เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๖ ธ.ค. ๒๕๕๘

 

เทศน์เช้า วันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๕๘
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เมื่อวานเป็นวันสำคัญของชาติ วันนี้ก็ยังเป็นวันสำคัญของชาติต่อเนื่องกันมา เวลาวันสำคัญของชาติ เขาอุปสมบทเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ในหลวง เรามาวัดมาวาของเรา เราจะมาประพฤติปฏิบัติของเราไง เราปฏิบัติเพื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่บูชาในหลวง ถ้าบูชาในหลวง เพราะว่าเป็นวันสำคัญของชาติ เขามีวันหยุดให้เราได้มาประพฤติปฏิบัติ

ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติของเรา การประพฤติปฏิบัติ ประพฤติปฏิบัติให้ตามความเป็นจริง ถ้าตามความเป็นจริงในหัวใจของเราไง ถ้าเราทำใจของเราได้จริง ถ้าทำของใจเราไม่จริง เราตั้งใจ เวลาไปวัดไปวาอยากจะได้สมาธิ อยากจะได้ปัญญา อยากประสบความสำเร็จ มันเป็นการกดดันตัวเองทั้งนั้นน่ะ เวลาเราปฏิบัติ เราปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ผลของมันนี่ของเราทั้งนั้นนะ ถ้าผลของเรา

ดูสิ ทางโลกเขา ทางโลกเขามันเป็นวัฒนธรรมประเพณี เขาทำอย่างนั้นเราชื่นชมเขา เราชื่นชมเขาว่าวันสำคัญของชาติ เราระลึกถึงในหลวง ระลึกถึง นี่หัวใจของชาติ ระลึกถึงพ่อของชาติ แล้วเขาทำประโยชน์กับชาติ ประโยชน์กับชาติคือความสามัคคีไง มีความสามัคคี มีความร่มเย็นเป็นสุข เราเจือจานต่อกัน วันนี้วันสำคัญของชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใส ไปไหนมีแต่รอยยิ้ม มีแต่ความอบอุ่น นั่นเราทำเพื่อชาติไง

แต่นี่วันสำคัญของชาติ เราจะบูชาในหลวงของเรา เรามาวัดมาวา เราจะประพฤติปฏิบัติ ของเขา เขาอุปสมบทเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ในหลวง เขาทำทีไรก็อุทิศส่วนกุศลให้ในหลวง เก็บขยะก็อุทิศส่วนกุศลให้ในหลวง เขาทำเพื่อในหลวงทั้งนั้นเลย เพราะเขามีความผูกพันไง เขามีหัวใจของเขาไง แต่เราก็มีหัวใจของเราเหมือนกัน เราก็อุทิศเพื่อในหลวงเหมือนกัน ถ้าเราอุทิศเพื่อในหลวง แต่เราเพื่อหัวใจของเรา

ถ้าเราทำเพื่อหัวใจของเรา เวลาเราจะมาประพฤติปฏิบัติของเรา เรามีสติของเรา แล้วมีสติของเรา เราเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ภาวนาขึ้นมาเห็นพุทธะ เห็นพุทธะคือความสงบร่มเย็นในหัวใจของเรา ถ้าความสงบร่มเย็นในใจของเรามันเป็นความจริง

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้เลยว่า “ธรรมะย่อมชนะอธรรม ธรรมะย่อมชนะอธรรม”

ธรรมะคือธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากว่าจะได้ธรรมะอันนี้มา ไปศึกษาเล่าเรียนกับเจ้าลัทธิต่างๆ ไปทำฌานสมาบัติกับอาฬารดาบส อุทกดาบส เขาประกันว่า “มีความรู้เหมือนเราๆ” ถ้าความรู้เหมือนเรา เป็นธรรมะหรือยัง

“ธรรมะย่อมชนะอธรรม” อธรรมมันคืออะไรล่ะ? อธรรมคือความเข้าใจผิด อวิชชาคือความไม่รู้ เพราะความไม่รู้เข้า ใครพูดสิ่งใดก็เชื่อเขา พอความเชื่อเขาก็ตามกันไป

“ธรรมะย่อมชนะธรรม” ชนะอธรรมตรงไหนล่ะ ชนะอธรรมที่ว่ามันสงบร่มเย็นตามความเป็นจริงไง เรามีความจริงไง กาลามสูตร ไม่ให้เชื่อใครทั้งสิ้น ให้เชื่อหัวใจที่ร่มเย็นเป็นสุข ให้เชื่อที่มันมีสติปัญญาขึ้นมา แล้วเราพุทโธ ลมหายใจเข้าลมหายใจออก มันสงบจริงหรือไม่จริงล่ะ ถ้ามันสงบจริง สมาธิ เห็นไหม ดูสิ มิจฉาสมาธิ เวลาตกภวังค์ขึ้นมา เบลอๆ นั่นล่ะเขาว่าเป็นสมาธิก็สมาธิได้ สมาธิ เพราะถ้าเราไม่เบลอๆ ใช่ไหม เราก็คิดฟุ้งซ่านใช่ไหม เราก็คิดแต่เรื่องเอาฟืนเอาไฟมาเผาตัวเองใช่ไหม พอมีสติยับยั้งไว้ได้บ้างมันก็วาง

มันวาง แต่มันไม่มีคุณสมบัติพอ มันไม่มีคุณสมบัติพอ พุทโธๆ จนพุทโธไม่ได้ แต่พุทโธไม่ได้มันเป็นอิสระใช่ไหม เพราะพุทโธไม่ได้มันเป็นอิสระไง แต่นี้พุทโธมันละเอียด ทุกคนบอก “มันละเอียดแล้วมันหยาบไม่ได้” นี่เข้าข้างตัวเองไง เพราะมันละเอียด มันละเอียดคือพยายามจะทำให้มันเผลอ ถ้ามันมีสติขึ้นมามันไม่ละเอียดไง มันจะหยาบขึ้นมา ก็ทำเบาๆ ทำเลื่อนลอยไป บอกว่า “มันละเอียดๆ”...อธรรม

“ธรรมะย่อมชนะอธรรม ธรรมะย่อมชนะอธรรม”

ถ้ามันพุทโธแท้ๆ สติจริงๆ สมาธิจริงๆ สติจริงๆ สมาธิจริงๆ สติก็คือสติ สมาธิก็คือสมาธิ มันเป็นชื่อทั้งนั้นน่ะ เวลามันเกิดกับเรานะ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เวลาเข้าไปแล้ว เข้าอัปปนาสมาธิ มันชัดเจน คนที่เข้าอัปปนาสมาธิได้นะ เขาต้องเข้าขณิกสมาธิมา อุปจารสมาธิมา อัปปนาสมาธิมา เขาชัดเจนของเขา พุทโธๆๆ มันจะพุทโธไม่ได้ พอมันพุทโธไม่ได้มันจะเกิดว่า “โอ๋ย! ถ้าพุทโธไม่ได้ เราไม่ใช่ตายหรือ” นี่เวลาจะตายมันจะตกใจออกไง ถ้ามันตกใจมันก็จะถอนออกมา

แต่ถ้ามันพุทโธต่อเนื่องไป พุทโธๆ ถ้ามันบอกมันจะพุทโธไม่ได้ มันพุทโธไม่ได้ เราก็พุทโธอยู่นี่ไง เราก็มีสติปัญญาอยู่นี่ไง เราก็รู้เท่าอยู่นี่ไง เราก็พุทโธต่อเนื่องไปไง พอพุทโธต่อเนื่อง พุทโธๆ มันละเอียดเข้าไป มันชัดเจนเข้าไปไง คำว่า “อัปปนาสมาธิ” มันชัดเจน มันเหมือนกับศาสตราจารย์ คนที่เป็นศาสตราจารย์เขาทำวิชาการมา ส่งแล้ว กรรมการรับแล้วเขาเป็นศาสตราจารย์ เขาจะมาโง่ๆ เซ่อๆ ได้อย่างไร เขาเป็นศาสตราจารย์

อัปปนาสมาธิมันผ่านขณิกสมาธิเข้ามา มันผ่านอุปจารสมาธิเข้ามา มันจะเข้าอัปปนาสมาธิ มันยังโง่ๆ เซ่อๆ บอกว่าเผอๆ เรอๆ อย่างนั้นใช่ไหม ไอ้เบลอๆ นั่นน่ะมันไม่ใช่สมาธิทั้งนั้นน่ะ “ธรรมะชนะอธรรมๆ”

เราไม่ได้โจมตีใคร ไม่ได้ว่าใคร แต่มันเป็นเพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้ของเรา เพราะคนไม่รู้ เห็นไหม เราไม่รู้สิ่งใดเลย ไปถึงเห็นเงินหล่นมาใส่ต่อหน้า เงินหล่นมาต่อหน้า ๕ ล้าน งงเลยนะ ทำอะไรไม่ถูกนะ แต่เงินมาจากไหนล่ะ เงินมันหล่นมาใส่หน้า

นี่ก็เหมือนกัน พอภาวนาเข้าไป จิตมันไปรู้ไปเห็นอะไรเข้าไป ความรู้ความเห็นอันนั้นเราเชื่อได้แล้วหรือ ความรู้ความเห็นอันนั้นมันทำให้เราตกใจหรือ ความรู้ความเห็นอันนั้นมันสั่นไหวหัวใจเราหรือ มันสั่นไหวไปหมด เพราะอะไร เพราะเราไม่เคยรู้เคยเห็นไง ดูสิ เงินตกใส่หน้า ๕ ล้าน เราไม่กล้าหยิบเลย เดี๋ยวกลัวปปง. มันจะมาตรวจสอบ เงินเอามาจากไหน แต่ถ้ามันตกมาโดยไม่มีใครรู้มันก็งุบงิบเก็บไว้เลย เก็บเข้าบ้านก่อน ๕ ล้านนี้ไม่มีใครเห็น พอไปใช้จ่ายขึ้นมาเดี๋ยวเขาตรวจสอบเลย เงินมาจากไหน ถ้าเงินมาไม่ได้ ยึดเป็นของแผ่นดิน

จะบอกว่า “ธรรมะย่อมชนะอธรรม” ถ้าเราจะปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุทิศบุญกุศลแก่ในหลวง เราพยายามจะทำของเราไง ถ้าทำของเรา เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ “อานนท์ เธอบอกบริษัท ๔ เถิด ให้ปฏิบัติบูชาเราเถิด อย่าบูชาด้วยอามิสเลย”

แต่ในเมื่อคนที่เขาเป็นชาวพุทธของเขา เขามีวัฒนธรรมประเพณีของเขา เขาทำของเขาก็เพื่อประโยชน์กับเขา นั่นเราก็ชื่นชมไปกับเขา แต่ถ้าเราจะเอาจริง แก่นของศาสนาๆ แก่นของศาสนาคือศาสนทายาท

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ปัญจวัคคีย์ ได้ปัญจวัคคีย์มา ๕ องค์ ไปเทศน์ยสะขึ้นมาได้อีก ๕๔ องค์ ทั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย “เธอพ้นจากบ่วงที่เป็นโลกและบ่วงที่เป็นทิพย์ เธออย่าไปซ้อนทางกัน โลกนี้เร่าร้อนนัก”

พระอรหันต์ ๖๑ องค์เผยแผ่มาด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ไง แต่พอมากระจายไป มันมากขึ้นไป มันก็มีมุมมองแตกต่างกันไปร้อยแปดพันเก้า ร้อยแปดพันเก้า ธรรมวินัยมันถึงได้ออกมาบังคับไว้ไง ถ้าออกมาบังคับๆ สิ่งที่ว่า “ธรรมะชนะอธรรม” ถ้าธรรมะสัจจะความจริง เราปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมาๆ สติก็สติจริงๆ พอสติจริงๆ ขึ้นมา คนที่ปฏิบัติมันจะรู้ได้ มันรู้ได้เพราะคนที่กระทำอยู่มันต้องมีโอกาสที่มันรวมลง โอกาสที่มันสงบระงับเข้ามา เวลาโอกาสอย่างนั้นเกิดขึ้นมา เราจะทึ่งเลยล่ะ อ๋อ! สติมันดีอย่างนี้เลยเนาะ แล้วก็คาดหวังอยากได้สติให้มากกว่านี้ อยากได้สติที่ดีกว่านี้ พอจิตมันสงบขึ้นมา มันปล่อยวางขึ้นมา อ๋อ! มันมีความสุขมาก มันมหัศจรรย์มาก อยากให้ได้มากกว่านี้ พออยากได้มากกว่านี้ ตัณหาซ้อนตัณหา นี่มันก็อยากจริงๆ นั่นแหละ ด้วยคนมีชีวิต ไม่ใช่คนตาย คนตายไม่มีความอยาก อยากได้อยากดีเป็นเรื่องธรรมดา แต่ความอยากได้อยากดีมันอยากได้อยากดีในความเพียร อยากได้อยากดีในความขยัน ความวิริยะ ความอุตสาหะ แต่ผลอันนั้นมันต้องเป็นความจริงของมัน เพราะความอยากได้อยากดีขึ้นมาแล้วเราก็หวังผลอันนั้น แล้วลัดขั้นตอนนั้นไป พอลัดขั้นตอนนั้นไป แล้วก็มาเรียกร้องเอาว่าเราปฏิบัติแล้วเราทุกข์เรายาก

เวลาเราปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิบัติบูชาครูบาอาจารย์ของเรา เราปฏิบัติของเราไปโดยตามข้อเท็จจริง ถ้าตามข้อเท็จจริง เรานับไปสิ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ มันก็ต้องถึง ๑๐ นับไปมันก็ถึงร้อย

นับไป ๑ ๒ ๓ ลืม ก็ขึ้นต้นใหม่ ๑ ๒ ๓ ๕๐๐...๑ ๒ ๓ ๘๐๐...๑ ๒ ๓ ๑,๐๐๐ อยู่อย่างนั้นน่ะ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ นับของเราไปแล้วก็ทำของเราไป คำว่า “ทำของเราไป” คือเราจะบอกว่าสัจธรรมมันก็เป็นสัจธรรม ความจริงมันก็เป็นความจริง ถ้าเราระลึกถึงพุท หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ เราทำของเราต่อเนื่องไป

นาโน ความรู้สึกของเรามันซับซ้อนๆ มันเข้มแข็ง มันแก่กล้าขึ้นไป อย่าไปด่วน อย่าไปรีบ อย่าไปคิดว่าเราจะต้องได้อย่างนั้นๆ เพราะความว่าเราต้องได้อย่างนั้นแล้วมันเป็นไก่ได้พลอยด้วย เวลามันได้จริงๆ ขึ้นมามันไม่รู้ เวลาได้จริงๆ มันบอกไก่มันได้พลอย บอกไม่เอา อยากได้ข้าวสารเม็ดหนึ่ง อยากเอาพลอยไปแลกข้าวสาร เวลามันได้จริงๆ ขึ้นมา มันเป็นอย่างไรน่ะ มันว่างๆ เวลามันเป็นจริงมันเป็นจริงของมันอย่างนั้น เพราะเราไม่เคยรู้เคยเห็นไง

แต่พอมันไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น พอไปถามครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ว่าเป็นความจริงอย่างนั้น ความจริงอย่างนั้น เราก็อยากได้อย่างนี้อีก เราก็พยายามทำของเรา ทำของเรา พยายามพัฒนาขึ้นมาจนชำนาญในวสี ชำนาญในการเข้าการออก ชำนาญในการรักษา อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้เอง มันเป็นอย่างนี้เอง แล้วเราดูแลรักษาของเรา ไม่ใช่ไก่ได้พลอย

ไก่มันได้พลอยมา มันไม่ต้องการ มันต้องการข้าวสาร มันต้องการข้าวเปลือก มันต้องการอาหารของมัน มันไม่ต้องการพลอย แต่เราเป็นมนุษย์ เรารู้จักว่าพลอยมันมีคุณค่า เราเป็นมนุษย์ เรามีปัญญาของเรา เราเอาพลอยไปแลกเป็นปัจจัยเป็นเงินทองขึ้นมา เราจะไปซื้อข้าวสารได้อีกท่วมท้นมหาศาลเลย นี่ถ้าเราคิดเราบริหารจัดการเป็นไง นี่ก็เหมือนกัน เราทำของเรา ทำของเราตามความเป็นจริงไง

แล้วเราอุตส่าห์มาวัดมาวากัน เราอุตส่าห์มาประพฤติปฏิบัติ แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา “มาถึงแล้วหลวงพ่อไม่เห็นสอนอะไรเลย”

ถ้าหลวงพ่อสอน เอ็งก็จำแต่คำสอนนี้ไป มันก็เป็นปริยัติไง

ถ้าจำคำสอนไป หลวงพ่อว่าอย่างนั้นๆ หลวงพ่อบอกว่าให้เข้าทางจงกรม ให้นั่งสมาธิภาวนาไป กรรมฐาน ๔๐ ห้อง การทำความสงบ ๔๐ วิธีการ เวลาเรามาวัดมาวา ทางจงกรม ที่นั่งสมาธิของเรามันสงบสงัด มันวิเวก แต่ใจเรามันไม่วิเวก

ถ้าข้างนอกเป็นสัปปายะก็อยากให้ข้างในเป็นสัปปายะ แล้วข้างในเป็นสัปปายะมันมีแต่ขยะ อารมณ์ไง สัญญาอารมณ์เป็นขยะ แล้วขยะอันนี้มันกรองออกไม่ได้ไง ข้างนอกมันวิเวก แต่ข้างในมันไม่วิเวก แล้วมันจะมาปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามข้อเท็จจริงไง ถ้าตามข้อเท็จจริง น้ำใส น้ำใจ น้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ แต่น้ำของเรา เราก็รู้ว่าน้ำใจของเรา

เราเกิดมานี่ปฏิสนธิจิต มันมากับเราทั้งนั้นแหละ ความดีของเราก็มี ใครบ้างไม่เคยทำความดี ทำความดีทั้งนั้นน่ะ แล้วใครบ้างไม่เคยผิดพลาดในชีวิตมาบ้าง มันก็ผิดพลาดมาทั้งนั้นน่ะ มันก็สะสมลงที่ใจ เพราะใจ เจตนาเป็นผู้กระทำ มันจำได้ตั้งแต่เรามีวุฒิภาวะที่จะจำได้ แล้วเราทำอะไรถูกทำผิดมา มันก็ฝังใจมา พอฝังใจมา เวลานั่งสมาธิภาวนามันก็จะเอาความสะอาดบริสุทธิ์ที่นี่แหละ พอมันจะเอาความสะอาดบริสุทธิ์ที่นี่ คนอย่างเอ็งนี่หรือจะทำสมาธิ มันอายเลยนะ ถ้าคิดเอง คนอย่างเอ็งหรือจะทำสมาธิ

เออ! คนอย่างเรานี่แหละทำสมาธิ ทำไม เราก็ทำได้ เพราะว่าเราก็มีสติมีปัญญาเหมือนกัน เราก็ลูกศิษย์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับบริษัท ๔ เราเป็นอุบาสก อุบาสิกา “มารเอย เมื่อใดภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาของเราๆ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เข้มแข็ง สามารถกล่าวแก้คำจาบจ้วงของลัทธิต่างๆ ได้ เราจะไม่ยอมนิพพาน”

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ไอ้กิเลสยุแหย่ มันจาบจ้วง จาบจ้วงหัวใจ แล้วหัวใจของเรา เรามีสติปัญญา เราจะแก้ไขมัน ทำไมจะทำไม่ได้ คนเรามันจะมีความผิดพลาดขนาดไหนก็แล้วแต่ ถ้ามีสามัญสำนึกได้มันก็แก้ไขของมัน การแก้ไขนั่นล่ะบัณฑิต นั่นล่ะปัญญาชน ปัญญาชนคนที่มีปัญญาแก้ไขเราไง สิ่งที่ผิดพลาดไปแล้ว มันเป็นอดีตไปแล้ว เราก็วางมันไปเสีย แล้วเราก็พยายามสำนึกว่าถ้าเรามีสติปัญญา เราจะไม่ทำอย่างนั้นอีก เราจะไม่ทำอย่างนั้นอีก แต่ด้วยร่องของความคิด จริตนิสัย พอไปเจอเข้ามันก็ชอบ ถ้าชอบมันก็ต้องฝืน

ถ้าจริตนิสัยของคน ดูสิ ดูครูบาอาจารย์ของเรา หลวงตาท่านบอกว่า บางองค์ชอบอดอาหาร บางองค์ชอบอดนอน บางองค์ชอบผ่อน บางองค์ๆ เราหาของเรา หาของเราที่มันอยากได้ หลวงตาท่านสอนประจำ มันอยากไป ไม่ไป มันอยากกิน ไม่กิน มันอยากทำอะไร ไม่อยาก ฝืนมันๆ ฝืนมันคือฝืนกิเลส ก็เราอยากแก้กิเลสไง เราหากิเลสของเราไง อะไรที่มันอยากได้อยากดี อยากได้อยากดีตามตัณหาความทะยานอยากนะ

ถ้าอยากได้อยากดีของมรรค อย่างเช่นเรามาวัดมาวา เรามาประพฤติปฏิบัติเพื่อบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับในหลวง สิ่งนี้มันเป็นมรรค มันเป็นความดี ความอยากอย่างนี้เราอยากแล้วเราทำตาม

ไอ้ความอยากที่ว่าสำมะเลเทเมาอย่างนั้นไม่เอา เหยียบเบรกไว้ ถ้าความอยากที่สำมะเลเทเมา เห็นไหม อวิชชา มารมันจะชักชวนไป แต่ความอยากที่จะทำคุณงามความดี “แล้วทำทำไม คุณงามความดีมันจืดชืด ทำคุณงามความดีไม่เห็นได้อะไรเลย”

ทำคุณงามความดีเพื่อดูแลหัวใจ หน่อของพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน หัวใจที่เศร้าหมอง หัวใจที่อับเฉา หัวใจที่มีความทุกข์ความยาก เรามีศีล มีสมาธิ มีปัญญามาดูแลรักษา เหมือนต้นไม้ ใส่ปุ๋ยรดน้ำ ดูแลวัชพืชอย่าให้ไปรบกวนมัน เราดูแลหัวใจของเรา “ไม่เห็นได้อะไร”

ได้ ได้เพราะว่าเราทำของเรา ฟังเทศน์ๆ ฟังจากครูบาอาจารย์ของเรา อ่านหนังสือ หนังสือธรรมะเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก มันดูแลรักษาจากน้ำใจของเรา ที่ว่าเราคนขี้ทุกข์ขี้ยาก คนอย่างเราจะนั่งสมาธิหรือ คนอย่างเราจะทำคุณงามความดีหรือ

องคุลิมาลฆ่าคนมา ๙๙๙ ศพ ด้วยความเข้าใจผิด เพราะอาจารย์ของตนบอกมีวิชาวิเศษจะเสนอให้ แต่ต้องแลกด้วยนิ้วมือของคน ๑,๐๐๐ คน องคุลิมาลมีความเข้าใจผิด ถึงพยายามไปฆ่าคนมา ๙๙๙ ศพ ขาดอีกนิ้วเดียว พอดีแม่จะมา เพราะแม่จะมาเตือน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นอำนาจวาสนาขององคุลิมาล รีบมาก่อนเลย มาดักหน้าเลย มาดักหน้า องคุลิมาลหน้ามืดแล้ว พยายามจะเอานิ้วนี้ให้ได้ จะฆ่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปด้วยฤทธิ์ วิ่งอย่างไรก็ไม่ทัน ทำอย่างไรก็ไม่ทัน

“สมณะหยุดก่อนๆ”

“เราหยุดแล้ว เธอต่างหากที่ยังไม่ยอมหยุด”

“วิ่งอยู่นี่ยังกวดไม่ทันเลย หยุดตรงไหน”

“หยุดการทำความชั่ว หยุดฆ่าคน หยุดหลงผิด”

องคุลิมาลได้สติเลย วางดาบ คนมันมีคุณธรรมอยู่ในใจ วางดาบเลย นั่นความเข้าใจผิดของเขา เขาฆ่าคนมา ๙๙๙ ศพ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสั่งสอน เขายังมาประพฤติปฏิบัติ เขายังเป็นพระอรหันต์ได้ ไอ้อย่างเราที่ว่าจะประพฤติปฏิบัติ อย่างเราจะทำได้หรือ จะทำได้หรือ เอ็งฆ่าคนมาสักคนหนึ่งไหม มีแต่ตบยุง ตบยุงมาเยอะ คนไม่เคยฆ่าเลย แล้วเราทำไมจะทำไม่ได้ นี่ถ้ามันมีปัญญาอย่างนี้มันก็แก้ไขไม่ให้กิเลสมันหลอกไง

กิเลสเวลามันเหยียบย่ำนะ คนอย่างเอ็งนี่หรือจะนั่งสมาธิ คนอย่างเอ็งนี่หรือ ทำอย่างนี้ทุกข์ๆ ยากๆ ดูสิ เขามีแต่ความสุขกัน เขามีแต่ความรื่นเริงกัน ไอ้เรามาถือศีลแห้งแล้ง

เขาไม่ได้เข้าใจหรอกว่านี่อัตตสมบัติ สมบัติที่แท้จริงของมนุษย์ มนุษย์มีคุณงามความดีในใจ ศีลธรรมในใจเป็นอัตตสมบัติ สมบัติที่หามานั้นเป็นสาธารณะทั้งหมด ของที่เราหามามีอยู่ เราเจือจานคนอื่น เราก็เจือจานคนอื่น บุญกุศลเราเจือจานใคร

เพราะเรามีสติมีปัญญา เราระลึกถึง ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ดูสิ ในหลวงท่านก็เคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน นี่เพราะเราระลึกได้ เราเห็นวันสำคัญของชาติ เรามาวัดมาวากัน เรามาทำบุญกุศล อุทิศส่วนกุศลกัน ฉะนั้น เรามาประพฤติปฏิบัติกัน นี่เราคิดได้ เราคิดเป็น ถ้าเราคิดได้ เราคิดเป็น ปัญญามันจะเกิดไง ถ้าปัญญามันเกิดนะ นี่อัตตสมบัติ สมบัติของเราไง

เขามีอะไรเขาก็ถวายในหลวงๆ ทำทุกอย่างอุทิศให้ในหลวงทั้งหมด เราก็จะปฏิบัติบูชา เราจะปฏิบัติของเรา แล้วถ้าจิตใจมันเป็นขึ้นมา ปัจจัตตัง อัตตสมบัติมันเป็นในใจ กิจจญาณ สัจจญาณ ถ้ามันมีกิจจญาณ มีความรู้สึก มีความจริงอันนั้น เราถึงว่า นี่สติมันเป็นอย่างนี้ คุณสมบัติเป็นอย่างนี้ สมาธิ คุณสมบัติมันเป็นอย่างนี้ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ มันเป็นอย่างนี้ แล้วถ้าเกิดปัญญาขึ้นมา อ๋อ! ไอ้ปัญญาจริงๆ มันเป็นปัญญาอย่างนี้ ไอ้ที่เราทำมานี่โง่เขลาอยู่ตลอดเวลา ยังหลงมัวเมาอยู่กับอวิชชาอยู่นั่นน่ะ เวลามันเป็นจริงขึ้นมา เห็นไหม นี่ไง ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติมาท่านมีความรู้สึกอย่างนี้ ท่านมีการเปรียบเทียบอย่างนี้ ท่านถึงรู้แจ้ง ความรู้แจ้งอันนั้น

ที่พูดนี้พยายามจะพูดว่า เวลาเรามาวัดมาวา เรามาประพฤติปฏิบัติ แล้วมันก็จะมาเศร้าสร้อยเหงาหงอยไง คอตกเลยล่ะ “รู้อย่างนี้ไม่มาก็ดี ไปขี่จักรยานดีกว่า มาวัดนี่ทุกข์น่าดูเลย รู้อย่างนี้ไม่มา รู้อย่างนี้ไปขี่จักรยานดีกว่า”

ขี่จักรยานได้เหงื่อนะ แต่พุทโธๆ มันได้กำลังใจ ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา นี่ปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ธรรมะย่อมชนะอธรรม” ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา แต่ธรรมะมันหาได้ยากไง ของดีหาได้ยาก เพชรนิลจินดาหาได้น้อย กรวด หิน ทรายมีทั่วไปหมด จิตใจที่จะประพฤติปฏิบัติให้เป็นความจริงขึ้นมาหาได้ยาก แม้ในใจเราก็หายาก ความเป็นจริง ใจเราก็หายาก แต่เราก็ยังขวนขวายประพฤติปฏิบัติกันอยู่ เพราะเราเป็นชาวพุทธ เรามีสัจจะ เรามีแก่นสาร เรามีแก่นสาร ใจของเรา เราจะหาความร่มเย็นเป็นสุขจริงๆ

แล้วถ้าหาความร่มเย็นเป็นสุขจริงๆ นะ ดูสิ ครูบาอาจารย์ท่านบวชทั้งชีวิต อยู่ป่าอยู่เขามันมีความสุขอย่างไร หลวงปู่มั่นอยู่ในป่าในเขา ไม่เคยออกมายุ่งกับสังคมโลกเลย ท่านมีความสุขตรงไหน มีมากๆ เทวดา อินทร์ พรหมต้องไปฟังเทศน์ท่าน เทวดา อินทร์ พรหมยังช่วยตัวเองไม่ได้ เพราะเทวดา อินทร์ พรหมมันเป็นบุญกุศล มันเป็นความจริงอันนั้น แต่ไม่รู้จักว่ามรรคเป็นอย่างไร ไม่รู้จักว่ากำหนดอย่างไร ฆ่าอย่างไรกิเลส แล้วทำอย่างไรล่ะ นี่อัตตสมบัติความจริง นั่นล่ะสมบัติของเทวดา ไอ้นั่นสมบัติของเรา เราทำความจริงของเรา เราปฏิบัติของเรา ทำความจริงของเราให้เกิดกับเรา บูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุทิศกุศลให้ในหลวงเพื่อสมบัติ อัตตสมบัติในใจของเรา เอวัง