จะเป็นอะไร
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๘
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ถาม : เรื่อง “บวชโดยไร้อุปัชฌาย์”
กราบนมัสการหลวงพ่อ กระผมได้ศึกษาธรรมะและฝึกปฏิบัติอบรมจิตใจตามคําสอนของหลวงปู่มั่น เมื่อศึกษามาได้สักระยะ ด้วยนิสัยผิดแปลกแตกต่างจากผู้อื่น จึงเกิดข้อสงสัยว่า หากกระผมใคร่บวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยกระผมจะเจตนายึดเอาแก่นธรรมคือธรรมวินัย ศีล ๒๒๗ และข้อวัตรปฏิบัติของพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นเป็นทางเดิน กระผมมั่นใจว่าสามารถรักษาได้โดยลําพัง ไม่ต้องการคลุกคลีหมู่คณะ และไม่ต้องการบวชโดยอุปัชฌาย์ เพราะเห็นว่ามีขั้นตอนพิธีกรรมมากมาย และเมื่อบวชแล้วยังไม่สามารถออกธุดงค์ได้ เนื่องจากติดเงื่อนไขในอายุพรรษา หากกระผมปลงผมและห่มผ้าเหลืองโดยตนเอง และตั้งใจอธิษฐานถือเอาศีลและข้อวัตรดังกล่าว มุ่งปฏิบัติโดยลําพังเพื่อมรรคผลนิพพานในป่าเขา ไม่สนใจหมู่คณะหรือบุคคลใดจนกว่าจะบรรลุธรรม ดังนี้
๑. กระผมจะกระทําเช่นนี้ได้หรือไม่ อย่างไร (ยกเว้นในความผิดตามกฎหมาย)
๒. ในทางธรรม การกระทําของกระผมจะถือว่าเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาหรือไม่
๓. หากกระทําดังเช่นว่านั้นแล้ว สามารถทําให้แจ้งถึงนิพพานได้หรือไม่
๔. เมื่อทําให้แจ้งซึ่งนิพพานแล้ว จําเป็นต้องกลับมาบวชให้ถูกต้องหรือไม่
๕. การกระทําเช่นนี้เป็นบาปหรือไม่
ตอบ : นี่คําถามไง ฉะนั้นว่าคําถาม เวลาคิดโดยกิเลสมันคิดแบบนี้ไง คิดว่าเวลาเขาบอกเขาประพฤติปฏิบัติมาก่อน เวลาไปหาครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านเทศนาว่าการ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ท่านเทศน์บอกให้บวชใจ ให้ประพฤติปฏิบัติ ให้รักษาใจ ให้ดูแลหัวใจของเรา
เวลาหลวงตาท่านไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกเลย นิพพานมันอยู่ที่ไหนท่านมาหานิพพาน นิพพานอยู่ที่ไหน นิพพานอยู่ที่ใจใช่ไหม ถ้าย้อนกลับไปสู่ที่ใจประพฤติปฏิบัติมันจะได้นิพพานที่นั่น เวลาครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอน ท่านสั่งสอนอย่างนั้นน่ะ สั่งสอนว่าให้ทุกคนมีสิทธิ์ไง ทุกคนมีหัวใจ ทุกคนประพฤติปฏิบัติได้ถ้าทุกคนประพฤติปฏิบัติได้ สัจจะความจริงมันอยู่ที่นี่
ฉะนั้น สัจจะความจริงอยู่ที่นี่ปั๊บ เราก็คิดว่าเราปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น เราจะเอาจริงเอาจัง แล้วเราคิดว่าเราทําได้ เราทําได้ เห็นไหม แล้วเราคิดว่าเราจะบวชเราเอง เราบวชเราเองให้เป็นพระอย่างนั้น มันเป็นขั้นตอน เดี๋ยวจะว่าเป็นเรื่องๆนะ
อย่างเช่นที่มีความคิดแบบนี้ หลวงปู่เจี๊ยะท่านจะพูดถึงยกย่องสามเณรประมัยเยอะมาก เพราะสามเณรประมัยเขียนเรื่องการพิจารณากาย กายคตาสติ ท่านจะเขียนของท่านมาก แล้วท่านอธิบายของท่าน หลวงปู่เจี๊ยะท่านก็นักภาวนา ท่านไปเห็นหนังสือเล่มนี้ท่านชอบใจ ท่านบอกสามเณรประมัยเขียนหนังสือนี้ถูกต้องและดีงาม แต่เสียดายที่เขาไม่ได้บวชพระ เขาเป็นเณรไง สามเณรประมัยเป็นเณรจนตาย เป็นเณรจนตายเพราะเหตุใด เป็นเณรจนตายเพราะเขามีความคิดแบบนี้เหมือนกันเปี๊ยะเลย
เพราะสามเณรประมัย หลวงปู่เจี๊ยะท่านบอกว่า สามเณรประมัยท่านบอกว่าท่านอยากจะบวชพระ แต่อุปัชฌาย์ต้องเป็นหลวงปู่มั่นเท่านั้น เป็นองค์อื่น ไม่ยอมบวช แล้วหลวงปู่มั่นท่านก็เป็นอุปัชฌาย์นะ เห็นในประวัติหลวงปู่มั่น ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วท่านได้บวชพระองค์หนึ่งที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ บวชหลวงตาที่วัดเจดีย์หลวงองค์หนึ่ง ท่านได้เป็นอุปัชฌาย์ แล้วท่านบวชให้องค์หนึ่งแล้วท่านก็เข้าป่าไปเลย ท่านเข้าป่าไป ท่านทําตัวเป็นแบบอย่างเห็นไหม เวลาพระป่าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราไม่เห็นแก่ลาภสักการะ เราไม่เห็นแก่ความสรรเสริญของโลก เราจะประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง ท่านปล่อยวางพวกศาสนพิธี ท่านปล่อยเรื่องประเพณี ท่านปล่อยหมดเลย
คําว่า “ปล่อยหมด” เราก็บอกว่า ปล่อยแล้วไม่เอาอะไรเลย ท่านปล่อยหมดเลย แล้วท่านทําถูกต้องธรรมวินัยหมดเลย ท่านปล่อยแล้วท่านทําตามสังฆกรรมเป็นความถูกต้อง เพราะอะไร เพราะท่านเป็นผู้นํา
ตอนที่อยู่ที่หนองผือ หลวงตาท่านบอกท่านเป็นมหานะ หลวงปู่มั่นท่านทําสิ่งใด ท่านก็จับไว้ เพราะท่านเป็นมหา ท่านก็ไปค้นในพระไตรปิฎกได้ชัดเจน วินัยข้อไหน ทําอย่างไร ถูกต้องไหม ท่านเปิดแล้วมันเพี้ยะๆๆ เลย เห็นไหม ท่านทําถูกต้องธรรมวินัย ทําความเป็นจริงเลย
ทีนี้ศาสนาเข้าไปในที่ไหน ในพื้นที่ใด มันเป็นประเพณีพื้นถิ่น ประเพณีพื้นถิ่นเขามีสิ่งใด อย่างเช่นในภาคอีสานเขาแห่บุญพระเวส แห่บุญพระเวส พระเวสสันดรไง โดนไล่ออกไปจากราชวัง แล้วนี่ประเพณีแห่บุญพระเวส
หลวงตาท่านอดอาหารอยู่ในป่า แล้วชาวบ้านเขาสงสัย ขอไปดู แห่ไปหาหลวงตา หลวงตาท่านถามเลย จะมาแห่พระเวสใช่ไหม จะมาแห่ท่านกลับเข้าไปในหมู่บ้านใช่ไหม
มันเป็นประเพณี เพราะเราศึกษาในพระไตรปิฎกแล้วเราก็อยากจะทํา อยากจะทําเป็นประเพณี อยากจะทําบุญน่ะ อยากจะเอาบุญ ฉะนั้น ถ้าสิ่งนี้ เวลาศาสนาเข้าไปในพื้นถิ่นใด ดูสิ เถรวาทเข้ามาในพม่า พม่าเขาก็มีความเชื่อไปอย่างหนึ่งเข้ามาในเมืองไทยก็มีความเชื่ออย่างหนึ่ง เข้าไปในเขมร ในลาว นี่เถรวาทหมดนะ แต่ในพื้นที่เขามีวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมของเขา ศาสนาเดิมของโลกนี้ศาสนาถือผี วัฒนธรรมของชาวบ้าน แล้วศาสนาเข้าไป คนที่มีความคิดอย่างนั้นพอศาสนาเข้าไป มันก็ทําของมันไป
ฉะนั้น เวลาหลวงปู่มั่น เวลาท่านละท่านวางประเพณีอันนั้น ท่านละท่านวางไอ้พวกความเชื่อ วัฒนธรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมท้องถิ่นคิดอย่างนั้น ทําอย่างนั้นศาสนาถึงมีการกระทําแตกต่างกันไง ท่านวางเรื่องวัฒนธรรมทางโลก แต่ท่านเอาความจริงของท่าน ฉะนั้น ไม่ใช่ว่าประเพณีท่านไม่เอา ไม่ใช่ ท่านเอาความจริงแต่เอาจริงในเนื้อแท้ในพระพุทธศาสนา
ฉะนั้น เวลาเขาบอกว่าเขาฟังธรรมหลวงปู่มั่น ปฏิบัติสายหลวงปู่มั่นแล้วมีความศรัทธามีความเชื่อ อยากจะประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง ทําได้ไหม
ทําได้ เวลาทําได้นะ ทําได้เวลาบวชใจ เห็นไหม เวลาบวชกัน คนที่ไม่มีโอกาสวาสนาก็พยายามบวชของเขา พยายามปฏิบัติของเขา เวลาผู้ที่เป็นฆราวาสเขาบรรลุธรรมเป็นอริยสาวกเยอะแยะไป เขาทําได้ แต่เขาทํา เขาเป็นฆราวาส แต่เรานี่ เราเป็นฆราวาส เราอยากทํา เราก็เป็นฆราวาสสิ ถึงบอกว่า เราถามว่าเราอยากเป็นอะไร เราอยากเป็นอะไร
ถ้าเราอยากเป็นพระอริยเจ้า เราก็ประพฤติปฏิบัติของเราไป เราไม่ต้องบวชไอ้นี่มันสมมุติ ญัตติจตุตถกรรมมันเป็นวินัย เป็นสมมุติ เป็นการกระทําให้ถูกต้องนี่จริงตามสมมุติ บวชพระนี่ บวชพระมีกฎหมายรองรับ เพราะมันมีธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วยังมีพ.ร.บ.สงฆ์ มีพ.ร.บ.สงฆ์มันมีกฎหมายปกครอง พ.ร.บ.สงฆ์เป็นกฎหมายปกครอง ไม่ใช่ธรรมวินัย
ธรรมวินัยเป็นบัญญัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระไตรปิฎกเราก็เรียกร้องกันอย่างนี้ เอาแต่ธรรมวินัย ว่าเราต้องทําตามนั้นๆ แต่มันมีพ.ร.บ.สงฆ์ กฎหมายปกครอง การปกครองมันก็มีปกครองสงฆ์
ฉะนั้นว่า เราจะไม่บวช ประพฤติปฏิบัติได้ไหม
จะถามกลับว่า เราทําอะไร เราจะเป็นอะไรไง ถ้าเราจะเป็นอะไร เป็นได้จริงหรือเปล่า ถ้าเป็นได้จริงนะ เพราะถ้าเราเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบวชครั้งแรกนะ เขาเรียกเอหิภิกขุพระพุทธเจ้าบวชง่ายๆ เลย เวลาพระจะบวชนะ หาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด” เป็นพระแล้ว แล้วพอมีการบวชมากขึ้น มีการบวชมากขึ้นก็ให้บวชโดยถือไตรสรณคมน์
เหมือนบวชเณรนี่ บวชเณร เมื่อก่อนบวชเณร บวชพระสมัยกลาง เริ่มต้นตั้งแต่เอหิภิกขุคือพระพุทธเจ้าบวชเอง “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด เธอจงเป็นมาเถิดๆ” ก็เป็นพระเลย เห็นไหม ถ้าเราเคารพพระพุทธเจ้า แต่พอมันมากขึ้นๆ ก็มีให้พระบวช ให้ถึงรัตนตรัย ถ้าถึงรัตนตรัย เป็นพระมา
แต่พอเยอะขึ้น พระพุทธเจ้าก็บัญญัติแล้ว ให้พิธีกรรมการบวชมันอยู่ในธรรมวินัยที่เขาสืบทอดกันมา ถ้าบวชโดยญัตติจตุตถกรรม โดยการญัตติ ด้วยสงฆ์ต้องบวชอย่างนี้ถึงจะเป็นพระมา ถ้าเป็นพระมา
ถ้าเราบอกว่าเราจะบวชโดยไม่มีอุปัชฌาย์ แต่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ให้มีอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์อาจารย์ พระพุทธเจ้าบัญญัติเอง พระพุทธเจ้าเป็นคนบัญญัติธรรมและวินัย ถ้าเราจะเคารพพระพุทธเจ้าใช่ไหม เราเคารพศาสดาของเรา เราเคารพ “ธรรมวินัยจะเป็นศาสดาของเธอ” ถ้าเคารพพระพุทธเจ้า เราก็ต้องบวชตามธรรมวินัยอันนี้มันถึงว่าจะเป็นการเคารพจริง
ถ้าเราบอกว่าเราเป็นชาวพุทธ เขาบอกเขาเป็นนักปฏิบัติ ปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น
หลวงปู่มั่นก็ลูกศิษย์พระพุทธเจ้านะ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ ลูกศิษย์พระพุทธเจ้าทั้งนั้นน่ะ ฉะนั้น หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ยังเคารพพระพุทธเจ้า แล้วเราจะบวชโดยไร้อุปัชฌาย์ ไม่ต้องมีอุปัชฌาย์ เราจะลบหลู่พระพุทธเจ้าหรือ
เพราะหลวงตาท่านพูด เห็นไหม “เหยียบหัวพระพุทธเจ้าแล้วแสดงธรรม” คือไม่เคารพธรรมวินัย เหยียบยํ่า แล้วอยากจะอวดว่ากูมีคุณธรรม ถ้าคุณธรรมเป็นความจริง มันเป็นความจริงในหัวใจของเรา แต่ความจริงขนาดไหน เขาก็เคารพธรรมวินัย เขาก็เคารพพระพุทธเจ้าทั้งนั้นน่ะ ถ้าเคารพพระพุทธเจ้า ถ้าเราจะเคารพพระพุทธเจ้า เราจะบวช เราจะบวชเป็นพระ เราก็ต้องบวชตามขั้นตอนนี้ เราถึงว่ามันเป็นความถูกต้อง ตามความถูกต้องเพราะเราเคารพ เห็นไหม กตัญญูกตเวที เคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทําตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยนี้ไว้ คือกติกาที่วางไว้
แล้วเราจะบวชโดยไม่มีอุปัชฌาย์
ก็พระปัจเจกพุทธเจ้าไง ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถ้าเราจะบวชเอง ทําเอง บวชเองได้อย่างไร ถ้าบวชเอง มันมีบวชได้ บวชใจบวชเอง ดูสิ เราเป็นฆราวาส เราจะประพฤติปฏิบัติกัน เราไม่มีโอกาสที่ได้บวชพระ ถ้าบวชพระแล้วมันต้องมีประเพณี มันต้องเป็นนักบวชทั้งอาชีพ ทั้งชีวิต ฉะนั้นเราไม่มีโอกาสทําอย่างนั้นได้ เราก็มาประพฤติปฏิบัติเป็นครั้งเป็นคราว อันนั้นคือเรื่องของเขา
แต่ถ้าจะบวชโดยที่ไม่มีอุปัชฌาย์ เราบอกว่าเราจะบวชโดยไม่มีอุปัชฌาย์เราคิดว่าอุปัชฌาย์ก็คืออุปัชฌาย์ในปัจจุบันนี้ไง แต่ไม่ได้มองถึงว่าอุปัชฌาย์นี้ใครเป็นคนบัญญัติขึ้น ใครเป็นคนบัญญัติว่าต้องเป็นอุปัชฌาย์ ใครเป็นคนบัญญัติว่าต้องเป็นอาจารย์ เพราะอะไร
เพราะว่าเวลาขอนิสัย เพราะในสมัยพุทธกาลนะ มันมีอุปัชฌาย์บวชพระ แล้วบวชพระ พออุปัชฌาย์เขาตาย พระนี่แตกกระสานซ่านเซ็นเลย พอมีอุปัชฌาย์ มันก็เหมือนเรามีพ่อแม่ พ่อแม่ก็ดูแลครอบครัว พอพ่อแม่ตาย ลูกๆ แตกกระสานซ่านเซ็นเลย บางคนสึกไป แล้วก็ไปฟ้องพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าบอกว่าให้อยู่กับอุปัชฌาย์ มันมีเรื่องวินัยนะ พระต้องถือนิสัย ๕พรรษา แล้วเวลาไปขอนิสัยครูบาอาจารย์ ถ้าไปเจออุปัชฌาย์ นิสัยจะขาด นี่มันมีของมันไง
ฉะนั้น พอเวลาอุปัชฌาย์ตายไปแล้ว พระนี่แตกกระสานซ่านเซ็น แล้วก็สึกไปบ้าง ไม่มีคนดูแล เขาก็ไปฟ้องพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าบวชแล้วต้องถือนิสัยอุปัชฌาย์ ๕ ปี แล้วถ้าอุปัชฌาย์ตาย ให้ถือนิสัยอาจารย์ได้ ให้ถือพระถ้ามีหลักมีเกณฑ์ ให้ถือนิสัยจากครูบาอาจารย์นั้นต่อ พระนั้นจะได้มีที่พึ่งต่อไปไง อย่างเช่นเราบวชใหม่ เราก็ยังไม่รู้สิ่งใดเลย แล้วเราก็อยู่กับอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์ก็ดูแลเรามา พออุปัชฌาย์เราตายตูม! เราก็ยังศึกษามาได้ครึ่งๆ กลางๆ เราก็ยังไม่รู้จริงว่าเราจะดํารงชีวิตอย่างไร เขาให้ไปขอนิสัยจากอาจารย์ได้ นี่มันอยู่ในพระไตรปิฎก
ฉะนั้นว่า เราจะบวชโดยไม่มีอุปัชฌาย์
ถามว่า เราจะเป็นอะไร เราจะเป็นฆราวาสหรือเราจะเป็นพระ ถ้าเราเป็นพระเราก็ต้องเป็นพระให้ถูกต้องตามธรรมวินัย เป็นพระก็ต้องบวชโดยอุปัชฌาย์อาจารย์ โดยญัตติจตุตถกรรมยกเข้ามา ยกเข้ามาเป็นสงฆ์ ถ้าจะบวชพระ ถ้าไม่บวช เราก็เป็นฆราวาสปฏิบัติไป มันก็ไม่เสียหายไง
ไอ้นี่บอกว่าจะบวช แต่ไม่บวชอุปัชฌาย์ แล้วมันก็ฝืนไง มันก็เท่ากับไปฝืนธรรมวินัย ไปฝืนพระพุทธเจ้า ถ้าเราจะบวชใช่ไหม เราจะบวช เราก็บวชถูกต้องตามธรรมวินัย ตามกฎหมายปกครอง แต่ทีนี้ถ้าเราไม่บวช เราอยากประพฤติปฏิบัติ เราก็เป็นปะขาว เราก็ปฏิบัติโดยชาวพุทธ เราถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในใจ แต่เราก็เป็นฆราวาส มันก็ไม่เสียหายอะไร แต่นี่จะบวชเป็นพระ มันเหมือนกับลบหลู่พระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าเป็นคนบัญญัติเอง ฉะนั้น นี่พระพุทธเจ้าบัญญัตินะ บัญญัตินี่เป็นธรรมวินัย ทีนี้เพียงแต่ว่า ถ้าเราบอกว่ามันบวชแล้วมันจะติดขัดเรื่องพรรษาๆ
เราบวชพรรษาแรก เราออกธุดงค์แล้ว เราบวชพรรษาแรกนะ ออกพรรษา กูนู่น ไปพม่านู่นน่ะ แล้วตอนนั้นมันยังแบบว่าครูบาอาจารย์ เราเองเราก็ไม่รู้ ภาษาเราว่าไปโดยไม่รู้นั่นแหละ แต่มันไฟแรง แล้วสุดท้ายแล้วพอกลับมาแล้วเห็นว่ามันผิดมันถูก ถึงได้มาเปิดในบุพพสิกขา พอกลับมาก็ค้นธรรมวินัย ค้นใหญ่เลยว่ามันถูกมันผิดอย่างไร เพราะเวลาเข้าป่าไปแล้วไปเจอพระไปคุยกัน มันมีประเด็นหลายประเด็น กลับมาก็มาเปิดบุพพสิกขา
ในบุพพสิกขาสอนไว้ว่าบวชแล้วธุดงค์ได้ เราต้องถือนิสัยครูบาอาจารย์ ถือนิสัยอุปัชฌาย์ แต่ถ้าอุปัชฌาย์อนุญาตหรืออุปัชฌาย์อย่างไร เราออกธุดงค์ได้โดยอุบายของเรา แล้วท่านบอกว่า ในบุพพสิกขานะ เราธุดงค์ได้ ไปองค์เดียวได้แล้วไม่ได้ขอนิสัยใคร แล้วเกิดถ้าเป็นอาบัติขึ้นมาล่ะ
ในบุพพสิกขา บุพพสิกขานี่คือบาลี แปลจากบาลี ถ้าบาลี ก็จะบอกว่าพระไตรปิฎกเอาไว้นั่นแล้ว เอามาจากบาลี ฉะนั้น พอแปลมา ในบุพพสิกขาบอกว่าถ้าไปคนเดียว ให้ไปหัดภาวนา ถ้าภาวนาแล้วจิตลงดี คือเป็นสมาธิดี ปัญญาเกิดขึ้น ให้ภาวนา เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาให้ปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการให้ผู้ปฏิบัติมีคุณธรรม ถ้าเราไปที่ไหนแล้วภาวนาดี แต่ไม่มีพระที่ให้นิสัยได้ มันต้องขอนิสัยจากอุปัชฌาย์ แล้วก็อาจารย์ แต่อยู่องค์เดียว
เราอยู่ในป่าภาวนาอยู่องค์เดียว แล้วมีพระธุดงค์มาเจอกันก็บอกว่าอยู่ไม่ได้ทําไม่ได้ ไอ้เราก็เขวเหมือนกัน แต่เรากลับมา เราก็มาเปิดไง เปิด เราทําถูก เราทําถูก ในบุพพสิกขาบอกว่า ถ้าภิกษุบวชใหม่อยากออกประพฤติปฏิบัติ ออกธุดงค์ ถ้าธุดงค์ไปแล้ว ไปอยู่องค์เดียว ถ้าภาวนาที่ไหนดี ให้ถือการภาวนาเป็นสําคัญ ถ้าภาวนาดี เป็นสมาธิ มีปัญญาขึ้นมาได้ ให้อยู่ที่นั่น แล้วเกิดอยู่องค์เดียวไม่มีหมู่คณะ เพิ่งพรรษาเดียว เอาตัวเองรอดไม่ได้ ถ้ามันเป็นอาบัติ เรารู้ได้ว่าเป็นอาบัติ ให้ตั้งสติไว้ ให้ระลึกไว้ว่านี่เป็นอาบัติ ถ้าเป็นอาบัติก็ปลงอาบัติ คือสํานึก
เราเป็นอาบัตินะ เราเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เผลอไปทําให้ใบไม้มันหลุดจากขั้วเป็นอาบัติปาจิตตีย์ แต่เรารู้ว่าเราเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เราจะปลงอาบัติ แต่ขณะปัจจุบันนี้ไม่มีพระเป็นผู้ปลงอาบัติ ท่านบอกให้กําหนดไว้ในใจว่า ถ้าเราไปเจอพระ เราธุดงค์ไป หรือพระมาหาเรา เจอพระ เราจะรีบปลงอาบัติทันที นี่ในบุพพสิกขาบอก ในบุพพสิกขาบอกว่าไปได้
ฉะนั้น โดยหลัก ท่านบอกว่าต้องพ้นนิสัย คือ ๕ พรรษาถึงจะออกภาวนาได้พ้นนิสัย หลวงตาท่านบอกว่าให้ ๑๐๐ พรรษาก็ไม่พ้นถ้าไม่ฉลาด ผู้ที่พ้นนิสัยได้คือผู้ฉลาด ฉลาดวัดกันด้วยอะไร ฉลาด เขาวัดด้วยการท่องปาฏิโมกข์ได้ ถ้าท่องปาฏิโมกข์ได้ ๕ พรรษา ส่วนใหญ่แล้วพอบวช ๕ พรรษา เขาจะให้ท่องปาฏิโมกข์ได้ คนที่ท่องปาฏิโมกข์ได้เหมือนกับจบนิติศาสตร์ คนจบนิติศาสตร์ก็ต้องศึกษากฎหมายจบ มันต้องสอบผ่าน ถึงได้นิติศาสตร์ใช่ไหม
นี่ก็เหมือนกัน ท่องปาฏิโมกข์ได้ ปาฏิโมกข์ก็คือศีล ๒๒๗ มันท่องธรรมวินัยได้หมด มันท่องได้ ทําไมมันจะไม่รู้ว่าถูกหรือผิด คนท่องปาฏิโมกข์ได้ เพราะเราท่องปาฏิโมกข์เหมือนกัน เมื่อก่อนท่องปาฏิโมกข์ไม่ได้ ศึกษาธรรมะก็ศึกษาแบบชาวบ้าน พอท่องปาฏิโมกข์ได้ มันท่องตัวบทได้ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓อนิยต ๒ นิสสัคคีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ แล้วก็เสขิยวัตร มันท่องได้หมด พอมันท่องได้หมด เราท่องตัวบทได้
นี่ไง พูดถึงว่าผู้ที่ฉลาดหรือไม่ฉลาด เขาวัดกันที่ว่าท่องปาฏิโมกข์ได้หรือท่องไม่ได้ ถ้าท่องปาฏิโมกข์ได้ ๕ พรรษาถึงพ้นนิสัย ถ้าท่องไม่ได้ อีก ๑๐๐ ปีก็ไม่พ้นนิสัย ต้องขอนิสัยต่อไป อันนี้โดยธรรมวินัยนะ
แต่โดยมารยาท พระกรรมฐานเราจะขอนิสัย จะขอนิสัยครูบาอาจารย์ จะ ๑๐พรรษา ๒๐ พรรษา ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่ท่านลงใจ ท่านก็อยากจะขอนิสัย การขอนิสัยนี่คือการแสดงความเคารพบูชา
พระกรรมฐานเรานี่นะ ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่เราเคารพบูชา จะขอนิสัย ชอบขอนิสัย การขอนิสัยคือยอมแสดงตนว่าเราเป็นลูกศิษย์ ยอมยกให้ครูบาอาจารย์ที่เราเคารพนี้เป็นอาจารย์ของเรา การขอนิสัย การขอนิสัยโดยวัฒนธรรม การขอนิสัยด้วยหัวใจ การขอนิสัยด้วยครูบาอาจารย์ที่หัวใจที่เป็นธรรม ลงใจครูบาอาจารย์ ท่านขอเป็นประเพณี
แต่การขอนิสัยในตามกฎหมาย ตามธรรมวินัยพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ ๕พรรษา ถ้าตํ่ากว่า ๕ พรรษาต้องขอนิสัย ถ้าไม่ขอนิสัย ล่วงราตรีที่ ๗ พระอาทิตย์ขึ้น อรุณขึ้นวันที่ ๘ เพราะต้อง ๗ วัน ถ้า ๗ วัน ให้ดูนิสัยกันก่อน ถ้าขอได้ ให้ขอถ้าขอไม่ได้ ให้เก็บของไป ให้แยกจากกันไป ถ้าไม่แยก ราตรีที่ ๘ ขึ้น เป็นอาบัติปาจิตตีย์ อันนี้ถ้าเราจะเป็นพระ เราก็ต้องเป็นตามธรรมวินัย
แต่บอกว่าเราจะบวชโดยไม่มีอุปัชฌาย์
นี่คิดเอาเอง ถ้าคิดเอาเอง เราไม่ใช่ว่าลบหลู่ใคร ถ้าคิดเอาเอง อยากปรารถนาทําอย่างนี้ ไปลบหลู่พระพุทธเจ้า ลบหลู่ธรรมวินัย เพราะพระพุทธเจ้าเป็นคนบัญญัติไว้ เราเคารพพระพุทธเจ้าหรือเราไม่เคารพพระพุทธเจ้า ถ้าเราเคารพพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อตามสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ แต่แล้วนะ แต่ถ้าในปัจจุบันนี้อุปัชฌาย์เขาบวชมาแล้ว อุปัชฌาย์หาเงินหาทอง ผู้ที่บวชแล้วหาแต่ผลประโยชน์ อันนี้มันก็เป็นที่น่ารังเกียจของชาวพุทธ
อุปัชฌาย์ที่ดีเยอะนะ อุปัชฌาย์ที่หัวใจที่เป็นธรรม อยากบวช อยากมีสัทธิวิหาริก อยากจะอุ้มชูลูกศิษย์ตถาคต อยากจะทําดี อุปัชฌาย์ที่ดีๆ มีเยอะ อุปัชฌาย์ที่หาเงินหาทองก็มี ถ้าสิ่งอย่างนี้มันเป็นที่ตัวบุคคล มันเป็นที่ตัวบุคคลที่เป็นพฤติกรรมของเขา เราจะไปบอกว่าเพราะมีอุปัชฌาย์แล้วมันผิดอย่างนั้นๆ มันก็ไม่ใช่ มันต้องเป็นที่เราฉลาด เราเป็นผู้ฉลาด เราจะหาของเราเอง
ถ้าเราจะเป็นพระ เราจะบวช เราก็หาอุปัชฌาย์ของเรา หาหมู่สงฆ์ที่เราเคารพบูชา แล้วถ้าเคารพบูชา คุยกับท่านก่อนว่าเราบวชแล้วเราอยากจะไปอยู่กับอาจารย์องค์นั้นๆ จะไปขอนิสัยที่นั่นจากอุปัชฌาย์มา นิสัยก็ขาดจากอุปัชฌาย์มามาขึ้นกับอาจารย์ ถ้าอาจารย์ที่ดีเขาให้ออกปฏิบัติ เราก็ปฏิบัติได้ เราทําได้ ถ้าเราทําได้ เห็นไหม เราจะเป็นอะไร
ถ้าเราจะเป็นพระ เราก็ต้องเป็นพระให้ถูกต้องตามธรรมวินัย เพราะการบวชเขาเรียกวิบัติ ๔ เราท่องผิดๆ ถูกๆ ก็เป็นวิบัติ อักขรวิบัติ ถ้าอุปัชฌาย์วิบัติก็คืออุปัชฌาย์ที่ไม่เป็นอุปัชฌาย์โดยสมบูรณ์ คืออุปัชฌาย์เป็นอาบัติ อุปัชฌาย์มีความบกพร่อง
มันมีวิบัติ ๔ ไง มันมีอักขรวิบัติคือคําท่องของเราที่ไปฝึกหัด เขาเรียกอักขรวิบัติ สีมาวิบัติ คือสีมามันถูกต้องดีงามไหม ได้ถอนไหม ได้สวดญัตติเป็นสีมาขึ้นมาถูกต้องหรือไม่ แล้วก็อุปัชฌาย์วิบัติ กรรมวาจาวิบัติ แล้วมันก็มีวิบัติ ๖อีก วิบัติ ๖ เขาเรียกว่าบริขารวิบัติ คือบริขารมันไม่ถูกต้องตามบัญญัติ มันมีบริขารวิบัติ มันมีวิบัติ ๔ วิบัติ ๖ วิบัติ คําว่า “วิบัติ” วิบัติคือบวชแล้วไม่สมบูรณ์ไงบวชแล้วมันยังไม่สมบูรณ์ ถ้าจะบวชโดยอย่างนั้นนะ
ถ้ามันสมบูรณ์ อุปัชฌาย์ก็สมบูรณ์ อุปัชฌาย์ก็ดีงาม กรรมวาจาก็ดี สีมาก็ถูกต้อง พัทธสีมาด้วยความดีงาม แล้วเราก็ท่อง “นะโม นะมอ นะโม นะมอ”...มี ไอ้นี่มันเป็นมุขของกรรมฐาน มุขของพระเขาคุยเล่นกันสนุก ไอ้เจ๊กจะบวชไง มันท่องขานนาคไม่ได้ แต่มันก็อยากบวช “นะโม นะมอ นะโม” นี่มันวิบัติ ๔ คําว่า “วิบัติ๔” อักขรวิบัติ ท่านจะให้ถูกต้องดีงามไปหมด
ฉะนั้น สิ่งนี้ กรณีนี้ นี่พูดถึงว่าคําว่า “เราจะเป็นอะไรไง” เราก็จะบวชให้ถูกต้องดีงามทั้งหมด
ทีนี้เข้าปัญหาแล้วเนาะ นี่ยังไม่เข้าปัญหาเลย
“๑. กระผมกระทําเช่นนี้ได้หรือไม่ อย่างไร (เว้นไว้แต่ไม่ผิดตามกฎหมาย)”
กฎหมายมันก็ผิด กฎหมาย ถ้ามันผิด คําว่า “ผิดกฎหมาย” แบบว่าแต่งชุดราชการโดยไม่มีสิทธิ์ นี่ก็เหมือนกัน ไม่ใช่พระ นุ่งห่มแบบพระก็ผิดแล้ว กฎหมายมันก็ผิดอยู่แล้ว แต่การกระทํา การกระทําโดยที่เดี๋ยวนี้เขาเรียกสิทธิมนุษยชน มันเป็นสิทธิ มันทําได้อะไรได้ เอาไปเถอะ
ถ้ายังเริ่มต้นนะ เริ่มต้นเรายังไม่ลงพระพุทธเจ้าได้ เราก็ต้องศึกษากันสิว่าบัญญัตินี้พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้จริงหรือเปล่า พระไตรปิฎกมันเปิดเผยหมดแล้วที่ไหนมันก็เอามายืนยันได้ แล้วถ้าพระพุทธเจ้าบัญญัติไว้อย่างนี้แล้วเราจะฝืนไปหรือ
แต่อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ เราก็เลือกเอาสิ เลือกอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์ท่านพาออกธุดงค์เองเยอะแยะไป อุปัชฌาย์บวชเสร็จแล้วอุปัชฌาย์ก็เดินนําหน้า ลูกศิษย์เดินตามท้าย มันก็มี
แต่ถ้าเราไม่ชอบ เราจะอยู่คนเดียว เราบวชแล้วเราออกวิเวก เราบอกเลยบอกบวชแล้วจะไปอยู่กับครูบาอาจารย์ก็ได้ ไอ้นี่ถ้าพูดถึง
“๑. กระผมทําเช่นนี้ได้หรือไม่ เป็นอย่างไร (ยกเว้นแต่ไม่ผิดกฎหมาย)”
กฎหมายมันผิดอยู่แล้ว แล้วภาษาเรานะ เราตั้งใจ เราทําไม่ถูกต้อง เวลามันไปรู้ทีหลังมันก็สะเทือนใจ ถ้ามันเอาให้ถูกต้อง เพราะอะไร เราต้องเชื่อตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี แล้วก็มากรุงเทพฯ นักปราชญ์เมืองไทยมันไม่มีเลยหรือพวกพระนี่ทําผิดมาทุกคนเลยหรือ สมัยอยุธยา ๔๐๐ ปี นักปราชญ์ไม่มีเลยใช่ไหมไม่มีใครกลั่นกรองไอ้ความถูกต้องดีงามมันมาบ้างเลยหรือ มันก็มีมาทั้งนั้นน่ะฉะนั้น ให้เชื่อนักปราชญ์ของเราบ้าง แล้วถ้าเราทํา เราหาทางออกของเราเอง
“๒. ในทางธรรม การกระทําของกระผมจะถือว่าเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาหรือไม่”
ไม่เป็นทั้งนั้นน่ะ ไม่เป็นเด็ดขาด ไม่เป็นเด็ดขาดเพราะอะไร เพราะเอ็งไม่ได้บวช ในทางธรรม ก็ในทางธรรม ธรรมวินัยก็เป็นธรรมอยู่แล้ว พิธีกรรมบวชหลวงปู่มั่นท่านยังบวชถูกต้องเลย หลวงปู่เสาร์ท่านก็บวชถูกต้อง ก็บวชทั้งนั้นน่ะ
ฉะนั้นว่า “ในทางธรรม กระผมถือว่าเป็นภิกษุหรือไม่”
ไม่ แต่ในทางปฏิบัติสิ ในทางปฏิบัติ นางวิสาขาก็เป็นพระโสดาบัน เดี๋ยวนี้คฤหัสถ์ที่ในปัจจุบันนี้ที่เขาเป็นอริยภูมิ เขาปฏิบัติแล้วเขาได้อริยสัจในใจเลยล่ะในทางปฏิบัติสิ หัวใจมันเป็น ถ้าปฏิบัติเป็นน่ะมันเป็น แต่หัวใจมันเป็น ไม่ใช่ร่างกายมันเป็น ร่างกายแต่งชุดอะไรก็เป็นไอ้นั่น ร่างกายห่มผ้ากาสาวพัสตร์ก็เป็นพระ ไม่ห่มผ้าก็ไม่ได้เป็น ร่างกายนี้ใส่ชุดขาวก็เป็นปะขาว นี่ไง แต่หัวใจมันเป็นในทางธรรม ในทางธรรมก็ไม่เป็น เพราะในทางธรรมก็ต้องบวชถูกต้องตามธรรมวินัย แต่ถ้าในการปฏิบัติสิ ในการปฏิบัติที่ว่าถ้ามาปฏิบัติแล้วเป็นน่ะ
“๓. หากกระทําเช่นว่านี้แล้วสามารถทําให้แจ้งถึงนิพพานได้หรือไม่”
หากกระทําเช่นนั้น เวลาปฏิบัติไปแล้ว เราจะบอกว่า ถ้าทําอะไรถูกต้องนะมันทําอะไรแล้วมันจะสะดวก ถ้าทําอะไรไม่ถูกต้อง มันจะมีนะ
“อย่างนี้ในการกระทําเช่นนี้ทําให้แจ้งถึงนิพพานได้หรือไม่”
ในการปฏิบัติมันอาจจะเป็นไปได้ คําว่า “อาจจะเป็นไปได้เลย” คําว่า “อาจจะ” เพราะอะไร เพราะมันมีอุปสรรคไปเยอะ พอเราบวชอย่างนี้ปั๊บ มันก็จะโดนตรวจสอบ ไปที่ไหนเขาก็แจ้งตํารวจ ไปที่ไหนชาวบ้านเขาก็ไม่รับ
ชาวบ้านไม่รู้เขาก็รับนะ พอเขามาบอกว่าพระองค์นี้บวชผิดมา เขาก็ไม่รับ วันนี้บิณฑบาตบ้านนี้ใส่บาตรดีเลย พอพรุ่งนี้เขารู้ข่าว เขาไม่ใส่บาตร เราก็เสียใจแล้ว พอเสียใจก็ไปปฏิบัติไม่ลงแล้ว เออ! พอแต่งชุดพระไปที่ไหน เขาเห็นเขาก็ชื่นชม เขาก็ใส่ พอมีคนบอกว่านี่ไม่ใช่พระนะ นี่พระปลอมนะ พอพระปลอม เขาก็ลังเลใจ ไอ้เราก็เลยเรรวนไปหมดเลย เห็นไหม นี่อุปสรรค
ฉะนั้น เขาบอก “หากไม่ทําเช่นนี้แล้วจะสามารถทําให้ถึงนิพพานได้หรือไม่”
มันจะถึงได้ไม่ได้ก็ตรงนี้ ตรงที่ว่ามันเกิดนิวรณ์ไปหมด มันเกิดอุปสรรคเกิดอะไร แต่เราก็คิดของเราไปเองไง ทิฏฐิพระ มานะกษัตริย์นะ เราก็คิดว่าทําอย่างนี้แล้วจะไม่มีใครมาจับจ้องจับผิด จะไปอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ ในประเทศไทยมันมีฝ่ายปกครอง พื้นที่ในประเทศไทยไม่มีตรงไหนว่างเลยล่ะ เพราะมีเจ้าคณะตําบล เจ้าคณะอําเภอ เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะภาค เขาปกครองกันเป็นชั้นๆ
พระที่ไหนเวลาผิด เขาให้เจ้าคณะตําบลที่นั่นตรวจสอบ อย่าคิดว่ามันจะมีที่เร้นลับ จะให้เราบวชแล้วเราหลบหลีกไปไหนได้ เมืองไทยทั้งเมืองไทย ฝ่ายศาสนจักรอาณาจักรเขาปกครอง เขาดูแลอยู่ เอ็งจะไปอยู่ร่องไหน หลืบไหน มุมไหน เจ้าคณะตําบลเขาจะไปสืบ เขาจะไปจับอยู่แล้ว เอ็งไม่ต้องห่วงหรอกว่าไปหลบแล้วจะไม่มีใครเห็น มันจะเกิดตรงนี้ไง ทีนี้เราบวชให้มันถูกต้องซะ
ขนาดบวชถูกต้องนะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านปฏิบัติมา ประวัติของท่านโอ้โฮ! ขนาดถูกต้องตามธรรมวินัยนะ แต่เวลาปฏิบัติเกินหน้าเกินตาน่ะ เกินหน้าเกินตาในสังคมที่เขามองนะ มันไม่ใช่เกินหน้าเกินตาโดยหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านคิด
หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านอยากหาความจริง ท่านอยากปฏิบัติให้เจอความจริง ท่านไม่อยากเกินหน้าเกินตาใครหรอก ทุกข์ทั้งนั้นน่ะ ทุกข์น่าดูเลย ทุกข์ทุกเรื่องเลย แล้วพยายามจะหาทางออก ท่านพยายามประพฤติปฏิบัติของท่าน ท่านไม่ได้คิดว่าเกินหน้าเกินตา แต่ทําดี กลิ่นของศีลกลิ่นของธรรม ความดีมันขจรขจายไปไง คุณงามความดีของท่านขจรขจายไปเอง แต่ท่านต้องพยายามจะปรารถนากําจัดทุกข์ในใจของท่าน แต่คุณงามความดีมันขจรขจายไป แล้วคนไปนับหน้าถือตา โอ้โฮ! มีปัญหาทั้งนั้น
แต่ท่านทําจนว่า ในประวัติหลวงปู่เสาร์ สมเด็จมหาวีรวงศ์ท่านไปขอขมา ขอขมาหลวงปู่มั่นน่ะ สุดท้ายแล้วต้องไปขอขมา ถ้าขอขมาแล้ว สังคมสงฆ์มันก็ร่มเย็นเป็นสุข
นี่ครูบาอาจารย์เราท่านมีอํานาจวาสนาบารมีของท่าน ไอ้เรานี่ยังไม่ทันบวชเลยนะ จะหาเรื่องใส่ตัวเยอะแยะเลย ยุ่งไปหมด แต่เราหาทางที่สะดวกสบายดีกว่า
นี่พูดถึงว่า “หากกระทําเช่นว่านี้แล้วสามารถทําให้ถึงนิพพานได้หรือไม่”
เราถึงว่าอาจจะ แต่จริงๆ แล้วไม่ได้บวช อาจทําได้ด้วย ไม่ได้บวช เห็นไหมพวกฆราวาสเขาทํา เขาได้อริยภูมิในใจเยอะแยะ
“๔. เมื่อทําให้แจ้งนิพพานแล้ว จําเป็นจะต้องกลับมาบวชให้ถูกต้องหรือไม่”
แสดงว่าเอ็งก็สงสัย มันก็เริ่มเรรวนตั้งแต่ตอนต้น เห็นไหม
“ถ้านิพพานแล้วต้องกลับมาบวชอีกหรือไม่”
อ้าว! ก็อยากจะบวชเพื่อได้นิพพาน ถ้าได้นิพพานแล้วกลับมาบวชทําไม เวลาจะไม่นิพพาน ไม่บวช พอนิพพานแล้วจะกลับมาบวชอีก เออ! ก็บวชตั้งแต่ตอนนี้ก็จบไง ไม่ต้องให้นิพพานแล้วค่อยมาบวชหรอก ก็บวชมันตั้งแต่ตอนนี้เลย อยากจะบวชก็บวชตั้งแต่ตอนต้นนี่แหละ แล้วมันได้มรรคได้ผลไปมันก็จบไง ไอ้นี่ไปกระเสือกกระสนให้มันทุกข์ยากซะ พอเป็นพระอรหันต์นิพพานแล้วจะกลับมาบวชอีก
ทิฏฐิของคนมันแปลกนะ ฉะนั้น ทําให้มันถูกต้องซะ แล้วเราหลบหลีกเอาไงเราเกิดมาในสังคมนะ เราเกิดมา เราปฏิเสธมนุษย์ไม่ได้ เพราะเราปฏิเสธตัวเราไม่ได้ เราเป็นมนุษย์คนหนึ่ง มนุษย์เป็นสัตว์สังคม บวชมาเป็นพระยังเป็นสังฆะต้องลงสามีจิกรรม ทําสามีจิกรรมร่วมกัน ลงอุโบสถร่วมกัน
เราหลีกความเป็นมนุษย์ของเราไม่ได้ เราหลีกหนีสังคมไม่ได้ ฉะนั้น เราพยายามหาช่องทางรักษาหัวใจเรา แล้วเอาหัวใจเราให้พ้นจากทุกข์ แล้วพ้นจากทุกข์แล้วจะมีหลักมีเกณฑ์ แล้วจะกลับมาคิดที่เราคิดนี่ พอเรามีสติปัญญา เรากลับมาคิดถึงที่เราคิดนะ เอ๊ะ! ทําไมเราคิดได้อย่างนี้ก็ไม่รู้เนาะ ถ้ามันผ่านไปแล้วนะมันจะบอกเลย อืม! ทําไมเราคิดได้อย่างนี้ก็ไม่รู้ แต่ตอนนี้มันคิดบอกคิดถูกๆ แต่พอมันผ่านไปแล้วนะ เอ๊ะ! ทําไมเราคิดอย่างนี้ก็ไม่รู้
ฉะนั้น ถ้าทําให้นิพพานจบแล้วก็คือจบ มาบวชใหม่อะไร บวชนั้นเป็นสมมุติแค่ทําพิธีกรรมเท่านั้นเอง ถ้าเราทําได้จริงนะ จบเลย แล้วถ้าทําได้จริงนะ อย่างที่ว่า มันก็จะไม่เกิดทิฏฐิอย่างนี้ ถ้าทําได้จริง มันราบ
หลวงตาบอกครูบาอาจารย์ราบกับธรรมวินัยพระพุทธเจ้ามาก หลวงปู่มั่นเคารพมาก เคารพธรรมวินัยนี่เคารพมาก แต่เวลาท่านพูด ท่านพูดสอนไง ท่านพูดสอน เห็นไหม ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐนะใส่ลิ้นชักไว้ เพราะกิเลสมันเอาไปหลอกใช้ กิเลสไปเอาธรรมะของพระพุทธเจ้ามาหลอกเรา แล้วบอกเป็นอย่างนั้นๆ สร้างภาพ แล้วเราก็ล้มลุกคลุกคลานไง ฉะนั้นเอาใส่ลิ้นชักไว้ อย่าไปคิดถึง แล้วทําให้เป็นความจริงขึ้นมา
ท่านพูดด้วยเทคนิค ด้วยการให้เราประพฤติปฏิบัติได้ง่าย ท่านไม่ได้ลบหลู่ท่านไม่ได้ดูถูก ท่านเคารพ ครูบาอาจารย์ที่ท่านมีคุณธรรมในใจ ท่านราบเลยศิโรราบพระพุทธเจ้าเลย เป็นไปไม่ได้หรอกที่คนที่มีคุณธรรมแล้ว แล้วกระด้างกระเดื่องกับธรรมวินัย เป็นไปไม่ได้
แต่ไอ้พวกกิเลสต่างหาก คิดไปคิดมาบอกว่าถ้าเป็นพระอรหันต์แล้วค่อยไปบวช
“๔. เมื่อทําให้แจ้งนิพพานแล้ว จําเป็นต้องกลับไปบวชให้ถูกต้องหรือไม่”
บวชซะตอนนี้ซะก็จบ ไม่ต้องถามเลย
“๕. การทําเช่นนี้จะเป็นบาปหรือไม่”
การทําเช่นนี้ เห็นไหม การทําเช่นนี้ ภาษาเรา พระพุทธเจ้าบัญญัติให้ทําอย่างนั้น เราทําแตกต่าง เห็นไหม กล่าวตู่พุทธพจน์ พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ ไม่ได้สอน แล้วเราไปบอกว่าพระพุทธเจ้าสอนอย่างนั้น นี่กล่าวตู่พุทธพจน์
ถ้ากล่าวตู่พุทธพจน์ ภิกษุกล่าวตู่พุทธพจน์ มีภิกษุสวดบอกถึง ๓ หน ให้เปลี่ยนความคิด ถ้าไม่เปลี่ยน เป็นอาบัติสังฆาทิเสส นี่ภิกษุนะ
แล้วว่าจะเป็นบาปหรือไม่
ถ้าเราไปบิดเบือนน่ะ บิดเบือนทั้งๆ ที่รู้นะ ไอ้นี่ไม่รู้ ไม่รู้หรอกว่าอุปัชฌาย์ก็พระพุทธเจ้าเป็นคนบัญญัติเอง อุปัชฌาย์อาจารย์ พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นมาพิธีกรรมบวชนี่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นมา แล้วถ้าเราเคารพพระพุทธเจ้า เราก็ทําตามนั้นน่ะ
เพียงแต่ว่าภิกษุที่บวชมาแล้ว ภิกษุที่กิเลสหนาเขาก็เอาสถานะของเขามาหาผลประโยชน์ ถ้าภิกษุที่เป็นครูบาอาจารย์ที่เทิดทูนธรรมวินัย ภิกษุที่ประเสริฐ ท่านพยายามจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ ท่านพยายามจะถนอมรักษา ท่านพยายามจะขนศาสนทายาท ท่านพยายามจะเกื้อกูล ภิกษุที่จะเกื้อกูลก็เยอะ ภิกษุที่หาผลประโยชน์ก็มีเพียงแต่เราจะทําอย่างไร
นี่เขาบอกว่าเขาบาปหรือไม่ ถ้าทําเช่นนี้จะบาปหรือไม่
ทําเช่นนี้ก็คือทําต่างจากที่พระพุทธเจ้าสอน เราพยายามทําให้มันถูกต้องซะเพียงแต่ว่า เราจะบอกว่าพอไปเห็นไง พอไปเห็นสังคมเป็นแบบนั้น สังคมเป็นแบบนั้นทําให้เราท้อแท้ เราก็คิดหาทางออกอย่างนี้ไง แต่ถ้าเราคิดให้ถูกนะ นั่นเป็นกรรมของสัตว์ เขาสร้างเวรสร้างกรรมของเขา เราปรารถนาคุณงามความดี แล้วเราทําความดีของเรา
นี่พูดถึงว่าเราจะเป็นอะไร ถ้าเราเป็นอะไรก็เป็นได้ตามความเป็นจริง แล้วเป็นได้ถูกต้องตามธรรมวินัยด้วย
อันนี้ก็อีกอย่างหนึ่ง อันนี้ยิ่งยุ่งใหญ่เลย เรื่อง “หายสงสัย” เขาว่าเขาหายสงสัยนะ โอ้โฮ! ตายเลย
ถาม : เรื่อง “หายสงสัย”
กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ หนูกราบเรียนถามหลวงพ่อเกี่ยวกับการปฏิบัติเจ้าค่ะ แต่ก็ยังสงสัย
หลวงพ่อ : ก็ไหนว่าหายสงสัยแล้วไง
ถาม : แต่ก็ยังสงสัยจึงกราบเรียนถามหลวงพ่อเจ้าค่ะ ตอนนี้หนูนั่งเฉยๆ หนูนั่งแล้วได้ยินเสียงดังๆ เป็นบ่อยๆ มีเกือบทุกวันเจ้าค่ะ แต่ล่าสุดนั่งแล้วได้ยินเสียงเหมือนอย่างเคย ดังมากๆ แต่คราวนี้ที่พื้นนั่งอยู่ไหวด้วยเจ้าค่ะ เกิดอาการทางจิตที่มีสมาธิใช่ไหมคะ และยังให้แสงด้วยตาเปล่าที่เคยกราบเรียนหลวงพ่อเจ้าค่ะและชาตินี้หนูจะมีบุญวาสนาปฏิบัติให้พ้นทุกข์ได้ไหมเจ้าคะ
ตอบ : ถ้าปรารถนาจะพ้นจากทุกข์นะ เราปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เห็นไหม เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โลกนี้จะไม่ว่างเปล่าจากพระอรหันต์เลย จะไม่ว่างเปล่าจากพระอริยบุคคล พระอริยบุคคลคือการประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ถ้าการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม สัจธรรมมันเป็นข้อเท็จจริงอยู่แล้ว แล้วเราประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือปฏิบัติสัจธรรมด้วยความเป็นจริง ถ้าด้วยความเป็นจริง เกิดกิจจญาณ เกิดกิจจญาณ กิจจากการกระทําของจิต จิตมันเกิดการกระทํา จิตเกิดจากการซักฟอก จิตเกิดจากอริยมรรค จิตเกิดศีล สมาธิปัญญาโดยข้อเท็จจริง โดยเนื้อหาสาระ ไม่ใช่โดยการจํา โดยการคาดหมายโดยจินตนาการ ถ้ามันเป็นสัจจะความจริง เห็นไหม ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม สมควรแก่ธรรม สมควรมันก็เป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเราบอกว่าเราจะพ้นทุกข์ ถ้าเราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
แต่นี้เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เสียงดัง แสงสีเสียงต่างๆ มันไม่สมควรแก่ธรรม มันไม่สมควรเลย มันเป็นหญ้าปากคอก มันเป็นเรื่องประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติใหม่มันจะมีอาการสั่นไหว อาการวูบ อาการ มีวิตก วิจาร ปีติ สุขเอกัคคตารมณ์ มันเกิด เกิดวิตก วิจาร
พุทโธ เวลาวิตก วิตกขึ้น พุทโธๆ นี่วิจาร เวลาเราเกิดปัญญาอบรมสมาธิ มันเกิดวิตก วิจาร เกิดวิตก วิจาร เกิดการพิจารณา เกิดการพิจารณาโดยโลกียปัญญา พอพิจารณาไปแล้ว พอจิตมันเริ่มเบาบางลง จิตมันเริ่มมีบาทฐานขึ้น มันก็เกิดปีติ ปีติมันก็มีความรู้ความเห็น นี่หญ้าปากคอกไง เกิดตัวสั่นไหว เกิดตัวพองเกิดความว่าง เกิดต่างๆ นี่มันเกิดปีติ
ปีติแล้ว คนมีปีติแล้ว “โอ๋ย! หลวงพ่อนี่มันอะไร ปีติมันซาบซ่านหมดเลย” มันความสุข เกิดปีติมันก็เกิดสุข เกิดสุขแล้วถ้าทําต่อเนื่องไป มันก็เกิดความตั้งมั่นของใจ ถ้าจิตใจมันตั้งมั่นขึ้นมา มันจะเป็นองค์ของฌาน องค์ของสมาธิ วิตกวิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ก็แค่นี้
ถ้าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไง ถ้าปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม สิ่งนี้มันเป็นไง แล้วหายสงสัย หายสงสัยในอะไร ถ้ามันเสียงดัง เสียงอะไรดัง เห็นแสงแสงนี่ตามันเห็น เรานั่งกันอยู่นี่ พระอาทิตย์ขึ้น โอ้โฮ! กลางวันคนทํางานเขาร้อนเขาต้องปิดลูกตา แสงสว่างจ้าเลย เขาปฏิเสธด้วย แสงยูวี ต้องทายากันแดดเลยเขาไม่ต้องการแสง เขาเห็นจนเบื่อ เห็นอยู่ทุกวัน เห็นตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่เห็นตื่นเต้นเลย เห็นแสงอะไร เสียงดัง เสียงอะไร
ใครมาภาวนาที่นี่ ก่อนหน้านี้ ทุ่มหนึ่งทุกคนเบื่อแล้ว รถขยะมันวิ่งมาโครมๆเสียงดัง เสียงดัง เสียงอะไร
รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ทีนี้การปฏิบัติไปมันปฏิบัติแค่นี้ ฉะนั้น ถ้าอันนี้แค่นี้เนาะ ต่อไปตัดทิ้งเนาะ เพราะว่าต่อไปก็พูดเยอะมากเลย เห็นนิมิตครูบาอาจารย์ เห็นนิมิตไปหมดเลย แล้วสุดท้ายสรุปลงว่า“เมื่อคืนนี้หลวงพ่อมาในนิมิต มาตรวจจิตหนู”
กูไม่ได้ไป กูไม่รู้เรื่อง กูไม่ได้ไปหรอก
นี่ไง เขาบอกหายสงสัย ถามหลวงพ่อมาตั้งแต่แสง เวลาเกิดแสง เกิดสี เกิดต่างๆ ขึ้นมา
ผู้ที่ปฏิบัติ เราอยู่ในวงปฏิบัติ เราสงสารคนปฏิบัติ ไปรู้ไปเห็นอะไร มีประสบการณ์อะไร เวลาพูดออกไป คนเขาจะดูถูก เหมือนคนบ้าคนบอ
ไอ้ที่เราพูดอยู่นี่ เราปกป้องคนที่ปฏิบัติ เวลาปฏิบัติมีคนคอยจาบจ้วง คอยทําลาย คนจะทําคุณงามความดี ให้คนทําดีคนหนึ่งแสนยาก ไอ้คนจะทําคุณงามความดีมีแต่คนคอยขัด คอยกีดคอยขวาง ไอ้คนจะทําความดีทําความดีไม่ได้เลยไอ้คนจะทําความดี คนทําความดีโดยวุฒิภาวะที่อ่อนด้อย ทําอะไรหยิบจับเล็กๆน้อยๆ ก็ว่าตัวเองทําดีๆ ทําดี เขาทํา
กรณีนี้มันเหมือนกับที่ว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โรงพยาบาลศิริราช สอนหมอไง ให้เห็นประโยชน์สาธารณะเป็นที่หนึ่งเห็นประโยชน์เราเป็นที่สอง ต้องเห็นผลประโยชน์สาธารณะเป็นที่หนึ่ง เห็นผลประโยชน์ของคนไข้ เห็นผลประโยชน์ของสังคมเป็นที่หนึ่ง ประโยชน์ของเราเป็นที่สอง
นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่าหญ้าปากคอก ไปรู้ไปเห็น เสียงดัง
ที่เราพูดนี่เราพูดเพื่อปกป้องคนที่ปฏิบัติ ทีนี้ปกป้อง เราปกป้องคนที่ชอบธรรม ปกป้องคนที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือสติสัมปชัญญะสมบูรณ์โดยสมบูรณ์ แล้วปฏิบัติโดยข้อเท็จจริง แต่โดยปกติ จิตของคน จริตนิสัยของคน จิตที่อ่อนไปรู้ไปเห็น ไปอะไรต่างๆ
การรู้การเห็น เห็นจริงไหม จริง แต่ความเห็นจริงไหม ไม่จริง ไม่จริงเพราะอะไร ไม่จริงเพราะมันเพ้อเจ้อ ถ้าการเห็นจริง จิตมันสงบแล้วมันสงบอย่างไร แล้วถ้ารู้ ถ้าคนเป็น คนบริหารจัดการเป็น คน ดูสิ นักบินอวกาศเขาบังคับจรวดไปอวกาศ เขาบังคับไปที่สถานีอวกาศ เขาไปเปลี่ยนสัมภาระ
นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตเราสงบแล้ว เราควบคุมได้ คนที่ปฏิบัติแล้วมันต้องมีวุฒิภาวะเจริญเติบโตขึ้น ปฏิบัติทีแรก จิตเรายังไม่มีสติสัมปชัญญะขึ้นมา พอไปรู้เห็นอะไร พอเห็นแล้วเราก็วางไว้ แล้วเราปฏิบัติต่อเนื่องไป ครั้งต่อไปมันจะดีขึ้นพอมันจะส่งออกไป เราก็มีสติเท่าทันความคิดเรา ถ้ามันจะแฉลบใช่ไหม เราก็พุทโธไว้ชัดๆ มันก็ไปไม่ได้ เห็นไหม เหมือนจูงสัตว์ เวลาจูงสัตว์ไป เราจับสายมันไว้แล้วสัตว์มันจะดื้อ สัตว์มันจะเอาแต่ใจมันน่ะ เราก็พยายามบังคับให้สัตว์นั้นเดินตามไปกับเรา
จิตก็เหมือนกัน ถ้ามันเสียงดังขึ้นมา แสงสีต่างๆ ไปไกลเลยตอนนี้ ไปถึงครูบาอาจารย์ ไปถึงหลวงพ่อมาตรวจจิตเลย หลวงพ่อมาเช็กจิตของหนูเลย
โอ๋ย! กรณีอย่างนี้มันจะต้องจบ เราปฏิบัติเพื่อสัจจะความจริงนะ ถ้าปฏิบัติแล้ว ถ้ามีความเห็นอย่างนี้ ถ้าความเห็นนิมิตต่างๆ ร้อยแปดพันเก้า แล้วก็จะบอกว่ามันเป็นความจริงๆ
มันเป็นความจริง ความจริงถ้าเราไปกราบครูบาอาจารย์ ไปกราบหวังพึ่งบารมีเพื่อบุญกุศลของเรา เห็นไหม เพราะเราบวชใหม่ๆ อยู่บ้านตาด เวลาบิณฑบาตกลับมา บาตรของหลวงตา พระทุกคนอยากจะอุปัฏฐาก คืออยากจะรับกลับมา แล้วสุดท้ายแล้วมันพระเยอะ ก็คนละเล็กคนละน้อยขึ้นมา คือทุกคนอยากได้บุญ
อยากได้บุญตรงไหน เพราะอยากได้บุญกุศลจากครูบาอาจารย์ของเราอยากได้ปัญญา เพราะครูบาอาจารย์ของเราท่านมีปัญญา เราก็อยากอุปัฏฐากอุปถัมภ์ท่าน เพื่อเวลาเราไปปฏิบัติแล้วเราอยากมีปัญญาอย่างนั้นบ้างไง อยากมีปัญญาแทงทะลุกิเลสเป็นชั้นๆๆ น่ะ แต่เรายังทําเองไม่ได้ เราก็หวังพึ่ง
เวลาหลวงตาบิณฑบาตกลับมานะ เราก็อยู่ด้วยนั่นน่ะ รับกันคนละนิดคนละหน่อย รับบาตรท่านมา ก็อยากจะทําอย่างนั้นน่ะ เพราะนิสัยหลวงตาท่านไม่เหมือนองค์อื่น องค์อื่น เห็นไหม เวลากลางคืนขึ้นมาก็ไปนวดเส้นไปอะไร หลวงตานี่ท่านไม่ให้เข้าใกล้เลย ไม่มีใครเข้าใกล้ สรงนํ้า ท่านสรงของท่านเอง ไม่ให้ใครสรงด้วย ธรรมดาที่อื่นมีสรงนํ้าครูบาอาจารย์ ต้องไปล้อมหน้าล้อมหลัง หลวงตาท่านไม่ให้เลย ท่านสรงของท่าน เราแค่เข็นนํ้าไปให้ท่านเท่านั้น แล้วอย่างอื่นท่านไม่ให้เข้าใกล้ ท่านไม่ให้เข้าใกล้ตัวท่านเลย ทั้งๆ ที่ท่านเป็นคนอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นวางธรรมและวินัยไว้ วางข้อปฏิบัติไว้ให้พวกเราปฏิบัติด้วยแต่เวลาท่านให้ปฏิบัติในหัวใจ ท่านให้เอาจริงของท่าน
ฉะนั้น สิ่งที่ปฏิบัติให้มันเป็นจริงในนี้ ถ้าเป็นจริงในนี้ ไม่ต้องบอกว่า “โอ๋ย! ไปกราบองค์นั้น ไปว่าองค์นั้นมาอนุโมทนาอย่างนี้ องค์นั้นมาอนุโมทนาอย่างนั้น”
โอ้โฮ! เหนื่อย เจออย่างนี้แล้วเหนื่อยเลยนะ ทั้งๆ ที่เวลาพูดนี่แหละ พูดเพื่อผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาปฏิบัติไป ที่ว่าหลวงปู่มั่นว่าแก้จิตแก้ยาก มันไปรู้ไปเห็นร้อยแปด แล้วรู้เห็นมันคืออะไรล่ะ แล้วนี่เวลาเขียนมาถาม เขียนมาถามหลวงพ่อเห็นสงเห็นแสง
ไอ้ที่เห็นสงเห็นแสง เวลาเราพูด เราพูดให้กําลังใจทั้งนั้นน่ะ เวลาเราบอกเราบอกว่าถูก พอถูก มันบอกมันเป็นพระอรหันต์แล้ว แล้วมันมาถาม “หลวงพ่อองค์นั้นเป็นพระอรหันต์แล้ว”
“ทําไมล่ะ”
“ก็หลวงพ่อบอกว่าถูก”
หา! กูยังงงเลยนะ
คําว่า “ถูก” คือปฏิบัติถูกต้องดีงามเท่านั้นน่ะ ถ้าเป็นปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เอ็งจะต้องรู้ตัวเอง ถ้าเอ็งยังไม่รู้จักตัวเองเลย คนอื่นจะมารู้จักเอ็งได้อย่างไร ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เอ็งจะได้ขั้นไหน เอ็งจะรู้ตัวเอง
ไอ้นี่ให้หลวงพ่อๆ เขาด่าหลวงพ่อกันทั่วบ้านทั่วเมืองนะมึง แล้วคนที่ไม่มีเครดิตอย่างหลวงพ่อนี่ไปรับประกันใครได้วะ กูยังรับประกันตัวกูไม่ได้เลย กูยังเอาตัวกูรอดไม่ได้เลย เขายังด่ากูทั่วบ้านทั่วเมืองเลย แล้วมึงบอกว่ากูนี่ไปตรวจเช็กให้มึงเป็นนั่นเป็นนี่ แล้วมันจะมีเครดิตได้อย่างไร เพราะว่าเครดิตกูมันไม่มีเขาด่ากู ๓ โลกธาตุ แต่บอกว่ากูไปรับรองเอ็ง กูไปตรวจจิตเอ็ง เออ! มันก็แปลกเนาะ
นี่พูดให้เห็นไง ให้เห็นว่า เราสังคมปฏิบัตินะ เราสังคมปฏิบัติ เราจะต้องปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คนที่ปฏิบัติธรรมเขาจะต้องมีสติ มีสมาธิ มีปัญญาการเดิน การเหยียด การคู้ เขายังมีสติปัญญา การพูดการจา การพูด เห็นไหมพูดพรํ่าเพรื่อ พูดเพ้อเจ้อ นี่เขาเรียกว่าคนไม่ใช่ปฏิบัติ คนปฏิบัติเขาสงวนคําพูดเล็กๆ น้อยๆ สื่อสารกันแค่พอรู้เรื่อง
อยู่บ้านตาด เวลาอยู่กับหลวงตานะ เขาไม่ให้พูดเลย เขาให้ใช้ส่งสัญญาณกัน กระแอมๆ คุยกันแค่นี้แหละ เหมือนคนใบ้ กระแอม ไอ้นั่นก็กระแอมๆ เอ๊ะ! คุยอะไรกันวะ เวลาอยู่บนศาลาเขาคุยกันอย่างนี้ บ้านตาดน่ะ กระแอมๆ
เขาไม่ให้คุยกัน เขาไม่ให้เพ้อเจ้อ คนปฏิบัติเขาจะมีสติปัญญาอย่างนี้ คําพูดเขาต้องมีเหตุมีผล พูดฟังแล้ว มันฟังแล้วมันเป็นเรื่องเป็นราว
ไอ้นี่พูด “หลวงพ่อส่งจิตไป”
ก็คนพูดบอกกูไม่เคยไป กูไม่ได้ส่งไป กูนั่งอยู่นี่ เพ้อเจ้อ
ทั้งที่เวลาเราพูด เราพูดเพื่อสังคมปฏิบัตินะ เรารู้ว่าจิตนี้มันแก้ยาก จิตนี้มันรู้เห็นร้อยแปดทั้งนั้นน่ะ เพราะคนปฏิบัติมันต้องผ่านอย่างนี้มาก่อน แล้วผ่านอย่างนี้มาก่อน เขาก็ตั้งสติควบคุมให้ดี พอดีแล้ว มันก็เป็นสัมมา สัมมาคือถูกต้องดีงามถูกต้องดีงามถึงจิตสงบมีกําลังแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา แล้วใช้ปัญญาไป ปัญญามันเกิดภาวนามยปัญญา ปัญญาเฉพาะของเรา ปัญญาเฉพาะเกิดจากภาวนามยปัญญา เกิดจากจิตชําระจิต ถอดถอนกิเลสในจิตดวงนั้น มีเฉพาะ เฉพาะจิตดวงนั้น ใช้จบแล้วก็คือจบ คนอื่นเอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ มันเป็นปัญญาเฉพาะที่เกิดที่นั่น ทําลายกิเลสในใจนั้น แล้วก็ดับลงที่นั่น มันไม่มีเหลือเผื่อแผ่ไปถึงใคร
มีแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยนี้ไว้เผื่อแผ่เรา ธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมๆ ธรรมคือสัจธรรมที่ท่านวางไว้เราศึกษาเอามาเป็นประโยชน์ แต่มันก็เป็นเฉพาะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชําระล้างกิเลสในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันก็ต้องเกิดศีล สมาธิ ปัญญา เกิดจากปัญญาเฉพาะในใจของเรา ไม่ต้ององค์นั้นมา องค์นี้มาๆ
เอ็งจะสร้างหนังหรือ ทวิภพสิ ไม่ใช่ เราปฏิบัติของเราตามความเป็นจริงนะถ้าเป็นจริงมันจบ
นี่มันไปใหญ่ไง เราตอบปัญหา ภาษาเรา เราก็เป็นพระองค์หนึ่งที่โดนเสียดสีมาพอสมควร นี่การประพฤติปฏิบัติ หลวงตาท่านบอกว่าท่านปฏิบัติแล้วท่านถึงไม่พูดกับใคร ถ้าพูดออกไป คนที่ไม่เข้าใจเขาหาว่าเราบ้า ถ้าคนที่สงสัยก็หาว่าเราขี้โม้
แต่ถ้าคนเป็น “เอ๊อะ! เอ๊อะ! เอ๊อะ!” คนที่ปฏิบัติเขาเป็น เขาอยาก “เอ๊อะ! เอ๊อะ!” เขาหาอยู่ไง “เฮ้ย! พูดถูก” คนเป็นร้องอย่างนี้เลยล่ะ ไอ้คนไม่เป็นว่าขี้โม้...ก็มันไม่รู้ มันไม่รู้ มันสัมผัสไม่ได้ มันจะรู้อะไร
แต่ถ้าคนรู้คนแสวงหานะ โอ้โฮ! ร้องเอ๊อะ! เอ๊อะ! เลย เอ๊อะ! เอ๊อะ! ไม่เอ๊อะธรรมดา ต้องหาองค์นี้ให้เจอ ต้องไปให้ได้ ต้องเข้าไปหาถึงท่าน ถ้าคนเป็นนะ แต่คนไม่เป็น อีกเรื่องหนึ่ง
แต่ไอ้คําถามนี้ “หายสงสัย” มันเพ้อเจ้อ เพ้อเจ้อจนเราไม่อยากจะพูด พูดไปแล้วมันไม่เป็นประโยชน์ไง ฉะนั้นถึงว่า ถามหลวงพ่อมาเยอะแล้วแหละ ทีนี้ก็ถามหลวงพ่ออีก
ฉะนั้น เราถึงว่าจะเป็นอะไรไง จะเป็นอะไร จะทําอะไร ให้มีสติสามัญสํานึกให้เป็นถูกต้องดีงาม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เอวัง