เทศน์บนศาลา

แกะหลงฝูง

๓o ส.ค. ๒๕๕๑

 

แกะหลงฝูง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

วันนี้อากาศดีมาก วันนี้เราฟังธรรม ฟังธรรมะให้เข้าถึงหัวใจ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ รื้อค้นมา รักษามา แสวงหามาด้วยแสนยากมาก มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ตรัสรู้เองได้ เหมือนเราหากินเองได้ แต่ถ้าเราโตขึ้นมาเป็นมนุษย์ เราต้องมีพ่อมีแม่ เด็กไม่มีคนดูแลรักษาตายหมด นี่ก็เหมือนกัน เราเป็นสาวก-สาวกะ ธรรมะนี้มันถึงมีได้เป็นครั้งเป็นคราว

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้มาวางธรรมวินัยไว้ แล้วเราเกิดมาพบพุทธศาสนา เราเป็นแกะอย่าหลงฝูง หลงฝูงออกไป ฝูงแกะ คนเลี้ยงแกะนะ เขาเลี้ยงแกะเวลาแกะมันออกจากฝูง เขาจะไม่ให้มันออกจากฝูง เขาหักขามันทิ้งเลย ให้มันเจ็บปวดให้มันจำ แล้วเอามารักษามัน รักษามันนะ พอรักษามัน มันได้น้ำใจจากเจ้าของ มันจะซื่อสัตย์ มันจะอยู่ในฝูงนะไปไหนไปด้วยกัน ไปไหนไปกัน

นี่ก็เหมือนกัน เราเป็นชาวพุทธ เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว เราเป็นแกะหลงฝูงนะ ถือศาสนากันก็ถือศาสนาเป็นพิธี ถือศาสนากันเป็นพิธีนะ ถึงไม่เข้าหลักของศาสนา เข้าถึงหลักศาสนา เราถ้าเข้าถึงหลักศาสนาเราจะเห็นคุณเห็นโทษ เห็นคุณเห็นโทษนะ ศีลจะเกิดโดยปกติเลย แต่นี่เพราะเราไม่เชื่อ ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำช่วยได้ดีมีถมไป คนเขาไม่เห็นทำความดีกันเลย ทางโลกเขามีแต่ความสุข เราทำความดีขนาดนี้ทำไมมันทุกข์ยากขนาดนั้น

ทุกข์ยาก ทุกข์ยาก ทุกข์ว่าเป็นอริยสัจ ทุกข์มันเป็นความจริง สิ่งที่สังคมโลกกันนะ เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ในพระไตรปิฎก

“ในสโมสรสันนิบาตทุกดวงใจว้าเหว่”

เราไปให้ค่าว่าเขาสุข เราไปมองคนอื่นว่ามีความสุข แล้วเราว่ามีความทุกข์ เราคิดของเราเอง เราคิดของเราเองว่าเรามีความทุกข์ คนอื่นมีความสุข แล้วบอกว่า สิ่งที่มันทำอยู่มันเป็นความทุกข์ มันไม่มีความสุขขึ้นมาเลย ไม่มีความสุขนะ เพราะอะไร เพราะศาสนาสอนเรื่องอะไร เราเข้าถึงศาสนาด้วยสัจจะแค่ไหน สัจจะของเรา ถ้าเรามีสัจจะของเรา ถ้าเราเชื่อของเราจริง เราทำของเราจริง เราทำของเราจริงนะ ทำจริง สิ่งที่เป็นปัจจัยเครื่องอาศัย มันลุ่มๆ ดอนๆ มันมีทุกข์มียาก เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น

แต่ถ้าเป็นสัจจะความจริง ถ้าเราสร้างบุญกุศลของเรามา เราต้องทำของเราได้ สิ่งที่ทำของเราได้นั้น มันทำที่ไหน เพราะมันทำที่น้ำใจ มันทำที่ข้างในมันไม่ได้ทำที่ข้างนอก สิ่งที่ข้างนอกที่เขาทำกัน เห็นไหม

โลก! โลกพร่องอยู่เป็นนิจ โลกเป็นอย่างนี้ โลกไม่มีใครอิ่มเต็ม ไม่มีทาง โลกเป็นอย่างนี้ งานของโลกนะเราทำขนาดไหนทำจนตายจะมีคนมาทำต่อไป อย่างเช่น ตระกูลของเรา เราก็อยากให้คนสืบต่อ คนมาดูแลของเราไป จบไหม แล้วส่งต่อส่งต่อเป็นมรดกตกทอดไปถึงลูกถึงหลานนะ สมบัติหาไว้ให้ใคร ก็หาไว้ให้เขา แล้วสมบัติของเราล่ะ

ถ้าสมบัติของเรา ถ้ามันไม่หลงฝูงนะ มันจะมีหลักมีเกณฑ์นะ ถ้ามีหลักมีเกณฑ์ ศาสนามีคุณมีประโยชน์มาก มีคุณประโยชน์มหาศาลเลย แต่เราไม่รู้จักศาสนา เราไปรู้แต่เงารู้แต่เปลือก รู้แต่เงาแต่เปลือกจริงๆ นะ เพราะอะไร ธรรมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่แสวงหาได้ยาก ทำได้ยาก เข้าถึงได้ยาก แต่ก็วางธรรมวินัยไว้เป็นประเพณีวัฒนธรรม

เราไป ดูสิ คนมาเที่ยวเมืองไทย เที่ยววัดเที่ยววา วัดวาอารามเกิดจากอะไร? เกิดจากศรัทธาของชาวพุทธ สร้างสมไว้เพราะมีศรัทธามีความเชื่อ บูชา สร้างศาสนวัตถุเอาไว้ ด้วยความสวยงามดีงาม นั่นศาสนวัตถุนะ

ถ้าพูดโดยธรรมมันก็คืออะไร? มันก็คืออิฐหินทรายปูนเท่านั้นนะ มันคืออะไร มันมีชีวิตไหม มันไม่มีชีวิตหรอก แต่มันเกิดจากน้ำใจของคน เกิดจากคนที่ศรัทธามาก เกิดจากคนที่ศรัทธา เกิดจากคนที่มีฐานะที่เขาสร้างสมของเขาไว้ นี่บุญกุศลเขาสร้างไว้เพื่อศาสนา เพราะมีความเชื่อความศรัทธาวิจิตรพิสดารเลย แต่หัวใจล่ะ หัวใจแห้งผาก หัวใจเดือดร้อน ถ้าเดือดร้อน เห็นไหม

ศาสนาเจริญ เจริญที่ไหน เจริญในหัวใจนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาที่โคนต้นโพธิ์ มันเป็นประเพณีวัฒนธรรม ลัทธิศาสนาใดๆ ก็มี มีเครื่องอยู่เครื่องอาศัยทั้งนั้นนะ แต่สัจจะความจริงมันอยู่ที่ไหน

เวลาเราเชื่อเราศรัทธากัน เดี๋ยวนี้ชาวพุทธเรามันพุทธที่ทะเบียนบ้าน เวลาเชื่อกันก็เชื่อไสยศาสตร์ เชื่อแต่ความเห็นจากข้างนอก นี่มันหลงฝูง หลงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หลงรัตนตรัย หลงสิ่งแก้วสารพัดนึก หลงคุณงามความดีของเรา หลงออกไป หลงออกไปยึดทางโลก แล้วศรัทธาความเชื่อกัน

ดูสิ ไปหาพระหาเจ้าไปหาอะไรกัน ไปหาผลประโยชน์ ไปหาเพื่อลาภสักการะ แต่ถ้าไปหาพระหาเจ้า พระเจ้าว่าอะไร พระเจ้าเทศน์ ไปหาพระ พระเทศน์อีกแล้ว เทศน์มันคืออะไรล่ะ? เทศน์มันคือทิ่มเข้ามาในกิเลสใช่ไหม เทศน์ได้ยังดี ยังดีกว่าเทศน์ไม่ได้ เทศน์ไม่ได้ไปทำไม ไปไหว้ทำไม ก็ไปสร้างบุญกุศล ไปสร้างเป็นถาวรวัตถุกัน ไปหาสิ่งต่างๆ กัน เห็นไหม

แต่ถ้าเราบวชขึ้นมา เรามีศรัทธานะ คนมีศรัทธามีความเชื่อ เวลาบวชมาเป็นพระเป็นเจ้า ก็ยังหลงฝูง หลงฝูงนะเพราะบวชแล้วเราไม่เชื่อเรื่องมรรคเรื่องผล เราไม่เชื่อนะ สัจธรรมนะ พระในเมืองไทยเรามีกี่แสนองค์ แล้วมีคนที่เชื่อมรรคผลมีเท่าไร เชื่อว่ามรรคผลมี ถ้าคนเชื่อว่ามีมรรคมีผล เกิดแล้วตาย มีนรก มีสวรรค์ มีสิ่งต่างๆ พระเราจะไม่ทำผิดศีลผิดธรรมกัน เพราะทำผิดศีลผิดธรรมมันเป็นบาปอกุศลใช่ไหม แต่นี่มันทำเพราะอะไร เพราะมันไม่เชื่อ ๑.ไม่เชื่อ ๒. กิเลสมันหนา ถ้ากิเลสมันหนา เราจะยับยั้งเราไม่ได้ ถ้ายับยั้งยังไม่ได้ หลงออกจากฝูงไปนะ หลงออกสัจธรรมไป

บวชในพุทธศาสนาเป็นนักรบ พระภิกษุเราถ้าไม่ทรงธรรมทรงวินัยใครจะทรง พระเราไม่รู้จักสมาธิ ไม่รู้จักปัญญา ไม่รู้จักศีล สมาธิ ปัญญา ไม่รู้จักการเป็นไปนะ เราจะเอาอะไรเป็นเครื่องอยู่ เครื่องอยู่นะ โลกเขามีเครื่องอยู่กัน เขามีที่พึ่งอาศัยของเขา เขาต้องมีเครื่องอยู่ของเขา แล้วพระเอาอะไรเป็นเครื่องอยู่ ถ้าพระมีเครื่องอยู่ ถ้ามีศรัทธาความเชื่อมันจะพุ่งตรงเข้าไปสู่สัจธรรม ใจลงธรรมะ ลงธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความดำรงชีวิตของเรามันจะมีหลักธรรม

แต่ถ้าใจเรามันขัดขืน ใจเราไม่ลงนะ มันลังเลสงสัย มันหลงฝูงออกไป ธรรมและวินัย คนเลี้ยงแกะเขาจะหักขาแกะ ถ้าแกะมันออกจากฝูงเพื่อฝึกมัน แต่นี่ของเราธรรมวินัย “ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ทุกคนมีปัญญา ทุกคนมีอิสรภาพ” ทุกคนมีอิสรภาพจะเชื่อก็ได้ไม่เชื่อก็ได้ จะทำก็ได้หรือไม่ทำก็ได้ แต่ถ้าเชื่อแล้ว ถ้าเราเป็นชาวพุทธ เราปฏิญาณว่าเป็นชาวพุทธ เราต้องลงธรรมวินัย

ถ้าลงธรรมวินัย ศีล ๕ จะไม่ก้าวล่วงใครใดๆ ทั้งสิ้น ปาณาติปาตาจะไม่ทำร้ายสัตว์ จะไม่ทำลายแม้แต่การตีกัน การกระทำให้เขาเจ็บปวด นี่ก็เป็นปาณาติปาตา เพราะเขามีความสะเทือนใจกัน ถ้ามีความสะเทือนใจกัน ถ้าเรามีศีล ๕ ของเรา มีศีล ๕ สิ่งที่มีศีล ๕ มีศีล ๘ มีศีล ๑๐ มีศีล ๒๒๗ ถ้ามันเชื่อมันลงที่นี่

การดำรงชีวิตของเรา โลกในปัจจุบันนี้ บอกว่าถ้าถือศีล ๕ แล้วเราจะทำธุรกิจเราไม่ได้ นั่นเป็นความคิดของกิเลสไง กิเลสนะเราไม่เคยเข้าไปในศาสนา เราจะไม่รู้เลยว่าเราจะดำรงชีวิตแบบชาวพุทธอย่างไร แต่เราเข้ามาคลุกคลีกับศาสนาเราศึกษาธรรมสิ

เราศึกษาธรรมนะ ธุรกิจก็คือธุรกิจ เราก็พูดความจริงของเรา สัจจะความจริงมีศีล ๕ ทำธุรกิจเจริญรุ่งเรืองเยอะแยะไป ถ้าทำของเรานะ แต่นี่มันด้วยความโลภไง ศีลธรรมจะทำให้โลกไม่เจริญ โลกเจริญมันก็เจริญแบบโลก แต่ธรรมะเจริญ ถ้าธรรมะมันเจริญที่เราใช่ไหม ถ้าธรรมะเจริญที่เรา เรามีความเชื่อความศรัทธา เราไม่หลงออกไป เรามีความมั่นคงของเรา ถ้ามีความมั่นคงของเรา เราจะมีความสนใจของเรา มันจะปักเข้ามาในความประพฤติปฏิบัติ

“ถ้ามีการปฏิบัติ ในเมื่อปริยัติในการศึกษาธรรมวินัย ปริยัติธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าโต้แย้งไม่ได้ เป็นพุทธพจน์ ใครกล้าโต้แย้งพุทธพจน์”

ไม่มีใครโต้แย้งพุทธพจน์ พุทธพจน์มันเป็นปริยัติ ปริยัติเป็นแผนที่ แผนที่กินได้ไหม? แผนที่กินไม่ได้หรอก ดูซิเรามีที่ดินกัน เรามีโฉนด โฉนดเอาไว้ทำไม โฉนดเอาไว้สงวนสิทธิ์ เอาไว้รักษาสิทธิ์ สิทธิ์ของเราไม่ให้ใครมารอนสิทธิ์ของเรา สิทธิในที่ดินของเรา แล้วกระดาษมันเป็นอะไร เราหาผลประโยชน์จากที่ดินของเราใช่ไหม เราต้องหาผลประโยชน์จากที่ดินของเรา เพื่อที่ดินของเราทำประโยชน์อะไรขึ้นมา กระดาษทำอะไรไม่ได้หรอก

ปริยัติมันก็คือโฉนดนั่นนะ พุทธพจน์ ใช่ สิทธิตามโฉนด มีตราครุฑ ของนี้ถูกต้องตามอำนาจรัฐถูกต้องหมด ถูกต้องแต่ประโยชน์จริงๆ เวลาใช้ ใช้อะไร ประโยชน์จริงๆ ใช้ที่ดินใช่ไหม ไม่ได้ใช้กระดาษนั้นใช่ไหม กระดาษนั้นเอาไว้ทำธุรกิจกัน เวลาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน สิทธิแต่ผลประโยชน์จากเนื้อที่ นี่ก็เหมือนกันปริยัติพุทธพจน์ พุทธพจน์ก็คือพุทธพจน์ แต่ของเราล่ะ สัจจะความจริงของเราล่ะ ถ้าเราไปเกาะติด ความว่าเราประพฤติปฏิบัติแล้วจะให้สัจจะความจริง เราจะกอดยึดมั่นในพุทธพจน์

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน สอนจริงๆ นะ สอนตั่งแต่ในอนุปุพพิกถา ตั้งแต่ทาน ศีล เนกขัมมะ แล้วออกประพฤติปฏิบัติ เวลาออกประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ก็เป็นนกแก้วนกขุนทอง กัน จะไปท่องจำกันมา พุทธพจน์ต้องเป็นอย่างนั้น

สมาธิก็คือสมาธินะ สมาธิถ้าเราทำของเราขึ้นมา มันจะเป็นประโยชน์กับเรา เป็นประโยชน์กับเรานะ ในศาสนา ธรรมมันหลากหลายมาก คำว่า “ธรรม” นี้มันหลากหลาย ดูปัญญาของคนสิมันกว้างขวาง แคบแตกต่างกันไป สิ่งที่แตกต่างกันไป จริตนิสัยก็แตกต่างกันไป ดูสิเวลาเราประพฤติปฏิบัติกัน บางคนขยันหมั่นเพียร บางคนทำจนเราเห็นทำไมทำขนาดนั้น ทำขนาดนั้นพอดีของเขานะ

เราทำธุรกิจการค้า เริ่มต้นเราประกอบธุรกิจ ถ้ากิจการของเรายังไม่ก้าวเดินไป เราจะเหนื่อยหน่ายมาก แต่เวลากิจการของเราดีขึ้นมาก เราจะขยันหมั่นเพียร คนที่เขาขยันหมั่นเพียร มันต้องมีงานในหัวใจนะ ถ้าไม่มีงานในหัวใจ ถ้าใจมันหมุนขึ้นมา เวลาเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา มันทำได้โดยที่ไม่มีใครบอก เหมือนเราผลตอบสนองมันอยู่ที่แค่มือเอื้อม ถ้าอยู่แค่มือเอื้อมมันมีความขยันหมั่นเพียร ความขยันหมั่นเพียร ความเพียรต้องแก่กล้า ความเพียรกล้าขึ้นมา ความเพียรกล้ามันมีจากข้างใน

แต่ถ้าความเพียรของเรายังไม่แก่กล้าขึ้นมา เราต้องขยันหมั่นเพียร เราต้องมีศรัทธามีความเชื่อ อย่าให้มันหลงออก เห็นไหม เวลาภาวนาไปจะไปรู้เห็นสิ่งต่างๆ จะไปยึดว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม ไม่ใช่ทั้งนั้น เริ่มต้นถ้าเราไปยึด เราไปรับรู้ก่อน ผิดหมดเลย ต้องวางให้หมดก่อน รื้อแล้วสร้าง เราต้องปรับพื้นที่ ดูซิที่ดินจะใช้ประโยชน์ขึ้นมา เวลาเขาตัดทางหลวง เขาต้องมอบที่ให้กัน เขาต้องเวนคืน เขาต้องรอนสิทธ์ของคนอื่นมาให้เป็นของเรา

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราจะปรับพื้นที่ของเรา มันเป็นเรื่องของกิเลสหมด การศึกษาขึ้นมาพุทธพจน์นั้นน่ะเราศึกษาแล้ว เราไม่เข้าใจหรอก พระในสมัยพุทธกาล ไม่มีคัมภีร์ ต้องไปฟังจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาจะเข้าป่าไปขอกรรมฐาน ขอกรรมฐานพระพุทธเจ้าจะให้กรรมฐานไป ทีนี้ให้กรรมฐานไป เวลาเข้าไปในป่าแล้วมีปัญหามากลับมาถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธพจน์เพราะอะไร เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้กรรมฐานเสียเอง จริตนิสัยของคนไม่เหมือนกันใช่ไหม

แต่นี่เราไปศึกษาเอามาจากพระไตรปิฎก แล้วเราก็คิดว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ นี่เป็นสมถะ นี่เป็นวิปัสสนา สิ่งที่เป็นสมถะ ในจริงๆ แล้วในสมถะก็มีวิปัสสนา ในวิปัสสนาก็มีสมถะ มันจะพัฒนาของมันขึ้นไป วุฒิภาวะของใจมันจะพัฒนาของมันขึ้นไป ถ้าพัฒนาขึ้นไป นี่มันไม่หลงทาง ถ้าใจมันหลงทางนะ มันไปยึดที่ต้นทาง เราคิดว่าต้นทางเป็นทางถูกต้องของเรา แล้วต้นทางความถูกต้องของเรา เราทำถูกต้องไหม มันเป็นทฤษฎีทั้งหมด มันเป็นอารมณ์โลกนะ อารมณ์ความรู้สึกของเราเขาเรียก โลกียปัญญา

สิ่งที่โลกียะ ความคิดของเรา ถ้ามันถูกต้องไหมในการประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นครูบาอาจารย์ของเรา ท่านจะบอกให้เราเริ่มต้นตั้งแต่พื้นฐานเลย เริ่มต้นตั้งแต่พื้นฐาน ตั้งแต่เราตั้งสติแล้วกำหนดพุทโธ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เพื่อปรับพื้นฐานของเราไป แล้วมันจะมีเหตุการณ์สิ่งใดที่จะต้องแก้ไข มันจะแก้ไขไปตามข้องเท็จจริงนั้น มันตามข้อเท็จจริง ไม่ใช่ตามทฤษฎีทั้งหมด ไม่ใช่ตามแผนที่ทั้งหมด แผนที่นะ แผนที่หรือโฉนดเราได้กระดาษมาใบหนึ่ง ในที่ดินนั้นมันมีสิ่งปลูกสร้างไหม มันมีใครถือครอบครองปรปักษ์ไปหรือยัง ในพื้นที่เรารู้หรือยัง เราไม่รู้อะไรเลย เราเห็นแต่มีโฉนดใบหนึ่ง สิ่งนี้ของเราได้รับมรดกตกทอดมา

นี่ก็เหมือน พุทธพจน์ คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ มันไม่เป็นอย่างนั้นนะ แล้วมันทำให้ลังเลสงสัย ยิ่งลังเลสงสัยยิ่งว่าพุทธพจน์ต้องกอดไว้เลย ผิดไม่ได้ๆ แต่เวลาออกมา มาถกธรรมะกัน ปากเปียกปากแฉะ เป็นสภาวะแบบนั้น ญาณ ๑๖ ญาณ ๑๐๘

ญาณ ๑๐๘ ญาณอะไรก็แล้วแต่ เป็นสมาธิขึ้นมาเป็นพื้นฐาน ปรับพื้นฐานของเรา การปรับพื้นฐานของเรา สมาธิมันมีมิจฉามีสัมมา ในเมื่อมันเป็นสมาธิที่เรารู้เราเห็นของเรา แล้วเราว่าสิ่งนี้เป็นพุทธพจน์ สิ่งนี้เป็นไป มันวิปัสสนึกทั้งนั้น มันสร้างภาพทั้งนั้น มันสร้างของมันขึ้นมา แล้วมันเป็นความจริงไหม

เงินของเราถ้าเงินจริงนะ แบงก์จริง บาทหนึ่งก็มีค่า แบงก์ปลอมนะจะมีเท่าไรมันก็ไม่มีค่า สมาธิพื้นฐานของใจถ้ามันเป็นความจริง มันสลึงหนึ่ง บาทหนึ่งมันก็มีค่า มีค่าเพราะอะไร? มีค่าเพราะเงินของเราใช้จ่ายได้ถูกต้องตามกฎหมาย

แต่ถ้ามันไม่ใช่เงินของเรา ไม่ใช่เงินของเราดูซิ มันคาดหมายทั้งหมด เป็นอย่างนั้นๆ ด้วยความคาดความหมายของเรา มันเป็นความจริงไหม? มันไม่เป็นความจริงสักอย่าง พอไม่เป็นความจริงก็ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ ก็มันใช้จ่ายไม่ได้ มันใช้สอยไม่ได้ แต่เราก็ไม่รู้ ไม่เคยใช้สอยเพราะ! เพราะไม่มีครูบาอาจารย์ที่รู้จริง ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่รู้จริง ต้องปรับพื้นฐานของมัน มันถึงไม่หลงออกไป!

เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไป ยิ่งศึกษาขึ้นมา ศึกษาทางประวัติศาสตร์ ทางทฤษฎี แล้วทางทฤษฎีขึ้นมา นรกสวรรค์ไม่มี ทุกอย่างไม่มี สวรรค์ในอกนรกในใจว่ากันไป จะมีไม่มี แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ ขึ้นมา เริ่มต้นเทศนาครั้งแรกเทวดาส่งกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ไม่มีแล้วทำไมเวลาสวดธัมมจักฯ ปฐมเทศนาเลย! พระพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ พรหมบอกต่อๆ กันเป็นชั้นๆ ขึ้นไปเลย แล้วบอกว่านรกสวรรค์ไม่มี นรกสวรรค์ไม่มีแล้วกิเลสสวรรค์ในอกนรกในใจ เห็นไหม พุทธพจน์ แต่มันตีความ ใครตีความแล้วตีความอย่างไร

ในการศึกษามาแล้ว อย่าให้มันหลงออกไปทางกิเลส สิ่งที่เวลาประพฤติปฏิบัติ เวลาเราไม่เชื่อขึ้นมานะ มันเป็นเรื่องของโลก แล้วแต่เป้าหมายของผู้นำ ผู้นำหมู่คณะใด จะชี้เป้าหมายไปทางใด นี้เราศึกษาของเราขึ้นมา พอศึกษาขึ้นมา ศึกษาแล้วประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา มีครูมีอาจารย์ ในกาลามสูตรไม่ให้เชื่อแม้แต่คำสอน ไม่ให้เชื่อว่ามันจะเข้ากันได้ ไม่ให้เชื่อซักอย่าง ไม่ให้เชื่อเพราะอะไร ไม่ให้เชื่อเพราะเวลาปฏิบัติมันจริง-ไม่จริง

นี่ก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติของเราจะจริง-ไม่จริง ครูบาอาจารย์ท่านสอน ถ้าครูบาอาจารย์เป็นความจริงนะ ท้าทายมาก ต้องเป็นอย่างนั้น! ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเป็นอย่างนั้น! ผิดจากนี้เป็นไปไม่ได้ เพราะอริยสัจมีหนึ่งเดียว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา พระศรีอริยเมตไตรยก็จะมาตรัสรู้อย่างนี้ อริยสัจมีหนึ่งเดียว เวลาพระอรหันต์เวลาถึงสิ้นกิเลสแล้วเป็นพระอรหันต์ มีความสะอาดบริสุทธิ์เหมือนกัน ต่างกันด้วยอำนาจวาสนาบารมี ต่างกัน เห็นไหม

ดูสิ เอตทัคคะ ๘๐ องค์ก็แตกต่างกัน เวลาผู้ที่ชำนาญในการเทศนาว่าการ ดูพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นสงฆ์องค์แรกของโลก สอนหลานองค์เดียวแล้วเข้าไปอยู่ในป่าอยู่กับสัตว์ตลอดไป พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวา เพื่ออะไร สิ่งนี้มันมาจากไหน เวลาพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะจะเข้ามาบวชกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ทันบวชเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

“นี่ไง อัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาเรามาแล้ว”

ตั้งแต่ฟังพระอัสสชิแล้วไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เดินเข้าไปหาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “นี่ไงอัครสาวกเบื้องซ้าย เบื้องขวาของเรามาแล้ว” แล้วประพฤติปฏิบัติฟังพระอัสสชิมาได้เป็นพระโสดาบัน พอเข้าไปถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนถึงเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา แล้วตั้งให้เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวา

ภิกษุติเตียนกันมากว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ลำเอียง ลำเอียงเพราะอะไร ลำเอียงเพราะว่าถ้าจะตั้งอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาต้องตั้งปัญจวัคคีย์ เพราะปัญจวัคคีย์เป็นผู้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตั้งแต่ก่อนที่จะมาตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะถือว่ามาก่อน

นี่คิดแบบโลกๆ ไง คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบสิ่งที่ถูกเห็นกันไง แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “ไม่ใช่! เราตั้งตามเป็นจริง เพราะพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะเขาได้สร้างบุญญาธิการของเขามา เขาปรารถนามาเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา” ถ้าปรารถนาเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวาต้องสร้างบุญญาธิการมา

การสร้างบุญญาธิการมา อย่างเช่น พระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าต้องสร้าง ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย

พระอรหันต์ในปริยัติจะเป็นพระอรหันต์ได้ต้องสร้างมา ๑ กัป สิ่งนี้มันมาจากไหน สิ่งนี้ท่านตั้งตามความเป็นจริง ตามข้อเท็จจริง แล้วตามข้อเท็จจริงนั้นในการประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติก็ต้องตามข้อเท็จจริงของจิตที่เราเป็น ตามข้อเท็จจริงที่จิตเรามันมีกิเลสมากน้อยแค่ไหน มันมีความเห็นอย่างไร ถ้ามีความเห็น...สิ่งนี้ไปตามความเป็นจริง นี่ไง มันถึงไม่หลงทาง ไม่หลงฝูงออกไป เราบวชนะ เราเป็นชาวพุทธ อย่าหลงออกไป อย่าหลงออกจากหลักสัจธรรม เป็นชาวพุทธให้เป็นชาวพุทธจากหัวใจ ถ้าชาวพุทธจากหัวใจนะ มันจะเห็นคุณค่าของชีวิต เห็นคุณค่าต่างๆ ที่เกิดมา เห็นคุณค่าเลย

คุณค่าเพราะอะไร เพราะศาสนานี้...สิ่งที่จะสัมผัสศาสนา สิ่งที่จะเข้าสัมผัสคือ ความรู้สึกคือ ใจทั้งนั้น ใจนั้นสัมผัสความรู้สึก สุข ทุกข์ ความดี ความชั่ว ความเลว ความดีงาม ความเกิด การตาย ความบรรลุธรรมมันเป็นเรื่องของจิตสำนึกทั้งนั้นเลย สิ่งที่ข้างนอกนี้มันเป็นวัตถุ มันเป็นส่วนประกอบ เราไปติดสิ่งที่ส่วนประกอบกัน พอติดส่วนประกอบขึ้นมา เราต้องทำให้ได้อย่างนั้น ถ้าผิดจากอย่างนั้นไปจะเป็นความผิด ทั้งๆ ที่ขณะปฏิบัติเข้ามาก็เหมือนกัน

สิ่งที่ปฏิบัติเข้ามา สิ่งที่ปฏิบัติเข้ามาถึงหัวใจ ถ้าใจมันถึงหัวใจ ถ้าใช้ความคิดอย่างนั้นมันเป็นไปได้ สิ่งที่เป็นไปได้ที่ว่า สิ่งที่ว่าใช้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ คำว่า “ปัญญาอบรมสมาธิ” มันใช้ปัญญาใคร่ครวญ ใคร่ครวญนะ มันเป็นแนวทางของพระสารีบุตร พระสารีบุตรใช้ปัญญา ใช้ปัญญาใคร่ครวญจิต สิ่งที่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการหลาน ไม่พอใจสิ่งใดๆ ความว่าไม่พอใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

“ถ้าเธอไม่พอใจสิ่งใดๆ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ความรู้สึกที่เธอไม่พอใจเขาด้วย เพราะอารมณ์ความรู้สึกนั้นก็เป็นวัตถุอันหนึ่ง วัตถุอันหนึ่ง”

วัตถุมันจับต้องได้ จิตจับจิตนี้มันจับได้ จิตจับจิต จิตไม่ใช่อารมณ์ จิตเป็นจิต จิตเป็นพลังงาน อารมณ์คือ ความรู้สึกเป็นความคิด จิตจับจิต ถ้าเธอไม่พอใจเขามันก็เป็นความคิดใช่ไหม ความคิดมันมีเหตุผลอะไรถึงไม่พอใจเขา ไม่พอใจเขา เธอไม่พอใจสิ่งต่างๆ เธอต้องไม่พอใจในอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย ถ้าเธอไม่พอใจเขา เธอต้องเป็นธรรมสิ เป็นธรรมเพราะเธอคิดไม่พอใจเขา นั่นก็คือความคิดอันหนึ่ง นั่นไม่เบียดเบียนตนไง ไม่เบียดเราไง

ถ้าเราคิดเราไม่พอใจ เราเบียดเบียนเราละ แล้วความคิด คิดจะทำลายเขา คิดทำลายเขา ถ้าคิดทำลายเขามันก็เป็นเรื่องโลก เรื่องของสามัญสำนึก เรื่องของการสื่อสาร เรื่องของ...แต่ถ้าเราคิดของเราขึ้นมา ระหว่างจิตกับความคิด มันเป็นสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เรากระทำ สิ่งที่เราแก้ไขเรื่องของกิเลส

พระสารีบุตรฟังธรรมบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาที่เขาคิชฌกูฎ สิ่งนี้มันเป็นจริง พระสารีบุตรไม่ได้พิจารณากาย พิจารณาธรรมารมณ์ พระโมคคัลลานะพิจารณากาย พระโมคคัลลานะง่วงเหงาหาวนอน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเหยียดไปคู้ ถ้ามันง่วงเหงาหาวนอนเรานั่งสมาธิไป นั่งสมาธิโงกง่วง ให้ดูดาว ให้เอาน้ำลูบหน้า ให้ตรึกในธรรม ถ้าง่วงนอนนักนอนซะนอนก่อน พอนอนแล้วพักผ่อนแล้วค่อยขึ้นมาภาวนาใหม่ เพราะอะไร เพราะมันต้องใช้พื้นฐานของจิต พื้นฐานของสมาธิ เพื่อแยกแยะ เพื่อใคร่ครวญสติปัฏฐาน ๔ ให้เป็นวิปัสสนา

ทำไมพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงสอนไม่เหมือนกัน ทำไมพระอัครสาวกต่างๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไม่เหมือนกัน แล้วพอเราพุทธพจน์ พุทธพจน์ อ้างพุทธพจน์โดยมีประตูเดียว โดยใช้ทางนี้ทางเดียว จะให้มันเป็นไปอย่างนั้น เห็นไหม นี่มันหลงฝูงนะ หลงฝูงคือ หลงตามกิเลส

กิเลสคืออะไร กิเลสคือ ความพอใจ กิเลสคือ การนอนเนื่อง มันอยู่ในหัวใจ ถ้ากิเลสมันนอนเนื่องในหัวใจ หัวหน้าคิดสิ่งใดวางรูปแบบสิ่งใดแล้วจะทำหลักตายตัวไปอย่างนั้น มันเป็นไปไม่ได้หรอกๆ สิ่งที่จะเป็นไปได้ นี่ภาคปฏิบัติต้องเป็นไปอย่างนี้ นี่มันไม่ใช่ภาคปริยัตินะ

ถ้าภาคปริยัติการศึกษาในปริยัติต้องเป็นอย่างนั้น ต้องท่องไวยากรณ์ ต้องแปลบาลีได้ ถ้าท่องบาลีได้คือ กุญแจไปไขพระไตรปิฎก ไขสัจธรรมออกมาจากพระไตรปิฎก ไขออกมาแล้วรู้อะไร ไขออกมาคือข้อมูล คือปริยัติ แต่ถ้าเราจะทำของเรา เราจะไขกิเลสออกจากใจของเรา นี่ภาคปฏิบัติ ปริยัติมีไว้เป็นแค่พื้นฐานให้ปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติไปแล้ว กาลามสูตร

ไม่ให้เชื่อแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไม่ให้เชื่อแม้เป็นอาจารย์เรา

ไม่ให้เชื่อพระไตรปิฎก

ไม่ให้เชื่อว่าสิ่งที่มันเทียบเคียงกันได้

ไม่ให้เชื่อ...ถ้ามันเชื่อ เชื่อคืออะไร ความศรัทธา ความเชื่อไม่ใช่ตัวจิต ความเชื่อแก้กิเลสไม่ได้ ความจริงต่างหาก ความจริงแก้กิเลสได้ แล้วความจริงมันอยู่ไหน ความจริงที่จิตมันสงบเข้ามามันอยู่ไหน มันไม่มีความจริงเลย ในเมื่อความจริง มันหลงทางแล้ว หลงทางเพราะอะไร หลงทางเพราะกิเลสมันบิดเบือน กิเลสของเรามันบิดเบือนความรู้ของเรา เป็นพุทธพจน์ กอดไว้เลย กอดพุทธพจน์ไว้ วางไว้ก่อนมันเป็นปริยัติ แล้วปฏิบัติ ปฏิบัติ

ดูสิ ถ้าเราเอาแบบแปลนการสร้างบ้านมา เขาเป็นบ้านตัวอย่าง สวยงามมากเลย แล้วเราจะให้มันเป็นอย่างนั้นเลยได้ไหม ไม่ได้เลย มันจะมาเป็นหิน เป็นทราย เป็นปูน เป็นไม้ เป็นเหล็ก แล้วเราต้องมาก่อร่างสร้างขึ้นมา แล้วพอเสร็จแล้วต้องทาสีมันถึงจะเป็นบ้านอย่างนั้น

นี่ก็เหมือนกันในการปฏิบัติ พื้นฐานอยู่ไหน สิ่งที่เป็นอิฐ หิน ทราย ปูนอยู่ไหน สติอยู่ไหน สมาธิอยู่ไหน ปัญญาอยู่ไหน งานชอบเพียรชอบมันอยู่ไหน ไม่มีสักชิ้นหนึ่งเลย สิ่งที่ไม่มีสักชิ้นแล้วก็วาดภาพกัน นั้นมันบ้านตัวอย่างขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บ้านตัวอย่างเป็นอย่างนั้น บ้านตัวอย่างในพุทธพจน์นะมันบ้านตัวอย่าง แล้วบ้านของเราล่ะ จะยกอย่างนั้นมา ยกบ้านสำเร็จรูปไม่มีใช่ไหม ในปัจจุบันวิทยาศาสตร์เจริญนะ มี น็อกดาวน์เอามาประกอบได้ น็อกดาวน์มันต้องประกอบขึ้นมา

แต่สิ่งที่เป็นความเป็นจริงมันต้องก่อร่างสร้างขึ้นมา การก่อร่างสร้างขึ้นมา อย่าหลงทาง แกะหลงฝูงนะมันไม่เชื่อ มันจะหลงออกไปจากสัจธรรมความจริง หลงออกไปจากสัจจะความจริงเลย หลงไปทางไสยศาสตร์ เป็นไสยศาสตร์ไม่ใช่พุทธศาสตร์ ในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันก็ไม่เข้าหลักการตามความเป็นจริง

ถ้าหลักความเป็นจริง เราต้องปฏิบัตินะ คนจะมีปัญญามากน้อยแค่ไหน ต้องทำตัวเหมือนคนโง่ที่สุด พุทโธ พุทโธ พุทโธนะโง่ที่สุดเลย แต่ถ้าจะมีปัญญาก็ต้องเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เพราะปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาของเรา ปัญญาคือการรอบรู้ในกองสังขาร

แต่ถ้าเป็นปัญญาของโลก ปัญญาคือ ข้อมูล ปัญญาคือ สิ่งที่เราค้นคว้า สิ่งที่เราวิจัย มันยิ่งส่งกระแสออกเพราะอะไร เพราะพลังงานมันส่งกระแสออกไป ปัญญามันคิดไม่หยุด คิดจนทุกข์ คิดจนเครียด คิดจนไม่รู้ จนนอนไม่ได้ นอนไม่หลับ คิดจนหัวแทบระเบิด คิดจนบ้าบอคอแตก

แต่ถ้าเป็นปัญญาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญารอบรู้ความคิดไง สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง เวลาใครพิจารณาจิต จิตเรานี้มีรูปคือ ความรู้สึก ความรู้สึกเป็นอารมณ์ ความรู้สึกนั้นมันจะมีเวทนา เพราะเรามีเวทนาเราจึงแบ่งค่าว่าดีหรือชั่ว มันต้องมีสัญญา ถ้าไม่มีสัญญาเราจะคิดไม่ได้เลย สัญญาคือ ข้อมูล แล้วพอมีสัญญาขึ้นมาสังขารมันต้องสืบต่อ ความคิดสืบต่อ

นี่ไง สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่งอันนี้ ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาในศาสนาพุทธมันเป็นศาสตร์ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร คือปัญญามันครอบคลุมความคิด ปัญญารอบรู้ความคิด ให้ความคิดมันหยุดได้ ให้ความคิดว่า มันมีเหตุมีผล คิดมาจากอะไร คิดซ้ำคิดซาก คิดแล้วทุกข์แค่ไหน ความคิดนี้มันให้โทษกับเราขนาดไหน รอบรู้ในความคิด พอมันปล่อยความคิดขึ้นมา นี่ไง ถ้ามันปล่อยความคิด

นี่ไงปัญญาในศาสนาพุทธ ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร ไม่ใช่ปัญญาที่เป็นวิชาชีพ ไม่ใช่ปัญญาที่เราหาอยู่หากินกันนั่น ปัญญา ถ้ายิ่งฉลาดมาก ฉลาดโดยกิเลส ฉลาดแกมโกงไง มันฉลาดมันโกง โกงตัวเอง โกงว่ารู้ นี่พุทธพจน์ พุทธพจน์มันจำมา มันท่องมา มัน...สิ่งนั้นมา แล้วความจริงของเรา สมาธิเป็นอย่างไร สมาธิก็ไม่รู้ ปัญญาก็ไม่รู้ สรรพสิ่งใดๆ ไม่เคยมีเลย แต่สำเร็จรูปมา เป็นบ้านสำเร็จรูปมา เป็นสิ่งที่รูปแบบครอบงำมา มันเป็นความจริงของเราไหม มันไม่เป็นความจริงหรอก เพราะอะไร เพราะสมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่สมบัติของเรา

ถ้าเป็นสมบัติของเรา เป็นสมบัติของเรานะ มันจะรู้จักเรา ต้อง! ต้อง! ต้อง! ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้นเป็นอย่างไร เป็นอย่างนั้นก็เป็นที่ว่าเรามีจุดยืนของเราไง เรามีจุดยืนของเรา เรามีความมั่นใจของเรา เรามีความมั่นใจของเรานะ ในการทำความเพียร มันลงธรรม ถ้าใจมันลง ใจมันมั่นคงแล้วมันลงธรรม

ความเพียรชอบ ความเพียรที่เราไม่ลงกัน ความเพียรที่เราสักแต่ว่าทำกัน มันเดินเหมือนสุนัขนะ สุนัขมันวิ่งไปวิ่งมาทั้งวันเลย มันวิ่งหาเพศตรงข้ามของมัน นี่ก็เหมือนกันเดินไปเดินมาเพราะใจมันไม่ลงธรรม ถ้าใจมันลงธรรม สติมันพร้อม สติมันพร้อม การก้าวเดินไปของเรา

ดูสิ ดูพระนาคิตะ พระนาคิตะเป็นผู้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อนพระอานนท์ แล้วไปเดินจงกรมอยู่ในป่า พอดีบังเอิญเขามีงานมหรสพ ชาวบ้านเขาไปเที่ยวงานกัน เขาก็ร้องรำขับทำเพลงกันไป พระนาคิตะเดินจงกรมอยู่

โอ้เราเป็นคนทุกข์คนยาก ดูสิ คฤหัสถ์เขามีความสุข เขายังมีความรื่นเริงของเขา เขามีมหรสพสมโภช เขาไปดูมหรสพสมโภชของเขา ด้วยความวิตกวิจารณ์ในหัวใจ ทุกข์มาก ทุกข์มากเพราะอะไร เพราะกิเลสมันครอบงำ ทุกข์มากเพราะว่า นี่ไง หลงจากทาง หลงออกจากสัจธรรม เทวดามายับยั้งกลางอากาศเลย เหาะมากลางอากาศยับยั้งกลางอากาศเลย แล้วเปล่งเสียงกังวานลงมา

“นาคิตะ! สิ่งที่เขาไปเที่ยวไปมีความสุขความเจริญเพลิดเพลินนั้น ไอ้นั่นมันอยู่ในวัฏฏะ มันหลงทางอยู่ เห็นไหม มันหลงอยู่ในวัฏฏะ หลงอยู่ในมหรสพสมโภช”

ดูสิ ดูเราไปเห็นอบายมุข สิ่งที่เป็นอบายมุข-อบายภูมิ นี่ไง มหรสพสมโภชเป็นอบายมุขทั้งนั้น อบายมุขทำให้เราตกลงสู่อบายภูมิ เขายังตกอยู่ในอบายอยู่เลย แต่เพราะเราคิดของเราเอง เราคิดวิตกน้อยอกน้อยใจ พอเทวดามายับยั้งกลางอากาศ เตือนสติขึ้นมา เดินจงกรมแล้วมันน้อยอกน้อยใจ มันเดินไปคิดแต่เรื่องคนอื่น คิดแต่เรื่องข้างนอก แต่พอเทวดามายับยั้งกลางอากาศแล้วเตือนมา

ความเพียรชอบ ความเพียรชอบแล้วเดินจงกรมไป มันย้อนกลับเข้ามาในหัวใจ ย้อนมาหาเหตุหาผลไง ดูสิ เขาไปสนุกเพลิดเพลินกัน แต่มันเพลิดเพลินในวัฏฏะ เพลิดเพลินเพราะเหมือนแกะมันหลงทาง มันเดินไปนะ มันจะมีกินมีใช้ มันจะไปโดนเสือคาบเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ แกะมันหลงทางออกไป มันหลงฝูงออกไป

เราเดินจงกรมอยู่ ไม่หลงทางออกไป ด้วยศักยภาพไม่หลงทางออกไปด้วยกายของมนุษย์ แล้วก็ไม่หลงทางในหัวใจด้วย ถ้าไม่หลงทางในหัวใจ ศรัทธาปฏิบัติกัน มาวัดมาวาแต่ให้กิเลสมันครอบงำ สักแต่ว่าทำ หลงจากข้างนอกเข้ามาอยู่ในศาสนา มาเป็นนักบวช มาเป็นพระเป็นเจ้ามาต่อสู้กับกิเลส แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไปก็ให้กิเลสมันหลอก ให้กิเลสมันเหยียบหัว ให้กิเลสมันสักแต่ว่าทำ

หลงข้างนอกก็หลงอันหนึ่ง หลงข้างในก็หลงอีกอันหนึ่ง หลงข้างในน่ะหลงตัวเอง หลงกิเลสของตัวเอง หลงข้างนอกหลงกระแสสังคม สังคมมันเป็นไป ต้องมีศักยภาพ พระต้องมีบริษัทบริวาร ไอ้นั่นมันลิเก มันอยู่กันแบบโลกๆ มันอยู่ด้วยการแบบด้วยการคลุกคลี

แต่ถ้าเราเป็นพระ เราเป็นศากยบุตรพุทธชิโนรส ให้ไปแบบหน่อแรด ให้อยู่แบบไม่คลุกคลีกัน ต่างคนต่างอยู่ ต่างคนต่างดูใจของตัว ต่างคนต่างค้นคว้า ต่างคนต่างชำระกิเลส นี่ไง สัจจะมันเป็นอย่างนี้ ไม่หลงออกไป ถ้าไม่หลงออกไป ย้อนกลับเข้ามาพิจารณาเข้ามา ย้อนกลับเข้ามาๆ มันจะเป็นสัจจะความจริงเข้ามาในหัวใจของเรา ถ้าสัจจะความจริงเข้ามา นี่สัจธรรม! สัจธรรมนี้ไม่เป็นของใคร สัจธรรมนี้มันเป็นของผู้ประพฤติปฏิบัตินะ สัจธรรมนี่มันเกิดขึ้นมาบนที่ไหน? บนฐานน่ะ บนภพ บนภวาสวะ บนจิต บนฐานที่ตั้ง

นี่ไง สมาธิเพราะมีฐานมีที่ตั้ง มีฐานการงาน งานที่ไหน เพราะนี่มันตัวตายตัวเกิด สวรรค์ในอกนรกในใจมันอยู่ที่ไหน รู้ได้อย่างไร อะไรเป็นสวรรค์ อะไรเป็นนรก แล้วนรกสวรรค์มันอยู่ที่ไหน มันเหยียบย่ำหัวใจอย่างไร เวลามันหมุนเข้าไปนะ ปัญญาหมุนเข้าไป มันไปถอดไปถอนเพราะอะไร เพราะใจนี้มันโง่ มันถึงว่าสรรพสิ่งนี้เป็นของเรา ร่างกายนี้เป็นของเรา ความคิดนี้เป็นของเรา ถ้าความคิดเป็นของเรา ทำไมไม่คิดแต่เรื่องดีๆ ทำไมไม่คิดให้แต่ตัวเองมีความสุข ทำไมความคิดเป็นของเรา ทำไมความคิดมันคิดให้เราทุกข์เรายาก ความคิดทำไมมันเหยียบย่ำเราขนาดนี้

นี่ไง สิ่งนี้มันเป็นภพ มันเป็นสมมุติ เราเป็นมนุษย์ มนุษย์มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ โดยสามัญสำนึกของมนุษย์ มันมีร่างกายบีบคั้นมา มีขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ คือ สิ่งที่สื่อความหมายภาษา แล้วแต่สมมุติภาษาว่าภาษาอะไร ก็ว่ากันไป แล้วก็มีตัณหาความทะยานอยาก นี่ไง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ถ้ามันย้อนกลับเข้ามา ชีวิตมันมีความเห็นของมันเข้ามา ใจมันเห็นของมันตามสัจจะความจริง

ความคิดไม่ใช่ใจ ความคิดเป็นความคิด พลังงานเป็นพลังงาน แล้วถ้ามันจับต้องได้ จิตเห็นจิต ถ้าพิจารณากายขึ้นมา อย่างพระโมคคัลลานะพิจารณากายเพราะอะไร เพราะโดยสามัญสำนึกนะ กามฉันท์ กามฉันท์คือความพอใจ ถ้ามีความพอใจมันจะมีกามราคะ แต่ในปุถุชนมันเป็นกามราคะไม่ใช่กามฉันท์เพราะมันไม่รู้ตัวอะไรเลย ความคิดมันเร็วมาก ความคิดโดยสามัญสำนึกมันเร็ว สิ่งที่มันมีอยู่นี้แล้วมันเร็ว มันเป็นธรรมชาติอย่างนี้ ธรรมชาติมันมีอยู่แต่ไม่มีใครเคยมีสัจธรรม เคยมีมรรคญาณ

ที่ว่าอริยสัจ อริยสัจเป็นของใคร สมาธิเป็นของใคร ปัญญาเป็นของใคร มันเป็นของบุคคลผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ มันเป็นธรรมะส่วนตน ธรรมะที่เกิดจากเรา เราจะเข้าครัวของเรา เราจะทำอาหารของเรา มันต้องเป็นครัว เป็นมีด เป็นสมบัติของเราทั้งหมด เราถึงทำอาหารให้เรากินได้ นี่ก็เหมือนกัน มันจะเป็นปัญญาขึ้นมา มันต้องเป็นปัญญาในปัจจุบันธรรม เป็นปัญญาของเรา

พุทธพจน์ๆ มันเป็นอดีต-อนาคต ไปจำเขามา สิ่งที่เป็นอนาคตนะ ยืมมา เรากู้หนี้ยืมสินมาทำธุรกิจทางโลกยังทำได้นะ กู้หนี้ยืมสินมาเราก็ใช้ดอกเบี้ยเขา ถึงเวลาเราก็คืนเขาไปใช่ไหม สิ่งที่เกิดขึ้นมาก็เป็นของเรา แต่สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติมันจะเป็นของเราทั้งหมดเพราะอะไร เพราะสมาธิไม่มีขาย สติไม่มีขาย สรรพสิ่งไม่มีขาย ครูบาอาจารย์ทำให้ไม่ได้ทั้งสิ้น ครูบาอาจารย์เป็นคนชี้ทาง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคนชี้ทาง แล้วเราเป็นคนประพฤติปฏิบัติ

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา สมาธิก็เป็นสมาธิของเรา สติก็เป็นของเรา ทุกอย่างก็เป็นของเรา แล้วมันเกิดที่ไหน? มันเกิดที่ใจ ใจมันอยู่ไหน มันจะเกิดที่ใจ แต่ก็ไม่รู้จักใจ ไม่รู้จักสถานที่เกิด แล้วยังบอกว่าต้องเกิดดับนะ ดูความเกิดความดับต้องดูด้วยปัญญานะ มันเกิดมันดับ มันเป็นเงา

สิ่งที่เราเห็นการเกิดการดับมันเป็นเงาทั้งหมด มันเป็นเงาของโลก คนถ้าอยู่กลางแดดมันจะมีเงา นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อมันมีจิตมันก็มีความคิด แล้วความคิด สิ่งที่เป็นความคิดมันเป็นอาการของใจไม่ใช่ตัวใจ แล้วเกิดดับๆ เกิดดับแค่นี้เหรอ เกิดดับแค่ความคิดเหรอ เกิดดับก็กดไว้ซิ กลั้นหายใจมันก็ดับ กลั้นหายใจไว้ ความคิดไม่มีหรอก

เวลาทุกข์กลั้นหายใจไว้ ความคิดคิดไม่ได้หรอก แล้วมันอยู่ได้ไหม มันเป็นไปไม่ได้ มันไม่เป็นความจริง แต่ถ้าเป็นความจริงนะ เราถึงต้องมีครูมีอาจารย์ ถ้าไม่มีครูมีอาจารย์เราก็ต้องค้นคว้าของเราเอง ลองผิดลองถูกไปนะ ครูบาอาจารย์ของเรานะ ถ้าอย่างเช่นหลวงปู่มั่น ท่านเริ่มประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ท่านทำความสงบของใจเข้ามา แล้วเวลาเข้าไปรื้อค้นเพราะอะไร เพราะมันบังไว้ด้วยบารมี

บารมีหลวงปู่มั่นท่านบอกว่าเล่าสืบต่อกันมาว่า ท่านปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน พอปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้ามันมีเชาวน์ปัญญา สิ่งที่มีเชาวน์ปัญญามันทำเข้าไป เหมือนเรา ถ้าเราพิจารณาของเราเข้าไป เราไปเห็นอะไรก็แล้วแต่เรา เราก็ว่าเป็นผลงานของเรา

แต่หลวงปู่มั่นท่านพิจารณากายเข้าไปๆ พิจารณาเข้าไปแล้ว มันทะลุไปไม่ได้ มันไปถึงที่สุดแล้วมันไปตัน มันเป็นเพราะเหตุใด ย้อนกลับมาดูใจของตัว ทำความสงบของเราเข้ามาในหัวใจ แล้วไปลาสิ่งที่เราปรารถนาไว้ เราสร้างไว้ เหมือนมันอาลัยอาวรณ์กับสมบัติเดิม ไปถึงว่ามันจะถอนๆ ไปหาสิ่งนั้นปั๊บแล้วกลับมาพิจารณากาย พอกลับมาพิจารณากายผลต่างกันแล้ว ผลต่างกันเพราะเราพิจารณาขณะที่เป็นพระโพธิสัตว์ เวลาเป็นพระโพธิสัตว์ต่างๆ เวลาจิตมันสงบเข้ามาทำฌานได้ง่าย ทำต่างๆ ได้ มันสร้างสมบุญญาธิการเพราะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไง

ดูองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ เป็นกระต่าย เป็นนายพราน เป็นกวาง เป็นหัวหน้าสัตว์ รื้อสัตว์ขนสัตว์พยายามจะเป็นหัวหน้า แล้วพยายามจะอำนวยความสะดวกคือสร้างบารมี แต่ละภพแต่ละชาติๆ ขึ้นไป สิ่งที่สร้างสมไว้นี่มันจะพัฒนากลับเข้ามาที่ใจ เหมือนสมัยปัจจุบันที่เขาทำพันธุกรรม พันธุ์พืชเขาตกแต่ง เขาพยายามทำคว้าเพื่อพัฒนาพันธุ์พืชให้มันทนกับเชื้อโรค ทนกับแดด ทนกับน้ำเพื่อให้ได้ผลตอบแทนมาก

ใจก็เหมือนกัน ทำบุญกุศลที่เป็นหัวหน้าๆ มันพัฒนาใจ เราสะสมที่เราทำบุญกุศลกันอยู่นี่ มันพัฒนาที่นี่ ถ้าใจพัฒนาที่นี่มันมีเชาวน์มีปัญญา มันมีสิ่งที่ว่าเวลาอะไรเกิดขึ้นมา เราวินิจฉัยของเราโดยที่ไม่ไปตามกระแส หลวงปู่มั่นสิ่งนี้ท่านสะสมไว้มาก เพราะว่าสะสมไว้มากถึงเวลาไม่มีครูอาจารย์นะ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ท่านรื้อค้นกันเอง ทั้งรื้อค้นขึ้นมาด้วยพระธรรมวินัยมีอยู่ พระไตรปิฎกมี ศึกษากันค้นคว้ากัน สงสัยสิ่งใดก็มาถาม มาศึกษาที่วัดบรมนิวาส มาศึกษา ศึกษาขนาดไหน ศึกษาและก็ทดสอบ ทดสอบในหัวใจว่ามันเป็นความจริงไหม มันเป็นอย่างที่สัจจะตามความจริงไหม

เราจะบอกว่า เรามีครูอาจารย์ที่ท่านสละที่ท่านมีพื้นฐาน แล้วอย่างพวกเราใครเชื่อมั่นว่าตัวเองใครมีพื้นฐานอะไรมาบ้าง แค่ที่ทำตามที่ครูบาอาจารย์ท่านวางไว้ เราเองยังจับพลัดจับผลูจับผิดจับถูกกันอยู่นี่ไง แล้วเวลาปฏิบัติไปนะ

เวลามาวัด เหมือนกับเขาคัดเลือกทหารเหรอ เลือกใบดำใบแดง ประเภทหนึ่งประเภทสอง อย่างนั้นใช่ไหม ไม่ใช่เลย! มาวัดทุกคนต้องวัดใจ มาวัดทุกคนต้องพัฒนาใจของตัวขึ้นมาเอง แล้วการวัดใจการพัฒนาของใจขึ้นมา ถ้ามันยังมีความสดชื่นอยู่ มันยังศรัทธาอยู่ ทำอะไรก็ทำได้ แล้วศรัทธามันจะคงที่ไหม ศรัทธามันก็เสื่อมถอย เวลามันเสื่อมถอยขึ้นมาเราก็เริ่มลังเล เริ่มไม่แน่ใจ นี่แค่เปลือกๆ นะ แล้วเวลาจิตมันสงบเข้ามา มันจะมีเหตุมีผลของมัน มันจะรู้โน่นรู้นี่ จะรู้สิ่งต่างๆ

ความรู้เหมือนอาหาร รสอาหารกับอาหารที่เรากิน เรากินอาหารกันจริงๆ ก็เพื่อดำรงชีวิตใช่ไหม เพื่อต้องการธาตุของสารอาหาร เพื่อให้ร่างกายดำรงชีวิตเท่านั้นน่ะ แต่เราก็ไปติดในรสของมัน เวลาจิตมันสงบขึ้นมา บางคนก็ไปรู้โน่นรู้นี่ มันก็มีรสชาติ มีรสชาติก็ไปติดมันอีก กินอาหารต้องกินอาหารอร่อย กินอาหารต้องกินอาหารดีๆ อาหารดีๆ ที่ไม่มีคุณค่าเลย อาหารที่ไม่อร่อยเลยแต่มีคุณค่า

สมาธิก็เหมือนกัน สมาธิ..เวลาจิตสงบเฉยๆ จิตสงบมันสงบเข้าไปเรื่อย อาหารที่ไม่มีคุณค่าแต่ไม่มีรสชาติ รสชาติรสจืดสนิทดีไง รสน้ำฝน น้ำที่สะอาด น้ำที่มีรสมีชาติที่เอร็ดอร่อยขึ้นมา มันเป็นโทษต่อร่างกายทั้งนั้น อย่างเช่น สุราต่างๆ เขาขวดหนึ่งเป็นแสนเป็นล้านนะ กินเข้าไปๆ ทำไม กินเข้าไปให้มันเข้าไปทำลายตับ แต่น้ำฝนไม่ต้องเสียสตางค์เลย สิ่งที่มันจะเป็นไปประสบการณ์ของจิต มันจะมีประสบการณ์เข้าไป แล้วประสบการณ์เข้าไปแต่ละจิตมันไม่เหมือนกัน

นี่ไง ครูบาอาจารย์ท่านผ่านอย่างนี้มา ท่านเข้าใจสภาวะของจิตแต่ละดวงที่มันจะพัฒนาของมัน มันเป็นข้อเท็จจริง เราไม่หลงไปกับมัน อะไรเกิดขึ้นมาพิสูจน์ตามข้อเท็จจริง ตามข้อเท็จจริงเพราะอะไร เพราะเป็นจริตนิสัย เป็นเพราะเราทำมา ใจของแต่ละบุคคลสร้างบุญสร้างกรรมมาแตกต่างกัน

การเกิดและการตายไม่มีต้นไม่มีปลาย ไม่รู้ว่าชาติใดได้ทำกรรมสิ่งใดไว้ ถึงเวลามันให้ผลก็ต้องยอมรับ ยอมรับไม่ใช่ยอมรับแบบยอมจำนนนะ ยอมรับว่านี่คือ ผลกรรม นี่คือ วิบาก แล้วเราจะแก้ไขมันไป ไม่ใช่ยอมรับผิดยอมจำนน ไม่ยอมจำนนเพราะยังมีชีวิต เพราะยังมีโอกาส เพราะจะเอาตัวรอดให้ได้ ถ้ามันมีสิ่งใดสิ่งที่ดีเกิดขึ้นมา

ดูสิเวลาประพฤติปฏิบัติ บางทีมันจะสงบได้ง่าย บางคนปัญญามันจะเกิดขึ้นดี บางคนเราจะไปเจอเพื่อนที่ดี เอ๊ะ...ไปถึงวัดแล้วเจอสิ่งที่ดี พอไปอีกรอบหนึ่งโอ้โฮ...ทำไมมันมีแต่คนขัดแย้ง นี่กรรมของคน วิบากของคนมันไม่เหมือนกันนะ

สิ่งที่เป็นสัปปายะ หมู่คณะเป็นสัปปายะ อาจารย์เป็นสัปปายะ อาหารเป็นสัปปายะ สถานที่เป็นสัปปายะ สิ่งที่เป็นสัปปายะ ดูต้นไม้ซิ ต้นไม้มันอยู่คงที่ใช่ไหม ต้นไม้มันเจริญเติบโตทุกวันมันผลัดใบทุกปี มันเปลี่ยนแปลงของมันตลอดไป แต่เราเห็นอยู่คุ้นเคยกับมัน ต้นไม้ต้นเก่า ต้นไม้ไม่เห็นโตเลย แต่ต้นไม้โตตลอด สังคมก็เหมือนกัน มนุษย์ก็เหมือนกัน สรรพสิ่งก็เหมือนกัน ใจเราก็เหมือนกัน ใจเราเดี๋ยวดี เดี๋ยวเลว ใจเราเดี๋ยวพัฒนา เราถึงต้องดูแล้วพิจารณาของเรา

ถ้าเราพิจารณาของเรา ให้มันอยู่ในร่องในรอย อย่าให้มันหลงออกไปนอกลู่นอกทาง แล้วมีครูมีอาจารย์ให้เอาร่องเอารอยเป็น..

หลวงตาท่านบอกว่า “พระธรรมวินัยเหมือนปูนป้ายหมายทางไว้” เป็นการบอกหนทางในเครื่องดำเนินของพวกเรา พระพุทธเจ้าวางธรรมวินัย เหมือนทางเดินไปตามทาง แล้วบอกทางไว้ เอาปูนป้ายไว้ มาทางนี้นะ เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาไปเรื่อย แล้วเราเดินตามนั้นไหม ถ้าเราเดินตามนั้น เราไม่หลงทาง ไม่หลงออกนอกลู่นอกทาง แต่เราต้องทำจริงของเราขึ้นมา ไม่ใช่ว่าจะต้องไปยึดอย่างที่เขาว่า อย่างว่าเขาว่ามันเป็นเขาว่า คำว่า ”เขาว่า” เขาไม่รู้หรอก

แต่ถ้ารู้จริงนะ คนที่รู้จริงไม่ต้องเขาว่า ปฏิบัติมา ดูสิ เวลาปฏิบัติขึ้นไป เห็นไหม มันจะมีความโต้แย้ง มันจะมีเหตุมีผล มีเหตุมีผลของมัน ดูสิ เวลาพิจารณาไป ขณะที่เริ่มต้นปฏิบัติ กิเลสมันจะขวางไปตลอด การปฏิบัติมันจะทุกข์ยากไปตลอด แล้วพอปฏิบัติไปๆ กิเลสมันฉลาดมาก เวลาปฏิบัติไป มันบังเงา บังเงาเลยนะ สร้างภาพเลย สมาธิเป็นอย่างนั้น มรรคผลเป็นอย่างนั้น สิ่งต่างๆ เป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ความจริงอีกแล้ว อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค เวลาพิจารณาไปสิ่งที่เห็นมันเป็นกิเลสฝ่ายตรงข้ามไง ตกขอบทางซ้ายตกขอบทางขวา ซ้ายตกขอบขวาตกขอบ ผิดหมดเลย

แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไป ถ้ามันจะเป็นขวาตก จากซ้ายตกขอบ กว่าจะออกประพฤติปฏิบัติกัน กว่าเข็นออกมา โอ้ย...ไม่กล้าไม่กระทำ นี่ซ้ายตกขอบเลย พอปฏิบัติไปดันเป็นขวาตกขอบไปอีก กิเลสทั้งสองฝ่ายเห็นไหม แต่เวลาทำขึ้นมาเราตั้งใจของเรา อันนี้มันเป็นแต่ละบุคคล มันเป็นเหมือนเด็ก เด็กบางคนถนัดซ้าย เขียนหนังสือถนัดซ้าย บางคนถนัดขวา ทำไมเด็กมันถนัดซ้ายล่ะ เด็กถนัดซ้ายก็ถนัดซ้ายเป็นอะไรไป

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจริตนิสัยเป็นอย่างไรให้ทำอย่างนั้น ถ้าทำอย่างนั้นแล้วมันตรงกับจริต ถ้าไม่ตรงกับจริตนะ ทำแล้วทำเล่าๆ มันจืดชืด เวลาปฏิบัติไปมันจืดชืด มันไม่กระตุ้น ไม่มีความคึกคะนอง ไม่มีความคึกไม่มีความอาจหาญ แต่เวลาถ้ามันถูกกิเลสเรานะ ถูกกิเลส กิเลสว่าเป็นสิ่งนี้ไม่ดี กิเลสเป็นมรรคได้นะ อยากในเหตุไง อยากสร้างคุณงามความดี ทำคุณงามความดีไม่ใช่ความอยากหรอ มันก็เป็นความอยากเหมือนกัน อยากทำดีมันผิดตรงไหน อยากทำความดีก็เพียรชอบไง แต่ถ้าอยากในทางที่ผิดซิ อยากจะทำลายเขา อยากจะทำลายตัวเอง ทำผิดศีลผิดธรรม

มนุษย์ต่างจากสัตว์เพราะมีศีลมีธรรมนะ มนุษย์ต่างจากสัตว์แล้วมนุษย์ต่างจากมนุษย์ตรงไหน ดูสิ มนุษย์ ดูสิครูบาอาจารย์เรา ตั้งแต่เป็นพระอรหันต์ลงมา ดูความนิ่งอยู่...มนุษย์เหมือนกัน นี่ไง ดูสิ พระพุทธเจ้าก็มนุษย์เหมือนกัน เวลาเขามาฟังเทศน์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มนุษย์ทั้งนั้น

แล้วมนุษย์ต่างจากสัตว์อย่างไร

มนุษย์ต่างจากมนุษย์อย่างไร

พระโสดาบัน พระสกิทาคา ต่างกันอย่างไร

พระสกิทาคา พระอนาคา ต่างกันอย่างไร

แล้วพระอนาคา พระอรหันต์ ต่างกันอย่างไร

มันต่างกันตรงไหนมนุษย์เหมือนกัน พระเหมือนกัน ทำไมวุฒิภาวะของใจไม่เหมือนกัน มันไม่เหมือนกันเพราะอะไร มันไม่เหมือนกันก็เพราะมันมีความรู้จริง มันมีสัจธรรม สัจธรรมตัวนี้ทำให้ใจแตกต่าง ใจแตกต่างเพราะพระโสดาบันพิจารณากาย สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส พิจารณาให้รู้จริง ให้รู้จริงตามความเห็นของใจ ตัวภพตัวใจ ตัวใจเป็นตัวภพ แล้วตัวใจเข้าไปถึงตัวฐาน ตัวฐานมันออกทำงาน ตัวจิตออกทำงาน ตัวจิตออกทำงานอย่างไร ตัวจิตออกไปเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม

จิตที่มันอยู่กับกายมันไม่เห็นกายหรือ? ไม่เห็น! เวลาทำสมาธิเข้าไป เวลาจิตมันสงบเข้าไป อัปปนาสมาธิ จิตมันหดตัวเข้ามา มันปล่อยหมด..สักแต่ว่า แค่สมาธินี้มันปล่อยกายได้ แต่มันปล่อยกายโดยหลักของสมถะ มันปล่อยโดยสมาธิไง จิตมันปล่อยสมาธิ ดูสิ มหายานเวลาเขาถอดจิต เขาบอกว่า

“เหมือนกล้วยเลย ปลอกเปลือกกล้วยกับกล้วยมันไม่ใช่อันเดียวกัน กายกับจิตนี้มันไม่ใช่อันเดียวกัน แต่ไม่ใช่อันเดียวกันด้วยสมาธิ” ด้วยความเห็นของเขา

แต่ถ้าเป็นความเห็นของเขา นี่คืออาจารย์สอนเขาสอนกันอย่างนี้ไง สัจธรรมที่เขาสอนกัน เขาสอนกันด้วยสมถะ

แต่ในเถรวาท ในของครูบาอาจารย์เรา ท่านบอกพอจิตสงบแล้วไม่ใช่ถอดจิต จิตสงบแล้ว เวลาเข้าสมาธิมันถึงกับปล่อยกายได้ ปล่อยกายได้ ฉะนั้นกายกับใจถึงไม่ใช่อันเดียวกัน แต่มันอาศัยกัน เห็นไหม ดูซิ เวลาอย่างสมองทางวิทยาศาสตร์บอกว่า เวลาคนคิดๆ ด้วยสมอง แล้วก็ไปวิจัยสมองกัน สมองเป็นสสาร สมองเป็นเนื้อ สมองคิดเองได้อย่างไร ถ้าสมองไม่มีจิต มันต้องมีจิตมีพลังงาน

คนยังดีอยู่ มีพลังงานอยู่เกี่ยวเนื่องกับสมอง สมองนี้มันเหมือนกับกองบัญชาการ เหมือนกับหน่วยควบคุมร่างกาย สิ่งที่ควบคุมร่างกายแต่มันต้องอาศัยจิต ถ้าไม่มีจิตสมองคิดเองไม่ได้ ร่างกายก็เหมือนกัน สิ่งที่กายกับจิตที่มันอยู่ด้วยกัน มันอยู่ได้อย่างไร มันอยู่ได้เพราะอะไร เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ เราอยู่ได้ด้วยกรรม เราถึงเกิดมาเป็นมนุษย์ มนุษย์มันก็มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ โดยธรรมชาติของมัน แล้วมีสังโยชน์ร้อยรัดไว้

สังโยชน์นี่คืออะไร สังโยชน์นี้คือ สัจธรรม สัจธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม ธรรมตามความเป็นจริง ธรรมเหนือโลก ธรรมเหนือโลกเพราะอะไร เพราะจิตมันเข้าไปเห็น จิตมันสงบเข้ามาแล้วมีพลังงานของมันไปเห็นกาย ความรู้สึกความคิดมันอยู่ในร่างกายนี้ แล้วเอาความคิดที่จิตมันสงบถ้าพิจารณากายมันจะเห็นกาย เห็นกายแล้วถ้ามีสมาธิมันเป็นพื้นฐานใช่ไหม ให้กายนี้มันแปรสภาพเป็นวิภาคะ มันจะแปรสภาพไปต่อหน้าเรา แบบของที่มีอยู่ แบบฟองน้ำ อยู่ต่อหน้าเราแล้วมันแตกต่อหน้าเรา

สิ่งที่เป็นจุดเป็นต่อมขึ้นมา แล้วมันทำลายลงๆ มันมีอะไร มันไม่เห็นมีอะไรเลย มันก็ฝึกใจๆ มันเห็นขึ้นมา ปัญญามันเกิดขึ้นมา นี่วิภาคะขยายส่วนแยกส่วน มันฝึกใจจนใจมันเห็นจริง ใจที่เห็นจริง กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายสักแต่ว่ากาย ทุกข์ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ทุกข์ สรรพสิ่งมันแยกออกจากกันตามสัจจะความจริง แล้วมันแยกอย่างไร สัจธรรมความจริงมันแยกกายออกไป กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แยกออกไป นี่พระโสดาบัน

พิจารณาจิต พิจารณาที่ความคิด ความคิดไม่ใช่เรา ความคิด...จิตเห็นอาการของจิต ความคิดเป็นอาการของมัน ความคิดเกิดจากพลังงาน นี่วิปัสสนา ภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญามันเห็นจากใจ ไม่ได้เห็นจากสมอง เห็นจากสมองนั่นมันเป็นเรื่องของโลก เรื่องของโลกเพราะอะไร เพราะโลกไม่รู้จักเรื่องของธรรม เห็นไหม นี่ไงแกะหลงฝูง มันหลงฝูงจากสัจธรรม มันหลงฝูงเข้าไปอยู่ในสามัญสำนึกของโลก

สามัญสำนึกของโลก...คนมีปัญญาทำทางวิชาการได้เป็นศาสตราจารย์ ได้เป็นดอกเตอร์ สิ่งที่เป็นศาสตราจารย์ เป็นดอกเตอร์มันเป็นการทำวิจัย ทำการวิจัยจากอะไร? จากสถิติ จากสมอง จากการตรรกะ จากการตรึก แต่เวลาจิตมันสงบเข้ามา จิตเห็นอาการของจิต จิตคือพลังงานตัวนี้ เห็นความคิด ความคิดไม่ใช่จิต ความคิดเกิดจากจิต ถ้าความคิดเป็นจิตมันต้องอยู่กับเราตลอดไป ความคิดเดี๋ยวเกิดดับๆ

ถ้าจิตมันสงบเข้ามา สงบเข้ามาบ่อยครั้งเข้า ใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามาบ่อยครั้งเข้า จนมันสงบเข้าไป มันสงบ พอมันคิด ความคิดที่มันเกิดขึ้นมา เราใช้ปัญญาไล่เข้าไป บางทีมันก็ปล่อยๆ เดี๋ยวเดียวมันก็คิดอีก เดี๋ยวเดียวคิดอีกเพราะอะไร เพราะจิตมันเร็วมาก แล้วมันมีแรงกระตุ้น มันมีแรงขับ แรงขับคือกิเลส กิเลสเป็นแรงขับ มันเป็นธรรมชาติของมัน มารมันไม่ต้องการให้ใครเป็นอิสระ มันต้องการให้จิตนี้เป็นที่อยู่ของมัน

แล้วเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิบ่อยครั้งเข้าๆ มันก็เริ่มหยุด ความหยุดนี้มันจะเริ่มขยายระยะห่างมากขึ้น เราใช้ความชำนาญมากขึ้น เรารักษาจิตของเรา นี่ไงปัญญารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้แล้วทันความคิด เห็นโทษเห็นภัยตลอด เห็นโทษเห็นภัยแล้วสงบเข้ามาๆ ไล่เข้าไปๆ จนมันตั้งมั่นๆ มันจะคิด แอ้ะ! แอ้ะ! มันคิดไม่ได้เลย เพราะมันเห็นโทษ พอเห็นโทษจิตมันสงบขึ้นมา จิตเห็นอาการของจิต เห็นอาการของจิต เวลาจิตมันจะคิดไง คิดมาจากไหน ความคิดมันมาจากไหน? ความคิดมาจากข้อมูล

ดูสิ เวลาเสียงมากระทบหู ตากระทบรูป แล้วที่ไม่มีความรู้สึกขึ้นมา ก็จิตมันไม่รับรู้ ทั้งๆ ที่อายตนะเห็นนะ เสียงมากระทบหู ได้ยินเสียง สักแต่ว่าเสียง ไม่รู้ว่าพูดว่าอะไร แต่ถ้ามีการตั้งใจตั้งใจคือ จิตมันรับรู้แล้ว เพราะมันตั้งใจมีสติขึ้นมา ตั้งใจ เสียงอะไร เขาว่าอะไร จิตอาการของจิต พอมันไล่เข้ามามันทันเข้ามา สิ่งที่มันเสวยอารมณ์ สิ่งที่รับรู้ๆ จิต แล้วเรารักษาจิต จิตเห็นอาการของจิต พอจับอาการของจิตใช่ไหม

“ถ้าเธอไม่พอใจสิ่งต่างๆ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย”

นี่คืออารมณ์ความรู้สึกไง อารมณ์ความคิดไง อารมณ์ความคิดไงไม่ใช่จิต จิตเป็นจิต อารมณ์ความคิดเป็นอารมณ์ความคิด ถ้ามันจับได้ ก็เหมือนเห็นกาย พระโมคคัลลานะเห็นกายก็พิจารณากาย แต่ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ จิตเห็นอาการของจิต จับอารมณ์ความรู้สึก จับที่เป็นวัตถุ วัตถุประกอบไปด้วยอะไร? วัตถุนี้ประกอบไปด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นรูปไม่ได้ ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความคิดไม่ได้ ความคิดจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่รวมตัวกันเป็นอารมณ์ความรู้สึกไม่ได้ เพราะอะไร

เพราะความรู้สึกคือ เวทนา ข้อมูลคือ สัญญา สิ่งที่คิดขึ้นมาคือ สังขาร อารมณ์ความคิดนี้คือวิญญาณ วิญญาณในขันธ์ ๕ สิ่งที่ว่าความคิดเร็วๆ ถ้าปัญญามันทัน สติมันทัน มันจับได้มันแยกได้หมดเลย ถ้ามันทันนะ ปัญญามันจะสอดเข้าไประหว่างรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จี้เข้าไปตลอดก็ได้ พอจี้เข้าไปปัญญามันจับ เพราะมันเห็นเสวยอารมณ์ใช่ไหม มันจับได้แล้ว พอมันจับได้แล้วเหมือนกับว่าเราเอาจำเลยขึ้นศาล ถ้าเรารู้ว่าคนนี้เป็นขโมยเป็นคนลักของ แต่เรายังไม่ได้ตัวเขามา เราไปไต่สวนลับหลังเขา มันไม่มีประโยชน์

แต่ถ้าเราจับเขาได้แล้วเอาขึ้นศาล เพราะจับเขาได้หมายถึงว่าเห็นจิตเสวยอารมณ์ มันจับได้ นี่วิปัสสนาเกิดตรงนี้! ถ้าไม่เห็นจิตจับอาการของจิตได้มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นสมถะ มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ให้คิดแค่ไหนมันเป็นโลกียปัญญา โลกียปัญญาเพราะอะไร โลกียปัญญาเพราะเกิดจากใจไง เกิดจากภพ เกิดจากกิเลส แต่พอเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิจนมันสงบขึ้นมา สงบคือ กิเลสมันสงบตัวลง ถ้ากิเลสมันสงบตัวลง มันเป็นจิตล้วนๆ เป็นสากล เป็นสมาธิ แล้วจิตนี้มันเป็นสากลใช่ไหม มันไม่มีกิเลสบวกใช่ไหม

เวลามันไปเห็นอาการมันจับได้ พอจับได้มันเป็นสัจธรรมจริงไง มันเป็นข้อเท็จจริงไง มันไม่หลงฝูงไม่หลงออกนอกทางไง นี่อริยสัจ นี่สัจธรรม สัจธรรมมีอยู่ในทุกๆ คน ทีนี้มันโดน อวิชชา โดนกิเลสตัณหาความทะยานอยากครอบงำไว้ แล้วเราบอกว่าพุทธพจน์ๆ มันไปสวมไง ไปเอาอาการสัจจะความจริง กลับมาเชื่อมกับความรู้สึกของเรา ด้วยกิเลสที่มันครอบงำอยู่ มันเลยเปรียบเทียบโดยเอาผลประโยชน์คนเดียว โดยเอาแต่เรื่องของเราเป็นที่ตั้ง มันไม่เป็นความจริง เห็นไหม

แต่ถ้าเราวางไว้ ปริยัติวางไว้ก่อน แล้วเรามาประพฤติปฏิบัติของเรา วางพื้นฐานของเรา ทำความสงบของเราขึ้นมา ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ ก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเป็นเจโตวิมุตติก็กำหนด พุทโธๆ เข้ามา มันเป็นแขนงทางออกระหว่างคนถนัดซ้ายกับถนัดขวา คนที่สร้างสมบุญญาธิการมาเพียงนี่ โดยหลักแล้ว เราก็หาช่องทางของเรา แล้วมันไม่เป็นกฎตายตัว มันอยู่ในขั้นตอน ขั้นตอนของพระโสดาบัน เราจะพิจารณาอย่างไรก็ได้ ให้เป็นปัจจุบัน

ถ้าปัจจุบันที่จิตมันเป็นไป แล้วเราแยกแยะออกไปแล้ว มันเป็นประโยชน์ หมายถึงว่ามันพิจารณาแล้วมันปล่อย มันพิจารณานะ ถ้าเป็นประโยชน์นะ ในขั้นของสมาธิ เวลาจิตมันสงบเข้ามา มันสงบเข้ามาเฉยๆ มีความสุขมาก สงบเฉยๆ ในขั้นของปัญญา มันใช้ปัญญาไล่ต้อน ไล่ต้อนกิเลส

กิเลสคือ อะไร กิเลสคือ ความเห็นผิด กิเลสคือ ความยึดมั่นถือมัน ยึดในกาย ยึดในความคิด ยึดในอารมณ์ความรู้สึก ยึดหมด แล้วปัญญามันไล่เข้าไป พอไล่เข้าไปมันปล่อย พอมันปล่อยเพราะมันเป็นมรรคญาณมันเป็นสัจธรรม มันเป็นมรรคะ มันเป็นงานชอบ เพียรชอบ มันชอบตรงไหน ชอบที่ว่าเรามีสมาธิแล้วเราจับสติปัฏฐาน ๔ ได้

นี่ไง มันเป็นงานที่ถูกต้อง เวลามันปล่อยนะ มันไม่เหมือนสมาธิ ถ้ามันปล่อยโดยสมาธิ มันปล่อยมีความสุข มีความสุข ถ้าไม่มีความสุขคนที่เป็นสมาธิจะไม่หลงตัวเองว่าเป็นนิพพานได้ คนที่ติดสมาธิ มันจะเข้าใจว่านี่คือนิพพานเลย นี่เป็นความสุขอันหนึ่ง

แต่ถ้ามันวิปัสสนาไป อย่างเช่น ที่หลวงปู่มั่นท่านพิจารณาครั้งแรก มันเป็นสมาธิคือว่า มันรู้ มันปล่อยแล้วมันตันอยู่แค่นั้น นี่ไงแต่ถ้ามันเป็นปัญญานะ เพราะมันปล่อยถึงสิ่งที่ผูกพันแล้ว เพราะไปลาด้วยสมาธิจากภายใน พอลาแล้วข้อผูกพันมันปล่อย พอปล่อยแล้วมันใช้ปัญญาปั๊บ ปัญญามันเข้าไปเห็นกาย พิจารณากายเหมือนกัน

มันปล่อยเพราะอะไร เพราะใช้ปัญญา ปัญญาหมายถึง มันไม่ใช่สงบลงเฉยๆ ถ้าเป็นสมาธิเหมือนกับตะกอนก้นแก้ว มันยุบลงในอยู่ก้นแก้ว ขยับมันก็ออกอีก แต่ขณะเราใช้ปัญญา เราตักตะกอนออก ตะกอนคือ กิเลส พอตักตะกอนออก ความที่สงบตัวลงมันต้องใสขึ้น แล้วขยับมันจะบางลงๆ แล้วทำซ้ำๆ ถึงที่สุดตะกอนไม่มี ต้องตักตะกอนออกจนหมด ถ้าตะกอนออกหมดแล้วนะ น้ำในแก้ว น้ำคือ จิต แก้วคือ ร่างกาย มันเป็นขั้นตอนขึ้นไป เป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป

สิ่งที่ทำ มันจะละเอียดขึ้นไป ละเอียดขึ้นไป เราต้องทำของเราไปบ่อยครั้งเข้า ชำนาญการของเราขึ้นไป เป็นเหตุเป็นผลของเรา นี่ไง สิ่งที่เป็นเหตุ ถึงบอกครูบาอาจารย์ที่เป็นกรรมฐาน ต้อง! ต้อง! ต้องเป็นอย่างนั้น! เพียงแต่ว่ามันยังไม่ถึงเวลาไง ถ้ายังไม่ถึงเวลา คำว่า”ต้อง” คือมันถึงการสรุปในขณะจิตที่มันเปลี่ยนจากพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี มันเป็นอย่างนั้นเด็ดขาด ทีนี้มันเป็นอย่างนั้นโดยเด็ดขาดโดยพื้นฐาน

โดยพื้นฐานของคน ดูสิในการภาวนาโดยสัจธรรม ถ้าทำโดยถูกต้องนะ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี อย่างน้อยเป็นพระอนาคามี อย่างน้อย ถ้าเราปฏิบัติสมควรแก่ธรรม ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ๗ ปีนี้เราไม่สามารถปักหลักธรรม ๗ ปีนี้ได้หรือ

แล้วชีวิตของเรานี่ เราอยู่กัน ๑๐๐ ปี เราจะอยู่ มีชีวิตแบบรื่นเริง เราจะอยู่เป็นความสุขของเรานี่ ๑๐๐ ปี กับ ๗ ปี เราพยายามต่อสู้ ต่อสู้กับเราเพื่อจะให้ไปถึงวิมุตติสุข สุขอันแท้จริงที่ว่าเกิดจากใจ สุขโดยไม่อิงกับโลก โลกจะเจริญจะเสื่อมขนาดไหนมันเป็นเรื่องของโลก แต่ใจดวงนี้พ้นจากโลก แต่อาศัยโลกอยู่เพราะ สอุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ พระอรหันต์ไม่อยากตายหรอก

ถ้ามันตายเพราะอยากตาย อยากตายก็ต้องมีคุณค่าต่อการอยู่สิ พระอรหันต์ไม่มีอะไรทั้งสิ้น ไม่มีเกิดไม่มีตาย ถึงไม่อยากเป็นและอยากตาย ไม่มีการเกิดและการดับ ขณะที่กิเลสออกไปจากใจแล้ว มันไม่มีการเกิดและการดับ เพราะมันได้สิ้นกิเลสไปแล้ว สิ้นกิเลสไปแล้วถึงปล่อยให้มันเป็นกาลเวลา ถึงที่สุดถ้าเกิดยังเห็นประโยชน์กับโลก การที่อยู่กับตายนี่สิ่งไหนมีคุณค่ากว่ากัน แม้แต่จะดำรงชีวิตให้อยู่อีกกัปหนึ่งก็อยู่ได้ อยู่ได้เพราะอะไร

เพราะอิทธิบาท ๔ ผู้ใดที่พิจารณาอิทธิบาท ๔ จะอยู่อีกกัปหนึ่งก็อยู่ได้ ผู้ที่พิจารณาอิทธิบาท ๔ ด้วยสัจจะความจริง มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น! คนอื่นไม่มี ไม่มี เพราะอะไร เพราะสิ่งที่ว่า

อิทธิบาท ๔ คืออะไร จิตตะ ดูจิต จิตตะวิมังสา ความพอใจใคร่ครวญกับจิต แล้วเวลาปุถุชนมันใคร่ครวญจิตล่ะ มันก็เป็นฤๅษีชีไพรไง มันไม่มีผลในอิทธิบาท ๔ ผู้ที่จะเข้าใจในอิทธิบาท ๔ คือพระอรหันต์เท่านั้น พระอรหันต์เท่านั้น ถึงว่าพระอรหันต์จะอยู่อีกกัปหนึ่งก็อยู่ได้ อยู่เท่าไรก็อยู่ได้เพราะอะไร

เพราะจิตออกจากร่างกาย ดูซิ เวลาตายมันจะหดตัวเข้ามา แล้วออกจากร่างก็เท่านั้น! แล้วทำไมไม่ออกจากร่างล่ะ เรารั้งไว้เพราะอะไร รั้งไว้เพื่อประโยชน์ ประโยชน์กับโลก ถ้าอยู่กับโลกแล้วโลกได้ประโยชน์ เพราะตายหรืออยู่มีค่าเท่ากัน ตายก็เท่านั้น อยู่ก็เท่านั้น ไม่มีอะไรเพิ่มและลดเลย จิตที่มันคงที่แล้วไม่มีเพิ่มและลด เพียงแต่ว่าเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ นี้คิดแบบโลกๆ ถึงบอกว่าทำไมถ้าสิ้นแล้วตายซะดีกว่า อยู่ไปทำไม นี่ไงวิมุตติสุขไง เพราะพระอรหันต์ที่มีชีวิต กับพระอรหันต์ที่ตายแล้ว นิพพานเหมือนกัน จิต มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

แล้วนิพพาน ๑ นิพพานเป็นอย่างไร หนึ่งก็เป็นอัตตาสิ หนึ่งก็เป็นตัวตนสิ หนึ่งก็เป็นทิฏฐิมานะสิ หนึ่งที่ไม่เป็นทิฏฐิมานะ หนึ่งอย่างไร สิ่งที่มีอยู่ไง สิ่งที่มีอยู่จิตนี่ไม่เคยตาย จิตเราเกิดตาย เกิดตาย ตัวจิตไม่เคยตาย

แต่สถานะของมนุษย์ สถานะของเทวดา สถานะของเศรษฐี สัตว์ต่างๆ มันมีวาระของมัน พระอินทร์ก็มีวาระ พรหมก็มีวาระ สิ่งที่มีวาระ วาระอันนี้มันเกิดตาย แต่ตัวจิตไม่เคยตาย นี้การเกิดตายในทางที่ดี ในทางสร้างกุศลบารมี มันก็เกิดในสิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ดีๆ นะ แล้วคนเรามันจะทำดีตลอดไหม มันก็มีดีมีเลวปนกัน ในมนุษย์คนๆ หนึ่ง ไม่มีใครดีหมดและเลวหมด ไม่มีหรอก ลุ่มๆ ดอนๆ

เพราะคนเรามันมีวิกฤต มันมีกรรม มีวิบาก มีสิ่งต่างๆ แล้วถึงที่สุดนะ ถ้าเราไม่ได้ฝึกไว้ เราไม่ได้ฝึกไว้ เราไม่อยู่ในร่องในรอย เราอยู่ในฝูงเรา เชื่อมั่นในสัจธรรม ถ้าเราเชื่อมั่น ศรัทธา อจลศรัทธา คนที่มีศรัทธา ศรัทธาคลอนแคลนได้ ศรัทธาฟูได้ ศรัทธาฟุบได้ แต่อจลศรัทธา อจลศรัทธา มันศรัทธาโดยข้อเท็จจริง โดยข้อเท็จจริงนะ ไม่เชื่อสิ่งที่ว่าทำบุญแล้วมันจะทุกข์ มันจะยาก มันทุกข์ยากมันเป็นเรื่องของกรรม

แต่สิ่งที่ทำบุญคือดี ดีมันต้องให้ผลตอบสนองที่ดี แต่ขณะในปัจจุบันนี่ สิ่งที่จะตอบสอนนั้นยังไม่ตอบสนองเรา เพราะวิบากกรรม วิบากของผลที่มันทุกข์ วิบากของกรรมมันมาถึงก่อน มาถึงก่อน มันเข้าใจไง

เหมือนเราเป็นผู้ใหญ่ขับรถไปน้ำมันหมด น้ำมันมันหมดก็คือ น้ำมันหมดใช่ไหม น้ำมันหมดเราก็หาน้ำมันมาเติม เราก็ไปได้ใช่ไหม เด็กพอบอกว่าน้ำมันหมด มันตีโพยตีพาย มันไม่ยอมนะ นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราอยู่กับชีวิตของเรา แล้วชีวิตของเราลุ่มๆ ดอนๆ ก็เหมือนกับเด็ก น้ำมันมันหมด น้ำมันมันหมดก็ไม่เป็นไร น้ำมันมันหมดเดี๋ยวเราก็ไปหาน้ำมันมาเติม น้ำมันมาเติมก็ไปได้อีก

ถ้ามันเข้าใจ ถ้ามันมีหลัก อจลศรัทธากับศรัทธาอยู่ที่การกระทำของเรา อยู่ที่ความจริงใจของเรา สิ่งที่เป็นไป สิ่งที่เป็นไปกับโลก สัจธรรม มันเป็นธรรมสาธารณะ มันเป็นธรรมดูสิ ที่ว่าเป็นธรรมสาธารณะ ทุกอย่างเป็นสาธารณะ เป็นสาธารณะเพราะมันเป็นสัพเพ ธรรมมา อนัตตา สัพเพ ธรรมมา อนัตตา สภาวธรรม ที่ว่าพระพุทธเจ้าสอนอนัตตา ธรรมะเป็นอนัตตา อนัตตามันเป็นวิธีการ แต่ผลของมัน มันต้องพ้นไปจากอนัตตา ถ้าไม่พ้นไปจากอนัตตา ผลมันจะเป็นผลอยู่ได้อย่างไร

ในเมื่ออนัตตามันแปรปรวน เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป มันแปรสภาพตลอด สิ่งที่แปรสภาพตลอด ธรรมก็เหมือนกัน ธรรมตายตัวอย่างที่ว่า พุทธพจน์ๆ ตายตัว สมาธิยังมีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ทำไมมีโสดาบันล่ะ ถ้าตายตัวก็เป็นโสดาบันตลอดไปสิ ตายตัวทำไมเป็นโสดาบัน พัฒนาขึ้นไปเป็นสกิทาคามี พัฒนาขึ้นไปเป็นอนาคามี พัฒนาขึ้นไปเป็นพระอรหันต์ ถึงที่สุดเป็นพระอรหันต์แล้วพัฒนาไม่ได้อีกแล้ว จบ!

แต่ขณะที่มันพัฒนาที่ไง สัพเพ ธรรมมา อนัตตา สิ่งที่เป็นอนัตตาคือเป็นวิธีการ ไม่ใช่เป้าหมาย พระพุทธเจ้าสอนแต่วิธีการ สอนพวกเราให้ทำงานเป็น แต่ผลที่มันจะตอบขึ้นมา ทำงานเป็นแล้วผลต้องตอบในทางที่ถูกต้อง ทีนี้ถูกต้องขึ้นมาแล้ว สิ่งที่ถูกต้องแล้วเขย่าคลอนขนาดไหน มันก็ไม่แปรปรวน จะมีความแปรปรวนเป็นไปไม่ได้ โลกแปรปรวนโลกสมมุติเป็นแปรปรวน

แต่สัจธรรม กุปปธรรม-อกุปปธรรม กุปปธรรมในธัมมจักฯ กุปปธรรมในมรรคญาณ กุปปธรรมเพราะมันเจริญแล้วเสื่อม แต่มันต้องเจริญขึ้นไป เราต้องสร้างขึ้นไป วุฒิภาวะของใจพัฒนามันขึ้นไป แต่เป็นอกุปปธรรม ธรรมะมันมีอยู่ ๒ ประเภท กุปปธรรมคือ โลกียปัญญานี่ไง พัฒนาไป พัฒนาแล้วมันถดถอยแล้วพัฒนามันอยู่นี่ โลกไม่มีวันจบหรอก มันหมุนเวียนอยู่อย่างนี้

อกุปปธรรมไม่ต้องพัฒนามัน เพราะไม่มีสิ่งใดเข้าถึง แล้วใครเองก็จะตั้งให้ได้หรือบวกให้คะแนนไม่ได้ มันเป็นสัจธรรม ธรรมะแต่งตั้ง มันเป็นธรรม ถ้าใจมันเป็นธรรมขึ้นมา มันสร้างขึ้นมาถึงที่สุดแล้ว มันจะเป็นธรรม สัจจะ มันเป็นไปโดยธรรม เกิดในธรรมไง

ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิด ๒ หน เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มีครอบครัว มีพระนางพิมพา เวลาไปตรัสรู้ขึ้นมา เกิดในธรรม เกิดเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดในธรรม สัจจะความจริง ใจมันเกิดได้ ใจมันเป็นไปได้ ใจมันไม่ได้อยู่ในสมมุติ ใจไม่ได้อยู่ในวัฏฏะ

สมมุติวัฏฏะมันมีอำนาจ มารมันครอบครองอยู่ มันก็หมุนไปตามอำนาจของมาร แต่ขณะที่เราทำ สัพเพ ธรรมมา อนัตตา นี่สัจธรรม ธรรมจักร ธรรมมาวุฒิ อาวุธเพื่อเอาไว้ฟาดฟันกับมัน นี่ไง ระหว่างกิเลสกับธรรมในหัวใจ เวลามันต่อสู้กันนั่น มันสนุก มันสนุกเพราะว่าจิตมันตั้งมั่น จิตตั้งมั่นแล้วใช้ปัญญาไล่เข้าไป

เวลาธรรมะมันชนะเหมือนเก้าอี้ดนตรี ธรรมะมันเข้าไป โอ้โฮ...โล่ง ว่าง ปล่อยวางหมดโลกนี้เป็นของเราเลย แต่เวลากิเลสมันเข้มแข็งขึ้นมาก เพราะอะไร เพราะกิเลสมันบังเงามันหลบหลีก แล้วเวลาเราใช้ปัญญาขึ้นไป ด้วยความพลั้งเผลอ เพราะอะไร เพราะใช้มาก พอใช้มากกำลังของสมาธิมันอ่อน เวลาสมาธิที่มันอ่อนคือคนไม่มีกำลัง

เหมือนนักกีฬา นักกีฬาจะมีทักษะดีขนาดไหน แต่ไม่ได้ซ้อม อ่อนซ้อมขึ้นแข่งขันแพ้หมด แล้วนี้มันแข่งขันบ่อย มันใช้ปัญญาบ่อย มันก็ลืม มันจะเอางานไง ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญามันฟาดฟัน โอ้โห...มันปล่อยมันว่าง มีรสชาติ มันว่าง มีความสุขมาก ใช้ปัญญาฟาดฟันตลอด พอฟาดฟันบ่อยๆ ครั้งเข้า มีดใช้บ่อยครั้งเข้ามันทื่อ ปัญญาที่ใช้บ่อยเข้าก็ไม่มีสมาธิรองรับ มันก็จะเป็นโลกียปัญญา มันจะเป็นสัญญา มันจะเป็นสังขาร พอเป็นสังขารไป พอต่อสู้ไปก็แพ้

พอแพ้ไปกิเลสมันก็เหยียบย่ำ โอ้ย...โลกนี้มืด ฟ้านี้ปิดเลย โอ้ภาวนาแล้วทำไมมันทุกข์อย่างนี้ ภาวนาแล้วทำไมไม่ได้ตอบสนองเลย ไหนว่าทำดีแล้วได้ดี ภาวนาผิดไง นี่ไงแกะหลงฝูง หลงออกจากทาง ไม่ถึงมัชฌิมาปฏิปทา เดี๋ยวตกทางซ้ายเดี๋ยวตกทางขวา ในการปฏิบัติมันเป็นอย่างนี้ กิเลสมันร้ายมาก มันพลิกแพลงตลอดเวลา ไม่ต้องไปดูใคร ดูใจเรา ดูใจเราแล้วต่อสู้กับเรา มันจะรู้ทันเล่ห์กลไง

“จากใจดวงหนึ่ง ให้กับใจดวงหนึ่ง”

จากใจที่รู้จริงในการปฏิบัติมันจะมีอุปสรรค มันจะมีกิเลสเป็นขวากหนาม มันจะทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน ไม่ใช่ปฏิบัติแล้วกิเลสมันจะเอาช่อดอกไม้ เอาธูปเทียนมาเคารพบูชาผู้ประพฤติปฏิบัตินะ ไม่มีทาง มันกระทืบๆ นี่มันกระทืบ มันเป็นของใคร มันก็กิเลสเราใช่ไหม กระทืบมาเราก็ต้องต่อสู้มัน กระทืบมา..กระทืบมันกลับ ไม่ใช่มีหมัดหนึ่ง กระทืบมาทีก็อ่อนแอ กระทืบที่สอง..ไปกลับบ้าน กระทืบที่สามเข้าไป..ไปเลย ออกนอกลู่นอกทางไปเลย มันกระทืบมาเราก็ต้องมั่นคง

นี่มาร นี่อวิชชา อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเย้ยมาร เย้ยมารนี่แหมมันสะใจ “มารเอย..เธอเกิดจากความดำริของเรา เธอจะเกิดกับใจเราอีกไม่ได้อีกแล้ว เธอจะเกิดจากบนดวงใจของเราไม่ได้อีกแล้ว เพราะเราเห็นเรือนยอดของเจ้า เราได้หักโค่นเรือนยอดของเจ้าหมดแล้วไง” นี่มันเกิดจาก...ความดำริ เราคิด เขาว่าความคิดเป็นจิตๆ ไม่ใช่หรอก

นี่ไงพระอรหันต์ เวลาสอุปาทิเสสนิพาน ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มันเป็นภาระ ของเราเป็นขันธมาร ความคิดเป็นมารหมดเลย แต่พระอรหันต์ความคิดเป็นสะอาด พอความคิดสะอาดมันเสวยอารมณ์ เวลามันเสวยอารมณ์ เวลามันออกมา นี่ไง พอจิตมันขยับจะออกรับรู้ไง นี่ดำริ พอขยับมันก็ตื่นตัว นี่ไงสติกับจิตถึงเป็นอัตโนมัติ พระอรหันต์ไม่มีเผลอเลย ไม่เผลอในความคิด แต่เผลอในอะไร แต่เผลอในสมมุติ

เพราะสมมุติเป็นสมมุติบัญญัติข้างนอกใช่ไหม สมมุติบัญญัติมันเป็นภาษาที่เขาตั้งขึ้นมา พระอรหันต์ไม่รู้หรอก ดูภาษาวัยรุ่นสิ เวลาคุยกันไม่มีใครรู้หรอก พระอรหันต์ไม่รู้ในสมมุติบัญญัติ สมมุติบัญญัติที่โลกเขาตั้ง แต่พระอรหันต์มีสัจธรรมความจริง สัจจะความจริงมันทำลายสมมุติในหัวใจหมดแล้ว สมมุติคือ หลงผิด ความหลงผิดว่าสรรพสิ่งเป็นเรา สรรพสิ่งยึดมั่นถือมั่นในใจ สมมุติอันละเอียดนี่มันโดนทำลายหมด แต่สมมุติข้างนอกมันเป็นเรื่องของโลก เรื่องของโลกพระอรหันต์ไม่เกี่ยว

พระอรหันต์ไม่เกี่ยวกับโลกภายนอก พระอรหันต์เป็นพระอรหันต์ที่ใจ เป็นพระอรหันต์ตั้งแต่จุดศูนย์กลาง โลกนี้มีเพราะมีเรา ศูนย์กลางของความคิด เพราะจิตนี้ ดูอย่างวัฏฏะ ใครเป็นคนไปเกิด จิตนี้ครอบสามโลกธาตุ เพราะมันเกิดมันตาย มันเกิดมันตายในวัฏฏะ แล้วมันรู้เท่า มันทำลายหมดแล้ว จิตพ้นออกไปจากสมมุติทั้งหมดเลย สมมุติของโลกๆ สมมุติอย่างหยาบ สมมุติอย่างกลาง สมมุติอย่างโสดาบัน ความเห็นผิด สมมุติของพระสกิทาคา สมมุติของพระอนาคา

สมมุติของพระอรหันต์ พระอรหันต์ เห็นไหม โลกนี้ว่างหมดเลย แต่ตัวเองไปขวางเขาอยู่ พระอนาคา เรือนว่าง สมมุติของพระอนาคา เข้าใจหมดเลย แต่ตัวเองยังเข้าใจตัวเองไม่ได้ ว่างจากข้างนอก แต่ตัวเองไม่ว่าง มาหักตัวว่าตัวตนอันนี้ปั๊บ ว่าง หมด ว่างๆ ไม่ต้องพูดกันเลย นี่สมมุติอย่างละเอียด โดยหักโค่นแล้วนะ จะอยู่ในร่องในรอย จิตนี้จะเป็นสัจธรรม ไม่ใช่แกะหลงฝูง แกะหลงฝูงไปกับเขา ไปกับโลก ไปกับกิเลส แล้วก็ทุกข์ๆ ยากๆ

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมานะ มันจะเป็นสัจจะความจริงของเราขึ้นมา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะกราบจากหัวใจ ถ้าไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะเอาเครื่องอะไรดำเนิน แล้วธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย มีครูมีอาจารย์ด้วย ในการประพฤติปฏิบัติจะเป็นประโยชน์กับเรา เอวัง