เทศน์พระ

ใจเบา

๒๖ พ.ย. ๒๕๕๘

 

ใจเบา
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์พระ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

นั่นทางโลกนะ เราตั้งใจฟังธรรมของเรา ตั้งใจฟังธรรมให้หัวใจมีคุณธรรม ถ้าหัวใจมีคุณธรรมเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธจ้าท่านตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เห็นไหม หัวใจนี้เหมือนเสาศิลา ๘ ศอก ฝังดินไป ๔ ศอก พ้นดินมา ๔ ศอก จะลมพัดขนาดไหนมันไม่หวั่นไหวไปกับกระแสโลกไง

กระแสโลก เราเกิดมากับโลก เห็นไหม ถ้าเราเกิดมากับโลก เราต้องอยู่กับโลก คำว่าอยู่กับโลก นี่มันเป็นอนิจจัง มันมีการเปลี่ยนแปลงของมันตามกระแสของมัน ถ้าตามกระแสของมัน เห็นไหม ถ้าจิตใจของเราอ่อนไหว จิตใจเราอ่อนแอ มันจะไปตามเขา ถ้าจิตใจของเรามีหลักมีเกณฑ์ของเรา เห็นไหม จิตใจมันมีหลักมีเกณฑ์เพราะอะไร มีหลักมีเกณฑ์เพราะมันมีสัจธรรมในหัวใจ

ถ้ามีสัจธรรมในหัวใจ เห็นไหม นิโรธะ นิโรธความดับทุกข์ ความเข้าใจในทุกข์นะความเข้าใจในสัจจะความจริง สัจจะความจริงมันเป็นอย่างนั้น ถ้าสัจจะความจริงมันเป็นอย่างนั้น หัวใจเราเป็นความจริงอยู่แล้วนี่ สัจจะความจริงเป็นอย่างนั้น ความจริงกับความจริงมันเข้ากันได้ไง

แต่หัวใจเรามันจอมปลอม ถ้าหัวใจเรามันจอมปลอม สัจจะความจริงมันเป็นอย่างนั้น มันเป็นอนิจจัง มันมีการเปลี่ยนแปลงของมันอยู่ตลอดเวลา ความเปลี่ยนแปลงนั้น เห็นไหม เราไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้น เราไม่ยอมรับการกระทำนั้น นี่จิตใจของเรามันก็หวั่นไหว จิตใจของเรามันก็มีความหมักหมมในใจของมัน แต่ถ้าจิตใจของมันเป็นสัจจะความจริง ความจริงเป็นความจริง ความจริงมันเป็นความจริงของมันอยู่ดั้งเดิม ความจริงมันเป็นความจริงของมันอยู่แล้ว แล้วโลกมันเป็นความจริงของมัน โลกนี่เป็นอนิจจัง สิ่งใดเป็นอนิจจังสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็นอนัตตา พอเป็นอนัตตานะ สิ่งนั้นมันก็เปลี่ยนแปลงของมันไปโดยสัจจะความจริงของมัน

แต่หัวใจของเราถ้ามีคุณธรรมในใจ เห็นไหม นี่ที่เรามาฟังธรรมๆ เพื่อเหตุนี้ไง ฟังธรรมเพื่อหัวใจมันมีการกระทำ หัวใจมันมีการกระทำนะ มันมีจุดยืนของมัน มีสัจจะมีความจริง แต่ถ้าหัวใจมันไม่มีการกระทำ การกระทำของมันไม่เกิดขึ้น การกระทำมันไม่เกิดขึ้นมันเป็นโดยสัญชาตญาณ มันเป็นไปโดยกระแส โดยเงาของมัน โดยธรรมชาติของมัน ธรรมชาติของมัน มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันหวั่นไหวอยู่ตลอดเวลาในหัวใจของมันอยู่แล้ว

แล้วถ้าจิตใจของคน คนที่สร้างคุณงามความดีมาน่ะ จิตใจของมันมีจุดยืนของมันขึ้นมา ถ้าจิตใจมีจุดยืนของเราขึ้นมานะ สัจจะความจริงอันนั้นมันมีกิจจญาณ สัจจญาณ เป็นความจริงขึ้นมา ถ้าจิตใจของเรานี่มันอ่อนแอ ถ้าคนมันใจเบา หัวใจมันใจเบา เห็นไหม ดูสิ อารมณ์ความรู้สึกของคนเบาเหมือนปุยนุ่น นี่มันเลื่อนลอยไง พอมันเลื่อนลอยถ้ามันใจเบา ใจเบามันไม่มีจุดยืน ใจเบามันไปตามแต่อารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกมันเกิดจากกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ถ้าเกิดจากกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันก็สร้างภาพของมัน สร้างภาพของมันมีความต้องการของมัน

ถ้ามีความต้องการของมัน ความต้องการของกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันเป็นสมุทัย พอมันเป็นสมุทัยมันไม่มีแก่นสารอยู่แล้ว ถ้ามันไม่มีแก่นสารอยู่แล้ว ดูสิ เห็นไหม ดูสิ่งที่มันเป็นหวานเป็นลมขมเป็นยา มันหวานเป็นลม สิ่งที่มันเป็นอาหารมันเป็นสิ่งที่ล่อเด็ก เด็กมันชอบใจของมันมันก็ตื่นเต้นไปกับมัน

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่มันเป็นเหยื่อล่อ เหยื่อล่อของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เห็นไหม แล้วจิตใจมันอ่อนด้อย นี่จิตใจมันเบาเหมือนขนนก นี่มันเลื่อนลอย ความเลื่อนลอยของเราเห็นไหม พอเลื่อนลอยของเรานี่มันคิดเองเออเองตามความพอใจของตน คิดเองเออเองตามความพอใจของตนนี่ สิ่งที่เป็นความพอใจของตน สิ่งนั่นนะมันเข้ากันได้กับเรื่องกระแสโลกไง ถ้ามันเข้าได้กับกระแสโลกมันก็เลื่อนลอย เลื่อนลอยไปกับกระแสโลก นี่คนใจเบา

แต่ถ้ามันมีจุดยืนของมัน เห็นไหม เรามีสติ มีสมาธิ มีปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามีศีล สมาธิ ปัญญา คือความปกติของใจ เรามีจุดยืนของเรา เราจะไม่หวั่นไหวไปกับไปเขา ถ้าจิตใจของเรามันไม่หวั่นไหวไปกับเขานี่ กระแสมันพัดมาอย่างนั้น นี่กระแสของมัน กระแสของโลกมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของมันอยู่อย่างนั้น ถ้ากระแสของโลกมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราต้องมีจุดยืนของเรา

ถ้ามีจุดยืนของเรานะ โดยสัจจะโดยความจริงของเรา จุดยืนของเรา เห็นไหม จุดยืนอยู่ที่ไหน ศีล สมาธิ ปัญญา ความมีศีลของเรา เพราะความมีศีลของเรา เห็นไหม ถ้าเราไม่ทำผิดพลาดสิ่งใดมันก็ไม่ผิดศีล ถ้าความไม่ผิดศีลนี่ เห็นไหม ศีละคือความมั่นคง ถ้าจิตใจมันมั่นคงขึ้นมาแล้วมันไม่อ่อนแอ ไม่เลื่อนลอย ไม่เลื่อนลอยเหมือนกระแสโลกเขา ไม่เลื่อนลอยไปตามกระแสโลกเขา ถ้ามันมีจุดยืน จุดยืนมันเกิดจากเรานี้แหละ จุดยืนเกิดจากเรา

คนเกิดมาด้วยจริตนิสัย จริตนิสัยของคน เห็นไหม คนที่มั่นคงมันก็มั่นคงอยู่ภายใน คนจะนุ่มนวลๆ ก็ต้องมีจุดยืนของเรา คนที่หยาบกระด้างๆ ถ้ามีจุดยืนของเขา คำว่ามีจุดยืน มันการแสดงออกเรื่องหนึ่งนะ ความรู้สึกในหัวใจของเรา ความรู้สึกโดยหลักการของเรานี่อีกเรื่องหนึ่งนะ

ถ้ามีหลักการของเรา เรารักษาหลักการของเราเอาไว้ เวลามาบวชเรามีเป้าหมายมากันทุกคนล่ะ บวชมาแล้วเราจะปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ เราจะประพฤติปฏิบัติของเราตามความเป็นจริงของเรา ถ้ามันปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรา ความเป็นจริงของเรานี่ๆ ถ้ามันเป็นสัจจะความจริงจะเป็นของเรา แต่เวลาเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมและวินัยเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ เด็กน้อยไม่มีการศึกษา เด็กน้อยไม่มีความรู้ เด็กน้อยมันจะประกอบสัมมาอาชีวะได้อย่างไง จิตใจของเราเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ ถ้าไม่มีธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีหลักการของครูบาอาจารย์ข้อวัตรปฏิบัติขึ้นมาให้เราทำนี่ เราทำอย่างไง เราก็จับพลัดจับผลูไปทั้งนั้น แล้วจับพลัดจับผลูโดยคนใจเบา

คนใจเบานี่ สิ่งใดความรู้สึกความเห็นของเรามันเบาเหมือนขนนก ไม่มีสิ่งใดเลย มันเลื่อนลอย สิ่งที่เป็นฝุ่นผงลมพัดมันกระจายไปทั่ว ความรู้สึกนึกคิดของเรา สิ่งที่ว่าเป็นสัจจะความจริงของเรามันไม่มีอะไรเป็นความจริงขึ้นมาเลย ไม่มีสิ่งใดเป็นความจริง พอไม่มีความจริงขึ้นมา ใจคนมันเลื่อนลอยอยู่แล้ว มันก็อ้างเหตุนั้น อ้างเหตุนั้น เห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญา ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นความว่างเป็นการปล่อยวาง ปล่อยวางจนไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารเลยใช่ไหม ไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารเพราะมันเลื่อนลอยไง

นี่ไง คนใจเบา แล้วพอคนใจเบาแล้วนี่ด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยากยังไปยึดมั่นอีก เพราะความใจเบานี่อธิบายสัจธรรมด้วยความเห็นของตน ถ้าความเห็นของตน อธิบายสิ่งใดก็ได้ให้มันเลื่อนลอยไว้ แล้วคนที่ไม่มีจุดยืนเพราะอะไร เพราะว่ากระแสของสังคม สังคมมันเป็นเรื่องของโลก เรื่องของโลกไม่มีปัญญาจากภายใน

ถ้าไม่มีปัญญาจากภายใน ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก็ตีความเอาตามความเห็นของตน ถ้าความเห็นของตนนะมันคาดหมาย ความคาดหมายมันไม่มีองค์ความรู้ ไม่มีความจริง กิจจญาณ สัจจญาณมันไม่มี ถ้าไม่มีขึ้นมานี่ สังคมโลกเป็นแบบนั้น นี่คนใจเบาๆ เราเห็นว่าคนใจเบา คนที่ใจเบาเหมือนขนนกแล้วมันไม่มีจุดยืน กลับไปมองเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม สิ่งนั้นเป็นธรรมเพราะอะไร เพราะมันเลื่อนลอยจนมันไม่มีหลักการไม่มีเหตุผลที่จะพิสูจน์สิ่งใดได้

แต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราท่านมีจุดยืนของท่าน ท่านมีองค์ความรู้ของท่าน ท่านมีความจริงของท่าน ท่านมีความจริงของท่าน ท่านจะแสดงสัจธรรมออกมา แสดงสัจธรรมโดยความไม่ติดข้องจากภายใน มันมีจุดยืนแล้วมันไม่มีความติดข้องจากภายใน ภายในไม่มีความติดข้องอยู่แล้วนี่มันไม่มีสิ่งใด เห็นไหม ไม่มีสิ่งใดเข้าไปรื้อค้น “มารเอ๋ย เธอเกิดจากความดำริของเรา เราไม่ดำริถึงเจ้า เจ้าจะไม่เกิดบนหัวใจของเราไม่ได้อีกเลย” พญามารมันจะรื้อค้นจิตใจของครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอรหันต์ เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เธอค้นไปเถิด ค้นหาอย่างไงก็ไม่เจอ ค้นหาอย่างไงก็ไม่ได้ เขาไม่เห็นไง

นี่ก็เหมือนกัน คนถ้ามีการกระทำตามสัจจะความจริง มันมีองค์ความรู้ของมัน มีความจริงของมัน นี่มันเป็นความจริงจากภายใน มันปล่อยวาง มันเป็นสัจจะ มันเป็นนิโรธะ นิโรธความรู้แจ้งจากภายใน ถ้าความรู้แจ้งจากภายในอันนั้นนะเป็นความจริง ถ้ามันมีความรู้แจ้งจากภายในมันจะคลาดเคลื่อนไปไหน มันไม่คลาดเคลื่อนไปไหน มันไม่ใช่คนใจเบา คนใจเบาคนหลักลอย คนเลื่อนลอย ถ้าไม่มีสิ่งใดแล้วก็อ้างอิงว่ามีคุณธรรม อ้างอิงว่าสิ่งนั้นเป็นสัจธรรม ถ้าเป็นสัจธรรมเห็นไหม

นี่มันไม่มีสิ่งใดเป็นเหตุเป็นผล ถ้าเป็นเหตุเป็นผลนะ เวลาแสดงออกก็แสดงออกโดยที่ไม่มีจุดยืน แล้วจุดยืนมันก็เลื่อนลอยไปๆ นี่ปฏิเสธไปตลอด แล้วคนที่จะพิจารณาตามไป ในเมื่อพิจารณาตามไปถึงที่สุดแล้วนี่ ที่สุดแห่งความคิดแล้วมันตามไม่ทัน มันก็คิดว่าสิ่งนี่เป็นธรรมๆ เห็นไหม นี่คนใจเบา คนใจเบาไม่มีเหตุไม่มีผล ไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสาร แล้วคนที่เข้ามาศึกษานี่ไม่มีหลักเกณฑ์ขึ้นมาก็เชื่อความใจเบาอันนั้น ถ้าเชื่อความใจเบาอันนั้น เห็นไหม มันก็ไร้เหตุผล ไร้เหตุผลขึ้นไปมันก็เป็นเรื่องของกิเลสไง เป็นเรื่องของจินตนาการ

แต่ถ้าเอาความจริงล่ะ เอาความจริงของเรา เห็นไหม นี่เราเอาความจริงของเรา สิ่งใดที่เกิดขึ้นก็ยอมรับว่าเป็นจริง จริงตามสมมุติ มันต้องเริ่มต้นจากจริงตามสมมุติ มันมีอยู่จริง ชีวิตนี่มีอยู่จริง เราเกิดมาจริงๆ เราเป็นมนุษย์จริงๆ แต่มันเป็นมนุษย์นี่เป็นผลของวัฏฏะ เป็นผลของวัฏฏะนี่ การเวียนว่ายในวัฏฏะแล้วแต่เวรแต่กรรมที่มันเปลี่ยนแปลงมันไป ถ้ามันเรื่องเวรเรื่องกรรมที่เปลี่ยนแปลงมันไป เห็นไหม สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป แต่เราเอาสิ่งนี้เอาสิ่งที่มันเป็นสมมุตินี่ เราพยายามจะหาสัจจะความจริงโดยเป็นบัญญัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยบัญญัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ให้เริ่มต้นจากเจตนาของเรา

เจตนานี่เจตนาที่ดี ๆ เจตนานี่ เห็นไหม ดูสิ เวลาคนที่ใจเบา คนที่ไม่มีเหตุไม่มีผล เขาบอกว่า “ความรู้สึกนึกคิดนี่มันเป็นนามธรรม จับต้องสิ่งใดไม่ได้” แล้วก็ผลประโยชน์ทับซ้อนจากกิเลส เห็นไหม บังเงา บังเอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันไปอยู่เบื้องหลัง แล้วก็สร้างภาพ มันบอกว่าเป็นนามธรรมๆ ไง สิ่งนั้นกลายเป็นเรื่องของใจเบา คนที่เหลวไหล

แต่ถ้าเรามีจุดยืนของเรา เห็นไหม เราจริงตามสมมุติๆ เกิดมาจริงๆ อยู่ในครรภ์ของมารดา ๙ เดือนนะ ทุกข์จริงๆ นี่เวลาคลอดออกมาแล้วนี่ ถ้าพ่อแม่ไม่เลี้ยงมามันก็เติบโตขึ้นมาไม่ได้ พ่อแม่เลี้ยงดูเรามาให้การศึกษามาจนมีสติมีปัญญาขึ้นมา มีการศึกษา เห็นไหม ศึกษามาๆ จนอายุ ๒๐ ถึงจะบวชได้ พอบวชเป็นพระขึ้นมาแล้วเรามาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ภิกษุบวชใหม่ทนการสอนได้ยาก เพราะทนการสอน ฆราวาสธรรมๆ เรียกร้องสิทธิเสรีภาพ เห็นไหม สิทธิความเป็นมนุษย์ มนุษย์ต้องเสมอภาค ความเสมอภาคแต่กิเลสของคนมันกว้างขวางมันพยายามจะเอารัดเอาเปรียบกันก็ว่าเป็นสิทธิเสรีภาพ แต่เวลามาบวชเป็นพระขึ้นมานี่มันมีกฎ มันมีวินัย มันมีวินัยขึ้นมา เห็นไหม พอเจอวินัยตัวเองก็โดนกฎกติกาเข้ามาคอยควบคุม พอควบคุมขึ้นมานี่มันดิ้นร้น พอดิ้นรนขึ้นมานี่ก็เรียกร้องแต่สิทธิเสรีภาพ เรียกร้องถึงว่าความว่าง เรียกร้องคนใจเบาก็คิดว่า ธรรมะคือความไม่รับผิดชอบสิ่งใดนั่นคือธรรมะ สิ่งใดก็แล้วแต่นี่ปฏิเสธมันไปทั่ว สิ่งนี้เรามันไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลยนี่ มันเคยเวิ้งว้างๆ นี่ไง คนใจเบา

แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญา เราเกิดเป็นคน เราทุกข์เรายากมาแล้ว เกิดเป็นมนุษย์เกิดมาพบพุทธศาสนา พุทธศาสนา เห็นไหม นี่สอนถึงสัจจะความจริง ความจริงที่ไหน ที่ไหนเป็นความจริง ในพระไตรปิฎกมันเป็นสัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นขึ้นมาแล้วให้เราศึกษา พอเราศึกษาสิ่งนั้นมันก็เป็นธรรม มันเป็นสัจจะความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สิ่งที่เราศึกษานั้นศึกษาโดยทฤษฎี ศึกษาโดยภาคของความจำ ภาคของปริยัติ แล้วถ้าภาคของปริยัติแล้วเราศึกษามาแล้วเราศึกษามาเพื่อจะประพฤติปฏิบัติ แล้วเราจะประพฤติปฏิบัติเริ่มต้นตรงไหน จะปฏิบัติก็เริ่มต้นจากไหน เริ่มต้นไม่ถูกต้อง เห็นไหม แต่เราตั้งสติของเรา เรายอมรับความจริงของเรา เราเกิดเป็นคนจริงๆ แล้วเรามีจิตจริงๆ เรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของเราจริงๆ แล้วเราจะเริ่มต้นของเราด้วยความเป็นจริง ถ้าความเป็นจริง เห็นไหม มันก็มีความยอมรับความเป็นจริง ยอมรับนี่ถ้ามันจริงก็จริงตามสมมุติไง

จริงตามสมมุติก็จับข้อเท็จจริงขึ้นมานี่ ถ้าข้อเท็จจริงขึ้นมานี่ ตั้งสติขึ้นมา เราจะตั้งสติขึ้นมา มันก็เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เป็นการคาดหมายว่าต้องการทำอย่างนั้น เพราะสิทธิความเสมอภาค เขาทำได้เราก็ต้องทำได้ เขาจิตสงบเขามีสมาธิ เราก็ต้องมีสมาธิ เขามีปัญญา เราก็มีปัญญา แต่เวลาเขามีปัญญาขึ้นมาเขามีปัญญาตามข้อเท็จจริงของเขา แต่เวลาเรามีปัญญาของเรานี่เป็นสัญญา เวลาเป็นสมาธิๆ ก็เป็นการเหม่อลอย สมาธิเราก็เป็นการปฏิเสธการไม่รับผิดชอบ ไม่รับผิดชอบ เห็นไหม จิตมันเป็นของมันอย่างนั้น

นี่ไงมันจริงตามสมมุติ มันมีอยู่จริงๆ นั่นแหละ แต่เราจับมันเป็นความจริงขึ้นมาไม่ได้ พอเราจับความเป็นจริงขึ้นมาไม่ได้เราก็เคลมเอาโดยกิเลสของเรา ว่ามันเป็นอย่างนั้นๆ นี่ไงคนใจเบา คนใจเบาไม่มีหลักเกณฑ์ คนใจเบาไม่มีเหตุผล คนใจเบาไม่มีจุดยืน แล้วถ้าว่าเราใจเบาไปแล้วกิเลสมันก็สวมรอย สวมรอยว่าที่เราทำอย่างนั้นมันเป็นจริงๆ ทั้งนั้น แล้วพอเป็นจริงขึ้นมานี่ด้วยความใจเบาของเรา ด้วยความใจเบาของเรา เห็นไหม เพราะใจเบาของเรานี่เราไม่มีสติ เราไม่ได้คิดเปรียบเทียบคิดหาเหตุผล

ถ้ามันเป็นจริงๆ ทำไมเราสงสัย ถ้ามันเป็นจริงๆ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “จิตสงบแล้วมีความสุขมาก มีความสุขมาก” แล้วสงบแล้วนี่มันก็มีความสุขนี้แหละ แต่ความสุขนี้มันสุขแค่นี้เองเหรอ แล้วที่มันเวิ้งว้าง เวลามันชำระล้างให้มันสะอาด เห็นไหม ความว่าสะอาดๆ ในการใช้ปัญญา ที่ว่ามันเบา จิตมันเบา มันเป็นอย่างไง

อันนี้มันไม่เป็นอย่างนั้นนะ มันไม่เป็นอย่างนั้น คนใจเบาๆ นี่มันไม่มีเหตุมีผล แต่ถ้าเรามีเหตุมีผลของเรา เรามีจุดยืนของเรา นี่เรายอมรับความจริง เรายอมรับความจริงว่าเราเกิดมามีหัวใจ เรามีร่างกายอยู่แล้ว ร่างกายโดยสมองของเรานี่ เรามีสติปัญญาของเราอยู่แล้ว สติปัญญาอย่างนี้มันก็สติปัญญา เห็นไหมเชาวน์ปัญญาของคน เชาวน์ปัญญาของคน มีอำนาจวาสนาบารมีเขามีเชาวน์ปัญญาของเขา เขาทำสิ่งใดเขาประสบความสำเร็จของเขา ด้วยสติสัมปชัญญะของเขา เขาตรวจสอบของเขา เขาวิเคราะห์ของเขา เขาไม่เชื่อใครง่ายๆ เขามีเหตุมีผลของเขา ใครจะมาหลอกลวงเขาไม่ได้ นี่พูดถึงว่าโดยจริตนิสัยของเขาในทางโลก

แต่เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติของเรา เห็นไหม ครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ ท่านจะสิ้นกิเลสของท่านไปแล้วก็สาธุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาเป็นพระอรหันต์ เราก็สาธุ แต่ของเราๆ เราจะเอาความจริง เราเอาความจริงของเรา เราตั้งสติของเรา เราจะเอาความจริงของเรา ความจริงขึ้นมามันก็ต้องมีพื้นฐานขึ้นมาใช่ไหม เขาจะสร้างบ้านสร้างเรือนขึ้นมาเขาก็ต้องขุดหลุม ต้องมีเสาเป็นพื้นฐานขึ้นมา ต้องมีคานคอดินขึ้นมา เขาจะต่อยอดขึ้นไปๆ เขาจะสร้างของเขา

ไอ้นี่ของเราเราจะประพฤติปฏิบัติ ใจเราอยู่ไหน ใครเป็นคนปฏิบัติ ใครเป็นคนทุกข์คนยาก สิ่งที่มันจะปฏิบัติมันจะปฏิบัติอย่างไง ถ้ามันจะปฏิบัติของเรานั่นวิธีการทั้งนั้น วิธีการที่จะค้นคว้าเข้าไปหาสู่ใจของตน ถ้ามีวิธีการจะค้นเข้าหาสู่ใจของตน เห็นไหม ยอมรับความจริงอันนี้ให้ได้ก่อน ยอมรับความจริงว่ามันจริงตามสมมุติ หัวใจของเรามีจริงๆ นะ เวลาเราทุกข์ยากในหัวใจเรา เราทุกข์ยากจริงๆ

แล้วเวลาทุกข์ยากจริงๆ ขึ้นมาแล้ว เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือมีขันติธรรมขึ้นมาอดทนไว้ ความทุกข์มันเป็นอนัตตา ทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่ แล้วทุกข์ก็ดับไป มันก็แปรปรวนของมันอยู่อย่างนี้ เวลามันทุกข์มันดับไปขึ้นมา มันก็พอให้เราหายใจคล่องคอขึ้นมาหน่อยหนึ่ง เราก็ว่าเราพ้นจากทุกข์ เรามีอำนาจวาสนาที่เราจะฝืนทนไปได้ นี่ไง ความจริง ทุกข์มันก็เป็นอนัตตาของมันอยู่แล้วนะ มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป

ฉะนั้น เราจะเอาความจริงๆ ความจริงนะเรามีสัจจะ มีสัจจะเรามีสติของเรา เราค้นคว้านะ เวลามีสติขึ้นมานี่ เวลาเกิดๆ มาจากไหน เจตนามันเกิดมาจากจิต จิตของเรานี่ จิตของเราสติของเรามันเกิดกับเราขึ้นมานี่ ให้มันจริงตามสมมุติ ไม่ต้องบอกว่ามันเวิ้งว้าง มันปล่อยวางขนาดไหน อันนั้นเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาศึกษาๆ ปรมัตถธรรม ธรรมที่พ้นจากทุกข์ไง ธรรมที่พ้นจากโลก ปรมัตถธรรมธรรมที่เหนือโลก

เวลาเราศึกษาแล้วเราก็คิดสร้างอารมณ์อย่างนั้น แต่โดยพื้นฐานโดยตัวของเรา โดยตัวของเรา ถ้ามันหนักแน่นขึ้นมามันมีสติมีปัญญา มันมีจุดยืนของมัน เราพยายามทำความสงบของใจเราเข้ามา ถ้าทำความสงบใจเข้ามามันปล่อยวางอารมณ์เข้ามา เห็นไหม เสวยอารมณ์มันก็ไม่ส่งออก คำว่า “ส่งออก ส่งออก” ส่งออกเราคิดถึงสัญญาของเรานี่ ไปถึงสถานที่เราเคยอยู่เคยเห็น มันไปได้หมด จิตมันไปได้หมด

สถานที่ไม่เคยอยู่ไม่เคยเห็นแล้วศึกษามานี่เราก็คาดหมาย เทวดา อินทร์ พรหมเป็นอย่างไง เห็นไหม นี่ทิพย์วิมานเป็นอย่างไง มันส่งออกไปทั้งนั้น ถ้ามันส่งออกไป เราพยายามไม่ให้มันส่งออก เราก็ตั้งสติของเราให้มันหนักแน่น ถ้ามันหนักแน่นขึ้นมาตามความเป็นจริง ถ้ามันหนักแน่นขึ้นมาเห็นไหม เราตั้งสติของเราไว้

นี่ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ คำบริกรรมก็ได้ สิ่งที่คำว่าก็ได้ๆ เพราะมันเกิดจากจิตทั้งนั้นนะ ถ้ามันเกิดจากจิต คือนี้มีสติ ถ้ามีสติขึ้นมาความเพียรของเราก็เป็นความเพียรชอบ เห็นไหม เราเกิดมามีกายกับใจ มันเป็นความจริงอันนี้ สมมุติอันนี้เอาให้ได้ก่อน พื้นฐานของมันนี่ พื้นฐานของตัวตนของเรา พื้นฐานของความรู้สึกของเรานี่ ถ้ามันเริ่มต้นจากที่นี้ได้มันก็ก้าวเดินออกไปได้

แต่ที่การประพฤติปฏิบัติกันมาทั้งหมดพื้นฐานมันไม่ได้ เขาไม่เห็นพื้นฐานของตน คือสิทธิความเป็นมนุษย์ เวลาบวชเป็นพระขึ้นมานี่ เวลาอุปัชฌาย์ยกเข้าหมู่ เห็นไหม เราเป็นสมมุติสงฆ์องค์หนึ่ง เราจะทำสังฆกรรมกันอยู่นี่ทุกคนต้องศีลเสมอกัน เราบวชมาถูกต้องตามธรรมวินัยเหมือนกัน สังฆกรรมนั้นถึงสมบูรณ์ไง ถ้าสิ่งใดที่มันขาดตกบกพร่องไปนี่สังฆกรรมนั้น เป็นโมฆะ เป็นโมฆะเพราะอะไร เพราะว่าขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์ในภิกษุองค์ใดองค์หนึ่ง ถ้าภิกษุนี่สมบูรณ์โดยสมมุติสงฆ์

นี่ไงสิทธิความเป็นมนุษย์ สิทธิความเป็นพระมันมีสมบูรณ์ของมันอยู่แล้ว ถ้ามีความสมบูรณ์ของมันอยู่แล้ว ถ้าเราพุทโธ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธินี่ ถ้าจิตมันสงบเข้ามานี่มันก็สมบูรณ์ตามความเป็นจริงไง ตามเป็นจริงของบุคคลคนนั้น ถ้าตามความเป็นจริงของบุคคลคนนั้นมันจะมีกิจจญาณ สัจจญาณ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ถ้าเราไม่มีกิจจญาณ สัจจญาณ ไม่มีวงรอบ ๑๒ เราจะไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์” มันมีการกระทำอันนั้นขึ้นมาไง ถ้ามันมีการกระทำอันนั้นขึ้นมา เราก็จะกระทำแบบที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยนี้ไว้ให้เราฝึกหัดดัดแปลงตน

ถ้าให้เราฝึกหัดดัดแปลงตน เราก็จะเริ่มต้นจากทำความสงบของใจเข้ามา ทำความสงบของใจมันก็จุดเริ่มต้นไง จริงตามสมมุติๆ นี่ เรายอมรับความจริงว่าเราเกิดเป็นมนุษย์จริงๆ เราเกิดเป็นคนจริงๆ แล้วเราบวชเป็นพระนี่ อุปัชฌาย์ยกเข้าหมู่ก็ยกเข้าหมู่จริงๆ เราเป็นสมมุติสงฆ์จริงๆ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เห็นไหม “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” เราก็ยกจิตของเราพัฒนาขึ้นมาแล้ว เราพัฒนาจิตของเราขึ้นมา

ดูสิ เราบวชเป็นพระนี่ ผู้ที่นุ่งห่มธงชัยพระอรหันต์ ผ้ากาสาวพัสตร์ เราได้นุ่งได้ห่ม เราเป็นสมมุติสงฆ์ แต่ถ้าเป็นความจริงๆ มันเกิดจากภายใน เห็นไหม จิตมันไม่เบา จิตของเรานี่ใจไม่เบาเหมือนขนนก ไม่เบาจนไม่มีเหตุผลไม่มีหลักเกณฑ์ขึ้นมา เราจะจริงจัง จริงจังหนักแน่นมั่นคง ถ้าจริงจังหนักแน่นมั่นคง เขาบอกว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค ทำสิ่งนี้ไปนี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้ปล่อยวาง

การปล่อยวางมันจะปล่อยวางด้วยศีล สมาธิ ปัญญา มันจะปล่อยวางเกิดจากการภาวนามยปัญญา มันจะปล่อยวางจากมรรคญาณ มันจะปล่อยวางจากความเป็นจริง ไม่ใช่นึกเอาปล่อยวาง ศึกษาว่าปล่อยวางแล้วก็ทิ้งมันไปเลย ฉันไม่มี ฉันว่าง

คนใจเบา คนใจเบาไม่มีหลักการไม่มีเหตุผล ถ้าไม่มีหลักการไม่เหตุผลแล้วกิเลสมันบังเงา บังเงาแล้วก็อ้างสิ่งนั้นว่าเป็นธรรมๆ เพราะมันอ้างขึ้นมามันเป็นอ้างอิงทั้งนั้น พอมันอ้างอิงมามันก็เหลวไหล เห็นไหม มันเหลวไหลขึ้นไป เราจะไม่ทำจิตใจเบาเหมือนขนนก เราจะต้องทำจิตใจเราให้เหมือนขุนเขา มีความมั่นคงของเรา ถ้าปฏิบัติขึ้นมาถ้ามันเป็นความจริงก็ให้เป็นความจริงขึ้นมาเดี๋ยวนี้ พุทโธก็พุทโธจริงๆ ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิก็ให้มันสงบเข้ามา ถ้าสงบเข้ามานี่ เราเริ่มต้นฝึกหัดใช้ปัญญาของเรา ถ้าฝึกหัดใช้ปัญญาของเรา เราทำความเป็นจริงขึ้นมาแบบนี้ขึ้นมาได้ เห็นไหม เริ่มต้นมาจากเรานี่ มันจะมั่นคงดั่งขุนเขา

ศึกษามาขนาดไหนมันก็ศึกษามาเหมือนลมพัด สิ่งที่ความกระทบจากภายนอก แต่เวลามันเป็นความจริงขึ้นมา เห็นไหม ดูขุนเขาสิ เปลือกโลกมันทับซ้อนกัน เปลือกโลกมันกดดันกันมันทำให้เกิดยอดเขา มันดันขึ้นมาเป็นภูเขาสูงที่สุดในโลก จิตใจของเราถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา เห็นไหม ความรู้สึกของเรา โลกทัศน์ความเห็นของเรานี่มันไม่เคยได้สัมผัสอย่างนี้ ถ้ามันไม่เคยได้สัมผัสความสงบของใจเลย ถ้ามันไม่เคยสัมผัสกับธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย มันก็เร่ร่อน

แต่ถ้ามันได้สัมผัส นี้ไงกาลามสูตรไม่ให้เชื่อใครทั้งสิ้น เชื่อจากหัวใจดวงนี้ หัวใจที่มันปฏิบัติตามความเป็นจริง ถ้ามันได้สัมผัส เห็นไหม สิ่งที่สัมผัสธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือความรู้สึกของมนุษย์ ความรู้สึกของเทวดา อินทร์ พรหม สิ่งนี้มันเป็นความจริง เวลามันเป็นความจริงคุณธรรมมันเกิดจากตรงนั้น ถ้าคุณธรรมมันเกิดจากตรงนั้น ดูสิ ดูเทวดาสิ เทวดาที่เป็นพระอริยบุคคลกับเทวดาที่เป็นปุถุชน เป็นเทวดาเหมือนกัน นางวิสาขา เห็นไหม ดูสิ เป็นพระโสดาบัน นางวิสาขาตายแล้วไปเกิดที่ไหน ดูสิ เป็นเทวดาเป็นอริยบุคคลไง แต่ถ้าเป็นเทวดาปุถุชนๆ เพราะการทำคุณงามความดีของเขา เขาไปเกิดของเขา

นี่ก็เหมือนกัน เวลาทำความสงบของใจเราเข้ามา ถ้าใจมันสงบเข้ามานี่ จิตใจนี้มันได้สัมผัส สิ่งที่สัมผัสธรรมได้คือความรู้สึกของเรา ความรู้สึกนี่ ถ้าจิตใจมันเบา ใจเบาเป็นขนนก ใจเบาจนไร้หลักการ ถ้าเรามีจุดยืนของเรานี่ ทำความจริงของเราขึ้นมา เราอยู่กับหมู่อยู่กับคณะนะ ในพรรษาเราก็ขวนขวายของเรา หน้าที่การงานของเราๆ ก็ทำเป็นข้อวัตรปฏิบัติ เห็นไหม ในเมื่อเป็นสังฆะ ในเมื่อสังคมมันเป็นสงฆ์ คำว่า “สังคมเป็นสงฆ์” เราอยู่กันนี่อารามิกชนไม่มีบ้านไม่มีเรือน ไม่มีสิ่งใดทั้งสิ้น ถ้าไม่มีสิ่งใดทั้งสิ้น สิ่งที่ทำเห็นไหม

สงฆ์คณะหนึ่งมันก็เหมือนร่างกายๆ หนึ่ง ผู้นำที่ดี เห็นไหม ผู้นำที่ดีก็เป็นสมอง สมองนี่เห็นไหม ดูสิ สมองมันศูนย์ควบคุมศูนย์ประสาทใช่ไหม มันก็ทำให้ร่างกายนี่เคลื่อนไหวได้สะดวกสบายไง นี้ก็เหมือนกัน เราเป็นหมู่สงฆ์ เราเป็นสังฆะเป็นสิ่งที่เราอยู่ร่วมกัน เราก็ทำด้วยเจตนาที่เป็นกุศล ถ้าเจตนาที่เป็นกุศลเราทำสิ่งใดมันก็เป็นประโยชน์กับเราทั้งนั้น ถ้าใจมันเป็นประโยชน์

เริ่มจากตรงนี้ หมู่คณะเป็นสัปปายะ อาหารเป็นสัปปายะ สถานที่เป็นสัปปายะ ครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะ ถ้าเป็นสัปปายะมันก็มีโอกาสได้ประพฤติปฏิบัติ ถ้ามันมีโอกาสที่จะปฏิบัติปฏิบัตินะ เห็นไหม เวลาที่ปฏิบัตินะ เราเห็นหน้าที่การงาน มันต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ ต้องลงทุนลงแรงทั้งนั้น แต่เวลาภาวนาล่ะ ดูสิ สติปัญญาที่มันจะรักษาหัวใจนี่ เวลาพุทโธ พุทโธ เห็นไหม มันพุทโธเราอยู่หรือไม่ ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธินี่มันควบคุมใจของเราได้หรือไม่ เวลาเราอาบเหงื่อต่างน้ำทำหน้าที่การงานเหงื่อไหลไคลย้อยทำข้อวัตรปฏิบัติทำแล้วสบายใจ แต่ถ้ามันไม่ได้ทำขึ้นมา เวลาไปประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่มันวิตกกังวลไปทั้งนั้น แล้วเวลามันวิตกกังวลไปแล้ว นี่มันเกิดนิวรณธรรม ถ้ามันเกิดนิวรณธรรมนี่จะทำสมาธิก็ไม่ได้ จะใช้ปัญญายิ่งเป็นสัญญาไปทั้งหมดเลย สัญญาที่มันจำได้หมายรู้ ที่มันขัดแย้งในหัวใจนี่ แล้วมันก็เอาสิ่งนี้มายุมาแหย่

เห็นไหม คนใจเบา พอคนใจเบาขึ้นมานี่ สิ่งใดที่มันชอบใจกิเลสมันเอามาป้อนให้นี่ มันเสวยเต็มปากเต็มคำเลย แล้วเราก็กดถ่วงหัวใจ มันก็เกิดทุกข์ยากไง เพราะมันเสวยเต็มปากเต็มคำขึ้นมา มันก็โทสะทั้งนั้น มีโทสะ โลภะ โมหะ แล้วพุทโธลงไหมล่ะ ปัญญาอบรมสมาธิลงไหมล่ะ ถ้ามันมีสติปัญญา เห็นไหม เวลาเราทำหน้าที่การงานอาบเหงื่อต่างน้ำ ลงทุนลงแรงขึ้นมา แล้วก็ทำของเรา แต่เราเข้าทางจงกรมของเรามันก็สะดวกสบายของเราขึ้นมา ถ้าสะดวกสบายขึ้นมา เห็นไหม นี่งานของภิกษุ

นักรบ เวลานักรบนี่รบกับขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นักรบเราจะเข้าไปเผชิญกับสิ่งที่เป็นนามธรรม สิ่งที่สัมผัสธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือหัวใจของสัตว์โลก หัวใจของสัตว์โลก แต่ด้วยทางภาคปริยัติ เห็นไหม เขาสัมผัสธรรมด้วยสายตา สายตานี่อ่านตัวอักษร สายตานี่ศึกษา เขาใช้สายตาของเขา เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์มีหูมีตา อย่าให้เป็นหูกระทะ อย่าให้เป็นตาไม้ไผ่ สิ่งนี้เขาศึกษานี้เขาศึกษาอย่างนั้นเขาศึกษามาก็เพื่อเทียบเคียงในหัวใจของเรา ถ้าเขามีสติปัญญาพอนะ

แต่ถ้าเป็นคนใจเบาไปจำเขามา ครูพักลักจำ ถ้าครูพักลักจำมา แล้วถ้าเราฝึกหัดให้เป็นจริงขึ้นมา ครูพักลักจำอันนั้นมันก็เป็นประโยชน์กับเรา ครูพักลักจำ เอาแต่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก เที่ยวเอาแต่สิ่งนั้นมาเป็นสมบัติของตน มันไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย นี่ศึกษาโดยกิเลส คนใจเบานี่มันไม่มีเหตุมีผล มันทำสิ่งใดแล้วมันก็บอกว่า “อ้าว ก็รู้ก็เห็นมาเหมือนกัน ก็อยู่ด้วยกันมา” อยู่ด้วยกันมาด้วยการมีสติปัญญาหรือไม่ อยู่ด้วยกันมาโดยที่สติปัญญาขึ้นมา เขาคัดแยกคัดเลือกแต่สิ่งดีๆ

สิ่งใดที่มันเป็นสิ่งไม่ดีเขาคัดทิ้งไง ดูเวลาสิครูบาอาจารย์ หลวงตาท่านไปตรวจไปเยี่ยมตามวัด ไปเห็นที่พระเขาสะสม พระที่เขาไม่เคยดูแลหมู่คณะ ท่านคิดๆ ขึ้นมาในใจนะ “เราจะเป็นอย่างนี้ไม่ได้” เห็นไหมไปเห็นแล้วบอกว่า “เราจะเป็นอย่างนี้ไม่ได้” สิ่งที่เขาทำอยู่มันไปเห็นตำตา ก็ท่านไปเที่ยว ท่านไปดูไปเห็นมานะ “เราจะเป็นอย่างนี้ไม่ได้” แล้วพอจะเป็นอย่างนี้ไม่ได้ แล้วที่เราจะเป็น เราก็จะเป็นฝั่งตรงข้าม ได้สิ่งใดมาเห็นไหม ได้สิ่งใดมันเหมือนพ่อเหมือนแม่ มาถึงลูกหลานก็แบ่งปันเจือจานกันไป ถ้าแบ่งปันเจือจานกัน สิ่งที่หัวหน้าของเราเป็นธรรมนี่ ผู้ที่อยู่สัทธิวิหาริกอยู่ในโอวาทนะ เวลามันเข้าทางจงกรม เข้านั่งสมาธิแล้วมันปลอดโปร่ง มันสบายใจไง มันสบายใจว่ามันไม่มีใครแทงข้างหลังไง ในเมื่อครูบาอาจารย์ท่านปกป้องเราอยู่ เราทำคุณงามความดีของเรา เราประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา

นี่อย่าให้กิเลสมันมาฉ้อฉล อย่าให้มันแฉลบออก กิเลสมันฉ้อฉลมันแฉลบออก มันแฉลบออกโดยความใจเบา โดยที่เบาเป็นขนนกที่ไม่มีเหตุมีผล มันไม่เหตุมีผลมันเบาเหมือนขนนก แล้วอ้างอิง อ้างสิ่งนั้นอ้างไปหมดล่ะ การอ้างอิงนั้น เห็นไหม ดูการอ้างอิงมันเป็นเล่ห์กล มันไม่มีอะไรเป็นสาระเลย

แต่ถ้าเราทำจิตใจของเราให้มั่นคงขึ้นมานะ มั่นคงขึ้นมานะ สิ่งที่กระทบสิ่งที่ไม่พอใจมันมีเยอะไปหมด มันเรื่องของเขา กรรมของเขา เขาสร้างเวรสร้างกรรมของเขา เพราะเขาทำบ่อยๆ ครั้งเข้ามันจะเป็นจริตเป็นนิสัย ถ้านิสัยอย่างนี้เราไม่พอใจคนอื่นก็ไม่พอใจ สิ่งที่ความไม่ดีในใจของเขานี่เขาจะสร้างเป็นนิสัยของเขา เดี๋ยวเขาไปแสดงออกที่ไหนนี่ใครเขาจะยอมรับ มันไม่มีใครเขายอมรับหรอก

แต่โดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากว่าเป็นผู้ที่ชนะ เป็นผู้ที่ได้ เป็นผู้ที่อยู่เหนือคน ไร้สาระ ไร้สาระอะไร เพราะว่าดูสิทางโลกเขา เพราะว่าเราเกิดมาแล้วนี่เขาหาสิ่งใดได้มาแล้วเขาเสียสละทานของเขา เพื่ออะไร การเสียสละนั้นเพื่อพัฒนาหัวใจให้จิตใจเป็นสาธารณะยอมฟังเหตุฟังผล นี่ทางโลกเขายังเสียสละ เราบวชมาเป็นนักรบ แล้วสิ่งที่กระทบกระเทือนมันเรื่องของเขา แล้วเราไปกว้านมาทำไม มันไปกว้านมาเพราะว่ามันไปกระทบสายตาไง มันกระทบแล้วมันรับไม่ได้ไง ความรับไม่ได้อันนั้นมันเรื่องของเขา มันกรรมของเขา

แล้วของเราล่ะ นี่ของเราล่ะ ของเรานี่สิ่งนั้นนะ เราจะหาสิ่งที่เราพอใจทั้งหมดทั้งปวงที่เราเห็นแล้วมันชื่นบานนี่มันหาไม่ได้ แม้แต่ร่างกายของมนุษย์มันต้องชราคร่ำคร่าไป สรรพสิ่งในโลกนี้มันเป็นอนิจจัง มันจะแปรสภาพของมันอยู่อย่างนั้น พร้อมทั้งความรู้สึกเราด้วย พร้อมทั้งความรู้สึกพร้อมทั้งหัวใจของเรา ถ้ามันมีประสบการณ์มันได้พบได้เห็นหลายครั้งเข้ามันก็จะฝึกหัดให้มันมีสติปัญญาขึ้นมา

หัวใจของเรานะ ถ้ามันมีสติปัญญามันก็จะพัฒนาขึ้น พอพัฒนาขึ้นเห็นเรื่องของเขา เขาทำคือเรื่องของเขา มันเรื่องของเขา พอเรื่องของเขานี่เพราะเราเห็น เห็นไหม เพราะเราเห็นเรามีสติปัญญาขึ้นมา เรื่องของเขาก็เลยเป็นคติธรรมสอนหัวใจของเรา ถ้าสอนหัวใจของเรานะ เราจะไม่ทำแบบนั้น เราจะไม่ทำแบบนั้น แล้วเราไม่ทำแบบนั้นแล้วจะทำอะไรล่ะ เราจะทำอะไร

สิ่งที่ทำคือคำบริกรรม กรรมฐาน ๔๐ ห้อง ทำความสงบของใจ ๔๐ วิธีการ ถ้าจิตมันสงบระงับขึ้นมา เรามีสติปัญญาขึ้นมา เราดูแลหัวใจของเรา ถ้าหัวใจของเรานี่มันสงบระงับ เห็นไหม ความสงบระงับ “สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี” จิตเราสงบระงับมันดีมันงามของมัน พอดีงามขึ้นมาแล้วนี่เราฝึกหัดใช้ปัญญาของเรา คำว่าฝึกหัดใช้ปัญญา เห็นไหม นี่วิปัสสนา วิปัสสนาคือปัญญาการรู้แจ้ง รู้แจ้งในความคิดเราไง รู้แจ้งสิ่งที่หมักหมมในใจ

ถ้าคนใจเบามันไม่มีเหตุมีผล มันดูแต่เรื่องข้างนอก เห็นไหม ดูสิ เวลาคนเขาแสวงหา เขาแสวงหาทรัพย์สมบัติของเขา หาปัจจัยเครื่องอาศัย แต่เขาไม่แสวงหาอริยทรัพย์คือบุญกุศลในใจ บุญกุศลคือจิตใจที่มันมีหลักมีเกณฑ์ไง นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราพิจารณาของเราให้จิตเราสงบแล้วนี่ ถ้าเราฝึกหัดใช้ปัญญา เห็นไหม การว่าฝึกหัดใช้ปัญญานี่มันพัฒนาใจของเราไง ถ้ามันพัฒนาใจของเรา พัฒนาในแง่มุมใดล่ะ พัฒนาในแง่มุมใด

ถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้ามันพิจารณาธรรมสัจธรรมที่มันเกิดขึ้นกระทบกันอยู่ตลอดเวลานี่ มันใช้ปัญญาของมันพิจารณาของมัน การพิจารณาของมันนี่เรื่องของเรา ถ้าเรื่องของเรายิ่งใช้ปัญญามากน้อยขนาดไหนมันจะพัฒนาหัวใจของเราให้เข้มแข็งขึ้น ให้เข้มแข็งขึ้นนะ

คนเราในการประพฤติปฏิบัติ ระยะทางเห็นไหม ระยะทางที่เราก้าวเดินนี่ ระยะทางที่ก้าวเดินมันต้องใช้กำลังแน่นอน แล้วถ้ามีอุปสรรคเราต้องใช้ปัญญาแก้ไขแน่นอน จิตใจของเราก็เหมือนกัน เวลาถ้ามันจิตสงบแล้วมันใช้ปัญญาของมันขึ้นมานี่ ถ้ามันสมบูรณ์ขึ้นมามันก็ปล่อยวางได้ ถ้าสมาธิมันออกโรงขึ้นมานี่มันติดขัด มันอึดอัดขัดข้อง ถ้าอึดอัดขัดข้องนี่เราก็วาง

นี่การหัดปล่อยวาง แล้วการฝึกฝนให้จิตมันมั่นคงขึ้นมา แล้วใช้ปัญญาก้าวดินต่อเนื่อง มันไป ฃวิปัสสนาขึ้นมาจนมันเป็นประโยชน์กับเราไง ถ้ามันเป็นประโยชน์กับเรา มันก็จะเป็นจิตที่มั่นคงดังขุนเขาไง ถ้าจิตที่มั่นคงดังขุนเขา ดูสิ ดูเทวดา อินทร์ พรหม เห็นไหม เทวดา อินทร์ พรหมที่เป็นปุถุชนก็มี เป็นพระอริยเจ้าก็มี สิ่งที่เป็นพระอริยเจ้ามันเป็นที่ไหน มันเป็นพระอริยเจ้ามันเป็นที่ในหัวใจไง ถ้าหัวใจนี่สมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการ จิตที่เป็นสัมมาสมาธิขึ้นยกขึ้นสู่วิปัสสนา เวลาสำรอกมันคายกิเลสออกไป มันคายออกไปจากจากจิตนี่ เห็นไหม คายออกไปจากจิต จิตนี้มันมั่นคงขึ้นมานี่ นี่ไงมั่นคงดั่งขุนเขา ขุนเขาเพราะมันเป็นอกุปปธรรม ถ้ามันมีจุดยืนของมัน จิตใจมันไม่เบาเหมือนขนนก มันจะมั่นคงดั่งขุนเขา

แล้วมั่นคงดั่งขุนเขา เห็นไหม นี่มันเป็นอยู่ที่ไหน มันเป็นในใจของเรา มันเป็นในใจนะ พอมันเป็นในใจขึ้นมามันพ้นจากกระแสโลก ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติแล้วเห็นไหม เปรียบเหมือนเสาศิลาปักดินอยู่ ๔ ศอก พ้นจากดินอีก ๔ ศอก ลมมันจะพัดขนาดไหนมันไม่หวั่นไหวไปกับใครทั้งสิ้น ฝนตกแดดออกอย่างไงก็เรื่องของเขา

นี่ก็เหมือนกัน กระแสโลกๆ เราอยู่กับโลกนะ เราอยู่กับโลกไม่ใช่พูดแบบนี่ ถ้าพูดถึงฟังธรรมโดยวิทยาศาสตร์ เหมือนการปฏิเสธ เหมือนกับการยอมจำนน เหมือนคนที่ไม่สู้สังคม แต่เป็นความจริงไม่เป็นอย่างนั้น มันพิจารณาของมัน มันสำรอกมันคายของมัน มันเหนือโลกนะ เหนือสังคม เหนือทุกอย่าง

อย่าดูถูกความนิ่งอยู่ของพระอริยเจ้า พระอริยเจ้ารู้ถึงความรู้สึกนึกคิด แล้วผลกระทบที่เกิดขึ้น พระอริยเจ้าถึงรู้แจ้งโลกนอกโลกในไง ฉะนั้นเราปฏิบัติตามความเป็นจริงแล้วนี่มันจะรู้จริง ไม่ใช่ใจเบาเหมือนขนนก ไม่มีเหตุมีผลขึ้นมาสักสิ่งหนึ่ง แล้วไม่มีอะไรเป็นแก่นสารในหัวใจเลย ถ้าไม่มีแก่นสารในหัวใจมันต้องฝึกหัดนี่ไง

ฟังธรรมๆ มันตอกย้ำทุกวันนี่ ตอกย้ำนี่ สิ่งที่ไม่เคยได้ยิน แล้วที่ไม่เคยได้ฟังนี่ฟังทุกวัน แต่ฟังทุกวันแล้วมันก็ยังไม่เข้าใจได้ ไม่เข้าใจได้เพราะมันไม่เป็นจริงในหัวใจของเราไง มันเป็นการฟัง มันเป็นจากครูบาอาจารย์มา มันเป็นสัญญามา มันไม่เป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา ทำจริงขึ้นมามันตอกย้ำขึ้นมาเป็นความจริงขึ้นมา จิตใจดั่งขุนเขา เห็นความจริงขึ้นมาแล้วสาธุด้วย จิตใจดั่งขุนเขา เราสาธุหัวใจดวงนั้น

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากราบธรรมๆ นะ สัจธรรมอันนั้นไง ด้วยอำนาจวาสนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ถึงได้รื้อค้นสัจธรรมนั้นขึ้นมาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ววางธรรมวินัยนี้ไว้ แล้วถ้าจิตใจของเราหนักแน่นดั่งขุนเขา แล้วมีการประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงขึ้นมา แล้วสัจธรรมอันนี้เกิดขึ้นบนหัวใจของสัตว์โลก สัตว์โลกจะกราบธรรมไหม จะเห็นความจริงอันนั้นไหม แล้วจะหวั่นไหวไปกับโลกหรือไม่ เอวัง