เทศน์บนศาลา

ธรรมะแหวกแนว

๑๖ ธ.ค. ๒๕๔๘

 

ธรรมะแหวกแนว
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
ณ วัดสันติธรรมมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจ วันนี้อากาศดีนะ

ธรรมทั้งหลายนะ ธรรมทั้งหลายย่อมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน สัตว์เกิดมาในโลกนี้ สัตว์ประเสริฐ สัตว์เดรัจฉาน ว่าสัตว์ประเสริฐเป็นผู้ที่มีปัญญาไง เป็นผู้ที่เอาตัวรอดได้ แต่ชีวิตความเป็นอยู่ของเราเป็นทุกข์ไหม ความว่าเป็นทุกข์นั้นมันเป็นอริยสัจ มันเป็นความจริง แต่คนไม่อยากจะพูดถึงมันกัน จะว่ามีแต่ความสุขไง คนเกิดมาต้องปรารถนาความสุข แล้วทุกคนแสวงหาความสุขกัน แต่แสวงหาไม่เจอ

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “การใช้ชีวิตของเราเหมือนวิดทะเลทั้งทะเลเลย เอาปลาเล็กๆ ตัวเดียว” คือ สิ่งที่แสวงหาไง นี่ความเหนื่อยยาก การวิดน้ำทะเลทั้งทะเลนะ แต่ได้ปลาเล็กๆ แม้ตัวเดียว นี่ชีวิตของเราเป็นแบบนั้น “การแสวงหา” นี่เป็นเรื่องของธรรมนะ ถ้าพูดถึงเรื่องของโลก ว่าสิ่งที่ทำแล้วให้คนไม่มีความมุมานะไง ความมุมานะ คิดว่าความเป็นมุมานะของกิเลส คือการแสวงหา คือการหาที่ยืนในสังคม ให้สังคมเขายอมรับนับถือ นั้นคือการแสวงหาของกิเลส

แต่การแสวงหาของธรรม บอกว่า “ถ้าพูดถึงเรื่องธรรมะแล้วทำคนให้ไม่มีความอุตสาหะ ความมุมานะในการทำการประกอบสัมมาอาชีวะ” นั้นเป็นความเข้าใจของกิเลสไง

“ความเพียรชอบ” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกความเพียรชอบ เวลาผู้ที่ออกประพฤติปฏิบัติ เวลาประพฤติปฏิบัติมันอุกฤษฏ์กว่าการทำมาหากินมหาศาลนัก การทำมาหากินมันมีการช่วยเหลือกัน เรื่องของโลกมีการช่วยเหลือกัน มีการจุนเจือกัน เห็นไหม เรื่องของทาน เพื่อความเป็นอยู่ของโลกไง

แต่เรื่องของการประพฤติปฏิบัติมันเป็นเรื่องของบุคคลนะ เป็นเรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องของสมบัติภายในหัวใจที่จะต้องมีความมุมานะ บอกว่า “ถ้าแสดงธรรมแล้วไม่มีความอุตสาหะ ไม่มีความเพียร ไม่มีความกระตือรือร้น”

ความกระตือรือร้นนะ ความกระตือรือร้นของใจเพื่อจะเอาเราพ้นจากกิเลส เพื่อพ้นจากกิเลสเพื่อความเป็นเครื่องจองจำในหัวใจไง ถ้ากิเลสเครื่องจองจำในหัวใจมันพ้นไปจากหัวใจของเรา นี่ความสุขแท้จริงจะเกิดขึ้นมาไง ความสุขอย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่บุกเบิกขึ้นมาเป็นองค์แรกของโลก เห็นไหม การบุกเบิกออกมาเป็นธรรมนะ “พุทธวิสัย” วิสัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าตรัสรู้แล้วจะไม่มีใครสามารถจะมีความรู้เสมอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลยในเรื่องของอำนาจวาสนา ในเรื่องของบารมี ในเรื่องของการรื้อสัตว์ขนสัตว์

แต่ถ้ามีผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ อัครสาวกต่างๆ หรือผู้ที่ประพฤติปฏิบัติต่างๆ เสมอกัน เสมอกันด้วยความบริสุทธิ์ไง เสมอกันเหมือนคนทานอาหารอิ่มเหมือนกัน แต่วิธีการของการแสวงหามันต่างกันมหาศาลนะ สิ่งที่ต่างกันมหาศาลเพราะอะไร เพราะการรื้อค้นมาไง การสร้างบุญญาธิการมาแบบพระโพธิสัตว์ สร้างสมบุญญาธิการมหาศาลเลย เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ แต่พวกเรา สาวก-สาวกะเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เป็นผู้ที่เชื่อ

ดูสิ ในสังคมปัจจุบันนี้ ดูในโลกออกไป เขาแสวงหากันเรื่องของทางโลก เขาแสวงหากันเพื่อความเจริญของโลกนะ ทางวิชาการ ถ้าผู้ที่ศึกษาวิชาการมา โลกนี่เจริญขึ้นมามากเลย แล้วยิ่งศึกษามาจะต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาตลอดเวลา สิ่งที่นวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา นั้นคือปัญญาของโลกไง คือความเจริญของเขาไง นี่โลกคิดกันอย่างนั้นนะ

ผู้ใดมีการกระทำ ผู้ใดเป็นนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งต่างๆ ขึ้นมา สิ่งนี้เป็นนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อความดำรงชีวิตเท่านั้นเอง มันก็เป็นปัจจัยเครื่องอาศัยว่าโลกเจริญ วิชาการเจริญ เดี๋ยวนี้วิทยาศาสตร์เจริญมาก สมัยก่อนนั้นสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มันล้าสมัย เป็นสิ่งที่ว่าตกยุคตกสมัยไปนะ

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้มาแล้ว ๒,๕๐๐ กว่าปีมานี้ จะไม่มีใครจะเท่าเทียบเสมอได้เลย เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไปไม่ได้เลยที่ใครจะรู้เท่ากับธรรมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้แต่พระสารีบุตรเป็นผู้ที่มีปัญญามาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งพระสารีบุตรเป็นเอตทัคคะ เวลาว่าเป็นผู้ที่มีญาณ มีปัญญา ดูด้วยสายตา ฝนตก ๗ วัน ๗ คืนนับได้หมด สิ่งที่นับได้หมด มันมีความสามารถพิเศษขนาดนั้นนะ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านับได้เป็นกัปเป็นกัลป์ สิ่งนี้ขนาดที่ว่าผู้ที่มีปัญญา ขนาดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ตั้งให้เป็นเอตทัคคะทางปัญญา ยังเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเท่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้คือสภาวธรรมไง

ธรรมจากภายใน การแสวงหาจากภายใน

สิ่งที่ภายในนี่เสมอกันด้วย รู้ทันกันได้ด้วย ถึงที่สุดไง

เป้าหมายที่สุดของเราคือพ้นจากทุกข์ เกิดมาในชาตินี้ทุกข์ยากมาก สิ่งที่ทุกข์ยาก เห็นไหม นี้เป็นสัจจะ เป็นความจริง ทุกข์เพราะอะไรล่ะ? ทุกข์เพราะมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอวิชชาในหัวใจมันอยู่กับหัวใจทุกๆ ดวงใจ แล้วจะต้องทำให้ดวงใจทุกดวงใจต้องไปเกิดไปตายอย่างนี้โดยสัจจะของมัน สิ่งนี้คือสภาวะสัจจะความจริงอันหนึ่ง ว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่เราจะหลีกเลี่ยงสิ่งที่ว่าเป็นความจริงในหัวใจขึ้นมาเพื่อกำจัดทุกข์จากใจ สิ่งที่เป็นความจริงอย่างนี้ เราถึงต้องยอมรับความจริงอย่างนี้ แล้วต้องหาทางออกไง

ถ้าใครคิดจะหาทางออก เห็นไหม ในการศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางไว้แล้ว ดูสมัยพุทธกาลนะ “ตักกสิลา” เป็นสิ่งที่ว่าเป็นนักวิชาการที่ใครๆ ก็จะศึกษาที่นั่น เขาจะส่งลูกส่งหลานของเขา พวกกษัตริย์เขาจะส่งลูกส่งหลานไปเรียนศึกษา นั้นก็วิชาการทางโลกไง สิ่งที่วิชาการทางโลกนะ ในสมัยนั้นนะ หมอชีวกโกมารภัจเขาสามารถผ่าตัดสมองได้นะ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว ทางวิชาการทั่วโลกเขาก็ทำได้ สิ่งที่การผ่าตัดสมอง สิ่งที่เป็นไสยศาสตร์ เป็นครู เป็นสิ่งต่างๆ ที่การทายทักต่างๆ เขาทำได้ทั้งนั้นน่ะ สมัยพุทธกาลเขาทำได้ สิ่งนี้เจ้าชายสิทธัตถะก็ไปเรียนกับเขา นี้คือวิชาการทางโลก มันก็...โลกนี้เป็นอนิจจัง สิ่งที่เกิดต่างๆ ยุคสมัยต่างกันไป สิ่งที่ต่างกันไป มันเวียนไปในกฎของสมมุตินิยม สิ่งที่สมมุตินิยมเป็นสภาวะแบบนั้น เจ้าชายสิทธัตถะก็ไปเรียนกับเขามาเหมือนๆ กัน เพราะเตรียมตัวเป็นกษัตริย์ แต่สิ่งนั้นเป็นวิชาการทางโลก มันก็เกิดสภาวะที่ว่าใครศึกษามา ได้ประโยชน์มาจากไหน

นี่โลกเจริญโลกเปลี่ยนไป อจินไตย ๔ โลก กรรม พุทธวิสัย ฌาน สิ่งที่โลกมันก็เป็นอจินไตยของมัน มันไม่มีสูญสลายไปหรอก มันจะเป็นสภาวะแบบนั้น มันจะปรับตัวของมัน มันจะเคลื่อนไปตัวของมัน โลกเขาคิดกันไปอย่างนั้นว่าพยายามจะสงวน จะรักษาไว้ สิ่งที่สงวนรักษาไว้ เพราะผู้ที่มีคุณธรรมในหัวใจไง โลกนอก-โลกใน นั่นน่ะโลกทัศน์ในหัวใจมันมีสิ่งที่ว่า สิ่งที่คิดถึงบุคคลอื่น สิ่งที่สงวนทรัพยากรไว้กับคนอื่นเขา เขาสงวนรักษาของเขา ถ้าในโลกทัศน์ของเขาดี เขาก็สงวนรักษา

คนขี้โกงนะ นี่ทำลายทั้งนั้น ทรัพยากรก็จะไปเอาของเขามา พยายามตักตวงของคนอื่นมาเป็นของๆ ตัว นี่เพราะอะไร เพราะโลกทัศน์ กิเลสในหัวใจมันมักมาก มันต้องการมีอำนาจเหนือคนอื่น มันก็แสวงหา มันก็ยึดของมัน เอารัดเอาเปรียบคนอื่น เห็นไหม โลกทัศน์จากภายใน นี่ธรรมนอก-ธรรมในไง

ถ้าในหัวใจมีสภาวธรรมในหัวใจอย่างนี้ มันเป็นคนดีอย่างนี้ ผู้ที่อย่างนี้ หมายถึงว่าถ้ามีศรัทธา มีความเชื่อไง จะย้อนกลับมาจากภายในนะ เพราะในปัจจุบันนี้ สิ่งที่อาหาร สิ่งที่ไม่มี เหมือนธรรมโอสถไม่มี เจ้าชายสิทธัตถะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งที่มีในสมัยพุทธกาลเขาก็ประพฤติปฏิบัติกัน เขามีเจ้าลัทธิต่างๆ ที่สั่งสอนธรรม สั่งสอนธรรมเพราะอะไร เพราะสิ่งนี้ เพราะในวิชาการของพราหมณ์ สิ่งนี้มีอยู่แล้วไง เรื่องของพราหมณ์ เรื่องของการค้นคว้าของเขา

ทุกคน การเกิดและการตายในโลก เราก็คิดว่าโลกเราปัจจุบันนี้มันมีความเจริญๆ โลกทุกยุคทุกสมัยเขาคิดของเขาอย่างนั้นเหมือนกันเพราะเป็นปัจจุบันของเขา เขาก็แสวงหาของเขามา เจ้าชายสิทธัตถะก็ไปร่ำเรียนกับเขา สิ่งที่ไปร่ำเรียนกับเขา เรียนทางสิ่งที่ธรรมะยังไม่เกิด เหมือนอาหารที่มันยังไม่มีไง

“ธรรม” ธรรมนี้เป็นเรื่องของหัวใจนะ เป็นเรื่องภาชนะของใจ สิ่งที่ประสบความสุข ความทุกข์มันเรื่องของใจ สิ่งที่เบียดเบียนใจมันเป็นเรื่องของกิเลส มันเป็นเชื้อ มันเป็นกิเลส มันเป็นเชื้อ มันเป็นโรคร้ายในหัวใจ แล้วมันไม่มียาสิ่งใดไปแก้ไง อย่างมากก็มีแค่ยาสลบ ยาสลบของสมัยก่อนพุทธกาล นี่สมาบัติต่างๆ การทำความสงบของใจ ขนาดทำความสงบของใจ เขายังเหาะเหินเดินฟ้าได้ด้วย ฤๅษีชีไพรเขาทำได้ขนาดนั้น แต่ในเมื่อไม่มีอาหารไง ไม่มีสิ่งที่ยาแก้ไขโรค เจ้าชายสิทธัตถะเรียนกับเขามาหมดแล้วนะ สุดท้ายแล้วถึงที่สุด “วางไว้” เพราะว่าสิ่งที่สร้างสมบุญญาธิการมา

เหมือนเชาวน์ปัญญา ดูสิ ในปัจจุบันนี้ ใครมีเชาวน์มีปัญญาจะไม่เป็นเหยื่อของใคร สิ่งใดที่เขามีกระแส เขามีความเชื่อถือกัน เราจะต้องมีสติ เราต้องคิดของเราว่าสิ่งนั้นสมควรไหม สิ่งนั้นเป็นสัจจะความจริงไหม มันไม่ตื่นไปตามกระแส นี้คือว่าผู้ที่สร้างบุญญาธิการมา ไม่เป็นโมหะจริต เชื่อง่าย หลงง่าย เชื่อเขาไป ถ้าเชื่อเขาไป แต่ถ้ามีสติ มีสติของเราขึ้นมามันต้องยับยั้ง

เจ้าชายสิทธัตถะไปเรียนขนาดไหนก็แล้วแต่ สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ไม่ลงใจ ไม่ลงใจเพราะอะไร เพราะมันจะมีความร่มเย็นเป็นสุขขนาดไหน นี้เป็นเรื่องของสิ่งที่ว่าเป็นยาสลบเท่านั้น มันไม่ใช่ยา มันแก้ไขไม่ได้ มันไม่มีการทำลายเชื้อโรคออกจากใจ ถึงรื้อค้นมาไง สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นมา รื้อค้นด้วยปัญญา ด้วยบารมี เพราะพระโพธิสัตว์อย่างนั้นรื้อค้นมา เป็นไก่ตัวแรกที่เจาะจากฟองอวิชชาออกมา แล้ววางธรรมและวินัยไว้ นี่มันมีอาหารแล้ว

สิ่งที่มีอาหาร “ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเธอ” เป็นศาสดาของเรา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา บริษัท ๔ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้เลยล่ะ กับภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ฝากศาสนาไว้เพราะอะไร เพราะว่าสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมา รื้อค้นถึงตรัสรู้ธรรมขึ้นมา

ขณะที่ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา สิ่งที่มีประสบการณ์กับใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือสิ้นกิเลส “วิมุตติสุข” นี่คุณสมบัติอันนั้นสำคัญที่สุด เพราะใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ลิ้มรส “รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง” วิมุตติรสอันนี้อยู่ในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นคือผลไง ผลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สร้างบุญญาธิการมานี้ ได้รับผลอันนั้นแล้วนะ

แล้วขณะที่ว่าเผยแผ่ธรรม เผยแผ่นะ เวลาเทศนาว่าการจนได้พระยสะแล้ว ๖๑ องค์ เป็นผู้ที่พ้นจากบ่วงที่เป็นทิพย์และพ้นบ่วงของโลก บ่วงของโลกและบ่วงที่เป็นทิพย์ “จงไปกัน อย่าซ้ำรอยกัน” เพื่ออะไร เพื่อประโยชน์สุขกับชาวโลก สิ่งที่อย่าให้เขาเสียผลประโยชน์ไง ถ้าไปซ้ำกันมันจะทำให้ประโยชน์โลกมันน้อยไป ให้ต่างคนต่างไปเป็นทางของแต่ละบุคคล แล้วไปสั่งสอนเพื่อเผยแผ่ธรรมอันนี้ไง

วิมุตติรสในหัวใจของพระอรหันต์ ๖๑ องค์อันนั้น เพื่อจะเผยแผ่มา เพื่อจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ เพราะสัตว์โลกมันเร่าร้อน มันมีความทุกข์ในหัวใจ เร่าร้อนมาก เหมือนกับสัตว์ที่ตกอยู่ในกระทะนะ มันมีความร้อนอย่างนั้น ถ้าเห็นอย่างนั้น ทุกคนก็ต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน โทสัคคินา โมหัคคินา ความโลภ ความโกรธ ความหลงในหัวใจ มันเหมือนกับเป็นไฟเผาใจของเรา แต่ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเข้าใจไง สิ่งที่บำเพ็ญประโยชน์ ถ้าเข้ากับกิเลส เข้ากับความพอใจของตัว ถ้าแสวงหาอย่างนี้เป็นประโยชน์ของเราอย่างนี้ เราได้อย่างนี้ สิ่งนี้เป็นคุณธรรมของเรา สิ่งนี้เป็นผลประโยชน์ของเรา...ผลประโยชน์อย่างนี้มันเป็นเหยื่อล่อนะ เหยื่อล่อให้เราอยู่ในโลก เหยื่อล่อให้เราติดกับอยู่นี่ สิ้นเวลาไปวันหนึ่งๆ หายใจเข้าและหายใจออกแม้แต่หนเดียว ก็หายใจทิ้งเปล่าๆ ไง

ถ้ามีสติกับสัมปชัญญะนะ การเคลื่อนไหวของเราจะมีพุทโธอยู่ตลอดไป มันไม่หายใจทิ้งเปล่าๆ นะ ลมเขาพัดไป ลมพายุมันทำลายบ้านเรือนต่างๆ นี่สิ่งที่พัดไป เขาเคลื่อนไปด้วยลมของเขา การหายใจเข้าและหายใจออกของเรานี่มันก็เป็นลมเหมือนกัน แต่มันมีจิตรับรู้ มันมีความรับรู้สึกของเรา เราหายใจเข้า ทางการแพทย์ ออกซิเจนเข้าไปฟอกโลหิตของเราทำให้เราดำรงชีวิตได้ แล้วความรับรู้สึกเพราะอะไร เพราะมันมีหัวใจนะ

แต่ถ้าเวลาเราตายไป จิตนี้เคลื่อนออกไปจากร่างนี้แล้ว ลมก็มีอยู่อย่างนั้นน่ะ สรรพสิ่งในโลกนี้ก็มีอยู่ แล้วมันเป็นประโยชน์กับใครล่ะ ถ้ามันเป็นประโยชน์กับเรา เพราะเรามีหัวใจ เรามีความรู้สึก เราหายใจทิ้งเปล่าๆ เราถึงมีสติของเราไว้ไง ถ้ามีสติมีสัมปชัญญะ เราคิดสภาวะแบบนี้ เราจะรีบแสวงหาทางออก รีบพยายามแสวงหานะ

การแสวงหาของโลกเขา โลกจะเจริญขนาดไหนนะ คนที่เกิดมาในโลกปัจจุบันนี้กี่พันล้านคนก็แล้วแต่ ทุกคนตายหมดเลย ต้องตายทั้งนั้น คนเกิดมาขนาดไหนก็ต้องตายทั้งนั้น แล้วตายแล้วก็ต้องเกิดทั้งนั้นด้วย เกิดในสถานะไหน

คนทำคุณงามความดี โลกทัศน์ที่ดีจากภายในเขาเป็นผู้ที่พึ่งอาศัยของสัตว์โลก เขามีบุญกุศล เขาได้อำนวยความสะดวกกับจิตทุกดวงที่ได้อาศัยบุญญาธิการของเขา อาศัยสิ่งของเขา เขาทำอย่างนั้นแล้วเขาก็ได้ไปเกิดเป็นสิ่งที่ดีๆ ใช่ไหม เขาทำความดี มันเป็นสัจจะความจริงไง “อริยสัจ” สัจจะความจริง อริยสัจจะ ดีคือดี ผู้ใดทำดีต้องได้ดี ผู้ใดทำชั่วต้องได้ชั่วแน่นอน จะเป็นที่ลับที่แจ้ง มันให้ผลอย่างนั้น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มันเป็นอย่างนั้นโดยสัจจะความจริงของเขาอยู่แล้ว

คนเกิดมาในโลกเท่าไรต้องตายหมด แล้วคนตายแล้วก็ต้องเกิดหมด เกิดในสถานะของกรรมที่สะสมมาในหัวใจนั้น มันถึงว่าสิ่งนี้มันถึงเป็นความร้อนไง มันเป็นเรื่องของตัณหาความทะยานอยากที่เผาลนหัวใจไง ใครสะสมสิ่งที่เป็นคุณงามความดี มันก็ให้ผลเป็นความดีขับเคลื่อนจิตนี้ไปสู่สิ่งที่ดี ใครกระทำสะสมความชั่ว จะที่ลับที่แจ้ง มันก็ขับสิ่งนี้ให้เป็นความชั่ว ความชั่วก็ต้องได้ผลเป็นสิ่งที่มีน้ำหนัก ความหนักหน่วงของจิต มันก็ไปตามอำนาจของกิเลสตัณหาความทะยานอยากอย่างนั้นแน่นอนอยู่แล้ว นี้คือวัฏฏะไง สิ่งนี้มันเกิดตาย เกิดตาย

ถ้าไม่เกิดตายอย่างนี้จะเกิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างไร

เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างแต่คุณงามความดี ได้เป็นพระโพธิสัตว์ สร้างคุณงามความดี สิ่งที่เป็นคุณงามความดีอย่างนี้มันถึงเป็นบุญญาธิการ เป็นถึงอำนาจวาสนา เป็นถึงสิ่งที่ว่าเป็นเชาวน์ปัญญา เป็นสิ่งที่ว่าขนาดว่าอาฬารดาบสยังรับประกันแล้ว “รู้เหมือนเรา สอนอยู่กับเรา” ขนาดอาจารย์บอกว่ารู้เหมือนเรา ถ้าเป็นเรา อาจารย์ชม เราจะเหลิงทันทีเลย กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันจะเกาะกินหัวใจจนเรากระดิกไม่ออกเลย

แต่นี่เจ้าชายสิทธัตถะท่านปฏิเสธทั้งหมดเลย สิ่งที่ขนาดว่าอาฬารดาบสบอกว่า “เป็นเหมือนเรา เหมือนเรา” เหมือนเราขนาดไหน นั้นเป็นคำพูดจากสมมุตินิยมของเขา สัจจะความจริงในหัวใจของเรานี่มันรู้ขนาดไหน มันสะสมอยู่ที่ใจ ความรู้ของเราหลอกตัวเองไม่ได้ไง เห็นไหม ไม่เชื่อ ถึงออกแสวงหาเอง ออกค้นคว้าเอง

บุพเพนิวาสานุสติญาณย้อนอดีตชาติ สิ่งที่สะสมมาอย่างนี้ ถ้าการเกิดและการตายไม่มี จะเกิดมาเป็นพระโพธิสัตว์ได้อย่างไร ขณะที่บุพเพนิวาสานุสติญาณย้อนไป จะเป็นพระเวสสันดรได้อย่างไร ๑o ชาติได้อย่างไร ย้อนกลับไปถึงไม่มีที่สิ้นสุด นี่มันมีที่ไปที่มาไง หัวใจที่มันมีคุณธรรมในหัวใจมันต้องสร้างคุณงามความดีมา มันจะคิดเป็นสิ่งที่อกุศลบ้างเพราะอะไร เพราะคนมีอวิชชา

สิ่งที่อวิชชานี่คนตาบอด คนตาบอดมันคลำไปมันไม่เห็นสัจจะความจริง นี่ใจบอดมันเป็นอย่างนี้ ถ้าใจบอด ขนาดใจมีคุณธรรมขนาดไหน แต่ความผิดพลาดความพลั้งเผลอมันมีโดยสัจจะความจริงของมัน สิ่งนี้มันถึงต้องแสวงหาจากภายในไง

ทางวิชาการ ถ้าเป็นลูกศิษย์ลูกหา เป็นผู้ที่ค้นคว้าทางโลก โลกจะเจริญ แต่ถ้าทางธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด สูงที่สุด แล้วจะไม่มีใครมีความรู้เสมอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยวิชาการ วิชาการนะ สิ่งที่มันเป็นเครื่องอภิญญา ๖ สิ่งนี้มันเป็นอาการของใจ มันเป็นเครื่องมือของใจ ใจถ้ามีสิ่งนี้เป็นประโยชน์ มันจะใช้สิ่งนี้เป็นประโยชน์ไง

เหมือนกับทางการแพทย์ ถ้าทางการแพทย์เครื่องมือของเขาพร้อม เขาสามารถรักษาคนไข้ด้วยวิธีการพร้อมทุกอย่างเลย แต่ถ้าเขาเป็นแพทย์ เขารู้วิธีการอยู่ แต่เขาไม่มีเครื่องมือไง อาการของใจมันเป็นเครื่องมือของใจ อภิญญาเป็นเครื่องมือของใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีครบทุกอย่างเลย ถึงจะเข้าใจทุกข์ร้อน เพียงแต่ว่าพยากรณ์หรือไม่พยากรณ์เท่านั้น

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ในพระไตรปิฎก สิ่งที่พยากรณ์มา ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ นี่เป็นใบไม้ในกำมือ สิ่งที่รู้อีกมหาศาลไม่พยากรณ์เพราะมันไม่เป็นประโยชน์ไงพูดขนาดไหน เราจินตนาการขนาดไหน เราคิดขนาดไหน มันก็ไม่เป็นประโยชน์กับเรา แต่ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดแม้แต่คำเดียวเป็นประโยชน์กับเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะชี้กลับมาที่หัวใจของเราเลย ให้หัวใจของเราให้ย้อนกลับมาที่เรา ถ้าย้อนกลับมาที่เรา มันจะเกิดการกระทำไง

สิ่งที่เป็นเรื่องของโลกมันอยู่ที่กรรมนะ ถ้าเรามีอำนาจวาสนา การทำงานของเรา การประกอบสัมมาอาชีวะของเรา การประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้าเราดีนะ ผู้ใดมีศีล ศีลนี้หอมทวนลม ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เราทำคุณงามความดีของเราไป สิ่งนี้มันจะปกป้องเราเองถ้ามันปกป้องเราเอง จะอยู่ในสังคมไหน สังคมนั้นเขาก็ให้เกียรติคนๆ นี้ไง คนๆ นี้เพราะเป็นผู้ที่ไม่เบียดเบียนคนอื่น เป็นผู้ที่จุนเจือคนอื่น แล้วถ้าย้อนกลับมาในหัวใจของเรา ถ้าศีลจากในหัวใจของเรา มันถึงต้องมีศีล คำว่า “มีศีล” คือว่าให้มันเป็นปกติของใจ ถ้าใจเราจะออกประพฤติปฏิบัติ สิ่งที่เป็นคุณสมบัติให้มันเป็นธรรม อย่าให้มันแหวกแนวนะ

“ธรรมแหวกแนว” แหวกแนวมันจะคิดของมันไป

ทางวิชาการทางโลก ใครคิดออกนอกกรอบ ใครคิดออกเป็นวิชาการใหม่ๆ มา สิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์กับโลกนะ โลกเขาไม่ให้คิดซ้ำกัน โลกเขาให้คิดกับสิ่งที่ต่อยอดได้เป็นประโยชน์ แต่ไม่ให้คิดซ้ำกัน ก็อปปี้กัน สิ่งนั้นมันซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้าใครคิดนอกกรอบ สิ่งนั้นมันเป็นทางวิชาการจะเป็นประโยชน์

แต่ในการประพฤติปฏิบัติ ถ้ามันแหวกแนวไปนะ เพราะอะไร เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่พระอรหันต์ ๑,๒๕o องค์ ขณะที่สโมสรสันนิบาต จะเข้าถึงจุดเดียวกัน จุดเดียวกันคือเป้าหมายที่จิตนี้สะอาดบริสุทธิ์ไง ถ้าจิตนี้สะอาดบริสุทธิ์ สิ่งนี้มันจะเป็นอันเดียวกัน เป็นอริยสัจเหมือนกัน สิ่งที่เป็นอริยสัจสิ่งนี้ มันถึงเข้าถึงเป้าหมายเดียวกัน มันจะแหวกแนวไปไม่ได้ ถ้ามันเป็นแหวกแนวออกไปนี้เป็นเรื่องของกิเลสตัณหาความทะยานอยากนะ

“ธรรมะแหวกแนว” หมายถึงว่า ถ้าเราประพฤติปฏิบัติไง ถ้าเป็นวิชาการ สิ่งที่วิชาการของโลก สิ่งที่วิชาการของโลกมันเป็นประโยชน์ มันเป็นประโยชน์เพราะสิ่งที่วิชาการทางโลกยิ่งมีการตรวจสอบกัน สิ่งนี้มันยิ่งสะอาดบริสุทธิ์ นี้มันเป็นทางวิชาการของโลก ต้องทดสอบไง ทางวิทยาศาสตร์ ทดสอบแล้ว ทดลองแล้วอย่างนี้ถึงจะเป็นทฤษฎีนี้มันถึงเป็นการยอมรับเพื่อเป็นคุณประโยชน์กับโลก เพราะสิ่งต่างๆ ในหัวใจนี้ สิ่งต่างๆ ในโลกนี้ที่ยังเป็นความลับอีกมหาศาลเลย

แต่ถ้าทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา จิตมันต้องสงบเข้ามาก่อน นี่ทางวิชาการเขาศึกษามานี้ เขามีการทดสอบ ทดลองใช่ไหม นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราจะแสวงหา เราจะหาใจของเรา เราจะหาสิ่งที่การกระทำของใจของเราจากภายใน เราจะเริ่มต้นจากตรงไหนล่ะ เห็นไหม ต้องมีศีล ความปกติของใจ ถ้ามันไม่มีศีล ไม่มีความปกติของใจ เวลาทำความสงบมันก็ทำความสงบได้ สิ่งที่จิตสงบ เพราะศีลไม่สะอาดบริสุทธิ์ สิ่งนี้ไม่สะอาดบริสุทธิ์มันก็ให้เป็นสมาธิ มิจฉาสมาธิ

“ศีล สมาธิ ปัญญา” ทำไมต้องทำสมาธิล่ะ ทำไมเราไม่วิปัสสนาไปเลย

ทางโลก ถ้าธรรมะแหวกแนว ถ้าทำศีล สมาธิ ปัญญา นี้เป็นทางที่อ้อม ทางที่ไกล ทางยืดเยื้อ แต่ถ้าเราใช้ปัญญาของเราไปเลย สิ่งที่ใช้ปัญญาไปเลย ถ้าเป็นธรรมะ ธรรมะอยู่ในแนวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ พระสารีบุตรเป็นปัญญาวิมุตติ พระโมคคัลลานะเป็นเจโตวิมุตติ

สิ่งที่เป็นปัญญาวิมุตติ สิ่งที่มีปัญญามาก เวลาพระสารีบุตรฟังธรรมของพระอัสสชิ นี่เพราะมีปัญญา สิ่งที่มีปัญญา “ธรรมทั้งหลายนี้มาแต่เหตุ” ขณะที่ฟังธรรมคำนี้ ปัญญาเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นปัญญาขึ้นมา นี่เป็นพระโสดาบัน ไปบอกพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะฟังแล้วเป็นพระโสดาบันเหมือนกัน สิ่งที่เป็นพระโสดาบันนี้ เวลาออกประพฤติปฏิบัติกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโมคคัลลานะยังง่วงหงาวหาวนอนนะ ต้องให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาพูดถึงวิธีการ ตรึกในธรรม ใช้ปัญญา ใช้น้ำลูบหน้าเพื่อจะไม่ให้ง่วงหงาวหาวนอน

นี่เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติต้องใช้ปัญญาใคร่ครวญอย่างนี้ สิ่งที่การใคร่ครวญกัน มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาของการใคร่ครวญทางโลก เราคิดขนาดไหน ถ้ามันเป็นธรรมนะ มันสรุปได้ คำว่า “สรุปได้” หมายถึงว่ามันไม่มีความลังเลสงสัย มันจบขบวนการของความคิดนั้น ถึงที่สุดแล้วก็คือสมถะนี่แหละ คือความสงบของใจไง ใจมันปล่อยวางมาอย่างนี้ไง สิ่งที่ปล่อยวางมาอย่างนี้ ถ้าปล่อยวางอย่างนี้ มันก็เป็นสมาธิใช่ไหม สิ่งที่เป็นสมาธิไง

มันเหมือนกับเห็ด เห็ด ดูสังเกตสิ เห็ดต่างๆ เอาเป็นประโยชน์มาก ใช้เป็นประโยชน์ เราเอาเป็นอาหารต่างๆ เห็ดมีแต่คนคิดเพาะเห็ดต่างๆ เอามาเป็นอาชีพได้ แต่เห็ดบางชนิดมันมีพิษนะ สิ่งที่เห็ดนี้มีพิษ ถ้าเราไม่รู้ เราไปเก็บเห็ดที่เราคิดว่าเห็นเป็นเห็ดเหมือนกันแล้วเอามากินนะ จนตายก็ได้ สิ่งที่เป็นพิษจนถึงร่างกายตายได้

สมาธิก็เหมือนกัน สิ่งที่ทำความสงบของใจเข้ามา มันเหมือนกับเห็ด เหมือนเพาะเห็ดเป็นอาหาร ส่วนใหญ่แล้วเป็นอาหาร ถ้าเราทำขึ้นมาเป็นธุรกิจแล้ว เอามาซื้อขายในตลาด มันไม่เป็นพิษหรอก แต่ถ้ามันไปอยู่ในป่า เราไม่รู้จัก แล้วเราไปเก็บมากินเอง เรามาทำอาหารเอง เราถึงกับเป็นพิษ ถึงกับตายได้นะ

การทำความสงบของใจ ถ้าจิตสงบ สิ่งที่เป็นมิจฉาสมาธิ-สัมมาสมาธิ สิ่งที่เป็นอาหารมันเป็นโทษก็มี เป็นคุณประโยชน์ก็มี สิ่งที่เป็นอาหารเป็นโทษมีประโยชน์ แต่มันก็ต้องอาศัยอาหารเป็นการดำรงชีวิตใช่ไหม ถ้าเราไม่มีสมาธิ ไม่มีจุดยืนของใจ สิ่งที่ความคิดขึ้นมามันเป็นแค่โลกียปัญญา ปัญญาที่เป็นโลกียะมันอยู่ใต้อำนาจของกิเลส กิเลสนี้มันมีอำนาจเหนือหัวใจนี้มาก การคิด การจินตนาการของความคิดเราทั้งหมดอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ทีนี้ใต้อำนาจของกิเลส เวลาคิดถึงธรรมะมันก็แหวกแนวไปตามกิเลสสิ เพราะกิเลสมันมีอำนาจเหนือหัวใจของเรา

เวลาเราตรึกในธรรม ตรึกไปขนาดไหน ถ้าเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมและวินัยนี้ได้ชำระกิเลสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว สิ่งที่ต้องเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ มันเป็นคุณประโยชน์กับเรา

แต่ขณะที่เราไปตรึกธรรมอยู่นี่ เราคิดจินตนาการของเรา มันมีกิเลสของเรา กิเลสของเรามันไปทำให้แหวกแนว แหวกแนวออกไป มันไม่เข้าหลักเข้าเกณฑ์ของใจ ถ้ามันเตลิดเปิดเปิงนะ เวลามันคิดขึ้นมาว่าสิ่งที่เป็นธรรม เป็นธรรม มันเชื่อมั่นของมันไปนะ มันจะสร้างภาพ สร้างจินตนาการของจิตนี้ เพราะจิตนี้เป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก ความเห็นของจิต อาการของจิต สิ่งต่างๆ

ดูสิ ดูเวลาคนทุกข์คนยาก เขาย้ำคิดย้ำทำจนเป็นจิตเภท เขาเสียจริตนิสัยเพราะอะไร เพราะความคิดของเขาเอง เพราะจิตของเขา ความคิดของเขาไปทำร้ายเขา ทำร้ายเขาจนเขาถึงเสียสติ จนเป็นคนใบ้บ้าไป แต่ถ้าเรามีสติของเรา “สิ่งนี้มันเป็นอะไร สิ่งนี้มันเป็นพิษไหม มันเป็นภัยไหม” นี่มันถึงต้องย้อนกลับมาไง ย้อนกลับมาให้ปล่อยวางสิ่งนี้ให้ได้ สิ่งที่ปล่อยวางออกมา เราตั้งสติของเราขึ้นมา

สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์มันเป็นสัมมา ถ้าเป็นสัมมาขึ้นมา เราต้องหาจุดยืนของเราให้ได้ ถ้าหาจุดยืนได้ ถึงเกิดเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าสมาธิเกิดขึ้น การจะทำงานสิ่งต่างๆ มันต้องมีจุดยืนของใจ ถ้าไม่มีจุดยืนของใจ เพราะอะไร เพราะถ้าเราไม่มีสมาธิ เราไม่มีของเรา เป็นโลกียปัญญานี่มันไม่มีฐานไง

เหมือนกับเรายิงปืน เรายิงปืน เรามีข้าศึก เรารู้ที่ไหนว่าเป็นเป้าหมายของเรา เราต้องยิงปืนเข้าเป้าหมาย โดนหรือไม่โดนนี่มันอยู่ที่ความชำนาญของเรา แต่ถ้าเราไม่มีเป้าหมายเลย ปืนยิงไปทั่วสารทิศมันจะเป็นประโยชน์อะไรกับใครไหม ถ้ามันฟลุ๊คๆ นะ มันไปยิงโดนเข้าไป อาจจะไปโดนเป้าหมายเราสักหนหนึ่ง คือจิตมันสงบได้เหมือนกันไง

การประพฤติปฏิบัติของเรา บางทีถ้าเรามีอำนาจวาสนา คือสิ่งที่เราเคยทำบุญกุศลมา เราทำอย่างไรจิตมันสงบได้ เพราะมันเป็นสัจจะความจริง พระอาทิตย์ขึ้นต้องตก จิตที่มันฟุ้งซ่านมันต้องสงบได้ สิ่งต่างๆ ที่ในหัวใจเกิดขึ้นมานี่มันย่อยสลายได้ สิ่งนี้มันเป็นสมมุติไง การเกิดดับของใจไง นี่มันฟลุ๊คๆ สิ่งนี้เป็นไปได้ ถ้าเป็นไปได้...แล้วเราทำอย่างไร? เราทำไม่ได้ แต่ถ้าจะให้สัจจะความจริงต้องศีล สมาธิ ปัญญา เราถึงต้องมีเป้าหมาย เราพยายามทำของเรา

เราตั้งจุดยืนของเรา เป้าหมายคืออะไร? เป้าหมายคือตัวฐีติจิต คือตัวความรู้สึกตัวนี้ ภวาสวะ คือตัวภพนี้ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันถึงเป้าหมายตัวนี้ไง ถ้ามันถึงเป้าหมายตัวนี้ สถานที่ สนามบิน เครื่องบินบินไปจากไหนแล้วแต่ เวลาร่อนลงต้องร่อนลงสนามบิน ถ้าสนามบินนั้นแออัดหรือถ้าเครื่องบินนั้นมีภาวะที่ลงไม่ได้ เราต้องลงที่ฉุกเฉิน เขาจะลงที่ในน้ำก็ได้ ลงในท้องไร่ท้องนาของเขา อันนั้นลงไปแล้วมันก็ประสบอุบัติเหตุใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันเหมือนกับฐานของใจ ฐานของใจคือตัวที่ใจ “กรรมฐาน” ถ้ามีความสงบของใจ ฐานที่ตั้งของใจ ถ้าฐานที่ตั้งของใจนี้คือกิเลสมันอยู่ตรงนี้ กิเลสมันอยู่ที่ใจ ถ้าอยู่ที่ใจ ถ้าจิตสงบเข้ามา แล้วถ้ามันมีสติสัมปชัญญะ มันจะมีสัมมาสมาธิ มันจะไม่แหวกแนวนะ

ถ้าแหวกแนวนะ พอจิตมันสงบเข้ามา มันจะสงบมาบ้าง ขณะที่เครื่องบินจะร่อนลง นี่จิตสงบเข้ามา การจะเข้าของจิตมีอาการต่างๆ สิ่งที่อาการต่างๆ เราก็คาดหมายไป ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เป็นธรรมไง แม้แต่เครื่องบินจะร่อนลง เวลาเครื่องบินจะลงสนามบิน ถ้าผู้ขับขี่เครื่องบินนั้นเขาไม่มีความชำนาญ เครื่องบินนั้นสามารถออกนอกสนามบิน ออกนอกลู่นอกทาง ทำให้เครื่องบินนั้นถึงกับเสียหายได้นะ จิตก็เหมือนกัน ขณะที่มันจะเข้าถึงความสงบของใจ มันมีอาการต่างๆ ของมัน การจะเห็นนิมิต เห็นต่างๆ การเห็นนิมิต การเห็นสัจจะความจริง สัจจะนะ สัจจะคือเห็นจากใจ คือเห็นจริงๆ

แต่ถ้ามันเห็นด้วยอุปาทานล่ะ? สิ่งที่เห็นด้วยอุปาทาน มันไม่เห็นเป็นสัจจะความจริงหรอก มันเห็นโดยอุปาทานของเรา ยิ่งเราเชื่อมั่น นี่ธรรมะแหวกแนว ถ้าแหวกแนวจะเห็นของมันออกไปโดยเห็นสภาวะต่างๆ แล้วครูบาอาจารย์ของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสูงสุด เป็นผู้ที่ไม่มีผู้ที่ประพฤติปฏิบัติผู้ใดจะเสมอเหมือนได้ สิ่งนี้ท่านวางธรรมและวินัยไว้ให้เราเป็นผู้ก้าวเดินนะ

ในปัจจุบันนี้หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์เป็นผู้ที่รื้อค้นมา ขณะที่หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ ท่านเทศนาว่าการนั้น ท่านจะไม่บอกถึงผล ท่านจะให้หาไปที่เหตุ ให้มาที่เหตุ แต่ครูบาอาจารย์ขณะที่ประพฤติปฏิบัติแล้วถึงผู้ที่เป็นประโยชน์กับหัวใจ ก็จะสั่งสอนให้พวกเรามีแนวทางในการก้าวเดิน

ทีนี้ แนวทางในการก้าวเดิน...เงินเฟ้อ เงินเฟ้อนั้นทำให้เงินไม่มีค่า เวลาเงินเฟ้อขึ้นมา ทำให้คุณค่าของเงินน้อยลงไป ต่ำลงไป แล้วเงินจะมีคุณค่าเฟ้อไปตลอด

“ธรรมะเฟ้อ” ธรรมะเฟ้อคือ “ธรรมะที่แหวกแนว”

ธรรมะไม่เฟ้อหรอก ธรรมะเป็นสิ่งควรแสวงหา ความสุขมันเฟ้อไหม ความสุขเป็นสิ่งที่แสวงหา ความทุกข์สิมันเฟ้อ ความทุกข์เกิดโดยธรรมชาติของมัน ความทุกข์เกิดจากใจแล้วบีบบี้สีไฟในหัวใจของเรา ความทุกข์อย่างนี้ทุกคนไม่ต้องการ แต่มันมีอยู่ มันคือสัจจะความจริงของมัน ความสุขหาแทบได้ไม่ได้

แล้วธรรมะนี้เป็นธรรมะของ...“ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม”

ธรรมสัจจะความจริง มันไม่เฟ้อ แล้วเราเข้าไม่ถึง พอเราเข้าไม่ถึง เราเข้าไปโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากไง พอกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ฟังธรรมของครูบาอาจารย์มา ธรรมของครูบาอาจารย์ที่พูดไว้เป็นแนวทาง พูดไว้เป็นคติเตือนใจให้เราเอามาเป็นประเด็นไง ให้เราตั้งเป็นประเด็น ธรรมของครูบาอาจารย์ตั้งขึ้นมา แล้วเราคิดวิตกวิจารณ์

การวิตกวิจารณ์คือการตรึกในธรรม ถ้าการตรึกในธรรม อยู่กับธรรม อยู่กับความร่มเย็นเป็นสุขมันไม่ทำให้เราแหวกแนวออกไปหรอก แต่ถ้าทำโดยกิเลส ธรรมของครูบาอาจารย์ของเรา แล้วเราตรึกของเรา เราคิดของเรา เราจินตนาการของเราโดยกิเลสที่มันมีในหัวใจ สิ่งนี้มันทำให้แหวกแนว มันสร้างภาพได้

จิตนี้สำคัญมาก สิ่งที่สำคัญมาก ว่างสงบขนาดไหน อาการของใจมันเกิดขึ้นมา สิ่งนี้เป็นธรรม เครื่องบินมันจะร่อนลงนะ จิตมันจะเข้าไปถึงฐานของใจ ถ้าถึงฐานของใจนี่เราต้องควบคุมให้ดี เห็นสภาวะต่างๆ แล้วอย่าเชื่อ อย่าตามออกไป มันจะพาแหวกแนวออกไปนะ

ขณะจิตที่สงบเข้ามา บางทีเราจะเห็นว่าตัวเราเองไปนั่งอยู่บนอากาศ เห็นตัวเราเองออกไปเดินจงกรมอยู่บนอากาศ สิ่งนี้เป็นไปได้ เป็นไปได้เพราะเป็นคราวหนึ่งหนหนึ่งก็มี เป็นไปโดยบ่อยครั้งก็มี อยู่ที่อำนาจวาสนาของผู้ที่สร้างสมมา เห็นต่างๆ เห็นอาการอย่างนี้ ใครเป็นผู้เห็น?

เครื่องบินอยู่กับเรา เราเป็นคนขับเครื่องบิน เราเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะ เราจะควบคุมเครื่องบินเราให้ลงสนาม สิ่งที่ลงสนามมันก็ต้องเป็นไปตามจริง...ใครเป็นคนจัดการล่ะ?

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ไปเห็นอาการของใจ อาการต่างๆ มันกำลังจะร่อนลง อยู่ที่ฐีติจิต มันจะเข้ามาถึงความสงบของใจ ตั้งแต่ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เรามีสติสัมปชัญญะประคองไปเฉยๆ อยู่กับผู้รู้ อยู่กับผู้รู้สึกต่างๆ มันจะเข้ามาเป็นฐานของใจไง มันจะลงสนามบินโดยความร่มเย็นเป็นสุข มันจะลงสนามบินโดยความนิ่มนวล แล้วเครื่องบินเราก็สมประโยชน์ของเรา เราจะรื้อขนสินค้ามาขนาดไหน สินค้าจะมีประโยชน์ขนาดไหน เราจะออกไปทำธุรกิจของเราก็ได้ นี่เหมือนกัน ถ้าจิตมันสงบโดยสัมมาสมาธิมันจะเป็นสภาวะแบบนี้

สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นมามันเป็นเหมือนกับเจ้าชายสิทธัตถะไปเรียนกับอาฬารดาบส ได้สมาบัติ ๘ ถ้ามัน...ศีล สมาธิไง แค่ขั้นของสมาธินะ กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันยังแหวกแนวออกไป ว่าสิ่งนี้เป็นนิพพาน สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นความรู้เห็นของจิต นี่ถ้าแหวกแนวออกไป มันเสียผลประโยชน์ตั้งแต่เริ่มต้นในการประพฤติปฏิบัติเลย ยังไม่เข้าแนวทางเลย ยังไม่ได้วิปัสสนา ยังไม่เห็นอริยสัจเลย มันไม่เป็นวิปัสสนาขึ้นมาเพราะสิ่งนี้มันเป็นความสงบเฉยๆ

ความสงบเฉยๆ นี่อาการของใจมันมี ถ้าเห็นนิมิต เห็นความเห็นต่างๆ ที่มันจะชักเราออกไป เราไม่สนใจ เว้นไว้แต่เห็นกาย เห็นกายถ้าไม่มีสภาวะของจิต เจโตวิมุตติจิตสงบเข้ามาแล้วจะเห็นกาย เห็นกายเห็นสภาวะต่างๆ ก็แล้วแต่ แต่มันต้องมีฐานไง การเห็นกาย จิตมันต้องตั้งมั่น จิตต้องมีฐานขึ้นมา เหมือนกับเราเป็นเจ้าของเงิน เงินในธนาคารเรามีขนาดไหน เราจะโยกย้ายอย่างไร เราจะฝากที่ไหน เราจะลงทุนอย่างไร มันทำอย่างไรก็ได้เพราะอะไร เพราะเราเป็นเจ้าของเงิน แล้วเรารู้จักวิธีการลงทุน นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันสงบเข้ามา เราเป็นเจ้าของจิต ถ้ามันจะเห็นกาย มันต้องเป็นผู้ที่บริหารจัดการกายนี้ได้ ถ้ามันมีสติสัมปชัญญะเป็นเจ้าของโดยที่ว่าเรามีเงินมาก ถ้าเรามีเงินบาท ๒ บาท แล้วเราจะใช้จ่าย ๕ บาท ๑o บาท มันเป็นไปไม่ได้หรอก

จิตถ้ามันไม่มีพื้นฐาน การเห็นอย่างนี้มันทรงไว้ไม่ได้ ถ้าทรงไว้ไม่ได้เราก็ต้องรักษาใจของเรา สิ่งที่รักษาใจของเรา พยายามรักษาใจ เหมือนกับเครื่องบิน ร่อนลงสนามบินขนาดไหน การลงสมาธินะ จิตมันจะลงขนาดไหนเราต้องมีสติของเรา ประคองของเรา อยู่กับพุทโธ พุทโธ นี่ตั้งสติพร้อมไป มันเป็นไปโดยสัจจะความจริง

สิ่งที่เกิดขึ้นมานี้เป็นสัจจะความจริงทั้งหมด ถ้าเป็นสัจจะความจริงมันเกิดขึ้นมา มันก็เป็นความจริงของมัน เราไม่ต้องไปเรียกร้อง เราไม่ต้องไปแสวงหา เราไม่ต้องไปคาดการณ์คาดหมายใดๆ ทั้งสิ้น การคาดการหมาย การคาดการหมาย การต้องการของเรา มันเป็นเรื่องของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันไม่เป็นปัจจุบัน ถ้าไม่เป็นปัจจุบัน การกระทำของเรามันไม่เกิดหรอก สิ่งที่มันไม่เกิด เข้าสมาธิได้บ้างไม่ได้บ้าง เคยเข้าได้บ้าง เคยเข้าไม่ได้บ้าง เพราะเหตุใด? เพราะเราไม่สาวไปหาเหตุ

ผลคือสิ่งที่จิตสงบ ผลคือความสุขความร่มเย็นของใจ แล้วความสุขความร่มเย็นของใจมันมาจากไหน? มันมาจากจิตมันปล่อยวางอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ มันปล่อยอาการของใจเข้ามาเป็นตัวของมัน เห็นไหม “อาการของกายกับใจ” ใจเป็นตัวพลังงานตัวนั้น คือตัวจิตนี้มันออกไปรับรู้ต่างๆ มันเป็นขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอาการของใจ คนมีเงา ถ้าคนมีเงาถึงว่าออกไปโดนแดดมีเงา คนเข้าไปที่ร่มนี่ไม่มีเงา

จิตเวลามันไม่คิด มันอยู่ในสภาวะของมัน มันอยู่เฉยๆ ของมัน มันก็อยู่ได้ แต่ขณะที่มันคิดขึ้นมา มันอยู่ที่อาการของใจ มันอยู่ที่เงาของมัน มันต้องมีเงา มันถึงออกคิดได้ สิ่งที่คิดได้ คิดโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากก็ฟุ้งซ่านออกไป ถ้าสติควบคุมเข้ามา นี้คือเหตุ

ถ้ามันคิดออกไปสภาวะแบบนั้น แล้วเราใช้ปัญญาไล่ต้อนกลับมาอย่างนี้เป็นโลกียปัญญา มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันปล่อยวางมาเป็นสมถะ แต่ถ้าเรากำหนดพุทโธ พุทโธ ความคิดที่มันคิดเป็นอารมณ์อย่างนั้นน่ะ เราเปลี่ยนไปเป็นคิดพุทโธ พุทโธแทน ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันจะย้อนความคิดกลับเข้ามา ปล่อยเงาเข้ามาเป็นตัวของจิต

แต่ถ้าเป็นคำบริกรรม เป็นเจโตวิมุตติ พุทโธ พุทโธ ก็คือตัวเงานั้นล่ะ คือรวบรวมเงาให้ย้อนกลับมาหาตัวเอง เหมือนกับตามรอยโคไป เราจะหาตัวโค เราตามรอยโคด้วยสติสัมปชัญญะ มันจะเข้าถึงตัวโค นี่ไง “ศีล สมาธิ ปัญญา”

ถ้าสมาธิอย่างนี้เกิดขึ้น มันไปถึงฐานของใจ “ฐานของใจ”

สิ่งที่ฐานของใจ แล้วเราจะน้อมไปวิปัสสนา

พระสารีบุตรเป็นพระที่เป็นปัญญาวิมุตติ พระโมคคัลลานะเป็นเจโตวิมุตติ เหมือนกับเขาเจาะน้ำมันที่ฐานเจาะน้ำมันที่บนแผ่นดิน บนแผ่นดินเป็นเจโตวิมุตติ ถ้าจิตมันสงบแล้วพิจารณาเห็นกาย เหมือนกับแท่นเจาะน้ำมันที่บนแผ่นดิน อยู่บนดินการเจาะน้ำมันมันก็ทำง่ายใช่ไหม

คำว่า “ทำง่าย” แต่มันก็ยังยาก ยากเพราะอะไร เพราะสิ่งนี้ทรัพยากรอย่างนี้มันอยู่ที่ไหน? มันอยู่ในโลกนี้ เราต้องแสวงหา เราต้องมีวิชาการของเรา เราถึงจะสามารถสูบน้ำมันขึ้นมาเป็นประโยชน์กับเราได้ นี่เจโตวิมุตติมันต้องมีสมาธิอย่างนี้ สมาธิอย่างนี้ แล้วมันน้อมไปเห็นกาย แล้วการวิปัสสนาไปมันอยู่บนแผ่นดิน การวิปัสสนาอย่างนี้มันจะเป็นประโยชน์กับใจดวงนี้

ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ แท่นเจาะนี้อยู่ในแม่น้ำนะ อยู่ในทะเล อยู่ในทะเลลึกๆ อยู่ในทะเลที่ว่าขั้วโลกเหนือ เป็นทะเลด้วย เป็นน้ำแข็งด้วย สิ่งต่างๆ แล้วแท่นเจาะ เจาะในทะเล เวลาเกิดพายุเกิดลมแรง เราย้ายแท่นนั้น เราหลบหลีกพายุ หลบหลีกต่างๆ นี่ปัญญาวิมุตติ มันใช้ปัญญา เวลาจิตสงบเข้ามามีฐานของใจแล้ว มันพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม สิ่งที่กาย เวทนา จิต ธรรม มันใช้ปัญญาใคร่ครวญไป มันจะไม่เห็นกายแบบเจโตวิมุตติไง มันไม่มั่นคงเหมือนกับสิ่งที่เป็นแท่นเจาะที่บนแผ่นดิน แท่นเจาะที่บนแผ่นดิน เกิดแผ่นดินไหว เกิดอะไร มันก็ทำลายเราได้เหมือนกัน

การวิปัสสนาของจิต นี่สิ่งต่างๆ มันคือการใช้การกระทำไป มันอยู่ที่อำนาจวาสนา อยู่ที่สติปัญญาของเรา อยู่ที่การทดสอบของเรา การใคร่ครวญของเรา สิ่งที่ใคร่ครวญ ใคร่ครวญเพื่ออะไร ปัญญาอย่างนี้ เห็นไหม ถึงบอกถ้าเป็นทางวิชาการ ทางโลกเขา ผู้ที่ค้นคว้าทางวิชาการต้องมีปัญญาเหนือกว่าผู้ที่เป็นครูบาอาจารย์มา โลกถึงเจริญไง

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากว้างขวางมาก เราประพฤติปฏิบัติขนาดไหน เราวิปัสสนาขนาดไหน ปล่อยวางขนาดไหน มันก็เข้าไปสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ทั้งหมด ขณะที่จิตมันวิปัสสนาไป แล้วมันปล่อยวาง ว่าง การปล่อยวาง ว่าง เพราะอะไร เพราะเราทำของเราด้วยความถูกต้อง ความมีอุตสาหะ ด้วยความเพียรชอบ สิ่งต่างๆ มันปล่อยวาง

ถ้ากิเลสมันเข้ามา ทำให้แหวกแนวออกไปนะ สิ่งที่แหวกแนวมันไม่สมุจเฉทปหาน มันไม่เป็นสิ่งที่ปล่อยวางโดยสัจจะความจริง มันปล่อยวางชั่วคราวโดยตทังคปหาน มันแค่กิเลสมันยุบยอบตัวลง แล้วกิเลสที่มันมีอำนาจวาสนา กิเลสที่มันสงวนตัวของมันเอง มันหลอกลวงเรา มันทำให้แหวกแนวออกไปว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม...นี่ตาบอด ใจมันบอด

ถ้าใจมันบอดนะ มันไม่มีสิ่งใดที่เป็นเครื่องยืนยันกับใจดวงนั้น แต่ถ้ามีดวงตาเห็นธรรมนะ ดวงตาเห็นธรรมคือตาที่สว่างไสว ตาที่สว่างไสวขณะวิปัสสนาไปบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า กาย เวทนา จิต ธรรม กายก็ได้ เวทนาก็ได้ จิตก็ได้ อยู่ที่จริต อยู่ที่นิสัย อยู่ที่ในปัจจุบัน เช่น เราไปในศูนย์การค้า เราจะไปสั่งซื้ออาหาร เราจะไปกินอาหารที่เราถูกใจ ถ้ามันหมดล่ะ แล้วเราหิวเราจะกินอะไรล่ะ เราก็กินอาหารที่มันมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ สิ่งที่เป็นอะไรที่เราพอจะกินประทังชีวิตได้นั้นคืออาหารของเรา

นี่ก็เหมือนกัน กาย เวทนา จิต ธรรม ไม่ใช่วิปัสสนากายแล้วก็จะต้องเป็นที่กาย เวลาจิตมันไม่เห็นสภาวะแบบนั้นหรือมันไม่ได้อย่างนั้น แล้วมันจะพิจารณากายอย่างไร เราพิจารณากายก็ได้ ขณะที่จิตมันสงบเข้ามา ถ้าเวทนาเกิดแล้ววิปัสสนาเวทนาก็ได้ สิ่งนี้ “ก็ได้” ในปัจจุบันนั้นไง

ขณะที่เราตักอาหารเข้าปากเรา อาหารจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ เราต้องตักอาหารนั้นเข้าปากเรา อาหารจะเป็นอะไรก็ได้ แต่ “ก็ได้” ต้องเป็นสิ่งที่เป็นสัมมานะ สิ่งที่เป็นความถูกต้อง เราจะไม่ไปฉก ไม่ไปลัก ไม่ไปเอาของใครมาเป็นของเรา มันจะเกิดขึ้นในปัจจุบันของเรา ถ้าเกิดขึ้นในปัจจุบันของเรา ให้มันเป็นสัจจะความจริงอย่างนั้น แล้วเราใคร่ครวญอย่างนี้ไป นี่ปัญญาอย่างนี้ ปัญญาเห็นจากตาของใจ ไม่ใช่ปัญญาโดยวิชาการ ปัญญาโดยวิชาการที่ว่าลูกศิษย์ลูกหา ผู้ที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ผู้ที่รับช่วงมาต้องค้นคว้า ต้องรื้อค้นสิ่งต่างๆ ขึ้นมา นี้ถึงเป็นการจินตนาการนะ เป็นการจินตนาการ ทดสอบ ทดลองงาน จนได้ให้เป็นนักวิทยาศาสตร์มา

แต่สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ ธรรมวินัยนี่เป็นของจริง ขณะเราวิปัสสนาขนาดไหนมันจะมาลงตรงนี้ ลงสัจจะความจริงอย่างนี้ ถ้าเราวิปัสสนาไป ทำขนาดไหน มันจะลงมาสิ่งที่เป็นสัจจะความจริง มันจะเป็นสมควรแก่ธรรมไง มันจะไม่เป็นธรรมะแหวกแนว

ถ้าธรรมะแหวกแนวมันทำให้เราออกนอกลู่นอกทางนะ

ในการประพฤติปฏิบัติ ทุกดวงใจมีกิเลสในหัวใจ กิเลสในหัวใจมันจะทำให้สิ่งนี้ขยับขับเคลื่อนออกไปโดยอำนาจของกิเลส ถ้าอำนาจของกิเลส ถ้าปัญญาของกิเลสมันก็เป็นโลกียปัญญา โลกียปัญญาเกิดจากไหน? เกิดจากโลกไง โลกียปัญญา ปัญญาของโลก ปัญญาของจิต จิตที่มันเกิดตาย เกิดตาย

ปัจจุบันนี้มันเกิดมาในโลก โลกนี้เป็นสมมุติ สมมุตินิยม สิ่งที่นับหน้าถือตากันโดยอำนาจของกิเลสนะ ใครไปที่ไหนก็แล้วแต่มันมีศักยภาพในใจดวงนี้นะ มันมีทิฏฐิ มันมีมานะ มันมีความอหังการอยู่ในหัวใจ สิ่งที่เป็นทิฏฐิมานะนี่มันลงใครที่ไหนล่ะ มันไม่ลงใครหรอก

แล้วถ้าเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางไว้เป็นธรรมและวินัย เป็นศาสดาของเรานะ เป็นครูเป็นอาจารย์ที่เรามาบวชมาเรียนกัน ดำรงชีวิตอยู่ กินบุญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ววางธรรมไว้ จนเป็นประเพณี เป็นวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นประเพณีวัฒนธรรม มันเหมือนน้ำ น้ำคือสิ่งที่ว่าให้สัตว์น้ำอยู่ในน้ำนั้นได้ไง เราบวชเป็นพระเป็นเจ้าขึ้นมา อยู่ในประเพณีวัฒนธรรม เขาก็ดูแล เขาก็อยากจะได้บุญกับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม นี่เรากินบุญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่ดำรงชีวิตนะ

แล้วการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้ามันเป็นสัจจะความจริงจากภายในขึ้นมา มันก็จะเป็นธรรม เป็นธรรม “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” มันจะเห็นสัจจะความจริงอันเดียวกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางไว้ไง

แต่ถ้าเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันก็บิดเบือน มันก็ทำให้สิ่งนี้ไม่เป็นสัจจะความจริง มันทำให้หลุดไม้หลุดมือไป เวลาวิปัสสนาไปมันไม่ปล่อย มันไม่วาง มันก็ยึด ก็ทำให้สิ่งนี้ไม่เป็นประโยชน์ เราต้องปล่อยวางสิ่งนี้ ปล่อยวางงานการกระทำ แล้วกลับไปทำความสงบของใจ เพราะความสงบของใจนี้เป็นตัวพลังงาน

ถ้าตัวพลังงานมันอ่อนแอลง พลังงานไม่พอ สิ่งที่เราใช้สอยอยู่นี่มันใช้ไม่ได้ สิ่งที่เป็นสมบัติ เป็นเครื่องไฟฟ้า ถ้าพลังงานอ่อน ทำให้สิ่งนั้นเสียหายได้นะ ทำให้ชำรุดเลย ทำให้สิ่งนี้เราจะใช้งานประโยชน์อะไรไม่ได้ นี้ก็เหมือนกัน ถ้าสัมมาสมาธิ ถ้าเป็นพื้นฐานของใจ ถ้ามันไม่มีกำลังหรือมันวิปัสสนาไป มันไม่สมดุล มันปล่อยวางไม่ได้ ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ ขณะวิปัสสนาด้วยปัญญา มันคิดมันวิปัสสนาไป แล้วมันไม่ปล่อย มันไม่เข้าใจ มันไม่ทะลุปรุโปร่งไง

ปัญญาวิมุตติใช้ปัญญา ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ใช้ปัญญาใคร่ครวญ สิ่งที่ใคร่ครวญไป มันเป็นภาวนามยปัญญา คือปัญญาเกิดจากการสัมผัสของจิต ไม่ใช่ปัญญาเกิดจากการที่เราวางเป็นรูปแบบ เราวางเป็นวิชาการ วางเป็นสิ่งที่ต้องเป็นสเต็ปขึ้นไป มันจะเกิดโดยสัจจะความจริง ขณะอะไรเกิดขึ้นมาเอาตรงนั้นพิจารณาก่อน พิจารณาก่อนนั้นคือปัญญาที่มันเป็นปัจจุบันอย่างนั้น นี้คือภาวนามยปัญญา

ภาวนามยปัญญาเหมือนที่สนามบินนั้นไง เราเอาเครื่องบินลงที่สนามบินนั้น ในเครื่องบินนั้นมันมีสินค้า มันมีสิ่งต่างๆ มีวัตถุต่างๆ เราต้องขน เราต้องบริหารจัดการอยู่ในสนามบินนั้น แล้วเราถ้าออกจากสนามบินนั้น ในสนามบินนั้นมันก็รับสินค้าของเราได้

ในหัวใจ ในสมาธิเรานั้นเป็นฐานของจิต เป็นสมถกรรมฐาน สิ่งที่เป็นสมถกรรมฐาน เวลาวิปัสสนาไปมันก็วิปัสสนาในสนามบินนั้น ในจิตดวงนั้น นี่ภาวนามยปัญญามันเกิดจากใจดวงนั้น ใจดวงนั้นมันหมุนเวียนออกไป มันใคร่ครวญออกไป มันบริหารจัดการสมบัติอย่างนั้น มันเป็นมรรค ๘ ปัญญาชอบ ดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ สิ่งที่เป็นความชอบมันหมุนเวียนออกไป ปัญญาพิจารณาอย่างนั้น นี่คือเป็นปัญญาวิมุตติ ถ้าเจโตวิมุตติ มันเห็นอาการของใจ เห็นอาการต่างๆ เห็นเป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรม มันก็ใคร่ครวญของมัน

ถ้าเป็นเวทนา เวทนาเป็นเวทนา เราเป็นเราหรือ สิ่งต่างๆ เป็นเราหรือ สิ่งนี้เป็นเราไหม มันก็เหมือนบริหารจัดการนั้น สิ่งที่บริหารจัดการนั้น ใคร่ครวญสิ่งนี้ ถ้ามันสมดุลกันไป มันก็ปล่อย มันก็วาง สิ่งที่วาง สิ่งที่วางมันก็ปล่อย นี่มันมีความสุข

ความสุขเกิดจากการวิปัสสนา ความสุขอย่างนี้ทำให้กิเลสมันยุบยอบตัวลงนะ กิเลสเริ่มจางลง เบาลง วิปัสสนาจะง่ายขึ้น ทำความเพียรขึ้นมา สุขนี้สดๆ นี่ไง ดวงตาเห็นธรรมไง สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากปัญญาอย่างนี้มันเป็นปัญญาของใจ มันเป็นความเห็นของใจ มันถึงเป็นภาวนามยปัญญา มันเกิดเป็นปัจจุบันนั้น มันเหมือนเป็นปัญญาสิ่งที่มีชีวิต ปัญญาสิ่งที่ใคร่ครวญในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่เป็นปัญญาในคอมพิวเตอร์ไง

สิ่งที่เป็นคอมพิวเตอร์ มันเป็นสัญญา เป็นข้อมูล สิ่งที่เป็นข้อมูลมันเป็นอดีตอนาคตนะ นี่ข้อมูลอย่างนั้น แต่ที่เป็นปัจจุบัน ภาวนามยปัญญาเกิดในปัจจุบันนั้น มันใคร่ครวญอย่างนั้น ก็สนามบินนั้นคือตัวจิตนั้น ตัวฐีติจิตนั้น ตัวสิ่งที่ว่าวิปัสสนาไปมันก็ปล่อยวางตรงนี้ ปล่อยแล้วปล่อยเล่า ปล่อยแล้วปล่อยเล่าโดยที่มีครูบาอาจารย์คอยประคองไป ครูบาอาจารย์จะคอยเตือน คอยให้สตินะ

สิ่งนี้เวลาวิปัสสนาแล้วมันปล่อยว่าง เราก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม มันแหวกแนวนะ แหวกแนวเพราะอะไร เพราะมันยังตาบอดอยู่ แต่ถ้ามันเป็นดวงตาเห็นธรรม มันไม่เป็นคนตาบอดนะ เพราะดวงตาเห็นธรรม ดวงตา จักษุ “ธรรมจักษุ” จักษุเป็นธรรมที่ในหัวใจมันเห็นแล้วมันปล่อยวาง

กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ เวทนาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา จิตไม่ใช่เรา เราไม่ใช่จิต สภาวธรรม ธรรมารมณ์นี้มันก็เป็นสักแต่ว่า มันปล่อยวางหมด กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ สักกายทิฏฐิมันจะปล่อยไป สังโยชน์ขาดเดี๋ยวนั้น

นี่ความเห็นอย่างนี้ ความเห็นเกิดขึ้นมาจากใจดวงนี้ ถ้าเห็น นี่มีดวงตาเห็นธรรม ถ้ามีดวงตาเห็นธรรม พระโสดาบันเป็นผู้ที่เข้าถึงกระแสของพระนิพพาน ถ้าเข้าถึงกระแสของพระนิพพาน ความผิดพลาดจากธรรมะมันจะไม่แหวกแนวออกไปนะ ผู้ที่ยังแหวกแนวออกไปอยู่ มันไม่พาดกระแส

ถ้าพาดกระแส ดูสิ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ขนาดที่ว่าฟังธรรมของพระอัสสชิมา เป็นพระโสดาบันแล้ว ขณะที่เป็นพระโสดาบันไปประพฤติปฏิบัติกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูสิ ผู้ที่มีปัญญา ขณะที่ว่ามีปัญญาใคร่ครวญแล้วตั้ง ๑๕ วันเป็นพระอรหันต์ พระโมคคัลลานะอีก ๗ วันก็เป็นพระอรหันต์

พระอานนท์เป็นพระโสดาบัน อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๕ ปีนะ ขณะที่อุปัฏฐากเป็นพระโสดาบัน ขณะที่เป็นพระโสดาบัน เห็นเณร เห็นเด็กน้อย พยายามสั่งสอนเป็นผู้นำ แล้วพระกัสสปะเตือนพระอานนท์

“อานนท์ เล่นเหมือนเด็กๆ”

นี่วุฒิภาวะของใจ พระกัสสปะเป็นพระอรหันต์ สิ่งที่เป็นพระอรหันต์ พระโสดาบัน อุปัฏฐากอุปถัมภ์ดูแลเณร การดูแลมันเป็นประโยชน์โลกไหม? เป็นประโยชน์แน่นอน แต่พระกัสสปะบอกพระอานนท์เลย “ทำตัวเหมือนเด็กๆ” ถ้าทำตัวแบบผู้ใหญ่ ทำตัวแบบธรรมะมันก็ย้อนกลับเข้ามา เหมือนกับสิ่งที่พึงกระทำ

มรรค ๔ ผล ๔ การประพฤติปฏิบัติมันก็ต้องพยายามต่อสู้ขึ้นไป ให้มันละเอียดละออขึ้นไป สิ่งที่การต่อสู้ให้มันละเอียดเข้าไปในหัวใจ นี้คือการกระทำ นี้คือเป้าหมายไง

เวลาเกิดมาชาตินี้ทุกข์แสนทุกข์ ทุกข์อันนี้มันเกิดขึ้นมา ทุกข์นี้เป็นสัจจะ ทุกข์นี้เป็นความจริง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นพระโพธิสัตว์ เห็นไหม ทั้งชีวิตเลยนะ พระเจ้าสุวรรณสามหาบพ่อหาบแม่ เป็นพระเตมีย์ใบ้ นี่ทั้งชีวิตนะ สิ่งนี้สะสมขึ้นมาเพื่อเป้าหมายไง เพราะเป็นพระโพธิสัตว์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนพยากรณ์แล้ว สิ่งนี้มันย้อนกลับไม่ได้ ถึงต้องไปถึงที่สุดไง ถึงที่สุดเพื่อสิ่งนี้

แต่ในชีวิตเรา เราย้อนกลับได้ ในชีวิตเราตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่ปัจจุบันนี้ แล้วอนาคตที่จะแก่ไปข้างหน้านี้ เราจะมาประมาทเลินเล่อไหม เราเกิดมา เราพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนา ธรรมและวินัยเจริญรุ่งเรืองมาก เจริญรุ่งเรืองในหัวใจของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น จากครูบาอาจารย์ของเราขึ้นมา ถ้าไม่เจริญนะ มันตาบอด พอตาบอดก็ลูบคลำกันไป สิ่งที่ลูบคลำไป ประพฤติปฏิบัติไป กิเลสในหัวใจมันก็มี ทำให้แหวกแนวออกไป แหวกแนวออกไปให้เห็นต่างๆ เขาว่า “นี่เป็นธรรม เป็นธรรม” นี้เป็นธรรมโดยคนตาบอด ตาบอดคลำช้าง ธรรมะอย่างนั้นหรือเป็นนิพพาน

ถ้าพาดกระแสแล้วนะ สิ่งที่พาดกระแส ดูสิ ผู้ที่เป็นพระโสดาบันจะไม่ถือมงคลตื่นข่าว จะถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ “พระธรรม” พระธรรมเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะที่เป็นพระโสดาบันนั้น เหมือนกับเราเลย เราตักอาหารเข้าปาก ๑ คำ ๒ คำ ขณะที่เราหิวโหย แล้วเราตักอาหารเข้าปากคำ ๒ คำเท่านั้น เราอิ่มไหม แล้วถ้าเราไม่อิ่ม อาหารที่มีในสำรับเรามีอีกมหาศาล เราจะตักกินอีกไหม พระโสดาบันก็เหมือนกัน ในเมื่อจิตนี้พาดกระแส สิ่งที่พาดกระแส ไม่ต้องมีใครมาบอกเลย เพราะอะไร เพราะสิ่งที่มันขาดออกไป เหมือนกับสัจจะความจริงในใจนั้น มันเป็นสันทิฏฐิโกในหัวใจนี้ ถ้าเป็นสันทิฏฐิโกในหัวใจ เหมือนอาหารคำ ๒ คำที่ตกไปในกระเพาะ คือมันอยู่ในหัวใจนั้น ถ้ามีดวงตาเห็นธรรมแล้ว แล้วอาหารในสำรับนั้น คือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันจะไปทำแหวกแนวธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไหม

ธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพาหะ เป็นมรรคโค เป็นเครื่องดำเนิน สิ่งที่จะทำให้จิตนี้เข้าถึงสภาวธรรมนั้น นี่สิ่งนี้มันถึงสงวน มันถึงรักษา สิ่งที่สงวนรักษานั้น แล้วสงวนรักษาที่ไหน? สงวนรักษาที่ใจไง ถ้าเกิดมีความคิดต่างๆ ขึ้นมา ความคิดถ้ายังมีกิเลสอยู่นะ ขณะที่ประพฤติปฏิบัติไป กิเลสมันทำให้เบี่ยงเบน กิเลสทำให้แหวกแนว ความแหวกแนวของสิ่งที่ละเอียดนะ

สิ่งที่ละเอียด ดูสิ ทำไมพระกัสสปะเตือนพระอานนท์ เพราะพระอานนท์เป็นพระโสดาบันแล้ว ทำไมเตือนล่ะ เพราะอะไร เพราะสิ่งที่เป็นความคิดของกิเลส มันมีความสงสาร มันมีสิ่งต่างๆ ออกไปที่จะไปแบกรับไง ถ้าจะไปแบกรับ เรามีกำลังไหม เรารู้สัจจะความจริงไหม แล้วในชีวิตของเรา เราจะแบกรับโลกทั้งโลกนี้ได้ไหม

โลกทั้งโลกนี่เราแบกรับเขาไม่ได้ มันเป็นอำนาจของกรรมของสัตว์ ของบุคคลที่เขาเกิดตาย เกิดตาย มันเรื่องของเขา เรื่องของเรา คือเรื่องกิเลสตัณหาความทะยานอยาก สิ่งที่เป็นโทสัคคินา โมหัคคินาต่างๆ ในหัวใจเรา มันยังไม่สะอาดบริสุทธิ์

คนเตี้ย คนที่ไม่มีกำลังจะไปอุ้มแบกใครล่ะ มันถึงต้องทำความสะอาดอันนี้ของหัวใจให้ออกมาให้ได้ก่อนไง ถ้าสิ่งที่ออกมาให้ได้ สิ่งที่เราเข้าใจสัจจะความจริงของโลก สกิทา อนาคา ถึงที่สุดของกิเลส มันมีความสว่างกระจ่างแจ้งของใจ มันจะเข้าใจครบวงจรไง

เหมือนสิ่งที่การกระทำต่างๆ ในตึกสูงหลังหนึ่ง เราบริหารตึกสูงนั้นได้ทั้งหมดเลย เราสามารถจะคอนโทรลคนที่อยู่ในตึกสูงนี้ให้เขามีความร่มเย็นเป็นสุขเพราะอะไร เพราะเราควบคุมบริหารจัดการในตึกนั้นได้ นี่ก็เหมือนกัน ในชีวิตของเรา ในตึก ในร่างกายของเรา ในเมื่อสิ่งที่ว่าเราบริหารของเราไม่ได้ไง เราบริหารได้แต่ลานพื้นที่ข้างล่างเท่านั้นเอง แล้วส่วนที่คนเขาไปติดบนตึกสูง เขาไปเกิดอุบัติเหตุ มันจะทำอย่างไรล่ะ

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่เรายังลังเลสงสัย เราไม่เข้าใจ ในหัวใจเรามันก็เป็นอย่างนั้นน่ะ เราถึงต้องย้อนกลับมาที่เรา ถ้าย้อนกลับมาที่เรา มันหน้าที่ของเราที่จะต้องแก้ไขเราก่อน ต้องสร้างหัวใจของเราให้พ้นออกไปก่อน เราไม่เข้าสัจจะความจริง แล้วไปเจอสภาวะแบบนั้นมันก็เป็นงงไง งงทั้งเขา งงทั้งเรา เพราะสิ่งนี้เราก็ไม่รู้ไง

แต่ถ้าเราวิปัสสนาไปนี่เกิดจากใจของเรา พาดกระแสไป สิ่งที่พาดกระแส กระแสไปไหน สิ่งที่กระแสเพราะมันมีอะไร มันมีกระแสของมันก็ต้องมีเหตุมีผลสิ เหตุผลเกิดจากใจ ใจมันยังออกมาเป็นขันธ์อย่างละเอียดเข้ามา วิปัสสนาเข้าไป ขณะที่วิปัสสนาเข้าไป จิตมีความคิด จิต ความรู้สึก สิ่งที่ว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างละเอียด สิ่งที่ละเอียดมันก็อยู่ของใจ กิเลสอาศัยอย่างนี้เป็นเครื่องดำเนิน

ดูสิ ขณะที่ว่าเราขับรถไป รถออกจากจุดสตาร์ทไป ขณะที่ออกไป ล้อรถมันบดไปในอะไรบ้างล่ะ มันเป็นเสี้ยนเป็นหนาม เป็นสิ่งที่ว่าเป็นขี้หมูราขี้หมาแห้ง มันทับไปมันเหม็นไปหมดล่ะ นี่มันหมุนออกไป นี่ก็เหมือนกัน อาการของใจ ความคิดออกไป มันออกไปแล้วกิเลสมันออกมาด้วย สิ่งที่มันออกมาด้วยนี่มันบิดเบือน มันทำให้ความคิด ล้อที่หมุนไป สิ่งนี้มันถึงย้อนกลับ มันถึงทวนกระแสกลับเข้ามาไง สิ่งที่เป็นของเหม็น สิ่งที่เราไม่ปรารถนา เราต้องมีสติสัมปชัญญะยับยั้งแต่ไกล

สิ่งที่เป็นวัตถุ เวลามันเหม็น มันเป็นวัตถุ เราต้องล้างใช่ไหม แต่ที่อาการของใจมันเกิดจากใจ ถ้ามีสติ สติมันล้างแล้ว เพราะมันเป็นนามธรรม สิ่งที่เกิดเป็นนามธรรมมันเป็นอาการของใจ ถ้ามีสติสัมปชัญญะมันปล่อยวางได้ พอมันปล่อยวาง มันล้างโดยสติ ล้างโดยสมาธิไง

ถ้าสมาธิมันเกิดขึ้นมา สิ่งนี้ตั้งมั่น ตั้งมั่นย้อนกลับวิปัสสนา กาย เวทนา จิต ธรรมเท่านั้น เพราะอะไร เพราะโลกนี้มีเพราะมีมนุษย์ มนุษย์มีเพราะมีหัวใจ สิ่งที่หัวใจมีเพราะมีกิเลส กิเลสในหัวใจ เพราะใจนี้มันยังมีอวิชชาอยู่ มีกิเลสอยู่ มันถึงต้องย้อนกลับมาชำระสะสางสิ่งนี้ไง ถ้าชำระสะสางสิ่งนี้มันเป็นประโยชน์กับเรานะ

เรื่องของโลกเป็นเรื่องของโลก เราเกิดมากับโลก มันเกิดมีอำนาจวาสนา เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วมีโอกาส มีศรัทธา มีความเชื่อ ศรัทธาความเชื่อเหมือนเข้าข้างนอก ศรัทธาความเชื่อของเขาเฉยๆ เขาว่าเขาเป็นศาสนาพุทธเฉยๆ แต่ไอ้กิเลสมันครอบงำว่าเป็นศรัทธาความเชื่อ เป็นความเชื่อของเด็กๆ

เราเป็นผู้ใหญ่ เพราะเรามีศรัทธาความเชื่อแล้วเราเอาเนื้อหาสาระของศาสนา เนื้อหาสาระของศาสนาคือความร่มเย็นเป็นสุขของหัวใจ เนื้อหาสาระของศาสนาเกิดจากการกระทำ เกิดจากกรรม กรรมดี ประพฤติดี ทำประโยชน์ขึ้นมาจากหัวใจของเรา ประโยชน์ของเรานะ นั่งนี่เจ็บมาก เวทนาเกิดขึ้นมาเจ็บมาก เวลาเดินจงกรมจนอ่อนเพลียนะ มันเป็นงานของเราไง มันเป็นการต่อสู้กับตัวตนของเราไง

ตัวตนของเรามันทำบิดเบือนให้เราเกิดตาย เกิดตายอยู่นี่ แล้วเราเกิดตาย เกิดตายมาจนไม่มีต้นไม่มีปลาย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่มีต้นไม่มีปลายนะ แล้วเราเกิดมา เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้ แล้วผู้ที่ชี้นำเรา ผู้ที่จะเอาเราออกจากกิเลส มันมีอยู่แล้ว ทำไมเราไม่สนใจล่ะ ทำไมเราไม่สนใจ ทำไมเราไม่ค้นคว้า ทำไมเราไม่รีบขวนขวายของเรา

ถ้ารีบขวนขวายของเรา เห็นไหม นี่กำลังเริ่มเกิด การเดินจงกรมขึ้นมามันก็มีหัวจิตหัวใจ การนั่งสมาธิ มันก็นั่งอย่างไรมันก็ทำได้ การอดนอนผ่อนอาหารเป็นธุดงควัตร เป็นการขัดเกลากิเลส การอดนอนผ่อนอาหาร อย่าคิดว่าอดนอนผ่อนอาหารแล้วเราทุกข์ อดนอนผ่อนอาหารแล้วเราเดินไม่ไหว เราทำไม่ได้ การอดนอนผ่อนอาหารนี้คือการไปทำให้กิเลสมันยุบยอบตัวลง เป็นการขัดเกลากิเลส ขัดเกลาไง มันนอนอยู่ก็ปลุกให้มันตื่นไง กิเลสนอนอยู่ในหัวใจ ก็ปลุกให้มันตื่น แล้วจะได้ต่อสู้กับมันไง ถ้าเราปลุกให้มันตื่น มันก็ไม่พอใจ มันก็ดิ้นรน แต่ถ้ามันนอนหลับ กินอิ่มนอนอุ่นนั้น กิเลสมันก็นอนอยู่ในหัวใจ เราก็ว่าเราปฏิบัติสะดวกสบาย เรามีกำลังวังชา นี่กิเลสมันหลอกให้เรากินขนาดนั้น แต่ถ้าเราต่อสู้กับมัน เราอดนอน เราผ่อนอาหาร เราพยายามตั้งกติกาของเราขึ้นมา เราเดินจงกรมขึ้นมา ให้มีกำลังใจขึ้นมา เห็นไหม กิเลสมันยุบยอบตัวลง มันเปิดโอกาสให้เราต่อสู้กับมัน

ถ้ามันเปิดโอกาสนี้คือธรรมนะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง แต่โลกมองว่าเป็นความทุกข์ไง โลกมองว่ามันทำไม่ได้ไง โลกมองว่าเป็นการต่อสู้ไม่ได้ไง แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติก็ร้องโอดร้องโอย นู่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ได้ แล้วก็ทำอะไรกัน...กิเลสมันได้อย่างเดียวแหละ กิเลสมันขี่คออยู่แล้วมันบังคับบัญชาไปไง นี้ขนาดพาดกระแสแล้วนะ แล้วถ้าไม่พาดกระแสมันจะต่อสู้ต่อไปอย่างไร ถ้าพาดกระแสมันมีความคิดอย่างนี้ มันมีจุดยืนอย่างนี้ มันมีการขวนขวายอย่างนี้ มันมีการนับ ๑ ๒ ๓ ไง จะกี่ล้านกี่ล้านก็มาจาก ๑ หนึ่งคือสติ หนึ่งคือปัญญา

ถ้ามีสติปัญญาขึ้นมา เราทำของเราไป ต้องถึงเป้าหมายได้

คนถ้ายังมีชีวิตอยู่ ยังมีการก้าวเดินของเราอยู่ เป้าหมายต้องถึงได้

คนถ้ามันมีชีวิตอยู่ แล้วมันนอนจมอยู่กับกิเลส สิ่งที่กิเลสมันกล่อมให้นอนจมกับกิเลส แล้วว่าการก้าวเดินนี้เป็นความทุกข์ การปฏิบัติการทำอะไรเป็นความทุกข์ การบำเพ็ญเป็นความทุกข์ การนั่งสมาธิภาวนา สิ่งนี้ไม่ใช่งานของเราเลย...นี่กิเลสมันมีอำนาจอย่างนี้ แล้วมันก็ทำให้เราหยุดอยู่ในอำนาจของมัน จนตรอกกับมัน ขนาดพาดกระแสนะ เราจะไปให้ได้

ถ้าไปได้ ถ้ามีสติมีปัญญาอย่างนี้ มีครูบาอาจารย์อย่างนี้ เราจะเดินอย่างนี้ หมู่คณะชักกันไป สิ่งที่ชักกันไป นี่สัปปายะ หมู่คณะดี ครูบาอาจารย์ดี อาหารเป็นสัปปายะกับเรา ฉันมากก็นอนมาก ฉันพอสมควรกับมัน สิ่งนี้เราประพฤติปฏิบัติ นี่เป็นสัปปายะทั้งหมดเลย ทั้งหมู่คณะเป็นสัปปายะ บุคคลเป็นสัปปายะ เราเป็นสัปปายะ สถานที่เป็นสัปปายะ เราหาของเรา แล้วเราพยายามทำของเรา

เพราะเกิดแล้วทุกข์ เพราะเกิดมาแล้วเป็นความโศกเศร้า ชาตินี้เกิดมา จะกี่ทั้งโลก ทั้งจักรวาล แม้แต่อินทร์ พรหมก็ต้องตาย วาระมันเปลี่ยนไป เพราะโลกอนิจจังมันเป็นแบบนี้ไง แม้แต่พาดกระแสก็ยังอีก ๗ ชาติ

แต่ถ้าเราวิปัสสนาของเราไป ถ้ากามภพ เราทำลายถึงกามภพ เราจะไม่เกิดตั้งแต่เทวดาลงมา สิ่งที่ไม่เกิด...จิตนี้มันเกิดแน่นอน อยู่ที่กำลังของจิตไง อยู่ที่สถานะของจิต นี่ถ้าจิตมีสถานะอย่างนี้ อย่างถ้าพาดกระแสก็ปิดอบาย จะไม่ลงต่ำแน่นอน เพราะอะไร เพราะมันมีสติไง มีการขับเคลื่อน สติมันไปได้ มันไม่เป็นสติอัตโนมัติเหมือนพระอรหันต์

พระอรหันต์ สติเป็นอัตโนมัติเลย จิตขยับอะไร สติมันจะออกพร้อมกับความขยับของจิต คือเสวยไง เวลาจิตจากนิพพานเสวยอารมณ์คือเสวยความคิด นี่ที่เป็นความคิดว่าเป็นอาการของจิต เงาของจิตนี่มันเป็นขันธ์ สิ่งที่เป็นขันธ์ พระอรหันต์คือขันธ์ที่สะอาด ขันธ์ที่ไม่มีกิเลสครอบงำ ขณะที่จิตออกมา สติมันจะพร้อมมา

พระโสดาบันมีสติ สติขณะที่ว่ามันต้องกระทบ กระทบแล้วมีความรู้สึกแล้ว ขณะที่มันกระทบมันถึงขณะที่เราจะออกจากร่าง คือมันจะตาย มันมีความรู้สึกไหม สติมันพร้อมไง ถ้าพร้อมมันจะย้อนกลับมาที่คุณสมบัติของพระโสดาบัน คุณสมบัติของพระโสดาบัน “กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย จิตไม่ใช่เรา เราไม่ใช่จิต” ถ้าไม่ใช่เราไปตื่นเต้นอะไรกับมัน อบายภูมิ ไม่ไปเด็ดขาด

แต่ถ้าเราเป็นปุถุชน เรารักษาสติของเรา ถ้าสติเราพร้อม เราตั้งสติอยู่ เรามีเสบียง คือการฝึกฝน เราทำของเราบ่อยๆ อบายมันก็ไม่ไป มันจะไปสิ่งที่ดี นี่จิตมันต้องเกิดแน่นอน ตายแล้วมันต้องเกิด สิ่งที่มันมีอยู่ ของมีอยู่ ปฏิเสธอย่างไรมันก็คือมี ถ้าของเรามีอยู่ เราปฏิเสธโดยที่มันปฏิเสธแล้วมันไม่มีได้มันก็ดีสิ เราปฏิเสธแล้วเราไม่ต้องไปเกิดไปตายอีก ทุกคนก็ปฏิเสธ เราก็นั่งกันสบายๆ อย่างนี้...มันไม่เป็นอย่างนั้นหรอก มันไม่เป็นสิ่งที่เราคิดหรอก

สมมุตินิยม สมมุติมันคิดอย่างนี้ กิเลสมันคิดอย่างนี้ ก็ให้เรานอนจมอย่างนี้ มันก็ไม่มีกำลังใจ การก้าวเดิน การประพฤติปฏิบัติมันก็ล้มเหลว ก็ไม่เป็นสิ่งที่มันจะเป็นมรรคโคขึ้นมา มรรคโคคือทางอันเอก แล้วทางอันเอกเกิดจากไหนล่ะ? เกิดจากการกระทำของเรานะ เกิดจากสนามบิน เกิดจากความสงบของจิต สนามบินมันมีกว้างมีแคบ สนามบินที่รับเครื่องบินเล็กเครื่องบินใหญ่ สนามบินที่ว่าแม้แต่เครื่องบินน้ำ มันก็ลงสนามบินน้ำได้

นี่ก็เหมือนกัน จิตแล้วแต่ดวงจิต แล้วแต่อำนาจวาสนา ความสงบของจิตมันจะลงลึกลงตื้นลงขนาดไหน มันอยู่ที่การกระทำของเรา ให้เรามีสติไว้ รักษาสิ่งนี้ไว้ ถ้าเรารักษาสนามบินของเราไว้ รักษาสติของเราไว้ มันต้องจับได้ ถ้าจับได้ก็วิปัสสนาไป มันปล่อยเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา ปล่อยแล้วปล่อยอีก ถึงที่สุดนะ ถ้ามีดวงตาเห็นธรรม ไม่ใช่ใจบอด ใจบอดมันจะออกแหวกแนวออกไป แม้แต่แหวกแนวอย่างละเอียดมันก็ทำให้ล้มลุกคลุกคลาน ทำให้ไม่ถึงเป้าหมาย

แต่ถ้าเป็นสัจจะความจริงนะ เวลามันแยกออกมา กายกับจิตแยกกันโดยสมบูรณ์ โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง กามราคะ-ปฏิฆะอ่อนลงโดยสัจจะความจริง โดยดวงตาเห็นธรรม สิ่งที่มีดวงตาเห็นธรรม ดวงตามันปล่อยวางจิตอย่างนี้มันถึงมีขณะจิตไง ขณะจิตคือเห็นโดยสัจจะความจริง ถ้าเห็นโดยสัจจะความจริง มันก็เหมือนกับเรา เราเคยเรียนสถาบันไหนออกมา แล้วเราคิดถึงสถาบันนั้น เราจะพูดได้หมดเลย

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันผ่านโสดาบัน ผ่านสกิทา ผ่านอนาคา ผ่านวิมุตติสุข ผ่านพระอรหันต์ มันจะบอกได้หมดเป็นขั้นตอนของมัน สิ่งที่เป็นขั้นตอนของมัน นี่ครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะสมควรอย่างนี้ ครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะเพราะท่านรู้จริง ท่านเห็นจริง ท่านสามารถชี้ทางให้เราได้ไง นี่มันทำให้เราไม่เนิ่นช้านะ

๑. ทำให้เนิ่นช้า

๒. ถ้าเราผิดพลาดขึ้นไปมันจะมีกลวิธีการไง

ถ้าการเห็นของเราที่มันแหวกแนวออกไป คนเรานะ รู้เองเห็นเอง หลวงปู่ดูลย์บอกไว้ สิ่งที่เห็น เราเห็นจริงๆ แต่มันไม่เป็นความจริง เพราะการเห็น มันเห็นโดยอาการของใจ มันเป็นสัจจะ สิ่งที่มันเป็นอนิจจัง คือมันหมุนไปของมันสภาวะแบบนั้น แต่ถ้ามันเห็นตามความเป็นจริง มันเป็นสัจจะ คือสัจจะความจริงอย่างนี้ แต่มันก็ยังเป็นนามธรรม มันก็เกิดดับ เกิดดับสภาวะแบบนั้น

นี่ทำอย่างนี้ ใคร่ครวญอย่างนี้ขึ้นไป จนปล่อยวางเข้ามา กามราคะขาดออกไปจากใจ ถึงที่สุดนะ โลกนี้มีเพราะมีเรา จิต เพราะมันมี เวลาคนตายไปแล้วโลกก็อยู่อย่างนี้ แล้วจิตไปไหน? จิตก็ไปเกิดอีก เพราะอะไร เพราะในจิตมันมีไง แต่ถ้าทำลายจิตนะ จนจิตมันไม่มี ทำตัวจิตคือตัวอวิชชาไง

โมฆราช โลกนี้ว่างหมดเลย แต่ตัวนี้มันไม่ว่างไง เห็นไหม เราอยู่ในเรือนว่าง บอก “จิตปล่อยวางหมด สิ่งต่างๆ ปล่อยวางหมด ปล่อยวาง” ปล่อยวางเขาเข้ามา แล้วตัวเองทำไมไม่ปล่อยวางล่ะ สิ่งที่จะปล่อยวางตัวเองได้...ตัวสนามบินไง สิ่งที่รองรับอาการของใจทั้งหมด เครื่องบินลงที่ไหน? ลงที่สนามบิน แล้วตัวสนามบินมันจะวิปัสสนาตัวมันเองได้อย่างไร นี่ตัวภวาสวะ ตัวภพ ตัวใจ ตัวอวิชชานี่ละเอียดมาก เป็นเจ้าวัฏจักร สิ่งที่เป็นเจ้าวัฏจักร

สิ่งที่เครื่องบิน สนามบิน มันแค่วัตถุ สนามบินมันเป็นปูนนะ มันเป็นสิ่งที่เป็นวัตถุที่ก่อสร้างขึ้นมานะ สภาวะจิตก็เหมือนกัน มันเป็นอาการของใจ สิ่งที่เป็นอาการของใจมันเป็นตัวใจ มันเป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรม แล้วจะให้มันจับตัวเองได้อย่างไร ถ้ามันเป็นทางวิชาการ เป็นไปไม่ได้

แต่ถ้าเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นได้ เป็นได้เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำมาก่อน นี่อวิชชาตัวนี้ จิตตัวนี้ มันทำลายอวิชชาตัวนี้ มันเป็นฟองไข่ กะเทาะเปลือกอวิชชาออกมา สิ่งที่กะเทาะเปลือกอวิชชาออกมา นี่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ทำมาได้ พลิกฟ้าคว่ำดินตัวจิตตัวนี้ไง ถ้าตัวจิตกลับไป สิ่งที่เป็นสสารอันหนึ่งกลับไปจับตัวมันเองได้ และทำลายตัวมันเองได้ มันเป็นความมหัศจรรย์ เป็นอรหัตตมรรค

สิ่งที่อรหัตตมรรคจะเห็นภวาสวะ เห็นถึงตัวอวิชชา แล้วตัวอวิชชา เห็นไหม วิชชาคืออาการของใจ วิชชาคือมรรคโค คือตัวมรรคโคตัวนี้ ตัวที่เป็นปัญญาตัวนี้ ตัวที่ว่าเป็นภาวนามยปัญญามันตัวของใจเลย ใจกับอาการของใจมันมีการสืบต่อกันระหว่างจิตกับขันธ์ ถ้าตัวจิตล้วนๆ ตัวจิตมันไม่มีขันธ์ ตัวอวิชชา ตัวที่มันเป็นมรรคโค ตัวที่มันทำลายของมัน นี่อรหัตตมรรคถึงสำคัญอย่างนี้ แล้วมันย้อนกลับเข้ามา มันทำลายตัวมันเอง

“ธรรม” ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มันไม่ใช่ธรรมะแหวกแนวหรอก ถ้าธรรมะแหวกแนวนะ มันไม่มีขณะจิตเลย มันไม่รู้จักขั้นตอนของมันเลย ครูผู้ที่ศึกษาวิชาการจากสถาบันไหนออกมา เขาอยู่ในสถาบันนั้นเป็นหลายๆ ปี เขาจะรู้หมดเลย ถ้าผู้ใดเดินผ่านรั้วไง ผ่านสถาบันนั้นเฉยๆ แต่ไม่เคยเข้าไปสถาบันนั้นเลย เขาจะไม่รู้หรอกว่า สิ่งที่เราอาศัยมาหลายปี ห้องหับสิ่งต่างๆ ที่เป็น หอสมุดสิ่งต่างๆ ที่ชั้นของการวางหนังสือ เขาไม่เคยเห็นหรอก เขาไม่รู้หรอก

ถ้าธรรมะแหวกแนว มันจะแหวกแนวไปสู่กิเลส ถ้ามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากของมัน มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากใจดวงนั้น มันเป็นการจินตนาการไป มันเป็นการคาดหมายไป สิ่งที่คาดหมายไปเกิดจากอะไร? เกิดจากปรัชญา เกิดจากอาการของใจ แล้วปุถุชนมันก็มีอาการของใจ

สิ่งที่อาการของใจ แล้วขณะที่อธิบายมานี่มันเข้าใจกันได้ไง มันถึงหลอกกันได้ไง มันไปหลอกไอ้คนที่ไม่รู้ หลอกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นธรรม เป็นธรรม แล้วสิ่งที่เป็นธรรมมันก็จินตนาการได้ มันคาดหมายได้ มันก็เลยว่าสิ่งนี้เป็นธรรม มันก็เลยเชื่อกันไป ก็เลยกลายเป็นธรรมะแหวกแนว มันก็แหวกออกไปสู่กิเลส แหวกออกไปสู่อเวจีกันทั้งหมดไง

แต่ถ้ามันเป็นธรรมนะ ขณะที่ครูบาอาจารย์เทศนาว่าการขนาดไหน ถ้าเราเป็นสมมุติอยู่ เรายังมีสมมุติในหัวใจเราอยู่ เราจะไม่เข้าใจหรอก เราจะเข้าใจไม่ได้ ถ้าเราเข้าใจได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องบอกให้ลูกศิษย์สาวก-สาวกะเข้าใจทั้งหมด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ ปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ ก็ต้องให้บอกรื้อสัตว์ขนสัตว์โดยที่ว่าสัตว์นี้ไม่ต้องทุกข์ต้องยากสิ ต้องรู้สัจจะความจริงสิ ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท้อใจ ท้อแท้ใจ

เพราะสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ทางวิชาการ ธรรมและวินัยที่เป็นปริยัติศึกษา ศึกษาแต่เงา ศึกษาแต่อาการของจิต ไม่ใช่ตัวจิตไง ศึกษาแต่อาการกิริยาของจิต แต่ถ้าตัวจิตคืออาการของจิตที่มันขึ้นมาเป็นการกระทำอย่างนั้น สิ่งที่การกระทำอย่างนั้นออกมาขึ้นมา นี่มันถึงเป็นธรรมะไง

ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมนั้นมันจะออก มันจะขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนของมัน มันจะเกิดอาการของมัน มันทำสัจจะของมันขึ้นมา เหมือนกับเราอยู่ในสถาบันของเรา เราสอบผ่านอย่างไร เราผ่านขั้นตอนอย่างไร เราจะรู้ของเราหมด เราจะเห็นของเราหมด

ขณะจิตก็เหมือนกัน ขณะที่เป็นโสดาบัน สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ขาดอย่างไร ปล่อยวางอย่างไร กามราคะ ปฏิฆะอ่อนไปอย่างไร สิ่งที่กามราคะ ปฏิฆะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นราคะ ราคะในหัวใจ มันขาดอย่างไร

สิ่งที่เป็นราคะขาดออกไป สิ่งที่เป็นราคะ กามราคะ ปฏิฆะขาด ขาดออกไป ทำลายอย่างไร ถ้าทำลายอย่างไร แล้วมีขณะจิต แล้วขณะที่มันทำลายแล้ว ขณะจิตมันเกิดขึ้นมา...นี่ดวงตาเห็นธรรม ถ้ามีดวงตาเห็นธรรม ไม่ใช่ตาบอด ไม่ใช่ธรรมะตาบอด ธรรมะแหวกแนว ธรรมะแหวกแนวเป็นธรรมะตาบอด สิ่งที่ไม่เห็น ลูบๆ คลำๆ แล้วก็สังคมในโลกสมมุติชอบ เพราะเข้าใจ เพราะรู้ เพราะศึกษาได้

แต่ถ้าเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาไม่ได้ ปฏิบัติ ปฏิเวธ การประพฤติปฏิบัติ กับใจของเราที่เรามีความกำลังของเราขึ้นมา แล้วเรามุมานะของเราขึ้นมา นี่คือคุณสมบัติของเรา คุณสมบัติของนักรบ คุณสมบัติของผู้ที่จะเอาใจออกจากกิเลสได้ คุณสมบัติอย่างนี้เกิดจากสาวก-สาวกะ ผู้ที่เดินตามธรรมและวินัย แล้วพยายามทำสิ่งนี้ขึ้นมา จนเป็นสมบัติของเรา สิ่งนี้จะเป็นผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมะจะอยู่กับใจผู้นั้น เอวัง