ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

อยากไม่ได้

๓ ม.ค. ๒๕๕๙

อยากไม่ได้

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง อยากรู้วิปัสสนา

กราบนมัสการหลวงพ่อ ผมฟังเทศน์สอนของหลวงพ่อ ทั้งที่วัดบ้าง ทางเว็บไซต์บ้าง บางครั้งก็ตั้งคำถามไปบ้างเมื่อติดขัด จนกระทั่งสมาธิพอได้บ้างแล้ว บางครั้งก็ลง แต่บางครั้งก็ได้แค่ขนลุกขนพอง แล้วมันก็ถอย ผมพุทโธเข้าไปใหม่ พอถึงจุดนั้นมันก็ถอยอีก แต่วันไหนทำได้ มันก็ดีเอามากๆ ก็มี

ผมคอยสังเกตกระบวนการของมัน ผมจัดท่านั่งที่สบายๆ พุทโธไปรู้สึกตึงๆ ขัดๆ ผมก็ขยับให้เข้าที่ หลังจากนั้นก็จัดการกับลมหายใจให้สม่ำเสมอ เรียบๆ แล้วไปจับมั่นไว้ที่พุทโธ ทำไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมันเริ่มนิ่งสงบลง 

ทีนี้ร่างกายมันเริ่มผ่อนคลายลง ผิวหนังกล้ามเนื้อตามตัว ใบหน้าของผม ผมก็คงยึดพุทโธไปเรื่อยๆ ไม่ไปเอาอาการเหล่านั้น แต่เรารับรู้ได้ สักพักหนึ่งการรับรู้กายนั้นก็หายไป เราก็ยังอยู่กับพุทโธ

ต่อมามันก็เริ่มมีอาการหวิวๆ ยกขึ้นนิดหนึ่ง อย่างไรไม่รู้ แล้วมันก็วูบ เหมือนไปอยู่ที่ใดก็ไม่รู้ แล้วมันก็ไปหยุดนิ่ง นิ่งสักพัก แล้วมันก็ค่อยๆ คลายออกมา แต่มันยังรู้สึกนิ่งๆ เบาๆ ออกมาเป็นชั้นๆ เรื่อยๆ จนมาขยับนิ้วมือ นิ้วเท้าแล้วออกมาได้ หลังจากนั้นผมก็จับทางไปกลับของมัน แต่สักพักผมก็รู้ว่ามันเป็นสัญญา ไม่ใช่ของจริง พูดเสียยาว แต่เพื่อความเข้าใจ ขออภัยครับหลวงพ่อ

มาถึงคำถามที่ผมจะรบกวนขอคำชี้แนะจากหลวงพ่อเพิ่มเติมนะครับ ตามกระบวนการที่ผมเล่ามาข้างต้น พอถึงจุดที่มันคลายออกมา ผมก็พยายามรำพึงกายขึ้นมา เคยมีบางครั้งก็ปรากฏ แต่พิจารณาไม่ทันให้ถึง มันก็หายไป ผมต้องการใช้สมาธิทำให้เป็นวิปัสสนา แบบนี้ผมทำถูกหรือไม่ครับ แล้วจะทำอย่างไรให้กายที่ปรากฏนั้นอยู่ให้นานพอที่ผมจะใช้พิจารณาได้ครับ ขอให้หลวงพ่อโปรดชี้แนะด้วย

ตอบ : นี่คำถาม เห็นไหม คำถามพูดถึงว่ามันต้องมีที่มาที่ไป ฟังสดที่วัดก็มี ฟังในเว็บไซต์ก็มี แล้วทำสมาธิได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ถ้าวันไหนมันได้มันดีมากๆ เลย ถ้าดีมากๆ แล้ว สิ่งที่กระทำถูกหมดล่ะ

ผมคอยสังเกตกระบวนการของมัน

คำว่า สังเกตกระบวนการของมัน” เวลาครูบาอาจารย์ท่านสอน ท่านสอนถึงการทำสมาธิ ถ้าวันไหนเราทำสมาธิได้ เราต้องพยายามระลึกว่าเราวางอารมณ์อย่างไร เราตั้งใจวางอารมณ์อย่างใด เพราะเราทำได้ไง 

เหมือนเราเล่นกีฬา เล่นกีฬาแล้วเราชนะ เราใช้เทคนิคอย่างไร จำกระบวนท่านี้ไว้ แล้วเวลาเราเล่นกีฬาอีก เราอยากชนะเราก็อยากจะเล่นท่านี้ แต่ถ้าเล่นท่านี้ปั๊บ ฝ่ายตรงข้ามเขารู้ว่าเราใช้ชั้นเชิงอย่างนี้บ่อยๆ ครั้ง เขาก็รู้ทัน เขาก็ปกป้อง

คนที่เวลาเล่นกีฬามันมีฝ่ายตรงข้าม แต่เวลาภาวนาเรามีกิเลส กิเลสคือสิ่งที่มันฝังใจเรามา กิเลสคือสิ่งที่มันเป็นนามธรรมนะ แต่มันเป็นสิ่งที่มีชีวิต แล้วมันอาศัยภวาสวะ อาศัยภพ อาศัยหัวใจเราเป็นที่อยู่ แล้วไม่ใช่อยู่เฉพาะตั้งแต่ชาตินี้ มันอยู่กับเรามากี่ภพกี่ชาติไม่รู้ ยาวไกลมาก

ฉะนั้น พอยาวไกลมาก เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันอยู่กับเรา มันอยู่กับเรานะ มันก็สมรู้ร่วมคิดกับจิตของเรา ทำผิด ทำถูกมา เป็นเวรเป็นกรรมมาจนเป็นจริตเป็นนิสัยอยู่นี่ แล้วเราจะมาทำคุณงามความดีไง เราจะปฏิบัติเพื่อจะฆ่ามัน เพื่อจะทำลายมัน มันยอมไหม มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่มันจะยอมให้เราทำง่ายๆ มันเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่มันจะเป็นไป ก็เป็นกิเลสเรานี่แหละ กิเลสเรามันพยายามทำให้เราไขว้เขว อย่างน้อยไขว้เขว อย่างมากมันพยายามทำให้เราหลงทาง

ฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติไป สิ่งที่ว่าเราแบบว่ามาสังเกตกระบวนการของมัน ครูบาอาจารย์ก็สอนอย่างนี้ สอน เพราะเราทำขึ้นมาเราไม่ทำสิ่งใดเลย นักกีฬาไม่มีผู้ฝึกสอน เราต้องฝึกหัดตัวเราเอง แล้วพอเราฝึกหัดตัวเราเองขึ้นมา เวลาเราไปแข่งขัน มันไม่มีคนคอยแก้เกม คอยชี้แนะให้ เพราะมันไม่มีผู้ฝึกสอนนักกีฬา

ฉะนั้น ถ้ามีผู้ฝึกสอน มีครูบาอาจารย์นะ ผู้ฝึกสอนคอยบอก คอยแนะ คอยชี้ทาง สิ่งที่เราทำแล้ว กระบวนการอย่างนี้ วิธีการอย่างนี้ทำแล้วได้ประโยชน์ให้นึกอย่างนั้น ถ้านึกอย่างนั้นมันก็เป็นประโยชน์ไง ถ้าเป็นประโยชน์มา ฉะนั้น เวลาเป็นกระบวนการต่างๆ ขึ้นมา เวลามันพิจารณาไปจนกายมันหาย มันหายต่างๆ ไป อันนี้มันเป็นที่เราทำแล้วมันได้ เราทำแล้วมันได้ใช่ไหม เพราะเราทำแล้วจิตมันเป็นสมาธิได้ ถ้าจิตเป็นสมาธิได้ เรามีศักยภาพมากนะ 

เรามีศักยภาพเพราะเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา สิ่งที่มีค่าที่สุดในโลกนี้คือชีวิตของคน ชีวิตของสัตว์ สัตว์ถ้ามันมีชีวิตอยู่ เดี๋ยวนี้วิทยาศาสตร์มันเจริญ พอสัตว์ตายแล้วผูกพันกับมัน สตัฟฟ์มันไว้ ไม่ต้องกินด้วย สบายเลย สตัฟฟ์เลย สัตว์ตายแล้วสตัฟฟ์ แต่มันตายแล้ว มันสัมพันธ์กับเราไม่ได้ มันรับรู้สึกเราไม่ได้

สิ่งที่มีค่าที่สุดคือชีวิต ชีวิตของสัตว์ ชีวิตของคน ชีวิตมีค่าที่สุด ถ้ามีค่าที่สุด เราเกิดมาแล้ว เกิดมาเป็นมนุษย์ ใครมีบุญกุศลทำหน้าที่การงานก็ประสบความสำเร็จ ใครมีบุญกุศลทำสิ่งใดชีวิตนี้ก็มีคุณค่า ถ้าใครมีกุศลเพราะเกิดมามีค่าแล้วแหละ ชีวิตมีค่าที่สุด แต่ทำสิ่งใดแล้ว บุญกุศลเรามันขาดๆ เกินๆ ทำสิ่งใดแล้วก็มีอุปสรรค ทำสิ่งใด...

ชีวิตมันเป็นอย่างนี้ ชีวิตมันมีค่า นี้พอมีค่าแล้ว เกิดมาแล้วเรามีสติมีปัญญา เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา สิ่งนี้มันมีอยู่แล้ว พระพุทธศาสนาเราเกิดมาช่วง ๕,๐๐๐ ปีมันมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราจะเอาหรือไม่เอา เราจะสนใจหรือไม่สนใจ เราจะไม่สนใจ ศาสนาก็อยู่อย่างนี้ มนุษย์ก็เป็นอย่างนี้ 

แต่ถ้าเราสนใจ สนใจศาสนา เห็นไหม สนใจเรื่องการประพฤติปฏิบัติ ศาสนามีคุณค่าในหัวใจเราเลย ถ้ามีคุณค่าในหัวใจเรา เราปฏิบัติ เราจะได้มรรคได้ผลเลย เราจะได้ความจริงเลย มันมีคุณค่าตรงนี้ไง

เราเกิดเป็นมนุษย์ สิ่งที่มีค่าคือชีวิตของเรา แล้วชีวิตเรา เราประพฤติปฏิบัติ ปฏิบัติที่ไหนล่ะ 

เวลาประพฤติปฏิบัติจริงๆ เขาประพฤติปฏิบัติเข้าไปที่จิตเลย ต้องเอาจิตปฏิบัติ คือเอาสมาธิ สมาธิก็คือหัวใจนั่นแหละ ทำสมาธิ สมาธิก็ทำให้หัวใจเราออกมากระทำไง ทางโลกเขาทำงานด้วยสมอง ทำงานด้วยมือ เขาคิดงาน เขาทำงานของเขา ได้ประโยชน์ของเขา แต่ของเรา ถ้าใช้สมองคิดมันก็เป็นเรื่องโลกไง ก็ทำงานแบบโลกไง ทำงานด้วยสมองไง มันก็เหมือนเราเลี้ยงชีพไง

แต่ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราต้องทำความสงบของใจให้ได้ ถ้าทำความสงบใจให้ได้ เวลาเกิดปัญญา มันไม่ใช่คิดด้วยสมองไง มันคิดด้วยมรรค สัมมาทิฏฐิ ทิฏฐิความถูกต้อง มันถูกต้องดีงาม ความคิดอันนั้นจะเป็นประโยชน์ไง แล้วเป็นประโยชน์มันเกิดจากไหน มันก็เกิดจากจิต เกิดจากสิ่งมีชีวิต 

สิ่งไม่มีชีวิตคิดไม่ได้ คอมพิวเตอร์เขาเอาพระไตรปิฎกแต่ละเวอร์ชั่นๆ แล้วเขาแข่งกันตอนนี้

คอมพิวเตอร์มันก็เป็นคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ เราโหลดมาใส่คอมพิวเตอร์เรา เราก็ได้พระไตรปิฎกมาอีกชุดหนึ่ง แล้วใครโหลดต่อไปก็ได้อีกชุดหนึ่ง แต่คอมพิวเตอร์ไม่เป็นพระอรหันต์ คอมพิวเตอร์เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ มันไม่มีชีวิต 

สิ่งมีชีวิตคือหัวใจเราไง ถ้าหัวใจเรามีคุณค่าแล้วเรามาปฏิบัติ มันมีค่าขึ้นมาตรงนี้ไง ถ้ามีค่าขึ้นมาตรงนี้ปั๊บ เวลาเราทำขึ้นมา ฉะนั้น เราทำขึ้นมา เราทำแล้วเราสันทิฏฐิโก เรารู้เองโดยชอบ ทีนี้รู้เองโดยชอบ อันนี้มันเป็นพยานกับเรา

ทีนี้ในการปฏิบัติหลายๆ แนวทางเขาบอกว่า อยากก็ทำไม่ได้ ห้ามอยาก ห้ามอยากประพฤติปฏิบัติ” เวลาครูบาอาจารย์บอกว่า ถ้าห้ามอยาก เราไปปิดกั้นตั้งแต่ทีแรกเลย อยากคือกิเลส แล้วไม่ให้มีความอยากแล้วปฏิบัติ แล้วปฏิบัติไปแล้วก็ปฏิเสธไปเรื่อยๆ มันก็เลยกลายเป็นปฏิเสธมรรคผลไปด้วยไง

แต่ถ้ามันมีความอยาก ความอยาก เห็นไหม ความอยากจิตใต้สำนึกมันมีอยู่แล้วแหละ แต่เวลาเราจะประพฤติปฏิบัตินะ เราอยากปฏิบัติ แล้วเราวางความอยากของเราไว้ แล้วเราอยากประพฤติปฏิบัติ เราอยากจะเดินจงกรม อยากจะนั่งสมาธิภาวนา เราอยากมีสติ เราอยากมีสมาธิ เราทำตรงนี้ อย่าไปอยากที่ผลของมัน เราอยากที่เหตุ เราอยากที่เหตุนะ

ทีนี้โดยธรรมชาติของจิต โดยธรรมชาติของกิเลสไง เวลามันขึ้นมามันก็อยาก เวลาเราบอกว่าให้คอยสังเกต สังเกตที่ว่าเราเคยวางอารมณ์อย่างใด เราทำสิ่งใด ให้สังเกตกระบวนการของมัน แต่สังเกตกระบวนการของมันแล้ววางไว้ เพราะมันเป็นอดีตแล้ว มันเป็นอดีตเพราะเราเคยทำมา แต่เพราะความผูกพัน เพราะอดีตอย่างนี้เราเคยทำได้ไง มันก็เลยนึกเอา นึกเอาเป็นสัญญา ถึงบอกว่าอยากไม่ได้ ถ้าอยากแล้วไม่ได้ ถ้าไม่อยาก ได้ ถ้าไม่อยากน่ะได้

ถ้าใครทำแล้วทำแต่เหตุ เราปฏิบัติของเรา ไม่ต้องการอะไรเลย เราถึงใช้อุบายตรงนี้ แล้วคนเอาไปใช้ประโยชน์ได้เยอะนะ ว่าปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนี่ย เวลาปฏิบัตินะ เราบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บูชาศาสดาของเรา ได้ ไม่ได้ ช่างหัวมัน เออได้กันหลายคนเลย แต่ถ้าโอ้โฮ!สมาธิจะเป็นอย่างนี้เนาะ อย่างนี้ อย่างนี้เนาะ ปัญญาจะเป็นอย่างนี้ อย่างนี้เนาะ เสร็จเรียบร้อย ไปไม่รอด

ฉะนั้น อยาก ไม่ได้ ไม่อยาก ได้ ถ้าไม่อยากนะ เราทำของเราไป ถ้าทำของเราไป เราให้มีความมุมานะ มีความเพียรของเรา ทำของเราไปเรื่อยๆ 

นี่ถึงว่า เวลาเขาถามว่า สิ่งที่ทำมา อารัมภบทมาซะเยอะเลย เพื่อจะให้หลวงพ่อได้เข้าใจ ฉะนั้น หลวงพ่อเข้าใจ อารัมภบทมา ไอ้ที่ว่าเวลาเขายก เวลาจิตเริ่มหวิวกึ๊กๆ แล้วมันวูบ ไอ้วูบใช้ไม่ได้เลย ถ้าวูบมันจะลงภวังค์ แต่วูบไปแล้ว เห็นไหม วูบไปแล้วเราคอยพยุงไว้ คอยพยุงไว้ เขาบอกว่ามันนิ่งๆ สักพักหนึ่ง แล้วมันรู้สึกเป็นชั้นๆ ขึ้นมา แล้วมันค่อยขยับนิ้ว ขยับเท้าออกมา

ถ้าเป็นอัปปนาสมาธิ เวลาเขานั่ง เขาทรมานของเขา เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไอ้ขยับนิ้วขยับเท้ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เราต้องไอ้นั่น แต่ผลไง ผลที่มันวูบ ถ้าวูบนะ ถ้าพูดถึงอัปปนาสมาธินะ พอจิตมันจะลงนะ มันจะวูบๆๆ วูบขนาดไหนเราก็จะตะลึงเลยนะ พอตะลึงนะ ถ้าตะลึงบางทีตรงนี้ถ้ามันสติไม่ทัน แวบหายไปเลย ถ้าหายไปเลย ตกภวังค์ 

แต่ถ้ามันวูบอย่างไรเรามีสติพร้อมไป วูบแค่ไหนมันก็รู้ว่าวูบ วูบจนหยุดวูบ หยุดเลย วูบ แล้วกึ๊กหยุดเลย แล้วเป็นสักแต่ว่าอย่างไรแล้วออกมา นั่นเป็นสมาธิ ถ้าสมาธิอย่างไรเราค่อยแก้ไขกัน

เราต้องตรวจสอบตลอดเวลา เวลาขับรถ เดี๋ยวนี้ต้องเป่าตรวจวัดแอลกอฮอล์ตลอด ผมไม่เคยกิน ไม่กินก็ต้องเป่า ไม่กินก็ต้องเป่า นี่ก็เหมือนกัน เราต้องตรวจสอบใจเราตลอดเวลา อย่าเชื่อมั่น ถ้าเชื่อมั่นมันเป็นทางแห่งความประมาท มันจะหลงทางไปได้ มันจะติดขัดได้ 

ถ้าเราติดขัดอย่างนั้น ฉะนั้น บอกว่า หลังจากนั้นที่เขาจะจับทางของมัน เห็นไหม แต่บางครั้งกลายเป็นสัญญา

ที่กลายเป็นสัญญา เป็นสัญญาอย่างนี้ ถ้ากลายเป็นสัญญานะ กลายเป็นสัญญา เพราะว่ามันอยากไม่ได้ไง แล้วอยากไม่ได้ ไม่รู้ว่ามันอยากขึ้นมาเมื่อไร แล้วไม่รู้มันคิดตอนไหน ก็เรายังปฏิบัติอยู่ เราก็ปฏิบัติของเราอยู่ เราก็ตั้งใจของเราอยู่นี่ แล้วทำไมมันเป็นตรงนั้นล่ะ แล้วพอมันได้สติ เห็นไหม เราไม่ทัน ความคิดมันเร็วไง

ทีนี้กรณีอย่างนี้ มันเป็นที่ว่า เวลาปฏิบัติไปแล้วมันจะมีอุปสรรคอย่างนี้ มันมีอุปสรรคแล้วเราปฏิบัติบ่อยๆ ครั้งเข้า เราทดสอบ เราตรวจสอบแล้วเราจะรู้ อ๋อเป็นสัญญา เราเผลออีกแล้ว เราเผลอแล้วตั้งต้นใหม่ๆ ที่พูดนี้ไม่ใช่พูดเพื่อให้น้อยเนื้อต่ำใจ ไม่ใช่พูดเพื่อให้เราตึงเครียดนะ พูดเพื่อให้สังเกตๆ พูดเพื่อการปฏิบัติของเรา นี่พูดถึงการปฏิบัตินะ 

ฉะนั้น เขาบอกว่า พูดมาซะยาวเลย ทีนี้เริ่มต้นคำถาม คำถามนะ ตามกระบวนการที่ผมเล่ามาข้างต้น พอมันถึงจุดที่มันคลายออกมา ผมพยายามรำพึงไปที่กาย เคยมีบางครั้งที่ปรากฏ แต่พิจารณาไม่ถึงไหนมันก็หายไป ผมตั้งใจทำสมาธิไว้วิปัสสนา แบบนี้ถูกหรือไม่ครับ

ถูก ถูก ปฏิบัติพุทโธ หายใจเข้า หายใจออก พุทโธ ถูกทั้งนั้นน่ะ ถูก แต่ความถูกมันมีเล็กน้อย แล้วก็แบบว่าเพิ่มพูนมากขึ้น มากขึ้น ความถูก ทีนี้พอเพิ่มพูนมากขึ้นมันต่อเนื่องไหม ถ้าไม่ต่อเนื่องเราก็เริ่มต้นใหม่ๆ แล้วทำจนมีความชำนาญ ถ้ามีความชำนาญ พอชำนาญขึ้นมาไอ้สิ่งที่ส่วนประกอบเราวางได้บางอย่าง

อย่างเช่น คนปฏิบัติใหม่นะ เราจะเริ่มต้นอย่างไร ก็ต้องหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ แล้วถ้าหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ พอขึ้นไปแล้วมันจับปลาสองมือ เพราะหายใจเป็นอานาปานสติ พุทโธเป็นพุทธานุสติ แต่คนที่ปฏิบัติใหม่มันเป็นนามธรรมเกินไป จับต้องไม่ได้ก็หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ แต่พอสติมันอ่อนแอ หลับหมด พุทโธ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกไป ไปหลับเอาข้างหน้า พอหลับข้างหน้า ครูบาอาจารย์ก็จะแก้แล้ว ให้พุทโธอย่างเดียว

พุทโธคือพุทธานุสติ พุทโธๆๆๆ กันหลับ เห็นไหม แล้วถ้าไปที่ลมก็ลมชัดๆ มันจะพัฒนาไปถึงที่สุดแล้วแยกออกจากกัน พุทโธก็เป็นพุทธานุสติ ลมหายใจก็เป็นอานาปานสติ ไม่จับปลาสองมือ จับปลามือเดียว สองไม้สองมือจับให้แน่น พุทโธๆๆๆ เวลามันจะแก้การตกภวังค์ ถ้าลมหายใจก็ลมหายใจชัดๆ ขึ้นไป เห็นไหม

เริ่มต้นก็จากว่าหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ พอภาวนาเริ่มต้นตั้งตัวได้ พอตั้งตัวได้ วางอย่างใดอย่างหนึ่ง วางพุทโธก็ได้ วางลมหายใจก็ได้ วางอย่างใดอย่างหนึ่งให้มันชัดเจนของเราเข้ามา แล้วตรวจสอบให้ดี ให้มันชัดเจนเข้าไป ชัดๆ เข้าไป ชัดๆ เข้าไปนี่ล่ะ มันก็จะละเอียดเข้าไปๆ 

ถ้ามันละเอียดเข้าไป ถ้ามันผิดพลาดขึ้นมาก็แก้ไขของเราอยู่อย่างนี้ จนกว่าพอมีความชำนาญใช่ไหม ถ้ามีความชำนาญ ระลึกกำหนดเข้าได้เลย ถ้าเข้าได้เลย อันนั้นเป็นความจริงนะ นี้พอความจริง ย้อนกลับมาที่คำถามไง คำถามที่ว่า พอมันคลายตัวออกมา ผมก็พยายามรำพึงไปที่กาย เคยมีบางครั้งมาปรากฏ แต่พิจารณาไม่ทัน ไม่ถึงไหน มันก็หายไป

พอมันหายไป หายไปแล้วเสียดายไหม เสียดาย ปฏิบัติตั้งนาน แล้วกว่าจะสงบได้ กว่ามันจะเห็นกายได้ ถ้าเห็นกายได้ เห็นกายแวบๆ เห็นกายได้มันเป็นแนวทางทั้งนั้น แล้วถ้ามันอยู่ไม่ได้ มันอยู่ไม่ได้เราก็กลับมาพุทโธ เพราะอะไร เพราะกำลังไม่พอไง กำลังไม่พอมันเป็นอย่างนี้ ตั้งไว้เดี๋ยวเดียวมันก็หายไป

แล้วบางทีตั้งไว้นะ สังเกตได้ เวลาถ้ามันรำพึงไปเห็นกายนะ กายตั้งได้ แล้วถ้ามันมีกำลังนะ รำพึงไง รำพึงจากอุคคหนิมิตให้เป็นวิภาคะ รำพึงให้มันขยายส่วน ให้มันขยายส่วน แล้วถ้ารำพึงนะ ถ้าเป็นร่างกายที่นอนอยู่ รำพึงให้มันเน่าให้มันเปื่อย ให้มันพุให้มันพอง มันเป็นไปได้ทั้งนั้นเลย ด้วยกำลังของสมาธิ 

แต่ถ้ากำลังของสมาธิไม่พอ ภาพนั้นหายไปเลย แต่ถ้าสมาธิ ถ้าเริ่มต้นสมาธิไม่ได้นะ ภาพนั้นก็เคลื่อนไหว เหมือนภาพมันไหล ถ้าภาพมันไหลนะ ถ้าภาพมันไหล เราอยากพิจารณา เราเห็นกายแล้วเราอยากได้ภาพนั้น เราก็ตะครุบให้ภาพนั้นอยู่กับเรา ยิ่งตะครุบยิ่งส่งออก ยิ่งไปเลย 

ถ้าคนเป็น วางเลย วางเลย กลับมาพุทโธ กลับมาพุทโธ ทีนี้กลับมาพุทโธเพื่ออะไร เพื่อสร้างกำลังของจิต ถ้าจิตมันมีกำลังเข้าไปแล้ว รำพึงไปมันก็มาอีก พอมาอีกพิจารณาไป เพราะอะไร 

เพราะคนพิจารณา ถ้ากระบวนการของมันนะ กระบวนการการพิจารณากาย ถ้าการพิจารณากาย พิจารณากายไปแล้วถ้ามันพุมันพอง มันย่อยสลายไปแล้วต่อหน้าเลย หายหมดเลย โอ้โฮว่างมาก ว่างมาก ว่างมาก กระบวนการมันจบวงรอบกระบวนการหนึ่ง มันจบวงรอบการใช้ปัญญารอบหนึ่ง มันก็ปล่อยวางหมดเลย พอปล่อยวางหมดเลย พอจิตสงบแล้วเดี๋ยวมันคลายตัวออกมา มีก็มีความสุข โอ้โฮรื่นเริง อาจหาญใหญ่เลย

อย่าชะล่าใจ กลับมาทำความสงบของใจเข้าอีก พอพิจารณาไป จิตสงบมันก็เห็นกายอีก เห็นกายอีกก็พิจารณาอีก พิจารณาอีกมันก็พิจารณาของมัน มันจะไปได้ ไม่ได้ ถ้ามันไปได้มันก็ปล่อยอีก มันปล่อยวางชั่วคราว ชั่วคราวมันเป็นอย่างนี้ ขนาดปล่อยวางชั่วคราวนะ แล้วถ้าจิตไม่มีกำลังพอ การที่จะเห็นกายอีกมันเห็นไม่ได้ มันเห็นยาก เห็นยาก

แล้วมันก็มีคนที่มีอำนาจวาสนา ขิปปาภิญญา พิจารณาหนเดียวเป็นพระอรหันต์เลย ถ้าปล่อยอย่างนี้ ถ้าปล่อยแบบนี้ แต่ไม่ใช่ปล่อยอย่างนี้นะ ถ้าปล่อยแบบนี้นะ แบบมันทะลุ มันขาด ขาดเป็นชั้นๆๆ ไปเลย ขิปปาภิญญาน่ะ 

แต่ถ้าเราไม่ใช่ขิปปาภิญญานะ พอพิจารณาแล้วมันปล่อย มันปล่อยแล้วมันก็ปล่อยด้วยกำลังของเรา ปล่อยที่ว่าอำนาจวาสนาบารมีของเรา แล้วเราคิดว่า เราคิดว่าเราชำระกิเลสแล้วไง แล้วเราก็ชะล่าใจ เดี๋ยวมันพลิกกลับมานะ ต่อไปนี้สมาธิก็ทำไม่ได้ ตั้งสติก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้ เพราะกิเลสมันฟูขึ้นมา

เวลาจิตมันเสื่อม กิเลสมันฟูขึ้นมานะ โอ้โฮมันกระทืบ มันกระทืบ มันทำให้แหลกลาญเลย โอ๋ยคนปฏิบัติแล้วนะ โอ้โฮปฏิบัติธรรมขนาดนี้นะ ทำสมาธิก็แล้วนะ พิจารณาก็แล้วนะ พิจารณากายแหลกไปหมดเลยนะ ทำไมกิเลสมันมาเหยียบย่ำขนาดนี้ อู๋ยไม่ไหวแล้ว เลิก 

เรียบร้อย มันมีกระบวนการของมันมีอย่างนี้ อันนี้มันอยู่ที่วาสนาของคนไง ถ้าวาสนาของคน บางคน เห็นไหม พิจารณาไปแล้วมันปล่อยขนาดไหน มันมีขิปปาภิญญาที่พิจารณาง่าย รู้ง่าย มี แต่มีอย่างนี้ หลวงตาใช้คำว่า มีอยู่ ๕ เปอร์เซ็นต์ของนักปฏิบัติเท่านั้น ๙๕ เปอร์เซ็นต์ล้มลุกคลุกคลานทั้งนั้น” 

แล้วเราอยู่ในจำนวน ๕ หรือ ๙๕ ล่ะ ใครๆ ก็อยากจะอยู่ ๕ แต่มันไม่ได้อยู่ ไม่ได้อยู่หรอก เพราะอยู่หรือไม่อยู่ มันอยู่ที่การสร้างบารมีมา มันไม่ใช่มีการคัดเลือกประเภท มันอยู่ที่การสร้างสมบารมีมา มันไม่ใช่มาอยู่ตรงนี้

ฉะนั้น คนที่เขาทำได้ คนทำได้มันมีใช่ไหม แต่เราทำไม่ได้ เราอยู่ในกระบวนการ ๙๕ ถ้าอยู่ในกระบวนการ ๙๕ ปั๊บ เวลาเราทำแล้วกิเลสมันก็อ้างวิธีการของจำนวน ๕ เปอร์เซ็นต์นั้นว่าเขาพิจารณาแล้ว เขาปล่อยแล้ว เขาเป็นจริงแล้ว แล้วของเราอยู่ในจำนวน ๙๕ เราปล่อยแล้ว แต่มันไม่เป็นความจริง มันยังไม่สิ้นสุดของมัน เราปล่อยจริงๆ แต่กระบวนการของมันไม่สิ้นสุด กระบวนการของมันยังไม่จริง

ถ้าไม่จริงแล้วเราจะชะล่าใจไม่ได้ เราจะต้องกลับมาทบทวน กลับมาทำความสงบของใจให้มากขึ้น แล้วพิจารณาของเราไป พิจารณาซ้ำๆๆ เวลามันขาดมันก็อันเดียวกันนั่นแหละ แต่วิธีการมันต้องมากขึ้น วิธีการมันต้องรอบคอบขึ้น มันต้องทำให้มากขึ้น มันต้องดีกว่าเขา 

นี่พูดถึงว่า แต่พิจารณาไม่ถึงไหนมันก็หายไป แล้วผมจะต้องทำสมาธิ ผมต้องการใช้สมาธิเพื่อใช้วิปัสสนา แบบนี้ผมทำถูกต้องหรือไม่

ทำถูกต้อง ทำถูกต้องแล้ว เพียงแต่ว่ากระบวนการของมันไง มันหมดวงรอบหนึ่ง มันหมดวงรอบหนึ่งของการภาวนา เราก็เริ่มต้นวงรอบใหม่ต่อไป ที่เวลาคนไปถามปัญหาหลวงตา ถามว่าถูกต้องไหม หลวงตาท่านจะตอบว่าถูก แล้วคนถามก็ถามต่อว่า แล้วให้ผมทำอย่างไรต่อไปครับ ก็ทำซ้ำไง วงรอบต่อไปไง ทำซ้ำวงรอบต่อไป 

แต่พวกเราไม่คิดอย่างนั้นไง กิเลสมันเข้าข้าง เข้าข้าง คิดว่าวงรอบมันก็มีวงรอบเดียว วงรอบมันก็มีวงรอบเดียว ไม่มีวงรอบซ้ำเซิ้มอะไรหรอก วงรอบแล้วก็ต้องจบสิ แล้วก็เรียกร้องมรรคผลมา มรรคผลมา มันจะเอา เพราะเราคิดของเราอย่างนี้ไง

แต่ครูบาอาจารย์ท่านทำ ไอ้ที่ว่าวงรอบหนึ่งแล้วจบก็มี ใช่ มี เพราะเวลามี เวลามีเขาเรียกองค์ความรู้ เพราะมีแล้วมันมีคุณธรรม ถ้ามีคุณธรรมก็พูดให้ถูกสิ เวลามันขาด มันขาดอย่างไร กิเลสมันขาดออกไปอย่างไร แล้วมันเหลืออะไรไว้ แล้วสิ่งที่คุณธรรมในใจของเรา คุณสมบัติมันเป็นอย่างไร ถ้าพูดจบ ถ้าพูดถูกต้อง ใช่

แต่นี้มันพูดถูกต้องไม่ได้ พูดถูกต้องไม่ได้เพราะอะไร เพราะเราไม่มีคุณสมบัติอย่างนั้น เราไม่มีคุณสมบัติอย่างนั้น เราจะพูดถึงคุณสมบัติอย่างนั้นได้อย่างไร เพราะเราไม่เคยเห็นคุณสมบัติอย่างนั้น ทั้งๆ ที่เราศึกษาคุณสมบัติอย่างนั้นตลอด 

เราศึกษา เห็นไหม เวลาเรียนนักธรรม ก็ศึกษานี่แหละ ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้านี่แหละ ศึกษาทั้งหมด แต่พูดอย่างนั้นไม่ได้ เพราะมันไม่เคยเห็นข้อเท็จจริงอย่างนั้น ฉะนั้น ถ้ามันเห็นข้อเท็จจริงอย่างนั้นมันก็ได้ ถ้ามันไม่ได้ เห็นไหม ไม่ได้ก็กลับมา

เขาถามว่า ผมต้องการใช้สมาธิเพื่อวิปัสสนาเท่านั้น แล้วทำอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่

ถูกต้อง ถูกต้อง เพียงแต่ต้องทำมากขึ้น ทีนี้ทำมากขึ้น เห็นไหม เวลาคนปฏิบัติ เริ่มต้นปฏิบัตินะ ล้มลุกคลุกคลาน ปฏิบัติแล้วน่าเบื่อหน่าย ปฏิบัติแล้วมีแต่ความทุกข์ความยาก แต่ใครถ้าปฏิบัติแล้วได้สมาธิ โอ้โฮมีความสุขมาก แต่อย่าเผลอนะ เผลอเดี๋ยวเสื่อม ถ้ามีสมาธิสุขมาก ก็ทำต่อเนื่องไป แล้วถ้าฝึกหัดใช้ปัญญาได้ ฝึกหัดใช้ปัญญาได้ก็ต้องฝึกหัดใช้ต่อเนื่องไป

ถูกไหม ถูก ถูกแต่ต้องวิเคราะห์ ต้องใช้สติปัญญา ต้องพยายามรักษา เพื่อพัฒนามันขึ้น พัฒนามันขึ้น มันมีเจริญแล้วเสื่อม ที่ว่าสิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา มันเป็นอนัตตา สภาวะมันเป็นอนัตตา วิวัฒนาการของมันไง ธรรมะเป็นอนัตตา ใช่มันเป็นอนัตตา แต่เราเห็นหรือเปล่า มันเป็นอนัตตาโดยจิต จิตเราเป็นหรือเปล่า

จิตเรามันเห็นเป็นอนัตตา จิตเรารู้ เราเห็น อนัตตา อนัตตาเป็นทฤษฎีที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วพระพุทธเจ้าพูดไว้ พระพุทธเจ้าวางเป็นหลักการไว้ หลักการมันเป็นหลักการ หลักการอยู่อย่างนั้น แต่คุณความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นกับเรา ถ้าเป็นเกิดขึ้นกับเรา เราทำตรงนี้ ถ้ามันจะเป็นอนัตตาก็ให้มันเป็น ถ้ามันเป็น มันเป็นแล้ว ที่ว่ากระบวนการของมัน วงรอบทำซ้ำๆ เห็นไหม 

ที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปพูดกับปัจญวัคคีย์ไง อยู่ด้วยกันมา ๖ ปี ไม่ได้เป็นอะไร ก็บอกไม่ได้เป็น แต่ตอนนี้เป็นพระอรหันต์ เป็นศาสดาด้วย” เพราะถ้าไม่มีวงรอบ ๑๒ ไม่มีกิจจญาณ สัจจญาณ ไม่มีการกระทำ ไม่มีการกระทำในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ 

แล้วถ้าเป็นพระอรหันต์เป็นอย่างไร เป็นอย่างไร ไอ้เราปฏิบัติเราจะเอาคุณงามความจริงมันเป็นอย่างไร ถ้ามันเป็นอย่างไร ถ้ามันเป็นอย่างนั้นมันก็เป็นความจริง ถ้าไม่เป็นความจริง เราก็พยายามทำของเราไง

เขาบอกว่า ทำอย่างนี้ถูกต้องไหม” 

ถูก ดี แต่ต้องทำให้ดีขึ้นไปอีก ต้องทำให้ดีให้จนข้ามพ้นทั้งดีและชั่ว ถึงจะดีก็ทิ้งมันไว้ เพราะดีต้องรักษา ดีต้องรักษา ต้องดูแล ถึงที่สุดข้ามพ้น ดีก็ข้าม ชั่วก็ข้าม มันพ้นจากดีและชั่วไปเลย สังโยชน์มันคายทิ้งไปเลย ตัดทิ้งไปเลย แล้วมีองค์คุณธรรมเป็นอริยบุคคล เป็นความจริงเลย

นี่ถูกต้อง ถูกต้องแต่ต้องทำซ้ำๆ ไง ถูกต้อง ถูกต้องแล้วก็ให้คะแนนมา ถูกต้องแล้วก็ให้ประกาศนียบัตร แล้วก็ไปผูกไว้ที่บ้าน ถูกต้อง ถูกต้องกระบวนการของการทำรอบนี้ 

แต่ถ้าพิจารณาซ้ำๆๆ เข้าไป มันถึงที่สุดแล้วมันถูกต้องในใจ ถูกต้องเป็นคุณธรรมอันนั้น แล้วคุณธรรมอันนั้น อกุปปธรรม อกุปปธรรมอฐานะที่จะเคลื่อนไหว คงที่ตายตัวอยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วมันคงที่อย่างไร ของในโลกนี้ไม่มีอะไรคงที่ ไม่มี 

สิ่งในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดคงที่เลย เว้นไว้แต่อริยภูมิคงที่ เพราะมันเป็นอกุปปธรรม

ฉะนั้น อกุปปธรรมมันจะเป็นความจริงอันนั้น ถ้าอันนั้นมันเป็นความจริง มันเป็นก็เก็บอยู่ข้างในของเรา

แล้วจะทำอย่างไรให้กายที่ปรากฏนั้นอยู่ให้นานพอที่ผมจะใช้พิจารณาครับ

เราบอกว่า ถ้าเราเห็นกาย เราก็พิจารณากาย แล้วถ้าพิจารณาไปแล้ว ถ้ามันเคลื่อนมันไหวนะ วางไว้ก่อน อย่าเพิ่งพิจารณา ให้กลับมาทำสมาธิ 

หลวงตานะ จะพูดเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เวลาจะยกตัวอย่าง ต้องยกครูบาอาจารย์ของเรานี่แหละ ยกหลวงตานี่แหละ เวลายกหลวงตา หลวงตาท่านติดสมาธิอยู่ ๕ ปี ฉะนั้น เวลาท่านออกไปพิจารณา เห็นไหม เวลาท่านพิจารณากาย จะพิจารณาขนาดไหน เวลาไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านดึงให้ออกมาพิจารณา 

พอพิจารณา ท่านพิจารณาอสุภะ แต่ท่านใช้คำว่า พิจารณากาย” แต่พิจารณาสุภะเนี่ย พิจารณาสุภะ พิจารณาไปแล้วมันไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลย พิจารณาเต็มที่เลย ท่านบอกนะ ไอ้บ้าสังขาร” “อ้าวจะบ้าได้อย่างไรล่ะ ในเมื่อมันพิจารณามันก็ต้องพิจารณา ถ้าไม่พิจารณามันก็ฆ่ากิเลสไม่ได้ไง” “นั่นน่ะไอ้บ้าสังขาร” ท่านต้องกลับมาพุทโธ พอพุทโธๆ พุทโธจนมีกำลังแล้ว ท่านบอกว่าปล่อยปั๊บก็เข้าสู่งานเลย

นี่ก็เหมือนกัน เราจะให้กายมาปรากฏอยู่กับเรานานๆ กายจะปรากฏอยู่กับเรานาน ถ้าเราติดอยู่เราก็ไม่รับรู้มันเลย แต่ถ้าพอเราออก เราออก ออกแล้วไปค้นคว้าไปหามันเจอ ไปหามันเจอแล้ว แล้วจะให้มันอยู่กับเรานานได้อย่างไรล่ะ หลวงตาท่านยังกลับมาพุทโธเลย ท่านบอกวางงานนั้นเลย แล้วกลับมาพุทโธๆ พุทโธๆ จนมีกำลังแล้วเหมือนถอนเสี้ยนถอนหนาม มันปลอด มันโล่ง มันมีกำลังแล้ว กลับไปพิจารณามันต่อ

นี่ก็เหมือนกัน การที่จะให้กายปรากฏอยู่กับเรานานๆ นานแค่ไหนมันก็อยู่ที่กำลังสมาธิเรามั่นคงแค่ไหน ฉะนั้น เวลาพิจารณา การพิจารณามันเป็นงาน มันเป็นการใช้ปัญญา ปัญญานี้มันต้องมีพื้นฐานมาจากสัมมาสมาธิ ถ้าสัมมาสมาธิที่มันมั่นคงแน่นหนา กายมันจะอยู่กับเรานานๆ สิ่งที่ว่ากายจะอยู่กับเรานานๆ กลับมาที่ทำความสงบของใจไง

ทีนี้บอกว่า ทำความสงบ โอ้โฮเหนื่อยน่าดูเลย ทำก็แสนยากเลย กว่าจะพุทโธได้ กว่ามันจะลง” 

นี่ฝึกหัดตรงนี้ให้ชำนาญก่อน โรงงานทุกโรงงาน สิ่งที่โรงงานเขาจะทำอุตสาหกรรมได้ เขาต้องมีวัตถุดิบพร้อม ถ้าวัตถุดิบของเขาไม่พร้อม โรงงานนั้นทำไปกะพร่องกะแพร่ง เพราะวัตถุดิบมันส่งให้ไม่ทัน ถ้าจิตมันมีกำลัง เราพร้อม สติพร้อม ปัญญาพร้อม ทุกอย่างพร้อมมูลแล้ว แล้วเราใช้ปัญญา เห็นกายแล้วพิจารณาไป มรรคมันหมุนไป โรงงานมันไปด้วยความสะดวกไง มรรคผลของเรามันเคลื่อนไหวไปด้วยความสมบูรณ์

ไอ้นี่แบบว่าเราใช้ปัญญาเป็น เราหัดใช้ปัญญาไป แล้วสมาธิล่ะ แล้วสติล่ะ ถ้าสติมันดีนะ งานชอบ งานชอบงานในการทำสมาธิก็ทำสมาธิชอบ ขณะที่ทำสมาธิก็พุทโธ ใช้ลมหายใจอย่างเดียว ไม่คิดอะไรเลย อยู่ในสมาธิ เวลาคลายออกจากสมาธิไปแล้วใช้ปัญญา เราก็ใช้ปัญญาเต็มที่เลย โดยมีพื้นฐานสัมมาสมาธิ สติอันนั้นเป็นตัวเกื้อหนุน ปัญญามันก็ฟาดฟันไป มันต้องสมดุลอย่างนี้ พอมันสมดุลอย่างนี้ปั๊บ ก็จะบอกว่า ทำอย่างไรกายจะได้ปรากฏนานๆ

เราเคยอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ แล้วหลวงปู่เจี๊ยะบอกว่า ให้ตั้งกายให้ดี” เราก็กำหนดเลย แล้วตั้งขึ้นมา โอ้โฮนั่งต่อหน้าหลวงปู่เจี๊ยะ นั่งกันอยู่อย่างนี้ ตอนนั้นเพิ่งสร้างวัดใหม่ๆ ยังไม่มีพระ ทำวัตรเสร็จก็นั่งกันอย่างนี้ แล้วเราก็นั่งเฉยเลยนะ พอออก เพราะเราก็เก่งน่ะ นั่งต่อหน้านี้เก่งมาก โอ๋ยเห็นกายนี่ใส กายใสแบบสตาร์วอร์ส ใส ใสแบบอย่างนั้นเลย นั่งใส เราก็ภูมิใจนะ ภูมิใจ ใส พอออกจากสมาธิ หลวงปู่เจี๊ยะท่านสังเกตอยู่แล้ว

ไอ้หงบ ทำไมมึงนั่งเอียงๆ อย่างนั้นล่ะ

ปัดโธ่กายใสหมดเลย” อยากจะแอ็ค นึกว่าถูกไง 

ท่านบอกว่า สมาธิมึงแก่เกินไป สมาธิกล้าเกินไปก็ไม่ใช่” สัมมาสมาธิ สมาธิ พอสมาธิมันมั่นคง พอมันมั่นคงเราเห็นกาย กายมันเหมือนกับแก้วใสเลย มันไม่เป็นอนัตตาไง มันไม่แปรสภาพ เพราะสมาธิมันดี สมาธิมันดี มันตั้งไง ตั้งเหมือนพระพุทธรูปแก้วเลย ตั้ง แล้วก็ภูมิใจ นั่งภูมิใจนั่นน่ะ ออกจากภาวนาไปยังคุยโม้อีกนะ

แต่คำนี้เราไม่ค่อยพูด แล้วครูบาอาจารย์ท่านก็ไม่อยากพูด ว่าสมาธิแก่เกินไป เพราะพวกเราสมาธิมันมีแต่อ่อนเกินไป ไม่มีแก่หรอก ไอ้สมาธิแก่เกินไปอย่ามาพูด อย่ามาโม้ อย่ามาคุย 

แต่เราเคยเป็น เราเคยเป็น แล้วพอออกมาท่านบอกว่า สมาธิเอ็งกล้าเกินไป ต้องใช้ปัญญาเยอะๆ

คำว่า สมดุล” มัชฌิมาปฏิปทา สมาธิเข้มเกินไป มันก็ทำให้เป็นไตรลักษณ์ไม่ได้ คือมันไม่แปรสภาพ มันไม่เป็นไตรลักษณ์ไง สมาธิมันแก่เกินไป มันเหมือนกับทำอาหารใส่เกลือเยอะๆ กินไม่ได้หรอก ใส่แต่เกลือ เค็มปี๊ดเลย ใครจะไปกินได้ นี่ก็เหมือนกัน สมาธิมันเข้มข้นเกินไป มันก็เป็นไปไม่ได้ ท่านบอกสมาธิเอ็งกล้าเกินไป

กรณีนี้มี พระสารีบุตรที่เวลาพิจารณาแล้วไปถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกไม่อยากจะพูดเลย เพราะคนมันจะเอาคนนี้มาอ้างกัน พระพุทธเจ้าบอก เพราะทำความเพียรกล้าเกินไป คำว่า กล้าเกินไป” น้อยคนที่จะทำได้ มีแต่อ่อนเกินไป แต่พอพูดอย่างนั้นปั๊บ ทุกคนจะอ้างธรรมะข้อนี้เลย ข้อที่พระสารีบุตรคุยกับพระพุทธเจ้า

ไอ้ของเราคำนี้ไม่ค่อยพูด แต่นี่วันนี้มันหลุดไปแล้ว มันหลุดออกไปแล้ว ก็ต้องอธิบายนิดหนึ่ง เดี๋ยวคนจะบอก โอ๋ยผมก็สมาธิแก่เกินไป โอ้โฮสมาธิแก่เกินไปเต็มเลย สมาธิอะไรของมึง อ่อนไปก็ไม่ได้ อ่อนไปก็ไหล มันตั้งอยู่ไม่ได้ แก่เกินไป เข้มข้นเกินไป ใส ใสแน๋วเลยนะ มันก็ภูมิใจนะ อวด คนไม่เคยเห็นมันก็ตื่นเว้ย ออกมา หลวงปู่เจี๊ยะเพราะนั่งมันเหมือนนั่งเพ่งอยู่ ท่านก็นั่งดูเราอยู่ พอออกจากสมาธิ บนศาลา

มึงทำไมนั่งอย่างนั้นล่ะ

ปัดโธ่กายใสหมดเลย

เถียงชัดทันทีเลย เพราะถ้ากายใสอย่างนั้นมันสมาธิมากเกินไป สมาธิแก่ไปเป็นอย่างนั้น เราถึงได้คิดโชะเลยนะ อ๋อเวลามรรคมันเป็นอย่างนั้น

นี่พูดถึง เขาบอกว่า “จะตั้งกายนานๆ ได้อย่างไร

ของกูตั้งไม่ขยับเลย ไปไหนก็ไม่ได้ ต่างคนต่างตกฟากคนละข้าง ไอ้นู้นตั้งไม่ได้ ไอ้เราตั้งแน่นเกินไป ไม่มีประโยชน์ทั้งสองข้าง มัชฌิมาปฏิปทา ความพอดี ความพอดีต้องหา ปฏิบัติไปมันต้องหา ต้องค้นว่ามันจะเป็นอย่างไร มันจะพอดีได้

ฉะนั้น เขาบอกว่า แล้วทำอย่างไรจะให้กายปรากฏตั้งอยู่นานๆ พอที่จะใช้พิจารณาได้ครับ” 

กลับมาที่ทำความสงบของใจ แล้วอีกอย่างหนึ่ง ถ้ามันพิจารณากายไม่ได้ กาย เวทนา จิต ธรรม เวลาเราตั้งกายไม่ได้ เราทำจิตเราสงบนะ แล้วสิ่งที่เราเสียใจ สิ่งที่เราเจ็บช้ำ จับตรงนี้พิจารณาก็ได้ เขาเรียกว่าพิจารณาเวทนา แล้วถ้าจิตมันใส จิตมันเศร้าหมอง จับจิตพิจารณาก็ได้

ถ้าเกิดอารมณ์ความรู้สึก ธรรมารมณ์ อารมณ์ความรู้สึก ถ้าจิตมันสงบแล้ว ธรรมารมณ์ สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม เหตุการณ์เฉพาะหน้า จิตสงบแล้วอะไรเกิดขึ้นมาที่เราจับต้องได้ เราควรรีบทำงานของเรา อย่าฝังใจว่าต้องพิจารณากายอย่างเดียวนะ ถ้าเราฝังใจว่าต้องพิจารณากายอย่างเดียว มันมีโอกาสจะได้ทำหน้าที่การงานมากมายเลย แต่เราปฏิเสธไม่ทำ เราพยายามคิดว่าเราจะต้องพิจารณากายอย่างเดียว

การพิจารณากายโดยใช้ปัญญาก็ได้ ใช้ปัญญาคือเราใช้ปัญญาเทียบเคียงว่าร่างกายของมนุษย์มันสกปรก ร่างกายของมนุษย์มันอยู่ได้เพราะมีจิตวิญญาณอยู่ ร่างกายของมนุษย์ จิตวิญญาณออกไปแล้ว ร่างกายของมนุษย์มันก็เน่าเสียหาย มีปัญญาอย่างนี้มันพิจารณาได้ ถ้าพิจารณาให้พิจารณาอย่างนี้ไง อยาก ไม่ได้ ไม่อยาก ได้ นี่ไง เพราะเราอยากเกินไป ตั้งใจเกินไป ไม่ได้ ทำให้พอดีๆ ทำอย่างนี้แล้วขวนขวายขึ้นไป

แล้วไม่ต้องไปอยากอย่างนั้นไป อยากจะใช้พุทโธ อยากจะใช้ปัญญา แล้วมันจะเป็นของมันไปได้ อยาก ไม่ได้ อยากในเหตุในผล เพราะอยาก ที่เขาพูด เห็นไหม บอกว่า เวลาเขาพิจารณาไปแล้ว สุดท้ายแล้วมันคล้ายกับสัญญา แต่สักพักผมก็มั่นใจว่ามันเป็นสัญญา” ทีแรกเขาก็สงสัยไง บางครั้งมันก็กลายเป็นสัญญา แต่สักพักผมก็รู้มั่นว่ามันเป็นสัญญา

เพราะเราอยากทำ แต่เราไม่คิดว่ามันขึ้นมาตรงไหนไง เราไปอยากในผลไง แต่เราอย่าไปอยากตรงนั้น เราอยากในเหตุ อยากในความขยันหมั่นเพียร อยากในการปฏิบัติ เพราะเขาบอกว่า เขาก็ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว มีหลักมีเกณฑ์มาแล้ว ทำของเราอย่างนี้ได้ แล้วพยายามฝึกฝนของเรา ฝึกฝนของเรานะ มันมีประสบการณ์ มันมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา มันมีครบ มีพร้อมแล้ว เรารู้รสชาติมันแล้ว เราถึงมั่นใจในการปฏิบัติว่าเราปฏิบัติได้ เอวัง