ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

สติกับปัญญา

๕ ธ.ค. ๒๕๕๘

สติกับปัญญา

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “สติ

กระผมนอนภาวนาครับ ตอนนั้นเข้าไปเจอสิ่งน่ากลัวมากครับ กระผมกำหนดลมหายใจ แต่เผลอลืมพุทโธครับ เข้าไปเจอกับอะไรบางอย่างเป็นสิ่งที่น่ากลัว

ตอนนั่งสมาธิ สติดีมาก แต่นั่งไม่ได้นานครับ หรือเดินจงกรม สติดีมากครับกระผมชอบเดินจงกรมมากที่สุดครับ กระผมภาวนาที่บ้านครับ จึงไม่สะดวกเดินจงกรมได้ครับ กระผมจึงนอนภาวนา เผลอลืมพุทโธ ไปเจอสิ่งที่น่ากลัวมากๆ จึงเข้าใจกับตัวเองว่าสติสำคัญมากๆ ครับ

ขอกราบหลวงพ่อช่วยชี้แนะวิธีทำให้สติเข้มแข็งด้วยครับ และการนั่งสมาธิอย่างถูกวิธีด้วยครับ ขอกราบนมัสการ

ตอบ : การทำให้สติเข้มแข็ง ทุกคนต้องฝึกสติๆ หลวงตาจะพูดประจำว่าการภาวนาหรือการฝึกหัดของเรา ถ้าขาดสติแล้วเป็นมิจฉาทั้งหมด แต่ถ้ามันจะเป็นสัมมาทิฏฐิหรือความถูกต้องดีงามต้องมีสติ

ฉะนั้น คำว่า “สติ” สติคือความระลึกรู้ ความระลึกรู้ สติก็คือสติไง สติไม่ใช่ปัญญา สติก็คือสติ คำว่า “สติ” ขึ้นมา สติในตัวของสติเองคือการระลึกรู้อยู่ ทีนี้สติมันสำคัญมากนะ สำคัญ ความระลึก ระลึกโดยสามัญสำนึก เห็นไหม เพราะมันมีสติ แล้วมหาสติ สติอัตโนมัติ

คนไม่ภาวนาจะไม่เข้าใจเรื่องสตินะ สติก็เหมือนเรา อย่างเด็กๆ ที่มันสมบูรณ์ของมัน มันก็สมบูรณ์ของมันใช่ไหม แล้วถ้าผู้ใหญ่ของเราล่ะ แล้วถ้านักวิทยาศาสตร์ล่ะ เขาใช้สติเหมือนกันนะ แต่สติของเขาจะแน่วแน่ แล้วมันจะลงลึกแตกต่างกัน นี่พูดถึงสติ นี่สติโดยสามัญสำนึกของเรานะ แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัตินะ มันมีสติ แล้วมหาสติ คือมหาสติมันจะเร็วกว่าสติเยอะมากเลย นี่พูดถึงว่าสติเฉยๆ นะ

ถ้าคนที่ไม่เคยปฏิบัติ เราพูดกันทางโลก ทางวิทยาศาสตร์ไง คือคำว่า “สติ” ก็สมบูรณ์แล้ว สติก็คือสติ แล้วสติก็ตายตัวว่าสติอย่างนั้น แล้วสติมันมีพลั้งเผลอมันมีสมบูรณ์ มันมีปานกลาง คำว่า “สติ” แล้วสติก็ส่วนสตินะ เวลาเป็นมหาสติเพราะมหาสติมันจะเร็ว เร็วกว่าสติเยอะมากเลย แล้วพอสติอัตโนมัติ สติอัตโนมัติคืออรหัตตมรรค เพราะเวลาเป็นอรหัตตมรรคขึ้นมา มันจะเป็นญาณ มันจะเป็นญาณที่รู้เท่าทันกันตลอดเลย มันจะตามกันตอนนั้นเลย

แต่ถ้ามันเป็นสติ นี่พูดถึงคำว่า “สติ” เขาถามคำว่า “สติ” ทีนี้คำว่า “สติ” สติต้องการในทุกที่ทุกสถาน แม้แต่เด็ก เด็กถ้ามันมีสติ การศึกษาการเรียนมันก็ดีเด็กถ้ามีสติทำสิ่งใดมันก็ไม่พลั้งพลาด แต่ธรรมดาของเด็ก ธรรมดาของเด็กมันก็พลั้งเผลอ คือมันเที่ยวเล่นของมันโดยความไร้เดียงสา มันเป็นอย่างนั้นน่ะ ถ้าสติอย่างนั้นมันก็เป็นสติ

ฉะนั้น คำว่า “สติๆ” สติสมบูรณ์มันก็สติสมบูรณ์ ที่ว่าสติเราดี ที่เราจะมาสนใจเรื่องการภาวนา เพราะเรามีปัญญา ปัญญาของเรา เราได้ฟังไง เห็นไหม สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่มันจะเกิดขึ้น ปัญญามันเกิดขึ้นมันทำให้เราฉงนสนเท่ห์

แต่ก่อนเราก็มีความคิดของเราอย่างนี้ พอมันมีปัญญาขึ้นมาเป็นแง่มุมปั๊บเออเราจะหยุดทำไม เราจะทำอะไร” อันนี้มันคืออะไร อันนี้เป็นสติหรือเปล่า...ไม่ใช่ สติมันยับยั้งไง สติมันยับยั้งให้เราได้คิด แต่ความคิดไม่ใช่สติไม่ใช่ สติเป็นสติไง เห็นไหม มันถึงมีมรรค 

เวลามรรค  สติชอบ ปัญญาชอบ งานชอบ ระลึกชอบ งานยังไม่ใช่สติเลยสติเป็นสติ งานเป็นงาน งานชอบหรือไม่ชอบ ทำผิดหรือทำถูก สติ สัมมาสติมิจฉาสติ ปัญญา มันมิจฉาปัญญา สัมมา สัมมาทิฏฐิคือปัญญาถูกต้อง มิจฉา ถ้ามิจฉามันก็ผิดหมดน่ะ คำว่า “ผิด” ตอนนี้มันมีกิเลสมาอย่างนั้นไง

นี่เราพูดถึงคำว่า “ถ้าจะฝึกให้สติสมบูรณ์

สติมันก็คือสตินะ แต่สติ ในคำว่า “สติ” สติมันต้องประกอบไปด้วยทุกกิริยาทุกๆ การเคลื่อนไหว เพราะสตินี้สำคัญมาก สำคัญมากจริงๆ

ทีนี้คำว่า “สติ” ถ้าพูดถึงสติ เหมือนกับอุเบกขา อุเบกขาคือการวางเฉยอยู่ถ้าการวางเฉยอยู่ ทีนี้คนไม่เข้าใจนะ พอเราพิจารณา ทุกคนจะมาถามว่าอุเบกขาคือนิพพานนะ บางคนเข้าใจอย่างนั้น เข้าใจว่าอุเบกขาคือนิพพาน คือวางเฉยวางได้หมด เป็นอุเบกขา

เราบอกไม่ใช่ คนละเรื่องเลย อุเบกขาเป็นอุเบกขา อุเบกขามันจะเป็นนิพพานได้อย่างไร มันมีสุขกับทุกข์ใช่ไหม มันมีสุขเวทนา ทุกขเวทนา เวลาอุเบกขา มันก็วางเฉย มันเป็นตรงกลาง วางเฉย เหมือนกับว่าสักแต่ว่า สักแต่ว่าคืออุเบกขา อะไรก็สักแต่ว่าๆ เป็นอุเบกขา คือมันสักแต่ว่า เราวางเฉยไง วางไว้ได้ นี่อุเบกขา แล้วอุเบกขามันจะตั้งอยู่ได้ไหม อุเบกขาเหมือนตาชั่ง เดี๋ยวมันก็เอียงซ้ายเอียงขวา มีน้ำหนักมันกดหรือเปล่า ไม่กดมันก็ไป อุเบกขา เดี๋ยวมันก็ไปชอบหรือไม่ชอบ อุเบกขานี่

ทีนี้อุเบกขา แต่ถ้าผู้ที่ปฏิบัติใหม่ เพราะมีคนเคยเข้าใจว่าอุเบกขาคือนิพพานเขาบอกเขาอยู่กับอุเบกขาแล้วเขาเป็นนิพพาน

เราบอกว่าเป็นไปไม่ได้ แต่มันเป็นแบบว่าผู้ที่ไร้เดียงสาเขามาศึกษาแล้ว พอศึกษาแล้วเข้าใจว่าอย่างนั้นก็เป็นอย่างนั้น แต่ผู้ที่ปฏิบัตินะ ไอ้ทฤษฎีการศึกษานั้นมันเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเหมือนกับการศึกษานั้นเป็นตำรา เขียนมาจากศาสตราจารย์ แต่พวกเราเป็นพวกอนุบาลเพิ่งเรียน คำศัพท์เรารู้หมด เราอ่านได้ แต่เราไม่เข้าใจหรอก เราไม่เข้าใจความหมายนั้น

นี่ก็เหมือนกัน ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถูกต้องดีงามทั้งหมด แต่เราไปศึกษา เราอ่านแล้วเราเข้าใจ เราเข้าใจ มีคนบอกว่าอุเบกขาเขาบอกเขาอุเบกขาธรรม เขาคิดว่าอุเบกขาคือนิพพาน

ภาษาเรานะ หยาบมาก ไร้เดียงสามาก เพราะนิพพานมันยังไปอีกไกลเลยเพราะนิพพานไปทำลายภวาสวะ ทำลายภพ ทำลายตัวตน ทำลายมานะ  เสมอเขา สำคัญว่าเสมอเขา สูงกว่าเขา สำคัญว่าสูงกว่าเขา ต่ำกว่าเขา สำคัญว่าต่ำกว่าเขา ทั้งๆ ที่เป็นข้อเท็จจริง แต่มันสำคัญก็ผิดแล้ว

เราต่ำกว่าเขา มันก็ต่ำกว่าเขาจริงๆ ใช่ไหม สำคัญว่าต่ำกว่าเขา นี่มานะเกิดแล้ว เราเสมอเขา มันก็เสมอเขาจริงๆ นี่แหละ แต่เราสำคัญว่าเสมอปั๊บ มานะเกิดทันที เราสูงกว่าเขา ถ้าเราไม่สำคัญตนมันก็ไม่เป็นไร มันก็สูงต่ำโดยธรรมชาติ สูงต่ำโดยข้อเท็จจริงใช่ไหม แต่เราไปสำคัญว่าสูงกว่าเขา เสร็จเลย ก็เราไปสำคัญว่าสูงกว่าเขา แต่จริงๆ ก็สูงกว่าเขาจริงๆ นี่แหละ แต่มันก็สูงกว่าเขาโดยข้อเท็จจริง แต่เราไม่มีตัวตน ไม่มีมานะ ไม่มีทิฏฐิมานะที่จะไปสำคัญตนไง ทั้งๆ ที่สูงกว่าเขานี่แหละ สำคัญว่าสูงกว่าเขาก็จบแล้ว

ทีนี้คำว่า “สำคัญตนๆ” ถ้าไม่มีเรา จะสำคัญได้ไหม พระอรหันต์จะไปทำลายภวาสวะ ทำลายภพ ทำลายจิต ทีนี้คำว่า “ภพ” มันก็ไม่ใช่จิตหรอก จิตนี้เขาเรียกว่าจิตใจ เขาแทนกัน แต่คำว่า “ภพ” เป็นที่เลย ฉะนั้น เวลาพระอรหันต์เขาไปทำลายตรงนั้น ไปทำลายภวาสวะ ทำลายภพ ทำลายชาติ พอทำลายแล้ว พอมันทำลายตรงนั้นแล้วมันไม่มีฐานที่ ไม่มีถิ่นกำเนิด คือทำลายถิ่นกำเนิด ทำลายที่มาที่ไปหมดเลยล่ะ นั่นพระอรหันต์ มันเป็นอุเบกขาไหม

อุเบกขามันต้องมีตัวตนของเราถึงเป็นอุเบกขา โอ๋ยอุเบกขามันเป็นเวทนา ง่ายๆ เลย ฉะนั้น นี่พูดถึงอุเบกขาไง

ฉะนั้น คำว่า “สติ” เพราะคำว่า “สติ” เราพยายามจะอธิบายให้เข้าใจว่าสติมันก็คือสติ ทีนี้คำว่า “สติ” สติมันคือสตินะ ทีนี้มันสำคัญไหม สำคัญ แต่มันไม่ใช่ปัญญา มันไม่ใช่เวทนา มันไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น สติก็คือสติ เวทนาก็เป็นเวทนา แต่มันสำคัญ สำคัญที่ว่าเราเองไปคลุกเคล้ากันไง เวลาคิดพร้อมสติก็คิดว่าเรามีสติเราก็คิดได้ใช่ไหม เราก็ อ๋อสติมันต้องมีความคิดด้วย มีอย่างนี้ด้วย มันถึงเป็นสติ แต่ความจริงมันไม่ใช่

มันเกิดจากสติสมบูรณ์ เราถึงยั้งคิด แล้วมีความคิดต่อเนื่องได้ มันต่อเนื่องกันมาไง นี่มรรค  ไง เวลามรรค  มันต้องมีมรรคมันสมบูรณ์ไง ถ้าสติสมบูรณ์เห็นไหม โอ้โฮเราแจ่มชัดเลย มันไม่คิด มันไม่คิด สติสมบูรณ์มาก จิตไม่ขยับเลย แล้วมรรคมันจะเดินไปได้ไหม มันเป็นไปไม่ได้ มันมีสิ่งใดเด่นไม่ได้

ทีนี้คำว่า “เด่นของเรา” ดูสิ เจโตวิมุตติ เจโตวิมุตติเด่นโดยสมาธิ เพราะสมาธิเขาเข้มแข็งของเขา เพราะว่าเขาสมาธิเข้มแข็ง จิตตั้งมั่น แล้วเวลาพิจารณาของเขาไป พิจารณาโดยจิตนำ สมาธินำ สมาธิเป็นหัวหอก แต่มันก็ต้องเคลื่อนไปพร้อมกับมรรค  แต่มันมีสมาธิ คือว่าจิตตั้งมั่นนี้เป็นหัวหอก

ปัญญาวิมุตติ ปัญญาวิมุตตินี่ปัญญาเป็นหัวหอก ปัญญาเป็นหัวหอกคือปัญญานำไง แต่มันก็ต้องเคลื่อนไปพร้อมกับมรรค  มันต้องเคลื่อนไปพร้อมกับสติ พร้อมกับสมาธิ พร้อมกับงานชอบ งานชอบคือทำถูกต้อง ถ้างานไม่ชอบคือทำผิดไง ทำงานเหมือนกัน แต่งานไม่ชอบ แค่งานชอบมันก็เป็นอย่างนั้น ทีนี้มันต้องสมบูรณ์ของมันไป

นี่พูดถึงว่า เพราะคำว่า “ฝึกสติ” เราอ่านคำถามแล้วเราเข้าใจว่าผู้ถามคือเข้าใจรวมกันหมดไง คลุกเคล้ากันหมดว่า เพราะสติ ภาวนาแล้วสติมันดี แล้วสติดีแล้ว เพราะมันพลั้งเผลอมันถึงได้ไปเห็นภาพที่น่ากลัว พอเห็นภาพน่ากลัวก็จะไปแบบว่า ถ้าสติสมบูรณ์ก็จะไม่เจอภาพนั้น

เจอ ยิ่งเจอชัดเข้าไปอีก สติสมบูรณ์ชัดเจนขึ้นมา เวลาไปเห็นภาพ ภาพจะชัดเจนมาก สติมันทำให้การกระทำเราสมบูรณ์ขึ้นมา ทีนี้การกระทำสมบูรณ์ขึ้นมาความเห็นถูกหรือความเห็นผิด ถ้าความเห็นถูกต้อง เห็นแล้วมันปล่อยวางได้มันก็จบ ถ้ามันเห็นแล้วมันปล่อยวางไม่ได้ สติจะมีประโยชน์อะไร

สติสำคัญ สำคัญที่มันให้การกระทำนี้สมบูรณ์ แต่ความสมบูรณ์นั้นถ้ามันไม่มีปัญญาแยกแยะแล้ว มันจะสมบูรณ์ต่อไปอีกไหม มันสมบูรณ์มาแล้วมันต้องมีปัญญาไง ถ้าปัญญามันแยกแยะขึ้นมา มันถึงว่าสติกับปัญญามันคนละเรื่องกัน

แต่ทีนี้เวลาคนละเรื่องกัน แล้วทุกคนมีความถนัด เขาเรียกจริต มีความถนัดถ้าเจโตวิมุตติถนัด อย่างที่เรายกบ่อย อย่างเช่นหลวงปู่ชอบ หลวงปู่คำดี ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ หลวงปู่เจี๊ยะ พิจารณากายโดยเห็นกาย พวกนี้เป็นเจโตวิมุตติ

ถ้าปัญญาวิมุตติ หลวงตา หลวงปู่ดูลย์อย่างนี้ ถ้าปัญญาวิมุตติ นี่ปัญญานำถ้าปัญญานำ ดูสิ หลวงตาท่านสอนเรื่องปัญญาอบรมสมาธิ หลวงตาท่านเป็นคนเทศน์แล้วเขียนหนังสือ “ปัญญาอบรมสมาธิ

ถ้าพูดถึงเราถือด้วยความเถรตรงนะ “มันจะมีไปได้อย่างไร มันก็ต้องสมาธิอบรมปัญญา เพราะศีล สมาธิ ปัญญา มันไม่มีปัญญาอบรมสมาธิ

แต่ด้วยความชำนาญ ด้วยความชำนาญของตน แล้วทำแล้วได้ผล ถึงเอาองค์ความรู้ในการกระทำนั้นมาอธิบายให้พวกเรา แล้วชี้แนวทางให้พวกเราเป็นทางเลือกได้อีกทางเลือกหนึ่ง นี่ถ้าปฏิบัติได้จริง

ฉะนั้น เราจะพูดให้ทำความเข้าใจกันว่า สติก็คือสติ สติคือการระลึกรู้ ถ้าสติพลั้งเผลอ การกระทำนั้นเป็นมิจฉาทั้งหมด ถ้าสติสมบูรณ์ การกระทำนั้นจะเป็นสัมมาทิฏฐิ จะเป็นความเห็นที่ถูกต้อง ทีนี้ความเห็นที่ถูกต้อง คนเราเวลาจะคิดได้หรือภาวนาแล้วถ้าปัญญามันพิจารณาตามทันแล้วมันจะวาง

ทีนี้พอวาง เราไม่ได้คิดเลยหรือ มันมีแง่มุม เพราะปัญญามันแยกแยะปัญญามันจับต้อง แล้วปัญญามันตีแผ่ แต่มันก็ต้องมีสมาธิใช่ไหม เพราะหลวงตาท่านใช้คำว่า สมาธิเหมือนเกี่ยวข้าว สมาธิคือรวบข้าวไว้ ปัญญาคือเคียว แต่ถ้ามันไม่มีสมาธิไปรวบข้าวไว้ เราจะไปเกี่ยวข้าวอย่างไร เกี่ยวอากาศใช่ไหม

สมาธิมันรวม มันไล่ต้อนความคิดเราเข้ามา แต่มันจะเกี่ยวได้ด้วยเคียว นี่สมาธินะ แล้วมันจะสมบูรณ์ด้วยสติ เพราะไม่มีสติ เราจะไปรวบข้าวเข้ามาได้ไหมรวบอากาศใช่ไหม ไปรวบต้นหญ้าหรือ เขาจะเกี่ยวข้าว เขาไม่ได้เกี่ยวหญ้า จะไปรวบอะไร ถ้าสติไม่สมบูรณ์ เราจะไปรวบอะไร เราต้องรวบข้าวเข้ามา

หลวงตาท่านสอนว่า สมาธิมันจะไล่ต้อนกิเลสเข้ามา รวบเข้ามา แล้วมันขาดไม่ได้ มันจบไม่ได้ มันจะจบได้ด้วยเคียวเกี่ยว เคียวคือปัญญา เวลาจบต้องจบด้วยปัญญา แต่ปัญญานั้นน่ะ ถ้ามันไม่มีสมาธิรวบข้าวเข้ามา มันจะไปเกี่ยวอะไรมันก็เกี่ยวความฟุ้งซ่านไง เกี่ยวสิ่งที่เราจินตนาการไง เราเข้าใจว่า เราเข้าใจ แต่ไม่ใช่ความจริง

แต่ความจริง จิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นแล้วมันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง เห็นตามความเป็นจริงมันสะเทือนหัวใจ ถ้าสะเทือนหัวใจมันรวบเข้ามาแล้ว สมาธิไปรวบเข้ามา แล้วถ้ามีปัญญาแยกแยะเข้าไป พร้อมสติทุกอย่างนะ

สมาธิก็เกิดจากสติ ปัญญาก็เกิดจากสติ สิ่งที่จะเกิดขึ้น เกิดขึ้นจากสติทั้งนั้นแต่ไม่ใช่สติ เกิดขึ้นจากสติทั้งนั้น เพราะสตินี้ทำให้เราจงใจ ทำให้เราทำงานถูกต้องดีงามใช่ไหม ถ้าขาดสติ เละหมดเลย

ทีนี้เราพูดวันนี้ เราจะพูดให้ผู้ภาวนาเห็นว่า สติสำคัญมาก แต่เวลาเราคิดว่าเราจะระลึกรู้ เราจะฝึกสติให้สมบูรณ์ แล้วปัญญาล่ะ

จริงๆ สิ่งที่แก้ไข สิ่งที่เข้าใจนี้คือปัญญาทั้งนั้นนะ แต่มันเป็นภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการกระทำ ปัญญาเกิดจากภาวนา ไม่ใช่สุตมยปัญญาปัญญาเกิดจากการศึกษา ปัญญาเกิดจากการท่องจำ ปัญญาเกิดจากการฟังจากคนอื่นมา แล้วเอาความรู้อันนั้นมาสำเร็จรูปว่าเป็นของเรา เพราะเป็นของเรามันเข้ากันไม่ได้หรอก

น้ำในแก้วหนึ่ง กับในแก้วเราว่างเปล่า แต่เรามองน้ำในแก้วที่มีน้ำ เราก็เข้าใจว่าแก้วเรามีน้ำเหมือนกัน มีไหม ไม่มี ถ้าแก้วที่มีน้ำ แก้วของครูบาอาจารย์ที่มีน้ำ ในแก้วนั้นมีน้ำ มันสมบูรณ์ของมันใช่ไหม นั่นท่านบอก นี่ปัญญาๆ

แล้วเราก็ศึกษาๆ เราก็มีแก้วแก้วหนึ่งก็คือความเห็นของเรานี่แหละ นี่คือสัญญา คือจำมา คือสำเร็จรูปมา แต่ในแก้วนั้นไม่มีน้ำ คือมันไม่มีการกระทำของเรา ไม่มีภาวนามยปัญญา ไม่มีองค์ความรู้จริงของเรา

เวลาปฏิบัติเขาทำกันอย่างนี้ นี่ภาคปฏิบัติ ภาคปฏิบัติคือเราปฏิบัติเอาประสบการณ์ คือเอาข้อเท็จจริงเกิดจากการกระทำของเรา ถ้าการกระทำของเราปั๊บ เราจะตักน้ำ เราจะหาน้ำมาใส่แก้วนี้

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจของเรามีสติแล้ว มีสมาธิแล้ว เราฝึกหัดใช้ปัญญา มันทำได้ไหม ถ้ามันทำ ไอ้แง่มุมอันนั้นน่ะมันทำให้แก้วที่มีน้ำกับแก้วที่ไม่มีน้ำ น้ำหนักก็ต่างกัน ความชื้นก็ต่างกัน มวลในแก้วก็ต่างกัน

นี่ก็เหมือนกัน จิตที่มันมีปัญญาที่มันพิจารณาของมันไป มันมีความรู้อย่างนี้ขึ้นมา ถ้ามีความรู้ขึ้นมา วันนี้พยายามจะพูดว่า สติก็คือสติ สำคัญมาก แต่ไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่สมาธิ ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น สติมันเป็นสติจริงๆ

แต่พวกเราอารมณ์หนึ่งแม่งมีพร้อมเลย ความคิดหนึ่งมันมีพร้อมไง แล้วก็จะมาคิดว่าสติๆ เพราะอะไร

เพราะครูบาอาจารย์ของเราพยายามยืนยันว่าสติสำคัญมาก สติสำคัญมากเพราะสติมันเป็นจุดเริ่มต้น มันเป็นจุดเริ่มต้นทำให้เราทำความดีงามกัน ทำความถูกต้องกัน

ทีนี้สติก็คือสติ ทีนี้สติสำคัญมาก สติสำคัญมาก แต่เวลาเราเคลื่อนไหวไปเราต้องรู้สิ รู้ว่าสิ่งที่จำมา เวลาครูบาอาจารย์ท่านจะแยกได้ว่าสัญญา สัญญาคือความจำได้หมายรู้ สัญญาคือของยืม สัญญาคือเงินกู้ แต่ถ้ามันเป็นปัญญานี่เงินสด เงินเย็น ไม่ใช่เงินกู้ เงินเรา ถ้าปัญญาเกิดอย่างนี้ แต่ถ้าไปฟังมาศึกษามานั่นเงินกู้ สัญญา

แต่โทษนะ จะพูดให้เข้าใจหรือจะพูดให้งงวะเนี่ย ไอ้คนฟังยิ่งฟังยิ่งงงหรือยิ่งเข้าใจ เพราะคำถาม เดี๋ยวเราจะแยกคำถามให้เห็นว่าเขามีความเข้าใจอย่างไรเราอ่านคำถามแล้วเราเข้าใจว่า ประชาชนหรือคนทั่วไปจะเข้าใจว่า สติมันคิดได้มันรู้ได้ มันเข้าใจได้

อันนี้เราบอกว่ามันเคลื่อนไปแล้ว เพราะว่าความที่รู้ได้เข้าใจได้นั้นมันเป็นปัญญา แล้วความสุขความทุกข์เป็นเวทนา ความพอใจไม่พอใจนั่นน่ะเวทนาไม่ใช่สติ สติคือความระลึกรู้เฉยๆ

ถ้าระลึกรู้เฉยๆ แล้ว อันนี้คนภาวนา อย่างที่ว่าพอภาวนาเป็น ระลึกรู้เฉยๆนะ สตินี่ ถ้าเอ็งคิดได้มันไม่ใช่สติแล้ว สติคิดไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีสติ เอ็งคิดเรื่องอะไรเอ็งระลึกรู้อะไร เอ็งก็ระลึกรู้ด้วยความเผลอๆ ไง ความมัวเมา สติ สติล่องลอยอย่างนี้

สติ ถ้ามันมีสติปั๊บ มันระลึกรู้ชอบ

ฉะนั้น วันนี้จะพูดถึงว่าสติกับปัญญามันไม่ใช่อันเดียวกัน สติกับเวทนาก็ไม่ใช่อันเดียวกัน สติก็คือสติ แต่เพราะว่ามรรค  ไง เพราะความสับสนของชาวพุทธ เวลามรรค  ก็พูดกันปากเปียกปากแฉะ มรรค  แต่อารมณ์อารมณ์หนึ่งมันประกอบไปด้วยอะไรบ้างล่ะ แล้วอะไรมันเด่นล่ะ

นี่ไง ครูบาอาจารย์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาใครไปถามนะพยากรณ์ ท่านอนาคตังสญาณ จะดูเลยว่าเขาเคยผ่านอะไรมา จะเอาตรงกับกิเลสเขา แล้วสอนเขา เวลาไปถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะมีตรงนี้ ทีนี้เวลาใครไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะมีอนาคตังสญาณเลย

ทีนี้พวกเราทุกคน เราอยู่กับหลวงตา ใครๆ ก็ไปถามว่า “หนูควรปฏิบัติอย่างไรคะ” คือจะเอาตรงๆ ไง จะเอาฉีดยาทีเดียวหายเลยไง เอาเข็มเดียวเท่านั้นน่ะจะให้เป็นพระอรหันต์เลย ใครๆ ก็ไปถามว่า “หนูจะทำอย่างไรคะ หนูจะทำอย่างไรคะ

หลวงตาก็จะบอกว่า “ถ้าเธอทำสิ่งใดแล้วมันปลอดโปร่งมันโล่งโถง ทำสิ่งใดแล้วมันเข้าใจ นั่นน่ะทางของเอ็ง

หลวงตาท่านไม่พูดเหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจะพยากรณ์เลยนะว่า เราเป็นแม่ครัวของหวาน เราชำนาญในของหวาน ท่านจะบอกเลยว่าต้องส่วนประกอบอย่างนั้นๆๆ แต่ถ้าเราเป็นแม่ครัวที่ทำของคาว ท่านจะบอกว่าของคาวต้องมีส่วนประกอบอย่างนั้นๆๆ ฉะนั้นพอเราเป็นแม่ครัวที่ถนัดใช่ไหม พอเราฟังเราก็เข้าใจเพราะเราเป็นแม่ครัวนั้นมา

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจมันมีจริตนิสัยมา มันสร้างเวรสร้างกรรมมา เวลาพระพุทธเจ้าพยากรณ์ พยากรณ์ตามนั้นๆๆ มันจะเข้ากับจริตนิสัยเดิม มันจะเข้ากับจริตนิสัย มันจะทวนกระแสกลับเข้าไปเลย

แต่เราเกิดไม่ทันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วครูบาอาจารย์เราไม่มีองค์ประกอบที่จะรอบรู้ได้เท่ากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  อสงไขย  อสงไขย ๑๖ อสงไขย การสร้างสมมาที่นับไม่ได้ถึง ๑๖ หน

ไอ้พวกเราเพิ่งเกิดเมื่อวานนี้ ที่มามันแตกต่างกัน ความสามารถแตกต่างกันคุณสมบัติแตกต่างกัน ไม่มีใครจะมีคุณสมบัติได้เท่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่ไม่มี เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีพระองค์เดียว ไม่มีสอง

ฉะนั้น พวกเรา ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติมาแล้วท่านมีอำนาจวาสนา ท่านทำของท่านได้ ท่านก็มีประสบการณ์ตรงนี้ไง

นี่พูดถึงว่าคำว่า “สติ” เพราะเราอ่านคำถามแล้วมันเหมือนกับมีความเข้าใจว่า สติมันคือมรรค  เลย คือมันมีปัญญาด้วย มันมีสมาธิด้วย มันมีทุกอย่างด้วยในสติตัวเดียว...ไม่ใช่ สติเป็นสติ สตินี้สำคัญมาก

ฉะนั้น เข้ามาที่คำถาม คำถามว่า “ผมนอนภาวนา ตอนนั้นเข้าไปเจอสิ่งที่น่ากลัวมากครับ ผมกำหนดลมหายใจ แต่เผลอลืมพุทโธครับ เข้าไปเจอสิ่งที่น่ากลัวมากๆ

คำว่า “เผลอ” คำว่า “นอนภาวนา” เวลาเผลอ คำว่า “เผลอ” ส่วนใหญ่มันหลับไปแล้ว คำว่า “หลับ” คนเราเวลานอนหลับ หลับสนิทไปเลย บางคนนอนแล้วนอนหลับตื้นๆ นอนหลับแล้วพลิกไปพลิกมา นอนหลับ แล้วนอนแล้วมันไม่ได้พักผ่อน ตื่นมาไม่สดชื่น แต่คนถ้านอนหลับ นอนหลับยาวไปเลย

ทีนี้เวลาเราภาวนา มันนอนภาวนาไง มันก็หลับๆ ตื่นๆ ตื่นๆ หลับๆ ไง ถ้าหลับๆ ตื่นๆ เขาบอกเขาเผลอ

เผลอคือหลับ เพราะการภาวนานะ เรานั่งเฉยๆ มันยังนั่งหลับเลย นั่งไปนี่สัปหงกโงกง่วง ขาดไปแล้ว ภวังค์นะ จิตนี้มันไวมาก แล้วมันลงภวังค์ มันตกภวังค์ พอตกไปแล้ว มันเหมือนกับตกภวังค์ไปแล้ว โทษนะ เหมือนขับรถ คนหลับใน ขับรถนี่แจ่มเลยนะ วูบ เรียบร้อย แล้วเป็นอย่างไร หลับใน หลับในหลับในก็แค่เผลอแป๊บเดียว

แล้วนี่นอนภาวนาคือเราเปิดช่องทางให้เขาอยู่แล้ว ฉะนั้น เขาบอกเขาเผลอไป

ไม่เผลอหรอก หลับ หลับ ฉะนั้น พอคำว่า “หลับไปแล้ว” คำว่า “หลับ

มันหลับได้อย่างไร ก็ผมภาวนาอยู่นี่ สติมันพร้อม

จิตมันไว มันแพล็บมันเหมือนกับเราไม่เห็นช่องว่างช่องนี้เลย พอไม่เห็นช่องว่างนี้ พอมันแพล็บไปมันก็เห็นภาพที่น่ากลัว เวลาเห็นภาพน่ากลัว ทำไมเห็นล่ะ

แต่เวลาเราใช้คำว่า “เผลอ” เพราะอะไร เพราะจิตใจเราไม่ละเอียดรอบคอบเห็นช่องว่างของมัน เราก็ไม่คิดว่าเราหลับไง

แต่ถ้าวิธีแก้นะ วิธีแก้นะ จะว่าเอาไม้ถ่างตาไว้เลย มันก็หลับ ก็พยายามพุทโธชัดๆ ไม่ให้มีช่องว่าง

เพราะคนเรานะ ถ้ามันเผลอหรือมันตกภวังค์เล็กน้อยนะ ต่อไปมันจะลงภวังค์เรื่อยๆ เพราะนี่คือช่องทางของกิเลสไง กิเลสมันจะเอาภวังค์มาถ่างความห่างระหว่างสมาธิของเรากับมรรคผลของเราออกจากใจ ถ่างห่างไปเรื่อยๆ เพราะว่าเวลาตกภวังค์ บางคนตกทีหนึ่ง - ชั่วโมง หายไปเลย - ชั่วโมง

เราเคยหายทีหนึ่งเป็น  ชั่วโมง ตอนนั้นไม่รู้ว่าตัวเองตกภวังค์ ยังสำคัญตนว่านักภาวนา ภาวนาเก่ง สุดท้ายก็จบด้วยน้ำลายตัวเอง เพราะมันไหลมาเปียกพอน้ำลายไหลมา พอออกจากภาวนา นี่อะไรเนี่ย เปียกๆ ก็นั่งอย่างนี้มันอยู่ในร่ม

ทีนี้ด้วยว่าเรามีเป้าหมายอยากจะพ้นทุกข์ไง เอาขึ้นมาดม โอ๋ยน้ำลาย แล้วไม่ต้องมีใครบอกเลยว่าเอ็งตกภวังค์ ไม่ต้องมีใครมาบอกเลย รู้เอง แต่ถ้ามีใครมาบอกว่าเราตกภวังค์นะ เถียงตายเลย เพราะนั่งทีหนึ่ง - ชั่วโมง เก่งมากแน่วเลยนะ นั่นแหละตกภวังค์ เราเคยตกขนาดนั้นนะ แต่ด้วยวาสนา วาสนาคือน้ำลายของตัวเองมันเข้ามาย้อนศร ทำให้ตัวเองรู้แจ้งว่าตกภวังค์ แล้วแก้ แก้มาเป็นปี กว่าจะหาย กว่าจะไม่ตกภวังค์ แก้มาเป็นปี ทุกข์มาก

คนไม่เคยภาวนาเลย มันก็เริ่มต้นจากการภาวนาของเรา คนที่มันผิดพลาดไป ตกภวังค์ไป มันติดลบ มันติดลบเป็นพันๆ ล้านน่ะ แล้วมันต้องใช้หนี้พันๆ ล้านนั้นให้หายก่อน แล้วขึ้นมาค่อยมาภาวนา

มันติดลบแดงเถือกเลย แต่ตัวเองไม่รู้เพราะเงินกู้ กู้เขามา นึกว่าตัวเองมีตังค์แต่ความจริงไม่รู้เลย นั่นน่ะต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่พอรู้ตัวขึ้นมา คืนหมดเลย ไม่เอาคืนหมดเลย ก็กู้เขามาแล้ว มันผูกพันน่ะ มันผูกพันก็ต้องมาแก้อย่างนี้ ตรึกในธรรมนะ อดนอนผ่อนอาหารสู้กับมัน โอ้โฮทรมานมาก เราเคยผ่านวิกฤติอันนี้มาพอผ่านอันนี้มาได้

ทีนี้เวลาคนมาบอกว่านี่เผลอ

หลับแล้ว ไม่ต้องเผลอ หลับ อย่าเข้าข้างตัวเอง อย่าเข้าข้างกิเลส ต้องเข้าข้างธรรม ต้องชัดเจนตลอด การปฏิบัติต้องชัดเจนตลอด ถ้าเป็นสมาธิจะรู้เลยเข้าสมาธินี่ชัดเจนตลอด แล้วชัดเจนแล้วเวลาถอยออก เข้าออกจะชำนาญมาก

ไอ้ป้ำๆ เป๋อๆ นั่นน่ะไม่มีหรอก สมาธิไม่มี ป้ำๆ เป๋อๆ นะ มันเผลอ มันไม่เป็นไร...เข้าข้างตัวเองทั้งนั้นน่ะ

เราจะทำคุณงามความดี แล้วเราทำเพื่อเราด้วย ไม่ได้ทำเพื่อใคร แต่กิเลสในใจของเรามันเข้าข้างตัวเรา แล้วมันก็มาพูดอย่างนี้ เวลาช่องทางที่ไปในทางผิดพลาด มันบอกว่าไม่เป็นไร เผลอเดี๋ยวเดียว ไม่เป็นไร

แล้วไม่เป็นไรแล้วเอ็งได้อะไรขึ้นมา เอ็งทำอะไรได้ขึ้นมาอีกล่ะ มันไม่ได้เลยแต่เราก็บอกว่า “มันแป๊บเดียว มันจะเป็นอะไรไป เราขยันขนาดนี้แล้ว แค่นี้ไม่ได้อย่างไร” นี่แหละทางของกิเลสล่ะ นี่กิเลสมันเปิดช่องของมัน

ฉะนั้น เขาบอกว่าผมนอนภาวนา

อันนี้เห็นใจนะ ถ้านอนภาวนา เราก็แก้ไขของเรา เราหาทางของเราไง ถ้ามันเป็นไปได้ เวลานอนภาวนา เพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าให้การปฏิบัติอิริยาบถ  เดิน ยืน นั่ง และนอน แต่ครูบาอาจารย์เราส่วนใหญ่ท่านตัดนอนออก ท่านบอกนอนมันเหมือนปากเหว นอนนี่ปากเหว มันจะตกเหวอย่างเดียว ฉะนั้น ยืน เดิน นั่ง ท่านอนนี่เอาออก แขวนไว้ก่อน ไม่เอา ปากเหวแล้วชอบด้วยนะ ยืน เดิน นั่งนี่ไม่เอา ชอบนอนอยู่ปากเหว แล้วมันวูบไปก็ไม่เป็นไร แป๊บเดียว

ฉะนั้น เราเองเราก็ภาวนา เราเนสัชชิกมาตลอดนะ นอนภาวนานี่ไม่เคยทำเลย ไม่ใช่ว่าไม่ทำนะ ไม่เคยทำเลย แต่นี้มันมีอยู่ในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อิริยาบถ  ท่านบอกยืน เดิน นั่ง นอน ได้ทุกช่องทางเพื่อความเปิดกว้าง ฉะนั้น ถ้านอนแล้วมันทำให้เราปากเหว ให้เราตกเหว เราก็ไม่ควรนอนน่ะ

แล้วทีนี้คำถามว่า เวลาเขานอนภาวนา ฉะนั้น เวลาเขาไม่มีที่ไง ฉะนั้น เวลาตอนนั่งสมาธินี่สติดีมาก แต่นั่งไม่ได้นาน หรือเดินจงกรมสติก็ดีมาก กระผมชอบเดินจงกรมมากที่สุด กระผมภาวนาที่บ้านครับ จึงไม่สะดวกในการเดินจงกรมกระผมจึงนอนภาวนา

นั่งสิ นั่งภาวนา คำถาม ผู้ถาม เราจะบอกว่า จิตมันดื้อแล้ว จิตมันดื้อคือมันเคยแล้ว ถ้าเราได้นอนภาวนาแล้วมันรู้มันเห็นอย่างนี้ เหมือนกับคนเรามันฝึกฝนสิ่งใดแล้วมันไปค่อนทางแล้ว เพียงแต่ว่าพอค่อนทางแล้วมันเริ่มมีผล พอเริ่มมีผลโยมถึงเขียนมาถามไง มันเริ่มมีผลคือมันไปรู้ไปเห็นแล้ว ทีนี้พอรู้เห็นแล้ว ถ้าเปลี่ยนจากการนอนมันก็เป็นเรื่องที่ทรมานพอสมควร เพราะมันเคยนอนภาวนามาตลอด แล้วนอนภาวนาทีไรมันเผลอๆ ทุกทีเลย แต่ภาวนาดี ถ้าไปเดินไปนั่งมันไม่ดี

มันไม่ดีเพราะมันไปขัดเกลากิเลส มันไม่ดีเพราะกิเลสมันไม่ชอบ กิเลสมันไม่ชอบสิ เพราะเป็นการทำงาน การทำงาน เราอาบเหงื่อต่างน้ำทำงานคือว่าหวังผลงาน ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เราภาวนา เราก็นั่งสมาธิ เดินจงกรม เราก็หวังผลของงาน

เขาบอกว่าเขาเดินจงกรมดี แต่ภาวนาที่บ้านเขา

มันจะที่บ้าน มันจะสั้นมันจะยาวก็ให้ได้ เพราะว่าเวลาอ้างอย่างนี้นะ หลวงปู่หลุยท่านเดินจงกรมในกลด กลดนี่มันขนาดไหน กลดมันกว้างเกิน  เมตรไหมท่านเดินรอบกลดนะ หลวงปู่หลุยน่ะ ฉะนั้น เวลาพระธุดงค์ไปนี่นะ ฝนตก แดดออก สถานที่ไม่มี มันก็ต้องอาศัยสถานที่อย่างนั้นภาวนา ไม่ใช่ว่าเราไปแล้วมันจะสะดวกไปหมดนะ เราไปบางที่มันก็ไม่มีที่ให้ภาวนาเหมือนกัน แต่เราก็ต้องหาที่ของเรา ไอ้นี่เวลาอยู่ที่บ้าน ที่บ้านเราก็หาเอา

เราเห็นใจนะ เพราะที่บ้าน คนในบ้านส่วนใหญ่แล้วเขาเห็นแล้วเขาขวางลูกตา ถ้าคนในบ้านนะ ใครคนหนึ่งไปภาวนานะ ไอ้คนพี่ๆ น้องๆ มันแหมมันไม่ชอบ คือมันอยากให้อยู่กับโลกด้วยกันไง คือมันกลัวภาวนาแล้วเป็นพระอรหันต์ไป มันกลัวตามไม่ทัน มันต้องให้อยู่ทุกข์ยากด้วยกันน่ะ

ทีนี้ภาวนาในบ้านส่วนใหญ่จะมีการกระทบกระทั่งกัน น้อยมากที่ในครอบครัวครอบครัวหนึ่งมีความเห็นไปทางเดียวกัน หายากมาก ทีนี้ถ้าครอบครัวใดนะ ถ้ามีความเห็นอันนี้นะ สาธุมากนะ สาธุ สามีภรรยาจะมีความเห็นแตกต่างกัน บางบ้านนะ สามีอยากภาวนา บางบ้านภรรยาอยากภาวนา แล้วขัดแย้งกันตลอด ถ้าขัดแย้งกัน มาถามเรา เราก็บอกว่า ก็กรรมของสัตว์ ก็โยมหาเอง ผู้ชายก็หาภรรยาเอง ภรรยาก็หาสามีเอง ก็โยมหาเอง แล้วจะมาถามพระ พระไม่เกี่ยว

เพราะเรื่องจริตนิสัยความเห็นมันยาก แล้วเป็นสิทธิ์ของเขา ความคิดความเห็นเป็นสิทธิ์ของคน แล้วให้เราไปห้ามปรามสิทธิของเขา แต่เราต้องทำความดีของเรา ภาวนาจริงๆ นะ นี่จะภาวนาจริงๆ นะ ไม่ได้รังเกียจใคร ไม่ได้แอนตี้ใครภาวนาจริงๆ นะ แล้วใช้เวลาพิสูจน์ว่าเราทำดีจริงๆ ถ้าเขาเห็นความดีของเรา เออเขาทำความดีแหละ ก็สาธุกับเขา แต่ตอนนี้มันเริ่มต้น ต่างคนต่างลองใจกันน่ะลองใจกัน เขาก็ไม่เชื่อเรา เราก็ไม่เชื่อเขา เราก็ต้องเข้มแข็ง เข้มแข็งของเรา แล้วเราพยายามทำของเราสืบเนื่องไป

เราทำความดีเพื่อความดี ถ้าใครไม่เห็นว่าความดีจริงก็เป็นกรรมของสัตว์แต่ถ้าเราทำความดีของเราเพื่อความดี ถ้าเขาเห็นความดีของเราก็สาธุ เลือกไม่ผิดคน เลือกคนดีมาได้ แต่ถ้าเราทำความดีมาแล้วเขายังไม่เห็นกับเรานะ กรรมของสัตว์ เราก็ทำความดีแล้ว มันเป็นสิทธิของเขา

นี่พูดถึงว่าถ้าภาวนาในบ้าน กรณีนี้มันกระทบกระเทือนกันไปหมด เพราะอะไร เพราะผลของวัฏฏะ การเวียนว่ายตายเกิด หัวใจของคนไม่เท่ากันไม่เสมอกัน ความเห็นของคนไม่เท่ากันไม่เสมอกัน มันจะเอาเสมอกันมาจากไหน

สัปปายะไง หมู่คณะเป็นสัปปายะ มีเพื่อนที่ดี มีหมู่คณะที่ดีนี่สุดยอด เราพูดบ่อยนะ ทุกข์ของบัณฑิตนี่ทุกข์คืออะไรรู้ไหม ทุกข์ของบัณฑิตทุกข์มากๆ เลย คืออยู่ใกล้คนพาล คนพาล คนไม่มีเหตุผล ทุกข์ฉิบหายเลย อยู่ใกล้มันนี่ทุกข์ฉิบหายทุกข์อยู่กับคนพาลนี่ คนพาล คนไม่มีเหตุผล บัณฑิตกลัวที่สุด กลัวคนพาล มันไม่มีเหตุมีผลน่ะ แล้วเราต้องทนอยู่กับมันน่ะ ทุกข์ฉิบหาย

ระบายใหญ่เลย

นี่พูดถึงว่าภาวนาในบ้าน ฉะนั้น เขาบอกภาวนาในบ้านเขาถึงไม่มีที่ภาวนานี่บอกว่าถ้าภาวนาในบ้านเป็นอย่างนี้

ถ้านั่งสมาธิ กลับมานั่งสมาธิแล้วเดินจงกรมเอา นอนนี่ ภาษาเรานะ ขอเลยอย่านอน นอนนี่ปากเหวจริงๆ ลงเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แล้วลงไปแล้วบอกว่ากำลังจะลงสมาธิ เวลามันลงไปแล้วนะ มันคิดว่าเป็นสมาธิ...ภวังค์ทั้งนั้นน่ะ ภวังค์ทั้งนั้น

ภวังค์มันกึ่งสมาธิไง มันเป็นสมาธิ แต่เป็นมิจฉา มันเป็นความว่างๆ อันหนึ่งแต่ขาดสติ มันใกล้ๆ สมาธิน่ะ แต่มันไม่ใช่ ถ้าสมาธิ สติมันสมบูรณ์ มันสมบูรณ์ก็เงิน เงินของเรา แบงก์มันสมบูรณ์ ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไอ้นั่นน่ะแบงก์ แต่มันเลือนราง มันใช้ไม่ได้ตามกฎหมาย จะว่าไม่ใช่ มันก็เป็นแบงก์ แต่ใช้ตามกฎหมายไม่ได้ แต่ถ้ามันสมบูรณ์นี่นะ มันเป็นแบงก์ที่ใช้หนี้ได้ตามกฎหมาย สติสมบูรณ์ นี่คือสมาธิ

แต่ถ้าเป็นภวังค์นะ ภวังค์ ถ้าพูดถึงโดยทั่วไปเขาว่าสมาธิเหมือนกัน แต่เป็นมิจฉา เป็นสมาธิชนิดหนึ่ง ว่าอย่างนั้นเถอะ เป็นสมาธิชนิดหนึ่ง แต่เป็นพรหมลูกฟัก มันเป็นไอ้พวกที่นอนจมอยู่นั่นน่ะ มันเป็นมิจฉา มันใช้ประโยชน์ไม่ได้ ใช้หนี้ไม่ได้ แต่ไอ้คนที่มีมันไปภูมิใจไง แบงก์กงเต๊ก มีเป็นหีบๆ เลย ใช้หนี้ตามกฎหมายไม่ได้ นี่คือภวังค์

ฉะนั้น พอมันเป็นภวังค์ ภวังค์ ภาษาเราว่ามันแตกต่างจากอารมณ์ปกตินี้ พอแตกต่างจากอารมณ์ปกตินี้ เราก็คิดว่าเราภาวนาแล้วเราดีขึ้นไง ทุกคนจะคิดอย่างนี้ คิดว่าตัวเองมันดีขึ้น แต่ความจริงไม่รู้ว่านั่นมันตกเหว มันลงไปเหวแล้วมันว่ามันดีขึ้น...มันเป็นภวังค์

ฉะนั้นถึงบอกว่า สติเป็นสติ ปัญญาเป็นปัญญา สิ่งที่มันจะแก้ไขได้ มันแก้ไขได้ด้วยปัญญา เพราะมีปัญญา เพราะมีสติ มีสมาธิ แล้วพอปัญญาเกิดขึ้น มันถึงทำให้เรามีมุมมอง แล้วทำให้เราคัดแยกอะไรผิดอะไรถูก แล้วถ้าเราคัดแยกอะไรผิดอะไรถูก สาธุ อันนั้นสำคัญที่สุดเลย เป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เพราะเรารู้ผิดรู้ถูกเองนี่สุดยอด

ถ้าให้คนอื่นบอก มันคัดค้านไง ถ้าให้คนอื่นบอกก็ “อิจฉาเรื่อยเลย อะไรๆ ก็คอยเพ่งโทษฉันน่ะ”...นี่ถ้าคนอื่นบอกนะ

แต่ถ้ามันรู้เองนะ แหมชัดๆ นี่ไง ถ้าปัญญารู้เองนี่สุดยอด แต่ถ้าให้ครูบาอาจารย์บอก ครูบาอาจารย์ท่านจะเปรียบเทียบ ท่านจะอ้อมๆ ถ้าบอกตรงๆ กิเลสมันไม่ยอมหรอก กิเลสมันจะเกิดทิฏฐิมานะ มันจะยึดอารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ของมัน แล้วมันจะเข้าข้าง แก้ยาก แก้จิตนี้แก้ยาก หลวงปู่มั่นพูดบ่อย “แก้จิตแก้ยากนะ ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ

คนไม่เคยภาวนามันไม่รู้ถึงอารมณ์อย่างนี้ๆๆ หรอก มันใกล้ๆ กันนั่นแหละแต่มันแยกไม่ออก ภวังค์กับสมาธิมันแตกต่างกันอย่างไร

ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ แล้วก็สมาบัติ  สมาบัติ  แล้วเวลาพูดถึงสมาธิ สมาธิมันเป็นคุณสมบัติของสมาธิ แต่เวลาที่ว่าว่าง ความว่างในอัปปนาสมาธิ มันเป็นสมาธิ สมาธิคือโลกียปัญญา คือเป็นเรื่องของโลก เรื่องของฌานโลกีย์

แต่ถ้ามันเป็นปัญญา เห็นไหม เวลามันว่าง ว่างอันนั้นมันว่างด้วยปัญญาปัญญาอย่างนั้นปัญญาประกอบด้วยมรรค ประกอบด้วยมรรค มรรคมันชำระล้างมรรคสามัคคี มรรคได้ทำลาย ทำลายแล้วมันเป็นความว่าง ความว่างนั้นมันความว่างเกิดจากมรรค ความว่างเกิดจากปัญญา มันคนละเรื่องกัน มันคนละเรื่องกับสมาธิ มันคนละเรื่องกันเลย

ทีนี้มันคนละเรื่องกัน คนไม่ภาวนายังไม่ก้าวเดินไป ไม่รู้ไง ก็เหมือนกับคนเราเป็นคนก็เป็นคนเหมือนกันน่ะ แต่ใครทำงานประสบความสำเร็จมีตำแหน่งหน้าที่การงาน หัวโขนนั่นแหละมันเป็นคนบอกว่ามีคุณสมบัติแค่ไหน

แต่ถ้าถอดหัวโขนแล้วก็คนเท่ากันหมดเลย ไม่มีใครแตกต่างกับใคร แต่หัวโขนนั้นก็คือคุณสมบัติที่ได้การกระทำ คุณสมบัติของมรรค คุณสมบัติการวิปัสสนา มันพัฒนาขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป มันเป็นประโยชน์ตรงนั้นไง

นี่พูดถึงว่าการนอนภาวนา ถ้าได้แล้วให้นั่งสมาธิ ให้ภาวนา สติเป็นสติ สติสำคัญมาก เขาถึงบอกว่า ไม่มีสติแล้วไปเห็นสิ่งที่น่ากลัวมาก

น่ากลัวมากนะ ถ้ามันน่ากลัวมาก ถ้ามีสติมีปัญญา มันปล่อยหมด กลับมาพุทโธ จบหมดเลย เวลาไปเห็นอะไรก็แล้วแต่นะ ใครเป็นคนเห็น ก็จิตนี้ไปเห็นแล้วกลับมาที่จิตก็จบ เราลืมตา หลับตาก็จบ ลืมตา เห็นแจ่ม หลับตา ไม่มีเลย

จิตส่งออกไปรับรู้ กลับมาที่จิตก็จบ ไอ้ที่ไปรู้สิ่งใดๆ มันมีของมันอยู่ แล้วเวลาเราไม่เห็น มันอยู่ไหนล่ะ เวลาเราไม่เห็น มันอยู่ไหน เวลาไปเห็น ไปเห็นมันทำไม

นี่ไง เวลาจิตมันไปรู้ไปเห็น กลับมาที่จิตไง กลับมาที่จิตก็จบ กลับมาที่พุทโธถ้าจิตมันถอยกลับมาที่ตัวมันเองนะ มันไม่เห็นอะไรเลย สิ่งนั้นมันวางหมด

นี่พูดถึงถ้าไปเห็นสิ่งใดน่ากลัวนะ สิ่งใดน่ากลัว อะไรไปน่ากลัว เวลาเขาไปเที่ยวนรก ไปเที่ยวอเวจี เขาไปเห็นสิ่งนั้น เราไปเห็น เขาเป็นเขา จิตนั้นได้สร้างเวรสร้างกรรมมาเขาถึงมาเกิดตกนรก แล้วเราไป จะไปโปรดสัตว์ จะไปรื้อสัตว์ขนสัตว์ ถ้ามันเป็นไปได้ ฉะนั้น มันไม่ใช่เราไง ภาพที่น่ากลัวก็ไม่ใช่เรา ถ้าภาพที่น่ากลัวมันเป็นอย่างนั้น นี่พูดถึงภาพที่น่ากลัว

แล้วเขาก็ถามว่า กราบให้หลวงพ่อชี้แนะวิธีการทำให้สติเข้มแข็งด้วยครับ

เขาคงคิดว่าถ้าสติเข้มแข็งแล้วจะไม่เห็นภาพนั้น

การนั่งสมาธิที่ถูกต้อง ต้องมีคำบริกรรม คือให้จิตมันเกาะไว้ พุทโธๆ จนพุทโธไม่ได้ เวลาเรากำหนดพุทโธๆๆ แล้วมันจะเป็นพุทโธไม่ได้ก็เป็นชื่อของมันไงพุทโธๆ นี่ชื่อของมัน เวลาเป็นตัวมันแล้วมันพุทโธไม่ได้ นั่นอัปปนาสมาธิ เราต้องมีที่เกาะไว้ พุทโธไว้

นี่เขาบอกว่าให้นั่งสมาธิที่ถูกต้อง

คำว่า “ถูกต้อง” ให้จิตมันมีคำบริกรรมไว้ แล้วใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าลมหายใจเข้านึกพุท ลมหายใจออกนึกโธ กำหนดลมหายใจเฉยๆ ก็ได้ คือจิตมันเกาะไว้หมด จิตเกาะไว้คือจิตมีการกระทำ เหมือนกับเราซักผ้า ไม่มีผ้าให้ซัก มันจะสะอาดได้อย่างไร ซักผ้าก็ต้องมีผ้าที่สกปรก ซักผ้าที่สกปรกให้เป็นผ้าที่สะอาด

พอภาวนานะ ภาวนา จิตที่มันเศร้าหมอง จิตที่มันมีแต่ความทุกข์ พุทโธๆ จนมันสะอาด พุทโธๆๆ เหมือนเราซักผ้า ซักจนมันสะอาดใช่ไหม ความสกปรกไม่มีแล้ว ผ้าขาว จิตพุทโธๆๆ จนพุทโธไม่ได้ จิตขาว จิตสว่างกระจ่างแจ้ง นี่พูดถึงว่าแนะนำวิธีการนั่งสมาธิ

เขาบอกว่า ทำให้สติเข้มแข็ง

สติก็สมบูรณ์ตามสติ แล้วเวลาขึ้นไปแล้วมันจะเป็นมหาสติ ฉะนั้น คำว่า “เข้มแข็ง” เข้มแข็งอย่างไร คำว่า “เข้มแข็ง” เพราะมันต้องมีปัญญารองรับ มันถึงมีมรรค  ไง สติ สมาธิ ปัญญา มันหมุนวนกัน มันแบบว่าเชิดชูกัน ซับซ้อนเพื่อให้เจริญศีล สมาธิ ปัญญา

ฉะนั้น คำว่า “สติ” ก็คือสติ

สติเข้มแข็งขึ้นมา เขาว่าสติเข้มแข็งแล้วจะไม่เห็นอะไรเลย

เห็นอยู่อย่างเดิมน่ะ ยิ่งสติเข้มแข็งยิ่งเห็นชัดเข้าไปใหญ่ แต่ถ้ามีปัญญาแก้ไขปัญญาปล่อยวางแล้วจบ นี่พูดถึงว่าสติเป็นสติ ปัญญาเป็นปัญญานะ

นี่พูดถึงว่าคำถาม นี่พูดถึงว่าอธิบายให้ความเข้าใจ

อย่าคิดว่าสติเข้มแข็งแล้วจะไม่รู้เห็นอะไร

ทีนี้คำว่า “สติ” ว่าสติยับยั้งได้ หลวงตาบอกว่า ฝ่ามือสามารถกั้นคลื่นทะเลได้ สติยับยั้งความคิดได้หมด

ใช่ ถูกต้อง ก็ยับยั้งก็ยับยั้ง เวลาความคิดความฟุ้งซ่านมันก็ยับยั้งได้ แล้วต่อเนื่องไปล่ะ แล้วความที่ไปเห็นนั้นล่ะ มันต้องมีปัญญา ถ้าปัญญามันจะเกิดขึ้น

เพราะว่าเวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์สิ่งใดแล้ว เพียงแต่พวกเราอ่อนด้อยจะหยิบฉวย แล้วจะเอาเป็นประโยชน์กับเราไง นึกว่าสตินี่เป็นพระอรหันต์เลย มีสติตัวเดียวเป็นพระอรหันต์เลย

ฉะนั้น สติตัวนั้น ถ้าเพียงแต่มีสติแล้วมันสมบูรณ์ แล้วการกระทำเรามันเจริญพัฒนาขึ้นมา แล้วเราจะเจริญงอกงาม เดี๋ยวมันจะเป็นมรรค เดี๋ยวมันจะเกิดปัญญาขึ้นมา เราจะฉลาดขึ้น ทำงานเป็น ทำงานได้สมบูรณ์ขึ้น เราก็จะทำงานเป็นแล้วมันจะรู้ไปเป็นความจริง แต่พูดให้รู้ยาก แต่เราทำของเราขึ้นมาเพื่อประโยชน์กับผู้ที่ภาวนา เอวัง