ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

จิตแก้ยาก

๘ ส.ค. ๒๕๕๘

จิตแก้ยาก

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่อง “ขอความกรุณาชี้แนะการปฏิบัติแก่ลูกศิษย์เจ้าค่ะ

เนื่องด้วยที่ผ่านมา จิตเสื่อมไปพักใหญ่ กราบเรียนหลวงพ่อไปครั้งหนึ่งแล้วลูกก็ค่อยๆ พัฒนาอย่างเชื่องช้าจนจิตพอจะประคับประคองตนเองได้บ้าง ซึ่งดูจากผลความมั่นคงของจิตตัวเอง แต่ก็มีปัญหาที่จะถามดังนี้

เมื่อนั่งสมาธิไปถึงที่สุดความสงบของลูกที่ทําได้ มันจะไปเจอกําแพงความรู้สึกแบบบอกไม่ถูก แต่มันมีความรู้สึกแน่ๆ ลูกก็พิจารณาความรู้สึกนั้น แต่ก็ไปไม่ได้ มันจะอยู่แบบนั้น เป็นความรู้สึกที่นิ่มนวลปนเวิ้งว้างบอกไม่ถูก พอนานๆ ไปสติอ่อนลง ความคิดก็แทรกเป็นระยะ และถ้าสติอ่อนสุด ก็จะเข้าภวังค์ไปเลย

ลูกตรวจแล้วจึงส่งคําถามมาว่า ทําไมถึงไปเจอกําแพงความรู้สึกนี้ทุกครั้ง ไม่ว่าจะทําความสงบหรือสติดีเพียงใด หรือมันบกพร่องอะไร ต้องแก้ไขอย่างไรโปรดอธิบายและแนะนําลูกด้วย

ตอบ : นี่คําถามเนาะ ถ้าคําถามนี่นะ เวลาภาวนาไป เคยภาวนาได้หนหนึ่งเคยภาวนาได้ดี เคยภาวนาแล้วประสบความสําเร็จ แต่สุดท้ายแล้วจิตเสื่อม เวลาจิตเสื่อม จิตเสื่อมไปพักใหญ่ แล้วจิตเสื่อมแล้วทําอย่างไร

ฉะนั้น เวลาจิตเสื่อม เห็นไหม เวลาแก้จิต ที่ว่าหลวงตาท่านพูดประจํา “ไม่รู้แก้ไม่ได้ ไม่รู้ พูดไม่ได้

แล้วเวลาแก้จิตๆ เวลาหลวงปู่มั่นท่านพูดไง ท่านพูดกับพระนะ “หมู่คณะให้ปฏิบัติมานะ จิตนี้แก้ยากนะ ถ้าผู้เฒ่าตายไปแล้วจะไม่มีใครแก้ว่ะ ให้รีบภาวนามานะ ผู้เฒ่าจะแก้ ผู้เฒ่าจะแก้” นี่จะแก้ไขไง

คําว่า “แก้ไข” ถ้าแก้ไข เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราท่านเคยผ่านวิกฤติ ท่านเคยผ่านอุปสรรคมา ท่านรู้ ท่านรู้ว่ามันเป็นอย่างใด แล้วต้องแก้ไขอย่างใด แล้วถ้าแก้ไปแล้ว ถ้ามันประสบความสําเร็จ มันก็จะแก้ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว คนที่มาให้แก้ ท่านแก้แล้ว แต่เราไม่สามารถทําอย่างนั้นได้ อย่างเช่นหมอไปรักษาคนไข้ก็ให้ยาตามที่ได้ศึกษามา ให้ยาตามตําราที่เราได้ศึกษาทางการแพทย์มา ถ้ามีโรคอย่างนี้ต้องรักษาอย่างนี้ ต้องให้ยาอย่างนี้ ส่วนใหญ่แล้วหาย เพราะมันเป็นวัตถุ มันเป็นเคมี เป็นต่างๆ ที่ให้ผลตามนั้น

นี่ก็เหมือนกัน เวลารักษาจิตๆ แก้จิตไง เวลาแก้จิตมันยากกว่านั้นอีก ยากกว่านั้นเพราะอะไร เพราะว่าเวลาการให้ยา เวลาการให้ยา เห็นไหม เขาบอกว่าให้มีสติ ตั้งสมาธิให้ดี แล้วน้อม

การให้ยาก็คือให้ธรรม การให้ธรรมๆ เวลามันแก้ไขเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปถ้ามันแก้ไขเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ทีนี้เวลาแก้ไขเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป อย่างเช่นบอกว่า ให้ทําความสงบของใจ ให้ทําสมาธิ...แค่นี้ ไอ้คนไข้ ๑๐ ปี ๒๐ ปี กว่ามันจะทําความสงบของใจได้ แล้วถ้าทําได้แล้วก็ทําได้ เดี๋ยวก็หลุดมือไป เห็นไหม

แล้วเวลารําพึง ฉะนั้น เวลาที่ว่ามันน่าสะเทือนใจ เราปฏิบัติใหม่ๆ แล้วเราสะเทือนใจมาก เวลาสะเทือนใจ เวลาฟังเทศน์หลวงตาไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจ แต่พอเวลาเข้าใจขึ้นมา เวลาท่านพูดบ่อยมากเลยบอกว่า ท่านติดสมาธิ  ปี ติดสมาธิ ปี แล้วมันก็สะเทือนใจไง สะเทือนใจที่ว่า  ปีนั้นอยู่กับหลวงปู่มั่นตลอด

หลวงปู่มั่นเป็นอาจารย์ เป็นหมอกับคนไข้อยู่ด้วยกัน คนไข้กับหมออุปัฏฐากกันอยู่ หมอก็นอนอยู่นี่ หลวงตาก็เป็นคนไข้ เป็นคนอุปัฏฐาก เป็นคนดูแลผ้า เป็นคนรับบาตร เป็นคนดูแลความเป็นอยู่ของท่าน นี่ระหว่างหมอกับคนไข้อยู่ใกล้ชิดติดกันน่ะ แต่ทําไมต้องทอดเวลาถึงตั้ง  ปี

แล้วดูสิ หลวงปู่มั่นเป็นหมอ เป็นหมออะไร เป็นหมอชั้นเอก เวลาคนไข้ที่อยากจะหายจากโรคเป็นคนไข้ชั้นดี เพราะอะไร เพราะหลวงตาท่านปรารถนาพ้นทุกข์ ถ้าเป็นคําว่า “ปรารถนาพ้นทุกข์” ก็พ้นจากความเป็นโลก แล้วหมอนี่ก็หมอชั้นหนึ่งๆ รักษาคนไข้อยู่ แล้วคนไข้กับหมอก็อยู่กันมา  ปี แล้วเวลาหมอจะผ่าตัด เห็นไหม

มหา จิตเป็นอย่างไร จิตดีไหม

ดีครับ

มหา จิตเป็นอย่างไร

ดีครับ

คนไข้ไม่รู้ตัวเลยว่าเป็นไข้ คนไข้ไปไม่รอด คนไข้มันติดอยู่นั่นน่ะ จะเอาคนไข้ให้รอดให้ได้ เราจะบอกว่า แก้จิตแก้ยากอย่างนี้ไง มันไม่มีใครปรารถนาไม่ดีไม่มีใครต้องการความผิดพลาด ไม่มีใครต้องการสิ่งไม่ดี ทุกคนต้องการการพ้นทุกข์ ทุกคนต้องการความดีงามทั้งนั้น

ครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่น ท่านผ่านไปแล้วนะ ท่านก็ปรารถนาดี ท่านพยายามจะสั่งจะสอน คอยดูแล ไอ้คนไข้ผู้ที่ปฏิบัติก็ปรารถนาพ้นทุกข์นะ เพราะเวลาจะแสวงหาครูบาอาจารย์ แสวงหามานี่เสี่ยงทายเลย แล้วพยายามขวนขวายมา แล้วมาทีแรกฟังไม่รู้เรื่อง พอฟังรู้เรื่องขึ้นมาก็ประพฤติปฏิบัติด้วยความเป็นจริง นั่งตลอดรุ่งๆ พอผ่านเวทนาได้ พอขึ้นไปรายงานท่าน “เออจิตมันไม่ตาย อัตภาพ คือมันไม่เกิดไม่ตายถึง - หนหรอก มันตายหนเดียว

ด้วยความดีใจ ด้วยความภูมิใจ เห็นไหม เวลาปฏิบัติไป มันต่อเนื่องไปๆ แต่เวลามันมีเวรมีกรรมไง พอเวลาจิตมันแยก พอพิจารณากายไปแล้วมันแยกหมดเลย พอแยกหมดเลย มันมีความสุขมาก มันมีความมหัศจรรย์มาก แล้วพอปฏิบัติไปแล้ว มีความมหัศจรรย์มาก เราก็ต้องการให้มีความมหัศจรรย์มากไปกว่านั้นใช่ไหม อยากให้ละเอียดขึ้นดีขึ้น ก็เลยไปถามท่าน

ทีนี้ความมหัศจรรย์ระหว่างขั้นตอนมันมีหนเดียว “ก็มันมีหนเดียวนั่นน่ะ จะเอาอะไรอีก เราก็หนเดียวเท่านั้นน่ะ

คําว่า “หนเดียวเท่านั้น” ก็มันมีแล้ว หนเดียวแล้ว ติด ติดตรงนี้  ปี เพราะอะไร เพราะว่า หนึ่ง ตัวเองหนเดียวก็ได้ผ่านแล้ว ได้เห็นแล้ว ได้ความเป็นจริงแล้วสมุจเฉทปหานมาแล้ว แล้วไปข้างหน้าล่ะ ก็มีหนเดียว ข้างหน้าก็คือไม่มีไง ก็ไม่ต้องไปถาม ก็มันจบแล้วไง ติดอยู่  ปี ความติดอันนี้มันติดเพราะว่ามันมีหลายเหตุผล เห็นไหม ฉะนั้น เวลาแก้จิตมันแก้ยากอย่างนี้

คนไข้กับหมออยู่ด้วยกัน เวลาจะแก้ ให้ยาหนักๆ ไปเรื่อยๆ ให้ยาหนักไปเรื่อยๆ นะ

จิตดีไหม

ดีครับๆ

คําว่า “ดีครับ” มันยืนยันไง เราอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านก็ส่องดูจิตเรา ถ้าว่าดีครับ ต่อหน้าท่าน เรายังกล้าพูดว่าดีครับ แล้วท่านก็ไม่โต้แย้งเลย แสดงว่าถูก สิ่งที่ติดอยู่นี่ถูก อ้าวก็ท่านไม่โต้แย้ง

ถ้าการโต้แย้ง การให้ยา เห็นไหม เวลาคนเขาให้ยานะ เวลาให้ยาครบคอร์สมันแล้ว เวลาให้ยามันไม่หาย ทําอย่างไร มันดื้อยา เวลาดื้อยาแล้ว ยารักษาไม่ได้ ทําอย่างไร

นี่ก็เหมือนกัน ถามแล้วถามเล่าๆ สุดท้ายแล้วผ่าตัดเลย “ไอ้สุขอย่างนั้นมันสุขแค่เศษเนื้อติดฟัน

เวลาคนไข้จะผ่าตัดก็ดิ้นนะ “อ้าวถ้ามันเศษเนื้อติดฟัน สัมมาสมาธิเป็นอย่างไร ก็สัมมา คําว่า “สัมมา” คือถูกต้องไง สมาธิที่ติดอยู่นี่ถูกต้อง ทําไม

สมาธิของสัมมาสมาธิมันไม่เป็นอย่างนี้ มันเป็นอีกอย่างหนึ่ง มันอีกอย่างหนึ่งเพราะมันสะอาดบริสุทธิ์ ไอ้นี่มันมีทิฏฐิมานะโดยที่ท่านไม่รู้ตัว โดยที่เราไม่รู้ตัวนะ เราไม่รู้ตัวเลยว่าสิ่งที่เราว่าถูกต้องมันเป็นทิฏฐิของเรา เราไม่รู้ตัว ซัดกันไปซัดกันไปจนเต็มที่ นี่แก้จิตแก้ยาก

แล้วพอแก้จิตแก้ยาก พอได้คิดไง กลับไปได้คิด “มันน่าจะเป็นอย่างนั้น มันน่าจะ” ไม่เชื่อหรอก ไม่ยอมใคร “มันน่าจะ หรือว่าเราต้องขวนขวาย ต้องหาทางออก

นี่เราจะบอกว่าการแก้จิตแก้ยาก จิตนี้แก้ยากนัก จิตนี้แก้ยาก แล้วแก้อย่างไร ถ้าแก้อย่างไร นี่ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติมาท่านจะรู้ของท่านแล้วว่ารู้ของท่าน มันต้องเป็นอย่างนี้ ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วศีล โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรคสกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล ตามสเต็ปมันเป็นอย่างนี้แน่นอน อริยสัจ บุคคล  คู่ ในสังฆคุณ ชัดเจนมากเลย แต่ใครทําได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าทําได้มากน้อยแค่ไหนมันต้องเป็นความจริงด้วย เวลาเราปฏิบัติ เราก็เป็นความจริงของเรา แต่มันไม่เป็นความจริง มันไม่เป็นความจริงทางอริยสัจ ไม่เป็นความจริงทางสัจธรรม

ถ้าเป็นความจริงทางสัจธรรม เป็นความจริงในสัจธรรมเพราะในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในใจหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านเป็นสัจธรรมจริงท่านถึงได้รู้จริง เห็นไหม ฉะนั้น พอรู้จริง คนที่รู้จริงท่านถึงกลัวกิเลส ว่ากิเลสนี้มันร้ายนักๆ ฉะนั้น หลวงปู่มั่นท่านเป็นคนพูดเองว่า “แก้จิตนี้แก้ยาก ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ ผู้เฒ่าล้มลุกคลุกคลานมาพอแรงแล้ว

ฉะนั้น ภิกษุบวชใหม่ ผู้ปฏิบัติใหม่มันก็อ่อนแอทั้งนั้นน่ะ เวลาอ่อนแอขึ้นไปพอไปรู้ไปเห็นสิ่งใดก็ว่าตัวเองรู้ตัวเองเห็น ตัวเองเป็นความจริง แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ท่านคอยชี้คอยแนะคอยบอกว่าสิ่งนั้นเป็นไม่จริง แล้วไม่จริงแล้วจะแก้อย่างไร

นี่ไง ที่เขาถามมา ที่ว่า จิตเวลาปฏิบัติไปแล้วมันเวิ้งว้าง มันรู้สึกว่ามันไปเจอกําแพง ไปเจออะไร

มันเป็นข้อเท็จจริงทั้งนั้นน่ะ เพราะคําว่า “ไปเจอกําแพง” มันมีตัวตน นี่ไงสัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่น ใครเป็นคนตั้งมั่น อะไรเป็นคนตั้งมั่น แล้วตั้งมั่นตั้งมั่นอย่างไร

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาเข้าไปแล้ว ถ้ามันเข้าไปเจอกําแพง เจอกําแพง กําแพงมันคืออะไร ก็จับกําแพงสิ จับได้ พิจารณาแยกแยะมัน ถ้าจับกําแพง สิ่งนี้มันเป็นอะไร อะไรก็แล้วแต่ที่มันเป็นประเด็นในใจ มันจับพิจารณาได้ แต่ถ้าที่มันเข้าไปแล้ว ถ้ามันไปเจอกําแพง เราจะเอาความสงบ มันสงบไม่ได้ เห็นไหม สงบไม่ได้เราก็ต้องพุทโธมากขึ้น

กลับมาพุทโธ กลับมาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ แต่เพราะมันไม่เคยทําอย่างนั้นถ้าไม่เคยทําอย่างนั้น ถ้าเราใช้ปัญญา ถ้าปัญญามันก็ต้องปัญญาใคร่ครวญปัญญามีสติ สติอยู่กับความรู้สึกนั้น

ความรู้สึกคืออารมณ์ จับอารมณ์ให้ได้แล้วพิจารณาให้ได้ พอมันพิจารณาไปแล้ว พอมันพิจารณา มันปล่อยมันวางเข้าไป มันไม่มีอะไร คือมันทะลุไป มันทะลุกําแพงไป

แต่ถ้ามันทะลุกําแพงไปไม่ได้ มันมีกําแพงอยู่ กําแพงอันนี้มันเป็นทิฏฐิ มันเป็นกิเลสที่มันสร้างภาพอย่างนี้ไว้ให้ ถ้ามันสร้างภาพอย่างนี้ไว้ให้ มันเป็นของใครของมันไง คําว่า “ของใครของมัน” คือจริตนิสัย คือสันดาน คือความเห็น

เหมือนกับทางโลกเลย ทางโลกเขาบอกว่า เวลาเด็กครอบครัวแตกแยกเลี้ยงเดี่ยว เด็กจะมีปัญหา เป็นปมด้อย คําว่า “มีปมด้อย” มันฝังใจมาตั้งแต่เด็กอันนี้เฉพาะชาตินี้นะ แต่เวลาถ้ามันจริตนิสัย มันแต่ละภพแต่ละชาติมันซ้อนมาอดีตชาติมา

คําว่า “อดีตชาติไม่มี ทุกอย่างไม่มี

ไม่มี พระเวสสันดรคืออะไร ถ้าไม่มี พระเวสสันดร ทศชาติ ๑๐ ชาติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยชาติมานั้นคืออะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยชาติ ๑๐ ชาตินั้นมา สร้างกุศลมาอย่างนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงสมบูรณ์ที่จะมาตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาที่ว่า ก็ตั้งแต่เด็กมา มันมีปมด้อย เด็กมันก็มีปมในใจพอปมในใจ มันก็ประชดประชันชีวิตของมัน นี่พูดถึงสิ่งที่เราพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าจริตนิสัยมันซับมาๆ ตั้งกี่ภพกี่ชาติล่ะ ฉะนั้น เวลากี่ภพกี่ชาติโดยการแก้ไขมันไม่ต้องไปสนใจตรงนั้นไง เขาไม่สนใจว่ามันมาจากไหน เพราะเราไม่สามารถจะรื้อค้นได้ว่ามันมาจากไหน

แต่ถ้ามันเป็นกําแพง เราก็พุทโธ ถ้าไม่ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเราทําได้มันก็ทะลุผ่านไปได้ ถ้ามันทะลุผ่านไปไม่ได้ ก็แค่นี้ เขาเรียกว่า “ติด” นี่ไง เวลาจิตมันติด เห็นไหม มันติดข้องอยู่ในใจ

เวลาทางโลก คนที่เข้าใจผิด เข้าใจอะไรผิดนะ แล้วเขายึดความรู้สึกของเขาเขาก็จะทุกข์ร้อนของเขาไปอย่างนั้นน่ะ ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราไปเห็นกําแพง เราไปรู้ของเราอย่างนั้น แล้วปฏิบัติไปมันก็ไปเจออย่างนั้น ไปเจออย่างนั้นจริงๆ มันเป็นเวรเป็นกรรมของแต่ละดวงใจ

ดวงใจมันมีเวรมีกรรมมาอย่างใด มันก็จะมีอุปสรรคอย่างนั้นน่ะ มันอุปสรรคอย่างนั้นก็แก้อย่างนั้น มันก็เหมือนกับเรา เหมือนกับมนุษย์ ภูมิภาคใดก็ชอบรสอาหารภูมิภาคนั้น เพราะมันเคยชิน

นี่ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัติไปมันก็เจออย่างนี้ มันเข้าไปแล้วมันเจออย่างนี้อยู่แล้ว เพราะมันอยู่จิตใต้สํานึก เข้าไปต้องเจอ ถ้าบ้านเราสกปรก เราก็ต้องทําความสะอาดในบ้านของเรา ถ้าบ้านของเราสกปรก เราไม่ทําความสะอาดในบ้านของเรา จะไปทําที่ไหน

นี่ก็เหมือนกัน กําแพงมันขวางอยู่กลางหัวใจของเรา ถ้าเราไม่ทําลายกําแพงนั้น มันจะผ่านไปได้อย่างไร แล้ววิธีการทําลาย เห็นไหม ถ้าพุทโธๆๆ ทีนี้พุทโธไม่ได้ พุทโธไปเจอกําแพง

ก็ไปอยู่กําแพง ก็กลับมาที่พุทโธสิ เราไม่ให้จิตมันไปอยู่ตรงนั้น เราให้ระลึกพุทโธไว้ ระลึกพุทโธไว้ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา เพราะอะไร เพราะเราต้องการให้จิตมันมีเหตุมีผลขึ้นมา จิตมันละเอียดลออเข้าไป มันก็ผ่านทะลุเข้าไปพอผ่านทะลุเข้าไปมันก็จบ

แต่นี่มันเป็นกังวลไง เป็นกังวลว่า มันเป็นกําแพง แล้วต้องทําลายกําแพงนั้นแล้วพอทําลายกําแพงไม่ได้ นี่ไง ธรรมะไม่มีจริง ทําสิ่งใดก็ทําไม่ได้

หลวงตาท่านพูดอย่างนี้นะ เวลาท่านไปอยู่ที่ไหน ท่านสะพายย่ามไปด้วยท่านบอกในย่ามมันมีนิวเคลียร์นิวตรอน แล้วไม่เคยใช้สักที ไม่เคยใช้เพราะมันไม่จําเป็นต้องใช้ คําว่า “ไม่เคยใช้” เพราะมันไม่สมควรจะใช้ มันไม่มีใครภาวนาแล้วติดขัด หรือใครต้องการนิวเคลียร์นิวตรอน

ถ้านิวเคลียร์นิวตรอนนะ ใครต้องการ เช่น หลวงปู่บัว เวลาเจ้าคุณจูม ธรรมเจดีย์ ให้หลวงปู่บัวมาคุยกับพระมหาบัว นี่นิวเคลียร์นิวตรอน “อ้าวว่ามาสิ

คู่ที่  ผ่าน คู่ที่  ผ่าน คู่ที่  ผ่าน คู่ที่  ไม่มี นิวเคลียร์นิวตรอน เห็นไหมขางคาน ขางอวิชชา นิวเคลียร์นิวตรอนจะไประเบิดไปทําลายภพชาติ ไปทําลายภวาสวะ ไปทําลายการเวียนว่ายตายเกิดในพรหมนั้นเลย นี่นิวเคลียร์นิวตรอนเวลาจําเป็นต้องใช้ เวลาสมควรจะใช้นี่ทันทีเลย ระเบิดนิวเคลียร์นิวตรอน

แต่ท่านบอกว่า ท่านไปไหน อยู่ในย่าม นิวเคลียร์นิวตรอนไม่เคยใช้เลย ไม่เคยใช้เพราะมันไม่มีความจําเป็นต้องใช้ มันไม่มีใครมีสถานะที่ว่าเขามีความจําเป็น เขาภาวนาแล้วมีเหตุผลขนาดนั้นที่ต้องใช้นิวเคลียร์นิวตรอนเข้าไปทําลายมัน

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อกําแพงนั้นกําแพงอะไร แล้วบอกว่า พอปฏิบัติไปแล้วธรรมะจะไม่มีเหตุมีผลแล้วล่ะ ปฏิบัติไปแล้วมันก็ไปเจออย่างนั้น

เจออันนี้มันไม่ใช่เกี่ยวกับธรรมะ มันเกี่ยวกับเวรกรรม เกี่ยวกับจริตนิสัยที่สร้างมาแบบนี้ มันเหมือนกับคนเรา ใครดํารงชีวิตอย่างไร มันก็จะมีโรคภัยไข้เจ็บตามการดํารงชีวิตนั้น เห็นไหม ทางภาคอีสานเขากินอาหารดิบ มันก็เป็นพยาธิในตับ อ้าวก็การดํารงชีวิตของเขา เขากินอาหารดิบๆ สุกๆ มันก็จะให้ผลกับตับของเขา ให้ผลกับพยาธิในลําไส้ของเขา คนทางภาคใต้เขากินของเขาอย่างนั้นความเป็นอยู่มันเป็นอย่างไรมันก็เป็นอย่างนั้นน่ะ ฉะนั้น จิตมันได้ผ่านอย่างนี้มามันได้สร้างเวรสร้างกรรมอย่างนี้มา มันถึงเป็นอย่างนี้

เวลามันเป็นนะ ใครจะเป็นก็แล้วแต่ เราไปพูดมากขนาดไหน มันจะชี้กลับมาเลยว่า อ้าวก็เราสร้างมาไง มันสร้างมาเองไง จริตนิสัยถึงเป็นแบบนี้ เป็นแบบนี้เพราะจริตนิสัยเป็นแบบนี้ ทีนี้จริตนิสัยมันเกี่ยวกับธรรมะไหม ไม่เกี่ยว

อริยสัจก็เป็นอริยสัจนะ ดูสิ เอตทัคคะ ๘๐ องค์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งพระอรหันต์เป็นเอตทัคคะมีความชํานาญแต่ละอย่างๆ ไม่เหมือนกัน แต่พระอรหันต์ทั้งหมดที่จะเป็นเอตทัคคะต้องมีอาสวักขยญาณ ยถาภูตัง เกิดญาณทัสสนะ เกิดการทําลายอวิชชา ถึงได้มาเป็นพระอรหันต์ นี่คืออริยสัจมีหนึ่งเดียว

อริยสัจคือสัจจะ อริยสัจมีหนึ่งเดียว จิตทุกดวงใจต้องกลั่นออกมาจากอริยสัจแต่จริตนิสัย จริตนิสัยกับความชํานาญ พระสารีบุตรชํานาญโดยทางปัญญา พระโมคคัลลานะชํานาญในทางฤทธิ์ พระอุบาลีชํานาญในทางกฎหมายในทางวินัย มีความชํานาญแต่ละคน แต่ละอย่างๆ มีความชํานาญแตกต่างกัน ไอ้ความชํานาญอันนี้มันเป็นคุณสมบัติ เป็นจริตนิสัยของแต่ละดวงใจ แต่ทุกดวงใจที่เป็นพระอรหันต์ต้องกลั่นออกมาจากอริยสัจ

กลั่นออกมาจากอริยสัจ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นี่มันเกิดมรรคญาณทําลายอวิชชาในใจ อันนี้สําคัญที่สุดไง อันนี้สําคัญที่สุดคือทําให้จิตนี้พ้นจากอวิชชา ทําลายจิตนี้ ทําลายอวิชชาในหัวใจ ทําลายกิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจทั้งหมดให้มันผ่องแผ้วขึ้นมา อันนี้สําคัญที่สุด

ฉะนั้น พอสําคัญที่สุดนะ ฉะนั้น ย้อนกลับมาที่กําแพง ย้อนกลับมา กําแพงมันเป็นอุปสรรค มันกีดขวางไง แล้วตัวกําแพงมันเป็นอะไร มันเป็นอริยสัจหรือเปล่า

ตัวกําแพงไม่ใช่เป็นอริยสัจ ตัวกําแพงมันเป็นจริตนิสัย มันเป็นเวรเป็นกรรมมันเป็นประสบการณ์ของจิต จิตแต่ละดวงมันจะมีอุปสรรคแตกต่างกันไป

ในสมัยพุทธกาล เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กรรมฐานแล้วเข้าไปปฏิบัติ ท่านให้อุบายไปคนละอย่างๆๆ มันไม่เหมือนกัน ให้ตรงกับจริตตรงกับนิสัย ถ้าจริตตรงกับจริตตรงกับนิสัย ทําความสงบของใจก็ง่าย เวลาใช้ปัญญาไปแล้วมันก็แยกแยะตามกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันจะชอนไชเข้าไปในภวาสวะ ในภพ ในหัวใจนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้อุบายอย่างนั้น

นี่เหมือนกัน ถ้ามันเป็นกําแพง กําแพงมันส่วนกําแพง กําแพงมันเป็นวิบากกรรม กําแพงของเราเป็นวิบากกรรม ทีนี้ถ้ากําแพงเป็นวิบากกรรม เราจะเอาวิบากกรรมเป็นตัวตั้งใช่ไหม เราทําไมไม่เอามรรคเป็นตัวตั้ง

ต้องเอามรรคเป็นตัวตั้ง เอาจิตของเราประพฤติปฏิบัติ เอามรรคเป็นตัวตั้งถ้ามรรคเป็นตัวตั้ง กําแพงก็คือกําแพง ไม่สนใจ ไม่สนใจ กําแพงก็คือกําแพง เข้าไปชนกําแพง ชนก็ชน หัวชนกําแพงก็ชน แต่เราก็พุทโธของเรา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา ใช้ปัญญาของเราแก้ไขของเราไป

กําแพง ถ้าเป็นกําแพงที่ชํารุดนะ กําแพงเก่าแก่นะ เขาเอานิ้วแตะ มันก็ล้มแล้ว กําแพง ดูสิ มันจะพังอยู่แล้ว เอานิ้วเอามือยันมันก็ล้มแล้ว ไอ้นี่ไปเห็นกําแพงแล้วตื่นเต้น ไปเห็นกําแพงแล้วขาสั่น เห็นกําแพงแล้วไม่สู้ ถ้าเห็นกําแพงแล้วไม่สู้

กําแพง เราไม่ต้องไปทําลายที่กําแพงนั้น เรากลับมาที่พุทโธ กลับมาที่ปัญญาอบรมสมาธิ นี่เราทําของเรา

เขาบอกว่า “เวลาปฏิบัติเข้าไปแล้วมักจะเจอกําแพงความรู้สึกแบบบอกไม่ถูกมันมีความรู้สึกแน่ๆ ลูกพิจารณาแล้ว มันมีความรู้สึกนั้น มันเป็นไปไม่ได้ มันจะอยู่แบบนั้นในความรู้สึกที่นิ่มนวลปนความเวิ้งว้าง บอกไม่ถูก นานๆ ไป สติมันอ่อน

เราไปอยู่กับมันสิ เราไม่ไปอยู่กับมันสิ เราอยู่กับพุทโธสิ อยู่กับพุทโธ อยู่กับปัญญาอบรมสมาธิ คําว่า “ปัญญาอบรมสมาธิ” ถ้าไปเจอกําแพง เจอสิ่งใด เราวางเลย ตั้งกําแพงขึ้นเป็นประเด็น แล้วปัญญาใคร่ครวญไป ถ้ามันไปเจอกับความเวิ้งว้าง สิ่งต่างๆ ปัญญาใคร่ครวญไป

นี่ไปอยู่กับความเวิ้งว้าง ไปอยู่กับความพอใจ มันก็ตกภวังค์แน่นอนอยู่แล้วแต่ถ้าพุทโธๆ มันจะตกภวังค์ไปไม่ได้ เพราะมีคําบริกรรมอยู่ คําบริกรรม เห็นไหมมันวิตกวิจาร วิตกวิจารให้จิตมันได้วิเคราะห์วิจัย จิตมันผ่องแผ้ว วิตกวิจารจนมันสะอาดบริสุทธิ์ มันจะเป็นหนึ่งเดียว คือมันปล่อยเข้ามา

ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิมันใช้ปัญญาแยกแยะไปเรื่อยๆ เห็นไหม กําแพงมันเกิดจากอะไร กําแพงเป็นนามธรรม ถ้ากําแพงทางโลกดูสิ กําแพงเบอร์ลินเขารื้อทิ้งไปหมดแล้ว เพราะกําแพงเบอร์ลินมันแบ่งระหว่างตะวันออกกับตะวันตกเลยล่ะ แล้วพอเขาเจรจาเรียบร้อย กําแพงเบอร์ลินเขารื้อหมดเลย แล้วเขาจัดงานฉลองด้วย

กําแพงอะไรก็ทําลายได้ กําแพงอะไรก็รื้อได้ แต่นี่มันเป็นนามธรรม กําแพงอันนี้รื้อไม่ได้ รื้อไม่ได้เพราะว่าไปจับต้องมันไม่ได้ แต่คนรู้มันรู้ เห็นไหม แก้จิต แก้จิตมันแก้ยาก

แต่นี่เพราะอะไร เพราะมันเป็นทิฏฐิ มันเป็นความเห็น มันเป็นวิบาก วิบากกรรม แต่ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ที่จะแก้ ท่านจะวางไว้เลย วิบากกรรม มันก็วางไว้วิบากกรรมคือวิบากกรรม แต่กรรมดี กรรมดีคือพุทธานุสติ กรรมดีคือปัญญาอบรมสมาธิ เรากลับมาปัญญาอบรมสมาธิ กลับมาพุทธานุสติ แล้วทําตรงนี้จนแจ่มชัดขึ้น จิตมันก็ปล่อยวางหมด มันก็เป็นสัมมาสมาธิ กําแพงมันอยู่ไหน กําแพงมันหายไปโดยอัตโนมัติ

แต่นี่มันไปอยู่ที่กําแพง ไปอยู่ที่สนใจมัน แล้วพอสนใจมันแล้วก็จะแก้มัน ยิ่งไปแก้มัน รักสาวน่ะ ยิ่งไปง้อมัน มันยิ่งวิ่งหนี รักสาว ไม่ต้องไปยุ่งกับมันเลย เดี๋ยวสาวมาหาเอง

นี่จะทําลายกําแพง กําแพงก็คือกําแพง ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พุทโธนั่นแหละ พุทโธของเราต่อเนื่องเข้าไป

เขาบอกว่า เวลามันพุทโธต่อเนื่องเข้าไป มันเวิ้งว้าง สติมันอ่อน มันก็แทรกเข้าไป มันก็ตกเป็นภวังค์

เป็นภวังค์แน่นอน ถ้าเราเป็นภวังค์ มันจะเป็นภวังค์อยู่แล้ว เพราะว่าเราไปจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เห็นไหม หลวงตาท่านพูดเองนะ เวลาท่านบวชใหม่ๆอุปัชฌาย์ท่านภาวนาพุทโธ ท่านก็ภาวนาพุทโธกับอุปัชฌาย์ของท่าน เวลาท่านไปเรียนศึกษาเป็นมหา เรียนอยู่  ปี แล้วภาวนาพุทโธๆ  ปี มันเป็นสมาธิได้แค่ หน อัปปนาสมาธิลงได้แค่  หน แต่เวลาศึกษามาแล้วมีปัญญามาก แล้วอธิษฐานเลยว่า ถ้ามีใครบอกทางเรา เราจะไปหาอาจารย์องค์นั้น เพราะจบเป็นมหาแล้วยังไม่แน่ใจว่านิพพานมีจริงหรือเปล่า

ฉะนั้น ก่อนที่จะไปหาหลวงปู่มั่น ท่านก็ภาวนาของท่าน ไปที่จักราช ทีนี้คนที่จบมหามาแล้ว คนที่มีอํานาจวาสนา มันก็จะภาวนาด้วยวุฒิภาวะ ด้วยความสามารถของตน ก็ดูจิตเฉยๆ ท่านบอกว่า กําหนดดูจิตเฉยๆ ไม่ได้พุทโธ มันก็พอเป็นไปได้ มันก็ว่างๆ ว่างๆ นั่นน่ะ แต่เวลามันเสื่อม มันเสื่อมหมดเลย แล้วเอาขึ้นมาไม่ได้ เพราะอะไร เพราะมันไม่มีคําบริกรรม คือมันไม่มีต้นสายปลายเหตุ มันไม่เป็นกิจจะลักษณะ

คือก่อนปฏิบัตินะ บวชใหม่ๆ ก็มาพุทโธ แต่พอเวลาศึกษาไปแล้ว ปัญญามันเยอะมาก มันมีความเข้าใจมาก เพราะเรามีปัญญาขึ้น เรามีความเข้าใจขึ้น เรามีความสามารถมากขึ้น มีความเชื่อตัวเองมากขึ้น ก็ดูเฉยๆ ดูจิตเฉยๆ มันก็สงบได้โดยใช้ปัญญาไล่ มันก็ปล่อยวางได้ แต่เวลามันเสื่อม เสื่อมหมดเลย แล้วเอาขึ้นมาไม่ได้ ท่านบอกท่านดูจิตเฉยๆ ดูจิตเฉยๆ คือไม่มีคําบริกรรม ดูจิตเฉยๆ คือว่าไม่ใช้สติปัญญาอบรมสมาธิ สุดท้ายแล้วพอมันเสื่อมไปแล้ว เข้าไปหาหลวงปู่มั่นหลวงปู่มั่นเริ่มสอนใหม่

จากจิตที่เสื่อมนะ แล้วเข้าไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่า จิตนี้เหมือนเด็กน้อย มันต้องกินอาหาร ดูสิ จิตนี้มันต้องกินอารมณ์ มันต้องกินความรู้สึก จิตนี้มันต้องกินตลอด แต่เราพยายามป้อนพุทโธมัน เราไม่ให้มันคิดของมันโดยธรรมชาติของมัน

หลวงปู่มั่นบอกว่า จิตนี้มันเป็นเด็กน้อย มันต้องกินอาหาร มันปล่อยไปเที่ยวมา ถ้าเรากําหนดหาอาหารให้มันไว้ คือเราพุทโธๆ ไว้ ท่านไม่บอกตรงๆ ถ้าบอกตรงๆ แล้วมันจะคิดมาก คนเราปัญญาเยอะ ปัญญาเยอะ เล่ห์กลมันมาก พอพูดอะไรขึ้นมามันรู้เท่าทันกิเลสไปหมด มันสร้างภาพหมด หลวงปู่มั่นท่านฉลาดมากนี่แก้จิตแก้ยาก

จิตเสื่อมไปแล้ว ท่านบอกเลย จิตนี้เปรียบเหมือนเด็กๆ ท่านเปรียบให้ดูว่าเหมือนเด็กๆ เด็กนี้ธรรมชาติมันต้องมีอาหารเลี้ยงชีวิตมัน ฉะนั้น มันไปเที่ยวเล่นคือมันเสื่อม มันไปเที่ยวเล่นไป ให้หาอาหารเตรียมพร้อมไว้ให้มัน ให้หาอาหารเตรียมไว้ให้มัน ให้กําหนดพุทโธๆ

พุทโธคือคําบริกรรม พุทธานุสติ ความจริงนั่นคือการภาวนาแล้วแหละ แต่ท่านไม่บอก ถ้าบอกแล้วนะ มหามันจะคิดมากไง โอ้จะสอนมหาได้อย่างไร มหานี่ปัญญาเยอะนะ โอ้ของแค่นี้ของเล็กน้อยจะมาสอนฉันได้อย่างไร แค่พุทโธ แค่สมถะ มันจะมีประโยชน์อะไร

แต่ท่านไม่พูดอย่างนั้น ท่านบอกว่า จิตนี้เปรียบเหมือนเด็กน้อย เด็กน้อยมันหิวกระหาย มันต้องกินอาหารของมัน ตอนนี้มันไปเที่ยวเล่น มันเพลิน คือมันเสื่อมมันไปอิสระของมัน เราหาอาหารเตรียมให้มันไว้ เหตุผลของหลวงปู่มั่นไง คือท่านสอนโดยอุบาย ท่านสอนโดยอุบาย แล้วให้ผู้ที่ไม่เป็นทําตามอุบายนั้น อุบายนั้นเป็นการวางแนวทางให้พุทโธๆ จนพุทโธไม่ได้ จนจิตมันมาสงบโดยข้อเท็จจริงแต่ท่านไม่บอก ถ้าบอกแล้วมันจะปลิ้นปล้อน กิเลสมันจะปลิ้นปล้อน มันจะทําให้เราภาวนายากขึ้น

เวลาท่านพูด ท่านพูดแบบกรรมฐานไง พูดแบบพระป่าไง พูดอุปมาอุปไมยว่า มันจะเป็นอย่างนี้ๆ ทําอย่างนี้จะได้อย่างนี้ๆ นี่ไง หมอ หมอชั้นหนึ่ง หมอชั้นเอก กับผู้ที่ต้องการจะพ้นจากทุกข์ คนไข้ชั้นเอก แต่คนไข้ชั้นเอกก็ไม่รู้ว่าหมอจะลงมีด หมอจะผ่าตัดตอนไหน เพราะคนไข้มันไม่รู้ แต่หมอนี่หมอชั้นหนึ่งๆ

ก็พุทโธๆ ไปเรื่อย จิตมันสงบได้จริงๆ สงบได้จริงๆ แล้วพอสงบแล้ว เมื่อก่อนก็สงบแบบนี้ แล้วมันเสื่อมไปเพราะมันไม่มีหลักการไง ดูไว้เฉยๆ เลื่อนลอยถ้ามีอํานาจวาสนามันก็สงบได้อยู่ แต่สงบแล้วมันไม่มีหลักการที่จะดูแลรักษาไงมันไม่มีหลักการที่จะดูแลอย่างไรได้ มันไม่มาตามวิทยาศาสตร์ มันมีเหตุมีผล มีหลักการ มีความเป็นจริง แล้วเราดูแลตามนั้นมา ถ้ามันเสื่อมไป เราก็ปฏิบัติตามอย่างนั้นขึ้นมา โดยหลักการมันก็ต้องมีผลตอบสนองอย่างนี้ๆๆ นี่ไง นี่พุทธศาสน์นี่แก้จิตๆ เขาแก้กันอย่างนี้ไง

ฉะนั้น เวลาสอนขึ้นมาแล้ว มันเป็นไปได้ นี่ก็เหมือนกัน มันอยู่ที่จริตนิสัยของคนว่าตัวเองจะทําอย่างไร จะพุทโธหรือเปล่า จะใช้ปัญญาอบรมสมาธิหรือไม่ ถ้าไม่ทํา มันก็เป็นอยู่อย่างนี้ คิดเองเออเอง ไปได้เอง แล้วก็ไปชนกําแพงอยู่อย่างนี้เพราะกําแพงที่เป็นอย่างนี้มันเป็นวิบากกรรม

วิบากกรรมคือจิตมันสร้างเวรสร้างกรรมมาแบบนี้ มันเหมือนทุเรียน ใครปลูกทุเรียนก็ได้ทุเรียน แต่ทุเรียนที่ปลูกอยู่ที่เมืองนนท์ฯ ลูกมันหลายหมื่น ไปปลูกที่อื่น ราคามันแตกต่าง เห็นไหม ทุเรียนก็คือทุเรียน ปลูกในที่ชุ่มชื้น ปลูกในที่สวน ปลูกในที่ถิ่นของมัน ผลออกมามันสุดยอดเลย ไปปลูกที่เมืองจันท์ฯ ไปปลูกที่ทางภาคใต้ มันเป็นที่ชุ่มชื้นพอที่จะปลูกทุเรียนได้ มันก็ปลูกได้ แต่คุณภาพมันไม่เหมือนกัน แต่มันก็เป็นทุเรียนพันธุ์เดียวกัน สายพันธุ์เดียวกัน แต่ปลูกต่างถิ่นปลูกต่างที่ มันก็ได้ผลไม่เหมือนกัน

ถ้ามันเหมือนกัน เห็นไหม นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่า เราเลื่อนลอย ทุเรียนจะปลูกที่ไหนก็ได้ อ้าวก็ปลูกไปสิ เราเคยปลูกทุเรียน ครูบาอาจารย์อยู่ทางภาคอีสานเขาปลูกทุเรียน เอานํ้าหยดเลย ทุเรียน โอ้โฮต้นมันนี่แข็งแรง ใบนี่เขียวทั้งต้นเลย แต่ไม่มีสักลูกหนึ่ง ไม่เคยมีลูก มีแต่ต้น มันรักษาต้นมัน โอ๋ยใบนี้เขียวชุ่มชื้น เพราะเราหยดนํ้าให้มันน่ะ แต่มันไม่ออกลูก

นี่ก็เหมือนกัน ปลูกทุเรียนหรือจะปลูกเงาะ เขาจะปลูกอะไร มันอยู่ที่สายพันธุ์สายพันธุ์อย่างใด เราปลูกพืชชนิดใด เราก็ได้พืชชนิดนั้น นี่เหมือนกัน เราภาวนาอย่างไรด้วยเหตุด้วยผลของเรา มันก็ได้ผลอย่างนั้นไง ถ้าเรากําหนดพุทโธไม่ได้เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิไม่ได้ เราทําความสงบของใจไม่ได้ กําแพงมันก็ขวางอยู่นั่นน่ะ

ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้พุทโธได้ มันทะลุกําแพงไปแล้ว กําแพงมันเป็นนามธรรม มันไม่ใช่กําแพงเมืองจีนหรอก ขวางไว้อยู่อย่างนั้น ไม่ใช่ กําแพงมันก็เป็นทิฏฐิอันหนึ่งเท่านั้นน่ะ มันเป็นสัญญาอารมณ์อันหนึ่งเท่านั้นน่ะ ถ้ามันทําลาย มันทะลุไปก็จบ มันก็ลงสู่สมาธิ มันจะมีอะไร ไม่เห็นมีอะไรเลย

แก้จิต แก้จิตแก้ยากนะ แก้จิตแก้ยาก แล้วเวลาโดยหลักมันเป็นอย่างนี้ ถ้ามันผ่านทะลุก็จบ โธ่สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เวลาสังโยชน์นะเวลาเราติดพันมันน่ะ มันผูกมัดจนเราเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เวลาสมุจเฉทปหาน มันขาด หลุดออกไปจากจิตเลย ต้องหลุดออกไปจากจิต เห็นเลยว่ากิเลสตายคาที่ แล้วยถาภูตัง พลิกศพมันเลย เห็นชัดๆ พระอริยบุคคลจะเป็นอย่างนี้ จะเห็นการทําลายกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ฆ่ามันตายต่อหน้า พลิกศพมันเลย ไม่อย่างนั้นมันไม่มั่นคงหรอก ตายแล้วคือตาย ถ้ากิเลสตายแล้วจบ ถ้ากิเลสยังไม่ตาย ไม่มีสิทธิ์ ถ้ามันสลบนะ เดี๋ยวมันฟื้นมานะ มันเข้มแข็งเป็นสองเท่า แล้วมันเข้มแข็งเป็นสองเท่านะ เวลามันล้มไปแล้วนะ เอาขึ้นมาไม่ได้เลย หมดความสามารถเลยแล้วกัน นี่เวลาปฏิบัติไป นี่พูดถึงการแก้จิต

จิตเวลามันพลิกแพลง มันตลบหลัง คนไม่เคยภาวนาไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นหรอกว่าจิตขั้นใด กิเลสระดับใดที่มันพลิกแพลงได้มหัศจรรย์ขนาดไหน ไม่เคยมีใครรู้ใครเห็น นอกจากพระอรหันต์เท่านั้น พระอรหันต์เคยผ่านประสบการณ์อย่างนี้มาทั้งนั้น ถ้าพระอรหันต์ไม่เคยผ่านประสบการณ์อย่างนี้มา จะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ แล้วกว่าจะเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแต่ละองค์ขึ้นมา กับการปฏิบัติมา มันผ่านวิกฤติอย่างนี้มามหาศาลแล้ว

แล้วอย่างนี้ ไอ้นี่มันหญ้าปากคอก ไอ้กําแพงๆ นี่ เพราะอะไร เพราะมันเป็นแค่ทิฏฐิที่มันจะทะลุผ่านเข้าไปเท่านั้นเอง แค่นั้นเอง ถ้ามันทะลุผ่านมันก็จบไง นี้มันทะลุผ่านไม่ได้ มันทะลุผ่านไม่ได้ เห็นไหม

ที่บอกว่า เวลาครูบาอาจารย์ท่านจะแก้ไข มันสมควรไหม แล้วจริตนิสัยเขามีอํานาจวาสนามากน้อยแค่ไหน ดูสิ เวลาพระเรา เวลามาบวช ทุกองค์ที่บวชแล้วใครบ้างไม่ปรารถนามรรคผลนิพพาน ใครๆ ก็ปรารถนามรรคผลนิพพาน แต่เวลาปฏิบัติไปแล้วมันจะได้มากได้น้อยเท่าไรมันก็อยู่ที่อํานาจวาสนา อยู่ที่อํานาจวาสนานะ อย่างเช่นว่า เวลาเราปฏิบัติขึ้นมามันยืนระยะไปอย่างไร ยืนระยะนี่สําคัญมากเลย เห็นไหม

การปฏิบัติไม่เสมอต้นไม่เสมอปลาย การปฏิบัติไม่สมํ่าเสมอ ถึงการให้ผู้ปฏิบัติไม่ได้มรรคได้ผล แต่การปฏิบัติสมํ่าเสมอ ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ มันก็ไม่ได้มรรคได้ผล

การปฏิบัติสมํ่าเสมอต้องเป็นสัมมาทิฏฐิด้วย ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ ทําถูกต้องดีงามแล้วมันถึงจะเป็นมรรคเป็นผล เราปฏิบัติสมํ่าเสมอ แต่มันเป็นมิจฉาทิฏฐิหรือมันไม่มีความสามารถที่จะทะลุ ที่ว่าทะลุกําแพงอะไรต่อไป มันก็เหมือนกับวัตถุธาตุ อยู่อย่างนั้นน่ะ แต่ถ้าเป็นความจริงขึ้นมามันจะพัฒนาของมัน พอพัฒนาขึ้นมา มันจะมีเชาวน์ปัญญา พอมีเชาวน์ปัญญามันจะแยกแยะได้ มันจะสับหลีกได้พอสับหลีกได้ มันก็เป็นประโยชน์กับเราขึ้นมา

นี่เขาถามว่า มันบกพร่องเรื่องอะไร แล้วต้องแก้ไขอย่างใด

ความบกพร่อง จิตนี้พร่องอยู่เป็นนิจ พระรัฐปาลถาม เวลาพระรัฐปาล จิตนี้พร่องอยู่เป็นนิจ ไม่มีสิ่งใดอิ่มเต็ม นี่ก็เหมือนกัน ความบกพร่องมันมีบกพร่องอยู่ทั้งนั้นน่ะ ฉะนั้น ถ้ามันความบกพร่อง เราก็ต้องตั้งสติของเรา แล้วจะแก้ไขอย่างไร

แก้ไข กรณีนี้ ถ้ามันจิตสงบแล้ว ถ้ามันจับได้ มันจับได้มันก็วิปัสสนา ถ้าใช้ปัญญา แต่ถ้าจิตที่มันยังไม่สงบ เพราะนี่มันขวางอยู่ มันขวางอยู่ เราก็พุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พุทโธนี่ทะลุผ่านไปเลย แล้วพอผ่านไปแล้วนะ พอผ่านไปแล้วหนหนึ่ง พอครั้งที่  เป็นขึ้นมา มันก็ยังมีกําแพงนั้นอยู่ เพราะอะไร เพราะมันทะลุไป มันยังไม่มั่นคง ถ้าพอมันมั่นคง มันทะลุไปแล้ว ทําลายแล้วจบเลย ทีนี้มันก็เข้าออกสมาธิได้ง่ายขึ้น พอเข้าออกสมาธิได้ง่ายขึ้น

ที่ปฏิบัติกันน่ะ เพราะขาดสมาธิ เวลาที่พิจารณาว่าอสุภะๆ ใครก็พิจารณาอสุภะ อสุภะอย่างนี้มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิไง คือเราใช้สัญญาอารมณ์เพื่อฝึกหัดใจของเราให้ใจของเราพิจารณาแล้วมันปล่อยเข้ามา มันเป็นสมถะ

ถ้าจะเป็นอสุภะจริงๆ มันต้องผ่านเข้าไป มันต้องเป็นมหาสติมหาปัญญานู่นน่ะ ไปเห็นอสุภะตามความเป็นจริง โอ๋ยมันจะมหัศจรรย์กว่านี้เยอะมากเลย

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเวลามันผ่านอันนี้ไปแล้ว มันก็เป็นแค่เข้ามาความสงบแค่นั้นเอง แค่ความสงบเท่านั้นน่ะ เพราะว่าเวลาปฏิบัติไปแล้วมันยังมีหนทางไปอีกยาวไกล ฉะนั้น เวลาปฏิบัติว่า พิจารณาอสุภะ พิจารณาเพศตรงข้ามต่างๆ

อันนี้มันเป็นอุบาย มันเป็นอุบายการรักษาหัวใจเราไง ถ้าหัวใจเรามันติดพันแล้ว มันฟู เราใช้ธรรมะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาพิจารณาตรึกในธรรมๆ ให้หัวใจได้ดื่มกินธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่มันยังไม่เป็นความจริงของเราหรอก

ถ้าเป็นความจริงของเรา เห็นไหม มันเป็นคนละเรื่องเลยล่ะ การอย่างนี้เขาเรียกว่าตรึกในธรรม วิตกวิจารธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ของเรายังไม่เกิด ถ้าของเราเกิด มันเป็นตัวมันเอง จะดีขึ้นด้วยตัวมันเอง

ฉะนั้น มันบกพร่องสิ่งใด บกพร่องสิ่งใด

ก็ขาดสติ แล้วเราพยายามรักษาของเรา จะต้องแก้ไข ต้องแก้ไข ถ้าเราจะแก้ไขนะ แก้จิตๆ ไง แก้ไข หมอมันก็ให้ยาอยู่นั่นน่ะ แล้วยา เสร็จแล้วมันดื้อยามันดื้อยาคือว่า “ฮู้ธรรมะอย่างนี้ฟังทุกวัน ฮู้เราไปหาครูบาอาจารย์สอนดีกว่านี้อีก” นี่เวลามันดื้อยา

มันสอนดีกว่านี้ แต่ทําไมมันแก้ไม่ได้ สอน สอนอย่างไร ไอ้นั่นไป วางยาสลบทั้งนั้นน่ะ สอนให้แบบว่าเคลิ้มไป สอนให้คล้อยตามกัน แล้วมันมีเหตุมีผลสิ่งใดล่ะ

ถ้ามีเหตุมีผลนะ เพราะอะไร เพราะไอ้ที่ว่าพอมันสงบเข้าไปแล้วมันเวิ้งว้างเพราะอะไร เพราะมันเป็นกําแพง มันก็เป็นสิ่งที่ว่ามันเป็นทิฏฐิมานะ เป็นวิบากกรรม แต่เราบอกว่า พอมันเข้าไปแล้ว มันรู้สึกว่าเวิ้งว้าง รู้สึกว่านิ่มนวล เราก็ยังไม่แน่ใจ มันจะนิ่มนวลไม่นิ่มนวล ทําลายเลย

เวลาหลวงตาท่านบอก เวลาจิตของท่านว่างหมดเลย เวลามองไปทะลุภูเขาเลากาไปหมดเลย โอ๋ยจิตทําไมมหัศจรรย์ขนาดนี้ เวิ้งว้างไหม โอ๋ยมันมหัศจรรย์น่ะ มันทะลุภูเขาเลากาไปหมดเลย ในโลกนี้ไม่มีอะไรบังได้เลย มันมองเห็นทะลุปรุโปร่งไปหมดเลย

แต่เวลาท่านมีวาสนา เห็นไหม ธรรมมาเตือนไง ความสว่างไสว ความทะลุปรุโปร่งนั้น เกิดจากจุดและต่อม เกิดจากจุดและต่อมคือเกิดจากจิต จุดและต่อมไง จุดก็คือตัวจิต ต่อมก็คือตัวภวาสวะ ตัวภพ ตัวจิต เห็นไหม เกิดจากจิตทั้งหมด

เวลาเกิดจากจิตทั้งหมด ท่านไปใคร่ครวญพิจารณาอยู่ แล้วย้อนกลับมาย้อนกลับไปที่จุดและต่อมนั้น พอทําลายที่จุดและต่อมนั้น เห็นไหม ไอ้ความว่างคือกองขี้ควาย ไอ้ความเวิ้งว้าง ไอ้ความสว่างไสว ไอ้ความมหัศจรรย์น่ะกองขี้ควาย

ถ้ามันยังเวิ้งว้างได้ มหัศจรรย์ได้ มันก็ตรงข้ามได้ นิพพานเมืองแก้วเมืองแก้วก็ต้องมีผ้าไว้เช็ด เดี๋ยวฝุ่นมันจับแก้ว อ้าวถ้ามีวัตถุอะไร มันมีตรงข้ามหมด มันของคู่ ถ้าของคู่ ไม่ใช่

เอกนามกึง จิตนี้เป็นหนึ่งเดียว ธรรมเอก ธรรมหนึ่งเดียว ไม่มีสอง จิตหนึ่งจิตหนึ่งเป็นสัมมาสมาธิ ชําระล้างกิเลสเข้าไปแล้วเป็นธรรมหนึ่ง พอธรรมหนึ่งก็เป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงอย่างนี้มันเป็นแบบนี้

นี่พูดถึงการแก้จิตไง การแก้จิต เห็นไหม แก้ยาก นี่พูดถึงว่า ครูบาอาจารย์ท่านแก้ได้ แต่คนไข้มันไม่ฟัง คนไข้มันไม่ยอมรับยา ฉะนั้น เวลาอุบายจะสอน มันต้องเปิดทางก่อนไง

ดูสิ เวลาสามเณรน้อยสอนพระโปฐิละ จะเอานั่นๆ จิตมันเปิดไหม จิตยอมรับไหม กว่าจะยอมรับได้ พอยอมรับได้ อ้าวยอมรับแล้วใช่ไหม ถ้ายอมรับแล้วก็สอนเลย ร่างกายนี้เปรียบเหมือนจอมปลวก มันมีรูอยู่  รู มันมีเหี้ยตัวหนึ่ง มันคอยออกมาหากินตามรูทวารนั้น ให้ปิดเสีย  รู เปิดหัวใจไว้ คอยจับเหี้ยตัวนั้นทําความสงบไง สมถะ พอจิตสงบแล้วเป็นหนึ่ง เห็นไหม เหี้ยตัวนั้น สงบเข้าไปสู่สัมมาสมาธิ จิตจับจิตนี้ สามเณรน้อยสอนนะ

เราฟังแล้วของง่ายๆ ของง่ายๆ ท่านเปรียบเทียบไง แต่ง่ายๆ มันต้องแบบว่าเป็นศิษย์เป็นอาจารย์กัน มันต้องฟัง มันยอมรับ เวลาหมอให้ยา เออยานี้น่าจะหายเนาะ กินเข้าไปแล้วมันมีประโยชน์เนาะ เออมันภูมิใจไง

ไอ้คนให้ยาก็ให้ด้วยความเมตตา ไอ้ผู้ป่วยก็กินยาด้วย แหมด้วยความแช่มชื่น ต้องฟิตร่างกายให้แข็งแรงนะ ให้ยามันออกฤทธิ์เต็มที่เนาะ

พอหมอให้ยา โอ๋ยานี้มันจะหายหรือน่ะ ฮู้ยานี้มันไม่มีค่าเลยนะ ยานี้กินเข้าไปแล้วเดี๋ยวร่างกายมันยิ่งต่อต้านน่ะ...วิตกกังวลไปหมดเลย ยังไม่ได้กินน่ะพอเสร็จแล้วโยนทิ้ง ไม่กิน เพราะยามันด้อยค่า ไม่เห็นคุณค่าของธรรมโอสถ เห็นคุณค่าของกิเลสมันใหญ่โต เห็นทิฏฐิมานะตัวเองจรดฟ้า เห็นธรรมะของพระพุทธเจ้าไร้ค่า นี่ไง คนไม่เป็น

ถ้าคนเป็นนะ มันจะเห็นค่า เห็นคุณค่า แล้วทําของเขาขึ้นมา นี่การแก้จิตการแก้จิตแก้ยาก แต่ครูบาอาจารย์ท่านแก้ได้ ท่านแก้ได้ แต่คนไข้ต้องให้แก้ด้วยนะ ท่านแก้ได้ ถ้าแก้ได้ก็แก้ปมเชือกไง ปมเชือกมันเป็นปม ท่านแก้ได้หมด เพราะเชือกมันไม่ดีดไม่ดิ้น เวลาเขาพันเชือกมาเป็นปม เราแก้ได้ เพราะเชือกมันไม่มีแง่มีงอน เชือกมันตามข้อเท็จจริงของมัน แก้แล้วก็จบ

แต่หัวใจมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันปลิ้นปล้อน มันไม่ยอมให้แก้ทั้งๆ ที่อยากแก้ อยากหาย แต่เวลาจะแก้ขึ้นมามันก็ปลิ้นปล้อนของมัน เห็นไหมนั่นน่ะคือกิเลส ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ท่านแก้ได้ทั้งนั้นน่ะ แต่จะเป็นประโยชน์ไม่เป็นประโยชน์

นี่คือการแก้จิต แก้จิตแก้ยาก แก้ยากเพราะมีทิฏฐิมานะ มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากในจิตนั้น ถ้ามันเป็นวัตถุธาตุ มันไม่มี แต่ถ้ามันไม่มี มันก็ไม่ใช่จิตมันไม่ใช่จิต มันก็ไม่เวียนว่ายตายเกิดเหมือนกัน เพราะการเวียนว่ายตายเกิด จิตนี้เวียนว่ายตายเกิด ฉะนั้น เขาถึงแก้กันที่นี่ ฉะนั้น เขาถึงหาครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะแก้นี่ นี่คือการแก้จิต เอวัง