ถูกต้อง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๐
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ถาม : เรื่อง “การทุจริตในที่ทำงาน”
กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ ลูกขออนุญาตเรียนถามเรื่องเกี่ยวกับที่ทำงานดังนี้
ลูกเพิ่งพบว่าเพื่อนร่วมงานทุจริตในการทำโครงการ โดยไปลอกงานผู้อื่นมาส่ง ซึ่งโครงการนี้มีค่าตอบแทน และเป็นงานที่ต้องส่งให้หน่วยงานภายนอก ลูกจึงไปแจ้งผู้เกี่ยวข้องพร้อมหลักฐาน เนื่องจากหากผู้ว่าจ้างทราบเรื่อง จะเกิดความเสียหายอย่างมากต่อองค์กร แต่รองผู้อำนวยการที่รับผิดชอบฝ่ายดูจะไม่ดำเนินการลงโทษ เพียงแต่ให้แก้ไขงานมาส่งใหม่ และให้ทำโครงการที่เหลือต่อไป ซึ่งอาจจะเป็นเพราะรองผอ. และคนที่ทำผิดนี้สนิทกัน
ลูกจึงจะขอความกรุณาจากหลวงพ่อช่วยชี้แนะด้วยเจ้าค่ะ ว่าลูกควรจะแจ้งผู้บังคับบัญชาที่สูงกว่านี้ให้ทราบเรื่องหรือไม่
เท่าที่คุยกับเพื่อนร่วมงานเขาบอกว่า แจ้งไปก็คงไม่มีอะไรเกิดขึ้น อยู่เฉยๆ ดีกว่า เพราะต้องทำงานที่เดียวกันต่อไป จะได้ไม่ต้องมีเรื่องกับใคร ถือว่าเราได้ทำหน้าที่แล้ว แต่ลูกคิดว่า ถ้าไม่ทำอะไรก็เหมือนกับลูกทำความผิดไปด้วยหรือไม่ เพราะลูกรู้อยู่แล้วว่ารองผอ.จะไม่ทำอะไรต่อ ลูกเกรงว่าจะเป็นกรรมติดตัวตลอดไปเจ้าค่ะ แต่อีกใจหนึ่งลูกก็กลัวด้วยว่า ถ้าแจ้งแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น ต่อไปก็จะกลายเป็นมีศัตรูในที่ทำงาน ลูกไม่ทราบว่าควรจะใช้ปัญญาพิจารณาเรื่องนี้อย่างไรเจ้าคะ จึงขอเมตตาอาจารย์ชี้แนะด้วย
ตอบ : อันนี้พูดถึงว่าการทุจริตที่ทำงานไง ถ้าการทุจริตในที่ทำงาน ถ้าเราเห็นนะ การทุจริตในที่ทำงาน เวลาโดยสังคม เห็นไหม เขาบอกต้องสุจริตไม่มีการทุจริต ในการทุจริตต่อหน้าที่การงาน แล้วต่อหน้าที่การงานมันเป็นการคอร์รัปชั่น มันเป็นการทำความผิดกฎหมาย
แต่ทำผิดกฎหมาย ผู้รู้ผู้เห็นในสังคม ถ้าในสังคมมันมีภายนอก ภายใน ถ้าสังคมภายนอก ในที่ทำงานของเรา เราต้องการความสุจริต เราต้องการความถูกต้อง นี้ความถูกต้อง เราก็อยากทำความถูกต้อง นี้ความถูกต้องเราได้ทำความถูกต้องของเราแล้ว ถ้าได้ทำความถูกต้องของเราแล้ว ถึงรองผู้อำนวยการ เราได้แจ้งรองผู้อำนวยการแล้ว ถ้ารองผู้อำนวยการเขาไกล่เกลี่ย เขาทำของเขา
แต่เราคิดของเราเองไง เราคิดของเราเองว่า รองผู้อำนวย-การกับผู้ทำความผิดนี้เขาสนิทกัน ถ้าเขาสนิทกันมันมีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน แต่เขาบอกว่าที่ทำอย่างนี้ ต่อไปที่เขาต้องการแจ้ง ต้องการให้บอกเขา เพราะต่อไปมันจะเป็นเวรกรรมติดตัวต่อไป
นี่พูดถึงว่า ถ้าคนที่ไม่ได้สนใจเรื่องเวรเรื่องกรรมเลย เขาก็คิดว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ เรื่องนั้นเป็นเรื่องทางโลก แต่เวลาคนมาสนใจเรื่องศาสนา เห็นไหม พอสนใจเรื่องศาสนา เป็นเรื่องเวรเรื่องกรรม ถ้าเป็นเรื่องเวรเรื่องกรรม ทำความผิด ทำความผิดมันเป็นบาปอกุศล เราจะทำความถูกต้องดีงามทั้งหมด ถ้าทำความถูกต้องดีงามทั้งหมด สิ่งที่ในความคิดของเรามันต้องถูกต้องดีงามทั้งหมด ด้วยความชอบธรรมทั้งหมด ด้วยความชอบธรรมทั้งหมดมันโดยความชอบธรรมในความเห็นเราไง
แต่ถ้าในความชอบธรรมของความเห็นของเจ้านาย เจ้านายเขามีความเห็นของเขา เขารับผิดชอบของเขา พูดถึงว่าความชอบธรรม ชอบธรรม มันชอบธรรมในหัวใจของใคร ถ้ามันความชอบธรรมในที่ทำงาน เห็นไหม ในที่ทำงานเราก็ทำความสุจริต ทำตามหน้าที่ของเรา ถ้าเราทำหน้าที่ของเรา มีผู้ทำงานมากจะบอกว่า เวลาเจ้านายของเขา เจ้านายของเขาถ้าไม่เป็นธรรม ไม่เป็นธรรมอึดอัดมาก แต่เวลาเจ้านายที่ดี เจ้านายที่ดีมาอยู่ปี ๒ ปี เขาย้ายแล้ว
ไอ้นี่ก็เหมือนกัน คนที่ดีๆ มันเจริญก้าวหน้าไปเรื่อย ไอ้คนที่ไม่ดี ไม่ดีมันตกค้างอยู่นี่ แล้วถ้าเรามาเจอเจ้านายอย่างนี้ เราจะย้อนกลับมาเรื่องเวรเรื่องกรรมแล้ว ถ้าเรื่องเวรเรื่องกรรม ทำไมเราต้องมาเจออย่างนี้ รองผู้อำนวยการเขาสนิทกัน ถ้าเขาสนิทกัน เขาช่วยเหลือกัน ถ้าในความเห็นเรา แต่ถ้าเขาไม่ช่วยเหลือกัน เขาจะแก้ไขอย่างไร
ไอ้นี่ความถูกต้องนะ นี้ความถูกต้อง มันก็มีความถูกต้องจากสังคม แล้วมีความถูกต้องจากความเห็นเรา ว่าอย่างนั้นเลย ถ้าจากความเห็นเรานะ นี้ไม่รู้ว่าเขาจะทำตัวอย่างไร ในเมื่อเห็นเขาทำทุจริตในโครงการใช่ไหม เห็นเขาทำทุจริต เราก็ได้แจ้งรองผู้อำนวยการไปแล้ว แล้วนี่ก็เป็นหน้าที่ของเขาแล้ว แต่ของเราก็คิดว่าถ้าเขาสนิทกัน เขาถึงตัดสินอย่างนี้ เราจะแจ้งต่อไปหรือไม่ เราจะแจ้งเจ้าหน้าที่ที่สูงกว่านี้หรือไม่
ไอ้นี่เวลาพูดกันทางโลกนะ ทางโลกเขาบอกผู้ที่มีจุดยืน ผู้ที่มีจุดยืนเห็นคนทำความผิด เห็นคนทำความผิดต้องชี้แจง ต้องแก้ไขทันที อย่าปล่อย ปล่อยไว้แล้วมันจะเป็นดินพอกหางหมู มันจะมีการทุจริตกันต่อไปเรื่อยๆ ทุจริตกันต่อไปเรื่อยๆ นี่พูดถึงว่าเวลาคนที่เขาเป็นปัญญาชน คนที่มีหลักเกณฑ์ จะเห็นสิ่งใดเป็นผิดปกติ ผิดปกติเขาจะแจ้ง เขาจะแก้ไข เขาจะไม่ปล่อยไว้ให้มันสะสม ถ้าปล่อยให้สะสมนะ แต่ของเขา เขาก็ต้องมีจุดยืนของเขา เขาต้องมีจุดยืนของเขานะ ถ้าไม่มีจุดยืนของเขา เขาก็จะมีผลกระทบ
นี้คนที่เป็นนักร้องคนที่แจ้งคอยร้องเรียน ตัวเองก็ต้องสะอาดบริสุทธิ์ แล้วสะอาดบริสุทธิ์แล้วมันเจอแรงเสียดทาน เจอแรงต่างๆ เราต้องยอมรับสิ่งนั้น นี่พูดถึงว่าถ้าเป็นผู้แจ้ง แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญาของเรา เห็นไหม เห็นสิ่งใดเราก็ได้ร้องเรียนแล้ว ได้ทำหน้าที่ของเราแล้ว ถ้าได้ทำหน้าที่ของเราแล้ว มันเป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อไปว่าเขาจะแก้ไขอย่างไร ถ้าเขาแก้ไขอย่างไรนั่นเป็นเรื่องของเขา แต่เรายังเห็นว่า เห็นว่ามันยังไม่ถูกต้อง จะต้องแจ้งต่อไป แจ้งเจ้าหน้าที่สูงขึ้นไป
แต่ในเพื่อนที่ทำงานเขาก็บอก เขาบอกว่า “ถ้าอย่างนั้นแล้วเราทำงานที่เดียวกัน มันจะกระทบกระเทือนกัน แล้วจะคิดอย่างใด”
ถ้าคิดอย่างใด เราจะบอกว่า สิ่งที่เป็นเรื่องผลกระทบของสังคมนะ ผลที่เป็นเรื่องผลกระทบกับสังคม อเสวนา จ พาลานํ มงคล ๓๘ ประการ ถ้าเราอยู่กับสังคมคนพาล ถ้าอยู่สังคมของบัณฑิต ไม่คบคนพาล ให้คบบัณฑิต แล้วเราจะไปเลือกบัณฑิตที่ไหนล่ะ ในสังคมมันก็มีสับสนปนเปกันไปทั้งนั้น ทั้งคนดีและคนชั่ว ถ้ามีคนดี คนชั่ว เราเองเรามีจุดยืนอย่างไร เราจะมีความดีอย่างไร ถ้าเราจะมีความดีอย่างไร เราทำความดีของเราแล้ว ทำความดีของเราแล้ว ที่ว่าถ้าทำบุญทิ้งเหวๆ ทำดีของเราแล้ว มันก็จบแล้ว
เราทำความดีของเราแล้วนะ ถ้ามันต่อเนื่องกัน มันต่อเนื่องกันไป เพราะเวลาศาสตร์พระราชา ศาสตร์พระราชานะ ผู้ที่จะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เห็นไหม แก้ไขทำเต็มที่เลย พอถึงที่สุดแล้ว ถึงที่สุดทำแล้วมันเป็นไปไม่ได้ เขาต้องมีอุเบกขาธรรม คำว่า “อุเบกขา” ทำถึงที่สุดแล้วมันถึงอุเบกขา มันต้องปล่อยวาง ถ้าไม่ปล่อยวางนะ เราเครียดตายเลย
ถึงที่สุดแล้วเรามีจิตตะ มีวิมังสา มีความมุมานะ มีต่างๆ มีทุกอย่างพร้อม อิทธิบาท ๔ เวลาถึงที่สุดแล้วอุเบกขา อุเบกขาเพราะมันเป็นเวรกรรมของสัตว์ไง สัตว์มันมีเวรมีกรรมอยู่อย่างนั้น สัตว์มันจะพัฒนาขึ้นมาไม่ได้ ถ้าสัตว์มันพัฒนาขึ้นมาไม่ได้ เราพยายามจะทำให้มันพัฒนาขึ้นมา เราแบกหามจนเราเป็นความทุกข์ความยากในใจ แต่ถ้าเราขวนขวาย เราทำของเราเต็มที่แล้ว ถึงที่สุดแล้วอุเบกขา มันต้องมีอุเบกขามันวางได้ พอวางได้ก็จบ ทีนี้มันเป็นเวรเป็นกรรมของคนทำไง
ทีนี้เขาบอกว่า “ลูกเกรงไปว่ามันจะเป็นกรรมติดตัวไป เพราะเราไปรู้ไปเห็นเข้า”
เราไปรู้ไปเห็นแล้วเราวาง ในธรรมะขององค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม ถ้าเราธุดงค์ไป เราไปเจอสังคมพระที่เขาทุศีล ถ้าเขาทุศีลต้องลงอุโบสถต่อกัน เห็นไหม องค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ค้านไว้ในใจ คือ เราไม่ร่วมไปกับเขา ถ้าเราไม่มีเจตนาจะร่วมไปกับเขา แต่! แต่เราอยู่ในชุมชนอย่างนี้ๆ ค้านไว้ในใจ คือ ไม่เห็นด้วย แล้วมีจุดยืนด้วย ค้านว่าไม่เห็นด้วย แล้วจะไม่ทำผิดด้วย แล้วจะไม่ทำไปกับเขาด้วย แล้วเราตั้งไว้ในใจไง
เพราะว่าเราจะไปทำให้สังคมทุกคนมองเห็นเหมือนเรา เป็นไปไม่ได้ แต่ในเมื่อมันเป็นไปไม่ได้ เขามีความเห็นกันอย่างนั้น เพราะเขาเห็นแก่ผลประโยชน์ไง เขาเห็นแก่ผลประโยชน์ ถ้าเขาทำอย่างนั้น เขาสะดวกสบายของเขา ในชุมชนของเขา เขายอมทำอย่างนั้นไง ถ้ายอมทำอย่างนั้นมันก็สายบุญสายกรรม ต้องรับเวรรับกรรมกันไปไง
แต่ของเรา เราเข้ามาจรมาในสังคมอย่างนี้ ในสังคมอย่างนี้มันถึงคราวลงอุโบสถ มันต้องลงอุโบสถ ให้ค้านไว้ในใจ เราเคยเจอกับตัวเราเอง เวลาไปเจอพระที่เขาลงอุโบสถด้วยกัน ทำผิดด้วยการเข้าใจผิดของเขา เวลาคุยกันแล้ว เขาเห็นอย่างนั้นว่าถูกต้อง เราก็โอเค แต่! แต่เราค้านไว้ในใจ คือว่าลงอุโบสถ แต่ไม่เกี่ยว เราไม่รับรู้ด้วย
กรณีนี้นี่ก็เหมือนกัน กรณีเวลาพระลงอุโบสถ ถ้ามีบุคคลที่ไม่ใช่ภิกษุโดยสมบูรณ์ อย่างผู้ที่มีกรรมหนัก กรรมหนักตั้งแต่สังฆาทิเสสไปเขาต้องอยู่กรรม ถ้าเขายังไม่อยู่กรรม เขาลงอุโบสถนั้น ผู้ที่อยู่กรรม อยู่มานัต เป็นผู้ที่ร่วมทำสามีจิกรรมไม่ได้ ทำร่วมกับสงฆ์ไม่ได้ ต้องแยกออกไป แต่ถ้าผู้มีความเห็นผิดเอาเข้ามาทำร่วมด้วย การกระทำนั้นเป็นโมฆะ เป็นโมฆียะ ผิดหมดเลย ไม่มีผล
นี่ก็เหมือนกัน นี่พูดถึง ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า ในวินัยแสดงไว้กับสงฆ์ แล้วสงฆ์ทำมาอย่างนี้ แล้วผู้ที่ใช้ชีวิตเป็นภิกษุตั้งแต่บวชจนตาย เราต้องมีความสัมพันธ์กันในสังคม แล้วมีอย่างนี้จะอย่างไร พูดถึงว่าในสังฆกรรมมันมีเรื่องที่ว่าจะต้องวินิจฉัยเยอะแยะ แล้วเพียงแต่ว่า ผู้ที่วินิจฉัยเขาจะวินิจฉัยเป็นธรรม หรือวินิจฉัยแล้วแต่ความถูกใจ ทำความพอใจ ทำความสุขใจ ฉันเป็นหัวหน้า ฉันมีอำนาจ ฉันก็วินิจฉัยตามแต่อำนาจของฉัน แล้วมันถูกธรรมวินัยหรือไม่
แต่ถ้ามันถูกธรรมวินัยนะ สังฆะนั้นเจริญรุ่งเรือง สังฆะนั้น สังคมนั้น ผู้ที่ปฏิบัติจะมีมรรคมีผล แต่ถ้าสังฆะนั้นทำสังฆกรรมด้วยทุจริต ทำสังฆกรรมด้วยความไม่ถูกต้อง มันจะเจริญไปได้อย่างไร มันเจริญไปไม่ได้ อย่างมากก็แค่นั้นน่ะ แล้วมันก็มีแต่ร่วงโรยไปทั้งนั้น แต่ถ้าสังฆะไหนทำคุณงามความดีไง นี่ตามสังฆะ
แต่นี้แล้วเราเจออย่างไรล่ะ นี่พูดถึง บอกว่า “แล้วเราจะแจ้งอย่างไร เราจะแจ้งผู้บังคับบัญชา เราจะทำให้ถูกต้อง มันจะเป็นเวรเป็นกรรม”
เป็นเวรเป็นกรรมตอนจิตใจเราเห็นเขาผิดไง แต่ถ้าเราผิดไม่เป็นไรเก็บซ่อนไว้ใต้พรม ถ้าเราเห็นเขาผิด โอ๋ย! เป็นเวรเป็นกรรมเชียว ต้องแจ้งต้องอะไร แต่ถ้าเวลาเราผิดล่ะ เวลาเราทำความผิดพลาดล่ะ ความผิดพลาดมันเจตนาหรือไม่เจตนา เราควรให้อภัยเขาหรือไม่ควรให้อภัยเขา ถ้าให้อภัยเขาไปแล้ว ถ้ามันเป็นการตั้งใจของเขา เขาทำผิดซ้ำซาก นั่นจบกันไป ชักสะพานไง
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการประหารขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือไม่พูดคุยกับเขาก็จบ เราชักสะพานซะ เราเป็นบัณฑิต เราเป็นคนที่มีสติปัญญา เราไม่รุกราก เราไม่ระรานใคร เราชักสะพาน นั่นคือ การประหาร การประหาร คือ การไม่พูดด้วย ไม่วิสาสะด้วย เรื่องของเขา มันเป็นความเห็นของเขา มันเป็นเวรเป็นกรรมของเขา เขามีความเห็นอย่างนั้น เขามีทิฏฐิมานะอย่างนั้น แล้วเราจะไปเปลี่ยนแปลงทิฏฐิมานะเขาทำไม ในเมื่อถ้ามันเปลี่ยนแปลงไม่ได้
แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงได้นะ พุทธกิจ ๕ องค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้าเล็งญาณเลย ผู้ใดที่มีอำนาจวาสนา เห็นไหม แล้วอายุเขาจะสั้น ไปเอาคนนั้นก่อน เขามีวาสนา เขาเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเปลี่ยนแปลงได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปโดยฤทธิ์เลย แม้แต่พระองคุลิมาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม กำลังจะฆ่าแม่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปก่อนเลย ไปดักหน้าเลย พูดถึงว่าถ้าเปลี่ยนแปลงได้ เราก็ควรจะเปลี่ยนแปลง ถ้าเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ประหาร คือการชักสะพาน ไม่วิสาสะ จบ ก็อยู่กับเขา เขาอยู่ของเขา เราอยู่ของเรา ไม่เกี่ยวกัน จบ จบ
นี่ไง ถ้ามันจบ เพราะมันเป็นไปไม่ได้หรอก เวลาองค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา มันจะสอนใครได้ มันมีความเห็นกันอย่างนี้ จะสอนใครได้ แล้วธรรมะมันละเอียดลึกซึ้งขนาดนั้น แล้วเราจะไปสอนใครได้ มันพูดกันคนละเรื่องเดียวกัน เขาก็เข้าใจไปอย่างหนึ่ง เราก็เข้าใจไปอย่างหนึ่ง เราต้องการสื่ออย่างนี้ เขาเข้าใจไปอย่างนั้น แล้วเขาจะทำอย่างนั้น ทำไปอีก ก็เรื่องของเขา มันเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าเล็งญาณแล้วถ้าเขาแก้ไขได้ เขามีความพอใจ เขาทำของเขาได้
นี่พูดถึงโลกเป็นอย่างนั้นไง ผู้ถามคิดว่า “เราทำถูกต้องแล้ว ต้องถูกต้องไปหมดไง”
เวลาทำถูก ถูกในขณะนั้น กาลเทศะ ถูกไง แต่ถ้าผู้ที่มีอำนาจเขามองไปถึงองค์กร เขามองไปอีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้น ว่า ความถูกต้องมันต้องอยู่ในสัมมาทิฏฐิ มันต้องอยู่ในสังคมของบัณฑิต อยู่ในสังคมของผู้ที่จิตใจใฝ่ดี ถ้าเราไปพูดในผู้ที่จิตใจเขาเป็นคนคอร์รัปชั่น ว่าอย่างนั้นเลย เป็นคนที่เห็นแก่ผลประโยชน์ เป็นคนที่แสวงหาผลประโยชน์ เราไปพูดอย่างนั้นอันตราย ไม่ใช่กาลเทศะใช่ไหม เขากำลังจะหาผลประโยชน์กัน ไอ้เราบอกว่ามันผิดๆ เดี๋ยวเอ็งก็กระเด็นออกไปไกลๆ เลย
ถ้าเขาจะหาผลประโยชน์ เราต้องมีกาลเทศะ เราต้องเข้าใจในสังคมนั้นด้วย ว่าสังคมนั้นถูกต้องดีงามหรือไม่ ถ้าสังคมนั้นที่มันถูกต้องดีงามตั้งแต่หัวหน้าลงมา ถ้าหัวหน้ารองลงมาก็ยังดี ถ้าหัวหน้าเป็นประธานที่ดี แต่รองลงมาเขาบอกว่า ในทางการปกครองเขาบอกผู้มีอำนาจจะเสียเพราะบริษัทบริวาร ไอ้คนรอบข้าง ไอ้คนคอยเพ็ดคอยทูล ไอ้คนคอยป้อน มันป้อนอะไร เราต้องมีสติปัญญาเราต้องเข้าใจอย่างนี้ด้วย ที่เราจะทำงาน คนทำงานไม่เข้าใจอย่างนี้เข้าไปก็ตายหมดน่ะสิ
นี่ก็เหมือนกัน “ต้องถูกต้องๆ ถูกต้องชอบธรรม”
มันต้องถูกต้อง แต่ถูกต้องแล้วมันต้องถูกต้องกาลเทศะสมควรด้วย ไม่ใช่ว่าเราทำอย่างนี้ไป อ้าว! ก็ถามหลวงพ่อไง ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่วไง หลวงพ่อต้องรับผิดชอบไปหมดเลยนะ หนูจะทำอย่างนี้ แล้วต้องถูกต้องด้วยนะ เออ! เดี๋ยวจะไปเยี่ยมเอ็งที่โรงพัก ถูกต้องมันต้องมีกาลเทศะ มันต้องถูกต้องดีงามด้วย นี่พูดถึงนะ ถ้ามันจะเป็นเวรเป็นกรรมต่อเรา เราก็นี่ไง ก็เราไม่ได้เอาด้วย เราไม่ได้ทำด้วย แล้วเราก็ไม่เห็นด้วยๆ แต่เรามันเสียงส่วนน้อย นี่ประชาธิปไตยๆ ไง ประชาธิปไตย เราเสียงส่วนน้อย เสียงส่วนใหญ่เขาจะเอาอย่างนั้น เขาจะทำอย่างนั้น ฉะนั้น ประชาธิปไตย คนที่มีหัวใจเป็นธรรม เขายังฟังเสียงส่วนน้อย พูดถึงเสียงส่วนน้อยนะ
แต่ถ้าธรรมาธิปไตย ธรรมาธิปไตย ธรรมะขององค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นฉันทามติ ไม่มีค้านแม้แต่เสียงเดียว การลงอุโบสถ การลงทำสังฆกรรม ค้านเสียงเดียวก็ไม่ได้ ไม่มีค้านเลย ต้องเป็นฉันทามติ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ค้านไม่ได้ ถ้าค้านสังฆกรรมนั้นเป็นว่าใช้ไม่ได้ สังฆกรรมนั้นถือว่าต้องยกเลิก ยกเลิกเลยนะ การทำสิ่งใดก็แล้วแต่ ถ้ามีการคัดค้านต้องยกเลิก ไม่มีการกระทำต่อไป นี่ในธรรมวินัย มันเป็นฉันทามติไม่ใช่เสียงส่วนน้อย ไอ้นี่เราเป็นเสียงส่วนน้อย เพราะเราอยู่ในสังคมมันต้องมีเสียงส่วนน้อย เสียงส่วนใหญ่
นี้ความถูกต้อง ใช่! ความถูกต้องดีงามมันต้องมีปัญญา เราต้องใช้เป็น ไม่ใช่นะ เพราะไม่ใช่เลี่ยงบาลี ไม่ใช่พูดเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น โลกคิดกันอย่างนั้น ไอ้พวกนี้ไอ้พวกเห็นแก่ตัว พวกนี้คิดว่าตัวเองดีทั้งนั้น แล้วก็จะพลิกแพลงเลี่ยงบาลี ไอ้เลี่ยงบาลีนั่นไอ้พวกฉ้อฉล ไอ้นี่ไม่ได้เลี่ยงบาลี ไอ้นี่มันเป็นข้อเท็จจริงของสังคม มันเป็นข้อเท็จจริงของกิเลส กิเลสของคนมันเป็นแบบนั้น แล้วเราก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง เราอยากจะมาประพฤติปฏิบัติ แล้วเรามาอยู่ในสังคมอย่างนี้ ถ้าเราอยู่ในสังคมอย่างนี้เราก็ต้องคิดไง เราต้องคิดนะ
ใช่! เราต้องทำให้ความถูกต้อง ต้องถูกต้องสุจริตทั้งนั้น แต่กาลเทศะ กาลเทศะนะ แล้วในสังคม ในกลุ่มชน เห็นไหม ดูสิ เวลาความเจริญ เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ เวลายุคเจริญ ยุคที่บ้านเมืองเจริญ ยุคที่มีแต่นักปราชญ์ โอ้โฮ! มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข มีแต่ความรื่นเริง ยุคเสื่อมๆ ใครพูดดีเขาว่าเป็นคนไม่ดี ไอ้ใครสอพลอเขาว่าคนนั้นเป็นคนดี เวลายุคเสื่อม เวลายุคเสื่อมนะ ไอ้คนสอพลอมันจะได้ดี
แต่ถ้าเป็นยุคที่เจริญ บัณฑิตคบบัณฑิต มันจะเป็นความจริงทั้งนั้น กาลเทศะ เราเกิดในชุมชนใด เราเกิดในสังคมใด ไอ้นี่ก็ย้อนกลับมาแล้ว จะบอกว่า เราจะบอกว่าเราทำความดี แล้วก็จะอ้างกฎหมายอย่างเดียว จะอ้างความถูกต้อง อ้างว่าเป็นเวรเป็นกรรมอย่างเดียว ใช่! เป็นเวรเป็นกรรมแน่นอน แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกถึงวิธีการ วิธีการเอาตัวรอด วิธีการที่ว่าเราอยู่กันในสังคมอย่างนั้น ถ้าเราเกิดมาในสังคมอย่างนั้น เราจะค้านไว้ในใจ เราจะไม่เห็นด้วยกับเขา แล้วเราก็มีจุดยืนกับเขา แล้วถ้าคนที่ซื่อตรง คนที่ซื่อสัตย์จริงๆ ถ้ารับราชการส่วนใหญ่แล้วแป๊กอยู่อย่างนั้น ทางโลกเขาว่าไม่มีพวก คือไม่ร่วมมือไปกับเขา ส่วนใหญ่ก็จะไม่เจริญก้าวหน้า
แต่ถ้าไม่เจริญก้าวหน้า แต่ถ้าเขามีอำนาจวาสนานะ ถึงเวลาแล้วมันพอดี พอดีที่เขาจะเลื่อนตำแหน่งของเขา เพราะ เพราะในที่ทำงานมีทั้งคนดีและคนเลว คนดีๆ ที่มีตำแหน่งสูงขึ้นก็เยอะแยะไป แล้วเขามีจุดยืนของเขาด้วย เขาไม่ตีโพยตีพาย ไม่เดือดร้อนไปกับสังคมโลก แต่ถ้าสังคมทุจริต สังคมที่เขาเห็นแก่ตัวกันไป เขาก็สอพลอกันไปอย่างนั้น มันเป็นเรื่องโลก เราจะมีจุดยืนอย่างไร มันเป็นการคัดเลือกของเรา ถ้าเราคัดเลือกของเราแล้ว เราคัดเลือกแล้วมันจะมีผลกระทบ ถ้ามีผลกระทบแล้วเราต้องภูมิใจกับการที่เราคัดเลือกแล้ว นี่พูดถึงอย่างนั้นเลย
ฉะนั้น ในเว็บไซต์ เห็นไหม จะมีคนถามปัญหาร้อยแปดพันเก้า มันร้อยแปดพันเก้าเพราะถ้าเราจะเป็นพระที่สอพลอซะหน่อยหนึ่ง เราก็จะพูดยกย่องสรรเสริญแต่ผู้ที่มีอำนาจ เพี่อจะให้เรามีผลประโยชน์ด้วยไง แต่นี่เราพูดตรงๆ เห็นไหม เขาก็เลยมาถาม เวลาถ้ามีปัญหา ถ้าใครรู้จักแล้วมีปัญหาเขาจะเข้ามาเว็บไซต์นี้ แต่เข้ามาเว็บไซต์นี้ก็เพื่อ เห็นไหม เพื่อว่า ในเมื่อเราเกิดมาเป็นชาวพุทธด้วยกัน เราเกิดมาในสังคมด้วยกัน
เวลาพระพุทธศาสนาจะเจริญ เจริญในตัวมันเอง มันแสดงตัวตามข้อเท็จจริง แต่! แต่ผู้ที่นับถือศาสนาสิ ผู้ที่นับถือศาสนามีแต่ความทุกข์ความยาก ผู้ที่นับถือศาสนามีแต่ผลกระทบทั้งนั้น แต่! แต่นี่มันเป็นการสร้าง เป็นการสร้าง เป็นการกระทำ มันจะเป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์ มันเป็นประโยชน์กับเรา
นี่พูดถึงว่า ความถูกต้อง ต้องถูกต้อง อันนี้เวลาพูด เราพูดให้ได้คิดไง พูดให้ได้คิด เพียงแต่เขาถามว่า “หลวงพ่อ แล้วจะทำอย่างไร”
กาลเทศะ เราดูของเรา แต่เราดูของเราจะมากน้อยแค่ไหน เราจะรักษาใจของเรา เราจะมีจุดยืนของเรา เราจะไม่ไหลไปกับเขาๆ เราเกิดมาชาติหนึ่ง เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธ-ศาสนา ความจริงคือความจริง แต่! แต่กาลเทศะนะ คนทำเข้าไปแล้วมีผลกระทบทั้งนั้น แต่ผลกระทบแล้ว คนที่เขาจะทำของเขา เพื่อเป็นคนที่ถือว่ามีธรรมๆ เขาต้องมีจุดยืนของเขา แล้วผลกระทบนั้น ถ้าภาษาเรา ผิวๆ มันไม่เข้าถึงเราหรอก แต่คนรอบข้างเขาจะมองไปอีกอย่างหนึ่ง
นี่พูดถึงว่า “กาลเทศะ สมควร ไม่สมควร ทำแล้วเป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์”
ต้องคิด ถูกต้อง มันต้องถูกต้อง ถูกต้องมันต้องชอบธรรมด้วย ผลกระทบไง ผลกระทบ ถ้าผลกระทบมันเกิดขึ้นอย่างไร ไอ้นี่อย่างนี้ก็ไม่ต้องทำอะไรเลย อยู่เฉยๆ ก็ได้ ไม่ต้องทำอะไรเลย ก็ไม่ได้อะไรเลยเหมือนกัน จะทำอะไรเลยมันก็ต้องคิด มันต้องทำเป็นไง เขาเรียกคนเป็น กับคนไม่เป็น คนเป็นมันต้องดูกาลเทศะ ดูการกระทำ เป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ ถ้าเป็นไปได้ก็ทำ ถ้าเป็นไปไม่ได้เราก็ทำแล้ว แล้วค้านไว้ในใจ เราไม่มีส่วนร่วม กรรมนั้นไม่เกิดกับเราหรอก ไม่เกิดกับเรา แต่นี้มันอยู่ในสังคมต้องเป็นแบบนั้น นี่พูดถึงสังคมนะ จบ
ถาม : เรื่อง “บัณเฑาะก์ที่เปลี่ยนเพศแล้วถือเป็นผู้หญิงหรือยัง”
กราบนมัสการหลวงพ่อ ขอโอกาสถามคำถามดังนี้
๑. โยมถือศีล ๘ ตลอดชีพ และอยู่ปฏิบัติภาวนาที่วัดประจำ บางวันจะมีกะเทยมาทำบุญ และชอบมานั่งใกล้ๆ พอชี้นิ้วบอกใบ้ให้เขาไปนั่งที่เสื่อที่ผู้ชายนั่งอยู่แถวหน้า เขาบอกว่าเขาแปลงเพศแล้ว อย่างนี้คนที่ถือศีล ๘ นั่งบนเสื่อเดียวกันกับเขาได้หรือเปล่าคะ เพราะส่วนมากตามวัดป่ามักจะแยกชาย หญิง ไม่นั่งร่วมกัน และอีกอย่างเวลาช่วยกันจัดอาหารถวายพระ กะเทยจะชอบช่วย ทำให้บ่อยครั้งที่ต้องโดนเนื้อโดนตัวกัน แล้วหยิบยื่นของให้กัน อย่างนี้จะทำให้ศีลเรามัวหมอง หรือศีลด่างพร้อยหรือเปล่าคะ
๒. กะเทยทั่วๆ ไปที่ไม่แปลงเพศ ถือว่าเป็นเพศชายหรือเปล่า
๓. แล้วกะเทยที่แปลงเพศแล้วถือเป็นหญิงหรือเปล่าคะ
กราบขอบพระคุณอย่างสูง
หลวงพ่อ : ไอ้นี่คือกราบขอบพระคุณนะ
ตอบ : ไอ้นี่เราพูดกันโดยข้อเท็จจริงนะ โดยข้อเท็จจริง ตะวันออก ตะวันตก เวลาภาคในตะวันออกของโลก ทางเอเชียเรา เราจะมีศีลมีธรรม คำว่า “มีศีลมีธรรม”ศีลธรรมมันเกิดมาตั้งแต่ศาสดา เกิดมาแต่เจ้าลัทธิที่เขาถือกันมา ฉะนั้น ของเรา ของเราเกิดจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ถ้าศีลก็คือศีลไง ถ้าศีลบัญญัติไว้อย่างไรต้องเป็นอย่างนั้น
ฉะนั้น ในภาคตะวันตกใช่ไหม เขาว่าประเทศชาติเขา เมื่อก่อนเขากดขี่กันมากกว่านี้ เวลาเขาไม่ถูกใจใคร เขาบอกว่าเป็นแม่มด เขาเผาทิ้งเลย เวลาไม่ถูกใจใครนะ เขาบอกพวกนี้พวกแม่มด พวกปีศาจ จับเผาทั้งเป็น แต่เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาขึ้นมา เพราะศาสนากับโลกเขาแยกจากกัน พอแยกจากกันขึ้นมา ในทางโลกของเขา เห็นไหม เขาถึงว่าความเสมอภาค เสรีภาพ นี้ความเสมอภาค เสรีภาพ เพศเดียวกันแต่งงานกันได้ ออกกฎหมายมาเพื่อความเจริญ ความเจริญของโลกไง
แต่ถ้าเป็นตะวันออกของเรา มันจะมีสิ่งใดเกิดขึ้น เราต้องถือศีลถือธรรมไว้ก่อน ถ้าถือศีล ถือธรรมเป็นหลักใช่ไหม ถ้าถือศีลถือธรรมเป็นหลัก สิ่งที่ถามมา “โยมถือศีลตลอดชีพ ปฏิบัติอยู่ที่วัด แล้วมีพวกกะเทยที่เขาแปลงเพศแล้วเขามานั่งใกล้ๆ เวลานั่งในเสื่อเดียวกัน มันจะผิดหรือไม่”
ผิดกับคนที่ถือศีลไง ไม่ผิด เสื่อก็คือเสื่อ ถ้าเรานั่งก็นั่งกับเขา ส่วนเวลาเขานั่งก็ส่วนเขานั่ง สิทธิของเขาไง แต่ถ้าสิทธิของเขา เราเป็นสิทธิ์ของเราไง เว้นไว้แต่ถ้าเป็นแม่ชี ถ้าเป็นแม่ชีเป็นนักบวช นักบวชกับฆราวาส พวกฆราวาสเขาจะให้เกียรติของเขา ถ้าเขายกย่องมา เขาให้เกียรติ เขาไม่นั่งเสมอกันก็จบ แต่ถ้าเราเป็นผู้ปฏิบัติ เขามองกันไม่ออกไง ถ้าเราถือศีล ๘ ก็ถือศีล ๘ ไง
ถ้าถือศีล ๘ เราดู เราเคยเห็นพวกแม่ชี เวลาทำอะไร เขาบอกเขาไม่จับเงินไม่อะไร ถ้าเขาเคร่งครัดของเขาตามความเป็นจริง คนที่เคร่งครัดคนต้องมีปัญญาไง คนมีปัญญาหมายความว่าสิ่งที่ได้ควรหรือไม่ควร ถ้าไม่ควร เราก็ไม่จับ เราไม่ต้องไปแสดงออกมาก แล้วไม่แสดงออกมาก เราหลบหลีกของเราเอง ถ้าหลบหลีกของเราเอง การถือศีล การถือศีลต้องมีปัญญาไง การทำทานก็ต้องมีปัญญา การถือศีลก็ต้องมีปัญญา
นี้พอถือศีลมีปัญญา ตอนนี้เขาบอกเขาแปลงเพศแล้ว เขาเป็นผู้หญิง นี่คือความสำคัญของเขา เขาบอกว่าเขาแปลงเพศแล้ว เขาเป็นผู้หญิงเสมอเราไง เขาก็เป็นผู้หญิงเหมือนกัน อ้าว! เขาแปลงเพศแล้วทำไมนั่งเสื่อเดียวกันไม่ได้ โอ้! จะไปแบ่งแยกอะไร แสดงว่ากิเลสเยอะ คนไม่มีกิเลสเขาถึงไม่แบ่งแยก แต่ถ้าเรามีสติปัญญาเราก็หลบหลีกของเราเอง เราต้องหลบหลีกของเราเอง ถ้าเราคิดอย่างนั้น แต่ถ้าคนไม่คิดอย่างนั้น เขาถือว่านั่งเสื่อเดียวกัน ก็นั่งเสื่อเดียวกัน
ฉะนั้น นั่งเสื่อเดียวกัน เพียงแต่ว่า “เวลาต้องจัดอาหารถวายพระด้วยกัน มันต้องหยิบยื่นให้ต่อกัน”
มันมีอุบายหมดล่ะ เราพูดบ่อย เมื่อก่อนเราอยู่องค์เดียวไง เราบิณฑบาตที่โพธาราม เขาใส่ผักบุ้ง เขาใส่อะไรมา เรารับมาหมดล่ะ แล้วเราเอาไว้ข้างบาตรไง เอาไว้ข้างบาตร เราไม่ฉันนะ แต่ถ้าอยากฉันก็ไม่ฉันไง ดูสิ เขาว่าหลวงปู่ผางใช่ไหม หลวงปู่ผางกับครูบาอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ท่านฉันมังสวิรัตินะ เวลาจนท่านนิพพานไปแล้ว ยังไม่มีใครรู้ว่าท่านฉันมังสวิรัติเลย ท่านบิณฑบาตมาปกติแล้วท่านเขี่ยเอาไว้ข้างๆ บาตร ท่านฉันเฉพาะข้าว
หลวงปู่ผางน่ะ หลวงปู่ผางวัดที่ขอนแก่น พระเขาเล่าให้ฟังว่า นั่นน่ะท่านฉันมังสวิรัตินะ แต่ไม่มีใครรู้ ถ้าไม่มีใครรู้แสดงว่าไม่มีใครใส่บาตรมังสวิรัติให้ท่านเลย ก็ใส่บาตรปกติ ทั้งชีวิตของท่านเลย ท่านไม่ฉัน ท่านเอาไว้ข้างๆ คือว่าเวลาเราฉันก็เหมือนทางโลกเขาว่าเจเขี่ยไง เราเขี่ยออก มันก็เป็นความภูมิใจของเรานะ เราอหังการของเรา ใครจะรู้ไม่รู้ ไม่ต้องไปโฆษณา ไม่ต้องไปอวด
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราจะจัดอาหาร เราจะฉันอาหาร เราก็หลบหลีกของเราเอง นี่พูดถึงเราหลบหลีกไง “มันต้องไปโดนเนื้อต้องตัวต่อกัน มันต้องหยิบของยื่นให้กัน อย่างนี้มันจะผิดศีลหรือไม่” เราต้องแจ้งตำรวจศาสนา ให้ตำรวจศาสนาไปยืนเฝ้าโยม ไม่ให้ใครเข้ามาใกล้เลย เพราะโยมถือศีล ๘ ต้องมีตำรวจศาสนาไปยืนเฝ้า คนนี้เขาถือศีล ๘ นะ ห้ามเข้ามาใกล้ มันโดนเนื้อต้องตัวไม่ได้ เราถือศีล ๘ เราก็ถือศีลของเราไง เราก็หลบหลีกของเราสิ เราหลบ เราหลีก เราเข้าใจได้ ถ้าเราหลบหลีก
ฉะนั้น บอกว่า “เขาแปลงเพศแล้ว เขาคงไม่มาชอบเราหรอก เพราะเขาแปลงเพศแล้ว”
ถ้าเขาไม่แปลงเพศแล้ว อ้าว! ไม่แน่ มายืนข้างๆ อยู่ใกล้ๆ เอ๊ะ! คิดอะไรหรือเปล่า แต่เขาบอกเขาแปลงเพศแล้ว ถ้าแปลงเพศเขาแปลงเพศเป็นหญิงใช่ไหม เหมือนเรา ถ้าผู้หญิงเขาไม่รักกัน เขาแปลงเพศแล้ว นี่พูดถึงว่า เราต้องคิด อย่างที่จะเข้มงวดกับตัวเอง ก็เข้มงวดกับตัวเองของเราโดยปกติ เราต้องหลบหลีกเอาเองใช่ไหม
“๒. กะเทยทั่วไปที่ยังไม่แปลงเพศ ถือว่าเป็นเพศชายหรือเปล่า”
เป็น เราเกิดมาโดยเพศสภาพมันบอกแต่ต้น ถ้าเพศสภาพบอกแต่ต้น เราต้องถือตามเพศสภาพนั้น ฉะนั้น เวลาแปลงเพศแล้ว พูดถึงเวลาแปลงเพศแล้ว เห็นไหม มันมีทุกสังคม ที่วัดเราก็มี เวลาเขามา เขาจะมีการจำศีล เขามากันผู้หญิง ๓ คน แล้วก็ผู้ชายแปลงเพศคนหนึ่ง เขามาถามว่า “หลวงพ่อ แล้วจะให้พักที่ไหน”
แต่เดิมเราให้พักอยู่ฝั่งนี้ เราให้พักอยู่กับผู้ชาย แล้วพอไอ้พวกเพื่อนเขาไปพักอยู่ฝั่งนู้น เขาก็จะไปหาเพื่อนเขานะ เพื่อนเขาบอกว่า “หลวงพ่อ นี่เขาก็แปลงเพศแล้วนะ ไปอยู่ฝั่งนู้นได้ไหม เขาจะขอไปอยู่ด้วยกัน” เราก็โอเคนะ ถ้าคิดว่ามันจะไม่มีความเสียหาย แล้วเขามาโดยเจตนาที่ดี แต่ถ้ามาอยู่ฝั่งนี้ เห็นไหม เขาเป็นผู้ชาย เขาจะมาอยู่ฝั่งนี้
ที่ไหนก็มีเพราะอะไร เพราะสภาพของความรู้สึกมันมีอยู่ทั่วโลก มันไม่มีที่ไหนเราจะมาบังคับให้มันไม่มีไม่เกิด มันเป็นไปไม่ได้ ถ้ามันมี มันเกิด มันเกิดมาจากที่ไหน เกิดมาจากหัวใจ เกิดจากทัศนคติในใจของเขา ถ้าเกิดจากทัศนคติในใจของเขา แล้วทุกคนที่ปรารถนาจะมาประพฤติปฏิบัติ ถ้ามันไม่เอาสิ่งที่เป็นจิตใต้สำนึก สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก พยายามพลิกกลับไปเป็นเรื่องโลกๆ ถ้าเขาพัฒนาขึ้นมา มันก็อยู่ด้วยกันได้
แต่เพียงแต่ว่า คนที่เขามาอยู่ด้วยกัน ทุกคนมันก็มีสูงมีต่ำในความรู้สึกใช่ไหม มันก็เหมือนข้อแรก มันเป็นกาลเทศะของคน ในสังคมที่ดี สังคมที่ยุคเจริญ ยุคเสื่อม นี่ก็เหมือนกัน ในหัวใจของคน ถ้ามันยุคเจริญ จิตใจของคนที่มันดี มันใฝ่ดี มันทำดี มันก็มาปรารถนาเรื่องความดีทั้งนั้น
ยุคเสื่อม ยุคเสื่อม หมายถึงว่า เรื่องของกิเลสไง ยุคเสื่อม หมายถึงว่า กิเลสมันเข้าไปกระตุ้นในใจแล้วมันมีความต้องการ มีความปรารถนาสิ่งใด จะมาฉ้อฉล อันนั้นยุคเสื่อม
ถ้ามันยุคเจริญ ทุกคนมาถึงยุคเจริญ ทุกคนมาประพฤติปฏิบัติ ทุกคนมาพัฒนาใจให้ดีขึ้น ถ้าพัฒนาให้ดีขึ้น ทำไมจะอยู่ด้วยกันไม่ได้ เพราะมันเพศสภาพอย่างนั้น มันก็เพศสภาพอย่างนั้น เพียงแต่ว่ามันควรหรือไม่ควรอย่างใดไง
เขาบอก “กะเทยทั่วไปที่ยังไม่แปลงเพศ ถือว่าเป็นเพศชายหรือเปล่า”
เป็น เป็นเพศชายร้อยเปอร์เซ็นต์เลย เพศสภาพเขาชัดเจน เขาเป็นเพศชาย
“๓. แล้วกะเทยที่แปลงเพศแล้วเป็นหญิงหรือเปล่า”
ไม่! กะเทยที่แปลงเพศแล้วเขาก็เป็นเพศชายที่แปลงเพศเป็นหญิง เขาแปลงเพศแล้ว กะเทยที่แปลงเพศแล้ว เห็นไหม กะเทยที่เขาแปลงเพศแล้ว เวลาเขาต้องไปขอกรมการปกครอง เปลี่ยนชื่อจากนาย ก. เป็นนางสาว ก. จากนาย ก. เป็นเพศชายใช่ไหม เวลาเขาแปลงเพศแล้วในทะเบียนของเขาก็ยังเป็นนาย ก. อยู่ มันเปลี่ยนแปลงเพศไหม
ฉะนั้น “กะเทยที่แปลงเพศแล้ว เป็นหญิงหรือเปล่า”
มันเพศสภาพมาตั้งแต่ต้น นี้เพียงแต่แปลงเพศแล้ว ถ้ามันอย่างนี้แล้วมันก็ย้อนกลับมากาลเทศะนั่นน่ะ กาลเทศะ ถ้าในสังคมของเรา ในความเห็นของเรา เราคิดว่ามันปลอดภัย เราคิดว่ามันไม่ผิดศีล มันไม่ผิดธรรม อยู่ด้วยกันได้ไหม ก็อยู่ด้วยกัน
แต่คนเราอยู่ด้วยกันแม้แต่พระ พระนี่นะ พระต้องนอนเฉพาะพระองค์นั้น พระจะนอนร่วมกับพระไม่ได้ใน ๓ คืนใช่ไหม แล้วถ้าอนุปสัมบันไม่ได้เลย กับพระด้วยกัน เขายังห้ามนอนร่วมกันเลย แม้แต่พระเวลาถือพรหมจรรย์ ต่างคนต่างนอนอยู่แล้ว เขาไม่ไปนอนกองกันหรอก ต่างคนต่างอยู่
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าแปลงเพศแล้ว มาปฏิบัติก็ต่างคนต่างอยู่ แต่อย่างว่าเนาะ มันมีอยู่อันหนึ่งเขาบอกว่า “ที่วัดป่า เห็นไหม ตามวัดป่าเขามักแยกหญิง แยกชาย” แสดงว่าวัดเขาไม่ได้แยก เขาบอกว่า วัดป่ามักจะแยกนั่งชายและหญิง ไม่นั่งรวมกัน ถ้าวัดป่า ถ้าวัดป่าเขาเห็นสภาพ วัดป่า วัดป่าหรือวัดบ้านอย่าภูมิใจนะ วัดป่าหรือวัดบ้านถือวินัยตามความเป็นจริงมันถึงจะถูกต้อง
คำว่า “วัดป่า” วัดป่าเขาก็ถือธรรมวินัยใช่ไหม เขาก็แบ่งแยกชัดเจน วัดบ้าน วัดบ้านมันคลุกเคล้ากัน มันคลุกเคล้ากันจนมันแบ่งแยกไม่ถูก ไอ้นี่ปฏิบัติแล้วคงจะงงๆ แล้วจะแยกกันอย่างไร แต่ถ้าทำจริงมันก็ตามธรรมวินัยนั่นแหละ เพราะว่าผู้ที่มาปฏิบัติก็ต่างคนต่างอยู่อยู่แล้ว ดูสิ อย่างของเรา เวลาอยู่ตามร้านคนเดียวๆ คนเดียวทั้งนั้น แล้วกติกาของที่นี่ ห้ามไปคุยกัน คุยกันยังไม่ให้ไปคุยกันเลย ห้ามไปหากัน ต่างคนต่างอยู่ เว้นไว้แต่ลงมาโรงน้ำร้อน มาฉันน้ำร้อนก็มาคุยกันที่นั่น
นี่ก็เหมือนกัน เขาแยกตั้งแต่นู่น ไอ้นี่บอกเลยนะ “ถ้ามันไม่แยกกันนะ สิ่งที่ว่าเขาแปลงเพศแล้วเป็นหญิงหรือเปล่า” มันเป็นอยู่ตั้งแต่ต้น มันเป็นโดยเพศสภาพ แต่ความรู้สึก ความที่เขาอยากจะพัฒนา อยากจะเป็นคนดี อันนี้อีกเรื่องหนึ่งนะ
นี่พูดถึงว่าตอบจบแล้ว ได้ตอบหรือเปล่าไม่รู้ ได้ตอบเขาหรือเปล่าเนี่ย เพราะมันเป็นปัญหาอย่างนี้ มันมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลไง ถ้าไม่มีสมัยพุทธกาล บัณเฑาะก์มันจะไม่มีมาในวินัย บัณเฑาะก์มันมีในวินัยมาอยู่แล้ว ถ้ามันมีมาอย่างนี้อยู่แล้ว อย่างเช่น พระอานนท์ พระอานนท์ เดิมท่านเป็นผู้หญิงมาก่อน ด้วยแรงปรารถนา ด้วยความปรารถนา ตอนสุดท้ายแล้วพระ-อานนท์ถึงมาเป็นผู้ชายไง
หญิงหรือชายมันเป็นที่ว่าแรงปรารถนา แล้วแบบว่ามันก็เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงสภาพมา ๕๐๐ ชาติ ตอนนี้พอ ๕๐๐ ชาติมันมีมา มันมีบัณเฑาะก์ไง บัณเฑาะก์บวชไม่ได้ แต่เพศสภาพยังชัดเจนอยู่ เราเห็นอยู่ ในสังคมเขาเป็นกันอยู่ ที่เขาบวชกันอะไรกัน แต่! แต่นี้มันเป็นปัญหาของฝ่ายปกครอง มันเป็นปัญหาของสงฆ์ ไอ้เรานี่มันเป็นภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร บวชแล้วอยากจะประพฤติปฏิบัติ อยากจะปฏิบัติของเราเอง ปฏิบัติเราเพื่อนี้ไม่ไปยุ่งกับใคร
ฉะนั้น ถ้าข้างนอกแล้วมันอีกเรื่องหนึ่ง มันเป็นฝ่ายปกครอง ผู้ปกครองมันต้องตัดสินเรื่องอย่างนี้ อะไรที่มันมีสิ่งใดที่ผิด มีสิ่งใดเข้ามาต้องตัดสินนะตัดสินมา มันถึงจะเป็นแนวการปฏิบัติในสังคมของชาวพุทธ เราดูการเคลื่อนไหวกันอยู่นะ พอเคลื่อนไหว ดูสิ เวลาเดี๋ยวนี้เวลาโลกมันแคบขึ้น พวกนักปฏิบัติ พระสงฆ์ไปศึกษากับศาสนาพุทธในต่างประเทศ กลับมาแล้วมาติเตียนศาสนาพุทธในประเทศไทยเยอะมากเลย คับแคบ เห็นแก่ตัว ไม่เปิดกว้างร้อยแปดเลย
เอ้อ! มันเก่งกันเนาะ ไม่เห็นถึงครูบาอาจารย์ของเรา ตั้งแต่ว่าท่านปกครองกันมา ท่านดูแลศาสนามาอย่างไร ไอ้นี่ไปถึงแล้ว แล้วสิ่งที่ว่าเราไปเห็นมาว่ามันถูกต้องดีงาม มันชัดเจน ได้ศึกษาหรือยัง ได้ค้นคว้ามันมาจากใด ลองค้นคว้าไปสิ เขานับถือมาจากใคร ใครเป็นต้นคิดของเขา ใครเป็นเพราะอะไร มันเป็นอาจริยวาท แล้วแต่ครูบาอาจารย์ทำตามๆ กันมา
ไอ้นี่ของเรา เราก็มีพระไตรปิฎก แล้วเวลาครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านก็ปฏิบัติขึ้นมาด้วยความเป็นจริง แต่ท่านยิ่งเคารพธรรมวินัยเข้าไปใหญ่ ท่านประพฤติปฏิบัติของท่านในธรรมวินัย ท่านทำตรงไหนผิดพลาดจากธรรมวินัย ธรรมวินัยเป็นตัวหลัก ศาสดา ธรรมวินัยเป็นศาสดา เป็นตัวหลัก แล้วเราประพฤติปฏิบัติ แต่นี้เวลาฝ่ายปกครองก็พยายามจะเอาตัวหลักขึ้นมาเป็นตัวอักษรมาตีความ แล้วความเป็นจริง ความเป็นจริงที่การกระทำ มันเป็นจริงหรือไม่ ถ้าความจริงมันเป็นขึ้นมา เห็นไหม
ฉะนั้น คำถามถึงบอกว่า “วัดป่าเขาแยกกัน”
ไอ้นี่ก็คงจะเป็นวัดบ้าน แล้ววัดบ้านแล้ว เราต้องหลบหลีกเอง เราต้องหลบหลีก เราต้องแบบว่ารักษาเนื้อรักษาตัวว่าอย่างนั้นเถอะ
ด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ของเรา ด้วยความไว้วางใจของเรา ด้วยศีลมันคุ้มครองเราไง ถ้าศีลคุ้มครองเรานะ เวลาศีลคุ้มครองเราแล้ว เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันจะได้มีสมาธิ มันจะได้มีปัญญาขึ้นมา พอมีปัญญาขึ้นมาแล้วนะ โอ้โฮ! รู้แจ้งหมดเลย แล้วก็ไม่สงสัยอะไรอีกเลยไง เอวัง