เทศน์บนศาลา

ใจควรแก่ธรรม

๒๙ มี.ค. ๒๕๔๙

 

ใจควรแก่ธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๙
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจนะ เวลาชีวิตเรามันล่วงไปแต่ละวันๆ น่ะ คนเราเกิดมา ตั้งแต่เกิด ตั้งแต่วัยเด็ก ตั้งแต่วัยกลางคน ตั้งแต่วัยชราภาพ แล้วมันก็จะหมดไป นั้นเราเห็นกันด้วยร่างกายนะ แล้วจิตใจของเราล่ะ

ดูสิ ว่าจิตไม่เคยตาย จิตของคนเราไม่เคยตาย จิตของคนและจิตของสัตว์มันไม่เคยตายเลย แล้วมันชราคร่ำคร่าไหมล่ะ? มันไม่ชราคร่ำคร่านะ ไม่เหมือนร่างกายของมนุษย์ ร่างกายของสัตว์ สัตว์สิ่งที่เกิดมามีร่างกาย มันชราคร่ำคร่าไปเพราะมันเป็นวัฏฏะ มันเป็นเรื่องสมมุติ เป็นชาติเกิด เกิดเป็นสมมุติไง แต่จิตมันไม่เคยชราคร่ำคร่า

แต่เรามาเปรียบเทียบสิ ในสมัยเด็กเรามีความคิดอย่างหนึ่ง สมัยเราวัยทำงานมีความคิดอย่างหนึ่ง สมัยเราชราภาพไปเรามีความคิดอย่างหนึ่ง นี่ความคิดมันเป็นไปอย่างนั้นเพราะมันเป็นผลของวัฏฏะ มันเป็นผลของชีวิตไง ผลของโลก ประสบการณ์ชีวิต เห็นไหม จากเด็กขึ้นมาไร้เดียงสา

ชีวิตเกิดทุกชีวิตเลย ตอนเป็นเด็กจะไร้เดียงสา เป็นสิ่งที่ว่าสะอาด เป็นเหมือนผ้าขาว แล้วต้องมีการทำการศึกษาเพื่อจะให้ดำรงชีวิตไป เห็นไหม นี่ทำบุญ ทำบาปอกุศลจะเกิดนี้ไง เกิดดี เกิดชั่ว เกิดในสภาวะแบบนั้น แต่เวลาไปทำงานล่ะ เราต้องไปแข่งขันกับเขา เราต้องไปยืนในสังคม

สังคม เห็นไหม นี่สภาวะของสังคม ถ้าสังคมเจริญ สังคมที่ว่าศีลธรรมจริยธรรม สิ่งที่ว่าเจริญงอกงาม มีการเผื่อแผ่ เราย้อนกลับสมัยโบราณสิ เราดูสังคมสมัยโบราณ เป็นสิ่งที่ว่าเป็นสังคมที่ดี จะมีความร่มเย็นเป็นสุข แล้วย้อนกลับไปสมัยตั้งแต่เราเด็กๆ ดูสิ ภูมิประเทศต่างๆ มันจะมีความร่มเย็นเป็นสุข แล้วจะเร่าร้อนไปเรื่อยๆ นะ เพราะป่าเขา ทรัพยากรเราใช้ไปเรื่อยๆ สิ่งนี้มันจะมีแต่ความแห้งแล้ง

นี่ชีวิตมันเป็นไปอย่างนั้น แล้วเวลาเปิดนี่เป็นประสบการณ์ชีวิตไง

แล้วเวลาเราแก่เฒ่าล่ะ ผู้เฒ่าผู้แก่ ทางภาคอีสานเขาจะถือผู้เฒ่าเป็นหลักของหมู่บ้าน เวลาหมู่บ้านเขาเรียกผู้เฒ่า ผู้เฒ่าเป็นที่ปรึกษาของหมู่บ้าน เขาจะเคารพผู้เฒ่ากัน อันนี้เป็นเพราะอะไร เพราะเป็นการตกผลึกของสังคม สังคมตกผลึกอย่างนั้นเพราะอะไร เพราะเขามีประสบการณ์ของเขา นี่ถ้าเทียบถึงชีวิตนะ แล้วเราเทียบถึงจิตสิ มันไม่เคยชราคร่ำคร่า เวลาเราเด็กนี่มีชีวิต ความคิดอย่างหนึ่ง กลางคนมีความคิดอย่างหนึ่ง เวลาผู้เฒ่าขึ้นมา คนแก่คนเฒ่าควรจะเตรียมตัวเรื่องบุญกุศลเพื่อความเกิดและความตาย เพื่อบุญกุศล ถ้าตามหลักของศาสนา แต่กิเลสมันเคยให้โอกาสไหม ความคิดแก่เฒ่าขนาดไหนมันก็มีตัณหาความทะยานอยากของมัน มันไม่เคยแก่เฒ่าเลยนะหัวใจเนี่ย ความคิดไม่เคยแก่เฒ่า เวลาตายไป มันถึงไม่มีชราคร่ำคร่าไง จิตไม่มีชราคร่ำคร่า

แล้วการเวียนตายเวียนเกิด เกิดเป็นมนุษย์เราก็มีโอกาสนะ เกิดเป็นสัตว์ ใจควรแก่ธรรม กับใจที่ไม่ควรแก่ธรรม เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็เกิดเหมือนกัน แต่เขาไม่ควรแก่ธรรม นี่สัตว์ แม้แต่เกิด พระโพธิสัตว์ก็เคยเป็นสัตว์เดรัจฉานเหมือนกัน แต่ขนาดเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็หัวหน้านะ เป็นนกพิราบ หัวหน้า เวลาที่นายพรานเขาดักข่ายไว้ นี่หัวหน้าสั่งนะ ทำให้แกล้งตาย

ดูสิ ทำไมนกพิราบมีความคิดได้ขนาดนั้นนะ ออกคำสั่งว่าให้สัตว์นอนตายหมดเลย นายพรานเขาเอาตาข่ายดักสัตว์ไว้ เขาเดินมาเขาก็แปลกใจ ทำไมนกตายหมด เขาเปิดตาข่าย พอเปิดตาข่ายนี่หัวหน้าของสัตว์บอกพร้อมกันให้บินขึ้น เห็นไหม รอดชีวิตหมดเลย นี่ความคิดของสัตว์

สัตว์ก็มีความคิดแบบนั้น คือสัตว์ที่เป็นพระโพธิสัตว์ไง เป็นหัวหน้าหมู่ เป็นสิ่งที่พาหมู่คณะให้พ้นจากภัยอันตราย แม้แต่ชีวิตขณะที่มีภัยอันตรายถึงกับชีวิตนะ ถ้าเขาจับไปก็ตายหมด การเกิดและการตายเป็นสัจธรรมจริงอันหนึ่ง แต่ทุกชีวิตก็ไม่อยากตาย

ถ้าไม่อยากตาย เห็นไหม ดูสิเราทำทานกัน ผู้ที่รับของจากเราก็มีความร่มเย็นเป็นสุข ชีวิตเขาก็มีความร่มเย็นเป็นสุข เขาคิดถึงคุณเราไหม นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่คนจะตายก็ไม่อยากตาย สัตว์จะตายก็ไม่อยากตาย แล้วพระโพธิสัตว์เป็นผู้ที่ให้ชีวิตทั้งฝูงรอดมา มันเป็นบุญไหม มันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นการสร้างเสริมบารมีไหม สิ่งนี้ เห็นไหม ขนาดนี้นะ ยังใจไม่ควรแก่ธรรม เพราะสัตว์เดรัจฉานไม่มีโอกาสในการประพฤติปฏิบัติไง

เราเกิดเป็นมนุษย์ ใจนี่ควรแก่ธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาเกิดเป็นชาติสุดท้าย เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ก็เกิดเป็นมนุษย์ ขนาดเกิดเป็นมนุษย์แล้วอยู่ในราชวัง ในเมื่อพราหมณ์พยากรณ์แล้ว พระเจ้าสุทโธนะ ธรรมชาติของพ่อ พ่อก็ต้องอยากให้ลูกสืบสกุล ในเรื่องของธรรมชาติของความคิดที่ดีที่สุด เห็นไหม นี่ไม่ควรแก่ธรรม

ควรแก่ธรรมของโลกียธรรม คือพ่อก็ต้องสนับสนุนลูกให้มีที่ยืนในสังคมเพื่อสืบต่อสืบสกุล แต่ถ้าควรแก่ธรรม เพราะธรรมยังไม่เกิด เอาอะไรมาควร สิ่งที่ควรแก่ธรรมก็ธรรมของโลก โลกคือการเป็นไป กตัญญูกตเวที สิ่งที่เป็นความรักความห่วงหาอาวรณ์กัน โลกเขาเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์นะ

แต่เวลาเป็นธรรมอันละเอียด เห็นไหม “ที่ไหนมีรัก ที่นั่นมีทุกข์”

เพราะความรัก ความผูกพัน มันให้ผลกับความเป็นกังวลนะ แม้แต่พ่อแม่รักลูกก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่าความรักของพ่อของแม่เป็นความรักที่สะอาดมาก เพราะไม่หวังผลตอบแทนใดๆ จากลูกเลย ถ้าลูกประสบความสำเร็จในชีวิต พ่อแม่ก็ภูมิใจตรงนี้มากเลย ไม่ต้องเอาสิ่งใดมาให้หรอก ขอให้ลูกเราประสบความสำเร็จ ขอให้ลูกเรามีความสุข พ่อแม่จะมีความสุขมากเลย แต่เวลาลูกเราตกระกำลำบาก พ่อแม่ก็ทุกข์ไปด้วย นี่ “ที่ไหนมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” ความรักความผูกพันทำให้เกิดความทุกข์ความยากนะ สิ่งนี้เป็นธรรมชาติของกิเลส เป็นธรรมชาติไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงตรัสไว้ในพระไตรปิฎกไง “ที่ไหนมีรัก ที่นั่นมีทุกข์”

แต่ถ้ามีเมตตาล่ะ เมตตากรุณา เห็นไหม เราถือศีลกัน เราไม่ทำปาณาติปาตา ไม่ทำให้ชีวิตสัตว์ตกล่วง อันนี้ถ้าเราไม่มีเจตนา สิ่งที่เราไม่มีเจตนา เราไม่ทำให้ชีวิตสัตว์ตกล่วง แต่กรรมของเขามีนะ กรรมของสัตว์

ในพระไตรปิฎกนะ เป็นควายจะสิ้นชีวิต ตายไปแล้วมาเข้าฝันนะ มาเข้าฝันพระว่า พรุ่งนี้เขาจะเอาเนื้อมาถวาย ขอให้ฉันให้หน่อย เพราะเกิดมาเป็นสัตว์ เห็นว่าเกิดเป็นมนุษย์นี้ อยากจะมีสถานะเหมือนเขา แต่ไม่มีโอกาสนะ เกิดเป็นสัตว์นี่ไม่มีโอกาสได้ทำบุญกุศลเหมือนมนุษย์เลย ถึงชีวิตแล้วต้องตายแล้ว เนื้อนี้ ขอให้ได้ฉันเนื้อของข้าพเจ้าเพื่อให้ข้าพเจ้าได้บุญกุศล ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์บ้างเถิด

เพราะเกิดเป็นมนุษย์มันมีสังคม เขาเมตตากัน เขาศึกษากัน มันมีโอกาสได้มากกว่าสัตว์เดรัจฉานนะ สัตว์เดรัจฉานเขายังมีความคิดแบบนั้นเลย แล้วว่ากรรมๆ ไง แล้วว่าเราไม่ปาณาติปาตา ทำลายชีวิตของเขา

แม้แต่เขาก็คิดของเขาเป็น นี่พูดถึงเรื่องของกรรมนะ ไม่ใช่พูดให้ส่งเสริมการทำลายกัน สิ่งที่ทำลายกันไม่มี แล้วเราก็คิดโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก คิดโดยทิฏฐิมานะไงว่า สิ่งนี้ทำมันเป็นกรรมๆ...เขาเองเขาก็อยากจะทำกรรมดีของเขา เขาก็อยากสร้างบุญกุศลของเขา เขาไม่มีโอกาส เขามีแต่เนื้อหนังมังสาของเขาเท่านั้น เพราะเขาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน

ปาณาติปาตา คือว่าต้ององค์ประกอบครบไง เราตั้งใจไปฆ่าสัตว์แล้วก็ทำการฆ่าสัตว์ ต้องมีสัตว์ให้เราฆ่าด้วยนะ ถ้าเราฆ่าสัตว์ สัตว์นั้นชีวิตขาดไป เห็นไหม ผิดศีลในข้อปาณาติปาตา แต่เราไม่ได้ทำศีลนั้น ไม่ได้ทำศีลนั้นเลย แต่กรรมก็มีนะ สิ่งที่กรรมมีนี้คือเรื่องของผลของวัฏฏะไหม

ดูสิ ดูชีวิตการเกิดของเรา เกิดมาแล้วมันมีกรรม มันต้องมีความผูกพันกันไปเป็นสายบุญสายกรรมยาวเหยียดไม่มีที่สิ้นสุดเลย แล้วชีวิตนี้มันจะเป็นแบบใด เห็นไหม ถ้าเรามีความรู้สึก มีความคิดอย่างนี้ นี่จิตใจควรแก่ธรรม แต่สัตว์เดรัจฉาน แม้แต่เกิดเหมือนกัน แต่จิตใจเขาไม่ควรแก่ธรรม แต่เขาสร้างคุณงามความดีของเขาได้ แม้แต่พระโพธิสัตว์ที่เกิดมา สิ่งที่เกิดมาเขาก็สร้างคุณงามความดีของเขา แต่สร้างได้เท่านั้น พอสร้างเขาก็เกิดต่อไป

แต่เวลาควรแก่ธรรมนะ แล้วถ้าจิตนี้ออกประพฤติปฏิบัติ จิตนี้เข้าไปถึงธรรม จิตนี้เป็นธรรม พอจิตนี้เป็นธรรมมันจะไม่เกิดอีกนะ สิ่งที่ไม่เกิดอีก เห็นไหม จิตไม่เคยชราคร่ำคร่า มันจะอยู่ของมันสภาวะแบบนั้น มันเป็นธาตุรู้ มันเป็นสิ่งที่มีชีวิต มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ เป็นนามธรรม แล้วก็เกิดมาเป็นเรานี่ เป็นเรา เรามีหัวใจนะ เราถึงมีความรู้สึก เวลานอนหลับ ความรู้สึกก็มีอยู่ แต่อายตนะดับหมดเลย แต่เวลาเราตื่นขึ้นมา ความคิดของเราคิด คิดแล้วมันก็คิดด้วยอะไรล่ะ? คิดโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา เป็นชาวพุทธ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นเจ้าของศาสนา ถ้าเราเป็นชาวพุทธ เราเป็นพุทธมามกะ เรากราบถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของเรา เราจะเป็นเจ้าของศาสนา แล้วจิตใจมันควรแก่ธรรมไหม ถ้าควรแก่ธรรม มันควรจะมีความร่มเย็นเป็นสุขในหัวใจของเรา ความร่มเย็นเป็นสุขเกิดจากไหน? เกิดจากหัวใจดวงนี้ เกิดจากธรรม

ธรรมนะ สมาธิธรรม “ศีล สมาธิ ปัญญา” ถ้ามีศีล ศีลมันจะปกครองให้จิตนี้เป็นปกติ จิตของเรานี่เป็นปกติ...เพราะเราไม่มีศีล จิตของเราถึงผิดปกติ พอผิดปกติ ตัณหาความทะยานอยากมันก็สอดเข้ามา เพราะอะไร เพราะเราไม่มีศีลควบคุมใจของเรา ถ้าเราไม่มีศีลควบคุมใจของเรา ความคิดตัณหาความทะยานอยากมันก็เป็นไปตามอำนาจของเขา พอตามอำนาจของเขา เขาก็หลงไปในโลกไง

ยิ่งเกิดมามีสถานะ เกิดมาเป็นคนมั่งมีศรีสุข ชีวิตนี้เกิดมามีแต่ความสุข บอกว่า ชีวิตนี้มีความสุขเพราะว่าอะไร เพราะเขามีเครื่องบำรุงบำเรอของเขา เขามีเงินทอง เขามีโอกาสทั้งนั้น ก็นี่ไง ใจนี้ควรแก่ธรรม ทั้งๆ ที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา แล้วก็กล่าวถึงรัตนตรัยนะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะเป็นชาวพุทธ ใจนี้ควรแก่ธรรม...ไม่ควรไง เพราะมันเป็นของไม่ควร ถ้าเป็นของไม่ควร เป็นของสิ่งตรงข้ามมันจะเป็นธรรมได้อย่างไรล่ะ

ในเมื่อไม่เป็นธรรม เกิดมาแล้วเป็นชาวพุทธเหมือนกัน ดูสิ ดูคหบดีต่างๆ ที่เขาเป็นชาวพุทธสิ เขาก็เป็นชาวพุทธนะ เขาทำสถานะตัวของเขาเป็นชาวพุทธ เป็นชาวพุทธไหม? ไม่เป็นชาวพุทธเพราะอะไร เพราะเขาทำลายกัน เขาเบียดเบียนกัน เขาแสวงหาความสุขของเขาโดยไปทำลายโอกาสของคนอื่น ไปทำลายทุกๆ อย่าง เห็นไหม นี่เพราะอะไรล่ะ

เพราะเขาคิดของเขาว่าสิ่งนี้เป็นผลประโยชน์ของเขาไง คิดโดยตัณหาความทะยานอยาก นี่จิตใจที่ไม่ควรแก่ธรรม มันจะให้โทษกับตัวเองนะ ผู้ใดกระทำ สิ่งนั้นการกระทำเกิดจากอะไร? ต้องเกิดจากเจตนา เกิดจากความรู้สึก เห็นไหม ดูสิ เวลาเราประพฤติปฏิบัติกัน จิตคึกจิตคะนอง เวลามันคึกคะนองขึ้นมามันมีอำนาจเหนือหัวใจของเรา ความคิดนี้ฟุ้งซ่านออกไป

ความคิดมันชักนำนะ อย่างเช่นคนจะมีโครงการสิ่งใด คนจะเริ่มไปทำสภาวะแบบใด มันต้องมีความคิดขึ้นมา มันต้องวางโครงการนะ นี่สิ่งที่จะทำให้เราทำตามโครงการนั้น ทำโครงการนั้นเพราะอะไร เพราะเราตั้งสติของเราขึ้นมาแล้วเราคิดของเรา ทำสภาวะแบบนั้น แล้วเวลาคนเขาจะเบียดเบียนกัน เขาจะคิดอย่างนั้นไหม ถ้าเขาคิดอย่างนั้น นี่ความคิดอันนี้มันเป็นไฟไหม มันเผาใจดวงนั้นไง

เห็นไหม ผู้ใดกระทำ ผู้นั้นได้รับผลไง แต่ผู้ที่โดนกระทำ ถ้าพูดถึงทางศาสนา พูดถึงเรื่องกรรม เขาจะบอกว่าเป็นลัทธิยอมจำนน เราไม่ยอมจำนนหรอก เราฝืน เราพยายามคัดค้าน เราพยายามต่อสู้ของเรา แต่ในเมื่อกรรมมันให้ผลมาอย่างนั้น เราฝืนมันก็เป็นปัจจุบัน เราพยายามสร้างสมบุญญาธิการของเราในปัจจุบันนี้ แต่เรื่องสภาวกรรมนี่เราจะไม่สามารถจะไปยับยั้งสิ่งสภาวะนั้นเลย

เวลากรรมมันให้ผลนะ มันให้ผลสภาวะแบบนั้น ดูสิ ดูอย่างจิตใจของเรา เวลามันกระด้าง เวลามันไม่เชื่อ เวลาการประพฤติปฏิบัตินี่มันต่อต้าน จะคอตกเลยนะ สิ่งนี้มันเหยียบย่ำในหัวใจ แต่เวลาเราฟังธรรมของครูบาอาจารย์ เราคบบัณฑิต ในหมู่คณะ ในหมู่ที่เขาประพฤติปฏิบัติกัน หัวใจเราจะมีแต่ความองอาจกล้าหาญนะ เหมือนกับนิพพานอยู่แค่มือเอื้อมไง

เวลาอยู่ในวงการปฏิบัติ เห็นหมู่คณะเดินจงกรม เห็นหมู่คณะนั่งสมาธิภาวนากัน เราก็นั่งสมาธิภาวนา เหมือนกับมันจะอยู่ในมือของเราเลยนะ เพราะอะไร เพราะเราคบบัณฑิตไง เวลาหัวใจมันองอาจกล้าหาญขึ้นมาอย่างนั้น นี่มันเป็นธรรมขึ้นมาส่วนหนึ่ง เป็นสภาวธรรม ศีล สมาธิ ปัญญานะ มันเป็นสมาธิธรรมมันเป็นความสุขขึ้นมาได้ถ้าใจควรแก่ธรรม

แต่ถ้าใจควรแก่โลก ทั้งๆ ที่เป็นชาวพุทธเขาก็ไม่สนใจ เขาไม่สนใจนะ แล้วยิ่งยังดูถูกเหยียดหยามผู้ที่ประพฤติปฏิบัติด้วยว่าทำไมเอาชีวิตไปในใช้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ทั้งๆ ที่เป็นประโยชน์มาก เรื่องของโลกนะ ดูสิ คนถ้าไม่มีทรัพย์สินเงินทองเลย เขาก็กู้เงินได้ เขาก็หาโอกาสของเขาได้ เพราะเรื่องของโลก เรื่องสิ่งนี้มันหยาบๆ

แต่เรื่องของธรรม มีเงินทองล้นฟ้านะ แต่ไม่สามารถซื้อศีล สมาธิ ปัญญา ที่ไหนหรอก ไม่สามารถเอาสิ่งนี้มาในหัวใจของเราได้หรอก สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากหัวใจขึ้นมา สิ่งที่เป็นความสุข เป็นสัจธรรมตามความเป็นจริง มันต้องเกิดมีการประพฤติปฏิบัติ ในสมัยพุทธกาล เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ยสะเขามีสถานะเทียบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ มีปราสาท ๓ หลัง มีปราสาทที่อยู่อาศัย ถึงฤดูกาลหนึ่งก็ย้ายอยู่ปราสาทหลังหนึ่ง นี่อยู่สภาวะแบบนั้น

“ที่นี่เดือดร้อนหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่เดือนร้อนหนอ” เห็นไหม รำพึงรำพันนะ

เพราะจิตมันสมควร จิตนี้ควรแก่คุณธรรมแล้ว แล้วถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเขาจะไปเจอใครล่ะ “ที่นี่เดือดร้อนหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ” ใจเรามันในปัจจุบันนี้ก็เดือนร้อน ใจในปัจจุบันนี้ก็เดือนร้อนหนอ ดิ้นรนหนอ แล้วเราประพฤติปฏิบัติจะหาครูหาอาจารย์จากที่ไหนล่ะ

แต่ยสะเดินออกไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเดินจงกรมอยู่นะ “ยสะมานี่ ที่นี่ไม่เดือดร้อน ที่นี่ไม่วุ่นวาย” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการนะว่า “โลกนี้ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา” พระยสะมีดวงตาเห็นธรรมนะ พ่อตามมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังไว้ก่อน แล้วเทศนาว่าการโปรดพ่อ เวลาจิตมันเปิดแล้ว ฟังเทศน์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์โปรดพ่อ พระยสะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา เห็นไหม จิตใจควรแก่ธรรม แล้วก็ถึงธรรม

จิตใจของเราควรแก่ธรรม เราเป็นมนุษย์นี่ควรแก่ธรรม เป็นชาวพุทธด้วย เป็นเจ้าของศาสนาโดยสิทธิ เจ้าของศาสนานะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับบริษัท ๔ เราเป็นบริษัท ๔ เราเป็นสิทธิในศาสนา เหมือนเจ้าของบริษัท แต่เรามีธรรมในหัวใจของเราไหม ถ้ามีธรรม จิตใจควรแก่ธรรมแล้วต้องประพฤติปฏิบัติ

เรื่องของสัมมาอาชีวะ เรื่องของโลก พูดไม่มีที่สิ้นสุดหรอก เรื่องโลกมันวนเวียนไปอย่างนี้ คนเรามั่งมีศรีสุขขนาดไหน เวลาทุกข์ขึ้นมามันก็บีบบี้สีไฟในหัวใจ คนทุกข์จนเข็ญใจขนาดไหน ทุกข์ตัณหาความทะยานอยากมันก็บีบเหมือนกัน ทุกข์คนรวยคนจนมันก็ทุกข์อันเดียวกันนี่แหละ แต่สถานะข้างนอกไง สังคมมองไป คนมั่งมีศรีสุข คนนั้นจะไม่มีความทุกข์ คนทุกข์คนเข็ญใจจะมีความทุกข์

ถ้ามองในแง่ของธรรมนะ คนมั่งมีศรีสุขนั่นแหละทุกข์มากกว่า เพราะเขาต้องมีความรับผิดชอบมากกว่า เขาจะมีความตึงเครียดในชีวิตของเขามากกว่า คนจนก็ทุกข์อย่างหนึ่ง ทุกข์แค่เรื่องปัจจัยไง ปัจจัยเครื่องอาศัย ทุกข์อย่างนี้ทุกข์แสวงหาเพื่อดำรงชีวิต สิ่งที่ดำรงชีวิตมันปัจจัยเครื่องอาศัยก็ดำรงชีวิตไป สิ่งนี้ก็เป็นทุกข์อันหนึ่ง แต่ทุกข์การหาปัจจัยนะ แต่คนที่มีปัจจัย มีสิ่งต่างๆ มาก ทุกข์นะ ทุกข์ต้องดำรงชีวิตเหมือนกัน ทุกข์ต้องรักษา ทุกข์ต่างๆ

แต่ถ้าคนมีธรรม จิตใจควรแก่การงานนะ อนาถบิณฑิกเศรษฐีมีเงินมหาศาลเลย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเยี่ยมที่นี่ ไปได้ฟังว่าพระพุทธเจ้าเกิดแล้ว นี่จิตใจควรแก่ธรรม มีความต้องการพบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากจนนอนไม่ได้นะ จนไปดักรอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนิมนต์ไปโปรดที่เมืองของตัว เอาเงินปูเลย ปูซื้อที่ถวายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เวลาทำแล้ว คิดพิจารณาแล้ว ถึงจิตใจนี้ควรแก่ธรรม แล้วเข้าถึงธรรมไง คนควรแก่ธรรม มันก็คิดว่าพอใจในปัจจุบันนี้ ถ้าเราสนใจเรื่องศาสนา แล้วสนใจแก่นของศาสนา ศาสนา เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา “จะสอนใครได้หนอ จะสอนใครได้หนอ” เพราะมันลึกลับซับซ้อน จนทอดธุระนะ ทั้งๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ภาระหน้าที่ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธกิจ ๕ คือการรื้อสัตว์ขนสัตว์ ตั้งปรารถนาไว้ด้วย แล้วบรรลุธรรมจนถึงที่สุดของกิเลสด้วย คือสมบูรณ์แล้วยังกลับ นี่มันกลับ ตีกลับไง ตีกลับว่าจะทอดธุระ จะไม่สอนเลย เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้ละเอียดอ่อนมาก เวลาวางธรรมและวินัยไว้ ถึงบอกว่าเริ่มจากทาน ระดับของทาน ก็เรื่องฆราวาสธรรม เรื่องของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เรื่องของนักรบ คือภิกษุ ภิกษุณี ที่จะออกประพฤติปฏิบัติ สิ่งนี้มันถึงว่า ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ นี่แก่นของธรรม

เวลาว่าเป็นชาวพุทธ ชาวพุทธก็แค่ทะเบียนบ้านในชาวพุทธ เวลาเราไปทำบัตรกัน เราลงช่องศาสนาอะไร? ก็ว่าเป็นชาวพุทธ ชาวพุทธในปัจจุบันเขามีหน้าที่เท่านี้นะ หน้าที่ว่าลงแค่ว่าเราเป็นชาวพุทธ แต่เรามองกลับมาสิ แล้วผู้ที่ใฝ่เข้ามา เขาเริ่มสละทานของเขา ถ้าเขามีปัญญาของเรา เขาสละทานของเขา เขาทำคุณงามความดีของเขา สิ่งนั้นก็เป็นใจที่ควรแก่ธรรมในระดับหนึ่ง

เห็นไหม แล้วเราสละทาน สละทานถ้ามีหัวใจ มีสติ มีปัญญาขึ้นมา มันจะใคร่ครวญขึ้นมา ถ้าใคร่ครวญขึ้นมา ตั้งแต่ทาน แล้วระดับศีล ระดับผู้ที่ปฏิบัติ ถึงบอกว่า ถ้าเราจะเอาแก่นของธรรมไง ถ้าเราจะเข้าแก่นของธรรม เราจะออกเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ แล้วผู้ที่มีจริตนิสัย เวลาเราอยากจะเป็นนักรบ เวลาเข้าถึงแก่นธรรม ทุกคนก็ต้องการให้จิตนี้เข้าถึงธรรม ควรแก่ธรรมอย่างหนึ่ง เข้าถึงธรรมอย่างหนึ่ง แล้วเข้าถึงธรรม ควรแก่ธรรม จะทำอย่างไรให้ควรแก่ธรรม

ดูสิ เวลาถวายอาหารพระเป็นกัปปิยภัณฑ์ สิ่งที่สมควรแก่ภิกษุไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ว่าใครถวายอาหารแล้วจะฉันได้หมด เห็นไหม เนื้อ ๑๐ อย่างห้ามนะ เนื้อสุนัข เนื้อจระเข้ เนื้อเสือ เนื้อต่างๆ เนื้อ ๑๐ ชนิด เนื้อมนุษย์ด้วย ห้ามฉัน ฉันนี่เป็นอาบัติปาจิตตีย์ มันเป็นของที่ไม่ควรแก่ภิกษุ

เพราะภิกษุสมัยพุทธกาล ภิกษุนี้ออกประพฤติปฏิบัติ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรม ภิกษุ ๖๑ องค์ ให้ไปอย่าซ้อนทางกัน ไปในป่าในเขาทั้งนั้นน่ะ สิ่งที่ไปในป่าในเขา สมัยนั้นยังไม่มีธรรมวินัยก็จริงอยู่ การที่ว่า สิ่งที่เริ่มต้นขึ้นมา เริ่มต้นจากพระที่อยู่ป่านี่แหละเป็นที่เผยแผ่ธรรม พระที่เป็นพระบ้านอยู่กับบ้าน เอาอะไรไปเผยแผ่ธรรม เพราะมันเป็นจุดเดียว

แต่การเผยแผ่ธรรมดูสิ ดูอย่างพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งพระออกไปเป็นสายๆ เพื่อจะเผยแผ่ธรรมนี้ขึ้นมาไง เวลาเผยแผ่ธรรม ภิกษุผู้ออกอยู่ป่า แล้วการฉันอาหารอย่างนั้นมันเป็น...เวลารู้แจ้ง โลกนอกโลกใน เห็นไหม โลกนอก ถ้าเราไปฉันเนื้ออย่างนั้นมันมีกลิ่นมันมีต่างๆ กับร่างกาย มันจะเป็นโทษไง สิ่งที่ได้กลิ่นมันจะเป็นโทษ มันเป็นเรื่องของสังคมที่มองแล้วไม่สวยงาม อันนั้นอันหนึ่ง

แล้วการพยาบาท การผูกพัน ดูสิ ดูอย่างที่ว่า ควายที่จะตาย คิดถึงพระ นี่สละทาน สิ่งนี้มันผูกพันไปได้ แต่ขณะที่เราฉันอาหาร เป็นอาหารนั้นเป็นมังสะน่ะ เนื้อ ๓ อย่าง เขาไม่เจาะจง เขาไม่ได้ฆ่าเจาะจงเพื่อภิกษุองค์นั้น เราไม่ได้เห็น เราไม่ได้ยิน ไม่ได้ฟัง สิ่งนี้มันเป็นความบริสุทธิ์ นี่กัปปิยภัณฑ์ มันอยู่ตรงนี้ไง ตรงที่ไม่มีเจตนา ตรงที่ไม่มีต่างๆ สิ่งนี้เกิดในวัฏฏะ สิ่งที่สัตว์เกิดมา มันก็ตายของมันโดยชีวิตของมัน แต่ถ้าเขาเป็นธุรกิจของโลกก็เป็นสภาวะแบบนั้น ไม่มีใครสามารถจะไปบังคับให้สังคมเป็นตามความรู้สึกของเรา

เว้นไว้แต่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ของเราที่มีบุญญาธิการ เวลาเทศนาว่าการไป สิ่งนี้เป็นศีลธรรมจริยธรรมฝังเข้าไปในหัวใจ ถ้าฝังเข้าไปในหัวใจของสัตว์โลก ในสังคมนั้น ถ้าเขามีเจตนา มีคุณงามความดีของเขา เขาจะไม่ทำของเขาเอง สิ่งที่เขาไม่ทำของเขาเอง เขาก็สังคมเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ศีลธรรมจริยธรรมเกิดขึ้นมาจากใจของสัตว์โลกนะ ซับสมมาในหัวใจนั้น สิ่งที่ผู้มีบุญญาธิการเทศนาว่าการไปมันจะซับเข้าไปในหัวใจ

นี่เรื่องของสังคม ใครจะไปจัดการสภาวะแบบนั้น ถึงมันเป็นผลของวัฏฏะไง วัฏฏะ ที่ว่าสังคมเสื่อม สังคมเจริญ สิ่งนี้เกิดขึ้นมาจากหัวใจ เกิดจากผู้นำ เกิดจากการกระทำนั้น ถ้ามันเป็นสภาวะแบบนี้ นี่เป็นเรื่องของการตกผลึกในหัวใจนะ มันจะควรแก่ธรรมไปเรื่อยๆ ถ้าจิตนี้ควรแก่ธรรมมันจะเริ่มไขว่คว้า เริ่มแสวงหา

อย่างเช่นเราจะออกบวช บวชเป็นภิกษุ เป็นพระ เป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ นี่ควรแก่ธรรม จิตใจที่ควรแก่ธรรม มีอะไรเป็นที่เกาะที่ยึดมั่น นี่ธรรมและวินัย ถ้าธรรมและวินัยเราอยู่ในธรรมอยู่ในวินัย แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันจะเป็นธรรมขึ้นมาจากใจ ธรรมและวินัยนี้เป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดา เป็นศาสดาของเรา

เวลาเราบวชขึ้นมา เวลาออกจากโบสถ์มา ภิกษุขณะที่ว่าสงฆ์ยกเข้าหมู่แล้ว อุปัชฌาย์ต้องบอกถึงนิสัย ๔ อกรณียกิจ ๔ เพราะอะไร เพราะถ้าทำพลาดสิ่งนี้มันขาดจากภิกษุไง มันขาดเลยนะ ถ้าเกิดทำบาปอกุศล ถึงว่าอาบัติหนักนี่ขาดจากภิกษุ คือเกิดมาก็ตายเลย อุปัชฌาย์ต้องบอกนิสัย ๔ อกรณียกิจ ๔ นี้ก่อน สิ่งนี้บอกขึ้นมา ห้ามทำเด็ดขาด แล้วเราก็ต้องศึกษากับครูบาอาจารย์ไป สิ่งนี้ถ้าเกิดขึ้นมา นี่ธรรมและวินัยนี้จะเป็นศาสดาของเรา ถ้าเป็นศาสดาของเรา นี่ควรแก่ธรรม ถ้าควรแก่ธรรมขึ้นมาแล้วภิกษุนักรบมันจะไปประพฤติปฏิบัติไหม ถ้าห่างไกลธรรมและวินัยไง

เวลากิเลสตัณหาความทะยานอยาก ดูสิ ผู้บวชมา ในสมัยพุทธกาลนะ ฉัพพัคคีย์ ภิกษุ ๖ เวลาบัญญัติวินัยขึ้นมา สิ่งนั้นก็ทำไม่ได้ๆ บวชเข้ามาในศาสนา อาศัยศาสนาอยู่ แล้วมันไม่ควรแก่ธรรมไง ทั้งๆ ที่เป็นนักรบนะ บวชเป็นภิกษุแล้วประพฤติปฏิบัติ ถ้าประพฤติปฏิบัติจะเข้าถึงธรรม ยังออกนอกลู่นอกทาง เพราะว่าอะไร เพราะมันอยู่ที่เปลือกไง

เห็นไหม เวลาเราบวชแล้ว เราบวชมาเพื่อเป็นโอกาส เราเกิดมา คนเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ พ่อแม่ต้องบำรุงรักษาขึ้นมาให้มีวิชาต่างๆ นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราบวชขึ้นมาจากอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์อาจารย์ ต้องขอนิสัย สิ่งที่นิสัยต้องฝึกหัดให้ได้นิสัยขึ้นมา นิสัยคือธรรมและวินัย เพราะนิสัย ๔ นิสัยของครูบาอาจารย์ ถ้าครูบาอาจารย์ชี้นำไป นี่ฝึกฝนขึ้นมาไง

ถ้าพรรษา ๕ แล้วเป็นผู้ที่ฉลาด ถ้าพรรษา ๕ พรรษา ๑๐ พรรษา ๑๐๐ ก็แล้วแต่ ถ้าไม่เป็นผู้ฉลาด ไม่พ้นนิสัยหรอก ไม่พ้นนิสัยเพราะเอาตัวรอดไม่ได้ไง ไม่พ้นนิสัย ไม่เป็นผู้ฉลาด แล้วออกไปมันจะเข้าร่องเข้ารอยกับธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม วินัยบอกไว้นะ พระปาฏิโมกข์ เสขิยวัตร การประพฤติต่างๆ การเคลื่อนไหวไป การกระทำต่างๆ มันเป็นอาบัตินะ อาบัติคือความชั่ว

ถ้าสิ่งที่มันเป็นอาบัติแล้วเราไม่ปลงอาบัติให้สิ่งนี้พ้นออกไป คิดดูสิ ของสกปรกมันก็ทับไว้ก็สกปรก อาบัติซับซ้อนๆ ขึ้นไป สิ่งนี้มันควรแก่ธรรมไหม ถ้าไม่ควรแก่ธรรมแล้วจะทำสมาธิขึ้นมาได้อย่างไร มันจะเป็นธรรมขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งๆ ที่เป็นนักรบนะ เราจะย้อนกลับมาว่า ถ้าเราเกิดเป็นคฤหัสถ์ แล้วเราไม่ได้บวชนะ เราก็ว่าเราอยาก แต่เราไม่มีโอกาสเหมือนภิกษุ ภิกษุบวชแล้วมีโอกาสมาก ประพฤติปฏิบัติมาก

แต่ขณะที่เป็นภิกษุ ฉัพพัคคีย์ ในพระวินัย ฉัพพัคคีย์ ภิกษุ ๖ ทำสิ่งนี้ไว้มากเลย นี่เป็นต้นเหตุของการบัญญัติวินัยๆ มาตลอด ทั้งๆ ที่เป็นนักรบนะ นี่ถ้าใจไม่ควรแก่ธรรม จะอยู่ในเพศใดมันก็ไม่ควรทั้งนั้นแหละ แต่ถ้าเราควรแก่ธรรม มันมีความมุมานะ มันมีความละอาย ความเกรงกลัวไง มันมีสมบัติน่ะ มรรค เราเก็บเล็กผสมน้อย

เวลาประพฤติผิดวินัย นี่เก็บเล็กผสมน้อย อาบัติเล็กอาบัติน้อยเราก็ไม่ทำ คนเรานะรู้จักเก็บ รู้จักประหยัดมัธยัสถ์ เราทำธุรกิจสิ่งใด มันก็จะมีผลประโยชน์กับเราขึ้นมา คนฟุ่มเฟือย คนใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย จะมั่งมีศรีสุขขนาดไหน จะรวยขนาดไหน ถ้ารักษาสมบัติไว้ไม่ได้ มันก็ต้องทุกข์จนเข็ญใจเข้าสักวันหนึ่งแน่นอน แต่คนถ้ามีความประหยัดมัธยัสถ์ขึ้นมา จะทุกข์จนเข็ญใจขนาดไหน เราหมั่นเก็บออมรอมริบเราจะเป็นเศรษฐีขึ้นมาแน่นอน เห็นไหม ถ้าเราบวชแล้วเราไม่ทำอาบัติ เราจะให้จิตใจควรแก่ธรรม แล้วรักษาสิ่งนี้ไว้ไม่ให้จิตใจมันเน่า ไม่ให้จิตใจมันบูด ไม่ให้จิตใจมันเสียไป ไม่ให้มันหมักหมมในหัวใจ เห็นไหม ต้องรักษาธรรมและวินัย

ถ้าขอนิสัยกับครูบาอาจารย์ก็รักษาสิ่งนี้ขึ้นมาเพื่อจะเป็นประโยชน์กับตัว พอประโยชน์กับตัวมันก็องอาจกล้าหาญนะ ผู้ที่มีศีลจะเข้าสังคมใดองอาจกล้าหาญมาก ผู้ใดทุศีลจะไม่เข้ากับหมู่คณะ เพราะสิ่งที่หมู่คณะ เวลาคำพูดกิริยาท่าทางมันออกมาจากอะไร? มันออกมาจากจิต มันเคอะเขินไง เราเป็นคนกระทำเอง แล้วบอกว่าสิ่งนี้เป็นธรรมเป็นวินัย ก็เราทำเอง ทำผิดเอง แล้วบอกเป็นธรรมวินัยขึ้นมา นี่มันควรแก่ธรรมไหม

ในเมื่อมันไม่ควรแก่ธรรม แม้แต่มันเป็นอาบัติอยู่ในหัวใจ มันเป็นสิ่งที่บาดหมางในหัวใจ แล้วเราพูดออกไป มันจะเป็นสภาวะแบบนั้นไหม นี่มันก็เป็นนิวรณธรรม เพราะมันเป็นความกังวล

ในเมื่อมีกิเลสในหัวใจ ดูสิว่าใจไม่เคยชราคร่ำคร่า แม้แต่สิ่งที่สะสมมา ทำกรรมมาแต่ชาติไหนก็แล้วแต่ มันจะสะสมมาเป็นจริตนิสัย สิ่งที่เป็นนิสัย ขณะที่ว่าเป็นอดีตชาติสิ่งที่สะสมมามันยังซับลงที่ใจ แล้วการกระทำในปัจจุบันนี้ทำไมมันไม่ซับลงที่ใจ ถ้ามันซับลงที่ใจแล้วมันจะมีความองอาจกล้าหาญมาจากไหนล่ะ มันก็หมักหมมในหัวใจนั่นล่ะ ถึงต้องปลงอาบัตินะ

ทั้งๆ ที่เราเป็นนักรบ มันต้องทำให้เรา สิ่งที่หัวใจนี้ควรแก่ธรรม ถ้าควรแก่ธรรมมันก็มีความองอาจกล้าหาญใช่ไหม ในการตั้งสติขึ้นมาทำให้หัวใจเราสงบเข้ามา ถ้ามันจะเข้าถึงธรรมได้ ถ้าเป็นสมาธิธรรม แม้แต่สมาธินี่เราจะเริ่มเห็นต้นทุน เห็นเค้ามูลของความรู้สึก นี่ใจอยู่ไหน ความรู้สึกอยู่ไหน กิเลสอยู่ที่ไหน

ทุกคนบอกเลยนะ เวลาบวชนี่ขอให้อาจารย์สอนเข้ามาเถอะ ขอให้อาจารย์บอกมาว่ากิเลสอยู่ที่ไหน จะฆ่ามันๆ อยากจะบรรลุธรรมมาก เพราะอะไร นี่เวลาจิตมันฟู เวลามีความรู้สึกองอาจกล้าหาญ มันจะคิดอย่างนั้น ให้เดินจงกรม ให้นั่งสมาธิภาวนา เวลามีดนะ ถ้ามันกล้า สิ่งที่กล้าเกินไป เวลาไปเจอของแข็งมันบิ่นนะ สิ่งที่กล้า สิ่งที่ควรเป็นความคม มันต้องคมในฝัก

สิ่งที่คมในฝัก เห็นไหม เวลาเรานั่งสมาธิภาวนา เราจะใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราต้องมีสติไง ถ้าเป็นสติ สิ่งที่เป็นสติ มันก็เป็นมัชฌิมา คือสมควร นี่กิเลสอยู่ไหนขอให้บอกมา จะฟันมันจะฆ่ามัน แล้วเดินจงกรม พยายามต่อสู้ มันก็เป็นสักแต่ว่าทำ เพราะขาดสติไง มันมีแต่ความองอาจกล้าหาญ มันมีแต่ความกล้าจนบิ่น กล้าจนเป็นเหล็กกล้า เหล็กกล้าไปเจอสิ่งใด มันก็กะเทาะ มันก็บิ่นไปหมดเลย

ต้องมีสติ แล้วพยายามจงใจตั้งใจทำของเรา รักษาความสะอาดบริสุทธิ์ไป มันก็เหมือนการนวดแป้ง นวดแป้งแล้วเราจะทำสิ่งที่เป็นอาหารขึ้นมา เราต้องพยายามนวด พยายามให้แป้งมันสมควรแก่การทำอาหารชนิดนั้นๆ เห็นไหม นี่ความสมควรไง นวดแป้งไว้แล้วไม่ทำให้แป้งมันบูดเน่าเสียหายไป

การแสวงหาอาหาร สิ่งที่จะมาเป็นอาหารของเรา มันจะเป็นอาหารของเรา จะสุกขึ้นมา นี่ก็เหมือนกัน เรามีสติ เรามีสมาธิ เรามีงาน เรามีความเพียร เรามีสิ่งต่างๆ มันก็เป็นมรรค ๘ สิ่งนี้เก็บหอมรอมริบ การฝึกฝนขึ้นไป เริ่มต้นจากการฝึกฝนนะ ความกล้าหาญขนาดไหน มีสติมันก็เป็นความสมดุล

ความสมดุล ถ้าความสมดุลแล้วเราทำไป ไม่ต้องถามอาจารย์ว่ากิเลสอยู่ไหน จะฆ่ากิเลส มันมีแต่ความคิดส่งออก สิ่งที่ส่งออกไป เห็นไหม สิ่งนี้กิเลสมันหลอกแล้ว เวลาการกระทำ องอาจกล้าหาญจนออกไป บิ่นหมด การคมในฝักนะ ธรรมนี่เป็นคมในฝัก ดูสิ ดูครูบาอาจารย์ของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาออกบิณฑบาตตอนเช้า ถ้ายังมีเวลาเหลืออยู่จะไปหาเจ้าลัทธิต่างๆ แล้วสนทนาธรรมกัน สนทนาธรรมนะ ให้ถามมา จะแง่มุมได้ก็ได้

เวลาในศาสนาพราหมณ์ เขาบอกเขาทำบุญของเขา เขาอาบน้ำเพื่อชำระบาป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าอย่างนั้น สัตว์ในน้ำนั้น เช่น เต่า เช่น ปลา เขาชำระบาปทุกวัน สัตว์เขาจะได้บุญมากกว่าเรานะ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคมในฝักตลอดเลยนะ

เทศนาว่าการไป เขาไหว้ทิศอยู่ เขากราบทิศ เขาไหว้ทิศ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า การไหว้ทิศของศาสนาเรา เห็นไหม ทิศทั้ง ๖ ทิศเบื้องบน ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ทิศเบื้องหน้า พ่อแม่ นี่บริหารทิศ บริหารชีวิตเรานี่ เขากลับศรัทธา เขากลับชื่นชมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากเลย นี้เพราะอะไร

เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศว่าเป็นพระอรหันต์ รู้แจ้งโลกนอกโลกในไง แง่มุมใดที่ควรจะเป็นประโยชน์มันจะเป็นปัจจุบันธรรม สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากใจ สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ แต่ขณะที่ใจของเรา กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันมืดบอด แล้วไม่ต้องการสิ่งนั้น ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปัจจุบันธรรมแล้วต้องการจะเป็นสภาวะแบบนั้น แต่ขณะที่เราศึกษาขึ้นมา ว่าเป็นนักรบ จิตใจนี้ควรแก่ธรรม แต่มันองอาจเกินไป มันบิ่นเกินไป มันไม่สมควร มันไม่สมดุลไง ในการประพฤติปฏิบัติมันถึงต้องมีการเริ่มต้น ต้องมีการฝึกฝนไง

ในการปฏิบัติ ดูสิ ดูผู้ที่ชำนาญการต่างๆ เขาต้องใช้เวลาของเขาในการชำนาญขนาดไหน จะวิชาชีพใดก็แล้วแต่ ผู้ที่มีผ่านประสบการณ์มาต่างๆ เขาจะทำงานได้สะดวกคล่องแคล่วของเขาขึ้นไปเรื่อยๆ นี่ก็เหมือนกัน พอเราเป็นนักปฏิบัติขึ้นมาก็ว่าจะเอาให้ได้ผล จะเอาให้ได้ผล สิ่งนี้มันเป็นอัตตกิลมถานุโยค

สิ่งที่ต่างๆ อัตตกิลมถานุโยค เพราะมันต้องการมุมานะ ถ้ามันนอนใจก็เป็นกามสุขัลลิกานุโยค มันเป็นสภาวะแบบนั้น เวลามันท้อถอย เวลาจิตมันสงบขึ้นมาบ้างก็แล้วแต่ มันก็เป็นจิต มันไม่มัชฌิมาปฏิปทา ถึงสิ่งนี้ ความเป็นสมดุลของใจมันต้องฝึกฝนไป ใช้ประสบการณ์ของตัว สิ่งที่ประสบการณ์นี่ผิดถูกอย่างนี้ไม่ต้องไปสนใจนะ คิดว่า ถ้าอย่างนี้จะผิด ถ้าอย่างนี้จะผิด เราก็คิดของเราไป เราก็ตั้งใจของเราไป นี่มันเป็นความกังวลน่ะ

จะผิดจะถูกขอให้มันเป็นประสบการณ์ของจิต เห็นไหม ถ้าเด็ก ถ้าลูกของเรา เราจะไม่ให้ลูกของเรา เด็กของเราล้มลุกคลุกคลานเลย ลูกของเรามันจะเดินได้ไหม เด็กมันจะเดินได้ มันหัดเดินมันก็ต้องล้มของมันเป็นธรรมชาติของมัน จากเด็กอ่อนมันจะลุกขึ้นมาคลานของมัน คลานของเขานะ แล้วโตขึ้นมาเด็กนี้จะเดินได้ ดูสิ มนุษย์เราเกิดมาทุกคนต้องเดินได้ เว้นไว้แต่ผู้พิการเท่านั้น แต่ขณะที่จะเดินได้ มันก็ต้องล้มลุกคลุกคลานไปโดยธรรมชาติของเขา นี่เป็นสัจจะของโลกนะ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าหัวใจมันจะบรรลุธรรม มันจะถึงธรรม ควรแก่ธรรม แต่ถ้าเราไม่ทำเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ของที่ควรอยู่ก็ปล่อยให้เน่าให้เสียไปนะ เริ่มต้นตั้งแต่ทำความสงบของใจ ถ้าเราไม่มีความสงบของใจ มันจะควรแก่ธรรมไปได้อย่างไร มันก็เป็นสิ่งที่เป็นมิจฉา เพราะเป็นความคาดหมาย ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “ที่ไหนมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” ทุกคนคิดเลยล่ะ มันมีรัก มันมีความสุข มันทุกข์ได้อย่างไร

ความรักมันเป็นความโหยหาอาวรณ์นะ มันไม่เป็นความทุกข์เหรอ มันเป็นความทุกข์อันละเอียด แต่คนเข้าใจว่ามันเป็นความสุขไง ถ้าที่ไหนมีรัก เราต้องคิดถึง เราต้องห่วงหาอาวรณ์ เราต้องคิดตลอดไป แล้วถ้าคนรัก แบบว่ารักด้วยความเห็นแก่ตัว รักแล้วจะยึด พยายามจะแสวงหาเป็นของเราๆ เพราะเราไปพอใจ เราไปรัก

มันเป็นสิ่งที่ละเอียดในหัวใจนะ เราไปมองสภาวะแบบนั้น แต่ถ้ามันเป็นสมาธิล่ะ มันเป็นความเมตตากรุณาล่ะ สิ่งที่เป็นความเมตตากรุณา เห็นไหม ความรักนี้มันจะเริ่มปล่อย เหมือนพ่อแม่เลย ลูกเราโตแล้ว ลูกเราทำได้แล้ว ให้เขายืนอยู่ด้วยตัวเขาเอง เราก็ห่วงเราก็อะไร เพราะอะไร

เพราะคนมีกิเลสนะ คนที่มีกิเลสจะบอกให้มันไม่มี เป็นไปไม่ได้หรอก เป็นไปไม่ได้เลยที่ว่าสิ่งนี้ เพราะอะไร เพราะมันเป็นอาการของใจ ในเมื่อเรายังมีหัวใจอยู่ ยังมีความรู้สึกอยู่ ในเมื่อความรู้สึกอันนี้มีอยู่ ความคิดอย่างนี้เป็นธรรมชาติของมัน ถ้าเป็นธรรมชาติ อย่างเช่นเรามีร่างกายอยู่นี่ เราไม่กินอาหารได้ไหม เราไม่ทำความสะอาดร่างกายเราได้ไหม มันเป็นไปไม่ได้หรอก ในเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่มันต้องมีอาหารเข้าไปหล่อเลี้ยงชีวิตเรา แล้วก็ขับสิ่งสกปรกออกมาจากร่างกายนี้ เราก็ต้องทำความสะอาดไปโดยธรรมชาติ ไม่มีใครเก็บหมักหมมไว้หรอก เว้นไว้แต่คนที่เสียสติเท่านั้นเอง

ในเมื่อเรามีจิตอยู่ก็เหมือนกัน สิ่งที่มันเป็นความอาลัยอาวรณ์ สิ่งที่มันเป็นความคิดถึงอันนี้ที่ไม่มี เป็นไปไม่ได้ ในเมื่อเป็นไปไม่ได้ เราก็ไม่ไปทุกข์ร้อน สิ่งที่มีอยู่เราควบคุมไง เราควบคุมสิ่งนี้แล้วเอาสิ่งนี้ให้เป็นประโยชน์ ถ้าจะให้เป็นประโยชน์ เรามีสติ นี่ใจมันควรแก่ธรรม แล้วก็ทำให้สิ่งนี้เข้าถึงธรรม

ขณะที่การประพฤติปฏิบัติเราจะควบคุมจิตนี้ให้เป็นธรรมขึ้นมาตรงที่ควรแก่ธรรม แล้วเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม แม้แต่ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าไม่ยกขึ้นวิปัสสนานะ ถ้ามีสติขณะตั้งไว้ขนาดไหน “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา” สิ่งนี้มันเป็นอนิจจังตลอดไป สิ่งที่เป็นดับธรรมดานี่ พระอัญญาโกณฑัญญะเห็นสัจจะความจริงนะ

แต่ของเรา เราไม่ใช่เป็นธรรมดา มันเป็นความยึด เป็นความยึดของจิต สิ่งนี้เราเห็นสภาวะแบบนี้ เราก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เห็นไหม นี่หามาได้ หาอาหารมา หาสิ่งที่เป็นอาหาร สิ่งที่เราเก็บรักษาไว้มันต้องเน่าบูดไปธรรมดา สัจจะของจิตมันก็ต้องเสื่อมไปเป็นธรรมดา

ดูสิ สิ่งที่ได้ขึ้นมาใหม่ มันจะมีความผูกพันมาก สิ่งที่เราได้ของมาใหม่ เห็นไหม สิ่งวัตถุต่างๆ เราเพิ่งได้มาจะมีความผูกพัน แต่พออยู่ไปสักพักหนึ่งความเคยชินความคุ้นเคยก็จะมีขึ้น แล้วก็เก็บไว้ เดี๋ยวไปเก็บไว้รักษาไว้ พอเอามาใหม่ก็ยังรักอีก เห็นไหม นี่มันเกิดดับ ความรู้สึกมันเกิดดับ พอเห็นกระทบขึ้นมา ความรู้สึกมันก็เกิดดับ

สิ่งนี้เกิดดับ สิ่งนี้เป็นสัจจะความจริง แล้วเราอาศัยเรามีสติสัมปชัญญะ แล้วมีสมาธิ เห็นไหม แล้วย้อนกลับ ทวนกระแส ถ้าทวนกระแสเข้าไป ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิเห็นสภาวะแบบนี้ ถ้าเห็นสภาวะแบบนี้ นี่ย้อนกลับตลอดไป จิตมันจะละเอียดไปเรื่อยๆ พอย้อนกลับ เห็นไหม ความคิดคิดมาจากไหน ความคิดเรื่องสิ่งต่างๆ เรื่องอะไรก็แล้วแต่ มันมีเหตุผลอะไร ถ้าปัญญาไล่ต้อนไปมันจะปล่อย สิ่งที่ปล่อย ปล่อยบ่อยครั้งเข้ามันก็ละเอียดขึ้น ถ้าเราบ่อยครั้งมันก็ละเอียดขึ้น สิ่งที่ละเอียดไม่ต้องไปเข้าใจสิ่งใด นี่ประสบการณ์

การฝึกงาน คนที่ทำงานประสบการณ์ของเขา ถ้าประสบการณ์ของเขาอย่างนี้ เรื่องของโลกนะ ประสบการณ์มันเป็นประสบการณ์ของจิต มันเป็นความเห็นจากภายใน มันจะเก็บไว้ในหัวใจเลย แต่ในการทำความสงบ พอมันเกิดดับๆ เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้ อริยสัจ สิ่งที่เป็นอริยสัจ มรรคญาณมันละเอียด ละเอียดเกินกว่าปุถุชนของเราจะทำความเข้าใจมันได้

ถ้าปุถุชนทำความเข้าใจเรื่องอริยสัจอย่างนี้ยังไม่เข้าใจ เวลามันเสื่อม มันจับต้นชนปลายไม่ได้เลย ประสบการณ์ของโลกเขายังจำได้นะว่าเราทำเคยทำงานอย่างนี้ เคยทำอย่างนี้ แต่ประสบการณ์ของจิต แม้แต่พอได้ขึ้นสงบมา เวลามันเสื่อมขึ้นมาแล้วมันทำไม่ได้นี่งงนะ หมุนไปหาครูบาอาจารย์ “ทำไมเป็นอย่างนี้ ทำได้อย่างนี้มันเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้แล้วทำไมเป็นอย่างนั้น” เพราะอะไร

เพราะถ้ามันยกขึ้นเป็นอริยสัจ มันเป็นวุฒิภาวะที่เหนือความรู้ของปุถุชนไง เพราะเราเป็นปุถุชน เวลาเราวิปัสสนาขึ้นไปเป็นกัลยาณปุถุชน ถ้าเป็นกัลยาณปุถุชนเพราะอะไร เพราะเห็นสภาวะการเกิดดับมันปล่อยวางเข้า ใช้ปัญญาอบรมเข้าไป ใช้ปัญญาไล่ต้อนเข้าไป นี่ถ้าความเข้าใจของกิเลส จิตใจควรแก่ธรรม แล้วมันจะเข้าไม่ถึงธรรม มันก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เวลามันปล่อยวางแล้วเป็นธรรม ว่าง สบาย ว่าง สบาย...นี่มันเสียดายโอกาส เพราะของนี้ สิ่งที่จิตใจควรแก่ธรรม แล้วเข้าไปถึงส่วนประกอบของควรที่จะยกใจให้เป็นธรรม แต่มันเข้าใจผิดด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยากบอกว่านี่คือธรรม ถ้านี่คือธรรม พอจิตมันติดมันจะก้าวเดินอีกไม่ได้เลย

เราหลงทางนะ คนชี้ทางถึงทางถูกเราก็ไปได้ หรือหลงทางแล้วเราไปแสวงหามันก็ยังหาหนทางที่ถูกต้องได้นะ แต่ถ้าจิตมันติดเหมือนคนตาบอด มันไม่ยอมรับสิ่งใดเลย ตัณหาความทะยานอยากเป็นแบบนั้น เขาเรียกว่าติด ถ้าติดคือมันไม่ยอมรับสิ่งใดอีกแล้ว จะต้องทำให้เข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เป็นมิจฉา คือความผิด ถ้าเป็นความผิดขึ้นมา ตามันจะเปิดขึ้นมา สิ่งที่ตาเปิดขึ้นมาแล้วสิ่งนี้จะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จะเกิดขึ้นมาเวลาจิตมันเสื่อม

ถ้าจิตมันเสื่อมมันจะเป็นความรู้สึกเลย เหมือนกับสิ่งที่ว่า เรามีสิ่งใดอยู่ เหมือนที่ว่าเวลาจิตเสื่อมๆ เหมือนเศรษฐีมหาเศรษฐีแล้วล้มละลาย คนล้มละลาย เรามีเงินเป็นมหาศาลเลย แล้วเราล้มละลาย เงินนั้นมันก็ไม่มีคุณค่าใช่ไหม หรือมีเขาก็ยึดไปหมดใช่ไหม พอยึดหมดเราก็ไม่มีสิทธิจะใช้เลย

นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันสงบไง จิตมันปล่อย มันวาง มันมีความสุข สุขมาก เหมือนกับพระอรหันต์เลย ไปไหนนี่องอาจกล้าหาญมาก มีความสงบ นี่นิพพาน ความว่าง สิ่งนี้เป็นนิพพาน สิ่งนี้เป็นความสุข...เวลามันเสื่อมหมดเลยนะ ความว่างทำไมมันทุกข์ล่ะ ความว่างทำไมมันมีแต่ความฟุ้งซ่านล่ะ ทำไมมีความวิตกกังวลล่ะ

นี่มันบอกเองไงว่าจิตเสื่อม ว่าจิตเสื่อมแล้วจะทำอย่างไรขึ้นไปล่ะ จะให้มันไปถึงว่าที่ติดว่านิพพานนั่นน่ะ สิ่งนั้นมันเป็นแค่สมาธิ มันแค่เป็นความว่าง มันขาดสติ มันถึงเป็นมิจฉา ถ้ามีสติขึ้นมามันก็เป็นสัมมา

นี่ไง สิ่งที่ว่า จิตใจควรแก่ธรรม สิ่งที่ควรประกอบขึ้นมาเป็นมรรค ๘ มันควรจะเป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นมาให้เป็นธรรม แต่เราก็ไปติดอยู่ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม มันก็เลยเสื่อมไปหมดโดยใจควรแก่ธรรม แต่ไม่เป็นธรรม

ใจควรแก่ธรรม แต่ใจเป็นธรรมขึ้นมา มันต้องมีสติสัมปชัญญะ แล้วจิตสงบเข้ามา แล้วต้องตั้งฐาน คนมีต้นทุน คนมีแรงขึ้นมา ย้อนไปใช้ปัญญา ถ้ามันเห็นกายก็พิจารณากาย ถ้าไม่เห็นกายก็ใช้ปัญญาฝึกฝนไปเรื่อยๆ ให้ประสบการณ์ของจิตมันมีประสบการณ์ ให้เป็นผู้ชำนาญการ เป็นผู้ชำนาญการเอง เพราะจิตมันจะยกขึ้นจากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน

ถ้ากัลยาณปุถุชน เห็นจากตาของใจนะ ว่าสิ่งที่มันเจริญแล้วเสื่อมเกิดจากรูป รส กลิ่น เสียง เพราะสิ่งนี้ รูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นอาหารของ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ความรู้สึกเป็นอาหารของใจ ความรู้สึกนะ ไม่ต้องผ่านตา เราอยู่ในป่าในเขา ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติอยู่ในถ้ำไม่เห็นสิ่งใดหรอก มันก็เจริญแล้วเสื่อมอย่างนี้ เจริญแล้วเสื่อมมันเกิดจากไหนล่ะ? เกิดจากจิตนี้ เกิดจากความรู้สึกนี้

ไม่เห็นสิ่งใดเลย แต่มันคิดของมันได้ไง เห็นไหม ดูสิ หน้าที่ของตาเห็นรูป ถ้ามีจิตรับรู้ รูปนี้คือรูปสวย รูปงาม รูปไม่สวย ไม่งาม เสียง เสียงเพราะ เสียงด่า เสียงติฉินนินทา กลิ่น นี่หน้าที่ของเขามันรับรู้แต่ละหน้าที่นะ อายตนะ ๖ หน้าที่ต่างๆ รับแต่ละหน้าที่

แต่ใจไม่อย่างนั้นหรอก ใจไม่มีหู ไม่มีตา ไม่มีปาก ไม่มีสิ่งใดเลย มันนึกของมันเองได้ มันสร้างภาพได้ มันรู้จากตัวของมันได้ เห็นไหม แล้วเราอยู่ในถ้ำอยู่ในป่านี่มันนึกได้ มันจินตนาการได้แล้วร้ายกาจด้วย

อยู่ในที่ชุมชน อยู่ในที่หมู่คณะ คลุกคลีในหมู่ สิ่งนี้ไม่เกิดหรอก เพราะกิเลสมันเห็นว่าสัตว์ตัวนี้ไม่มีอนาคต สัตว์ตัวนี้อยู่ในสังคมอย่างนี้ เพราะมันเป็นใจที่ไม่ควรแก่ธรรม เพราะมันทำเป็นสัมมาสมาธิขึ้นมาไง แต่สัตว์ที่มีอนาคต ภิกษุนักรบที่มีอนาคต เขาจะออกหลีกเร้น ออกหาที่สงัด ผู้ที่มีอนาคตกิเลสมันรู้ทันไง สัตว์ที่ไม่มีอนาคต เหมือนกับสัตว์ที่อยู่ในอำนาจของเรา เราไม่ต้องไปรักษามากเพราะสิ่งนี้มันจำนนกับเราอยู่แล้ว สั่งซ้ายหันขวาหัน มันอยู่ในอำนาจของกิเลสแน่นอน มันไปไหนไม่รอดหรอก มันต้องตายไปโดยธรรมชาติ มันยังอยู่ในอาณัติของเราตลอดไป

แต่สัตว์ที่มีอนาคต ออกประพฤติปฏิบัติ ออกอยู่ถ้ำอยู่ป่าอยู่เขา มันจะไม่มีรูป รส กลิ่น เสียงเข้ามากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่มันมีใจน่ะ คนมีใจนี่กิเลสมันยิ่งร้ายกาจ เพราะสัตว์ที่มีอนาคต สัตว์ตัวนี้เหมือนสัตว์ที่มีแวว สัตว์ตัวนี้เป็นสัตว์ที่จะพ้นไปจากอำนาจของเรา กิเลสมันจะเข้าไปในสัตว์ตัวนั้น

พอเราไปอยู่ในที่สงัดนะ ความคิดมันจะต่อต้าน ความคิดรู้สึกมันจะฟุ้งซ่านออกมา มันจะออกมา เพราะอะไรล่ะ เพราะกิเลสเราน่ะ พญามารในหัวใจเรามันมีอำนาจ มันพยายามครอบคลุม พยายามแผ่อำนาจรักษาจิตดวงนี้ไว้ไง

ใจที่ควรแก่ธรรม เวลาเราจะต่อสู้กับกิเลส กิเลสในหัวใจของเรามันยันเราหงายท้องไปก่อน แล้วบอกว่านักรบเป็นพระแล้ว บวชนี่บวชโดยสมมุตินะ บวชออกมาจากครูบาอาจารย์ บวชออกมาจากโบสถ์ เราเป็นพระโดยสมมุติ เรามีศักยภาพ เราเป็นพระโดยสมมุติ มีศีลเท่ากัน มีศีล ๒๒๗ เหมือนกับภิกษุทั่วๆ ไป

เป็นนักรบ เป็นผู้ที่มีโอกาส เพราะในการดำรงชีวิต นักรบนี่อาหารบิณฑบาต แค่การดำรงชีวิตได้เท่านั้น สิ่งที่ดำรงชีวิตได้เพื่อต่อสู้กับกิเลส ในเมื่อเราเป็นภิกษุโดยสมมุติ ถ้าเราจะเป็นภิกษุโดยหัวใจ เป็นนักรบจะเข้าถึงธรรมในหัวใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ ๖๑ องค์ออกเผยแผ่ธรรมขึ้นมาก็เพราะอย่างนี้ไง

“เรา ๖๑ องค์ พร้อมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พ้นจากบ่วงที่เป็นทิพย์และบ่วงที่เป็นโลก”

บ่วงที่เป็นโลกก็รูป รส กลิ่น เสียง สิ่งที่กามคุณนี่เป็นบ่วงของโลก...บ่วงที่เป็นทิพย์ ตั้งแต่พรหมลงมาเป็นทิพย์ เป็นสมบัติของจิตทั้งหมดเลย พ้นจากบ่วงนั้นทั้งหมดเลย แล้วเผยแผ่ธรรมมา แล้วเราเป็นนักรบ มีธรรมและวินัยเป็นดาบ เป็นธงชัยของเราที่เราจะฟันฝ่ากับกิเลสในตัณหาความทะยานอยากของเรา แล้วเราออกไปที่สงัดที่วิเวกเพื่อจะทำความสงบของใจขึ้นมา แล้วมารมันก็เข้ามาควบคุมใจ เห็นไหม มันเป็นการต่อสู้ มันเป็นการประพฤติปฏิบัติของจิตของเรา เราจะมีความเข้มแข็งขนาดไหน

ถ้าเข้มแข็งขึ้นมา เห็นไหม เวลาทุกข์เวลายาก สิ่งที่ทุกข์ยากขึ้นมา จิตใจไม่เคยท้อถอยเลย แต่ถ้าเป็นคนอ่อนแอ เวลามันทุกข์เวลามันยาก มันจะแสวงหาที่สะดวกสบาย มันก็กลับไปคลุกคลีในหมู่คณะ มันก็จะเป็นสัตว์ที่ไม่มีอนาคตไง มันจะเข้าเป็นฝูงสัตว์ที่จะออกไปในวัฏฏะ โคฝูงนั้นจะพาจิตดวงนี้ตกไปในวังน้ำวนไง นี่สิ่งนี้เวลามันท้อแท้น้อยเนื้อต่ำใจ

แต่ถ้าเรามีความเข้มแข็งของใจ เราจะเป็นสัตว์โทน สัตว์ป่าถ้าเป็นสัตว์โทนมันจะไปตัวเดียว มันจะมีความองอาจ มันต้องการจะรักษาชีวิตของมัน รักษาชีวิตของมันเพื่ออะไร? เพื่อดำรงชีวิตของมันไง มันไม่เป็นสัตว์ฝูง สัตว์หมู่ สัตว์ฝูงสัตว์หมู่ไปในหมู่มันอาศัยกัน ปกป้องภัยกัน เพราะมันดำรงชีวิตเผ่าพันธุ์ของมัน

แต่สัตว์โทน หมูโทน สัตว์ต่างๆ มันจะไปตามอำนาจของมัน นี่ก็เหมือนกัน นักรบไง เราไปแบบนอแรด ถ้ามันจะทุกข์ มันจะลำบาก สิ่งที่ลำบากเพราะอะไร เพราะวัฏฏะ คนเกิดคนตายมาในวัฏฏะมันทุกข์กว่านี้อีก เช่น การเกิดจากครรภ์ของมารดา เราออกมาจากช่องคลอด ถ้ามันตายคานั้นก็มี นี่เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง แต่เราจำไม่ได้ สิ่งที่จำไม่ได้ แล้วถ้ามันยังปลดเปลื้องสิ่งที่เป็นอวิชชาในหัวใจไม่ได้ มันจะไปเกิดอีก มันจะไปสุขทุกข์ทั้งเก่าๆ นี้อีก แล้วสิ่งนี้มันจะทำให้จิตตัวนี้ไปทุกข์อีก เห็นไหม

แล้วเวลาจะตายก็รำพึงรำพันกัน อาลัยอาวรณ์กัน ทุกข์ยากกัน จับไม้จูงมือกันให้คิดถึงกัน นี่อาลัยอาวรณ์ไปหมดเลย ทุกข์ไหม ถ้าทุกข์อย่างนี้มันเป็นความทุกข์ที่ทำให้ในวัฏฏะนี้มันบีบคั้นใจมาตลอด แล้วเราออกธุดงค์ ออกประพฤติปฏิบัติ ออกอยู่ในป่าในเขา มันทุกข์อย่างนี้มันทุกข์เพื่ออะไร? มันทุกข์เพื่อจะสุขนะ

ทุกข์ของโลกน้ำตาไหลพรากทุกชาติทุกภพ แล้วก็มาเกิดมาตาย น้ำตาไหลทุกชาติทุกภพ เก็บไว้ถ้าเป็นจิตหนึ่ง น้ำทะเลสูไม่ได้ แต่ขณะที่เราออกประพฤติปฏิบัติ มันจะทุกข์ขนาดไหน ทุกข์เพื่อจะสุขนะ แม้แต่เราออกมา เราชนะตนเอง เราคลุกคลีอยู่ในชีวิต คลุกคลีอยู่ในสังคม นี่สุขอย่างหนึ่ง เพราะอยู่ในสังคมมันอบอุ่นใจ แต่ถ้าเราวิเวกออกไป เราออกประพฤติปฏิบัติมันว้าเหว่ไหม มันสงัดไหม มันวิเวกไหม สิ่งที่วิเวก เห็นไหม สิ่งนี้มันเป็นความสุขนะ

ความสุข ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินะ ความสุขของเราคือความสงัด ความสุขความสงบเกิดจากใจไม่มี เราไปอยู่ในที่สงัดในที่วิเวกมันเป็นความสงบสงัด ตั้งแต่สถานที่วิเวก แล้วกายวิเวกเพราะเราจะแยกออกไป เรามีความสมัครใจ เรามีความองอาจกล้าหาญ เราจะยอมผจญกับความทุกข์ ขาดแคลนเรื่องปัจจัยเครื่องอาศัย แต่หัวใจมันจะองอาจของมัน นี่มันมีความสุข มันสัมผัสได้

แม้แต่กายวิเวก ถ้ามีสติ ในเมื่อเราฟังธรรมของครูบาอาจารย์แล้วมันองอาจกล้าหาญ แค่นี้มันก็เป็นความสุขแล้ว ถ้าเราทุกข์ขนาดไหน ทุกข์เพื่อมีความสุข แล้วเราพยายามฝืน พยายามต่อสู้ การเดินจงกรม การตั้งสตินั่งสมาธิภาวนา ถ้าจิตมันสงบรวมลงมา นี่ความสุขก็เกิดขึ้นมาแล้ว

เราทุกข์เพื่อจะแสวงหาความสุข ทุกข์แบบนี้ทุกข์แบบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกข์แบบครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้ชี้นำมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปี ทุกข์กว่าเราหลายร้อยเท่านัก ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ ในเมื่อครูบาอาจารย์ของเราเป็นผู้ดำเนินมาตามร่องรอยนี้ แล้วเราเดินตามครูบาอาจารย์ของเราไป ครูบาอาจารย์องค์แรกคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราจะน้อยเนื้อต่ำใจไปหาสิ่งใด

ถ้าจิตมันตั้งขึ้นมาอย่างนี้ มันก็มีกำลังขึ้นมา ความทุกข์อย่างนี้มันไม่ได้เป็นความทุกข์เลย มันเป็นชีวิตปกติ มันเป็นชีวิตธรรมดาของนักรบ ชีวิตธรรมดา เห็นไหม เราฉันเพื่อดำรงชีวิต เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “หยอดน้ำมันล้อเกวียนไม่ให้มันเสียงดังออดแอดเท่านั้นล่ะ” ดำรงชีวิตไว้เพื่อจะประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะไม่มาเกิดอีกไง ใจนี้ควรแก่ธรรม แล้วมันจะถึงธรรม มันจะเป็นธรรมขึ้นมา ถ้าเรามีความองอาจกล้าหาญ

ถ้าเรามีความน้อยเนื้อต่ำใจ มีความอ่อนแอ ดูสิ เวลาประพฤติปฏิบัติกัน เราได้ยินแต่ข่าว ข่าวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมอยู่โคนต้นโพธิ์ ข่าวของพระสารีบุตรอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ข่าวของพระโมคคัลลานะ ข่าวของครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ นี่ได้ข่าวมา หลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่ หลวงปู่เสาร์ล่ะ สิ่งนี้ได้แต่ข่าวของคนอื่น อ่านพระไตรปิฎกก็เหมือนกัน ได้แต่ข่าวของคนอื่น

ถ้าประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นความรู้สึกของเรา มันเกิดในปัจจุบันนี้ ถ้ามันเกิดปัจจุบันนี้ สิ่งนี้มันมีความองอาจกล้าหาญ มันมีการกระทำไง จากที่มีการกระทำขึ้นมามันก็เป็นข่าวของเรา มันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นโอปนยิโก ร้องเรียกสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม ร้องเรียกสัตว์เข้ามา ความสงบเป็นอย่างนี้ ปัญญาเกิดอย่างนี้ ความทุกข์อย่างที่เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาอย่างนี้ สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นมามันต่อยอดขึ้นมานะ

เราไม่มีประสบการณ์สิ่งใดเลย เราไม่ได้ประพฤติปฏิบัติอะไรเลย แล้วเราบอกว่า...เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ว่าให้บอกบริษัท ๔ ให้ปฏิบัติบูชา

การปฏิบัติเหมือนการกินข้าว ถ้าเราไม่กินข้าวนะ เรานั่งมองมันอยู่อย่างนั้น สำรับมันตั้งไว้แล้วก็เอาไปเก็บ ท้องนี่หิวตลอดไป ก็ว่าเป็นชาวพุทธๆ ไง แต่ในการประพฤติปฏิบัติเหมือนกินข้าวเลย พุทโธคำหนึ่งก็ตักคำหนึ่งเข้าปาก ตั้งสติไว้ก็เหมือนกินน้ำเข้าไป พุทโธๆๆ ไปมันไม่สงบเป็นไปได้อย่างไร มันไม่มีสติสัมปชัญญะมันจะเป็นไปได้อย่างไร

เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา เราทำของเราไป สิ่งนี้ตั้งใจทำ มันจะเป็นสัมมา สัมมาคือตั้งใจ ตั้งใจ เห็นไหม ตั้งใจทำ ตั้งใจในเหตุ ตั้งสติแล้วเดินจงกรมไป ไม่ได้อยากในผล นั่งสมาธิ ๕ นาทีจะสงบ ๑๐ นาทีจะสงบ ๑๐๐ ชั่วโมงจะสงบ มันไปฝันน่ะ นั่งสมาธิแล้วมันไม่เป็นปัจจุบันนะ มันฝันไปข้างหน้าเลย แล้วบอกจะให้สงบไง

ดูสิ ดูกิเลส พญามารที่มันบอกสัตว์ สัตว์ตัวนี้สัตว์ประเสริฐจะพ้น มันจะมาล่อลวงอย่างนั้นน่ะ นี่ถ้าเราทำไปอย่างนั้น นั่งอยู่ ๕ ปี ไม่สงบสักทีนี่มันจะเข็ด พอจะเข็ดขึ้นมาก็ปล่อยเลย นั่งต่อไปปัจจุบัน กี่ปีกี่ชาติก็ช่างหัวมัน นั่งสภาวะแบบนี้เดี๋ยวมันสงบเอง สิ่งที่สงบเองเพราะอะไร เพราะมันเป็นมรรค

แต่ถ้ามันเป็นสิ่งที่คาดหมาย มันเป็นตัณหา มันเป็นสมุทัย ทั้งๆ ที่ปฏิบัติอยู่นี่ ทั้งๆ ที่จิตนี้ควรแก่ธรรมนี่แหละ แต่กิเลสมันขี่หัวอยู่ แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติไป เห็นไหม ดูสิ ดูฝ่ายปฏิบัติที่เขาบอกว่า “ปฏิบัติด้วยความอยากจะเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่มันมีความอยากในหัวใจ ปุถุชนจะปฏิบัติไม่ได้ ต้องละความอยากก่อน” นี่เขาเหมือนกับเขาปฏิเสธผลทั้งหมดเลย

เพราะจิตกับความรู้สึกมันเป็นคนรับผล สติเราก็เป็นคนตั้งขึ้นมา สมาธินี้จิตก็เป็นคนรู้ สิ่งที่ว่า สมาธิปัญญามันเกิดขึ้นมาก็จิตมันเป็นคนที่ส่งยอดขึ้นมา มันเป็นจากมรรคนี่แหละ มันเป็นจากจิตเรานี่แหละ จากกิเลสตัณหาความทะยานอยากเรานี่แหละ แต่มันทำไปด้วยความเข็ดขยาดที่ว่า ถ้าตัณหาความทะยานอยาก อยากในผลมันจะเป็นทุกข์ จนมันปล่อยวางได้ มันต้องฝึกมาอย่างนี้

พอฝึกมาอย่างนี้มันจะเห็นเลยว่า ความอยากอย่างนี้ทำให้เราเจ็บปวดแสบร้อนมากี่ภพกี่ชาติแล้ว เราถึงปล่อยวางมาให้มันเป็นสมดุลของมันเอง ถ้าสมดุลของมันเอง สิ่งนี้มันเป็นมรรค ถ้าเป็นมรรคมันก็สงบเข้ามา พอเป็นมรรคขึ้นมาเป็นกัลยาณปุถุชน สิ่งนี้มันแบกรับวุฒิภาวะอย่างนี้ได้

ถ้าแบกรับวุฒิภาวะอย่างนี้ได้ จิตเสื่อมไม่ต้องมาพูดกัน เคยเจริญแล้วเสื่อม สิ่งที่เจริญแล้วเสื่อมเพราะมันไปติดในรูป รส กลิ่น เสียง ถ้ามันเข้าใจในรูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นสิ่งที่ฉุดกระชากลากหัวใจนี้ออกไปตลอดเวลา แล้วเราใช้ปัญญาใคร่ครวญเข้ามาโดยสติสัมปชัญญะตลอดขึ้นมา มันจะเห็นเลยว่า รูป รส กลิ่น เสียงกับจิตมันเป็นคนละส่วนกัน มันรู้เท่ารู้ทันไปหมด มันรู้เท่ารู้ทันมันก็ควบคุมจิตให้เป็นความสงบได้ง่าย

เพราะคนที่มันเคยทำ คนที่ควบคุมได้ เหมือนเรามีความชำนาญ เหมือนการที่เราขับรถ เราขับรถมีความชำนาญ เรากะระยะทางได้ถูกต้องหมดล่ะ จะขยับหน้าถอยหลังเราจะทำได้หมดเลย เพราะอะไร เพราะรู้หมด เราควบคุมได้หมด นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเป็นกัลยาณปุถุชน จิตมันจะสงบได้ง่าย ควบคุมได้ง่ายมันจะไม่ไปตามรูป รส กลิ่น เสียง เหมือนขับรถไปมันจะไม่ออกนอกลู่นอกทางหรอก เพราะมันออกไปมันรู้ว่า พอคาบเส้นมันก็รู้แล้วผิดกฎจราจร ตกถนน จิต รถเราสะเทือนจนมันลงไปในคลอง มันตกถนน จะไม่รู้อย่างไรว่ารถมันตกคลอง

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อสติมันควบคุมจิตอยู่อย่างนี้ มันตามรู้จิตไปมันก็รู้ ตามเสียงไปนี่เสียงมาแล้ว ไปแล้ว...โง่ตายห่าเลย นี่ย้อนกลับ จะไปมันไม่ไป พอมันไม่ไปมันก็ควบคุมได้ เห็นไหม พอควบคุมได้ นี่ใจควรแก่ธรรม ถ้าควรแก่ธรรมขึ้นมามันก็ยกขึ้นไป นี่ควรแก่...สิ่งนี้มันควรมาก ถ้าควรขนาดนี้นะ แล้วไม่น้อมไปในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม มันก็ยังไม่เป็นธรรมอยู่วันยังค่ำล่ะ

ใจควรแก่ธรรม ต้องทำให้มันเป็นธรรมขึ้นมา แล้วเป็นธรรมขึ้นมาจากไหนล่ะ? เป็นธรรมขึ้นมาจากจิตสงบแล้วน้อมไปที่กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วให้เป็นกาย เวทนา จิต ธรรม โดยธรรม ไม่ใช่โดยกิเลส ถ้าโดยธรรมคือเห็นแล้วมันจะสะเทือนจิต โดยธรรมนะ เห็นกายนี่ขนพองสยองเกล้า โดยจิต เห็นไหม เห็นอาการของขันธ์ จับขันธ์ในสภาวะแบบนั้น โดยธรรม โดยสภาวธรรม เวลาความคิดเกิดนี่โดยธรรม กาย เวทนา จิต ธรรม จิตเศร้าหมอง จิตผ่องใส จิตอาการเสื่อม อาการเจริญของจิต มันเห็นหมดล่ะ ถ้าเห็นหมด นี่มันมีการกระทำอย่างนี้ มรรคญาณจะเกิดอย่างนี้

ถ้ามรรคญาณมันเกิด ปัญญามันเกิด ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมันจะเห็นปัญญาก้าวเดินไปนะ ภาวนามยปัญญามันเกิดกันมาอย่างนี้ มันไม่ใช่เป็นโลกียปัญญาที่ว่าศึกษาธรรมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วกล่าวตู่นะ พระไตรปิฎกท่องจำนะ ท่องจำเพราะว่าเป็นของเรา เป็นของเราน่ะ มันแก้กิเลสไม่ได้หรอก ปัญญาของโลก ปัญญาใคร่ครวญอย่างไรก็แก้กิเลสไม่ได้หรอก

แก้ธรรมได้ก็อย่างที่ทำสมาธิขึ้นมาเมื่อกี้นี้ ที่ว่า ทันรูป รส กลิ่น เสียง ทันเข้ามาจนเป็นควรแก่ธรรมๆ ขึ้นมา แล้วยกขึ้นวิปัสสนา ขณะที่มันเห็นสภาวะแบบใด แล้วกิเลสมันก็ตามมา พญามาร เห็นไหม สัตว์นี้เป็นสัตว์ที่ว่ามันจะออกจากอำนาจของเรา มันก็ยังคุมไป

ในสมาธิก็ติดสมาธิ ติดสมาธิจนจิตเสื่อม จนสร้างสมาธิขึ้นมาไม่เป็นก็ตกทุกข์ได้ยาก ต้องถูต้องไถไปจนเห็นอาการของความรูป รส กลิ่น เสียง เห็นความทุกข์ เห็นสิ่งที่กิเลสจะพาไปติด จนทุกข์ จนเจ็บแสบปวดร้อน จนมันปล่อยวาง จนมันฝึกฝน จนเข้าใจ จนมันเห็นรูป รส กลิ่น เสียง เป็นรูป รส กลิ่น เสียง จิตเป็นจิต แยกออกจากกัน เป็นกัลยาณปุถุชน

นี่แก้การติดสมาธิมาส่วนหนึ่ง แล้วพอมาวิปัสสนาไปมันก็ไปติดในธรรม ถ้าติดในธรรมมันไม่เป็นธรรม พอวิปัสสนาไปมันก็ปล่อยเหมือนกัน พอปล่อยมันก็ว่างเหมือนกัน ก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เห็นไหม เวลาติดสมาธิก็ว่านี่คือนิพพาน เวลาไปวิปัสสนาใคร่ครวญส่วนหนึ่งก็ว่านี่เป็นนิพพานอีกล่ะ นี่เวลามันติดมันติดไปหมด เห็นไหม

ถ้ามันติดไปหมด มันปล่อยวางก็แล้ว ถ้ายังชะล่าใจนะ มันเสื่อมเหมือนกัน สิ่งที่เป็นเสื่อม เห็นไหม โสดาปัตติมรรคก็ยังเสื่อมอยู่เพราะมันไม่เป็นโสดาปัตติผล ถ้าเป็นโสดาปัตติผล มันอกุปปธรรม มันเสื่อมไม่ได้ สิ่งที่ยังเสื่อมอยู่นี่มันยังเป็นกัลยาณปุถุชน มันยังเป็นปุถุชนอยู่ มันยังเป็นสมมุติอยู่ มันยังไม่เป็นธรรม มันมีกิเลสแทรกอยู่ การวิปัสสนา ทั้งๆ ที่เข้าไปวิปัสสนาแล้วนะ

เข้าไปเดินภาวนามยปัญญาแล้ว นี่มันยังปล่อยมา ปล่อยโดยมีกิเลสเข้าแทรก ปล่อยแล้วมันก็ยังเป็นอกุปปะ คือเจริญแล้วเสื่อมอยู่วันยังค่ำ มันถึงต้องมีครูมีอาจารย์หรือว่ามีอำนาจวาสนา จากสิ่งนี้ ถ้าคนเคยผ่านจากกัลยาณปุถุชน แล้วเราเข้าใจถึงการควบคุมของจิตได้นี่มันจะมีสติ มันจะมีสัมปชัญญะ มันจะใคร่ครวญของมันอย่างนั้น มันจะมีความชำนาญของมันขึ้นมาไง

แล้วเวลามันยกขึ้นวิปัสสนา นี่เหมือนอีกแล้ว ถ้าอย่างนี้เดี๋ยวก็เสื่อม ถ้าเสื่อมอย่างนี้เดี๋ยวกิเลสมันตีกลับมา ตีกลับมาเหมือนคนล้มละลายนะ คนล้มละลายแล้วพยายามจะมาตั้งเนื้อตั้งตัวใหม่มันทุกข์กว่าคนที่กำลังทำธุรกิจอยู่ ถ้าคนที่ทำธุรกิจ ธุรกิจกำลังเฟื่องฟู เราจะเก็บหอมรอมริบ เราจะตั้งเป้าว่าเราจะเข้าเป้าที่ไหนได้อย่างนี้ มันจะโอกาสมากกว่านะ แต่ถ้าคนล้มละลายมันต้องเริ่มต้นสร้างฐานขึ้นมาใหม่ แล้วต้องทำธุรกิจขึ้นมาจนถึงจุดหนึ่ง แล้วเราจะเก็บยอดของเราจนถึงกำไรสุทธิ กำไรสุทธินี้คืออกุปปธรรมไง

ถ้าคนล้มละลายจะเอากำไรสุทธิมาจากไหน เพราะมันไม่มีทุน เห็นไหม เวลาเสื่อม ถ้าเสื่อมเป็นแบบนี้ ต้องเริ่มต้นนับหนึ่ง พยายามต่อยอดขึ้นมา แต่ขณะที่เราวิปัสสนาอยู่ ขณะที่ว่าธุรกิจเรากำลังงอกงามอยู่นี่ เราอย่าชะล่าใจ ขณะที่เราทำธุรกิจอยู่นี่ เวลาเราทำ เราค้าขายไป ขาดทุนก็มีนะ กำไรก็มีนะ ไม่ใช่กำไรตลอดไปนะ

แต่ถ้าเป็นกำไรขึ้นมา มันก็ปล่อย มันก็ว่าง เหมือนกับเราวิปัสสนาไปในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ถ้ามันสมดุลเป็นมัชฌิมาปฏิปทา มันจะปล่อยได้ ถ้ามันไม่สมดุล ไม่มัชฌิมาปฏิปทา ต่อสู้ขนาดไหน ขนาดที่ว่าถ้าสมาธิอ่อนมันจะดึงกัน มันจะโต้แย้งกันจนจิตปล่อยไม่ได้นะ ยื้อมันอยู่อย่างนั้น แล้วถ้าติด ติดอย่างนั้นน่ะ ไปไม่รอดหรอก

แต่ถ้าคนมีครูบาอาจารย์นะ ท่านบอกให้ปล่อย ปล่อยทันที คือไม่ทำงาน ปล่อยงานไปก่อน เหมือนเรากำลังเจรจาทำธุรกิจ ขณะที่เราปิดการขายนี้ไม่ได้ เราเจรจาไปก็ไม่จบหรอก เราก็ปล่อยเลย กลับมาที่สมาธิไง กลับมาดูที่สินค้าเรา เอ๊ะ! สินค้ามันเป็นอย่างไร ทำไมเขาไม่ตกลง เขาซื้อเราไม่ได้เพราะเหตุใด

เห็นไหม เหมือนกัน ถ้าคนไม่เข้าใจก็พยายามจะตื้อเขา ต้องซื้อๆๆ...แล้วใครจะไปซื้อเอ็งล่ะ เพราะกิเลสมันมีอำนาจเหนือเอ็งอีกด้วย กิเลสมันมีอำนาจเหนือกว่า มันโต้แย้งกว่า มันยืดเยื้อไว้ มันทำไว้ให้เราปิดการขายไม่ได้ แล้วเราถอยกลับมา แล้วเดี๋ยวสินค้าเราก็จะเน่า สินค้าเราก็จะเสีย แล้วเราก็จะขาดทุน

แต่ถ้าคนฉลาดนะ ไม่มีการเจรจา คือไม่ใช้ปัญญา กลับมาที่พุทโธ กลับมาที่ปัญญาอบรมสมาธิ กลับมาที่ฟื้นฟูกำลังของเรา กลับมาดูที่สินค้าของเรา ถ้าสินค้าของเรามันมีขึ้นมา กลับไป วิปัสสนา นี่หมั่นทำอย่างนี้ เขาเรียกว่าหมั่นคราดหมั่นไถ หมั่นวิปัสสนา หมั่นใช้ปัญญา ถ้าปล่อยวางได้ นั่นคือผลงานของเรา เราก็ทำของเราไป นี่ใจนี้ควรแก่ธรรม

ควรแก่ธรรมเราก็ทำของเราไป ควรแก่ธรรมไปเรื่อยๆ “ควร” ควรที่จะเป็น อย่าปล่อยให้มันเสียหาย ถ้ามันเสียหายนะ มันจะเข้าไม่ถึงแล้วจะล้มละลาย คือเสื่อม ถ้ามันควรแก่ธรรมแล้วเราต้องถนอม ต้องรักษา

ภาคปฏิบัติถึงกราบครู กราบอาจารย์ กราบธรรมและวินัย เพราะธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเรานะ ครูบาอาจารย์ของเรา อุปัชฌาย์อาจารย์เป็นพ่อแม่ครูจารย์จะไม่รักลูกศิษย์ เป็นไปไม่ได้หรอก พ่อแม่นะยังรักลูกเลย แล้วครูบาอาจารย์เราประพฤติปฏิบัติมาในหัวใจ กว่าจะผ่านขั้นตอนมานะ กว่าจะผ่านวิกฤตในเรื่องของกิเลสมาแต่ละชั้นตอนนี่เอาหัวใจเข้าบากบั่น เข้าต่อสู้กับกิเลสมาตลอดเวลา

แล้วสิ่งนี้มันเป็นงานของเอกบุรุษ งานของนักรบนะ ถ้านักรบรบมาอย่างนี้ แล้วมีลูกศิษย์ลูกหาอยากเป็นนักรบ อยากประพฤติปฏิบัติ มันมีครูบาอาจารย์องค์ไหนบ้างที่ไม่รักลูกศิษย์ มีครูบาอาจารย์องค์ไหนบ้างที่ไม่ปกป้อง ไม่รักษา

แต่เราน่ะ ตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของเรามันกดขี่ มันไปขบเหลี่ยม มันไปกีดขวางไง จิตใจของเรา กิเลสของเรา มันทำลายใจควรแก่ธรรมไม่ให้เป็นธรรม ถ้าใจที่มันเป็นธรรมนะ มันจะทำสิ่งนี้ไม่ได้ มันจะทำสิ่งที่ว่าให้ใจเศร้าหมอง ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลให้เราห่างไกลจากธรรม ธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะไปทำสิ่งนั้นได้ไหม? เราทำสิ่งนั้นไม่ได้หรอก ถ้ามีสติ

แต่ถ้ามันจะทำได้ สิ่งนั้นเพราะกิเลสมันขี่หัวไง กิเลสพญามารมันขี่หัว หัวใจของเรา มันทำให้เราประมาทเลินเล่อ ทำให้เราน่ะห่างไกลออกไป เห็นไหม ครูบาอาจารย์นะ สิ่งที่เป็นธรรม ดูสิ ในธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าประมาทนะ ความนิ่งอยู่ของพระอริยเจ้า มันเป็นกรรมนะ เป็นกรรม เพราะเราไปทำบาปอกุศลนะ แต่ถ้าเรามีหัวใจ เป็นบุญเป็นกุศล เราจะรักษาสิ่งนี้ เราจะถนอมสิ่งนี้ การถนอมการรักษาสิ่งนี้มันจะเป็นบุญกุศลกับเรา

เวลาเราซาบซึ้ง ถ้าใจมันลงครูอาจารย์มันจะเป็นอย่างนั้น ใจเราจะเป็นโอกาสบ้าง มันจะเป็นธรรมขึ้นมาได้บ้างไง แต่ถ้ามันเป็นควรแก่ธรรม แต่กิเลสมันยังขี่หัวอยู่ การวิปัสสนาอย่างนั้นมันก็ยังติด มันติดแล้วมันก็จะเสื่อม แล้วมันจะล้มละลายไป แต่ถ้ามันเป็นธรรมนะ เป็นอำนาจวาสนาอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์มันมีกำลังใจ แล้วมันยังมุมานะ มันบุกบั่นเข้าไปนะ มันอยู่ที่อำนาจวาสนาไง

จิตบางดวงต้องทำมาก ต้องพยายามวิปัสสนา ต้องพยายามทำลาย เพราะอะไร เพราะจิตเราหยาบ มันเข้าใจได้ยาก เราก็อย่าไปน้อยเนื้อต่ำใจ เราก็หมั่นคราดหมั่นไถ เอาหลังพิงอาจารย์ไว้ ขณะที่มันทุกข์มันยากมาก็เอาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เอาครูบาอาจารย์เป็นตัวอย่าง แล้วเราก็มุมานะ เราก็พยายามต่อสู้ของเราไป

ถ้าจิตของเรามันนุ่มนวล มันควรแก่การงาน เราสร้างบุญกุศลของเรามา วิปัสสนาไปบ่อยครั้งๆ เข้ามันปล่อยได้ นี่มีครูบาอาจารย์มากเลย ขณะที่วิปัสสนาไปครั้งหนึ่งหนหนึ่งแล้วขาดเลยก็มี นี่ขิปปาภิญญาเข้าใจ

ดูสิองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุพเพนิวาสานุสติญาณ นั่นยังไม่ใช่มรรคนะ เพราะมันย้อนไปอดีต จุตูปปาตญาณ มันเป็นอนาคต มันก็ยังไม่เป็นมรรค เลยย้อนกลับมาเป็นอาสวักขยญาณ นี่หนเดียว ขิปปาภิญญาไง ผู้ที่ตรัสรู้ทีเดียวขาดหมด ขาดทั้งโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหัตตมรรค เห็นไหม มรรค ๔ ผล ๔ พร้อมกันทีเดียว ขิปปาภิญญาไง

แต่ถ้าเราวิปัสสนาของเราไป พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างนี้ ถึงที่สุดนะ ถ้าพิจารณากาย เห็นไหม กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายไม่ใช่จิต พิจารณาจิต จิตเป็นจิต ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ พิจารณาเวทนามันก็เป็นขันธ์อันหนึ่ง พิจารณาเป็นจิตก็ขันธ์อันหนึ่ง นี่มันขาด สิ่งที่ขาดออกไป นี่ใจเป็นธรรม

ถ้าสิ่งที่ใจเป็นธรรมแล้วนะ เพราะว่ามันไม่เป็นสีลัพพตปรามาส มันไม่ลูบคลำ มันไม่ฝืนหรอก มันฝืนครูบาอาจารย์ไปไม่ได้ ในเมื่อใจเป็นธรรม ถ้ามันฝืนมันก็ฝืนกับใจตัวเองสิ ใจของเราเป็นธรรม แล้วเราทำบาปอกุศล ทำอาบัติ ทำความผิด มันเป็นธรรมได้อย่างไร

มันเป็นธรรมไปไม่ได้ เพราะมันเป็นอกุศล มันเป็นกิเลส

แต่ถ้ากิเลสอย่างละเอียดนั้นอีกส่วนหนึ่ง กิเลสอย่างละเอียด อย่างเช่นพระโสดาบันยังมีอุปาทานอยู่ ทั้งๆ ที่พิจารณากายได้แล้ว แล้วกามราคะอยู่ในหัวใจยังมีอีกมหาศาล แล้วความไม่รู้ในธรรมอีกมากเพราะอะไร เพราะเป็นอวิชชา

สิ่งที่อวิชชา พระอรหันต์เท่านั้นถึงจะชำระอวิชชาได้ พระอนาคามีชำระเรื่องกามราคะได้ พระสกิทาคามีพิจารณากายกับจิตแยกออกจากกัน จนโลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใสได้ พระโสดาบันเห็นสภาวะกายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายกับจิตนี้คนละอันกัน สภาวะแบบนี้ เห็นอย่างนี้มันเป็นอกุปปธรรม

ถ้าอกุปปธรรมนี้ใจเข้าถึงธรรม ใจเข้าถึงธรรม ใจเป็นธรรม เป็นโสดาบัน สิ่งที่เป็นโสดาบันมันก็เป็นสิ่งที่ว่าเราควร เราจะถึงที่สุดได้ เพราะจิตนี้เข้ากระแสนะ ถ้าจิตนี้พาดกระแส เข้ากระแสได้ เป็นสิ่งที่วางใจได้ เพราะว่าจะถึงที่สุด เหมือนกับพระโพธิสัตว์ ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์แล้ว จะต้องเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ถึงที่สุดจนจิตนี้เป็นธรรม จะเป็นพระโสดาบัน พาดเข้ากระแส จะต้องไปถึงพระอรหันต์โดยธรรมชาติเลย จะ ๗ ชาติอย่างมาก เห็นไหม ถ้าเราทำสภาวะแบบนี้ได้ นี่ใจเป็นธรรม

ใจเป็นธรรมก็เป็นใจเรา ใจเป็นกิเลสมันก็เป็นใจเรา ใจเราเป็นกิเลส แต่เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วเราเข้าใจ เรามีบุญกุศล เราเข้าฟังธรรมครูบาอาจารย์มันก็สนใจ นี่ควรแก่ธรรม แล้วอยากประพฤติปฏิบัตินี้ควรมากเข้าไปใหญ่ แล้วก็มีอุปสรรคขวากหนามข้างหน้า เราก็พยายามบั่นทอนของเรา ถึงที่สุดแล้วนะ ขวากหนามขนาดไหนเราก็ต้องเดินไปได้ ถ้าเข้าถึงธรรม ใจถึงธรรมแล้วนี้เป็นผลงานของเรา นี้เป็นเรื่องหัวใจของเรา เอวัง