เทศน์บนศาลา

โลกุตตรธรรม

๙ ธ.ค. ๒๕๕o

 

โลกุตตรธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๐
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมนะ โลกุตตรธรรมเป็นธรรมเหนือโลก ส่วนโลกียธรรมเป็นธรรมในโลกไง เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาอยู่ ๖ ปี เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วสละสิทธิในการครองราชบัลลังก์ออกบวช ออกแสวงหา เพราะได้สร้างบุญกุศลมา แสวงหาอยู่นั้นเป็นโลก เป็นโลกียธรรม ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เห็นไหม เจ้าลัทธิต่างๆ ประกาศตัวว่าเป็นศาสดา แม้แต่อาฬารดาบส อุททกดาบสเห็นไหม ที่เข้าสมาบัติ ๘

เวลาเจ้าชายสิทธัตถะไปศึกษากับอาฬารดาบสเห็นไหม “เข้าสมาบัติได้เหมือนเรา เป็นอาจารย์สอนลูกศิษย์ได้เหมือนกัน” บอกเลยว่าให้เป็นอาจารย์สอนลูกศิษย์ ช่วยกันสอนลูกศิษย์ลูกหา แต่เจ้าชายสิทธัตถะปฏิเสธโลกียธรรม ถ้าเป็นโลกียธรรมเห็นไหม เป็นธรรมโลกๆ เป็นปรัชญา เป็นสิ่งที่ศึกษา ตรรกะในปรัชญา ตรึกได้ เข้าใจได้ ถ้าเข้าใจได้เห็นไหม เวลาคลายตัวออกมา มันก็เป็นเรื่องโลกไง เพราะตรึกจากเรา ตรึกจากกิเลส ตรึกจากสิ่งที่มีอยู่ในหัวใจของเรา มันก็คิดได้

คนเราจะคิดดีหรือคิดชั่วก็ได้ ถ้าคิดในสิ่งที่ดีๆ จิตใจก็สบาย แต่ก็เป็นดีในโลก ดีในวัฏฏะ สิ่งนี้ยังเป็นวัฏฏะอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยายามค้นคว้าอยู่เห็นไหม นี่คือโลกียธรรม แล้วพยายามค้นคว้า พยายามศึกษาสิ่งนี้ขึ้นมา อดนอนผ่อนอาหารขนาดไหน ขนาดที่ว่าอดอาหารถึง ๔๙ วัน เพราะ ความคิดของโลกๆ ความคิดที่ว่าสิ่งที่เป็นเราเกิดมาแล้วเป็นความทุกข์ สิ่งที่มีความทุกข์อยู่ แล้วเราปรารถนาเพื่อจะกำจัดทุกข์ ก็ทำกันด้วยกายกับใจ

สิ่งที่เป็นกายกับใจก็เป็นความคิดของโลก แต่ทำไปแล้วมันทรมานขนาดไหน มันเป็นอัตตกิลมถานุโยค ตามที่เขาว่ากัน มันเป็นอัตตกิลมถานุโยคของเจ้าลัทธิต่างๆ ที่ทำแล้วสูญเปล่า เขาจะไม่ได้ตามความปรารถนาของเขา เพราะเขาทำโดยโลก โดยโลกียะ โดยตัวตน โดยความเห็นของตน โดยความเป็นไปของตน สิ่งที่เป็นความเห็นของตน ทำขึ้นมาก็เพื่อตน แล้วตนคืออะไร ตนก็คือกิเลสไง

เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค้นคว้าไปจนถึงที่สุด แล้ววางไว้หมด ถึงบอกว่าพวกเรานักปฏิบัติ ไม่ต้องไปทดสอบกับใคร ไม่ต้องไปตื่นเต้นกับใคร สิ่งที่ไปตื่นเต้นในปัจจุบันนี้ ในภาคปฏิบัติ ศาสนามีแต่พิธีกรรม ครูบาอาจารย์ของเราแสวงหามา ศึกษามาในศาสนาพุทธ มันก็มีแต่พิธีกรรม มันเป็นการประกอบพิธีเห็นไหม ดูสิ ในลัทธิศาสนาต่างๆ แม้แต่ถือผี เขาก็มีพิธีกรรมของเขา ดูสิ เขาขึ้นครูของเขา เขาต้องมีพิธีกรรมของเขาทั้งนั้น แล้วพิธีกรรมมันฆ่ากิเลสได้ไหม มันฆ่ากิเลสไม่ได้หรอก

แล้วศาสนาของเราเป็นศาสนาที่มีแก่นมีสาร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ ได้วางธรรมและวินัยไว้ให้ก้าวเดิน ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นจะมีธรรมะในหัวใจเห็นไหม ถ้ามีธรรมะในหัวใจ โลกุตตรธรรมมันก็สถิตอยู่ในใจของสัตว์โลก ของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ของเทวดา อินทร์ พรหม ที่ฟังเทศน์จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วตรัสรู้ธรรมกันเป็นแสนเป็นล้าน โลกุตตรธรรมมันเกิดที่นี่ มันไม่เกิดในตำรับตำรา มันไม่เกิดหรอก นั่นมันเป็นแค่ชื่อไง สิ่งที่เป็นเพียงชื่อ แล้วเราก็ไปตื่นเต้นกับเขา

ทั้งๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้รื้อค้นมาแล้ว เที่ยวทดสอบมาแล้ว ถ้าเราเชื่อมั่นในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะไม่ต้องไปตื่นเต้นกับใครเลย เรายึดมั่นถือมั่นในศาสดา ธรรมและวินัยจะเป็นศาสดาของเรา ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นที่นี่ แล้วเราประพฤติปฏิบัติไป ให้มันเป็นตามความเป็นจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้ แล้วเราก็ศึกษากันเห็นไหม พอศึกษากันก็ศึกษาแต่ทางโลก

เวลาองค์สมเด็จสัมมาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ทั้งๆ ที่ตั้งใจว่าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ ยังทอดธุระเลย ทอดธุระเพราะอะไร เพราะว่าโลกกับธรรมมันคนละเรื่องกัน แล้วคนเกิดมาโดยโลก คนเกิดมาอยู่ในวัฏฏะเห็นไหม คนเกิดมาโดยกิเลส เกิดมาในสถานะของมนุษย์ มนุษย์ก็ต้องคิดได้อย่างนี้ คิดได้เท่านี้ ถ้าคิดได้เท่านี้ แล้วสิ่งนี้มันเหนือความคาดหมายของมนุษย์ เหนือความคาดหมายของโลก เหนือการคาดหมายของวิทยาศาสตร์ต่างๆ เหนือหมดเลย เพราะเป็นธรรมเหนือโลก แล้วจะสอนใคร จนทอดธุระ

แต่ด้วยการที่ได้สร้างบุญญาธิการมา ดูสิ อย่างสังคมที่เกิดขึ้นมา สภาพสังคมที่ดี สังคมที่เลวเห็นไหม สังคมที่เลวสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีทำให้การเป็นอยู่มันไม่สะดวกสบาย ถ้าสิ่งแวดล้อมที่ดี เราอยู่ในสถานะอย่างนั้น มันก็เป็นสิ่งที่มีความสุขเห็นไหม นี่ก็เหมือนกัน ในการสร้างบุญกุศลมา ปรารถนามาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระโพธิสัตว์ อัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา พุทธมารดา ก็ปรารถนามาด้วยกันทั้งนั้น สร้างบุญญาธิการมาทั้งนั้น บารมี ๑๐ ทัศ เห็นไหม อธิษฐานบารมี ทานบารมี ศีลบารมี สร้างสมมาจนสมบูรณ์

สิ่งที่สร้างมาจนสมบูรณ์ มันเป็นไปด้วยอำนาจบุญบารมี สร้างสมไปเห็นไหม เขาบอกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีบุญกุศลมาก มีคนทำบุญกุศลมาก ไม่ใช่ ไม่ใช่เพราะอะไร ไม่ใช่เพราะสิ่งที่เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุญกุศลเกิดจากท่านทำของท่านมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสละนะ สละทุกอย่าง ขณะที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่เห็นไหม เป็นสัตว์ก็สละชีวิต สละเพื่อช่วยลูกน้อง สละเพื่อช่วยสร้างฝูงสร้างหมู่คณะ สละด้วยชีวิตของท่านเอง สละเป็นกระต่ายกระโดดเข้ากองไฟ ให้นายพรานเขาได้กินเนื้อเป็นอาหาร เพื่อให้ดำรงชีวิตเห็นไหม สละมาตลอด สิ่งที่สละมา คนที่สละมา ได้สร้างสมบุญญาธิการมา จิตใจมันมีบุญญาธิการมหาศาลขนาดนั้น ยังทอดธุระ

โลกุตตรธรรมคือธรรมเหนือโลก ธรรมเหนือโลกมันเกิดที่ไหน ธรรมเหนือโลกมันเกิดจากประสบการณ์ของใจที่สัมผัส แล้วคนที่กิเลสหนาปัญญาหยาบ ไม่เชื่อเรื่องนรก สวรรค์ ไม่เชื่อสิ่งต่างๆ แม้แต่เป็นชาวพุทธเกิดมาพบพุทธศาสนา ยังคิดว่าตายแล้วสูญ ว่างๆ เวิ่งๆ ก็พูดกันไปตามประสาที่จิตใจไม่มีหลักมีเกณฑ์ เพราะอินทรีย์ เพราะความสะสมของใจ ใจมันไม่มีหลักมีเกณฑ์

คนจะมีหลักมีเกณฑ์ มันเป็นนิสัยของใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นมีหลักมีเกณฑ์ การแสดงออกของใจดวงนั้นมันจะเป็นหลักเป็นเกณฑ์ ไม่โลเลไปกับโลกเขา ถ้าไม่โลเลกับโลกเขาแล้วศึกษาธรรมไง เวลาศึกษาธรรมขึ้นมาในภาคปริยัติ เราเกิดมาเป็นสมมุติทั้งหมด ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหนือโลก ถ้าสาวมาด้วยพุทธปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะสั่งสอนได้หมดเลย ยังลังเลว่าใครจะรู้ได้อย่างไร จนไปเทศนาว่าการให้ปัญจวัคคีย์

ขณะเทศน์ให้ปัญจวัคคีย์ พออัญญาโกณฑัญญะเข้าใจขึ้นมา “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”  ท่านดีใจมาก เพราะมีพยานเห็นไหม เขาได้สร้างสมบุญญาธิการมา เทศน์ปัญจวัคคีย์จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์หมดเลย แล้วเทศน์โปรดยสะเห็นไหม ๖๑ องค์ “เธอทั้งหลายพ้นจากบ่วง ที่เป็นโลก และบ่วงที่เป็นทิพย์ เธอจงไปอย่าซ้อนทางกันเพื่อสังคม เพื่อโลกนะ เพราะโลกเร่าร้อนมาก” แล้วพากันเทศนาว่าการไป

สมัยพุทธกาล ขณะที่ธรรมวินัยยังไม่ได้บัญญัติ พระอรหันต์มีมหาศาลเลย เพราะไม่มีกรอบไง ไม่มีสิ่งใดบังคับ เพราะมาด้วยเจตนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง พันเท่าไหร่ล่ะ พระอรหันต์ได้ทีเป็นพันๆ องค์นะ วัดในสมัยพุทธกาลมีแต่พระอรหันต์ทั้งนั้นเลย พระอรหันต์มีขึ้นมาได้เพราะอะไร เพราะมันเป็น โลกุตตรธรรม ธรรมเหนือโลก สิ่งที่เหนือโลก เพราะเขาทุกข์เขายากอยู่

ดูอย่าง นางปฏาจาราเห็นไหม นางปฏาจาราก็มีวาสนา แต่ด้วยกรรม มีสามีไป เวลาคิดถึงจะกลับมาเยี่ยมพ่อเยี่ยมแม่เห็นไหม มีลูกคนที่ ๑ จนลูกคนที่ ๒ สุดท้ายแล้วหนีกลับมา สามีตามมาเห็นไหม สามีภรรยารักกันไหม มีลูกตั้ง ๒ คน แล้วตามมาดูแล ไปหาฟืนมาเพื่อจะทำความอบอุ่นให้ แต่โดนงูกัดตาย ความเสียใจก็เกิดขึ้นมาแล้ว ขณะจะกลับไปเยี่ยมพ่อเยี่ยมแม่ มีฝนฟ้าคะนองมากแล้วน้ำป่ามันมา จึงข้ามไม่ได้ เอาลูกคนหนึ่งไว้ทางนี้ก่อน อุ้มลูกอีกคนไปไว้อีกฝั่งหนึ่ง แล้วกลับมาจะไปรับลูกอีกฝั่งหนึ่ง พอมาถึงกลางแม่น้ำ เหยี่ยวมันโฉบเอาลูกคนเล็ก เพราะเพิ่งคลอดมาตัวมันแดงๆ อยู่ จึงโบกมือไล่เหยี่ยว แต่ลูกเข้าใจว่าแม่เรียก เดินลงไปแม่น้ำนะ แม่น้ำพลัดตาย ลูกคนโตตายไป เหยี่ยวก็คาบลูกคนที่ ๒ไป เสียใจมาก เสียใจขนาดไหน ทุกอย่างสูญสิ้นไปแล้ว ก็กลับไปหาพ่อหาแม่ดีกว่า ไปถึงเห็นคนเดินผ่านมาถามว่า ตระกูลนั้น บ้านของตัวเองอยู่ที่นั่น พ่อแม่ยังอยู่ไหม เมื่อคืนฝนตกฟ้าร้องฟ้าผ่าที่นั่น ไฟไหม้หมดเลย เสียสามี เสียลูกสองคน เสียพ่อ เสียแม่ เสียใจมากจนสติขาดไป เป็นบ้าเลยนะ วิ่งไปเห็นไหม วิ่งไปตามทาง เพราะมันหมดแล้ว โลกนี้หมดแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการอยู่ “ปฏาจารา!  ปฏาจารา!  เธอเป็นอะไร เธอเป็นอะไร”  สติก็ฟื้นขึ้นมา ด้วยสร้างสมบุญญาธิการมาจะได้เป็นพระอรหันต์ไง

นางปฏาจาราเป็นภิกษุณีที่สำเร็จพระอรหันต์ คำว่าหลักใจก็มีอยู่อย่างนั้น แต่ขณะที่ดำรงชีวิตโลกเป็นอย่างนั้น สิ่งที่เป็นโลกก็เป็นโลกไป แต่เวลาธรรม ธรรมที่ไหน เสียทุกอย่างหมดเลย แต่เวลาบวชขึ้นมาแล้วให้พิจารณาเทียนเห็นไหม เทียนมันเผาไหม้ตัวมันเอง สิ่งที่เผาไหม้ตัวมันเอง มันเผาไหม้ไป ชีวิตนี้ก็เหมือนกัน ความทุกข์ที่เราผจญมา มันทุกข์ไหม มันเผาไหม้ตัวเองไหม สิ่งที่เผาไหม้ มันเผาไหม้ด้วยความทุกข์ เผาไหม้ด้วยเรื่องของโลก

แต่ขณะที่ปฏิบัติธรรม โลกุตตรธรรม มรรคมันเกิด ความเป็นไปของหัวใจมันเกิดขึ้นมา มันประมวลขึ้นมาจากภายใน มันทำลายกิเลสหมด เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาเลย คนมีอำนาจวาสนาเห็นไหม ไม่มีกรอบไม่มีสิ่งต่างๆ

เราทำกรอบ เราศึกษากันในปัจจุบันนี้ เห็นไหม เรายึดว่าสิ่งนี้เป็นธรรม ดูสิ ตำรับตำราเขียนกันมามหาศาลเลย นักวิชาการมีตำราออกมามาก แล้วก็ยึดตำรากัน ในการปฏิบัติก็ปฏิบัติโดยทฤษฎี มันจึงเป็นปริยัติในภาคปฏิบัติ ถ้าปริยัติในภาคปฏิบัติ มันตรึกในธรรมไปอย่างนั้น แล้วมันก็สร้างภาพไปกับสภาวธรรม

แต่ถ้าเป็นโลกุตตรธรรม ธรรมของครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นธรรมเหนือโลก ถ้าเป็นตำรา มันไม่เข้าใจนะ พยายามศึกษาอย่างไรก็ไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจหรอกเพราะมันเป็นธรรมเหนือโลก สิ่งที่เป็นตำรา มันก็เป็นสมมุติแล้ว สมมุติคือระบอบวิธีการ มันเป็นวิชาการออกมา แล้วเรามีกิเลส กิเลสของเราบวกเข้าไปเวลาที่ศึกษาทางวิชาการ ก็เป็นเรื่องของโลกๆ ไง เป็นเรื่องโลกียปัญญาไง ปัญญาของเราคือโลกียธรรม ถ้าเป็นโลกียธรรม มันทำความเข้าใจได้ อย่างเรานี้ เราจะทำความเข้าใจเรื่องของทางวิชาการ โดยเป็นตรรกะ เราเข้าใจได้ มันจะซึ้งใจของเราเห็นไหม อ่านเข้าใจได้ทั้งนั้น

คนที่มีหลักเกณฑ์ในโลก มันก็เรื่องของโลก แต่ถ้ามันเป็นธรรม ธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาเห็นไหม มีฤทธิ์มีเดช เพราะมีฤทธิ์มาก ขนาดตั้งเอตทัคคะ ๘๐ องค์ ผู้ที่ทายใจได้ ผู้ที่มีฤทธิ์เหาะเหินเดินฟ้าได้ ผู้ที่มีอภิญญา ตั้งไว้ทั้งหมดเลย ทุกอย่างนี้รวมอยู่ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดเลย สิ่งนี้มันเหนือโลกขนาดไหน โลกเข้าใจสิ่งนี้ไม่ได้ แล้วพอเวลาวางธรรมไว้ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปรมัตถธรรม สิ่งนี้เป็นธรรมเหนือโลกไหม

ในพระไตรปิฎกนั้นเป็นการบอกถึงวิธีการ เพราะอะไร เพราะนิพพานเขียนออกมาไม่ได้ นิพพานสงบเย็น เขาตีความกันอยู่ มันสงบเย็นกันอย่างไร ตีความกันจนนิพพานไม่มีไง นิพพานไม่มี นิพพานจับต้องไม่ได้ นิพพานหมดกาลหมดสมัยหมดไปทุกอย่างเลย เหลือแต่กิเลสในหัวใจ แล้วเขียนตำรับตำรากันมา ศึกษากันเข้าใจกัน พอใจกัน พอใจมาก ถ้าศึกษาอะไรแล้วเข้ากับกิเลสได้ เข้ากับความเห็นของเราจะพอใจมาก แต่ถ้าบอกว่านิพพานมีอยู่ นิพพานเกิดจากการกำจัดทุกข์ของเราออกไปจากหัวใจนั้นไม่เชื่อ ทำไม่ได้ หรือทำแล้วแต่เข้าไม่ถึง

โลกุตตรธรรม ธรรมเหนือโลก สิ่งที่จะสัมผัสได้คือหัวใจของสัตว์โลกเท่านั้น สิ่งที่เป็นตำรับตำราเขียนเป็นทางวิชาการนั้น ถึงจะเป็นธรรมของครูบาอาจารย์ที่ใจนั้นเป็นโลกุตตรธรรม ขณะที่แสดงธรรมออกมา เราศึกษาแล้วมันก็เป็นสมมุติในใจของเราเห็นไหม

สิ่งนี้มันจะเกิดขึ้นมาได้ด้วยความรู้สึก ด้วยการภาวนา ความรู้จริงนี่ต้องเอาความรู้สึกนี้เข้าไปรู้จริง ดูสิ เราทำสมาธิขึ้นมาแต่ละครั้งแต่ละคราว กว่าจะเป็นสมาธิขึ้นมา เราลงทุนลงแรงไปขนาดไหน แล้วสมาธิอยู่กับเราได้กี่วินาที กี่นาที มันก็เสื่อมไป แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป ให้มันเกิดขึ้นมาอีก

สิ่งที่เป็นสมาธิ แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมานี้ มันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร การประพฤติปฏิบัติมันถึงมีปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สิ่งที่ปฏิบัติกันอยู่เวลานี้ ถ้าปฏิบัติโดยสัจจะความจริง มันจะเป็นความสัมผัสของใจ ใจมันสัมผัส สิ่งที่สัมผัสของใจเห็นไหม “ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต” ผู้ใดเห็นธรรมนะ สมาธิธรรม ปัญญาธรรมเกิดขึ้นมาอยู่ที่ไหน เห็นตถาคต ทั้งๆ ที่ใจนี่เป็นพุทธะนะ สิ่งที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ใจนี่เป็นพุทธะ จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้เป็นวิญญาณปฏิสนธิ เป็นวิญญาณที่พาเกิดพาตายไง มันจะเกิดจะตายไป

เพราะขณะที่ออกมาเป็นมนุษย์ ออกมาเป็นภพชาติ ออกมาเป็นมิติ มันอยู่ในสถานะไหนก็สถานะนั้น มันคิดได้โดยสภาวะแบบนั้น คิดได้โดยสถานะ คิดได้โดยภพ โดยความเป็นไปของจิต จิตมันเสวยภพแล้ว เป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ ดูสัตว์สิ สัตว์มันสื่อความหมายกันภาษาสัตว์ สัตว์มันสื่อความหมายกันนะ มันบอกข่าวกัน มันบอกถึงภัยมันเตือนภัยกันเห็นไหม เวลามันเป็นฝูงของมัน สัตว์มันส่งภาษากัน มันดูแลกัน มันรักษากัน มันรักใคร่กันประสาของสัตว์ แต่มันก็ทำลายกัน ทำลายกันโดยตัณหาความทะยานอยากของมันเห็นไหม

มนุษย์เราก็อยู่ในสถานะของเราเห็นไหม สถานะของเราความคิดมันก็คิดได้เท่านี้ ถ้าความคิดมันคิดได้เท่านี้ มันคิดแบบโลกๆ เห็นไหม โลกมันเป็นเรื่องของบุญกุศล ของการเกิดในสถานะของภพ ชาติปิ ทุกฺขา การเกิดเป็นทุกข์อย่างยิ่ง สัตว์มันก็เกิดอย่างหนึ่ง มนุษย์โลกก็เกิดอย่างหนึ่ง เกิดอย่างหนึ่งคือเกิดในสถานะอย่างหนึ่ง แต่พอเราประพฤติปฏิบัติธรรมขึ้นมา มนุษย์ที่เป็น บุคคล ๘ จำพวก มนุษย์แท้ๆ เป็นสมณะที่ ๑ เป็นสมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ บุคคล ๘ จำพวก ใจนี้มันเปลี่ยนแปลงได้ มันพัฒนาการได้ โลกุตตรธรรม มันเกิดที่นี่ต่างหาก

เกิดจากใจมันถูกบ่มเพาะ ทางการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ทำให้ใจมันหลุดพ้นออกไปได้ สิ่งที่มันหลุดพ้นไปเห็นไหม มันถึงมีการปฏิบัติไง จะศึกษาปริยัติให้เข้าใจธรรมะเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จะศึกษามาขนาดไหน ก็ศึกษามาโดยตรรกะ โดยความเห็นของเรา

ดูสิ ในการประพฤติปฏิบัติเห็นไหม จะต้องไม่มีความอยาก จะต้องปฏิบัติโดยความสะอาด โดยความเป็นมรรค แล้วมันเป็นไปได้อย่างไรล่ะ มันเป็นไปไม่ได้ เริ่มต้นศึกษาธรรมก็ปฏิเสธเห็นไหม ความอยากนี่เป็นกิเลสทั้งหมด แต่ไม่คิดว่าฉันทะ ความพอใจ ความอยากในคุณงามความดี มันเป็นมรรค เป็นจุดเริ่มต้น

ในเมื่อถ้าเราถือใบประกาศ เราถือทางวิชาการ ทดสอบทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่เป็นสารเคมีที่เราจะทดสอบทางวิทยาศาสตร์ เราจะมารวมอยู่ในหลอดแก้วที่ผสมที่จะมาทดสอบทางวิทยาศาสตร์ ให้มันเกิดค่าอย่างอื่น มันแทบไม่ได้เลย เพราะเราต่างให้ค่ากันอย่างนั้น แต่นี่มันผสมกัน มันมีตัวแปร มันมีผสมส่วนต่างๆ ออกไป มันจะออกเป็นค่าตัวใหม่ๆ ไปตลอดเวลา

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อมันเป็นความอยาก แล้วความอยากนี้เป็นกิเลสไหม เป็น ถ้ามันอยาก ตัณหาความทะยานอยาก อยากประสาที่มันต้องการในสิ่งที่มันเผารนมัน แต่ถ้ามันอยากทำความดี มันอยากที่จะตั้งใจ ความอยากอย่างนี้ไง

ดูสิ ในการกำหนดพุทโธ ในการทำสมถะ สิ่งที่ทำสมถะ มันเป็นสมถะ มันเป็นสมาธิแก้กิเลสไม่ได้ ในสมถะนั้น มันก็มีความรู้สึก มันก็มีปัญญา มันมีทั้งนั้น แต่ถ้าพูดถึงเอาทางใบประกาศกันเห็นไหม ถ้าบอกกำหนดพุทโธนี่มันเป็นสมถะ แล้วเราจะรักษาสมถะไว้ได้อย่างไร ถ้าพูดถึงเรากำหนดพุทโธ พุทโธ เห็นไหม มันเป็นคำบริกรรม แต่ถ้าจิตมันไม่สงบเข้ามา เราจะใช้ปัญญาของเราใคร่ครวญเข้ามา สุดท้ายของมันก็คือสมถะ แต่สมถะมันก็ใช้ปัญญา ถ้าใช้ปัญญาขึ้นมา แล้วความอยากในการเอาชนะกิเลส อยากเอาชนะตัวตน เอาชนะกำลังที่มันอยู่บนหัวใจนี้ มันจะผิดไปไหน มันเป็นความดีทั้งนั้น

แต่ถ้าเราศึกษาโดยวิชาการเห็นไหม ความคิดโดยตัวตน มันเป็นกิเลสหมด ถ้าเป็นกิเลสหมด แล้วเราจะเริ่มต้นตรงไหน ก็ที่สถานะของมนุษย์ เราเกิดเป็นมนุษย์ ถ้าเป็นโลกุตตรธรรมเป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านมีประสบการณ์ จะบอกว่า มันก็ต้องเริ่มต้นจากกิเลสนี่แหละ เริ่มต้นจากเรา ไม่อย่างนั้น มนุษย์สมบัติจะเป็นอริยทรัพย์ได้อย่างไร การเกิดเป็นมนุษย์นี้เป็นอริยทรัพย์ เพราะอะไร เพราะมันเกิดมามีร่างกายกับจิตใจ ร่างกายนี้ต้องการอาหาร ส่วนจิตใจนี้ต้องฝึกฝนมัน เพื่อให้จิตใจมันพัฒนา ให้มันเป็นโลกุตตรธรรม

ถ้าจิตใจพัฒนาไปโดยทางโลก จิตใจทางโลกเขาที่มีการศึกษากัน แล้วฝึกฝนมาในทางบริหารจัดการ บริหารจัดการมาเพื่อใคร เพื่อสังคม เพื่อเป็นบุญกุศล เพื่อเป็นความดี มันก็เวียนอยู่แค่ตรงนั้น แต่ถ้ามันย้อนกลับมา บุคคลคนหนึ่ง การเกิดและการตายแต่ละภพแต่ละชาติ ถ้ามานับกันแล้ว สังคมเป็นล้านๆๆ คน มันยังไม่สู้เท่ากับใจดวงเดียวเลย

ถ้าจะบริหารใจดวงนี้เห็นไหม ดูสิ เวลาจิตสงบเข้ามา บุพเพนุวาสานุสติญาณ มันย้อนอดีตชาติไป เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย้อนไปตั้งแต่เป็นพระเวสสันดร ทำไมย้อนไปได้ไม่มีที่สิ้นสุด มันเกิดแล้วตาย เกิดตาย เกิดตาย

ถ้าจะบริหารสังคม บริหารจัดการต่างๆ ทำไมไม่บริหารที่หัวใจของตัวล่ะ หัวใจของตัวทำไมมันบริหารไม่ได้ เพราะไม่มีกำลัง ไม่มีความเป็นไป ไม่รู้จักการบริหาร แล้วพอจะประพฤติปฏิบัติกันก็บริหารกันแต่อารมณ์ อารมณ์ความรู้สึกไง “ธรรมะจะเป็นอย่างนั้น ธรรมจะเป็นความพอใจอย่างนั้น” สร้างภาพกันด้วยอารมณ์ความรู้สึก มันไม่ใช่ใจ อาการของใจ ไม่ใช่ ใจ

ดูสิ เราเกิดมายังไม่มีปัจจัยเครื่องอาศัยใช่ไหม เราต้องมีผ้าห่มใช่ไหม เราต้องมีสิ่งอาศัยช่วยร่างกายใช่ไหม

ใจมันก็เหมือนกัน ใจมันหิวกระหายในอารมณ์ความรู้สึก ใจนี้หิวมากนะ ใจนี้พร่องตลอดเวลา สิ่งใดผ่านมาไม่ได้ อยากรู้อยากเห็นไปหมด มีความต้องการ พยายามจะเปิดใจตลอด แต่เปิดไปหาใคร เปิดไปหากิเลสตัณหาความทะยานอยากทั้งนั้นเลย แล้วพอปฏิบัติธรรม ก็เอาสิ่งนี้เข้าไปจับ มันจะเป็นไปได้อย่างไรเห็นไหม มันถึงจะต้องทำความสงบของใจเข้ามาก่อน

ในการทำความสงบของใจ มันก็ต้องใช้ปัญญาเหมือนกัน แต่ปัญญาอย่างนี้ มันเป็นปัญญาของโลกๆ โลกียปัญญา โลกียธรรม จะศึกษามาขนาดไหน มันก็เป็นโลกียธรรม เพราะมันก็เป็นเรื่องของกิเลสเห็นไหม แต่มันก็ต้องอาศัยจุดนี้เป็นจุดเริ่มต้น อาศัยเป็นจุดก้าวเดินของใจเรา อาศัยจุดที่ว่าเรามีศรัทธาความเชื่อ ถ้ายังมีศรัทธาความเชื่อ คุณประโยชน์เกิดตรงนี้ คุณธรรมเกิดจากตรงนี้ เกิดจากมีความเชื่อ มีความมั่นคงของเรา มีความมั่นใจของเรา ถ้าเรามีความมั่นคง มีความมั่นใจนี้มันจะเป็นความเพียรชอบ ความเพียรจะเกิดตรงนี้ ถ้าเราไม่มีความมั่นใจของเราเลย เราก็ทำสักแต่ว่าทำกัน

ในการปฏิบัติโดยโลกๆ โดยความเห็นของกิเลส จะต้องปฏิบัติแบบสักแต่ว่า “ต้องไม่มีความอยาก ต้องไม่มีสิ่งใดๆ ตอบสนองเลย” เหมือนคนตาบอด เหมือนคนเป็นใบ้เป็นบ้า แล้วสื่อความหมายกันไม่รู้เรื่อง ปฏิเสธไปหมดเลย แต่ถ้าเป็นคนที่มีสติสัมปชัญญะ จะรู้ดี รู้ชั่ว รู้ถูก รู้ผิด ทำไปสิ ผิดก็ต้องว่าผิด ถูกก็ต้องว่าถูก เราต้องปฏิบัติไปโดยสามัญสำนึกของความเป็นจริง ตามข้อเท็จจริง ผิดก็คือผิด ถูกก็คือถูก แล้วคนปฏิบัติที่จะถูกไปตลอดนั้น เป็นไปไม่ได้

คนจะปฏิบัติมา แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สร้างสมบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ จะได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๖ ปี ค้นคว้าอยู่ขนาดไหน สิ่งที่ค้นคว้ามากับเจ้าลัทธิต่างๆ ปฏิบัติมาขนาดนี้ก็ยังไม่เข้าทางเลย ถ้าเข้าทางต้องสำเร็จเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่ปฏิบัตินั้นแล้ว ยังไม่เข้าทางเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังรื้อค้นมาขนาดนี้ แล้วเรามีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เป็นโลกุตตรธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระไตรปิฎกที่วางแนวทางไว้ ธรรมและวินัยมันเป็นวิธีการชี้เข้าไปสู่ความรู้สึก สมาธิมันก็เป็นชื่อของสมาธิ ปัญญาที่ว่าเป็นปัญญา มรรคจะเดินตัวอย่างไร มันเป็นวิธีการเท่านั้น มันเป็นสมมุติบัญญัติ แต่วิมุตติ ความรู้สึกของใจ สมาธิความรู้สึกของเรา ความรู้สึกว่าเป็นสมาธิ จิตมันสงบเข้ามา แล้วมันมีหลักมีเกณฑ์กับพระไตรปิฎกที่เขียนไว้ มันต่างกันไหม ต่างกันทั้งนั้น แต่เราก็ไม่เข้าใจ เรากลัวไง เรากลัวเกินไป เราจะเอาแต่สิ่งที่ทำให้ถูกต้องตามพระไตรปิฎก ตามวิธีการ

รถที่เราวิ่งไปบนถนน แผนที่จะบอกเลยว่า ถนนสายนี้ต้องตรงไปอย่างนี้ แล้วถนนนั้นมันขาด แล้วเขาทำทางเบี่ยงไว้ เราเบี่ยงไม่ได้ ถ้าเราจะยึดมั่นถือมั่น เราต้องขับรถให้ตกถนนขาดนั้นไป แล้วเราจะไปได้ไหม มันไปไม่ได้ เพราะถนนเขาเบี่ยง เขาเบี่ยงถนนให้ไปได้ นั่นก็เหมือนกัน การประพฤติปฏิบัติมันเป็นจริตนิสัย มันจะมีกิเลสเข้ามาขัดขวางตลอดไป แล้วยิ่งศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ก็ว่า “ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนี้” กิเลสมันก็เป็นอย่างนั้น เบี่ยงไปเบี่ยงมา มันจะทำให้เราสับสนไปตลอด

แล้วเราก็คิดว่า เราทำถูกต้องหมด ทุกคนจะบอกเลยว่าตรึกในธรรม วิปัสสนามา เป็นสัจจะความจริงอย่างนี้หมดเลย แล้วทำไมมันไปไม่ได้ล่ะ มันเหมือนกับว่า ในวัฏฏะนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า เหมือนกับคนที่เดินอยู่กลางทะเลทราย แล้วยังมีข้างหน้าที่จะต้องเดินไปอีก แล้วเรานี้หมดกำลัง นอนอยู่กลางทะเลทราย ในการประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ถ้าปฏิบัติโดยกิเลส โดยตำรา มันจะเป็นอย่างนั้น เห็นธรรมะอยู่ไรๆ แล้วเราก็เหมือนคนที่ไม่มีความสามารถที่จะจับต้องสิ่งนั้นได้ แล้วก็มีสิ่งที่กวนใจตลอดไปเห็นไหม เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราห่วงหน้าพะวงหลัง มันเป็นอดีตอนาคต เราจึงต้องวางจริงๆ

ในภาคปฏิบัติ ถ้าศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ใช่ มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมของครูบาอาจารย์ แต่เราต้องวางไว้ ถ้าเราจะทำของ เราก็ตั้งสติขึ้นมา โลกุตตรธรรมจะเกิดที่นี่ แต่เราไม่กล้าวางสิ่งต่างๆ เราไม่กล้าวางนะ เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็บอกว่าว่าง เราก็สร้างภาพกันว่าว่าง อาการความรู้สึกมันเป็นสิ่งปัจจัยเครื่องอาศัยของจิต แต่มันไม่สะเทือนตัวจิต

แม้แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นโลกุตตรธรรมที่วางไว้ มันก็เป็นแค่วิธีการ แล้วเราเองก็เอากิเลสของเราเข้าไปสร้างภาพอีก สองชั้น สามชั้น ปฏิบัติกันไปอย่างนั้น ถ้าจะให้มันเป็นความจริง เราวางเลย ครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติของท่านมา ถ้าเราจะวัดผล เวลาเราปฏิบัติแล้วออกมาศึกษา เราปฏิบัติของเรามา แล้วมันมีผลเกิดขึ้น แล้วเรามาเปิดตำรับตำรา มาวัดผล อย่างนี้ถูกต้อง ถ้าวัดผลเสร็จแล้วก็วางไว้

แล้วเรากลับมาประพฤติปฏิบัติของเราไปอีก แต่ถ้าพูดถึงเรามีครูมีอาจารย์ เราไม่ต้องเปิดตำราวัดผล เราวัดผลด้วยความรู้สึกกับความรู้สึกเลย ถ้ามีความสงสัยต่างๆ ครูบาอาจารย์ท่านต้องผ่านวิธีการอย่างนี้มาแล้ว วิธีการอย่างนี้ถ้ายังไม่ผ่านมาจะเป็นครูบาอาจารย์ได้อย่างไร ขนาดปัญหาเล็กน้อยอย่างนี้ ยังตอบไม่ได้ แล้วถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมาล่ะ เราไปหาหมอเห็นไหม แม้แต่เราเป็นโรคพื้นๆ อย่างนี้ หมอยังรักษาเราไม่ได้เลย แล้วถ้าเกิดเราเป็นโรคที่มันรุนแรงขึ้นมา หมอจะรักษาเราได้อย่างไร

นี่ก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติไป ไม่ใช่ว่ามันจะราบเรียบไปตลอดหรอก มันมีตื้นลึกหนาบาง เวลาลึกเข้าไปในใจจะลึกเข้าไปมาก ลึกเข้าไป เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป บุคคล ๘ จำพวก ฟังสิ มรรคหยาบ มรรคละเอียด มันแตกต่างกันมหาศาลเลย ในการจะเดินทวนกระแสเข้าไปในหัวใจ ด้วยจะสร้างผลงานของเรา ด้วยโลกุตตรธรรม ธรรมเหนือโลก โลกนี้ยังพิสูจน์กันไม่ได้ ก็อยู่กับโลกเขา แต่เราอย่าไปตื่นกับโลก โลกจะเป็นสภาวะแบบนั้น สภาวะแบบทางวิทยาศาสตร์เห็นไหม เป็นทฤษฎี แม้แต่ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นทฤษฎี พอพิสูจน์กันแล้วมันก็ยังให้ค่า ไม่ได้อย่างนั้นเลย

เพราะสิ่งที่จะให้ค่าอย่างนั้น มันมีตัวแปรมหาศาล นี้เพียงแต่ทำขึ้นมาเพื่อเป็นวัตถุ เป็นความสะอาด ดูสิ โรงงานอุตสาหกรรม เขายังต้องการน้ำสะอาด เขาต้องการอะไรต่างๆ เพราะอะไร ถ้ายิ่งสะอาดเท่าไหร่ คุณภาพที่ผลิตออกมามันยิ่งดีขนาดนั้น สิ่งที่มันผลิตออกมา ถึงเวลาแล้วมันใช้ประโยชน์ได้ขนาดไหนล่ะ มันใช้ประโยชน์ได้ชั่วอายุของเขา ชั่วคราวนิดเดียว เพราะมันมีอายุการใช้งานของเขา มันจะอยู่อย่างนั้นตลอดไปไม่ได้

แต่ก็สร้างก็คิดกันขึ้นมา เพื่ออำนวยความสะดวกไง สิ่งที่อำนวยความสะดวก มันเป็นเรื่องของโลกๆ เพราะมันไม่มีจิตวิญญาณ มันรับรู้อะไรไม่ได้ แต่ใจต่างหากที่ไปใช้มัน สิ่งที่เราใช้มันเห็นไหม นี่มันเป็นเรื่องของโลก

ถ้าเป็นเรื่องของธรรมล่ะ ดูสิ สมาธิยังมีอายุการใช้งานได้ขนาดไหน เพราะเรารักษามันไม่เป็น ถ้ารักษามันเป็น อายุการใช้งานมันจะมีอยู่ตลอดไป เพราะอะไร เพราะใจมันไม่เคยตาย

สิ่งที่ไม่มีมิติ ไม่มีกาลเวลาเลยคือตัวจิต จิตนี้ไม่มีเวลาเลย มันจะตกนรกหมกไหม้ขนาดไหน มันจะเป็นเทวดา อินทร์ พรหม จะมีอายุยืนขนาดไหน มันก็ต้องหมดอายุของมัน มันก็วนมาอย่างนี้ แล้วเราทำสมาธิเข้าไปเห็นไหม เราทำความสงบของใจเข้าไป ถ้าเรารู้จักเหตุไง ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้ามีสติขึ้นมา เราตั้งคำบริกรรมของเราขึ้นมา พุทโธ พุทโธ เรากำหนดของเราขึ้นไป ถ้าเราพยายามทำอยู่แล้วเห็นไหม เราทำแล้วแต่มันยังหาจุดลงตัวของตัวเองไม่ได้ มันทำอย่างไรก็ทำไม่ได้ เราก็มีอุบายเห็นไหม ทางเบี่ยง ทางลัดต่างๆ ลัดอย่างไร ลัดไม่ให้กิเลสมันรู้ตัวไง ไม่ใช่ลัดที่ว่าเราจะเอาให้กิเลสมันหลอกอีกชั้นหนึ่งว่าเป็นทางลัด จะทางลัดขนาดไหน เหมือนกินอาหาร เขาว่ากินทางลัด กินคำเดียวก็อิ่ม แล้วมันไม่อิ่มจะทำอย่างไร อาหารนี้ เราต้องกินกี่คำ มันถึงจะมีความรู้สึกว่าอิ่มขึ้นมา นี่ก็เหมือนกัน หนึ่งคำ สองคำ หน้าที่ของเราคือกินไปเรื่อยๆ แล้วพอมันอิ่มท้องขึ้นมา มันก็จะอิ่มของมันเอง

เราต้องมีอุบายวิธีการหลบหลีกมันไง ในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราไม่หลบหลีก เราทำของเราโดยเถรตรง ตรงกับกิเลสมันจะหลอกได้ชัดเจนเลย นั่งก็นั่งเอาเวลากันนะ “เริ่มต้นขนาดนั้น ลงไปเป็นขนาดนี้”  ได้ปฏิบัติแล้ว ก็ออกมาคุยโม้กันปากเปียกปากแฉะ เอานาฬิกากัน มันไกลมาก เพราะนาฬิกามันอยู่นอกกายเรา ความรู้สึกในหัวใจเราต่างหาก จะนั่งมากนั่งน้อยไม่สำคัญ สำคัญที่ว่าจิตมันสงบไหม

แล้วเวลาจิตที่มันพัฒนาขึ้นมาแล้ว มันจะต้องฝ่าฟันกับกิเลสตัณหาความทะยานอยาก สิ่งที่อยู่ในหัวใจ มันจะฝ่าฟันกับสิ่งนี้เข้ามา ถ้ามันจะฝ่าฟันอย่างนี้ มันจะต้องต่อสู้กัน ถ้าเราไม่ต่อสู้ เราจะเอาอะไรไปชนะกิเลส เราไม่ได้ต่อสู้กับกิเลสเลย เราไม่ได้โต้แย้ง ขัดแย้งกับมันเลย การขัดแย้งกับความรู้สึกเรา ความรู้สึกที่ต้องการความสะดวกสบาย ความรู้สึกที่จะต้องนอนแผ่สองสลึงอยู่ตลอดเวลานี้ มันเป็นเรื่องของกิเลสทั้งนั้น

พอเราโต้แย้งขึ้นมา “ดูสิ เราไม่ได้พักไม่ได้ผ่อน เราไม่ได้หลับไม่ได้นอน แล้วเราจะไปมีความสุขได้อย่างไร” ความสุขอย่างนี้มันนอนมากี่ภพกี่ชาติแล้ว ดูสิ เวลาศพที่เขาตายแล้ว เขาเก็บไว้ที่โลงแก้ว มันก็นอนอยู่นั่น แล้วมันมีอะไร มันไม่เห็นมีอะไรเลย แต่ถ้าเราฝืนขึ้นมา ชีวิตเราเวลาหนึ่งในสามนี้ที่นอนพักผ่อนกันอยู่ หนึ่งในสามของชีวิตทีเดียว แล้ววันเวลาของเราล่ะ แล้วถ้าเรานั่งสมาธิขึ้นมาเห็นไหม เราฝืนมัน ฝืนตัวเองนี่แหละ คือฝืนกิเลส

แต่เราไม่เข้าใจ เราคิดว่าฝืนตัวเองเป็นความทุกข์ แต่ถ้าเราพอใจตามมันไป นั่นคือความสุข ความสุขอย่างนี้มันหลอกให้เราหมดเวลาไป อายุที่ได้มาคือวันเวลาที่เสียไป อายุที่ได้มาอยู่นี้ แล้วก็ให้มันหลอกอยู่อย่างนี้ แล้วทำไมเราไม่ตื่นตัวสักทีหนึ่ง ถ้าตื่นตัว เราเริ่มอดนอน เราเริ่มไม่ไปตามมัน อดนอนนี้มันทรมานใคร มันทรมานกิเลส กิเลสถ้ามันได้กินอิ่มนอนอุ่น การนอนการกินนี้เพิ่มกามราคะ เพิ่มให้จิตใจมันหมักหมมอยู่ใต้อำนาจของกิเลสทั้งหมด

เห็นไหม เวลาเป็นภิกษุ พระเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ภิกษุเราไม่กินเหมือนโลกเขา โลกกินเพื่อกาม เพื่อเกียรติ นี่ไงการกินมันเป็นการสะสม พอมันมีกำลังมันจะคิดเรื่องอะไรล่ะ แต่ถ้ามันไม่มีกำลังเห็นไหม ดูสิ เวลาพระเรามีปัญหาขึ้นมาเรื่องความผูกพันของใจเห็นไหม ถ้ายังผูกพันอยู่ “ไม่กิน ไม่กิน” อดอยู่อย่างนั้นล่ะ “ถ้ายังผูกพันอยู่ไม่กิน” จนมันไปไม่ไหวแล้ว พอร่างกายมันขาดอาหารเข้ามันก็อ่อนเพลีย มันก็ไม่คิดออกไปเรื่องนอกโลกแล้ว มันจะคิดถึงแต่เรื่องตัวเอง

เพราะตัวเองถ้าไม่กินขึ้นมา มันทุกข์แล้ว มันจะเป็นจะตายขึ้นมา ความที่จะไปผูกพันกับสิ่งต่างๆ มันก็ปล่อยเข้ามา เพราะอะไร เพราะมันจะตาย เวลาที่มันกินอิ่มนอนอุ่น มันมีกำลังของมันขึ้นมา มันก็ออกไปอีกแล้ว มันไปผูกพันกับเขาเห็นไหม สิ่งนี้ถ้าเราฝืนมัน ฝืนขึ้นมา มันเท่ากับฝืนกิเลส แล้วอย่างนี้ตำรามีเขียนบอกไว้ไหม ทางวิชาการเขามีบอกไว้ไหม เขาบอกว่าอย่างนี้เป็นความสุขไหม ไม่เป็นความสุขเป็นความทุกข์แล้วทำทำไม ก็ทำเพื่อบั่นทอนกิเลสไง

ถ้ามีการบั่นทอนกิเลสเห็นไหม การกระทำของเรามันก็จะสะดวกสบายขึ้น เราไปหวังกันแต่จะเอาสมาธิ จะเอาปัญญา จะเอาแต่ผลของมัน แต่วิธีการเราไม่เคยมอง การ กระทำของมันเราไม่เคยมองเห็นไหม แต่ครูบาอาจารย์จะบอกว่าสิ่งนี้เป็นการสร้างสม ดูสิ เขาทำหน้าที่การงาน เขาทำจนมีความชำนาญ เขาฝึกฝนจนเขาคล่องแคล่วของเขา แต่เรามีการกระทำของใจ แล้วใจไม่ก้าวเดินเลย มันไปจำมา จำมาจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของครูบาอาจารย์มา แล้วก็มาคิดว่าเป็นสมบัติของตัว

นี่คือในภาคปฏิบัติที่มันมีปริยัติซ้อนอยู่ไง มันถึงต้องวางให้หมด ให้เป็นปัจจุบันของเรา ขนาดกำหนดบริกรรมพุทโธๆๆๆ ถ้าจิตมันสงบ ถ้ามันกำหนดพุทโธอยู่ มันก็เป็นสมมุติขึ้นมา คำบริกรรมเราคิดขึ้นมาให้จิตมันเกาะไว้ แล้วเวลามันจะสงบขึ้นมา มันอยู่กับคำบริกรรมนั้นไหมล่ะ มันปล่อยเข้ามานะ จิตมันหดตัวเข้ามา หดตัวเข้ามา หดตัวเข้ามา มันจะลงลึกลงตื้นขนาดไหน มันจะปล่อยเข้ามา

แล้วถ้ามันยังเข้าลึกไม่ได้ เรากำหนดพุทโธเข้าไปเรื่อยๆ เพราะคำว่าพุทโธ พุทโธนี้ มันจะให้จิตเกาะเกี่ยวกับการกระทำของจิต จิตมันทำงาน เดิมจิตปกติมันจะคิดฟุ้งซ่าน มันหิวกระหายอารมณ์ มันคิดอยากรู้อยากเห็น มันคิดต้องการไปทั้งหมด แล้วเรามาคิดกับพุทโธ พุทโธ พุทโธนี้เป็นพุทธานุสสติ เป็นชื่อขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ความจริงความรู้สึกมันเป็นเรา พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้รู้ รู้ความรู้สึกของมัน แต่มันไม่รู้จักตัวมันเองเลย มันดันไปรู้ รูป รส กลิ่น เสียง มันไปรู้เรื่องต่างๆ จากภายนอก มันไม่ยอมรู้จักตัวมันเอง

ถ้ามันไม่รู้จักตัวมันเอง ก็ต้องสอนมันด้วยคำบริกรรมพุทโธ พุทโธ เห็นไหม พุทโธ พุทโธ เพราะเราระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ขณะที่เราพุทโธ พุทโธ จิตมันทำงานอยู่กับพุทโธ มันเกาะอยู่กับพุทโธ แล้วมันก็ดิ้น ดิ้นเพราะอะไร เพราะมันต้องการรสชาติอาหารที่มันพอใจ มันต้องการคิดตามธรรมชาติของมัน มันต้องคิดแส่ส่ายของมันไปตามความพอใจของมัน แต่ถ้าให้มันพุทโธๆ นี้มันเป็นธรรม เป็นคุณธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เวลากำหนดพุทโธ ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่าสะเทือน ๓ โลกธาตุ เพราะเรานึกพุทโธ พุทโธ เราคิดแต่สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ดี่นี้คือ พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เราคิดอยู่อย่างนั้น คิดพุทโธ พุทโธ แต่กิเลสมันไม่ยอมคิด พุทโธทีมันก็คิดไปรอบบ้านก็กลับมาโธที พุททีหนึ่งก็ไปอีกรอบบ้านแล้วก็กลับมาคิดอีกทีหนึ่งเห็นไหม นี้มันช้ามาก เราก็พุทโธไวๆ ก็ได้ หรือเราปล่อยลมหายใจ ลมหายใจนี้เป็นอานาปานสติเห็นไหม กำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธไวๆ ขึ้นมา พอเราอยู่กับพุทโธ จนอยู่อย่างนั้น

ถ้ามันเกาะพุทโธ โดยการกระทำของมัน มันเป็นไปไม่ได้หรอกว่า จิตจะไม่สงบ มันเป็นไปไม่ได้ มันต้องสงบแน่นอน เพียงแต่ว่าถ้าจริตนิสัยมันไม่ชอบ มันทำไม่ได้ มันฝืนไง ฝืนตามจริตนิสัยเห็นไหม ถ้ามันกำหนดพุทโธไม่ได้ เราก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ คือใช้ปัญญาใคร่ครวญในสิ่งที่มันคิด มันก็คิดออกไปอย่างนี้ ตัวจิตมันคือตัวพลังงาน พอความคิดมันเกิด ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ แต่ขันธ์ ๕ มันเกิดจากจิต พอเกิดจากจิตขึ้นมา มันก็เป็นธรรมชาติของมัน มันก็หมุนออกไป

เวลามันคิดออกไป สติเราก็ตามไปกับความคิด ความคิดมันเป็นความคิดเฉยๆ มันเหมือนกับสัญญาณ สัญญาณถ้าไม่มีข้อมูล รหัสมันก็ไม่มีหรอก นี่เหมือนกันในคอมพิวเตอร์ ถ้ามันไม่มีโปรแกรม หรือโปรแกรมมันเสียโดนไวรัสกิน มันจะมีภาพขึ้นหน้าจอไหม นี่ก็เหมือนกันขันธ์ ๕ มันเป็นสัญญาณเฉยๆ แต่มันมีกิเลสตัณหาเข้าไปยุแหย่ไง ว่าสิ่งนั้นมีค่า ทองคำมีค่ามากกว่าก้อนหินเห็นไหม มันก็ไปให้ค่า ถ้าทองคำมันก็อยากได้ ถ้าก้อนหินมันก็ปฏิเสธ มันให้น้ำหนักไม่เท่ากัน

ขันธ์ ๕ ก็เหมือนกัน เพราะขันธ์ ๕ พอถึงที่สุดแล้ว มันเห็นสภาพอย่างนั้น ปัญญามันไล่ตามไป ไล่ตามความเห็นไปว่า มันเห็นผิดทั้งนั้น ความเห็นที่เห็นโดยกิเลส จะให้ค่าผิดทั้งหมดเลย แต่ถ้าเราตามเข้าไป มันก็จะกลายเป็น พลังงานส่วนพลังงาน ขันธ์ก็ส่วนขันธ์ พอกิเลสมันรู้ทัน เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มันมีอุปาทานเห็นไหม ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการม พระยสะกับปัญจวัคคีย์ “เธอทั้งหมดเป็นผู้พ้นจากบ่วงที่เป็นโลก และบ่วงที่เป็นทิพย์” บ่วงที่เป็นโลกก็คือความคิดโลกๆ นี้ บ่วงที่เป็นทิพย์ ตั้งแต่พรหมลงมาเป็นบ่วงที่เป็นทิพย์เพราะมันสร้างบุญกุศลมา มันก็ได้รางวัลไง สิ่งที่ทำความดี ดีก็คือได้ผลตอบสนองที่ดี ชั่วก็ได้ผลตอบสนองที่ชั่ว นั่นคือบ่วงที่เป็นทิพย์

บ่วงที่เป็นโลก รูป รส กลิ่น เสียง ที่มันอยากได้ ลาภสักการะต่างๆ บ่วงที่เป็นโลก แล้วมันพ้นไป มันพ้นไปแล้วมันสะอาดไหม ถ้าพ้นถ้าสะอาดแล้วมันมีค่าไหม แล้วขันธ์ ๕ มันจะสกปรกที่ไหน ในเมื่อความคิดที่ออกมา มันก็เป็นความคิดที่สะอาด ขันธ์ ๕ คือขันธ์ ๕ ไง ขันธ์ ๕ คือธรรมชาติของมันไง

แต่เพราะเรามีกิเลส เรามีอุปาทานมันยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นในความคิดว่า “กูคิดถูก คิดถูก คิดผิด”  ความถูกหรือผิดมันก็อยู่ที่เหตุผลนั้น แต่เราไปให้ค่ามัน แล้วเราก็แบกทุกข์ไว้ เรียกว่าโง่แล้วยังไม่รู้จักว่าโง่เลย แล้วปัญญามันไล่ต้อนเข้าไปเห็นไหม พอมันเห็นสภาวะแบบนั้น มันก็ปล่อยๆ ปล่อย ปล่อยเพราะอะไร ปล่อยเพราะมันฉลาดขึ้นมาไง สิ่งนี้มันเป็นธรรมชาติ มันเกิดดับ มันก็เกิดดับตามธรรมชาติของมันอยู่นั่น แต่เพราะอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น แต่พอมีปัญญาเข้าไป มันก็ปล่อย พอปล่อยเข้าไปบ่อยครั้งเข้า ฝึกบ่อยครั้งเข้า ถึงที่สุดเห็นไหม

กำหนดพุทโธก็เหมือนกัน พุทโธๆนี้ ถ้ามันสงบได้สักทีหนึ่งเห็นไหม ขณิกสมาธิ พอสงบ ก็พอใจ แต่เดี๋ยวพอเผลอขึ้นมามันก็ออกอีกแล้ว พอออกอีกแล้วก็พุทโธเข้าไปใหม่เห็นไหม ฝึกฝนจนชำนาญ ถ้าไม่ชำนาญ พุทโธแล้วมันก็ออกไปเอาเหยื่อ มันก็ออกไปที่ความคิดต่างๆ ความคิดให้ผลเป็นอะไรขึ้นมา ให้ผลเป็นความฟุ้งซ่าน นั่งแล้วเจ็บปวด ไม่ได้ผล ลงทุนแล้วไม่ได้ผลตอบแทนเท่ากับแรงที่ลงทุน เห็นไหม ก็พุทโธใหม่ ก็เพราะความโง่ของเรา เพราะเราไม่มีสติ เราไม่รักษาเอง มันถึงออกไปในเรื่องของกิเลส

แต่ถ้าเราอยู่กับพุทโธ พุทโธนี้เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเรารักษาของเราให้ดี อยู่ในร่องในรอยเห็นไหม รถที่เราบังคับให้มันอยู่บนถนน มันจะไปถึงเป้าหมายได้ พุทโธๆ ไป บ่อยครั้งเข้า จนชำนาญในถนนเส้นนั้น ชำนาญในวิธีการ ชำนาญในวสี ชำนาญในการเข้าไปหาใจ เราอยู่ที่เหตุ พุทโธ ตั้งสติไว้เห็นไหม มันต้องเป็นขณิกสมาธิบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า มันก็พัฒนาขึ้นไปเป็นอุปจารสมาธิ ถ้ากำหนดพุทโธๆๆ ไปเป็นอุปจารสมาธิ ถ้ามันชำนาญ มันออกรู้ ออกนิมิตขึ้นมา

ถ้าเป็นนิมิต ถ้าเป็นกาย เป็นสิ่งต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ เราก็ฝึกฝนปัญญาได้ ปัญญามันเกิดอย่างนี้ นี่ไงโลกุตตรธรรม นี่แค่ฝึกสมาธินะ แค่เป็นสมาธินี่แหละ แต่มันเป็นสมาธิจริงๆ เป็นสมาธิของเรา เป็นสมาธิโดยความสัมผัสของจิต จิตเป็นสมาธิ นี่โลกุตรธรรมมันอยู่ที่จิต ไม่ได้อยู่ในตำรา ทางวิชาการต่างๆที่เขียนออกมาแล้วมันเป็นสมมุติหมด เพราะวิชาการไม่ได้เขียนมาจากผู้รู้จริง ผู้รู้จริงต้องรู้จริงในใจ โลกุตตรธรรมคือธรรมเหนือโลก สิ่งที่รับสัมผัสได้คือความรู้สึกเท่านั้น คือตัวใจเท่านั้น แล้วใจนี้มันมีกิเลส เวลามันเกิดมันตายก็ไม่รู้จักมัน

ขณะที่จิตสงบเข้ามา บุพเพนุวาสานุสติญาณ ระลึกอดีตชาติได้ มันก็รู้ว่าข้อมูลเป็นอย่างนั้น มันสังเวชจนคอตกนะ แล้วจุตูปปาตญาณนี้ ถ้ามันไม่มีที่สิ้นสุด มันยังมีแรงขับเคลื่อน มันจะไปอีก เห็นได้แค่นี้แต่แก้ไม่เป็น แก้ไม่ได้ นี่จิตสงบเข้ามาเห็นไหม ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ มันออกไปนิมิต มันไปเห็น เห็นอดีต เห็นเทวดา อินทร์ พรหม เห็นอย่างนี้ มันก็เห็นในวัฏฏะไง มันยังไม่เห็นกายไง ต้องเห็นกายถึงจะเห็นอริยสัจ เห็นอริยสัจมันถึงย้อนกลับมา โลกุตตรธรรมมันเกิดจากอริยสัจ

ในศาสนาพุทธของเราที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้วางไว้ หัวใจของศาสนาคืออะไร คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์อยู่ที่ไหน ทุกข์!  ถ้าไม่ทุกข์เกิดมาทำไม ไม่ทุกข์มานั่งอยู่นี่ทำไม นั่งอยู่นี่เพื่อจะแก้ทุกข์ แล้วแก้ทุกข์มันอยู่ที่ไหน ทุกข์มันต้องอยู่ที่หัวใจสิ เพราะปฏิสนธิจิตเห็นไหม จิตมันเป็นตัวปฏิสนธิมันเกิดมันตาย มีการเกิด ชาติปิ ทุกขา ชาติเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง แล้วชาติอะไร ชาติมนุษย์ ชาติเทวดา ชาติอินทร์ ชาติพรหม ชาติอยู่ไหน นี้ทุกข์ถึงควรกำหนด

ถ้าจิตสงบเข้ามา สิ่งที่เห็นนิมิต เห็นสิ่งต่างๆ จะเห็นขนาดไหน อย่าไปใช้พลังงานให้มันสิ้นเปลือง ให้ย้อนกลับมาที่พุทโธ ให้ย้อนกลับมาที่ตัวรู้ ตัวรู้มันออกไปรู้ไง จะรู้ขนาดไหน ให้มันเก็บเอาไว้ก่อน ถ้าเราพิจารณาของเราไป ถ้าจิตมันสงบเข้ามา เราพิจารณาไปเห็นกาย ถ้าเราชำระกิเลสเสร็จแล้ว เดี๋ยวสิ่งนี้มันจะเป็นบารมีของพระอรหันต์แต่ละประเภทขึ้นไป มันก็มีจริตนิสัยอย่างนั้น สิ่งนี้ให้เก็บเอาไว้ก่อน อย่าใช้จ่ายพลังงานของจิตโดยฟุ่มเฟือย

ออกแรงสะสมขึ้นมากว่าจะเป็นสมาธิ สะสมขึ้นมากว่าจะให้มันสงบ ให้มีกำลังขึ้นมา ต้องลงทุนลงแรงขนาดไหน ลงทุนลงแรงมาเพื่อใครก็เพื่อความสุขไง สมาธิเป็นความสุข เวลาจิตมันทุกข์มันยาก มันฟุ้งมันซ่านขนาดไหน มันทุกข์ยากมาก ถ้ามันสงบเข้ามาเห็นไหม ได้ดื่มกินไง เราจะเดินทางมันต้องมีเสบียงไปตลอด ในการประพฤติปฏิบัติจิตสงบเข้ามา มันจะมีฐานของมัน มันจะมีความสุขของมันเห็นไหม วุฒิภาวะของจิตมันพัฒนาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมาอย่างนี้ แล้วพอมันสงบขึ้นมา ถ้ามันออกรับรู้สิ่งต่างๆ ออกรับรู้นะ เราก็ตั้งสติแล้วนึกพุทโธ จะดึงกลับมาได้หมดเลย

ถ้าฝึกฝนจนชำนาญ แล้วควบคุมขึ้นไป ถ้าเป็นอุปจารสมาธิแล้วกำลังมันไม่พอ เรายังไม่เห็นกายขึ้นมา ถ้ากำหนดพุทโธต่อไปอีก มันจะเป็นอัปปนาสมาธิ มันพุทโธ พุทโธ พุทโธ ถึงที่สุด ถ้ามันเป็นอุปจารสมาธิ มันพุทโธอยู่ จิตสงบอยู่ สงบแล้วมันมีกำลังมันรู้ มันเห็น หรือถ้าพุทโธ พุทโธแล้วจิตมีกำลังแต่ไม่รู้ไม่เห็น มันได้แต่สงบ นี่ก็ใช่ไง อยู่ที่จริต แต่ละดวงใจมันไม่เหมือนกัน มันให้ค่าไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าพุทโธขนาดนี้ พอจิตสงบเป็นอุปจารสมาธิ ถ้าเห็นแล้วต้องเห็นทุกคน ไม่ใช่ แต่ถ้ามันเห็นกาย มันก็ออกวิปัสสนาได้

ถ้ามันยังไม่เห็นกาย มันยังไม่เห็นกายหนึ่ง การทำความสงบของจิต จิตมันยังไม่สงบเข้าถึงฐานคือฐีติจิต ก็พุทโธต่อไป พุทโธ พุทโธ พุทโธ แบบนี้มันจะเข้าไปถึง พุทโธ พุทโธ จนพุทโธไม่ได้ คำว่าพุทโธไม่ได้คือมันพยายามนึกอย่างไรก็นึกไม่ได้ เพราะมันเข้ามาเป็นตัวของมันเอง ความที่เข้ามาเป็นตัวของจิตเอง จิตมันจะสักแต่ว่ารู้ มันตัดหมด อายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่มีความรู้สึกเลย ไม่มีความรู้สึก มันดับหมด ดับจากความรู้สึก คิดดูสิ ความรู้สึกในหัวใจของเรา จิตที่เรารู้สึกอยู่นี้ มันไม่รับรู้แม้แต่สิ่งที่มันอยู่ด้วยกันกับร่างกายนี้เลย แม้แต่อวัยวะจากภายใน มันปล่อยไม่หมด แต่มันก็อยู่ในกายเรานี่แหละเห็นไหม นี่คืออัปปนาสมาธิ อย่างนี้มันจะวิปัสสนาไม่ได้ แต่อย่างนี้ มันจะเข้าถึงข้อมูลเดิม มันเข้าถึงฐีติจิต มันเข้าถึงตัวจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้โดยการเข้าสมาธิ

ถ้ามันเข้าไปพักอย่างนี้ มันหลายๆ ชั่วโมงเลย ถ้าทำได้แล้ว พอมันคลายตัวออกมา ให้น้อมไปที่กาย พยายามน้อมไปที่กาย ให้มันเห็นชัดเจนว่า เราพิจารณากายไม่ได้ ถ้าเราน้อมไปที่กายไม่ได้ ก็น้อมไปที่เวทนา กาย เวทนา จิต ธรรม มันน้อมไป รำพึงไป บังคับให้จิตนี้ทำงาน นี่ไงโลกุตตรธรรมในการก้าวเดินของจิต โลกุตตรธรรม ธรรมที่เหนือโลก ทำอย่างนี้ วิธีการอย่างนี้มันจะชำระกิเลส

ไม่ใช่ไปจำมา ไปมั่วมา แล้วก็สร้างภาพ แล้วก็เป็นปรัชญาคุยกันปากเปียกปากแฉะ สิ่งนั้นมันเป็นเรื่องโลกียธรรม มันไม่สะเทือนกิเลสเลยแม้แต่ขี้เล็บ แต่ถ้าการสะเทือนกิเลส มันจะสะเทือนในหัวใจของเรา มันจะเป็นการยืนยันของใจ ใจมันจะยืนยันเลยว่าสิ่งใดที่มันจะสะเทือนกิเลส แล้วกิเลสมันอยู่ในหัวใจของเรา มันพาขับไสไปนี้ เราจะเกิดมามั่งมีสูงส่ง สูงต่ำขนาดไหนก็แล้วแต่ การเกิดเหมือนกัน กิเลสให้โทษเหมือนกัน กิเลสจะทำให้เราหมุนเวียนตายเกิดอย่างนี้ตลอดไป

แต่ถ้าเป็นโลกุตตรธรรม มันเป็นธรรมเหนือโลก มันจะไม่มาเกิดบนโลกนี้เลย พระโสดาบันเห็นไหม จะเกิดอีก ๗ ชาติ ก็ไปเกิดบนดุสิตอะไรก่อน เห็นไหม ถ้าจะหมุนกลับมาเห็นไหม

นี่พูดถึงถ้าเราวิปัสสนากาย เวทนา จิต ธรรม โดยสัจจะความจริง ถ้ามันเห็นกายเห็นไหม รำพึงไปเห็นกายมันจะสะเทือนกิเลส สะเทือนมากๆ เห็นกายนี้มันจะขนพองสยองเกล้าเลย สะเทือนถึงขั้วหัวใจ

แต่นี่เขาเห็นกาย ก็เห็นกายกันไป มันเห็นกายโดยปาก โดยตาเนื้อ โดยสิ่งที่ว่าเราไปบังคับธรรมจะให้เป็นตามความเห็นของเรา ไปบังคับกันเห็นไหม นี่คือโลกียปัญญา โลกียธรรม โลกียธรรมนี้เป็นการบังคับขู่เข็ญให้เป็นสัจจะความจริง แล้วถ้าทำไม่ได้ขึ้นมาก็อ้างอิงไปเลย สร้างปัญหาอีกปัญหาหนึ่งขึ้นมาว่า “กึ่งพุทธกาลแล้วจะไม่มีผล การประพฤติปฏิบัติไม่มีผล”  มันไม่มีผลแล้วทำไม อกาลิโก ล่ะ ไม่มีกาลไม่มีเวลา ร้องเรียกสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม ร้องเรียกสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ตัวนี้ที่มันข้องอยู่ เพราะสัตว์ตัวนี้มันจะไปเกิดไปตายอยู่ตลอด

ถ้าสัตว์ตัวนี้มันแก้ตัวนี้ไม่ได้ มันจะไปเกิดต่อไป สัตว์นรก สัตว์เทวดา สัตว์ต่างๆ มันจะเป็นสัตว์ แล้วสัตว์ตัวนี้มันงง มันงงมันไม่รู้แจ้งมันก็หัวปั่น แต่เวลาเกิดในหัวใจ เห็นไหมร้องเรียกสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม ก็ร้องเรียกไอ้สัตว์ตัวนี้ ไอ้สัตว์ตัวโง่ๆ ไอ้ตัวที่กิเลสมันปั่นหัวอยู่นี้ ให้มาเห็นสมาธิ มาเห็นของจริง เห็นปัญญาก็เห็นของจริง นี่คือทำจริงๆ พอทำจริงๆ แล้วมันเกิดขึ้นมา นี่คือ โลกุตตรธรรมไง มันอยู่ในหัวใจ มันอยู่ในความรู้สึก มันเอาออกมาวางแผ่ให้โลกเขาเห็นกันไม่ได้ แต่มันยืนยันกันได้ โดยผู้ที่ปฏิบัติด้วยกัน

แล้วถ้าผู้ที่ปฏิบัติที่มีคุณธรรม เรื่องอย่างนี้มันเป็นเรื่องธรรมดา ครูบาอาจารย์เป็นผู้ชี้นำ เป็นผู้ชักนำขึ้นมา เรื่องอย่างนี้ครูบาอาจารย์ท่านผ่านมาหมดแล้ว ถ้าผ่านมาหมดแล้ว แล้วสิ่งนี้ควรทำอย่างไรต่อไป ย้อนกลับมาให้ฝึกฝนปัญญา ปัญญามันเกิดอย่างนี้ วิปัสสนาญาณเกิดจากหัวใจที่มันเศร้าหมอง ที่มันขัดข้องในใจ มันขัดข้องในอะไร มันขัดข้องโดยสัญชาตญาณของมัน ว่าสิ่งที่มันเป็นนี้มันเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเราทั้งนั้น ทั้งๆ ที่ปากเปียกปากแฉะว่าไม่ใช่

“คนเราเกิดมาแล้วต้องตายไป” มันก็พูดกันแต่ปาก เวลาจะตายขึ้นมามันก็ยอกใจ มันก็ทำให้ใจนี้หวั่นไหว แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา สิ่งนี้มันเป็นเพราะอะไร มันเป็นเพราะบุญกุศล เกิดเป็นมนุษย์นี้เป็นบุญกุศลมาก ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏบัติ ท่านจะดูแลรักษาร่างกายและจิตใจนี้เป็นหลักเลย เพราะอะไร เพราะเราภาวนาด้วยร่างกายและจิตใจนี้ ทีนี้ถ้าเราไปคิดกันทางโลกว่า ถ้ากายนี้ไม่ใช่เรา ก็ต้องไม่กินไม่ต้องอยู่สิ ก็ปล่อยให้มันตายไป นี้คือมันคิดกันโดยกิเลสใช่ไหม

ถ้าไม่ใช่เราก็ไม่ต้องไปดูแลรักษามัน นี้มันคิดกันโดยกิเลส คิดกันโดยโง่ๆ แต่ถ้าคิดตามความเป็นจริง มันจะได้มาอย่างไร โลกนี้มีเพราะมีเรา เราจะเอาชนะตัวเอง เราก็ต้องเอาชนะใจ ให้มันเห็นว่าร่างกายนี้เป็นอย่างไร ร่างกายเห็นไหม โดยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยธรรมของครูบาอาจารย์ มันคือธาตุ ๔ มันต้องกลับไปเป็นสภาพเดิมของมัน แล้วกลับไป มันกลับอย่างไร ทำไมมันถึงกลับ แล้วกลับขึ้นไป อะไรมันคลายตัวออก ถ้าอย่างนี้มันก็เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ ธรรมของครูบาอาจารย์ที่ท่านเห็นจริงของท่านสิ ท่านก็พูดเทศนาว่าการไว้ให้เราเอาเป็นคติ

พอเราเอาเป็นคติขึ้นมา ก็ให้เราฝึกฝนขึ้นมาให้เห็นจริงตามนั้น ถ้าให้เห็นจริงตามนั้น มันก็ถอนพิษจากใจของเรา ถ้ามันถอนพิษจากใจของเรา แล้วใจของเรามันก็มีคุณธรรมขึ้นมา ธรรมอันนี้คือโลกุตตรธรรม เขาว่าอวดอุตตริมนุสสธรรม อวดอุตริธรรมที่ไม่มีในตน เพราะตนไม่รู้ก็เลยไม่มีในตน ไม่มีในตนก็ปากเปียกปากแฉะไปสิ แล้วถ้ามีในตนล่ะ มีในตนก็มีความเห็นจริงไง เพราะมันเป็นความจริง ที่มันทำมา! ทำมา! ทำมาแล้วคนตาดีมันจะสอนคนตาบอดไม่ได้เหรอ

ในเมื่อคนตาบอดมันไม่รู้จักอะไรเลย มันจับผิดจับถูก แล้วมันก็กำลังตกทุกข์ได้ยากอย่างนี้ แล้วทำไมเจือจานกันไม่ได้ ถ้าจะเจือจานขึ้นมา แล้วถ้าไม่เป็นจะเอาอะไรไปเจือจานเขา เห็นไหม ย้อนกลับมา โลกุตตรธรรมมันเกิดที่นี่ เกิดจากความรู้สึกเห็นไหม เวลาหลวงปู่มั่นท่านชราภาพ ท่านพูดเลย “หมู่คณะผู้ที่ปฏิบัติให้ปฏิบัติมานะ การแก้จิตนั้นแก้ยากนะ ผู้เฒ่าตายไปแล้วมันจะหาคนแก้ไม่ได้” ครูบาอาจารย์คนรู้จริง โลกุตตรธรรมมันอยู่ที่จิต มันอยู่ที่ความรู้สึก มันเป็นสิ่งที่สืบต่อจากใจดวงหนึ่งให้ใจดวงหนึ่ง

ตำรามันเป็นตำรารอง ถ้ามันจะไม่มีเลยก็ไม่ถูก เพราะจะไม่มีเลย สิ่งที่เป็นทางวิชาการนั้นเขาวางไว้ก็เพื่อให้คนสนใจ ให้คนค้นคว้า ไอ้เราไปติดตรงนั้นแล้วยึดตรงนั้น ยึดสิ่งที่เป็นตำรา เถรตรงกับมัน จนเป็นเรื่องให้กิเลสมันครอบงำอีกชั้นหนึ่ง เถรตรงกับทางวิชาการจนมากเกินไป ทางวิชาการนั้น ก็ใช่ ถ้าเราฝึกฝนจนจิตของเราทำได้อย่างนั้น มันก็ตรงกับวิชาการร้อยเปอร์เซ็นต์เลย เวลาประพฤติปฏิบัติไปแล้วเรายังต้องมากราบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระไตรปิฎกนี้กราบแล้วกราบอีกเลย มันจริงตามนั้นหมดเลย แต่เวลาไปศึกษาโดยกิเลส ก็งงไปหมดเลย งงแล้วก็สร้างภาพ แล้วก็หัวปั่น แล้วถ้าไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำ มันจะยิ่งงงเข้าไปใหญ่

สิ่งที่มันจะเป็นประโยชน์กับสัจจะความจริง สัจจะความจริงมันเป็นเรื่องที่เรียบง่าย เป็นเรื่องความจริงอย่างนี้ มันไม่ใช่มหัศจรรย์มาจากเมฆหมอกจากฟากฟ้าจากไหนเลย มันมหัศจรรย์จากหัวใจเห็นไหม เวลาใจมันปล่อยวางเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา มหัศจรรย์มากนะ ว่างหมดเลย ว่างแบบไม่มีพิษมีภัย ไม่ใช่ว่างแบบหลอกๆ ว่างแบบหลอกๆ เดี๋ยวมันจะไม่ว่างอีกแล้ว ว่างหมดเลย พอไปเจออะไรที่ถูกใจขึ้นมา มันก็ไปยึดหมดเลย ก็ทุกข์อีกแล้ว

แต่ถ้าเป็นความจริง รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร รูป รส กลิ่น เสียง มันก็เป็น รูป รส กลิ่น เสียง สิ เราก็คือเราสิ แล้วมีเราขึ้นมามันอยู่ที่ไหนล่ะ พอจิตสงบเข้ามาเห็นไหม ย้อนกลับมา ถ้าจิตดูจิต จิตเป็นอะไร จิตเป็นความเศร้าหมอง ถ้าจิตมันดูธรรมารมณ์ กาย เวทนา จิต ธรรม ธรรมารมณ์คืออารมณ์ที่เกิดจากใจ อารมณ์ความรู้สึกไง อารมณ์ความรู้สึกนี้เป็นกิเลสไหม มะโนมิงปิ นิพพินทะติ มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ มะโนมิงปิ นิพพินทะติคือตัวใจ ความสัมผัสของใจเห็นไหม มันเบื่อหน่ายแม้แต่ตัวมะโน เพราะมะโนมันอยู่นิ่งไม่ได้ มันสืบต่อตลอดเวลา

ตัวใจมันก็น่าเบื่อหน่าย เพราะมันเกิดดับ เกิดดับเห็นไหม แล้วความเกิดดับนั้นมันสัมผัสกับอะไร ความสัมผัสนั้นก็น่าเบื่อหน่าย สิ่งที่น่าเบื่อหน่ายมันอยู่ที่ไหน นี่คือพิจารณาธรรม ธรรมารมณ์ กาย เวทนา จิต ธรรม ธรรมคือความรู้สึก มันเป็นอารมณ์ ความรู้สึกในธรรมนั้น แต่ถ้าอารมณ์โลก มันไม่ใช่ธรรมารมณ์ มันโลกอารมณ์ กามคุณ ๕ โลกเป็นคุณ แล้วเราก็ไปยึดติดกัน แล้วมันจะเป็นธรรมารมณ์ไหม มันเป็นโลก โลกเป็นคุณ แล้วก็ไปติดมัน เพราะอะไร เพราะจิตไม่เป็นสมาธิ เพราะจิตมันไม่มีหลักมีเกณฑ์ เพราะจิตมันตั้งมั่นไม่ได้ เพราะมันไม่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา จิตมันตั้งมั่นไม่ได้ จิตมันไม่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา มันก็เหมือนกับวัว เหมือนกับสุนัขให้เขาไล่ต้อน

ถ้าจิตมันไม่มีหลักมีฐาน มันก็โดนกิเลสไล่ต้อน มันโดนความเห็นของตัวเองไล่ต้อน ไล่ต้อนไปไหน ไล่ต้อนไปจนมุมมันไง ไล่ต้อนไปอยู่ในอุ้งเท้าของมารไง มันไล่ต้อนไปอย่างนั้น แล้วสมาธิมันจะไม่สำคัญตรงไหนล่ะ ถ้าไม่มีสมาธิขึ้นมา มรรค ๘ มันก็เกิดไม่ได้ เพราะมรรค ๘ มันเกิดขึ้นมา ถ้ามีสมาธิขึ้นมา เราจะไม่เกาะเกี่ยวอะไรกับมัน เราไม่ให้มันมาไล่ต้อน แต่เราจะขวิดมัน เราเป็นวัวเป็นควาย กูจะขวิดกิเลสไง เราก็มีเขามีเขี้ยวสู้มันได้เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเราจะต่ำต้อยตลอดไปที่ไหนล่ะ

ถ้าเรารู้ว่าคนนี้เป็นโทษกับเราใช่ไหม เราก็ต่อสู้กับมันสิ อย่างเช่นเราเป็นวัวเป็นควาย แล้วเสือมันจะมาตะปบ เราก็รวมตัวกันสู้กับเสือก็ยังได้เลย มันพลิกแพลงได้ทั้งนั้น ถ้าจิตมันมีสมาธิขึ้นมา มันพลิกแพลงขึ้นมาต่อสู้กับกิเลสของเรา กิเลสที่มันทำให้เราขาอ่อน ตีนอ่อน ให้เราไม่สู้กับใครเลย

อะไรก็สู้ทั้งนั้น สู้กับกิเลส สู้กับความเป็นจริงที่มันเกิดขึ้นในหัวใจ สู้กับมันให้เราโตขึ้นมา ให้หัวใจมันเข้มแข็งขึ้นมา พอมันเข้มแข็งขึ้นมาเห็นไหม มันรับรู้หมดแล้ว พอรับรู้มันเข้มแข็งขึ้นมา มันรู้ว่าสิ่งนี้มันเป็นภาระเล็กน้อย เพราะเราโตขึ้นมา เรามีกำลังขึ้นมา สิ่งที่เป็นของเล็กน้อยนี้ เราจะทำให้มันอยู่ในอำนาจของเราได้หมดเลยเห็นไหม

รูป รส กลิ่น เสียง มันอยู่ในอำนาจของเราหมดเลย เพราะเราพิจารณาบ่อยๆ ครั้งเข้า พุทโธ พุทโธ บ่อยครั้งๆ เข้า หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิบ่อยครั้งเข้า เพราะอะไร เพราะอุปาทานมันไปติด รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เพราะใจมันไปรับรู้ ใจมันไปชอบ มันเป็นจริตนิสัย คนชอบสิ่งใดมันก็ชอบสิ่งนั้น ถ้าเอาสิ่งที่ไม่ชอบให้มัน มันก็ไม่เอา ถ้าให้สิ่งที่ชอบขึ้นมา โอ๋ ไม่ต้องให้ วิ่งไปหาเขาเลย แต่ถ้ามันเห็น มันจะตัดขาดเห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นอุปาทานที่ไปยึดมั่นถือมั่น มันตัดขาด ขาด!  มันอยู่ต่างหากจากกัน รูป รส กลิ่น เสียงก็เป็นรูป รส กลิ่น เสียง จิตก็เป็นจิตเห็นไหม

แล้วพออะไรมันเกิดขึ้นมา มันเห็นโทษหมดเลย นี่ไงกัลยาณปุถุชน แล้วมันย้อนไปเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ธรรมารมณ์ที่เกิด อารมณ์เหมือนกัน อารมณ์โลกๆ สิ่งที่ดูจิตเข้าไป ดูจิต ดูจิต ดูจิต ดูจิต ดูจิต แต่ไม่เห็นจิตหรอก เพราะไม่เห็นอาการของจิต ถ้าผ่านอาการของจิตเข้าไปเห็นไหม พอผ่านจากอาการ ผ่านจากรูป รส กลิ่น เสียง ผ่านจากขันธ์ ๕ เข้าไป มันก็เป็นตัวจิต แต่ขณะที่จะผ่าน ขณะที่ตั้งสติที่ดูจิตกันนี้ มันดูเข้าไปเพื่อไปถึงตัวจิต เพราะจิตมันสงบเข้าไปแล้ว มันเป็นหลักเป็นเกณฑ์แล้วเป็นสมาธิแล้ว มันย้อนไปดูอาการเห็นไหม ย้อนไปดูความคิด

จากเดิม ความคิดอันหนึ่งคือความคิดโดยโลก ความคิดโดยกิเลสเห็นไหม มันคิดแล้วมันมีอำนาจเหนือเรา มันปั่นหัวเราเล่น แล้วเราเอง เราก็ไปดูด้วยอารมณ์ของเรา มันก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น ดูไป ดูไป ดูไป ดูไป ดูไป ดูจนเข้าใจความเห็นของมันเห็นไหม จนมันเข้าไปถึงตัวจิต พอเข้าไปถึงตัวจิต มันก็เห็นอย่างที่ว่านั้น

ที่มันไม่เข้ามาตรงนี้เพราะมันไปติดที่อาการของจิต พอมันเข้าไปถึงตัวจิตแล้ว มันก็เป็นอิสระในตัวของมัน สิ่งที่มันจะวิปัสสนา พอจิตตัวนี้มันมีเจ้าของแล้ว เราเป็นเจ้าของ เรามีกำลังของเรา แล้วย้อนกลับไปดูอาการไง

จากเดิมอาการมันเป็นโทษ แล้วพอจิตมันสงบเข้ามา อาการมันเป็นคุณ อาการมันเป็นอาวุธ อาการเป็นสนามการฝึกซ้อม อาการนั้นมันทำให้จิตเข้าไปเห็นอาการของจิต ถ้าจิตเห็นจิต แล้วจิตวิปัสสนา ถ้าเห็นจิตนะ จิตเศร้าหมอง จิตผ่องใส จิตทุกข์ จิตสุข นี้คือจิตเห็นจิต ถ้าจิตเห็นจิตแล้วมันวิปัสสนาไป นี่คือโลกุตตรปัญญา ปัญญาอันหนึ่งคือปัญญาที่เริ่มต้นเข้าไปนี้มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาโลกียะ โลกียธรรมเพราะทำโดยมนุษย์ ทำโดยสามัญสำนึก ทำโดยกิเลส เพราะโดยธรรมชาติของจิตทุกดวงมีกิเลสหมด

แล้วเริ่มต้นปฏิบัติจากกิเลสเข้ามาก่อน ก็ต้องปฏิบัติจากกิเลสขึ้นมาก่อนเพราะมีศรัทธาความเชื่อ มีความพอใจ มีความเคารพศรัทธาในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความเคารพในครูบาอาจารย์ของเรา เราฟังธรรมของครูบาอาจารย์ของเราใช่ไหม แล้วเราก็พิจารณาของเราเข้าไป จนมันสงบเข้ามาเป็นตัวของมันเห็นไหม ตัวของมันคือตัวของเรา ตัวของมันคือตัวสัตว์โลก สัตว์ตัวใดก็แล้วแต่ที่มีกิเลสเห็นไหม พอเข้าไปสงบถึงตัวสัตว์โลก สัตว์โลกนั้นต้องแก้ไขตัวเอง การแก้ไขตัวเอง มันต้องให้เห็นอาการที่เกิดขึ้น จิตมันเป็นอิสระแล้ว จิตที่เป็นสมาธิแล้ว จิตที่ไม่มีกิเลส เป็นพุทธะแล้ว มันไปเห็นอาการ อาการอย่างนี้คือเห็นจิต เห็นจิตแล้วเราก็ใช้กำลังเห็นไหม ใช้วิปัสสนาแยกกันไป แยกกันไป รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปเป็นรูป รูปมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร รูปเกิดขึ้นมาจากอารมณ์ที่มันมีความรู้สึกมันถึงเป็นรูป ความคิดที่เป็นรูปขึ้นมา ก่อนที่มันจะเกิดขึ้นมามันเกิดจากอะไร เกิดจากสัญญาข้อมูล แล้วสังขารมันก็ปรุง ปรุงแล้วเกิดจากอะไร เกิดจากวิญญาณเป็นตัวเชื่อม เชื่อมให้ขันธ์ ๕ นี้เป็นอารมณ์ความรู้สึก มันก็เป็นรูปขึ้นมา เห็นไหม

พอปัญญามันแทงเข้าไป มันก็ปล่อยแยก แยก แยก ขันธ์ ๕ เหมือนเกลียวเชือก เหมือนสิ่งที่เป็นภูเขาเห็นไหม ภูเขา ๕ ลูก รวมอยู่ด้วยกัน เหมือนเชือกเส้นใหญ่ที่เขาเอามาควั่นเป็นเชือกเส้นเดียวกัน เราไม่สามารถที่จะทำอะไรมันได้ เราก็แยกเกลียวเชือกออก เป็นรูป เวทนา สังขาร วิญญาณ เห็นไหม แยกออกไป พอเส้นมันเล็กลงแล้วกำลังเรามีมากพอขึ้นไป เราสามารถดึงให้มันขาดได้ ถ้าตัวเองมันขาด มันก็ปล่อยๆๆๆ นี่ไง นี่!โลกุตตรธรรม ธรรมอันหนึ่งเห็นเกิดจากโลกียธรรม เกิดจากตัวตนของเรา มันก็เป็นความเห็นของเรา ถ้าเป็นความเห็นของเรามันก็เป็นความเห็นของกิเลส

แล้วกิเลสก็สร้างว่าสิ่งนี้เป็นธรรม มันเป็นธรรมของกิเลสนะ มันเป็นธรรมของโลก มันเป็นทางวิชาการ มันตรรกะ มันตรึกได้ทั้งหมดเลย แต่ถ้ามันพลิกเข้าไป ถ้าจิตมันสงบเข้าไปแล้วมันออกมาเห็นจิตอีกทีหนึ่ง ออกมาเห็นอาการ เพราะอะไร เพราะจิตที่ไม่มีกำลัง มันจะทำอะไร มันก็ไม่มีกำลัง มันก็เป็นขี้ข้า กิเลสมันก็สร้างภาพขึ้นมา มันก็ปล่อยวางไปตามสภาวะแบบนั้น ถ้ามันสงบจนถึงที่สุดของมัน มันก็เป็นแค่ความสงบ เป็นแค่สมถะ เพราะอะไร เพราะมันไม่ใช่เป็นฝ่ายที่มันใช้กำลังเข้าไปพิจารณาขันธ์ ๕ มันเพียงแต่ว่า มันผ่านขันธ์ ๕ เข้าไปเป็นความสงบ

พอมันสงบเข้าไปจนอิ่มตัวแล้ว เหมือนเราเข้าไปในบ้านแล้วเราก็ทำความสะอาดในบ้านของเรา แต่ก่อนที่เราจะเข้าบ้านของเราเห็นไหม เรายังอยู่นอกบ้านของเรา เราจะทำความสะอาดบ้านของเราได้ไหม ก็เราอยู่นอกบ้าน เราจะเข้าบ้านของเรา เราต้องผ่านต้องเปิดประตูเข้าบ้าน เพราะความสกปรกมันอยู่ในบ้าน แต่ถ้าการเข้าบ้านกับคนที่อยู่ในบ้านนั้น แล้วทำความสะอาดจากในบ้านเห็นไหม การเข้าบ้านนั้นคือการดูจิต การดูจิตให้สงบเข้าไป ให้สงบเข้าไป

การดูแล้วเข้าไปดูเฉยๆ ไม่ได้ มันต้องเกิดปัญญาอีกชั้นหนึ่ง ดูจิตจนจิตนี้เข้าไปถึงตัวของจิต การจะเข้าบ้านนี้เข้าได้ยากมาก เพราะเข้าทางหน้าต่าง เข้าทางช่องลม เข้าทางรอยแตกรอยแยกเห็นไหม มันมีทางเข้าได้เยอะแยะไปหมดเลย เพราะคำว่าเยอะแยะหมายถึงว่า จริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน คนมีวาสนามากประตูมันจะเปิดโล่งให้เลย ก็เข้าได้โดยสะดวกสบาย คนที่ไม่มีอำนาจวาสนานะ มันจะเข้าทางหน้าต่าง คนที่มีวาสนาน้อย มันจะเข้าทางรอยแตกรอยแยกของกำแพงบ้านเห็นไหม

การเข้ามันก็แล้วแต่อำนาจวาสนา แล้วแต่ความเป็นไป โลกุตตรธรรมต้องเป็นอย่างนี้ โลกุตตรธรรมมันต้องเป็นไปตามจริตนิสัย เป็นตามอำนาจวาสนา เป็นการกระทำมา ทำอย่างนี้แล้ว เข้าไปถึงในบ้านแล้ว เราไปฟื้นตัวอยู่ในบ้านเพราะเข้ามาได้ อยู่ในบ้าน ก็คือเข้าไปถึงตัวจิตได้ พอถึงตัวจิตได้ เพราะอะไร เพราะตอนเราอยู่นอกบ้าน เราจะจินตนาการว่าในบ้านนั้นมีอะไรบ้าง ความเป็นไปของในบ้านจะมีโต๊ะ เก้าอี้ จะมีเซฟอยู่ที่ไหน เราจะไม่รู้เรื่องหรอก แต่พอเราเข้าไปแล้ว เราก็ไปสำรวจไง

นี่ก็เหมือนกันเข้าพอไปถึงตัวจิต แล้วจิตมีกำลังขึ้นมา มันรู้วิธีการแก้ไขไง แล้วมันออกมา แล้วบ้านคืออะไร บ้านก็คือรูปของจิตนี้ไง ตัวรูปนี่ไง ตัวรูปแล้วตัวจิตมันอยู่ไหน มันก็ย้อนเข้ามา มันก็ออกมาทำลายกันเห็นไหม นี้คือการวิปัสสนานะ มันมีสมถะกับวิปัสสนา ถ้าพูดถึงในการประพฤติปฏิบัติ ในวิปัสสนานั้นมันก็มีสมถะ เห็นไหม ในรูป ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มันเป็นทั้งคำบริกรรมก็ได้ คำบริกรรมคือสมถะ มันเป็นทั้งสมถะก็ได้หรือมันจะเป็นวิปัสสนาก็ได้

จิตก็เหมือนกัน เป็นสมถะก็ได้ เป็นวิปัสสนาก็ได้ แล้วแต่วิธีการ แล้วแต่อุบายที่เราจะพลิกแพลง ที่เราจะแก้ไข ที่เราจะทำของเราไป จะบอกว่าอย่างนี้เป็นสมถะทั้งหมด อย่างนี้เป็นวิปัสสนาทั้งหมดไม่ได้ เพราะในวิปัสสนาถ้าไม่มีสมถะไม่มีสมาธิ มันจะวิปัสสนาไปไม่ได้ นี่ไง แต่ถ้าทางวิชาการมันแยกเด็ดขาด แยกแบบวิทยาศาสตร์ว่าต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนั้น อย่างนั้น แล้วก็ทำผิด ผิด ผิด ผิด ผิด ก็เลยผิดกันอยู่นั่นไง ก็เลยทำกันไม่ได้ไง

แต่ถ้าเป็นโลกุตตรธรรม ในอาหารมันมีส่วนผสม รสชาติมันกลมกล่อม ในแกงในสิ่งต่างๆ เห็นไหม เขาทำมาเป็นอาหารสำเร็จรูป กินอร่อยมากเลย แล้วเกลือมันอยู่ไหนล่ะ ความเค็มมันจะแยกออกไปได้อย่างไร แล้วรสขมรสขื่นมันอยู่ที่ไหน มันเป็นอาหาร มันสำเร็จแล้วใช่ไหม ในความรู้สึกของอารมณ์มันก็มี จะแยกออกมาอย่างไรก็ได้

แต่ในการปฏิบัติในภาคปฏิบัติ มันจะเป็นอย่างนี้ เพียงแต่ทางวิชาการ ดูสิ ดูอย่างว่า อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา วิญญาณังเห็นไหม เป็นปัจจยาการ แต่เวลามันเข้าไปถึงอวิชชามันเป็นอย่างนั้นไหม มันเป็นไปโดยพุทธวิสัยเพราะเป็นวิสัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงเห็นความเร็วของจิตที่มันเป็นปัจจยาการ ที่มันสืบต่อกันได้ขนาดนั้น แต่ถ้าเป็นสาวกะ สาวกวิสัยนะ มันจะเห็นอย่างนั้นไหม มันไปเห็นตัวจิต ปัจจยาการที่เป็นจิตคือจิต อวิชชาคืออวิชชา แล้วมันเกิดอย่างไร คนเห็นจริงกับคนเห็นโดยพร่ำที่ปาก พร่ำไปตามทางวิชาการ พร่ำไปเลย นี่คือ โลกียธรรมไง

จะบอกว่า สิ่งที่เป็นไปนะ ถ้าเรากอดยึดทางตำรา ทางความเห็น กิเลสมันจะหลอก แต่ถ้ามันปฏิบัติไปแล้ว ปล่อยให้มันเป็นไปตามความเป็นจริง ตามข้อเท็จจริง คนเรานิสัย อำนาจ วาสนาแตกต่างกัน อำนาจวาสนาของคนมันไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน สิ่งที่อำนาจวาสนาไม่เท่ากันไม่เหมือนกัน แต่เราทำไปเห็นไหม ดูสิ บนถนนสายหนึ่ง เราเข้ากรุงเทพฯ คนไปทำธุรกิจก็มี คนไปพักผ่อนไปเล่นก็มี คนไปทำทุจริตก็มี สิ่งนั้นมันเป็นไปทั้งนั้น

ทางวิชาการก็เหมือนกัน ถ้าเราคิดโดยกิเลสเห็นไหม ก็จะเป็นสภาวะแบบนั้น ถ้าเราคิดโดยธรรม ธรรมจี้เข้ามาที่ความรู้สึก แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถึงมันจะทุกข์มันจะยาก น่าเห็นใจมาก ทุกข์ยากอย่างนี้ ก็ทุกข์ยากเพื่อจะพ้นจากทุกข์ แต่ถ้ามันยังเกิดยังตายอยู่ มันเป็นทุกข์เพื่อทุกข์ ทุกข์เพื่อทุกข์ มันไม่มีจบมีสิ้น ถ้าเราจะจบจะสิ้นนะ ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ ท่านทำของท่านมา ท่านต้องทุ่มเท เพราะท่านทุ่มเททั้ง ๑๐๐% กิเลสมันจึงสอดแทรกเข้ามาไม่ได้

แต่ถ้าเราไม่กล้าทุ่มเทเห็นไหม เผื่อไว้นั้น เผื่อไว้นี้ เห็นไหม กิเลสมันจะออกอย่างนี้ ถ้าเราทุ่มเทของเรา ความทุ่มเทคือความเพียรชอบ มันต้องมีความเพียร ความอุตสาหะของเราต้องเกิด ถ้าความเพียรความอุตสาหะของเราเกิดเห็นไหม มันเป็นความรู้สึก มันเป็นอาการของใจ ก้าวเดินไปในทางจงกรมเห็นไหม นั่งสมาธิภาวนา ก้าวเดินไป สิ่งที่เคลื่อนไหวอยู่นี้เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อสงบนิ่ง ฟังสิ เดินจงกรมอยู่จะสงบได้ไง

มันสงบแน่นอน แล้วปัญญาเราเกิดได้ด้วย ขณะเดินจงกรมอยู่ มันเป็นอิริยาบถ ๔ ให้ความขับเคลื่อนมันเคลื่อนไป แต่ในหัวใจมันหมุนนะ ดูครูบาอาจารย์เราท่านว่า ขณะที่ฉันอาหารอยู่ เคี้ยวอาหารอยู่เห็นไหม ขณะเคี้ยวอาหารอยู่กลืนอาหารอยู่ ความรู้สึกมันก็หมุน ปัญญามันหมุนอยู่ข้างใน เวลาวิปัสสนาที่มันหมุนไปแล้ว ขณะที่มันเป็นน้ำป่า ขณะที่จิตมันก้าวเดิน ขณะที่ปัญญามันทำงานเต็มที่ ธรรมอันนี้เกิดจากภายใน ขณะที่กินอาหารอยู่ ขณะที่เราเคลื่อนไหวอยู่เห็นไหม มันยังทำของมันได้เลย

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อมันเคลื่อนไหวอยู่ มันจะทำอะไรอยู่ จะเดินจนฝ่าเท้าแตก จะเดินจนขนาดไหน มันก็ต้องทุ่มเท ถ้าทุ่มเทอย่างนั้นปั๊บ กิเลสมันไม่มีทางต่อรอง มันไม่มีข้อต่อรอง มันไม่มีช่องออก เราต้องปิดหมดไม่ให้มันมีข้อต่อรองกับเราเลย แล้วเราทำ เราบังคับ บังคับการกระทำของเรา ความเพียรอย่างนี้ ต้องตั้งอย่างนี้ แล้วทำเต็มที่ของเราไป ผลมันจะเกิดขึ้นมาจากความจงใจของเรา เรามีความจงใจ เรามีความมั่นใจ เรามีความศรัทธา มีความเชื่อ มีความเข้มแข็งเห็นไหม

ถ้าเราเข้มแข็งอย่างนี้ กิเลสมันก็ไม่มีข้อต่อรอง ถ้าเราอ่อนแอ เราเปิดช่อง กิเลสมันจะต่อรอง มันจะเอาสิ่งต่างๆ มาต่อรองเรา แล้วเราก็จะตามมันไปเห็นไหม ถึงบอกว่าถ้าเรามีครูบาอาจารย์เป็นที่ยึดมั่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นแก้วสารพัดนึก ครูบาอาจารย์คือพระสงฆ์ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราเป็นพระโดยสมมุติอยู่แล้ว ถ้าเราฝึกขึ้นมา เราจะเป็นอริยสงฆ์จากภายใน ใครจะรู้หรือไม่รู้นี้มันเรื่องของเขา แต่เราเป็น อกาลิโก เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม

แล้วสิ่งที่รู้นี้ มันเป็นอริยสัจอันเดียวกัน ครูบาอาจารย์นี้จะสามารถรู้ได้ แล้วเราจะทำอย่างไร ก้าวเดินอย่างไรต่อขึ้นไปเห็นไหม เป็นบุคคล ๘ จำพวก มรรค ๔ ผล ๔ ก้าวเดินขึ้นไป ถ้าก้าวเดินขึ้นไป ให้มันเป็นจริงของเราขึ้นมา โลกุตตรธรรมคือธรรมที่ฝังอยู่ที่ดวงใจ ฝังอยู่ที่ความรู้สึก ขนาดเป็นโลกุตตรธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจารึกมาในพระไตรปิฎก มันก็ยังเป็นโลกียธรรมของผู้อ่านผู้ค้นคว้าเลย

แต่ขณะที่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจารึกมาเป็นสมมุติบัญญัติ ขณะที่เราประพฤติปฏิบัติแล้ว ถ้าใจเราเป็นโลกุตตรธรรม แล้วไปค้นคว้านะ จะถูกต้องชัดเจน แล้วไม่มีความลังเลสงสัยเลย เพราะมันออกมาจากใจของผู้รู้จริงๆ ไง ถ้าออกมาจากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าออกมาจากใจของพระสารีบุตรเห็นไหม เวลาพระสารีบุตรเทศนาว่าการ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าเราเทศน์เราก็เทศน์อย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับรองพระสารีบุตรมาก ในพระไตรปิฎกนะ ให้พระสารีบุตรเทศนาว่าการ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับประกันว่า ถ้าเราเทศน์เราก็เทศน์อย่างนี้

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าใจรู้จริงเห็นไหม พอเรามาฟังเทศน์มันก็เหมือนกันไง แต่เพราะเรามันมีกิเลสไง เรามันมีกิเลส มันมีความเห็น มันมีการตีความอยู่ในใจของเรา มันเลยเป็นโทษกับเรา แล้วเราก็ไม่รู้ตัวว่าเป็นโทษ เรากลับไปยึดอีก มันเลยเป็นโทษสองชั้นสามชั้น แล้วเวลายึดแล้วก็มาสร้างกันนะว่า “ภาวนาไม่ได้ ถ้ามีความอยากภาวนาไม่ได้ ต้องทำให้ใจสะอาดก่อน แล้วค่อยมาภาวนา ต้องไม่มีความอยากอะไรกันเลย”

มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ คนมีกิเลสที่มันจะไม่มีความอยากเลยนี้ มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันเป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร เพราะเราเกิดมา เรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ถึงจะกดขนาดไหน มันก็อยู่ในจิตใต้สำนึก มันอยู่ที่ตัวจิตเลย แล้วจะไม่ให้มันมีความรู้สึกอย่างนี้ มันเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่กดมันไว้ หรือไม่ให้มันแสดงตัวออกมา ถ้าจะให้มันเป็นปัญญาออกมา ให้มันเป็นข้อเท็จจริงออกมา ออกมาอย่างนี้ก่อนเห็นไหม เราถึงต้องทำความสงบของใจ เพราะความสงบของใจ ถ้ามันมีกิเลสอยู่ใจจะสงบไม่ได้

ความฟุ้งซ่านเกิดจากแรงยุ เกิดจากความไม่รู้จริง แล้วถ้ามันสงบขึ้นมา เกิดความสงบขึ้นมา จิตมันว่าง ! นี่ไง มันไม่มีความอยากไง ถ้ามีความอยากเห็นไหม ดูสิ เวลาเราใช้ปัญญาขึ้นมาแล้ว เราใช้ปัญญาของเราขึ้นมา เราออกไป ถ้ามันมีตัณหาขึ้นมา มันซ้อนขึ้นมา มันยังทำให้เราลงสมาธิไม่ได้เลย ทำให้เราเกิดปัญญาไม่ได้เลย ถ้ามันมีตัวเร้า มันมีกิเลสเร้า ในการกระทำของเรามันจะไม่สะดวกสบาย ถ้าไม่มีตัวเร้าเห็นไหม เราทำความสงบเข้ามา พอจิตมันสงบเข้ามา นั่นล่ะไม่มีตัวอยาก ตัวอยากดับลง จิตถึงเป็นสมาธิ

ตัวอยากนี้ ตัวอยากคือตัวกิเลส แล้วสงบลง มันเป็นสมาธิชั่วคราวเห็นไหมที่ว่า สมาธิที่มันลึกๆ ขึ้นมา มันจะปล่อยกายได้เลยเห็นไหม มันปล่อยกายโดยกำปั้นทุบดิน ไม่ได้ปล่อยด้วยมรรค แต่ขณะที่ใช้ปัญญาไป มันจะปล่อยด้วยมรรค พอปล่อยด้วยมรรค เราต้องฝึกฝนไง นี่ขั้นของสมาธิก็ทำสมาธิไป ทำให้สงบเข้ามา แล้วขั้นของปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา ขั้นของปัญญา ปัญญาที่เป็นโลกุตตรปัญญาเห็นไหม มันจะออกไปแยกแยะ ขั้นของปัญญามันเปิดกว้างตามจริตนิสัย ถึงพิจารณากายเหมือนกัน แต่มันก็ใช้อุบายวิธีการต่างๆ กันไป

พิจารณาจิต พิจารณาธรรมมันก็ใช้วิธีการต่างๆ กันไป ต่างเพราะมันตรงกับจริตไง ดูสิ ดูอย่างเครื่องมือเห็นไหม เครื่องมืออย่างหยาบ เครื่องมืออย่างละเอียด เขาใช้งานต่างกันไป จริตมันก็ต่างๆ กันไป ต้องให้เป็นตามข้อเท็จจริง ให้ตามเป็นจริง เราใช้เครื่องมือละเอียดแต่เราจะไปทำงานอย่างหยาบๆ ดูสิ ต้นไม้เอาลงมายังไม่ได้ จะเอากบไปไส เป็นไปไม่ได้หรอก เขาต้องเรื่อย เขาต้องเปิดปีก เขาต้องทำอะไรมาก่อน แล้วมันถึงจะเป็นไม้ให้เราใช้กบไสได้

นี่มันเป็นข้อเท็จจริง การปฏิบัติตามข้อเท็จจริง โลกุตตรธรรมจะเป็นความจริงของใจดวงนั้น ถึงว่าให้เชื่อมั่นในความรู้สึก ให้เชื่อมั่นในการปฏิบัติ ให้เชื่อมั่นแล้วทำของเราไป เราจะประสบความสำเร็จ เอวัง