ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ฉลาดขึ้น

๕ พ.ค. ๒๕๕๙

ฉลาดขึ้น

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “กราบเรียนถามข้อสงสัยครับผม

กราบนมัสการพระอาจารย์ที่เคารพครับ กระผมได้ฟังธรรมจากเว็บไซต์มาหลายปีทีเดียวครับ แล้วก็ได้ส่งคำถามเรื่อยๆ มาครับ กระผมย้อนกลับไปนึกถึงคำถามแรกๆ ก็รู้สึกตัวเองโง่มากครับ ถามอะไรบ้าบอนอกเรื่องมากมาย อนึ่ง แต่ผมก็ปฏิบัติและแก้ไขเรื่อยมาหลายปีแล้วครับ

คำถามก็คือ พอมาช่วงหลังๆ กระผมชักเริ่มรู้สึกว่าการอธิบายสภาวะต่างๆเป็นสิ่งที่มโนภาพกันไปส่วนใหญ่ (สำหรับตัวผมเอง แต่ก่อนเคยพยายามอธิบายพระอาจารย์ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างตามการปฏิบัติพักหลังมานี้ผมคิดว่าผมปฏิบัติน่าจะดีขึ้นนะครับ ยิ่งดีขึ้น ผมก็รู้สึกว่าเวลาจะถามคำถาม ผมอยากจะถามเนื้อๆ ไปเลย ไม่ใช่ใส่น้ำ ใส่รายละเอียดลงไปว่าจิตเจออะไร เจอแบบไหน กระผมไม่แน่ใจว่านี่เป็นกิเลสของการปฏิบัติหรือเปล่าครับ

แต่ส่วนตัวกระผมเองมันรู้สึกว่ามันไม่รู้จะถามอะไร ก็มันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้วมันอาจจะเป็นการอวดตัวตน แต่มันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ ครับ ที่ผมรู้จริงๆ ก็คือ ถ้าไม่มีความสงบในใจมาก่อน เหล่านั้นเป็นความจำเทียบเคียงทั้งหมด แต่ถ้ามีสมาธิแล้ว ที่เรียกว่าจิตพร้อม ก็จะสังเกตสิ่งต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในจิตใจและร่างกายของเราเพื่อให้จิตเรียนรู้ว่านี่ไม่ใช่เรา ที่สุดที่ผมสังเกตจริงๆ ก็มีเท่านี้ครับอาการเช่นนี้ที่ไม่รู้จะลงรายละเอียดอะไร เป็นอาการของกิเลสหรือไม่อย่างไรกราบขอความเมตตาท่านอาจารย์ด้วยครับ

ตอบ : นี่คำถาม เห็นไหม “ผมฟังเว็บไซต์ท่านอาจารย์มานาน ส่งคำถามมาก็เยอะ แล้วที่ส่งคำถามเรื่อยๆ มา ผมย้อนกลับไปแล้วรู้สึกว่าตัวเองโง่จริงๆ โง่จริงๆ

ความจริงมันเป็นแบบนี้ แต่ถ้าความจริงเป็นแบบนี้แล้วมันจะเตือนกันอย่างไรล่ะ เวลาเราอยู่ที่นี่ เวลาคนที่จะมาถามปัญหา เวลาคนถามปัญหา เราต้องจริงๆนะ เวลาคนมาถามปัญหา เราต้องกัดลิ้นเราไว้ กัดลิ้นไว้ แล้วพยายามทนนั่งฟังให้เขาอารัมภบท แล้วถ้าเขาอารัมภบท บอกว่าเรารู้แล้วนะ “หลวงพ่อ หลวงพ่อฟังผมก่อนสิ หลวงพ่อไม่ฟังผม แล้วหลวงพ่อจะรู้ได้อย่างไรว่าผมภาวนาดีไม่ดี

ทุกคนพยายามต้องการระบายให้ฟัง แล้วเราก็นั่งฟังเรื่องอย่างนี้มาจนเบื่อแล้วเวลายิ่งเรามาเทียบเคียงถึงหลวงตา เทียบเคียงถึงหลวงปู่มั่น ท่านฟังเรื่องอย่างนี้มาทั้งชีวิต แล้วไอ้คนที่มาปฏิบัติ คนที่จะมารายงานนะ “หลวงพ่อ หลวงพ่อฟังผมก่อนสิ” โอ้โฮมันจะบังคับให้มันอารัมภบทคุยไปเป็นคุ้งเป็นแควไปเรื่อยมันเป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไร

แล้วเวลาจริงๆ นะ เราสังเกต ถ้าคนไหนแบบว่าเขาปฏิบัติแล้วเขามีสิ่งใดบ้าง โทษนะ เราจะกลั้นใจฟัง ทนฟังเขาไปหน่อย คำว่า “ทนฟัง” เพราะว่าเวลาปฏิบัติมาแล้ว มันฟังมาเป็นร้อยเป็นพัน แล้วก็ปฏิบัติกันมาอย่างนี้ แล้วเป็นอย่างนี้ทุกคนน่ะ แล้วก็ต้องทนฟังๆ

ถ้าจะตอบนะ ตอนท้ายๆ เราจะดูเทปหลวงตาประจำ ตอนหลวงตาท่านมีชีวิตอยู่ ท่านจะบอก “เรารู้แล้ว เรารู้แล้ว เรารู้แล้ว” ส่วนใหญ่ท่านจะบอกท่านรู้แล้วๆคือว่าเรารู้แล้ว เพราะท่านปฏิบัติมาแล้ว แล้วก็ฟังอย่างนี้ฟังมาเป็นพันๆ ครั้ง เป็นหมื่นๆ ครั้ง เป็นแสนๆ ครั้ง ใครมาก็จะพูดอย่างนี้ๆ แล้วจะไม่ตอบหรือ จะไม่ฟังหรือ

เวลาตอบไป ธรรมดากิเลสคนมันยังหยาบๆ อยู่ เหมือนเด็กๆ พ่อแม่เวลาเตือนอะไรไป เด็กๆ มันจะบอกว่าพ่อแม่ไม่รัก พ่อแม่รักคนอื่น ไม่เอออวยกับเราเลย แต่ความจริงไอ้คนฟังมันรู้อยู่แล้ว นี่เราจะบอกว่าจิตมันหยาบไง จิตที่มันยังหยาบๆ อยู่นี่ มันจะให้คนอื่นเชื่อฟังมันหมด แล้วเวลาถ้าจิตมันละเอียดเข้าไปมันจะรู้ว่าตัวมันผิด แล้วถ้ารู้ว่าตัวมันผิดนะ

แล้วถ้าเป็นครูบาอาจารย์นะ เวลาเขาพูดแสดงอะไรหยาบๆ แล้วยอมรับเขาแล้ว แล้วพอจิตเขาละเอียดเข้าไปเขาก็จะบอกว่า “เอออาจารย์ไม่รู้ ถ้ารู้ ทำไมยอมรับเราตั้งแต่ตอนนั้นน่ะ” ถ้าจิตเขาละเอียดขึ้นไปเขาก็กลับมาสงสัยอาจารย์แต่ถ้าจิตเขายังหยาบอยู่ เขาก็บอกว่าอาจารย์ไม่ฟังเขา พอจิตเขาละเอียดปั๊บอาจารย์โกหก เพราะหยาบอย่างนั้นไม่ใช่ ละเอียดมันถึงจะถูก นี่มันเป็นอย่างนี้เวลาภาวนา จิตใจวิวัฒนาการ เราพูดประจำว่าจิตมันจะพัฒนาของมันขึ้นไป จิตมันพัฒนาของมันขึ้นไป ถ้ามันพัฒนาขึ้นไปแล้วมันจะทิ้งสิ่งที่หยาบๆ ทิ้งสิ่งหยาบๆขึ้นมา แล้วมันจะละเอียดขึ้นไป

แต่ถ้ามันเป็นวิทยาศาสตร์นะ มันคงที่ตายตัวไง อารมณ์ก็คืออารมณ์ ภาษาก็คือภาษา พูดคำนั้นน่ะ แต่มันไม่พัฒนา คือมันไม่ดีขึ้น ถ้ามันไม่ดีขึ้นมันก็ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูกน่ะสิ แต่ถ้ามันพัฒนาขึ้นมันจะรู้เลย ที่มันรู้มาก่อนนั้นรู้หยาบๆ นั้นมันผิด ละเอียดขึ้นมาถึงถูก แล้วถ้าอาจารย์ไปรับก่อน พอรับก่อนปั๊บ พอจิตมันละเอียดขึ้นมาหรือถ้ามันจะละเอียดขึ้นไป มันก็ไม่กล้าละเอียด เพราะอาจารย์รับแล้ว ถ้าละเอียดขึ้นไปเดี๋ยวจะผิด ถูกมันจะเป็นผิด ผิดมันจะเป็นถูก แต่เริ่มต้นมันถูกหมดน่ะ เวลาภาวนาบอกว่าภาวนาเถอะ

เราฟังหลวงตาเทศน์นะ เราฟังครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นธรรมเทศน์ เราสงสารมากนะ ท่านจะให้คำนี้ไง “ให้ปฏิบัติมาเถิด ให้ภาวนาเถิด” ท่านพยายามขวนขวายให้ทุกคนหัดภาวนา แต่เวลาภาวนาไปแล้ว เริ่มต้นมันก็หัดถูกๆ ผิดๆไปนั่นแหละ แล้วถ้าขึ้นไปมันก็จะดีขึ้นๆ ไปไง แต่เริ่มต้นมันจะผิดหมดเลย ว่าอย่างนั้นเลยนะ ไอ้ที่ถูกหาได้น้อยมาก แต่ก็ต้องหัดภาวนา เหมือนกับฝึกให้เด็กหัดทำงาน เด็กหัดทำงาน เด็กทำงานถูกได้ไหม เป็นไปได้ไหม ไม่ได้หรอก แต่ถ้าเราไม่ฝึกหัดให้เด็กเราทำงาน เด็กเรามันจะทำงานเป็นไหม

นี้ครูบาอาจารย์ท่านจะบอกหมด “ให้ภาวนามาเถิด ให้ภาวนามาเถิด” แล้วที่ภาวนามานะ ผิดหมดเลย ผิดหมดเลยเพราะว่าจิตใจเราหยาบ จิตใจเรามันเป็นโลกๆ ไง มันก็ปฏิบัติแบบโลกๆ ไง

แต่เวลาเราจะปฏิบัติ เราจะปฏิบัติเอาธรรมใช่ไหม เราไม่ได้ปฏิบัติเอาโลกเพราะเราเป็นโลกอยู่แล้ว เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาในโลกนี้ เราเป็นโลกอยู่แล้ว แล้วเวลาเราจะปฏิบัติ เราอยากปฏิบัติเอาธรรมะ แต่จิตใจเราเป็นโลก เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ เป็นทิฏฐิมานะของเรา เวลาเราปฏิบัติไป มันจะรู้เห็นอย่างนี้ นี่มันเป็นโลกไง

ฉะนั้น เราเกิดมาอยู่กับโลกอยู่แล้ว เวลาเราปฏิบัติ เราจะเอาธรรม เราไม่ต้องการเอาโลก ถ้าเราจะเอาธรรมขึ้นมา เรากล้าทิ้งไหม เราก็ไม่กล้าทิ้งอีก ทิ้งแล้วไปยืนอยู่บนอากาศหรือ

แต่ถ้าพอมันรู้จริงขึ้นไป ความรู้อันนั้น อริยสัจอันนั้นมันรองรับจิตไว้ ความรู้ไง ปัญญาความรู้อันนั้นมันรองรับจิตไว้ จิตมันก็ไม่อยู่บนอากาศไง จิตมันอยู่บนความจริงไง จิตมันอยู่บนสัจธรรมไง นี่มันจะพัฒนาขึ้นมา ทีนี้พัฒนาขึ้นมามันเป็นอย่างนี้

ฉะนั้น มันเป็นอย่างนี้ เวลาคนถาม เห็นไหม “ผมฟังเว็บไซต์มาหลายปี แล้วตอนนี้ผมรู้สึกว่าไอ้คำถามที่ผมถามไปมันโง่มากๆ เลย

ถ้าอย่างนี้แสดงว่าจิตมันฉลาดขึ้น มันพัฒนาขึ้น ถ้ามันฉลาดขึ้นมันก็ดีไง ดีขึ้นมันเป็นแบบนี้ พอเป็นแบบนี้ปั๊บ เราพูดอย่างนี้ไม่ใช่จะให้เกิดทิฏฐิมานะอะไรทั้งสิ้น พอคิดได้อย่างนี้ปั๊บ เราจะให้ย้อนกลับไปดูว่า คนที่ปฏิบัติ ไปดูในสังคมที่เขาปฏิบัติกัน ไปดูจิตที่มันไม่พัฒนา แล้วมันยึดมั่นถือมั่นในความเห็นของมันแล้วมันจะเจริญขึ้นมาได้ไหม

ที่มันเจริญขึ้นมาไม่ได้ มันถึงบอกว่า นี่ไง ครูบาอาจารย์ที่ท่านมองโลกมองอย่างนี้ เวลามองจิตใจผู้ที่ปฏิบัติ ท่านก็มองแบบนี้ เวลามาใหม่ๆ ก็หัดปฏิบัติปฏิบัติมาเถอะ จะผิดจะถูกไม่เป็นไร ปฏิบัติมาเถอะ แต่เวลาถ้ามันปฏิบัติแล้วมันจะดีขึ้น มันจะถูกต้องดีขึ้นเรื่อยๆ เห็นไหม

ฉะนั้น เวลาเขาบอกว่า เวลาที่เขาตั้งคำถามมา คำถามที่เขาตั้งมาส่วนใหญ่แล้วมันเป็นมโนภาพทั้งนั้นน่ะ มันก็เป็นจินตนาการทั้งนั้นน่ะ แต่มันเป็นจินตนาการถ้ามันเป็นส้มหล่นบ้าง ส้มหล่น เวลามันเป็นส้มหล่นนะ เวลาผู้ถามเขาเคยถามมาเขาบอกเขาเคยถามมาว่าสิ่งที่เขารู้เขาเห็นเขาเป็นอย่างไร สิ่งที่รู้ที่เห็น เวลาเขาถาม “สิ่งที่ผมถามมามันโง่จริงๆ เลย

แต่เราก็คิดในใจนะ แล้วไอ้คนตอบนี่โง่หรือเปล่าวะ ไอ้คำถามนี่มันโง่จริงๆเลย แล้วโง่จริงๆ แล้วคนตอบมันตอบมาได้อย่างไรล่ะ แต่ที่เวลาคนตอบ เวลาคำถามว่าโง่จริงๆ เลย แต่มันเป็นประสบการณ์ไง

ฉะนั้น เวลาเขาย้อนกลับไป เขาถามเองเขารู้ เขาเป็นคนถามมาเอง แล้วเขาถามมาเป็นปี หลายปีแล้ว ฉะนั้น เวลาถามมาแล้วเราก็ตอบมาตลอดเลย เห็นไหมเราตอบมาตลอดเลย

ในธรรมะของหลวงตาท่านสอน “จิตที่สูงกว่าจะดึงจิตที่ต่ำกว่า” คนที่ยืนอยู่บนที่สูงเขาพยายามจะชักจูงคนที่ยืนในที่ต่ำให้ขึ้นมาที่สูง จิตที่มันอยู่สูงกว่ามันมีเหตุมีผลอธิบายได้ทั้งนั้นน่ะ อันนี้มันอธิบายนะ หนึ่ง อธิบายเพื่อกำลังใจ อธิบายให้คนมีกำลังใจ อธิบายว่ามีแนวทาง

เวลาเราปฏิบัติไป คนที่อยู่ที่สูงเขายืนตะโกนให้เราขึ้นไป แต่เราปีนหน้าผาไม่ไหว เราทำอะไรก็ไม่ได้เลย อู๋ยมันน้อยใจ มันลำบากไปหมดเลย แต่คนที่อยู่ที่สูงกว่า ท่านจะทอดบันไดมาอย่างไร ท่านจะทอดบันไดแล้วดึงเราขึ้นมาอย่างไร

เวลาจะตอบ ตอบปัญหา ที่ตอบปัญหา ไอ้ที่ว่าปฏิบัติแล้วโชะเชะ เห็นจริงจังเกือบไม่เห็นเลยนะ ที่ตอบมานี่ ภาษาเรานะ คนถามมันบอกเลยนะ “ที่ผมถามไปนี่โง่จริงๆ เลย” ไอ้เราก็ขำ แล้วไอ้คนตอบนี่มันโง่หรือเปล่าวะ สงสัยมันโง่กว่า ไอ้คนตอบมันโง่กว่าคนถามอีกนะมึง เพราะถามโง่ๆ มันยังตอบเลย

แต่เวลาตอบไปแล้วมันได้ผล มันได้ผลที่ว่า มาพักหลังๆ เวลาเขาปฏิบัติไปแล้วเขาบอกว่าเขาจะถามเนื้อๆ เลย

คำว่า “ถามเนื้อๆ เลย” ดูสิ เวลาหลวงตาท่านเทศนาว่าการ คนที่เป็นเขาพูดกันคำเดียวเท่านั้นน่ะ เวลาหลวงปู่เจี๊ยะ “ละกาย อย่างนี้ละกายได้หรือเปล่า ละกายได้จริงหรือเปล่า” ถามคำเดียว ตอบกันคำเดียวเท่านั้นน่ะ เขาถามคำเดียวเท่านั้นน่ะ “อย่างนี้จริงหรือเปล่า อย่างนี้ได้หรือเปล่า” ถ้าเราบอกได้หรือไม่ได้ท่านเฉยแล้ว เพราะท่านรู้ว่าจริงหรือไม่จริงแล้ว เวลาครูบาอาจารย์ท่านถาม ท่านตอบมาคำเดียวเท่านั้นน่ะ

แต่นี่เวลาที่ว่าธมฺมสากจฺฉา เวลาหลวงตาท่านไปคุยกับหลวงปู่แหวนอย่างนี้เวลาหลวงตาท่านคุยกับครูบาอาจารย์ ไอ้นั่นท่านแบบว่าเปิดใจกันเลย เปิดใจกันเลย วุฒิภาวะของใครแค่ไหน มันจะรู้ได้แค่ไหน

ฉะนั้น ถ้าเราฉลาดขึ้น ฉลาดขึ้นก็เป็นประโยชน์ขึ้น ถ้าเป็นประโยชน์ขึ้น ทีนี้เป็นประโยชน์ขึ้น เวลาคนที่ภาวนาแล้วให้สังเกตกลับไปที่จิตใจของสัตว์โลก มันเป็นอย่างนี้ทั้งนั้นน่ะ มันเป็นอย่างนี้หมด ถ้าเป็นอย่างนี้หมดแล้วเราจะพัฒนาอย่างไร

ฉะนั้น เวลาเขาบอกว่า “สิ่งที่ผมรู้จริงๆ ก็คือ ถ้าไม่มีความสงบในใจมาก่อนสิ่งเหล่านั้นมันเป็นความจำเทียบเคียงทั้งหมด ถ้าไม่มีสมาธิแล้ว ที่เรียกว่าจิตพร้อม

นี่ไง ถ้าครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติมาท่านเคยผ่านอย่างนี้มา เวลาครูบาอาจารย์ท่านบอกให้ทำความสงบของใจก่อน ทำความสงบของใจก่อน

นี่เวลาคนถามเขาถามมามหาศาลเลย แล้วก็เริ่มต้นมาก็จับพลัดจับผลูมาตลอด แล้วตัวเองก็ยังภาวนามาตลอด แล้วเราก็ตอบมาทุกเที่ยวนะ ตอบมาหมดเขาจะรู้เขาจะเห็นอะไร เขาเขียนมา เราอธิบายได้หมดน่ะ ไปไหนมาก็สามวาสองศอก ก็คุยกันจนจบ เขาถามมา เราก็ตอบมาตลอด

แต่เวลาตอบมาแล้ว ตอบมาตลอด เพราะให้เขาได้พยายามตลอด พอพยายามขึ้นมาถึงที่สุดแล้ว นี่เป็นคำพูดเขาเองเลย “ผมรู้จริงขึ้นมาว่า ถ้าจิตเราไม่สงบขึ้นมาก่อน สิ่งที่รู้ที่เห็นมันเทียบเคียงทั้งนั้น ถ้าไม่มีสมาธิ ไม่มีจิตพร้อม จะสังเกตเห็นจิตตัวเองไม่ได้ จะทำสิ่งใดไม่ได้” นี่คำพูดเขาเองนะ

เวลาเขาถามมา เราก็ตอบมาตลอดเลย พอตอบมาตลอด เขาก็พัฒนามาตลอด แล้วพัฒนามาตลอดแล้ว มันก็ผิดมาถูกมา ผิดมาถูกมา แต่เวลาถึงจริงๆแล้ว เวลาเขาปฏิบัติมาแล้วเขาบอกว่า ถ้าเขาจะถาม ต่อไปนี้เขาจะถามเนื้อๆ เลยจะไม่อารัมภบท

ฟังผมก่อนสิหลวงพ่อ ฟังผมก่อนสิ หลวงพ่อยังไม่ฟังผมก่อนเลย หลวงพ่อตอบได้อย่างไร” มันกลัวจะไม่ยอมรับมันน่ะ ใครมาถามปัญหาก็ “หลวงพ่อฟังผมก่อนสิ” โอ๋ยเราก็เบื่อฉิบหายเลย “หลวงพ่อฟังผมก่อนสิ

แต่คราวนี้เขาบอกว่า “ผมจะถามเนื้อๆ เลย ผมไม่อารัมภบทอีกแล้ว” เพราะอะไร เพราะไอ้คนถามมันก็ยังเบื่อเลย แล้วไอ้คนฟังมันไม่เบื่อหรือ มันเบื่อจะตาย

แต่เวลาจิตมันจะฉลาดขึ้นมาแต่ละดวงๆ เห็นไหม จะสอนคนได้แต่ละคนๆศาสนทายาท สิ่งที่จะปฏิบัติได้ จะรู้มาแต่ละดวงๆ มันแสนยากแสนเข็ญ แล้วไอ้สัพเพเหระมันมหาศาล ไปไหนมา สามวาสองศอก พูดไปเป็นคุ้งเป็นแคว ไม่มีเนื้อหาสาระเลย จะเป็นเนื้อหาสาระขึ้นมาจริงๆ ขึ้นมา มันก็ไม่เป็นจริงขึ้นมา ถ้าเป็นจริงขึ้นมา ทำความสงบของใจให้ได้ก่อน

เวลาหลวงตาท่านพูดถึงคนอื่น พระที่เขาใช้ปัญญาๆ ไปเลย ท่านบอกว่าสมาธิมันยังทำไม่เป็นเลย

เวลาครูบาอาจารย์เรานะ ท่านบอกสมาธิยังทำไม่เป็นนี่หมดแล้ว สมาธิทำไม่เป็น เรายังทำความสะอาดตัวเราไม่ได้เลย ดูสิ เรายังเช้าขึ้นมาล้างหน้าก็ไม่เป็นแปรงฟันก็ไม่เป็น คุยโม้กันขี้ฟันเหม็นฟุ้งไปหมด

ถ้ามันล้างหน้า แปรงฟัน อาบน้ำ ก็เท่ากับทำสมาธิไง ทำความสงบของใจให้ได้ ถ้าทำความสงบของใจให้ได้ก็ชำระล้างจิตเราให้ได้ ถ้าชำระล้างจิตได้ ก็ตื่นขึ้นมาอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟันได้ เออเราอยู่ในสังคมได้ ไปอยู่ที่ไหนนะเวลาคุยกันมันไม่เหม็นคนอื่นว่ะ

นี่มันไม่ทำอะไรเลย ล้างหน้าก็ไม่เป็น แปรงฟันก็ไม่เป็น ทำสมาธิไม่เป็น ฝอยธรรมะกัน ฝอยฟุ้งอยู่อย่างนั้นน่ะ นี่ไง เวลาท่านพูดนะ คนที่เป็นฟังแล้วมันสะเทือนใจ ท่านบอกเลย “สมาธิยังทำไม่เป็น แล้วมันจะทำอะไร” แต่คุยโม้นะ “อู๋ยมีปัญญา ปัญญาวิมุตติ” ว่าไปเรื่อยเฉื่อย

คนเป็นนะ เวลาเขาคุยกันแล้วมันเศร้าใจ แต่คนไม่เป็นชอบมาก ชอบกันมหาศาลเลย ฉะนั้น ถ้ามันเป็นจริงมันเป็นแบบนี้ นี่ถ้ามันฉลาดขึ้นนะ

สังคมเป็นแบบนี้ แล้วพอสังคมเป็นแบบนี้ แล้วมันเป็นวุฒิภาวะ แล้วเราอยู่ในสังคมอย่างนี้มา โอ้โฮร้องโอ้โฮเลยนะ แสดงว่าเรานี่มีความอดทน หลวงพ่อนี่อดทนนะ ขนาดนี้เขายังว่าดุๆ ลองถ้าไม่อดทนนะ มันฟังไม่ไหวหรอก อะไรก็ไม่รู้

ยิ่งถ้ามันไม่เป็น มันเป็นภาษาที่ทางโลกเขาคุยกันน่ะ คือแบบว่าเขาจินตนาการ เขามีอารมณ์ เขาคุยกัน เหมือนที่ว่าธมฺมสากจฺฉา ไปศึกษาธรรมะมาแล้วก็นั่งปากเปียกปากแฉะถกแต่ธรรมะกัน แต่ไม่ได้ปฏิบัติ จิตสงบไม่เคยสงบสติ พูดสติเป็นคุ้งเป็นแควเลย แต่ไม่มีสติขณะที่เขาพูดเลย ขณะที่เขาพูด ที่เขาพูดกันน้ำลายแตกฟองนั่นแหละ มีสติหรือเปล่า พูดธรรมะกัน อู้ฮูปากเปียกปากแฉะเลย ตัวสติจริงๆ ไม่รู้จัก สมาธิไม่รู้จัก ยิ่งปัญญานี่ไม่ต้องพูดถึง คุยเป็นคุ้งเป็นแควอยู่อย่างนั้นน่ะ นั่นพูดถึงเป็นโลกๆ ไง

แต่ถ้าจะเอาจริง ทำความสงบของใจให้ได้ ทีนี้เวลาทำความสงบของใจได้ในพระกรรมฐาน ครูบาอาจารย์ของเราถึงให้หลีกเร้น ถึงไม่ให้สุงสิงกัน ไม่ให้คุยกัน เพราะนั่นเป็นทางออกของมัน

เราอยู่กับครูบาอาจารย์นะ ท่านบอกเลย หมามันชอบหยอกชอบเล่นกัน แล้วหมามันก็กัดกัน หมามันกัดกันเพราะการหยอกการเล่น

นี่ก็เหมือนกัน เราก็คุยกันเป็นคุ้งเป็นแควเลย คุยกันว่าเป็นบัดดี้ เป็นเพื่อนรักกัน แล้วมันก็ผิดใจที่เล่นกันนั่นแหละ ไอ้ที่พูดเล่นพูดเหน็บกันนั่นน่ะ มันเป็นการพูดเล่นๆ แต่ถ้าจิตใจมันไม่ดีขึ้นมา มันจะสะกิดใจทันที ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ท่านไม่ให้ ท่านบอกว่าไอ้ที่หมามันจะกัดกันก็มันหยอกเล่นกันนั่นแหละ ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาสนิทกัน บัดดี้กันก็หยอกกันก็เล่นกัน แต่ถึงเวลาแล้วมันก็ผิดใจกัน แล้วผิดใจกันแล้วเอาเป็นเอาตายนะ

เราเคยมีพระเพื่อนเขาเป็นกลุ่มกัน เขาเป็นพระที่รักกันมาก เขาได้สิ่งใดมาเขาจะรวมเป็นกองกลางแล้วเขาก็ใช้ร่วมกัน เพราะว่าเขาบวชมา - องค์สุดท้ายแล้วนะ เราได้ข่าว เขาปรับปาราชิกกันเอง ปรับปาราชิก เขาบอกว่าเอาเงินเขาไปใช้ แต่เริ่มต้นมันเกิดจากวิสาสะไง เราเป็นกลุ่มเพื่อนกัน เราก็เหมือนลงขัน เอาเป็นกองกลางไว้ใช้จ่ายร่วมกัน เสร็จแล้วพอไม่ถูกกัน เขาบอกว่าตังค์ของเขา คนอื่นเอาไปใช้ เป็นปาราชิก

นี่ไง เราบอกว่า คนที่รักกันคนที่ชอบกันนะ เวลาโกรธกันมันเจ็บแสบนะ คนที่รักกันคนที่ชอบกันเวลาผิดใจกัน โอ้โฮมันเจ็บลึก นี่ไง เวลากรรมฐานเราถึงไม่ให้สุงสิงกัน รักกัน รักกันอยู่ห่างๆ รักยาวให้ตัด รักสั้นให้ต่อ ถ้ารักยาว อยู่ห่างๆกันไว้ รักกัน อยู่ห่างๆ กัน อย่าทำให้สะเทือนกัน เพราะมีความผูกพันกัน ถ้าไม่อย่างนั้นเดี๋ยวมันจะมีปัญหา นี่พูดถึงเวลาครูบาอาจารย์ท่านสอน นี่เวลาท่านสอนท่านสอนอย่างนั้น

ฉะนั้น จิตใจของเรา ถ้าเราดีขึ้น เห็นไหม ถ้าเขาถาม ถามว่า ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตเขาไม่สงบเลย สิ่งที่รู้ขึ้นมามันก็เป็นการเทียบเคียงทั้งนั้น มันไม่เป็นความจริงขึ้นมา ฉะนั้น จิตที่เขาพร้อมแล้ว เวลาเขาผ่านมา จิตใจของเขา ในร่างกายของเรา เพื่อให้จิตนั้นเรียนรู้ว่าไม่ใช่เราต่างๆ

ให้ฝึกหัดไปๆ ถ้าฝึกหัดไป นี่ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก มันจะรู้ชัดของมัน เวลาพิจารณา เวลามันปล่อย มันรู้ของมันเข้าไป มันจะเห็นของมัน ถ้าเห็นของมัน เวลาครูบาอาจารย์ท่านให้ซ้ำๆ ให้ซ้ำให้ชำนาญ พอชำนาญขึ้นไป เพราะอะไร ตทังคปหานมันปล่อยบ่อยๆ

ฉะนั้น เวลาเขาบอกว่า เวลาพิจารณาไปแล้ว พิจารณากายแล้วปล่อยกายๆ

ปล่อยไปเถอะ มันเป็นตทังคปหาน เป็นการชั่วคราวๆ ทั้งนั้นน่ะ มันไม่ถึงที่สุดหรอก แต่เวลาถึงที่สุดเวลามันขาดนะ เวลาสังโยชน์มันขาด มันรู้เลย กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ขันธ์  ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์  ไอ้เวลาพูดนี่ก็เป็นทฤษฎี ท่องจำ มันอยู่ในพระไตรปิฎก เราก็อ่านมา แต่เวลามันเป็นจริงขึ้นมาในใจ โอ้โฮ!

คนเรานะ เวียนว่ายตายเกิดโดยไม่รู้ต้นไม่รู้ปลาย แล้วพอเวลาถ้ามันจะเกิดเกิดอีก  ชาติเท่านั้น พระโสดาบันมันจะเกิดอย่างมากอีก  ชาติ แล้วจิตของเราที่มันไม่มีต้นไม่มีปลาย มันมารู้วาระของจิตเองว่า ถ้ามันเป็นโสดาบันแล้วเกิดอย่างมากอีก  ชาติ อย่างมากอีก  ชาติ มันรู้ขึ้นมากลางหัวใจเลย มันจะมหัศจรรย์ขนาดไหน นี่พูดถึงเวลามันขาด ถ้าขาดจริงๆ เป็นแบบนั้นเลย

เพราะเวลาพื้นฐานของการปฏิบัติขั้นแรกจะได้คือพระโสดาบัน ถ้าเป็นโสดาบันขึ้นมาปั๊บ โอ้โฮเป็นพระโสดาบันมันประกาศกลางหัวใจ มันเป็นที่หัวใจนั้นน่ะ หัวใจเป็นพระอริยเจ้า พระอริยเจ้ามันเกิดอย่างมากอีก  ชาติ

กับใจเรานี่ ถามตัวเองสิ เอ็งจะเกิดอีกกี่ชาติ ไม่รู้ แล้วเกิดอย่างไร ก็ไม่รู้แล้วมันจะไปไหนล่ะ ก็ไม่รู้ ถามใจตัวเองสิ

แล้วมันประกาศขึ้นมากลางหัวใจเลยว่า อย่างมากมึงอีก  ชาติ นั่นน่ะของจริง นี่ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก ถ้าเป็นจริงเป็นอย่างนั้นเลย เป็นอย่างนี้จริงๆ ถ้าเป็น

แล้วถ้าเป็นอย่างนี้จริงๆ แล้ว ภาษาเรา ทุกคนมันก็เป็น เดี๋ยวนี้พระเป็นโสดาบันกันเยอะแยะเลย แล้วบอกเป็นโสดาบันอย่างไรล่ะ “อ้าวมันก็อยู่ในอริยสัจไง” มันย้อนไปที่ตำราเลย มันไม่กล้าตอบ มันกลัว ถ้าตอบก็เป็นการผูกมัดตัวมันเองเลย ไม่กล้าตอบ คนไม่เป็นไม่กล้าพูด เพราะอะไร เพราะพูดออกมาแล้วมันเหมือนเอกสารเลย มันมัดตัวตายเลย ฉะนั้น ไอ้พระโสดาบันที่เฮงซวยไม่กล้าพูดอะไรทั้งสิ้น

แต่ถ้าเป็นของจริง ของจริงเขาก็ไม่พูดเหมือนกัน แต่เขามีธรรมโอสถไว้บำบัดจิตที่คนภาวนา จิตของใครที่ฝึกหัดภาวนา มันมีครูบาอาจารย์ที่รู้จริง เป็นครูบาอาจารย์รู้จริงคอยบำบัดจิตพวกที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ศาสนทายาท ธรรมทายาท เป็นทายาทโดยธรรม เป็นทายาทโดยความรู้จริงในใจนั้น เห็นไหม ถ้ามันฉลาดขึ้นมันจะเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมาแบบนี้

นี่พูดถึงเขาบอกว่า คำถาม ถ้าเวลาเราคุยกันตั้งแต่ตอนแรก เขาก็คงจะพาลนะว่าหลวงพ่อเป็นคนพาล แต่วันนี้เขาเขียนมาเอง “ผมย้อนกลับไปนึกถึงคำถามแรกๆ รู้สึกตัวเองว่าโง่มากๆ ครับ

สะใจฉิบหายเลย สะใจ สะใจเพราะว่าเขาสำนึกตนได้ สะใจเพราะเขารู้ถึงตัวเขาเองแล้ว เขาพูดถึงตัวเขาเอง แต่ถ้าให้คนอื่นบอก มันก็ต้องเถียงกันพอสมควรนะ แต่เวลาคนอื่นบอก แต่ในมุมมองของครูบาอาจารย์เรามันเหมือนกับผู้ใหญ่มองดูเด็ก เวลาหลวงตาท่านพูดนะ ท่านมองสังคมเหมือนกับมนุษย์มองดูสัตว์เลย

พวกเรานี่พวกสัตว์โลก แต่ครูบาอาจารย์เราเป็นพระอรหันต์ ท่านเหมือนเป็นคน แล้วพวกเราเป็นสัตว์ เขามองกันอย่างนั้นเลยนะ เวลาครูบาอาจารย์ที่มีคุณธรรมในใจท่านมองพวกเรามองอย่างนั้น แต่พวกเราไม่รู้สำนึกตน แล้วไม่รู้ด้วยว่าหัวใจเรามืดบอดอย่างไร เพราะเราไม่เคยเห็นความจริงในใจ

แต่ครูบาอาจารย์ที่เขามีความจริงในใจ เขามองอย่างนั้นจริงๆ แต่เขาก็ไม่พูดนะ ถ้าพูดออกมาแล้วเดี๋ยวมันจะไปฟ้องยูเอ็น มาเหยียบย่ำกันอีกแล้ว สิทธิมนุษยชน มันจะไปฟ้องยูเอ็น ไอ้นี่เวลามันพาล มันพาลอย่างนั้นน่ะ แต่ถ้าคนจริงเขาเก็บไว้ในใจ ฉะนั้น สิ่งที่เขารู้ได้ เราสาธุ

ถาม : เรื่อง “ขอยกเลิกคำถามค่ะ

หลวงพ่อ : คำถามเขาถามมาเรื่อง “ทางสองส่วน” แล้วเขายกเลิกไป แล้วเขาเป็นคำถามนี้

ถาม : กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง ลูกขอยกเลิกคำถามเดิมค่ะลูกคิดว่าลูกเข้าใจความหมายคำว่า “ทางสองส่วน” แล้วค่ะ ลูกคิดว่าลูกพอเข้าใจความหมายของคำว่า “น้ำนิ่ง” ด้วยค่ะ

ตอบ : นี่เขาพูด เห็นไหม “ทางสองส่วน” มันเป็นคำเทศนาว่าการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันอยู่ในธัมมจักฯ มันเป็นหลักการของพระพุทธศาสนา ในหลักการของพระพุทธศาสนา

ดูสิ โดยทั่วไปเขามีดีและชั่ว ในสมัยต่างๆ ในสมัยก่อนหน้านั้นที่เขาเป็นศาสดากัน เจ้าชายสิทธัตถะไปศึกษากับเขา มันก็มีความดีกับความเลว บุญกุศลกับบาปอกุศล แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมเองโดยชอบแล้วท่านประกาศธรรมะไง เวลาประกาศธรรมะ แสดงธัมมจักฯ กับปัญจวัคคีย์เทฺวเม ภิกฺขเว ทางสองส่วนที่ภิกษุไม่ควรเสพ” ทางดีและชั่วนั่นน่ะไม่ควรเสพ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสนอมรรคญาณ เสนอธรรมจักร ทางสายกลางทางสายใหม่ ทางเอโก ธมฺโม ทางอันเอก ทางของมรรค

เวลาทางของมรรค ทางของมรรคคืออะไร พูดถึงทางสองส่วนไม่ควรเสพเดินตรงทางสายกลาง ทางสายกลางก็มรรค  ดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ แล้วถ้าดำริชอบ เพียรชอบ มันจะเกิดญาณ เกิดญาณทัสสนะ เกิดปัญญา เกิดการรู้แจ้ง นี่อยู่ในธัมมจักฯ นี่ทางมัชฌิมาปฏิปทามันเป็นแบบนี้

มันไม่เหมือนเราหรอก เราเป็นคนที่เป็นทางโลกไง เป็นวิทยาศาสตร์ไง บอกทางสายกลางก็แบ่งเลย หนึ่งเมตร ห้าสิบเซ็น ตรงกลาง แล้วก็อ้าง กิเลสก็เลยอ้างอ้างไปหมดเลย พออ้างไปหมดเลย เห็นไหม ชัย ราชวัตร มันถึงบอกเลย ทางสายกลางเป็นที่หลบภัยของคนขี้ขลาด คนขี้ขลาด คนไม่กล้าเผชิญความจริง มันจะหลบเลี่ยงทั้งผิดและถูก แล้วเอาทางสายกลางเป็นทางออก เป็นทางออกของคนขี้ขลาดตาขาว ถ้าเป็นสายกลางทางโลก เป็นทางออกของคนขี้ขลาดตาขาว

แต่ถ้าเป็นทางของธรรมนะ “ทางสองส่วนที่เธอไม่ควรเสพ” แล้วก็พยายามหาหนทางของเรา หาหนทาง หาสัจจะความจริง หาความจริง หาศีล หาสมาธิ หาปัญญา หาสัจจะความจริงในใจขึ้นมา ทางสายกลางอย่างนี้ต่างหาก ทางสายกลางคือทางสายของมรรค มัคโค ทางอันเอก ไม่ใช่ดีและชั่ว ดีมันก็ยึดกัน เถียงกันว่าดี เถียงเอาเรื่องความดีมาตั้ง แล้วก็แบ่งข้าง  คน เถียงกันเรื่องความดี มันจะฆ่ากันตายเพราะว่ามันดีกว่ากัน เวลาพูดถึงความชั่ว ความชั่วมันก็เที่ยวไปจี้ไปปล้นกัน เห็นไหม

ทั้งดีและชั่ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ฆ่าหมด ทางสายกลางคือทางของสายมรรค มัชฌิมาปฏิปทา ความดีด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยความจริงอันนี้ไง ถ้าเป็นอันนี้

นี่พูดถึงว่า “ทางสองส่วนที่เธอไม่ควรเสพ” คือที่กิเลสมันชวนน่ะ กิเลสมันชวนไปเมาหยำเปนั่นทางสายบาป ทางสายบุญ สายบุญก็โอ้โฮเป็นผู้วิเศษวิโส เป็นคนดีแล้วทำไมต้องไปวัด อู๋ยเป็นคนวิเศษวิโสแล้วมันต้องไปทำอะไรอีก นี่ไงทางสองส่วนไม่ควรเสพ” แล้วสิ่งที่ควรเสพล่ะ

ควรเสพก็จิตใจของเรานี่ไง มีความทุกข์หรือไม่ จิตใจของเรามีความทุกข์ความยากหรือเปล่า ถ้าจิตใจมีความทุกข์ความยาก การดับทุกข์ดับที่ไหน ก็ไม่ได้ไปดับที่ดีที่ชั่วนั้น มันดับที่รู้เท่าทันความรู้สึกเรา นี่ทางสายกลาง ทางสายกลางไงทางสองส่วนที่เธอไม่ควรเสพ

นี่พูดถึงอยู่ในธัมมจักฯ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์สอนปัญจวัคคีย์ แล้วพระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม แล้วเราก็ศึกษากัน ทางสายกลางเลยกลายเป็นทางออก ทางออกของกิเลสไง ทางอ้าง สายกลางทางออกของคนขี้ขลาด ไม่กล้าสู้อะไรเลย ไม่ทำอะไรเลย แล้วบอกว่าฉันอยู่ทางสายกลาง ดีก็ไม่ไป ชั่วก็ไม่ไป อยู่ตรงนี้ แล้วก็เอาแต่พอใจตรงนี้ ทางสายกลาง

ฉะนั้น ถ้าทางสายกลาง ทางสายของมรรค นี่พูดถึง ถ้าจะเอาลงรายละเอียดไง ทีนี้เพียงแต่ว่าเวลาเทศน์กับพระก็บอกว่า ทางสองส่วนที่ไม่ควรเสพ ดีและชั่วไม่ต้องไปทำทั้งนั้น เอามรรคเอาผลของเรา มันเป็นความจริงของเรา แต่เวลาทางโลก ถ้าใครมีปัญญาเท่าไร ความเข้าใจเท่านั้นก็ดีเท่านั้น

แล้วนี่พูดถึงว่า “เข้าใจน้ำนิ่งแต่ไหลด้วย

คำว่า “น้ำนิ่งแต่ไหล” มันถามกันมาไง ถ้าถามกันมา เพราะอะไร เพราะว่ามันเหมือนกับบาลี ทุกคนจะตีความ ตีความเอาแต่ความเห็นของตน นี่ก็เหมือนกันน้ำนิ่งแต่ไหล ใครจะรู้มากน้อยขนาดไหนก็แล้วแต่ แต่เราฟังเทศน์มาจากหลวงปู่ชาท่านพูดของท่านมาอย่างนั้น แต่เวลาเราปฏิบัติแล้วมันจะเห็นว่าสมาธิมันก็มีหลักของมัน สมาธิก็มีหลัก ทุกอย่างเขามีตัวตนของเขา มีองค์ความรู้ มีความจริงถ้ามีองค์ความรู้ มีความจริง คนที่มีองค์ความรู้ มีความจริง เขาจะรู้ของเขา

ไอ้นี่ของเราก็เหมือนกัน เราบอกว่าว่างๆ ว่างๆ มันมีอะไรว่างๆ มันมีอะไรเป็นเครื่องยืนยันล่ะ มันอธิบายความว่างออกมาว่ามันว่าง มันว่างเพราะอะไร ว่างทำไม ว่างแล้วได้อะไร มันพูดออกมาสิ ถ้ามันพูดอย่างนั้น เวลาคนที่เขาเหม่อลอยเขาก็ว่างของเขานะ เวลาคนเขาเหม่อเขาลอยของเขา เขานั่งของเขา เขาขาดสติเขาเหม่อลอยของเขาไป มันก็ว่างๆ เหมือนกัน มันว่างอย่างไร เห็นไหม ในความว่างมันยังมีมิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ มันยังมีความถูกความผิดในตัวของมันเองนะเวลาถ้ามันเป็นทางอันเอก ทางสายกลาง มันจะมีสติมีปัญญา มีความพร้อมของมันตลอด เห็นไหม

นี่ก็เหมือนกัน น้ำนิ่งแต่ไหล มันนิ่ง น้ำมันนิ่ง แต่มันมีพลังงานของมันไง คำว่า “ไหล” มันเคลื่อนไหวของมัน มันมีออกซิเจนของมัน มันเป็นการเคลื่อนไหว นี่มันเป็นประโยชน์ทั้งนั้นน่ะ มันเป็นความจริง

ฉะนั้น เขาบอกว่าถ้าเขารู้แล้ว

รู้แล้วก็ดี

เขาบอกว่า ทางสองส่วนที่ไม่ควรเสพ เขาเข้าใจแล้ว แล้วถ้าน้ำนิ่งแต่ไหลก็รู้แล้ว

รู้แล้วนะ ก็ให้มีหลักเกณฑ์ มีหลักเกณฑ์กับเรา มีสติมีปัญญากับเรา นี่คืออริยทรัพย์ นี่คือปัญญาของเรา นี่คือการเราเข้าใจตัวตนของเรา

ที่เวลาเราทุกข์เรายากกันอยู่นี่ เราทุกข์ยากเพราะจิตใจของเราโดนกิเลสมันครอบงำอยู่นี่ แล้วเราจะประพฤติปฏิบัติ เราก็จะชำระล้างกิเลสในใจเรานี่ แล้วการชำระล้างกิเลสในใจของเรามันก็ต้องเป็นมรรคเป็นผลจากใจของเรานี่

ฉะนั้น เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาของพระอรหันต์เลยนะ พระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์นะ แล้ววางธรรมวินัยนี้ไว้ แล้วเราศึกษาๆ มา ศึกษามาเป็นทฤษฎี ศึกษามาเป็นเครื่องมือ ถ้าเรายังทำของเราไม่เป็น เรายังทำของเราไม่ได้ มันก็จะไม่มีองค์ความรู้ ไม่มีสิ่งธรรมโอสถที่จะมาบรรเทาความทุกข์ในใจ

ที่เรามาประพฤติปฏิบัติ มาวัดกันอยู่นี่ เรามาหาธรรมโอสถ หาศีล หาสมาธิหาปัญญา หาสัจจะความจริงขึ้นมาเพื่อบรรเทาความทุกข์ในใจนี่ ใครมีสัจจะมีความจริงมันก็บรรเทาทุกข์ในใจ คนเจ็บคนป่วยมียารักษาโรค โรคมันก็จะเบาบางลง ที่เรามาหา หลวงตาท่านจะพูดประจำ ไอ้พวกนั้นมันกินฉลากยา มีขวดยา แล้วมีคำอธิบายทับไว้หมดเลย มันอ่านรู้หมด มันมีความรู้หมดเลย แต่มันไม่มีตัวยา

ตัวยาก็ศีล สมาธิ ปัญญานี่ไง ตัวยาเราก็ศึกษา เราก็อ่านฉลากยากันมาแล้วเราก็ศึกษาวิธีการกันหมดแล้ว ที่เรามาอยู่วัดอยู่วา เราก็พยายามจะทำให้มันเป็นเนื้อเป็นน้ำขึ้นมา ให้มันเป็นธรรมโอสถขึ้นมา ถ้ามันเป็นขึ้นมา น้ำนิ่งแต่ไหล น้ำนิ่งแต่ไหลมันจะมีคุณสมบัติของมันขึ้นมา

ถ้ามีศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมา ถ้ามีสมาธิ จิตก็สงบ จิตสงบเพราะสัมมาสมาธิสัมมาสมาธิคือธรรมโอสถ ธรรมโอสถมันทำให้ใจเราผ่อนคลาย ให้ใจเรามีความสุข มีความสงบ มีความระงับ ไอ้ที่เรามาทำๆ กันอยู่นี่ เราทำเพื่อเนื้อหาสาระข้อเท็จจริงไง

ที่เขาศึกษาๆ ศึกษาฉลากยา ขวดนี้ไว้กินเพื่ออะไร กินกี่ครั้ง กินแล้วมันจะได้ผลประโยชน์อะไร อ่านทะลุปรุโปร่ง แต่ไม่เคยกิน ไม่เคยรู้จัก แล้วรู้จักก็แสนทุกข์แสนยาก ทางจงกรม นั่งสมาธิภาวนา กว่าจะหามันขึ้นมาได้ แล้วหาขึ้นมาได้ก็เป็นประโยชน์กับเราไง เห็นไหม ถ้าทำอย่างนี้ขึ้นมามันก็เป็นความจริงขึ้นมา แล้วมันก็จะเห็นสัจจะเห็นความจริง เรามีมรรคมีผลขึ้นมา มันก็จะเป็นประโยชน์กับเรา

นี่พูดถึงว่าถ้าเรายังโง่เขลา

คำว่า “โง่เขลา” เหมือนกับโง่เขลา ไม่ใช่ว่าโง่แบบคนที่ไม่มีปัญญาเลย คำว่า “โง่เขลา” คือแบบว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ เวลาธรรมะนี่นะ เวลารู้นี่อึ๊กเลยนะ มันอยู่ใกล้ๆ เรานี่ แต่เรานึกไม่ถึง

นี่ไง ถ้ามันแบบว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ เวลาถ้าเราไม่ทันกิเลสก็ตรงนี้ รู้ไม่เท่าทันมัน บางทีรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ความผิดนะ เราทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนั้นน่ะ มันไม่รู้เท่า นี่คืออวิชชาหมดเลย อวิชชาคือความไม่รู้ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็คือไม่รู้ ถ้าเราไม่เท่าทันมันก็คือความไม่รู้ ถ้าไม่รู้ มันชักนำไปหมดเลย

แต่ถ้าเกิดมรรคเกิดผล รู้แจ้งหมด จะความคิดอะไร รู้ทันหมด รู้เท่าทันหมดทุกเรื่องเลย แล้วมันจะผิดพลาดไปไหนล่ะ มันก็ฉลาดขึ้นไง ถ้ามันฉลาดขึ้นมันก็เป็นคนดีขึ้น ถ้ามันฉลาดขึ้น ก็ภาวนาเพื่อแบบนี้

เวลาเขาพูดว่า เมื่อก่อนนี่โง่มากเลย ถามหลวงพ่อมาหลายปีแล้ว

แล้วหลวงพ่อตอบมาหลายปี หลวงพ่อต้องโง่กว่าเขาอีก เวลาอ่านแล้วกูเขินเลยนะมึง ขนาดคนถามมันยังว่ามันโง่ขนาดนั้นเลย แล้วคนตอบมันไม่รู้จะโง่ขนาดไหน แล้วเมื่อไหร่มึงจะฉลาดบ้างก็ไม่รู้ ถ้าฉลาดขึ้นมาแล้วก็คงจะไม่ตอบปัญหาอย่างนี้เนาะ เอวัง