ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

กิเลสไชโย

๗ พ.ค. ๒๕๕๙

กิเลสไชโย

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “สวดมนต์แล้วเห็นร่างกายตัวเองนอนในโลงศพ

กราบนมัสการหลวงพ่อ ตัวของหนูได้บวชเป็นชีอยู่  เดือน แล้วสวดมนต์ไหว้พระ ได้เห็นร่างกายของตนเองนอนในโลงศพ จิตก็บอกว่า “ไม่ว่าจะเป็นนักบวชหรือไม่ใช่ ก็ต้องตาย

สองวันต่อมาก็ยังเห็นภาพนี้ เลยใช้จิตตัวเองกำหนดขึ้นมาเผาร่างกายที่บวชเป็นชีนอนในโลงศพ ไฟก็ลุกขึ้นมาเผาจนเหลือแต่กระดูกสีขาวทั้งหมด จิตก็สั่งว่าให้เอามือหยิบกระดูกขึ้นมา พอหยิบกระดูกขึ้นมาก็เป็นผงละออง จิตก็บอกว่า “นี่แหละคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นแบบนี้ สังขารของเรา” หนูขอถามว่า การปฏิบัติของหนูถูกต้องหรือไม่ ต้องแก้ไขอย่างไรให้ถูกต้องในการปฏิบัตินั้น

ตอบ : ทีนี้การปฏิบัติ การเขียนมาถาม เขาเขียนมาถามว่า เวลาเขาไปบวชเป็นชี เวลาเขานอนไป เขาเห็นตัวเขาเองนอนเป็นซากศพนอนอยู่ในโลงศพ นี่เวลาพูดอย่างนี้มันก็พูดได้ เวลาพูดได้ใช่ไหม แล้วเขาก็ถามว่า เขาทำมาอย่างนั้นๆๆ ถูกหรือไม่

ถ้าถูกหรือไม่ สิ่งที่เห็นมานั้นมันเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่ง เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่ง เช่น เราเดินไปบนถนน เราไปเห็นแบงก์ตกอยู่ เราเก็บได้แบงก์นั้น ถูกหรือไม่ ก็ถูก เราเดินไปบนถนน เราไปเจอทองคำตกอยู่ เราเห็นทองคำ เราเก็บทองคำขึ้นมา ถูกหรือไม่ ถูก สิ่งที่ถูกเพราะเราเห็นน่ะ เราเห็นสิ่งที่มันตกอยู่ที่ถนน เราก็เก็บสิ่งที่ตกที่ถนน ถูกหรือไม่ ถูก แต่ทีนี้ว่าแบงก์นั้นเป็นของใคร เงินนั้นเป็นของใคร ทองคำนั้นเป็นของใคร เราเก็บแล้ว เราเก็บแล้วเป็นสมบัติของเรา หรือเราจะเก็บแล้วไปคืนเจ้าของ เราเก็บแล้ว เราจะเก็บไว้เพื่อประโยชน์อะไร

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่าเวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราเห็นนิมิต เราฝันอย่างนู้นเราฝันอย่างนี้ จริงไหม เห็นจริงไหม จริง แต่มันถูกหรือไม่ มันมีเหตุมีผลไง มีเหตุมีผล หมายความว่า เราเดินไปบนถนน เราไปเจอสร้อยทองคำของคนตกไว้ มันถูกหรือไม่ ถูก ก็สร้อยคอทองคำมันตกอยู่ตรงนั้น แต่ถ้าเราคิดต่อไปว่า สร้อยคอทองคำนั้นเป็นของใคร ใครเป็นเจ้าของสร้อยคอทองคำนั้น แล้วเขาทำตกอยู่ตรงนี้ เขาเผลอตกลงไปหรือว่าเขาไม่รู้ตัว แล้วเขามีความจำเป็นต้องใช้เงินทองหรือไม่ ถ้าทองคำเขาเสียหายไปแล้ว ชีวิตของเขาจะมีความลำบากหรือไม่ นี่เราจะคิดต่อเนื่องไปเลย

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่าเวลาเราบวชเป็นแม่ชี เป็นแม่ชีแล้ว เวลาเราประพฤติปฏิบัติไป เราเห็นร่างกายเราเป็นศพนอนอยู่ในโลง ถูกหรือไม่

ก็ถูก เราก็เห็นอย่างนั้นถูก แต่การเห็นมันเป็นหลากหลายมากเลย คนที่พุทโธๆ คนที่ปฏิบัติโดยธรรมดา เขาทำจิตเขาสงบแล้ว ถ้าจิตเขาสงบ เขาไปเห็นซากศพ เห็นร่างกายของเขา มันมีความรู้สึกอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเราภาวนา ภาวนามันส้มหล่น ถ้าทางโลกเขาเรียกว่าฟลุก อยู่ดีๆ มันเห็นขึ้นมาเอง อยู่ดีๆ มันก็เห็นอย่างนั้นน่ะ เห็นอย่างนั้น เราทำอะไรไม่เป็น ทำอะไรไม่ถูก ทำอะไรไม่ได้

สิ่งที่เห็นๆ เวลาที่เห็น จะบอกว่าถูกไหม ที่หนูปฏิบัติอย่างนี้ถูกหรือไม่

ถูก เวลาบอกว่าถูก ถ้าถูกนี่แสดงว่าหนูก็เป็นพระอรหันต์แล้วใช่ไหม

ไม่ใช่ ก็ภาวนาถูกก็เป็นอย่างหนึ่ง ถูกก็เขาเห็นของเขาถูกต้องดีงาม ส่วนใหญ่เราจะตอบปัญหาที่เป็นโดยข้อเท็จจริงว่าที่เขาทำอย่างนั้นถูกต้องหรือไม่บอกถูกเท่านั้นแหละ เขาเป็นพระอริยบุคคลไปเลย เขาบอกว่าเรารับรองไปเลยเราก็งงน่ะ งงไปหมดนะ นี่เวลาตอบปัญหาบ่อยๆ มันจะมีปัญหาอย่างนี้ เพราะคนเข้าใจเขาเข้าใจคนละประเด็น เข้าใจคนละอย่าง

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่เขาประพฤติปฏิบัติถูกหรือไม่ ถูก แต่ถูกอยู่แล้ว แล้วถ้าเริ่มต้น ถูกแล้วควรทำอย่างไรต่อไป ถูกแล้วควรทำอย่างไรต่อไป

เราทำอย่างไรต่อไปปั๊บ ก็ต้องกลับมาแล้ว เวลาจะเอาโดยหลักเกณฑ์กัน เราก็ต้องมาทำความสงบของใจ คือว่าหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ

โอ้โฮหนูเห็นซากศพแล้วนะ ทำไมหนูต้องกลับไปพุทโธอีกล่ะ ก็หนูเห็นซากศพแล้วก็ควรจะต่อเนื่องไปเลย จะเดินหน้าต่อไปเลย

แล้วเดินหน้าต่อไปแล้วซากศพจะอยู่กับเราอีกไหม จะเห็นซากศพอีกหรือเปล่าล่ะ

ซากศพนั้น มันก็เหมือนที่หลวงตาท่านสอนว่า ขันธ์  หรือร่างกายมันเป็นหินแล้วเรามีมีดลับกับหินนั้น เราลับเพื่ออะไร ลับเพื่อความคมกล้าของมีดนั้น เพื่อประโยชน์นั้น นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราพิจารณาร่างกาย เราพิจารณาธาตุขันธ์ เราพิจารณา นี่มันฝึกหัดปัญญา เหมือนมีดลับกับหินเพื่อให้มันคมกล้า

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตเราสงบแล้ว เราเห็นร่างกายอย่างนั้นแล้วเราพิจารณาไปเราได้ฝึกหัด ฝึกหัดจิตของเราด้วยสติด้วยปัญญา แล้วพอฝึกหัดไปแล้ว เราใช้มีดไปแล้วมีดมันก็ทื่อ มีดมันก็หมดความคม แล้วเราต้องลับอีกไหม ต้อง พอต้องลับอีก แล้วกายอยู่ไหนล่ะ แล้วขันธ์  อยู่ไหนล่ะ หาไม่เจอแล้ว ในการปฏิบัติมันจะต่อเนื่องอย่างนี้ คนที่เวลาปฏิบัติไปแล้วที่มันจะต่อเนื่อง มันต้องสมบูรณ์ต่อเนื่องขึ้นไป มันต้องมีเหตุมีผลของมัน มันต้องมีมรรค มีเหตุมีผล การปฏิบัติมันถึงจะมีผลในการปฏิบัติ

อันนี้ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัติ เวลาเราปฏิบัติ ทุกคนที่ปฏิบัติล้มลุกคลุกคลานมาตลอด แต่พอปฏิบัติไปจะไปรู้ไปเห็นสิ่งใดบ้าง แต่ความรู้ความเห็นสิ่งใดนั้นมันรู้มันเห็นเพราะจิตใจมันดีตอนนั้นน่ะ แต่พอออกจากอารมณ์นั้นแล้ว จิตใจมันก็เสื่อมไป เสื่อมไป มันกลับมาเป็นบุคคลธรรมดาแบบเรานี่

แต่เวลาถ้าจิตเราสงบแล้ว ปุถุชนจะเป็นกัลยาณปุถุชน ถ้าเห็นกายแล้วจับต้องได้ แล้วทำต่อเนื่องได้ เขาเรียกโสดาปัตติมรรค เวลาโสดาปัตติมรรค ถ้าประพฤติปฏิบัติได้จริง ถ้ามันมีผลสมบูรณ์ของมัน มันจะเป็นโสดาปัตติผล

จิตดวงหนึ่งมันพัฒนาการไปจากปุถุชน กัลยาณปุถุชน โสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล บุคคล  คู่ ถึงที่สุดแล้วมันถึงพัฒนาจนหลุดออกไปเป็นนิพพาน  มรรค  ผล  นิพพาน  มันต้องพัฒนาขึ้นไปแบบนี้ แล้วมันพัฒนาขึ้นไปมันก็มีหลักการ มีหลักการ ถ้าไม่มีหลักการ ธมฺมสากจฺฉา

เวลาหลวงปู่มั่นท่านตรวจสอบลูกศิษย์ท่าน ท่านตรวจสอบลูกศิษย์ท่านอย่างไร เวลาหลวงตาท่านไปคุยกับหลวงปู่แหวน ท่านไปคุยกับหลวงปู่ขาว ท่านคุยกับหลวงปู่ชอบ เวลาเขาคุยสนทนาธรรมกันมันมีขอบเขตอย่างไร มันต้องมีขอบเขต มันต้องมีสรุปของมัน มันถึงจะรู้ได้ว่าใครมีวุฒิภาวะแค่ไหน เหมือนเราเรียนศึกษา เราจบมาที่ไหน เราสอบผ่านอะไรมา เราจะรู้ไปหมดใช่ไหม นี่พูดถึงว่า เวลาถ้าปฏิบัติแล้วมันจะมีหลักการอย่างนี้

แล้วคนที่จะทำหลักการอย่างนี้ได้นะ คนที่จะทำหลักการอย่างนี้เขาต้องสร้างอำนาจวาสนามามากๆ ถ้ามามากแล้ว มันเหมือนกับคนที่มีวุฒิภาวะเสมอกันคุยกันมันจะเข้าใจกัน เรามีวุฒิภาวะไปคุยกับคนที่ไม่มีการศึกษา ไปคุยกับคนที่เขาหัวไร่ปลายนา เขาไม่เคยศึกษาเลย แล้วจะคุยกันเข้าใจได้อย่างไร

นี่ก็เหมือนกัน เรามีการศึกษา เรามีองค์ความรู้ เรามีความรู้ขึ้นมา เราอธิบายเหตุผลได้ แล้วเราคุยกันโดยคนที่มีความรู้เสมอกันมันคุยกันเข้าใจกันได้นี่ก็เหมือนกัน คนที่ปฏิบัติขึ้นมาแล้วมันต้องมีเหตุมีผลของมันขึ้นมา

ไอ้นี่เขาถามอย่างหนึ่ง เขาถามเรื่องเวลาเขาปฏิบัติแล้วเขาเห็นร่างกายเขานอนอยู่ในโลงศพ หลวงพ่อตอบเรื่องอะไรเนี่ย หลวงพ่อตอบเรื่องอะไร

เราตอบเรื่องหลักการของอริยสัจ หลักการของธรรม หลักการของการประพฤติปฏิบัติ เพราะอะไร เพราะเวลาตอบ ตอบปัญหามาเยอะ แล้วเวลาตอบปัญหามาเยอะ มันก็มีความเข้าใจแตกต่างกันไปเยอะ ทีนี้ความเข้าใจแตกต่างกันไปเยอะ เวลาเข้าใจแตกต่าง เห็นไหม เวลาเราปฏิบัติไปสำมะเลเทเมา ตอนนี้นะสำนักปฏิบัติเยอะแยะไปหมดเลย แล้วก็ชี้แนวทางกันไปอีลุ่ยฉุยแฉก แล้วอะไรก็ไม่รู้

แต่เวลาปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เวลาท่านปฏิบัติท่านจะเทศนาว่าการให้พวกเรามีศรัทธาความเชื่อ แล้วให้พวกเราประพฤติปฏิบัติเลย เพราะอะไร เพราะเวลาพวกเราประพฤติปฏิบัติ เราเอาอะไรประพฤติปฏิบัติ เราเอาหัวใจประพฤติปฏิบัติใช่ไหม เพราะคนมีหัวใจ ถ้าเอาหัวใจประพฤติปฏิบัติ ทุกคนเข้าไปสู่ใจของตนไง เข้าไปสู่ใจของตน มันจะไประงับความทุกข์ความยากในใจของตนอันดับแรกเลย

แล้วถ้าอันดับต่อไป จิตมันสงบแล้วมันยกขึ้นสู่วิปัสสนานะ มันจะเป็นอริยบุคคลไง มันจะเป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์

แล้วเราก็จะย้อนกลับว่า “คนอย่างเรานี่หรือจะได้เป็นพระอรหันต์ อู๋ยมันขนาดนั้นเชียวหรือ” นี่มันไม่กล้าคิด ไม่กล้าอาจเอื้อมเลยนะ

แต่เวลาครูบาอาจารย์เราท่านสอน สอนอย่างนั้นไง ถ้าสอนอย่างนั้น ท่านสอนเพื่อให้พวกเราประพฤติปฏิบัติ ให้พวกเราเอาจริงเอาจังขึ้นมา ทีนี้เอาจริงเอาจังขึ้นมาแล้ว เวลาทำขึ้นไปแล้ว ถ้าใครภาวนาไปจะเข้าหลักนี้แล้ว จะเข้าที่บอกว่าเวลาเขามาบวชชี  เดือน เวลาบวชชี  เดือน เวลาเขาภาวนาไป เวลาไหว้พระสวดมนต์  เดือน เขาเห็นว่าร่างกายของเขาไปนอนอยู่ในโลงศพ

เวลาภาวนาไป ครูบาอาจารย์ท่านจะให้ภาวนานะ เวลาภาวนาไป ดูสิ เวลาหลวงปู่มั่นท่านธุดงค์ไปแล้วไปเจอแม่ชีแก้วนี่แหละ แม่ชีแก้ว เวลาหลวงปู่มั่นโอ้โฮอนาคตังสญาณของท่าน กับคนอื่นนะ ใครจะมาสนทนาธรรมกับท่านก็เฉยๆ แต่ท่านกลับไปสนใจเด็กคนนี้ เด็กผู้หญิงคนหนึ่ง แล้วท่านมาสนใจเด็กผู้หญิงคนนี้ ชาวบ้านเขาก็แปลกใจ เอ๊ะพระผู้เฒ่าทำไมมาชอบเด็กผู้หญิงคนนี้

แต่เด็กผู้หญิงคนนี้มันภาวนาดี ขนาดภาวนาไปนะ เตรียมตัวไว้ว่าพรุ่งนี้เช้าจะนึ่งข้าวใส่บาตร แล้วพอภาวนาไป จิตมันสงบ เห็นว่าตัวเองตายไป พอเห็นตัวเองตายไปนะ ซากศพมันละลายไปหมดเลย แล้วก็คิดในใจนะ แล้วพรุ่งนี้ใครจะนึ่งข้าวใส่บาตรแทนเราล่ะ โอ๋ยมันคิดไปนู่นเลยนะ

ฉะนั้น พอถึงเวลาตอนเช้าตื่นมาทัน พอออกจากภาวนาก็มานึ่งข้าวใส่บาตรหลวงปู่มั่นท่านไปบิณฑบาตนะ บอกเด็กคนนี้เลย “เดี๋ยวตามไปวัด ไปวัดนะ ไปวัดกัน” ท่านเห็นมันภาวนาดีไง ท่านก็ไปสั่งสอน สั่งสอนก็ภาวนาดีใหญ่เลย สุดท้ายสุดท้ายท่านธุดงค์ต่อไปไง พอท่านจะธุดงค์ต่อไป ท่านบอกเด็กคนนี้ไง บอกแม่ชีแก้ว “อย่าภาวนานะ ถ้าเราไม่อยู่ อย่าภาวนา” ถ้าภาวนาแล้วท่านกลัวหลุด กลัวเสีย ท่านบอกต่อไปข้างหน้าจะมีคนมาแก้ไข

นี่พูดถึงเวลาถ้าภาวนาไปแล้วเราเห็นว่าร่างกายเราอยู่ในโลงศพ ร่างกายเราต่างๆ

เวลาถ้าเห็นอย่างไรแล้ว เราก็ต้องกลับมาที่ทำความสงบ แล้วถ้าจิตมันสงบแล้ว เราบริหารได้ เรารำพึงไปเห็นกาย มันก็จะเห็นกาย ถ้าเห็นกาย เราพิจารณาไปแล้วมันก็จะแปรสภาพของมันไป ถ้าแปรสภาพของมันไปแล้ว ผลของมันก็คือความสงบความร่มเย็น ความสงบร่มเย็นเสร็จแล้ว เวลามันคลายตัวออกมา เราก็กำหนดอีก กำหนดให้เห็นกายอีก ถ้ามันเห็น

ถ้าไม่เห็น เราจะทำอย่างไร กำหนดบางทีมันก็เห็น กำหนดบางทีมันก็ไม่เห็นกำหนดไม่เห็นแล้วเราจะพิจารณาต่อไป ก็พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมพิจารณาอย่างใดก็ได้ที่มันเกิดในปัจจุบัน นี่พูดถึงว่า ถ้ามันจะเป็นจริงนะ ถ้ามันเป็นไม่จริง มันก็เป็นจินตนาการ คำว่า “จินตนาการ” ก็ผ่านไป

ทีนี้เขาก็สวดมนต์ เขารู้เขาเห็นอย่างนี้

เราจะบอกว่า เขาสวดมนต์แล้วเขารู้เขาเห็น เขานั่งภาวนาอยู่ ถ้าคนเรานะเวลาไปนอนหลับแล้วฝัน นั่นอีกเรื่องหนึ่งนะ เวลาฝันก็ฝันเป็นเรื่องเป็นราวเป็นตุเป็นตะไปเลยนะ เป็นเรื่องเป็นราวเป็นตุเป็นตะคือเราบริหารไม่ได้ไง เพราะเราอยู่ในฝัน

แต่ถ้าเรานั่งภาวนา ถ้านั่งภาวนานะ ถ้าเราไม่รอบคอบ เวลาจิตมันเห็นของมันไป มันหมุนของมันไป เราก็ไม่ทันอีกน่ะ แต่ถ้าเราฝึกหัดจนจิตมันทัน พอจิตมันทันนะ พอมันจะเห็นสิ่งใด เราเห็นเอง เรารำพึงให้จิตไปเห็นเอง ให้เห็นกายเสียเอง แล้วพอเห็นเอง เห็นกายเอง อย่างที่เขาบอก อีกสองวันต่อมาที่เขาเห็นอีกแล้วพอเห็นอีกแล้ว เขากำหนดไฟเผา

กำหนดไฟเผาต่างๆ กำหนดให้มันแปรสภาพ ถ้าจิตมันมีกำลัง ถ้าจิตมันมีกำลัง มันจะแปรสภาพให้เห็น ถ้าจิตมันไม่มีกำลัง นึกให้มันแปรสภาพ มันไม่แปรมันเห็นภาพอยู่อย่างนั้นน่ะ มันแปรไปไม่ได้หรอก เพราะสิ่งที่มันจะแปรสภาพได้มันต้องมีกำลังของสมาธิ ถ้ามีกำลังของสมาธิ มันมีศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามันไม่มีสมาธิ ปัญญาที่มันเกิดขึ้น ปัญญาที่คาดการณ์ ปัญญาที่คาดหมาย มันให้เป็นผลอย่างที่เป็นไม่ได้เพราะมันขาดสมาธิ มันขาดกำลังของจิต

ถ้าจิตมันมีกำลังขึ้นมาแล้ว จิตมันมีกำลังอยู่แล้ว กำลัง เหมือนมีเงินอยู่แล้วเราจะบริหารจัดการใช้เงินอย่างไร ถ้ามีกำลังอยู่แล้ว พอเรารำพึงให้มันเป็นไปด้วยกำลังอันนั้น แล้วปัญญาที่เกิดจากกำลังอันนั้นมันจะแปรสภาพให้เห็นเลย ถ้ามันแปรสภาพให้เห็น มันจะเป็นข้อเท็จจริง มันมีกรอบของมัน สัจจะเป็นสัจจะ แต่เราทำได้มากได้น้อยแค่ไหนนั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ฉะนั้น สิ่งที่เขาทำ เราบอกว่า เวลาหลวงปู่มั่นท่านพูดไง “จิตนี้เป็นได้หลากหลายนัก” จิตนี้มันเป็นได้ทุกอย่าง จิตนี้มันเป็นได้ แต่ต้องมีสติมีปัญญา เราจะแก้ไขได้ จิตนี้เป็นได้ทุกอย่าง ถ้าเป็นดีก็เป็นดีมากๆ เลย แต่ถ้ามันเป็นที่เสีย เป็นที่ความเสียหาย เป็นที่มันจะทำแต่ผลเสีย มันยิ่งเสียหายมากมายเลย

แต่ถ้ามีสติมีปัญญามันจะรักษาตรงนี้ รักษาที่ว่าเราจะทำแต่สิ่งที่ดีๆ ทำสิ่งที่มันเป็นมรรคเป็นผล เราจะทำประโยชน์กับเรา เห็นไหม ถ้ามีสติมีปัญญา ถ้ามีสติปัญญา ให้ทำแบบนี้

หนูขอถามว่า การปฏิบัติของหนูถูกหรือไม่ และจะต้องแก้ไขอย่างไรเพื่อให้ถูกต้องในการประพฤติปฏิบัติ

สิ่งที่ทำมาแล้วเป็นอดีตแล้ว เป็นอดีต เป็นประสบการณ์ของเรา สิ่งที่ทำมาแล้วเป็นผลงานของเรา แล้วเราทำต่อไป ทำต่อไป สวดมนต์ก็ได้ ถ้าเขาสวดมนต์แล้วจิตมันสงบ หรือถ้าสวดมนต์แล้ว จิตสงบแล้วอยู่กับความสงบนั้น แล้วถ้าพอมันสงบแล้วทำอย่างไรต่อไป

กำหนดพุทโธหรือกำหนดลมหายใจ เพราะจิตมันสงบแล้วมันเป็นนามธรรมมันต้องมีสิ่งใดที่มันเกาะไว้ ถ้าไม่อย่างนั้นมันจะไหลลงไปทางอื่น เราก็กำหนดพุทโธไว้ กำหนดลมหายใจไว้ แล้วถ้ากำหนดแล้ว ถ้ามันสงบระงับเข้าไปจนละเอียดไปพักไว้ ถ้าคลายตัวออกมา ให้ระลึกถึงกาย ระลึกถึงกาย พิจารณาของมัน ถ้ามันเป็นไปได้จริง ถ้าเป็นได้จริงนะ มันจะทำต่อเนื่องได้ ถ้ามันเป็นไปไม่ได้จริงก็ส้มหล่น ส้มหล่นก็คือวาสนาของเรา มันเป็นการประกาศว่าเรามีอำนาจวาสนามา สิ่งนี้จะมาผุดขึ้นให้เห็น

คนเราประพฤติปฏิบัตินะ ถ้ามีวาสนานะ ธรรมมันจะเกิด เวลาธรรมเกิด สิ่งใดที่มันสงสัย สิ่งใดที่มันขุ่นข้องหมองใจ มันจะผุดขึ้นมาเป็นคำตอบ นี่เขาเรียกธรรมเกิด ไม่ใช่อริยสัจ

ถ้าเป็นอริยสัจนะ จิตมันต้องสงบ จิตมีกำลังของมัน แล้วจิตรำพึงขึ้นไปเห็นสติปัฏฐาน  แล้วจับ แล้วพิจารณาแยกแยะของมันไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป อันนั้นถึงจะเป็นอริยสัจ อันนั้นถึงจะเป็นมรรค

ถ้าเป็นมรรคคือการเราฝึกหัดใช้ปัญญา เราแยกแยะ เราใช้ปัญญา เราไตร่ตรอง นั่นล่ะคือมรรค แต่ถ้ามันเป็นโดยธรรมชาติ เป็นโดยที่ว่ามันเป็นเอง อันนี้มันเป็นนิมิต เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยบารมี ถ้าบารมีก็ส่วนหนึ่ง ความจริงก็เป็นส่วนหนึ่ง อันนี้พูดถึงทำต่อเนื่องไปนะ

ถ้าบอกว่า เวลาอ่านคำถามแล้ว เวลามันเป็นสิ่งที่น่าสนใจ จะบอกถูกหมดๆแต่จะบอกว่าถูกไหม ก็ถูก ถ้าไม่ถูก จะไม่มีคำถามมา ถ้ามันไม่ถูกคือมันไม่เกิดเหตุเกิดผล มันจะไม่เกิดคำถามมา

แต่เกิดคำถามมาแล้ว คำว่า “ถูก” คนที่ฟังส่วนใหญ่แล้ว พอถูกแล้วมันจะชื่นใจ พอถูกแล้วมันจะเหมือนกับว่าวเชือกขาด มันบอกถูกแล้วก็คือจบไง แต่ความจริงคำว่า “ถูก” คือปฏิบัติมาถูก คือทำมาถูก แต่ต้องทำต่อเนื่องไป มันต้องถูกมากขึ้นไปกว่านี้ มันต้องพัฒนาขึ้นไปดีกว่านี้ไง

ถ้าพัฒนาไปดีกว่านี้ มันก็เหมือนคนทำงานเป็น คนขับรถเป็น คนขับรถเป็นรถจะเสียเมื่อไหร่ก็ให้มันเถอะ จะซ่อมให้ ถ้าคนขับรถไม่เป็นขับไปแล้วนะ พอรถมันเสียก็นั่งเฝ้า ไปไม่เป็น แต่ถ้าคนมันเป็นนะ รถจะเสีย อะไรจะมีปัญหา ซ่อมหมด ซ่อมเสร็จ ไปต่อ ซ่อมเสร็จ ไปต่อ ซ่อมเสร็จ ไปต่อ ถ้าเป็นนะ ถ้าเป็นแล้วไม่วิตกกังวล อะไรจะเสีย เสียเลยๆ อะไรจะเสียก็ได้ ซ่อม อะไรจะเสียก็ได้ ซ่อม ซ่อมเสร็จแล้วไปต่อ ไปเรื่อยๆ ไปจนถึงเป้าหมาย ถ้าถึงเป้าหมาย มันจะเป็นสันทิฏฐิโกมันจะประกาศกลางหัวใจ

นี่บอกว่า สิ่งนี้เป็นไปได้ไหม เป็นไปได้ ถ้าเป็นไปได้นะ ถ้าเป็นไปได้แล้วให้ทำต่อไป ทำอย่างไรให้มันสงบ ฉะนั้น สิ่งที่ทำได้

เขาก็แบบมันมีสติ ดีอย่างหนึ่งนะ เพราะเขากำหนดจิตของเขาไปที่โลงศพนั้นเพ่งให้เป็นไฟเผา ก็ได้ เพ่งให้เป็นไฟเผา มีกำลังนะ ถ้าไม่มีกำลัง เพ่งให้เป็นไฟเผา ไฟก็ไม่เกิดขึ้น ซากศพก็จะอยู่อย่างนั้น แต่ถ้ามีกำลังนะ เพ่งให้ไฟเผา ไฟก็จะเกิดขึ้น ถ้าไฟเพ่งเผาเสร็จแล้วจะให้มันกลายสภาพเป็นดิน นึกให้เป็นดิน เป็นสภาพของธรรมชาติ ดินมันจะกลบพับเข้าไปทันที ถ้าคนมีกำลัง แล้วผลของมันคือผงะเลย ผลของมันคือเห็นสัจจะ

พอเห็นสัจจะแล้ว คนถามนี่ คนถามเวลามันเห็นอย่างนั้น ความรู้สึกเป็นอย่างไร โอ้โฮความรู้สึกนี้สว่างโพลงเลย สะอึกเลยนะ แต่มันไม่ก้าวต่อเนื่องไปไง มันสว่างโพลง แต่มันไม่ปล่อย ถ้ามันปล่อย มันก็ต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ นี่อริยสัจเขาปฏิบัติกันแบบนี้

นี่พูดถึงว่า การสวดมนต์แล้วเห็นร่างกายตนเองในโลงศพ ถูกไหม

ถูก ถูกเพราะว่ามันรู้มันเห็นอย่างนั้น

แล้วทำอย่างไรต่อไป ทำอย่างไรต่อไป

ก็สวดมนต์ต่อไป สวดมนต์เพื่อบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถ้าจิตมันสงบก็ฝึกหัด ฝึกหัดมันจะมีแนวทางต่างๆ มันไม่ใช่ครั้งนี้ มันเป็นปัจจุบันใช่ไหม ครั้งนี้เป็นอย่างนี้ ครั้งต่อไปก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เป็นแบบนี้ตลอดไปถ้าเป็นอย่างนี้ตลอดไปมันเป็นความจำ มันจะเป็นความสดๆ ร้อนๆ ตลอด สดๆร้อนๆ ตลอด ก็แบบว่ากิเลสมันไม่ทัน ธรรมะมันจัดการได้เรียบร้อย เรียบร้อยแล้วมันสรุปลง สรุปลงเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป

เวลาถามหลวงตา หลวงตาถึงบอกให้ทำซ้ำๆ

ทำปฏิบัติอย่างนี้มาถูกหรือไม่

ถูก

แล้วทำอย่างไรต่อไปคะ

ก็ทำเหมือนเดิมนั่นแหละ ซ้ำลงไปอีก ซ้ำลงไปอีก” หลวงตาจะสอนอย่างนี้

ไอ้คนฟังก็ ถ้าซ้ำไปอีก หลวงตาก็ไม่ได้สอนอะไรเลยน่ะสิ มันจะเอาอาวุธใหม่เอาอาวุธใหม่ เดี๋ยวมันก็ใช้ไม่ได้ผลไง ไอ้ที่ทำได้ผลนั่นน่ะ ซ้ำลงไปๆ หลวงตาท่านเน้นตรงนั้นเลย นั่นจะเป็นประโยชน์ตรงนั้นนะ จบ

ถาม : เรื่อง “ศีลไม่ควร บอกภาวนาได้ไหม

กราบนมัสการท่านอาจารย์ที่เคารพ มีญาติธรรมท่านหนึ่งที่ท่านเคยเป็นลูกศิษย์วัดหนึ่ง ท่านได้ฝากคำถามมาเจ้าค่ะว่า การทำสมาธิภาวนา ศีลต้องบริสุทธิ์ยาวนาน แถมยังมีข้อปลีกย่อยละเอียดมากมายจนคนที่เรียนมาจากที่นั่นฝังใจกันเลย ส่วนลูก พอได้เลิกยุ่งกับอาจารย์ท่านนี้แล้วจึงมาหาหลวงพ่อ และภาวนาตามที่หลวงพ่อสอน

ต่อมามีญาติธรรมท่านนี้ท่านมาถามลูกว่า “อ้าวกล้าภาวนาหรือ เพราะศีลไม่บริสุทธิ์ ไปภาวนาเดี๋ยวจะบ้า จะตาย แล้วไปตกนรก

ลูกบอกเขาว่า ให้ไปถามหลวงพ่อสิ แล้วจะพบหนทางที่ปฏิบัติที่ทำให้เราภาวนาได้ เขาเลยฝากลูกมาให้ถามค่ะ เพราะเขาเข้าทางเว็บไซต์ไม่เป็นเจ้าค่ะกราบนมัสการ

ตอบ : อันนี้พูดถึงความเห็นต่างๆ ของเขา ความเห็นต่างๆ ของเขา พูดถึงเวลาที่ประพฤติปฏิบัติ เราอยู่กับครูบาอาจารย์มานะ ท่านประพฤติปฏิบัติมาตั้งแต่ต้น เราก็แสวงหาเหมือนกัน พอแสวงหาก็ไปหาครูบาอาจารย์ที่สอน เขามีพรรษามากกว่าเรา เขาเป็นครูบาอาจารย์มาก่อน เขาก็สอนเรา เราก็ศึกษากับเขา ยิ่งศึกษายิ่งโง่ ยิ่งศึกษายิ่งไม่เข้าใจ ยิ่งศึกษายิ่งเคว้งคว้าง จนปฏิบัติไปจับต้นชนปลายไม่ถูก ถามว่าไปไหนมา เขาตอบสามวาสองศอก ถามอย่างหนึ่ง ตอบอย่างหนึ่ง เพราะเขาไม่มีความรู้จริงไง

แต่เวลาพอเราไปเจอหลวงปู่จวน ผัวะทีเดียวอยู่เลย แล้วพอมาอยู่กับครูบาอาจารย์ มาอยู่กับหลวงตา ครูบาอาจารย์ของเรา มันยิ่งซาบซึ้งใหญ่ ซาบซึ้งเพราะอะไร เพราะอยู่กับหลวงตา หลวงปู่เจี๊ยะ เวลาท่านบอกว่า กรรมฐานเรา เราถามคำเดียว ถามคำเดียว ตอบคำเดียว มันชัดเจน ไม่ใช่เยิ่นเย้อ โอ้โฮอธิบายเป็นคุ้งเป็นแควแล้วไม่ได้น้ำได้เนื้อเลย ครูบาอาจารย์เราตอบคำเดียวน่ะ

ฉะนั้น เวลาเอาจริงเอาจังขึ้นมา ครูบาอาจารย์ของเราท่านจะให้ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจสงบแล้ว เวลาพิจารณาไปแล้ว พิจารณาได้หรือไม่ได้ ท่านจะสอนให้ เห็นไหม เวลาเริ่มต้นพิจารณาไปได้ หลวงตาท่านจะบอกว่า “หัดใช้ปัญญาวิปัสสนาอ่อนๆ” หลวงตาท่านใช้คำนี้

เรา เราเริ่มต้นเราหัดใช้วิปัสสนาอ่อนๆ คือเราฝึกหัดให้เป็นน่ะ เหมือนกล้าไม้ต้นไม้อ่อนๆ เราถนอมมัน ปลูกมัน ทะนุถนอมขึ้นมา เดี๋ยวมันก็เข้มแข็งขึ้นมา

แต่มันไม่มีหน่อเลย ไม่มีการฝึกหัดเลย แล้วมันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไรล่ะ มันเกิดขึ้นไม่ได้ก็ภาวนากันหมุนวนกันอยู่อย่างนั้นน่ะ ภาวนาเป็นธุรกิจไง เป็นธุรกิจการภาวนา ให้ภาวนากันเป็นแชร์ลูกโซ่ ให้ภาวนากันเป็นคุ้งเป็นแคว นี่ไง นี่เวลาเขาสอน เขาสอนอย่างนั้นไง แล้วเวลาจะประพฤติปฏิบัติเขาบอกว่า ศีลไม่บริสุทธิ์จะภาวนาได้หรือ

คำพูดอย่างนี้กิเลสมันไชโยโห่ร้องเลย ไชโยกิเลสมันไชโยโห่ร้องเลยนะเพราะอะไร เพราะศีลเราไม่บริสุทธิ์ก็ไม่ต้องปฏิบัติไง ก็ศีลเรายังไม่ดีก็ไม่ต้องปฏิบัตินะ กิเลสมันไชโยโห่ร้องเลย นี่เข้าทางกิเลสหมดเลย “ไม่ต้องปฏิบัติ ปฏิบัติไม่ได้ ไม่มีศีล พวกนี้ไม่มีศีล นั่งอยู่นี่ไม่มีศีลสักคนหนึ่ง” เพราะอะไร เขาบอกต้องให้ศีลบริสุทธิ์ยาวนาน ถ้าศีลบริสุทธิ์ยาวนานแล้วถึงจะปฏิบัติได้

โอ้โฮกิเลสมันคึกคัก กิเลสไชโยโห่ร้อง กองทัพกิเลสสะดวกสบายมากเพราะพวกนี้ไม่ปฏิบัติแล้ว เพราะอะไร เพราะเขาศีลไม่บริสุทธิ์ไง แล้วศีลเขาไม่มีมายาวนานแล้ว...นี่หรือ นี่หรือครูบาอาจารย์ กิเลสมันยิ้มน่ะ

เวลาครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม ทำอย่างไรก็แล้วแต่ หลวงตาท่านจะเทศน์ประจำ “เอ็งจะทำบุญกุศลมามากน้อยขนาดไหน ถ้าจะพ้นกิเลสต้องภาวนา” หลวงตาจะพูดอย่างนี้ประจำ จะทำทานมามากน้อยขนาดไหนก็เหมือนเราสร้างเขื่อนไว้ กั้นน้ำนั้นไว้เท่านั้น ถ้าเราจะใช้น้ำนั้น เราก็ต้องเอามาใช้ประโยชน์ ถ้าจะพ้นจากกิเลสต้องการภาวนา

ฉะนั้น เวลาไปไหน ไปทำบุญกับหลวงตา หลวงตาบอกเลย เวลามาหาหลวงตา “รถนี่มาเปล่าๆ ไม่มีพุทโธเลย ขากลับให้ทุกพุทโธให้เต็มไปเลยนะ คันไหนมาก็แล้วแต่ ให้บรรทุกพุทโธให้เต็มคันไปทุกคันนะ ให้พุทโธๆ

ท่านจะสอนให้ภาวนาทั้งนั้นน่ะ แล้วเอ็งคิดดูสิ ประชาชนขับรถมาเปล่าๆ เอ็งมีศีลหรือ แล้วเอ็งกลับเอ็งจะทุกพุทโธไปได้หรือเปล่า

หลวงตาท่านบอกเลย “เวลามานี่มารถเปล่าๆ นะ เวลาขากลับให้ทุกพุทโธไปด้วย” ทุกพุทโธไปภาวนาด้วยไง พุทโธๆ

ฝึกหัดเถอะ เด็กน้อยหรือว่าผู้ฝึกหัดใหม่ ขอให้ฝึกเถอะ เป็นไม่เป็นนะ การฝึกหัดเดี๋ยวเรามาแก้ไขกันเอาเอง

นี่ก็เหมือนกัน เวลาศีลนะ ศีล  หลวงปู่ฝั้นท่านสอนไว้ “ศีล  คือศีรษะ แขน  ข้าง เท้า  ข้าง คือศีล ” คนเกิดมามีศีล  ตั้งแต่เกิด เพราะมี  ศีรษะมีแขน  ข้าง มีเท้า  ข้าง ศีล 

ศีล  มันสมบูรณ์ ศีล  มันสมบูรณ์นะ ศีลมันคืออะไร ศีลมันเกิดจากอาราธนาศีล โทษนะ เราจะบอกว่าดัดจริต ศีลดัดจริต ศีลดัดจริตต้อง “มยํ ภนฺเตวิสุงฺ วิสุงฺ” ขอมันอยู่เรื่อย ศีลดัดจริต ต้องขอเอา แต่ถ้าเป็นศีลโดยธรรมชาตินะวิรัติเอา นึกอยากถือศีล นึกเลย นี้ศีลบริสุทธิ์ วิรัติศีล อธิศีล

ฉะนั้น มันเป็นศาสนพิธีไง เวลาขยับทีหนึ่งก็มยํ ภนฺเต ขยับทีก็มยํ ภนฺเต ถ้าไม่มยํ ภนฺเต มันก็ไม่มีกิจกรรม พอมีกิจกรรมก็มยํ ภนฺเต มยํ ภนฺเต ขยับก็มยํ ภนฺเตแล้ว แล้วมยํ ภนฺเตนะ หลวงตาท่านบอกไง เอ็งขอศีล แล้วก็ได้ศูนย์ เพราะขอแล้วมึงไม่ทำ ขอศีล  แล้วไม่เคยทำเลย ขอศีล  ได้ศูนย์ ขอศีล  ศูนย์สองตัวไม่ได้ทำเลย

แต่ถ้าวิรัติ คนเรามันทุกข์มันยากขึ้นมา ทำไมมันทุกข์มันยากขนาดนี้พระพุทธเจ้าสอนให้มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา เราจะรักษาศีลของเรา ถ้าเรารักษาศีลของเรานะ เราวิรัติของเราขึ้นมา นี่ศีลโดยปกติของมัน

ศีล จากอาราธนาศีล วิรัติศีล อธิศีล อธิศีลคือศีลที่มันบริสุทธิ์ผุดผ่อง ศีลของพระอริยเจ้า มันเป็นศีลโดยธรรมชาติ มันมีศีลของมันอยู่แล้ว นี่พูดถึงศีลนะ

แล้วบอกว่า ถ้าไม่มีศีล เวลาไปประพฤติปฏิบัติเดี๋ยวตกนรก

ถ้านรก เอาไฟไปเผามันสิ ถ้านามันรกนะ เราก็แค่เอามาเผามันซะ นามันจะได้ไม่รก ตกนรกหรือไม่ตกนรกนี่นะ ทำดีทำชั่ว คนกระทำนั้นน่ะมันเป็นปัจจัตตังทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คนทำชั่วมันก็ต้องเป็นความชั่ว

ไอ้นี่เราจะไปภาวนาแล้วบอกจะตกนรก มาพูดได้อย่างไร คน ดูสิ “ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ไปภาวนาเดี๋ยวจะบ้า ตายไปแล้วจะตกนรก

คนทำดีจะตกนรกหรือ คนเรารู้จักหัวใจของตน คนเราทำความสะอาดหัวใจของตน คนเราดูแลรักษาใจของตน ใจของตนเอามาทะนุถนอม ใจของตนเอามาดูแลรักษา คนคนนั้นจะตกนรกหรือ

ไอ้คนที่มันทิ้งมันขว้าง ไอ้คนที่มันไม่ดูแลใจของมันสิ ไอ้คนที่ทำอีลุ่ยฉุยแฉกทำลายหัวใจของตน ไอ้นั่นน่ะตกนรก ไอ้คนเราพุทโธ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ไอ้คนที่มาภาวนารักษาใจของตน คนอย่างนี้หรือจะตกนรก

ถ้าพูดอย่างนี้นะ แสดงว่าคนไม่ให้ทำอะไรเลย จะรอให้ศีลสะอาดบริสุทธิ์นะโอ้โฮอย่างนี้ เวลาพูดถึงสังคมของเขา เวลาสังคมของเขา เขาสอนกันมาอย่างนี้คนเขาก็เชื่อถือศรัทธากันไปนะ นี่ขนาดชาวพุทธด้วยกันนะ เวลาชาวพุทธด้วยกันทัศนคติยังแตกต่างกันขนาดนี้ แล้วบอกว่าศีลของเขาต้องบริสุทธิ์มายาวนาน แล้วยังมีข้อปลีกย่อยอีกมหาศาลเลย

แล้วเวลาครูบาอาจารย์ท่านสอน สอนให้พวกเราปฏิบัติๆ สอนให้เราปฏิบัติแล้วสอนอย่างไรล่ะ จะสอนให้พวกเราปฏิบัตินี่ โอ๋ยสอนให้เราปฏิบัติ เราปฏิบัตินะ เราก็มีศรัทธาความเชื่อใช่ไหม ถ้ามีศรัทธาความเชื่อ เด็กเล็กเด็กน้อยถ้ามันปฏิบัตินะ เด็กน้อยๆ มันยังไม่มีประสบการณ์ในสมองนะ มันทำความสงบได้ง่ายนะ

ไอ้พวกเรานี่นะ ในสมองผ่านชีวิตมามาก สงสัยเยอะมาก ปัญญาเยอะมากเวลาทำความสงบ โอ้โฮเกือบเป็นเกือบตาย นู่นก็รู้ นี่ก็รู้แล้ว รู้หมดเลย แต่ก็สงบไม่ได้เหมือนกัน รู้ทุกเรื่อง ยิ่งวิธีการปฏิบัตินี่รู้หมดเลย ยิ่งจะเอาสายไหนนะโอ้โฮศึกษามาหมดเลย อาจารย์องค์ไหนสอนก็รู้ อ้าปากจะบอกรู้เลย แต่ไม่เคยทำความสงบของใจได้สักที นี่ไง ถ้าเวลามันไม่ได้ ขนาดเราจะปฏิบัติมันยังยุ่งยากขนาดนี้เลย

ไอ้นี่ยังบอก “อู้ฮูต้องถือศีลมาบริสุทธิ์ยาวไกล ถ้าถือศีลบริสุทธิ์ไม่ยาวไกลเดี๋ยวปฏิบัติไปแล้วมันจะบ้า เดี๋ยวปฏิบัติแล้วมันจะตกนรก”...มันตรงข้าม

คนทำดีต้องได้ดี ปฏิบัติบูชา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ “อานนท์ เธอบอกเขานะ ให้ปฏิบัติบูชาเราเถิด” คำว่า “ปฏิบัติบูชา” ถ้ามันปฏิบัติแล้วเกิดเป็นสมาธิขึ้นมา เกิดมีปัญญาขึ้นมา นั่นน่ะเห็นพุทธะในหัวใจเลยน่ะ “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” เขาจะเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตัวเป็นๆ ในใจของเขาเลย เขาจะมีพุทธะ มีพระพุทธเจ้าสถิตอยู่กลางใจเขาเลย เขาจะเคารพพระพุทธเจ้าด้วยหัวใจของเขาเลย นี่ไง “เธอปฏิบัติบูชาเถิด

แล้วเราปฏิบัติบูชา จะต้องถือศีล...ถือศีลคือการแบ่งแยก

ถือศีลสะอาดบริสุทธิ์ ถือศีลจริงๆ แล้วไม่ใช่แบ่งแยก ถือศีลคือความสะอาดบริสุทธิ์ เวลาส่วนตัวของเรา ไอ้นี่บอกว่า “ต้องถือศีลสะอาดบริสุทธิ์มายาวนาน ถ้าไม่อย่างนั้นมันจะเป็นบ้าเป็นบอ

คำว่า “เป็นบ้าเป็นบอ” มันเป็นเพราะกรรมเก่า กรรมเก่าของคนนะ คนเรามันมีจริตนิสัย คนเรา คนกลัวผีไปเที่ยวที่มืดกลัวหมดน่ะ คนขี้ตกใจไปโดนอะไรมันก็ตกใจหมดน่ะ คนเรามันมีความฝังใจอยู่ แล้วพอมันตกใจ ไอ้ความที่ว่าภาวนาแล้วมันจะเป็นบ้าหรือว่ามันจะหลุดบ้าง เราก็เห็นมา เราก็เห็น ไอ้กรณีนี้มันก็เป็นเวรเป็นกรรมของคน ถ้าเวรกรรมของคนเขาก็ต้องแก้ไขใช่ไหม

ในสังคมโลก เวลาคนเขาเจ็บไข้ได้ป่วย คนจิตถ้ามีปัญหา เขาก็พาไปหาจิตแพทย์ จิตแพทย์เขาก็แก้ไข เพราะในสังคมของโลก เวลาเกิดมา เราเกิดมาเราเผชิญกับปัจจุบันนี้ ชีวิตของเรามันก็ลุ่มๆ ดอนๆ ทั้งนั้นน่ะ มันต้องมีปัญหาทั้งนั้นน่ะ ใครมีปัญหาก็ไปแก้ไข ก็ไปรักษา แต่โอกาสที่ปฏิบัติ โอกาสที่เป็นคนดีไงโอกาสของคนที่จะพัฒนาการ โอกาสคนปฏิบัติ มันต้องเอาตรงนี้

ฉะนั้น เราอยู่กับครูบาอาจารย์มา หลวงตาท่านทั้งยุ ทั้งพยายามส่งเสริมพยายามให้ภาวนาๆ นะ เวลาโครงการช่วยชาติฯ ท่านบอกโครงการช่วยชาติฯไอ้เรื่องเงินปัจจัยเครื่องอาศัยกับประเทศชาตินี่ส่วนหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญ สำคัญคือธรรมได้ออก ธรรมได้ออกคือให้เขารู้จักธรรมะ ให้คนได้รู้จักประพฤติปฏิบัติ อันนี้สำคัญกว่า ฉะนั้น สิ่งที่สำคัญกว่า

สิ่งที่เขาสอน เรื่องของเขา ถ้าเขาว่าจะตกนรก

ไอ้ไปเชื่ออย่างนั้นมันก็เป็นนรกในใจ เวลาเป็นนรกในใจ เวลาของเขา เวลาไม่ให้ประพฤติปฏิบัติ แล้วก็เที่ยวไปดูแลไปจับผิดคนอื่น มันไประรานคนอื่นไง

เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเขาให้ระรานกิเลสของเรานะ เวลากิเลสของเรา เราต้องระรานมัน เราต้องปราบมันให้มันจบสิ้น

ไอ้นี่ตัวเองบอกว่า ปฏิบัติไม่ได้เพราะศีลไม่บริสุทธิ์ยาวนาน แล้วก็เที่ยวไปชี้ผิดชี้ถูก ไประรานคนอื่น ไประรานเขาทั่ว เวลาไประรานคนอื่นน่ะเป็นคุณงามความดี

เวลาครูบาอาจารย์ของเราสอนให้ระรานกิเลสของตน ให้พยายามรักษาหัวใจของตน

เดี๋ยวตกนรกนะ เดี๋ยวตกนรก” แต่เวลาไประรานคนอื่นน่ะเป็นบุญกุศลขึ้นมาทันทีเชียว เวลาไประรานเขานี่เป็นบุญเป็นกุศล เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมากลายเป็นตกนรก...เออมันก็แปลกเนาะ

นี่เป็นมุมมองไง มุมมองของเรา มุมมองของเรา เราอยู่กับครูบาอาจารย์มาแล้วครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนมาอย่างไร ท่านปฏิบัติมาก็เห็นๆ อยู่ ถ้าเห็นอยู่แล้วแล้วเวลาปฏิบัตินะ สังคมของท่านร่มเย็นเป็นสุขนะ สังคมของท่านจะมีปัญหาต่อเมื่อท่านออกมาช่วยโลก ช่วยโลก โลกสังคมมันใหญ่ ท่านบอกเลย ถังขยะ ท่านต้องลงไปคลุกกับถังขยะ

ถังขยะคือเรื่องของโลกไง เรื่องของสังคมไง มันมีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกันไง แล้วท่านต้องมาช่วยเหลือเจือจาน ท่านต้องลงมา แต่เวลาถ้าไม่อย่างนั้นท่านหลบหลีกของท่าน ศีลท่านบริสุทธิ์ ท่านเป็นอธิศีลของท่านอยู่แล้ว ท่านอยู่ที่ไหนก็มีความสุขของท่าน แล้วคนที่มีความสุข คนที่หูตาสว่างไสวอย่างนั้นแล้วมาสอนพวกเรา “เวลามานะ รถมันพุทโธเปล่า ก็หัวใจเราเปล่าๆ เวลาไปวัดไปวา หัวใจทุกข์ไปทั้งนั้นน่ะ เวลากลับบรรทุกให้มันเต็มเลยนะ พุทโธให้เต็มหัวใจไปเลยนะ” ท่านยุท่านส่งเสริมให้ปฏิบัติตลอด ครูบาอาจารย์ท่านให้ปฏิบัติตลอด

ไอ้นี่ว่าศีลไม่บริสุทธิ์

คำถาม เราเห็นแล้วตกใจเลยนะ ก็ไม่คิดว่าเขาจะสอนอย่างนี้ ถ้าเขาสอนอย่างนี้นะ โอ้โฮกิเลสมันโชไยโห่ร้องเลย กิเลสมันปลื้มใจ ไอ้เราก็อืมไอ้นี่ครูบาอาจารย์สอนหรือ เออครูบาอาจารย์สอนอย่างนี้ก็ได้เนาะ แล้วอย่างนี้ไม่ปฏิบัติ แล้วรอศีลบริสุทธิ์ แล้วเมื่อไหร่มันจะบริสุทธิ์ล่ะ แล้วต้องยาวนานด้วยนะบริสุทธิ์วันนี้ไม่ได้ ศีลบริสุทธิ์ต้องยาวนานอีกด้วย ยังมีข้อปลีกย่อยไปอีกเยอะ

เราจะบอกว่า คนเราถ้าไม่มีคุณธรรมในใจมันไม่รู้ว่าคุณธรรมเป็นอย่างไรไงถ้าไม่รู้ว่าคุณธรรมเป็นอย่างไรแล้วก็แอบอ้าง ไปไหนก็ต้องเป็นพระพุทธศาสนาไปไหนก็เป็นลูกศิษย์ครูบาอาจารย์

ลูกศิษย์ครูบาอาจารย์มันก็ต้องเทียบไป เทียบไปที่หลวงปู่มั่นสอน เทียบไปที่หลวงปู่มั่นสอนเลย นี่ก็เหมือนกัน เวลาใครอ้างครูบาอาจารย์องค์ใดก็เทียบว่าอาจารย์เขาสอนอย่างไร แล้วอาจารย์เขาสอนอย่างไร แล้วลูกศิษย์สอนอย่างไรลูกศิษย์เวลาอ้างอาจารย์นะ แต่สอนไปไหนมา สามวาสองศอกเลย

ไอ้นี่พูดถึงฟังอย่างนี้ไว้ แล้วเอาหลักนี้เป็นบรรทัดฐาน พระพุทธเจ้าสอนเรื่องกาลามสูตร ไม่ให้เชื่อว่าอาจารย์ของเรา ไม่ให้เชื่อว่าสังคมใด ไม่ให้เชื่อ ให้เทียบเคียงดูก่อน ให้เทียบเคียงในหมู่กรรมฐาน ในหมู่ครูบาอาจารย์เรา ฟังแล้วอย่าเพิ่งเชื่อ แม้แต่ไอ้หงบพูดอยู่นี่ก็อย่าเชื่อ ฟังแล้วเอาไปคิดพิจารณาของเราก่อน อย่าเพิ่งเชื่อนะ

นี่พูดถึงว่า เสียใจ โอ้โฮเขามีแต่พยายามจะให้คนแข็งแรง ให้คนปฏิบัติ

ไอ้นี่บอกว่าห้ามปฏิบัตินะ เดี๋ยวบ้า โอ้โฮก็ดีน่ะสิ ไม่ปฏิบัติจะได้นอนกินอยู่นี่ไง เช้าขึ้นมาก็อุดมสมบูรณ์ แล้วเขายังห้ามปฏิบัติ เดี๋ยวจะรอกินวันพรุ่งนี้ไง พรุ่งนี้ต้องให้ดีกว่านี้นะ

แต่ภาคปฏิบัตินะ กินเพื่อดำรงชีวิต แล้วพยายามฝึกฝนขึ้นมาให้เกิดคุณธรรมในใจ ถ้าเป็นคุณธรรมในใจมันจะเป็นประโยชน์กับเรา

นี่ถามคำถามสดเนาะ

ถาม : นั่งภาวนาแล้วเห็นนิมิตมาก แต่แก้ด้วยการเพ่งเข้าไปที่หัวใจ นิมิตก็หาย เมื่อเผลอก็มีนิมิตอีก การเพ่งดูหัวใจ แต่ไม่สามารถผลักดันหรือโน้มนึกให้จิตเข้าไปในกลางหน้าอกหรือหัวใจได้ เห็นเป็นจุดเล็กๆ อยู่ภายนอก การภาวนาอยู่สักครู่หนึ่ง จะไม่รู้ว่าหายใจเข้าหรือออก จิตจะนิ่งอยู่เสมอ

จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดเมตตาชี้แนะ ขณะนี้อายุ ๖๐ แล้ว แล้วเกรงว่าจะปฏิบัติไม่ถูกต้องและล่าช้าไม่ทันการณ์ อนึ่ง มีผู้เพ่งเข้าไปในหัวใจของตัวเอง ทำครั้งแรกๆ เหตุใดจึงปวด

ตอบ : มันไม่ใช่เพ่งเข้าไปในหัวใจ เวลาเรากำหนดใช่ไหม กำหนดที่ปลายจมูก กำหนดที่ปลายจมูก เวลาจิตมันสงบ ถ้าจิตมันสงบนะ มันสงบ จิตมันสงบลมหายใจมันจะละเอียดขึ้น ถ้ากำหนดพุทโธ พุทโธมันจะละเอียดขึ้น

แล้วถ้าจิตมันสงบที่ไหน เวลาสงบ เวลาหลวงตาท่านบอกว่า ถ้าจิตมันสงบนะมันจะมาอยู่ที่กลางหัวอก ที่กลางหัวอกแล้วเราก็คิดว่าเราจะเพ่งไปที่กลางหัวอก

เราไม่ต้องเพ่งไปที่กลางหัวอก ถ้าจิตสงบคือตัวของจิตมันสงบไง ต้องการจิตสงบ จิตสงบคือจิตที่เป็นเอกเทศ จิตที่เอกเทศ จิตที่มันอิสระ มันไม่พาดพิงอารมณ์ความรู้สึกใดๆ ทั้งสิ้น

ไอ้นี่เราเพ่ง โอ้โฮมันออกมา  ชั้น  ชั้น ตัวจิตเอง ตัวเพ่งอีกตัวหนึ่ง ตัวเพ่งคือตัวกสิณไง แล้วตัวเพ่ง เพ่งไปมันก็เครียด มันก็ตึงเครียด

เราไม่ต้องเพ่ง เรากำหนดเอาตำแหน่งที่รู้ไง เอาที่ปลายจมูก กำหนดลมหายใจที่ปลายจมูก ถ้ามันละเอียดขึ้นมา ลมหายใจมันจะละเอียด แต่ถ้ามันกำหนดพุทโธๆ ก็จะละเอียด ละเอียดก็ส่วนละเอียด ถ้าสติมันสมบูรณ์แล้ว อยู่ตรงไหนก็ได้

ทีนี้คำว่า “เพ่งไปที่หน้าอก” เพ่งไปที่หน้าอกแล้วมันเข้าไปจุกในหน้าอก ทำไมต้องไปเพ่ง ไปเพ่งทำไม เราไม่ต้องเพ่ง เรากำหนดไว้ที่ไหน กำหนดไว้ที่ใดที่หนึ่ง

คำว่า “เพ่ง” มันก็ไม่ได้กำหนดพุทโธแล้ว เพราะมันมาเพ่ง แล้วถ้าเวลากำหนดลมหายใจมันก็ไม่กำหนด เพราะมันเพ่ง ถ้าเราเพ่งปั๊บ ลมหายใจจะหายไป กำหนดพุทโธ พุทโธก็จะหายไป มันเป็นการเพ่ง ถ้าเพ่งก็คือการเพ่ง แล้วเพ่งแล้วมันเจ็บหน้าอก เราไม่ได้เอาตรงนั้นนี่ ไอ้นี่มันแบบว่าจะเอาสมาธิเป็นตัวเป็นตนไง จะเอาสมาธิเป็นรูปเป็นธรรมขึ้นมา สมาธิจะเป็นอย่างนี้ แล้วก็ต้ององค์กรมันเป็นอย่างนี้ ต้องสร้างให้เป็นอย่างนี้ แต่ความจริงมันไม่ใช่ สมาธิมันเกิดขึ้นกลางหัวใจ

สมาธิมันเกิดขึ้นกลางหัวใจ เรากำหนดพุทโธๆ สมาธิตัวมันละเอียดขึ้น กำหนดพุทโธจนพุทโธไม่ได้ ตัวมันเป็นพุทโธเสียเอง กำหนดลมหายใจจนลมหายใจละเอียดเข้าไป จนลมหายใจมันขาดหายไป จนเป็นธรรมชาติที่รู้ขึ้นมาเสียเองธรรมชาติที่รู้คือตัวเนื้อจิต ตัวเนื้อ ตัวสัมมาสมาธิ เราที่ทำสมาธิ ทำสมาธิเพื่อเหตุนี้ไง ถ้าเป็นสมาธิแล้ว สมาธิมันสมบูรณ์ของมันแล้ว เราถึงรำพึงไปเห็นสติปัฏฐาน ถ้าเห็นสติปัฏฐาน  ความรู้ความเห็นอันนั้นมันจะเกิดฝึกหัดใช้ปัญญา

อันนี้เป็นความเข้าใจไง ความเข้าใจว่า ถ้าสมาธิมันอยู่ที่กลางหัวใจ เราก็จะเพ่งกลางหัวใจเลย มันก็เอาแสงเลเซอร์ยิงไปกลางหัวใจเลย แล้วก็เกาะตรงนั้นไว้จะเป็นสมาธิ มันก็ไม่เป็น เอาแสงเลเซอร์ยิงเข้าไปเลยนะ แล้วกูกอดแสงเลเซอร์ไว้กูไม่ไปไหน มันก็ไม่เป็นสมาธิ เพราะความคิดของเราไง

แต่ถ้ามันเป็น มันเป็นในตัวของมัน ในตัวของจิตมันเป็น พอในตัวของจิตมันเป็น เวลามันคลายตัวออก คนเป็นสมาธิจะรู้ว่าเป็นสมาธินะ สมาธิเป็นเอกเทศเป็นอิสระ เวลาคลายออกมาก็รับรู้ไง รับรู้ถึงผิวหนัง รับรู้ถึง ถ้าเป็นสมาธิจริงๆเสียงจะดับหมด ทุกอย่างจะดับหมด ถ้าสมาธิที่ลึกซึ้งนะ ถ้าสมาธิที่เป็นสมาธิ แต่มันไม่ดับ นั่นน่ะอุปจาระ นั่นมันใช้บริหารได้ สมาธิเป็นสมาธิ

ฉะนั้น เราจะบอกว่า ผู้ถามไม่ต้องวิตกกังวล ไม่ต้องวิตกกังวลว่าเราจะเพ่งอย่างไร เราจะทำอย่างไรให้มันเป็นขึ้นมา มันเหมือนกับเราจะไปสร้าง สร้างอะไรเป็นขึ้นมาอีกชิ้นหนึ่งไง แต่นี้เราไม่ต้องไปสร้างสิ่งใดขึ้นมาเป็นอีกชิ้นหนึ่ง มันต้องเป็นในตัวมันเองไง ถ้าเป็นตัวมันเอง ตัวมันเองก็คือตัวใจเราไง ตัวใจเราที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ แล้วตัวใจของเราเป็นสมาธิ มันก็เป็นสมาธิไง ไอ้นี่ตัวของใจเราก็เป็นแบบนี้ใช่ไหม แล้วก็สร้างสมาธิอีกอันหนึ่ง

ค่อยๆ ค่อยๆ เราจะบอกว่า การปฏิบัติของเรา เราปฏิบัติไป แล้วอย่างที่ว่าเพราะว่าอายุมากแล้ว เราก็ขวนขวาย แล้วก็จะให้เป็นแบบนั้น จะทำให้มันถูกต้อง

ถูกต้อง ทำให้มันเป็นความจริง ทำให้มันเป็นความจริง เรากำหนดพุทโธก็พุทโธ ตรงไหนก็ตรงนั้น แล้วก็ถ้ามันละเอียด เราจะรู้ว่าละเอียด เราไม่ต้องไปสร้างอะไรขึ้นมาอีกเลย เราไม่ต้องสร้างอะไรขึ้นมา เราไม่ต้องสร้างอะไรขึ้นมา แล้วเวลาจิตมันละเอียด เวลามันละเอียดเข้ามา เห็นไหม พอลมหายใจมันจะหาย พุทโธมันจะหาย มันจะตกใจ เราก็ไม่ต้องไปสร้างอะไรเหมือนกัน อยู่กับสตินี่ อยู่กับผู้รู้นี่

คนจะถามเลยว่า เวลาพุทโธมันหายจะทำอย่างไร เวลาลมหายใจมันหายจะทำอย่างไร

ไม่ต้องทำอะไรเลย ตั้งสติเฉยๆ เพราะเราเคยภาวนาตอนที่มันจะเป็นใหม่ๆตอนจะเป็นใหม่ๆ นะ เราศึกษามาจากหลวงตากับหลวงปู่เจี๊ยะเยอะมาก สุดท้ายแล้วมากำหนดพุทโธๆ พุทโธไวๆ เป็นเดือนๆ เลย แล้วพอมันจะรวมไง พอมันจะรวมนะ ไม่ใช่อวดนะ เวลามันจะรวม พุทโธเร็ว พุทโธๆๆ จิตมันควงตัวมันเองควงเลย เหมือนกับเราตกจากที่สูงน่ะ ควงติ้วๆๆ เลย

พอเราเห็นของเราเองใช่ไหม เรารู้เลย โอ้โฮถ้าเป็นคนอื่นนะ ยุ่งแล้วเนี่ยมันต้องตกใจ แต่พอเรามันควงมันหมุน หมุนตัวมันจะลง เราตั้งสติไว้นะ แล้วปัญญาของเรา “เชิญครับ เชิญครับ เชิญเลย” คือไม่มีความตกใจ ไม่มีสิ่งใดไปสะกิดเขา ให้เขาหมุนของเขาเอง เขาควงของเขาลงไป ลงไปแบบอู๋ยเหมือนจะลงไปยาวเป็นสิบๆ กิโล แต่ความจริงไม่ใช่หรอก มันอาการ มันก็ไปติ้วๆ อยู่อย่างนั้น หมุนอยู่อย่างนั้นน่ะ เราก็ “เชิญครับ เชิญครับ” ถึงที่สุดนะ ไปถึงฐานนะ กึ๊กจบ เงียบหมดเลย ดับหมด หลายชั่วโมงมาก คลายตัวออกมา สักแต่ว่ารู้ นี่พูดถึงว่าเราเคยทำมาอย่างนี้ไง ที่ทำมาอย่างนี้เพราะเราได้ศึกษามาเยอะ ศึกษามาเยอะแล้ว ไม่ใช่อวดนะ จะโม้อยู่เรื่อย ไม่ใช่อวด สติมันดี สติมันพร้อม มันยังจำได้น่ะ “เชิญครับ เชิญครับ

เวลาลมหายใจ บางทีเรากำหนดลมหายใจ ลมหายใจนะ ถ้ามันลงนะ ถ้ามันละเอียด มันจะละเอียดจนอย่างที่ว่าน่ะ ลมหายใจจะขาด ถ้าเป็นคนอื่นนะ “อุ๊ยๆไม่ตายหรือ”...ไม่ ไม่ตาย ลมหายใจละเอียดขึ้นมา แต่ถ้าวันไหนนะ มันลมหายใจละเอียด แต่มันไม่ลง มันไม่เข้าถึงอัปปนาสมาธิ ลมหายใจเป็นแท่งใสๆ เลย เป็นแท่งเลยลมหายใจนี่

นี่พูดให้เห็นว่า เวลามันจะเป็น เป็นอย่างนี้ไง เดี๋ยวจะบอกว่า “โอ้โฮหลวงพ่อเทศน์เยอะแยะไปหมดเลย สอนเขาไปหมดเลย แล้วของหนูมันผิดตรงไหนล่ะ

ผิดก็เพราะอย่างนี้ ถึงได้พูดตรงนี้ออกมาให้ฟังว่าเวลามันควงลงไปอย่างไรเวลามันปล่อยวาง ปล่อยลมหายใจอย่างไร เวลามันกำหนดพุทโธ มันละเอียดเข้ามาจนมันวางพุทโธอย่างไร

แล้วเวลาเราฟังคนที่มาเล่าให้ฟัง “พุทโธๆ แล้วพุทโธมันหายไปเลย

แล้วยังพุทโธได้อยู่ไหม

ได้ค่ะ

แล้วมันบอกว่าหาย หายได้อย่างไร ก็ยังพุทโธได้อยู่ ก็หนูไม่กำหนดมันไงถ้ากำหนดแล้วมันหยาบไง พอพุทโธๆ หนูก็ปล่อยเลย มันละเอียดจนไม่มีเลย...ไม่มีอะไร มันมีอยู่เต็มตัวมันนั่นแหละ แต่มึงไม่พุทโธเอง

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เป็นอย่างนี้ทั้งนั้น พุทโธๆๆ จนพยายามจะพุทโธ จนพยายามจะพุทโธ แต่มันพุทโธไม่ได้ เพราะจิตมันละเอียด มันเป็นหนึ่ง พุทโธเรานึก เรานึกพุทโธๆ เรานึก มันถึงมี แต่ถ้าเรารู้ตัวของมันเอง เรานึกพุทโธไม่ได้ ตัวมันเป็นพุทโธ ถ้าคนเป็นมันจะเห็นว่าเป็นชัดเจนของมัน ถึงบอกว่าอะไรผิดอะไรถูกไง

ฉะนั้น คำถามที่ว่า พยายามจะเพ่งอะไร แล้วหนูเพ่งเข้าไปแล้วมันเจ็บมันปวด

ไม่ต้อง ไม่ต้องเพ่ง ถ้ากำหนดพุทโธก็พุทโธ กำหนดลมหายใจก็ลมหายใจถ้าจะเพ่งกสิณก็เพ่ง เพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งไง แต่ไอ้นี่บอกว่า มันเหมือนกับความเข้าใจว่ามันจะต้องเป็นอยู่ที่กลางหัวอก ต้องเพ่งเข้าไปที่หัวใจ...ไม่ใช่

ถ้าจิตมันสงบแล้วอยากเห็นกาย เรารำพึงกายขึ้นมา มันจะเห็นกาย ส่วนใดส่วนหนึ่ง จะเห็นอย่างไรมันอีกกรณีหนึ่ง จิตสงบแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตเห็นธรรมตามความเป็นจริง อย่างนี้ถึงเป็นสติปัฏฐาน  ตามความเป็นจริง เพราะจิตมันสงบ จิตสงบคือจิตเป็นพุทธะ จิตเป็นพุทธะ จิตเป็นผู้ที่บริหารจัดการ จิตเป็นผู้ที่กำหนดเห็นสติปัฏฐาน  จิตเป็นผู้ที่กำหนด

แต่เวลาที่เขาบอกว่าเขาปฏิบัติแนวทางสติปัฏฐาน  เขานึกเอา เขานึกสติปัฏฐาน  เขานึกจากอารมณ์ความรู้สึกของเขา เราถึงบอกว่าเป็นสติปัฏฐาน ปลอมๆ ปลอมๆ เพราะจิตมันไม่สงบ มันไม่ได้เห็นโดยจิต มันเห็นโดยสัญญาอารมณ์ มันเห็นโดยความนึกคิดไง มันนึกเอาไง อภิธรรมทั้งหมดน่ะนึกเอา ไม่มีอยู่จริง

ถ้ามีอยู่จริง พุทโธนี่แหละ ไอ้ที่เขาบอกว่าหินทับหญ้า ไอ้ที่เขาทำลำบากลำบน เพราะจิตมันสงบจริงๆ แล้วเห็นจริง เห็นจริงๆ มันสะเทือนกิเลส มันสะเทือนกลางหัวใจ สะเทือนมาก ถ้าแนวทางปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติมา ท่านผ่านมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา ท่านถึงสอนเราไว้ แต่ยาก จะทำให้มันสะอาดบริสุทธิ์แบบนี้ ให้เป็นหลักสัจธรรมนี่แสนยาก แต่ทำได้

แต่ถ้าเป็นอภิธรรม ไปกำหนดสติปัฏฐาน  ตามความเป็นจริง รู้เท่าตัวทั่วพร้อม...นึกได้ทุกคนแหละ นึกได้ทุกคน เด็กก็นึกได้ หุ่นยนต์ก็นึกได้ เพราะมันนึกเอา แล้วใช้ปัญญาหมดเลย อภิธรรมนี่โอ้โฮเดินเป็นแถวเลย แล้วกำหนดสติปัฏฐาน  ทุกคนเลย มันก็เหมือนหุ่นยนต์หมดเลย โรงงานผลิตสติปัฏฐาน  เลยแต่มันไม่มีอยู่จริงเลย เพราะมันเป็นหุ่นยนต์ มันไม่ใช่จิตสงบไง นี่เราถึงบอกว่าสติปัฏฐาน  จริง สติปัฏฐาน  ปลอม

นี่พูดถึงแนวทางปฏิบัตินะ ถ้าเราปฏิบัติตามความเป็นจริงนะ อย่าให้กิเลสมันไชโยโห่ร้อง เราเองก็มีกิเลสอยู่แล้ว แล้วหาครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนไปอย่างนั้นให้กิเลสมันไชโยโห่ร้องนะ น่าอาย ศาสนานี้จะไม่มีมรรคไม่มีผลแล้วหรือ

เวลาเราห่วงกัน ห่วงหาอาทรว่า กึ่งพุทธกาลแล้วศาสนามันจะหมดมันจะสิ้นไป แล้วมาสั่งมาสอนกันอย่างนี้ ปฏิบัติก็ไม่ได้ ทำอะไรก็ไม่ได้ เดี๋ยวบ้าเดี๋ยวบอเดี๋ยวจะตกนรกอเวจี ปฏิบัติไปแล้วสติปัฏฐาน  จริงๆ ปลอมๆ อะไรก็วุ่นไปหมดเลย...นี่กิเลสมันจะไชโยโห่ร้อง แล้วมรรคผลมันอยู่ที่ไหนล่ะ

แต่เรามีครูมีอาจารย์นะ เวลาครูบาอาจารย์ท่านไม่พูดกับเรา เพราะมันพูดกันคนละภาษาไง ท่านพูดภาษาธรรม เราพูดภาษาโลก ภาษาโลกคือภาษาวิทยาศาสตร์ ท่านพูดภาษาธรรม มันเลยพูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง

ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นจริงท่านถึงเข้าป่าเข้าเขา ท่านถึงไม่อยากพูดกับพวกเราไง เพราะมันอธิบายให้พวกนักวิทยาศาสตร์รู้ได้ยากไง พวกนักวิทยาศาสตร์ปัญญามันเยอะ แล้วพอพูดธรรมะขึ้นมามันก็เก่ง เถียงฉอดๆๆ เลยกิเลสมันจะไชโยโห่ร้อง มรรคผลต้องเข้าป่าเข้าเขา มรรคผลต้องเก็บไว้ในหัวใจไง เศร้าใจเนาะ เอวัง