ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ขวัญกำลังใจ

๓ ก.ค. ๒๕๕๙

ขวัญกำลังใจ

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “คำหยาบในใจเวลาคิดถึงพระรัตนตรัย

กราบเท้าหลวงพ่อ กระผมเป็นคนที่เคยขอความเมตตาจากหลวงพ่อเมื่อปีที่แล้ว เรื่องมีคำหยาบต่อท้ายเวลาคิดถึงพระพุทธเจ้าหรือเห็นภาพพระสงฆ์ครับตั้งแต่ได้รับการอบรมการฝึกทำสมาธิตามคำแนะนำของหลวงพ่อ ตอนนี้คำหยาบเบาบางลง มีไม่บ่อยเท่าแต่ก่อน แต่ก็ยังไม่หายขาดครับ

อยากมาขอความเมตตาจากหลวงพ่อครับ ทุกวันนี้ที่พออยู่ได้ไม่ทุกข์มากก็เพราะการเริ่มมีพื้นฐานของสมาธิบ้างแล้ว เวลามีคำหยาบขึ้นมา สติจะตามทันผมก็จะปล่อยลมหายใจแรงๆ เพื่อไม่ให้คำหยาบหลุดลอยออกมาได้ครับ แต่ถ้าผมอยากหายขาด ผมต้องทำอย่างไรดีครับหลวงพ่อ ขอความเมตตาครับ

ตอบ : อันนี้พูดถึงเวรกรรม เห็นไหม เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ตลอด แล้วเราก็ยืนยันตลอด “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ใครทำคุณงามความดีมา มันจะมีบุญกุศลส่งเสริมมา ใครทำบาปอกุศลมา มันจะฝังหัวใจนั้นมา แต่มันจะปะทุออกมาตอนไหนไม่มีใครรู้ เวลาไม่ทำสิ่งใดมันจะเก็บไว้ในหัวใจนะ แต่เวลาจะมาทำคุณงามความดี สิ่งที่เป็นบาปอกุศลมันจะปะทุออกมา

มันมีโยมมาหาเรานะ เขาบอกว่า หลวงพ่อ เขาศรัทธามาก เวลาเข้ามาในศาลามันก็เริ่มต่อต้านแล้ว มันเริ่มมีคำหยาบออกมาเรื่อยๆ แล้วเขาบอก เดินเข้ามาใกล้พระไม่ได้ ยิ่งแรงขึ้นๆ ยิ่งเข้าใกล้พระพุทธรูป โอ้โฮมันต้านเลยนะ มันแรงมากเลยนะ แล้วเขาก็บอกนะ เขาต้องถอยออกไปห่างๆ

นี่เราจะบอกว่า เจตนาในปัจจุบันของเขา เขาศรัทธา เขามานี่เขามาด้วยความศรัทธาทั้งนั้นน่ะ แต่ไอ้เวรกรรมอันนั้นน่ะมันปะทุออกมา มันต้านออกมา

มาพูดกับเรานี่นั่งร้องไห้ แล้วคุยกับเรา นั่งร้องไห้ๆ ศรัทธานะ ศรัทธามากเลย แต่เวลาเข้ามาใกล้มันจะมีคำหยาบคำต่างๆ ปะทุออกมาจากในใจ ยิ่งเข้าใกล้พระพุทธรูปนะ มันยิ่งแรงเป็นสองเท่าสามเท่าเลย เขาต้องถอยออกไป

เราก็สอนเขาอย่างนี้ เพราะเรื่องนี้มันเป็นเวรเป็นกรรม คำว่า “เป็นเวรเป็นกรรม” กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน คือสิ่งที่เขาได้กระทำมาแล้ว สิ่งที่เขาทำมา สิ่งที่เกิดขึ้นคือวิบาก คือผล ผลที่มันตอบสนองจากการกระทำอันนั้น

ทีนี้เพียงแต่ว่าเรามีศรัทธามีความเชื่อของเรา เรามีศรัทธามีความเชื่อของเราถ้าเราหนีห่างออกไปหรือเราไม่ได้แก้ไข มันจะทำให้เราเบี่ยงเบนออกไป แต่ถ้าเราจะแก้ไขของเรา เราแก้ไขของเรา สิ่งที่เราเคยทำมามันคือสิ่งที่เราไม่เข้าใจหรือเราทำความผิดพลาดมา แต่ในปัจจุบันนี้เราสำนึกได้ เรามีสติปัญญาสำนึกได้ขออภัย ขอโทษ ขอโทษ นี่ไง เวรระงับด้วยการไม่จองเวรไง เราขอโทษขออภัย

นี่ก็เหมือนกัน เวลามีสิ่งนี้ขึ้นมาแล้ว ถ้ามันจะมีคำต่อต้านคำอะไร สาธุ ตอนนี้ไม่เห็นผิดแล้ว พูดกับตัวเองเลย ตอนนี้ไม่เห็นผิดแล้ว ตอนนี้เห็นถูกแล้วแหละ แต่ไอ้สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ทำมา มันมีผลไง เราก็ค่อยๆ เจือจางมันไป เจือจางมันไป ผลมันตามมา ตามมาเหมือนคนที่เขาถามมานี่ เขาถามมาตั้งแต่ปีกลาย มันเป็นอย่างนี้

เราก็บอกว่าให้ภาวนา เวลาก่อนภาวนาให้ขอขมาลาโทษพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ แล้วก็พุทโธของเราไป พุทโธของเราไปนะ เลิกจากการภาวนาก็ขอขมาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอขมาลาโทษ สิ่งใดที่ได้ทำเป็นบาปเป็นกรรม สิ่งใดที่ได้ทำแล้ว ปัจจุบันนี้สำนึกได้ ระลึกได้ ขอโทษเถอะ ขออภัย ขอโทษๆ นี่วิธีการแก้ วิธีการแก้เพราะอะไร

เพราะสิ่งนั้นทำมา สิ่งนั้นมันมีของมันอยู่ เหมือนกับการกระทำแล้วมันเกิดผลถ้าเกิดผลแล้ว มันเกิดผลมา แล้วสิ่งที่ทำมานี่มันทำมาจากอดีต เราเปรียบเหมือนต้นไม้ ต้นไม้ประเภทใดเพาะพันธุ์มาประเภทนั้น มันก็ต้องออกเป็นประเภทนั้นน่ะถึงตอนนี้เราได้หญ้า บอกจะเอาทุเรียน ต้นหญ้าจะเป็นทุเรียนได้อย่างไร ต้นหญ้ามันก็เป็น ต้นหญ้า เพราะเราทำมาแค่นี้ไง โอ้โฮทุเรียนเขาประคบประหงมกันมากขนาดไหน เขาดูแลกันมาขนาดไหน ไอ้เราไม่ทำอะไรเลย จะเอาเป็นทุเรียนมันไม่มีหรอก มันก็ต้องแก้ไขเอาอย่างนี้ นี่ก็เหมือนกัน ต้องแก้ไขเอา

ฉะนั้น เวลาคำถามถามมาว่า สิ่งที่ได้ทำมาแล้วดีมากเลย นี่สิ่งที่ทำมา วิธีการแก้ไข เวลาหลวงตาท่านพูด เวลาท่านสอนพวกเรามาตลอด เวลาเราทำสิ่งใดก็แล้วแต่ มันจะมีคนมากีดมาขวาง มาคอยจ้องทำลาย ท่านบอกว่า ใครจะทำอย่างใดก็เรื่องของเขา พวกเราจะทำคุณงามความดีกัน พวกเราจะทำคุณงามความดีกัน

ใครจะทำอย่างใดเรื่องของเขา เรื่องของเขา เพราะเราจะไปบอกเขาให้เขาทำเหมือนเรา บอกเขาให้มีความเห็นเหมือนเรา มันเป็นไปไม่ได้หรอก ถ้ามันเป็นไปไม่ได้ ใครจะทำอย่างใดนะ มันเรื่องของเขา ถ้าเราเจรจาได้ เราพูดได้เราก็พูดแต่ส่วนใหญ่แล้วพูดไม่ได้หรอก เพราะที่เขาทำเขาคิดว่าเขาได้ ไอ้ที่เราพูดนี่พูดให้สละ เราพูดให้เสียสละ ใครเขาจะชอบ คนกำลังโกรธมา บอก “เฮ้ยมึงอย่าโกรธเขา” ใครมันจะชอบ ถ้าบอก “เอ็งโกรธมาใช่ไหม ไป กูจะช่วยเอ็งด้วย” มันชอบแต่ถ้าบอกว่าเราให้อภัยแก่เขา ไม่มีใครชอบหรอก

ฉะนั้น สิ่งนี้เราคุยกับเขาไม่ได้ เราพูดได้ แต่มันไม่มีประโยชน์ไง มันก็ต้องเป็นเรื่องของเขา เราจะทำคุณงามความดีกัน เราพยายามยับยั้งของเรา เราพยายามตั้งใจของเรา เราสร้างแต่คุณงามความดีของเรา มันจะเป็นได้มากน้อยแค่ไหน เราก็จะทำของเรา นี่เวลาหลวงตาท่านสอน สอนอย่างนั้น

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน สิ่งใดที่มันเป็นมา มันเป็นที่ว่าเป็นผู้ถามหรือคนทั่วไป เขาเองต่างหากเป็นสุภาพบุรุษ ใครมีสิ่งใด ไปหาหมอ เราก็พูดตามนั้น มันก็แก้ไขตามนั้นไง ถ้าแก้ไขตามนั้นแล้ว เราก็แก้ไขของเราไป ถ้ามันดีขึ้น มันดีขึ้นแสดงว่าเราทำถูกทาง เราทำมาถูกทางแล้ว เราพยายามจะทำให้มันดีขึ้น ถ้ามันดีขึ้นมันก็เป็นประโยชน์กับเรา เห็นไหม

แต่เขาบอกว่า “แต่ผมอยากจะหายขาดเลย ผมจะต้องทำอย่างไรหรือครับหลวงพ่อ

เออคำว่า “จะหายขาด” นะ มันต้องหมดกิเลสไง ถ้ามันหมดกิเลสมันถึงจะหายขาด ถ้าไม่หมดกิเลส ภาษาเรา อย่างต้นไม้ประเภทใดมันก็ต้องมีชีวิตของมันมันก็ต้องมีอาหารของมัน นี่ก็เหมือนกัน จริตนิสัยของเราไง จริตนิสัยของเราก็เวรกรรมของเรามันมีอยู่อย่างนี้ แต่คนถ้าจะหายขาดนะ มันหายขาดต่อเมื่อสิ้นกิเลสไป พอสิ้นกิเลสก็จบ

พอสิ้นกิเลส เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเย้ยมารไง เยาะเย้ยมารเลย “เธอเกิดจากความดำริของเรา เราจะไม่ดำริถึงเจ้า เจ้าจะเกิดจากหัวใจเราไม่ได้เลย

แต่นี่เรายังมีความรู้สึกนึกคิดอยู่ มันมีช่องทางของมันอยู่ แต่ถ้าเรามีอำนาจวาสนานะ เราขออภัยอย่างนี้เรื่อยๆ ไป ถ้าเราทำคุณงามความดีมากขึ้น ที่มันเป็นกรรม กรรมชั่วมันกลายเป็นกรรมดี กรรมดีขึ้นมาเพราะเราทำคุณงามความดีมากขึ้นๆ มากขึ้นจนความดีนั้นมันท่วมท้นหัวใจ มันคิดแต่เรื่องดีๆ ไง มันไม่คิดแต่เรื่องคำหยาบไง ถ้ามันทำความดีมากขึ้นไป เราใกล้ชิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนถึงที่สุดแล้วเราจะคิดเรื่องอะไรสิ่งใด ชาวพุทธเรานะ ผู้เฒ่าผู้แก่บ้านนอก พอมีอะไรตกใจ “พุทโธ พุทโธ” เขามีในหัวใจเขาตลอดเวลา

นี่ก็เหมือนกัน เราคิดของเราตลอดไป เราอยู่กับพระพุทธเจ้าจนท่วมท้นหัวใจของเรา ถ้ามันท่วมท้นหัวใจของเรา มีอะไรก็ระลึกถึงพุทโธ นึกถึงพระพุทธเจ้าตลอด มันนึกถึงบวก ไม่นึกถึงลบเลย แต่ถ้ามันนึกถึงลบ ถ้ามันเป็นความดี เป็นความดีอย่างนี้ แต่ถ้ามันจะหายขาดจนจบสิ้นไปเลย มันก็ต้องสิ้นกิเลสมันถึงจะจบถ้าไม่สิ้นกิเลส จริตนิสัยไง มันมีช่องทางอย่างนี้ ร่องรอยมันเป็นมาอย่างนี้ มันก็จะเป็นของมันไปอย่างนี้ แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญา เราก็แก้ไขของเราไปอย่างนี้ เราแก้ไขของเราขึ้นมา แก้ไขให้มันเป็นประโยชน์กับเรานะ เป็นประโยชน์กับเรา เราก็ทำเพื่อเรา

ไอ้นี่กรรมเก่า กรรมเก่านะ บางคน ดูสิ ถ้ากรรมเก่า กรรมส่งเสริมมาดีสามเณร  ขวบเป็นพระอรหันต์ คำว่า “พระอรหันต์” นะ พระอรหันต์มันต้องเกิดจากอรหัตตมรรค มันต้องมีโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค

อรหัตตมรรค ดูสิ เวลาหลวงตาท่านเทศน์ของท่าน เวลาปัญญาของท่านหมุนติ้วๆๆ นั่นน่ะ ตั้งแต่พิจารณาอสุภะ แล้วท่านไปเห็นจุดและต่อม ท่านพิจารณาของท่าน นั่นน่ะอรหัตตมรรค แล้วสามเณร  ขวบเป็นพระอรหันต์น่ะ  ขวบมันต้องมีคุณสมบัติอย่างนี้มันถึงเป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าไม่มีอรหัตตมรรคก็ไม่มีอรหัตตผลถ้ามีอรหัตตมรรคมันถึงจะมีอรหัตตผล แล้วเด็ก  ขวบมันเป็นพระอรหันต์น่ะ นี่เราพูดถึงว่าเราทึ่งไง ถ้าเด็ก  ขวบเขามีปัญญาได้ขนาดนั้นน่ะ เขามีความละเอียดรอบคอบได้ขนาดนั้น เขาจะต้อง โอ้โฮนี่พูดถึงว่าเราวัดด้วยอายุใช่ไหมแต่ถ้าเราพูดถึงเรื่องบุญกุศลนี่ล่ะ

ก็เขาสร้างของเขามา ถ้าเขาสร้างของเขามา บุญเขามากไง มันก็เหมือนคิดเรื่องปกติ คิดเรื่องธรรมดา คนมีบุญคิดเรื่องปกติ คิดธรรมดา มันเป็นดีไปหมดเลย ไอ้คนคิดไม่ดี ให้มันคิดดีคิดไม่เป็น คิดไม่ได้ แต่ถ้าคนมันมีบุญกุศลมาไงสามเณร  ขวบเป็นพระอรหันต์ ถ้าเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา มันต้องมีบุคคล  คู่โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ถึงเป็นพระอรหันต์ได้ นั่นมันก็อยู่ที่บุญกุศล เห็นไหม นี่การสร้างคุณงามความดี สร้างบุญของเรามันเป็นแบบนี้ ถ้าเป็นแบบนี้

นี่พูดถึงว่าคำหยาบ อยากให้คำหยาบนี้หายขาดไปเลยครับ

ถ้ามันมีอยู่มันก็ทุกข์ มันก็ทุกข์แล้วมันทำให้เบี่ยงเบนไง คนเราพยายามทำคุณงามความดี พยายามสร้างความดีอยู่ แล้วมันมีแต่ความคิดไม่ดีมันคอยมาทิ่มมาตำ มันก็ธรรมดา มันทำให้เสียแรงไง ทำให้เสียแรง ทำให้เสียความตั้งใจมันก็ทำให้เหนื่อย ทำให้การภาวนามันลำบากขึ้น แต่เราต้องย้อนกลับไปไง ย้อนกลับไปตั้งแต่ต้นน่ะ ตั้งแต่ต้นที่เวลามันเกิดขึ้นแล้วเราทุกข์ยากมากไง แล้วเราก็ได้เริ่มขอขมาลาโทษมา เราได้ประพฤติปฏิบัติมา มันก็ดีขึ้นมาเรื่อยๆ

เขาบอก “ตอนนี้ดีขึ้นได้ครับ ทุกวันนี้พออยู่ได้ ไม่ทุกข์มาก ก็เพราะเริ่มมีพื้นฐานของสมาธิบ้างแล้ว แต่คำหยาบก็ยังมีขึ้นมาบ้าง

ถ้ามีสติตามทันมันก็จบ เราก็ยังทำอยู่แบบเดิมนี่ ถ้าทำอยู่แบบเดิม เพราะเราทำแล้วมันได้ประโยชน์มา มันได้ประโยชน์มาคือมันเบาบางลง ทำให้เราไม่ทุกข์จนเกินไป แล้วพอเราอยู่ได้ แล้วพอเราภาวนาของเราได้ ถ้าเราทำต่อไปมันจะดีขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะตอนนี้ทำอยู่คือทำดี ตอนที่ทาน ศีล ภาวนา ตอนนี้เราภาวนาอยู่ เราทำของเราอยู่ กำลังทำคุณงามความดีของเรา แล้วมันจะจางไปๆ แล้วทีนี้จะคิดแต่เรื่องดีๆ เรื่องดีๆ ไป ถ้าคิดเรื่องดีๆ มันจะมีความคิดต่อเนื่องไป

ถ้ามันจะหายขาด ไม่มีสิ่งใดเข้ามารบกวนใจเลย ก็พระอรหันต์ แต่ถ้าเรายังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ สิ่งใดถ้ามันรบกวน เพราะกิเลสมันยังมีอยู่ มีอยู่ เราก็ต้องสู้กับมัน เราต้องแก้ไขของเราไปเนาะ นี่พูดถึงว่า คำหยาบในใจเวลาคิดถึงรัตนตรัย

ทำมาถูกทางแล้ว แล้วเราจะทำของเราไปอย่างนี้ ทำคุณงามความดีของเราไปเรื่อยๆ เพื่อประโยชน์กับเรา เพื่อให้ใจเรามั่นคงขึ้นมาเพื่อประโยชน์กับเรา จบ

ถาม : เรื่อง “เพื่อความรู้เรื่องพระโพสพและแม่ย่านางมันจริงไหมคะ

เห็นเวลาใครมีรถก็ต้องไหว้แม่ย่านางก่อน และมีคนแก่พูดไว้ว่าปลูกบ้านทับยุ้งข้าวไม่ได้ เพราะทับแม่โพสพ เลยอยากถามหลวงพ่อเพื่อไว้เป็นความรู้ว่า ในทางพุทธของคำสอนพระพุทธเจ้าได้สอนเรื่องนี้ไว้อย่างไรคะ

ตอบ : เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนไว้ สอนไว้ ดูสิ เวลาท่านพูดถึงอยู่ในสุตตันตปิฎก อยู่ในสุตตันตปิฎกนะ เวลาท่านบอกว่าท่านจะบรรลุธรรมใช่ไหม พญามารน่ะ พญามารเกณฑ์กองทัพมาเพื่อจะทำให้บัลลังก์ภาวนาของท่านให้ล่มสลายไป ท่านยืนยันกับพญามารไงว่าท่านได้ทำบุญกุศลมามากเพราะท่านได้ทำของท่านมามาก แล้วใครเป็นพยาน ก็แม่โพสพเป็นพยานไงเพราะเวลาเราทำบุญกุศลกัน เราจะกรวดน้ำๆ ไง สิ่งที่กรวดน้ำไว้ๆ สิ่งนั้นมันสะสมไว้ เอาแม่โพสพเป็นพยาน แม่โพสพเป็นพยานนะ สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สร้างกุศลไว้ บีบมวยผมไง น้ำท่วมมารตายหมดเลย

ฉะนั้น เราทำบุญไว้มากๆ นะ เรากรวดน้ำไว้มากๆ น้ำที่เรากรวดไว้มันก็เหมือนพระแม่โพสพเอาไว้เป็นพยาน ถึงเวลาแล้วก็เอาไปท่วมมารตายหมดเลยพวกเราก็ไม่ต้องภาวนา เพราะมารโดนน้ำท่วมตาย แต่ไม่ใช่เพราะเราภาวนา

มันเป็นบุคลาธิษฐาน เห็นไหม แต่จริงๆ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต่อสู้กับมาร ท่านพิจารณาของท่านด้วยอาสวักขยญาณ ด้วยมรรคด้วยผลของท่าน แต่เวลาท่านพูดในสุตตันตปิฎกอันนี้เป็นนิทาน คำว่า “นิทาน” นะ สุตตันตปิฎกคือนิทาน นิทานมันก็เหมือนกับความระลึกได้ อย่างระลึกชาติกี่ชาติๆ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาสอนท่านสอนอย่างนี้

ทีนี้สอนอย่างนี้ เราจะบอกว่า สิ่งนี้มันเป็นวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นวัฒนธรรมนะสิ่งที่เป็นวัฒนธรรม ดูสิ เวลาพระพุทธศาสนา ,๐๐๐ กว่าปี แต่ก่อนหน้านั้นเขาก็ถือผีกัน การถือผีกัน สิ่งนี้มันเป็นความเชื่อ ถ้าความเชื่ออย่างนี้มันถูกต้องไง มันถูกต้องเพราะถ้าเราไม่มีความเชื่อ ในปัจจุบันนี้เราไปวิทยาศาสตร์กันจนเรามองข้ามวัฒนธรรมของชาวพุทธเราเอง เรามองข้ามวัฒนธรรมของท้องถิ่นไง ขวัญข้าวขวัญยุ้ง ขวัญฉาง เราไปมองไง เวลาเราบวชพระ ทำขวัญนาค ทำขวัญนาคเขาก็เรียกขวัญไง

ฉะนั้น คำว่า “มีขวัญๆ” มันขวัญกำลังใจ สิ่งนี้มันเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น มันเป็นตำนาน มันเป็นประโยชน์ มันเป็นประโยชน์นะ เป็นประโยชน์ให้ท้องถิ่นนั้นมันเป็นกำลังใจ เพราะการทำมาหากิน ดูสิ เวลาเขาทำขวัญข้าว เวลาทำอย่างนี้ไอ้อย่างนี้เราไม่คัดค้านนะ มันเป็นวัฒนธรรม มันเป็นความเคารพของเขา ฉะนั้นสิ่งนี้มันเป็นตำนาน

ทีนี้ถ้าพูดถึงในพระพุทธศาสนา ถ้าในพระพุทธศาสนานะ อย่างพระพุทธศาสนา ดูสิ ถ้าพระพุทธศาสนาในวัดบ้านวัดทั่วไปเขาแห่พระเวส เขามีทำบุญกุศลประจำปีร้อยแปดเลย นักษัตรมี ๑๒ เดือน ทำได้ทุกเดือน ทำได้ทุกวัน มีตลอด อันนั้นก็เป็นประเพณี ถ้าเป็นประเพณี นั้นพูดถึงว่าพระพุทธศาสนา

ในทางพุทธ พระพุทธเจ้าสอนอย่างไร

ถ้าพระพุทธเจ้าสอนก็สอนเด็กๆ สอนเด็กๆ เข้าวัดเข้าวามา ให้พ่อแม่พาลูกมาวัด มาวัดขึ้นมาให้มันรู้จักวัดๆ ให้มีที่พึ่งที่อาศัย สิ่งนี้มันเป็นการสอนเด็ก แต่ถ้าเป็นพระป่า พระปฏิบัติ เพราะหลวงปู่มั่นปฏิบัติ พอหลวงปู่มั่นปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติ ของอย่างนี้มันเป็นของให้เนิ่นช้า

เวลาหลวงปู่มั่นไปแก้หลวงปู่เสาร์ เห็นไหม เพราะทางอุบลฯ เขามีความเชื่อกัน ความเชื่อว่า ขอให้ธรรมมาสถิตที่ตา ขอให้ธรรมมาสถิตที่ใจ ขอให้ธรรมมาสถิต เห็นไหม ขอให้ธรรมมาสถิตๆ สวดเสร็จแล้วค่อยมาเดินจงกรม ค่อยมาภาวนา

หลวงปู่มั่นแก้หลวงปู่เสาร์ เพราะหลวงปู่มั่นท่านทำมาก่อน เวลาท่านมาปฏิบัติจริงๆ แล้วมันอยู่ที่ความเพียรของเรา มันอยู่ที่สติปัญญาของเรา มันอยู่ที่ความจริงของเรา ถ้าความจริงของเรา ถ้ามันเข้าสู่มัชฌิมาปฏิปทา เข้ามาสู่ความสมเหตุสมผล เข้าสู่มรรคสู่ผล มันก็เป็นสัจจะเป็นความจริงขึ้นมา

แล้วเวลาเป็นสัจจะเป็นความจริงขึ้นมา หลวงปู่มั่นท่านบอกท่านพิจารณาของท่านแล้วนะ เพราะอำนาจวาสนาของพระโพธิสัตว์ เวลาพระโพธิสัตว์นะ เวลาทำได้แค่ได้ฌานโลกีย์ สงบก็สงบธรรมดานี่ มันจะเข้าสู่มรรคไม่ได้ ถ้ามันเข้าสู่มรรคปั๊บ มันจะเป็นพระโสดาบัน ถ้าพระโสดาบันเป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี มันก็จะสิ้นชีวิตไป จบไปใช่ไหม

แต่ถ้าเป็นพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์  อสงไขย  อสงไขย ๑๖ อสงไขยมันวนอยู่อย่างนั้นน่ะ วนจนสร้างอำนาจวาสนาบารมีจนเต็มน่ะ แล้วถ้ามาเข้าสู่พระโสดาบัน  ชาติ สกิทาคามี  ชาติ พระอนาคามีไม่เกิดบนพรหมแล้ว หักวัฏฏะแล้ว นี่มันคนละแขนงกัน มันไปคนละแนวทางกัน

ฉะนั้น เวลาหลวงปู่มั่นท่านพิจารณาโดยถูกต้องดีงามด้วย แต่พิจารณากายแล้ว ออกมาแล้วมันก็ยังปกติ พอปกติ สุดท้ายมันเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะว่าท่านปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านถึงทำความสงบของใจเข้ามา เข้าไปในสมาธิ ไปลากันในสมาธินั้น

พอลาในสมาธินั้น เวลาออกมาปฏิบัติ พอจิตสงบเข้าไป พอจิตสงบเข้าไปแล้วพิจารณากายเข้าไป พอเข้าไป เพราะลาพระโพธิสัตว์แล้ว ถูกต้องดีงามแล้วมันยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย มันมีอะไร มันต้องตรวจสอบตัวเองตลอด หลวงปู่มั่นท่านตรวจสอบตัวเองตลอด พอลาพระโพธิสัตว์แล้ว จิตสงบแล้วเข้าไปพิจารณากาย คราวนี้มันไม่เหมือนเดิมแล้ว คราวนี้มันเข้าสู่อริยสัจไง คราวนี้มันเข้าสู่มรรคเพราะพอพิจารณาไปแล้ว โอ้โฮมันถอดมันถอนไง เออมันต้องเป็นอย่างนี้สิ

นี้บอกว่าหลวงปู่มั่นท่านได้ตรวจสอบ ท่านได้พิจารณาของท่านตลอด ทีนี้ท่านก็เทียบเคียงไปถึงหลวงปู่เสาร์ เพราะท่านปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ หลวงปู่เสาร์ท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ท่านถึงไปแก้หลวงปู่เสาร์ไง เวลาไปแก้หลวงปู่เสาร์ ไอ้ที่ว่า ขอให้ธรรมมาสถิตที่ตา ขอให้ธรรมมาสถิตที่ใจ มันก็จะสร้างความเป็นพระโพธิสัตว์ คือสร้างความสงบของใจเป็นบาทเป็นฐานต่อไป นี่ไปแก้ที่นั่น

ฉะนั้น พูดถึงว่า สิ่งที่รถที่เขาไหว้แม่ย่านางกันอะไร ถ้าพูดบอกว่า เวลาเขามีรถ เขาก็ไหว้แม่ย่านาง บอกว่าหลวงพ่อเห็นด้วย โอ้โฮเดี๋ยวพรุ่งนี้รถจอดเต็มเลย เวลารถมานี่ “หลวงพ่อ เจิมๆ

ไม่ทำให้ใครหรอก เพราะว่าอย่างนั้นมันก็เป็นตำนาน มันเป็นความเชื่อ มันเป็นเรื่องนั้น ที่เขาทำๆ กันนะ เราก็เห็นใจ เพราะจิตใจคนมันมีสูงมีต่ำ ถ้าจิตใจเขาอย่างที่เขาไม่มีที่พึ่งของเขา เขามีอย่างนี้เป็นที่พึ่งของเขา เราก็ปล่อยเขา เห็นว่าจิตใจของเขายังเชื่อเรื่องอย่างนี้

แต่ของพวกเรา เราเป็นชาวพุทธใช่ไหม เราเชื่อกรรม เชื่อการกระทำของเราเราเชื่อคุณงามความดีของเรา เราก็มีสติมีปัญญา เราขับรถด้วยความไม่ประมาทตลอด เราจะเป็นอิสระกับตัวเรา เห็นไหม ถ้าเราเชื่อของเราอย่างนี้ มันอยู่ที่จิตใจของคน

ทีนี้พวกเราจิตใจอ่อนแอ เวลาไปอยู่ในสังคม “รถนี้เจิมหรือยัง ระวังนะ ขับระวังให้ดี” อย่างนั้นเดี๋ยวรีบๆ ไปเจิมเลย เราก็ไปเชื่อเขาอีก ฉะนั้น เราไม่เชื่อเขาเราเช็กของเรา เวลาเราเข้าศูนย์ของเรา เราตรวจสอบของเรา รถของเราสมบูรณ์ของเรา เราขับของเราปกติของเรา ถ้าไม่มีเวรมีกรรมมันก็จบ

นี่พูดถึงว่า เวลาใครเขามีรถ เห็นเขาไหว้แม่ย่านางกัน

อันนั้นก็เป็นความเชื่อของเขา มันเป็นจิตใจของคนไง จิตใจของคนมันหลากหลาย

และคนแก่ที่ว่าเขาปลูกบ้านไม่ให้ทับยุ้งข้าว

ไอ้กรณีนี้ คนแก่คนเฒ่าเขาสอนนะ เวลาทำข้าวตกให้เก็บนะ ให้เก็บแล้วให้ไปทิ้งเสียงดัง ไอ้นี่มันเป็นภาษิตไง ดูสิ ไอ้ที่เขาสอนกัน คำโบราณของเรา เมื่อก่อนจำได้เยอะ เดี๋ยวนี้มันลืมหมดไง นี่เขาสอนกัน เขาสอนกันมาเพื่อให้เด็กมันกตัญญู มันเป็นเทคนิคการสอน มันปลูกฝังวัฒนธรรมของพวกเราไง มันปลูกฝังให้เด็กของเรา ให้คนของเรามันมีหัวใจที่เป็นธรรมๆ มันไม่เสียหายหรอก มันเป็นคุณงามความดี

แต่เวลาเราจะมาประพฤติปฏิบัติกัน เราอ้างชาวพุทธเลย ชาวพุทธพระพุทธเจ้าสอนเรื่องนี้ไว้อย่างไร

พระพุทธเจ้าเวลาสอนนะ เวลาพูด พระเราไปธุดงค์มา ไปเห็นหมู่บ้าน เห็นที่ทำมาหากินแล้วมาคุยกัน ท่านบอกว่า นี่ติรัจฉานวิชา วิชาทำให้เนิ่นช้า

เวลาพระปฏิบัติ กิเลส ถ้ามันเผลอปั๊บ กิเลสมันจะเข้าครอบงำเลย กิเลสมันจะยุแยงเลย ท่านจะให้พูดถึงสัลเลขธรรม เวลาคุยกันก็คุยกันเรื่องทาน เรื่องศีลเรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เห็นไหม เวลา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาคุยสนทนาธรรมกันเป็นมงคลชีวิต เป็นมงคลในการประพฤติปฏิบัติ ท่านให้คุยกันเรื่องอย่างนี้ท่านให้ประพฤติปฏิบัติเรื่องอย่างนี้

ถ้าพูดถึงว่า เวลาพระพุทธเจ้าสอนเรื่องนี้ไว้อย่างไร

พระพุทธเจ้าสอนเรื่องอย่างนี้ มันเรื่องเวรเรื่องกรรม มันวางมา คนที่จะประพฤติปฏิบัติ เรื่องของทานมันจะวางสิ่งนี้มา พอวางสิ่งนี้มาแล้ว พอมันเป็นจริงขึ้นมา ฉะนั้น ถ้ามันเป็นเรื่องของทางโลกเขา เราเห็นด้วยนะ ขวัญกำลังใจนี้สำคัญ เพราะความเชื่อของมนุษย์เขาจะเชื่อว่าทุกอย่างมันมีขวัญของมัน ทุกอย่างเขาจะเคารพของเขาด้วยความเคารพ

ก็เหมือนเราฝึกหัดสติ ถ้าเราฝึกหัดสติ เราจะทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย เพราะมันเป็นสิ่งที่น่าเคารพ แต่ถ้าเราไม่ใช่ไปเคารพด้วยที่ว่าอันนั้นเป็นรัตนตรัย เป็นที่พึ่ง เราเป็นการฝึกหัดสติ เป็นการฝึกหัดเพื่อความถูกต้องดีงาม การเก็บเข้าที่เข้าทาง นี่พูดถึงนะ ฉะนั้น มันเป็นเทคนิค

ถ้าไม่พูดอย่างนี้ปั๊บ เด็กมันก็ไม่เข้าใจ เด็กมันก็ไม่ดูแล จะบอกว่าทุกอย่างมีขวัญ ไอ้พวกชนรุ่นใหม่ก็ไปบอกเลย ชนรุ่นเก่านี่ครึล้าสมัย

ไอ้ครึล้าสมัยเลี้ยงดูเราโตมาอยู่นี่ เลี้ยงกันจนนั่งมาอยู่นี่ ฉะนั้น สิ่งที่เป็นขวัญเป็นกำลังใจ เราเห็นด้วย แต่เวลาเราจะมาประพฤติปฏิบัติ เรื่องของพระพุทธศาสนาอีกเรื่องหนึ่งเลย

เรื่องของพระพุทธศาสนาสอนเรื่องอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พูดถึงที่ไหนมีการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย มันต้องมีพ้นจากความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย พระพุทธศาสนาสอนที่นี่ สอนถึงการเกิดและการตาย เกิดที่ไหน มีการดับที่นั่น ถ้าที่ไหนไม่มีการเกิด ที่นั่นไม่มีการดับ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้เลยทีนี้สอนอย่างนี้แล้ว เอาอย่างนี้ไปสอนคนอื่น แล้วสอนอย่างไร

นี่ไง เวลาพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา “จะสอนใครได้หนอ จะสอนใครได้หนอ” ความจริงในใจเรานี่ ธรรมะนี่ มันจะสื่อออกไปอย่างไร มันจะมีเทคนิคอย่างไรให้คนฝึกหัด ให้คนมีแนวทางแล้วปฏิบัติได้ นี่เวลาออกไป

ฉะนั้น พอออกไปแล้ว พอเข้าไปในท้องถิ่นใดเขามีความเชื่ออย่างใด ก็พยายามเอาสิ่งนั้นเป็นตัวตั้งแล้วอธิบาย นี่ไง พุทธเข้าไปในพราหมณ์ พุทธเข้าไปในขงจื๊อ พุทธเข้าไปในเต๋า มันก็เป็นเซน เป็นอะไรไป มันก็แตกแขนงกันไปเพราะความเชื่อพื้นถิ่นเขามีอย่างนั้น แล้วพระพุทธศาสนาจะสอนให้คนเข้ามาถึงความจริงของเรา

พระพุทธศาสนาสอนอย่างใด

พระพุทธศาสนาสอนถึงการไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

แต่ถ้าเห็นเขาทำกันอย่างนั้น มันเป็นวัฒนธรรม เป็นความเชื่อ มันเป็นขวัญและเป็นกำลังใจ ฉะนั้น มันเป็นเรื่อง ถ้าจะบอกว่าจะเป็นไสยศาสตร์ไป มันก็จะไปว่าเขาแรงเกินไป มันเป็นความเชื่อท้องถิ่นน่ะ แล้วเป็นขวัญกำลังใจให้คนอยู่ร่มเย็นเป็นสุข อยู่ร่มเย็นเป็นสุข อยู่แล้วไม่หวาดระแวง ดูสิ อยู่ด้วยความสงสัยอยู่ด้วยความหวาดระแวง มันจะมีความสุขตรงไหน เราทำทุกอย่างพร้อมแล้วนอนก็สุข ไปไหนก็สุข แต่สุขของเขาก็สุขอย่างนั้น

แต่ถ้าจะพ้นจากทุกข์ วางให้หมดเลย ศีล  ศีล  ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีลสมาธิ ปัญญา ฝึกหัดเพื่อเข้าสู่มรรคสู่ผล นี้ความเชื่อในพระพุทธศาสนา เชื่อเรื่องอริยสัจ เชื่อเรื่องสัจจะความจริง เอวัง