เขาว่า
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์พระ วันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจฟังธรรมะ ตั้งใจฟังธรรม วันนี้เรามาลงอุโบสถ เรามาลงอุโบสถศีล คำว่าลงอุโบสถ เห็นไหม เพื่อเข้าหมู่เข้าคณะ การเข้าหมู่เข้าคณะเพื่อความเสมอกันโดยศีล ถ้าความเสมอกันโดยศีล เห็นไหม เนี่ยสัปปายะ ๔ ครูบาอาจารย์สัปปายะ อาหารเป็นสัปปายะ หมู่คณะเป็นสัปปายะ สถานที่เป็นสัปปายะ สัปปายะ ๔ สัปปายะ ๔ เป็นที่ที่ควรแก่การภาวนา เวลาคนภาวนาเขาหาๆ สัปปายะ หาที่เหมาะสมที่ควรแก่การภาวนา
นี่การภาวนา เห็นไหม เราบวชเป็นพระ บวชเป็นพระขึ้นมา เราขวนขวายเพื่อจะประพฤติปฏิบัติ เราจะประพฤติปฏิบัติเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส เป็นบุตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นนะ ๖ ปี เวลารื้อค้น ๖ ปี รื้อค้นเพื่ออะไร เพื่อชีวิตของท่าน เพื่อชีวิตของท่านเพื่อพ้นจากทุกข์ไง
องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เวลาจะครองราชย์สมบัติ เห็นไหม มีความทุกข์ความยากไปทั้งนั้น สถานะของความเป็นกษัตริย์ เห็นไหม สิ่งที่สถานะของความเป็นกษัตริย์ แต่ด้วยอำนาจวาสนาบารมีของท่าน ท่านไปเที่ยวสวนเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มันต้องมีฝ่ายตรงข้าม ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ท่านถึงแสวงหาความเป็นจริงในใจอันนั้น ถ้าแสวงหาความจริงในใจอันนั้นจนประสบความสำเร็จในใจอันนั้น ท่านเสวยวิมุตติสุขๆ เห็นไหม วิมุตติสุขนี้ได้มาๆ เพราะความปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ด้วยอำนาจวาสนาบารมีอันนั้นถึงจะค้นคว้ามาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
เวลาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เห็นไหม เสวยวิมุตติสุข การเสวยวิมุตติสุขปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ รื้อสัตว์ขนสัตว์ก็พวกเรานี่ไง ปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ เห็นไหม ในสหชาติในเกิดร่วมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ขวนขวาย ได้การประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม นี่วันมาฆบูชาพระสงฆ์ ๑,๒๕๐ องค์เป็นพระอรหันต์ เป็นเอหิภิกขุ คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบวชให้ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้เทศนาว่าการ เป็นผู้อบรมสั่งสอนด้วย อบรมสั่งสอนจนเป็นพระอรหันต์ไง
ความเป็นพระอรหันต์คือสิ้นสุดแห่งทุกข์ สิ้นสุดแห่งทุกข์แบบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มันต้องมีฝ่ายตรงข้าม ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ถ้าไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย มันต้องมีเหตุมีผลทำไมถึงไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ถ้ามันมีเหตุมีผลของมันคือมรรคญาณ คือความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รื้อค้นๆ มา รื้อค้นกับเจ้าลัทธิต่างๆ รื้อค้นมาขนาดไหนมันก็ไม่เป็นความจริง เวลามาเป็นความจริง มาเป็นความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เป็นวิชชา ๓ เห็นไหม บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ นั่นคือสัจจะคือความเป็นจริงที่เกิดในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นโลกุตตรปัญญา ปัญญาพ้นจากโลกๆ ไง
เรามีสติมีปัญญา เราเห็นภัยในวัฏสงสาร เราเลยมาบวชเป็นพระไง พอบวชเป็นพระขึ้นมา เห็นไหม วันนี้วันอุโบสถ เรามาลงอุโบสถสังฆกรรม มาเข้าหมู่สงฆ์ๆ หมู่สงฆ์ที่ความ เสมอภาคกัน ความเสมอภาค ความเสมอภาคก็โดยศีล โดยศีลบวชมาแล้วศีล ๒๒๗ เท่ากัน มีความเสมอภาคเหมือนกัน เวลาบวชมาแล้วเป็นสมมติสงฆ์ๆ เห็นไหม สงฆ์ยกเข้าหมู่ ยกเข้าหมู่แล้ว เห็นไหม เรามีสัจจะมีความจริงของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมาให้เป็นความจริงในใจของเราไง ถ้ามันยังไม่เป็นความจริงในใจของเรา เห็นไหม เรามาเข้าหมู่ เรามีครูมีอาจารย์ของเรา ครูบาอาจารย์ของเราอบรมสั่งสอน สั่งสอนขึ้นมา สั่งสอนเทศนาว่าการเพื่อขัดเกลา ขัดเกลา เห็นไหม นี่อริยประเพณี อริยประเพณีเพื่อเป็นประเพณีของพระอริยเจ้า
ของเราเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าไม่มีความจริงในใจของเรา เราก็พยายามสิ่งนั้นบ่มเพาะในใจของเรา เห็นไหม สิ่งที่เป็นอริยประเพณี ถ้าประเพณีทำบำรุงหัวใจของเราให้มันเป็นสัจจะเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นสัจจะเป็นความจริงขึ้นมา เราขวนขวายของเรา ขัดเกลากิเลสของเราๆ เห็นไหม เวลาเข้าพรรษาของเรา เราถือธุดงควัตรๆ เห็นไหม เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส เป็นเครื่องๆๆ เป็นเครื่องขัดเกลาคือมันเป็นการประพฤติปฏิบัติ มันเป็นการบ่มเพาะไง
ถ้ามันเป็นความจริง ความจริงมันเป็นความจริงในใจของเรา ถ้าเป็นสมาธิขึ้นมา มันมีคุณค่าที่สมาธินั้นไง ถ้าเราบวชมา เราบวชมาเราบวชมาเพื่อเหตุนี้ เราบวชมาเพื่อประพฤติปฏิบัติ เพื่ออบรมหัวใจของเรา เพื่อขัดเกลาในใจของเรา เพื่อเอาใจของเราให้พ้นจากทุกข์ ถ้าเอาในใจให้พ้นจากทุกข์ แต่เราเป็นพระใช่ไหม เราบวชเป็นสงฆ์ เห็นไหม สงฆ์ยกเข้าหมู่ ยกเข้าหมู่ เห็นไหม เป็นสังฆะ สังฆะขึ้นมา ๔ องค์ก็เป็นสงฆ์ๆ เป็นสงฆ์ขึ้นมามันต้องอยู่ร่วมกัน การอยู่ร่วมกัน เห็นไหม ความเป็นอยู่ร่วมกันมันมีจริตมีนิสัยแตกต่างกัน แตกต่างกัน ต่างคนต่างก็ขวนขวายขึ้นมาเพื่อชำระกิเลสในใจของตน ถ้าชำระกิเลสในใจของตน เห็นไหม การกระทำมันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นอัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน มันเป็นเรื่องของตน
เวลาประพฤติปฏิบัติเป็นเรื่องของตน เป็นเรื่องของเราเอง เป็นเรื่องของหัวใจของเราเอง แต่หัวใจของเราเอง ใจมันอยู่ในร่างกายนี้ใช่ไหม ถ้าร่างกายนี้เกิดมา เกิดจากพ่อจากแม่ พอเกิดจากพ่อจากแม่ขึ้นมาเป็นโลก พอเป็นโลกขึ้นมามันก็เป็นมนุษย์ มันก็เป็นสังคม สังคมขึ้นมาสังคมทางโลก เห็นไหม เวลาเห็นภัยในวัฏสงสารมาบวชเป็นพระ พอบวชเป็นพระมันก็เป็นสังคมของพระ ถ้าสังคมของพระความเป็นอยู่ของเรา เห็นไหม เรามีน้ำใจต่อกัน เราเห็นแต่คนปรารถนา คนมีเป้าหมาย คนที่เขาพยายามปั้นของเขา เราส่งเสริมเขาๆ เราส่งเสริม จะส่งเสริมมันเหมือนเท่ากับส่งเสริมเรา เราก็อยากได้อย่างนั้น เราอยากประพฤติปฏิบัติอย่างนั้น
แต่ถ้าเรามาแล้ว เห็นไหม ร่างกายของมนุษย์มันก็มีอวัยวะต่างๆ อวัยวะต่างๆ มันก็ทำหน้าที่ของมันตามหน้าที่ของอวัยวะประเภทนั้น นี่ก็เหมือนกัน คนบวชมาพรรษามากพรรษาน้อยขึ้นมา เห็นไหม แล้วแต่อบรมบ่มเพาะ อบรมบ่มเพาะมีความรับผิดชอบมากน้อยขนาดไหนมันก็เหมือนอวัยวะหนึ่ง อวัยวะหนึ่งมันก็ทำตามหน้าที่ของอวัยวะนั้น มันก็เป็นร่างกายที่สมบูรณ์ ร่างกายที่ไม่พิการ นี่เหมือนกัน ในสังคมสงฆ์ๆ ใครมีหน้าที่สิ่งใดก็ทำหน้าที่ของเขา เราก็มีความรับผิดชอบ คอยช่วยเหลือเจือจานกัน คอยส่งเสริมกัน ส่งเสริมกันเพื่อเป็นสังคมไง เพื่อเป็นสังฆะไง แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันก็เป็นความจริงในใจของเราไง
นี่เห็นไหม ดูสิ ในพุทธศาสนาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เวลาศึกษาๆ ก็สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา เวลาศึกษามาๆ ศึกษามาก็เป็นความจำ ศึกษามาเป็นทฤษฎี ศึกษาเป็นธรรมวินัย เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ใช่เรา ถ้าจะเป็นเราๆ ขึ้นมา เราต้องทำความสงบใจของเราเข้ามา ถ้าใจเราสงบเข้ามาถึงจะเป็นเรา แต่ศึกษามาๆ เป็นความจำทั้งนั้น เป็นความจำ เป็นสัญญา แต่สิ่งสัญญา เห็นไหม เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สัจธรรม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ เวลาครูบาอาจารย์ของเรา ท่านไม่มีความสงสัยเคลือบแคลงในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย
หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านเคารพบูชามาก ครูบาอาจารย์ของเรา พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ท่านเชิดไว้บนศีรษะเลย สิ่งนี้สูงส่ง สุดยอด หลวงปู่มั่นท่านเคารพมาก เคารพในตัวอักษรนั่นน่ะ ท่านเคารพธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม สิ่งที่เคารพมากๆ สิ่งนั้น เห็นไหม เวลาท่านไม่มีความขัดแย้ง ไม่มีความเห็นแตกต่างเลย เห็นไหม เวลาเขาบอก เขาว่าปลา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าปลา หลวงปู่มั่นท่านก็ว่าปลา
เขาว่าปลา ไอ้เราศึกษามาๆ เขาว่าปลาๆ เวลาศึกษาขึ้นมา เห็นไหม เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราจะมาปฏิบัติของเราเอง ปฏิบัติของเราเอง เราไปค้นคว้าในใจของเรา มันเป็นปู เอ้า เขาว่าปลา เอ้า เขาว่าปลา ไอ้ของเรามันปู มันไม่เห็น ไม่เหมือนกัน ความเห็นไม่เหมือนกัน ความเห็นแตกต่างกัน นั่นเขาว่าปลา ปลามีรูปร่างลักษณะอย่างไร ดูสิ ปลาสายพันธุ์ใด ปลาสายพันธุ์ใด ปลาลักษณะใดมันก็เป็นปลา แต่ของเรา เห็นไหม เป็นสาหร่ายด้วย มันไม่ใช่ปูด้วย สิ่งมีชีวิตเป็นสาหร่าย สาหร่ายในน้ำนั่นน่ะ สิ่งนั้นมันมีชีวิตอยู่ในน้ำนั้น แล้วมันก็เป็นอาหารของปลา อาหารของสัตว์ สิ่งที่ความรู้สึกนึกคิดของเรา มันไม่มีอะไรจริงสักอย่างหนึ่ง
เวลาเขาว่า เขาว่ามีการศึกษามา เขาว่าธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านไม่เห็นมีความเห็นแย้งเลย เวลาเขาว่าปลาก็ปลาจริงๆ เขาว่าปลาก็ปลา มันอยู่ในน้ำมันก็เป็นปลาจริงๆ มันวางไข่ของมัน เห็นไหม มันแพร่พันธุ์ของมัน มันขยายพันธุ์ของมัน โอ้โฮ มันชุกชุม มันมีความสุขของมัน มันว่ายน้ำ มันดูแล เห็นไหม ดูแลลูกมัน มันคุ้มครองดูแลทั้งนั้น มันพยายามส่งต่อสายพันธุ์ของมัน มันมีความสุขของมัน มันรักใคร่ของมัน มันมีความผูกพันของมัน เขาว่าปลา ท่านก็เห็นว่าปลา ไอ้ของเราเห็นว่าปู
เวลาปฏิบัติขึ้นไป มันหาความจริงมาจากไหน มันมีความจริงในใจของเราหรือไม่ เรารู้เห็นสิ่งใด ถ้าเราจะปฏิบัติตามความเป็นจริง ความเป็นจริง เห็นไหม เวลาเคารพบูชา เคารพบูชาแตกต่างกันไง เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านเคารพบูชาด้วยใจของท่าน ท่านเคารพบูชาด้วยสัจจะความจริงของท่าน ความจริงของท่านมันเป็นความจริงอยู่อย่างนั้น
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม สัจธรรมๆ สัจธรรมอย่างไร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม วันมาฆบูชา เอหิภิกขุพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ บวชให้เอง อบรมเอง สิ้นกิเลสเอง ยืนยันเอง สัจจะจริง จริงหมดเลย เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านปฏิบัติของท่าน ท่านก็เห็นดีเห็นงามไปตามนั้น ไม่มีอะไรขัดแย้งเลย เขาว่าปลาก็ปลาจริงๆ เคารพบูชาด้วยความเป็นจริงของท่าน
ไอ้ของเรา เราปฏิบัติของเรา เราเห็นว่าปู เห็นว่าเป็นสาหร่าย เห็นแย้งเห็นต่าง ความเห็นต่างเพราะอะไร เพราะว่าสิ่งนั้นสัจจะเขาว่าปลา ปลามันก็มีจริงๆ อยู่ในท้องทะเล อยู่ในแหล่งน้ำมันมีปลาจริงๆ เราก็เห็นว่าปลา แต่ของเรามันเป็นอย่างนั้นหรือไม่ ถ้าไม่เห็นเป็นอย่างนั้น มันมีความลังเลสงสัยสิ่งใด มันต้องไม่มีความลังเลสงสัยสิ่งใดสิ ไอ้นี่มันกิเลสท่วมหัว มันมีแต่ความลังเลสงสัยไปทั้งสิ้น แล้วก็ปากเปียกปากแฉะไปตามนั้น ไอ้นั่นมันท่องจำทั้งนั้น
ความท่องจำมันก็เป็นเรื่องหนึ่งนะ มันเป็นเรื่องภาคปริยัติ เวลาจะปฏิบัติ เห็นไหม เขาบอกการศึกษา การศึกษาแบบท่องจำ ท่องจำขึ้นมาๆ แล้วมันก็ต้องเปรียบเทียบ ต้องคิด ต้องมีสติมีปัญญาแยก นี่ต่อยอดให้มันเป็นความจริงของเราขึ้นมา ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา ฟังธรรมๆ ก็เหมือนกัน ฟังธรรมธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครจะเทศนาว่าการขึ้นมาในพุทธกาลนี้มันก็เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งนั้น ได้ยินได้ฟังมา มันมีวัฒนธรรมมา มันมีรูปแบบมา มีทั้งนั้น แต่ถ้าเป็นจริงๆ เป็นจริงที่ไหน เวลาเราศึกษาๆ ศึกษามาเป็นปริยัติ มันก็มีการศึกษาทั้งนั้น ศึกษาด้วยการท่องจำ ท่องจำขึ้นมาให้มันเป็นความจริงขึ้นมา จินตมยปัญญา จินตนาการศึกษาค้นคว้าของเรา แล้วถ้าเป็นภาวนามยปัญญามันจะเป็นขึ้นมาได้อย่างไร เวลาคนที่ปฏิบัติๆ ภาวนามยปัญญาเขาว่าปลา เวลาปฏิบัติไปมันเป็นปู มันเป็นปลาหมึก มันไม่เห็นเป็นปลาเลย มันเป็นอะไรขึ้นมาในใจของเราล่ะ
ถ้ามันเป็นจริงมันต้องมีสติปัญญาแยกแยะของเรา เห็นไหม สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา โลกียปัญญา ปัญญาเกิดจากการคาดการหมาย การจินตนาการทั้งนั้น ถ้าเป็นภาวนามยปัญญา มันจะเป็นภาวนามยปัญญาได้อย่างไร ไม่มีอำนาจวาสนาอย่างนั้น ดูสิ วุฒิภาวะอย่างนี้จะเกิดภาวนามยปัญญาได้อย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นๆ เกิดขึ้น เห็นไหม ก็เขาว่าปลา มันเกิดขึ้นจากจินตนาการทั้งนั้น ก็เขาว่า เกิดจากเขาว่า เพราะเขาว่า แต่เราว่าอะไร เราอยู่ไหน เขาว่าทั้งนั้น เขาว่าก็ศึกษามาไง เขาว่าไง
เขาว่าในการศึกษา ในการค้นคว้า เขาว่า แต่เขาว่าเขาว่าจริงๆ นะ แล้วเขาเป็นจริงด้วย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติได้จริง เวลาปฏิบัติไปแล้ว เวลาปัญจวัคคีย์ เวลารู้จริงเหมือนกัน ไม่มีใครคัดค้านใคร ดูสิ ยสะ ชฎิลสามพี่น้อง พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ มีใครคัดค้านใคร จะมีคัดค้านคัดค้านแต่ผู้เห็นผิดทั้งนั้น
ในสมัยพุทธกาลเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดำรงชีพอยู่ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติรู้ผิด ดูเทวทัตสิ เทวทัตยังบอกว่าให้ปกครองสงฆ์ จะเสนอแนวทางที่เข้มข้นกว่า แล้วมันเป็นจริงขึ้นมาไหม มันไม่เห็นเป็นจริงเลย นั่นน่ะ นั่นน่ะเขาว่าปู องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าปลา แล้วเขาเห็นแย้งกันไป แต่พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะไม่เห็นต่าง ไม่มีความเห็นต่าง เคารพบูชามาก เคารพบูชาเพราะมันเป็นคุณธรรมไง
นี่แค่จิตสงบนะ เราทำความสงบของใจเข้ามา เราจะเคารพบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก ฤๅษีชีไพร เวลาฤๅษีชีไพรเขาทำสมาธิของเขา เขาได้ฌานสมาบัติของเขา อาฬารดาบส อุทกดาบสได้สมาบัติแปด เขาได้ของเขา เขามีคุณวิเศษของเขาในใจของเขา ไอ้นั่นมันปุถุชนทั้งนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำไมแยกออกไป คัดแยกออกไป ศีล สมาธิ ปัญญา ทำไมไม่บอกสมาบัติล่ะ ทำไมไม่บอกเรื่องฌานล่ะ เวลาเรื่องฌาน ทีนี้พอธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของจิต วุฒิภาวะของจิต เห็นไหม ในสมัยพุทธกาลผู้ที่เขาค้นคว้า ผู้ที่เขาทำเป็นฤๅษีชีไพรเยอะแยะกันไปหมด เขาทำขึ้นมา เห็นไหม มันอภิญญา เรื่องฌานสมาบัติมันก็มีของมัน ทีนี้การเพ่งกสิณเขาก็ทำของเขา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าทำความสงบของใจเข้ามา อานาปานสติ ทำความสงบ ๔๐ วิธีการ ด้วยความทำเป็นสัมมาทิฏฐิ ด้วยมีสติ ด้วยมีปัญญา ด้วยเข้ามาเพื่อความสงบระงับ เพื่อยกขึ้นสู่วิปัสสนา เขาทำไว้เพื่อสู่วิปัสสนาไง จิตสงบก่อน จิตสงบแล้วค่อยฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นมันเป็นภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นกับสังคม ปัญญาที่เกิดขึ้นกับโลก มันเป็นโลกียปัญญา มันเป็นเชาวน์ปัญญา มันเป็นปฏิภาณ มันเป็นบารมี
บางคนฉลาดๆ มาก ฉลาดขนาดไหนก็ฉลาดแบบโลกๆ ไม่สามารถชำระกิเลสได้ ความฉลาดนั้นฉลาดด้วยวิชาชีพ ฉลาดด้วยทางโลก ไม่เท่าทันตัวเอง ความฉลาดนั้นยกย่องสรรเสริญให้ตัวเองลอยฟ่องขึ้นไป กลายเป็นโลกธรรมแปด กลายเป็นไปลอยอยู่กลางอากาศ ไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์เลย ความฉลาดอย่างนั้นเหรอจะเป็นประโยชน์ ฉลาดอย่างนั้นฉลาดโดยกิเลสไง
เพราะฉลาดต้องทำความสงบของใจให้ได้สิ คนที่ฉลาดต้องทำสมาธิได้ ถ้าทำสมาธิได้ เห็นไหม มันทำความสงบของใจเข้ามานี่คือปัจจัตตัง คืออัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนฉลาดในการใช้สติ ตนฉลาดในการควบคุมดูจิตของตน นี่ตนฉลาด มันถึงเป็นปุถุชน เป็นกัลยาณปุถุชนไง เพราะเป็นปุถุชนคนหนา เป็นปุถุชนคนหนา ทิฏฐิมานะ มีความอหังการ มีความยึดมั่นถือมั่น แล้วว่าตัวเองฉลาดๆ เห็นไหม แต่ถ้าเป็นกัลยาณปุถุชน เห็นไหม รู้เท่าทันตน สิ่งใดที่มันยึดติด สิ่งใดที่มันเกาะเกี่ยวกับใจ ใจที่มันไปเกิดทิฏฐิมานะ เกิดความยึดมั่นถือมั่น อันนั้น เห็นไหม เกิดตัวตนขึ้นมา เกิดความอหังการขึ้นมาในใจ แล้วอหังการขึ้นมาในใจ แล้วก็ถือ ถือไงล่ะ นี่เขาว่า เขาว่าปลา พอเขาว่าปลาก็หยิบฉวยเอาธรรมะอย่างนั้น แล้วอหังการว่าตัวเองเป็นจริง ด้วยปฏิภาณ ด้วยปฏิภาณด้วยสติปัญญาที่ไปหยิบฉวยมา มันไม่เป็นประโยชน์กับใครไง
แต่คนที่เขาฉลาดๆ เห็นไหม เขากำหนดอย่างไรก็ได้ รักษาใจของเรา ใจของเรานี่ธรรมชาติของจิต สันตติมันธรรมชาติที่รู้ มันต้องมีรูปของมัน มีพลังงานของมัน มันมีความมหัศจรรย์ของมัน ทั้งๆ ที่มันมีคุณค่า จิตนี้มีคุณค่ามาก จิตนี้มหัศจรรย์มาก ความมหัศจรรย์จะมากจะน้อยขนาดไหนมันอยู่ที่อำนาจวาสนาบารมีของตน จิตคึกจิตคะนองนะถ้าสงบแล้วเห็นตัวเองไปเดินจงกรมบนก้อนเมฆ เห็นตัวเองลอยอยู่กลางอากาศ ถ้าจิตของเราสงบเฉยๆ สงบจนไม่มีสิ่งใดเลย มันก็สงบเข้ามา แต่! แต่ไม่มีอำนาจวาสนาขึ้นมาโดยการใช้มรรคไง
ถ้ามีอำนาจวาสนาพลิกแพลงเป็นมรรคเป็นผลขึ้นมา อำนาจวาสนามันอยู่ที่นี่ไง อำนาจวาสนามันไม่ใช่ผู้วิเศษ ผู้ที่จิตมันมหัศจรรย์อย่างนั้น จิตมหัศจรรย์อย่างนั้นคือประเภทของจิตที่ครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติมา ท่านรู้เข้าใจถึงประเภทของจิตแต่ละประเภทที่มันมีคุณสมบัติอย่างไร แล้วมันจะแก้ไขของมันอย่างไรไง ถ้าไม่มีการแก้ไข เห็นไหม อำนาจวาสนาของจิตที่การสร้างมา คนเราสร้างมาไม่เหมือนกัน คนเราสร้างมา แม้แต่แค่จิตที่มันสงบ จิตที่มีความสามารถควบคุมตัวเองได้ นั่นก็สุดยอดของคนอยู่แล้ว
แต่ครูบาอาจารย์ที่สร้างมา เห็นไหม อย่างนั้นมันจะมีพระโพธิสัตว์ทำไม พระโพธิสัตว์ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ทำไมมันมีแตกต่างกัน อำนาจวาสนามันเกิดจากตรงนั้นไง คนที่สร้างอำนาจวาสนาบารมีมา มันจะเข้าใจทะลุปรุโปร่งถึงความเป็นไปของจิตทั้งนั้น ถ้าจิตมันความเป็นไป เห็นไหม สิ่งที่เป็นไปๆ พูดถึงว่า เวลาที่จิตมันสงบ ที่มันเท่าทันตัวเองได้ ความเท่าทันตัวเองได้ นี่ๆ อันนี้ต่างหากที่มีวาสนา มีบารมี เพราะอะไร อัตตาหิ อัตตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนไง
ดูสิ เขาว่าปลา เขาว่าปลาก็ศึกษามาๆ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษามาจากครูบาอาจารย์ มันข้อเท็จจริงทั้งนั้น แล้วเราจับได้ไหม เราเห็นปลาหรือเปล่า เรามีความปรารถนาจะจับไหม เราไม่มีความปรารถนาไง เขาว่าปลา ปลาต้องลงไปแม่น้ำ ต้องไปจับสัตว์น้ำนั้น เขาว่าปลา ปลาต้องอยู่ที่นั่น ไอ้นี่ๆ เขาว่าปลา แต่มันไปไหนก็ไม่รู้ จินตนาการไปร้อยแปด แล้วมันจะเข้ากันได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้ที่มันจะไปเจอปลา มันไม่เห็นหรอก มันไม่รู้จักปลาหรอก
แต่ถ้าเราค้นคว้าของเรา เราไปในแนวทางนั้น แนวทางนั้นก็คือว่าเข้าสู่หัวใจ เห็นไหม เวลาเราประพฤติปฏิบัติเข้าไป เราค้นคว้าหาหัวใจของเรา เวลาคนเราเกิดมามีกายกับใจ มีกายกับใจนะ เวลาทำหน้าที่การงานสิ่งใด เราก็ต้องใช้มือ ใช้สมอง ใช้ความคิดอยู่เนี่ย เห็นไหม ทำมาจากร่างกายนั้น ร่างกายนั้นถ้าไม่มีหัวใจก็คือคนตาย คนตายคิดไม่ได้ คนทำทำอะไรไม่ได้ ใจโดยเอกเทศจะอยู่โดยตัวมันเองโดยที่ไม่มีร่างกายนี้มันก็ไม่ใช่คน มันก็เป็นโอปปาติกะไง มันก็เป็นจิตวิญญาณหนึ่งไง มันก็ต้องอยู่ในร่างกายนี้ ถ้าอยู่ในร่างกายนี้มันก็เป็นภพของมนุษย์ไง
ถ้าภพของมนุษย์มีกายกับใจๆ ถ้ากายกับใจ พุทธศาสนาสอนลงที่ใจ ถ้าสอนลงที่ใจ เรื่องของใจ เห็นไหม พระเราก็มีทรัพย์สมบัติคือบริขาร ๘ ทำไมไม่พูดพระเราก็มีหัวใจอย่างเดียวล่ะ มีหัวใจดวงเดียวก็พอ อะไรก็ไม่ต้อง แล้วมันจะดำรงชีพอย่างไร พระเราก็ต้องมีบริขาร ๘ บริขาร ๘ เพื่อเลี้ยงร่างกายนี้ เพราะโดยข้อเท็จจริงมนุษย์มีกายกับใจ แล้วกายกับใจ แต่เวลาธรรมะขึ้นมา สอนขึ้นมาโดยเป้าหมายคือเข้าไปสู่ที่ใจ แต่ก็มีข้อวัตรปฏิบัติ เห็นไหม ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ก็เพื่อควบคุมร่างกายนี้ไว้ เพื่อร่างกายนี้ไว้ เห็นไหม นี่สมณสารูป ทำสิ่งใดให้มันมีความสงบระงับ ทำสิ่งใดให้มีศีลมีธรรม
นี่ไง มันก็เป็นข้อวัตรปฏิบัติ มันก็เข้าสู่หัวใจดวงนี้ ถ้าเข้าสู่หัวใจดวงนี้ ถ้ากำหนดลมหายใจเข้าออก กำหนดอานาปานสติ กำหนดพุทธานุสสติ กลับของเราเข้ามาเข้าไปสู่ใจ เพราะไปสู่ใจ สู่ใจ เห็นไหม เวลาเขาทำงานๆ โดยสมอง คิดงานๆ เขาคิดงานนี่โลกียปัญญา แล้วเราก็ต้องเริ่มต้นจากจุดนี้ เริ่มต้นจากจุดที่เรามีสติปัญญา เห็นไหม เราก็ใช้ความคิดเรานี่แหละ เห็นไหม เรามีกายกับใจ ร่างกายนี้เราก็หาอยู่หากินอยู่แล้ว จิตใจของเราๆ ก็ใช้ปัญญาไล่ต้อนเข้ามา ไล่ต้อนเข้ามา เห็นไหม หดสั้นเข้ามา ปุถุชนคนหนา เวลาคนหนาเวลาคิดเข้าไปคิดแต่เรื่องกิเลสตัณหาความทะยานอยาก นี่ควบคุมตัวเองไม่ได้ ถ้าปัญญามาก มากขนาดไหน มากก็โดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก
คนที่มีสติปัญญา เห็นไหม ใช้สติปัญญา สติปัญญาเท่าทันความคิดของตน ถ้าเท่าทันความคิดของตน เห็นไหม ใช้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ เพราะปัญญาอบรมสมาธิมันปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางอะไร อารมณ์ความคิด คิดถึงเรื่องวัตถุ คิดถึงเราพิจารณาถึงวัตถุ คิดถึงอารมณ์ๆ เวลาพิจารณาไป เห็นไหม อารมณ์เธอก็เป็นวัตถุอันหนึ่ง ถ้าวัตถุอันหนึ่งเราจับต้องของเราได้ มันเป็นนามธรรมๆ จับต้องนามธรรม เห็นไหม มันพิจารณาอารมณ์ความรู้สึก อารมณ์คิดถึงเรื่องอะไร คิดอะไรก็จับอารมณ์นั้นไปเป็นต้นเหตุ แล้วพิจารณาเข้าไป เห็นไหม มันก็เป็นวัตถุอันหนึ่ง เวลามันปล่อยวางอารมณ์อันนั้นๆ ก็ปล่อยวางวัตถุ พอปล่อยวางวัตถุมันก็เข้ามาสู่ใจที่เป็นนามธรรม ถ้าใจเป็นนามธรรมขึ้นมา เห็นไหม นี่ปัญญาอบรมสมาธิ
มันใช้ปัญญาๆ เหมือนกัน แต่เป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันก็เป็นโลกียปัญญา มันก็เป็นปัญญาทางโลก มันก็เหมือนปัญญาที่เราคิดกันนี่แหละ แต่ปัญญาที่คิดมันคิดแบบมีสติมีปัญญาไง คิดแบบธรรมไม่ได้คิดแบบโลก คิดแบบโลกคือการคิดงาน คิดแล้วต้องทำ ทำงานนั้นขึ้นมาให้มันเป็นประโยชน์ คิดแบบโลก คิดแบบธรรมๆ คิดเห็นโทษ คิดเห็นโทษของความคิด ความคิดพอมันเห็นโทษของความคิดมันปล่อย มันปล่อย มันปล่อยมานี่มันมีอะไร มันจะเข้าแล้ว เข้าสู่ใจ ผู้ที่ค้นคว้าหาใจของตนมันปล่อยเข้ามา มันมีธาตุรู้ไหม ปล่อยแล้วมีความรู้สึกอยู่หรือเปล่า มันปล่อยอารมณ์แล้วมีความรู้สึกอยู่หรือไม่ สติปัญญามันเท่าทันความรู้สึกอันนั้น เห็นไหม ความรู้สึกที่เพราะมันเป็นสัมมาสมาธิ มันไม่พาดพิงอารมณ์ใดๆ เลย มันไม่พาดพิงอารมณ์คือมันไม่คิดไง
อารมณ์คือความคิด เวลามันพาดพิงมันก็คิดของมันไป ถ้ามันไม่พาดพิงมันก็ปล่อยเข้ามา ค้นหาใจๆ ไง ถ้ามันค้นหาใจของมัน เห็นไหม เขาว่าปลา แต่ของเราเห็นธรรม เขาว่าปลา เราว่าปู เราเห็นของเราเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่เห็นของเราเป็นอย่างไรเราก็ตามเขาไป เราก็คิดตามเขาไป คาดหมายตามเขาไป คาดหมายตามเขาไป
สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา เราเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส เราเป็นพระ เราเป็นพระ เห็นไหม นักรบ แล้วนักรบมันจะรบกับอะไรล่ะ กิริยาต่างๆ การกระทำต่างๆ ก็รบเข้ามาที่นี่แหละ เวลารบหาชัยภูมิ ชัยภูมิในการออกรบ เวลาจิตมันออกรบไง ทำข้อวัตรปฏิบัติไง เห็นไหม เหงื่อไหลไคลย้อย เก็บกวาดต่างๆ อันนี้เป็นข้อวัตร ข้อวัตร เห็นไหม มนุษย์มันมีกายกับใจ เราเกิดมาเป็นพระเราก็มีร่างกายเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่ความเป็นมนุษย์ เราสละเพศ เราสละเพศเป็นพระอยู่แล้ว แล้วเราก็ทำหน้าที่การงานของเราเหมือนกัน หน้าที่การงานก็หน้าที่การงานเพราะว่าคนต้องมีอารามมิก คนต้องมีที่อยู่ที่อาศัย
เวลาคน เห็นไหม นกยังต้องมีรวงมีรัง พระก็ต้องมีกุฏิมีที่พักที่อาศัย เวลาที่พักอาศัย เราก็มีข้อวัตร มีการกระทำของเรา การกระทำของเรามันก็ต้องทำไง เวลาเขาเป็นมนุษย์ เขาก็มีบ้านมีเรือนของเขา เวลาเป็นพระ เราไม่มีอะไรเลย เขวี้ยงทิ้งหมดเลย ไม่ต้องมีอะไรเลย มันก็ไปอยู่บนต้นไม้ไง เวลาเป็นพระมันก็ต้องเป็นพระ อยู่ในโลกสมมติมันก็เป็นโลกสมมตินี่แหละ แต่เวลาจิตที่มันเป็นจริงๆ มันอยู่ในโลกสมมตินี่แหละ สมาธิก็อยู่ในร่างกายเรานี่แหละ สมาธิก็อยู่ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในร่างกายเนี่ยถ้าจิตมันสงบเข้ามา เวลาจิตที่มันฟุ้งมันซ่านมันมีแต่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก เวลามันมีสมาธิขึ้นมา ฝึกหัดใช้ปัญญา จิตสงบแล้วพยายามค้นคว้า พยายามหางานของเรา ถ้าใครหางานของเราเจอ เห็นไหม สติปัฏฐาน ๔ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง
ไอ้นี่มันไม่ใช่อย่างนั้น เริ่มต้นเข้ามาปุถุชนคนหนานี่เห็นกาย เห็นไปหมด จินตนาการไปหมด เห็นก็เห็น หมอก็เห็น หมอมันผ่าตัดทุกวัน ดูหมอนวดมันจับขยำเลย กดแล้วกดอีกอยู่เนี่ย นี่ร่างกายเหรอ เส้นไหนมันกดร้องไปหมด เห็นกายเหรอ เห็นกายเห็นโดยโลก ร่างกายก็เป็นร่างกาย เห็นไหม เขาว่าปลาไง นี่สติปัฏฐาน ๔ กายานุปัสสนาเห็นว่ากาย เวลาหมอมันกดขึ้นมาร้องโอย โอย อยู่นั่น มันไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ กายก็ไม่ใช่ของเรา ปวดก็ไม่ใช่เรา มันไม่มีอะไรสักอย่างหนึ่ง ร้อง เขาว่าปลา เราว่าปู มันคิดไปคนละเรื่องเลย แล้วมันเป็นจริงหรือเปล่าล่ะ ก็เขาว่าปลา ก็มันไม่ใช่ มันไม่ใช่เราเลย ไม่มีอะไรเป็นของเราเลย ร้อง
ถ้าจิตมันสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าเห็นกายเห็นอย่างไร เห็นเวทนา เวทนาเกิดจากอะไร เวทนาๆ เกิดจากจิต นี่ถ้าเห็นว่าปลาก็คือปลาไง เห็นสติปัฏฐาน ๔ ก็เห็นตามความเป็นจริงไง เห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงมันเห็นจริงๆ นะ เห็นจริงๆ มันสะเทือนหัวใจนะ ขนพองสยองเกล้า ถ้าใครเห็นตามความเป็นจริงไง
ดูสิ ไก่ได้พลอยๆ ไก่ได้พลอยมันไม่รู้ว่าพลอยนะ เวลาพ่อค้าพลอยมันเห็นพลอย โอ้โฮ มันมีค่ามาก ไก่มันไม่รู้เรื่อง แล้วไก่มันได้พลอยมันขอเม็ดข้าวเม็ดเดียวเท่านั้นน่ะ ขอแลกข้าวสาร พลอยไม่เอา เพราะมันไม่รู้จักไง นี่ก็เหมือนกัน เห็นสติปัฏฐาน ๔ ไก่ได้พลอย เขาว่า เขาว่าปลาไง ก็ธรรมะว่าอย่างนั้นสติปัฏฐาน ๔ ไง เขาว่าปลา เราไม่เห็นจริงสักอย่าง ถ้าเห็นจริงมันขนพองสยองเกล้า เห็นจริงนะ พ่อค้าเพชรดูเพชรก็รู้ว่าเพชรมีคุณค่า
หมอทางวิชาการเขาเปลี่ยนหัวใจ เขาเปลี่ยนไต เปลี่ยนตับ เขาทำของเขาก็เป็นวิชาชีพของเขา เขาทำตามความเป็นจริงของเขา เขาเห็นคุณค่าของมันไง เห็นคุณค่าของการกระทำนะ เปลี่ยนหัวใจคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย แทบจะเอาชีวิตไม่รอด เปลี่ยนแล้วขึ้นมาเขาดำรงชีพต่อไปได้ สรรพสิ่งที่เปลี่ยนแล้ว เห็นไหม เปลี่ยนอวัยวะแล้วร่างกายมันไม่ต่อต้าน ถึงต่อต้านเขาก็มียากดทับ พยายามให้มันยอมรับกัน ให้ร่างกายนั้นยอมรับสภาพให้มันดำรงชีพอยู่ได้ เขาทำของเขาๆ
ถ้ามันเห็นจริง เห็นจริงตามความเป็นจริง เห็นแล้วมันเป็นประโยชน์ไง เห็นจริงตามความเป็นจริง เห็นแล้วมันทำแล้วมันแก้ไข แก้ไขวิกฤติชีวิตได้ไง นี่ไงถ้ามันเป็นจริงๆ นี่เหมือนกัน ถ้าจิตมันสงบแล้ว ถ้ามันเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง ถ้าเห็นกาย เห็นกายมันสะเทือนนะ เพราะการเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม มันเห็นตามความเป็นจริงไง เวลานั่งภาวนาไป เวลาจิตสงบแล้วเวทนามันเกิดมันจับเวทนา โอ เวทนาก็เป็นเวทนา จิตก็เป็นจิตไง จับแล้วมันพิจารณาของมันไป เวลาเวทนามามันจะดิ้น มันจะเป็นจะตายไง พอมันจะเป็นจะตายขึ้นมา เขาว่าปลา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ทั้งสิ้น เกือบเป็นเกือบตาย ถ้าจิตมันสงบ จิตมันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน มันก็เป็นจริงๆ นั่นแหละ เจ็บมันก็ว่าเจ็บ
เวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นธรรมๆ ใช่ไหม ท่านบอกว่า โกรธมีไหม มี แต่ไม่เอา มีความรู้สึกทั้งนั้น พระอรหันต์ก็มีความรู้สึก มีโลภ มีโกรธ มีหลง แต่รู้เท่าทันหมด ปล่อยวางหมด มันเป็นความจริง ของมันมีก็มี แต่มันไม่มีสมุทัย ไม่มีสิ่งใดสืบต่อ ไม่มีสิ่งใดยึดมั่นถือมั่นไง สอุปาทิเสสนิพพานเพราะยังมีชีวิตอยู่ ยังมีร่างกายนี้อยู่มันก็มีความรู้สึกทั้งนั้น มันไม่รู้รสรู้ชาติเหรอ ไม่รู้ร้อนรู้หนาวเหรอ พระอรหันต์ก็รู้ทั้งนั้น แต่รู้แล้วเขาไม่ยึดติดกับมันไง ไม่ยึดติดเพราะอะไรล่ะ ไม่ยึดติดเพราะว่าเขามีสติปัญญาไง เพราะเขาเห็นสติปัฏฐานตามความเป็นจริงไง แล้วเขาใช้ปัญญาพิจารณาขึ้นมามันปล่อยมันละมาเป็นขั้นเป็นตอนไง เวลามันสมุจเฉทปหานเป็นชั้นๆๆ เข้ามาไง เวลาสมุจเฉทปหานด้วยศีลด้วยสมาธิด้วยปัญญาด้วยมรรคไง มันมีความจริงอันนี้ไง
นี่ไงเขาว่าปลา เขาว่า แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามความเป็นจริงมันไม่ใช่เขาว่า ดูสิ ดูหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเวลาท่านประพฤติปฏิบัตินะ ประวัติหลวงปู่มั่น พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลมาอนุโมทนา พระอรหันต์สมัยพุทธกาลมาอนุโมทนากับหลวงปู่มั่น เพราะหลวงปู่มั่นท่านสร้างอำนาจวาสนามาอย่างนั้น ท่านสร้างอำนาจวาสนาของท่านมา ท่านถึงทำประโยชน์กับโลกไง ทำประโยชน์ เห็นไหม ทำประโยชน์ตั้งแต่เทวดาอินทร์พรหมมา มาฟังเทศน์หลวงปู่มั่น ท่านอยู่ในป่าในเขาด้วยวิมุตติสุข ด้วยความสุขความจริงในใจของท่าน ครูบาอาจารย์ที่เข้าไปศึกษากับท่าน ท่านฝึกหัดให้ ท่านดัดแปลงกิเลสให้ ท่านขัดเกลาให้ ขัดเกลานะ แต่คนที่ปฏิบัติต้องปฏิบัติเองนะ เพราะในดวงใจดวงนั้น ใครจะรู้เข้าไปในดวงใจดวงนั้นได้เห็นไหม
ดูสิ หมอเขาผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจนะ แต่อริยทรัพย์สัจจะความจริงมันไม่มีใครทำให้ได้หรอก แต่ครูบาอาจารย์ก็เป็นผู้ชี้นำ เป็นผู้ชี้บอก เวลาครูบาอาจารย์ที่ไปฝึกหัดกับหลวงปู่มั่น ท่านแก้ท่านไขท่านคอยขัดเกลาให้ ขัดเกลาให้ คอยชี้ทางว่าอันนั้นกิเลสนะ อันนั้นอย่าทำนะ แต่ของเรา เห็นไหม เขาว่าปลา ก็มันเหมือนกันน่ะ เขาว่าปลา ทำอย่างไรก็ทำ ก็เหมือนกัน ทำเหมือนกันแต่ไม่เหมือนกัน ไม่เหมือนเลย เพราะอะไร เพราะว่ากิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจมันมากมายมหาศาล เขาว่าปลาแต่เราว่าปู เราว่าเต่า เราจะเอาตามใจเรา แล้วบอกนี่คือปลา จับของเราไปแล้วก็ไปบอกเป็นปลาๆ มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว มันเป็นไปไม่ได้หรอก แม้แต่ปลามันก็มีสายพันธุ์ของมันเลย ปลาน้ำลึก ปลาน้ำตื้น ปลาน้ำกร่อย ปลาน้ำจืด ดูสิ ปลามันยังแยกแขนงของมันไป นี่ไงอำนาจวาสนาของคนไง การประพฤติปฏิบัติของคนไง
ถ้าเป็นจริง เราว่าสิ เราว่านี่ เราเกิดมาเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพุทธศาสนา มีอำนาจวาสนามากนะ ถ้ามีอำนาจวาสนามาก เห็นไหม ดูสิ สังคมที่เจริญ เจริญรุ่งเรือง สังคมเขาส่งเสริมนั้นน่ะ เวลาย้อนกลับไปศึกษาธรรมะของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นสิ เวลาท่านออกประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ เห็นไหม ไปทางไหนมีแต่คนคอยกลั่นแกล้ง ไม่มีใครเห็นดีเห็นงามด้วยเลย แต่ในสมัยปัจจุบันเขาเจอผ้าเหลืองมา เขายกมือไหว้ตั้งแต่ไกลโน่นน่ะ มีอะไรอยากจะดูแล อยากจะอุปัฏฐากอุปถัมภ์นู่นน่ะ แล้วถ้ากิเลสหนา ไปเจอสภาพแบบนั้นก็คิดว่าเราสำเร็จแล้ว เพราะคนเขายกมือไหว้ มันไม่จริงเลย นั่นไง เขายกมือด้วยศรัทธาของเขา ด้วยบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เขาทำหน้าที่ของเขา นั่นมันเป็นเรื่องของวัฒนธรรม ไอ้นั่นเขาว่าปลา ไอ้เราก็หลงไปเลยบ้าบอคอแตก พอเขายกมือไหว้ก็โอ๋ย แสดงธรรมเชียว อวิชชา ดับกิเลส นี่มันยังไม่ได้ปฏิบัติเลย มึงยังไม่รู้จักใจตัวเองเลย แล้วใจอยู่ไหน
เราค้นสิ ปลามันอยู่ไหน ปลาอยู่ในน้ำ ถ้าปลาอยู่ในน้ำ เห็นไหม เราเป็นอะไร เราเป็นพระ เราเป็นพระหน้าที่ของเราคืออะไร ถ้าหน้าที่ของเราๆ ยังทำหน้าที่ของเราไม่จบ เราจะนอนใจได้ไหม ถ้าหน้าที่ของเรายังไม่ได้ทำเรานอนใจได้อย่างไร ถ้าเราไม่นอนใจของเรา เห็นไหม หน้าที่รับผิดชอบข้อวัตรเราก็ทำ เราต้องทำอยู่แล้ว เพราะมันเป็นเครื่องหมายของคนดี เครื่องหมายของคนดีคือการเคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เคารพธรรมๆ ธรรมวินัยเป็นธรรม
ถ้าเราไม่ทำตามนั้นเราก็เห็นต่างไง เขาวางปลาไว้แล้ว วางปลา ปลาตากแห้ง ปลาแดดเดียว ไว้เป็นประโยชน์เลย ไอ้เราจับโยนทิ้งหมดเลย ไม่ดี ทำตามใจฉัน จะนอนตีแปลงอย่างไร นี่ถูกต้อง ไอ้นั่น นี่ไง ธรรมะไง สัจธรรมไง ข้อวัตรปฏิบัติเป็นธรรม ถ้าเป็นธรรม ถ้าเราทำตามนั้น เห็นไหม เราเคารพบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ไงเราเคารพธรรมวินัย เคารพธรรมวินัยแล้วปฏิบัติขึ้นมา มันทำให้ควบคุมดูแลรักษาใจของเราได้ ใจของเราๆ ใจของเราที่มันคึกมันคะนอง ใจของเราที่มันทุกข์มันยากอยู่นี่แล้วเอาอะไรเป็นเครื่องปราบปรามมัน เอาอะไร เอาอะไรเป็นเครื่องวัดว่าใจเราอยู่ไหน ถ้าใจเราไม่อยู่ไหนมันไม่เห็นหรอก ถ้าใจของเราอยู่นี่ เห็นไหม มันทำหน้าที่
ถ้าทำหน้าที่ของเรา เห็นไหม สิ่งนี้เราทำข้อวัตรข้อปฏิบัติ ถ้าทำของเราแล้ว นั่นน่ะถ้ามันทำด้วยความลงใจ ด้วยหัวใจที่เป็นธรรม เวลามันจะนั่งสมาธิภาวนามันมีโอกาสเยอะแยะเลย เพราะทำตรงนั้นมาแล้ว สิ่งใดก็ทำมาแล้ว พอทำแล้วมันปลอดโปร่ง จิตใจมันปลอดโปร่งนะ มันไม่มีอะไรกังวลเลย แต่ไม่ได้ทำอะไรเลย พอไปนั่งแล้วมันก็ยิ้มๆ มันรู้อยู่แล้ว เรารู้อยู่แล้วไง จะไปทางลัด ไอ้นั่นหน้าที่ของเขา ไอ้เราไม่ต้องทำ ไอ้เราต้องทำเหมือนกัน นี่เขาว่าปลา เราว่าปู เราก็ไปทำของเรา ทางเราไปทางนั้น ทางของเราทางลงสู่เหวไง ไอ้ของเขานี่เขาทางขึ้นเขา ทางขึ้นเขามันปีนเขามันเหนื่อยมันยากทั้งนั้น
นี่ก็เหมือนกัน เราจะประพฤติปฏิบัติของเรา เราทำความจริงของเรา เราทำความจริงของเรา เราต้องมีสติมีปัญญาขวนขวาย ดูแลรักษาหัวใจนี้นะ ถ้ามีการดูแลรักษาหัวใจของเรา เห็นไหม เขาว่าปลา แล้วเราจะเคารพบูชาปลาอันนั้น เราจะเคารพคำสอนอันนั้น เขาว่าปลา เรายังไม่เห็นเพราะเรายังไม่เป็นความจริง เราก็ขวนขวาย พยายามของเรา ถ้ามันเป็นความจริงอันนั้น นั่นเขาว่า ถ้าเราเห็นนะ เพราะเราว่า เราว่าเราประพฤติปฏิบัติ เรากระทำของเรา เราว่า มันต้องเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เขาว่าก็สาธุนะ เขาว่าถ้าเป็นความจริง แต่ถ้าเขาว่าแล้วมันไม่เป็นความจริง อันนั้นไร้สาระ
ในสังคมทุกสังคมมีคนดีและคนชั่ว ถ้าคนคนดี เห็นไหม ในคนคนเดียวมันก็ยังมีอารมณ์ดีอารมณ์ชั่ว เวลาอารมณ์มันดีขึ้นมามันดีทั้งนั้น เวลามันชั่วมันคิดได้ร้อยแปด ในใจดวงเดียวนั้นมันก็มีดีมีชั่ว แต่ในสังคม สังคม เห็นไหม เราก็คัดแยก แล้วมันก็เป็นไปโดยธาตุจริงๆ นะ ถ้าธาตุมันดีมันเข้ากับสิ่งที่ดีงามทั้งนั้น ธาตุที่ดีมันไม่ไปหรอก สิ่งที่เลวทรามมันไม่เอา มันคัดค้าน แต่ถ้าธาตุมันชั่ว มันไปทางชั่วนั่นน่ะ นั้นมันเป็นโดยธาตุ ถ้าไปโดยธาตุมันสุดวิสัย
แต่ถ้าของเรานี่เราว่าไปโดยธาตุ เราแยกแยะของเรา เราพิจารณาของเรา อะไรดีอะไรชั่ว แล้วเราจะไปทางดีของเรา แล้วทางดีนะ ไม่ใช่ดีตัวเรานะ ถ้าดีตัวเรานะ เห็นไหม ดีกว่าคนอื่น แล้วมันจะอยู่กันอย่างไร ถ้ามันความดี เห็นไหม ดีมันต้องมีใจเขาใจเรา มันเสมอภาคกันไง หมู่คณะเป็นสัปปายะ ถ้ามันไม่เสมอภาคกันมันจะอยู่กันได้อย่างไร มีใครมันเหนือใคร ไม่มีใครเหนือใครหรอก ไม่มีใครเหนือใคร ตายทั้งนั้น
แต่เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านไม่เคยคิดอยู่เหนือใครเลย หลวงปู่มั่นท่านเคยคิดอยู่เหนือใคร ไม่มี แต่เวลาคนที่ไปประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม อย่ามาข้ามหัวผู้เฒ่า ผู้เฒ่าไง การว่าข้ามหัวคือเรื่องของกิเลสไง ถ้าไม่ข้ามหัว ไปด้วยความกตัญญู ไปด้วยความเคารพบูชา มันจะข้ามหัวได้อย่างไร เวลาหลวงปู่มั่นท่านพูดเลย ข้ามหัวองค์นั้นมา ข้ามหัวองค์นี้มา จะมาข้ามหัวผู้เฒ่า ข้ามหัวผู้เฒ่าอะไรข้ามหัวผู้เฒ่าล่ะ ถ้าไม่ใช่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก กิเลสอยากดังอยากใหญ่นั่นน่ะมันจะข้ามหัว ถ้ามันไม่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอะไรมันจะข้ามหัว มันไม่ข้ามหัว เห็นไหม ถ้าไม่ข้ามหัวมันก็เป็นธรรม ความเป็นธรรมมันไม่มีโทษเลย แต่ถ้ามันจะข้ามหัวนั่นน่ะโทษทั้งนั้น ถ้าโทษมันเป็นธรรมได้อย่างไร มันก็เป็นกิเลสน่ะสิ
ถ้าเป็นกิเลส กิเลสในใจเรามันอยู่ในใจเรา เรายังไม่รู้จักมัน อยู่ในใจเราๆ ยังดูแลไม่ได้ มันเผาตัวเองจนมอดไหม้หมดแล้ว แล้วมันจะลามไปเผาคนอื่น คนอื่นเขาเห็นไฟมา เขาไม่ต้องการ คนอื่นเขาเห็นไฟในตัวเอง ทำไมตัวเรายังไม่รู้ว่าไฟ คนอื่นเขาเห็นว่าไฟทั้งนั้น เขาไม่มีใครเอาหรอกไฟ เขาอยากเอาคุณงามความดี
ถ้าคุณงามความดี เห็นไหม มันถึงว่าต้องมีน้ำใจต่อกัน ถ้ามีน้ำใจต่อกัน เสมอภาคกัน สัปปายะ ๔ ถ้าเป็นสัปปายะ ๔ นะ ให้เราว่า ถ้าเราว่า เราค้นคว้า เราเป็นเรา ถ้าเราค้นคว้า เห็นไหม มีสติมีปัญญา เราถึงจะเป็นภิกษุองค์หนึ่ง เราถึงเป็นพระองค์หนึ่งได้ ถ้าเราเป็นพระองค์หนึ่งไม่ได้ หลวงตาพูด เห็นไหม เหยียบหัวพระพุทธเจ้าไปแล้วแสดงธรรม เหยียบหัวพระพุทธเจ้าแล้วแสดงธรรม ก็นี่ไง เหยียบย่ำธรรมวินัย เหยียบย่ำไปทั่ว
เวลาครูบาอาจารย์ เห็นไหม ขอโอกาสๆ เวลาเห็นพระผู้ใหญ่ทำขอโอกาส แล้วใจเอ็ง เอ็งยอมรับจริงหรือเปล่า ยกมือขอโอกาส แล้วหัวใจขอโอกาสด้วยหรือเปล่า หัวใจมันเป็นจริงไหม มันก็มีแต่รูปแบบทั้งนั้น แต่มันก็อย่างว่าแหละโลกเนาะ โลกมันถ้าไม่มีรูปแบบ ไม่มีวัตถุ ไม่มีสิ่งใดเลย มันจะรู้อย่างไร ใครทำอย่างไร มันก็ทำแค่กิริยาเท่านั้น แล้วใจมันเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ถ้าใจเป็นอย่างนั้นมันก็ต้องกลับมาดูที่ใจเนี่ย
พูดถึงว่าเราว่า เขาว่าสาธุนะ ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิถูกต้องดีงาม ถ้ามันเขาว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ อันนั้นไม่สนใจ ไม่สนใจ เราจะบอกว่าพระอาทิตย์ขึ้นตามที่เราพอใจ เป็นไปไม่ได้ กิเลสของคน ความเห็นของคน จะให้ถูกใจทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ ไม่มี เราจะให้พระอาทิตย์ขึ้นถูกใจเราเลย ไม่มี แต่พระอาทิตย์ก็จะขึ้นโคจรของมันไปตามแต่พลังงานของมัน โดยสัจจะของมัน
นี่เหมือนกัน ถ้าเป็นเขาว่า ถ้าเป็นธรรม สาธุ ถ้าไม่เป็นธรรมนั่นเรื่องของเขา แต่เราว่านี่สำคัญกว่า เราว่า เราเห็นถูกต้องดีงามตามธรรมวินัยหรือไม่ ถ้าเราไม่เห็นความถูกต้องดีงามตามธรรมวินัย เราพยายามตั้งสติ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้คำบริกรรมเพื่อแก้ไข เพื่อสัจเพื่อธรรม ทำหัวใจของเรา ค้นคว้าหาหัวใจให้เจอ ถ้าค้นคว้าหาหัวใจเจอแล้วฝึกหัดใช้ปัญญาให้เป็นวิปัสสนา วิปัสสนาคือความรู้แจ้งด้วยปัญญา วิปัสสนาญาณ วิปัสสนาความรู้แจ้งในหัวใจของเรา ถ้าวิปัสสนาการรู้แจ้งในหัวใจของเรานี้คือมรรค แล้วมรรคของเราด้วย
เราว่า กูว่า กูทำ กูว่าของกู กูจะทำของกู ถ้ามีสติมีปัญญาต้องทำอย่างนี้ มันถึงจะเป็นประโยชน์กับเรา เขาว่าเรื่องของเขา เราว่า เราว่า เราว่าอย่างไรล่ะ เราว่าให้มันเป็นจริงเป็นจัง ให้มันเป็นสัจธรรม ให้มีมรรคมีผลขึ้นมาในหัวใจของเรา เอวัง