ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

จริง

๑๗ ต.ค. ๒๕๕๘

จริง

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “พระบิณฑบาตยืนให้พรเป็นอาบัติทุกกฏ

กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ วันนี้โยมเห็นมีคนโพสต์ลงในเฟซบุ๊กว่า พระบิณฑบาตยืนให้พรเป็นอาบัติทุกกฏจริงหรือไม่เจ้าคะ ก็เห็นพระวัดบ้าน พระในเมืองก็ยืนให้พรกัน แต่ก็ยังไม่เคยเห็นพระวัดป่าให้พรหลังจากตักบาตรแล้วค่ะขอโอกาสหลวงพ่อพิจารณาด้วย

ตอบ : ไอ้กรณีนี้พูดถึงว่า พระบิณฑบาตยืนให้พรเป็นอาบัติทุกกฏจริงหรือไม่จริง

จริง จริงแน่นอน ยืนให้พรเป็นอาบัติทุกกฏ ทีนี้เพียงแต่ว่ากรณีนี้มันเป็นคำถามเขาเขียนในเฟซบุ๊กนะ ไม่ใช่พระสงบโจทขึ้นมา ไม่ใช่ มันเป็นคำถามอยู่ในเฟซบุ๊ก แล้วเขาไปเจอเข้า แล้วเขาเขียนมาถามว่าพระบิณฑบาตยืนให้พรเป็นอาบัติทุกกฏจริงหรือไม่

จริง จริงเพราะอะไร จริงเพราะมันอยู่ในเสขิยวัตร เวลาสวดปาฏิโมกข์ เสขิยวัตร ภิกษุแสดงธรรม คฤหัสถ์นั่งอยู่ เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าพูดถึงเว้นไว้แต่คนป่วยถ้าคนป่วย ภิกษุยืนแสดงธรรม คนป่วยเขาป่วย อย่างนั้นอนุโลม แต่ถ้าเขานั่งอยู่เรายืนอยู่ การยืนอยู่คือการแสดงความเคารพ ในสมัยพุทธกาล เวลามีผู้ใหญ่เข้ามาในหอประชุม ทุกคนจะยืนขึ้น เวลาพระประธานจะจุดธูปจุดเทียน พระทั้งหมดต้องพนมมือ บางวัดยืนขึ้น การยืนขึ้นคือความเคารพ

แล้วเรายืนอยู่ เราแสดงธรรม การให้พรคือการแสดงธรรม เพราะว่า ยถาฯมันเป็นการที่ว่าเมื่อก่อนเวลาเขาให้พร ให้พรคือให้แสดงธรรม พอให้แสดงธรรมแสดงธรรมกันไม่ได้ พอแสดงธรรมไม่ได้ สังคมไทยเขาถึงเรียบเรียงบทยถาฯ นี้ขึ้นมา แล้วให้พระท่องจำ ท่องจำ เวลาใครใส่บาตรก็ให้พร ให้พรคือการแสดงธรรม

การแสดงธรรมอย่างนั้นเป็นอาบัติทุกกฏจริงหรือไม่

จริง เป็นอาบัติทุกกฏเพราะมันเข้าองค์ประกอบ มันเข้าองค์ประกอบของเสขิยวัตร เข้าองค์ประกอบในศีล ๒๒๗ ครบองค์ประกอบเลย เป็นอาบัติชัวร์ๆ มันเป็นอาบัติชัวร์ๆ

ฉะนั้น เขาบอกว่า เห็นแต่วัดบ้านเขาทำ ไม่เคยเห็นวัดป่าเขาทำเลย

วัดป่านะ สมัยหลวงปู่มั่น สมัยหลวงปู่มั่นอยู่ที่หนองผือ เวลาบิณฑบาตที่หมู่บ้านแล้วมันกลับมามันหลายกิโล พอหลายกิโล เขาจะมีศาลาบิณฑบาตอยู่ที่ชายหมู่บ้าน เวลาหลวงปู่มั่นท่านไปบิณฑบาตกลับมาแล้ว ประชาชนเขาจะมารวมกันที่ชายบ้านนั้น ข้างหมู่บ้านนั้น แล้วชาวบ้านเขาจะทำเป็นหอบิณฑบาต คือเขาทำเป็นศาลาน้อยๆ ไว้ หลวงปู่มั่นท่านจะมานั่งลง มันเป็นเหมือนกับทำศาลาทำแคร่ไว้ ทำแคร่ไว้ให้พระนั่ง พอพระนั่งแล้ว หลวงปู่มั่นท่านจะให้พร

แต่ให้พร ท่านไม่ใช่ยืนให้พร ท่านจะไม่ให้พรพร่ำเพรื่อ ท่านบิณฑบาตเสร็จแล้ว บิณฑบาตเสร็จแล้วไม่ให้โยมตามมาวัด ไม่ให้โยมตามมาวัด แต่เขาทำแคร่ไว้ ทำร้านไว้ให้บิณฑบาต พระป่านะ เวลาไปบิณฑบาตที่ไกลๆ เวลากลับมา เขานัดกัน ถ้าเราไปอยู่อีสานบางหมู่บ้าน ไปอยู่บางที่ บิณฑบาตมันไกลมาก พอไกลมาก ให้ประชาชน ให้ชาวบ้านเขาเดินมาครึ่งทาง พระเดินไปครึ่งทาง ไปเจอกันตรงนั้น แล้วบิณฑบาตเสร็จแล้วมันมีศาลาอยู่ที่นั่น เขาก็จะให้พรที่นั่น ต้องนั่งลงไง นั่งลง เพราะการแสดงธรรมคือว่าการเคารพธรรม

พวกเรามันใกล้ชิด มันคุ้นชิน เวลาการแสดงธรรมๆ แสดงธรรมคือเหมือนเรา เวลาให้ธรรมชนะซึ่งการให้ทั้งปวง ให้ธรรมะ ให้ธรรมะคือให้ปัญญา การแสดงธรรมคือการให้ปัญญา การให้ปัญญา ผู้ที่รับฟังนั้นถ้ารับฟังด้วยความเคารพ มันจะได้คุณประโยชน์ ถ้ารับฟังด้วยความเหยียดหยาม รับฟัง แต่เขาไม่เคารพ ไม่เคารพคือมันดูถูกไง นรกก็ไม่มี สวรรค์ก็ไม่มี นิพพานก็ไม่มี พระก็พูดไปพร่ำเพรื่อ เห็นไหม นี่คือไม่เคารพ ไม่เคารพคือมันต่อต้าน มันไม่เป็นประโยชน์หรอก

ฉะนั้น ถ้าเป็นประโยชน์นะ เวลาหลวงตาท่านจะบอกว่า ถ้าใครฟังเทศน์ของท่านโดยไม่มีความเคารพ ท่านจะไม่เทศน์เลย ก่อนที่หลวงตาจะเทศน์ ท่านจะหลับตา หลับตา ท่านกำหนดจิตดูว่ามันควรแสดงอย่างใด ควรทำอย่างใด แล้วถ้าคนไม่เคารพ พูดไปมันมีการต่อต้าน การต่อต้านไม่เป็นประโยชน์เลย ฉะนั้นย้อนกลับไปในธรรมวินัย ถ้าคนมีศรัทธามีความเชื่อ เขาจะเคารพของเขา

ฉะนั้น สิ่งที่ว่ามันครบองค์ประกอบ พระบิณฑบาตแล้วยืนให้พรเป็นอาบัติทุกกฏ

จริง จริง แล้วจริง ทำไมพระเขาทำกันทั่วบ้านทั่วเมืองล่ะ ทำกันไปหมดเลยทำไปหมด เห็นไหม อันนี้มันเหมือนกับผู้ที่เป็นบัณฑิตเขามีความทุกข์กังวลในหัวใจนะ เวลาวัยรุ่น มันภาษาวัยรุ่น ภาษาของมันเขาเรียกว่าภาษาวิบัติ ไอ้พวกที่เป็นนักภาษาศาสตร์เห็นวัยรุ่นมันพูดภาษาสมัยใหม่ เราก็ไม่รู้กับเขาหรอก เพราะเราก็ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น

นักภาษาศาสตร์เขาเป็นทุกข์เป็นร้อนว่าภาษาวิบัติ มันจะเสียหายไปข้างหน้าภาษาไทยมันจะคลาดเคลื่อน ฉะนั้น เวลาเขาก็เป็นห่วงไง พวกอนุรักษ์นิยมเขาก็รู้สึกว่าเป็นห่วงเป็นกังวลมาก ฉะนั้น ไอ้พวกที่เขาเป็นหัวสมัยใหม่เขาบอกว่าภาษามันเหมือนสิ่งมีชีวิต มันเปลี่ยนแปลงตลอด มันมีวิวัฒนาการของมัน ถ้ามันมีวิวัฒนาการของมันนะ มันเคลื่อนไหวตลอด

ทีนี้การเคลื่อนไหว ภาษาวัยรุ่นมันเป็นภาษาสมัยใหม่ เดี๋ยวมันก็หายไป แต่หลักภาษาของเรา เราต้องมั่นคง เห็นไหม ภาษาศาสตร์ ภาษาวัยรุ่นมันจะมีภาษาแสลงมาตลอด ถ้าใครบัญญัติศัพท์ไหนแล้วติดตลาด แหมคนนั้นมีหน้ามีตามากฉันบัญญัติศัพท์ อู๋ยศัพท์ใหม่ นี่ภาษาวัยรุ่น นี่ภาษาศาสตร์ มันมีวิวัฒนาการของมันไง ถ้ามีวิวัฒนาการของมัน แต่ภาษาไทยมันก็ยังอยู่เป็นภาษาไทย ไอ้ภาษาที่มันเป็นภาษาวัยรุ่น มันมาชั่วคราวๆ ไอ้นี่มันเป็นความชั่วคราวนะ

ประเพณีวัฒนธรรมของเรามันเหมือนเป็นสิ่งมีชีวิต มันมีวิวัฒนาการของมันมันมีวิวัฒนาการของมัน ถ้าวิวัฒนาการของมัน มันจะเปลี่ยนแปลงของมันไป แต่โดยหลักเราก็ต้องมีศีลธรรม เราเป็นชาวพุทธ เราก็ต้องระลึกพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์เป็นหลัก ถ้าเป็นหลักมันจะเป็นความจริงอย่างนี้ ถ้าเป็นความจริงอย่างนี้

ทีนี้สิ่งที่วิวัฒนาการของวัฒนธรรมประเพณี ประเพณีวัฒนธรรมมันมีสิ่งมีชีวิตมันเปลี่ยนแปลง แต่เปลี่ยนแปลงอย่างนี้ มันเปลี่ยนแปลงแล้วมันต้องมีหลักเกณฑ์ของมัน มันไม่ให้เปลี่ยนแปลงจนถอนรากถอนโคน วิวัฒนาการของมันมี แต่มันก็ต้องมีจุดยืนของมัน มันมีจุดยืนของมัน สิ่งที่มาชั่วคราวๆ ชั่วคราวมันก็เปลี่ยนแปลงของมันไป แต่หลักการยังอยู่ อันนี้พูดถึงประเพณีวัฒนธรรม เรื่องภาษาศาสตร์ เรื่องหลักการมันก็มีของมัน นี่วิวัฒนาการนะ

เพราะเวลาเราไป โยมเขาถาม เวลาเขาโต้แย้งกันเขาบอกว่า สมัยพุทธกาลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ให้สร้างพระพุทธรูป ไอ้ที่สร้างพระพุทธรูปนี่ผิดหมดเลย ผิด ผิดทั้งนั้น เพราะมันไม่มีอยู่ในสมัยพุทธกาล เขามาถามเรานะ

เราบอกว่า มันเป็นวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตสิ่งใดที่เข้มแข็ง สิ่งใดที่เข้มแข็งกว่า มันมีวิวัฒนาการ มันเจริญกว่า ไอ้ที่อ่อนด้อยก็ต้องตายไป นี่ก็เหมือนกัน วิวัฒนาการ วิวัฒนาการของพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ มีคนพยายามจะสร้างสิ่งเคารพ ท่านไม่ให้ ท่านบอกถ้าสร้างสิ่งเคารพแล้ว สิ่งนั้นมันจะเป็นเป้าหมายของคน แต่ธรรมะมันสูงมาก ธรรมะมันละเอียดอ่อนกว่าเราจะรับสิ่งที่ว่าเป็นสัญลักษณ์ มันทำให้คนที่จะเดินทางมันไขว้เขวหมด เพราะอะไร เพราะสัจธรรมมันเป็นความจริง ฉะนั้น สมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ ท่านไม่ให้ทำ ทีนี้ไม่ให้ทำ พอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว มันถึงว่าคนเวลาเคารพบูชาเขาถึงได้ทำของเขา

ทีนี้บอกว่า ถ้าพระพุทธรูป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้ทำทำไมพวกเราทำกันล่ะ

พวกเราทำ พวกเราทำมันก็ต้องมีสติมีปัญญา เพราะอะไร เพราะเป็นสัญลักษณ์ เป็นสิ่งที่เราเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลวงปู่มั่นท่านแกะพระพุทธรูปเองเลย แล้วท่านเคารพบูชาของท่าน ท่านระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ท่านไว้เป็นสิ่งระลึกอยู่

ทีนี้สิ่งระลึกอยู่ ถ้าเรามีคุณธรรมในหัวใจต้องมีสิ่งระลึกข้างนอกด้วยหรือ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมนะ อนุปุพพิกถา พูดถึงคนที่เขายังเข้าถึงไม่ได้ นั่นระดับของทาน มันมีระดับของทาน ระดับของศีล ระดับของภาวนา ถ้าระดับของทาน ให้เขาฝึกหัดทำทานของเขา ทำทานแล้วได้บุญกุศลบุญกุศล จิตใจมันเบา ถ้าเวลามันเกิดโดยสัจจะ โดยที่เราไม่ต้องไปโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของชาร์ลส์ ดาร์วินเลย มันวิวัฒนาการของมัน

ถ้าจิตมันเบา จิตมันวิวัฒนาการของมัน มันมีบุญกุศลของมัน เวลามันตายไปมันก็ลอยขึ้นสูง ถ้าจิตคนที่มันมีแต่ความโลภ ความโกรธ ความหลง จิตมันหนักหน่วง เวลาตายมันจะไปไหนล่ะ มีแต่ความอาฆาตมาดร้าย เวลามันตายมันจะไปไหน มันชัดเจนของมัน ถ้ามันชัดเจนของมัน ถ้าระดับของทาน ถ้าเขาทำทาน บุญกุศลของเขา จิตเขาเบา จิตเขาลอยขึ้นที่สูงคือเทวดา อินทร์ พรหม ถ้าเทวดาอินทร์ พรหม ถ้าทำบุญกุศลได้เกิดเป็นเทวดา อินทร์ พรหม เกิดเป็นเทวดา อินทร์พรหม ให้ถือเนกขัมมะ ถือเนกขัมมะแล้วท่านถึงเทศน์อริยสัจ

จิตใจของคนมีวิวัฒนาการของมัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงแสดงธรรม ถึงแสดงอริยสัจ เริ่มต้นขึ้นมา คนที่หยาบๆ ขึ้นมา แสดงอริยสัจ ทุกข์สมุทัย มันกดถ่วงไง คนเรามันทุกข์อยู่แล้วใช่ไหม พอคนเราทุกข์อยู่แล้ว พูดเรื่องทุกข์มันยิ่งทุกข์หนักเข้าไปอีก คนเราทุกข์อยู่แล้ว ท่านพูดถึงบุญกุศล พูดถึงอะไรจิตของมันมีการเคลื่อนไหว แล้วบอกว่าข้อเท็จจริงมันเป็นแบบนั้นน่ะ เป็นเรื่องอริยสัจ นี่ทุกข์ประจำธาตุขันธ์ ทุกข์ประจำของเรา

คนเรามันมีความบกพร่องในใจ แล้วเราก็ไปชี้แต่สิ่งที่เป็นความบกพร่องในใจ มันก็ยิ่งทุกข์ซ้ำทุกข์ซ้อนใช่ไหม แต่คนเราที่มันมีความทุกข์อยู่ในใจ ใช่ มีความทุกข์อยู่ในใจ แต่ทุกข์นี้ถ้าพูดถึงมันเป็นธรรมนะ ทำจิตของมันให้จิตมันเบาจิตของมันมีสัมมาสมาธิ ถ้ามันย้อนกลับมาแล้ว มันไม่ใช่ว่า ทุกข์ของเรามันมีทุกข์อยู่แล้ว แล้วไปทุกข์ซ้ำทุกข์ซ้อน

ทุกข์ของเรามันมีอยู่แล้ว มันเป็นความจริง มันเป็นอริยสัจ แต่เรามีสติมีปัญญา สติปัญญา จิตที่มีอิสรภาพ จิตที่เป็นสัมมาสมาธิ มันมีหลักเกณฑ์ของมันแล้วมันย้อนมามอง เออถ้าเราไปติดข้องอยู่อย่างนั้น ผลของวัฏฏะมันก็เหยียบย่ำหัวใจเราอยู่อย่างนั้น ถ้าเราเอาจิตใจของเราพ้นออกมาเป็นอิสระ พ้นจากการกดถ่วงของมัน เห็นไหม จิต ถ้าทุกข์นั้นเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา มันก็กดถ่วง มันก็เป็นปมด้อย แต่ถ้าจิตของเราออกจากความกดถ่วงอันนั้น ออกมาเป็นอิสระ เป็นสัมมาสมาธิ แล้วมันกลับไปดูขึ้นมา ไอ้ปมด้อยเลยกลายเป็นปมเด่นเลย

ไอ้ปมด้อย เพราะปมด้อยอันนี้ทำให้เรากดถ่วงใจ แต่พอจิตมันสงบแล้วมันไปเห็นเข้า โอ้โฮเห็นธรรม เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง เห็นอริยสัจ เห็นทุกข์ ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ ทุกข์ควรกำหนด ไอ้ที่มันเป็นปมด้อยที่มันกดถ่วงเรา เรากำหนด กำหนดจิตใจให้มันปลอดโปร่ง ให้มันพิจารณาของมันไป เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดถึงเรื่องทาน เรื่องศีลเรื่องภาวนา

ฉะนั้น สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ สิ่งที่เป็นตัวแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระพุทธรูป เป็นสัญลักษณ์ ถ้าเป็นสัญลักษณ์ มันก็ต้องมีคนที่มีปัญญา มันจะเป็นประโยชน์

เวลาไปหาหลวงตา หลวงตาจะถามว่า มากราบพระๆ กราบถึงพระไหม

เพราะมันเป็นวิทยาศาสตร์ โลก เด็กๆ มันท้วงติงพ่อแม่มันทั้งนั้นน่ะ พ่อแม่พาลูกมาวัด ไอ้ลูกมันเพิ่งเรียนวิทยาศาสตร์มาไง “ไปทำไมวัด พระก็มาจากคนพระพุทธรูปก็มาจากอิฐหินปูนทราย มันก็เกิดมาจากทองเหลือง” มันก็คิดแบบวิทยาศาสตร์ไง “เออเรานี่มีปัญญาเนาะ เรามองทะลุเลย พระพุทธรูปที่หล่อมานี่มันเป็นทองเหลือง เอ๊แล้วพ่อแม่เราเป็นพ่อแม่เรามากราบทองเหลืองทำไม เออกราบทำไมทองเหลือง” นั่นคิดแบบวิทยาศาสตร์

แต่หลวงตาท่านบอกว่า กราบถึงพระไหม กราบถึงพระคือกราบถึงเมตตาธรรม ถึงปัญญาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อันนี้เป็นแค่สัญลักษณ์ รูปเคารพเป็นสัญลักษณ์ แต่เรากราบถึงปัญญาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้น ที่เกิดอาสวักขยญาณทำลายกิเลสในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น สตฺถาเทวมนุสฺสานํ สอนเทวดา อินทร์ พรหมทั้งหมด

แม้แต่เทวดา อินทร์ พรหมเขายังไม่รู้เรื่องอย่างนี้เลย แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้เรื่องอย่างนี้ แล้ววางไว้สอนพวกเราไอ้ตาดำๆ ให้ศึกษา ไอ้เราศึกษาเราก็ว่าทองเหลือง

ทองเหลืองมันเป็นแร่ธาตุ เขาก็หล่อขึ้นมาเป็นทองเหลือง ทองเหลืองเขาไปทำเป็นเครื่องยนต์กลไกเยอะแยะไปหมด แต่นี่เราเอามาหล่อเพราะเรามีวัฒนธรรมไง เรามีวัฒนธรรมของเรา เราหล่อ เราหล่อขึ้นมาเป็นรูปเคารพ คนที่จิตใจ ระดับของทาน ระดับของเด็ก “ไปวัดไปทำไม

ก็ไหว้พระ

แล้วไหว้ที่ไหน

ก็ไหว้ตรงนี้ไง ไหว้พระพุทธรูปนี่ไง

มันเป็นวิธีการสอนเด็กให้มันโตขึ้นมาไง นี่วิวัฒนาการของดาร์วิน

เพราะเขาบอกว่า เวลาเขาหล่อ พระพุทธรูปไม่มีก็หล่อ หลวงพ่อบอกว่าหล่อได้

เวลาภิกษุ พระบิณฑบาตแล้วยืนให้พรเป็นอาบัติทุกกฏ ทำไมบอกว่าเป็นอาบัติล่ะ

มันเป็นอาบัติเพราะมันครบองค์ประกอบไง มันเป็นอาบัติเพราะมันเป็นกฎหมายไง กฎหมายคือเสขิยวัตร เสขิยวัตรเท่าไร ๗๕ เสขิยวัตรมันศีล ๒๒๗ปาฏิโมกข์สวดทุก ๑๕ วัน นี่คือกฎหมายบังคับใช้ไง แล้วบังคับใช้แล้ว แล้วทำไมเป็นอย่างนี้ล่ะ ทำไมพระเราเป็นอย่างนี้ล่ะ

เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าเวลาเป็นพระผู้ใหญ่ กรณีนี้นะ เวลาพูดเรื่อยๆ ไปมันยาว มันยาวเพราะอะไรรู้ไหม มันยาวเพราะว่าสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์เวลาเจ้าเมืองเชียงใหม่มานิมนต์เจ้าคุณอุบาลีฯ ขึ้นไปเผยแผ่ธรรม ขึ้นไปเผยแผ่ธรรมนะ เจ้าคุณอุบาลีฯ ขึ้นไป ไปนี่มันเผยแผ่ธรรมหลายกรณี มันทับซ้อนกันเรื่องของลัทธิอื่นด้วย เรื่องของพระในพระพุทธศาสนาด้วย

เวลาเจ้าคุณอุบาลีฯ ขึ้นไปทางเชียงใหม่ ขึ้นไปเชียงตุง เพราะตอนนั้นมันอยู่ในการปกครอง มันเกี่ยวถึงกัน เจ้าคุณอุบาลีฯ ไปเห็นพระขี่ม้า พระกินเหล้าวัฒนธรรมของทางเหนือเขา เขากินข้าวเย็นนะ ตอนเย็นเขากินข้าวได้

แล้วพอธุดงค์ไป เวลาพระธุดงค์ไปเมื่อก่อนนะ ธุดงค์ไปแล้วต้องเห็นวัฒนธรรมเขา เราธุดงค์ไป พอตกเย็นเขาจะมีถาดผลไม้มาแล้ว มาถวายพระ ด้วยพระเดินธุดงค์มาเหนื่อยมาก ทุกข์ยากมาก อยากจะได้บุญ อยากจะอุปัฏฐาก ทีนี้อุปัฏฐาก เขาเอาพวกผลไม้มาให้ ถ้าเราไม่รับหรือเราไม่ฉันของเขา เราทำลายน้ำใจเขาไหม เขาเคารพนะ เขารักของเขา แล้วเขาเห็นว่าเราทุกข์ยาก เดินมาไกลเดินมาลำบากมาก แต่วัฒนธรรมของเขาไง วัฒนธรรมของเขา เขาเป็นอย่างนั้นไง

ทีนี้เจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านขึ้นไปนะ ท่านเข้าไปวางรากฐานไง ส่งพระจากเชียงใหม่มาเรียนในกรุงเทพฯ มาเรียนในกรุงเทพฯ มาเรียนถึงธรรมวินัยว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ นี่มันพัฒนามาเยอะแล้วนะ ถ้ามันไม่พัฒนามาเยอะ สมัยก่อนนั้นเวลาขึ้นไป เพราะว่าดูประวัติเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านไปเห็นพระ พระในเชียงตุงขี่ม้า กินเหล้า เหมือนในหนังจีนน่ะ พกดาบ แล้วเราเห็นพระทำอย่างนั้น เราตกใจไหม ถ้าเราเห็นพระทำอย่างนั้น เราตกใจ แต่พอมันพัฒนาขึ้นมาแล้วไง มันพัฒนาขึ้นมาแล้วนะ

แล้วสมัยครูบาศรีวิชัย เพราะครูบาศรีวิชัย เพราะเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านขึ้นไปไปอยู่ยุคเดียวคราวเดียวกับครูบาศรีวิชัย แต่ก่อนที่ครูบาศรีวิชัยจะถึงยุคนี้ ทางพระบ้านเขาจับครูบาศรีวิชัยต่างๆ แล้วส่งมากรุงเทพฯ ส่งมากรุงเทพฯ สมเด็จสมณเจ้าฯ สอบแล้ว สอบแล้วว่ามันไม่ผิด ส่งกลับขึ้นไป

เราจะบอกว่า ประเพณีวัฒนธรรมแต่ละพื้นถิ่น ถ้าคนเราไม่มีสติปัญญาขึ้นไปมันแรง คือว่าคนเขาเชื่ออย่างนั้นไปหมดเลย แต่เราไปเห็นถูกเห็นผิด เราจะไปฝืนได้ไหม นี่มันเป็นวัฒนธรรมพื้นถิ่น นี่ไง เวลาบวชแล้ว ถ้าศึกษาเรื่องนี้ไป เราจะเข้าใจเลยว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ แล้วถ้าศึกษาได้อย่างนี้แล้ว ฝ่ายปกครอง พระบวชมาแล้วมันมีการศึกษาไง บวชมาแล้วเขาต้องเรียนนักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก อะไรมันศึกษาแล้วมันก็ต้องรู้ถูกรู้ผิด แต่ทำไมจิตใจของพระมันอ่อนแอ อ่อนแอ เห็นแก่โลกธรรม  เห็นแก่การสรรเสริญ เพราะอะไร เพราะพระเราเวลาบิณฑบาต ถ้าเจอสังคมอย่างนี้ เวลาสังคมอย่างนี้เขาบอกว่า ใส่บาตรแล้ว ปันพรๆ

คือปันพรต้องให้พร ถ้าไม่ให้พรคือไม่ได้บุญ แล้วพระจะฝืนกับกระแสอย่างนี้ได้ไหม เพราะว่าเวลาพระธุดงค์ไปมันจะมีประสบการณ์อย่างนี้ เวลาเขาใส่บาตรเสร็จแล้วเขานั่งลงเลย “ปันพรๆ

ภาษาเขาว่าปันพรคือขอแบ่ง ปันพรต้องให้พร ถ้าให้พรก็เป็นอาบัติทุกกฏแล้วเขาก็ปันพร เขาก็เชื่อของเขาอย่างนั้น เขาทำของเขาขึ้นมาอย่างนั้น ถ้าเขาทำอย่างนั้นปั๊บ ถ้ามันมีการศึกษาแล้ว การศึกษาแล้วมันก็ต้องแยกแยะว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง อะไรปลอมหรือไม่ปลอม อะไรทำได้หรือทำไม่ได้

ถ้าอย่างนี้นะ ถ้าเราทำกัน จะว่าเราทำกันโดยความเห็นโดยส่วนตัว แต่ถ้าทำโดยที่สาธารณะ ทำที่คนเห็น มันผิดไหม เหมือนกับเจ้าหน้าที่รัฐ แล้วถ้าทำผิดกฎหมายนี่ผิดไหม ผิด แล้วนี่เสขิยวัตรก็ท่องกันอยู่ทุกวัน อุโบสถก็ลงทุกวัน เสขิยวัตร ภิกษุยืนอยู่ ภิกษุยืนอยู่ แสดงธรรม มันมีมาหมด บิณฑบาตเป็นวัตร บิณบาตเป็นวัตรมันอยู่ในเสขิยวัตรทั้งหมด ถ้าอยู่ในเสขิยวัตรทั้งหมด คือว่าธรรมวินัยมันบังคับไว้ บังคับไว้ แล้วเราทำอย่างไร

ฉะนั้น สิ่งที่เขาบอกว่า สิ่งที่ว่าพระบิณฑบาตยืนให้พรเป็นอาบัติทุกกฏจริงหรือไม่

จริง ทีนี้จริงแล้วทำไมเขาทำกันทั่วไปล่ะ ทำกันทั่วไป ถ้าทำกันทั่วไป เขาบอกว่า แล้วพระป่าไม่ทำ เขาเห็นแต่พระในเมืองเขาทำอย่างนั้น พระป่าไม่ทำ

พระป่าก็ทำ ผู้ถามรู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นพระป่าหรือใครไม่เป็นพระป่า เวลาพระตอนเช้าออกบิณฑบาตเหมือนกันหมด แล้วอันไหนเป็นพระป่าหรือไม่เป็นพระป่า

พระป่าหรือพระบ้านนี่นะ มันก็พระเหมือนกันนั่นแหละ เพียงแต่ว่ามันก็ธรรมวินัยอันเดียวกัน เพียงแต่ว่าเราประกาศตนว่าเป็นพระป่าแล้ว พระป่าคือพระที่ปฏิบัติ พระบ้านคือว่าเขาก็เป็นพระเหมือนกัน แต่เขาศึกษาเล่าเรียนมา เขาเป็นฝ่ายปกครอง นี่พระวัดบ้าน วัดบ้านเขาก็ปฏิบัติได้ ถ้าคนที่ปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติจริงนะ

ทีนี้คำว่า “พระป่า” ใช้คำว่า “พระป่า” ตียี่ห้อเข้าไปว่าพระป่าแล้วทำอะไรจะถูกไปหมด...ไม่ใช่ มันก็ธรรมวินัยอันเดียวกันนี่แหละ แล้วพระป่าที่ไม่มีจุดยืนมันก็ไปตามเขา มันก็จะให้พรไปตามเขา ถ้าให้พรไปตามเขา

เราจะไม่ให้พรเขา เราจะอธิบายอย่างไรให้เขาเข้าใจได้ ถ้าเราไปบิณฑบาตนะ บิณฑบาตแล้วไม่ให้พร เดินไปเลย พรุ่งนี้เช้าบิณฑบาตไปนะ เขาไม่ใส่หรอกเขาไปใส่องค์อื่นแล้ว เขาไม่ใส่

เพราะพระเวลาปฏิบัตินะ ไปอยู่ที่ไหนจะไปเผยแผ่ธรรม ถ้าเริ่มต้นไปมีทิฏฐิมีมานะ ไปถือตัวถือตนว่าเราทำถูกต้อง ถ้าเราทำถูกต้องนะ เราจะเผยแผ่ธรรมเผยแผ่ไม่ได้หรอก เขาไม่เปิดรับ เขาไม่สนใจ

แต่ถ้าเขาจะเปิดรับนะ เราไปทางนั้นแล้วเราค่อยๆ บอกเขา เราค่อยๆ บอกเขาว่าอะไรผิดอะไรถูก ถ้าคนรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เขาจะได้คิด เพราะทุกคนต้องการความถูกต้อง ไม่มีใครต้องการความผิด ไม่มีใครต้องการบาปกรรม ทุกคนต้องการบุญทั้งนั้น

แต่ถ้าเวลาสังคมแบบนั้นน่ะ มันถึงบอก เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มงคล ๓๘ ประการ เกิดในประเทศอันสมควร ในประเทศอันสมควรในประเทศที่ถูกต้องดีงามไง เกิดในประเทศอันไม่สมควร ประเทศไม่สมควร ที่เราบอก ทางภาคเหนือนี่ไปอย่างหนึ่งนะ ในประเทศพม่าเขาก็มีความเชื่อไปอีกอย่างหนึ่งนะ เราเป็นเถรวาทเหมือนกันนี่แหละ เพราะอะไร

เพราะหลวงปู่ชอบ ในประวัติของหลวงปู่ชอบ ท่านไปในพม่า ไปบิณฑบาตไม่ได้กินหรอก แต่พระพื้นถิ่นเขาสงสาร เขามาดูบาตรหลวงปู่ชอบว่ามีอาหารไหมหลวงปู่ชอบบิณฑบาตไม่ได้อาหารเลย เพราะเป็นพระไทย บิณฑบาตแบบพระไทยคือเดินไปตามหน้าบ้าน ไม่เข้าบ้านเขา

ฉะนั้น พระพม่าเขาบอกว่า “ไป ไปตามผม ผมจะพาไป” หลวงปู่ชอบก็ตามเขา เขาเดินเข้าไปในบ้านเลย เดินเข้าไปในบ้าน เขาเดินเข้าไปในครัวเลย เขาตักบาตรกันอย่างนั้นนะ เขาตักบาตรกันอย่างนั้น เพียงแต่ว่าที่เราเห็น เราไปดูสถานที่ท่องเที่ยวเขาทำไว้แล้ว แต่พื้นถิ่นเขาเป็นอีกอย่างหนึ่ง

มีพระเรา เวลาพระเราไปพม่า เขามาเล่าให้ฟัง เราก็ไม่เคยไป เขาบอกว่าพอตกกลางคืนขึ้นมา ชาวบ้านเขามี โทษนะ พวกผู้หญิงเขาจะมานวดให้ เขานวดให้พระได้

อันนี้เขาจะมานวดให้พระเรา พระเราบอกไม่ได้ๆ ประเพณีของเราไม่ได้ๆ แต่ของเขา เขาทำกันจนเคยชินน่ะ ของเราไม่ได้ อันนี้ผิดไหม

ถ้าพูดถึงพระยืนบิณฑบาตแล้วเป็นอาบัติทุกกฏผิดไหม

ผิด เป็นอาบัติแน่นอน แต่ของเราไม่เคยขนาดที่ว่าให้ผู้หญิงมานวดให้ ไม่มีพวกเราทำกันไม่ได้ อย่างนี้เราเห็นชัด เราจะให้เห็นเป็นสเต็ปๆ ขึ้นมา ถ้าเป็นวิวัฒนาการของดาร์วินอย่างนี้ อย่างนี้มันไม่ใช่ วิวัฒนาการอย่างนี้มันไม่ใช่

วิวัฒนาการของดาร์วินมันพัฒนาการที่ดีใช่ไหม มันพัฒนาสิ่งที่แข็งแรงวิวัฒนาการของสายพันธุ์ สายพันธุ์ที่แข็งแรง สายพันธุ์ที่ว่ามันพัฒนาสายพันธุ์ของมันขึ้นไป ถ้าเป็นคุณงามความดี การทำคุณงามความดี เราว่าเป็นพัฒนาการที่มันจะเป็นคุณงามความดี แต่ถ้ามันไหลลงไปในทางกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ไอ้อย่างนี้เราว่ามันไม่ถูกต้อง ถ้ามันไม่ถูกต้อง

ทีนี้ถ้าย้อนกลับมา ย้อนกลับมาว่าพระป่าเขาไม่เห็นทำเลย

พระป่า เพราะอะไร เพราะมันมีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น มีครูบาอาจารย์เราพาทำมา เพราะสมัยก่อนนั้นเรื่อง กปฺปิยํ กโรหิ ก็ยังไม่มี ผ้านิสีทนะก็ไม่มี ทุกอย่างไม่มีหมด ตอนที่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านออกประพฤติปฏิบัติ พวกนี้ยังไม่มีทั้งนั้นน่ะ แล้วหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านไปดูไง ตั้งแต่สมัยพระจอมเกล้าฯพระจอมเกล้าฯ เห็นว่าธรรมวินัยในพระไตรปิฎกอย่างหนึ่ง แต่พฤติกรรมของพระที่ทำกันอยู่มันเป็นอีกอย่างหนึ่ง ท่านถึงพยายามฟื้นฟูๆ ไง ฟื้นฟูขนาดไหน เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านก็มาฟื้นฟูของท่านต่อเนื่องไป ต่อเนื่องแล้วท่านมีหลักใจด้วย เพราะหลักใจท่านพิจารณาของท่าน

ฉะนั้น ผ้านิสีทนะ กปฺปิยํ กโรหิ พวกวินัยที่เราถือกันอยู่นี่ ที่มันฟื้นฟูมานี่ มันก็ด้วยการฟื้นฟูของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านฟื้นฟูมา เพราะใครทำแล้วมันตัดสินใจไม่ได้ว่าถูกหรือผิดไง เพราะเวลาศึกษาขึ้นมาแล้ว บาลีๆ มันก็เหมือนภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษเวลาแปลมา แปลผิดแปลถูก แปลตามความเห็นของตัว แล้วพอแปลตามความเห็นของตัว แล้วสังคมมันก็มีความเชื่ออย่างนั้น สังคมก็ไปอีกอย่างหนึ่ง

แล้วคนที่จะมาเผชิญกับหลักความจริง สิ่งที่เราฟื้นฟูมานี่ สังคมไทย พระไทยพูดถึงถ้าคนที่ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้ระลึกถึงหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ไม่ได้ระลึกถึงครูบาอาจารย์เราที่ฟื้นฟูมานะ แล้วฟื้นฟูมานี่ ฟื้นฟูมาที่อุโบสถสังฆกรรม ทุกๆอย่างฟื้นฟูมาทั้งนั้นน่ะ

ถ้าพูดอย่างนี้แล้วมันสะท้อนใจอันหนึ่ง สะท้อนใจอันหนึ่งว่า เหมือนกับว่าพระป่าก็ชื่นชมพระป่ากันเอง เราถึงว่าเหมือนกับเราชื่นชมกันเอง แต่ต้องศึกษาก่อนสิ เราไม่ได้ชื่นชมกันเอง เราต้องการความจริง

เพราะเวลาใครบวชแล้ว ถ้าใครบวชนะ ใครบวชมา ตั้งใจว่าจะบวชแล้วจะปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทุกคนก็ต้องการเส้นทางเดินที่สะอาดบริสุทธิ์ เส้นทางเดินที่จิตใจนี้ให้พ้นจากทุกข์ได้ มันก็ยังศึกษา ศึกษาโดยที่เรามีตัวตนของเรา มันเป็นผู้ที่หวาดระแวงว่าจะจริงหรือไม่จริง ถ้าจริงๆ มันต้องศึกษา มันไม่ใช่พวกเขาพวกเราทั้งสิ้น แต่มันเป็นเพราะว่าเราตั้งใจว่าจะต้องไปให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ แล้วเส้นทางที่จะไป เราจะเชื่อใครได้ไง

พอมาศึกษาแล้วมันจะเห็นเลยว่า เส้นทางที่มา ใครเป็นคนฟื้นฟูมา เส้นทางที่มา ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระไตรปิฎกก็มี แล้วมันก็มีการนับถือความแปลกๆ เยอะแยะไปหมด นี่พูดถึงเราปฏิบัติถ้าหูตายังไม่กว้างไกล

ถ้าหูตากว้างไกลนะ ศึกษาไปตั้งแต่สมัยพุทธกาล เวลาพระกัสสปะทำสังคายนา เถรวาทๆ พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ แล้วพระผู้เฒ่าที่มา พระกัสสปะบอกเขาเอง บอกว่า บัดนี้พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้ทำสังคายนาแล้ว พระองค์นั้น จำชื่อไม่ได้ พระที่มีอาวุโสบอกว่า ที่สังคายนาแล้วก็ถือกันไป เราจะถือตามที่เราได้ฟังจากปากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

นั่นน่ะ พอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไป แตกเป็น ๑๘ นิกายแล้ว ๑๘ นิกายขึ้นไปเป็นมหายาน ขึ้นไปเป็นมหายานทางเหนือ นั่นน่ะ ไปแล้วมันแยกย่อยไปอีกเป็นวัชรยาน พอวัชรยานก็แยกย่อยไปอีก อาจริยวาท อาจริยวาทคืออาจารย์เป็นใหญ่แล้ว อาจารย์เป็นใหญ่มันก็เหมือนเกจิอาจารย์น่ะ ไปดูสิเกจิอาจารย์องค์ไหนเคร่ง เกจิอาจารย์องค์ไหนมีความเห็นอย่างไร มันก็เชื่อตามๆกันไปหมดเลย อันนี้เราต้องศึกษาว่า ถ้ามันเป็นอาจริยวาท มันเป็นความเห็นของผู้นำ แล้วถ้าผู้นำที่ดี ผู้นำที่แทงทะลุ ผู้นำก็อีกเรื่องหนึ่ง แล้วถ้าผู้นำที่ไม่มีปัญญาล่ะ

ฉะนั้น ของเราเถรวาท เรามีบาลี บาลีคือพระไตรปิฎกที่จดจารึกมา พระไตรปิฎกที่จดจารึกมา เราเชื่อกันตามนั้น ถ้าเราเชื่อกันตามนั้น มันจะย้อนกลับมาย้อนกลับมา พระบิณฑบาตยืนให้พรเป็นอาบัติหรือไม่

มันอยู่ในที่จดจารึกมานี่ มันอยู่ที่จดจารึกจากพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ เถรวาทนี่ ที่พระกัสสปะกับพระอานนท์ ครูบาอาจารย์ท่านทำสังคายนามา แล้วจดจารึกมา มันอยู่ในเสขิยวัตรนี่ อยู่ในที่เราสวดปาฏิโมกข์กันนี่ มันมีอยู่จริงไง มันมีอยู่จริง มันมีกฎอยู่จริง แล้วมันมีการกระทำอยู่จริง ฉะนั้น ถ้าเวลาครูบาอาจารย์เราท่านฟื้นฟูมา ท่านยึดตรงนี้ ท่านยึดตรงนี้แล้วเราจะทำให้เป็นแนวทาง มันเหมือนกับสิ่งที่สังคมเขาไม่เชื่อถือ สังคมเขารวนเร แล้วมีผู้นำคนหนึ่งจะทำให้สังคมมั่นคงขึ้นมา สังคมเขาไม่เชื่อหรอก

นี่เหมือนกัน มีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นขึ้นมา ท่านจะทำขึ้นมาให้มันเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา ถ้าไปอยู่ในสมัยนั้น เพราะหลวงตาท่านเขียนในประวัติหลวงปู่มั่นหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านออกธุดงค์ไป เพราะว่าท่านห่มผ้าสีกรัก สมัยนั้นเขาห่มแต่ผ้าสีเหลืองๆ ชาวไร่ชาวเขา เขาอยู่ในเขาของเขา พอเจอพระ เจอพวกนี้แม้แต่เด็กร้องไห้วิ่งหนีกันเลย เขาไม่เชื่อ ไม่ใช่ไม่เชื่อนะ เขากลัวด้วย เพราะอะไรเพราะมันห่มผ้าสีเหลืองกันหมดใช่ไหม ผ้าสีกรักยังไม่คุ้นตาเขา

แต่ในสมัยปัจจุบันนี้ ใครห่มผ้าสีกรักเป็นพระป่าๆ มันเลยไปอยู่ที่สีผ้า สีผ้าเราก็ไปโรงงานย้อมผ้า โรงงานย้อมผ้า พระอรหันต์เต็มเลย เพราะสีมันสีดำเลยไม่ใช่สีกรัก

มันไม่ได้อยู่ที่สี มันอยู่ที่ธรรมวินัย มันอยู่ที่การประพฤติปฏิบัตินี่ มันอยู่ที่นี่ถ้ามันอยู่ที่นี่ แต่คนที่จะทำมันต้องเข้มแข็ง ต้องมีอำนาจวาสนาบารมี จากคนที่เห็นพระยังวิ่งหนีเลย แล้วท่านทำอย่างไรจนให้คนเชื่อมั่น

เชื่อมั่น เห็นไหม พระไตรปิฎกมันมีมา ,๐๐๐ กว่าปีแล้ว แต่สังคมมันเหลวแหลก ดูสิ สังคมที่เขาไม่เชื่อถือมันไปอีกอย่างหนึ่งเลยนะ ทีนี้ของเรา ครูบาอาจารย์ท่านฟื้นฟูมาจนเป็นที่เชื่อมั่นของสังคมว่ามรรคผลนิพพานยังมีอยู่

แต่ในปัจจุบันนี้เวลาพระบิณฑบาตแล้วยืนให้พร มันมาจากทางเหนือ มาจากพระไทยใหญ่ เพราะเขาเชื่อกันอย่างนี้ ถ้าเขาเชื่ออย่างนี้ แต่เดิมเจ้าคุณอุบาลีฯสิ่งที่ว่าหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านไปแก้ไข พยายามส่งมาเรียน ส่งมาเรียนให้รู้จริง ให้แม่นในกฎหมาย ในธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่ถ้าคนอำนาจวาสนามันอ่อนแอ วัฒนธรรมเวลามันฟื้นฟูขึ้นมา มันกลบหมดเลย มันกลืนกินไปหมดเลย แต่ถ้ามีความเข้มแข็งนะ พระเรามีความเข้มแข็งอะไรถูกต้องนะ เราอยู่ที่ความถูกต้อง

ฉะนั้น อย่าว่าแต่ภาคเหนือเลย ตอนนี้มาเกือบทั่วประเทศไทย บิณฑบาตมาแล้วก็เล่นคอนเสิร์ตกลางถนนนั่นน่ะ ยถา วาริวหาฯ ไอ้คนฟังก็ชื่นใจ แหมบุญเยอะไปหมดเลย แล้วพระที่เขาบิณฑบาตแล้วเขาไม่ให้พรนั้น ไอ้คนที่ใส่บาตรได้บุญหรือเปล่า

นั่นน่ะได้บุญ ได้บุญเพราะปฏิคาหก เขาตั้งใจของเขามาแล้ว เขาทำบุญของเขาแล้วก็จบแล้ว บางคนนะ ลูกศิษย์ของเราบางคนบอกว่าเวลาพระให้พร เขาลุกหนี เขาไม่รับเลย พระหน้าแตก

ไอ้พระเวลาให้พร โอ้โฮรู้สึกว่ามันขลังนะ แหมใครๆ ก็มองเนาะ อ๋อมันดีมาก เวลาไปให้พรคนที่เขารู้นะ เขาไม่รับ เขาลุกหนีเลย เพราะเขารู้ว่านั่นน่ะมันเป็นความผิด มันเป็นความผิด เป็นความไม่ถูกต้อง

ถ้าจะให้พรก็กลับไปที่วัด ต้องนั่งลง ภิกษุนั่งลง โยมก็นั่งลงหรือโยมยืนอยู่ไม่ผิด แต่ถ้าภิกษุยืนอยู่ คือว่าเราเคารพเขา ผู้มีศีลไปเคารพฆราวาส เคารพคฤหัสถ์ แล้วแสดงธรรม มันผิดตรงนี้ มันเหมือนกับเราเคารพเขา เคารพเขาแล้วแสดงธรรม

ฉะนั้น ในเสขิยวัตรเว้นไว้แต่ผู้เจ็บไข้ได้ป่วย เพราะคนป่วย คนป่วยเขานั่งไม่ได้ เว้นไว้แต่คนป่วย เว้นไว้แต่คฤหัสถ์ป่วยหรือพระป่วย ถ้าพระป่วยนะ อย่างเช่นชราคร่ำคร่า พอร่างกายชราคร่ำคร่า เราจะทำอะไรให้มันถูกต้องเหมือนกับวัยรุ่นมันเป็นไปไม่ได้ ถ้ามันเป็นไปไม่ได้นะ มันเป็นอาบัติไหม มันก็เป็นอาบัติ แต่เราก็จะทำเฉพาะตน เฉพาะผู้ที่เจ็บไข้ได้ป่วยนั้น ถ้าพระป่วย

พระพุทธเจ้าทำอะไรเรียบง่าย แล้วให้ทำได้คล่องตัว ไม่ทำอะไรให้มันลำบาก แล้วทำอะไรแล้วมีขั้นตอนมาก พระพุทธเจ้า อะไรที่มันเคร่งครัด อะไรที่มันทำแล้วมันวุ่นวาย ไม่ใช่ธรรมวินัย ธรรมวินัยเรียบง่าย เรียบง่ายแล้วสะอาดปลอดโปร่ง ไม่มีสิ่งใดตกค้าง ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าเรียบง่าย

แต่ถ้าธรรมวินัยอะไรต้องพิธีกรรมเยอะ ไอ้นั่นไม่ใช่แล้ว ไม่ใช่ เพียงแต่ว่าพวกเราไม่ได้ศึกษาจริง ถ้าศึกษาจริงแล้วนะ จะรู้เลยว่าอะไรถูกต้อง อะไรไม่ถูกต้อง ถ้ามันไม่ถูกต้อง นี่พูดถึงว่าเวลาพระให้พรไง

นี่พูดวันนี้พูดยาวมาก พูดยาวมากว่า มันเหมือนกับของพื้นๆ ของที่ว่ามองให้ถูกก็ได้ มองให้ผิดก็ได้ แต่ที่ว่ามันของพื้นๆ มันทำให้ศาสนาแบบว่าเรียวแหลมเราใช้คำว่า “เรียวแหลม” นะ ศาสนานี้จะเรียวแหลม เพราะว่าในการประพฤติปฏิบัติตีความแล้วก็ทำไปเป็นโลกหมดไง พระพุทธเจ้าบอกว่า ,๐๐๐ ปีแล้วนะพระเราจะมีแค่ผ้าเหลืองเหมือนหูกระต่ายปักไว้เท่านั้นเอง

ตอนนี้เราก็ดูไปที่ญี่ปุ่น ดูไปที่เกาหลี พระที่ว่าเขาเป็นฆราวาสนะ ถึงเวลาจะทำพิธีกรรมก็มาห่มผ้าเป็นพระ ห่มเสร็จแล้วเขาก็เอาผ้าทิ้งไว้ กลับไปอยู่บ้าน พระของเขาเป็นอย่างนี้ พระญี่ปุ่น พระเกาหลีเป็นอย่างนี้มานานแล้ว เวลาเขามาทำพิธีกรรม เขาก็นุ่งห่มเป็นพระ พอเสร็จจากงานแล้วเขาก็กลับบ้าน เขาก็มีครอบครัว มันมีตัวอย่างให้ดูนะ

แล้วของเรา พระกับโยมก็เหมือนกัน ทุกอย่างก็เหมือนกัน วันหลังพระก็ไปอยู่บ้านไง ที่ว่าศาสนาจะเรียวแหลม เรียวแหลมเพราะว่าเราไม่มีระยะห่าง

พระก็คือพระ โยมก็คือโยม คฤหัสถ์ก็คือคฤหัสถ์ ภิกษุก็เป็นภิกษุ ภิกษุต้องอยู่ในอาวาส ภิกษุไม่ใช่ไปอยู่บ้านอยู่เรือน ถ้าอยู่บ้านก็เอาความสะดวกไง นิมนต์มาบ้านแล้วก็อยู่ที่บ้านซะเดือนหนึ่ง คราวหน้ามาสองเดือน คราวต่อไปอยู่นี่เลย นี่มันเรียวแหลมไปอย่างนั้น เพราะอะไรก็ได้ไง ทำอะไรก็ได้ อะไรก็ได้ ถ้าวิวัฒนาการอย่างนี้เราไม่เห็นด้วย ถ้าวิวัฒนาการทำเพื่อคุณงามความดีต่างๆ เราเห็นด้วย

ฉะนั้น มันมองตรงนี้ไง มันมองว่า สิ่งที่ธรรมวินัยมันยังชัดเจนอยู่ แล้วกรณีที่เกิดขึ้น ถ้าพูดถึงวัฒนธรรมประเพณีมันมาจากไหน ชุมชนนั้นเขาทำอย่างนั้นเพราะเหตุใด

อย่างของเรา อย่างเช่นวัดป่าเรา หลวงปู่มั่นท่านบิณฑบาตเสร็จแล้วท่านมาที่ศาลาบิณฑบาต ท่านให้พร อย่างเช่นเขาเดินทางทางเรือ เขาบิณฑบาตทางเรือเขาก็ให้พรได้ เพราะเขานั่งอยู่ในเรือ มันต้องดูความสมดุล ดูสถานที่ ดูกาลเทศะอะไรสมควรไม่สมควร เพราะองค์ประกอบของเสขิยวัตร องค์ประกอบของวินัยมันมี ก็จับอันนั้นเป็นตัวตั้ง แล้วเราทำเข้าองค์ประกอบหรือไม่เข้าองค์ประกอบ แล้วถ้าไม่เข้าองค์ประกอบ เราทำให้ถูกต้อง แล้วฝ่ายปกครองเขาต้องจัดการ ทีนี้มันลามจนเป็นของถูกไปหมดแล้ว ฉะนั้น พระองค์ใดทำถูกเป็นผิดแล้วกันแหละพระองค์ไหนบิณฑบาตแล้วไม่ให้พรนะ เป็นสัตว์ประหลาด ถ้าพระองค์ไหนบิณฑบาตแล้วให้พร เออไอ้นี่เป็นพระดี

ไอ้นั่นมันเรื่องของเขา แต่ของเรา เราไม่ให้ ถ้าจะให้ก็ให้ที่นี่ มาให้ที่นี่เท่านั้นฉะนั้น มันให้ มันต้องให้มันถูกที่ถูกทาง กาลเทศะมันจะเป็นประโยชน์ นี่พูดถึงว่าพระบิณฑบาตยืนให้พรเป็นอาบัติทุกกฏจริงหรือไม่ จริง เอวัง