เทศน์บนศาลา

คุณค่าของธรรมะ

๓ ม.ค. ๒๕๕o

 

คุณค่าของธรรมะ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๐
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ฟังธรรม ธรรมะมีเป็นกาลเป็นเวลา แต่โลกมีอยู่ตลอดเวลา เรื่องของโลก ศีลธรรมเรื่องของโลก ถ้าเรื่องของศีลธรรม โลกก็ร่มเย็นเป็นสุข โลกร่มเย็นเป็นสุขด้วยศีลด้วยธรรม ถ้ามีศีลมีธรรมกัน คนไม่เอารัดเอาเปรียบกันเกินไป สัตว์มันก็อยู่กันสุขสบาย แต่ถ้าคนโลภมากนะ มันทำลายล้าง ถ้ามันทำลายล้างเพราะขาดอะไรล่ะ? เพราะมันขาดศีลธรรม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มีศีลมีธรรม แต่ยังไม่มีธรรม โลกุตตรธรรมไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แม้แต่คนเกิดนะ คนมีบุญเกิด คนมีบาปอกุศลเกิด อยู่ในพระไตรปิฎกนะ มียาจกเข็ญใจ ขอทานอยู่นะ ชีวิตนี้ต้องขอทานเขา เขาถึงต้องดำรงชีวิต เขามีครอบครัว

เวลาเด็กมันจิตปฏิสนธิในครรภ์ ไปขอทานไม่ได้กินนะ เวลาคลอดออกมาแล้ว ร่างกายดูสลดสังเวชมาก แล้วเวลาเป็นขอทานก็ไม่ได้ด้วย ถ้าเอาลูกไว้กับบ้านไปขอทาน ไปขอทานยังพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง แล้วมีเหลือมาให้ลูกด้วย จนลูกโตพอจะช่วยเหลือตัวเองได้ ให้เอากระเบื้องใส่ไว้ในมือเลยนะ บอกให้ดำรงชีวิตเองเถิด แม่ทุกข์ยากมากแล้ว เวลาคนบาปเกิด เกิดมานี่นะ พ่อแม่ทุกข์จนเข็ญใจด้วย ตัวเองก็ทุกข์จนเข็ญใจ

แต่ถ้าคนมีบุญเกิด มีอำนาจวาสนา เวลาเจ้าชายสิทธัตถะจะเกิดในครรภ์ของมารดา แม่ได้ฝันนะ ฝันว่าได้ช้างเผือก สิ่งนิมิตได้ช้างเผือก แล้วเวลาท้องมาอยู่ในครรภ์ มันจะมีสิ่งที่มหัศจรรย์เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เวลาเกิดขึ้นมาโลกธาตุหวั่นไหว เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิด ๑ เวลาตรัสรู้ ๑ เวลาปรินิพพาน ๑ โลกธาตุนี้หวั่นไหวไปหมดเลย เพราะคนมีบุญไง แม้แต่โลกธาตุก็หวั่นไหวนะ

แต่สำหรับเรานะเป็นสาวก-สาวกะ ถ้าผู้ที่ไปประพฤติปฏิบัติ โลกธาตุหวั่นไหว โลกธาตุ คือธาตุ ๔ เรานี่แหละ ดิน น้ำ ลม ไฟ เห็นไหม ขนลุกขนพอง สิ่งนี้หวั่นไหวอันหนึ่ง แต่ถ้าหวั่นไหวนะ อยู่ที่อำนาจวาสนา คนทำบุญมาก คนทำบุญน้อยไง ถ้าโลกธาตุหวั่นไหว ธาตุนี่หวั่นไหวหมดเลย เวลาจิตมันแปรสภาพ โลกธาตุหวั่นไหว โลกธาตุ ธาตุภายนอก-ธาตุภายใน

แล้วถ้ามีครูบาอาจารย์ของเรา ท่านสร้างบุญกุศลมา พลิกฟ้าคว่ำดินเลยนะ สิ่งที่พลิกฟ้าคว่ำดินอยู่ที่ขณะจิตที่จะเป็นไป อยู่ที่อำนาจวาสนานะ สาวก-สาวกะก็มี

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ คนบุญเกิด เกิดแล้ว เกิดมาร่มเย็นเป็นสุข สังคมร่มเย็นเป็นสุข สิ่งให้เพลิดเพลินไง ให้เพลิดเพลินในการจะเป็นกษัตริย์ แต่เพราะสร้างบุญกุศล เวลาพราหมณ์มาพยากรณ์ ถ้าอยู่ทางโลกจะได้เป็นจักรพรรดิ เพราะบุญญาธิการเป็นจักรพรรดินะ เพราะบุญอย่างนี้มีมา แต่ถ้าได้ออกบวชจะเป็นศาสดา ศาสดาจะรื้อค้นไง

ดูสิในลัทธิต่างๆ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาแล้ว ก็มีลัทธิต่างๆ ที่เป็นคู่แข่ง สิ่งนั้นคนจะนับถือ แต่นับถือแล้วมันก็เป็นศีลธรรมจริยธรรมโดยธรรมชาติ ศีลธรรมจริยธรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วมันก็ความคิดของโลกไง มันอยู่ใต้ของกิเลส ใต้ของพญามารนะ ถ้ากิเลสมันมีอำนาจเหนือกว่า

คำว่า “กิเลส” สมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ ใครเป็นคนบัญญัติศัพท์ว่าเป็นกิเลสล่ะ แต่พวกเราเป็นชาวพุทธ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นแล้วบัญญัติธรรมขึ้นมา ธรรมและวินัย นี่สมมุติบัญญัติ บัญญัติว่าสิ่งนี้เป็นกิเลส ถ้าเราไม่ปฏิบัติ เราไม่รู้ว่ากิเลสคืออะไรเราก็ว่ากันไป เราเป็นชาวพุทธที่ทะเบียนบ้าน เราดำรงชีวิตเราว่าสิ่งนั้นเป็นกิเลส สิ่งที่ไม่ดีเป็นกิเลสหมด แล้วสิ่งที่ดีล่ะ

สิ่งที่ไม่ดีเป็นกิเลสหมด แล้วจิตมันก็น้อมนำไป ถ้าจะทำอะไรทรมานตนก็เป็นกิเลสอีก เห็นไหม มันเป็นอัตตกิลมถานุโยค มันทำอะไรให้ตัวลำบากเปล่า ถ้าเราไม่เข้าใจคำว่ากิเลส แล้วเวลามันแสดงตัวขึ้นมาเราก็ว่าเป็นกิเลสอีก ทั้งๆ ที่ว่าเราทำคุณงามความดีมันเป็นมรรค เป็นมรรค เราพยายามขวนขวายเรา

ดูสิ เวลาอย่างเจ้าชายสิทธัตถะจะออกบวช ทางโลกเขาว่ากันว่าเห็นแก่ตัว ทิ้งลูกทิ้งเมียมาได้อย่างไร ถ้าศีลธรรม ธรรมอย่างหยาบๆ ธรรมแบบโลกเขา ต้องดูแลครอบครัว ต้องดำรงชีวิตของโลก ต้องดูแลลูก ต้องดูแลต่างๆ สิ่งนี้ก็ต้องดูแล

แต่เวลาทางโลกในปัจจุบันนี้ ทำไมเราให้ลูกเราไปเรียนเมืองนอกล่ะ ทำไมเราส่งลูกเราไปไกล ลูกเราเด็กๆ อย่างนี้ส่งไปเรียนเมืองนอกกัน เวลาพลัดพรากไปใจจะขาดนะ แต่เราก็ต้องให้ไป ให้ไปเพื่อได้วิชาการมา ให้ไปเพื่อเขาจะได้ดำรงชีวิตของเขา นี่เวลาความรักของพ่อของแม่ในสมัยปัจจุบันนี้ก็ยังต้องสละออก

แต่ในสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาเอง แสวงหาเองนะ เพราะศึกษามา ร่ำเรียนมาจนจบแล้ว เตรียมตัวไปจะเป็นกษัตริย์อยู่แล้ว จะสถาปนาเป็นกษัตริย์อยู่แล้ว แต่ในเมื่อเห็นสภาวะยมทูตมาแสดงตนให้เห็น การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย สิ่งที่การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย นี่โลกุตตรธรรม

ถ้าโลกุตตรธรรม เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้ว เวลาเราตายไป ยมบาลถามว่าเคยเห็นธรรมไหม? เราบอกว่าเราไม่เคยเห็น เราไม่เคยรู้จักนะ การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย สิ่งนี้มีอยู่ เราเห็นนะ ในปัจจุบันนี้เราไปงานศพ ตามวัดตามวาเราไปประจำ เราจะไปเห็นหมด คติธรรมมีอยู่พร้อมนะ คติธรรมเวลาประเพณี มัดตราสัง ห่วงบุตร ห่วงภรรยา สิ่งนี้ ห่วงทรัพย์สมบัติ ห่วงบุตร ห่วงภรรยา บ่วงนี้ บ่วงอย่างนี้ แต่พวกเราปุถุชนเอาตัวรอดไม่ได้

เวลากรงขังเขานะ เขาทำ เขาแหกกรงขังกัน เขายังทำลาย เขายังตัดลูกกรงออกมา เขายังแหกกรงได้เลย แต่ห่วงบุตร ห่วงภรรยา ห่วงสมบัตินี่คล้องคอ เอาน้ำมะพร้าวราดหน้าศพให้หูตาสว่าง คติธรรมทั้งนั้นนะ เวลาเวียนศพเคลื่อนไป ๓ รอบ รูปภพ กามภพ อรูปภพ จิตนี้ต้องเวียนตายเวียนเกิด นี่เพราะอะไร เพราะประเพณีของชาวพุทธ แล้วเป็นคติเตือนใจ แล้วเราก็ไม่ได้คิด แล้วบอกว่าเราไม่เคยเห็นธรรมเลย

การเกิด การแก่ การเจ็บ การตายนี้มันก็สะเทือนหัวใจอยู่แล้ว แต่เราไปเพลิดเพลินเรื่องของรูป รส กลิ่น เสียงไง บ่วงของมาร มารเอาสิ่งนี้ล่อ เราก็ติดบ่วงของมันนะ ติดบ่วงของมันแล้วอยู่กับมัน นี่ว่าเราเป็นชาวพุทธไง ชาวพุทธโดยประเพณี ประเพณีของโลกเขา ศีลธรรมจริยธรรม สัตว์นะ สัตว์มันก็รักลูกมัน มันเลี้ยงลูกมันนะ แล้วเป็นหน้าที่ไหมล่ะ ว่าสัตว์ตัวนี้ดี สัตว์ตัวนั้นไม่ดี สัตว์ตัวนี้มันไม่รับผิดชอบ สัตว์ตัวนี้เป็นคนดี แม้แต่สัตว์มันก็มีของมันนะ

สังคมโลก คนดีและคนไม่ดีมันมีสภาวะแบบนั้น การเกิดและการตาย เกิดเป็นสัตว์ เกิดเป็นสิ่งมีชีวิต เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม ก็มีดีและไม่ดี ฝ่ายเทพและฝ่ายมาร จะมีอย่างนี้ตลอดไป ตลอดไปเพราะอะไร เพราะคนมีกิเลส แล้วคนที่พยายามจะดัดแปลงตน พยายามควบคุมตน มีสติสัมปชัญญะ คนนี้ก็ดี แล้วสิ่งนี้มันเย้ายวนไง มันเย้ายวน มันพยายามจะทำให้กิเลสเราแตกตัวออกมา ให้มันมีความตัณหา ให้มันมีความอยาก ให้มันมีความต้องการ

แล้วผลของมันนะ คือจุดไฟ จุดไฟเผาใจเราเอง จุดไฟเผานะ ทั้งสถานะ การสร้างกรรมแล้ว จิตใจนี้ก็อ่อนแอลง อ่อนแอลง สถานะไง “อินทรีย์แก่กล้า” การว่าอินทรีย์แก่กล้า ปัญญามี มีเชาวน์ มีปัญญา มีต่างๆ สิ่งนี้มันจะเกิดมาจากจิตใต้สำนึก เราถึงพยายามออกมาประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรมจริยธรรม คนดีและคนไม่ดี ทางโลกเขาก็มีอยู่แล้ว สัตว์ดีหรือสัตว์ไม่ดีก็มีอยู่แล้ว แล้วความรับผิดชอบ สิ่งนี้มันเป็นกติกานะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกมนุษย์นี้ว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ เป็นสัตว์ประเสริฐว่าเป็นผู้ที่มีปัญญา แต่โง่กว่าสัตว์เพราะว่าสัตว์มันไม่มีกฎกติกา เขาอยู่ด้วยศีลธรรมของเขา เขาอยู่ด้วยน้ำใจของเขา แต่ของเราก็อยู่ในสัตว์สังคมขึ้นมา ถึงต้องตั้งกติกาขึ้นมา มีกฎหมายขึ้นมา สัตว์ นกมันยังมีอิสรภาพของมัน แต่มนุษย์ติดกฎกติกาของสังคม เพราะเราสร้างกฎหมายขึ้นมาเอง

กฎหมาย ผู้รู้กฎหมายเขาไม่บัญญัติกฎหมาย เพราะการบัญญัติกฎหมาย คือการไปจำกัดเสรีภาพของมนุษย์ การจำกัดเสรีภาพของมนุษย์เพราะกฎหมายเป็นกติกา ต้องจำกัดมากขึ้น ถ้าสังคมดีกฎหมายจะน้อยมาก ถ้าสังคมไม่ดีกฎหมายจะมีมากขึ้น นี่ติดกติกาของตัวเอง ว่าสัตว์ประเสริฐไง สัตว์ประเสริฐ แต่เอาตัวไม่รอดไง

สิ่งดำรงชีวิต ถ้ามีสติสัมปชัญญะนะ ทำไมเราออกประพฤติปฏิบัติกัน เวลาเราออกบวช ออกบวชเพื่ออะไร? ออกบวชเพื่อให้หาสิ่งมีคุณประโยชน์กับเราไง

“คุณค่าของธรรม” ถ้าธรรมมีคุณประโยชน์ ศีลธรรมจริยธรรม สิ่งที่ดี สิ่งที่เป็นประโยชน์ นี่คุณค่าของเขา เขาใช้สังคมร่มเย็นเป็นสุข แล้วคนเพลินไง เพราะไม่มีครูไม่มีอาจารย์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถ้าไม่มาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ถ้าผู้ที่จะตรัสรู้ขึ้นมา คนที่รู้ได้ก็เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

แล้วเราศึกษากัน เราทำไม่ได้ เราไปติดกติกาของสังคม เราไปติดกติกาของประเพณีวัฒนธรรม จะสละออกมา จะแยกออกไป สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่ว่าสังคมเขาติเตียน สังคมเพราะเขารู้แค่นั้นไง สิ่งที่ทำของเขา คุณค่าของธรรมะของเขา ธรรมะของโลกๆ ถ้าธรรมะของโลกๆ นี่จุนเจือกันรักษากัน แล้วก็ทุกข์ตรอมใจกันอยู่อย่างนั้นไง ต้องตรอมใจอยู่กับโลก สละออกไปไม่ได้ บ่วงพญามารมันรัดตรึงขาไว้ รัดตรึงแขนไว้ มัดอยู่อย่างนี้

แล้วเวลาไปงานศพกัน เวลามีศพ เวลาไปงานศพ เพราะเวลานักปราชญ์สมัยโบราณให้แสดงอภิธรรม เรื่องของอภิธรรมเป็นเรื่องของหัวใจของศาสนาเลย เหตุ ปจฺจโย ธมฺม ปจฺจโย มีเหตุมีปัจจัยทั้งนั้น นี่เป็นเหตุเกิดชีวิตไง ฌาน ปจฺจโย มีฌานมีสมาบัติต่างๆ ไปฟังกันนะ ฟังกันเป็นประเพณีเท่านั้น ถ้าสิ่งนี้เป็นประเพณี สิ่งที่เป็นประเพณี เพราะสิ่งนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการให้พระพุทธมารดาฟังนะ เสร็จกระบวนการก็จบเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา

แต่เราฟังกันจนเป็นประเพณี อะไรก็เป็นประเพณี ทั้งๆ ที่ของนี้มีคุณค่ามาก คุณค่าของธรรมะมีมหาศาลเลย แต่เพราะปัญญาเราไม่ถึง ปัญญาเราไม่มี แล้วเวลาทุกข์เวลายาก เราก็อยากจะพ้นจากทุกข์ เวลาอยู่ทางโลก แม้แต่ในความรู้สึกไง เวลาประกอบสัมมาอาชีวะก็จะให้เจริญรุ่งเรือง จะให้สิ่งต่างๆ

สิ่งนี้นะถ้าเป็นสังคม ถ้าสังคมนั้นมีแต่โจรขโมย ใครมีสมบัติเป็นความทุกข์มาก เพราะต้องสงวนรักษา ต้องบำรุงรักษานะ มีสมบัติขึ้นมาก็ทำให้ถึงกับปล้นกินกัน ถึงกับทำลายชีวิตเราได้ ทั้งๆ ที่ของเราหามาด้วยบริสุทธิ์ใจนี้แหละ เพราะอะไร เพราะสิ่งนั้นมันเป็นสิ่งที่บาดตาของเขา เขาหาไม่ได้ ถ้ามีบุญกุศลนะ มีบุญกุศลหามาด้วยสัมมาอาชีวะ ถ้าเป็นบาปอกุศลหามาแล้วมันเป็นความทุกข์ร้อนมากกว่านั้นอีก มันต้องซ่อนต้องเร้นนะ กลัวเขาตรวจสอบ กลัวเขารู้ แล้วก็เผาใจเราเอง นี่ไปแสวงหาสิ่งนั้นกัน

แต่ถ้าเราดำรงชีวิตโดยศีลธรรมของเรา ศีลธรรม คือความถูกต้อง ความดีงาม สิ่งต่างๆ เกิดโดยธรรมไง สิ่งที่เกิดโดยธรรมไม่ได้เอารัดเอาเปรียบ มันเป็นสินทรัพย์ ลาภที่ควรได้ ลาภที่มันได้โดยธรรมชาติ ลาภที่ได้โดยสุจริต สิ่งนี้เกิดขึ้นมา เราก็ดูแลรักษา เราก็ใช้ประโยชน์ สิ่งที่ใช้ประโยชน์นะ

แล้วถ้าเรามีโลกุตตรธรรม ถ้าโลกุตตรธรรม สิ่งนี้มันจะทำให้สะดุดใจ ให้สะดุดใจนะ สุดใจว่า ชีวิตนี้คืออะไร สิ่งที่เราเกิดมาในปัจจุบันนี้ เราเกิดมาอำนาจวาสนาเรามีสูงส่งขนาดไหน เพราะขณะที่ออกประพฤติปฏิบัติ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปกับเจ้าลัทธิต่างๆ ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ สังคมเขายอมรับกัน กษัตริย์นะ กษัตริย์ต่างๆ ก็ยอมรับ เขามีอาจารย์ของเขา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไปศึกษากับเขา ศึกษาแล้วมันได้อะไรขึ้นมาล่ะ

ถ้าไม่มีอำนาจวาสนา ขนาดที่อาฬารดาบสการันตีเลยนะ ยอมรับเลยว่าเจ้าชายสิทธัตถะมีความรู้เสมอเรา สั่งสอนได้แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะปฏิเสธหมดเลย ปฏิเสธเพราะว่าจิตสงบขนาดไหนมันเป็นฌานโลกีย์ ฌานโลกีย์ที่เขาทำกันอยู่ ความสงบของใจ ขณะที่ฌานโลกีย์นะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังปฏิเสธเลย แล้วเวลาเราเป็นชาวพุทธ เรานับถือศาสนาพุทธ เวลาเราถือทิฏฐิมานะ เขาเรียกว่าบูชากิเลสไง

ถ้าเราบูชากิเลส เราจะถือทิฏฐิมานะ เราจะยอมจำนนกับกิเลสของเรา เราบอกว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ประเสริฐ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าการชำระกิเลสต้องชำระด้วยปัญญา ขณะที่ชำระด้วยปัญญา แล้วปัญญาอย่างเรามันเป็นปัญญาของกิเลส มันไม่ใช่ปัญญาของเรา ถ้าเราบูชากิเลสมันมีตัวตน มันไม่ยอมเปลี่ยนแปลงไง มันไม่ยอมชำระล้าง มันถึงว่าเราเป็นชาวพุทธแล้วเราได้นับถือศาสนาที่เป็นประเสริฐที่สุด

ครูบาอาจารย์บอกว่า พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันจนถึงพระอรหันต์ขึ้นมาจะมีเฉพาะในศาสนาพุทธ เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ “ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล” ศาสนานี้มีมรรค มรรคเราก็มรรค ๘ ของเรา สัมมาอาชีวะก็ประกอบสัมมาอาชีวะชอบ ต่างๆ ชอบ สิ่งนั้นเป็นมรรคหยาบๆ มรรคของคฤหัสถ์นะ มรรคของคฤหัสถ์ มรรคของคฤหัสถ์มันเป็นแค่ศีลธรรมเท่านั้นล่ะ

แต่ถ้ามันเป็นมรรคญาณ มันเป็นสิ่งที่ว่ามรรคสามัคคี เป็นปัญญาขึ้นมาจากหัวใจ เราถึงจะต้องออก ดูสิ ดูทำไมนักวิทยาศาสตร์ เวลาเขาจะทดสอบขึ้นมา เขาค้นคว้าต่างๆ ทำไมเขาต้องมีสถานที่ เขาต้องมีการคำนวณของเขา เขาใช้ปัญญาของเขาล่ะ แล้วเรา งานของเราละเอียดกว่านั้น จิตมันควร มันต้องมีสถานที่ของมัน มันต้องมีที่ทำงานของมัน ไม่ใช่ว่าทำอะไรก็คิดประสาเรา ของเราไป แล้วบูชากิเลสนะ

ถ้าคล้อยตามกิเลส กิเลส เราคล้อยตามไป มันยังมีความสงสัยบ้าง มันยังมีโอกาสที่เราจะให้สะดุดใจบ้าง แต่ถ้าบูชากิเลสนะ ตัวตนของเรามันจะเข้มมาก ตัวตนคือทิฏฐิไง ทิฏฐิของเรา มันจะมีความเห็นของเรา มันจะยึดความเห็นของเราว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม ทั้งๆ ที่เป็นกิเลสทั้งแท่ง บูชากิเลส ยอมจำนนกิเลสอยู่แล้วก็ยังบอกว่าสิ่งนี้เป็นธรรมอยู่อีก

ถ้าเราไปบูชากิเลส กิเลสคือใคร? ก็คือเรา กิเลสก็ตัวตน กิเลสมันอวิชชา คือตัวความไม่รู้ไง แต่คำที่ว่าอ้างว่าเป็นธรรม เป็นธรรมของใคร? เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง แล้วไม่ยอมละทิฎฐิตัวนี้ไง ถ้าไม่ยอมละทิฎฐิ ไม่ยอมละความเห็นนะ เวลาทำขึ้นไป เวลาทำความสงบของใจขึ้นมา มันปัญญามันเกิด มันก็เป็นโลกียปัญญา ปัญญาของเรา ปัญญาที่เกิดขึ้นมา มันเป็นปัญญาในขันธ์ไง สังขาร

ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ คือปัญญาการรอบรู้ในกองสังขาร ฟังสิ “รอบรู้ในกองสังขาร” สังขารคืออะไร? สังขาร คือความคิด ความปรุง ความแต่ง ความฟุ้งซ่านนี่แหละ เราคิดเรื่องธุรกิจมันจะคิดต่อเมื่อเราทำหน้าที่การงาน เราจะคิดบริหารจัดการต่อเมื่อเป็นหน้าที่การงาน ขณะที่เราจะปล่อยวาง เราจะประพฤติปฏิบัติ เราต้องปล่อยวางสิ่งนี้ให้หมด เพราะการคิดอย่างนี้มันเป็นการคิดให้จิตใจฟุ้งซ่าน

เหมือนกับเรา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก เราตื่นขึ้นมาก็แบกก้อนหินก้อนหนึ่ง เดินไปไหนก็แบกก้อนหินไปด้วย เวลานอนก็เอาก้อนหินทับไว้หน้าอก ก็นี่ไง ก็ความคิดนี่ไง แต่ถ้าเรามีปัญญารอบรู้ในกองสังขาร ปัญญาของเรา ปัญญาที่มันละเอียดกว่ามันจะทันความคิดอันนี้ไง ถ้ามันทันความคิดอันนี้ นี่ปัญญาอบรมสมาธิ มันปล่อยอันนี้ได้

พอมันปล่อย ถ้าเรามีปัญญา เราจะคิดเรื่องนี้ทำไม หน้าที่การงานของเราก็ทำเสร็จแล้ว สิ่งต่างๆ เราต้องใช้สติ ใช้ปัญญาเห็นไหม ว่าสิ่งนี้ ขณะคิดในปัจจุบันมันไม่ใช่ เหมือนกับว่าเราทำงานอยู่ ขณะทำงานอยู่ มือเราทำงานอยู่ก็ต้องทำ ขณะที่เราปล่อยแล้ว เราจะไปทำ ไปจับอีกก็ไม่ได้ แต่ความคิดไม่เป็นอย่างนั้น มันอยู่กับใจ มันเกิดดับ เกิดดับตลอดเวลา แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะ ตามรอบรู้ รอบรู้ในกองสังขาร ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือปัญญาแห่งการรอบรู้ในกองสังขาร คือปัญญาที่รอบรู้ความคิดไง

ทุกข์เพราะคิดนะ สิ่งที่เราคิด เราแบก เราหาม มันเป็นความทุกข์ ความทุกข์ที่เกิดจากใจ แล้วเราฝึกฝนของเรา เราฝึกฝน นี่การกระทำเกิดจากใจ ถ้าการกระทำเกิดจากใจ ปัญญารอบรู้ในกองสังขารมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ

ถ้าเรามีความเชื่อ เราพยายามใช้สติของเรา กำหนดพุทโธ ใช้คำบริกรรม คำบริกรรม มือของเรา ถ้าเราจับสิ่งใดอยู่ กำสิ่งใดอยู่ มันสิ่งที่เรากำอยู่ในมือเราใช่ไหม ถ้าเราจะให้มือเราทำงาน เราต้องแบมือออกใช่ไหม เพื่อให้สิ่งที่ในมือเรา สิ่งของที่อยู่ในมือเราให้ตกไป มือนี้จะได้ว่าง มือนี้จะได้จับสิ่งของอื่นใหม่ได้อีกใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อความคิดเราฟุ้งซ่านอยู่นี่เป็นความคิดเหมือนกับมือเรามันกำสัญญา กำสังขารต่างๆ กำไว้แน่น เราก็ต้องกำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธ พยายามจะคลายมือออกให้มือนี้มันปล่อยวางออก เปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกไง เปลี่ยนความคิด คือคำบริกรรมนี้สำคัญมากนะ

ถ้าโดยเริ่มต้น คำบริกรรมนี้สำคัญมาก เพื่อพยายาม เราจะคลายมือเราออกให้มือเราว่าง ถ้าคลายมือเราออก ให้มือเราว่าง ว่างด้วยอะไร ถ้าเราไม่คลายมือออกมันก็ยังอยู่ ความรู้สึกเป็นสภาวะแบบนั้น เพราะอะไร เพราะมันบูชากิเลสไง ถ้าเราปล่อยวางแล้วเราจะไปอยู่ที่ไหน ถ้าเป็นสมาธิขึ้นมา เราจะอยู่ที่ไหน

ถ้าเวลากำหนด พุทโธๆๆ ขึ้นมา จิตมันเริ่มสงบ อาการของใจมันมีแสดงตัวของมัน เหมือนเราจะเข้าในบ้านเรือนของเรา เราต้องเปิดประตูเข้าไป ขณะที่เปิดประตูออก ลมตีมีความเย็นออกมาจากบ้านเรือนของเรา เราจะตกใจมากเลย จิตก็เหมือนกัน เวลามันจะสงบลง กิเลสมันมีปฏิกิริยาของมัน มันจะรวมตัวของมัน มันตกจากที่สูง มีอาการต่างๆ จะตื่นเต้น จะมีความรู้สึก

แม้แต่เวลามันมีอาการของใจ เราก็ไปตกใจกับเขา ขณะที่มือมันจะแบออก มันจะปล่อยวาง สิ่งที่มันยึดมั่นถือมั่นของมันไง สิ่งที่มันยึดไว้ถือไว้ มันจะคลายออก มันจะปล่อยวางออก เราก็ยังไปตกใจเลย แม้แต่เริ่มต้นนะ แม้แต่เริ่มต้นแค่จะทำสิ่งต่างๆ เราก็ลังเลสงสัย เราก็ตามๆ ไป สิ่งนี้มันเป็นนะ

เราประพฤติปฏิบัติ โลกุตตรธรรม

โลกียธรรม มันเป็นปรัชญา มันเป็นสิ่งที่เราคิด คิดคำนึง คิดต่างๆ แล้วก็เข้าใจ เข้าใจอย่างนี้มันก็เป็น ถ้าคนมีหลักการ คนมีปัญญา แล้วใช้ตรึกด้วยความคิด เขียนเป็นหนังสือ เขียนเป็นตำรานะ เขียนหนังสือเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นจิตวิทยาต่างๆ แล้วพวกเราก็ศึกษากัน ตื่นเต้นมาก เรื่องนี้นะมันเป็นเรื่องตรึก ปัญญาที่ตรึกขึ้นมา แล้วบอก อาการของใจที่การกระทำอย่างนั้นมันจะให้ผลตอบสนองอย่างนั้น อย่างนั้น นี่สิ่งนี้เป็นเรื่องของโลกๆ นะ

แต่ถ้าเป็นธรรม ที่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา แล้ววางธรรมไว้ สิ่งที่วางธรรมไว้ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เสวยวิมุตติสุขนะ ถึงกับว่าจะไม่สอนเลยนะ ทั้งๆ ที่ตั้งปรารถนามาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือเตรียมตัวมาพร้อมไง เตรียมตัวมาพร้อมว่าถ้าบรรลุธรรมขึ้นมา จะมีปัญญา มีอำนาจวาสนา จะวางหลักการได้ ยังทอดธุระ จนพรหมมานิมนต์ ๑ จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับมาจากการสะสมมา การสะสมมา เหตุและผลไง

เราทำคุณงามความดี ดีคือดี “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” นี่ก็เหมือนกัน บุญญาธิการพร้อมมาขนาดนั้น แล้วกาลเวลา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้แล้วว่าจะได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันละเอียดอ่อนอย่างนั้นไง ขณะที่ละเอียดอ่อนอย่างนั้น แล้วเวลาเป็นโลกุตตรธรรมขึ้นมา ถึงเวลาสอนนะ ต้องเป็นครั้งเป็นคราว เหมือนกับภาชนะถ้วยชามใหญ่ก็ต้องใส่อาหารได้มาก ถ้วยชามเล็กก็ใส่อาหารได้น้อย

อำนาจวาสนาของจิตเราก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่า ถ้าถ้วยชามเราเล็ก อาหารมันมาก มันล้น มันอะไร มันก็ไม่เป็นความสวยงาม ถึงจะอำนาจวาสนาเล็กหรืออำนาจวาสนามากก็แล้วแต่ เราต้องตั้งสติของเรา คือต้องควบคุมถ้วยชามของเรา คือต้องควบคุมใจของเรา ถ้าควบคุมใจของเรา ศีลธรรมจริยธรรม

จากโลกภายนอกนะ เราจะออกมาประพฤติปฏิบัติกัน ถ้าเราออกประพฤติปฏิบัติเพราะอะไร เพราะว่าหัวใจมันเรียกร้องความช่วยเหลือจากเราไง ความเรียกร้องจากความช่วยเหลือนะ น่าสงสารมาก

เวลาจิตปฏิสนธิ การเกิด จิตปฏิสนธิในครรภ์ของมารดา จิตปฏิสนธินะ เวลาทุกข์เวลาร้อน เวลาผู้ที่มีอำนาจวาสนาที่เป็นนักบริหารจัดการ เขาใช้ความคิดของเขาบริหารจัดการจนเขาเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีคิดออกมาจากจิตตัวนี้ แล้วเวลาจิตนะ สิ่งที่จิตมันไปกับโลก มันไปโดยสัญชาตญาณ มันเป็นไปโดยเชาวน์ปัญญา เป็นไปโดยอำนาจวาสนา เขาบริหารจัดการของเขาได้ เขาเป็นกษัตริย์ เขาเป็นจักรพรรดิ มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ขึ้นมาอย่างนี้ นี่คืออำนาจวาสนาของเขา

แต่ขณะที่ว่ามันโดยกิเลสบีบคั้น ขณะที่เราจะช่วยเหลือจิตของเรา ทำไมมันเรียกร้องความช่วยเหลือจากเราล่ะ เพราะว่าอะไร เพราะตัวจิตมันเป็นตัวนามธรรม ถ้าตัวจิตเป็นตัวนามธรรม คุณค่าของจิตจะมีประโยชน์ขึ้นมา อย่างเช่น เรากำหนดพุทโธๆ พอจิตมันรวม มันเป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา มันมีกำลัง ทำไมฤๅษีชีไพรสมัยพุทธกาลระลึกอดีตชาติได้ ทำไมฤๅษีชีไพรเหาะเหินเดินฟ้าได้

แล้วเวลาครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าจิตมันตั้งมั่นขึ้นมา จิตมันตั้งมั่น แต่ก่อนที่จิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมามันล้มลุกคลุกคลาน เพราะมันไม่มีการฝึกฝน เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญา ผู้ที่สร้างบุญกุศลขึ้นมา จิตจะเข้มแข็ง ถ้าจิตเข้มแข็ง กำหนดสมาธิขึ้นมาจะเข้มแข็ง ถ้าเราบูชากิเลส มันยิ่งเป็นฌานโลกีย์นะ มันจะมีพลังงานของเขา พลังงานของเขาจะออกไง เป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉาสมาธิจะออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ

ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ “สัมมาสมาธิ” มันจะทำให้ความสงบของใจเข้ามา ถ้าสัมมาสมาธิต้องมีสติสัมปชัญญะ ต้องมีสติของเรา ต้องใช้ปัญญาของเราควบคุมของเราให้ควรแก่การงาน ถ้าจิตควรแก่การงาน แค่มีสมาธินะ จิตมันก็มีความร่มเย็นเป็นสุขแล้ว การประพฤติปฏิบัติของเรา เริ่มต้นนะ ขอให้มีความสงบของใจ

ความสุขที่เกิดจากความสงบไม่มี ความสงบนะ เราทุกข์ร้อนขนาดไหน ทำงานอาบเหงื่อตากน้ำ เราก็อยากจะพักผ่อนบ้าง เวลาจิตมันทำงานนี่เราไม่รู้ จิตมันแบกหามของมันขึ้นมา แบกหามอารมณ์ แบกหามความรู้สึก แบกหามความทุกข์อยู่นี่เราไม่รู้จักปล่อยวางเลย แล้วถ้าเราจะปล่อยวาง เราก็ไปเสียดายอีก เสียดายว่า คิดมาแล้ว ทำได้มาขนาดนี้แล้วคิดมาจะเป็นประโยชน์แล้ว ปล่อยวางไปเดี๋ยวปัญญาจะไม่ได้ฝึกฝน ปัญญามันจะเป็นอัลไซเมอร์ มันจะลืม

สิ่งต่างๆ มันจะลืมให้มันลืมไปเถอะ ให้มันรู้จักอริยสัจของเรา ให้รู้สัจจะความจริง สัจจะความจริงที่เกิดขึ้นมา ว่าสิ่งนี้มันเป็นอดีตอนาคตไปแล้วนะ เมื่อวานมีความร่มเย็นเป็นสุข คิดถึงแต่เมื่อวาน แล้ววันนี้ทำไมไม่ทำให้เป็นสุขล่ะ ถ้าวันนี้เป็นสุขมันก็เป็นความสุขวันนี้ คือให้มันอยู่กับปัจจุบันนี้ ถ้ามันอยู่กับปัจจุบันมันจะเป็นสมบัติของเรา อดีตอนาคตแก้กิเลสไม่ได้

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเริ่มต้นประพฤติปฏิบัติมา ย้อนกลับมาที่โคนต้นโพธิ์ บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ มันเป็นอดีตอนาคตทั้งนั้น แม้ความละเอียดขนาดนั้นก็เป็นอดีตอนาคตนะ

เวลาเราประพฤติปฏิบัติ ถ้าประพฤติปฏิบัติถูก มันก็เข้าทาง ถ้าประพฤติปฏิบัติผิด ผิดเพราะใคร? ผิดเพราะกิเลสของเรา กิเลสที่มันอยากได้ อยากดี อยากเด่นขึ้นมา สิ่งนี้มันทำให้คลาดเคลื่อนจากสัจจะความจริง แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติ ความอยากอย่างนี้มันเป็นจิตใต้สำนึก มันอยากอย่างนี้เราปล่อย แล้วเราตั้งสติของเราไว้ อันนั้นเราให้เป็นปัจจุบัน ถ้าปัจจุบันมันสงบขึ้นมา เวลาทำจิตสงบขึ้นมา พอจิตสงบเข้ามาทีหนึ่งดีอกดีใจ แล้วก็อยากได้ อยากได้อีก พยายามตั้งจะให้เป็นอย่างนี้มันก็ไม่ได้

จนกว่าปฏิบัติแล้วปฏิบัติเล่า จนมันทุกข์มันยากนะ เออเอาล่ะ ปล่อยแล้ว ปล่อยแล้ว นี่เราไม่บูชามันนะ เพราะสิ่งที่เป็นตัวตน สิ่งที่มันเคยลิ้มรส เราไปบูชามัน เราไปยอมจำนนกับมัน พอยอมจำนนกับมันมันก็ปิดกั้น นิวรณธรรมปิดกั้นสมาธิได้นะ แล้วเราก็ไม่เข้าใจ เห็นไหม กิเลสมันพลิกแพลง มันพลิกแพลงให้การประพฤติปฏิบัติเราไม่เป็นปัจจุบัน พอไม่เป็นปัจจุบันมันก็เป็นอดีตอนาคต นิดเดียวแค่นี้แหละ นิดเดียวเพราะว่ามันเหลื่อมกันนิดเดียว

ดูสิ ดูอย่างเช่น น็อต เช่น ต่างๆ ถ้ามันปืนเกลียว มันไม่ปืนเกลียวมันใช้ประโยชน์ไม่ได้ นี่ก็เหมือนกัน มันเหลื่อมกันนิดเดียว มันก็เป็นไปไม่ได้ มันยิ่งละเอียดไปกว่านั้น นี่เพราะเป็นความรู้สึก มันเป็นธรรม เราต้องพยายามทำให้เป็นปัจจุบัน ให้เป็นปัจจุบัน เขาเป็นของเขาเอง ถ้าสมดุลของเขา จิตจะเป็นสมาธิของเขา หน้าที่ของเราคือสร้างเหตุเท่านั้น สร้างเหตุนะ เหตุกับผล รวมลงเป็นธรรม หน้าที่ของเราสร้างเหตุแล้วคำบริกรรมอะไร จะกำหนดพุทโธก็ได้ จะเป็นปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ สิ่งต่างๆ นี้ประพฤติปฏิบัตินะ ถ้าประพฤติปฏิบัติถูกต้องมันก็จะเป็นธรรมขึ้นมา ถ้าประพฤติไม่ถูกต้องนะ

ในสมัยพุทธกาลนะ มีพวกเดียรถีย์ต่างๆ พยายามมาถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ทำวัตรแบบสุนัข กินแบบสุนัข นอนแบบสุนัข คิดว่าทำอย่างนั้น เพราะอะไร เพราะความเราเป็นมนุษย์ไง เราเป็นมนุษย์ ความอยู่นี้มีแต่ความทุกข์ ถ้าเราใช้วัตรปฏิบัติอย่างนั้น คือว่าทรมานกิเลสไง เข้าใจว่าทรมานกิเลส แล้วมาถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

“ข้าพเจ้าปฏิบัติอย่างนี้ จะได้มรรคผลไหม”

นี่เริ่มต้นตัวเองปฏิบัติ ตัวเองก็ลังเลสงสัยแล้ว ตัวเองสงสัย แต่เพราะบูชา บูชากิเลสของตัวเองไง บูชาความคิดว่าสิ่งนี้เป็นธรรม แต่ก็ยังสงสัย ก็มาถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก

“อย่าให้เราตอบเลย”

เพราะอะไร เพราะว่าตอบแล้ว มันเป็นสิ่งที่ลบทั้งหมด แต่เขาก็พยายามขอให้ตอบเถิดถึง ๓ หน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าการประพฤติปฏิบัติ ถ้าเสียชีวิตลงก็จะไปเกิดเป็นหมาไง ตัวเองประพฤติวัตรตั้งแต่ยังไม่ตาย ตายแล้วมันจะไปไหนล่ะ จิตใจมันผูกพัน นี่ประพฤติปฏิบัติผิด

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เราพยายามว่าสิ่งนั้น คาดหมายไป อะไรไป นี่มันหมายไปก่อน มันไม่เป็นปัจจุบัน ถ้ามันเป็นปัจจุบัน เราตั้งสติของเรา สิ่งต่างๆ เราทำของเรา นี่คุณค่าของธรรมจะเกิดนะ

“คุณค่าของธรรม” แม้แต่ว่า เวลาเราทุกข์เราร้อน เราจะหาที่ร่มเย็น เราจะหาที่พึ่งอาศัย ชีวิตของเราก็เหมือนกัน ชีวิตของเรานี่มันทุกข์ร้อนมาก เป็นสัตว์ประเสริฐ แต่ก็ติดกติกาของสังคม แล้วกติกาของสังคม เราก็มีตัณหาความทะยานอยาก เราก็อยากสมความปรารถนา ทำสิ่งใดก็อยากที่จะสมความปรารถนาของเรา แล้วมันก็ไม่สมความปรารถนา มันเป็นอนิจจัง ความคิดเราก็เป็นอนิจจัง โลกนี้ก็เป็นอนิจจัง

ดูการตลาดสิ สิ่งใดไม่คงที่หรอก มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความต้องการของตลาดก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราแสวงหาธุรกิจของเราก็เปลี่ยนตลอดเวลา แล้วสิ่งนี้เราไปอยู่กับสิ่งจอมปลอม จอมปลอม เห็นไหม จอมปลอมโดยธรรมนะ แต่ถ้าเป็นศีลธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก สมมุติบัญญัติ สมมุติว่าสิ่งนี้มีคุณค่าจะมีค่ามาก โลกจะตื่นเต้นกันมาก เวลาโลกเขาใช้กันจนเบื่อหน่าย สิ่งนั้นก็สมมุติอันเก่า เขาก็ไม่ปรารถนา เพราะสิ่งนั้นมันไม่มีคุณค่าขึ้นมาแล้ว นี่สมมุติบัญญัติอยู่ที่โลกเขา แล้วเราก็ยังปรารถนาอยู่สภาวะแบบนั้น

แล้วถ้าเห็นคุณค่าของชีวิตมันจะปล่อยวางตรงนั้น นี้คือการดำรงชีวิตนะ

ดูสิ เวลาเราบวชเป็นพระ ออกประพฤติปฏิบัติ ออกบวช สิ่งปัจจัยเครื่องอาศัยนะ เราเองต่างหากต้องพยายามมักน้อยสันโดษ เราแสวงหา เวลาด้วยความคิดของกิเลสนะ ว่าบวชแล้วใครจะดูแล ออกมีบริขาร ๘ ความเป็นอยู่เราจะไม่ทุกข์ไม่ยากหรือ แล้วเวลาเรามาประพฤติปฏิบัติ เวลาเราบิณฑบาตมา สิ่งนี้มันเหลือเฟือ เหลือเฟือเพราะอะไร เพราะบิณฑบาตมา มันเต็มบาตร เฉพาะบิณฑบาตมานี่ฉันไม่หมดแล้วล่ะ ฉันเฉพาะสิ่งที่บิณฑบาตมา

สมัยครูบาอาจารย์เราออกปฏิบัติเริ่มต้น แสวงหาแต่ที่มีหมู่บ้านเล็กๆ ๒ หลังคาเรือน ๓ หลังคาเรือน เพราะให้ใส่ข้าว ๒-๓ ทัพพี มันพอดำรงชีวิตแล้วล่ะ แล้วมันจะไม่มีสิ่งอะไรก่อกวนให้เราเสียเวลาเลย แล้วเวลาเราอยู่ในป่าในเขา สิ่งที่เราฉันอาหาร อาหารอย่างนี้เวลาฉันเข้าไปแล้ว มันไม่มีกับข้าว มันไม่ทำให้ง่วงหงาวหาวนอน สิ่งที่แสวงหาอย่างนั้น ขณะที่ว่า เราเวลาก่อนจะบวช ก่อนจะออกประพฤติปฏิบัติเราก็ห่วงไปหมดเลยว่า เราจะมีสิ่งนั้นขาดแคลน เราจะดำรงชีวิตไม่ได้

แต่เวลาเราบวชขึ้นมา สัจจะความจริง คุณค่าของธรรมะ คุณค่าของธรรมะคือความสงบร่มเย็นของใจ มันมีคุณค่ามาก แล้วการปรนเปรอร่างกาย การปรนเปรอไอ้ขันธ์ ๕ ไอ้ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ สิ่งนี้มันเป็นเรื่องของโลกๆ ว่าสิ่งที่มันมีอยู่แล้ว แล้วถ้าปรนเปรอแล้วมันก็ยังเหยียบย่ำอีก เหยียบย่ำคือทำความสงบก็ทำยาก เวลาใช้ปัญญาขึ้นมามันก็ทำได้ยาก เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มันมีกำลังขึ้นมา มันจะทำอะไรไม่สะดวกสบายไปเลย เพราะมันจะต่อต้าน มันจะขัดขวางไปหมดเลย

เพราะเป็นธรรมชาติของเขา พลังงานก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว พลังงานมันต้องแสดงกำลังของเขา แล้วเราจะเอาให้จิตสงบ จิตมันโดนพลังงานนั้นมันฉุดกระชากไป มันรับรู้อย่างนั้นมันก็ทำให้เรานั่งตกภวังค์ สิ่งต่างๆ มันให้โทษหมดเลย แต่เราก็ไปทุกข์ไปร้อนว่ากลัวว่ามันจะไม่มี

แต่ขณะที่เราประพฤติปฏิบัติ แล้วนี่ครูบาอาจารย์ท่านพูดอยู่ประจำนะ อยากเห็นนัก พระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วไม่มีใครส่งเสริมศรัทธา ไม่มีศรัทธาส่งเสริมปัจจัยเครื่องอาศัยให้เป็นนักรบ อยากจะเห็นไง

นี่เหมือนกัน ถ้าเราทำดี ทำคุณงามความดีของเรา เราจะไม่ไปตื่นเต้นกับสิ่งนั้นเลย แต่ขณะที่จะปฏิบัติ สิ่งนี้มันก็เข้ามาเป็นสิ่งที่กังวล กิเลสมันจะสร้างความกังวลขึ้นมา ทั้งๆ ที่สิ่งนี้หามาแล้วจะใช้มันจะเป็นเรื่องของโทษ โทษของการปฏิบัติ แต่ถ้าเราใช้ด้วยความจำเป็น มักน้อยสันโดษเพื่อจะให้การประพฤติปฏิบัติเราสะดวก มีช่องทางที่จะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น ง่ายขึ้นนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกให้มี ปฏิสงฺขา โยนิโส เวลาจะใช้สิ่งต่างๆ สิ่งที่เราจะใช้สอย ต้องให้มีสติ

ถ้าเราใช้โดยความมักมาก ปรับอาบัติทุกกฎๆๆ ตลอดเวลา เพราะมันเป็นโทษไง มันเป็นโทษ เพราะว่าคุณค่าของธรรมะ คือต้องให้หัวใจศึกษาธรรม ให้หัวใจให้ปฏิบัติธรรมนะ ครูบาอาจารย์องค์ใดก็แล้วแต่ ถ้าทำความสงบของใจเข้าฌานสมาบัติได้ ถ้าจะพูดถึงฌานสมาบัติได้ พูดถึงเวลาเทศนาว่าการ คือสอนลูกศิษย์ สอนผู้ที่มาฝึกฝนด้วย เรื่องฌานสมาบัติไม่มีผิดหรอก แล้วถ้าไม่ได้ยกขึ้นวิปัสสนาจะไม่รู้โครงการว่าใช้ปัญญาอย่างไง ปัญญาเจริญอย่างไร ปัญญาจะเริ่มต้นอย่างไรพูดไม่ถูกหรอก

แล้วถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ปัญญาจนสมดุลว่ามรรค ๘ ไง ความดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ ปัญญาความดำริชอบต่างๆ ถ้าสมดุล สมดุลขั้นตอน ๑ มันสมุจเฉทปหานอย่างไร สมดุลขั้นตอนที่ ๒ สมุจเฉทปหานอย่างไร สมดุลขั้นตอนที่ ๓ สมดุลขั้นตอนที่ ๔ ผู้ใดอยู่ขนาดไหนก็ได้ขนาดนั้นไง การประพฤติปฏิบัติมันจะเห็นคุณค่าไง นี่คุณค่าของธรรมนะ ธรรมอย่างนี้ธรรมเหนือโลก

ธรรมของโลกก็ทำให้โลกร่มเย็นเป็นสุข แล้วเราอย่าไปติด เราเกิดมาเราเป็นชาวพุทธ เวลาชาวพุทธนะ เราสวดมนต์กัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่ในโลกนี้ สิ่งที่ดีกว่านี้ยังมีอยู่ สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติยังมีอยู่ ความดีอย่างนี้ยังมีอยู่ ยังมีมากกว่านี้ เราต้องทำตลอดไป จนถึงที่สุด ถ้าปัญญาเราสมดุลถึงมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ เราจะเข้าใจแล้วจะเห็นคุณค่ามาก

คนยิ่งเห็นยิ่งประสบนะ ดูสิ เศรษฐีมหาเศรษฐีเขาหาเงินหาทองขึ้นมา เขาเป็นเศรษฐีเพราะอะไร เพราะเขาประกอบสัมมาอาชีพของเขา เขารักษาสมบัติของเขาได้ เราประกอบสัมมาอาชีวะ จะรายได้มหาศาลขนาดไหนแต่เราใช้จ่ายฟุ่มเฟือย แล้วเราไม่รู้จักรักษาของเรานี่มันเป็นไปไม่ได้ถ้าเป็นเศรษฐีมันไม่พอใช้หรอก เพราะอะไร เพราะเงินทองมันใช้เมื่อไรมันก็หมด แล้วการบำรุงรักษามันก็ไม่รักษา

แต่ถ้าคนหาเงินเป็น คนทำเงินเป็น จะถนอมจะรักษา ยิ่งถนอมรักษาขนาดไหน ยิ่งเป็นดวงตา เป็นการพึ่งตนเองได้ แล้วยังให้คนอื่นพึ่งพาอาศัยได้ด้วย สิ่งที่เป็นคุณธรรม คุณค่าอย่างนี้ สิ่งที่คนเคยพบเคยเห็นไง สิ่งที่เคยพบเคยเห็นมันเป็นประโยชน์ มันถึงบอกช่องทางอันนี้ได้ นี่ขั้นตอนของปัญญา ขั้นตอนของการประพฤติปฏิบัติ สิ่งนี้เราต้องย้อนกลับ

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติแล้วถ้ามันไม่เป็นผลขึ้นมาต้องย้อนมาดูที่ศีล ต้องดูศีลเราปกติไหม? ถ้าศีลเราปกติ ย้อนดูที่ศีล ย้อนดูที่ความประพฤติของเรา วันนี้เราตั้งสติอย่างไร วันนี้เราเริ่มต้นอย่างไร แล้วผลที่เกิดขึ้นมามันเป็นผลของเราไหม ถ้าผลไม่เกิดขึ้น การปฏิบัติ โลกนี้เป็นโลกอนิจจัง สังขารเราก็เป็นอนิจจัง

ดูสิ วันนี้ถ้าเราทำความสงบของใจ ใจมันมีความสงบ มันจะมีความชุ่มชื่น มันจะมีความองอาจกล้าหาญ ถ้าวันไหนใจเศร้าหมอง ใจมันก็ขึ้นๆ ลงๆ โดยธรรมชาติของใจ โดยธรรมชาติกับสิ่งโลกนี้เป็นอนิจจัง ความเป็นอยู่อนิจจังนะ แต่สิ่งที่เป็นใจมันมีอยู่ ธาตุรู้มีอยู่ แต่มันโดนกิเลสครอบงำอยู่ มันถึงเป็นอนิจจัง

สิ่งที่เป็นอนิจจังเพราะกิเลสครอบงำอยู่ ถ้าเราปรนเปรอมัน สิ่งใดที่เราไปตอบสนองมัน กิเลสมันพอใจมันก็ปล่อยให้เราอิสรภาพชั่วหนึ่ง แต่พอมันหยาบขึ้นมาอีกเราต้องดิ้นรนมาตอบสนองเขาอีก นี่มันเป็นอนิจจังอย่างนี้ไง มันถึงเดี๋ยวเศร้าหมอง เดี๋ยวผ่องใส เดี๋ยวมีความทุกข์ เดี๋ยวมีความสุขในหัวใจไง

เราถึงจะต้อง...สิ่งที่เป็นเรื่องของโลก ถ้ายังมีกิเลสอยู่ ยังเป็นเรื่องของโลก เราต้องควบคุม เราควบคุมนะ ถ้าควบคุมกิเลส มันก็เป็นควบคุมกิเลสโดยธรรม เอากิเลสแก้กิเลส เอาน้ำสกปรกแก้น้ำสกปรก ถ้าปรารถนาขนาดไหนตอบสนองอย่างเดียว แสวงหาอย่างเดียว แล้วจะให้พอ เป็นไปไม่ได้ ถ้าเป็นไปไม่ได้ ศีลมันถึงต้องตรงนี้ไง ศีล ๕ ของคฤหัสถ์ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ แล้วถ้าเวลาพูดถึงศีล กิเลสมันก็ไม่พอใจ ศีล ๒๒๗ ศีล ๒๑,๐๐๐ ข้อ แล้วจะรักษาอย่างไร

รักษาใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศีลข้อเดียว คือตัวใจ ถ้าใจเรารักษาใจของเรา ความดำรงชีวิตอย่างหนึ่ง ความดำรงชีวิตนะ ถ้ามันไม่ผิดศีล ความดำรงชีวิตไม่ผิดศีลเลย ถ้าใจของเรา เราเราคุมสติของเราพร้อม ความเป็นไปนะ เว้นไว้แต่กรรมไง ขณะที่กรรมเกิดขึ้น อุบัติเหตุเกิดขึ้น สิ่งที่อุบัติเหตุต่างๆ นี้มันเป็นเรื่องของกรรม กรรมของเราและกรรมของเขา มันมีกรรมตอบสนองกัน สิ่งที่กรรมตอบสนองกันคือเรื่องสุดวิสัย ถ้าสุดวิสัย

พระต้องปลงอาบัติ แล้วก็เริ่มต้นใหม่ ปลงอาบัติใหม่ การปลงอาบัติ ปลงอาบัติเพื่อจะไม่ให้มันมีนิวรณ์ แต่กรรมก็คือกรรมก็กรรมของเขา กรรมของเรามันมีอยู่แล้ว เรื่องของสภาวะกรรม กรรมนี้เป็นเรื่องของอจินไตย แต่อจินไตยขึ้นมาในปัจจุบันนี้มันต้องเรื่องกรรม เพราะเราเกิดในสถานะของมนุษย์ “ของมนุษย์” กรรมนี้ประเสริฐสุด เพราะมนุษย์เป็นทรัพย์อันประเสริฐ

แล้วเรามีสถานะ เห็นคุณค่าของธรรม เห็นคุณค่าของโลกุตตรธรรม

ธรรมของโลก ศีลธรรมของโลก ผู้ใดประสบความสำเร็จจะมีสังคมยอมรับนับถือ จะมีปัจจัยเครื่องอาศัย ไว้เจือจุนโลก แต่ถ้าเป็นคุณธรรมของโลกุตตรธรรมมันเป็นธรรม เป็นอริยทรัพย์จากภายใน อริยทรัพย์จากภายในมันจุนเจือหัวใจของเราก่อน ถ้าหัวใจเราไม่รู้แจ้ง ไม่มีความเห็นสัจจะความจริง ไม่มีกิจจญาณ

ถ้ากิจจญาณ คือการกระทำของจิต เริ่มตั้งแต่ความสงบของจิต จิตแล้วออกวิปัสสนา นี่ขั้นของปัญญาวิปัสสนาไป มันแยกแยะ สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดของกาย มันวิปัสสนาอย่างไร การวิปัสสนานะ งานจากภายใน มรรค โสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรค อนาคามรรค อรหัตตมรรค

ทำไมมรรคมันต้องมีตั้ง ๔ ขั้นตอนล่ะ ทำไมมรรคมันไม่มีมรรคเดียวล่ะ

เวลาเราเข้าใจกันว่าทำมรรคแล้ว ปัญญาของเรา...ผู้ที่ไม่เคยผ่านขั้นตอน ผู้ที่ไม่เคยเห็นความหยาบละเอียดของมรรคก็ไม่เข้าใจเรื่องของมรรค ความไม่เข้าใจเพราะอะไร ถ้าเอาจิตบูชากิเลส ก็จะบอกว่า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้องเป็นอย่างนั้น จะขยับเขยื้อนเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เลย

ขยับเขยื้อน คือคนทำงานเป็นไง ไม่ใช่คนตาย ไม่ใช่ธรรมะตายๆ ธรรมะตายๆ คือธรรมะที่จำมาไง ธรรมะที่จำมามันต้องเป็นอย่างนั้นตลอดไป จะคลาดเคลื่อนจากนี้ไปจะเป็นความผิดทั้งหมด กลัวแต่จะเป็นความผิด แล้วจริงๆ มันก็คือผิดโดยตัวมันโดยข้อเท็จจริงมันผิดอยู่แล้ว แต่ยังเอาความผิดมาอ้างไม่ให้เราตรวจสอบ ไม่ให้เราค้นคว้า ความผิดขนาดไหน

จากสิ่งที่เป็นความผิดเป็นครู แล้วเราก็ทำของเราใหม่ ให้มันเริ่มต้นขึ้นมา จากสัจจะขึ้นมา นี่จะเห็นคุณค่าไปเรื่อยๆ

คุณค่านะ คุณค่าความละเอียดของใจ ใจจะละเอียดอ่อนมาก แล้วย้อนขึ้นมาเป็นโสดาปัตติมรรคนะ แยกแยะ โสดาปัตติมรรคตรงไหนรู้ไหม? โสดาปัตติมรรคตรงที่จิตย้อนไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เห็นธรรม ธรรมารมณ์ ธรรมนี้สภาวธรรม ถ้าคำว่า “ธรรมเกิด” เวลาจิตสงบขึ้นมามันจะมีสิ่งที่ตอบสนองมาจากใจ จะมีความสงสัย จะมีความสิ่งใดที่ผุดมาในหัวใจ จะตอบออกมาเป็นธรรมะ ธรรมะจะไปชำระล้างความสงสัยของใจ ใจจะปล่อยสิ่งนั้นทันทีเลย ปล่อยโล่งๆ มันก็เหมือนศีลธรรมของโลก ถ้าธรรมเกิด ธรรมเกิด หมายถึงสภาวธรรม หมายถึงสิ่งที่เป็นปัญญาเกิดขึ้นมาขณะที่จิตสงบ เหมือนที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ เหมือนฟังเทศน์ตลอดเวลา สภาวธรรมเกิด

แต่ถ้าเป็นสภาวะของอริยสัจเกิด อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถ้ามรรคเกิด คือจิตเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ธรรมอันนี้มันเป็นธรรมระหว่างขันธ์ ๕ กับจิตสัมผัสสัมพันธ์กัน เป็นธรรมไง

มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ มโน คือว่าเรามีมโน เราถึงมีอวิชชา “มโนสัมผัส” ความสัมผัสระหว่างจิตกับขันธ์ ๕ ระหว่างความสัมผัส ความคิดจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? ความคิดจะเกิดขึ้นมาได้ต้องมีตัวจิต ต้องมีตัวรับรู้ ตัวรับรู้นี่มันสัมผัสกับอะไร ตัวรับรู้ ขณะที่เรานั่งอยู่เป็นปกติ ขณะที่เราเหม่อ เสียงหรือสิ่งต่างๆ ผ่านมาจากในอายตนะของเรา เราจะไม่รับรู้สิ่งใดๆ เลย ทั้งๆ ที่มันมีอยู่ แต่มันสัมผัสแล้ว มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ สิ่งที่เกิดจากสัมผัส เหตุเกิดที่สัมผัส เวลาความคิดที่เกิดขึ้นมาจะเป็นสุขเป็นทุกข์ แล้วจิตไปเห็นสิ่งนั้นน่ะ จับสิ่งนั้น นี่ธรรมารมณ์

ธรรมารมณ์เป็นสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรมารมณ์ ถ้าเห็นสภาวะแบบนี้แล้วจิตไปเห็น ไม่ใช่ความคิดที่ว่าเราเป็นขี้ข้าอยู่ โดยศีลธรรมของโลก โดยศีลธรรมจริยธรรมที่ขันธ์ ๕ โดยสัญชาตญาณ ความคิดอย่างนี้เป็นความคิดของขี้ข้า ขี้ข้าคือว่าเวลาคิดไปเราคิดไปด้วย มีเราไง มีเราตอบสนองความคิด ถ้าสิ่งที่โดยปกติ ที่ว่าสิ่งที่ว่าผ่านมาจากอายตนะ ถ้าจิตไม่รับรู้ เราจะไม่รู้อะไรเลย

ขณะที่จิตรับรู้โดยปุถุชน มันก็คือเราคิดไง เราฟังเพลง เพลงเพราะ เราดูหนัง หนังสนุก เราดูอะไร เรากินลิ้มรสอาหาร อาหารอร่อย นี่มีเราตลอดไป นี่ขี้ข้า ขี้ข้าเพราะจิตมันเป็นไปกับเขา ขี้ข้าเพราะจิตมันอยู่กับขันธ์ ๕ ขี้ข้าเพราะจิตนี้มันเป็นบ่วง เป็นบ่วงของมาร มันไปกับบ่วง มารนี้เอาสิ่งนี้ไปใช้งานหมดแล้ว ปัญญาอย่างนี้คือปัญญาของโลก

แต่ถ้าจิตมันสงบเข้ามามันไม่ใช่ขี้ข้า เพราะจิตมันสงบ พอจิตมันสงบขึ้นมา เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ จนรู้เห็น เห็นว่ารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในความคิด ความคิดมันก็สงบตัวลง เพราะมันเป็นธรรม เห็นไหม มันต้องอาศัยธรรมะ มันถึงฆ่ากิเลสได้ ถ้ามันอาศัยกิเลส ฆ่ากิเลสไม่ได้ น้ำสกปรกชำระให้ทำความสะอาดให้พื้นที่สะอาดไม่ได้ ที่สกปรกต้องใช้น้ำสะอาดชำระทำความสะอาดของที่สกปรกนั้นสะอาดขึ้นมา

ปัญญาอบรมสมาธิ มันก็ปล่อยวางจิต จิตนี้มันจะปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางจนจิตมันตั้งมั่น แล้วจิตเห็นอาการของธรรมารมณ์ อาการของจิตขณะที่จิตกับขันธ์ ๕ ที่มันเสวยอารมณ์ เสวยอารมณ์คือว่าความรู้สึกมันเกิดขึ้น เกิดขึ้นมาอย่างไร? เกิดขึ้นเพราะมันมีตัวจิตรับรู้ ตัวจิตรับรู้ รับรู้จิตอย่างไร รับรู้จิตโดยสัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็เป็นความคิดไป ปัญญามันก็เข้ามาแยกแยะ แยกแยะๆ พอแยกแยะรู้ทันเข้ามันก็ปล่อย มันต้องมีการแยกแยะ มันมีกิจกรรมอย่างนี้ กิจกรรมมันเป็นมรรค เป็นโสดาปัตติมรรค มรรคเกิดอย่างนี้ไง

โสดาปัตติมรรคแยกมันแยะออกไป พอแยกแยะออกไป มันก็ปล่อยวาง

ปล่อยวางแบบฤๅษีชีไพร ปล่อยวางแบบปัญญาอบรมสมาธิ มันพอตามรู้จิต จิตมันก็ปล่อยวางเฉยๆ มันปล่อยวางเฉยๆ มันก็เท่ากับศีลธรรม เพราะโสดาปัตติมรรคนี่เสื่อมได้ เพราะมันยังไม่เป็นโสดาปัตติผล ถ้ามันเป็นโสดาปัตติผล สิ่งนั้นมันเป็นอกุปปธรรม อกุปปธรรม คืออฐานะที่มันเสื่อมสภาพ

แต่ถ้ายังไม่เป็นอกุปปธรรม เป็นกุปปธรรมอยู่นี่จะขนาดไหนมันก็เสื่อมได้ พอมันเสื่อมได้ มันก็เป็นเรื่องของโลกๆ ไง แต่ถ้ามันเป็นปัญญาของเรา มันเป็นคุณค่าของธรรม ธรรมที่มีคุณค่าขึ้นมา คุณค่าของโสดาปัตติมรรค คุณค่าของสกิทาคามรรค คุณค่าของอนาคามรรค คุณค่าของอรหัตตมรรค มันอยู่ที่คุณค่าแต่ละคุณค่า แต่ละคุณค่า แต่ละกิริยา แต่ละกำลังของจิตที่มันจะเข้าไปชำระล้าง

สิ่งที่ชำระล้าง ชำระล้างอะไร? ก็ชำระล้างการเกิด การแก่ การเจ็บ การตายนี่ไง

ถ้าชำระล้างอย่างนี้แล้ว มันจะไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายอีกต่อไป

แต่ร่างกายมันยังเกิดยังแก่ ร่างกายเกิดแล้วต้องตาย มันต้องตายไป ต้องแปรสภาพไป เพราะมันเป็นธรรมชาติ มันเป็นสมมุติอันหนึ่ง ร่างกายนี้เป็นของที่สมมุติ สมมุติ ดิน น้ำ ลม ไฟ เรากินอาหารเข้าไป พืชผักธัญญาหารมันมาจากดินทั้งนั้นน่ะ สิ่งที่เรากินเข้าไปมันเป็นเรื่องของดิน เรื่องของน้ำเข้าไป ธาตุไฟมันก็คว้าไปอยู่ในร่างกาย มันก็สืบต่อๆ มา ลมก็หายใจอยู่ทุกๆ วัน มันเป็นเรื่องของสมมุติ

แต่เพราะมันมีอำนาจวาสนามันถึงได้เอา ดิน น้ำ ลม ไฟ มาเป็นเรา

เป็นเราเพราะมีหัวใจ หัวใจเป็นเรา ถ้ามันเข้าใจสภาวะแบบนี้ มันเห็นสัจจะความจริง

เพราะมันมีสัจจะความจริง มันเห็นความจริงขึ้นมา มันถึงเห็นคุณค่าไง เห็นคุณค่าถึงถนอมรักษา ไม่ใช่คนเห็นคุณค่า คนเห็นธรรม แล้วจะทิ้งธรรมนะ คนเห็นธรรมยิ่งไม่ทิ้งธรรม หลวงปู่มั่น เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้ว ไม่เคยปล่อยวางเลย คุณค่าอย่างนี้มันประเสริฐมาก รักษาศีลสภาวะอย่างนี้ มันถนอมรักษาไปจนถึงที่สุดแห่งชีวิต

ขณะที่ว่าเทศน์ครั้งสุดท้ายโลกธาตุหวั่นไหวขนาดไหนนี่เพื่อประโยชน์กับใคร? เพื่อประโยชน์กับอนุชนรุ่นหลัง แล้วเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้วทำไมต้องเก็บหอมรอมริบ ทำไมต้องอยู่ในศีลในธรรมเพื่อใคร? ก็เพื่อผู้ที่จะเดินตามนี่ไง

แต่เรานี่บูชากิเลส จะทำอะไรก็เป็นความทุกข์ ความยาก จะทำอะไรก็เป็นเรื่องของกิเลส จะทำให้สุขสบาย จะทำความเป็นไป มันเลยเอาน้ำสกปรกชำระล้างความสกปรกไง ไม่เอาน้ำสะอาด น้ำสะอาดคือคุณธรรม

คุณธรรมเกิดจากไหน? คุณธรรมเกิดจากมาเริ่มต้นจากเรามีน้ำใจที่ดี เราเป็นสุภาพบุรุษ ทำสิ่งใด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือตัวเราเอง ทำผิดก็ต้องปลงอาบัติ ทำผิด เราเป็นคฤหัสถ์ เราก็ต้องต่อศีล ศีลเกิดที่ไหน? ต่อขึ้นมาด้วยการวิรัติ วิรัติคือการตั้งเจตนาขึ้นมา สิ่งที่ผิดพลาดแล้วมันจะซื่อสัตย์กับตัวเอง พอซื่อสัตย์กับตัวเองมันก็ไม่มีสิ่งใด ไม่มีเศษหินในรองเท้าเรา มีเศษหินในรองเท้า เดินไปไหนมันก็มีความรู้สึกขัดแย้งอยู่ในรองเท้าตลอดไป จิตถ้ามีสิ่งใดที่เศร้าหมอง มันก็จะค่อยทิ่มตำจิตอยู่ตลอดไป

แต่เราก็ว่าไม่เป็นไร เพราะอะไร เพราะไปบูชากิเลส ตัวตนมันเข้มแข็งไม่ยอมรับไง แต่ถ้าเรายอมรับ เรายอมสละ มันก็ถอยออกมา ความยึดมั่นถือมั่นมันก็อ่อนลงๆ ความอ่อนลง นี่ศีลธรรมเริ่มตั้งแต่ตรงนั้น เริ่มตั้งแต่เราอยู่ในศีลในธรรม ในศีลในธรรมขึ้นมา แล้วมีคุณธรรมขึ้นมามันก็มีความสงบของใจขึ้นมา แล้วถ้าเห็นความเสวยอารมณ์อย่างนี้ วิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า วิปัสสนาเห็นจิตเวลามันเกิดอารมณ์ไง

เกิดอารมณ์ เกิดความรู้สึก เกิดอารมณ์ดี อารมณ์ชั่ว อารมณ์ต่างๆ ก็แล้วแต่ อะไรก็ได้ ถ้าเวลามันเสวยไป เพราะบางอารมณ์ มันไปตรึกในธรรม มันก็เป็นอารมณ์ที่ดี อารมณ์ที่ดีมันก็มีการกระทำ มีการกระทำก็งาน งานมันก็เหนื่อยใช่ไหม ในเมื่อมีความคิดหมุนไป ดูสิเราทำงานขึ้นมา ความคิดของเรา ผู้ที่บริหารจัดการ งานไม่ได้อาบเหงื่อต่างน้ำเลย แต่ด้วยความเครียดมหาศาลเลย

นี่ก็เหมือนกัน ความสุขขนาดไหน ความดีขนาดไหน ความสุข ความดี คืออนิจจัง คือมันเกิดดับ คือสิ่งที่มันยั่วยวน มันเร่งเร้า มันหลอกล่อหัวใจให้หัวใจเสวยไปกับมัน แต่เพราะไม่ใช่ความคิดแบบธาตุ เพราะตัวตนไปกับเขาใช่ไหม แต่เพราะมันมีจิตไง จิตที่มันเป็นพลังงาน จิตที่มันไม่มีความสงบ มีสัมมาสมาธิไง

พอเสวยอารมณ์ขึ้นมา ตัวสัมมาสมาธิคือตัวจับ ปัญญาคือตัวตัด

ถ้าตัวตัด ปัญญาหมุนอย่างไรถึงจะมาตัดล่ะ ถ้ามันตัดรอบหนึ่ง ขันธ์ ๕ มันหมุนไปไม่ได้ ความคิดไปไม่ได้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้ารวมตัวแล้วจะเป็นความรู้สึก เป็นความคิด ถ้าเราแยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เราแยกออก ความคิดมันเป็นไปไม่ได้ เหมือนกระแสน้ำที่เราปิดกั้นอยู่ มันไปไม่ได้ ถ้าปิดกั้นไม่ได้มันก็ต้องอยู่ตัวของมันเอง

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าความคิดมันไปไม่ได้ เราแยก เราใช้ปัญญาสอดส่อง สอดเข้าไป สอดเข้าไประหว่างรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ ถ้าสอดมันก็หยุด ถ้าหยุดแล้วพอมันปล่อยวางๆ มันไม่ขาด มันไม่ขาดมรรคสามัคคี คือแบบว่า สิ่งที่มันเราเป็นเจ็บไข้ได้ป่วย แต่ยา เราให้ยาแล้ว ยานี้มันไม่สามารถที่จะระงับความเจ็บปวดอันนี้ได้ ยานี่ไม่สามารถรักษาไข้อันนี้ได้

เราก็ต้องละเอียดเข้าไป ใช้ยาที่มีคุณภาพมากขึ้นไป เราก็จับในรูป ในรูปมีอะไร? ในรูปถ้ามันเป็นรูป คือความคิดเป็นความรู้สึกเรา ความรู้สึกว่าดีหรือชั่ว ในดีหรือชั่ว เราจะเปรียบดีหรือชั่วได้อย่างไร ก็ต้องมีสัญญาใช่ไหม มันก็ต้องมีวิญญาณใช่ไหม

ในรูปมันก็มีเวทนา สัญญา วิญญาณ ในเวทนามันก็มีรูป มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แล้วเราละเอียดเข้าไปอีก ย้อนเข้าไปอีก ถ้ามันย้อนเข้าไป จนกว่าถึงที่สุด มันเป็นมรรคสามัคคีโดยสัจจะของเขาเอง ขันธ์ ๕ กับจิตมันจะขาดออกจากกัน ขันธ์เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ สักกายทิฏฐิ สังโยชน์ ๓ ตัวมันก็ต้องขาดออกไป

นี่คุณค่าของธรรมะนะ มันจะกังวานขึ้นมาในหัวใจ หัวใจมันรับรู้ขึ้นมา

สันทิฏฐิโก จิตนี้รับรู้เอง

ขณะที่ประพฤติปฏิบัติ ไม่มีใครให้คะแนน ไม่มีใครตัดคะแนนได้ แต่เพราะคุณธรรม “คุณธรรม” คุณธรรมที่เกิดขึ้นมาจากจิตนี้ ปัญญาที่เกิดมาจากจิตนี้ มรรคญาณที่เกิดมาจากใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ สิ่งนี้ต่างหาก คุณธรรมอย่างนี้ต่างหาก มันเข้าไปแยกแยะออกด้วยสัจจะความจริงเอง จิตดวงนี้ขึ้นมามันก็มีคุณธรรมขึ้นมา มันก็เป็นอกุปปธรรม “อกุปปธรรม” จิตดวงนี้มีสถานะแล้ว จิตดวงนี้มีสถานะรองรับจิตดวงนี้แล้ว

ถ้าจิตดวงนี้วิปัสสนาต่อไปๆ ยกขึ้นสูงขึ้นไป สูงขึ้นไป มันก็จะเป็นสกิทาคามรรค ถ้ายกขึ้นสูงๆ ถ้าไม่ยกขึ้นไปมันก็เสวยผลไง เสวยผลของพระโสดาบัน พระโสดาบัน ดูสินางวิสาขา พระโสดาบันยังมีครอบครัวเลย พระโสดาบันสัจจะความจริงในใจเข้าใจหมด แต่การดำรงชีวิต ชีวิตก็คือชีวิต โลก เพราะมนุษย์ คน ใจเป็นพระโสดาบัน แต่ร่างกายนั้นเป็นคน

สิ่งที่เป็นคน มันสภาวะของโลกมันต้องอยู่อาศัย ความเป็นไปของจิตมันก็หมุนเวียนอยู่อาศัย แต่ถ้าผู้ที่มีอำนาจวาสนา สิ่งที่ได้มา สิ่งที่เราทำมามีคุณประโยชน์ เหมือนกับทางโลกเขาหาแหล่งน้ำมัน ในเมื่อเขาเจาะได้น้ำมัน แล้วเขาจะปิดบ่อทิ้ง คนถ้าปิดบ่อทิ้ง ไม่เอาน้ำมันขึ้นมาใช้ มันลงทุนไปขนาดไหน

นี่ก็เหมือนกัน ขณะที่เราจะเริ่มประพฤติปฏิบัติ จนได้จิต ได้เห็นอกุปปธรรมสภาวะแบบนี้ เราต้องใช้ความอุตสาหะมหาศาลเลย เราลงทุนลงแรงขนาดนี้มันถึงจะเริ่มต่อเข้าไป จะดึงจะสูบน้ำมันนี้ออกมาใช้ให้ได้ นี่เจอธรรมในหัวใจแล้ว

ทำความสงบมากขึ้น ยกขึ้นไปเห็นกาย เวทนาเห็นธรรม เห็นกายก็ได้ เห็นเวทนาก็ได้ เห็นจิตเป็นธรรมก็ได้ เพราะว่าอะไร เพราะครูบาอาจารย์บางองค์ ผ่านโสดาบันโดยเวทนา แล้วก็ผ่านสกิทาคามีโดยกาย ผ่านอนาคามีโดยอสุภะ แล้วก็ผ่านขั้นสุดท้ายผ่านพระอรหันต์โดยจิต นี้ก็เหมือนกัน ครูบาอาจารย์บางองค์ ผ่านกายๆๆ เพราะผ่านกายมันสืบต่อ เช่น ถนน จากเส้นถนนสายหนึ่งถึงจุดหมาย แต่ถ้าบางองค์ขึ้นไปบนถนนสายหนึ่งแล้วเข้าซอย ออกไปอีกเส้นหนึ่ง ไปถึงจุดหมายเหมือนกัน แต่ใช้ถนนหลายเส้นทาง

การใช้ถนนหลายเส้นทาง จะเห็นตรอกซอกซอย เห็นการกระทำของจิต จิตมันจะมีเข้าใจในธรรมะแตกฉาน แต่ถ้าเส้นทางหนึ่ง เราไปทางตรง เส้นทางหนึ่ง เส้นทางนี้จะเข้าถึงเป้าหมายเลย ไปเส้นทางเดียว ทางตรงไปตลอด ไม่ได้เข้าตรอกซอกซอย นี่อยู่ที่อำนาจวาสนา อยู่ที่จิตจะเป็น ไม่ใช่เขียนแผนที่ให้จิตเดิน เขียนแผนที่ให้จิตเดิน ต้องเป็นอย่างนั้นๆ มันเป็นบังคับ เกณฑ์ที่เป็นบังคับ ความสะดวกความสบาย บางทีบางเส้นทาง มันมีเหตุการณ์อย่างไรมันต้องเป็นปัจจุบัน ปัจจุบันต่างๆ

นี่เวลาจิตมันยกขึ้นไป เวลายกขึ้นจากสักกายทิฏฐิ มันก็ยกขึ้นไป ให้เห็นกายก็ได้ เวทนาก็ได้ จิตก็ได้ ให้เห็นเวทนา ต่างคนต่างวิปัสสนาไป บ่อยครั้งเข้า หมั่นคราดหมั่นไถโดยใช้ปัญญา ปัญญาอย่างนี้เป็นโลกุตตรปัญญา

ถ้าใช้บ่อยเข้า แล้วโลกุตตรปัญญาจะโดยเป็นโลกุตตรปัญญาโดยอัตตา...ไม่ใช่

โลกุตตรปัญญาต่อเมื่อมีสมาธิ เมื่อมีหลักเกณฑ์ของใจ เมื่อเรามีจุดยืน เราไม่เป็นหนี้เป็นสิน เราจะทำงานของเราด้วยความปลอดโปร่ง

ถ้าเมื่อใด เราใช้บ่อยครั้งเข้าจนเงินเราหมด จนสิ่งต่างๆ สิ่งที่เราใช้สอยอยู่นี้มันสึกหรอไป มันจะเป็นโลกียปัญญาขึ้นมาได้ โลกียปัญญาเพราะอะไร เพราะจิตมันมีกิเลสอยู่ เพราะสิ่งที่เป็นกิเลสอยู่มันก็เอาสัญญา เอาความเห็นของมันเข้ามาร่วมด้วย ก็เป็นปัญญาขี้ข้าไง เพราะมีตัวตนไง ถึงต้องกำหนดพุทโธตลอดไปไง

สิ่งที่เป็นอกุปปธรรมขั้นโสดาบันตายตัว แต่ขณะที่จิต ขั้นของสกิทาคามีมันมีกิเลสที่อันละเอียดกว่า เพราะสิ่งที่จะเข้าผ่านสกิทาคามี กามราคะ-ปฏิฆะจะอ่อนตัวลง สิ่งที่ยังไม่อ่อนตัวลง สิ่งที่กิเลสตัวหยาบ คือเหลนโดนฆ่าไปแล้ว แต่ตัวหลาน ตัวพ่อ ตัวปู่ กิเลสแต่ละตัวมันสถานะมันต่างกัน สิ่งที่ต่างกัน ขณะที่ใช้ปัญญาไปแล้ว มันถึงว่าต้องกลับมาที่ความสงบบ่อยครั้งๆ

การเดินระหว่างสมถะกับวิปัสสนาถึงต้องเดินไปพร้อมกัน

เดินขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป เดินขึ้นไป ขณะที่วิปัสสนาไป มันมีปัญหาขึ้นมา เราก็กลับมาที่ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ กลับมาที่พุทโธก็ได้ เพราะพุทโธ เราระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ เป็นคุณธรรม

ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัย ธรรมและวินัยเป็นแผนที่นะ ขณะที่แผนที่เป็นหลักการ แต่การประพฤติปฏิบัติเป็นความจริง แผนที่หลักการ ถ้าหลักการเราศึกษาเป็นทฤษฎี แต่สัจจะความจริงต้องปฏิบัติอย่างเดียว

“ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ” ถ้าไม่มีการปฏิบัติ จิตนี้ไม่มีการกระทำ ไม่มีกิจจญาณ สิ่งที่สัญญา มันเป็นเรื่องของเงา เงาของจิต ว่าสัญญา ขันธ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ การศึกษานี้ศึกษาโดยสัญญาทั้งหมด แต่การประพฤติปฏิบัติ ถ้าเป็นสัญญามันเป็นโลก มันจะเป็นโลกุตตรธรรมไม่ได้

มันจะต้องเป็นสัจจะความจริง แล้วสัจจะความจริงไม่ได้เป็นสัญญาเหรอ? ไม่เป็นสัญญา

มันเป็นสังขาร มันมีสมาธิ มันเป็นมรรค มรรคขึ้นมา

สิ่งที่ถ้ามันโต้แย้ง กิเลสมันโต้แย้งนะ มันจะบอกว่าสิ่งนี้มันเป็นชื่อเดียวกัน เป็นชื่อเดียวกัน แบงค์เหมือนกัน เงินเหมือนกันนะ เป็นเงินที่กู้ยืมมากับเงินของเราเองมันต่างกัน แต่เงินเหมือนกัน ธรรมก็เหมือนกัน ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่จริงๆ แต่ไม่ใช่ของเรา

แต่ถ้าเป็นของเรานะ มันจะเกิดขึ้นมาจากเรา ธรรมจะเกิดขึ้นมาจากเราจากภายใน ถ้าเกิดจากภายใน เกิดจากความจริงขึ้นมาเป็นของเราขึ้นมา สิ่งนี้ถึงจะเป็นประโยชน์ ถ้าเป็นประโยชน์กับเรา มันก็เป็นแก้กิเลสเรา

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแก้กิเลสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เสวยวิมุตติสุขแน่นอน เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอานนท์ถามว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย “อานนท์เราไม่ได้เอาธรรมของใครไป เอาของเราไปคนเดียว”

“ไม่ได้เอาธรรมของใครไป” ฟังสิ นั้น ๒,๐๐๐ กว่าปีมาแล้วนะ

แล้วในยุคปัจจุบันเรา หลวงปู่มั่นประพฤติปฏิบัติขึ้นมา นี่ก็ธรรมของหลวงปู่มั่น แต่อาศัยธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องดำเนิน เพราะเราเป็นสาวก-สาวกะ สาวก-สาวกะถ้าไม่ได้ยินไม่ได้ฟังขึ้นมา มันมาจากไหน? ไม่มีนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรม ดูสิ ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ มีธรรมที่ไหน มันมีแต่ความเห็น ไม่ใช่ธรรมเลย มีแต่ความเห็นนะ สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้มีคุณประโยชน์ แล้วมันทุกข์ไหมล่ะ? มันทุกข์เพราะอะไร เพราะมันแก้กิเลสไม่ได้

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว จะวางไว้ ถึงจะว่าเป็นธรรม พอเป็นธรรมเพราะว่าเป็นศาสนาพุทธไง พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตัวพุทธะนั่นคือตัวอวิชชา ถ้าตัวอวิชชาเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำลายอวิชชาแล้ว ถึงเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมา แต่เพียงแต่ชื่อไง เราเอาชื่อมาเป็นความจริง ถ้าเราเอาชื่อมาเป็นความจริง มันก็เลยไม่เป็นความจริงขึ้นมาสักทีไง

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติเข้าไป จิตมันก็เป็นความจริงขึ้นมา เพราะจิตมันสงบเข้ามา มันเป็นพุทโธๆๆๆๆ จนพุทโธไม่ได้เลย จิตเป็นอัปปนาสมาธิ พุทโธไม่ได้ ขณะพุทโธไม่ได้ มันเป็นอย่างไร? มันเป็นสักแต่ว่ารู้ มันเป็นตัวพุทธะ นึกออกมาไม่ได้ แต่มันมีสักแต่ว่ารู้ มันรู้อยู่ จิตต้องรู้อยู่ ต้องมีสติสัมปชัญญะพร้อม ไม่ใช่หายไป ไม่ใช่ “สักแต่ว่ารู้” ไม่ใช่หายไป รู้อยู่ตลอดเวลา เพราะอะไร เพราะมันเป็นตัวภวาสวะ มันเป็นตัวจิต มันเป็นตัวธาตุรู้ มันจะหายไปได้อย่างไร มันหายไม่ได้หรอก

แต่ถ้าเป็นปริยัติ เราว่าพุทโธๆ จนพุทโธไม่ได้ ผู้รู้มันจะเบิกบานขนาดไหนมันก็เป็นตัวอวิชชา จะเบิกบานขนาดไหน ตัวนี้เป็นตัวภวาสวะ เป็นตัวภพ เป็นตัวทุกข์ เป็นตัวสุข เวลาสุขขึ้นมา จิตสงบมันก็มีความสุขของมัน แล้วเวลามันทุกข์ขึ้นมาล่ะ เวลาทุกข์ขึ้นมาทำไมหน้านิ่วคิ้วขมวดล่ะ เวลาปฏิบัติขึ้นมาไม่ได้ผล ทำไมไม่ทุกข์ไม่ยากล่ะ แต่เวลามันเป็นขึ้นมา ทำไมไปติดข้องมันล่ะ นี่มันถึงว่าเป็นเงินกู้ยืมไง เงินกู้ยืมเราต้องใช้เงินคืนนะ แล้วต้องดอกเบี้ยด้วย ถ้าเราคิดอย่างนั้น

ผู้ที่ถ้าเป็นศีลธรรมจริยธรรม เราเป็นนักบวช เราเป็นชาวพุทธ เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะเป็นผู้ที่สั่งสอน สั่งสอนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้ามันเป็นโดยตรง มันก็ได้บุญกุศล ถ้าเราเอาความเห็น เอากิเลสบวกเข้าไป

เวลาธรรมขององค์หลวงปู่มั่น ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทองคำบริสุทธิ์ ถ้าสถิตในใจปุถุชนก็สกปรกมาก ถ้าสถิตในใจของพระโสดาบันก็สกปรก ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ถ้าสถิตในใจของพระสกิทาคามีก็สกปรก ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าสถิตในใจของพระอนาคามีก็สกปรก ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ถ้าสถิตในใจพระอรหันต์บริสุทธิ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะเป็นธรรมของพระอรหันต์ขึ้นมาโดยสัจจะความจริง

สิ่งนี้ถ้าออกมาแล้ว มันถึงธรรมออกจากใจ ธรรมออกจากความบริสุทธิ์อย่างนี้มันถึงจะเป็นธรรมที่เข้าสะเทือนหัวใจเราไง สะเทือนกิเลสเรา เพราะกิเลสเรามันมืดบอด แล้วทำความจริงอันนั้นมา

แต่ถ้าเป็นธรรมที่ออกมาจากการศึกษา มันเป็นธรรมที่ออกมาจากหัวใจที่สกปรก แล้วถ้าเราบิดเบือนเพราะเราเห็นแก่ลาภ ถ้าเราหมดชีวิตไป มันจะตกนรกอเวจีเพราะอะไร เพราะไปกล่าวถูกพุทธพจน์ กล่าวตู่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อลาภสักการะ เพื่อเรา เห็นไหม เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาหาผลประโยชน์ มันเป็นธุรกิจการค้า มันเป็นสิ่งหาลาภสักการะ มันไม่ได้แสดงธรรมโดยธรรม

ถ้าแสดงธรรมโดยธรรม แสดงธรรม มันต้องธรรมเป็นธรรมที่ออกมาจากใจสิ ออกมาจากความรู้สึกอันนั้น มันจะเป็นอกุศลออกมาไม่ได้ เพราะสิ่งที่เป็นอกุศลมันขัดกับความจริง ขัดกับความจริงว่าจิตนี้เป็นธรรม จิตนี้มันเป็นสิ่งที่น้ำสะอาด ถ้ามีสิ่งใดสกปรกเข้ามามันจะรู้จักจิตที่มันจะต่อต้านทันที เพราะมันเป็นสิ่งที่สกปรกเข้ามา เหมือนกับเรา ใครบ้างต้องการเอาเชื้อโรคมาใส่เรา ใครบ้างต้องการกินเชื้อโรคเข้าไปให้ตัวเราเป็นโรค มันจะเป็นโรคไม่ได้ เพราะว่าจิตนี้มันรู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก มันทำไม่ได้ ถ้าทำไม่ได้ สิ่งสภาวะแบบนั้น

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ไง ไม่ได้เอาธรรมของใครไปเลย ธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการกับพระอานนท์ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว แล้วในปัจจุบันนี้ ทำไมครูบาอาจารย์เราถึงเป้าหมายได้ล่ะ ถึงธรรม ถึงที่สุดของทุกข์ได้ล่ะ ถึงการประพฤติปฏิบัติได้ล่ะ แล้วเรามีความสนใจของเราขึ้นมา

เราเห็นคุณค่าไหม เห็นคุณค่าของกาลเวลาไหม เห็นคุณค่าของธรรมของครูบาอาจารย์ไหม เห็นคุณค่าของธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางศาสนาพุทธไว้ไหม แล้วเห็นคุณค่าของการจิตประพฤติปฏิบัติขึ้นมาที่มันประสบความสำเร็จบ้างไหม ถ้าเห็นคุณค่าขึ้นมา คุณค่าของธรรมประเสริฐมาก

แต่ถ้าศีลธรรมจริยธรรมของโลกเขา เราก็อยู่กับโลก เราอยู่กับโลกนะ เราไม่ใช่อยู่เหนือโลกหรอก แต่ถ้าเราอยู่กับโลก ถ้าใจเราเหนือโลกขึ้นมา มันอยู่กับใจของเรา วิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า ถึงที่สุดมันจะปล่อย มันจะวางขนาดไหนต้องหมั่นคราดหมั่นไถ จนที่สุดจิตกับกายแยกออกจากกัน โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง กามราคะ ปฏิฆะอ่อนตัวลง แล้วว่างมาก เพราะจิตมันจะปล่อยวางมาก ถ้าไม่มีความมุมานะ จิตจะติดตรงนี้

แต่ถ้ามีความมุมานะ มีความเฉลียวใจ คนที่ฟังเทศน์ แล้วเอาเทศน์เป็นหลักการ เอาหลักการว่าจิตเราจะเดินเป็นขั้นตอนอย่างนั้น ให้คอยตรวจสอบจิตตลอดเวลา มันจะออกแสวงหานะ แต่การจับนี่จับยาก การค้นคว้า การค้นคว้าเพราะมันจะจับยาก เพราะมันละเอียดขึ้นไป ถ้าจับได้ เห็นไหม กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนกัน ถ้ากาย เวทนา จิต ธรรม นี่ขั้นของกามราคะ สิ่งที่ขั้นของกามราคะ สิ่งนี้ สิ่งที่โลกนี้ติดอยู่ ติดในโอฆะ

เวลาเราอยู่กันทางโลกนะ สิ่งที่ความบาดหมาดกันมากที่สุดก็คือเรื่องของกามราคะ กามฉันทะ ความพอใจในกามฉันทะ คือความพอใจ คือความแสวงหา แต่การกามราคะ มันมีตัวสอดรับ คือปฏิฆะ กามราคะ คำว่า “ปฏิฆะ” มันมีข้อมูลของใจไง ใจมันติดข้อง เหมือนกับสิ่งที่ ถ้าสิ่งใดมีเชื้อไขอยู่ นี่ปฏิฆะคือเชื้อไข ชอบและไม่ชอบของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ความชอบและไม่ชอบอันนี้ แต่ผลของมันคือกามเหมือนกันหมด แต่ปฏิฆะไม่เหมือนกัน

ถ้ามันตอบสนองกับจิตดวงไหน การแก้ไข การวิปัสสนามันถึงต้องขุดคุ้ย ต้องทำลาย ต้องสิ่งต่างๆ แล้วมันมีที่ไหนล่ะ? มันมีในศาสนาพุทธเรานี่ไง มันมีในศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาสิ่งนี้ออกมา แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทำลายแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ครูบาอาจารย์ของเราเจอสิ่งนี้มา

สิ่งนี้ สิ่งที่กิจจญาณ ที่จิตเข้าไปห้ำหั่น เข้าไปทำลายกัน เข้าไปวิปัสสนาญาณ เข้าไปทำลาย ถ้าเป็นอสุภะวิปัสสนาแล้วปล่อยๆ วิปัสสนาแล้วเยิ้มไปๆ โอ้โฮ! สิ่งที่ว่ามันเป็นความสะอิดสะเอียนในหัวใจ แล้วมันเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร ถ้าจิตดีนะ

ถ้าจิตไม่ดี จิตที่ไม่มีสมาธิ มองว่าสิ่งนี้สวยงาม สิ่งนี้พอใจ มันยังเคลิบเคลิ้มไปนะ ถึงต้องไม่เสียดายอารมณ์ความรู้สึกไง อารมณ์ความรู้สึกที่ว่าได้สัมผัส ได้อะไร ถ้ามันเป็นสิ่งที่ว่าน่าสะอิดเอียน แต่ก็ชอบ แต่ก็ขอเล่นก่อนได้ไหม ขอเอาไว้ทะนุถนอม เอาไว้ทดสอบก่อน นี่กิเลสมันจะมีเล่ห์มีเหลี่ยมของมัน เพราะมีเชื้อ มีสิ่งตอบสนอง คือปฏิฆะ คือข้อมูลของใจมันตอบสนอง

แต่ถ้าจิตมันใคร่ครวญมันเห็นโทษขึ้นมาบ่อยครั้ง สิ่งที่ตอบสนอง ถ้าเราไม่มีกำลังพอ เดี๋ยวมันจะดึงเราลงต่ำ ถ้าดึงเราลงต่ำ เราจะไม่ประมาทของเรา เราใช้วิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า มันก็เริ่มคล่องตัวขึ้น เริ่มละเอียดอ่อนขึ้น เริ่มดึงเข้ามาใกล้เคียงขึ้น กำหนดปั๊บจะเป็นไปสภาวะเห็นพร้อม เห็นพร้อม เพราะจิตนี้เริ่มสะอาดขึ้น กิเลสมันสิ่งหยาบๆ มันเริ่มปล่อยเรา

เหมือนน้ำ มันเริ่มสะอาดขึ้นมา มันเริ่มจะใช้งานได้ เราเห็นว่าน้ำนี้มันเกือบสะอาดแล้ว เราจะใช้งานได้ เราก็ไปเพลิดเพลินกับมันไง ถ้าเรา...มันใช้กำลัง ใช้บำรุงรักษาน้อยลง กลิ่นไม่เหม็น กลิ่นต่างๆ สิ่งนี้ จิตก็เหมือนกันว่าเริ่มสะอาดขึ้นมา กามราคะ วิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า ปัญญามันจะหมุนง่าย มันจะเป็นไปได้ง่ายไง บ่อยครั้งๆ จนมันเข้ามาที่ใจ แล้วทำลายลงที่ใจ

ขันธ์กับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน กามราคะกับจิต ตัณหานางอรดีไม่ใช่จิต อวิชชาไม่ใช่จิต ตัวอวิชชา เพราะนางอรดี นางตัณหามันคนละส่วนกัน นี่เหลน หลาน พ่อ ตัวพ่อคือตัวกำลัง ตัวที่บริหารจัดการในวัฏจักร สิ่งที่ตัวบริหารจัดการในวัฏจักร เราได้ทำลาย ครืน! ในหัวใจ นี่ใช้ปัญญาใคร่ครวญต่อขึ้นไป บ่อยครั้งเข้า จนถึงที่สุด ว่างหมดเลย นี่ตัวอวิชชา

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส” นี่อรหัตตมรรค ละเอียดอ่อนมาก ละเอียดอ่อนเพราะสิ่งที่มันเป็นปัญญาญาณ ละเอียดกว่าที่ปัญญา...ปัญญา เห็นไหม โสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรค อนาคามรรค ว่าปัญญาที่ละเอียดแล้วนะ สิ่งที่เป็นปัญญาญาณยิ่งละเอียดเข้าไปใหญ่ นี่ถ้าไม่มีอำนาจวาสนาติดไปหมด แล้วต่อไปในอนาคต ไม่มีครูมีอาจารย์คอยชี้นำ จะติด ติดแน่นอน

แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยมีเทศนาว่าการไง ถ้าเราฟังครูบาอาจารย์เทศนาว่าการแล้วเราเอาจิตเราเทียบไง ถ้าจิตเทียบมันไม่ถึงกัน พอไม่ถึงกัน สิ่งนี้เราขาดตอน ถ้าเราขาดตอน มันจะเริ่มออกทดสอบ ทดสอบ ถ้ามีวาสนา ถ้าไม่มีวาสนา ไม่ยอมทดสอบ ปฏิเสธ แล้วว่า สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม ก็ฝังจมอยู่แค่นั้น เกิดบนพรหม

แต่ถ้ามีวาสนา ย้อนกลับไปมันจะเจอ สิ่งที่เจอ “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส” แล้วปัญญาญาณอย่างนี้ “รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา”

“รูปราคะ อรูปราคะ” มันเป็นสมาบัติไง “รูปฌาน อรูปฌาน” สิ่งที่เป็นรูปฌาน อรูปฌาน มันยังเป็นสังโยชน์ ความว่าง สิ่งที่สะอาด มันยังเป็นสังโยชน์ มันยังเป็นกิเลสของขั้นอรหัตตมรรค รูปราคะ อรูปราคะ มันเป็นราคะๆ สมาบัติมันเป็นราคะ สิ่งที่เป็นความว่างเป็นราคะ เพราะจิตมันติด เพราะมีอวิชชา มันมีแสงสว่างมันถึงติด ถ้าย้อนกลับเข้าไป

คุณธรรมนะ “คุณธรรมของธรรมะ” ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสุดยอดมาก ถ้ามีความละเอียดขนาดนี้ ย้อนจับตรงนี้ได้ แล้วทำลายตรงนี้ ละเอียดอ่อนสุดๆ แล้วถ้าทำลายสิ้นไป กระบวนการ คุณค่าของธรรม ใจเป็นธรรมเสียเอง ถ้าใจดวงนี้เป็นธรรมนะ เห็นธรรมเต็มหัวใจ สภาวธรรม เห็นไหม แล้วกราบไหว้ ครูบาอาจารย์จะกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กตัญญูกตเวทีพระธรรม เพราะกว่าเราจะได้เห็นธรรม กว่าได้บรรลุธรรม กว่าได้ปฏิบัติธรรม

แล้วธรรมอันนี้มันมาจากไหน มันมาจากไหน?

มาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้า มาจากครูบาอาจารย์ของเราใช้ชีวิตทั้งชีวิตตรวจสอบ ทดสอบ แล้วเอาสิ่งนี้มาเทศนาว่าการ ฝึกฝนพวกเราขึ้นมา เราจะเป็นฝ่ายก้าวเดินพุทธชิโนรส ศากยบุตร พุทธชิโนรส เราจะเป็นลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะเป็นลูกศิษย์ที่มีครู เราจะเป็นลูกศิษย์ที่หมั่นเพียร เราจะเป็นลูกศิษย์พยายามขวนขวายให้เห็นคุณค่าของธรรมะ เอวัง