ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

กิเลสสงสัย

๑o ก.ค. ๒๕๕๙

กิเลสสงสัย

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “ขอเพิ่มเติมจากคำถามเรื่องภาวนาแล้วเกร็ง

กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพ ผมเพิ่มเติมคำถามครับว่า ถ้ามันเกร็งแบบนี้แล้วเราหายใจหรือพุทโธไม่ได้ เราสามารถทิ้งพุทโธและลมหายใจ แล้วเอาสติไปจับกับอาการเกร็งไปเลย หัวมันจะดึงจะโยกไปไหนก็รู้ ปากมันจะดึงจะอ้าไปไหนก็รู้ ได้หรือไม่ครับ เคยลองทำดูทีสองทีแบบเอาสติไปจับต้อง ปรากฏว่าหัวมึนไปหมดเลยครับ แล้วเหมือนมันเพ่งเข้าไปที่เกร็งจนมุดเข้าไปภายในกะโหลกอย่างไรอย่างนั้นครับ ขอความเมตตาหลวงพ่อด้วยครับ

ตอบ : เมื่อวานอธิบายถึงนะ อธิบายถึงบอกว่าวิธีการแก้ไข วิธีการแก้ไขเวลาเราแก้ไข ถ้าเราใช้ปัญญาๆ การใช้ปัญญามันจะเข้าไปแก้ไข แต่การไปเพ่งการไปเพ่งหรือไปกดทับไว้ เห็นไหม ในทางโลกที่เขาติเตียนกรรมฐานที่เขาบอกว่า “ไอ้พุทโธเป็นหินทับหญ้า สมาธิเป็นหินทับหญ้า

การว่าเป็นหินทับหญ้าคือว่าเราเพ่งหรือเรากำหนดเข้าไป มันเพ่งเฉยๆ ไงมันไม่ได้มีปัญญา แต่ถ้าการมีปัญญา เมื่อวานอธิบายถึงการเดินจงกรม นั่งสมาธิถ้าเราจะแก้ไขของเรา เพราะนั่งเป็นชั่วโมงๆ ก็ได้ แต่สุดท้ายแล้วนั่งแค่ ๒๐ นาทีก็ไม่ได้ เราถึงให้เดินจงกรม ถ้าเดินจงกรมแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าปัญญาไปฝึกหัดไปคัดไปแยก พอไปคัดไปแยกด้วยปัญญา ทุกอย่างมันจะแก้ไขด้วยปัญญา แต่ปัญญาของคน ปัญญาระดับไหน

ปัญญาของเขา เด็กมีการศึกษาเขาฝึกหัดใช้สติปัญญา คนที่ทำงานก็ฝึกหัดใช้สติปัญญา คนที่ทำงานแล้วไปเจออุปสรรค เขาก็ให้ใช้สติปัญญาแก้ไขอุปสรรคของเขา ใครเกิดปัญหาชีวิตก็ต้องมีสติปัญญาแก้ไขปัญหาชีวิตของตน เวลาใครไปเจอกิเลสตัณหาความทะยานอยากก็ต้องใช้สติปัญญาของตน เวลาคนจะเจ็บไข้ได้ป่วย เวลาจะเป็นจะตาย ก็ต้องใช้สติปัญญาของตน สติปัญญาเท่านั้นที่จะแก้ไขแต่สติปัญญาของใคร ถ้าสติปัญญานะ มันเป็นทุจริต เวลาเขาทำทุจริตกัน เขาวางแผนซับซ้อน ซับซ้อนขนาดไหน นั่นก็เป็นสติปัญญา แต่เป็นสติปัญญาเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นความเห็นผิดไง

ฉะนั้น ที่ว่าเวลาจะแก้ไข เวลาเราบอกว่าให้เดินจงกรม ให้นั่งสมาธิภาวนาให้ฝึกหัดใช้สติปัญญาของเรา

ฉะนั้น คำถามขอเพิ่มเติม ขอเพิ่มเติม เวลาที่ว่าเวลาเรากำหนดแล้ว เรากำหนดพุทโธไม่ได้หรือลมหายใจไม่ได้ เราจะทิ้งพุทโธใช่ไหม พร้อมลมหายใจ เอาสติจ่อเข้าไปที่เกร็งนั้น

สติจ่อเข้าไป เอาจิตที่จ่อเข้าไป จ่อเข้าไปที่อาการอย่างนั้น เวลาจิตที่จ่อเข้าไปอาการอย่างนั้น ถ้าจิตมีกำลังนะ พอจ่อเข้าไป มันแตกได้

อย่างเช่นเราพิจารณาสิ่งใด เราเจอสิ่งใดที่เป็นรูป เวลาจี้เข้าไปแล้วรูปนั้นมันจะแยกออกจากกัน ถ้ามันเป็นสมาธิ ถ้ามีกำลังพอนะ ถ้ามีกำลังพอ กำลังของจิตมันจี้เข้าไปที่ไหนมันจะระเบิด มันจะแตกออกไปจากกันถ้ามีกำลัง ถ้าไม่มีกำลังนะพอจิ้มเข้าไป พอจี้เข้าไปแล้วมันสู้กันไม่ได้ คือกำลังมันไม่พอ กำลังไม่พอ อาการที่มันเกร็ง อาการที่มันเจ็บปวดนั่นน่ะมันจะเจ็บปวดมากขึ้นๆ เพราะอะไร เพราะมันใช้กำลังเฉยๆ มันไม่ใช้ปัญญา

คำว่า “ใช้ปัญญาๆ” ปัญญาของใคร

ถ้าปัญญาของเรา ปัญญาของเรามันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาเกิดจากสมองปัญญาเกิดจากปฏิภาณ แต่ถ้าปัญญาเกิดจากสมาธิล่ะ เวลาถ้าทำสมาธิแล้วปัญญาเกิดจากสมาธิ เพราะสมาธิมันไม่มีตัวตน ถ้ามีตัวตน เป็นสมาธิไม่ได้ ถ้าเป็นสมาธิ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไม่ใช่สิ่งใดทั้งสิ้น มันเป็นสัมมาสมาธิ

แต่ถ้ามีเรามีเขาเข้าไป นี่มีสมุทัย มีเรามีเขาเข้าไป มันมีสมุทัย หมายความว่า มันไม่สะอาดบริสุทธิ์ มันไม่มีกำลังพอ ถ้าไม่มีกำลังพอ โดยสามัญสำนึกทุกคนทุกคนก็ต้องมีตัวตนของตน ถ้ามีตัวตนของตน ความคิดที่เกิดจากตัวตนของตนนี่โลกียปัญญาทั้งนั้น นี่โลกียปัญญา ถ้ามันเป็นโลกียปัญญา เพราะมันกลัวจะไม่รู้ไงกลัวจะไม่รู้ กลัวจะโง่ กลัวเราจะไม่เข้าใจ เวลาใช้ปัญญาอะไรเกิดขึ้นต้องจำไว้ก่อนนะ เดี๋ยวออกจากภาวนาแล้วไปเล่าให้เขาฟังไม่ถูก...นั่นน่ะ ตัวตนทั้งนั้นน่ะ

มันถึงเวลาภาวนาเข้าไปแล้วนะ พอไปเจอสิ่งใดนะ อู้ฮูเห็นไปหมดเลยนะ รู้ไปหมดเลยนะ แล้วจำแม่นเลย เดี๋ยวจะไปคุยโม้ข้างนอกได้ไง เวลาออกจากภาวนาจะไปคุยโม้กับคนนู้น คุยโม้กับคนนี้ว่าเราใช้ปัญญาอย่างนั้น นี่โลกียปัญญาทั้งนั้น ปัญญาที่ตัวตน กลัวรู้ กลัวไม่รู้ กลัวผิดกลัวพลาด กลัวไปหมดน่ะ

แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ไม่มีตัวไม่มีตน มันเป็นสัมมาสมาธิ เวลามันเกิดปัญญาขึ้นมามันเป็นสัจจะ มันเป็นสัจจะ เราเอ๊อะๆๆ ไม่เห็นรู้อะไรเลยนะ นั่นน่ะมันเป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นความสมดุลของมัน มันจะไปของมัน พอไปของมัน ออกมาบอกไม่ถูก พูดไม่ได้ แต่พูดได้ พูดได้เพราะเราเป็นคนทำไง แต่มันไม่มีตัวตนของมัน

นี่พูดถึงว่าเวลาใช้ปัญญา ปัญญามันหลากหลาย เพราะเวลาขั้นของสมาธิน้ำล้นแก้ว สมาธิ เราทำของเรา สมาธิจนจิตมีกำลัง น้ำเต็มแก้วนั่นน่ะ ถ้ามันล้นมันก็ล้นไป มันจะน้ำล้นแก้วแล้ว มันได้แค่นั้น แต่ขั้นของปัญญาไม่มีขอบเขต ไม่มีล้นแก้ว มันไปได้หมดเลยถ้าขั้นของปัญญานะ แล้วปัญญามันมหาศาลมาก

ฉะนั้น เวลาเขาบอกว่า เวลาถามแบบนี้แล้วจะทิ้งลมหายใจ มันลมหายใจไม่ได้ มันพุทโธไม่ได้ สามารถทิ้งพุทโธได้หรือไม่

ได้ ทิ้งเลย ทิ้งพุทโธ เราใช้ปัญญาของเรา ถ้าเป็นปัญญาของเราก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิคือปัญญาใคร่ครวญรักษาจิตของตน รักษาจิตของตนไม่ให้มันทุกข์มันยากจนเกินไป นี่ปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นปัญญาโลกๆเป็นปัญญาในปัจจุบันที่วุฒิภาวะของจิตมันมีความสามารถได้แค่นี้

วุฒิภาวะของจิตของเรามีความสามารถได้แค่ไหน มันจะเกิดปัญญาได้ระดับนั้น เพราะอะไร เพราะบุคคล  คู่ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ระดับของสมาธิกับระดับของปัญญาแตกต่างกันหมดเลยหยาบละเอียดแตกต่างกันหมดเลย นี่ไง ที่เวลามันไป มันยังแตกต่างกันไปอีกมากมายมหาศาล

แล้วปัญญาที่คุยๆ กันอย่างนี้มันเป็นปัญญาสถิติ ปัญญาที่จดจารึกกันปัญญาวิทยาศาสตร์ มันฆ่ากิเลสไม่ได้ ไม่ได้

ถ้ามันจะเป็นปัญญาที่ฆ่ากิเลสนะ มันจะเป็นมรรคนะ มรรคมันเกิดจากสัมมาสมาธินะ มันเป็นบุคคล  คู่ โสดาปัตติมรรค แล้วถ้ามันชำระล้างกิเลสไปแล้วมันจะเป็นสกิทาคามิมรรค ถ้าภาวนาเป็นนะ ถ้าภาวนาไม่เป็น ติดแค่นั้นน่ะ พอมันสำเร็จผลแล้วมันจะยกขึ้นสู่มรรคผลอีกขั้นหนึ่ง มันจะต้องขุดคุ้ยหา

การขุดคุ้ยการหา มันเหมือนจำเลย จำเลย เรารู้ได้ว่าใครทำผิด แต่เราไม่ได้ตัวมันมา เราจะเอาเขาทำโทษไม่ได้ นี่ก็เหมือนกัน เราไม่รู้ไม่เห็นกิเลส ฆ่ากิเลสไม่ได้ ไม่ได้หรอก ฉะนั้น โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค มรรค  ผล  บุคคล  คู่ นี่ถ้าจิตใจมันเป็น นี่พูดถึงว่าถ้าเป็นมรรค เป็นวิปัสสนา

แต่เวลาเราบอกว่าเรากำหนดพุทโธไม่ได้ ลมหายใจไม่ได้ เพราะมันเกร็งไปหมดเลย เราจะทิ้งได้ไหม

เราทิ้งเลย เพราะเราทิ้ง ถ้าทำอย่างนั้นปั๊บ มันละล้าละลัง แต่เวลาเราใช้ปัญญา ปัญญาจิ้มเข้าไปตรงเกร็งเลย อะไรเกร็ง จับมาพิจารณา อะไรเกร็ง หัวจะโยกจะคลอน จับมันๆ จับความรู้สึก จับความรู้สึกอันนั้นแล้วใช้ปัญญาแยกแยะมันมีอยู่จริงหรือ มันเป็นอยู่จริงหรือ ถ้ามันมีอยู่จริง มันต้องคงที่ของมันสิ ไอ้นี่มันมาชั่วครั้งชั่วคราว นี่ใช้ปัญญาแยกเข้าไป จับแล้วพิจารณาเข้าไป มันเป็นอะไร มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เป็นปัญญาสามัญสำนึกของจิตที่มีวุฒิภาวะแค่นี้

จิตที่มีวุฒิภาวะแค่ไหนก็ต้องเริ่มต้นจากตรงนั้น เวลาการประพฤติปฏิบัติก็ต้องเริ่มต้นจากตน เริ่มต้นจากใจของเรานี่แหละ ใจของเรามีคุณสมบัติขนาดไหนก็ต้องเริ่มต้นจากตรงนี้เพราะมันเป็นปัจจุบัน มันเป็นของของเราไง ถ้าจากปัจจุบันนี้เราพิจารณาไป อย่างนี้เราพิจารณาไป จับอาการเกร็ง จับต่างๆ แล้วพิจารณาเป็นปัญญาอบรมสมาธิ

ทำไมต้องเป็นปัญญาอบรมสมาธิล่ะ

เป็นปัญญาอบรมสมาธิหมายถึงสถานะการใช้ปัญญาอย่างนี้ แต่เวลาที่เราพิจารณา เราพิจารณาอาการเกร็ง อาการเจ็บ อาการปวด อาการที่เกิดจากใจ เราไม่ต้องไปห่วงว่ามันจะเป็นมรรคเป็นผลหรือไม่ เพราะวุฒิภาวะเราแค่นี้ เราเริ่มต้นจากตรงนี้ เราต้องทำอย่างนี้ พอทำอย่างนี้ ทำอย่างนี้เพื่ออะไร ทำอย่างนี้เพื่อให้อาการเกร็ง อาการที่มันเจ็บปวด อาการที่มันเกิดจากเรา ใช้ปัญญาแยกแยะไปแล้ว ถ้ามันปล่อยวาง มันหลุดจากจิตของเราไปก็จบ จบหมายความว่ามันผ่านพ้นอันนี้ไป

ถ้ามันไม่ผ่านพ้นไป เราก็ใช้อุบายของเรา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พอมันปล่อยมันวางแล้วมันยังไม่จบ ไม่จบ เรากลับมาพุทโธต่อเนื่อง พุทโธต่อเนื่องเพื่ออะไร พุทโธต่อเนื่องเพื่อให้จิตมันสงบลึกเข้าไป หมายความว่า ในระดับพื้น เราสามารถแยกแยะได้ ปัญญามันสามารถพิจารณาได้จนมันปล่อยวางหมดแล้ว แต่ถ้าพอเรากลับไปพุทโธอีก มันก็เกิดอาการเกร็งอีก ถ้าเกิดอาการเกร็งอีก เราใช้ปัญญาไป พอมันปล่อยวางแล้วเรากำหนดพุทโธต่อเนื่อง ต่อเนื่องให้จิตมันละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไป มันก็จะลงลึกลงไปอีก ลงลึกลงไปสิ่งที่มันหมักหมมมันสะสมไว้เป็นเวรเป็นกรรมของจิต แล้วพุทโธให้มันลึกลงไปแล้ว พอไปจับได้จับอาการอย่างนั้นได้ แล้วเราก็พิจารณาต่อเนื่องอีก คือมันถอดถอนเป็นชั้นๆๆเข้าไป

ถ้าเวรกรรมของคนตื้นลึกหนาบางแตกต่างกัน ถ้าเรามีเวรกรรมเท่านี้ เราพิจารณาอย่างนี้ปั๊บ เวลามันถอดมันถอนนะ เวลาปัญญาพิจารณาไปแล้วมันโล่งหมดเลย มันปล่อยหมดเลย นี่คือว่าเราถอดถอนได้สำเร็จ ถ้ามันถอดถอนไม่สำเร็จ แสดงว่ามันมีลึกซึ้งกว่านี้ ถ้าลึกซึ้งกว่านี้ เราต้องทำความสงบของใจให้มากกว่านี้ ถ้ามากกว่านี้ก็ลงไปสู่จิตนี้ จิตที่มันสะสมไว้ที่นั่น สะสมไว้ที่นั่น มันก็ต้องไปใช้ปัญญาแยกแยะกันที่ตรงนั้น ถ้าแยกแยะตรงนั้นมันก็เป็นการกระทำของเรา

นี่พูดถึงว่าเขาถามเพิ่มเติม เมื่อวานอธิบายไปแล้ว  รอบ นี่เพิ่มเติมขึ้นมาเพราะบอกว่าถ้าเราทำไม่ได้ไง เราทำไม่ได้ เรากำหนดลมหายใจไม่ได้ เรากำหนดพุทโธไม่ได้ เราทิ้งแล้ว ทิ้งลมหายใจแล้วเอาสติจับอาการเกร็งไปเลย

หัวมันจะตึงจะโยกอย่างไร ปากมันจะอ้าอย่างไร ได้หรือไม่ครับ

มันเป็นอุบายเป็นวิธีการนะ เวลาคำถามมันก็ถามเป็นทฤษฎีอย่างหนึ่ง เวลาเราปฏิบัติมันต้องเอาปัจจุบันนั้นไง เอาปัจจุบันที่เราเป็น เอาปัจจุบันที่เราแก้ไขอยู่นี่ ตรงนี้มันจะสำคัญ ฉะนั้น สิ่งที่มันลังเลสงสัยมันก็เป็นกิเลสทั้งนั้นน่ะ กิเลสมันพาเราสงสัย แล้วเราก็มีกิเลสอยู่แล้ว เวลาเราปฏิบัติ เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่เราทำมาๆ เราพยายามฝึกฝนใจเราขึ้นมา ถ้าใจมันเป็นมันก็เป็น ถ้าใจไม่เป็น เราก็ฝึกหัดให้มันเป็น ถ้าเป็นแล้วมันจะได้จบ จบนะเพราะอะไร เพราะธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันชำระล้างกิเลสไง

กิเลสไม่กลัวอะไร กิเลสกลัวธรรมอย่างเดียว กิเลสกลัวศีล กลัวสมาธิ กลัวปัญญา กลัวสติที่มันยับยั้ง กลัวสติ กลัวสมาธิ มีสมาธิ กลัวปัญญา นี่มันกลัว มันกลัวตรงนี้ มันไม่กลัวสัญญาอารมณ์ มันไม่กลัวการคาดหมาย มันไม่กลัวใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสิ่งนั้นมันสามารถพลิกแพลงได้ แต่ถ้ามันมีปัญญาแยกแยะเข้าไปแล้วทะลุทะลวงเข้าไปถึงตัวมันแล้ว จบหมดนะ กิเลสมันกลัว มันกลัวตรงนี้ ฉะนั้น เราจะต้องตั้งใจของเราไง

ฉะนั้น สิ่งที่เขาประสบการณ์ที่เขาทำมา “เคยลองทำดูทีสองที แบบเอาสติจับตรงนั้น ปรากฏว่ามึนหัวไปหมดเลยครับ แล้วเหมือนเพ่งเข้าไปที่เกร็งจนมุดเข้าไปภายในกะโหลกอย่างไรอย่างนั้นครับ

นี่ก็บอกว่า ไอ้การที่ว่าเราเพ่ง เรากำหนดไว้ บางทีมันเป็นวิธีการนะ ในการปฏิบัติ ถ้าเราพยายามทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจสงบแล้วเราจับสิ่งใดได้เราพิจารณาของเรา พอพิจารณาของเรา การพิจารณามันใช้กำลังมาก มันใช้กำลังของจิตไปมาก แล้วมันเหนื่อย แล้วมันไม่มีกำลังพอ เราสามารถยันไว้ การที่ว่าการเพ่ง การเพ่งเหมือนการยันไว้ การเพ่งหรือการกำหนดเหมือนการยันไว้ มันไม่ใช่เป็นการใช้ปัญญาไง แต่จะบอกว่าผิดทั้งหมด กรณีอย่างนี้มันเป็นวิธีการอันหนึ่งไว้เวลาพักผ่อน เวลาจิตของเรา เราทำงานจนเหนื่อย เราใช้ปัญญาจนเต็มที่แล้ว เรายันไว้ เราเพ่งไว้เฉยๆ การเพ่งการยันไว้ ถ้ามันเป็นธรรมะก็เป็นขันติธรรมความอดทน ความอดกลั้น เพ่งยันไว้ การยันไว้มันก็เป็นวิธีการอย่างหนึ่ง

แต่ถ้าบอกว่าถูกไหม ไม่ถูก ไม่ถูกเพราะอะไร เพราะมันเป็นวิธีการพัก แต่ถ้ามันใช้ให้ถูก มันต้องใช้ปัญญา

ทีนี้ปัญญา เราใช้ปัญญาไปแล้ว แล้วเราเหนื่อยมาก ใช้ปัญญานะ มันต้องใช้ปัญญา ต้องขุดต้องคุ้ย มันเหนื่อยมันหอบเลย ถ้าสมาธิมันอ่อน เราวางเลย แล้วกลับมาพุทโธๆ กลับมาพุทโธ กลับมาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มีกำลังแล้วเราต้องเข้าไปพิจารณาต่อเนื่องไป

ฉะนั้น เขาบอกว่า ที่เคยทำแล้ว ที่เพ่งไปแล้ว ที่เกร็ง มันจะมุดเข้าไปเลย

เวลามันมุดเข้าไปเลยเพราะมันไม่มีปัญญา เราไม่ได้ใช้ปัญญา เราใช้เพ่งเฉยๆ ฉะนั้น เราจับ การเพ่งกับการจับ เราจับอาการปวด จับอาการความรู้สึกอย่างนั้นแล้วใช้ปัญญาแยกแยะ แยกแยะหมายความว่ามันเป็นของสมมุติไง ก่อนนั่งสมาธิก็ไม่มี นั่งสมาธิบางทีก็ไม่เกิด แล้วถ้ามันเกิดแล้ว มันเกิด ถ้ามันเป็นจริงมันต้องอยู่กับเราตลอดไป อยู่กับเราตลอดไป หมายความว่า มันจะปวดตั้งแต่ก่อนนั่ง มันจะปวด ความปวดกับหัวเรามันจะอยู่กันตลอดไป

แต่นี้มันไม่มี มันจะมีต่อเมื่ออุปาทาน ต่อเมื่อเวรกรรมมันเสวยผล พอเสวยผลมันจะเกิดอาการอย่างนี้ขึ้น เกิดอาการอย่างนี้ขึ้นปั๊บ แล้วเราก็ตามอาการนั้นไปพอตามอาการนั้นไป อาการนั้นมันก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น ขยายส่วนมากขึ้น

แต่ถ้าสติปัญญาเราขีดวงของมัน เราพิจารณาของเราไปนะ เราแยกแยะขึ้นมานะ เราจะกำจัดมันออกไปไง เพราะว่ามันเป็นอนิจจัง มันไม่มีตัวไม่มีตน มันมีขึ้นมาเพราะความโง่ของจิต เพราะจิตมันโง่ จิตมันถึงเสวยอารมณ์นั้น ถ้าจิตมันไม่โง่ จิตมันไม่ยอมเสวยอารมณ์นั้น แล้วอารมณ์นั้นมันเป็นอารมณ์ทุกข์ อารมณ์ทุกข์ที่เราไม่ต้องการ ไม่พอใจ เราใช้ปัญญาแยกแยะไป มันจะมีเหตุมีผล มีเหตุผลจนกิเลสมันอาย ถ้ากิเลสมันอาย มันต้องหายตัวของมันไป เพราะมันอายเหตุอายผลอายธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ถ้าพิจารณา พิจารณาอย่างนี้

แต่ถ้ามันมุดเข้าไปคืออาการเพ่ง อาการกดทับไว้ มันใช้กำลังของจิตไง แต่ถ้าการเพ่ง การจับ มันก็ต้องเพ่ง ต้องเข้าไปจับตรงนั้นมันถึงจะพิจารณาได้ ถ้าเราพิจารณาตอนที่เราไม่ภาวนา เขาเรียกว่าทำงานข้างเดียว พูดข้างเดียวใครก็เก่งถ้าให้เราพูดข้างเดียว เราพูดได้ทั้งวันเลย เราเป็นคนดี ดีดี๊ดี ดีที่สุด ก็พูดข้างเดียวไง

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราคิดข้างเดียว เราคิดข้างเดียวใช่ไหม ก่อนภาวนาเราคิดได้หมด ถ้าอาการเกร็งมันเกิด เราทำอย่างนั้นๆๆ...เราคิดข้างเดียว แต่พอภาวนาไปแล้วมันเกิด มันเป็นระหว่างเวรและกรรม สิ่งที่เกิดขึ้นกับสติปัญญาของเรามันเป็นการพิจารณาแยกแยะกัน เวลาวิปัสสนามันต้องวิปัสสนาอย่างนี้ ไม่ใช่คิดข้างเดียว

คิดข้างเดียวทุกคนก็ทำได้หมดน่ะ ทุกคนก็คิดว่าฉันทำจะทำอย่างนั้นประสบความสำเร็จ ฉันทำอย่างนี้จะประสบความสำเร็จ มันคิดข้างเดียวไง แต่ถ้าเวลาไปเจอหน้ากิเลส กิเลสมันแสดงตัว เพราะอะไร เพราะเราจะชำระล้างมัน เราจะชำระล้างมัน จิตต้องสงบ แล้วไปรู้ไปเห็นตามความเป็นจริง เห็นกิเลสตัวจริงๆ แล้วพิจารณากันจริงๆ นั่นล่ะ ระหว่างกิเลสกับธรรมต่อสู้กัน

หลวงตาท่านเทศน์สอนนะ ท่านบอกสงครามธาตุสงครามขันธ์ สงครามธาตุก็ธาตุ  สงครามขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สังขาร ความคิดความปรุง ความแต่ง สงครามธาตุสงครามขันธ์ที่มันเกิดขึ้นบนหัวใจ บนจิต บนจิตไง บนสมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน เวลากิเลสกับธรรมที่มันต่อสู้กัน นี่ไง จิตใจที่จะมีมรรคๆ ไง

ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล จิตใจดวงไหนไม่มีมรรคไม่มีผลจิตใจดวงใดที่มีการกระทำ มรรคมันเกิดจากใจดวงนั้น ถ้ามรรคมันเกิดจากใจดวงนั้น มันเป็นมรรคของใจดวงนั้น มรรคของใจดวงนั้นจะชำระสะสางในใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นที่มันสกปรกโสมมของมันน่ะ นี่มรรคมันเกิดอย่างนี้ ถ้ามรรคมันเกิดอย่างนี้นะ แล้วคนไม่เคยเห็นอธิบายไปเถอะ อธิบายไป พูดข้างเดียวมันพูดได้หมดล่ะ มันต้องให้ใครก็แล้วแต่ที่เคยผ่านตั้งปัญหาถาม ถ้าถามขึ้นมาเขาถามโดยข้อเท็จจริง ตอบไม่ได้หรอกถ้าไม่เคยเห็นนะ

นี่พูดถึงว่าเขาขอเพิ่มเติม เขาขอเพิ่มเติมจากคำถามเรื่องภาวนาเกร็ง

ฉะนั้น อย่างที่ว่าฝึกหัดใช้ปัญญา แล้วจะบอกว่า เวลาปฏิบัติไปแล้วถ้ามันไม่ได้ดั่งใจ มันไม่ได้ดั่งใจหรอก เพราะใจของเรามันก็ตัณหาความทะยานอยากคาดหมาย อยากให้ประสบความสำเร็จอย่างที่ใจต้องการ เวลาจิตของเรามีความเจ็บช้ำน้ำใจ เราก็อยากจะวิปัสสนาให้มันหายหมด เวลามันเกิดอาการเกร็ง อาการที่ไม่พอใจในใจ คิดว่าจะทำแล้วมันหายหมด

แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญาค่อยๆ พิจารณาไป มันค่อยๆ จางไปๆ เราต้องมีสติมีปัญญา ต้องอดทน ต้องอดทน ต้องอดทนแล้วต้องมีความพยายามของเรา ไม่ใช่ว่าทำแล้วมันจะหาย พอทำหนสองหน “หลวงพ่อ มันไม่หาย

มันเป็นมากี่ภพกี่ชาติ แล้วเวลามีสติปัญญาจะทำทีเดียวให้มันหาย แต่ถ้าคนมันสร้างบุญกุศลมามันก็หายเหมือนกันนะ นี่เราบอกไว้ก่อนไง บอกว่า อย่าไปหลงเอาตัณหาความทะยานอยาก ตัณหาความทะยานอยากคือสมุทัย คือกิเลสแล้วเอามาเสริมกับการปฏิบัติของตน

ในการปฏิบัติของตนมันก็มีอวิชชา มีความไม่รู้เป็นกิเลสดั้งเดิมอยู่แล้ว แล้วเวลาทำแล้วยังไปเสริมมันด้วยตัณหาความทะยานอยากเสริมเข้าไปอีก แล้วพอเสริมเข้าไป มันเป็นเรื่องกิเลสทั้งนั้นเลย เป็นเรื่องของกิเลสคือเรื่องการตัดกำลังใจของตน การตัดทอนความพยายามของตน แล้วเราก็ทำของเราพร้อมกับความตัดทอนตัวเอง มันจะประสบความสำเร็จไหมล่ะ

แต่ถ้าเราทำของเรานะ ทำของเราด้วยความเพียรชอบ ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ เราทำของเรา แล้วพยายามทำให้ดำริชอบ ดำริคือความคิดความปรุงความแต่งให้มันสมดุล ให้มันเป็นสัมมาทิฏฐิ ให้มันเป็นธรรม ให้เป็นธรรม

ทีนี้เราไม่เคยทำ คำว่า “เป็นธรรมๆ” จิตใจมันอยู่ในกิเลสครอบงำมาตลอดเวลาทำให้เป็นธรรมๆ เป็นธรรมเป็นอย่างไรล่ะเป็นธรรม ก็คิดถึงธรรมพระพุทธเจ้าตลอดเวลา เวลาคิดนี่ธรรมพระพุทธเจ้าทั้งนั้นเลย ศึกษามานี่ธรรมะพระพุทธเจ้าทั้งนั้นเลย นี่ธรรมตลอด...คิดเอาเองไง ฉะนั้น ถ้าคิดเอาเอง ค่อยๆค่อยๆ ทำของเราไป

นี่เราบอกไว้ก่อนไง ไม่อย่างนั้นเวลาบอกว่า “ก็ฟังแล้ว ก็เข้าใจหมดแล้ว แต่ทำไมทำไม่ได้ล่ะ ทำไมไม่เป็นล่ะ

ก็นี่ไง ก็อยากได้อยากเป็นมันก็เป็นสมุทัย เป็นตัณหาความทะยานอยากมาตัดทอน ฉะนั้น ทำของเราด้วยความเข้มแข็ง ทำของเราด้วยความจริงจังเนาะ นี่พูดถึงว่าเพิ่มเติม จบ

ถาม : เรื่อง “เปิดร้านอาหารถือว่าบาปไหมครับ

กราบเรียนหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง ลูกอยากทราบว่า ร้านอาหารที่ซื้อเนื้อสัตว์เพื่อมาทำอาหารขาย แต่ไม่ได้ซื้อสัตว์เป็นๆ มาทำ อย่างนี้ถือว่ามีส่วนในการสร้างบาปสร้างกรรมที่จะได้เงินจากการค้าเนื้อสัตว์ไหมครับ กราบหลวงพ่อให้ความกรุณาสั่งสอนด้วยครับ

ตอบ : ถ้าเราทำร้านอาหารมันเป็นสัมมาอาชีวะนะ คนเราเกิดมามันต้องมีอาชีพ ถ้าคนมีอาชีพ อาชีพทางโลกเขาที่อาชีพในนวโกวาทเขาบอกอาชีพที่ไม่ควรทำ อาชีพที่ค้าอาวุธ ค้าสิ่งที่ทำลายล้างกัน สิ่งนั้นไม่เป็นธรรม แต่นี่เราค้าอาหาร อาหารคือปัจจัย  ปัจจัย  คนเราต้องกินอาหารอยู่แล้ว ฉะนั้น ถ้าเราค้าอาหาร เราต้องไปซื้อเนื้อสัตว์ ซื้อเนื้อสัตว์มาทำอาหารขาย มันเป็นการว่ามันเป็นการค้ากำไรจากเนื้อสัตว์อย่างนั้นหรือไม่

ของอย่างนี้นะ เราไปที่ตลาด เวลาไปที่ตลาด เราไม่รู้หรอกว่า ที่ตลาดนั้นมันมีอะไร แล้วที่ตลาดมีมาอย่างไร ฉะนั้น มันสะอาดบริสุทธิ์อยู่แล้ว

พระนะ เวลาที่เขาบอกว่าพระนี่ฉันเนื้อสัตว์แล้วมันเป็นบาปเป็นกรรม

ทีนี้ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่ เนื้อที่บริสุทธิ์ ไม่ได้ฆ่าเพื่อตน ไม่ได้ยิน ไม่รับรู้ ทีนี้ในโลกนี้มันมีเรื่องนี้อยู่แล้วไง ถ้ามีเรื่องนี้อยู่แล้วเพียงแต่ว่าเรามีนัย มีนัยบอกว่าเขามีอยู่แล้ว เราอยากได้ เราก็ไปส่งเสริมเขา...นี่ไม่ใช่ เราไม่ไปส่งเสริมอะไรเขา มันเป็นอาชีพของเขา เขาเลือกเอง เขาเลือกอาชีพนี้ของเขา ถ้าเขาเลือกอาชีพนี้ของเขา

แต่ของเรา เราเลือกการเปิดร้านอาหาร การทำร้านอาหาร เราเลือกของเราเราเลือกของเรา เราก็ไปซื้อวัตถุดิบของเรา เราไปซื้อวัตถุดิบของเราที่ตลาด แล้วบอกว่า จิตใจของคนถ้ามันละเอียดอ่อนไง จิตใจคนละเอียดอ่อนก็บอก อ้าวก็มันเป็นเนื้อสัตว์ เราก็จะแสวงหากำไรจากเนื้อสัตว์เข้าไปอีก

อ้าวเนื้อสัตว์ ไอ้คนที่เขาเชือดมา เขามาขาย เขาทำของเขาจบแล้ว ไอ้เราก็ไปซื้อของเรามา ซื้อของเรามาแล้วเราก็ทำของเรา

ในปัจจุบันนี้นะ เพราะว่าในการค้าในสมัยต่อเนื่องไป การค้ามันต้องเข้ากับสภาวะแวดล้อม มีธุรกิจหลายๆ อย่างเลย เขาว่าธุรกิจสีเขียว นี่ก็เหมือนกัน เราทำร้านอาหาร เราก็มีเนื้อสัตว์ของเรา แต่ถ้าเรามีไอเดีย เราทำสิ่งใดดีๆ ขึ้นมาเดี๋ยวคนเขาเข้ามาร้านของเรานะ แล้วเขาเห็นไอเดียของเรา เขาเห็นแล้วเขาชื่นใจเขาส่งเสริม เดี๋ยวเราไปโลดเลย นี่ถ้าเราคิดเป็นไง เราคิดเป็น เราไม่ต้องวิตกกังวล

ศึกษาธรรมะมา ศึกษาธรรมะมาแล้ว ศึกษามาแล้วต้องให้มีสติมีปัญญาไม่ใช่ศึกษาธรรมะมา ทุกคนพูดหมดเลย “ทำธุรกิจไม่ได้

ทำไมล่ะ

เพราะผิดศีล 

เอ็งตั้งใจโกหกเขาตั้งแต่แรกเลยหรือ เราไม่ได้ตั้งใจโกหกเขาตั้งแต่แรกมันจะผิดศีลตรงไหนล่ะ มันไม่ผิดศีลหรอก ทีนี้มันเป็นความเคยชิน พูดโกหกกันจนเคย พอจะมาถือศีล  “หลวงพ่อ ถือศีล  ไม่ได้แล้ว

ทำไมล่ะ

เพราะเราค้าขาย

ค้าขาย เราก็บอกเขาไป บอกเขาไปตามนั้นน่ะ ต้นทุนเท่านั้น เราต้องการกำไรเท่านั้น เราบวกได้หมดล่ะ เราไม่ได้โกหกใครทั้งสิ้น เราพูดตามเนื้อผ้าของเรา แต่ถ้ามันโกหก โกหกก็ต้องบอกว่า นี่ซื้อมา  บาท บอก ๑๐ บาท อย่างนี้โกหก ถ้าเราซื้อมา  บาทคือ  บาทไง แต่มันมีส่วนผสมอย่างอื่นอีกล่ะ นี่เราพูดได้หมดล่ะ เราพูดตามความจริงก็ได้ แล้วถ้าพูดตามความจริง การค้าถ้ามันจะมีลูกค้าที่เขาชื่นชอบคือเขามีสัตย์ไง เขาเชื่อใจ ซื่อสัตย์ จะทำให้การค้านี้ยั่งยืน

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ถ้าทำของเรา ทีนี้เราไปคิดเองไง เพราะว่า เราจะบอกว่านักบวชเรา หลายๆ คนเขาพูดไงว่า ไม่ฆ่าสัตว์ แต่ก็ยังกินเนื้อสัตว์ การกินเนื้อสัตว์ก็กลายเป็นการส่งเสริมคนฆ่าสัตว์...นี่เขาพูดของเขานะ

โรงเชือดมันจะเจ๊งอยู่แล้ว เพราะเขาจะกินอาหารคลีนน่ะ ต่อไปนี้ชาวบ้านเขาเลือกไม่กินกันเอง เอ็งไม่ต้องห่วงหรอก ต่อไปนี้เรื่องสุขภาพ เขาจะกินอาหารที่คลีนเลยล่ะ ไม่กินเนื้อสัตว์เลย

นี่เวลาเขาพูดไง เพราะคำพูดอย่างนี้มันมีพระเคยพูดกันมาเยอะไง “บาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน” มันเป็นโวหารน่ะ เป็นโวหารที่พูดไป เพราะมันจะพูดสิ่งใด เราต้องย้อนกลับไปในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าพูดไว้อย่างไร

ในพระไตรปิฎกบอกนะ เพราะในประเพณีของพระเรานะ เวลาไปนิมนต์พระนิมนต์พระมาฉันอาหารที่บ้าน เขาจะให้ไปนิมนต์พระให้ไปฉันจังหันที่บ้าน เขาไม่บอกอาหารไง ถ้าเขาบอกอาหาร เพราะอะไร เพราะเป็นการเจาะจง เจาะจงนี่มันจะเข้ากับเนื้อที่ผิด เนื้อที่ว่า “พรุ่งนี้ไปฉันอาหาร ไปฉันแกงไก่บ้านหนูนะคะ แล้วก็ไปเชือดไก่เพื่อให้พระองค์นี้นะคะ

เจาะจงนี่เจาะจงกับพระองค์นั้น พระองค์นั้นเป็นต้นเหตุให้ไก่ตัวนั้นเสียชีวิตถ้าพระองค์นั้นตักอาหารคำนั้นเข้าปาก  คำ เป็นปาจิตตีย์หนึ่งตัว ถ้าตักอาหารเป็นคำที่  เป็นปาจิตตีย์ตัวที่  ทุกคำกลืนเป็นปาจิตตีย์ทั้งหมด นี่พระพุทธเจ้าบังคับไว้ขนาดนี้

ไอ้ผู้ที่พูดว่า “บาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน” เอ็งยังไม่ได้ครึ่งหนึ่งของพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธเจ้าปรับอาบัติทุกคำกลืนน่ะ ทุกคำที่กลืนลงไปเป็นอาบัติทุกคำเลย ถ้ารู้ว่าเจาะจงกับพระองค์นั้น แล้วพระองค์นั้นรับรู้แล้ว แล้วไปฉันเข้า

แต่ถ้าเขานิมนต์ไปฉันจังหัน แต่ไอ้นั่นมันเป็นเจตนาของเขา เป็นการกระทำของเขา สัตว์นั้นไม่ได้ตายเพราะเราไม่รู้เราไม่เห็นใดๆ ทั้งสิ้น นี่เนื้อบริสุทธิ์ พระฉันได้

มันมีอยู่ในสุตตันตปิฎกนะ ในสมัยพุทธกาลก็มี ในสมัยปัจจุบันนี้ก็มี ในสมัยปัจจุบันนี้เป็นเรื่องของแม่ชีแก้ว ควายมันโดนยิงตายในป่า สัตว์ป่านี่นะ สัตว์มันมีความรู้สึก นี่อยู่ในสุตตันตปิฎกนะ สัตว์มันอิจฉามนุษย์ มันเห็นมนุษย์ทำบุญมนุษย์มีกฎหมายคุ้มครอง มนุษย์มีความสุข สัตว์ สัตว์ป่ามันเห็นมนุษย์ไม่ได้เลยมนุษย์เห็นมัน มนุษย์จะฆ่ามันทันทีเพราะเอามาเป็นเนื้อ มันต้องหลบต้องหลีกต้องหลบจากมนุษย์ เพราะมนุษย์เป็นยักษ์ฆ่ามันตลอด

แล้วทีนี้ถ้าเป็นสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยง สัตว์ที่ในประวัติเขาเป็นสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงเขาเอามาไถนา บอกเลยนะ “มนุษย์นี่ต้องคอยเอาใจ จะทำอะไรก็ไม่ได้ เดี๋ยวเขาตีเอา จะกินน้ำก็ไม่ได้กินถ้าเขาไม่ผ่อนเชือก เขาดึงไว้นี่ไม่ได้กินน้ำเลย ทำอะไรก็ต้องทำเอาใจเจ้านาย สุดท้ายแล้วถึงเวลาวันนี้เจ้านายก็เชือด เมื่อคืนเพิ่งเชือด

แล้ววิญญาณนั้นก็มาเข้านิมิตแม่ชีแก้ว “ถ้าพรุ่งนี้เขาเอาลาบควายมาถวายขอให้แม่ชีได้ฉันให้หน่อยหนึ่งนะ” คือเขาอยากได้บุญน่ะ เขาอยากให้ได้ฉันเนื้อของเขาเพราะเขาจะได้บุญกุศลนี้บ้าง เพราะเขาเกิดเป็นสัตว์แล้วเขาไม่ได้ทำบุญกุศลอะไรเลย

นี่อยู่ในสุตตันตปิฎก มันเป็นสัตว์ป่าแล้วโดนล่า มันตาย มันมาเข้านิมิตของครูบาอาจารย์เหมือนกันในสมัยพุทธกาล อย่างนี้เหมือนกันเลย “ถ้าพรุ่งนี้เขามีอาหารมา ขอให้ได้ขบได้ฉันบ้างนะ เนื้อของกระผม ขอให้ขบให้ฉันบ้าง เพราะสัตว์มันไม่มีคุณงามความดีอะไร สัตว์มันก็มีเนื้อเท่านั้นน่ะ แต่ที่ตายนี่ไม่อยากตายหรอก แต่เขาล่า ถ้ามันสุดวิสัยแล้ว เพราะมันตายไปแล้วมันไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์ ขอให้ขบฉันเนื้อของเกล้ากระผมบ้าง ผมจะได้มีบุญมีกรรมให้เกิดพ้นจากความเป็นสัตว์ มันทุกข์เหลือเกิน ทุกข์เหลือเกิน” นี่ไง มันเป็นความปรารถนาของเขา แต่นี่ด้วยความบริสุทธิ์นะ

อย่าใช้เล่ห์ อย่าใช้เล่ห์แล้วก็จะไปโกงชีวิตเขา อยากกินเนื้อเขาก็แกล้งไปฆ่าเขา ไอ้นั่นมันเป็นเล่ห์กลน่ะ แต่เวลาที่มันเกิดขึ้นตามความเป็นจริง เขาก็ปรารถนาบุญกุศลของเขา เขาก็ปรารถนาคุณงามความดีของเขา ไอ้คนที่บอก “บาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกิน” นั่นน่ะเอ็งพูดแต่ปาก

สัตว์โลกเป็นไปตามเวรตามกรรม วาระของกรรมมันให้ผล ถึงเวลาวาระอย่างนั้นน่ะ คนมันสิ้นไร้ไม้ตอก มันก็อยากได้บุญกุศลของมัน สัตว์มันก็มีความคิดนะ สัตว์มันก็มองเราอยู่นะ

นี่พูดถึงว่า บาปอยู่ที่คนทำ กรรมอยู่ที่คนกินไง เพราะคำนี้ใช่ไหมเขาถึงได้บอกว่า ถ้าเขาเปิดร้านอาหารซื้อเนื้อสัตว์มาเพื่อทำอาหารขาย แต่ไม่ได้ซื้อสัตว์เป็นๆ มาทำ อย่างนี้ถือว่าเป็นส่วนในการสร้างบาปสร้างกรรมหรือไม่

สร้างเวรสร้างกรรม เรามีเจตนาที่สะอาดบริสุทธิ์ เจตนาที่ดี เจตนาทำเพื่ออาชีพของเรา เราทำของเรานะ เราทำของเรา ทำด้วยคุณงามความดีของเรา ด้วยสัจจะด้วยความจริงของเรามันจะเป็นประโยชน์กับเรา เราไม่ได้เลือกอาชีพที่ผิดศีลผิดธรรม เราทำของเราได้ เราทำของเราได้แล้วเราอยากให้ทำด้วย อยากให้ทำอยากให้คนมีอาชีพ เราต้องการให้คนมีอาชีพ คนที่มีหลักมีเกณฑ์เพื่อดำรงชีพเพื่อไม่ทุกข์ไม่ยากจนเกินไปไง

ทุกคนต้องขยันหมั่นเพียร ใครมีอาชีพอะไรเราก็ขยันทำกินของตน ขยันทำกินของตนจนตนยืนในสังคมได้ เรามีเวลาแล้ว สวดมนต์สวดพรแล้วฝึกหัดภาวนาของเรา เกิดเป็นคนแล้วทางโลกเราต้องหาสัมมาอาชีวะของเราแล้ว เราต้องหาคุณธรรมของเรา หาสัจธรรมของเรา เราทำคุณงามความดีของเราต่อเนื่องของเราไป เราทำของเราไป เห็นไหม เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ไม่เหยียบแผ่นดินผิด พระพุทธศาสนาสอนให้สร้างคุณงามความดี แล้วทำประโยชน์กับเรา ประโยชน์เพื่อตัวของเราไง ทำได้

กรณีอย่างนี้มันเหมือนกรณีทั่วไป เราไม่ได้ไปชี้สัตว์เป็นๆ อย่างที่ร้านอาหารที่ชี้สัตว์เป็นๆ ไอ้คนชี้นั่นน่ะมีเวรมีกรรม เพราะไปเจาะจงเขา ไปเจาะจงให้เขาสิ้นชีวิต ถ้าเราไปเจอร้านอาหารอย่างนั้น เราก็ไม่ต้องเข้า เราไปร้านอาหารที่มันมีของเขาพร้อมอยู่แล้ว เลือกได้ เราเลือกได้

แล้วถ้ามีสติมีปัญญานะ เราจะบอกว่า คนถ้ามีสติมีปัญญามากขึ้น เขาก็พยายามจะหลบหลีกให้ชีวิตของเขาไม่สร้างเวรสร้างกรรมจนเกินไป ให้ชีวิตของเราไม่สร้างเวรสร้างกรรม ถ้ามันจะสร้างกรรมก็กรรมดี พยายามสร้างคุณงามความดีของเรา แต่ถ้ามันผิดพลาดไป สิ่งใดที่ผิดพลาดไปแล้วนะ เราก็ขออโหสิกรรม

คนเราถ้ามันทำผิดทำพลาดสิ่งใดมา ระลึกได้ถึงภายหลังแล้วมันเสียใจๆองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ สิ่งใดทำแล้วนึกถึงได้ทีหลัง เสียใจ สิ่งนั้นไม่ควรทำเลย ไม่ควรทำเลย แต่ตอนนี้เรามีสติปัญญา เราเลือกของเรา เราเลือกของเรานะ

ตอนนี้ เวลาอย่างนี้ถาม แต่พอเดี๋ยวไปเปิดร้านอาหารนะ พอมันขายดีขึ้นมาลืมหลวงพ่อเลย ขายดี ทีนี้จะเอาใหญ่เลย

เวลาขายดีขายอย่างไรก็ให้มีสติปัญญาไว้ แต่ถ้ามันมีร้านอาหารแล้ว ถ้ามันมีอย่างใดที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เราก็หาหนทางของเรา มันมีขึ้นมีลงนะสรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ถ้ามีสติมีปัญญานะ มีหลักมีเกณฑ์ในใจของตน จะทำสิ่งใด เราทำแล้วไม่ทุกข์ไม่ยากจนเกินไป เราหลบเราหลีกเอา

เกิดมาในโลกนี้ อย่างที่เทศน์ตอนเช้าน่ะ โลกนี้คนโง่กับคนฉลาด ใครมากกว่า ถ้าประสาเราว่า คนชั่วกับคนดี ใครมากกว่า ถ้ามันมีคนชั่วมันมากกว่าเราอยู่สังคมอย่างนั้น เราหลบหลีกเอา เราหลบหลีกเอา แต่เราไม่เป็นแบบเขาเราอย่าไปเป็นแบบเขา

เราภูมิใจในคำสอนของหลวงตามาก หลวงตาจะสอนประจำ “ใครจะทำอย่างไรเรื่องของเขา เราจะทำคุณงามความดีกันว่ะ

ท่านจะเตือนลูกศิษย์ตลอดเวลานะ อย่าไปทะเลาะเบาะแว้งกับใคร อย่าไปโต้แย้งอะไรกับใคร อย่าโต้แย้ง อย่าไปทะเลาะกับเขา เราจะทำคุณงามความดีทำคุณงามความดี แต่เวลาท่านเทศน์ โอ้โฮรุนแรงขนาดนั้นน่ะ หลวงปู่มั่นยิ่งรุนแรงกว่านั้นอีก รุนแรงกับใครล่ะ รุนแรงกับกิเลสในใจของสัตว์โลก เราไม่ต้องไปทะเลาะกับใคร ให้ทะเลาะกับกิเลสในใจเรานี่ ให้ทะเลาะกับความเห็นผิดเรานี่

ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน “อย่าเบียดเบียนกัน อย่ารังแกกัน อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อน” แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชื่นชมชื่นชมผู้ที่ฆ่ากิเลส กิเลสต้องฆ่ามันนะ กิเลสในใจของเราต้องฆ่ามัน เอาไว้ไม่ได้มันสร้างลูกสร้างหลานเป็นครอบครัวตระกูลให้เราเดือดร้อนทั้งนั้นน่ะ เวลาจะต่อสู้ก็ต่อสู้กับกิเลสของตน แต่อย่าไปทำให้ใครเดือดร้อน

นี่ท่านสอนประจำ “ใครจะดีใครจะชั่ว เรื่องของเขา เราจะทำคุณงามความดีกัน เราจะทำคุณงามความดีกัน

ฉะนั้น เราทำคุณงามความดี เวลาเราภาวนา เราก็จะภาวนาเพื่อฆ่ากิเลส ฆ่ากิเลสของเราให้จิตมันพ้นจากทุกข์ ถ้าอย่างนี้มันเป็นเรื่องประเสริฐ ถ้ามันประเสริฐประเสริฐจากการกระทำของเรา

เรื่องของโลก เราอยู่กับโลก ถ้าจะชักนำไป เราพยายามสร้างบุญสร้างกุศลของเราให้มีสติ มีปัญญา มีบารมี อย่าให้ใจนี้ไหลไปกับเขา เวลามีสติปัญญานี่ยับยั้งได้ แต่ถ้าขาดสตินะ เห็นดีเห็นงามกับเขาไปหมดเลย ใครจะชักนำอย่างไรก็ไปกับเขา

เราไม่ไปกับเขา เห็นไหม โลกนี้คนโง่มากกว่าคนฉลาดมาก เราจะเป็นคนฉลาดคนหนึ่ง เขาโคกับขนโค ขอเป็น  เขาของโคนั้นเถิด ขอให้มีสติมีปัญญาเอาตัวรอดได้ เอวัง