ป้อนเหยื่อมาให้ เอาภาพมาให้ดูให้เราเนิ่นช้า ถ้าเราเชื่อมันไป เราก็เนิ่นช้า แต่ถ้าเรายึดว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง มันติด

ถ้าอย่างน้อย มันทำให้การปฏิบัติเราเนิ่นช้า ถ้าอย่างมาก ทำให้เราติด ทำให้เราหลงใหล ทำให้เราไม่ก้าวเดินไป เราจะไม่พัฒนาขึ้นเลย ถ้าเราจะพัฒนาขึ้น เราจะต้องผ่านประสบการณ์อย่างนี้

ฉะนั้น เวลาปฏิบัติเริ่มต้นมันจะเป็นแบบนี้ ปฏิบัติเริ่มต้นมันจะมีความทุกข์ความยาก มันมีความลำบากพอสมควร เพราะสิ่งที่ไม่เคยทำ แต่พอเคยทำขึ้นมาแล้ว มันลองผิดลองถูก

สิ่งที่ผิดไปแล้วก็วาง ที่ผิดไปแล้ว อย่าไปเสียใจ เพราะถ้าเราไม่พิสูจน์ว่าสิ่งนั้นมันไม่ถูกต้อง เราจะไปถูกทางได้อย่างไร สิ่งที่มันผิดไปแล้ว เราเข้าใจแล้วเราก็วาง แล้วเราก็มาทำของเรา เราทำเต็มที่ ฉะนั้น สิ่งที่ทำเต็มที่ขึ้นมา สิ่งที่เรามาทำของเรา ถ้ามันรู้

คำว่ามันรู้หมายความว่า สิ่งที่มันจะเกิดขึ้น เขารู้เท่า แล้วเขารู้ คำว่ามันไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆสิ่งต่างๆ มันเกิดขึ้นมาจากนั้น ฉะนั้น เรามาพุทโธชัดๆ มันก็วางไป

นี่เขาว่าความเห็น ครั้งมันไม่เหมือนกัน

ไม่เหมือนกันครั้งแรกเพราะเราสติปัญญายังอ่อนด้อย แล้วการเห็นที่มันไม่เหมือนกัน มันจะไม่เหมือนกันเรื่อยๆ มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ ไง

ฉะนั้น เวลาคนที่ประพฤติปฏิบัติแล้วจะไปถามหลวงตา บอกที่ปฏิบัติมาถูกต้องไหม หลวงตาจะบอกว่าถูก แล้วคนถามจะถามต่อไปว่า ถ้าถูกแล้วจะให้หนูทำอย่างไรต่อไปคะ หลวงตาท่านบอกว่าให้ซ้ำ ให้ทำแบบเดิม

เพราะคำว่าทำแบบเดิมเรามีสติ เรามีคำบริกรรม เราได้ทำแล้ว มันถึงได้รู้เห็นอย่างนั้น เห็นไหม แล้วท่านให้ทำซ้ำๆ ถ้าทำซ้ำ ถ้าจิตมันสงบแล้วมันมีกำลังขึ้นมา มันก็จะไปเห็นแบบเดิมหรือดีขึ้นกว่าเดิม

ฉะนั้น คำถามว่า ความเห็น ครั้งมันไม่เหมือนกัน ความรู้สึกมันต่างกัน

มันต้องต่างกันตามข้อเท็จจริง เพราะต้นไม้ที่เราปลูกไว้ เวลามันเติบโตขึ้น ต้นไม้ต้นเดียวกัน แต่ตอนปลูก ต้นมันเล็กๆ พอมันโตขึ้น ต้นมันใหญ่ขึ้น มันเป็นต้นเดียวกันหรือเปล่า มันเป็นต้นเดียวกัน แต่มันคนละวาระกัน

นี่ก็เหมือนกัน ความเห็น ครั้งมันไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนกันเพราะนั่นต้นไม้ต้นเล็ก ตอนปลูกต้นไม้ต้นเล็ก ตอนนี้มันจะล้นกระถางแล้ว มันต้องเอาลงดินแล้ว ต้นมันใหญ่ขึ้น มันไม่เหมือนกันเพราะมันใหญ่ขึ้น มันโตขึ้น ความรู้มันจะไม่เหมือนกัน การทำซ้ำๆ มันจะได้ประโยชน์อย่างนี้

ไม่ใช่ว่าปลูกต้นไม้แล้วต้นไม้พลาสติกไง ต้นไม้พลาสติก พอไปปักไว้มันก็อยู่แค่นั้นน่ะ รดน้ำทุกวันเลย มันอยู่แค่นั้นน่ะ ไม่โต แล้วก็รดน้ำ ครั้งก็เหมือนกัน รดน้ำ ครั้งก็เหมือนกัน เพราะมันไม่โตไง แต่ถ้าต้นไม้มีชีวิต ต้นไม้จริงๆ เดือน เดือน เดือน มันเติบโตขึ้น มันเติบโตขึ้น เวลารดน้ำ รดน้ำเดือนนี้กับเดือนหน้าก็แตกต่างกันแล้ว มันเติบโตขึ้น

นี่ก็เหมือนกัน ความเห็น ครั้งมันไม่เหมือนกัน มันไม่เหมือนกันเพราะมันดีขึ้นไง เห็นไหม เพราะเอะใจ เพราะสะดุดใจ เพราะได้พิจารณา มันถึงพัฒนาขึ้น มันถึงได้โตขึ้น ฉะนั้น มันโตขึ้น

ฉะนั้นบอกว่า สิ่งที่ทำแล้ว ทำแล้วก็คือจบแล้ว คนที่ปฏิบัติแล้ว รู้เห็นแล้วก็คือรู้เห็นแล้ว แล้วทำอย่างไรต่อไป

ก็ทำแบบเดิม ทำแบบเดิม ถ้าจิตมันดีขึ้นๆ ดีขึ้นจนมันตั้งมั่น ตั้งมั่น ถ้ามันยกขึ้นสู่วิปัสสนา วิปัสสนาไปแล้วมันรู้จริงแล้วมันก็ปล่อย ปล่อยแล้วทำอย่างไรต่อไป

ปล่อยแล้วค้นคว้าหามันอีก มันยังมีอยู่ เพราะมันยังไม่ขาด

เวลามันขาด เวลาขาด สังโยชน์มันขาดไป สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐิความเห็นผิด ถ้าความเห็นมันขาดไป มันก็ไม่มีการลูบคลำ ไม่สีลัพพตปรามาส ไม่วิจิกิจฉา เพราะมันรู้จริงมันจะไปสงสัยได้อย่างไร เวลามันขาด ถ้ามันขาดมันก็จบ มันขาด เพราะมันต้องมีสังโยชน์ขาดไป

แต่ถ้ามันไม่ขาด มันยังมีอยู่ มีอยู่ มันซ้ำได้ไง ซ้ำได้เพราะอะไร เพราะกิเลสมันยังมีอยู่ ของมันมีอยู่ เห็นไหม เราเกิดจากสิ่งที่มีนะ เวลาเกิดขึ้นมา จิตนี้มันพาเวียนว่ายตายเกิด จิตนี้มันได้สร้างเวรสร้างกรรมมา จิตมันมีของมันอยู่ ความรู้สึกมันมีอยู่ แล้วมันมีเวรมีกรรม แล้วเรามาทำดีก็กรรมดีไง ภาวนานี่ก็คือกรรม คือการกระทำ เราทำดีๆ ขึ้นมา ความดีทำอยู่ มันปล่อยๆ มันมีอยู่ มันปล่อย แต่มันยังมีอยู่

แต่ถ้ามันขาด เวลามันขาดไปแล้วนี่จบ สังโยชน์มันขาดไป แต่สังโยชน์อันละเอียดมันยังมีอยู่ แต่อันนี้มันขาดไปแล้ว ไม่มีแล้ว ของที่ไม่มี ค้นคว้าอย่างไรก็ไม่มี แต่ของมันมี ทำลืมๆ ทำไม่สนใจ มันก็มีเพราะมันมี ถ้ามันมีปั๊บ เราก็ค้นคว้า เราก็จับอีก พิจารณาอีก ซ้ำอีก ทำต่อของเราไปอีก นี่ถ้าทำอย่างนี้

ความเห็นที่มันไม่เหมือนกันๆ มันไม่เหมือนกันแล้วมันจะดีขึ้น มันจะดีขึ้น มันจะพัฒนาขึ้น ถ้าเราทำเป็นสัมมาทิฏฐิความถูกต้องดีงามนะ เราต้องขยันหมั่นเพียรทำของเราขึ้นไป

มันไม่เหมือนกัน มันจะดีขึ้น เห็นไหม เขาบอกว่า ครั้งแรกที่เขาใช้ภาวนา เขาใช้ดูลมหายใจ เพราะว่าเขาบอกเขาใช้ภาวนาพุทโธไม่ได้ สุดท้ายแล้วก็ลองฝึกพุทโธๆ พอเดี๋ยวนี้พอพุทโธมันดีขึ้น เคยทำพุทโธไม่ได้ แต่ฝึกหัดมันดีขึ้น เพราะเวลาเขาดีขึ้นแล้วเขาถึงมาซึ้งใจคำว่ามันก็เป็นแค่เครื่องมือ

คำบริกรรม กรรมฐาน ๔๐ ห้อง มันเป็นแนวทาง มันเป็นเครื่องมือเท่านั้นน่ะ เครื่องมือเข้าไป มันเป็นเครื่องมือให้จิตของเราให้ได้เกาะสิ่งนี้เข้าไป เวลามันใช้ปัญญาล่ะ เวลาปัญญาขึ้นมา เวลาปัญญาถ้ามันเป็นภาวนามยปัญญา

มันมีสุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา สุตมยปัญญาคือการศึกษา ถ้ามันเป็นจินตนาการ ทำสิ่งใดมันเกิดขึ้น มันมีความจินตนาการ มันรู้มันเห็นอะไรของมัน แต่ถ้ามันเป็นภาวนามยปัญญา นั่นมันเป็นมรรค เวลาเป็นมรรค มันเกิดขึ้น เวลามรรคมันเกิดขึ้น เวลามรรคมันรวมตัว มันสมุจเฉทปหาน มันขาดไปพร้อมกัน มันทำลายไปพร้อมกัน

แล้วเวลาทำงานเสร็จแล้ว ดูสิ งานของเรานะ เราทำเสร็จแล้ว เครื่องมือเก็บไว้ไหน เวลาทำครัวเสร็จแล้ว มีดพร้าจะเอาไว้ที่ไหน จะเก็บอย่างไร มันยังมีของมันอยู่ เพราะอะไร เพราะมันเป็นวัตถุไง

แต่เวลาเป็นศีล เป็นสมาธิ เป็นปัญญา เวลาศีล สมาธิ ปัญญา มันเป็นนามธรรม แล้วเวลามันเกิดขึ้น เวลามรรคสามัคคี มันทำตัวอย่างไร

ถ้ามันทำตัวอย่างไร สิ่งที่ว่าเป็นเครื่องมือ ใช่ มันเป็นเครื่องมือ มันเป็นเครื่องมือที่เราต้องใช้ แต่เวลาเราฝึกจนเราเป็น เราเป็น มันเป็นความจริงขึ้นมา มันเป็นความจริงขึ้นมา มันก็เป็นประโยชน์กับเรา

เราจะบอกว่า ถ้าจิตใจของเราถ้ามันภาวนาไม่ได้ ทำสิ่งใด จะว่าคนผิดทำอะไรมันก็ผิดไปทั้งนั้นน่ะ แต่ความผิดอย่างนี้ เราไม่ต้องเสียใจ เพราะความผิดอย่างนี้ เพราะมันเป็นข้อเท็จจริง มันเป็นความจริงของมันไง แต่ที่เรามาประพฤติปฏิบัติกัน เราจะเอาความจริง เอาความจริง มันก็ต้องมีข้อเท็จจริง

แต่ถ้าการปฏิบัติโดยสัญญา โดยปฏิบัติเป็นพิธี มันเอาพิธีมาว่ากัน เราทำตามพิธี พอบอกว่าเราทำครบสิ่งที่คำสอนแล้ว แล้วทำอย่างไรต่อ เราก็สร้างใจว่ามันสบายๆ มันสบายๆ สบายๆ...นี่มันพอใจไง กิเลสมันพอใจนะ กิเลสมันพอใจเพราะอะไร กิเลสมันพอใจเพราะมันไม่ได้สะเทือนตัวมันเลย มันแค่เป็นพิธี ทำพอเป็นพิธี แล้วเสร็จแล้วกิริยานุ่มนวล มารยาทนุ่มนวล ทุกอย่างนุ่มนวลหมด แล้วก็เป็นการปฏิบัติสร้างบารมี แต่ไม่ได้ชำระล้างกิเลส ไม่ได้เข้าไปเจอหน้า ไม่ได้สะกิดอะไรมันเลย

แต่ถ้าเราทำตามความเป็นจริงนะ ครูบาอาจารย์เราท่านสอน หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านบอกทำความสงบของใจเข้ามา

แค่ทำความสงบของใจมันก็เดือดร้อนพอแล้ว เพราะอะไร เพราะว่าเราจะจับเด็กให้มันนั่งนิ่งๆ มันลำบากแล้วล่ะ จิตนี้อย่างกับลิง แล้วจะจับให้มันนั่งนิ่งๆ มันแสนยากเลย เพราะมันต้องนั่งนิ่งๆ ก่อน เพราะในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าเราวิ่งอยู่ เราจะเห็นภาพไม่ชัด ถ้าเรายังเดินอยู่ ภาพก็ยังไม่ชัด แต่ถ้าเรานิ่ง เรายืนหรือเรานั่งลง ภาพจะชัดเจน

จิตก็เหมือนกัน โดยปกติมันเคลื่อนไหวของมันอยู่ตลอดเวลาเพราะมันส่งออกตลอดเวลา เราก็อวดรู้ รู้ไปทุกเรื่อง แล้วจะให้มันหยุด มันหยุดไม่ได้

แต่พอมันหยุดขึ้นมา ถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตตามความเป็นจริง นั่นแหละมันหยุด มันถึงเห็นความเป็นจริง ถ้าเห็นความเป็นจริงขึ้นมาปั๊บ ถ้ามันใช้ปัญญาไปนะ มันถึงจะเห็นความแตกต่าง คนทำงานเป็นมันจะเข้าใจ แต่ถ้าคนทำงานไม่เป็น มันก็คือไม่เป็นตลอดไป ถ้าไม่เป็นนะ

ส่วนใหญ่แล้วเราใช้คำว่าสังคมอ่อนแอสังคมชาวพุทธเราอ่อนแอ มีศรัทธามีความเชื่อ มีศรัทธานะ แค่เรื่องของศรัทธา สังคมไทยนี่ศรัทธาดีมาก แต่พอเรื่องของปัญญา มันไม่มีหลักแล้ว

พอศรัทธาความเชื่อ แล้วจะให้คนเขาชักเขาจูงกันไป แล้วก็เชื่อเขาตามกันไป จะทำสิ่งใด เพราะถ้าเอาความจริงนะ เราเอาความจริงนะ เราเป็นชาวพุทธใช่ไหม ถ้าชาวพุทธต้องถือเป็นพุทธมามกะ ต้องถือไตรสรณคมน์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วเวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งใดที่นอกจากธรรมะ เราจะไม่เชื่อสิ่งนั้น เราจะไม่เชื่อสิ่งนั้น แล้วถ้าไม่เชื่อ เรายังมีกิเลสอยู่ใช่ไหม เราก็ยังไม่แน่ใจ

แต่ถ้าเราพยายามทำของเรา ถ้าจิตมันสงบแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา แล้วถ้าชำระล้างกิเลส ถ้าสังโยชน์มันขาดไป นี่มั่นคงแล้ว ถ้ามั่นคงเพราะอะไรล่ะ มั่นคงเพราะมันไม่ลูบไม่คลำไง

แต่ถ้าในปัจจุบัน เรายังลูบยังคลำไง เราลูบเราคลำ แล้วเราทำสิ่งใดเราทำด้วยความลังเลสงสัย แล้วมันน่าสังเวช น่าสังเวช ครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงไง เราอยู่กับหลวงตานะ ตอนสมัยอยู่กับท่าน ในพรรษา ท่านไม่ให้เกิน ๑๘ องค์ ท่านบอกว่า มีครูบาอาจารย์อยู่ทั่วไป หลวงปู่ขาว หลวงปู่ฝั้น ครูบาอาจารย์มีอยู่ทั่วไป ถ้ามีครูบาอาจารย์อยู่ทั่วไป เขามีที่พึ่ง เวลาหลวงปู่ฝั้นเสีย หลวงปู่ขาวเสีย พอครูบาอาจารย์เสีย ท่านเปิดวัดให้มากขึ้นเป็น ๔๐ กว่า ๕๐ ขึ้นไปเลย ท่านบอกว่ามันไม่มีครูไม่มีอาจารย์ไง

คนที่ประพฤติปฏิบัติ เวลามีครูมีอาจารย์ท่านคอยชี้นำคอยบอก ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ที่แท้จริงมันล่วงไปๆ พอล่วงไปขึ้นมา ตอนนี้พระกรรมฐานแท้ๆ ทำสมาธิกันไม่เป็น ทำไม่เป็นหรอก แม้แต่สมาธิยังไม่รู้จัก แต่พูดธรรมะกันแจ้วๆ เลยนะ

เพราะถ้ามันทำความสงบของใจได้ หนึ่ง ถ้าทำความสงบของใจได้ ดูคนขับรถเป็นกับคนขับรถไม่เป็นสิ คนขับรถเป็นนะ เขาจะขับรถเร็วขับรถช้า รถเขาจะไม่มีอุบัติเหตุ คนขับรถไม่เป็น จะเร็วหรือจะช้า อุบัติเหตุทั้งนั้น ลงข้างทางหมด

ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นจริง จะขับเร็วหรือจะขับช้าจะไม่มีอุบัติเหตุ เพราะเขาเป็น ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นท่านจะสอนนะ สอนให้เราฝึกหัดขับรถให้เป็น ถ้าขับรถเป็นแล้ว หนึ่ง รถของเราจะปลอดภัย เราจะไม่เจออุบัติเหตุ แล้วเราจะไม่ไปสร้างความกระทบกระเทือนกับคนอื่น แต่ถ้าขับไม่เป็น ตัวเองก็ไม่แน่ใจ เวลาขับออกไปแล้วก็ไปชนคนอื่น นี่ไง ที่ว่าสังคมอ่อนแอๆ ถ้าทำสมาธิไม่เป็น

พระกรรมฐานนะ ถ้าทำสมาธิเป็น เขาจะถือศีลของเขาด้วยความบริสุทธิ์ เราอยู่ในหมู่คณะ เช้าขึ้นมา พระเพื่อนห่มผ้ามาเลย บอกขอปลงอาบัติหน่อย เราบอกปลงอาบัติเรื่องอะไรล่ะ ก็ไม่ได้ไปไหน อยู่กันกลางคืน ไม่ได้ทำผิดมันจะมีอาบัติอะไรล่ะ

เขาบอกว่า กลางคืนเดินจงกรมอยู่ แล้วกิ่งไม้มันเกะกะ เขาคิดว่าเป็นกิ่งไม้แห้ง เขาก็หักออก ทีนี้พอเดินจงกรมไป จนอรุณขึ้น แสงที่มันขึ้นใช่ไหม มาเห็นกิ่งไม้ว่า อ้าว! กิ่งไม้นี้มันยังเป็นอยู่ มันไม่ตาย มันยังเป็นกิ่งไม้สดอยู่ แค่นี้ เขาห่มผ้ามาปลงอาบัติเลย ปลงอาบัติเพราะอะไร เพราะมันเป็นปาจิตตีย์

พอเป็นปาจิตตีย์ มันทำสมาธิ เราจะเดินจงกรมต่อไป คือว่าเป็นอาบัติคือเราทำชั่ว เราทำผิด ถ้าเราทำผิดแล้ว เราทำผิดแล้วยังมาฝืนปฏิบัติอยู่นี่ เรารู้ตัวอยู่ เขาห่มผ้ามาหาเราเลยนะ มาขอปลงอาบัติ พอปลงอาบัติเสร็จแล้วเขาไปเดินจงกรมต่อ

เราจะบอกว่า พระปฏิบัติถ้าปฏิบัติตามความเป็นจริง ศีลของเขาจะสมบูรณ์ เขาพยายามจะรักษาศีลของเขาให้สมบูรณ์ ให้สมบูรณ์ที่สุด เพราะถ้าศีลมันสมบูรณ์แล้วมันจะปฏิบัติได้ง่าย แต่ศีลของเรามันไม่สมบูรณ์

ฉะนั้น เวลาพระกรรมฐาน พระกรรมฐานเขาจะดูกันตรงนี้ ดูตรงว่า ศีลของเขาสมบูรณ์ ศีลของเขาดี แล้วถ้าศีล สมาธิ ปัญญา

แต่นี่พระกรรมฐานๆ ศีลมันยังพูดอย่างทำอย่าง มันยังไม่ชัดเจนเลย แล้วธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบอกว่า ถ้าใครยังพูดปดอยู่ จะทำความชั่วอย่างอื่นที่ว่าไม่ทำความชั่วอย่างอื่นไม่มีเลย คนเรานะ ยังพูดปด ยังโกหกอยู่ แล้วจะทำความจริงได้อย่างไร แต่ถ้าพระปฏิบัตินะ เรื่องนี้จะไม่มี ถ้าเป็นพระกรรมฐานแท้ๆ เขาจะไว้ใจได้ พูดจริงทำจริง จะมีสัตย์ แต่ถ้ามันไม่มีสัตย์ เวลาพูด พูดผิดพูดถูก

ฉะนั้น พูดผิดพูดถูก มันจะย้อนกลับมาที่คำสอนนี่ไง ย้อนกลับมาที่พระกรรมฐาน ถ้าพระกรรมฐาน หนึ่ง ถ้าทำสมาธิไม่เป็น เอ็งยังทำสมาธิไม่เป็น สมาธิไม่เคยเป็นสมาธิสักหนหนึ่ง กำหนดพุทโธ ปฏิบัติมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไม่ลงสมาธิสักหนหนึ่ง แล้วเอ็งจะสอนเขาได้อย่างไร เอ็งจะมาบอกสมาธิได้อย่างไร ก็ว่างๆ ไง สมาธิก็ -เสือ -ม้า สระอา -ธง สระอิไง สมาธิก็มีแต่ชื่อไง ไม่มีความจริง

ถ้ามีความจริงปั๊บ ผู้มีความจริงใช่ไหม ลูกศิษย์ถาม ครูบาอาจารย์จะตอบได้ดีมาก แล้วเวลาปฏิบัติไป ถ้าจิตมันจะสงบ ถ้าสงบแล้วมันจะรู้อะไร มันจะเห็นสิ่งใด ถ้าเห็นสิ่งใด มันจะเป็นโทษหรือเป็นคุณ ถ้าเป็นคุณนะ กำหนดพุทโธไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นคุณ

ครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่นท่านเป็นคนสั่งเสียไว้เอง หลวงปู่มั่นท่านเป็นคนสั่งเสียหลวงตาไว้ว่า อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ จะไม่เสีย

เวลาคนปฏิบัติมาทั้งชีวิต หลวงปู่มั่น ถ้าเราไม่อยู่ในหลัก มันจะเสีย มันจะเสียนะ เพราะกิเลสมันคอยยุคอยแหย่ กิเลสมันจะพยายามพาออกนอกลู่นอกทาง แล้วเราปฏิบัติไปรู้ไปเห็น มันจะตามไป

แต่ถ้าพุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ ด้วยความซื่อสัตย์ พุทโธชัดๆ ถ้าพุทโธชัดๆ พุทธานุสติมันจะดูแลหัวใจนี้ไว้ หัวใจนี้จะไม่แฉลบออกไปข้างนอก แล้วถ้าเราพุทโธต่อเนื่อง จิตมันสงบบ่อยครั้งเข้าๆ เขาจะบอกแล้ว ความเห็นทั้ง ครั้ง ครั้งมันไม่เหมือนกัน

จะไม่เหมือนกันตลอดไป เหมือนต้นไม้ใหญ่เวลาเขาตัด ต้นไม้นี้อายุกี่ปี วงรอบของมัน วงรอบเนื้อไม้มันจะมีวงรอบว่ากี่ปีๆๆ นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันยิ่งต้นไม้ใหญ่ ยิ่งอยู่มานาน มันจะแข็งแรงของมัน มันจะมีวงรอบของมัน อายุมันมีเท่าไร

จิตใจของเรา เราพุทโธ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันจะมีความสงบมากน้อยแค่ไหน มันจะเป็นการยืนยัน เป็นการบอกว่าจิตมันมีกำลังมากขึ้น มันดีของมันขึ้น ถ้าดีขึ้นนี่ถูกต้อง

ไม่ใช่บอกว่า ต้นไม้มันมีวงรอบของมันเท่านี้ แล้วมันจะกี่ปี วงรอบก็ต้องเท่าเดิม...มันไม่ใช่ มันไม่ใช่

นี่ก็เหมือนกัน คำถามว่า ทำไมเห็น ครั้งถึงไม่เหมือนกัน

เห็น ครั้ง ครั้ง กี่ครั้งก็แล้วแต่ ถ้ามันพัฒนาขึ้น มันจะละเอียดขึ้น มันจะดีขึ้น มันจะไปเหมือนกันต่อเมื่อเป็นโสดาบัน เป็นโสดาบันเหมือนกัน จะปฏิบัติมาแนวทางใดก็แล้วแต่ จะต้องขณะจิต เวลาขณะจิตที่มันสมุจเฉทปหาน มันขาด เขาจะบอกเหมือนกันหมด นี่มันจะไปเหมือนกันตอนที่ว่าเป็นผลไง มันจะไปเหมือนกันต่อเมื่อมันสมบูรณ์ เหมือนกันตอนนั้น โสดาบันเหมือนกัน สกิทาคามีเหมือนกัน อนาคามีเหมือนกัน พระอรหันต์เหมือนกัน เหมือนกันหมด แต่วิธีการแตกต่างกันหมด เพราะกิเลสไม่เหมือนกัน จริตนิสัยไม่เหมือนกัน บุญกุศลไม่เหมือนกัน

ฉะนั้น พระอรหันต์ ๑๐๐ องค์ การปฏิบัติไม่มีเหมือนกันเลย แตกต่างกันหมด แต่ผลเหมือนกัน ถ้าผลไม่เหมือนกัน ทำไมอริยสัจหนึ่งเดียวล่ะ มันจะเหมือนกันตอนนั้นไง

ฉะนั้น เวลาทำ ทำจริงอย่างนี้ ที่ว่าสิ่งที่มันทำมา พยายามปฏิบัติของเราขึ้นมา

ฉะนั้น เขาบอกว่า สิ่งที่เขาภาวนา เมื่อก่อนมันทำไม่ได้ เดี๋ยวนี้ทำได้ มันดีขึ้นไปหมดล่ะ แล้วเวลาฝึกหัดไป ที่ว่ามันเป็นแค่เครื่องมือ มันก็เป็นแค่เครื่องมือจริงๆ เพราะมันเป็นแค่เครื่องมือ วิธีการ พอเวลามันถึงที่สุดแล้วมันวางหมด

ธรรมะของครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า เวลาเราจะเดินทาง เราต้องมีรถมีเรือ แต่เวลาถึงเป้าหมายแล้ว เราจะทิ้งรถทิ้งเรือเข้าสู่เป้าหมายนั้น

นี่ก็เหมือนกัน ศีล สมาธิ มันก็เป็นแค่เครื่องมือนะ เป็นแค่เครื่องมือจริงๆ แต่พอถึงที่สุดแล้วนะ ไปถึงมรรคถึงผล แต่เครื่องมือนี้สำคัญมาก ศีล สมาธิ ปัญญาสำคัญมาก เพราะเราแสวงหา เราแสวงหาเครื่องมือนั้นมา แล้วเราใช้เครื่องมือนั้นเป็นหรือเปล่า เรามีเครื่องมือแล้วใช้เครื่องมือนั้นเป็น

แต่มันน่าเศร้า มันน่าเศร้าที่คนไม่มีเครื่องมือ แล้วหาเครื่องมือไม่เป็น แล้วก็แอบอ้างกันว่ามี แต่ถ้ามันมีจริงนะ ถ้ามันมีเครื่องมือจริง อย่างที่ว่า ถ้ามีจริงจะเคารพมาก จะรักษามาก ศีล สมาธิ ปัญญา จะดูแลรักษามาก เพราะเราเกิดมาจากตรงนี้ เราเกิดมาจากศีลที่บริสุทธิ์

ถ้าศีลมันไม่บริสุทธิ์ มันเป็นทุศีล ถ้าเป็นสมาธิก็มิจฉากับสัมมา ถ้าเป็นสมาธิก็เป็นมิจฉา มนต์ดำ ทำแต่เครื่องรางของขลัง แต่ถ้าเป็นสัมมา มันจะเข้ามาเป็นมรรค พอเป็นมรรค มันก็จะเข้ามาชำระล้างกิเลส ฉะนั้นถึงบอกว่า มันเป็นเครื่องมือ แต่มันสำคัญ

แล้วถ้าเกิดเป็นปัญญาล่ะ ปัญญานะ ถ้าเป็นภาวนามยปัญญา เห็นไหม สัมมา สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง มันก็จะชำระล้างกิเลส ถ้าเป็นมิจฉาล่ะ เป็นปัญญา ปัญญาคดโกงตัวเอง ทำลายตัวเอง ทำให้ตัวเองเสียเวลา ทำให้ตัวเองหลงใหลไป ต้องหลงก่อน เพราะตัวเองหลงก่อน ตัวเองผิดพลาดก่อน ถึงจะได้ไปชักนำคนอื่นหลงไปหมดเลย เพราะตัวเองต้องผิดพลาดก่อน

แต่ถ้าเป็นสัมมาล่ะ เป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้องทุกอย่างดีงาม มันเป็นแค่เครื่องมือ สำคัญมากนะ เครื่องมือนี้สำคัญมาก แต่มันเป็นแค่เครื่องมือจริงๆ เราไปถึงเป้าหมายแล้วเราจะทิ้งยานพาหนะไว้ข้างหลัง

ถ้าเราไปถึงเป้าหมายแล้วเรายังแบกเครื่องมือ แบกรถแบกเรือขึ้นไปในบ้านในเรือน มันเป็นไปไม่ได้ แต่มันต้องคนเป็น ถ้าคนเป็นแล้วมันจะเข้าใจเรื่องนี้ ถ้าเข้าใจเรื่องนี้แล้วให้ประพฤติปฏิบัติไป

คำถามถามว่า เขาเคยเห็นภาพที่วิ่งเข้ามา แล้วพอมันรู้เท่า แล้วเวลามันรู้ทัน ความเห็นมันไม่เหมือนกัน แล้วเดี๋ยวนี้มันจะรู้เลยว่ามันเกิดจากอะไร แล้วมันเป็นไปได้อย่างไร

เราจะบอกว่า ผลของการปฏิบัติถ้าถูกต้องดีงามจะเป็นแบบนี้ จะเป็นแบบว่า ตั้งแต่ไม่รู้ ไร้เดียงสา แล้วมันโตขึ้นมาจนมีกำลัง จนมันภาวนาเป็น จนเวลามันได้ผลขึ้นมา จิตมันจะพัฒนาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ครูบาอาจารย์ท่านถึงบอกว่าให้ทำซ้ำลงไปที่หัวใจเรานี่แหละ ทำงาน ทำงานบนหัวใจนี้ ทำซ้ำทำซาก แล้วถึงที่สุดแล้วเวลามันได้มรรคได้ผลขึ้นมา มันจะได้ผลกลางหัวใจของเรา เอวัง