ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

อ่อนน้อม

๔ ก.ค. ๒๕๕๘

อ่อนน้อม

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่อง “ความคิด

กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพ ทําอย่างไรเราจึงเลิกคิดแคร์ความรู้สึกของผู้อื่น ทําให้เขาได้ใจ มองว่าเราอ่อนแอ แต่ก็ไม่เท่ากับเราเก็บเอาความคิดเหยียบยํ่าหัวใจตนเอง โดนทั้งผู้อื่นและความคิดตัวเองช่วยกันทําร้ายหัวใจ และการที่เราเกรงใจคนและอ่อนน้อมก็ยิ่งโดนกระทํามากยิ่งขึ้น เราควรระวังตัวและรักษาใจตัวเองอย่างไรดีที่จะไม่โดนคนอื่นและความคิดตัวเองบีบคั้นหัวใจ เหมือนที่หลวงพ่อพูดว่าบีบบี้สีไฟ หัวใจโดนอย่างนี้จริงๆ ครับ ด้วยความเคารพ

ตอบ : ถ้าพูดถึงเขาถามปัญหา “ทําอย่างไรถึงจะไม่คิดแคร์ความคิดของคนอื่น

ถ้าเราคิดถึง พูดถึงธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เวลาเมื่อก่อนเพื่อนเราจะมาถามเราบ่อยมากว่า มันเป็นปัญหาสังคม เป็นปัญหาความคิด

เราบอกว่า ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่ข้อหนึ่งบอกว่าเหมือนบุรุษสองคนเดินไปด้วยกัน แล้วคนคนหนึ่งโดนยิงด้วยธนู เพื่อนของเขานะเพื่อนของเขาถ้าเป็นคนฉลาด เขาจะไม่ไปสนใจใคร เขาจะพยายามจะถอนธนูจากเพื่อนของเขา แล้วรักษาแผลในเพื่อนของเขาให้หายจากแผลนั้น

แต่ถ้ามันเดินไปสองคน แต่เพื่อนเขาไม่ฉลาด เวลาเพื่อนเขาโดนยิงด้วยธนูเขาจะปล่อยให้เพื่อนเขานอนอยู่ที่นั่นก่อน แล้วเขาจะวิ่งไปหาคนยิงธนูว่า เอ็งทําไมถึงมายิงเพื่อนข้า แล้วเอ็งยิงธนูจากไม้อะไร ลูกธนูทําจากไม้อะไร จะไปหาเหตุหาผลไง แล้วพอหาเหตุหาผลเสร็จ กลับมาถึงมาหาเพื่อนเขา เพื่อนเขานอนตายแล้ว ตายอยู่นั่นน่ะ

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราคิดแคร์ความคิดของคนอื่น เวลาคนอื่นเขาพูดสิ่งใดกระทบกระเทือนเรา นี่เราโดนยิงเข้าไปแล้ว เราโดนยิงด้วยคําพูดของเขา เราโดนยิงด้วยเราแคร์ความรู้สึกของเขา แล้วเราก็ทุกข์ เห็นไหม แล้วเราก็จะไปถามว่า เอ็งยิงทําไม ยิงข้าทําไม ยิงด้วยลูกศรอะไร แล้วทําจากไม้อะไร นี่มันจะไปหาเหตุหาผลไง เราไปคิดแต่เรื่องอื่นไง

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้บอกว่า ถ้าเราโดนยิงด้วยธนู เราจะต้องพยายามถอนลูกธนูที่ปักกลางหัวใจเราออก แล้วรักษาบาดแผลนั้น รักษาบาดแผลนั้น

นี่ก็เหมือนกัน นี่พูดถึงว่า “ทําอย่างใดเราถึงจะเลิกแคร์ความคิดของคนอื่น

ถ้าไปคิดถึงคนอื่นนะ ยิ่งคิดถึงเขา เขายิ่งมองว่าเราเป็นคนอ่อนแอ มันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ฉะนั้น เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านถึงบอกว่า คนที่มีคุณธรรมนะ อย่างหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น โดยจริงๆ แล้วท่านหลบท่านหลีกนะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเวลาท่านจะแสดงธรรม เวลาท่านจะแสดงถึงสัจจะความจริง อันนั้นถึงองอาจกล้าหาญมาก

ในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ฤทธิ์ที่ดีที่สุดคือการบันลือสีหนาท ฤทธิ์ที่ดีที่สุด ฤทธิ์ที่สําคัญที่สุดคือคําสั่งสอน คือเทศนาว่าการ ฤทธิ์อันนี้สําคัญที่สุด เราไปเห็นฤทธิ์ รู้วาระจิตของคน เหาะเหินเดินฟ้า นั่นเป็นฤทธิ์ ฤทธิ์อย่างนั้นไม่มีความหมายเลย ความหมายสําคัญที่สุดคือฤทธิ์เวลาแสดงธรรม

ฉะนั้น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเวลาท่านแสดงธรรมองอาจกล้าหาญมากเพราะอะไร เพราะท่านแสดงจากความจริงของท่าน แต่โดยชีวิตประจําวันของท่านไปดูสิ หลวงตาท่านบอกว่า ถ้าพูดถึงคนที่ไม่มีค่า หลวงปู่มั่นท่านไม่มีค่าอะไรเลยอยู่ในป่าในเขาเหมือนผ้าขี้ริ้ว ไม่มีค่าสิ่งใดเลย แต่ถ้าในทางธรรมนั้นประเสริฐที่สุด

คือว่า เราจะบอกว่าท่านอ่อนน้อมถ่อมตนไง ท่านหลีกเร้น ท่านพยายามหลบหลีก ท่านไม่ออกมาสังคมหรอก ท่านออกมาสังคม สังคมมันมีแต่ความวุ่นวายแล้วสังคมเขาไม่รู้สิ่งใดไปกับเราหรอก แล้วถ้าเรารู้ เรารู้ เรามีวุฒิภาวะ เราเห็นสังคมเขาพยายามเล่นกับไฟ เหมือนแมลงเม่าเลย มันบินเข้าสู่กองไฟ แล้วคนก็ชื่นชมกันนะ แมลงเม่าบินเข้าสู่กองไฟ มันจะเหลืออะไร ไฟไหม้มันหมดน่ะ

นี่ก็เหมือนกัน สังคมนะ เขามีการแข่งขัน เขามีการแย่งชิงต่างๆ มันเหมือนแมลงเม่าอยู่ในกองไฟ แล้วท่านออกมาท่านไม่ไปยุ่งกับใครหรอก ท่านไม่ไปยุ่งกับใครเพราะอะไร เพราะไปบอกเขา เขาก็ไม่เข้าใจ

เราพยายามป้องกันนะ เวลาเราจุดไฟ เวลาฝนตก แมลงเม่ามันมา เพื่อจะไม่ให้มันเข้าสู่กองไฟ มันเป็นธรรมชาติของมัน มันจะบินเข้าสู่กองไฟ

นี่ก็เหมือนกัน สังคมเขาแย่งชิงกัน เราจะไปบอกเขา บอกให้ละให้วาง มันเหมือนแมลงเม่า ถ้าเราคุยกับแมลงเม่าไม่เข้าใจ เราก็ไปคุยกับคนที่มีกิเลสอวิชชาในหัวใจมหาศาลนั้นไม่เข้าใจ ถ้าการคุยการบอกเขาไม่เข้าใจ เราจะไปบอกเขาทําไม ถ้าเราไม่บอกเขา นี่ไง คําว่า “อ่อนน้อมถ่อมตน” มันต้องมีปัญญาไงถ้าเราไม่มีปัญญา เอาอะไรไปอ่อนน้อมถ่อมตน

การที่จะอ่อนน้อมถ่อมตนมันต้องมีปัญญานะ ถ้าเรามีปัญญาขึ้นมา เราเข้าใจชีวิต เราเข้าใจเรื่องสัจจะ เราเข้าใจทุกอย่างเลย แล้วเราจะหวั่นไหวไปกับอะไร นี่ไง แล้วเราไปแคร์กับอะไร เราเห็นแมลงเม่ามันบินเข้าสู่กองไฟ ใครเห็นก็สังเวชแต่โดยธรรมชาติของมัน โดยธรรมชาติของมันเพราะมันเกิดเป็นสภาวะแบบนั้นเหมือนกับที่เขาบอกว่า เราถือศีล  แล้วเสือมันจะอยู่ได้อย่างไรล่ะ เสือมันต้องล่า

อ้าวแล้วทําไมเอ็งไปเกิดเป็นเสือล่ะ คําว่า “เกิดเป็นเสือ” มันต้องมีเวรมีกรรมมาเกิดเป็นเสือใช่ไหม พอเกิดเป็นเสือขึ้นมา โตขึ้นมามันก็ต้องล่า เพราะมันกินเนื้อ เวลาสัตว์กินพืช มันโตแล้วมันก็กินพืชของมัน มันก็เป็นคุณสมบัติของมัน

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่า เรามีปัญญาขนาดไหน เรามีความรู้อย่างไร แล้วถ้าเรามีความรู้ขึ้นมา เรามีความรู้ ถ้าเรามีปัญญาขึ้นมา แล้วมีปัญญาแล้วมันมีปัญญาโดยธรรม อ่อนน้อมถ่อมตน อ่อนน้อมคือมีปัญญา คือคนกล้าหาญ

ไอ้คนที่เที่ยวตีหัวหมา ด่าแม่เจ๊ก ไอ้นั่นคนขี้ขลาด คนขี้ขลาดมันทําร้ายคนอื่นก่อน มันป้องกันตัวมันก่อน แต่คนที่เขากล้าหาญ คนที่เขามีปัญญานะ คนที่เขาอ่อนน้อมถ่อมตน เขาเข้าไปสู่ในวิกฤติอย่างใด เขาแก้ไขได้หมด เขามีปัญญาของเขา เขามีความกล้าหาญของเขา เขาอยู่ในวิกฤติด้วยความนิ่ง เขาไม่ไปตีหัวใครก่อน

เวลาคนขี้ขลาดมันขี้ขลาด มันระแวง มันทําร้ายเขาก่อน มันเจอใครมันทําร้ายเขาก่อนทุกทีเลย ไอ้นั่นคนขี้ขลาด ไอ้คนที่มั่นคงสิ ไอ้คนที่อ่อนน้อมถ่อมตนสิคนที่มีปัญญาสิ เขาให้อภัยคน เขาแก้ไขเหตุการณ์ได้ นั่นคือคนที่มีปัญญา

เราจะบอกว่า เขาบอกว่า “ทําอย่างไรเราถึงจะเลิกคิดแคร์ความรู้สึกของคนอื่น

ในสังคมนะ มันต้องมีนํ้าใจต่อกันนะ ไม่ใช่เราแข็งกระด้าง เรานี่ เรากล้าบ้าบิ่น ไปทําลายคนที่เขาสุขสงบอยู่นี่ เราไปทําลายสังคมเขา ระรานสังคมเขาให้เดือดร้อนกันไปหมด อันนั้นไม่ใช่ความดีหรอก

ความดี เห็นไหม ความดีจะไม่เบียดเบียนตนและไม่เบียดเบียนคนอื่น เราจะไม่เบียดเบียนใคร เราจะไม่เบียดเบียนเขา ถ้าเขาเป็นคนดีอยู่แล้ว เขาทําคุณงามความดีอยู่แล้ว เราก็สาธุ เราก็ส่งเสริมเขา แต่ถ้าเขาเป็นคนที่คุยกันได้ เขาทําสิ่งที่ผิดพลาด เขาทําสิ่งไม่ดี ถ้าเราพูดได้ก็พูด ถ้าพูดไม่ได้ เราก็นิ่งซะ เรานิ่งซะ เพราะว่าอะไร เพราะปัญญาของคนมันไม่เท่ากัน ปัญญาของคนมันไม่เท่ากันหรอก

ฉะนั้น ความคิดของคนอื่น เวลาเขาพูดมามันมีเหตุผลไหม ถ้ามันมีเหตุผลเราฟัง มันเป็นประโยชน์นะ ถ้ามันไม่มีเหตุผล เราก็วางไว้ ถ้าวางไว้ เราก็ไม่ตื่นเต้นไง เราก็นิ่งของเราไง เราจะอ่อนน้อมจะถ่อมตนนี่นะ มันต้องมีปัญญา มีปัญญาเหนือเขา มีปัญญาทุกอย่างเลย แล้วมันคุมเกมได้หมด

ไอ้นี่บอกว่าเราไปแคร์เขาไง เราไปแคร์เขา ไปแคร์ความรู้สึกของคนอื่น

ถ้าเขาเป็นคนดี เขาทําความถูกต้อง ต้องแคร์ เขาทําความถูกต้อง เขาทําดีงามนะ แล้วยิ่งเห็นสภาวะแบบนั้นนะ เราย้อนกลับมาตัวเราเลย เราทําไม่ได้อย่างนี้ เขาทําคุณงามความดีกัน เขาสร้างบุญกุศลกัน เขาพยายามแสวงหาสัจธรรมความจริงในหัวใจของเขา ทําไมเขาทําได้ ทําไมเราไม่ทํา ถ้าเราจะทําคุณงามความดีอย่างนี้ ถ้าแคร์อย่างนี้แคร์สิ่งที่ถูกต้อง คือเขาทําคุณงามความดี มันเป็นคติเป็นแบบอย่าง เป็นสิ่งที่เราควรทําถ้าเราทําได้ แต่ที่เราไม่ทําเพราะเราทําไม่ได้ถ้าเราทําไม่ได้ เราก็เป็นผู้เสียหายเอง เป็นผู้ที่ไม่ได้คุณงามความดีนั้นเอง

แต่ถ้าคําพูดของเขาเป็นการทําสิ่งที่ไม่ดี ทําสิ่งที่เป็นบาปอกุศล เราไม่ต้องไปแคร์ เราต้องมีสติปัญญายืนของเราได้ ยืนในจุดยืนของเราในความถูกต้องดีงามในความถูกต้องดีงามมีสติมีปัญญา เห็นไหม คําว่า “มีปัญญา” ไม่แคร์สิ่งใด ไม่หวั่นไหวกับสิ่งใด แล้วไม่หวั่นไหวแล้วไม่เหยียบยํ่าเขาด้วย นี่เขาเรียกว่าอ่อนน้อมไง อ่อนน้อมถ่อมตน อ่อนน้อมถ่อมตนเพราะมันมีปัญญา มันมีปัญญา มันมีความรู้มันมีคุณสมบัติในความเป็นจริงของเรา เราถึงอ่อนน้อมถ่อมตนของเรา

คําว่า “อ่อนน้อมถ่อมตน” มันไม่ใช่กิเลสไง กิเลสอยากรู้ อยากอวด อยากใหญ่ อยากโต อยากโดยที่ไม่มีปัญญา อยากโดยที่ไม่มีปัญญา เดินไปเดี๋ยวก็ล้มเดินไปเดี๋ยวสะดุดขาตัวเองล้ม ไม่มีสิ่งใดหรอก สะดุดขาตัวเอง เพราะพูดไปไงพูดไปโดยความไม่รู้นี่มันเปิดแผลไปตลอด พูดไปโดยไม่รู้ เดี๋ยวเขาก็ชี้มาถึงแผลที่เราพูดนั่นน่ะ ฉะนั้น ถ้าไม่มีปัญญา มันจะอยากอวดตัวอวดตน แต่คนที่มีปัญญาเขาอ่อนน้อมถ่อมตน ถ้าคําว่า “อ่อนน้อมถ่อมตน

เขาบอกว่า “ทําอย่างใดเราจะเลิกแคร์ความคิดของคนอื่น ทําให้เขาได้ใจ

ก็เขาได้ใจอยู่แล้ว เรื่องกิเลสมันเหยียบยํ่ากันอยู่แล้ว แต่ถ้าเราอ่อนน้อมถ่อมตน เห็นไหม เราไม่แคร์คนอื่นด้วย แล้วเขาจะได้ใจหรือไม่ได้ใจนั้นเป็นนิสัยของเขา แล้วถ้าเขาจะมองว่าเราอ่อนแอ เราอ่อนแอ แต่เราเอาชีวิตรอดได้ เราอ่อนแอเรามีสติสัมปชัญญะยับยั้งความคิดเราได้ เราอ่อนแอ เราสามารถควบคุมพฤติกรรมของเราได้ อย่างนี้เรียกว่าอ่อนแอหรือ อย่างนี้เขาเรียกว่าคนที่มีคุณสมบัติผู้ดี คุณสมบัติที่เขาทําของเขาได้ เขาไม่ใช่อ่อนแอ

ถ้าอ่อนแอ ที่บอกเขาจะให้ตีหัวหมา ด่าแม่เจ๊กอย่างเขา อันนั้นมันเป็นพวกขี้ขลาด พวกขี้ขลาด พวกที่พยายามจะเอาตัวรอด พวกที่จะทําร้ายคนอื่นก่อน คําว่าอ่อนแอ” ใครเป็นคนพูด

ไอ้นี่ก็บอกว่าเราก็คิดเองไง เพราะเขาบอกว่า ถึงเวลาแล้วนะ ถ้าพูดถึงว่าเราเหยียบยํ่า เราไปเก็บเอาความคิดเขามาเหยียบยํ่าหัวใจตัวเองโดยที่ผู้อื่นเขาคิดของเขาอย่างนั้น แล้วเราทําร้ายตัวเราเองไง การกระทําโดยเกรงใจคน การอ่อนน้อมถ่อมตนยิ่งโดนเขากระทํามากขึ้น

ไม่โดน ถ้าเรามีสติมีปัญญา เรามีจุดยืนของเรา เขาทําครั้งที่  เรามีปัญญาแก้ตัวรอด ทําครั้งที่  เรายังแก้ตัวรอด ครั้งที่  เขาอายไปเอง เขาทําไม่ได้หรอก เขาทําอะไรไม่ได้หรอก ขอให้เรามีปัญญาจริง แต่เราต้องอธิบายได้ว่าเราไม่ไปกับเขา เราไม่ให้เขาชักนําไปเพราะเหตุใด นี่พูดถึงว่าถ้าเรามีปัญญาไง

การอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นสิ่งที่ดีงามมาก แต่การอ่อนน้อมถ่อมตนของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น การอ่อนน้อมถ่อมตนของครูบาอาจารย์เรา จริงๆ แล้วท่านอ่อนน้อมถ่อมตนมาก เพราะว่าคุณธรรมมันเป็นแบบนั้น คุณธรรมมันเป็นคุณธรรมในหัวใจ แต่ท่านจะองอาจกล้าหาญมากตอนแสดงธรรม

ครูบาอาจารย์ของเราเวลาแสดงธรรม เวลาชี้ถูกชี้ผิดนี่ชัดเจนมาก กล้าหาญมาก แต่ถ้าเป็นเรื่องสัพเพเหระนะ หลวงตาท่านบอกว่าชักอย่างไรก็ไม่ออก คือจะดึงท่านออกไปยุ่งเกี่ยวอย่างนั้นท่านไม่ไปหรอก มันเป็นอย่างที่ว่า แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ แล้วอธิบายแมลงเม่าว่าเข้าไปกองไฟมันตายนะๆ พูดอย่างไรแมลงเม่ามันก็ไม่รู้หรอก

แต่ถ้าแสดงธรรม แสดงธรรมเป็นการแสดงธรรม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เวลาสัจธรรม แสดงธรรมเพื่อความจริง เห็นไหม การให้ธรรมชนะซึ่งการให้ทั้งปวง เราให้ธรรม ให้สัจธรรม ให้ความจริงเขา เขาจะรู้ได้มากได้น้อยอยู่ที่อํานาจวาสนาของเขา มันเป็นกรรมของสัตว์

สัตว์ที่มีอํานาจวาสนาเขาจะจับได้ เขาจะได้ประโยชน์ได้ ถ้าสัตว์ประเภทนั้นไม่มีใครชี้นํา ไม่มีสัจธรรมให้เขาได้คิดได้ฉงนใจ เขาจะไม่ได้ประโยชน์ของเขามันอยู่ที่ว่ากรรมของสัตว์ สัตว์ชนิดใดมีคุณประโยชน์อย่างใด หัวใจสูงส่งแค่ไหนเขาได้ประโยชน์ของเขาอย่างไร นั่นเป็นเรื่องของเขา ถ้าใจที่มันตํ่าต้อย ใจที่ไม่มีคุณธรรม เขาจะไม่ได้สิ่งใดเลย นั้นมันก็เป็นอํานาจวาสนาของเขา มันเรื่องกรรมของสัตว์ๆ

นั้นพูดถึงเวลาแสดงธรรม

ฉะนั้น เขาบอกว่า “เราควรระวังตัวเอง และรักษาตัวเองอย่างไรที่จะไม่ให้คนอื่นและความคิดตัวเองมาบีบบี้หัวใจ

ถ้ามีสติปัญญา ถ้าเรามีสติปัญญา ถ้ามีปัญญาขึ้นมา ความคิดตัวเองมันก็เข้ามาบีบบี้ตัวเราไม่ได้อยู่แล้ว เพราะเราขาดสติขาดปัญญา มันถึงเกิดการคิดเบียดเบียนตัวเอง พอคิดเบียดเบียนตัวเอง พอตัวเองมีจุดบกพร่องก็แคร์คนอื่นไปหมดเลย ให้คนอื่นเขายอมรับเรา เราเองเรายังมีความบกพร่อง

แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญาแล้ว ความคิดของเราเองเบียดเบียนเราไม่ได้นี่เพราะเรามีสติปัญญา ความคิดเราเบียดเบียนเราไม่ได้ แล้วเราจะไปกลัวอะไร คนอื่นก็ส่วนคนอื่น ไม่เกี่ยว แต่เพราะว่าข้างในเรามันบกพร่อง ข้างในเราว้าเหว่ ข้างในเราไม่มีจุดยืน เราไม่มีจุดยืน เราก็จะหวังพึ่งสังคม หวังพึ่งคนอื่น แต่ข้างในเรามีจุดยืนของเราแล้ว เรามีสติปัญญาแล้ว มันรอบรู้ในตัวเองแล้วมันจะไปหวังพึ่งใครมันไม่กลัวสิ่งใดเลย

บุรุษคนหนึ่งโดนยิงด้วยลูกธนู เขาจะถอนลูกธนูจากหัวใจของเขา แล้วรักษาใจของเขา เขาจะไม่วิ่งไปหาใครหรอก ไม่วิ่งไปหาใคร นี่ก็เหมือนกัน เรารักษาใจเรา รักษาใจเราอย่างนี้

นี่พูดถึงว่า ถ้ายิ่งอ่อนน้อมยิ่งโดนคนอื่นเขากระทํามากยิ่งขึ้น แต่ถ้ามีสติปัญญานะ เราอ่อนน้อมถ่อมตนของเรา แล้วเขาจะกลัวเรา เขากลัวเรา เขาไม่กล้ามายุ่งกับเรา เราต้องมีสติปัญญา ศึกษาธรรมะก่อน ศึกษาธรรมะนะ ศีลนี่พยายามท่องให้เข้าใจ แล้วอะไรทําได้อะไรทําไม่ได้ เราจะเข้าใจของเรา มันอยู่ที่สติปัญญาแล้วมันอยู่ที่อํานาจวาสนาด้วย

อํานาจวาสนาบางคนนะ ไบรต์มาก เข้าใจสิ่งใดได้ง่าย บางทีเราท่องแล้วท่องอีก เดี๋ยวมันก็ลืม แล้วสิ่งต่างๆ ไม่อ่อนน้อมถ่อมตน รู้อะไรก็อยากจะไปอวดเขา อยากจะไปสอนเขา อยากจะไปชักนําเขา แล้วเวลาเขาพูดสิ่งใดมาก็ไปเสียใจแทนกัน

เขียนปัญหามาถามเยอะมาก เพื่อนเป็นอย่างนั้น เพื่อนเป็นอย่างนี้ ปัญหาเพื่อนทั้งนั้นเลย ปัญหาตัวเองไม่รู้อยู่ที่ไหน คนนั้นว่าอย่างนี้ คนนี้ว่าอย่างนั้น คนนู้นว่าอย่างนู้น แล้วเอ็งน่ะว่าอย่างไร เอ็งน่ะ คนอื่นไม่เกี่ยว เอ็งน่ะว่าอย่างไร เห็นไหม มันไปแคร์คนอื่นไง แต่ถ้าเราศึกษาธรรมะของเรา เราปฏิบัติของเรานะ เราแคร์หัวใจของเราเพื่อประโยชน์กับเรา นี้พูดถึงว่าจะทําอย่างใด

ถาม : เรื่อง “ลูกเจี๊ยบในไข่

กราบนมัสการหลวงพ่ออย่างสูง กราบขอโอกาสเรียนถามเรื่องการปฏิบัติ

ในการนั่งสมาธิรู้สึกว่าตอนนี้ความอยากในสมาธินั้นลดลง แต่ก่อนก็บอกตัวเองตลอดว่าไม่ควรอยาก แต่ใจมันก็ไม่ร่วมมือด้วย ด้วยความตั้งใจอยู่กับการปฏิบัติเพื่อบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์แทน ฝึกที่จะเอาจิตอยู่กับพุทโธอย่างเดียว มีฟุ้งบ้างก็กลับมาใหม่ ใจยังไม่เป็นสมาธิมากนักก็พยายามทําต่อไปเรื่อยๆ ทุกวัน และพยายามทบทวนและแก้ไขความผิดพลาดของตนเอง ตอนนี้เลิกทานข้าวเย็นแล้ว รู้สึกว่ามีสติไวขึ้น ไม่เข้าภวังค์แล้วเจ้าค่ะ

มีครั้งหนึ่งนั่งสมาธิ พอเห็นว่าจิตฟุ้งคิด ก็ตัดกลับมาที่พุทโธ และทําไปเรื่อยๆ แล้วมีแว็บหนึ่งเหมือนเห็นความคิดเป็นคล้ายๆ แท่งและก้อน คือมันเป็นก้อนความคิดลอยมา แล้วถูกตัดฉับหายไป กลายเป็นพุทโธโผล่แทน แต่เห็นครั้งเดียว แล้วก็ฟุ้งต่อไปเจ้าค่ะ

ลูกเห็นชีวิตในโลกนี้เหมือนตัวละคร ทั้งคนและสัตว์ที่ต้องเล่นบทบาทชีวิตตัวเอง ส่วนใหญ่ก็เล่นไปตามบทบาทโดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองที่แท้จริงเป็นใคร และทําไมต้องเล่นบทนี้ เวลาพบเห็นอะไร ลูกก็มักจะมีความคิดผุดขึ้นมาอยู่ตลอด เห็นคนที่เขามีชีวิตลําบากก็นึกถึงกรรม แล้วก็เตือนให้ตัวเองหมั่นทํากุศลและภาวนาเพื่อโอกาสหลุดพ้นจากวัฏฏะในที่สุด หรือเห็นคนรวย คนที่ขวนขวายหาทรัพย์ทางโลก แต่ไม่มีโอกาสภาวนา ก็นึกเสียดายแทน

มีครั้งหนึ่งลูกเดินจงกรมอยู่ และมีหมานอนอยู่ใกล้ๆ เราเดินไปมาอยู่นานมันก็ยังนอนอยู่อย่างนั้น ความคิดมันก็ผุดขึ้นมาว่า เราได้เปรียบตั้งชาติหนึ่งเลยนะเนี่ย ไม่เสียเวลาไปเปล่า ก็มีกําลังใจเดินต่อไป

ตอบ : นี่พูดถึงว่าเขามีปัญญาเกิดคิดได้อย่างนี้เนาะ ถ้ามีปัญญาคิดได้อย่างนี้ ปัญญาคิดได้อย่างนี้คือว่าเวลาธรรมมันเกิด เวลาธรรมมันเกิดนะ มันจะมีความคิดดีๆ ตลอดไป แต่ถ้าเวลากิเลสมันเกิดนะ ทําเท่าไรก็ไม่ได้ผล ทําเท่าไรก็มีแต่ความทุกข์ความยาก นี่เวลากิเลสมันเกิดนะ มันก็มีแต่ความน้อยเนื้อตํ่าใจไปทั้งนั้นน่ะ

แต่เวลาธรรมมันเกิด เวลามันเกิดเพราะเหตุใดล่ะ เกิดเพราะเราหมั่นฝึกฝนเราหมั่นทําสมาธิ เราหมั่นรักษามัน มันก็เกิดในสิ่งที่ดี แต่ถ้าเราปล่อยนะ เวลาคนภาวนาดีๆ แล้ว เวลาไปทํางานพักหนึ่ง เผลอไปนะ พอรู้สึกตัวอีกทีหนึ่ง หายไปหมดแล้ว ต้องกลับมาฟื้นฟูใหม่ๆ การฟื้นฟูใหม่ เห็นไหม

เวลาสัจธรรม เขาบอกว่า ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม แล้วสัจธรรมมีอยู่โดยดั้งเดิม...มีอยู่จริงๆ มีอยู่จริงๆ แต่เวลาเราจะได้ความจริง เราต้องประพฤติปฏิบัติขึ้นมาให้เป็นความจริงอันนั้น

มีอยู่โดยดั้งเดิม แต่พวกเราอ่อนแอ วุฒิภาวะของเราก็อ่อนแอ เหมือนมนุษย์กับสัตว์ มนุษย์มีสื่อภาษากันได้ เข้าใจกันได้ เวลาสัตว์ มันสามารถรู้กันได้โดยสัญชาตญาณ สัตว์มันรู้ความคิดเรานะ แต่มันพูดกับเราไม่ได้ แต่มันรู้ความคิดได้

นี่ก็เหมือนกัน เวลาสัตว์มันก็อยู่ส่วนสัตว์ แต่มนุษย์มีสติมีปัญญา ถ้ามนุษย์มีสติปัญญา สื่อสารกันได้ ทุกอย่างทําสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ ฉะนั้น เวลาสัตว์มันก็มีความรู้สึกเหมือนกัน แต่มันทําอย่างเราไม่ได้ มันทําอย่างเราไม่ได้ มันก็ทําได้ประสามัน

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ระหว่างกิเลสกับธรรม เวลากิเลส มันก็ประสาเหมือนสัตว์มันสัญชาตญาณทั้งนั้นน่ะ แต่เวลาเราปฏิบัติ เราปฏิบัติคุณงามความดี มนุษย์เวลาเราสนทนากัน มีแต่เรื่องดีๆ ทําสิ่งดีๆ แต่มันไม่ทําตามที่มันพูดน่ะสิ เวลามันพูด มันพูดดีทั้งนั้นน่ะ แต่เวลามันทํา มันไม่ทําสิ่งที่มันพูด เวลาทํานะ เวลาทําความผิด มันแอบทํานะ ต้องแอบด้วย มันชอบทํา แต่เวลาทําความดี ต่อหน้ามันไม่ทํากัน

นี่ก็เหมือนกัน เวลาสิ่งที่ว่าสัจธรรมมีอยู่โดยดั้งเดิมๆ มันก็เหมือนคนกับสัตว์สัตว์มันก็รู้ได้ แต่มันทําไม่ได้ มนุษย์ สัจธรรมมีอยู่โดยดั้งเดิม แต่มีอยู่ด้วยการขวนขวาย มีอยู่ด้วยการกระทําของเราสิ เราทําได้มันถึงจะเป็นไปได้ ถ้าทําได้ถึงจะเป็นไปได้ นี่พูดถึงเข้าไปถึงว่าความคิดความเห็นของเขา ถ้าความคิดความเห็นของเขามันเป็นอย่างนี้มันก็ดี มันดี มันดีเพราะว่าเรายังดูแลหัวใจเราได้ ฉะนั้น ถ้าดูแลหัวใจเราได้ เราเข้าใจถึงชีวิตได้

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัตินะ เราประพฤติปฏิบัติ เรามีแต่คุณธรรม ทําความสงบของใจเข้ามา ถ้าทําความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบแล้วมันยกขึ้นสู่วิปัสสนา มันจะเดินมรรค ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล

แต่ความคิดอย่างนี้มันความคิดแบบโลก ความคิดแบบวัฒนธรรม คนที่มีวัฒนธรรม คนที่เป็นคนดี รัฐบุรุษเป็นคนดีทั้งนั้นน่ะ รัฐบุรุษเขาพยายามสร้างสมเขาพยายามชักนํา เขาพยายามปกครองให้ประเทศชาตินั้น ภูมิภาคนั้นมีความร่มเย็นเป็นสุข แต่เขาก็ต้องตายไป

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม ถ้าอยู่ทางโลกจะได้เป็นจักรพรรดิ ละทิ้งมาเลย แล้วเวลามาขวนขวาย มาขวนขวายหาโพธิญาณ เวลานั่งประพฤติปฏิบัติต้องเอาชนะตนเอง เวลาเกิดสงคราม สงครามระหว่างธาตุขันธ์สงครามระหว่างความคิด ขันธ์  กับเรา กิเลสกับเรา เวลาเกิดสงคราม สงครามด้วยสติด้วยปัญญา แล้วสงครามด้วยสติปัญญาต่อสู้กัน

ต่อสู้ ข้าศึกสงครามเขารบทัพจับศึก เขาใช้วางแผนกลยุทธ์ร้อยแปดเพื่อเอาชนะคะคานกัน กําลังใครมากกว่า แต่เวลาสงครามของนักบวชเรา สงครามของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ สงครามระหว่างความคิด คิดดีกับคิดชั่ว สงครามระหว่างความเพียรของเรากับกิเลสที่มันยุแหย่ ต่อสู้กันๆ ฉะนั้น กรณีอย่างนี้มันถึงต้องมีหลัก มันถึงต้องมีสมาธิไง

ถ้ามีสมาธิมันก็จะเกิดสัจจะ เกิดความจริง เกิดมรรคเกิดผล ถ้าไม่มีสมาธิ ทําได้ ที่เขาว่ามีสติปัญญากันไป หนึ่ง ว่าทําสมาธิแล้ว เมื่อก่อนทําแล้วไม่ค่อยได้ ในปัจจุบันนี้ไม่หวังแล้ว ก็ทําเพื่อถวายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันต้องพยายามทําตรงนี้ ถ้าจิตมันสงบเข้ามานะ เพราะมีพื้นฐานอย่างนี้มันถึงจะมีความคิดข้อที่ ข้อที่ ข้อที่ ไปเรื่อยไง เพราะมันมีพื้นฐาน แต่เวลาถ้ามันเสื่อมไปแล้วนะ มันไม่เห็นสิ่งใดเลยนะ ไม่เห็นหน้าอินทร์หน้าพรหมเลย มันทําลายได้หมดกิเลสนี้ร้ายนัก

หลวงปู่มั่นบอกจิตนี้เป็นได้หลากหลาย เวลาจิตที่มันเป็นมนุสสเทโว เป็นเหมือนเทวดาเลย ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่จิตใจเป็นเทวดา พอเวลามันเสื่อม มันเป็นมนุสสเปโตเลยล่ะ ร่างกายเป็นมนุษย์ แต่ใจเป็นเปรต คนคนเดียวกันนี่ เวลาถ้ามันดีขึ้นมามันเป็นเทวดาเลย เวลามันเสื่อม ทําไมเป็นเปรตเลย ใจนี้เป็นหลากหลายนัก ใจดวงนี้ ใจดวงนี้มันหลากหลายนัก

แต่ถ้าเราศึกษาเราค้นคว้าแล้วเราพยายามประพฤติปฏิบัติอยู่นี่ เราดูแลรักษา มันถึงได้มาเป็นอย่างนี้ไง ถ้ามันเป็นอย่างนี้ปั๊บ นี่ข้อที่ ถ้าเราทําสมาธิเดี๋ยวนี้ทําสมาธิได้หรือไม่ได้ เราพยายามรักษาไว้

จะบอกว่า ถ้าไม่ได้สมาธิ เราจะไม่ทําเลย ถ้าได้สมาธินะ เราจะบอกว่า พื้นฐานของข้อที่ มันถึงเกิดข้อที่ ข้อที่ ข้อที่ ถ้าไม่มีพื้นฐานของข้อที่ บ้านนะ เวลาเขาจะปลูกบ้านกัน เขาตอกเสาเข็ม เสาเข็มอยู่ในดิน ไม่มีใครเห็นมันเลยนะ แต่เสาเข็มมันรองรับบ้านหลังนั้นทั้งหลังไว้เลย

นี่ก็เหมือนกัน พื้นฐานจากการเรากําหนดพุทโธ เราปัญญาอบรมสมาธิ ถึงจะได้ไม่ได้ นั่นแหละเป็นเสาเข็ม ศรัทธาความเชื่อพื้นฐานในใจมันถึงมีข้อที่ ข้อที่มา

มีครั้งหนึ่งนั่งสมาธิแล้วพอไปเห็นปุ๊บ เห็นความคิดเรามันตัดๆ

ถ้ามีความคิด เพราะมันตัดแล้ว เพราะมันมีสติปัญญามันก็ตัดได้ ถ้าไม่มีสติปัญญา มันคิดไปรอบโลกเลย มันคิดไปจนภาวนาจบแล้วเลย แล้วมันค่อยมาคิดได้ โอ๋ยนี่คิดแล้ว แต่นี่มันคิดไปจนจบแล้ว แต่ถ้ามันเคยทําได้ มันจะเกิดข้อที่ แล้วมันจะมาเกิดข้อที่ .

บอกว่า “ลูกเห็นชีวิตนี้เหมือนตัวละคร

นี่เขาเรียกธรรมเกิด ธรรมเกิดคือว่ามันมีความคิดเหมือนธรรมะนะ เวลาธรรมเกิด ธรรมเกิดหมายถึงความคิดดีคิดชั่ว ว่าอย่างนั้นเลย ธรรมเกิดคือความคิดดีๆ เราเกิด แต่ถ้านักปฏิบัติขึ้นมา เวลาสัจจะอริยสัจมันเกิด ทุกข์ สมุทัย นิโรธมรรค

เวลามรรค เวลาธรรมจักรมันเคลื่อน เวลาปัญญามันเคลื่อน นั่นคือภาวนามยปัญญา ถ้าภาวนามยปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา คือจิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นอาการของจิตแล้วมันจับต้องไป

แต่นี่เวลาข้อที่ เราเห็นชีวิตของคนนู้น เราเห็นชีวิตของคนนี้ มันเหมือนกับเราเทียบเคียง เราเทียบเคียง เห็นไหม เราเทียบเคียงแล้วมันเป็นประโยชน์ไหมเป็น เป็นเพราะอะไร เพราะเขายังพลั้งเผลออยู่ เราเป็นคนปฏิบัติแล้ว มันก็บอกว่าเราสูงกว่า เรามีความเข้าใจได้มากกว่า เรามีความเข้าใจได้มากกว่า แต่มันก็ยังเป็นโลกียปัญญา เห็นไหม

แต่ถ้ามันทําสมาธิแล้ว ถ้าจิตเห็นอาการของจิต จิตมันจับความคิดได้ ไอ้ที่เราเห็นนี่เรารู้ทันความคิด แต่ถ้าจิตมันสงบนะ มันจับเลย พอจับแล้วมันเป็นอาการเลย เป็นรูปเลย รูปนี่คือธรรมารมณ์ แต่ถ้ามันเห็นเวทนามันก็จับเวทนาเลยถ้ามันเห็นจิตมันก็จับจิตเลย ถ้าเห็นกายก็จับกายเลย ถ้าจับกายแล้ว ถ้าวิปัสสนาไป นั่นเป็นมรรค ถ้ามรรคมันเกิดขึ้น มรรคเกิดขึ้น มรรคมันเกิดขึ้นนะ มันเกิดภาวนามยปัญญา เวลามันหมุนไป ขนาดนี้ยังละเอียดขนาดนี้นะ แล้วถ้ามันเห็นอย่างนั้นมันจะละเอียดกว่านี้ไง ถ้าละเอียดกว่านี้ไปมันก็เป็นการภาวนาไป

ถ้าภาวนาไป เวลาภาวนาไปโดยความรู้ความเห็นนี่นะ แล้วถ้าเรายังมีตัวตนอยู่ใช่ไหม เราก็บอกว่าอันนี้ประเสริฐ อันนี้สุดยอด อันนี้ดีมาก อันนี้มันมหัศจรรย์มาก แต่ถ้าเวลาภาวนาไป ภาวนาจนเรามีสติมีปัญญานะ พอจิตเห็นอาการของจิตคือจิตเห็นสติปัฏฐาน  แล้วมันจับได้ตามความเป็นจริงนะ เราไม่ค่อยกล้าพูดกับใครแล้ว ไม่ค่อยกล้าพูด เพราะพูดไปแล้วเขาหาว่าเราบ้า ถ้ามันไม่กล้าพูดเพราะอะไรล่ะ

ไม่กล้าพูดเพราะมันเกิดข้อเท็จจริง พอมันเกิดข้อเท็จจริงขึ้นมา มันมีคุณธรรมถ้ามีคุณธรรมปั๊บ มันก็จะเข้าข้อที่ แล้ว มันจะเกิดการอ่อนน้อมถ่อมตนแล้ว คําว่า “อ่อนน้อมถ่อมตน” เพราะอะไร เพราะปัญญาอันนี้มันมหัศจรรย์ พูดไปเขาต้องว่าเราบ้าแน่ๆ เลย เขาต้องว่าเราบ้าแน่ๆ เลย

แต่ถ้าเราไปเจอครูบาอาจารย์นะ ครูบาอาจารย์บอก “ทําเลย ทํามาๆ” ถ้าครูบาอาจารย์ เพราะครูบาอาจารย์ท่านต้องผ่านอย่างนี้มาก่อน เขาเรียกว่า มีคุณธรรม มีองค์ความรู้ มีความจริง

แต่ถ้าคนที่ไม่มีคุณธรรมมันว่างเปล่า พอมันว่างเปล่า เหมือนเราเวลาภาวนาไป ว่างๆ สบายๆ มันไม่มีองค์ความรู้ คือมันไม่มีข้อเท็จจริง พอไม่มีข้อเท็จจริงมันก็ว่างๆ ก็มีความสุข ถ้าอย่างนั้นเขาไม่มีประสบการณ์ เขาไม่มีองค์ความรู้ เขาถึงบอกไม่ได้

ถ้าบอกไม่ได้ เขาพูดว่าอย่างไร “ว่างๆ ว่างๆ”...แล้วว่างอย่างไรล่ะ อะไรเป็นความว่าง ทําอะไรมันถึงเกิดความว่าง ทําอะไรมา ทําอะไรมามันถึงเป็นอย่างนี้แล้วเป็นอย่างนี้มันเป็นขึ้นมาได้เพราะอะไร แล้วถ้าเวลาคนเคยเป็นแล้วนะ เวลามันเสื่อมนะ รู้เลย “อ๋อมันเสื่อมครับ มันเสื่อม มันถอยหลังครับ” เวลาถอยน่ะมันรู้แต่เวลาขึ้นมา ขึ้นมาอย่างไร ถ้ามันขึ้นมานะ มันจะเป็นประโยชน์ ถ้าขึ้นมามันจะเป็นคุณงามความดี

นี่พูดถึงว่าเวลาธรรมเกิดเป็นแบบนั้น แต่ถ้าเป็นมรรค มันเป็นอีกกรณีหนึ่งฉะนั้น สิ่งที่ว่ามันถึงจําเป็นไง จําเป็นต้องกลับไปที่พุทโธ จําเป็นต้องกลับไปที่ปัญญาอบรมสมาธิ สิ่งที่เกิดขึ้นมันเกิดมาจากพื้นฐานตรงนั้น มันถึงส่งขึ้นมาให้มีความรู้ความเห็นอย่างนี้ เพราะความรู้ความเห็นอย่างนี้มันเป็นปัจจุบัน มันคิดโดยปัจจุบัน คิดโดยสัจจะ มันก็เลยเตือนเรา

แต่ถ้าเป็นทางโลกนะ วิชาชีพ มันคิดในเนื้องานไง ทางโลกเขาบอกว่าคิดงานๆ นั่นน่ะ คิดงานมันก็เป็นความคิด แต่คิดแล้ว องค์ความรู้ไปอยู่ที่งาน งานนั้นจะมีข้อเท็จจริง แล้วงานนั้นจะทํางานให้เป็นกิจจะลักษณะ แล้วพอทําจบแล้วคือทําเสร็จงาน คิดเหมือนกัน แต่คิดโดยโลกียปัญญา คิดโดยวิชาชีพ คิดโดยคิดงาน

แต่ถ้ามีสัมมาสมาธิ เราทําความสงบของใจเข้ามา เวลามันคิด มันคิดถึงความคิด เห็นไหม คิดถึงความคิด ภาวนามยปัญญา จิตเห็นอาการของจิต เห็นอาการ เห็นความเป็นไปของความคิด ถ้าเห็นความเป็นไปของความคิด ถ้าจิตมันสงบ มันจะคิดได้ มันจะเห็นความคิด แล้วถ้าทําความสงบให้มันมั่นคงได้ มันจะจับได้ พอจับได้ เห็นไหม จับกับปล่อย จับคือเสวย ปล่อยคือปล่อยสัญญาอารมณ์จับคือเสวย ฉะนั้น นี่อาการของมัน นี่อาการของมันนะ ถ้าอาการของมัน มันก็เป็นอยู่อย่างนี้ คือเหมือนไฟฟ้า

พลังงานไฟฟ้ามันไปตามสายส่งอย่างนี้ แล้วเราจะแยกแยะส่วนอย่างไรแยกแยะ ถ้าจิตมันจับได้แล้วมันใช้ปัญญาพิจารณาไป คําว่า “เป็นไตรลักษณ์” ไฟฟ้ามันเป็นประโยชน์อะไร มันทําสิ่งใด นี่ไฟฟ้านะ

แต่ถ้าเราจับสติปัฏฐาน  ได้ เพราะสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่อาศัยของจิต จิตอาศัยสิ่งนี้ แยกแยะสิ่งนี้ พิจารณาซํ้าๆ สิ่งนี้ จับได้แล้วพิจารณา พิจารณาแล้วมันปล่อยปล่อย มันก็ยังมีอยู่ ไฟฟ้ามีอยู่ตลอดไป เราไม่เกิดมามันก็มีอยู่แล้ว เราตายไปมันก็มีอยู่อย่างนี้ ความคิดของคนมันก็มีอยู่อย่างนี้ มันมีอยู่อย่างนี้ แต่เวลาอวิชชาที่มันยั่วยุ มันเป็นอย่างไร พิจารณาไป มันปล่อยๆ มันปล่อยไปแล้ว อะไรมันปล่อย เห็นไหม เวลามันขาดมันถึงจะเห็น มันถึงจะเห็นผลตามนั้น

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า เรามีความคิดอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ ความเห็นที่ว่า เวลาคนที่เขามีโอกาสปฏิบัติ เราก็เห็นว่าเขาคนดี เวลาคนเขาแสวงหาทางโลก เราก็เสียดายแทนเขา เวลาเรามาเห็นสัตว์ มันเกิดเป็นสัตว์ก็ชีวิตหนึ่งชาติหนึ่งจริงๆมันจะต้องทําคุณงามความดีของมัน แล้วตายไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา อินทร์พรหม ถ้าเทวดา อินทร์ พรหมนะ เพราะว่าท้าวโฆสกๆ เขาเกิดจากสุนัขเหมือนกันจากสุนัขไปเกิดเป็นเทวดา

ถ้าเขาเป็นเทวดา แล้วเทวดามีศรัทธามีความเชื่อมาฟังเทศน์ครูบาอาจารย์มาฟังเทศน์ผู้ที่มีคุณธรรม ถ้าผู้ที่มีคุณธรรมสอนเขาให้เขาพยายามหักใจเขาเข้าสู่อริยสัจ พยายามให้ใจเขาค้นคว้าในอริยสัจ ถ้ามันเป็นได้จริง เขาก็สําเร็จได้สําเร็จได้ทั้งนั้นน่ะ ผู้ที่เวลาเขาจะสําเร็จได้ ถ้าเป็นโอกาสของเขา

แต่ถ้าเขาเกิดเป็นสุนัข เขาเกิดเป็นสัตว์แล้วเขายังล่าอยู่ เขายังทําความผิดของเขาอยู่ เขาก็จะเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะอย่างนั้น ถ้าเรามีสติปัญญา มันก็เป็นสติปัญญาของเรา แล้วเราแก้ไขของเราตรงนี้ ถ้าเราย้อนกลับมาที่นี่นะ เราถึงบอกว่าถ้ามันเป็นความจริง

เขาถามถึงว่า ลูกเจี๊ยบในไข่ หมายความว่า ยังเตาะแตะอยู่ ถ้าเตาะแตะอยู่นี่เราก็พูดตามข้อเท็จจริง ถ้าตามข้อเท็จจริงนั้น เวลาปฏิบัติมันข้อที่ เขายังไม่ได้ปฏิบัติเลย แต่เขาศึกษาธรรมะ แล้วเวลาศึกษาธรรมะแล้ว ความดีก็คือความดี ไปแคร์ความคิดของคนอื่น ก็อยากช่วยเขา อยากให้เขาเป็นคนดี อยากให้เขาอยู่ในกรอบ อยากให้เขาเป็นคนทําสิ่งใด แต่เวลาเราไปช่วยเขาแล้วเราไม่มีกําลัง เราไม่มีกําลังไปยกของหนัก เราก็เลยทรุดไปกับเขา เราช่วยตัวเองไม่ได้

แต่ถ้ามันจะเป็นความจริง เราจะต้องมีสติมีปัญญา เราต้องเข้มแข็งก่อน เราต้องมีกําลังก่อน เราถึงจะไปช่วยคนอื่นได้ ถ้าช่วยคนอื่นได้แล้วนะ เรื่องที่ว่ามันจะจบไป เพราะมันมีปัญญาแล้วมันแยกแยะได้เอง มันแยกแยะได้เองว่าอะไรควรอะไรไม่ควร อะไรควรทําอะไรไม่ควรทํา ถ้าอะไรไม่ควรทํา เราก็ปล่อยวางไว้ซะเราพยายามทําตัวของเราให้มีกําลังมากขึ้น

ฉะนั้น เวลาปฏิบัติไปเหมือนข้อที่ แล้วข้อที่ ปฏิบัติไปแล้ว ถ้ามันเป็นธรรมเกิดก็ทําต่อเนื่องไปให้เป็นประโยชน์กับเรา ถ้าเป็นประโยชน์กับเราแล้ว นี่นักปฏิบัติ ฟังธรรมๆ เพื่อเหตุนี้ ฟังธรรมเพื่อสอนหัวใจของเรา ปฏิบัติ ปฏิบัติให้ใจเราเจริญงอกงามขึ้นมา ให้ใจเรามีคุณธรรมขึ้นมา เพื่อประโยชน์กับใจดวงนั้น เอวัง