ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

พูดง่าย ทำยาก

๑๖ ก.ค. ๒๕๕๙

พูดง่าย ทำยาก

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : เรื่อง “กราบนมัสการพระอาจารย์ที่เคารพ

ศิษย์ขอเรียนถามเกี่ยวกับการปฏิบัติดังนี้

คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้

ตรงคำว่า “แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้” ท่อนนี้กระผมเรียนถามครับว่า อันที่จริงแล้ว เรารู้ได้จากการภาวนาอยู่แล้ว เพราะจิตที่เห็นธรรมชาติของจิตหรือเห็นทางออกก็รู้แล้วด้วยตัวของมัน แต่คำว่า “ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละถึงรู้” กระผมเข้าใจว่า หมายถึงจิตเจอทางของเขาแล้ว เพียงแต่จะรู้แบบโลกๆ ได้ ก็ต้องคิดหรือนำมาไตร่ตรองอีกที ข้อนี้ผมเข้าใจถูกผิดคลาดเคลื่อนประการใด ขอความเมตตาจากพระอาจารย์ด้วยครับ ขอบพระคุณ

ตอบ : นี่ถ้าพูดถึงคำถาม เวลาครูบาอาจารย์ท่านสนทนาธรรม ท่านสนทนาธรรมกัน ท่านจะมีการถามตอบ หรือใครปฏิบัติสิ่งใดแล้ว อย่างเช่นหลวงตาท่านเล่าให้ฟังว่า เจ้าคุณจูมให้ท่านกับหลวงปู่ขาวคุยกันน่ะ เวลาหลวงปู่ขาวคุยกันท่านเป็นผู้น้อย ให้หลวงปู่ขาวพูดก่อน พูดเสร็จแล้ว ท่านก็พูดของท่านให้หลวงปู่ขาวฟัง ถ้าฟังแล้วมันเหมือนกันๆ ไง คำว่า “เหมือนกัน” คนที่เขารู้เขาฟังเข้าใจเลยว่าผู้ที่พูดออกมาวุฒิภาวะสูงต่ำแค่ไหน

อย่างเช่นคำถามนี้ คำถามนี้เข้าใจผิดหมดเลย คำถามนี้เข้าใจผิดเพราะวุฒิภาวะของเขาเป็นโลก เป็นโลกเพราะตรงไหนรู้ไหม ตรงที่เขาบอก “กระผมเข้าใจว่า หมายถึงจิตเจอทางออกของเขา เพียงแต่รู้แบบโลกๆ ก็ต้องคิดหรือมาไตร่ตรองอีกที

พอพูดแค่นี้มันก็จับใจความได้แล้วว่าเขามีความรู้ได้อย่างไร ถ้าความรู้ของเขาถ้ามันเป็นธรรมมันจะเป็นธรรมอย่างไร ถ้ามันเป็นโลก เป็นโลกก็ตอบแบบนี้เป็นโลกตอบแบบวิทยาศาสตร์

ฉะนั้น ถ้าวิทยาศาสตร์นะ สิ้นสุดของวิทยาศาสตร์จะเข้าสู่ธรรมะ เพราะวิทยาศาสตร์เป็นสสาร เป็นวัตถุที่ต้องอธิบายได้ แต่พอเป็นธรรมะเป็นนามธรรมไปแล้ว สิ้นสุดของวิทยาศาสตร์เข้าสู่ธรรม ถ้ายังอยู่ในวิทยาศาสตร์ก็อยู่แบบโลกถ้าสิ้นสุดวิทยาศาสตร์ มันก็เป็นธรรมใช่ไหม

ฉะนั้น เวลาถ้าเป็นคำถามของเขา นี่วุฒิภาวะของจิต ถ้าจิตเข้าใจได้ จิตมีการกระทำแล้วจิตมันจะพูดได้ถูกต้อง ถ้าจิตไม่มีการกระทำ จิตก็พูดแบบโลกๆโลกๆ ก็แบบที่เราเข้าใจนี่ ทีนี้เข้าใจ ฉะนั้น ประเด็นนี้มันเป็นประเด็นที่ว่ามันน่าเห็นใจนะ มันน่าเห็นใจเพราะว่าเราดูข่าวสารอยู่ เขาบอกต่อไปนี่นะ มหายานเขาอธิบายเรื่องการประพฤติปฏิบัติ มหายานเขาจะไม่ค่อยยึดติดกับตำรับตำรามหายานเขาเรียกว่าอาจริยวาท เขาเชื่อตามอาจารย์ของเขา ถ้าเชื่อตามอาจารย์ของเขา ถ้าอาจารย์ของเขามีหลักมีเกณฑ์ เขาจะฝึกหัดของเขา

เขาบอกว่า ฝ่ายมหายานส่วนใหญ่แล้วเขาจะไปเดินสติ เขาจะไปตั้งอะไรของเขา คือเขาอยู่ในฝ่ายปฏิบัติ แล้วเขาบอกว่าต่อไปเถรวาทเราจะไปนับถือมหายานทั้งนั้นน่ะ ถ้ามหายานเข้ามาอยู่เมืองไทย

ทีนี้พอเมืองไทยเรา เราอยู่เถรวาท เราอยู่โดยการท่องจำ ท่องจำคือปริยัติเราท่องจำกันมาไง แล้วกลัวจะคลาดเคลื่อน กลัวจะผิดจากนั้นไป เราก็ต้องทำให้แม่นๆ ไง แล้วเวลาปฏิบัติไป ปฏิบัติไปด้วยความท่องจำ คำว่า “ท่องจำ” ก็คือเราท่อง แล้วเวลามีความรู้สึกนึกคิดออกมาก็คำถามที่ถามมานี่

ฉะนั้น เราจะบอกว่า เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติแล้วนี่นะ ท่านจะพูดให้มันเรียบง่าย พูดให้เข้าใจง่ายๆ พูดง่าย แต่ทำน่ะมันยาก

ฉะนั้น เวลาเราพูดกัน เวลาเราพูดนะ เราฟังพระเทศน์บ่อยๆ มากเลย เวลาเทศน์นะ โอ๋ยอวิชชาเลยนะ พูดถึงมรรคสูงส่ง กลัวเขาจะไม่รู้ว่าตัวเองเก่งไง

แต่ถ้าเป็นหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น อย่างหลวงตาท่านเทศน์ เทศน์ง่ายๆเทศน์เรียบๆ เทศน์ง่ายๆ เทศน์ที่เราเข้าใจได้ เห็นไหม พูดให้มันง่ายไง คนที่เขาเป็นแล้วเขาพยายามจะอธิบาย อธิบายถ่ายทอดให้คนเข้าใจนี้เข้าใจได้ง่าย ถ้าเข้าใจได้ง่าย ความเข้าใจนั้นมันก็เป็นปริยัติ เพราะมันบอกว่าจะพูดให้รู้มันเป็นไปไม่ได้ มันต้องปฏิบัติรู้

ทีนี้เวลาพูด เวลาเราศึกษา เราพูดให้เข้าใจได้ พูดให้เขามีหลักไว้ ให้เขามีหลักมีเกณฑ์ของเขาไว้ อย่างเช่นเวลาหลวงตาท่านปฏิบัติของท่านนะ ที่ท่านไปอยู่ที่บ้านผือน่ะ พอจิตมันจับแล้วมันก็ปล่อย จับแล้วมันปล่อย มันปล่อยมันก็ว่างหมดไง แล้วจับไม่ใช่จับปล่อยตั้งแต่เริ่มต้นนะ ท่านจับปล่อยจนขั้นสุดท้ายแล้ว เพราะท่านบอกว่าท่านเป็นโรคเสียดอก แล้วท่านพูดเอง ไม่อยากตาย เพราะตายไปแล้วมันยังไปเกิดอีก เพราะมันไปเกิดบนพรหม แสดงว่าท่านได้อนาคามีแล้ว

ฉะนั้น เวลาจับปล่อยไม่ใช่จับปล่อยแบบพื้นๆ จับปล่อยแบบสูงสุด จับแล้วปล่อย จับแล้วปล่อย คือมันรู้สึกว่ามันคลายออก รู้สึกว่าคลายออก “เอ๊ะอย่างนี้ไม่ใช่พระอรหันต์หรือ” พออย่างนี้ไม่ใช่พระอรหันต์ปั๊บ ท่านบอกว่า ปริยัติคือการศึกษามา แนวทางมันเป็นหลักการไว้ ถ้าเอ๊ะคือสงสัยไง “เอ๊ะอย่างนี้ไม่ใช่พระอรหันต์หรือ” ถ้าเป็นเรา เราว่าใช่ๆ พระอรหันต์ ใช่ ใช่เลย เพราะอยากเป็นพระอรหันต์ แต่ท่านบอกว่า “เอ๊ะอย่างนี้ไม่ใช่พระอรหันต์หรือ

ท่านรีบปฏิเสธเลย “ไม่ใช่ๆ ไม่ใช่เพราะสงสัย” เพราะคำว่า “เอ๊ะ!” นี่แหละท่านถึงบอกว่าคือสงสัย ถ้าสงสัยแล้วใช้ไม่ได้ ถ้าสงสัยมันต้องตรวจสอบ ท่านก็เลยทิ้งตรงนี้ไป แล้วท่านกลับไปไง กลับไปที่ดอยธรรมเจดีย์ ถึงจะไปรู้ไปเห็นที่นั่นออกจากบ้านผือแล้วกลับวัดดอย กลับวัดดอยก็ไปรู้แจ้งกันที่วัดดอยนั้น แต่ตอนนั้นท่านบอกเอ๊ะ!

เราบอกว่า ถ้าเรียบง่าย พูดให้เข้าใจๆ มันเป็นหลักไว้ อย่างเช่นหลวงตาท่านศึกษาปริยัติไว้ มันเป็นประโยชน์ตรงนี้ ประโยชน์ตรงเวลาปฏิบัติไปแล้วมันติดขัดอย่างไร ไอ้ตรงนี้มันจะมาตรวจสอบ ไม่ใช่ฟังรู้แล้วเข้าใจ ไม่มีหรอก มันไม่มี

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าพูดให้ง่ายๆ พูดให้เรียบง่าย ศาสนาพุทธนี่ศาสนาที่เรียบง่ายติดดิน ไอ้ความวิเศษวิโสนั่นเป็นอภิญญา อภิญญา ดูสิ มันแบบว่าพระอรหันต์เอตทัคคะ ความถนัดทางไหน พระอนุรุทธะท่านถนัดทางรู้จิต เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอรหันต์ทั้งนั้นเลย เอตทัคคะนั่งล้อมพระพุทธเจ้าอยู่หมดเลย พระอรหันต์ถามขึ้นมาเลยว่า “นี่พระพุทธเจ้าไม่ได้นิพพานไปแล้วหรือ

พระอนุรุทธะเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน แต่ชำนาญการทางนี้ไง “ยัง ยัง ตอนนี้เข้าฌานสมาบัติอยู่

พระอรหันต์ด้วยกันน่ะ พระอรหันต์ด้วยกัน นั่งล้อมพระพุทธเจ้าอยู่ด้วยกันนั่นแหละ แต่พระอรหันต์ก็ถามขึ้นมา จะเป็นพระอานนท์ถามขึ้นมา พอถามขึ้นมาแล้วพระอนุรุทธะก็พระอรหันต์เหมือนกัน “ยัง ตอนนี้อยู่ขั้นนั้นๆ ตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน เข้าสมาบัติอยู่ แล้วระหว่างรูปฌาน อรูปฌาน ท่านนิพพานตอนนั้น” พอนิพพาน พระอนุรุทธะบอก “นี่พระพุทธเจ้านิพพานแล้ว” นี่ความถนัด ความถนัด ฉะนั้น ความถนัดของแต่ละบุคคลอยู่นี่มันเป็นสมบัติส่วนตน

แต่ถ้าเป็นมรรค เป็นมรรคตั้งแต่โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค มรรคมันก็มีขั้นมีตอนของมัน ถ้ามีขั้นมีตอนของมัน มันก็เป็นการกระทำในใจ ถ้าทำเสร็จแล้วมันเรียบง่าย เรียบง่ายมาก แล้วครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมๆ ท่านพูดเรียบง่าย พูดให้เราเข้าใจได้

ฉะนั้น พอเข้าใจได้ เข้าใจ แต่เวลาพอเราเข้าใจแล้วกิเลสมันร้าย พอว่าเข้าใจแล้วมันว่ามันรู้ไง พอว่าเข้าใจแล้วมันรู้ ที่ว่าที่ประพฤติปฏิบัติกัน ครูบาอาจารย์ของเราของจริง พูดง่ายๆ แล้วเราก็เอาคำพูดของท่านมาตีความกัน เอาคำพูดของครูบาอาจารย์มาตีความกัน แล้วก็ไปเป็นอุดมการณ์ของสำนักปฏิบัติใดว่าของฉันแนวทางนั้น ของฉันแนวทางนี้ แล้วแนวทางนั้นก็ขยายความพยายามจะอธิบายให้เป็นมุมมองของตน ตอนนี้ลงทะเลหมดล่ะ ไปหมดเลย

ฉะนั้น พูดน่ะมันง่าย ปฏิบัติน่ะมันยาก เวลาถ้ามันยากขึ้นมา เราถึงต้องตรวจสอบของเรา เราพยายามทำของเรา ถ้าทำของเรา ทำให้เป็นความจริงของเราขึ้นมา ถ้าเป็นความจริง เราจะเข้าสู่คำถาม ฉะนั้น เวลาที่ว่าหลวงปู่มั่นท่านก็มีความเชี่ยวชาญของท่าน เวลาหลวงปู่เสาร์ท่านก็ดำรงชีวิตเป็นแบบอย่าง ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ท่านก็มีความชำนาญของท่านแต่ละองค์ๆ

ทีนี้ย้อนมาหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ดูลย์ท่านก็ชำนาญของท่านทางนี้ ถ้าหลวงปู่ดูลย์ท่านชำนาญของท่านทางนี้นะ แล้วเวลาเราบวชแล้วเราประพฤติปฏิบัติ เราก็ฟังข่าวอยู่เหมือนกัน ครูบาอาจารย์ท่านเวลาไปหาหลวงปู่ดูลย์ๆ “ไม่ใช่ๆ

คำว่า “ไม่ใช่” มันแบบว่ามันยังไม่เข้าถึงจุดนั้น “ไม่ใช่ๆ” แต่ท่านก็พูดเรียบง่ายนี่แหละ แต่การเรียบง่ายของเรา ไอ้คนปฏิบัติปฏิบัติเกือบเป็นเกือบตายฉะนั้น เวลาปฏิบัติเกือบเป็นเกือบตายมันต้องทำความเป็นจริง นี่มันเป็นความถนัดของท่าน ทีนี้ความถนัดของท่าน ท่านก็พูดเอง

คำถาม “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดถึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้

ไอ้นี่มันเป็น  ชั้นขึ้นไป เห็นไหม ทีนี้ความจริงของท่านเวลามันขยายความกันไปเรื่อย แต่ความจริงของท่าน “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด แต่ต้องอาศัยความคิด” เท่านี้ ของหลวงปู่ดูลย์เนื้อๆ แค่นี้ “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด แต่ก็ต้องอาศัยความคิด” นี่มันชัดเจนของเขา

นี่ไง “คิดเท่าไรก็ไม่รู้” ถ้าเราคิดของเรา เราศึกษาแล้วจะจำแล้วให้รู้ พยายามคิดของเรา มันก็เป็นวิทยาศาสตร์ คิดแบบโลก โลกียปัญญา

ต้องหยุดคิด” ถ้าหยุดคิดขึ้นมา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พอหยุดคิด หยุดคิดนั่นน่ะสัมมาสมาธิ

แต่ก็ต้องอาศัยความคิด” แต่ก็ต้องอาศัยความคิด ชัดเจนอยู่ที่ความเป็นจริงนี้ความเป็นจริง

ทีนี้ผู้ถามเขาถามแยกออกไปไง เขาถามแยกออกไป “แต่ก็ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้” เน้นย้ำคำว่า “จึงรู้” และ “รู้” นี่เขาจะเน้นย้ำตรงนี้ แล้วเขาก็สงสัยสงสัยว่าในการภาวนา “อันที่จริงแล้ว เราก็รู้ได้จากการภาวนาอยู่แล้ว เพราะจิตที่เห็นธรรมชาติของจิตหรือเห็นทางออกก็รู้แล้ว

นี่ไง เขาบอกว่า “อันที่จริงแล้วเราก็รู้ได้จากการภาวนาอยู่แล้ว” ภาวนาอยู่แล้ว นี่ไง เวลาพูดออกมามันพูดจากความรู้ของตนนั่นแหละ ไอ้คนพูดมันก็เหมือนวุฒิภาวะแค่ไหนก็พูดแค่นั้นน่ะ เวลาเขาพูดออกมาปั๊บมันก็บอกแล้ว จริงๆ มันภาวนาก็ต้องรู้ แล้วภาวนาอย่างไรล่ะ ภาวนาอย่างไร แล้วรู้อย่างไร อะไรถึงรู้

กรณีอย่างนี้นะ ถ้าธมฺมสากจฺฉา ครูบาอาจารย์ท่านสอบกันอย่างนั้นมันก็จบไง อันนี้เพียงแต่เขาก็บอกว่า ที่ถามมานี่เขาถามมาด้วยความเคารพ เขาถามมาเพื่อสนทนาธรรมกัน เพื่อหาทางออก ฉะนั้น หาทางออก เขาก็พูดด้วยความเข้าใจของเขา แต่นี้เวลาเราอธิบาย เราอธิบายถึงบอกว่าโลกียะกับโลกุตตระ

คิดแบบโลก คิดแบบวิทยาศาสตร์ พูดแบบข้อเท็จจริง กลัวผิดพลาด อยู่ในกรอบโลก

คิดแบบธรรม ถ้าคิดแบบธรรม ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา จิตมันสงบแล้วถ้ามันเห็นของมัน ไอ้ตอนเห็นนั่นน่ะ แล้วเวลาอธิบายมา หลวงปู่ดูลย์ท่านเห็นอย่างนี้ท่านรู้อย่างนี้ ท่านถึงอธิบายออกมา แต่เราเอาโลกไปจับไง แต่ถ้าเอาธรรมไปจับนะ เอาธรรมไปจับมันคนละเรื่องเลย เอาธรรมไปจับ มันมีเรื่องของโลกแล้วเรื่องของธรรม

แต่ถ้าคนที่ไม่เคยพิจารณาจนเข้าสู่เรื่องของธรรม มันคิดโดยโลกหมด เพราะมันไม่เคยเห็นธรรม แต่ถ้าเห็นธรรมปั๊บ มันจะเข้าใจคำพูดของหลวงปู่ดูลย์ ถ้าเข้าใจคำพูดหลวงปู่ดูลย์ปั๊บ เวลาปฏิบัติมันก็ต้องมีขั้นตอนแบบนั้น ขั้นตอนแบบที่มันจะเป็นน่ะ

เวลาคิดเท่าไรก็ไม่รู้ คิดอยู่นี่แหละ คิดเท่าไรก็ไม่รู้ แต่ก็ต้องคิด คิดเพื่อให้มันหยุดคิด ปัญญาอบรมสมาธิถ้ามันรู้เท่ามันหยุดหมด หยุดหมดเพราะอะไรหยุดเพราะว่ามีสติปัญญาไง มีสติปัญญาเท่าทันความคิดของตน แล้วความคิดของตนที่คิดอยู่นี่มันสมบัติบ้า

สมบัติบ้าคือมันคิดแล้วมันไปกว้านเอาแต่ความสงสัยมา แต่ถ้าคิดไล่จนทันๆถ้ามันทันกันปั๊บ มันเสมอกัน เสมอกัน หยุด หยุดหมด เดี๋ยวคิดอีก หยุดหมดๆหยุดหมดเพราะมันเสมอกันแล้วมันโดยข้อเท็จจริง มันเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต ถ้ามันเท่าทันกันแล้วมันหยุด ถ้ามันไม่หยุดแสดงว่ามันไม่เท่าทันกัน มันต้องเหลื่อมกันมันถึงคิดต่อ แต่ถ้าทันปั๊บ หยุด แล้วอาศัยปัญญามากขึ้นๆ

คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด” หยุดคิด หยุดคิดเป็นสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิแล้วแต่ก็ต้องใช้ความคิด” พอความคิด แต่ก็ต้องใช้ความคิดขึ้นไป มันจะเป็นโลกุตตรปัญญา โลกุตตรปัญญาเพราะจิตมันเห็นอาการของจิต จิตไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้าเห็นตามความเป็นจริงแล้ว เห็นไหม

เพราะเขาถามว่า “อันที่จริงมันรู้อยู่แล้ว มันรู้อยู่แล้วเพราะภาวนารู้ ถ้าจิตเห็นธรรมชาติของจิต

จิตเห็นธรรมชาติของจิต”...ไม่ใช่

จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นอาการของจิต เพราะธรรมชาติของจิตเฉยๆ คือภพ เวลาพิจารณาไปแล้ว พอมันปล่อยหมดแล้วนะ มันพิจารณาขันธ์  ขันธ์ จากข้างนอกทิ้งมาหมดเลย อาการของใจมันทิ้งมาเรื่อยๆ ทิ้งมาเป็นชั้นๆ ขึ้นมาพอทิ้งเป็นชั้นๆ ขึ้นมาแล้ว ถึงที่สุดแล้วตัวมันเอง ตัวมันเองมันจะเห็นตัวเองไม่ได้ถ้าเห็นตัวเองไม่ได้ นี่ธรรมชาติของจิตๆ

ธรรมชาติของจิต จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส ถ้าธรรมชาติของจิต แล้วจะไปทำลายธรรมชาติของจิตได้อีกทีหนึ่ง เพราะธรรมชาติกับจิต ธรรมชาติเป็นธรรมชาติสิธรรมชาติคือธรรมชาติ แต่ธรรมชาติของจิตเพราะมันมีจิตไง ถ้าไม่มีจิตของเรามันก็ไม่ใช่ธรรมชาติของจิตเรา มันเป็นเรื่องธรรมชาติของสาธารณะ ธรรมชาติของสสาร ไม่เกี่ยวอะไรกับเรา แต่ถ้าไม่เกี่ยวอะไรกับเรา เออไม่เกี่ยวอะไรกับเรามันก็ไม่ถึงใจเรา

ถ้าธรรมชาติของจิต นี่เขาพูดของเขา “จิตต้องเห็นอาการของจิตหรือเห็นทางออกของจิตก็รู้แล้ว

ก็รู้แล้ว” มันก็เลยรู้อยู่แค่นี้ไง แต่ถ้าเป็นมรรคนะ มันละเอียดกว่านี้ ทางออกส่วนทางออก ทางออกเหมือนถนน ถนนคือให้คนสัญจร เห็นไหม ทางออกทางออกต้องให้จิตสัญจร จิตนี้สัญจร จิตนี้มันพิจารณาของมันอย่างไร จิตมันจับตัวอะไรมันได้มันถึงสัญจรนั้น สัญจรนั้นคือหนทาง หนทางแห่งมรรค มัคโค แล้วตัวมันล่ะ ตัวที่มันจะเข้าไปสู่สัญจรนั้นล่ะ

นี่พูดถึง เพราะว่าเราจะบอกว่า คำถาม เพราะว่าเวลาผู้รู้พูดเรียบง่าย พูดง่ายๆ ให้เราเข้าใจได้ แต่มันอยู่ที่คนที่มีวุฒิภาวะมากน้อยแค่ไหน คนที่มีวุฒิภาวะมากขึ้นมาเขาจับของเขาได้ เขาขยายความได้ เขาเข้าใจได้ ถ้าคนที่วุฒิภาวะไม่ถึงมันก็ตีความเป็นโลก ตีความเป็นโลกเข้าไป พอตีความเป็นโลกเข้าไปแล้วมันจะเกิดความสงสัยทันที เกิดความสงสัยเพราะอะไร เพราะมันจะเอาอารมณ์ เอาจิตนี้ไปแยกแยะ แยกแยะ อะไรเป็นจิต อะไรเป็นอารมณ์ อะไรเป็นธรรม อะไรเป็นกิเลส เดี๋ยวได้เสีย พอคิดขยายความ

พอคิดขยายความ ทีแรกถ้าสมาธิมันดีนะ มันคิดขยายความแล้วมันสรุปได้เพราะสมาธิมันดี แต่พอสมาธิมันเสื่อมนะ คิดแล้วมันสรุปลงไม่ได้ มันสรุปไม่ได้หรอก มันเหลื่อม มันมากเกินไปหรือน้อยเกินไป แล้วไปไม่ได้ พอไปไม่ได้ แล้วพอคิดต่อเนื่องไป สมาธิอ่อนลงไป ทีนี้เสื่อมหมดเลย นี่พูดถึงว่าเวลาที่เราก้าวเดินอยู่นะ แล้วถ้ามันพิจารณาไปมันจะมีอาการของมันอยู่อย่างนี้

ฉะนั้น สิ่งที่เขาพูดมันเป็นเหมือนกับว่าเราสวดมนต์น่ะ ถ้าสวดมนต์ สวดธัมมจักฯ มันก็คือธัมมจักฯ นั่นน่ะ เพราะเราสวด ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาเขาพูด “อันที่จริงเราก็ต้องรู้ได้อยู่แล้ว เพราะภาวนารู้ได้อยู่แล้ว เพราะจิตมันเห็นธรรมชาติของจิต เห็นทางออกก็รู้แล้ว

นี่มันรู้แล้ว มันก็เหมือนกับมันวนอยู่อย่างนั้นน่ะ มันเป็นข้อเท็จจริงอย่างนั้นน่ะแต่เราไม่ได้มีความรู้แตกฉานชำระล้างถอดถอน สำรอกคายออก ทำลาย สมุจเฉทฯ นี่ถ้าพูดถึงถ้ามันจะปฏิบัตินะ ถ้าปฏิบัติ พอถ้าเป็นอย่างนี้ปั๊บ มันก็จะไม่มาสงสัยตรงนี้ คำว่า “สงสัยของเขา

กระผมเข้าใจว่าหมายถึงจิตที่เจตนาเจอทางออกของเขา เพียงแต่จะรู้แบบโลกๆ ได้ก็ต้องคิด

อันนี้เขาเรียกว่าเป็นโศลกใช่ไหม มหายานเขาจะมีคำถามเป็นโศลกให้ลูกศิษย์ได้คิด แล้วถ้ามีคำถามคำใดคำหนึ่ง ลูกศิษย์คิดแต่ละคนมันจะมีปัญญาแยกแยะกว้างขวางออกไป อันนี้ก็เหมือนกัน มันเป็นโศลกของหลวงปู่ดูลย์ เป็นของหลวงปู่ดูลย์ไง แล้วเวลาเราเองเราเคารพท่าน เราเคารพท่าน เราเคารพบัณฑิต เคารพครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง เราเคารพเราเคารพเพราะว่าจิตดวงหนึ่งเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ แล้วเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ได้บวชเป็นพระ แล้วถ้าประพฤติปฏิบัติถึงที่สุดแห่งทุกข์นี่สุดยอด

คำว่า “สุดยอดของคน” นะ เห็นไหม เวลาหลวงตาท่านแสวงหาหมู่คณะ ท่านไปกราบหลวงปู่แหวน ไปสนทนาธรรมกับหลวงปู่แหวน ท่านบอกว่าท่านแสวงหาอย่างนี้ ท่านแสวงหาอยากจะฟังธรรมจริงๆ อย่างนี้ ไม่อยากฟังเลยความโสโครกสกปรกโสมมของโลกที่เอาธรรมมาบิดเบือน ท่านไม่อยากได้ยินได้ฟังเลย เวลาเราอยากได้ยินได้ฟัง เราก็อยากได้ยินได้ฟังที่เป็นสัจธรรม

ฉะนั้น เวลาของหลวงปู่ดูลย์ เพราะท่านประกาศตั้งแต่ท่านมีชีวิตอยู่ เราได้เห็นได้อ่านมาตั้งแต่สมัยไหนแล้ว แล้วเวลาที่โศลกของท่าน ท่านประกาศออกมาประกาศออกไป ท่านพิมพ์หนังสือออกไป ไม่มีใครคัดค้าน ไม่มีใครโต้แย้งเลยเพราะมันเป็นความจริง แล้วท่านมีชีวิตอยู่ ท่านมีชีวิตอยู่ เวลาคนศึกษาแล้วสงสัยไปถามท่านได้ แต่เวลาท่านเสียชีวิตไปแล้วน่ะสิ พอเสียชีวิตไปแล้วคนก็อ้าง ทุกคนก็อ้าง อ้างว่าท่านพูดอย่างนั้น คือพยายามจะเอาความคิดของตนไปยัดเยียดให้กับตำราของท่าน แล้วก็มาตีความขยายความกัน นี่พูดถึงถ้าเป็นลูกศิษย์ของท่านนะ

แต่นี่ผู้ถามไม่ใช่ ผู้ถามเพียงแต่ว่าอ่านแล้วมันสงสัยไง แล้วตัวเองก็ขยายความไป ถ้าขยายความไป ฉะนั้น เวลาปฏิบัติไปนะ เวลาสงสัย ถามหลวงพ่อมาหลวงพ่อก็พยายามจะตอบให้สงสัยมากขึ้น แล้วถ้าเวลาปฏิบัติไปแล้วนะ มันจะทะลุทะลวง หายสงสัยหมด แล้วมันก็จะลดให้สั้นลง “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดแต่ก็ต้องใช้ความคิด” จบ แล้วไม่ต้องไปต่อเติม

เราไปต่อไปเติม ไปขยายความ มันบิดเบือนไปหมด เพราะท่านจะทำให้กระชับแล้วสั้น เพราะอะไร เพราะมันเรียบง่าย เรียบง่ายมาจากไหน เรียบง่ายมาจากการกระทำของท่าน แล้วมันสรุปลงเป็นอย่างนี้ มันสรุปลงเป็นแค่นี้ แต่ความจริงท่านขยายความออกไป ท่านพิจารณาของท่านมากี่สิบปีกว่าท่านจะรู้ของท่านแต่เวลาเอาจริงๆ แล้วท่านสรุปลงได้แค่นี้ ถ้าสรุปลงได้แค่นี้ปั๊บ ทีนี้เราพอสรุปลงได้แค่นี้ เราไม่รู้ ไม่รู้ เราก็ต้องเพิ่มใช่ไหม เพิ่มจำนวนคำเข้าไป ไอ้จำนวนคำที่เพิ่มนั่นน่ะเป็นความเห็นของเรา ความเห็นของเราว่าถ้าเพิ่มจำนวนเข้าไปแล้วมันถึงจะสรุปได้ แต่ความจริงของท่าน ท่านสรุปของท่านแล้ว “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด แต่ก็ต้องใช้ความคิด” จบ

ไอ้นี่ของเขามาบอกว่า ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละถึงจะรู้

ถึงจะรู้” คำว่า “ถึงจะรู้” มันเป็นสองเป็นสามไปแล้วนะ “ถึงจะรู้” ของท่านไม่ต้องคิด ไม่ต้องรู้ จบไปแล้ว จบเลย จบคือจบ ไม่ต้องมา “ถึงจะรู้” ถึงจะรู้ก็มีตัวมีตน มีเขามีเรา แล้วต้องคราวหน้าคราวหลัง ถ้า “ถึงจะ” นี่ไม่มี

หลวงปู่มั่นเวลาเทศน์ไม่มีเลย ต้องต้องอย่างเดียวเลย แค่นี้ๆ ไม่มีมากและน้อย แค่นี้ ไม่มีมากกว่าและน้อยกว่า มากกว่าก็ผิด น้อยกว่าก็ผิด แต่ของท่านแค่นี้

เพียงแต่ว่า ฉะนั้น เราจะย้อนกลับมาที่ว่า “ฉะนั้น กระผมเข้าใจของผม ฉะนั้นจิตจึงมีทางออกของเขา เพียงแต่จะรู้แบบโลกๆ หรือไม่” อันนี้เป็นความเข้าใจของเขา แล้วความเข้าใจของเขา เขาก็เขียนมาให้เราช่วยพิจารณาใช่ไหม เราก็พิจารณาของเรา

พิจารณาของเรา เวลาเราพิจารณา เวลาคนที่ขยายความ เพราะเรามีความรู้เรามีปัญญามากขึ้น เราขยายของเราไป แต่ของท่านมันจบของท่านแล้ว เราเข้าใจอย่างนั้น ฉะนั้น เราบอกว่า พูดง่าย ทำยาก พูดง่ายๆ ทำยาก

ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ถ้าท่านมีสติปัญญา เพราะเวลาคนที่เขาเอาเรื่องของมหายาน เรื่องเซนไปถามหลวงตา หลวงตาท่านพูดเอง ปัญญาวิมุตติ เราเข้าใจได้ว่าเป็นปัญญาวิมุตติ มันมีปัญญาวิมุตติ ปัญญาวิมุตติหมายถึงว่าเป็นทางออกของพระสารีบุตร พระสารีบุตรเวลาสนทนาธรรมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเสนาบดีแห่งธรรม เป็นผู้ที่มีปัญญารองจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาท่านประพฤติปฏิบัติท่านใช้แนวทางปัญญาของท่าน แล้วถ้าเป็นเจโตวิมุตติในทางของพระโมคคัลลานะ ท่านใช้สมาธิขึ้นมาแล้วพิจารณากายแบบครูบาอาจารย์ที่ท่านพิจารณาของเรา ฉะนั้น นี่พูดถึงว่าในมุมมองของเรานะ

แต่ถ้าในสังคม สังคมในฝ่ายมหายานเขาไม่ถือว่าพระสารีบุตรเป็นต้นศาสดาของเขา เขาถือพระกัสสปะ เพราะในพระไตรปิฎกมีอยู่นะ เวลาที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมด้วยการชูดอกไม้ขึ้น แล้วพระกัสสปะยิ้มไง พระกัสสปะยิ้ม เขาบอกพระกัสสปะเข้าใจ ฉะนั้น เขาบอกลัดสั้นๆ ของเขา ลัดสั้นคือการแสดงธรรมโดยยอดธรรม โดยศูนย์รวม ฉะนั้น เวลาเขาทำกันอย่างนั้นนี่พูดถึงว่าเขาถึงว่าพระกัสสปะเป็นต้นของฝ่ายมหายานเขา

แต่ของเราเวลาในพระไตรปิฎก เราก็เข้าใจได้ เพราะพระกัสสปะเป็นเอตทัคคะในธุดงควัตร ถ้าในธุดงควัตร ถือธุดงควัตรในการเข้มข้น แต่ในธุดงควัตร ในพระไตรปิฎกที่เราศึกษากัน เราศึกษากัน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสนทนาธรรม พระสารีบุตรจะแตกฉานมาก

แต่เวลาท่านพูดกับพระกัสสปะ “กัสสปะเอย เธอก็มีอายุเท่าเรา ๘๐ เท่าเราทำไมต้องถือธุดงควัตร ทำไมยังต้องถือผ้า  ผืน สังฆาฏิปะถึง  ชั้น” จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขอแลก เอาผ้าสังฆาฏิของท่านแลกกับพระกัสสปะ นี่มันเป็นจุดเด่นไง พอจุดเด่นขึ้นมา ไอ้นี่เราก็เข้าใจได้ นี่พูดถึงว่าเวลามุมมองไงมุมมองในพระไตรปิฎกนะ ,๐๐๐ กว่าปี แล้วดูถึงสายปฏิบัติมา สายนี้มีความเห็นอย่างไร มีความรู้อย่างไร นี่พูดถึงเวลาเขาไปถามหลวงตา แล้วหลวงตาตอบเขา เราก็ฟังอยู่

ฉะนั้น ฟังอยู่ ท่านบอกว่า ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติๆ ฝ่ายมหายานเขาเป็นปัญญาวิมุตติ ฉะนั้น ย้อนกลับมาถึงหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นปัญญาท่านกว้างขวาง ท่านสอนลูกศิษย์ลูกหาทั่วไปใช่ไหม แล้วเวลาลูกศิษย์ลูกหาจริตนิสัยก็ไม่เหมือนกันใช่ไหม แล้วคนที่มีอำนาจวาสนาบารมีมามันจะยอมฟังกันไหม

แล้วเวลาหลวงปู่ดูลย์ท่านก็เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นเหมือนกัน ฉะนั้น เวลาท่านปฏิบัติ เวลาคนปฏิบัติแล้วมันต้องมีหนทางที่เราจะพิจารณาของเราให้กว้างขวางคือว่ามีทางเดินได้หลากหลาย

ฉะนั้น เวลาหลวงปู่ดูลย์ท่านก็พิจารณาพุทโธเหมือนกัน เวลาเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิหรือใช้ปัญญาไป เวลามันไปถึงหนทางที่มันไปไม่ได้ ท่านก็ใช้พุทโธของท่าน ท่านก็อธิบายเรื่องพุทโธเหมือนกัน ท่านก็ใช้พุทโธเหมือนกัน แต่เวลาด้วยความถนัด ด้วยเวลาท่านจะชำระล้างกันก็เข้ามาที่โศลกของท่านนี่ “จิตส่งออกทั้งหมดเป็นสมุทัย ความคิดทั้งหมดเป็นสมุทัย ผลของมันคือทุกข์ จิตส่งออกทั้งหมดเป็นสมุทัย ผลเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลของจิตเห็นจิตเป็นนิโรธ” นี่เวลาท่านสรุปลง สรุปลงอย่างนี้ การสรุปลงอย่างนี้มันก็เป็นปัญญาของท่าน นี่ท่านใช้ปัญญา มันก็ถูกต้องของท่าน

ฉะนั้น เราจะบอกว่า สิ่งที่หลวงปู่ดูลย์ท่านได้สรุปไว้ จริงๆ นะ เราอยากจะสลักไว้ที่ไหนให้มันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วอย่าไปขยายหรืออย่าย่อความ มีแต่ว่าเราต้องพยายามค้นคว้าของเรา ค้นคว้าของเราให้เรารู้แจ้ง ถ้าเรารู้แจ้ง อันนั้นน่ะสุดยอด

แต่นี่มันไม่อย่างนั้น มันไปขยายความย่อความอันนั้นไง แต่หัวใจ หัวใจว่าฉันเก่งนะ ฉันยอด แต่ถ้าอันนั้นสรุป ท่านสรุปลงแล้ว เหมือนปัญญาสรุปแล้วเหมือนกับธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บัญญัติไว้แล้ว ถ้าผู้ใดกล่าวตู่พุทธพจน์ แล้วมีพระสวด สวดหมายความว่าพูดให้เปลี่ยนความคิดเห็น ถ้าพูดถึง  หน ถ้าเขาไม่เปลี่ยนความเห็น เป็นอาบัติสังฆาทิเสส กล่าวตู่พุทธพจน์ไง เราถือกันแบบนี้

กล่าวตู่พุทธพจน์เพราะอะไร เพราะพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ตอนที่สังคายนาบอกว่าธรรมวินัยที่สังคายนาแล้วเราจะไม่แก้ไข มันเป็นญัตติของพระอรหันต์ ๕๐๐องค์ที่ทำสังคายนาครั้งแรก พวกเถรวาทก็เลยเชื่อกันแบบนี้มาตลอดไง ไม่แก้ไขไม่ดัดแปลง

ถ้าแก้ไข ดัดแปลง มันก็ไปเข้ากับปาฏิโมกข์ที่สวดอยู่นี่ กล่าวตู่พุทธพจน์เป็นอาบัติสังฆาทิเสส พวกเราก็เลยไม่ได้แก้ไข ไม่ได้ขยายความย่อความ ให้มันอยู่ของมันเป็นบาลีอย่างนั้น แต่เวลาเราศึกษามาแล้วเราศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติศึกษามาเพื่อสัจจะความจริง

อันนี้เราก็คิดของเราเป็นนโยบาย เป็นความรู้สึกว่า สิ่งที่หลวงปู่ดูลย์ได้สรุปไว้นี่สุดยอด ฉะนั้น เวลาสุดยอดแล้ว สลักไว้เลยเป็นคำอย่างนั้น แล้วอย่าไปขยายอย่าย่อความ แต่ถ้าเวลาศึกษาแล้วเราเอามาตีความ เอามาฝึกหัด เวลาใช้ปัญญาฝึกหัดวิจัย เออนี่อีกเรื่องหนึ่ง เราฝึกหัดของเรา เราหาความรู้ของเรา

แต่นี่พอเวลาเขาคิดของเขาแล้วเขามีความรู้ของเขาขึ้นมา มันขยายออกไปไง “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดถึงจะรู้

คำว่า “ถึงจะรู้” มันก็เติมเข้าไปแล้ว “แต่ก็ต้องอาศัยความคิด นั่นแหละจึงรู้

แต่ของท่าน ที่เราดูของท่านมา “คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด คิดเท่าไรก็ไม่รู้ต้องหยุดคิด แต่ก็ต้องอาศัยความคิด” เท่านี้ แล้วไอ้นั่นมันส่วนสั้นๆ ของท่าน ไอ้นี่เป็นความถนัดของคนนะ

นี่พูดถึงว่า ถ้าจิตใจของท่านไม่สำเร็จ จิตใจของท่านไม่สิ้นสุด ท่านจะพูดอย่างนี้ได้อย่างไร แล้วท่านพูดแล้ว ภาษาเรานะ ถ้าใครมีปัญญาก็แล้วแต่ โต้แย้งสิ นี่มันโต้แย้งไม่ได้ มีแต่พาล พวกพาลชนมันบิดเบือนไง มันบิดเบือนไง

อย่างที่ว่า หลวงปู่ดูลย์ว่า “จิตส่งออก คิดเท่าไรก็ไม่รู้ จิตส่งออก พอเป็นจิตส่งออกมันเป็นสมุทัย

ทางนี้ก็บอกว่า “จิตส่งออกไม่ได้ อารมณ์ต่างหากส่งออก” นี่เวลาพูดออกมาแค่นี้ เวลาอ้าปากพูดแล้วมันบอกถึงวุฒิภาวะไง บอกถึงความรู้ของคนที่พูด “จิตส่งออกไม่ได้ จิตนี้เป็นพลังงาน” แล้วบอกว่า “จิตส่งออกไม่ได้ สิ่งที่ส่งออกคืออารมณ์ต่างหาก

อารมณ์มันอาศัยพลังงานนั้นน่ะ อารมณ์ความรู้สึกมันต้องอาศัยพลังงานนั้นถ้าไม่มีพลังงานนั้น อารมณ์มันเกิดได้อย่างไร มันส่งออกของมันอยู่แล้ว แต่ความจริงตัวเองเข้าไม่ถึงจิต เข้าได้แค่อารมณ์นั้น เข้าได้แค่อารมณ์ ก็เหมือนเรามีความคิด แล้วบอกความคิดเราเป็นทุกข์ๆ แต่ความคิดเกิดจากอะไรล่ะ เกิดจากจิตฉะนั้น เริ่มต้นก็จิตส่งออกหมดน่ะ

ฉะนั้น สิ่งที่เวลามันไม่ได้มันถึงไปบิดเบือนไง พอบิดเบือนไปมันก็เลยเสียหาย ความเสียหาย เวลาพูดมามันถึงเข้าใจได้ นี่ก็เหมือนกัน ไอ้คำถามนี้ก็เหมือนกัน ไปขยายความคำพูดของท่านมา แล้วไปบอกเป็นความเห็นของเขา เขาเห็นอย่างนี้ก็เป็นความเห็นของเขา ฉะนั้น เพียงแต่ว่าถามมา เราถึงสรุปเอาว่า พูดง่าย แต่ทำยาก

พูดง่ายๆ คำว่า “พูดง่าย” ก่อนที่จะพูดง่าย เขาทำยากมาก่อน เวลาทำยากเย็นแสนเข็ญ ทำมาจนเข้าใจแล้วถึงพูดง่ายๆ เขายากเย็นแสนเข็ญพยายามประพฤติปฏิบัติมาจนตัวเองมีความรู้ความเห็นชัดเจนมา ถึงมาพูดให้พวกเราฟังง่ายๆ ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติแล้วท่านพูดให้เราฟังง่ายๆ เพื่อให้เราเข้าใจง่ายไงท่านย่อยแล้ว ย่อยทุกอย่างให้สรุปลงแล้ว แล้วมาสอนพวกเรา ไอ้พวกเราจับแล้วเพราะเราไม่รู้ เราก็ต้องกลับไปขยายความต่อ แล้วก็เลยไปยุ่งไปยากต่อ

ฉะนั้น ถ้าจะทำให้มันจริงจัง ใช่ ทำง่ายๆ นั่นแหละ แล้วเราเอามาเป็นต้นแบบ แล้วเราพยายามประพฤติปฏิบัติ มันจะทุกข์จะยากอย่างไรก็ทนเอา เพราะเวลาประพฤติปฏิบัติ งานอย่างอื่นก็ทำมาแล้ว จะทุกข์ยากแสนเข็ญทุกอย่างก็ทำมาแล้ว แต่เวลามาวัดให้นั่งเฉยๆ แล้วก็หายใจเข้าพุท หายใจออกโธนี่ทำไม่ได้ให้ไปอาบเหงื่อต่างน้ำนี่ชอบ ให้นั่งเฉยๆ ทำไม่ได้ ให้นั่งเฉยๆ แล้วก็บ่นว่าทุกข์ว่ายากนะ ให้นั่งเฉยๆ ทำไมทำไม่ได้ ไม่ต้องทำอะไรเลย นั่งเฉยๆ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ให้นั่งเฉยๆ อย่าบ่น อย่าบ่นว่าทุกข์ นั่งเฉยๆ นั่งเฉยๆ นั่งไม่ได้

เห็นไหม มันจะทุกข์มันจะยากอย่างไร ทำมา สรุปแล้วมันก็สรุปง่ายๆ แต่นี้เราไปขยายให้มันยาก ถ้ายากก็ยากเพราะกิเลสเรา ยากเพราะในหัวใจของเรามันไม่รู้ ยากเพราะมันสงสัย ยากเพราะกิเลสมันดิ้นรน แล้วเราจะชำระล้างมัน มันยาก ยากตรงนี้จริงๆ

ฉะนั้น เวลามันบอกว่า คำว่า “ง่ายๆ” สาธุนะ คำพูดหลวงปู่ดูลย์ เราสาธุ เราเห็นด้วยหมด แต่ที่เราโต้แย้งเราคัดค้านเพราะว่าเขาพูดออกมา เราจับความได้ว่าเขาไปเพิ่มเติมบิดเบือน ไอ้ที่เวลาเราโต้แย้ง เราโต้แย้งผู้บิดเบือน ผู้บิดเบือน ผู้ไปขยายความ เราไม่ได้โต้แย้งหลวงปู่ดูลย์ ไม่ได้โต้แย้งครูบาอาจารย์

ครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงท่านเป็นจริงวันยังค่ำ จะไปอยู่ที่ไหน อยู่ที่ไหนก็เป็นความจริงตลอดไป แต่เวลาโต้แย้ง โต้แย้งไอ้ที่บิดเบือน ไอ้ที่ไปขยายความ เราโต้แย้งตรงนี้ โต้แย้งตรงนี้คือว่าสิ่งแปลกปลอมไม่ให้มันเข้ามาเจือปน เราโต้แย้งสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาอาศัยชื่อเสียงของหลวงปู่ดูลย์ แต่ถ้าความเป็นโศลกของท่าน เป็นธรรมะของท่าน เราสาธุ เรายอมรับหมด

ฉะนั้น ถึงบอกว่ามันถึงเป็นพูดง่ายๆ ท่านพูดง่ายๆ เพราะท่านรู้จริง ไอ้พวกเราพวกไม่รู้เรื่อง เลยพูดยาก แล้วเข้าใจยาก แล้วเวลาปฏิบัติขึ้นมาก็จะเอาง่ายๆจะเอารวบรัด จะมาพิจารณาของเราก็ทำไม่ได้ พยายามทำของเรา แล้วทำแล้วจะเข้าใจหมดเลยนะ

สาธุเราสาธุจริงๆ โศลกหลวงปู่ดูลย์นี่เราสาธุมาก เพราะมันคม มันคมเหตุผลสมบูรณ์ มันสมบูรณ์ในตัวมันเอง เวลาคนมันจริงมันสมบูรณ์ในตัวมันเองมันสมบูรณ์น่ะ ไม่สมบูรณ์มันจะสิ้นกิเลสได้อย่างไร มันสมบูรณ์ มันกระชับ มันสมบูรณ์ในตัวมันเอง

แต่ที่มันมีปัญหา ไอ้พวกที่ไปต่อเติม ไปต่อเติมแล้วยังไปดึงฟ้าต่ำอีกนะ แล้วยังอวดตัวเองอีกด้วย ฉะนั้น เราพูดถึงคนที่เขาบิดเบือนนะ แต่ไม่ได้พูดถึงคนเขียน คนเขียนนี่ไม่ได้พูดนะ คนเขียนปรึกษาเฉยๆ เขามีความเห็นอย่างนี้ แต่เพียงแต่เราพูด มันมีโอกาสได้พูดก็พูดเพื่อความเข้าใจนะ เพื่อความเห็นของคนหลายๆ คนไง แล้วสุดท้ายแล้วมันก็เป็นสมบัติของหลวงปู่ดูลย์

แต่สมบัติของเราล่ะ เวลาจริงๆ แล้วมันอยากได้สมบัติของเราไง สุขทุกข์ก็ของเราไง ที่เรามาดิ้นรน เรามาปฏิบัติ อย่างน้อยก็ได้ให้แสงเงาของหลวงปู่ดูลย์คุ้มหัวเราก็ยังดี ขอให้ธรรมะครูบาอาจารย์คุ้มหัวเรา แล้วเราปฏิบัติเอาจริงเอาจังแค่นี้ก็ยังดี นี่เราอาศัยตรงนี้ต่างหาก ฉะนั้น สิ่งนี้มันจะเป็นประโยชน์กับเรานะ

เราไม่ไปบิดเบือน ไม่ไปทำให้มันเสียหาย แต่เราเอาอันนั้นเป็นทางเดินไงเอาเป็นการสร้างศรัทธา เป็นการชักจูงเราเพื่อให้เราขวนขวาย ให้เราประพฤติปฏิบัติให้เป็นคุณธรรมในใจของเรา เอวัง