ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ไฟกิเลส

๑๔ พ.ค. ๒๕๕๙

ไฟกิเลส

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “ดุ้นไฟ

รบกวนหลวงพ่อตอบปัญหาคนโง่หน่อย ดุ้นไฟหมายถึงจิตหรืออัตตานุทิฏฐิส่วนตัวคิดว่าเป็นอัตตานุทิฏฐิ หลวงพ่อช่วยอธิบายหน่อยว่าดุ้นไฟคืออะไรขอบคุณค่ะ

ตอบ : คำว่า “ดุ้นไฟ” ดุ้นไฟ ไอ้นี่เป็นบาลี เป็นบาลีเพราะว่ามันอยู่ในบาลีใช่ไหม อยู่ในธรรมบท แล้วเวลาในประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาจะพูดเรื่องนี้บ่อยว่า ในสังคมของมนุษย์ทุกคนก็บ่นว่าร้อนๆๆ แล้วก็ถือดุ้นไฟดุ้นหนึ่ง แล้วก็ใช้ชีวิตไปวันหนึ่งๆ ถือดุ้นไฟไปด้วยไง ทำสิ่งใดก็ถือดุ้นไฟไปด้วย แล้วก็บ่นว่าร้อนๆๆ แล้วคราวหนึ่งมีมหาบุรุษผู้หนึ่งเป็นผู้ที่ฉลาด ได้ทิ้งดุ้นไฟนั้นแล้วพอได้ทิ้งดุ้นไฟนั้นแล้ว แล้วถึงตะโกนสั่งสอนพวกเราให้ทิ้งดุ้นไฟนั้น ให้ทิ้งดุ้นไฟนั้น

ไอ้พวกเรา เราก็อยากจะรู้จักว่าดุ้นไฟมันคืออะไรไง ดุ้นไฟมันก็คือกิเลสตัณหาความทะยานอยากนั่นน่ะ แต่คนเรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจของตน แต่เราก็ไม่รู้ว่ากิเลสตัณหาความทะยานอยากเป็นอย่างไรไง ทีนี้เป็นธรรมาธิษฐานไง ธรรมาธิษฐาน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเปรียบของท่าน มันมาจากบาลี เราอ่านเจอในบาลีไง แล้วทีนี้มันฝังใจ เวลาเทศน์ คำนี้จะหลุดออกมาบ่อยๆ เสร็จแล้วเขาก็กลับมา

เวลาบอกว่ากิเลส กิเลสมันเป็นนามธรรม สรรพสิ่งนี้เป็นนามธรรมทั้งนั้นน่ะแล้วเราจะจับต้องอย่างใด ถ้าเปรียบว่าดุ้นไฟๆ ดุ้นไฟมันคืออะไร เขาบอกว่าดุ้นไฟ ความเห็นของเขา ดุ้นไฟก็คือจิต คืออัตตานุทิฏฐิ

ดุ้นไฟก็คือภพ ถ้าดุ้นไฟก็คือจิต แต่ไฟคือกิเลสตัณหาความทะยานอยากไงดุ้นไฟ ถ้าดุ้นไฟแล้ว ถ้าจิต เราทิ้งจิตอย่างไร

เวลาจะทิ้งจิตๆ ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ทิ้งแล้ว ทิ้งกิเลสตัณหาความทะยานอยากแล้วไง แล้วก็คอยบอกคอยเตือนพวกเราอยู่นี่ไง ให้ทิ้งๆๆ ให้ทิ้งความเร่าร้อนในใจ ให้ทิ้งความทุกข์ความยากในใจ ให้ทิ้งๆ แล้วให้ทิ้งอย่างไรล่ะ

ถ้าให้ทิ้งอย่างไรปั๊บ เวลาอ่านพระไตรปิฎก เราก็ค้นคว้าในพระไตรปิฎกเหมือนกัน ในสุตตันตปิฎก ในสุตตันตปิฎกเวลาท่านสอนนะ เวลาท่านสอน ในวินัยปิฎก ในวินัยปิฎกท่านก็จะพูดถึงวินัย ถ้าวินัย ต้นเหตุ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบัญญัติธรรมวินัย จะมีพวกพระทำผิดก่อน มีผู้เป็นต้นเหตุ ผู้ที่เป็นต้นเหตุจะไม่เป็นอาบัติ แต่เพราะเป็นเหตุให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติ บัญญัติธรรมวินัยนั้นขึ้นมา ถ้าใครทำต่อไปจะเป็นอาบัติ

เวลาสุตตันตปิฎก ท่านก็อธิบายถึงการประพฤติปฏิบัติ อธิบายสิ่งต่างๆ เขาบอกเป็นนิทาน เป็นชาดก ถ้าเป็นชาดกก็เป็นความเป็นอยู่ของสังคมของมนุษย์ไงฉะนั้น ความเป็นอยู่ของสังคมมนุษย์ เวลาท่านสอน เวลาท่านสอนนะ เวลาคนที่เข้ามาใหม่ท่านก็สอนอนุปุพพิกถา สอนเรื่องของทำทานก่อน ให้รู้จักการเสียสละให้รู้จักการทำทาน คือให้จิตใจมันควรแก่การงาน จิตใจควรแก่การพูดการเจรจากันได้

คนเรามีแต่ความโกรธ ความโลภโมโทสันมา แล้วเราก็บอกว่านี่อริยสัจๆ...มันไม่รู้จักหรอก มันกำลังโกรธเป็นไฟเลยนะ แล้วบอกนี่อริยสัจๆ

ไม่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอนุปุพพิกถาก่อน ใครจะทุกข์จะยากมา เวลาสอนฆราวาสสอนอนุปุพพิกถาทั้งนั้นน่ะ ให้รู้จักเสียสละทาน พอเสียสละทานแล้ว ได้บุญกุศลแล้วจะไปเกิดเป็นเทวดา ถ้าไปเกิดเป็นเทวดา นี่ได้บุญกุศล ให้ถือเนกขัมมะ พอจิตใจเขาควรไง ไปเกิดเป็นเทวดา

ถ้าพูดอย่างนี้แล้วมันคล้ายๆ หลวงตาเลย หลวงตาท่านบวชทีแรก บวชแค่พรรษาสองพรรษาก็จะสึก ก็ไปศึกษาพระไตรปิฎก ศึกษาไป โอ๋ยมีเทวดา โอ๋ยอยากจะไปเกิดเป็นเทวดา อยากทำบุญแล้วอยากเป็นเทวดา พอศึกษาไป โอ๋ยอยากเป็นพรหม พรหมดีกว่าเทวดา ศึกษาไปๆ นิพพานด้วยหรือ อย่างนี้จะเอานิพพานให้ได้ ชาตินี้เอานิพพานให้ได้ ไม่สึกเลย ตั้งใจออกประพฤติปฏิบัติเลยแล้วออกไปก็ไปหาหลวงปู่มั่น

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจของคนมันมีหลากหลาย อารมณ์ความรู้สึก เห็นไหมเปลือกหอย เปลือกหอยมันชนิดใด เปลือกมันแข็งมากแค่ไหนมันจะหุ้มตัวหอยไว้ในนั้นน่ะ จิตใจของคน กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันหุ้มห่ออยู่ ถ้ากิเลสตัณหามันหุ้มห่ออยู่นี่ คนหยาบช้ามันคิดแต่เอารัดเอาเปรียบเขาทั้งนั้นน่ะ ไม่เคยคิดเสียสละ ไม่เคยคิดให้ใครเลย นี่เวลาคนมันหยาบช้า

เวลาคนที่มันเป็นบุญกุศลนะ เขาจะเป็นคนทุกข์คนจน คนยากแค้นแสนเข็ญเขามีน้ำใจนะ ดูสิ เวลาคนทุกข์คนจนเขาเที่ยวปลูกต้นไม้ เขาเที่ยวดูแลรักษาป่าเขาร่ำรวยที่ไหน เขาเป็นเศรษฐีที่ไหน เขาไม่ใช่เศรษฐีเลย เขาเป็นคนป่าคนดอยแต่เขารักษาป่า เขาดูแลป่าเขา ดูแลต้นน้ำลำธารให้กับประชาชนให้คนใช้สอย นี่เวลาจิตใจของเขาดี เขาทำดีได้ ไม่ต้องเศรษฐีมหาเศรษฐีหรอก มันอยู่ที่ความรู้สึกนึกคิด ถ้าความรู้สึกนึกคิดของคนมันดีขึ้นมา เห็นไหม

ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมบอกว่า ให้ทิ้งดุ้นไฟนั้น ให้ทิ้งดุ้นไฟนั้น เวลาไปอ่านพระไตรปิฎก อ่านบาลีเป็นอย่างนี้ เราก็จะคิดว่าทิ้งดุ้นไฟ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การจะทิ้งดุ้นไฟ ท่านปูพื้นฐานมาเลย กว่าเอ็งจะทิ้งได้ เอ็งต้องรู้จักตัวตนของเอ็งก่อน รู้จักตัวตนของเอ็ง ดูสิ เวลาเราเกิดมา พ่อแม่ไม่รัก สังคมไม่ดี ไม่มีใครดีสักคน ไม่มีใครดีเลย กูดีคนเดียว...นี่ไม่รู้จักตัวตนเลย โทษเขาไปทั่ว

แต่เวลาจะเอาจริงเอาจังขึ้นมา สังคมนะ มันก็เป็นสังคม สังคมก็เกิดจากพวกเรานี่แหละ เกิดจากคน คนดีคนไม่ดีไปร่วมกัน มันก็เป็นสังคมขึ้นมา เห็นไหม พ่อแม่ พ่อแม่ก็ดูแลเรามา พ่อแม่ไม่รัก ไม่รักจะเลี้ยงมาจนโตมาจนป่านนี้หรือ นี่ถ้ามันมีสติมีปัญญาขึ้นมามันไม่โทษใครแล้ว ย้อนกลับมา มันจะเข้ามาหาตัวมันได้แล้ว ถ้าเข้ามาหาตัวมันได้แล้ว แล้วถ้าเราจะทำดีทำชั่วล่ะ ถ้าเราจะทำดีทำชั่ว เราก็สมควรแล้ว

นี่เขาบอกว่า ดุ้นไฟมันคืออะไร ดุ้นไฟมันหมายถึงอะไร

ดุ้นไฟมันก็หมายถึงกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ดุ้นไฟ ตัวไฟ ไฟกิเลสก็ตัณหาความทะยานอยาก ไอ้ไฟมันเกิดบนอะไรล่ะ

อ้าวไฟมันก็เกิดบนจิต ไฟมันก็เกิดบนภพ ถ้าบนภพ ดุ้นไฟมันก็แบบว่า ถ้าถึงที่สุดแล้ว จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส นี่มันต้องทิ้ง ทิ้งทั้งหมดเลย

เวลาเราเกิดมาเราก็มีของเราอยู่แล้ว เราเกิดมาโดยธรรมชาติ คนเกิดมามีธาตุ  และขันธ์  ขันธ์  ก็คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่คือไฟ นี่คือไฟ เราก็สื่อสารกันด้วยไฟ แต่เวลาคนตายไปแล้ว เวลาคนเกิดมีธาตุ  และขันธ์ แล้วเวลาจิต เวลาคนตายจิตออกจากร่างไป ธาตุ  และขันธ์  คือคน แล้วจิตนี้ไปเกิดเป็นอินทร์ เป็นพรหมล่ะ จิตนี้ไปเกิดนรกอเวจีล่ะ เขาไปเกิดสถานะไหนเขาไปเกิดในภพชาติใด เขาก็มีสถานะอย่างนั้น

อาหาร  กวฬิงการาหาร วิญญาณาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหารกำเนิด  อาหาร  การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ คนเราเกิดเป็นสิ่งมีชีวิตต้องมีอาหารดำรงชีพในภพในชาติใด มันมีของมันพร้อม ถ้ามีของมันพร้อม นี่พูดถึงผลของวัฏฏะนะ แล้วถ้ามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากเข้ามายุแหย่อีกล่ะ แล้วเวลากิเลสตัณหาความทะยานอยากเข้ามายุแหย่แล้วเห็นไหม

เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคนค้นคว้ามาจบแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงได้แนะนำสั่งสอนไว้ แล้วเรามา เรามาศึกษาศึกษานี่เราไปศึกษาตัดตอนจำเพาะ แล้วเราจะทำอย่างไร

ถ้าศึกษาตัดตอนจำเพาะ การตัดตอนคือว่าเรารู้จำเพาะตอนนั้นช่วงนั้นศึกษาช่วงนั้น แล้วพอเราจะประพฤติปฏิบัติล่ะ เราจะเอาจริงเอาจัง ถ้ามันช่วงนั้นตอนนั้นมันก็มาสะกิดใจ เวลาฟังธรรมๆ มันสะเทือนใจ สะเทือนใจทำให้คนมีศรัทธา ทำให้คนมีความเชื่อ ทำให้คนอยากจะประพฤติปฏิบัติ แล้วคนจะประพฤติปฏิบัติจะเริ่มต้นตรงไหน แล้วเริ่มต้นตรงไหนล่ะ

ทีนี้เวลาครูบาอาจารย์ของเราเริ่มต้นตรงไหน ก็ต้องไปหาพระ ถ้าปฏิบัติต้องไปหาพระป่า พระปฏิบัติคงจะเก่ง พระปฏิบัติที่บอกว่าไม่ต้องทำอะไรเลย มีหลายองค์นะ “ไม่ต้องทำอะไรเลย นิพพานมันมีอยู่แล้ว ไม่ต้องทำอะไรเลย” นี่ไง ไปศึกษา พอไปศึกษา “ไม่ต้องพุทโธ พุทโธมันลำบาก อยู่เฉยๆ เดี๋ยวเดินสะดุดนิพพานเอง นิพพานมันอยู่ในใจ พอเข้าถึงใจก็เจอนิพพาน

บ้าบอคอแตก นี่เวลาสังคมเป็นอย่างนั้นน่ะ เพราะอะไร เพราะว่าวุฒิภาวะของคนมันไม่ถึงอย่างนั้นใช่ไหม แล้วก็เอาเรื่องโลกๆ ไง เดี๋ยวนี้โลกเจริญๆ ไงพอโลกเจริญก็เอาการศึกษาเป็นตัวตั้ง การศึกษา คนเราจะพ้นทุกข์ด้วยความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ มันก็มีการศึกษาด้วย

ทีนี้พอศึกษาแล้ว ศึกษาเพื่อมาประพฤติปฏิบัติ เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาแล้ว ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติแล้ว ท่านยกย่อง ท่านสรรเสริญ ท่านเชิดชูนะ ท่านไม่ได้ลบหลู่ แต่ถ้าเราศึกษาแล้วเราจะเอาความรู้ๆ ศึกษานั้นน่ะมันเป็นดาบสองคมเลย การศึกษานั้นเชือดคอเลย “รู้แล้ว เข้าใจแล้ว ทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว” แล้วยังกิเลสท่วมหัวอยู่อย่างนั้นน่ะ

ศึกษาแล้วให้วาง วางแล้วให้ประพฤติปฏิบัติให้มันเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา พอเข้าไปรู้ความจริงเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปนะ โอ้โฮโอ้โฮเลยนะ

นี่พูดถึงว่า ดุ้นไฟมันคืออะไรไง

ดุ้นไฟมันก็คือกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เพราะมันทำให้เร่าร้อนทั้งนั้นน่ะ เพราะไฟกิเลส กิเลสมันเป็นไฟ โทสัคคินา โมหัคคินา มันเป็นโทสัคคิ โมหัคคิมันเป็นไฟ ไฟมันแผดเผาทั้งนั้นน่ะ มันแผดเผาทุกๆ คน ถ้ามันแผดเผาทุกๆ คนเห็นไหม สิ่งที่แผดเผาทุกๆ คน

เขาบอกว่า คนมีกิเลสภาวนาไม่ได้ มีความอยากภาวนาไม่ได้ ต้องไม่มีความอยาก

ทีนี้ถ้าความอยากเป็นมรรคล่ะ นี่ไฟ เห็นไหม ไฟที่ใช้ผลประโยชน์เป็นมรรคไฟที่เป็นโทษ ไฟเผาป่าตายเป็นร้อยเป็นพันน่ะ เวลาไฟป่ามันเผา อย่างนั้นน่ะเป็นโทษ มันเผาแล้วควบคุมไม่ได้ เออไฟในเตาสิมันเป็นคุณ ไมโครเวฟ เปิดมากินได้เลย ไฟเป็นคุณมันก็มี ถ้าไม่มีไฟ เราจะเอาอะไรมาปรุงอาหาร พลังงานเอามาจากไหน

ถ้าไฟเป็นคุณๆ ที่หลวงตาท่านบอกมันเป็นมรรค สิ่งที่เป็นมรรคคือเป็นเหตุเป็นผลที่มันต้องทำ ไม่ทำอะไรเลยแล้วมันจะเป็นขึ้นมาได้อย่างไร

ของมันมีอยู่แล้วดั้งเดิม เดินเข้าไปชนมันเลย

โอ้โฮนี่พูดถึงว่าคนเรามันจะเชื่ออย่างนี้ได้เพราะว่ามันมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจนสังคมเขามีความเชื่อถือ พอมีความเชื่อถือขึ้นมา พวกนี้ ที่ไหนมีของจริง ที่นั่นก็มีของเทียม

ของเทียมขึ้นมา ของเทียมเลียนแบบทำได้สวยกว่าอีก แต่คุณภาพไม่มี แต่ของแท้ ของแท้ ดูสิ รูปไม่สวย แต่คงทนถาวร เพราะมันเป็นความจริง แต่ถ้าเป็นของเทียมเลียนแบบสวยกว่าด้วย โอ้โฮแจ่มเลย ขึ้นแวววับเลยนะ แต่ไปใช้เถอะใช้ไม่ได้ผลหรอก เพราะมันไปเลียนแบบเขา

นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันเป็นจริงๆ ขึ้นมา ดุ้นไฟมันคืออะไร อ้าวดุ้นไฟมันก็คือกิเลสไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้ทิ้งไง แล้วทิ้ง นี่เขาบอกว่า มันเป็นจิตหรือเป็นอัตตานุทิฏฐิ

เวลาอัตตานุทิฏฐินะ มันเป็นเรื่องที่บอกว่า อย่าเขียนมาถามอีกนะ ให้ถือว่าเธอจงมองโลกนี้เป็นสักแต่ว่า เธอจงมองโลกนี้เป็นสักแต่ว่า แล้วกลับมาถอนอัตตานุทิฏฐิ

ไอ้พวกเราว่า “โลกนี้เป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ โลกนี้เป็นสักแต่ว่า

สักแต่ว่าแล้วมึงยืนขวางอยู่นั่นน่ะ สักแต่ว่าก็มึงคิดอยู่นั่นน่ะ ทิฏฐิเอ็งอยู่นั่นน่ะ

โลกนี้เป็นสักแต่ว่า ว่างหมดเลย โลกนี้เป็นสักแต่ว่า

เอ็งคลายทุกข์ได้หรือเปล่า เอ็งคลายทุกข์เอ็งได้หรือเปล่า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนั้น “โมฆราช ให้เธอจงมองโลกนี้เป็นความว่าง แล้วกลับมาถอนอัตตานุทิฏฐิ” คนที่จะมองโลกว่างได้ เหมือนกล้อง กล้องนะ ดูสิ กล้องดูดงดูดาวเขาตั้งไว้ ถ้าไม่มีคนไปดูมัน มันก็ส่องอยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วมันได้ประโยชน์อะไร ไอ้นี่มันก็ว่างอยู่อย่างนั้นน่ะ โลกนี้สักแต่ว่า มันก็สักแต่ว่าอยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วใครได้ประโยชน์ล่ะ ก็มันก็เป็นของมันอยู่แล้ว มันไม่มีชีวิต

ไอ้คนที่มันทุกข์มันยากคือจิตเว้ยคือความรู้สึก มันต้องกลับมาถอนที่นี่ แล้วถ้าเราไม่มองเป็นสักแต่ว่า ก็ของเราหมดอีกน่ะ “ของกูๆๆ

สักแต่ว่าก็ไม่ใช่ของกู ไม่ใช่ของกูก็มีกูอยู่วันยังค่ำน่ะ จะเป็นของกูหรือไม่เป็นของกู ก็คือกูนั่นแหละ แล้วกูคืออะไรล่ะ อัตตานุทิฏฐิก็กลับมาถอนที่กูนี่ไง นี่ไงกลับมาถอนที่นี่

อย่าเขียนมาถามอีกนะ พอกันที หัดใช้ปัญญาบ้าง

มันเป็นธรรมาธิษฐาน มันเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราก็ไม่ได้เก่งมาจากไหนหรอก เราก็อ่านมาเหมือนกัน พระไตรปิฎกค้นคว้ามาเหมือนกัน ยิ่งค้นคว้าขึ้นมาแล้ว อะไรที่มันกินใจ เหมือนกับฟังเทศน์ หลวงตาบอกว่าท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นจะพูดเป็นทีเล่นทีจริง แต่เราไม่มีเล่น เรามีจริงตลอด

หลวงปู่มั่นท่านพูดทีเล่นทีจริง ทีเล่นทีจริงท่านพูดด้วยธรรม ด้วยคุณธรรมในหัวใจของท่าน แต่ลูกศิษย์ หลวงตาท่านบอกว่าท่านไม่เคยมีเล่นเลย ท่านจริงหมดอัดเทปไว้หมดเลย

แล้วนี่ก็เหมือนกัน เราไปศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษาพระไตรปิฎก ศึกษาแล้วได้อะไรที่มันกินใจไง ไอ้ที่เราพูดๆ นี่ไม่ใช่ว่าเราอวดอุตตริคิดขึ้นมาเองทั้งนั้นน่ะ ค้นมาจากพระไตรปิฎก เพราะพระไตรปิฎกค้นมา รอบ  รอบ เปิดอ่านมา  รอบ  รอบ แล้วพอเปิดอ่านไป อะไรที่มันกินใจไง

จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใสจิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส” เราไปเจอในพระไตรปิฎก มันไม่น่ามีอะไรจะเถียงกันเลยนะ ตอนนั้นเขาเถียงกันอยู่ในสังคมน่ะว่าจิตผ่องใสคือนิพพาน อีกคนหนึ่งบอกว่านิพพานมาเกิดได้อย่างไร

ในพระไตรปิฎกเขียนไว้อย่างนั้น แต่คนไปศึกษาแล้ว ไปศึกษามาแล้วก็มาเถียงกัน มาเอาทิฏฐิไง นี่ไง ไปศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้วก็มาเถียงกัน นี่ไงเวลาหลวงตาท่านพูด หลวงปู่มั่นท่านพูดทีเล่นทีจริง แต่เราไม่มีเล่น เราจริงตลอดคือฟังแล้วจับอัดไว้เลย

นี่ก็เหมือนกัน เราศึกษาในพระไตรปิฎก เราเปิดอ่าน อะไรที่มันกินใจนะโอ้โฮมันจะมาพูดบ่อย ทีนี้พูดบ่อย มันเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันอยู่ในพระไตรปิฎก เอ็งก็ไปเปิดดูเอาสิ ค้นเอาบ้าง จะเขียนมาถามถามมาเลย อะไรของเอ็ง เปิดในพระไตรปิฎกนั่นแหละ

นี่ก็เหมือนกัน ไอ้ที่ว่าดุ้นไฟๆ มันเป็นบาลี พระพุทธเจ้าเป็นคนพูดเอง สังคมโลกนี้มีแต่ความทุกข์ ทุกคนมีแต่บ่นกันว่าร้อนๆๆ ท่านเป็นธรรมาธิษฐาน ท่านเป็นธรรมาธิษฐานไง

ไอ้นี่บอกว่า โอ้โฮดุ้นไฟใช่ไหม เดี๋ยวไปการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ดับแม่งให้หมดเลยไฟน่ะ มันจะได้ไม่ร้อน มึงก็บ้าอีกน่ะ ไปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเลย ไปถึงก็ดับหมดดับเครื่องหมดเลย มันไม่มีไฟแล้ว ทีนี้ชาวไทยถึงเป็นพระอรหันต์หมด นิพพานหมดเลย เพราะดับไฟหมดแล้ว ไปดับที่ไฟฟ้าฝ่ายผลิต

มันเป็นธรรมาธิษฐาน คำว่า “ธรรมาธิษฐาน” พลังงานของคน ในร่างกายของมนุษย์มันมีจิต จิตคือพลังงาน พลังงาน พลังงานมันขับเคลื่อนอยู่ในร่างกายเรานี่ ถ้าขับเคลื่อนอยู่ในร่างกายนี้มันก็มีชีวิตอยู่ใช่ไหม แล้วพอมีชีวิตอยู่แล้วทุกคนก็ทุกข์ใช่ไหม ทุกข์ทั้งนั้นน่ะ ทีนี้ทุกข์ เขาเกิดมาแล้วก็บ่นว่าร้อนๆ ก็บ่นว่าทุกข์ๆๆ ไง แต่ในคราวหนึ่งมีบุรุษที่เป็นผู้ที่ฉลาดได้ทิ้งดุ้นไฟนั้นแล้ว

ทิ้งดุ้นไฟ ท่านพิจารณาของท่านที่โคนต้นโพธิ์นั่นไง บุพเพนิวาสานุสติญาณจุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ นี่ได้ชำระล้างกิเลสในใจของท่านแล้ว ท่านได้ทิ้งดุ้นไฟของท่านแล้ว ท่านถึงเข้าใจหมดไงว่าชีวิตมนุษย์มันเป็นอย่างไรไง ถึงได้มาเตือนพวกเรานี่ไง เพราะท่านได้ทิ้งดุ้นไฟของท่านแล้ว ท่านได้ทิ้งกิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจของท่านแล้ว ท่านก็มาเตือนเราอยู่นี่ คำว่า “เตือน” ก็คือธรรมและวินัยนี่ คำว่า “เตือน” ก็คือสั่งสอนเรานี่ คำว่า “เตือน” ก็คือพยายามตอกย้ำสอนพระนี่ นี่เตือน

ทุกคนบ่นว่าร้อนๆๆ

ก็ทิ้งมันสิ เอ็งทุกข์ๆๆ ก็ทิ้งมันสิ

แล้วในภาษาทางโลกนะ เขาก็บอกว่า “ที่ไหนมีทุกข์ เราก็ทิ้งมันซะก็จบไง

กูอยากดูมึงทิ้งอย่างไร

นี่ไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านประพฤติปฏิบัติของท่านจบแล้ว ทีนี้เวลาท่านเทศนาว่าการท่านก็เป็นธรรมาธิษฐาน ท่านก็เปรียบเทียบไงเปรียบเทียบถึงความรู้สึกของท่าน เปรียบเทียบ มันก็เหมือนครูบาอาจารย์เราเวลาท่านเทศน์ ธรรมของท่านในใจของท่านมันเป็นความรู้เฉพาะตน เวลาท่านจะเทศนาว่าการแต่ละกัณฑ์ๆ ท่านก็เปรียบเทียบออกมาเป็นธรรมาธิษฐานให้เราเห็นเป็นรูปธรรมใช่ไหมว่าเราจะเดิน     อย่างไร เราจะประพฤติปฏิบัติกันอย่างไร แล้วทำแล้ว ครูบาอาจารย์สำคัญตรงนี้ ครูบาอาจารย์ของเราสำคัญสำคัญอย่างนี้ เพราะท่านมีคุณธรรมในใจของท่าน ท่านจะเอาความจริงของท่านเอาธรรมในใจของท่านมาเป็นธรรมาธิษฐาน แล้วพยายามจะบอกเราสอนเราให้เห็นเป็นรูปธรรม ให้เห็นเป็นจังหวะจะโคนการก้าวเดินไง

เทศน์แต่ละกัณฑ์ๆ ก็เป็นอย่างนี้ เริ่มต้นตั้งแต่ทำความสงบของใจเข้ามาโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล มันเป็นขั้นตอนของมันอย่างนี้ แต่คนฟัง ฟังไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่องหรอก ไม่รู้เรื่องเพราะมันยังไม่เป็นไง

แต่ถ้าเป็นแล้ว เราพูดบ่อย เวลาหลวงตา เราอยู่ที่บ้านตาด บางคราวที่เวลาท่านเทศน์ หลวงปู่ลีท่านเข้ามา เวลาเทศน์จบ เราก็นั่งอยู่นั่นน่ะ ท่านถามหลวงปู่ลีไง “ลีเนาะ ลีเนาะ” เพราะอะไร เพราะหลวงปู่ลีเป็นพระอรหันต์ ท่านก็เป็นพระอรหันต์ แล้วเวลาท่านเทศน์ออกไป พระอรหันต์ฟังอยู่ ทำไมพระอรหันต์จะไม่รู้แล้วคนที่รู้ด้วยกันท่านถึงส่งซิกกันสององค์ไง “ลีเนาะ ลีเนาะ

เวลาท่านเทศน์ เราก็นั่งอยู่นั่น เราไม่รู้จัก เนาะๆ อะไรกันหรอก แต่เราสนใจนะ เราจับตาดูตลอด จับตาดูว่า หนึ่ง หลวงตา เราเชื่อมั่นว่าท่านเป็นพระอรหันต์แล้วเราก็เชื่อด้วยว่าหลวงปู่ลีเป็นพระอรหันต์

เวลาหลวงตาท่านเทศน์บนศาลานั่นน่ะ ในเทปคงจะมีบ้าง จะมีเวลาท่านเทศน์จบหรืออะไร ท่านจะถามหลวงปู่ลีเลย “ลีเนาะ ลีเนาะ” คือธรรมเป็นอย่างนี้เนาะ แบบว่ามันอันเดียวกัน มันฟังแล้วมันกลมกลืนน่ะ มันกลมกลืน มันซึ้งใจ มันสัมผัส

แต่ไอ้พวกที่นั่งหัวโด่ๆ อยู่ไม่รู้เรื่องหรอก แต่รู้กันสององค์ ท่านกับหลวงปู่ลีไอ้พวกนั่งหัวโด่ๆ นี่เทศน์ให้มันฟังแล้วให้มันไปทำ ให้มันทำให้ได้ ไอ้พวกนี้ให้ทำให้ได้ เรานั่งฟังท่านเทศน์นะ นี่พูดถึงว่าเวลาธรรมาธิษฐานไง

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า ถ้าจะอธิบายเป็นคุ้งเป็นแคว มันเป็นหัวข้อ แล้วมันก็ขยายความ อยู่ที่มุมมอง อยู่ที่ความสัมพันธ์ อยู่ที่ทัศนคติ เขาเรียกจริตนิสัย ใครชอบใครไม่ชอบ ใครดูดดื่มไม่ดูดดื่ม ถ้าดูดดื่มแล้วมันก็จะเป็นประโยชน์ที่เวลาอ่านพระไตรปิฎก

ที่เราพูดๆ ส่วนใหญ่เราเก็บตก เก็บมาจากหลวงปู่มั่น จากหลวงตา จากครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม เวลาเป็นธรรมมันพูดมามันจะมีเนื้อหาสาระ หลวงตาท่านจะบอกเลย คนที่มีจะพยายามพูดเฉไฉอย่างไรมันก็มีธรรมบวกมาด้วย แต่คนที่ไม่มีจะพูดให้มันมีมูลค่าขนาดไหนมันก็ไม่มี แต่ถ้าคนมันมีนะ พูดอย่างไรก็มี

ทีนี้เราไปอ่านพระไตรปิฎก เวลาอะไรที่มันสะกิดใจ มันกินใจ ก็เก็บมาพูดไงเก็บมาพูดให้มันเป็นธรรมาธิษฐาน

นี่พูดถึงว่า ดุ้นไฟมันคืออะไร

ดุ้นไฟมันก็คือกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วมีหลานของกิเลส มีลูกกิเลส มีพ่อกิเลส มีปู่กิเลส

หลวงปู่บุดดาท่านพูด “พญามารไม่มีครอบครัว พญามารตัวผู้ไม่มีครอบครัวแต่ลูกเป็นหางเลย” เป็นคำพูดของหลวงปู่บุดดา

หลวงปู่บุดดาเวลาท่านพูดอะไรนี่เกร็ดเยอะมาก ถ้าของจริง ของจริงจะเป็นอย่างนั้นน่ะ หลวงปู่บุดดาท่านก็พูด โอ้โฮใช้ได้เลยนะ ถ้ามันมี พูดอะไรมันจะมีออกมา พอมีออกมา เราพูดแล้วแบบว่ามันมีเกร็ด มันมีอะไรที่เป็นประโยชน์ แล้วมันจะได้ประโยชน์อันนั้น

ไอ้นี่พูดถึงว่า ดุ้นไฟเนาะ จบแล้วนะ ให้ไปเปิดในพระไตรปิฎก แล้วถ้ามันจะไปอยู่ในธรรมบทเยอะ ถ้าธรรมบท เพราะว่าธรรมบทมันเป็นการเรียงความทางวิชาการ พวกที่เรียนมหาเขาจะทำเรียงความส่ง ถ้าอันไหนเรียงความดี เขาจะมาเก็บรวบรวมไว้อยู่ในธรรมบท ในธรรมบทนั่นแหละ นั่นน่ะคือการขยายความเกร็ดธรรมะของพระพุทธเจ้านี่แหละ

นี่ก็เหมือนกัน นี่เราก็อ่านของเรามา เราก็ดูแลมา แล้วอันไหน เหมือนวิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์อันไหนดีๆ ทางวิชาการเขาจะถือว่าให้คนเขาไปศึกษาไอ้นี่ก็เหมือนกัน เรียงความพวกมหามันจะไปรวบรวมอยู่ในธรรมบท ถ้าธรรมบทที่เขาเอามาอ่านกันมันขยายความมา อันนี้มันเป็นธรรมาธิษฐาน จบ

ถาม : เรื่อง “มโนกรรม

กราบนมัสการอาจารย์ที่เคารพ เกล้ากระผมเป็นชาวโพธาราม แต่ไปทำงานที่ต่างจังหวัด และได้เริ่มรู้จักวัดสันติพุทธารามเมื่อประมาณ  ปีที่ผ่านมา จะพาบิดามารดามาใส่บาตร ฟังธรรม และฟังธรรมหลวงพ่อตอบปัญหาเกือบทุกครั้งที่กลับมาบ้าน ผมได้ฝึกหัดภาวนามาสักระยะหนึ่ง นั่งสมาธิประมาณหนึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงครึ่ง แล้วก็ออกมาทำงาน และก็เข้านอน โดยอาศัยการนับลมหายใจดังนี้ หายใจเข้า หายใจออก นับหนึ่ง หายใจเข้า หายใจออก นับสอง นับไปเรื่อยๆ จนถึงสิบ ก็มานับหนึ่งใหม่อีกครั้ง จนสักพักก็ทำความรู้สึกเฉพาะลมหายใจที่ปลายจมูกโดยไม่นับอีกต่อไป กระผมมีเรื่องที่จะเรียนถามหลวงพ่อดังนี้

เมื่อผมภาวนาตามวิธีที่เล่ามาแล้ว ในบางครั้งจะเห็นเหมือนความรู้สึกบางอย่างกำลังกระเพื่อม กำลังจะผุดออกมาจากความคิด ผมจะบอกตัวเองทันทีว่าไม่เอาๆ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา จนใจยอมรับ ไม่ปรุงต่อไป แต่ก็ตั้งใจดูลมที่ปลายจมูกต่อไป แต่ในบางครั้งก็จะปล่อยให้คิดแล้วใช้สติระลึกตามไปจนจบเรื่อง และก็กลับมาดูลมหายใจต่อ ผมมีความสงสัยว่า ถ้าหากเรื่องที่ผมตามดูไปเป็นอกุศลและมีสติระลึกรู้อยู่ว่ากำลังดูความคิดอกุศลนั้น ในขณะนั้นจะถือว่าผมทำบาปทางใจหรือมโนทุจริตหรือเปล่าครับ

ระหว่างการดูความคิดเฉยๆ เอาสติตามรู้ตั้งแต่เริ่มเกิดจนจบเรื่อง แล้วการเอาความคิดที่เกิดขึ้นมาแยกแยะหาเหตุผลจนใจยอมรับ วางความคิดลงสามารถใช้ได้  วิธีหรือเปล่าครับ แล้วพอความคิดมันหยุดได้ ก็กลับมาดูลมหายใจต่อเนื่องหรือตั้งใจรอความคิดใหม่ที่จะเกิดขึ้นครับ ขอบพระคุณ

ตอบ : อันนี้พูดถึงนะ การภาวนานะ ถ้าการภาวนา ลมหายใจเข้านึกพุท ลมหายใจออกนึกโธก็ได้ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก นับหนึ่งก็ได้ การนับเป็นอุบายทั้งหมด ทำสิ่งใดก็ได้ให้จิตมันสงบเข้ามา

การว่าจิตสงบเข้ามา เริ่มต้น คำถามเมื่อกี้นี้เขาถามไปร้อยแปดพันเก้า แต่เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านจะให้ประพฤติปฏิบัติ ท่านต้องกลับมาตรงนี้ กลับมาตรงหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ เพราะท่านต้องการให้ทำความสงบของใจก่อน ถ้าใจเราสงบแล้ว คำว่า “ใจสงบ” พอใจสงบแล้วมันเป็นอิสระ พออิสระแล้ว ถ้ามันมีสติมีปัญญาขึ้นมามันจะเข้าสู่โลกุตตรธรรม

แต่ถ้าเรามีความรู้สึกสามัญสำนึก จิตใจเราก็สบายใจ เราไม่เครียด เราก็คิดได้ อันนี้เขาเรียกว่าโลก โลก หมายความว่า มันมีกิเลสของเรา คือมีตัวตนของเราเข้มข้น มีตัวตนของเราเข้มข้น เราคิดสิ่งใดเราจะคิดด้วยตัวตนของเรา แต่พอจิตสงบแล้ว ตัวตนของเรามันเบาบางลง พอตัวตนของเราเบาบางลง ถ้ามันเกิดขึ้น มันเกิดขึ้นโดยสัจธรรม ถ้าเกิดขึ้นโดยสัจธรรม มันจะเป็นภาวนามยปัญญา

ทำไมถึงต้องทำความสงบของใจ ทำไมถึงต้องทำความสงบของใจ ก็มันก็คิดได้อยู่แล้ว ทำไมคิดไม่ได้ เราก็พิจารณากาย

มันคิดได้ๆ แต่เวลาถ้ามันภาวนาจริงๆ เข้าไปแล้วมันเป็นจินตนาการน่ะ มันเป็นวิปัสสนึก มันจะไม่เป็นการฆ่ากิเลส แต่ถ้าบอกจะไม่ให้มันมีเลย เห็นไหม คนเราก็มีความคิดไง คนเรามีความรู้สึกนึกคิดนะ พอจะพุทโธๆ มันก็ทำไม่ได้หรอกถ้าทำไม่ได้ขึ้นมา ถ้าความรู้สึกนึกคิดอย่างนี้เราตามความคิดไป เขาเรียกว่าปัญญาอบรมสมาธิเหมือนกัน ถ้าปัญญาอบรมสมาธิเข้ามาก็เพื่อความสงบของใจ

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราหายใจเข้า หายใจออก นับหนึ่งก็ได้ เพื่อความสงบถ้ามันสงบนะ

ทำไมต้องความสงบ

เพราะจริงๆ แล้วเราก็ต้องหาความสุข ความสงบ ความระงับในใจเรานี่ เราใช้ปัญญาๆ ไป เวลามันถอดมันถอนไปแล้ว เวลามันสำรอกมันคายออกไปแล้วมันก็สงบของมัน สงบโดยว่างเปล่า สงบโดยมีสติปัญญาที่ดูแลหัวใจของตนด้วยมันไม่มีกิเลสมายุแหย่ไง ไอ้นี่พูดถึงขั้นของวิปัสสนานะ

แต่ขั้นของสมาธิ เราพยายามทำความสงบของใจเข้ามา อย่างที่ทำมานี่ เห็นไหม เป็นคนที่มีวาสนาไง ถ้าเป็นคนไม่มีวาสนานะ “ผมเป็นชาวโพธารามครับ ผมไปทำมาหากิน ผมร่ำรวยครับ ผมออกไปข้างนอก ผมจะได้รับการยกย่องสรรเสริญจากสังคมครับ” มันไปนู่นเลย

ผมเป็นชาวโพธารามครับ แล้วผมกลับมาที่วัด

เออยังมีวาสนาหน่อยนึง เพราะกลับมาที่วัดแล้วมีค่ามากเลย เพราะมันเป็นวัดหัวใจของเราไง วัดหัวใจเรามันกว้างมันแคบขนาดไหนไง การมาวัดมาวามาเพื่อมาศึกษาวิเคราะห์ตัวตนของเราเองไง

ถ้าไปข้างนอกไร้สาระ ไร้สาระมาก เพราะคนที่มีศักยภาพมากมายมหาศาลเขากำลังเดินไปสู่เชิงตะกอนกันทั้งนั้น เขากำลังเดินไปสู่ความตายกันทั้งนั้น ไม่มีใครได้สมบัติอะไรเลย แต่เราเข้ามาวัดๆ มาวัดหัวใจกว้างแคบนี่ เราจะได้ตัวตนของเรา

มาวัดๆ ไอ้คนที่บอกมาวัดแล้วไม่ได้อะไรเลย นั่นเป็นความคิดของเขา แต่ถ้าความคิดของเรา เราเป็นชาวโพธารามครับ แล้วก็มาวัดครับ แล้วหัดปฏิบัติครับแล้วพอปฏิบัติแล้วมันมีความสงสัย ถ้ามีความสงสัย ถ้าจิตสงบแล้ว เวลามันสงบแล้ว มันมีความคิดผุดขึ้น เขาบอกว่าไม่เอาๆ ไม่ใช่ของเรา

อันนี้มันเป็นขั้นของสมถะ คือมันรู้มันเห็นของมัน ไม่เอาต่างๆ มันก็เหมือนกับความรู้สึกเรามีอารมณ์ความรู้สึก แต่ถ้ามันมีสติมีปัญญาขึ้น เห็นไหม ถ้าจิตสงบแล้วถ้ามันเห็น พอมันจะเกิดขึ้น ที่บอกไม่เอาๆ มันจับได้ แล้วมันพิจารณาของมันได้

ฉะนั้น บางทีเราก็ปล่อย ปล่อยแล้วถ้ามันมีความสงสัยเกิดขึ้น มีอกุศลเกิดขึ้นแล้วเรามีความรู้สึกไปอย่างนี้ เราตามความรู้สึกอันนั้นไป มันจะถือว่าเป็นบาปหรือไม่

ถ้ามันดับได้ เขาเรียกว่า ถ้าย้ำคิดย้ำทำมันจะเป็นจริตเป็นนิสัย เขาบอกว่าเป็นมโนทุจริต มันจะเป็นมโนกรรม ถ้าเรายับยั้งได้ไง ถ้าเรายับยั้ง มันมีวิธีการยับยั้ง วิธีการที่จะทำมหาศาลเลย ฉะนั้น ถ้าเรายับยั้งได้ เราทำได้ เพราะเราต้องการความสงบของใจเท่านั้น เราไม่ต้องการสิ่งอื่นใช่ไหม เราทำของเราได้

แล้วถ้ามันจะเป็นเวรเป็นกรรมไหม

เวลามันทำความผิด ความชั่วอย่างอื่นเยอะแยะเลย มันบอกไม่เป็นเวรเป็นกรรม เวลามันจะภาวนา มันไปรู้ไปเห็นเข้า มันจะเป็นเวรเป็นกรรม

มันจะเป็นเวรเป็นกรรมก็กรรมดี กรรมดีคือรู้เท่าความรู้สึกของเรา กรรมดีคือเราตามความรู้สึกของเราทัน นี่มันพิจารณาได้ มันทำของเราได้ อันนี้เป็นประโยชน์หมด

จะบอกว่าเป็นกรรมทั้งหมด กรรมดีก็มี กรรมดีคือกำลังจะภาวนาอยู่นี่ไงกำลังทำคุณงามความดีอยู่นี่ไง นี่กรรมดี เราจะบอกว่า ทำต่อเนื่องไปๆ มันจะพัฒนาการวิวัฒนาการของมัน พัฒนาการของมันดีขึ้นๆ เดี๋ยวจะรู้เองว่า อ๋อของแค่นี้เอง ตอนนี้ยังวิตกกังวลอยู่

ระหว่างที่ความรู้สึกคิดเฉยๆ อยู่นี่ ตามรู้ไปถึงเวลามันจบสิ้นไปแล้ว เวลาความคิดมันเกิดขึ้นมันแยกแยะหาเหตุหาผลจนมันยอมรับ แล้ววางลงได้ สามารถทำได้  วิธีหรือไม่

ได้ ทำได้  วิธี ทำเพื่อประโยชน์กับตัวเองไง ไอ้ที่พุทโธๆ พุทโธหายใจเข้าก็ได้ แล้วเวลาที่ว่าเวลาความรู้สึกนึกคิดมันขึ้นมา เราจับของมันได้ พอจับได้ เราก็ใช้สติปัญญาของเราพิจารณาจนมันจบเป็นเรื่องๆ ไป แล้วมันวางได้ๆ อันนี้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ทำต่อเนื่องไปๆ ถ้าทำต่อเนื่องไปมันจะเห็นไง มันจะเห็นตรงไหนรู้ไหม มันจะเห็นว่าเราทำได้

เหมือนคนที่มีสติมีปัญญามันเจอปัญหาสิ่งใดมันแก้ไขได้หมด นี่ก็เหมือนกันพอเราทำได้ เราเคยทำได้แล้ว เราแก้ไขได้แล้วนะ เราแก้ไขเพราะอะไร เพราะมันวางๆ วางแล้วมันจะได้อะไรล่ะ วางแล้วมันก็ได้ความอิสระไง วางแล้วมันก็ได้จิตที่เป็นอิสระ จิตที่เป็นสัมมาสมาธิ แล้วทำบ่อยๆ เข้า หัดทำอย่างนี้

ทำไมต้องทำบ่อยๆ ก็ทำแล้วมันรู้แล้ว

ทำแล้วรู้แล้ว มันก็เป็นอดีตไปแล้ว มันเป็นงานที่เราผ่านมาแล้ว แต่เวลาพลังงานเราต้องรักษาไว้ ไม่อย่างนั้นมันระเหยไปหมด นี่ก็เหมือนกัน จิตที่มันจะสงบมันต้องมีเหตุรักษาดูแลมันไง ถ้าดูแลมัน เราทำบ่อยๆ ครั้ง จิตมันสงบมั่นคงสงบจนดีขึ้น ดีขึ้นต่อไปมันเหมือนกับจากเด็กกลายเป็นผู้ใหญ่ กลายเป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ คงความรู้ ผู้คงแก่เรียน มันจะรักษาได้ง่ายขึ้น

เราฝึกหัดอย่างนี้จนชำนาญ แล้วถ้ามันชำนาญแล้วถ้ามันไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม อันนั้นมันเป็นการฝึกหัดใช้ปัญญาในอีกแขนงหนึ่ง ถ้าอีกแขนงหนึ่ง เราทำตอนนั้นจะเป็นประโยชน์ตอนนั้น

นี่พูดถึงว่า เวลาปฏิบัติไง เวลาปฏิบัติ คำว่า “ดุ้นไฟๆ” ถ้าดุ้นไฟๆ มันจะไปเอาที่ผลเลยไง แต่ย้อนกลับมาแล้วมันก็ที่มโนกรรมนี่ มันก็ต้องมีการประพฤติปฏิบัติ มันจะไปว่า ทิ้งดุ้นไฟอย่างไร วิธีการทำอย่างไร เวลาจบสิ้นอย่างไร

พอจบสิ้นอย่างไร มันก็เป็นมหาบุรุษผู้ที่ได้ทิ้งดุ้นไฟนั่นแล้ว แล้วมาเตือนพวกเราว่าร้อนๆ ให้ทิ้งดุ้นไฟนั้น มันมีวิธีการ มีการกระทำ ไม่ใช่ไปศึกษาเฉพาะเจาะจงแล้วก็เขียนมาถาม อย่าเขียนมาอีกนะ เขียนมาคราวนี้เผาทิ้งเลย เอวัง