ธรรมะสมยอม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๐
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีคุณค่ามาก กว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะสร้างสมบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ แล้วกว่าจะรื้อค้นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมา นี่ทุ่มเทมากนะ ทุ่มเทผ่านวัฏฏะมา ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ทุ่มเทขนาดไหน มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เองโดยชอบ
ในลัทธิศาสนาต่างๆ อ้างว่าเป็นพระอรหันต์ อ้างว่า เห็นไหม ไม่ชอบ ถ้าตรัสรู้เองโดยชอบ จะทะลุปรุโปร่ง จะเข้าใจเรื่องของวัฏฏะ จะเข้าใจเรื่องของหัวใจ จะเข้าใจเรื่องของกิเลส กิเลสนะ กิเลสทำให้เราทุกข์เรายาก กิเลสพาตายพาเกิด ผลจากกิเลสของสัตว์มนุษย์ สัตว์โลก ทำให้จิตนี้เวียนตายเวียนเกิดไปในวัฏฏะ ถ้าไม่มีคนที่หูตาสว่าง สิ่งนี้จะไม่มีใครรู้แจ้ง ถ้าไม่มีใครรู้แจ้งมันก็ลูบคลำกันไป สิ่งที่ลูบคลำกันไปมันจะเป็นธรรมะได้อย่างไร มันเป็นธรรมเมา มันเป็นเรื่องของธรรมโลกๆ เป็นโลกียะ เป็นเรื่องของปัญญาทางโลกๆ แต่อ้างตัวกันว่าเป็นศาสดา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธศาสนา ศาสนาพุทธนะ ธรรมะของพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน แล้วเราเป็นชาวพุทธ เราเกิดในพุทธศาสนา เราเกิดในพุทธศาสนานะ ในพุทธศาสนาบอกว่าการเกิดเป็นมนุษย์มีบุญกุศลมาก เป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์ของการเกิด ถ้าเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราพบพระพุทธศาสนา เราใช้ศาสนาขนาดไหน เราอยู่ในศาสนา เรามีความรู้สึกในศาสนาไหม
ดูสิ ชาวพุทธด้วยกันในทางโลกเขาดำรงชีวิตของเขา เหมือนกับของอยู่ด้วยกันแต่ไม่รู้จักกันนะ ใช้ชีวิตแบบโลกๆ ใช้ชีวิตแบบนั้น นี่ถือเป็นชาวพุทธ ทำบุญกันเฉพาะนักขัตฤกษ์ ทำบุญกันเฉพาะประเพณีวัฒนธรรม ประเพณีนะ ไปวัดไปวาวันพระก็ยังดี ยังดีนะ ถ้าไปวัดไปวาวันพระนี่ก็ยังได้ทำบุญกุศลบ้าง ได้ทำบุญกุศลกับผู้ที่เป็นชาวพุทธ แต่ไม่รู้จักเลย ไม่เคยทำบุญกุศล ไม่เคยทำอะไร แล้วยังดูหมิ่นอีกด้วย
เห็นไหม บอก ภิกษุผู้ที่สืบทอดศาสนานี้เป็นผู้เอาเปรียบสังคม เป็นผู้ที่ไม่ทำการทำงาน ถ้าไม่ทำการทำงาน มันงานภายนอก งานภายในนะ นี่เพราะเขาไม่เข้าใจว่างานคือการอาบเหงื่อต่างน้ำ งานคือการลงทุนลงแรงในการทำงานอย่างนั้น เขาไม่คิดหรอกว่าการทำงานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ทำงานข้ามวัฏฏะนะ
สร้างบุญญาธิการมาขนาดไหน เสียสละมา ทศชาติ ขณะที่ ๑๐ ชาติสุดท้าย เสียสละขนาดไหน เสียสละนั้นเพื่อใคร? เสียสละนั้นก็เพื่อบารมีธรรม เพื่อให้หัวใจมันเข้มแข็ง เพื่อหัวใจแก่กล้าขึ้นมา ถ้าหัวใจแก่กล้าขึ้นมา มันมีจุดยืนในหัวใจนี้ ถ้าจุดยืนในหัวใจนะ จะไม่ตามกระแสโลก โลกจะหมุนไปขนาดไหน ใจนี้จะไม่ตามเขาไป จะทวนกระแสตลอด ทวนกระแสเข้าไปจนถึงในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปทำลายอวิชชาที่นั่น แล้ววางธรรมไว้ให้เราก้าวเดินตาม วางธรรมไว้เป็นประโยชน์กับเรานะ
แต่เราเกิดมามันน่าสังเวชไหม? มองไปทางโลกสิ มันน่าสังเวช น่าสังเวชเพราะเขาไม่สนใจนะ เขาสนใจแต่เรื่องทรัพย์สินเงินทอง เข้าใจแต่เรื่องของความเป็นอยู่ทางโลก แต่เขาไม่เข้าใจเรื่องสุขทุกข์นะ เขาก็แสวงหากัน แสวงหานะ เหมือนคนไม่เข้าใจแล้วแสวงหาในทางที่ผิดไง ทางที่ผิดคือเขาแสวงหาเพื่อความสุข เขาอยากหาความสุข เขาแสวงหากัน แต่เขาจะได้ความทุกข์ตลอดไป เพราะเขาแสวงหาด้วยกิเลสไง เขาแสวงหาด้วยความต้องการทะยานอยากในหัวใจ
สิ่งที่ต้องการความทะยานอยากในหัวใจมันให้ผลเป็นอะไร? มันคายพิษให้กับหัวใจนะ ถึงทำแล้วสมความปรารถนา มันก็ไม่ใช่ความสุขแท้ พอถึงสมความปรารถนาแล้วมันหยุดเป็นไหม? มันหยุดไม่ได้ มันจะหมุนเวียนไปสภาวะแบบนั้น มันพอไม่เป็น ถึงจะมาแสวงหามาเพื่อมัน แต่ถ้าเขามาศึกษา ศึกษาในธรรม ศึกษานะ ในปัจจุบันนี้ว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ศึกษาธรรมกันไง ศึกษาธรรม นี่ศึกษา ศึกษาขึ้นมาแล้วมันเป็นอะไรล่ะ? ศึกษามาเป็นทิฏฐิมานะไง ศึกษาว่าสิ่งนี้เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะออกนอกแนวทางธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เลย นี่มันเป็นความคิดของเรานะว่าสิ่งนี้เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติกันไป พยายามรื้อค้นขึ้นมาแล้วปฏิบัติ
ถ้ามันรู้จริง เห็นไหม ดูสิ ศึกษากันมา แล้วการดำรงชีวิตล่ะ ถ้ามันเป็นธรรมจริงมันต้องแก้ไขอวิชชา มันต้องแก้ไขกิเลสตัณหาความทะยานอยากสิ ชีวิตมันจะไม่ลุ่มๆ ดอนๆ อย่างนั้น ชีวิตมันจะไม่เป็นสภาวะแบบที่เขาดำรงชีวิตกันอย่างนั้นหรอก
นี่ศึกษาธรรมกัน ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษา ยิ่งศึกษามากขนาดไหนยิ่งทิฏฐิมานะ สำคัญตนว่ารู้ สำคัญตนว่าเข้าใจในศาสนา แล้วไม่เข้าใจสิ่งใดๆ เลย เพราะอะไร เพราะมันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นทฤษฎีไง มันเป็นสิ่งที่ว่ามันไม่สามารถชำระกิเลสได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นสัญญา สัญญาความจำได้หมายรู้ ไปจำธรรมของเขา เหมือนเราเห็นเขา เห็นเขาประสบความสำเร็จกัน เราคิดว่าเราจะเป็น แล้วเราก็ดำเนินชีวิต มันเป็นเรื่องความสำคัญตน มันไม่เป็นความจริงเลย ถ้าศึกษาอย่างนั้น ศึกษาไม่เป็นประโยชน์เลย
แต่ในการประพฤติปฏิบัติล่ะ ถ้าเราประพฤติปฏิบัตินะ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติไม่สัจจะความจริง ถ้าสัจจะความจริง ดูครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติ เป็นผู้ชี้แนวทางเรามา สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติมามันมีประสบการณ์นะ ประสบการณ์มันจะเห็นภัย ดูสิ คนจะชำนาญการขนาดไหนในวิชาชีพของเขา ผู้ที่จักสาน เขาจะหาสิ่งที่เขาจะจักสานของเขา เขาจะหาสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเขา แล้วเขาจะมีการจักสานมันขึ้นต้น ท่ามกลาง และที่สุดอย่างไร การจักสานของเขา เขาจะฝึกของเขา นั้นเป็นวิชาชีพของเขานะ
ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ครูบาอาจารย์ที่ผ่านการประพฤติปฏิบัติมา มันจะมีเหตุมีผลในหัวใจนะ แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติกัน ทางโลกเขาก็ว่ากันไป ว่าสิ่งนี้ปฏิบัติธรรม คนที่ไม่สนใจมันก็ไม่สนใจจนน่าสลดสังเวช น่าสลดสังเวชมากๆ ว่าสิ่งนี้มันเป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์มาก ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีตลอดไปนะ ผู้ที่จะรื้อค้นขึ้นมามันไม่ใช่ของง่ายๆ หรอก ทางวิชาชีพของเขา ดูสิ ทางวิทยาศาสตร์เจริญขนาดไหน ถึงที่สุดแล้วเขาก็ต้องมาศึกษาเรื่องอริยสัจ ศึกษาเรื่องสัจจะความจริงไง
ไม่เชื่อนะว่าทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกขสัจ ทุกข์ต่างๆ เขาบอกเป็นทุกข์นิยม
มันไม่ใช่ทุกข์นิยม มันเป็นสัจจะความจริง มันเป็นสัจนิยม มันเป็นความจริงอย่างนี้ แต่ปฏิเสธกันเอง ปฏิเสธทางวิทยาศาสตร์ ทางโลกเขาก็พยายามหาความสะดวกสบาย แต่ว่าถ้าใครมีเครื่องอำนวยความสะดวกแล้วจะมีความสุขไง ดูสิ ตึกรามบ้านช่องขนาดไหน ใหญ่ขนาดไหนนะ ถ้าหัวใจมันเป็นทุกข์นะ จะสูงกี่ชั้นก็แล้วแต่ มันก็ไปทุกข์อยู่บนตึกรามบ้านช่องนั่นน่ะ แล้วอุตส่าห์แสวงหากันมา ใช้ชีวิตทั้งชีวิตแสวงหาสิ่งนี้มาเพื่อว่าจะเป็นความสุข แล้วมันก็ไม่สุขจริง สิ่งที่ว่ามันไม่สุขจริงเพราะอะไร เพราะมันแสวงหาทางโลก
แล้วธรรมละ สิ่งที่ว่าธรรมๆ ดูอาหารของกายอาหารของใจสิ มันเป็นเครื่องอาศัย มันเป็นสิ่งที่อาศัย เราเกิดมาเป็นมนุษย์ มันต้องมีปัจจัย ๔ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางปัจจัย ๔ ไว้ว่ามนุษย์ขาดปัจจัย ๔ ไม่ได้ ถ้าขาดปัจจัย ๔ การดำรงชีวิตมันไปไม่ได้ แต่ปัจจัย ๔ เป็นเครื่องอาศัย ไม่ใช่สัจจะความจริง ความจริงมันอยู่ที่ไหนล่ะ? ความจริงมันอยู่ที่การเกิดและการตาย ถ้าเกิดการตาย ใครเกิดใครตายล่ะ? จิตมันเกิดมันตาย เห็นไหม ศาสนามันสอนเรื่องนามธรรมมา แต่มันก็ไม่เห็น เห็นไหม ชาวพุทธ ดูสิ ถ้าจะบุญกุศลกันก็ต้องเป็นวัตถุ สิ่งที่เป็นบุญกุศลนะ แล้วทำบุญกุศลต้องมีชื่อเสียง ต้องประกาศกิตติคุณกิตติศัพท์ ต้องประกาศ...มันกิเลสทั้งนั้น มันเป็นเรื่อง...
เหมือนโลกนี้คือละคร มันเหมือนกับละครนะ มันหลอกกัน มันหลอกนะ หลอกตัวเอง ตัวเองทำบุญจริงเหรอ ถ้าตัวไปทำบุญจริงทำไมไปติดไอ้เรื่องลาภสักการะเรื่องอย่างนั้นล่ะ ทั้งๆ ที่สละนะ เราสละทรัพย์สมบัติของเราเพื่อบุญกุศล ถ้าให้มันได้บุญกุศลจริงๆ เราสละเพื่ออะไร? เพื่อลดทิฏฐิมานะ แล้วมันไปประกาศตนนะ ต้องใครสละมาก ใครสละมากยิ่งมีชื่อเสียงมาก ใครสละมากยิ่งมีกิตติศัพท์กิตติคุณ...กิตติศักดิ์มันเกียรติของกิเลส กิเลสมันขี่หัวไม่รู้ตัวนะ นี่ติดดีไง ติดดีและติดชั่ว
ความชั่วนะ เขาทำชั่วเขาก็สบประมาทในศาสนา ศาสนานี้ไม่มีจริงหรอก ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วไม่มีหรอก มีแต่ผลประโยชน์อย่างเดียว ก็เพราะผลประโยชน์นั้นมันถึงทำให้เรามีแต่ความทุกข์นี้ไง เพราะคิดไปหาผลประโยชน์ ถ้ามีผลประโยชน์อย่างเดียวมันไม่เชื่อนรกสวรรค์ ไม่เชื่อเรื่องมรรคผลนิพพาน ไม่เชื่อว่ามีเหตุมีผล มันก็โกง มันก็ทำแต่ความพอใจสิ อะไรที่มันได้เปรียบเอาเปรียบเขาตลอดไป สิ่งที่เอาเปรียบเขาตลอดไปเพราะนี่คือผลประโยชน์ไง มันคิดแต่เรื่องผลประโยชน์ บุญกรรมไม่มีหรอก
ถ้าคิดในทางกิเลสทางลบมันก็ว่าไม่เชื่อศาสนาเลย ถ้าเชื่อศาสนาขึ้นมา ทำบุญกุศลก็ต้องมีกิตติศัพท์กิตติคุณขึ้นมาอีก นี่แข่งดีกันไง ดีและชั่ว เวลาประพฤติปฏิบัติมันต้องเริ่มต้นตรงนี้ ถ้าเริ่มต้นตรงนี้ ทำความจริงมันก็ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา นี้เวลาปฏิบัติก็ปฏิบัติโดยกรอบ โดยกรอบว่าทำไม่ได้ ต้องผิด ผิดสัจจะความจริง จะต้องทำตามที่ศึกษามา
ศึกษามามันก็เหมือนนะ เหมือนกับเราไปดูเศรษฐี เศรษฐีมหาเศรษฐีเขาขี่รถกันคันเป็นร้อยๆ ล้านนะ ไอ้เรามันไม่มีอะไร เกวียนยังไม่มีจะขี่เลย ธุดงค์ไป ๒ เท้าเดินไป ไปไหนก็ก้าวด้วยเท้าของเรา แล้วเราจะไปเอารถคันละเป็นร้อยๆ ล้านมาจากไหน ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เวลานี้มรรคผลนิพพานมันก็เหมือนกับสิ่งที่สุดเอื้อม แล้วพื้นฐานมันมาจากไหน ถ้าไม่มีพื้นฐานเลย ไม่มีความสนใจเลย เราจะปูพื้นฐานอย่างไร เราจะซื้อรถร้อยล้านพันล้าน เราก็ต้องหาเงินของเราก่อนสิ เราต้องทำประกอบสัมมาอาชีวะ มีเงินมีทองขึ้นมาเราถึงจะไปซื้อรถซื้อราได้ ที่เศรษฐีมหาเศรษฐีเขาขี่กัน
นี่ก็เหมือนกัน ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่มรรคผลนิพพาน ถ้ามรรคผลนิพพาน เวลาศึกษาธรรมขึ้นมามันก็ว่ามรรคผลนิพพาน...มรรคผลนิพพานแล้วเอาอะไรมานิพพานล่ะ เวลานิพพาน ปฏิบัติไป ถ้าพูดถึงกำหนด พุทโธ พุทโธ อยู่นี่ ครูบาอาจารย์ที่มีอรรถธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลเราก็รักษานะ ดูสิ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ภิกษุเราศีล ๒๒๗ ศีลในศีล คือข้อวัตรปฏิบัตินี่มันศีลในศีล ศีลคือมันเป็นธรรมเป็นวินัย ถ้าผิดนี้มันเป็นอาบัติ
สิ่งที่เป็นอาบัติ เป็นอาบัติเพราะมันก็เกิดกังวล เกิดนิวรณธรรม เราก็ต้องปลงอาบัติกัน เพราะว่าทำไม มันก็ไปเกร็งในศีล ศีลมันเป็นข้อวัตร ศีลมันเป็นกฎหมาย ศีลจริงๆ มันอยู่ที่ใจ ถ้าใจไม่มีเจตนา ใจทำอะไรผิดพลาดไป ถ้ารู้เราก็ปลงอาบัติซะ ถ้ามันไม่เข้าใจ สิ่งนั้นมันสุดวิสัย มันสุดวิสัย เห็นไหม ศีลมันเป็นกติกา แต่ตัวศีลจริงๆ มันอยู่ที่ใจ ถ้าตัวศีล ถ้าตัวศีลมันอยู่ที่ใจ ศีลเป็นเครื่องทำให้หัวใจไม่ออกไปนอกลู่นอกทาง เห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วเวลาปฏิบัติกัน อ้าว! ศีลก็ไม่ต้อง ไม่ต้องทำอะไรเลย ใช้ปัญญาไปเลย แล้วปัญญามาจากไหนล่ะ? ปัญญามาจากกิเลส มันก็โลกียปัญญา แล้วปฏิบัติก็ต้องเดินตามนั้น
เห็นเศรษฐีเขาทำ ทำอย่างเศรษฐีเขาไม่ได้ ครูบาอาจารย์ของเรากว่าจะเป็นครูบาอาจารย์เรา ท่านสมบุกสมบันมาขนาดไหน พื้นฐานมันอยู่ไหน ในการประพฤติปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ข้อวัตรปฏิบัติขึ้นมา ถ้าไม่มีข้อวัตรเลย มันเกิดทิฏฐิ ทิฏฐินะ รู้ไปหมด คำพูดเหมือนกัน กิน รับประทาน เสวย นี่ก็เหมือนกัน สมาธิก็คือสมาธิไง สมาธิของผู้รู้จริงมันเป็นสมาธิสิ สมาธิของเรา เราก็สักแต่ว่าสมาธิ เราคิดว่าเป็นสมาธิ มันก็เป็นสมาธิขึ้นมาได้อย่างไรล่ะ มันไม่เป็นสมาธิหรอก มันไม่เป็นสมาธิเพราะอะไรล่ะ
เพราะการสมยอมไง เราไปสมยอมกับกิเลส เวลาประพฤติปฏิบัติก็สมยอมกับกิเลสเลย แต่เวลาเริ่มต้นขึ้นมา เราจะไม่สมยอมเลย เราจะต้องต่อสู้ เราจะต้องขัดขวาง เราจะต้องมีการ...ธุดงควัตรเป็นเครื่องการขัดเกลากิเลส เราขัดเกลา เราถนอมรักษา เราต้องหาของเราสิ เศรษฐีเขาขี่รถของเขามันก็เป็นรถของเศรษฐีเขา ของเรายังไม่มีอะไรเลย เราต้องแสวงหาของเรา ไม่ใช่ว่าเราเป็นชาวพุทธนี่เรามีสิทธิเลย ชาวพุทธ มีศีล สมาธิ ปัญญา ในหัวใจ ทุกคนคิดอย่างนั้น พอปฏิบัติทางโลกมันคิดอย่างนั้น แล้วไปสมยอมกับกิเลสนะว่าสิ่งนี้เป็นสมาธิ มันสมยอมกิเลสให้กิเลสมันเหยียบย่ำนะ
กิเลสนี้มันร้ายนักนะ ดูสิ เราเริ่มปฏิบัติเริ่มต้นจากศรัทธาความเชื่อ โลกเขาไม่เชื่อกัน เขาสลดสังเวชนะ คนไปวัดนี้เสียเวล่ำเวลา แต่เวลาทุกข์ขึ้นมามันจนตรอก สิ่งที่บุญกุศลอันละเอียด สิ่งที่ละเอียดมันเริ่มปฏิบัติ ปฏิบัติอย่างไร เราก็มาเก็บหอมรอมริบอย่างนี้ เราจะเก็บหอมรอมริบของเรา เราจะสร้างสมฐานใจของเราขึ้นมา
ทุกข์มันทุกข์ที่ไหน? ทุกข์มันทุกข์ที่ใจ แล้วเวลาปฏิบัติกัน ปฏิบัติด้วยการสมยอม การสมยอม การสมยอมกันนะ เขาสมยอมในผลประโยชน์ เขามีผู้ได้ประโยชน์เสียประโยชน์นะ สิ่งที่ผู้ที่ได้ประโยชน์ ใครมันได้ประโยชน์ล่ะ? คนที่ได้ประโยชน์ก็กิเลสมันได้ประโยชน์ แล้วคนที่เสียผลประโยชน์ล่ะ? ก็คือเราไง เราเสียโอกาสตลอดไป แล้วสมยอมกันอยู่อย่างนั้น
การสมยอมทางโลกเขามีผู้ได้ประโยชน์ เขามีผู้เสียหาย เขาได้ตักตวงผลประโยชน์ ไอ้นี่ใครมันตักตวงล่ะ? เราไม่รู้นะว่ามันเป็นการสมยอม เพราะอะไร เพราะศึกษาธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา เห็นเขามีรถกันก็วาดฝันกันไปว่าสมาธิว่างๆ มันก็ว่างตามสมาธิกันไป แล้วเวลาครูบาอาจารย์ของเรา พระป่าเราประพฤติปฏิบัติ นั่นอัตตกิลมถานุโยค ทำอย่างนั้นทำให้ตนลำบากเปล่า
มันจะลำบากที่ไหน ก็ขัดเกลากิเลส เพราะกิเลส กิเลสมันหนา ดูสิ อดนอนผ่อนอาหารนี่ทุกข์ไหม แล้วการอดนอนผ่อนอาหารมันได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา มันอดนอนผ่อนอาหารแล้วมันได้มรรคผลเหรอ? การอดนอนผ่อนอาหารไม่ได้มรรคผลเลย การอดนอนผ่อนอาหารมันทำให้หิว ทำให้ร่างกายเบา มันเป็นกลอุบายเป็นวิธีการ ถ้าเป็นวิธีการนี่จะเก็บหอมรอมริบไง หาเงินบาท สิบบาท ร้อยบาทขึ้นมาให้เป็นเงินล้านขึ้นมา เพื่อเราจะซื้อรถให้เหมือนกับเศรษฐี เศรษฐีเขาจะใช้กัน มันถึงที่สุดแล้วมันต้องเป็นอย่างนั้นหมด ถ้ามีเงินขึ้นมาใครจะทำอะไรก็ได้ ถ้ามีเงินขึ้นมา
ถ้ามีคุณธรรมขึ้นมา ถ้ามีสมาธิจริงขึ้นมา ถ้ามีสมาธิจริงขึ้นมาแล้วสมาธิมันเกิดมาจากไหนล่ะ สมาธิมันเกิดมาจากฟ้าเหรอ สมาธิมันเกิดจากตำรับตำราเหรอ สมาธิมันเกิดจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหรอ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกชื่อสมาธิ สมาธิขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ววางธรรมไว้ มันประเสริฐมาก ประเสริฐจนเหนือหัวเหนือเกล้านะ
ถ้าเราเป็นชาวพุทธ เราไม่เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ไม่เกิดมาในศาสนา ใครจะรู้ใครจะสอน มันประพฤติปฏิบัติไปมันก็สมยอมกับกิเลสไปทั้งนั้น ปฏิบัติก็ปฏิบัติโดยกิเลส โดยเพราะไม่มีธรรม ไม่รู้จักธรรม แต่ถ้าปฏิบัติธรรมโดยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าไว้อย่างหนึ่งนะ สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก้าวดำเนินไป นั้นมันบารมีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่พวกเรามันขี้ทุกข์ขี้ยาก ขี้ทุกข์ขี้ยากเพราะเราไม่ได้สร้างสมบุญญาธิการอะไรมาเลย แล้วจะให้ศึกษาแล้วให้...มันไปลัก ไปล้วง ไปขโมยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นของตัว พอธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นของตัวแล้วก็ทำเป็นแค่กิริยา พอเป็นกิริยาขึ้นมา ว่าใจมันจะปล่อยวางอย่างนั้น อย่างนั้น แล้วเข้าไปสมยอมกับกิเลส ไปสมยอมว่าเป็นสมาธิ เป็นสมาธิมันไม่มีกำลัง เป็นสมาธิทำไมมันไม่มีความสุข แล้วเป็นสมาธิ เวลาครูบาอาจารย์ของเราที่ประพฤติปฏิบัติมาเป็นสมาธิขึ้นมา ทำไมมันพูดมาแล้วทำไมมันไม่เหมือนกัน
สิ่งนั้นมันเป็นปัจจัตตัง สมาธิก็คือสมาธิ ปัญญาก็คือปัญญา แล้วสมาธิของเรากับสมาธิของครูบาอาจารย์ที่ท่านมีกำลังขึ้นมา ทำไมไม่เหมือนกันเลย ไม่เหมือนกันมันก็ต้องมีของอันใดอันหนึ่งที่ไม่ถูกต้องสิ มันไม่เหมือนกันหรอก เพราะอะไร เพราะมันไม่เป็นสมาธิจริงๆ สมาธิจริงๆ มันมีการกระทำของมันขึ้นไป การกระทำตั้งแต่เรารักษาศีลของเรา เรามีศีลของเราขึ้นมา เรามีเจตนาของเราขึ้นมา เจตนาตั้งขึ้นมา ไอ้นี่ทำอะไรไม่ได้เลยนะ ทำอะไรก็เป็นความอยาก ทำอะไรก็เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากไปหมดเลย
ตัณหาความทะยานอยากมันก็เป็นตัณหาความทะยานอยาก แต่มันอยากจะทำ อยากจะดี เหตุ เห็นไหม ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ แล้วไม่มีเหตุอะไรเลย คิดนึกทำขึ้นมา แล้วก็สมยอมกับกิเลสแล้วก็วาดภาพไป
แล้วเวลาธรรมะ ธรรมะขึ้นมา ว่ามรรคผลนิพพานไม่มี แล้วเวลานรกสวรรค์ขึ้นมาก็ว่าเขียนเสือให้วัวกลัว แล้วเวลามันเขียนกิเลสครอบหัวมัน มันไม่ว่าบ้างว่านี่คือการหลอกตัวเอง เวลาหลอกตัวเอง หลอกตัวเองน่ะไม่ยอมว่า เวลาผู้ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเขาเชื่อมรรคเชื่อผลกัน เขามีอำนาจวาสนา เขาลงธรรมไง ใจนี้ลงครูบาอาจารย์ ลงสิ่งที่เป็นความจริง ลงสิ่งที่เป็นจริง สิ่งนี้มันมีจริง เราทำไม่ถึงเอง เราทำไม่ถึง เรามันไม่มีโอกาสได้เห็นแบบครูบาอาจารย์ท่าน ครูบาอาจารย์ท่าน ท่านเก็บหอมรอมริบของท่าน ศีล สมาธิ ปัญญา ท่านเก็บหอมรอมริบของท่าน ท่านทำของท่าน
ทำขึ้นมาใจมันก็อ่อน ใจมันก็ควรแก่การงาน ถ้าเป็นสมาธิขึ้นมา มันมีกำลังแล้วใจมันอ่อน มันควรแก่การงานนะ แม้แต่มันเป็นสมาธิขึ้นมามันก็มีความสุข เวลาทุกข์ ทุกข์แสนทุกข์มาก ใจทุกข์ๆ อยู่นี่มันทุกข์มากเลย แล้วทุกข์จะทำอย่างไรล่ะ แล้วเวลาไปเคลิบเคลิ้มกัน ไปสมยอมกับมันนะ
นี่มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เราท่องกันปากเปียกปากแฉะ แล้วเวลาภาวนากันก็ภาวนากันไปเป็นกิริยา มันไม่คิดออกไปข้างนอกทาง โอ้! นี่เป็นสมาธิแล้ว นี่มันไปสมยอมกับมันนะ เราเสียผลประโยชน์มาก เสียผลประโยชน์เพราะตัวเองไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ถ้าตัวเองไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ตัวเองก็คาอยู่อย่างนั้น นี่มันคาอยู่อย่างนั้น มันจะเข้าสมาธิก็ไม่เข้า จะบอกว่ามันเป็นความคิดของโลกมันก็ไม่ใช่ เพราะมันไปตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ตรึกในธรรมนะ วิตก วิจาร ปีติ สุข เป็นเอกัคคตารมย์ นี่ก็เป็นสมาธิ นี่ก็วิตกแล้ว ปีติก็ตั้งแล้ว ปีติก็เกิดแล้ว มันสร้างภาพหมดเลย พอมันสมยอมเข้ามันก็เป็นสภาวะแบบนั้น แล้วมันเป็นสมาธิไหม ถ้าเป็นสมาธินะ พุทโธก็แล้วแต่ เรากำหนดพุทโธ พุทโธ คำบริกรรม มันมีคำบริกรรมขึ้นมาน่ะมันหน้าที่การงานของใจ ในเมื่อใจมันทำงาน ใจมันมีคำบริกรรม มันมีสติสัมปชัญญะควบคุมใจไป แล้วสิ่งที่ควบคุมใจไป โดยสัจจะความจริงมันเป็นสภาวะแบบนั้น ดูสิ น้ำหยดลงหินทุกวันหินมันยังกร่อน หยดน้ำนี่มันสามารถทำให้หินเป็นบ่อเป็นหลุมได้เลย มันหยดของมันไปอย่างนั้น มันกัดเซาะไป หินมันยังเป็นหลุมเป็นบ่อได้
แล้วเวลาพุทโธไป พุทโธมันเป็นการสร้างกำลังขึ้นมา ทำไมมันจะตั้งตัวขึ้นมาไม่ได้ มันตั้งตัวขึ้นไม่ได้ ถ้าตั้งตัวขึ้นมาไม่ได้ มันมีอาการอย่างไรเกิดขึ้นไป มันจะวูบวาบขนาดไหน นี่ไง มันจะวูบ มันจะวาบ มันจะตกที่สูง มันจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ นี่มันเป็นความจริงอย่างนี้ ความจริงก็ต้องไปสัมผัสความจริงสิ ถ้าความจริงมันเกิดขึ้นมามันมีความสัมผัสไหม ปีติ สุข เอกัคคตารมย์ มันเป็นอย่างไร อะไรมันเป็นปีติ อะไรมันเป็นความสุข อะไรมันเป็นเอกัคคตารมย์
ไอ้นี่มันไปสมยอมกันแล้วว่าสิ่งนี้อารมณ์อย่างนี้มันเป็นสมาธิ แล้วยังมากล่าวตู่นะ กล่าวตู่ว่า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติพระป่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค ทำตนให้ลำบากเปล่า มันทำให้กิเลสลำบากต่างหากล่ะ มันพยายามจะข่มกิเลสไว้ ข่มกิเลสไว้เพื่อทำความสงบ ว่า พุทโธ พุทโธ แล้วไม่มีปัญญา ไม่มีปัญญาเดี๋ยวมันจะมี ถ้ามันจะมีปัญญาขึ้นมามันก็ต้องมีปัญญาขึ้นมาด้วยความเป็นจริง มันไม่ใช่มีปัญญาขึ้นมาด้วยการไปสมยอมกับกิเลส ให้กิเลสว่านี่เป็นปัญญา แล้วมันเป็นปัญญาจริงไหมล่ะ? มันเป็นปัญญาการสมยอม
ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเราเป็นชาวพุทธ คนที่เขาไม่ประพฤติปฏิบัติ เขาไม่สนใจ เขาจะไม่สนใจเลย เขาจะอยู่ประสาของเขา ไอ้นี่เราเกิดมา แล้วเรามีศรัทธา แล้วเรามีความเชื่อ เราสนใจในศาสนา สนใจศาสนา ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราจะปฏิบัติก็ปฏิบัติโดยสมยอมกับกิเลสอีก เห็นไหม เราไปสมยอม เราเสียหายกี่ชั้นน่ะ ชั้นหนึ่งเราปฏิบัติขึ้นมาเพราะเรามีศรัทธาแล้วนะ แล้วพอสมยอมขึ้นไปมันก็ไปคาอยู่อย่างนั้น นี่เขาเรียกติด ติดในความเห็นของตัว ตัวเองไปติดกับกิเลสให้กิเลสมันมาครอบงำ มันครอบงำนะ ครอบงำเพราะอะไร ครอบงำเพราะเราไม่รู้ทันมัน มันฉลาดมากขนาดนั้นน่ะ กิเลสของเรานี่แหละ
กิเลสของเรา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชำระมันมาตลอด ท่านถึงได้มีคุณธรรม ท่านถึงได้เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีธรรม ท่านจะมีเครื่องยนต์กลไกการใช้ของท่าน ก็ท่านแสวงหาของท่านมา ไอ้เรามันไม่มี แล้วไปนึกภาพเอาว่าเรามี เราก็เป็นชาวพุทธเหมือนกัน ศักดิ์ศรีของพระก็เหมือนกัน บวชมา ๒๒๗ เหมือนกัน ศีลเท่ากัน อะไรก็เท่ากัน พอเท่ากันขึ้นมาแล้วมันจริงไหมล่ะ? มันเป็นสมมุตินะ เราบวชขึ้นมานี่จริงโดยสมมุติ เราเป็นพระ เป็นพระโดยสมมุติ สมมุติขึ้นมาเพราะมันเกิดจากวินัย เกิดจากธรรมวินัย เป็นสมมุติ
แล้วถ้ามันเป็นสงฆ์จริงๆ มันเป็นสงฆ์ขึ้นมาจากหัวใจ แล้วเป็นสงฆ์จริงๆ ขึ้นมากับเรา มันก็เหมือนเด็กมันเล่นรถพลาสติก แล้วเศรษฐีเขามีรถจริงๆ ของเขา แล้วเขาบอกรถเหมือนกัน...ใช่เหมือนกัน ชื่อว่ารถเหมือนกัน แต่คันหนึ่งเป็นรถหลอกเด็ก แต่คันที่รถมันวิ่งได้มันมีเครื่องยนต์กลไก มันวิ่งได้ มันเหยียบได้เต็มที่ของมัน มันเป็นพาหนะที่เขาใช้ประโยชน์ขึ้นมา นี่รถเหมือนกัน นี่ก็เหมือนกัน พระเหมือนกัน เท่ากัน ทุกอย่างเท่ากัน มันก็ขี่หัวเอา กิเลสมันก็ขี่หัวนะ มันจะอ้างอิงของมันไป แล้วเวลาศึกษาขึ้นมา ศึกษาสภาวะแบบนั้น แล้วเราทำขึ้นมา เห็นไหม ทำตามประสากิเลส ต้องใช้ปัญญาไปเลย พวกนี้พวกที่ประพฤติปฏิบัติพระป่า กำหนดพุทโธเป็นคนที่ไม่มีปัญญา
ไม่มีปัญญาเอาตัวรอดได้นะ ไอ้คนที่มีปัญญา ปัญญามาก ปัญญากิเลส ปัญญาเหยียบย่ำตัวเอง แล้วก็ไปสมยอมกับกิเลสด้วย แล้วจนจิตขึ้นมาก็ไม่มี สมาธิก็ไม่เคยเห็น แล้วปัญญาจะเกิดขึ้นมา ไม่เคยเกิดปัญญาเลย ตรึกขึ้นมาขนาดไหนก็ไม่เกิดปัญญาเลย
แต่พวกเราประพฤติปฏิบัติกัน ถ้าจิตมันสงบเข้ามานะ จิตมันสงบเข้ามามันเห็นคุณ เห็นคุณของศีล เห็นคุณของการประพฤติปฏิบัติ เพราะมันเกิดจากการกระทำของเรา ถ้าเราไม่มีการปฏิบัติอย่างนี้ จิตมันจะสงบเข้ามาอย่างนี้ได้อย่างไร พอนึกพุทโธ พุทโธ ถ้าจิตมันลง มันลงขนาดไหน ถ้าจิตมันไม่ลง นี่ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธินะ
ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันใช้ปัญญาใคร่ครวญ ใคร่ครวญไอ้ความทุกข์ความยาก ตรึกในธรรม เวลาตรึกในธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอะไร? สอนถึงชีวิต สอนถึงให้มีสติ สอนถึงเพื่อทำให้ไม่ประมาทในชีวิต สอนถึงคุณค่า ถ้าเห็นคุณค่านี่ใช้ปัญญาตรึกเข้าไป ปัญญาอย่างนี้มันเข้าไปกล่อมใจ ถ้ากล่อมใจขึ้นมา มันกล่อมให้เห็นโทษ เห็นโทษของการคิดที่ฟุ้งซ่าน เห็นโทษภัย พอคิดแล้วจะทำให้หัวใจเจ็บช้ำน้ำใจ
แต่ถ้ามันตรึกในธรรม ตรึกในธรรมนี่มันสลดสังเวช ขณะที่เราตรึกในธรรมนะ ปัญญาอบรมสมาธิ บางทีตรึกจนเศร้าสร้อยนะ ดูสิ เวลาเราคิดถึงมรณานุสติ คิดถึงความตาย คิดถึงความตายจนมันเป็นความสังเวช ถ้าเป็นความสังเวชได้ ถ้าเป็นความสลดเป็นความหดหู่ ถ้าเป็นความหดหู่นะ สิ่งนั้นมันไม่เป็นประโยชน์กับเรา เราใช้แง่ธรรมแง่อื่นมาเป็นประเด็นขึ้นมาให้ใจมันได้ใคร่ครวญ
ปัญญาอบรมสมาธิบ่อยครั้งเข้าๆ มันต้องสงบได้ มันทำได้ ถ้ามันทำได้ขึ้นมามันเป็นปัญญาของเรา ถ้าปัญญาขึ้นมามันแยกแยะไปเรื่อย นี่มันเห็นนะ มันต้องเป็นกับเราสิ ไม่ใช่ว่าเราเหมือนเด็กๆ มีรถพลาสติกคันหนึ่ง แล้วเราก็เอานี่ไปอ้างอิงกับเขา ถ้ามันเป็นวัตถุขึ้นมาเหมือนรถพลาสติกกับรถที่มันวิ่งได้บนถนนนี่นะ เราอายเขานะ เราจะน่าอายเลย เราจะหน้าแตกเลย ไปคุยกับใครมันหน้าแตก เอารถคันหนึ่งแล้วก็เที่ยวไปอวดเขา
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันไม่ลง จิตมันไม่เป็นสมาธิ พูดธรรมะไปมันเป็นธรรมะพลาสติก มันเป็นรถพลาสติก แล้วมันน่าอาย แล้วถ้าเกิดธรรมขึ้นมาก็ไปสมยอมกับมันอีกว่านี่รถเหมือนกัน เวลาคุยกัน รถเหมือนกัน รถพลาสติกมันคันหนึ่งบาทสองบาทมันก็ซื้อได้ เด็กเขาเล่นกันเป็นหอบๆ แล้วเราคุยธรรมะกันอย่างนั้นหรือ ธรรมะของเราเป็นอย่างนั้นหรือ สมาธิเราเป็นอย่างนั้นหรือ เราเป็นชาวพุทธหรือ พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้หรือ ถ้าพระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้แล้วมันแก้กิเลสได้อย่างไร
กิเลสมันร้ายนัก กิเลสมันอยู่ในหัวใจของเรา กว่าจะฟาดฟันกันด้วยภาวนามยปัญญา กิเลสกว่ามันจะสงบตัวลงให้เป็นสมาธิขึ้นมา ทุ่มเทกันขนาดไหน ทุ่มเทขึ้นมามันจะเป็นผลความจริง แล้วเราก็ว่าปฏิบัติกัน เราก็ไปอวดเขาตลอดไป
กิเลสมันร้ายจริงๆ เราไปสมยอมกับมัน พอสมยอมแล้วเสียโอกาสมาก ดูสิ เราสมบุกสมบันมากันขนาดนี้นะ ดูนะ นับวันมาสิ พระเราบวชมาจะออกพรรษาอยู่แล้ว สิ่งที่ออกพรรษานี่เราทำอะไรบ้าง ถ้าทำอะไรขึ้นมา ทำขึ้นมามันต้องมีเหตุมีผลสิ มีเหตุผลให้มันเตือนหัวใจ หัวใจนี้ประพฤติปฏิบัติมา
เรื่องของสังคม สังคมมันกระทบกระเทือนกันมันเรื่องของสังคมอยู่แล้ว แต่สังคมที่กระทบกระเทือนมันเป็นเรื่องของชีวิต เพราะชีวิตเกิดมาแล้วมันต้องตาย คนเกิดมาแล้วต้องตาย ในสังคมมันต้องมีการกระทบกระเทือนกัน สิ่งนี้มันมีอยู่แล้ว เอาอันนั้นมันเอามาเป็นประเด็นไม่ได้ ประเด็นของเราคือการเกิดและการตาย คือเรื่องหัวใจของเรา เรื่องการที่จิตมันมีกำลังขึ้นมา จิตมันมีความศรัทธาขึ้นมา เราต้องหมั่นรีบกระทำของเรา ถ้าจิตมันรีบกระทำขึ้นมา ขณะที่มันอ่อนควรแก่การงาน เราต้องรีบทำงาน ถ้าเกิดถ้ามันแข็งกระด้างขึ้นมาล่ะ แข็งกระด้างขึ้นมามันก็ทำให้ท้อแท้ จิตมันท้อแท้มันอ่อนแอนะ ถ้ามันท้อแท้อ่อนแอ เราจะสมบุกสมบันไปได้อย่างไร มันก็ทำสักแต่ว่า ถ้าทำสักแต่ว่า นี่ไม่มีสติ สิ่งที่ทำสักแต่ว่า ผลมันเป็นสักแต่ว่า คือมันไม่เป็นผล
นี่ไง มันก็เข้าไปสมยอมกับมันอีกแล้ว สมยอมกับกิเลสทั้งหมดเลย เกิดมาก็ได้บวชมาแล้ว ได้ต่อสู้กับกิเลสแล้วก็เดินกลับจ๊อกๆๆ ไปอย่างนั้น สติก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี กิเลสมันขี่หัวในทางจงกรมนะ กิเลสขี่หัวในการนั่งสมาธิภาวนา ถ้ามันขี่หัวมาอย่างนั้นเราก็ต้องต่อสู้นะ เราต่อสู้ ต่อสู้กับใคร นี่ไง ต่อสู้กับใคร? ก็ต่อสู้กับความเคยใจ กิเลสที่มันหดหู่ ถ้ามันพลิกขึ้นมา มันพลิกขึ้นมาด้วยปัญญาขึ้นมา
การกระทำต่างๆ ในโลกนี้ ดูสิ อาหารกินทุกวันมันก็ต้องกินอยู่เรื่อยไป เพราะอะไร เพราะเข้ามาในกระเพาะเพื่อจะให้ร่างกายได้สารอาหารไปเป็นประโยชน์ พลังงานต่างๆ มันก็เป็นสภาวะแบบนั้น จิตมันก็เหมือนกัน ในการลองผิดแล้วถูกเพื่ออะไร? เพื่อให้มันอยู่ตัว ถ้าจิตมันมีเหตุมีผลของมันขึ้นมา มันพยายามตั้งสติขึ้นมา มันฝึกฝนบ่อยครั้งๆ เข้า การฝึกฝนบ่อยครั้งเข้า มันก็ฝึกฝนในอะไร? ก็ฝึกฝนใน ศีล สมาธิ ปัญญา...ศีล สมาธิ ข้อวัตรปฏิบัติ เราฝึกฝน นี่มันมีคุณค่าอย่างนี้
เขาบอกว่า นู่นก็ติด นี่ก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค ทำอะไรไม่ได้เลย ทำอะไรไม่ได้เลย มันก็เป็นธรรมะตายๆ ธรรมะความเห็นกันอย่างนั้นไง นิ่มนวลควรแก่การงานนะ อย่างนี้น่าเคารพนับถือ สิ่งที่ออกมาจากอาการของพระปฏิบัติมันกระโดกกระดาก มันกระโตกกระตาก มันทำรุนแรงเกินไป มันทำสิ่งที่เขาไม่เจริญศรัทธา
มันไม่เจริญศรัทธา มันศรัทธาใครล่ะ? ศรัทธากิเลส ถ้ามันเจริญศรัทธากิเลส ให้กิเลสมันครอบงำนะไม่ต้องมาเจริญ ให้เขาไปเจริญกันเอง ให้เขาไปเจริญกัน เขาจะนุ่มนวลขนาดไหนนั่นมันเรื่องของเขา แต่ถ้าเราจะชำระกิเลส แล้วเราเข้าไปสัมผัส เขากินกันแต่ไอ้สิ่งที่...เขากินอาหารกัน น้ำท่าเขากิน กินแต่สิ่งที่โลกเขามีกันอยู่แล้ว เราไม่กินอย่างนั้น เห็นไหม สัตว์อาชาไนยต้องกินอาหารที่มันเป็นประโยชน์กับเรา ถ้าเราจะเอาอะไรไปสัมผัสความจริง สัมผัสธรรมะกับความจริง มันเกิดมาจากไหนล่ะ? เกิดมาจากการต่อสู้ เกิดมาจากการกระทำของเรา
ถ้าเกิดจากการกระทำของเราขึ้นมา นี่ให้มันเป็นความจริง ถ้ามันจะเป็นความจริงนะ มันรวมมันก็ต้องรวมลง จิตเป็นสมาธิก็เป็นสมาธิ จะเป็นสมาธิโดยกำหนดคำบริกรรม ถ้าจิตมันสงบเข้ามา อาการที่เกิดต่างๆ ขึ้นมามันเกิดมา ถ้าเกิดแล้วเกิดความลังเลสงสัย เกิดนิวรณธรรม มันลงสมาธิได้ไหม นี่เกิดเพราะอะไร? ก็เพราะผิดศีล แต่ถ้าเราผิดศีล เราปลงอาบัติ เราต่อสู้ล่ะ เราต่อสู้ เราทำของเราขึ้นมา มันทำขึ้นมามันก็เข้า แล้วถ้ามันจิตมันขึ้นมา เห็นไหม ดูสิ เวลาอดนอนผ่อนอาหารที่ว่ามันไม่มีประโยชน์ อดนอนผ่อนอาหารมันเป็นการอดนอนผ่อนอาหารมันทำให้ทุกข์ แต่การทุกข์อันนี้มันทำให้กิเลสมันอ่อนตัวลง มันเป็นการขัดเกลา มันเป็นการเปิดทาง มันเป็นการต่อสู้
ถ้ามันเป็นการต่อสู้ ต่อสู้กับใคร? ก็ต่อสู้กับทิฏฐิมานะของเรา ต่อสู้กับสิ่งที่มันหลงผิด ถ้ามันหลงผิดขึ้นมา มันเป็นความหลงผิดเพราะอะไร เพราะเราจริง ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ในตำรา แต่ธรรมะของเรา สมาธิคือสมาธิ ศีล สมาธิ ปัญญา มันเป็นอย่างไร ถ้าเราต่อสู้ เรามีความเข้มแข็งขึ้นมา
นี่เหตุมันพอ เหตุมันมา ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าเหตุมันพอ มันต้องเป็นไป สิ่งที่เป็นไป เป็นไปแล้วเป็นสัมมาด้วย ถ้ามันเป็นไปโดยมิจฉามันก็ล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้น สิ่งที่มันเข้าไปสมยอมนะมันก็โดนกิเลสเหยียบหัว สิ่งที่เป็นมิจฉามันก็พาให้หลงผิดไปอีก ตกไปทางข้างซ้าย ถ้าสิ่งที่อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค แล้วมัชฌิมาปฏิปทาทางสายกลาง กลางตรงไหน
กลางที่มันถ้ามันลงนะมันเป็นสมาธิขึ้นมา มันเป็นสมาธิขึ้นมาก่อน แล้วบอกว่า สมาธิไม่จำเป็นใช้ปัญญาไปเลย แล้วถ้าสมาธิไม่จำเป็นแล้วใช้ปัญญาไปเลย มันก็ไปสมยอมกัน สมยอมกันอยู่อย่างนั้น แล้วใจก็ไม่มีกำลัง แล้วเวลาครูบาอาจารย์ของเราปฏิบัติมีกำลัง นี่ไง พูดถึงสมาธิกับสมาธิคนละอันกัน สมาธิของเขา สมาธิคือการสมยอมกัน สมยอมกัน มีผู้เสียประโยชน์ มีผู้ได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ ธรรมะของเราที่เราศรัทธา เราศรัทธา เราพยายามเจริญขึ้นมา เราต่อสู้ขึ้นมา เพราะอะไร เพราะเรามีศรัทธาเรามีความเชื่อนะ เราถึงมาบวชเป็นพระเป็นเณรกัน เราถึงออกมาประพฤติปฏิบัติกัน นี่เรามีศรัทธาขนาดนี้แล้วไปสมยอมนี่มันเสียขนาดไหน เพราะเราตั้งรากตั้งฐานมา แล้วรากฐานนี้ก็โดนทำลายหมดเลย แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา เราต่อสู้ขึ้นมา
มันมีกิเลส แก่นของกิเลส เราก็ทดสอบ ถ้าเราทดสอบ มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำ ถ้าเราทำความจริงขึ้นมานี่มันลงนะ ถ้าสงบขึ้นมามันไม่ใช่การสมยอม จิตมันลง สมาธิมันเป็นสมาธิ สมาธิคืออะไร? สมาธิคือจิตสงบบ่อยครั้งเข้าๆ จิตมันสงบเข้ามา ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิมีความชำนาญขึ้นมาจนทำสมาธิได้แก่กล้า แก่กล้าคือจิตเอกัคคตารมย์ จิตตั้งมั่น
ถ้าจิตตั้งมั่น นี่สมาธิ ติดสมาธิอีก ว่าสมาธิเป็นนิพพานไปเลย เพราะอะไร เพราะมันทำแสนทุกข์แสนยาก กว่าจะทำสมาธิได้แต่ละทีมันแสนทุกข์แสนยาก แล้วมันได้แล้ว นี่คือนิพพาน เพราะอะไร เพราะมันผ่านขั้นตอน เห็นไหม บอกว่า สมาธิไม่เป็นปัญญา ถ้าพุทโธ พุทโธ พวกนี้พวกทำสมาธิ แล้วติดอยู่ในสมาธิ
แล้วเวลาเขาไปทำขึ้นมา แม้แต่ของเขาไปสมยอมกับสมาธิก็ไม่ใช่สมาธิ แล้วพอเจอสมาธิ ก็ไม่รู้จักสมาธิ แล้วพอเจอสมาธิก็ว่าเป็นนิพพานขึ้นมาอีก มันไม่ใช่หรอก เพราะอะไร เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามีสมาธิอย่างนี้ขึ้นมา ถ้าปัญญามันเกิดขึ้น ถ้าเกิดขึ้นนะ มันเป็นการฝึกปัญญา ขั้นของปัญญานะ ถ้าจิตมันสงบแล้วย้อนไปหากาย เวทนา จิต ธรรม หากาย หากายเพราะอะไร เพราะคนมันติดอยู่ที่กายนี่ ไม่พ้นไปจากกาย ไม่พ้นไปจากกายนะ เกิดที่เวทนา เกิดที่จิตของเรา ถ้ามันติดขึ้นมา ถ้าจิตมันสงบเข้าไป มันย้อนไป มันเป็นธรรมนะ แต่ถ้าจิตมันไม่สงบขึ้นมานี่มันเป็นกิเลสนะ มันเป็นการคาดการหมาย เป็นการสร้างภาพ
เห็นไหม ถ้าเป็นขั้นของปัญญา ขั้นของปัญญาเวลาไปสมยอมมัน มันยิ่งกว่านี้อีกนะ เพราะอะไร เพราะมันสร้างขึ้นไป ถ้าคนวิกลจริต เห็นไหม นี่สร้างภาพขึ้นมาเป็นสมาธิ แล้วสมาธิขึ้นมา ไปเห็นอะไรต่างๆ มันเห็นแล้วมันสะเทือนใจ ถ้าเห็นแล้วสะเทือนใจ สิ่งที่เห็นแล้วสะเทือนใจนี่ปัญญามันเกิดไหม แต่ถ้ามันไม่เป็นสมาธิ พอสมาธิมันอ่อนลง แล้วมันไปเห็นภาพสร้างภาพมันไปตามจินตนาการเลย เห็นไหม นี่ถึงกับเสียได้นะ ถึงกับเสียเพราะตัวทำตัวเองให้เสียหายไป ถ้าทำเสียหายไปนี่มันขาดสมาธิแล้ว เพราะถ้ามีสมาธิมันจะเสียหายอย่างนั้นไม่ได้ เพราะสมาธิมันถึงจะเห็นสิ่งที่มันสะเทือนใจ เห็นสิ่งที่สะเทือนใจนะ มันไปเห็นอะไรล่ะ? เห็นสิ่งที่กิเลสมันพาใช้ไง
กิเลสมันเป็นนามธรรม กิเลสมันอยู่ในหัวใจของเรา แล้วมันออกหาเหยื่อ หาเหยื่อในอะไร? หาเหยื่อในความหลงผิดนั่นน่ะ ในความโลภ ความโกรธ ความหลง มันหลงในอะไร? ก็มันหลงในรูป รส กลิ่น เสียง มันหลงเพศตรงข้าม มันหลงรูปต่างๆ ทั้งๆ ที่กายก็กายเหมือนกัน ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เหมือนกัน ไม่ต่างกันหรอก มันต่างกันตรงไหน
มันต่างกันโดยสมมุตินี่ไง พอเกิดขึ้นมาแล้ว เห็นไหม ดูสิ จิตไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เวลาจิตมันสงบขึ้นมา มันว่าง มันเป็นหนึ่งเดียว สมาธิมีหญิงมีชายไหม เวลาถึงนิพพานนี่มีหญิงมีชายไหม? มันไม่มีหรอก แต่ขณะที่มันเป็นนี่มันเป็นโดยสมมุติ แล้วสมมุติอย่างนี้แล้วเราไปติดมัน พอไปติดมันอย่างนั้นมันก็ย้อนกลับ ย้อนกลับถ้ามันมีสมาธิ สมาธิมันก็แยกได้ แยกได้ แยกขึ้นมามันก็เป็นปัญญา
ปัญญานี้ปัญญาเกิดมาจากไหนล่ะ ปัญญานี้มันเป็นปัญญาเกิดจากธรรมไง จากธรรมที่เราสร้างสมนี่ เราจะสร้างสมของเราขึ้นมานะ ถ้าเราไม่สร้างสมขึ้นมา เวลาปัญญามันเกิด ปัญญาในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่มีสมาธิเหมือนกัน เพราะจิตมันเริ่มก้าวเดินของปัญญา มันก็ไปสมยอมกับมัน ไปสมยอมกับกิเลสนะ ให้กิเลสมันสร้างภาพว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ
สิ่งนี้เป็นธรรมน่ะ มันจินตมยปัญญา การใคร่ครวญโดยหลักมันมีสมาธิ มันใคร่ครวญ มันจินตมยปัญญา จินตนาการด้วยความจริง จินตนาการธรรม จินตนาการธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วใครเป็นคนจินตนาการ? ก็ใจของเรา เพราะใจของเรามีหลักมีฐาน แล้วสิ่งที่ว่าเป็นปัญญา ปัญญาที่ขณะที่ว่าไม่เชื่อในธรรม ศีล สมาธิ ปัญญานะ ไม่เชื่อในการทำสมาธิ ไม่เชื่อในความสงบของใจ ไม่เชื่อในต้นทุน เห็นไหม มันก็ใช้ปัญญาไปเลย ปัญญาที่ว่าคนที่กำหนดสมาธิ กำหนดพุทโธ พุทโธ มันจะไม่มีปัญญา แล้วก็ใช้ปัญญากันไป ปัญญาอย่างนั้นมันเป็นปัญญาการอ้างธรรม อ้างธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วสมยอม
ปัญญาอย่างนั้นถ้ามันเป็นความจริง มันเป็นความจริงในการประพฤติปฏิบัติ อย่างครูบาอาจารย์เรา มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเป็นความจริง มันเป็นการตรึกในธรรมแล้วมันเข้าใจในธรรม จิตมันก็สงบมาๆ ถ้าเป็นความจริงมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามันไม่เป็นความจริง มันว่าสิ่งนั้นเป็นมรรค เป็นการชำระกิเลส แล้วมันชำระกิเลสได้ไหม แล้วมันชำระกิเลสได้จริงหรือ? มันไม่เป็นการชำระกิเลสได้จริง แต่มันเป็นการสมยอม มันเป็นการสมยอมของใจเรา เป็นการสมยอม สมยอมเพราะเราไม่รู้เท่า พอเราไม่รู้เท่าเราก็ทำของเราไป ทำว่าสิ่งนี้เป็นธรรมไง
มันเป็นธรรมสมยอม ธรรมะสมยอม ธรรมะโดยกิเลส แต่เพราะมันมีหลักมีเกณฑ์ที่ว่าเราเกิดเป็นชาวพุทธ มันเกิดมาพบพระพุทธศาสนา มันมีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรรคผลนิพพานน่ะ โสดาบันเป็นอย่างนี้ สกิทาคามีเป็นอย่างนี้ อนาคามีเป็นอย่างนี้ แล้วก็สร้างภาพกัน แล้วมันไม่เป็นความจริง ไม่เป็นความจริงตรงไหน? ตรงที่มันไม่ได้ทำอะไรเลย มันไปสวมเอาว่ามรรคผลไม่มี สิ่งที่ไม่มี ธรรมะคือไม่มี โลกเขาทำสิ่งที่มี เราทำสิ่งที่ไม่มี
ทำสิ่งที่ไม่มี แล้วทำอย่างไรถึงจะไม่มีล่ะ เอาอะไรไปลบล้างความไม่มี ถ้าสิ่งที่ว่าไม่มีเลย สัญชัยมันก็สอนแล้ว ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ แล้วสัญชัยมันสอนแล้ว พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะไปเรียนกับสัญชัยมาก็ไม่ยอมรับ เห็นไหม
มันมีสิ มันมีวิธีการ มันมีการกระทำ ถ้ามีการกระทำ จากจินตมยปัญญา ถ้าปัญญามันใคร่ครวญไป ใคร่ครวญไป ใคร่ครวญในอะไร ถ้าจิตไม่สงบ มันจะไม่เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม โดยสัจธรรม ถ้าไม่เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม การเห็นของเขานะเห็นภูติผีปีศาจ ภูติผีปีศาจมันเป็นจิตวิญญาณนะ การเห็นผี เวลาจิตมันสงบเข้าไปเห็นเทวดา อินทร์ พรหม เห็นเทวดา อินทร์ พรหม มันก็เห็น เห็นโดยอำนาจวาสนา เห็นโดยฤทธิ์ ดูสิจิตสงบเข้ามาเขามาอนุโมทนากับเรา อนุโมทนากับเรา เขาก็ได้บุญกุศลของเขา แล้วจิตเราสงบเข้ามาแล้วมันเห็นอะไร เห็นสิ่งนั้นมันแก้ไขอะไรได้ล่ะ เพราะอะไร เพราะเราไม่ได้ติดตรงนั้น เราติดที่กายของเรา
แต่ถ้าเราเห็นกายของเรา เห็นกายของเรามันเป็นสัจธรรม เป็นสัจธรรมนะ เป็นธรรมที่เราเกิดขึ้น เป็นมรรคญาณ มรรคนี้มันเกิดขึ้นมาเพราะอะไร เพราะใจมันเห็น พอใจมันเห็น ถ้ามันจะแยกแยะออกไป นี่มันเป็นมรรค ถ้ามันเป็นมรรค การเห็นมรรค การกระทำถ้าจิตไม่สงบมันเป็นมรรคได้อย่างไร ถ้าไม่จิตมันสงบ มันเห็น เห็นไหม ดูสิ ทางโลกเขาเห็นกัน ดูสิ เขามองฝ่ายตรงข้ามกัน ยิ่งเห็นยิ่งมีความพอใจ ยิ่งเห็นยิ่งมีความตรึงใจนะ
แต่ถ้าเราสงบเข้ามา ถ้าเราเห็นกายขึ้นมา เห็นกายของเรามันเป็นอริยสัจ มันเป็นอริยสัจในสติปัฏฐาน ๔ เราเห็นกายขึ้นมานะ ถ้าเราเห็นกายขึ้นมา เราแยกแยะของเราขึ้นมา จิตมันแยกแยะของมัน มันไม่ใช่เห็นจิตวิญญาณ การเห็นจิตวิญญาณมันเห็นจากวัฏฏะ เพราะจิตวิญญาณอยู่ในวัฏฏะ อยู่ในโลก เห็นไหม วัฏฏะ กามภพ รูปภพ อรูปภพ สิ่งที่เราเห็นมันก็เห็นในวัฏฏะ แต่สัจธรรมมันไม่เห็นในวัฏฏะ สัจธรรมมันเห็นที่จริง เพราะอะไร เพราะจิตมันเกิดมันตาย มันเกิดในวัฏฏะ แล้วภพชาติขึ้นมา เราอยู่สถานะไหน มันก็เวียนตายเวียนเกิดไปตามในวัฏฏะนั้น
แต่จิตมันเป็นคนไปเกิด จิตดวงนี้มันถึงเกิดทุกๆ ภพ ทุกๆ ชาติไง มันเกิดมาทุกๆ สถานะ เพราะจิตนี้ไม่มีต้นไม่มีปลาย ถ้ามันมีเฉพาะเดี๋ยวนี้ แล้วมันทำไมรูปคนไม่เหมือนกัน ดูสิ ทำไมเขาไม่สนใจในศาสนาเลย ไม่ได้สนใจมาในศาสนา ก็เอาศาสนาเป็นเครื่องมือ เป็นเครื่องมือของกิเลสนะ ไปสมยอมกับมัน ให้กิเลสมันขี่หัว ทั้งๆ ที่มีวาสนาขึ้นมา เพราะอะไร
เพราะสนใจในศาสนาแล้ว เข้ามาในศาสนาแล้ว ประพฤติปฏิบัติแล้ว ยังให้มันขี่อยู่นั่นน่ะ พอขี่อยู่นั่นมันก็สมยอมกับมัน เสียประโยชน์หมดเลย แต่ถ้าเราทดสอบตรวจสอบ มันเป็นความจริงไหม เราแยกแยกของเรา ปัญญามันเกิดขึ้นมา ถ้าเห็นกาย เห็นกายสัจจะความจริง นี่มันแยกของมัน มันปล่อยของมัน การปล่อยอย่างนี้นะ ถ้าเราไปเชื่อมัน นี่การสมยอมอย่างละเอียดนะ
เวลาจิตมันพิจารณาไป มันเกิดตทังคปหาน มันปล่อยวางได้นะ การปล่อยวางขึ้นมานี่เราก็ซาบซึ้งใจมาก จิตมันปล่อยวาง ว่างหมดเลย เห็นไหม การปล่อยวางมันสมยอมโดยละเอียด การสมยอมเพราะเราลงใจไง ถ้าเราไม่ลงใจ จะปล่อยวางขนาดไหนเรายังไม่พอใจ เพราะมันไม่มีคำตอบ ถ้ามันมีคำตอบ เราไปพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันจะปล่อยขนาดไหน มันไม่มีคำตอบ
ถึงที่มีคำตอบนะ เวลามันเป็นสัจจะความจริงมันดั่งแขนขาดนะ เวลามันตัดน่ะ สิ่งที่มันตัดกิเลส เห็นไหม อย่างนี้มันเป็นธรรมจริงๆ มันไม่ใช่สมยอมนะ ถ้าไม่สมยอมนะมันขาด กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แล้วรวมลง จิตนี้ปล่อยวางหมดเลย...ปล่อยอะไร? ปล่อยความหลงผิดไง ปล่อยความหลงผิดว่าสิ่งนี้เป็นเรา สิ่งนี้เป็นเรา มันเป็นเราจริงหรือเปล่า? มันเป็นเรา มันเป็นเราจริงๆ เพราะเราสร้างบุญกุศลมา เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นมนุษย์มันเป็นความจริง ความจริงในชาตินี้ ถ้าเป็นความจริงชาตินี้เวลามันถึงที่สุดแล้วมันก็ตายไป
ถ้าตายไปเราก็ได้ภพชาติใหม่ มันภพชาติใหม่แล้วมันเป็นความจริงไหม ภพชาติใหม่นะ แล้วเราไม่เคยเกิดไม่เคยตายมาเหรอ เราเคยเกิดเคยตายมา ถ้าเราเคยเกิดเคยตายมา แล้วสิ่งที่เราเกิดตายมาแล้วมันเป็นของใครล่ะ? มันก็เป็นอดีตอนาคตไปใช่ไหม แล้วในปัจจุบันนี้ถ้ามันไม่เห็นมันก็ต้องไปตามกระแสอย่างนี้ มันก็ต้องเกิดต้องตายไป แล้วเราก็ทำบุญทำกุศลกัน แล้วเราก็ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม มันเกิดไปเป็นสภาวะแบบนั้น
แต่ในขณะที่มันมาปล่อย มันปล่อย มันมาปล่อยความอุปาทานยึดมั่น ยึดมั่นในกายว่าเป็นของเรา วิญญาณเป็นของเรา...มันไม่เป็นของเรา จิตมันก็ปล่อย มันก็เป็นอิสระ กายกับจิตก็แยกจากกันต่างหาก เห็นไหม กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ สังโยชน์ก็ขาดออกไป แล้วมันขาดอย่างไรล่ะ ความจริงมันขาดอย่างไร
นี่ธรรมะความจริง ไม่ใช่ธรรมะสมยอมนะ ถ้าธรรมะสมยอม มันจะไม่รู้จักขณะ ขณะที่จิตมันพลิก จากที่จิตมันพลิกจากปุถุชนเป็นโสดาบัน จนเป็นกัลยาณปุถุชน เดินโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติมรรคเดินอย่างไร เวลาเห็นอริยสัจ เห็นอริยสัจอย่างไร มันทำนี่มันทำอย่างไร นี่ไง ธรรมะจริงๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก้าวเดินอย่างนี้ ครูบาอาจารย์เราก้าวเดินอย่างนี้ การก้าวเดินอย่างนี้มันเอาอะไรมาก้าวเดิน จิตที่มันพัฒนาขึ้นไปมันเอาอะไรมาก้าวเดิน? ข้อวัตรปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา มันก้าวเดิน ศีล สมาธิ
ปัญญาเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช่ไหม แล้ววางธรรมไว้เป็นธรรมวินัย แล้วเราก้าวเดินตามนั้น เห็นไหม ดูสิ เราก็เป็นเศรษฐีขึ้นมา เราก็มีคุณธรรมของเราขึ้นมาในหัวใจ พอเรามีคุณธรรมขึ้นมาในหัวใจ นี่ไง มันพาหะไง มันเป็นอฐานะ จิตที่มันเป็นความจริงมันเป็นความจริงอยู่แล้ว มันจะเสื่อมสภาพจะไปทางนั้นอีกไม่ได้ มันเป็นอฐานะ มันเป็นความจริงอย่างนั้น
ถ้าความจริงอย่างนั้นมันก็เป็นอย่างนั้น มันสมุจเฉทปหาน เป็นอย่างนั้นเลย พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นอย่างนี้ การก้าวเดินต่อไป ถ้าเราติด เห็นไหม เราติดเราพอใจมันก็เท่านี้ ถ้าเราเดินต่อไป เดินต่อไปมันจะยกขึ้นให้สูงขึ้น นี่เป็นความอุปาทานนะ อุปาทานว่าสิ่งนี้ สรรพสิ่งนี้เป็นของเรา...มันไม่เป็นของเราหรอก
มันเกิดมาด้วยอำนาจวาสนา มันเกิดมานะ เกิดมาเป็นมนุษย์ เห็นไหม ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในวันวิสาขบูชา เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วก็เกิดเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วปรินิพพานภายในวันวิสาขบูชาวันเดียวกัน นี่ไง ทำไมต้องเกิด ๒ หน ๓ หนล่ะ? เกิด ๒ หน ๓ หนก็เกิดมา เกิดมาโดยกิเลส เกิดมาด้วยบุญกุศลที่สร้างมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้ววิปัสสนาทำลายกิเลสออกไป เห็นไหม เกิดในธรรม เพราะจิตมันสะอาดบริสุทธิ์
นี่เราประพฤติปฏิบัติมาโดยเวไนยสัตว์ มรรค ๔ ผล ๔ ในเมื่อจิตมันเกิดในธรรม โดยที่ว่าไม่เป็นการสมยอม ถ้าเป็นการสมยอมเพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่แล้ว สิ่งที่มีอยู่แล้ว เห็นไหม ดูสิ ดูนิวเคลียร์สิ สิ่งที่ว่าถ้าเป็นทางสันติเขาใช้ประโยชน์มหาศาลเลย แต่ถ้ามันไปใช้ในทางทำลายเขาล่ะ
นี่ก็เหมือนกัน ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไปสมยอมกับมัน คือสมยอมกับกิเลสให้มันมาทำลายเรา แต่ถ้าเราวิปัสสนาเป็นสัจจะความจริงขึ้นมานี่มันเป็นมรรคญาณ มันทำลายกิเลสนะ มันทำลายกิเลส มันสมุจเฉทปหาน สมุจเฉทปหานจิตมันขาดออกไป สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากความหลงผิดมันขาดออกไป ขาดออกไปเลย จะไม่มีเหลือเศษอยู่เลย เป็นโสดาบันก็เป็นโสดาบัน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย แล้วเป็นอฐานะที่จะแปรสภาพอีก
แล้วเราก้าวเดินขึ้นไป ก้าวเดินขึ้นไป สิ่งที่ก้าวเดินขึ้นไป มันก็ทำศีล สมาธิ ปัญญา เหมือนกัน ศีล สมาธิ ปัญญา...ศีล สมาธิ ปัญญา แต่มันไม่ใช่โสดาปัตติมรรค มันเป็นสกิทาคามิมรรค สกิทาคามิมรรค ความละเอียดของมัน กิเลสอย่างละเอียดมันก็หลอกโดยละเอียด ถ้ากิเลสมันละเอียด มันก็หลอกโดยละเอียด สิ่งที่หลอกโดยละเอียดมันหลอกใคร? ก็มันหลอกไอ้ความโง่เรานี่ ถ้าเรายังโง่อยู่นะมันก็หลอกอยู่อย่างนี้ แล้วความฉลาดล่ะ ความฉลาดมาจากไหน ความฉลาดคืออะไร? คือปัญญา แล้วปัญญามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ปัญญามันเกิดขึ้นมา สิ่งที่ควรแก่การงาน งานมันทำมาแล้ว ย้อนกลับมาที่ความสงบของใจ เพราะกว่าที่เราจะมีสมาธิ กว่าที่เราจะใช้ปัญญาของเราก้าวเดิน เราลงทุนลงแรงไปขนาดไหน สิ่งที่ลงทุนลงแรงนะ ดูสิ ดูเราทำธุรกิจการค้าขึ้นมา ถ้าเราทำแล้วมีกำไรๆ เราก็อยากทำใช่ไหม มันก็อุ่นใจ มันก็ดีใจ
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันสงบขึ้นมามันก็มีต้นทุน มีต้นทุนถ้าเราวิปัสสนา วิปัสสนา ขณะที่เราใช้วิปัสสนากาย เวทนา จิต ธรรม ส่วนที่ผ่านมา เรามีประสบการณ์แล้ว เราจะไม่ไปเชื่อเขานะ พระโสดาบันจะไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว แล้วโลกมันตื่นข่าวนะ ดูสิ ดูทางโลก มันน่าสลดสังเวชนะ ทำกันสักแต่ว่า สักแต่ว่าทำกันนะ ทำกันเป็นพิธี แล้วพอถึงเวลาก็ไปสมยอมกับมัน แล้วเวลาคนทำจริง คนทำจริงก็ทำไม่ถูก ไม่ถูกเพราะอะไร เพราะคนทำจริงมันมีส่วนน้อยไง
เขาโคมันมี ๒ เขา ขนโคนี่มันนับไม่ได้เลย แล้วในอำนาจวาสนาของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมันก็เป็นอย่างนั้น แต่เวลาแสดงธรรมไม่แสดงธรรมในหมู่ผู้รู้ไง ไปแสดงธรรมกับขนโค...ขนโคมันจะไปรู้อะไร ก็ขนโคมันเส้นเท่านั้น เขาโคต่างหากมันแหลมๆ มันขวิดคนตาย ขนโคเขาเอาไปใช้ทำแปรงทาสี เพราะมันใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ แล้วเวลาแสดงธรรมไปแสดงธรรมอย่างนั้นมันก็เป็นธรรมสิ เพราะคุณภาพของผู้ฟังมันไม่ถึงไง ถ้าคุณภาพของคนฟังที่มันต้องการมรรคผลนิพพาน สิ่งนั้นมันเป็นการสมยอมกัน กิเลสมันขี่หัวอยู่ ถ้ากิเลสขี่หัวอยู่แล้วมันจะเป็นคุณธรรมมาได้อย่างไร
แต่ถ้าครูบาอาจารย์เราที่ท่านประพฤติปฏิบัติจริง มันถึงทำจริงทำจัง ทำจริงทำจังเพราะคนจริงมันอยู่กับของจริง ธรรมะนี่มันสุดยอดของความจริงนะ อริยสัจ สิ่งที่เป็นอริยสัจนะ สัจจะ สัจจะโลกเป็นสัจจะโลก นี่อริยสัจจะ อริยสัจจะแล้วเราเอาอะไรไปรองรับอริยสัจจะล่ะ จะเอาของเล่นๆ เอาของที่ไม่มีสถานะไปรับสิ่งที่เป็นอริยสัจขึ้นมาได้อย่างไร แล้วอริยสัจมันเกิดมาจากไหน? อริยสัจมันเกิดมาจากตำราเหรอ อริยสัจมันเกิดมาจากตู้พระไตรปิฎกเหรอ...สิ่งนั้นมันเป็นการชี้เข้ามาที่ใจเรานะ
เราจะไปไหนก็แล้วแต่ เราต้องการหาความสุขให้เรานะ นี่ก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติเราก็ต้องการถึงที่สุดของกิเลส แล้วถ้ามันถึงที่สุดของกิเลส มันอยู่ที่ไหน? มันทำมาที่นี่ นั่งสมาธิ เดินจงกรม เดินจงกรมมันเดินไปนี่ร่างกายมันเดินไปนะ แต่เราเอาความสงบของใจ นั่งสมาธิก็เหมือนกัน มันจะฟุ้งซ่านขนาดไหน คำบริกรรมจะต้องใช้ตลอดไป ใช้ตลอดไปนะ ถึงที่สุดต้องใช้คำบริกรรมกำหนด เพราะอะไร เพราะจิตมันไม่มีสิ่งที่เป็นคำบริกรรม มันไม่มีการเคลื่อนไหว มันจะย้อนกลับมาสงบได้อย่างไร
สิ่งที่มันปล่อย ปล่อยให้มันเป็นไปเอง นี่เวลาเปรียบเทียบ ธรรมะเปรียบเทียบ ว่าจิตเหมือนกับน้ำที่มีตะกอนอยู่ เวลาตะกอนมันนอนก้น จิตก็เป็นความสงบ นี่เราไปเทียบวัตถุกันไง จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส ก็ต้องรอให้ตะกอนของน้ำลงก้นก่อนแล้วเราจะเห็นกิเลส...อีก ๑๐ ชาติก็ไม่เห็น เพราะอะไร เพราะไอ้นี่มันเป็นบุคลาอธิษฐาน แล้วเราไปปฏิบัติตามนั้น
เราปฏิบัติตามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านพูดมันมีความหมาย ว่าถ้าจิตมันสงบแล้ว จิตที่จริงนะ เวลาตะกอนมันนอนก้นแล้วให้ค้นคว้า ให้ค้นคว้าหาไอ้กิเลสในความใสๆ เพราะกิเลสมันใสอยู่ในน้ำที่ใสๆ นั้นน่ะ แล้วเวลาเขย่าขึ้นมาตะกอนมันขึ้นมา เวลาสมาธิมันเสื่อมไง เวลากำลังเราไม่พอเราก็จะหาไม่ได้ เราก็จับไม่ได้ นี่ความหมายมัน ๒ ชั้น ๓ ชั้นนะ แต่เราบอกว่าทำอย่างนั้นไม่ได้ ตีความอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าตีความอย่างนั้นผิด ผิดจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันตีความโดยกิเลสนะ เพราะอะไร เพราะเขาไม่เคยเห็นของจริง เขาไม่เคยได้ลิ้มรส เขาไม่มีการกระทำ แล้วเขาเห็นครูบาอาจารย์เราเห็นหมู่คณะเราประพฤติปฏิบัติ ว่าสิ่งนั้นเป็นอัตตกิลมถานุโยค
อัตตกิลมถานุโยค...คนมันขยันหมั่นเพียรเว้ย! คนมันมีโอกาส คนที่มันจะต่อสู้กับกิเลส คนมันจะต่อสู้กับกิเลสมันจะเอาอะไรไปต่อสู้ล่ะถ้าไม่มีเครื่องมือ เห็นไหม นี่เครื่องมือนะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ศีลในศีล ธุดงควัตร ๑๓ นี่เป็นเครื่องขัดเกลา ศีลในศีล ถ้าผู้ที่ไม่มีจริตนิสัยจะปฏิบัติ ปฏิบัติโดยศีล ๒๑,๐๐๐ ข้อ นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง มีความพอใจในศีล
ศีล-ธรรม ในวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก สิ่งต่างๆ มันเป็นจริตนิสัย แต่ในเมื่อในวงกรรมฐาน ในวงของครูบาอาจารย์เรา สิ่งใดที่เป็นเครื่องมือ ดูสิ เราไปทำการทำงานถ้าเราไม่มีเครื่องมือ เราจะทำอะไร นี่ก็เหมือนกัน เราจะต่อสู้กับกิเลส เราก็อยากจะกดให้กิเลสมันมีกำลังน้อยที่สุด แล้วเราจะฆ่ามัน ฆ่ามันนะ ต้องมีการฆ่ามัน ต้องมีเหตุมีผล ไม่ใช่อยู่เฉยๆ ไปสมยอมกับมันแล้วว่าเป็นธรรม เป็นธรรม...ไปสมยอมกับมัน ไปสมยอมกับกิเลส กิเลสมันจะคอยให้ใครชนะมัน
กิเลสมันร้ายกาจนัก เวลามันต่อต้านมันก็ต่อต้านให้เราล้มลุกคลุกคลาน เวลาเรามีกำลังขึ้นมามันก็ให้เราพอหายใจ เห็นไหม สมยอมไปภักดีกับมัน ภักดีกับมันนี่เราเสียผลประโยชน์ทั้งนั้นเลย เพราะอะไร เพราะความที่เราประมาท เราไม่ใช้ดุลพินิจใคร่ครวญในใจของเรา ถ้าเราไม่ประมาทกับตัวเอง ไม่ประมาทกับกิเลสนะว่ากิเลสมันโง่ เราทำอย่างนี้มันยอมจำนนแล้ว นี่ไปสมยอมกับมัน แล้วว่าสิ่งนี้เป็นธรรม...มันเสื่อมหมดนะ ถึงเวลาแล้วมันต้องเสื่อม สิ่งที่เรามีเป็นพื้นฐานอยู่นี่มันรองรับไว้ แต่สิ่งที่เจริญก้าวหน้านี่มันเสื่อม มันไปไม่รอด เราถึงจะต้องใช้ความหมั่นเพียร ใช้สติสัมปชัญญะแล้วใช้ดุลยพินิจ ไม่ยอมให้กิเลสมันมาต่อรอง
กิเลสมันต่อรองนะ พอแล้วแหละ ทำอย่างนี้ไว้ก่อน ปฏิบัติมาตึงเกินไปแล้ว ต้องย้อนกลับมา มันจะตึงเกินไปก็ตึงเพื่อฆ่ากิเลส ถ้าย้อนกลับมา ย้อนกลับมาเพื่อทบทวน นี่มันถึงต้องย้อนหน้าย้อนหลัง มันเป็นอุบายวิธีการ เพราะมันเป็นปัจจุบันไง ถ้าเราทำสิ่งใดที่มันเป็นรูปแบบ กิเลสมันอาศัยอย่างนี้เป็นช่องทางออกให้เราพลิกแพลง ออกให้เราล้มลุกคลุกคลาน ล้มลุกคลุกคลานนะ ในการปฏิบัตินี่น่าสงสารมาก เพราะอะไร
เพราะครูบาอาจารย์ที่ผ่านมาแล้วท่านต้องทุ่มเท ถ้าท่านไม่ทุ่มเทของท่าน ท่านจะไม่สามารถเอาชนะตัวท่าน เพราะกิเลสมันอยู่กับเรา ถึงที่สุดแล้วมันเอาความตาย เอาความทุกข์ลำบาก เอาความพิการมาหลอกมากางกั้นไม่ให้เราก้าวเดินได้ ถ้ามันจะเป็นจะตาย ใครมันจะเป็นจะตาย? มันจะเป็นจะตายเพราะเราเป็นคนรู้นะ เจ็บไข้ได้ป่วยใครเป็นคนรู้ล่ะ? เราก็รู้ของเรา แล้วกำลังเรามีไม่มีเราก็รู้ของเรา
แล้วเวลามันมีขึ้นมา กำลังมันมีขึ้นมามากเกินไป ดูสิ คิดอะไรมันก็คิดแต่เรื่องโลกๆ คิดอะไรมันก็คิดแต่ว่าสิ่งนี้มันพอสมควร มันไม่ทุ่มเท แต่ถ้าเราอดนอนขึ้นไป เราผ่อนอาหารลงไป ถ้ามันกินอิ่มนอนอุ่นขึ้นมานี่กิเลสมันจะตัวอ้วน เราก็ผ่อนมัน ผ่อนมัน มันไปมันคิดอะไร? มันคิดอะไรไม่ออกนะ เพราะอะไร เพราะถ้ามันจะคิดไปเรื่องโลกๆ นะ มันไม่มีกำลังไง มันคิดแต่เรื่องอาหารไม่มีในท้อง คิดแต่พรุ่งนี้เราจะฉันอาหารเมื่อไหร่ ฉันไม่ฉันมันก็อยู่ที่การที่เราทำความเพียร ถ้าทำความเพียรได้ขึ้นมามันก็ได้ผลขึ้นมา ถ้ายังไม่ได้ทำความเพียร ไม่ให้กิน ไม่ให้กิน ไม่ให้ออกไปกิน เราไม่ไปฉันซะอย่างหนึ่ง ใครจะพาไป นี่ให้กิเลสมันยอมจำนนไง
ถ้ากิเลสมันยอมจำนน มันก็เปิดช่องเปิดทางให้เราได้ก้าวเดิน นี่บอกเป็นอุบาย เป็นอาวุธ เป็นธรรมาวุธ อาวุธที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ แต่คนไม่ยอมใช้ แล้วพระเรา กรรมฐานเราไปใช้เข้า นี่อัตตกิลมถานุโยค ทำอย่างนี้ลำบากเปล่า แล้วลำบากเปล่ามันได้มรรคได้ผล ลำบากเปล่ามันมีเหตุมีผล เพราะอะไร
เพราะจิตมันสงบ เราก็เป็นคนสงบ ถ้าปัญญามันก้าวเดินออกไปได้เพราะอะไร เพราะจิตมันเปิดกว้าง ถ้าจิตมันไม่มีความง่วงเหงา ไม่มีความหนักหน่วง มันก็เปิดกว้าง เปิดกว้างมันก็เริ่มก้าวออกไป ก้าวออกไปมันก็ออกปัญญา แล้วปัญญาเราก็ก้าวเดินไปไม่ต้องให้กิเลสมันมาดักหน้านะ
กิเลสที่มันดักหน้าเรามันทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน เราก็ประสบการณ์มาอยู่แล้ว เราถึงจะต้องตั้งสติ พอตั้งสติขึ้นมาใคร่ครวญบ่อยครั้งเข้า จนถึงที่สุดมันปล่อย ถ้ามันปล่อย เห็นไหม นี่ตทังคปหาน ถ้าเป็นขิปปาภิญญา ทีเดียวถึงที่สุด แต่ดูองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธวิสัย ๔ อสงไขย คนที่จะมีปัญญาอย่างนี้ต้องสร้างบุญญาธิการมาพอสมควร...ไม่พอสมควร มากทีเดียวเลยล่ะ แล้วเราสร้างของเรามาอย่างนี้ เราสร้างของเรามา คือว่าเรามีต้นทุนเท่านี้ ต้นทุนเรามีเท่านี้ เราเห็นต้นทุนของคนอื่นมากแล้วเราจะไปเอาของเขามา
มันเอามาไม่ได้นะ มันเป็นบารมีของธรรม มันเป็นบารมีในหัวใจ บารมี อำนาจวาสนาบารมีไปแข่งกันได้ไหม เราจะแข่งกับใครได้ ดูสิ ดูที่เกิดมารูปชั่วตัวดำ กับเขาเกิดมาวิจิตรพิสดารของเขา แล้วเขางดงามขนาดไหน ไอ้นั่นมันบุญกุศลของเขา ไอ้เราเกิดมารูปชั่วตัวดำขนาดไหน แต่มันก็เป็นอำนาจวาสนาของเรา แต่หัวใจมันอยากทำ ถ้าหัวใจมันอยากทำมันก็ต่อสู้ เห็นไหม ถ้ามันต่อสู้ นี่ไง มรรค ๔ ผล ๔ ไง ถ้ามรรค ๔ ผล ๔ เราแก้ไขของเรา เราพยายามต่อสู้ของเรา เราแยกแยะของเราไปเรื่อย นี่ไม่ให้กิเลสมันมาบังเงา ถ้ากิเลสบังเงา แล้วเราก็ยังโง่อีกชั้นหนึ่งอีก ไปยอมมันอีก ไปสมยอมมันอีก เสียหายกันไปหมดนะ การประพฤติปฏิบัตินี่เสียหายกันไปหมดเลย
สิ่งที่มันจะเป็นคุณธรรม สิ่งที่มันจะเป็นประโยชน์กับเราเสียหายกันไปหมด พอเสียไปหมด กว่าจะรู้ตัวนะ ครูบาอาจารย์ท่านเคยผ่านสภาวะอย่างนี้มา ท่านเห็นโทษของมันไง แต่เรามันกล้าเกินคน ครูบาอาจารย์ท่านทำของท่านก็เป็นจริตนิสัยของท่านสิ เราทำอย่างนี้มันเป็นประโยชน์กับเราไง กิเลสมันหลอกอย่างนั้น เพราะหูมันกว้าง หูมันสูง มันฟังธรรมมาเยอะไง นี่มันเป็นจริตนิสัย มันเป็นจริตนิสัย...อ้างกันไป จริตนิสัยก็กิเลสมันขี่แล้ว พอมันขี่แล้ว มันจริตนิสัยมันจะเป็นอย่างนั้น เสร็จแล้วก็ไปกลิ้ง กลิ้งกับมัน กิเลสมันก็ทำให้กลิ้ง กลิ้งอยู่หน้ามันเลย มันแอบยิ้มเยาะอยู่นะไม่รู้ตัว นี่มันปล่อยแล้ว ปล่อยแล้ว เห็นไหม นี่ไม่สมยอมมันก็กระทืบ มันกระทืบอยู่แล้ว ไม่สมยอมกิเลสมันก็กระทืบอยู่แล้ว กระทืบธรรมะไง เพราะอะไร
เพราะเราสร้างสมเกือบเป็นเกือบตาย กว่าจะทำปัญญาขึ้นมาแต่ละรอบ แล้วปัญญามันใคร่ครวญแต่ละรอบ กาย เวทนา จิต ธรรม แยกแยะออกแต่ละรอบ กว่าปัญญามันจะขึ้นมาต่อสู้กับมัน แล้วยังไปยอมจำนนกับมัน แล้วยังไปสมยอมกับมัน ทุกๆ อย่างเลย แต่ถ้าเราตรวจสอบ เราหมั่นกลับมา ถ้ามันไปไม่ได้เรากลับมาที่พุทโธ ไปไม่ได้ก็ต้องกลับมาที่กำลัง
คนจะทำขนาดไหน ถ้าทำธุรกิจการค้าต้องมีทุน แต่ถ้าคนการประพฤติปฏิบัติ นักกีฬาต้องมีกำลังนะ ต้องมีกำลัง ทักษะจะดีขนาดไหน ถ้าอ่อนซ้อมนะ แพ้ๆๆๆ นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราต่อสู้มาก เราใช้ความต่อสู้มาก เราใช้ปัญญามาก มันต้องใช้พลังงานมาก ฟังนะ ใช้แล้วใช้เล่ามันก็สึกกร่อนเป็นธรรมดา ถ้าสึกกร่อนเป็นธรรมดา จิตนี่กำลังมันต้องอ่อนลง เราก็กลับมาที่พุทโธ
สมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐานต้องก้าวเดินไปพร้อมกัน มนุษย์มี ๒ ขา ขาซ้ายและขาขวา มีอยู่ขาเดียวก็กระโดดไป กระโดดไปมันไปไม่ได้ไกลหรอก นี่กระโดดไป เสร็จแล้วเดี๋ยวก็ไปรบกันอยู่นั่นน่ะ นี่ก็เหมือนกัน ใช้สมถะอย่างเดียวหรือใช้ปัญญาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องใช้สมถะ ใช้ต้นทุนคือใช้ปัญญาก้าวเดินไปพร้อมกัน แต่ขณะที่ความสมดุลที่ก้าวเดินอย่างไร มนุษย์เราโดยสัญชาตญาณนะ ซ้ายขวามันจะก้าวเดินตามธรรมชาติของมัน แล้วอะไรที่มันควรจะเป็นปัญญาล่ะ อะไรควรที่จะกลับมาทำความสงบล่ะ
แต่ถ้าเราใช้วิปัสสนา เราใช้กำลังบ่อยครั้งเข้า แล้วมันเสื่อมสภาพบ้าง เข้าไปต่อสู้กับกิเลส แล้วกิเลสมันถีบหงายมาบ้าง นี่มันจะทำให้เรารู้จังหวะจะโคนไง เข้าไปต่อสู้กับมัน แล้วไม่รู้เลย ล้มไปต่อหน้ามันยังว่าฉันชนะ เลือดอาบหน้ายังไม่รู้สึกตัวว่าตัวเองโดนกิเลสมันสอยเอาหน้าหงายมานะ พอถึงเวลามันเสื่อม อ๋อ! เสื่อมอีกแล้ว เสื่อมหมายถึงว่ามันไปไม่ได้ มันไปไม่ได้ก็ต้องกลับมาที่พุทโธ กลับมาที่ปัญญาอบรมสมาธิให้มันมีกำลังขึ้นมาแล้วไปต่อสู้กับมันใหม่ ต่อสู้กับมันใหม่ เห็นไหม มันมีเหตุมีผลนะ
การต่อสู้ มีผู้แพ้ผู้ชนะ ไม่ใช่การสมยอม การสมยอมไม่มีผู้แพ้ผู้ชนะ ระหว่างกิเลสกับธรรมมันต่อสู้กัน ถ้ากิเลสมันโดนฆ่า มันตายไป นี่มันจะตายต่อหน้าเลย กิเลสมันตายต่อหน้า เห็นไหม เวลาใจถ้ามันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่ามันจะปล่อย ขาดเลย กายเป็นกาย กายกับจิตแยกจากกันโดยธรรมชาติ โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง ไม่มีสิ่งใดเลย มีความสุขมาก ตัวเบามาก ว่างหมดเลย สิ่งที่มันว่าง ว่างมาจากไหนล่ะ ว่างเพราะจิต อุปาทานในจิตมันโดนทำลาย สิ่งที่จิตมันโดนทำลายนี้ มันเกี่ยวเนื่องกัน มันปล่อยโดยธรรมชาติเลย สิ่งนี้กามราคะปฏิฆะมันอ่อนลง แล้วสิ่งนี้มันรู้มาจากไหน ถ้าใจมันไม่สัมผัสมันจะรู้มาได้อย่างไร
ถ้ามันรู้ขึ้นมา นี่ไง นี่คือผลงานไง ผลงานของสิ่งที่เราไม่เชื่อมัน เราไม่ยอมจำนนกับกิเลส เราซ้ำแล้วซ้ำเล่า เราพิจารณาของเราไปบ่อยครั้งเข้าๆ มันจะเป็นความจริงนะ แล้วว่างมาก สิ่งที่ว่าง ว่าง นี่ว่างว่าใครว่าง ตัวความว่าง มันยังมีสิ่งที่ลึกลับในหัวใจอีกเยอะแยะเลย ถ้าเป็นความว่าง ขณะประพฤติปฏิบัติ สมุจเฉทมันหนเดียวๆ...หนเดียวมันเป็นขั้นตอน หนเดียวนี่มันสมุจเฉทปหาน สิ่งที่สมุจเฉทปหานแล้วมันเป็นผลงาน แต่สิ่งที่ทำขึ้นไปล่ะ แล้วเวลาจิตมันไม่ยอมไปนะ แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยเคาะคอยชี้ เห็นไหม ย้อนกลับไป ย้อนกลับไปมันจะจับ นี่ขันธ์อันละเอียด ถ้าจับกามก็เป็นกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะมาจากไหน
เวลาจิตมันปล่อย มันว่าง มันบอกว่าสิ่งนี้เป็นนิพพานนะ มันไม่มีอะไรเลยนะ โลกนี้ว่าง ความสุขเป็นว่าง เห็นไหม นี่มันก็ไปจำนนกับมันนะ ไปจำนนกับความรู้สึกอันนี้ พอจำนนกับความรู้สึกนี้ นี่มันยอมจำนนแล้วมันก็ติดไง แต่ถ้ามันใคร่ครวญบ่อยครั้งเข้าๆ ในค้นคว้าไง การค้นคว้าหากิเลส
กิเลสนะถ้ากำลังเรามาก กิเลสมันจะยอมสงบ มันยอมสงบตัวลง มันเหมือนกับโจรผู้ร้ายนะ มันเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในบ้านของเรา แล้วมันรอเราเข้าไปในบ้าน มันจะฆ่าเรา นี่ก็เหมือนกัน ขณะที่เราค้นคว้ามัน มันไม่เห็นมัน มันจะสงบตัวลง มันจะพยายามซ่อนตัวไว้ แล้วเราก็ว่าเป็นนิพพาน...มันอยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วถ้าตายไปจะรู้เลยว่านิพพานไม่นิพพาน เพราะมันยังมีอยู่ล่ะ แต่ถ้าเราค้นคว้า เราใช้สติสัมปชัญญะ ย้อนกลับนะ ย้อนกลับเข้าไป ถ้าจับได้ จับได้เป็นกามราคะ
ถ้ามันพิจารณาจิต สิ่งที่มันเป็นกาม มันเป็นกามราคะ ถ้าพิจารณากายมันเป็นอสุภะ เป็นอสุภะเลย อสุภะนี่ เห็นความเป็นอสุภะเห็นอย่างไร ถ้าเห็นอสุภะขึ้นมาแล้วเราวิปัสสนาอย่างไร ใช้ปัญญาอย่างไร การใคร่ครวญกับอสุภะ มันก็หลอกนะ เวลาถ้าใช้ปัญญาไป สิ่งที่มันปล่อยแล้ว ไม่มีแล้ว ว่างแล้ว นี่ว่างจากข้างนอกนะ เพราะอะไร เพราะมันเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์อันละเอียดไง สิ่งที่ขันธ์อันละเอียดมันเป็นกามราคะ
ถ้าเป็นอสุภะนะ พิจารณากาย กายของจิต เพราะจิตมันมีกายอย่างนี้มันถึงสร้างรวงรัง เพราะสร้างรวงรัง เห็นไหม นี่โอฆะ สิ่งที่เป็นโอฆะมันเป็นความฝังใจ มันเป็นสัญชาตญาณของจิต จิตทุกดวง ดูสิ ดูเทวดา อินทร์ พรหมสิ เวลาเทวดาเขายังเสพกาม กามของเทวดาเขาเสพกันอย่างไร? นี่มันนึกก็พอใจไปทุกตอน พอใจตลอด เขาพอใจของเขานะ เขาเสพโดยทิพย์ ความทิพย์ของเขา นี่ไง กามราคะ กามราคะมันเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าพิจารณากามราคะจนขาดออกไป ไปเกิดเป็นพรหม พรหมไม่ใช่พรหมปุถุชนนะ
ถ้าพรหมปุถุชนหรือพรหมอริยบุคคลขั้นต่ำ แต่ถ้าพิจารณาขาดออกไป นี่พรหมขั้นอนาคามี ขั้นอนาคามีมันปล่อยวางอย่างไร ตั้งแต่อนาคามี ๕ ชั้นขึ้นไปที่จะไม่กลับมาเกิดอีก ไม่กลับมาเกิดในกามภพ สิ่งที่เป็นกาม เทวดายังเสพกาม แล้วใจนี่ มนุสสเปโต มนุษย์เปรตไง สเปโต เห็นไหม มนุสสติรัจฉาโน กายเป็นมนุษย์แต่ใจเป็นสัตว์
แต่ถ้าเราพิจารณาไป ขึ้นไปมันเป็นอริยบุคคล มันจะเป็นสัตว์ได้อย่างไร มันเป็นสัตว์ไม่ได้เพราะอะไร เพราะสติมันเป็นมหาสติ มหาสติมันจะตามความรู้สึกทัน ตามความรู้สึกเพราะอะไร เพราะมันเคลื่อนไปพร้อมกับสติ เพราะสติอย่างหยาบๆ ขึ้นมา จากสติก็เป็นมหาสติขึ้นมานี่มันจะตามทัน ถ้าตามทันมันก็วิปัสสนาของมันไปเรื่อย เห็นไหม
วิปัสสนา การใช้วิปัสสนาให้ใช้ปัญญา การปัญญานะ ถ้าปัญญาไปสมยอมกับมันหนหนึ่งมันก็หลอกหนหนึ่ง ถ้าปัญญาเป็นความจริงขึ้นมา มันพิจารณาไปมันปล่อยเหมือนกัน มันปล่อยแล้วมันว่าง มันว่างขึ้นมามันก็สร้างเหตุการณ์ สร้างสถานะ พิจาณาอสุภะไปบ่อยครั้งนี่มันปล่อย บ่อยจนชำนาญนะ ชำนาญใคร่ครวญมาก ใคร่ครวญมาก เห็นไหม ที่การวิปัสสนามันจะทำบ่อยครั้งเข้า ไม่ใช่วิปัสสนาหนสองหนหรือเราเข้าใจแล้ว พิจารณาหนสองหนนี่มันไปสมยอม มันเท่ากับสมยอมนะ เท่ากับสมยอม แล้วสมยอมแล้วมันก็อยู่ตรงนั้น อยู่ที่นั่น อยู่อย่างนั้น ติดอยู่อย่างนั้นน่ะ
แต่ถ้าเราใคร่ครวญของเรา เราไม่สมยอม เราเปรียบเทียบ เปรียบเทียบว่ามันมีความรู้สึกไหม มันยังมีตัวตนไหม มันมีสิ่งต่างๆ ที่อยู่กระทบกระเทือนหัวใจไหม ถ้าสิ่งใดมี เห็นไหม ดูสิ ของที่มันมีอยู่ อะไรกระเทือนมัน ดูสิ ร่างกายเรา เรามีอยู่นี่ ลมพัดมาเราต้องมีความรู้สึกใช่ไหม เรามีภูมิอากาศมันเปลี่ยนแปลงเราก็รู้สึกใช่ไหม นี่เหมือนกัน เวลาจิตที่มันเปลี่ยนแปลง มันมีอาการต่างๆ มันเห็นทั้งนั้นล่ะ เพียงแต่ว่ามันไปสมยอมกับกิเลสอันละเอียดว่ามันไม่มี มันว่างเฉยๆ มันทำไมจะไม่ว่าง มันปล่อยวางสิ ถ้าเป็นการสมยอมมันก็เป็นสภาวะแบบนั้น
แต่ถ้าเรามีสติเรามีสัมปชัญญะ เราใคร่ครวญของเราไป มันตรวจสอบได้ การตรวจสอบอย่างนี้มันก็เห็นโทษของมัน เห็นโทษของมันก็ทำซ้ำเข้าไปอีก จับที่นั้นแล้วก็ทำซ้ำอีก ซ้ำ เห็นไหม เห็นเป็นอุบายวิธีการ พิจารณาไปในแง่มุมต่างๆ ถ้าอสุภะ ให้มันแยกออกไป ให้มันทำลายตัวมันเองเข้าไป ถ้ามันไม่ได้ ดูอสุภะ ให้มันย้อนออกไป ย้อนว่าให้มันเป็นสุภะขึ้นมา ให้มันเป็นความสวยความงาม ความสวยความงาม ดูที่จิตมันมีความพอใจไหม จิตมันเข้าไปแนบแน่นไหม ถ้ามันพอใจขึ้นมา นี่ไง ตัวนี้เป็นอาการของจิตที่อาการของกามราคะที่มันยังฝังอยู่ในหัวใจ ถ้าฝังอยู่ในหัวใจ เราก็พิจารณาซ้ำ พิจารณาเป็นสุภะ คือความพอใจ
พิจารณาเป็นอสุภะ อสุภะคือการจะทำลาย เพราะความจริงมันเป็นอสุภะ อสุภะโดยธรรม ถ้ามีธรรมขึ้นมา มีสมาธิขึ้นมา มันเป็นอสุภะโดยธรรมชาติของมัน แต่ถ้ามันเป็นกิเลส มันเป็นสุภะ มันเป็นความพอใจ เพราะอะไร เพราะสิ่งที่เป็นกามราคะ สิ่งที่เป็นกามฉันทะที่อยู่ในหัวใจ มันจะปกปิดตัวมันไว้ ปกปิดตัวมันไว้นะ ว่าสิ่งนี้มันไม่มี แล้วมันก็ไปพอใจกับความรู้สึกของใจ เพราะมันระหว่างขันธ์กับจิตที่มันกระทบกระเทือนกัน สิ่งนี้มันพอใจมันก็เสพ เสพกันอยู่สภาวะแบบนั้น
แต่ถ้ามันพิจารณาอสุภะ มันเป็นรูปที่ชัดเจน นี่ให้มันแปรสภาพ ให้มันแปรสภาพนะ มันจะแปรสภาพขนาดไหน เพราะความชำนาญ ความชำนาญนะ ปล่อยบ่อยครั้งเข้ามันมีความชำนาญนะ พอชำนาญหนหนึ่ง มันปล่อยหนหนึ่ง ปล่อยหนหนึ่ง มันปล่อยจริงนะ ว่าง มันเหมือนจริงๆ ว่ามันจะขาด แต่ถ้าเราเชื่อนะ มันไม่ขาด พอมันไม่ขาด มันจะมีสิ่งนี้ฝังอยู่ในใจ ถ้าฝังอยู่ในใจนะ เดี๋ยวมันก็แสดงตัว พอแสดงตัวขึ้นมามันจะเกิดให้เรารำคาญ แต่ถ้าเรารำคาญขึ้นมาเพราะอะไร เพราะจิตมันสูงแล้ว เพราะจิตที่มันปล่อยวางเข้ามามันปล่อยสิ่งต่างๆ เข้ามา ปล่อยเรื่องหยาบๆ เข้ามา ปล่อยเรื่องความหลงผิดในกาย ปล่อยระหว่างกายกับจิตที่มันว่างขึ้นมา แล้วปล่อยสิ่งนี้มันเป็นความพอใจ ความพอใจในตัวมันเอง นี่คือกามฉันทะ แล้วมันมีความหงุดหงิดในหัวใจ มันมีความหงุดหงิด มันมีสิ่งต่างๆ ถ้ามันยังมีอยู่
แต่ถ้ามันพิจารณาซ้ำแล้ว ถึงที่สุดมันปล่อย มันขาดนะ สิ่งนี้ครืน! ในหัวใจเลย เพราะอะไร เพราะมันทำให้ไม่เกิดในกามภพ มันครืน! มันสะเทือนหัวใจมาก มันสะเทือนโลกธาตุ สะเทือนโลกธาตุขึ้นมามันก็ปล่อยว่างขึ้นมา แล้วเราก็ใช้ปัญญาซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไปเพื่อจะทำสิ่งที่เป็นเศษส่วน เศษส่วนของความที่เราเคยผ่านประสบการณ์อย่างใดมามันจะมีเศษส่วนของมันในหัวใจ ซ้ำ พิจารณาซ้ำเข้าไป นี่อนาคามี ๕ ชั้น ถึงที่สุดมันจะว่างหมดนะ ตัวใจจริงๆ มันเป็นตัวว่างหมดเลย ว่างหมด มันจับต้องได้ยากมาก ขั้นสุดท้ายนี่จับต้องได้ยากมาก เพราะมันเป็น จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยกิเลส มันจะมีความหมองความเศร้าในตัวมันอยู่อย่างนั้น แล้วการไปจับ การไปจับคือต้องใช้จิต ใช้อรหัตตมรรคเข้าไปจับตัวมันเอง มันเป็นความลึกลับ มหัศจรรย์นะ
ถ้าเป็นการสมยอม ถ้าเป็นสิ่งที่ว่าใช้ศาสนาด้วยปัญญาทางโลกๆ ด้วยประเพณี เห็นไหม ทำไม่ได้ ว่าสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เหนือการคาดหมาย แล้วพระป่าครูบาอาจารย์สายปฏิบัติทำอย่างนั้นแล้วเทศน์ออกมามันไม่เหมือนกับในพระไตรปิฎกเลย มันไม่เหมือนกับศีลธรรมจริยธรรมที่เขาประพฤติปฏิบัติกัน เขาต้องไปยอมจำนนกับกิเลส นั่งเก็บกิริยามารยาทอย่างนั้น แล้วกิเลสมันจะตายต่อหน้าไปทุกวันๆ ไง
สิ่งนั้นมันเป็นการหลอกลวงตัวเอง มันเป็นการสมยอมกับกิเลส แต่ถ้าจิตมันละเอียดเข้าไป มันไปเห็นนะ ถ้ามันจะเห็น มันจะมีอำนาจวาสนา มันจะมีอรหัตตมรรคเข้าไปจับ จับตัวที่ว่าเป็นธาตุรู้ ธาตุรู้ไง จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใสนะ แต่มันเศร้าหมอง ถ้าเราเข้าไปจับแล้วปัญญาเราไม่ละเอียดพอนะ มันก็จะเศร้าหมองผ่องใสอยู่กับใจอย่างนั้นน่ะ
แล้วถ้าปัญญาอันละเอียดเป็นปัญญาญาณเข้าไปนะ สิ่งที่เป็นธาตุ แล้วธาตุมันทำลายตัวมันเอง มันทำลายตัวมันเอง อรหัตตมรรคละเอียดขนาดนั้นนะ แล้วมันจะใช้ปัญญาขันธ์นะ ปัญญาที่ว่าเป็นสังขาร เป็นความคิด ความปรุง ความแต่ง นี่มันหยาบมาก เพราะความคิด ความปรุง ความแต่ง มันแต่งมาจากไหน? มันแต่งมาจากจิต แล้วจิตมันมีกิเลส นี่มันปรุงแต่งกัน มันใช้ปัญญาอย่างหยาบๆ เหมือนใช้เครื่องมืออย่างหยาบทำงานอย่างหยาบ ถ้าใช้เครื่องมืออย่างละเอียดทำงานอย่างละเอียด เครื่องมืออย่างหยาบเข้าไปทำงานอย่างละเอียดไม่ได้ มันคนละขั้นคนละตอน มันคนละประเภทของปัญญา ปัญญามันมีมรรคมรรคหยาบ มรรคละเอียด มันมีเป็นชั้นเป็นตอน นี่ไง พระกรรมฐานเรา ครูบาอาจารย์ถึงบอก กายนอก กายใน กายในกาย มรรคหยาบฆ่ามรรคละเอียด มรรคต่างๆ
เขาก็บอกว่า มรรคฆ่ามรรค มันจะมีมาจากไหนล่ะ ก็มรรคมันหยาบมันมาอยู่ในหยาบ มันจะละเอียดได้อย่างไร มันก็เจริญขึ้นไปไม่ได้ เห็นไหม
ครูบาอาจารย์ที่มีประสบการณ์จริง การกระทำที่ว่ากิเลสมันหลอกขึ้นมา มันต่อสู้กับกิเลสมาโดยสัจจะความจริง โดยอริยสัจ ด้วยความเป็นจริง โดยอริยสัจนะ เวลาปัญญามันเกิด มรรคญาณมันเกิด มันหมุนเข้าไปในหัวใจเลย มันไปทำลายกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป มันทำลายอย่างไร มันไม่ใช่ไปสมยอมกันอย่างนั้น นี่ธรรมะสมยอม นี่มันรับไม่ได้เลย แล้วเห็นคนที่ปฏิบัติ เห็นครูบาอาจารย์ เห็นกรรมฐานเราทำความเป็นจริง ว่าสิ่งนั้นมันทำอวดกัน มันไปทำอวดโลก...นี่กิเลสทั้งนั้น ตัวเองก็ไม่ทำ ทำก็ทำไม่เป็น แล้วเวลาครูบาอาจารย์ที่ทำ ครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนกันมามันมีคนรู้จริง สอนจริง หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ เป็นครูบาอาจารย์ เป็นต้นรากเหง้าของกรรมฐาน แล้ววางรากฐานขึ้นมา แล้วมันก็พิสูจน์กันมากี่ชั่วอายุคน มันก็ทำกันมาก็ได้ ถ้ามันไม่จริง ทำไมมันมีครูบาอาจารย์เชื่อ ทำไมมีคนมีปัญญามาเชื่อ เชื่ออย่างนั้น นี่โลกมันเป็นอย่างนั้น มันไปสมยอมกับกิเลส แล้วก็ว่าสิ่งนั้นทำไม่ได้ สิ่งนี้ทำไม่ได้
แต่ครูบาอาจารย์ เห็นไหม เวลาจิตเดิมแท้ผ่องใส แล้วปัญญาอย่างไรที่ไปจับความผ่องใส แล้วปัญญาญาณเข้าไปชำระกิเลส ชำระกิเลส เห็นไหม ดูสิ มันเข้าไปทำลายตัวมันเอง จนถึงที่สุดมันพลิกไปหมดเลย นั่นล่ะ นี่ธรรมแท้ๆ
ธรรมแท้ๆ นะมันเป็นความจริงอยู่ในใจดวงนั้น ใจดวงนั้น นี่ธรรมธาตุ ธรรมธาตุอย่างนี้แล้ว ไม่มีกิเลสในหัวใจเลย แล้วสิ่งที่เป็นประสบการณ์ กว่าใจดวงนี้ จากใจที่กิเลสเต็มหัวที่มันทุกข์ๆ ยากๆ แล้วมันก้าวเดินมา ทำลายมา แล้วเราก็เกิดมาเป็นชาวพุทธ เราก็มีหัวใจเหมือนกัน แล้วเราก็จะประพฤติปฏิบัติเหมือนกัน เราเชื่อมั่นในศาสนา ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรากราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น เราทำวัตรกัน ขอขมาลาโทษนะ ให้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เราทำ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ธรรมะไง เราผิดจากธรรมตลอดนะ เราปฏิบัติธรรมไม่สมควรแก่ธรรม นี่มันอ่อนไป แก่ไป หลงไป ออมชอมกับมันไป ไปสัมพันธ์กับมัน สัมพันธ์กับกิเลสตลอดเลย มันไม่สมควรแก่ธรรม ถ้าสมควรแก่ธรรม เหตุนะ เหตุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าเหตุมันถึง ธรรมาวุธมันไปทำลายกิเลสได้ มันจะต้องทำลายกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป
ถ้าทำลายเป็นขั้นเป็นตอน นั่นไง มันมีเหตุมีผล มันมีการกระทำ ไม่ใช่ว่ามันมาเก็บเรียงมารยาทกัน แล้วก็มาติ๋มๆ กันอยู่อย่างนั้น แล้วจะมาบรรลุธรรมๆ แล้วเวลาทำจริงทำจังขึ้นมาก็ทำไม่ได้ นี่มันไปปิดกั้นไง ทำลายกันนะ ทำลายตัวของเราเอง ทำลายโอกาสของเราเอง ทำลายทุกๆ อย่างเลย เพราะกิเลสเท่านั้น
แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเราที่มีเนื้อหาสาระ มีสาระ มีคุณธรรมในหัวใจไง เห็น ถึงสังเวช เวลาครูบาอาจารย์ท่าน ถ้าเรามาใช้ปัญญากันเลย เรามาใช้ความคิดกันเลย นี่เหมือนศพเดินได้นะ ตายทั้งๆ ที่มีชีวิตอยู่ เราปฏิบัติธรรมกันเราว่าเราเป็นคนมีชีวิต เรายังมีโอกาสอยู่...เหมือนคนตาย โลกก็เหมือนกัน เหมือนคนตาย โลกก็เหมือนกัน โลกที่เขาไม่สนใจน่ะเหมือนคนตาย ของที่มีอยู่ เหมือนกับเหรียญมี ๒ ด้าน อยู่ด้านเดียว ด้านที่ไม่สนใจ เราอยู่อีกด้านหนึ่ง ด้านที่สนใจ แต่ถ้าสนใจเวลาต่อสู้ไปมันก็มีการโต้แย้งอย่างนี้ มีกิเลสคอยฉุดกระชาก คอยทำลาย แล้วถ้าปัญญาของเราไม่ทัน ก็ไปสมยอมกับมัน ไปให้มันเหยียบย่ำ
ถ้าเราเชื่อครูบาอาจารย์ เราเชื่อตัวเองไม่ได้ เราเชื่อครูบาอาจารย์ แต่เวลาประพฤติปฏิบัติ ธรรมจะเกิดจากเรา นี่ความเชื่อฆ่ากิเลสไม่ได้ การจะฆ่ากิเลสต้องมรรคญาณ ต้องศีล สมาธิ ปัญญา แล้วเป็นมรรค ๘ รวมลงเป็นมรรคสามัคคี ทำลายกิเลสของเราเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป มันจะเป็นธรรมแท้ๆ เกิดจากใจของเรา เอวัง