ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

จินตมยปัญญา

๕ ก.ค. ๒๕๕๘

จินตมยปัญญา

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่อง “สร้างความสนุกในการภาวนา

กราบขอความเมตตาไขข้อข้องใจในการปฏิบัติกรรมฐานครับ คือผมได้ฟังหลวงพ่อเทศน์ว่า ให้ทําความสงบ เมื่อจิตสงบแล้วให้พยายามดูอาการของจิตหลวงพ่อได้อธิบายอาการของจิต ก็คือสติปัฏฐาน  นี้ ก็คือการกระทําวิปัสสนาผมก็พยายามฝึกในแนวนี้โดยเพียรทําความสงบของจิตแล้วก็ใช้แนวทางดูกายไล่ตามขั้นตอนของอานาปานสติ ผมพยายามปฏิบัติอยู่เป็นปีจึงรู้สึกดีในช่วงต้น มีปีติ สุข รู้ลมหายใจไม่ขาด พยายามรู้เนื้อรู้ตัวเป็นระยะ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสัก ๔๕นาทีก็รู้สึกเบื่อๆ บอกไม่ถูก แล้วก็เลิกปฏิบัติ

ผมฟังหลวงพ่อเทศน์อีกว่า หลวงพ่อภาวนาด้วยความสนุก คล้ายๆ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ เล่นได้ทั้งวัน ผมก็มาปรับและลองภาวนา คือพอถึงตอนเบื่อๆ ก็จะสร้างความสนุกโดยการระงับจิตสังขาร คือคิดเอาเองว่าจะพยายามทําให้สัญญาและเวทนาหายไป ก็สนุกดีครับ แต่มันก็กลายเป็นว่าพยายามทําให้จิตมันว่างๆผมก็ฉุกคิดได้ว่าหลวงพ่อตําหนิพวกที่ทําจิตว่างๆ เลยสับสน

ขอความกรุณาแนะแนวทางด้วยครับ ขอเพิ่ม ขณะผมพยายามสนุกในการละสังขารกับเวทนา ผมยังรู้ลมและพยายามรู้ตัวว่ากําลังนั่งอยู่ควบคู่ไปด้วยครับ

ตอบ : เขามีหมายเหตุในอรรถกถามาด้วย ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเขาถามมา เขาบอกว่าเขาทํามาเป็นปี เวลาศึกษาแล้ว ศึกษาแล้วทํามาเป็นปี ไขข้อข้องใจในการปฏิบัติกรรมฐานครับ คือว่าหลวงพ่อเทศน์ว่า ต้องทําความสงบของจิต เมื่อจิตสงบดีแล้วให้พยายามดูอาการของจิต หลวงพ่อได้อธิบายว่าอาการของจิตคือสติปัฏฐาน  ซึ่งก็คือการวิปัสสนา ผมก็พยายามฝึกในแนวทางนี้ เพียรทําความสงบของจิตแล้วใช้แนวทางดูกายไล่ตามอานาปานสติไปเรื่อย เห็นไหม ไล่ตามอานาปานสติไปเรื่อย แต่เวลาทําไปแล้วมันรู้สึกเบื่อมาก รู้สึกเบื่อมาก

เวลารู้สึกเบื่อมาก ต้องทําความสงบของใจ ถ้าใจสงบแล้วนะ เราฝึกหัดใช้ปัญญาๆ ฉะนั้น คําที่บอกว่า “เวลาทําความสงบของใจแล้วเมื่อไหร่จะได้ใช้ปัญญา” ทุกคนเวลาปฏิบัติไปแล้วมันจะเป็นแบบนี้ มันจะเป็นแบบว่าเวลาปฏิบัติไปแล้ว ถ้าจิตมันสงบ จิตมันดี จิตมันสงบ จิตมันก็มีความสุขไง ถ้าจิตมันสงบมันดี มันมีความสุข เริ่มต้นปฏิบัติใหม่มันจะเป็นแบบนั้นน่ะ พวกหญ้าปากคอก

หญ้าปากคอกทําสิ่งใด พอไม่เคยทํา พอทําได้ดีมันก็ได้ดี แล้วดีก็คิดว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ พออยู่กับสิ่งนั้นสักพักหนึ่งมันจะเสื่อมหมดเลย ต่อไปมันจะเสื่อมไปข้างหน้า พอเสื่อมไปข้างหน้าแล้ว มันปฏิบัติไปไม่ได้มันก็เบื่อหน่าย พอเบื่อหน่ายแล้วก็เลิกไป แล้วกลับมาปฏิบัติใหม่ ปฏิบัติใหม่บางทีทําไม่ได้เลยนะ แต่บางทีทําได้ก็ทําได้เท่านี้ มันจะต่อเนื่องไปไม่ได้ ถ้ามันต่อเนื่องไปไม่ได้ เพราะอะไร

เพราะว่าเวลาฝ่ายที่เขาปฏิบัติกันๆ เขาไม่ได้ใช้ปัญญาอะไรเลย แล้วเสร็จแล้วพอเขาทําให้สงบๆ อย่างนี้ แล้วเขาบอกว่านี่เป็นธรรมๆ พอบอกว่าเป็นธรรมครูบาอาจารย์เวลาท่านที่เป็นจริงท่านจะบอกว่า ต้องทําความสงบของใจก่อนพอใจสงบแล้วมันถึงจะใช้สติปัญญา มันจะยกขึ้นสู่วิปัสสนาได้ ถ้าวิปัสสนาแล้วถ้าเป็นความจริงแล้วมันถึงจะเป็นผล ถ้าวิปัสสนาตามความจริงแล้วมันเป็นผล

แต่เวลาที่เราบอกว่าเราปฏิบัติแล้วมันว่างๆ ว่างๆ มันมีความสุขความสบาย...มันไม่ใช่วิปัสสนา เพราะวิปัสสนามันต้องวิปัสสนาใช้ปัญญาการรู้แจ้ง รู้แจ้งในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม

แต่เวลาเราทําความสงบของใจ มันสงบแล้วมันก็ว่างๆ มันก็มีความสุข เห็นไหม ถ้าอย่างนี้ ถ้าอย่างนี้ถึงบอกว่า มันแบบว่า ที่หลวงพ่อบอกว่าตําหนิว่าทําว่างๆ ว่างๆ

เพราะทําว่างๆ มันยังไม่ใช้ปัญญาไง มันยังไม่ใช้ปัญญาคือว่ามันเป็นโลกียปัญญา มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นการทําความสงบของใจเท่านั้น มันไม่ใช่วิปัสสนา

ทีนี้พอไม่ใช่วิปัสสนา เพราะเราหลงเชื่อ เราเชื่อการกระทําของเรา เราเชื่อประสบการณ์ของเราว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ อย่างนี้ที่หลวงพ่อตําหนิ ที่ว่าตําหนิ ตําหนิตรงนี้ไง ตําหนิที่ว่ามันยังไม่เป็นความจริง แต่เราไปยึดว่ามันจะเป็นความจริง คือเราไปคาดหมายว่าเป็นความจริง มันเป็นจินตนาการน่ะ มันเป็นจินตมยปัญญา

มันสุตมยปัญญา สุตมยปัญญาเป็นเรื่องหนึ่งใช่ไหม ถ้าจินตมยปัญญาเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ฉะนั้น จินตมยปัญญามันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเป็นเรื่องหนึ่งแล้ว เพราะเราทําอย่างนั้นมันก็เทาๆ ที่ว่าเทาๆ เทาๆ กลางๆ มันจะไปเป็นความจริงมันก็ไม่เป็น จะบอกว่าปฏิบัติไม่ได้เลย มันก็ได้ นี่มันไม่เป็นความจริงนะ ที่ว่าตําหนิ ตําหนิอย่างนี้ เวลาตําหนิที่ว่ามันต้องทําให้เป็นจริงไง ถ้าจริง จริงตรงไหนล่ะ จริงก็ย้อนกลับมาที่เรานี่

เราบอกว่าเราจะทําความสงบของใจก่อน ถ้าใจมันสงบแล้วเรายกขึ้นสู่วิปัสสนา

มันก็มุมกลับ แล้วเมื่อไหร่จะได้ใช้ปัญญาเสียที

ถ้าเราบอกเราจะรอสมาธิๆ เราจะทําความสงบของใจ ถ้าใจสงบแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา แล้วเมื่อไหร่มันจะสงบ แล้วแค่ไหนถึงจะวิปัสสนาได้ แค่ไหนล่ะ แค่ไหนที่ว่ามันจะเป็นวิปัสสนาในการปฏิบัติที่ถูกต้อง แค่ไหนมันถูกต้อง

ถ้าแค่ไหนมันถูกต้อง เห็นไหม โดยพื้นฐาน ครูบาอาจารย์ให้ทําความสงบของใจเข้ามา พอทําความสงบของใจเข้ามา แล้วเราบอกว่าเราก็ทําความสงบของใจแล้ว

ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นจริงนะ บอกว่าปัญญาฝึกหัดใช้ได้ เวลาจิตสงบแล้ว ถ้าเราทําความสงบของใจได้ เราก็ทําความสงบของใจ เพราะอะไรเพราะถ้าใจสงบจริงๆ นะ มันจะมีความสุข

ทีนี้ความสุขมันทําสงบไม่ได้ง่ายๆ คราวนี้ทําสงบ แล้วคราวหน้ากิเลสมันรู้เท่าทันแล้ว ทําความสงบของใจมันจะยากขึ้น ถ้ายากขึ้น เราก็ต้องหาเหตุผล การหาเหตุผลคือใช้ปัญญา ปัญญาอย่างนี้มันเป็นการฝึกหัด หลวงตาใช้คําว่าวิปัสสนาอ่อนๆ” คําว่า “วิปัสสนาอ่อนๆ” พอจิตมันสงบแล้วเราฝึกหัดใช้ปัญญา

แล้วบอกว่าเรารอให้เป็นสมาธิก่อนแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา บางคนก็คิดว่าทําสมาธิแล้วปัญญามันจะเกิดขึ้น จะผุดขึ้นมาเอง มันก็ไม่ใช่อีก มันไม่ใช่เพราะอะไรเพราะเวลาเราจิตสงบแล้ว ถ้ามันผุดขึ้นมา เขาเรียกธรรมเกิด เวลาธรรมเกิดนะมันจะมีธรรมะผุดมาในใจเป็นคําๆ เลย ถ้าเราสงสัยสิ่งใด ทีนี้มันจะผุดขึ้นมาเลยธรรมเกิดมันไม่ใช่อริยสัจ

แล้วธรรมเกิด มันก็มีบางคนอย่างเช่นหลวงปู่มั่นมีธรรมเกิดเยอะมาก หลวงตาท่านบอกว่าหลวงปู่มั่นเวลาธรรมะเกิด เกิดเป็นภาษาบาลีด้วย เวลาหลวงตาท่านธรรมเกิดของท่านเป็นภาษาไทย เห็นไหม มันยังมีภาษาบาลี ภาษาไทยภาษาความเข้าใจ นี่เวลาธรรมเกิด ธรรมเกิดไม่ใช่อริยสัจ

ทีนี้พอเวลาธรรมเกิด คนก็ไม่เข้าใจว่าธรรมเกิดเป็นอย่างไร แล้วเวลาจิตสงบแล้ว ถ้าเราจะฝึกหัดใช้ปัญญา ฝึกหัดใช้ปัญญา เราฝึกหัดใช้ เราฝึกหัดใช้ ถ้าฝึกหัดใช้ แล้วบอกว่าฝึกหัดใช้ ใช้อะไร เพราะมันไม่เห็นสติปัฏฐาน  มันไม่เห็นกาย ไม่เห็นเวทนา ไม่เห็นจิต ไม่เห็นธรรม ก็เบื่อๆ นี่ไง

เวลาเราภาวนาไปมันจะเกิดอาการเบื่อหน่าย อาการเบื่อหน่าย แล้วอาการลังเลสงสัยในธรรมะ อาการสัจธรรมที่เราเชื่อไม่เชื่อ...ตั้งประเด็นนี้ขึ้นมา ประเด็นที่ว่าเราสงสัยสิ่งใด เราฝึกหัดใช้ปัญญา วิเคราะห์เรื่องนี้ ถ้ามันวิเคราะห์ได้ มันเพลิน แต่พอมันเพลินไป ถ้ามันเพลิน พอมันพิจารณาไปแล้วมันวางได้ อย่างนั้นก็ถูกต้อง ถ้าพิจารณาไป วางไม่ได้ เราก็กลับมาพุทโธ กลับมาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ

ปัญญานี้ฝึกหัดใช้ได้ ปัญญานี่ฝึกหัดใช้ได้เลย แต่มันต้องมีคนที่เป็นบอกว่านี้คือโลกียปัญญา นี้คือปัญญาอบรมสมาธิ ฝึกหัดใช้ได้ ทีนี้พอฝึกหัดใช้ได้ พอเราฝึกหัดใช้ได้ ใช้อย่างไร

มีด ดูสิ แม่ครัวเขามีมีด มีเครื่องทําครัว เขาทําอาหารได้ทั้งนั้นน่ะ เอาเครื่องครัวไปให้เด็กมันทํา เด็กมันเอาไปเล่น มันทําเล่นของมัน

นี่ก็เหมือนกัน เราฝึกหัดใช้ปัญญาๆ คนที่เขาทําเป็นแล้วเขาใช้ปัญญาไปได้เลย จิตสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา พอใช้ปัญญาไปแล้ว จิตมันแบบว่ามันฟุ้งซ่านมันไม่สงบ ไม่มีกําลังพอ เขาก็กลับมาพุทโธ กลับมาปัญญาอบรมสมาธิ พอปัญญาอบรมสมาธิมีกําลังขึ้นมา เขาก็ใช้ปัญญาต่อเนื่องกันไป เหมือนแม่ครัวที่ทํางานเป็น

เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติเป็น ท่านเดินของท่านไปสะดวกมาก พอมันติดขัดก็กลับมาทําสมาธิ พอทําสมาธิแล้ว พอมันมีปัญญาได้ ท่านก็ฝึกหัดใช้ปัญญาไปได้ คือมันทําได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

แต่ถ้าคนมันไม่เป็นฝึกหัดใหม่ เหมือนเด็ก เอามีดไปให้เด็ก เด็กมันจะทําให้ตัวมันเองบาดเจ็บด้วย นี่ก็เหมือนกัน ฝึกหัดใช้ปัญญาๆ ปัญญาอะไร ปัญญาอะไรนี่การฝึกหัดๆ เวลาเราฝึกหัด อย่างนี้เป็นข้อเท็จจริง แต่เวลาปฏิบัติ เวลาที่เขาปฏิบัติเขาบอกเขากําหนดรู้เท่าทัน เขาห้ามใช้ความคิดนะ ถ้ามีความคิดเขาถือว่าฟุ้งซ่าน แล้วถ้าทําสมถะเขาว่าเกิดนิมิต เขาจะบังคับให้รู้ตามกิริยา ถ้าให้รู้คือว่าบังคับจิตให้อยู่ในการเคลื่อนไหวอย่างนั้น แต่มันไม่ได้ใช้ปัญญา ปัญญาก็เกิดไม่ได้ ปัญญาเกิดไม่ได้หรอก

เวลาแนวทางปฏิบัติในหลายแนวทาง เพราะปัญญามันไม่อิสระ ดูสิ ความคิดเรามันต้องมีอิสระใช่ไหม อย่างที่ว่าประชาธิปไตยๆ มันต้องมีเสรีภาพใช่ไหม คนถึงคิดได้ใช่ไหม ถ้าคนไปบังคับเผด็จการไม่ให้เขาคิดนอกกรอบ อยู่ในกรอบ คนมันมีปัญญาได้ไหม มันก็มีปัญญาไม่ได้

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราเคลื่อนไหว เราจะรู้ตัวอยู่อย่างนี้ แล้วปัญญามันเกิดตรงไหน ปัญญามันเกิดตรงไหน ปัญญาไม่เกิด ถ้ามันรู้อย่างนั้นปั๊บ บังคับไว้ มันจะเกิดเวลามันลงสมถะ จิตเวลามันจะปล่อยวาง พอปล่อยวาง มันจะมีความสุขแค่นั้นน่ะ เวลามันแค่นั้นไง

ฉะนั้นบอกว่า เวลาจิตสงบแล้วแค่ไหนถึงใช้ปัญญา คนถามปัญหาเรื่องนี้เยอะมาก เวลาใช้ปัญญาไปแล้วก็บอกว่า ปัญญาที่ใช้ไปนี่มันเป็นโลกียปัญญาแล้วต้องทําความสงบของใจ แล้วเมื่อไหร่ล่ะ แค่ไหนสงบ แค่ไหนที่ใช้ปัญญา

ทีนี้เวลาใช้ปัญญา ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ถ้าอัปปนาสมาธิมันเป็นการที่ว่าเข้าไปถึงจุดสูงสุดของสมาธิของสมถะ เข้าไปพักผ่อนให้มีกําลังออกมา ถ้ามีกําลังออกมา ออกมาแล้วถ้าไม่น้อมไปสู่กาย เวทนา จิต ธรรม มันก็ไม่เกิดปัญญา

เวลาเข้าไปอัปปนาสมาธิมันต้องแบบว่าเข้าไปพักฐานของจิตเลย มีกําลังมาก แล้วพอคลายตัวออกมา พอคลายตัวออกมา พอจิตถ้าเข้าไปพักถึงอัปปนาสมาธิ ถ้าคนที่ปัญญาไม่เข้มแข็ง ปัญญาไม่มีกําลังมาก พอเข้าไปอัปปนาสมาธิก็บอกนี่คือนิพพาน เราเข้าไปเห็นนิพพานแล้ว เราอยู่แค่นิพพานนี่เรารู้แล้ว มันสักแต่ว่า มันละเอียดมาก ละเอียดมากอย่างนั้นมันก็เกิดปัญญาไม่ได้ เวลามันคลายตัวออกมา อุปจาระ คําว่า “อุปจาระ” คือว่าจิตมันกระทบได้ จิตมันคิดได้ พอจิตมันคิดได้ นั่นน่ะ ตรงนี้เราฝึกหัดใช้ เราฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้ามันเป็นปัญญาไปได้

ถ้าเป็นปัญญาไปไม่ได้ เห็นไหม แค่ไหน คําว่า “แค่ไหน” มันอยู่ที่จริตนิสัยอยู่ที่อํานาจวาสนา บางคนสมาธิพอประมาณแบบปัญญาอบรมสมาธิ สุกขวิปัสสโก ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญามันจะไล่ไปเลย คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด ไล่จนมันหยุดคิด หยุดคิดนั่นคือสมาธิ แต่มันแป๊บเดียว เดี๋ยวคิดอีกแล้ว แล้วก็ไล่เข้าไปๆ จนจิตมันตั้งมั่น พอจิตตั้งมั่น พอมันจะคิด นั่นน่ะจิตเห็นอาการของจิต ตรงนั้นน่ะวิปัสสนา ถ้ามันจับได้ มันเข้าสู่มรรค

มันต้องเข้าสู่มรรค เข้าสู่สัจจะ เข้าสู่อริยสัจ ถ้าไม่เข้าสู่อริยสัจ มันไม่ใช่ธรรมะ มันเป็นวิปัสสนึก มันเป็นจินตนาการ จินตมยปัญญา แล้วบอกว่า จินตมยปัญญาเป็นความผิดใช่ไหม

จินตมยปัญญาห้ามเกิด ก็ไม่ใช่ เพราะจินตมยปัญญามันเป็นระหว่าง เห็นไหม สุตมยปัญญาคือการศึกษา ศึกษามาเพื่อปฏิบัติ เวลาปฏิบัติไป เพราะขณะที่ว่าเรามีกิเลสอยู่ แต่เราเกิดปัญญา นี่จินตมยปัญญา คือมันยังไม่สะอาดบริสุทธิ์ไงถ้าจิตมันสงบแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา มันจะเกิดภาวนามยปัญญา

จากสุตมยปัญญา จินตมยปัญญา มันจะเป็นภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาคือเป็นมรรค คือเป็นความสะอาดบริสุทธิ์ สัมมาทิฏฐิ สัมมากัมมันโตสัมมาหมด คือสัมมาถูกต้องชอบธรรมหมดไง ถ้าถูกต้องชอบธรรมหมด นี่ภาวนามยปัญญา มันไม่ใช่จินตมยปัญญา

เพราะคําว่า “จินตนาการ จินตมยปัญญา” มันมีเรา มีเรา มีสมุทัย มีสิ่งเจือปนมันไป มันถึงเป็นจินตมยปัญญา แต่จินตมยปัญญามันเป็นระยะ มันเป็นระหว่างทางก้าวเดิน มันต้องมี มันต้องผ่าน มันเป็นทางผ่าน มันเป็นทางผ่าน จิตมันต้องผ่านนั้นไป ถ้าจิตผ่านนั้นไป มันก็จะถามว่าแค่ไหน แค่ไหน อย่างไร ถึงจะใช้ปัญญาได้

ปัญญานี้ฝึกหัดใช้ได้เลย เพราะว่าถ้าเป็นสมาธิ สมาธิ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ นี้เป็นกรรมฐาน แต่ในสมัยพุทธกาลหรือในสิ่งที่ว่าเป็นพวกเกจิเขาจะมีปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เห็นไหม ตั้งแต่ปฐมฌานทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่สมาบัติ ถ้าสมาบัติมันสมาบัติ มันเพ่งกสิณ มันเป็นกสิณ สมาบัติ มันเป็นแบบว่าสมาธิส่งออก

แต่ถ้าเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ อันนี้มันเป็นสัมมา มันจะย้อนกลับ เพราะมันอยู่ในมรรค มรรคคือสัมมาสมาธิ สัมมาสติ สัมมากัมมันโตสัมมาอาชีโว คําว่า “สัมมาๆ” มันอยู่ตรงนี้ เพราะคําว่า “สัมมาสมาธิ” คําว่าสมาธิ” เพราะในมรรคนี้ไม่พูดถึงสมาบัติ ในมรรคนี้ไม่พูดถึงกสิณ แต่พวกกสิณพวกสมาบัตินั้นเป็นอีกอย่าง

นี่พูดถึงว่าคําว่า “สมาธิมันก็ยังแตกไป” เพราะอะไร เพราะเป็นอจินไตย ฌาน กรรม โลก พุทธวิสัย คําว่า “อจินไตย” จิตของคนมันถึงหลากหลายมากแล้วว่าแค่ไหน แค่ไหน คําว่า “แค่ไหน” มันจะย้อนกลับมา ย้อนกลับมาที่จริตนิสัยย้อนมาที่อํานาจวาสนาว่าเราได้สร้างอํานาจวาสนามาอย่างไร ถ้าได้สร้างอํานาจวาสนามาอย่างไร พอเราทําตามสิ่งที่มันตรงกับอํานาจวาสนาเรา มันจะคล่องตัวมันจะคล่องตัว มันจะสะดวก มันจะคล่องแคล่ว แล้วมันจะได้ผล

แต่ถ้าเราทําสิ่งที่เราไม่ชอบ แต่ถ้าพยายามฝืนทํา ทําได้ไหม ได้ แต่มันไม่สะดวก มันไม่คล่องตัวไง ไม่คล่องตัว มันก็ไม่ตรงกับกิเลสไง ถ้ามันตรงกับกิเลสมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

นี่พูดถึงว่าหลวงพ่อตําหนิไง เดี๋ยวหลวงพ่อก็ชม เดี๋ยวหลวงพ่อก็ตําหนิ

คําว่า “ชมกับตําหนิ” มีคนมาอุทธรณ์เยอะมาก มาอุทธรณ์เรื่องนี้ พอผู้ปฏิบัติใหม่มา พอปฏิบัติทําความสงบของใจ หลวงพ่อจะบอกว่าใช่ๆ

เราจะบอกว่าใช่ เพราะว่ามันไม่มีอะไรผิดพลาดนี่ มันไม่มีอะไรผิดพลาดเหมือนกับขั้นพื้นฐานมันก็เป็นอย่างนี้ มันก็ถูกต้องว่าใช่ แต่คําว่า “ใช่” มันไม่ใช่ว่าเป็นพระอรหันต์นี่ คําว่า “ใช่” คือว่าทําถูกทาง คําว่า “ทําถูกทาง” แต่เวลาพอปฏิบัติขึ้นไปแล้วเราจะบอกว่าผิด เพราะอะไร

เพราะเบสิกมันเป็นอย่างนี้ พื้นฐานเป็นแบบนี้ แต่เวลายกขึ้นไง เวลายกขึ้นเวลาทํางานน่ะ เหมือนรับสมัครงาน รับสมัครงานหมดเลย ถูกต้องดีงามหมด รับสมัครงานเข้ามา แต่ทํางานเป็นหรือเปล่า ทําได้หรือเปล่า นั่นอีกเรื่องหนึ่ง

นี่ก็เหมือนกัน เวลาเขาปฏิบัติมา ถ้าบอกว่าใช่ เขามาถามว่า อย่างนี้หลวงพ่อถูกไหม ถูก เวลาพูด คนปฏิบัติมาก็เรื่องหนึ่งนะ แต่เวลาถามก็ต้องไปค้นคว้าทางวิชาการก่อน ก็จะพูดตามนั้นน่ะ ถูกไหม ก็ถูก ก็พูดธรรมะ ทําไมจะไม่ถูก แต่ใจเอ็งเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ฉะนั้น ถ้าใจเป็นอย่างนั้นนะ เวลาปฏิบัติขึ้นไปแล้วมันจะดีขึ้นไปเอง มันจะดีขึ้นไปเลย เพราะอะไร เพราะพื้นฐานมันดี แต่ถ้าพื้นฐานมันไม่ดี มันจะไปได้ไหม พอไปไม่ได้ขึ้นมาก็มาบอกว่าก็หลวงพ่อว่าถูกไง พอถูกแล้ว ว่าถูกด้วย ว่าใช่ด้วย พอปฏิบัติไปจะวิปัสสนึก ไปใช้จินตนาการของตัวเองแล้วพอมันเป็นไปก็จะบอกว่าอย่างนี้ใช่ไหม ถ้าบอกว่าไม่ใช่ มันเป็นขั้นๆ ไปไง

อันนี้ก็เหมือนกัน เขาบอกว่าเขาปฏิบัติมา ทําความสงบของใจ พยายามทําความสงบของใจ แล้วทําความสงบของใจแล้วไปปฏิบัติในแนวทางสติปัฏฐาน มีความสุขมาก เห็นไหม เวลาปฏิบัตินะ เขาทําอยู่เป็นปี เวลามีความสุขมาก แล้วทําไปแล้วลมหายใจยังมีอยู่ มีความรู้สึกอยู่ แต่มันรู้สึกเบื่อๆ ฉะนั้น พอเบื่อๆ แล้วพอมาฟังหลวงพ่อพูดว่า เวลาผู้ที่ภาวนา ถ้ายกขึ้นสู่วิปัสสนา เวลาจิตมันเห็นอาการของจิต มันจับต้องได้แล้ว หลวงพ่อภาวนาด้วยความสนุก คล้ายๆ กับเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เล่นได้ทั้งวัน ผมก็เลยมาปรับลองว่า เห็นไหม พอเวลามันเบื่อๆเราก็คิดถึงความสนุก เราก็คิดถึงว่าเราจะพิจารณาคิดเอาเอง ระงับสังขาร ระงับสัญญา ระงับเวทนาด้วยการคิดเอาเอง

การคิดเอาเอง การทําสิ่งใด ใช้ปัญญาถูกทั้งนั้นน่ะ เพราะว่าอะไร เพราะว่าคนทําความสงบของใจแล้ว ใจพอสงบแล้ว พอจิตสงบแล้วเราจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร

ถ้าคนมีอํานาจวาสนานะ พอจิตสงบแล้วมันจะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตเห็นธรรม เวลาเวทนามันเกิด เวลาเรานั่งสมาธินะ เวลาเวทนามันเกิดนะ โอ๋ยเจ็บปวดมาก เวลาจิตมันสงบนะ พอเจ็บปวดจนเราสงบได้ เวลาจะทําอะไร ทําไม่เป็น แต่ก่อนที่จะสงบ เราก็ผ่านเวทนามา เวลาจิตสงบแล้วทําไมไม่รู้จักเวทนาล่ะเพราะอะไร เพราะจิตสงบแล้ว ถ้ามันไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม มันถึงจะเป็นสติปัฏฐาน  มันถึงเป็นวิปัสสนา

แต่ขณะที่เรานั่งสมาธิ ใครนั่งสมาธิทุกคนเจ็บปวดทั้งนั้นน่ะ เวทนาทั้งนั้นน่ะเราก็วางเวทนามา เราเข้าสมาธิโดยการพุทโธ โดยปัญญาอบรมสมาธิ โดยผ่านเวทนามานะ ผ่านความเจ็บปวดมานะ จิตมันสงบลงได้ พอจิตสงบลงได้ แล้วจะไปอย่างไรต่อ คนถามอย่างนี้ทั้งนั้น แล้วทําอย่างไรต่อ

ถ้าทําอย่างไรต่อ พอจิตสงบแล้วเราก็อยู่กับความสงบนั้น เวลามันคลายตัวออกมา คลายตัวออกมา ถ้าเราจับได้ เราก็จับ ถ้าเราจับไม่ได้ นั่งต่อไป เดี๋ยวเวทนามันก็มา ถ้าเวทนามานะ เห็นไหม จิตมันมีกําลัง

บอกว่าแค่ไหนเมื่อไหร่ถึงจะได้วิปัสสนา เมื่อไหร่แค่ไหนเราถึงจะได้ใช้ปัญญา

นี่ไง พอจิตสงบ จิตเรากําหนดพุทโธ เราทําความสงบของใจ เราผ่านเวทนานี่ด้วยปุถุชน ด้วยคนหนา ต้องต่อสู้กันเต็มที่เลย มันถึงวางเข้ามาได้ พอวางเข้ามาได้แล้วนะ พอจิตสงบแล้ว เวลามันคลายตัวออกมา เวลาเวทนามันเกิด จิตมีกําลังหรือยัง จิตมันสงบแล้ว มีกําลังแล้ว ถ้ามันคลายตัวออกมา มาเจอเวทนา ทีนี้มันจับเวทนาเล่นได้เลย ถ้ามันจับเวทนา แต่มันไม่จับน่ะสิ แล้วมันหาไม่เจอด้วยว่างๆ มีความสุข โอ๋ยสุขมาก ทําอะไรไม่ถูกเลยหลวงพ่อ

มึงนั่งต่อไป เดี๋ยวเวทนามันก็มา ถ้าเวทนามาแล้ว คราวนี้จิตสงบแล้ว มันจับได้แล้ว เห็นไหม

นี่เขาบอกว่า เขาฉุกคิดได้ว่าหลวงพ่อติว่าทําจิตว่างๆ ไม่ถูก

คําว่า “ติ” ติคนที่หลงทาง เวลาคนที่ปฏิบัตินะ พยายามส่งเสริมนะ หลวงตาเวลาท่านออกไปเทศนาว่าการ ท่านบอกว่าที่ท่านไป ไปทําไม ไปเอาหัวใจคน ไปเอาหัวใจคน

เวลาหลวงปู่มั่นท่านอยู่นะ เวลาท่านเทศนาว่าการ “หมู่คณะให้ปฏิบัติมานะจิตนี้มันแก้ยากนะ ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ แก้จิตนี้แก้ยากมากนะ

หลวงปู่มั่น หลวงตาท่านไปไหนนะ ท่านไปเอาหัวใจคน แล้วเวลาภาวนา เขาใช้อะไรภาวนา เขาใช้หัวใจภาวนา หัวใจนี้ภาวนา เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาเขาค้นคว้าหาใจของเขา เขาพยายามจะประพฤติปฏิบัติเพื่อจะมีคุณธรรมในใจแล้วมันมีที่ไหน ก็มันมีที่ใจไง ถ้ามีที่ใจ

ทีนี้เวลาคนที่จะประพฤติปฏิบัติ เวลาใครจะมาปฏิบัติก็บอกว่าขอให้ปฏิบัติองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ “อานนท์ เธอบอกเขาเถอะ ให้เขาปฏิบัติบูชาเถิด อย่าบูชาเราด้วยอามิสเลย

ถ้าใครปฏิบัติ นี่เขาจะค้นคว้าหาใจของเขา เราก็ส่งเสริมไง ถ้าส่งเสริมนะถ้าใครทําได้ มันก็เป็นประโยชน์ไป ถ้าใครทําไม่ได้ ก็ให้กําลังใจ แล้วถ้าทํามาถูกทาง มันก็ดี ถ้าเริ่มต้นมา เริ่มต้นมาถูกทั้งนั้นน่ะ เพราะเริ่มต้นจากคนไม่เป็น ทําอะไรมันก็ดูไม่น่าเกลียด

คนฝึกงาน รู้ว่าคนฝึกงาน ผู้ที่เขาชํานาญการเขาบอกไม่เป็นไร ขอให้ทําเถอะคนฝึกงาน ขอให้ทํา ขอให้ขยัน เดี๋ยวผิดถูกข้างหน้า เดี๋ยวเราจะรู้กัน แต่ถ้าเราไม่ทําอะไรเลย เราอยากเป็น แต่เราก็ไม่ทําอะไรเลย เราก็กลัวผิดไปตลอดเลย เราก็ไม่ได้ฝึก

ฉะนั้น เวลาเขาฝึก ขั้นพื้นฐานได้ทั้งนั้นน่ะ ถูก เอาเลย แต่พอไปหลงตัวเองไงหลงตัวเองว่ามีคุณธรรม เพราะมันว่างๆ พอว่างๆ ว่างๆ มีเหตุผลอะไร

เขาบอกว่าเวลาเขาทําของเขา เขาคิดของเขา ว่าเวลาหลวงพ่อภาวนาสนุกมาก

สนุกเพราะจิตมันจับ แล้วเวลามันปล่อยวาง มันเห็นไง เวลาจิตเราจับกายจับเวทนา จับจิต จับธรรมนะ พิจารณาไปแล้วมันปล่อย พอปล่อยแล้ว ใหม่ๆ ก็ไม่รู้ ใหม่ๆ พอปล่อยแล้วก็คิด ใหม่ๆ ขนาดที่ว่าคิดว่านามธรรมไม่มี โดยจิตใต้สํานึกคิดว่านามธรรมมันไม่มี มันมีแต่รูปธรรม นามธรรมนี้จับต้องไม่ได้ แต่พอจิตมันสงบไปแล้วมันไปเห็นจิตเข้า มันตกใจ สิ่งที่เป็นนามธรรมทําไมมันเห็นชัดเจนขนาดนี้

พอมันตกใจแล้ว พอดูแล้ว พอจิต อ๋อมันมี ถึงเป็นนามธรรม จิตเป็นนามธรรม ปฏิสนธิจิตมันมี ทุกอย่างมันมี เป็นสมาธิ สมาธิก็เห็นอยู่ ก็จับต้องได้เวลามันเสวยอารมณ์ มันพิจารณาไป โอ้โฮทีนี้มันสนุกไง โอ้โฮภาวนาทั้งวันทั้งคืน ทั้งวันทั้งคืนน่ะ

เหมือนที่หลวงตาท่านว่า เวลาอดอาหารไป ภาวนาดีมาก แต่มนุษย์มันก็ต้องมีอาหาร ไม่มีอาหาร มันก็จะตายซะ ถ้าตายไปโดยไม่ฆ่ากิเลส มันก็น่าเสียดายฉะนั้น เวลาจะมาฉันอาหาร มันละล้าละลัง มันไม่อยากฉันเลย เพราะฉันเข้าไปแล้วมันหนักหน่วง มันภาวนาไม่ดี จิตไม่รู้ไม่เห็นอะไรเลย เหมือนเรือเกลือ แต่เวลาอดอาหาร มันจับต้อง มันพิจารณาไปพับๆๆ ไปเลย  วัน  วัน อู้ฮูอดอาหาร แต่มันอยู่ไม่ได้ มันต้องมาฉันอาหารน่ะ พอฉันเข้าไปแล้วมันก็เป็นอย่างนี้

ฉะนั้น เวลาที่ว่าสนุก สนุกมากๆ สนุกเพราะอะไร เพราะมันจะได้จะเสีย มันเหมือนเจ๊กงก พวกเจ๊กงกเวลาทําการค้า โอ้โฮมันงกมาก เพราะมันรวย เจ๊กงกเพราะมันได้ตลอด หยิบจับอะไรเป็นเงินเป็นทองหมดน่ะ เงินทองมันไหลมาเทมาใครบ้างไม่อยากได้ ทุกคนอยากได้ทั้งนั้นน่ะ

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาภาวนา ถ้ามันพิจารณาได้ เหมือนเจ๊กงก มันได้ตลอดแหมทําอะไรก็สนุกครึกครื้น เวลาจิตเสื่อมนะ ไม่รู้เป็นเจ๊กอะไรเลยล่ะ เวลาจิตเสื่อม ทุกข์มากนะ

ครูบาอาจารย์ทุกองค์ที่ท่านปฏิบัติมาจะมีประสบการณ์อย่างนี้ทั้งนั้น จะมีจิตเจริญรุ่งเรืองแล้วเสื่อมถอย เพราะว่าเวลามันจะเป็นอกุปปธรรม ถึงคงที่ มันจะต้องทําถึงที่สุด ต้องมัชฌิมาปฏิปทา มรรคสามัคคีรวมตัวแล้วสมุจเฉทปหาน พอสมุจเฉทปหาน ชําระกิเลสโดยข้อเท็จจริงถึงจะเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี เป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไป แต่ขณะที่กว่าจะได้ตรงนี้

ฉะนั้นบอกว่า เวลาจะสมุจเฉทปหาน ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น แป๊บเดียวนะแฟบขาดเลย แต่กว่าจะมาจ่อถึงตรงนี้ได้ ล้มลุกคลุกคลานมาขนาดไหน ขณะที่ล้มลุกคลุกคลานนั้นคือฝึกหัด เหมือนกับพวกที่ฝึกหัดทํางาน ฝึกหัดจนกว่าจะเป็นจนกว่าจะชํานาญ

แต่เวลาครูบาอาจารย์ท่านชํานาญ เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญา พิจารณาหนเดียวชําระล้างกิเลสไปเลย นั่นเป็นขิปปาภิญญา ผู้ที่สร้างบุญกุศลมามาก อย่างพวกเราได้สร้างบุญกุศลมา ขนาดว่าทําจิตให้สงบได้สมาธิก็มีความสุขแล้ว แล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนาได้นี่เก่งมาก วิปัสสนาไปแล้วทํางานยังจับพลัดจับผลู มีพวกคนโกง พวกทุจริตเขามาคอยหลอกคอยลวง คอยหลอกคอยลวงก็ล้มลุกคลุกคลานๆ ทําของเราเต็มที่ขึ้นมา เห็นไหม

เพราะว่ายืน ดูสิ ตอนนี้เวลาใครๆ ก็อยากได้ผลตอบแทนมากๆ แล้วก็โดนหลอกกันไปทั้งนั้นน่ะ ด้วยความหวัง เขาก็อยากได้ผลประโยชน์ แต่เวลาไปเข้าทางของฝ่ายทุจริตแล้วเสียหายกันไปทั้งนั้นน่ะ วิปัสสนาก็เป็นแบบนี้ กิเลสมันหลอกเอาหัวปักหัวปํา มันทําเรื่อยๆ ไป เห็นไหม

ฉะนั้น เวลาที่บอกว่าเวลาใครมาแล้วเราจะส่งเสริมเขา ภาวนาแล้วมีแต่ความสนุกสนาน แต่เวลาเราใช้อย่างนี้ไป เขาบอกว่าเวลาเขามาพิจารณาแก้เบื่อหน่ายของเขาด้วยการทําลายสัญญา การทําลายเวทนานี่หายหมดเลย สนุกดีมากครับ แต่มาฉุกคิดได้ว่าหลวงพ่อตําหนิพวกทําจิตว่างๆ

หลวงพ่อตําหนิแต่คนที่มักง่าย แล้วคิดว่าสิ่งนั้นเป็นผล คือเขาหลง เขาหลงว่าที่เขาทํามาแล้วว่างๆ นั้นน่ะมันเป็นวิปัสสนาหนึ่ง สอง มันเป็นมรรคเป็นผล เราจะติคนอย่างนั้น เราจะตําหนิคนอย่างนั้น หรือไม่ก็คนที่เขามีโอกาส เพราะจิตเขาดีแล้ว พอภาวนาไปแล้ว กําลังของสติ กําลังของสมาธิ กําลังของปัญญามันแก่กล้าแล้ว มันควรจะเจริญงอกงาม มันควรจะมีสติ มหาสติ คือมีความละเอียดรอบคอบไปกว่านั้น คือจะต้องทํางานของตัวเองให้เจริญงอกงามขึ้นไปกว่านั้น นี่ครูบาอาจารย์ท่านติพวกนี้

คําว่า “ติ” ติคือชี้แนะ ชี้แนะให้เขาเจริญงอกงาม ชี้แนะส่งเสริมให้เขาขึ้นไปฉะนั้น เวลาจะติ ติเพื่อก่อ ถ้าเวลาติ ติเพื่อก่อ ก่อร่างสร้างตัว ติเพื่อคุณธรรม ติเพื่อประโยชน์ แต่เวลาผู้ที่ฝึกหัดใหม่ ฝึกหัดใหม่เขาทําได้ทั้งหมด แต่เวลาเรามาทําแล้ว ที่เห็นว่าหลวงพ่อติพวกจิตว่างๆ

ติเพราะว่าเขาไม่พัฒนาของเขาขึ้นไปหนึ่ง สอง ติว่าเขาคิดว่าสิ่งนั้นเป็นคุณธรรมแล้ว ถ้าเป็นคุณธรรมจะติ ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล จิตดวงใดไม่มีมรรคไม่มีผล ถ้ามรรคมันคืออะไร แล้วคิดว่าธรรมที่ว่าว่างๆ ว่างๆอย่างนี้โดยไม่มีเหตุผล มันจะเป็นคุณธรรมไหม แล้วคิดดูสิ กว่าเขาจะมีศรัทธาความเชื่อ กว่าเขาจะทําจิตของเขาสงบได้ แล้วเขาทําได้ขนาดนี้ แล้วจะปล่อยให้เขาเสียหายไปหรือ ถ้าไม่ปล่อยให้เสียหายก็ต้องบอก บอกก็คือจี้เข้าไป พอจี้เข้าไปก็ว่าหลวงพ่อติ

ติเฉพาะผู้ที่หลงผิด แต่ไม่ติโยม เพราะโยมบอกว่าโยมทําแล้วมันดี เพราะโยมทําแล้วมันแก้เบื่อหน่าย เวลาทําไปเป็นอย่างนี้จริงๆ เวลาทําไปแล้วมันจะจําเจ หลวงตาถึงบอกว่า เวลาปฏิบัติแล้วมันต้องมีอุบาย อุบายพลิกแพลง อุบายพลิกแพลงไป ไม่ใช่เดินจงกรมอย่างไรก็เดินอยู่อย่างนั้นน่ะ กิเลสมันบอก “เฮ้ยมึงมีปัญญาบ้างสิ กูขี้เกียจหลอกมึงแล้ว มึงโง่เกินไป กูไม่ต้องทําอะไรเลย มึงก็เชื่อกูอยู่นี่ เฮ้ยมึงใช้ปัญญาหน่อยสิ” กิเลสมันจะพูดอย่างนั้นเลย หลวงตาถึงบอกว่าให้ใช้อุบาย ให้มีปัญญาบ้าง ถ้ามีปัญญาอย่างนั้นมันก็จะพัฒนาขึ้นมาไงถ้ามันพัฒนาขึ้นมามันก็เป็นปัญญา

ไม่ใช่เราจะทําจําเจอยู่อย่างนั้นนะ เวลามันเบื่อหน่าย พอโยมมาใช้คําว่าทําลายสัญญา ทําลายเวทนา”...ก็ถูก ก็หาทางออกไง คนเรามันไม่มีทางไป มันหาทางออก มันก็ต้องหาทางออก ถ้าหาทางออก พอทําไปแล้วถ้ามันดีขึ้นก็ดีขึ้น ดีขึ้นมา

ฉะนั้น พอหลวงพ่อติ มันก็ได้ประโยชน์ขึ้นมา พอหลวงพ่อติว่าพวกที่ทําจิตว่างๆ พวกที่ทําจิตว่างๆ ไม่มีเหตุผล

ติคนที่ควรจะได้ประโยชน์ แล้วเขาไม่ได้ แต่ของโยม ถ้าโยมใช้เป็นอุบายโยมใช้เป็นอุบายว่า เราจะทําลายสังขาร เราจะทําลายเวทนา เราจะทําลายไง ทําลาย ทั้งๆ ที่เป็นจินตมยปัญญา คือยังไม่เห็นตัวตนจริง คือจิตไม่เห็นอาการของจิต

ถ้าจิตเห็นจริง มันไม่ใช่คิดเอาเอง มันเห็นชัดๆ เลย เห็นกายก็เห็นกายเวทนานี้มันจับต้องได้เลย เห็นจิต จิตเศร้าหมอง จิตผ่องใส ถ้าเห็นธรรมนะ จิตเห็นอาการของจิต เห็นธรรมคือความคิด มันจับได้ พอจับได้ มันแยกได้ รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความคิด อารมณ์หนึ่งมันแยกเป็นขันธ์เลย เป็นกองเลย เป็นกอง

พอมันแยกออกปั๊บ ถ้าปัญญามันทัน หยุดหมดเลย หยุดหมดเลย ความคิดไปไม่ได้ พอความคิดไปไม่ได้ ถ้ากําลังมากขึ้น พอพิจารณาปั๊บ มันแยกหมดเลยรวม พับปล่อย เป็นตทังคปหาน เดี๋ยวมันก็รวมอีก ก็คิดอีก จับอีก พิจารณาอีกแยกอีก แยกไปเรื่อยๆ ทําไปเรื่อยๆ ถ้าจิตมันสงบมันทําได้ ถ้าจิตไม่สงบ ปล่อยกลับมาพุทโธ กลับมาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ กลับมาสร้างกําลัง เห็นไหม

แม่ครัวที่ชํานาญการ แม้แต่เครื่องมือทําครัวไม่พร้อม ก็สามารถดัดแปลงทําจนมันเป็นไปได้ แต่ถ้ามันเป็นความจริง มรรคต้องสมบูรณ์ มรรค  ต้องสมบูรณ์มรรคสามัคคี มรรคสามัคคี มรรคสมดุล มรรคสมบูรณ์หมด เราพิจารณาซํ้าแล้วซํ้าเล่า เดี๋ยวช่องนี้ๆๆ พิจารณาเปรียบเทียบช่องนั้นช่องนี้ มันก็เปรียบเทียบเหมือนมรรค  คนหนักทางสมาธิ มันหนักสมาธิ กําลังสมาธิดีก็พิจารณาได้ง่ายคนหนักทางปัญญา ปัญญาพิจารณาไปแล้ว สมาธิอ่อนลงมันก็ไปไม่ได้ คนหนักทางไหนล่ะ มรรค  เห็นไหม

พิสูจน์ พยายามตรวจสอบ พยายามใช้ปัญญา ช่องไหนๆ พอจิตมันรวมลงมันพร้อม พับจบเลย มรรคสามัคคีนี่สมบูรณ์เลย ถ้าสมบูรณ์ มันก็เป็นความถูกต้องไง ฉะนั้นบอกว่า ขอคําแนะนําด้วย ขอเพิ่ม และผมพยายามสนุกในการละสัญญาและเวทนา ผมยังรู้ลมอยู่นะ

ใช่ ยังรู้ลมอยู่ เพราะว่าถ้าเราใช้ปัญญา เรามีตัวตนของเรา มีสมาธิของเรามันถูกต้อง เรารู้ลมอยู่ ถ้าจะไม่รู้อะไรเลยนะ อัปปนา ถ้าอัปปนาสมาธิ ทําอะไรไม่ได้ เข้าไปพักเอากําลังเฉยๆ แล้วออกมา อัปปนาสมาธินั้นจะไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้จักลม ไม่รู้จักอะไรทั้งสิ้น ฉะนั้น ถ้ายังรู้อยู่นี่ ใช่ ใช้ได้ ทําปฏิบัติไป

ทีนี้ที่ว่าจินตมยปัญญา สุตมยปัญญาคือการศึกษา แล้วค้นคว้าด้วยสัมมาสมาธิ มันจะเกิดจินตมยปัญญา จินตนาการเพราะเรายังรู้เท่าไม่จริง การจินตนาการ พอจิตสงบแล้ว เวลาจิตเราสงบแล้ว จิตสงบแล้วทําอย่างไรต่อ

ถ้ามันไม่รู้ไม่เห็นอะไร รําพึง รําพึงก็นึกให้เป็น แต่นึกในสมาธิ แต่โดยปกติเรานึกโดยสามัญสํานึกของเรา แต่ถ้าจิตสงบแล้วเรารําพึง รําพึง รสชาติมันแตกต่างกันนะ ถ้าไปรู้เห็นอะไร ขนพองสยองเกล้า พอไปรู้ไปเห็น ขนลุกๆๆ ถ้ามีสมาธินะ ขนลุกขนพอง

แต่ถ้าไม่มีสมาธิ นึกแล้วจืดๆ ก็นึกอยู่ทุกวัน นึกก็นึกอยู่อย่างนี้ ก็รู้เห็นอยู่อย่างนี้ ไม่เห็นมีอะไรเลย แต่ถ้าจิตเป็นสมาธิ มีกําลังนะ พอรําพึงไปนึกไป โอ้โฮขนลุกหมดเลย แล้วมันสะเทือน พอสะเทือนขึ้นมา เขาเรียกว่าธรรมสังเวช ธรรมะมันสะเทือนหัวใจให้สังเวช จิตใจนี้สังเวชมาก สังเวช มันจะชําระ มันจะคายของมันไง

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า ที่ทําอยู่นี้มันยังรู้ลมอยู่เนาะ ถ้ารู้ลมอยู่น่ะ ใช่ รู้ลมอยู่ แต่มีกําลัง ถ้าเป็นสมาธิจะมีกําลัง ถ้าไม่เป็นสมาธิ ไม่มีกําลัง คําว่า “กําลัง” คือพิจารณาแล้วปล่อยวาง กําลังมันเหนือกว่านะ จับต้องสิ่งใดมันทะลุปรุโปร่งไปหมดเลย นี่คือกําลัง

แต่ถ้าไม่มีกําลังนะ ไปไม่รอดไง คือความคิดมันไปไม่ได้ คิดอะไรก็ตื้อ คิดอะไรก็คิดไม่ออก คิดอะไรก็จะหัวชนภูเขา นี่ไม่มีสมาธิ สมาธิไม่เข้มแข็ง

ถ้าสมาธิเข้มแข็งนะ หยิบจับอะไรได้หมด นึกถึงอะไร ขาดผัวะนึกถึงปัญหาจบ นึก โอ๋ยไปได้หมดเลย นี่สมาธิดี สมาธิดี พอยกขึ้นสู่ปัญญานี่ไปพับๆๆ เลยสักพักเดียวนะ ไปไม่รอดแล้ว พอไปไม่รอด วางเลย กลับมาพุทโธ

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าโยมใช้อย่างนี้ บอกว่าสิ่งที่คิดเอาเอง พยายามทําให้สัญญาและเวทนาหายไป นี่เป็นจินตนาการ เป็นการฝึกหัด เป็นการกระทํา

คนเรามันต้องฝึกหัด มีการฝึกหัด มีการกระทํา มันถึงจะเป็นผู้ทํางานเป็นแล้วเป็นผู้ชํานาญการไปข้างหน้า ฉะนั้น ถ้าฝึกหัดอยู่ ไม่เสียหาย เพราะเขารู้ตัวอยู่ รู้ตัวอยู่ ฝึกหัด แต่ที่ตําหนิ ตําหนิคนที่สวมรอย คือเป็นอย่างที่โยมว่า แล้วก็อ้างอิงว่านี่คือคุณธรรม นี้ได้ชําระล้างกิเลสแล้ว อย่างนี้ติ ติเพราะอะไร ติเพราะเขารู้ๆ อยู่กับตัว แต่เขายังไม่เคยปฏิบัติได้มากไปกว่านี้ เขาเลยไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทําเขาทําที่เขาทําได้ว่าถูกต้อง แต่มันยังมีคุณธรรม มีการกระทําที่ละเอียดกว่านี้ ที่มีความรอบคอบกว่านี้ แล้วมีผลมากกว่านี้ที่เขาควรทําได้ อันนั้นน่ะติ ติเพื่อจะว่าสิ่งที่เอ็งทําอยู่นั้นมันผิด คําว่า “ผิด” คือผิดจากสัจธรรม

แต่ผู้ที่ปฏิบัติใหม่ๆ ถูก ถูกเพราะอะไร เพราะเขาทําได้ขนาดนี้ เขาเก่ง ผู้ที่ฝึกหัดใหม่ทําได้ขนาดนี้เก่งแล้ว แต่การเก่ง เก่งในการปฏิบัติ แต่ไม่ได้เก่งในคุณธรรม แต่ถ้าฝึกหัดต่อเนื่อง ยกขึ้นสูงขึ้นไป มันจะเข้าสู่คุณธรรม ถ้าเข้าสู่คุณธรรม มันจะมีสัจธรรมในหัวใจ อันนี้มันเป็นสมบัติ เห็นไหม สมบัติของใจดวงนั้น

ฉะนั้น ปฏิบัติเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป จินตมยปัญญามันเป็นอย่างนี้ มันไม่มีความเสียหาย จินตมยปัญญา แต่จินตมยปัญญาฆ่ากิเลสไม่ได้ สุตมยปัญญาจินตมยปัญญา ฆ่ากิเลสไม่ได้ ชําระล้างกิเลสไม่ได้ กิเลสเหนือกว่า

ภาวนามยปัญญา มรรคญาณจะเข้าไปทําลายกิเลส ภาวนามยปัญญาต่างหาก ภาวนามยปัญญา มันถึงบอกว่า ไม่ใช่ทําให้จิตว่างๆ เพราะภาวนามยปัญญามันมีมรรคมีผล มันมีคุณธรรม มันมีความจริง แล้วมันก็ไปฆ่ากิเลสจริงๆแล้วมันก็จะเป็นสมบัติของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง เอวัง