เทศน์บนศาลา

ธรรมะเลี้ยงไม่โต

๑๔ ต.ค. ๒๕๕๑

 

ธรรมะเลี้ยงไม่โต
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เราตั้งใจฟังธรรมดีกว่า ธรรมะมันจะเข้ากับบัณฑิต บัณฑิต บัณฑิตไม่คบคนพาล คบบัณฑิต บัณฑิตมีเหตุมีผล คนพาลเอาสีข้างเข้าถู แล้วพาลไปเรื่อย ดูสิ ดูเวลาเขาออกมา

“ปฏิบัติเพื่อความสบายใจเถิด เพื่อความสุขใจ อย่าปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานเลย”

ศาสนามีแค่นั้นหรือ ศาสนามีหิริ มีโอตตัปปะ มีหิริมีความละอาย มีโอตตัปปะมันต้องมีความเกรงกลัว ไม่ใช่ทำแต่ความพอใจของตัว ใจมันคิดอย่างไร “พอใจ” คิดว่าตัวเองบริหารจัดการได้ ตัวเองมีความสามารถ...ความสามารถของกิเลสอย่าเอามาโชว์นะ เราต้องการมาเพื่อต้องการชำระกิเลสกัน กิเลสของใคร ไฟของใคร กองไฟของใคร คนนั้นต้องดับไฟของเราเอง อย่าเอากิเลสเราไปฟาดฟันคนอื่น

“นี่ธรรมะ ธรรมเพื่อดับทุกข์ตัวเองเถิด” ดับทุกข์สิ ตัวเองสบายใจน่ะ ตัวเองพอใจมันก็ไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์ ดับทุกข์แล้ว เราดับทุกข์เรา แต่เอาทุกข์ไปให้คนอื่น เอาทุกข์ไปทับถมให้คนอื่น แล้วว่าตัวเองดับทุกข์ ทุกข์ที่ไหนมันจะดับได้ ในเมื่อมันมีภวาสวะ มันมีภพ มันดับได้อย่างไร

“อย่าปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานเลย ปฏิบัติไปนี่เสียเวลากันมามากมายมหาศาลแล้ว”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาพุทธภูมิมา ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย นี่เสียเวลาไหม สิ่งที่เสียเวลานี่เสียเวลาเพื่อสร้างสมบารมีมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่มีบารมี เอาอะไรมาทำ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้นที่ตรัสรู้เองโดยชอบ ตรัสรู้เองโดยชอบเพราะมันไม่มีใครค้นคว้า สาวกสาวกะได้ยินได้ฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พยายามค้นคว้าขึ้นมา มันจะเข้าถึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าถึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นคืออะไร? ก็คือมรรคผลนิพพาน

แล้วบอก “อย่าปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานเลย ทำให้เสียเวลา”

ก่อนที่จะได้มรรคผลนิพพานมานี่ คนที่จะมาประพฤติปฏิบัติ มันต้องเสียเวลามาก่อนหน้านั้นแล้ว ก่อนหน้าที่มันจะมีความตั้งใจจริงจะมาประพฤติปฏิบัตินี่ มันต้องมีอำนาจวาสนามา ไม่มีอำนาจวาสนามา ดูสิ ดูเราชาวพุทธมา เกิดมาพบพุทธศาสนา แล้วมันเชื่อไหม สิ่งนี้มันเชื่อไหม

พบพุทธศาสนาคืออะไร? สัจธรรม ศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นคือตัวธรรม ตัวธรรมนะ แล้วเราศึกษาตัวธรรมนั้นมา เหมือนพ่อแม่เลี้ยงลูกเลย พ่อแม่เลี้ยงลูก เลี้ยงลูกไม่โต พ่อแม่ครอบครัวไหนเลี้ยงลูกไม่โตนะ เราจะเลี้ยงลูกไปจนตาย มันจะทุกข์ยากขนาดไหน ครอบครัวไหนเขาเลี้ยงลูกจนโตขึ้นมา ลูกโตขึ้นมา ลูกทำธุรกิจการค้าขึ้นมา ลูกยืนอยู่ในสังคมได้ แล้วลูกจะทำให้เจริญรุกหน้าเราขึ้นไปอีก

นี่ก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้ามันเลี้ยงโตขึ้นมานะ มันไม่ใช่บอนไซนะ ต้นไม้พลาสติกด้วย เอาไปตั้งไว้ เอากระถางพลาสติกไปตั้งไว้ในบ้าน ในห้องรับแขก แล้วก็อยู่อย่างนั้นล่ะทั้งปีทั้งชาติ แต่สัจจะความจริงหัวใจไม่ได้เป็นอย่างนั้น หัวใจถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา มันต้องมีการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันจะเติบโตของมันขึ้นมา ถ้ามันเติบโตขึ้นมา มรรคผลนิพพานมันอยู่ที่ไหน

“เราอย่าปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานเลย เพราะทำให้คนเสียคนมาเยอะแล้ว ทำให้เราเสีย เวลามหาศาลเลย เสียเวลาเปล่า สู้ดับทุกข์ในหัวใจเถิด ปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ในหัวใจเถิด”

ก็ธุรกิจทั้งนั้นน่ะ “ปฏิบัติดับทุกข์ในหัวใจเถิด” มันปฏิบัติเพื่อใคร ปฏิบัติเพื่อใคร

นี่ถ้าปฏิบัติเพื่อเรา เรามีอะไรมาเป็นหลักเป็นฐานที่เราจะปฏิบัติเพื่อเรา เพราะอะไร เพราะการประพฤติปฏิบัติมันไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ มันเป็นสัญญาอารมณ์เท่านั้น มันเป็นความคิด ดูสิ ดูนี่นะ ดูบรรจุภัณฑ์ ของที่บรรจุภัณฑ์ที่เขาเป็นอาหาร มันต้องมีอาหารอยู่ในบรรจุภัณฑ์นั้น สิ่งนั้นจะมีคุณค่า เขากินอาหารแล้วเขาทิ้งกล่อง เขาทิ้งบรรจุภัณฑ์นั้นไว้ข้างถนน ให้เป็นขยะ มีคนไปเก็บขยะมาขายอีกล่ะ บรรจุภัณฑ์

นี่ก็เหมือนกัน “สัจธรรม สัจธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดับทุกข์ในใจกันเถิด”

มันไปอยู่ที่บรรจุภัณฑ์ มันไม่เข้าถึงหัวใจหรอก ถ้าไม่เข้าถึงหัวใจ มันถึงว่าเพราะอะไร เพราะสิ่งที่เป็นอาการของใจ ความที่เป็นอาการของใจ ความคิดมันไม่ใช่ใจ แล้วเอาความคิด เอาหู เอาตา ดูสิ หูทางฟัง ฟังธรรมะ ตา ตาอ่านหนังสือ พยามยามศึกษาธรรมขึ้นมา ให้มันศึกษาธรรมะขึ้นมาให้มันดับทุกข์ ดับทุกข์ ทุกข์มันอยู่ที่ไหน ตัวเองไม่รู้จักทุกข์อยู่ที่ไหนเลย ทุกข์มันอยู่ที่ไหน มันจะเจอทุกข์ได้อย่างไร

ถ้ามันเจอทุกข์ขึ้นมา มันต้องมีศรัทธา มีความเชื่อ ถ้าไม่มีศรัทธาเราจะมาประพฤติปฏิบัติกันไหม ถ้ามีศรัทธา เห็นไหม “เราเสียเวลาเปล่า เราไปวัดไปวา เราเสียเวลามาก เราควรจะหาผลประโยชน์ใส่ตัว เกิดมาชาตินี้ ขอใช้ชีวิตให้คุ้มค่า” คิดกันว่าใช้ให้คุ้มค่านะ ให้เสพสุขขึ้นมา เสพสุขไปเรื่อยๆ นะ

ในลัทธิสมัยพุทธกาล เสพแต่สุข ๕๐๐ ชาติ สิ้นกิเลส ความเชื่อของเขา มันเป็นไปได้อย่างไร? มันเป็นไปไม่ได้ สิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะความเชื่อไม่ใช่ความจริง สัจธรรม ดูสิ เวลาเราศรัทธา ศรัทธาเป็นความเชื่อไหม ศรัทธาเป็นความเชื่อแล้วเป็นความจริงหรือยัง? มันไม่เป็นความจริง ดูว่า เราเชื่อเรื่องอะไรล่ะ เชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ เชื่อเรื่องสิ่งต่างๆ เชื่อเรื่องศาสนา เชื่อศาสนาเชื่อเพื่ออะไร? เชื่อเพื่อทดสอบ เพื่อประพฤติปฏิบัติ

การศึกษาของเราขึ้นมานี้มันเป็นปริยัติ การศึกษานะ ดูสิ ทางโลกเขาศึกษาวิชาการ เขาว่าทุกข์ยากมาก การศึกษามา ศึกษาในธรรมะก็ว่าทุกข์ยากมาก ต้องแปลอักษร ต้องท่องศัพท์ ต้องต่างๆ ท่องจนหัวสมองทื่อไปหมดเลย นั่นเขาว่าเป็นกุญแจ กุญแจเข้าไปเปิดพระไตรปิฎก

ความคิดของเรา กุญแจเปิดธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะศึกษาธรรม ศึกษาธรรมจนเขียนบาลีได้นะ แต่งเรียงความบาลีก็ได้ ทำอะไรก็ได้ ดูอย่างสวดมนต์ สวดมนต์นี้มันมาจากไหน ถ้าสวดมนต์มาจากพระไตรปิฎก มาจากที่เราคัดลอกมา แล้วแต่งขึ้นมา มันก็มีเหมือนกัน สิ่งที่เป็นอย่างนี้ที่ว่ากุญแจที่จะเข้าไปไขพระไตรปิฎก สัจธรรม มันเป็นความจริงของตัวเองไหม ถ้าไม่เป็นความจริงของเราขึ้นมานี่นะ...

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เป็นพ่อเป็นแม่ของเรา ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเรา แล้วนี่เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราจะหล่อเลี้ยงใจเราขึ้นมาได้อย่างไรไม่ให้มันแคระแกร็นอยู่ในกระถางนะ นี่มันแคระแกร็นอยู่ในกระถางโดยที่ไม่มีใครดูแลมัน แล้วมันคืออะไร? คือหัวใจไง พุทธะมันอยู่ที่ไหน สิ่งที่สัมผัสใจมันอยู่ที่ไหน มันเป็นความรู้สึกทั้งหมด แล้วเอาความรู้สึกนี้นะ ความรู้สึกเป็นพลังงาน แล้วความคิดนะ มันหยาบเกินไป

เขาว่า “ความคิดมันมาจากสมอง สมองก้อนเล็กก้อนใหญ่ ใครสมองก้อนใหญ่มีความคิดมาก มีสิ่งที่รับรู้สิ่งต่างๆ” นั่นมันก็คิดเป็นทางวิทยาศาสตร์ไป

แต่ถ้ามันมีอำนาจวาสนานะ ดูสิ ดูเจ้าชายสิทธัตถะไปเที่ยวสวนเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มันย้อนคิดขนาดที่ว่าสลดใจนะ หาทางออกได้เลยล่ะ ดูเวลาพระสารีบุตร ฟังพระอัสสชิ “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนให้ไปดับที่เหตุนั้น” เป็นพระโสดาบันเลย นี่ไง สิ่งที่สร้างสมบุญญาธิการบุญบารมีขึ้นมา สิ่งที่มันแทงย้อนกลับเข้าไปในหัวใจของตัว ถ้ามันย้อนกลับเข้าไปในหัวใจตัวนะ

มันไม่ใช่ย้อนกลับเข้าไปในพระไตรปิฎกนั้น ถ้ามันย้อนกลับไปในพระไตรปิฎกนั้น มันเป็นสัญญา มันเป็นบรรจุภัณฑ์ มันไม่ใช่เนื้อหาสาระ เนื้อหาสาระมันอยู่ที่ใจเรา ถ้าอยู่ที่ใจเรา ถ้ามันสร้างอำนาจวาสนาบารมีมา มันจะหาทางออกนะ

โลกเกิดมามันก็เป็นโลก ในเมื่อเราเกิดมาในสังคมใช่ไหม เราเกิดมานี่มันเป็นความจริงทั้งหมด แล้วศึกษาธรรมขึ้นมานี่โดยปริยัติ เห็นไหม “นั่นก็ไม่ใช่เรา นี่ก็ไม่ใช่เรา โอ๋ย! ธรรมะนี่รู้แจ้งไปหมดนะ มรรคผลนิพพาน โอ้โฮ! ความว่างมันปล่อยได้หมด สิ่งนี้เป็นความว่าง”

เพ้อเจ้อ! เพ้อเจ้อ! มันไม่ได้แก้อะไรเลย คนทำงานไม่เป็น คนไม่เคยผ่านประสบการณ์ คนไม่เห็นอะไรเลย พูดอะไรมันก็ผิดไปหมด ผิดไปหมดนะ สิ่งที่การพูดมามันผิด ผิดเพราะอะไร? ผิดเพราะความไม่รู้ของตัว แล้วที่พูดธรรมะจากไหน? พูดธรรมะก็มาจากขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันไม่ใช่ของตัวไง นี่มันเข้าใจว่าเป็นความเห็นของตัว กิเลสมันบังตานะ

ถ้ากิเลสมันบังตานี่ มันเศร้าสลดใจ ว่าศาสนานี้เป็นศาสนาที่ประเสริฐมาก ศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐมาก ลงทุนลงแรงมานะ พระโพธิสัตว์สร้างสมบุญญาธิการมานี่ ลงทุนลงแรงมาขนาดไหน เสียสละมาตลอดเลย เสียสละมาเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ถึงที่สุดแล้วเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เกิดที่ลุมพินีวัน

“เราเกิดมาชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย เราจะไม่เกิดอีกเลย”

นี่บุญญาธิการมันหนุนได้ขนาดนั้นน่ะ ขณะที่ทารกไม่มีความรู้สึกอะไรเลย สามารถเปล่งวาจาได้เลยว่า “เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย เราจะไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว” ทั้งๆ ที่ยังเป็นปุถุชนนะ พอโตขึ้น พระเจ้าสุทโทธนะให้มีครอบครัว ให้มีครอบครัวแล้วมีสามเณรราหุลนะ

สิ่งที่ยังไม่ได้ประพฤติปฏิบัติก็ยังมีบุญญาธิการขนาดนั้น ปฏิญาณตั้งเป้าหมายไว้เลย แล้วเวลาออกมาประพฤติปฏิบัติอีก ๖ ปีนะ นี่ค้นคว้าๆ ต่างๆ ที่ไหนเขามีสิ่งต่างๆ ค้นคว้าไปกับเขา บุญญาธิการขนาดนั้นนะ พยายามพิสูจน์ตรวจสอบกับลัทธิต่างๆ สิ่งที่โลกเขามีอยู่ ธรรมที่มีอยู่ในโลก แต่ยังไม่มีใครเข้าถึง แต่ด้วยอำนาจวาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขึ้นมาตรัสรู้ธรรมสิ่งที่มีอยู่ สิ่งที่มีอยู่เป็นสัจธรรม นี่อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สิ่งนี้มีอยู่ แต่มรรคญาณ มรรค มรรคที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมา คือมรรคญาณในหัวใจ

มันไม่ใช่มรรคที่ความคิด หัวใจกับความคิดเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า เรามีความคิดนะ เราคิดออกมาด้วยความพอใจ ถ้าเราไม่ใช่ชาวพุทธ เราก็ว่าเราไม่มีหลักใจ เป็นชาวพุทธนับถือศาสนาอะไร? นับถือศาสนาพุทธ นับถือศาสนาพุทธเพื่อให้ใจมันไม่เคว้งคว้าง ถ้าใจไม่นับถืออะไรเลยนี่ ใจเราไม่มีที่เกาะ ใจเราจะเคว้งคว้าง ไม่มีหลักใจ แล้วเรานับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธสอนว่าอย่างไร?

ศาสนาพุทธสอนถึงว่า ให้เลี้ยงชีพชอบ ให้ทำงานชอบ ทุกอย่างชอบ เราก็คิดว่าเลี้ยงชีพคือเลี้ยงชีพคือทำมาหากินเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องให้ชอบ มันก็เป็นความชอบอันหนึ่ง เพราะถ้ามันเลี้ยงชีพไม่ชอบ ในการประพฤติปฏิบัติใจมันจะเศร้าหมอง แต่ความเลี้ยงชอบอย่างนี้มันเป็นความดีของคฤหัสถ์ ฆราวาสธรรม แต่ความดีของนักรบล่ะ เลี้ยงชีพชอบเลี้ยงชีพอยู่ที่ไหน

คบบัณฑิต คบพาล คบดีก็คบเพื่อนไง เพื่อนไม่ดีก็พาไปทางที่เสียหาย เพื่อนที่ดีก็ช่วยเหลือเจือจานกัน นี่เป็นเพื่อนจากข้างนอกที่ช่วยเหลือเจือจานกันนะ

เวลาเรานั่งสมาธิภาวนาอยู่ที่กุฏิของเรา...ใคร คบที่ไหน?

คบที่ความคิดไง เวลาคิดดีก็คิดถึงบัณฑิต เราตรึกในธรรมก็คบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลามันคิดถึงโลกล่ะ คิดถึงสิ่งที่กระทบกระเทือนหัวใจล่ะ คิดถึงสิ่งที่หมักหมม สิ่งที่คิดเป็นกิเลสในหัวใจ มันก็ทำให้เร่าร้อน คบพาล คบบัณฑิต คบพาล จากข้างนอก คบบัณฑิต คบพาล คบจากข้างใน แล้วถ้าจิตมันพยายามค้นคว้าของเรา ถ้าจิตมันสงบเข้ามา จิตมันสงบเข้ามา

นี่คำว่า “จิตสงบ” ก็ไม่เชื่ออีก “ทำสมถะให้เสียเวลา สิ่งต่างๆ นี่ไม่มีปัญญา มานั่งงกงันกันทำไม สู้ศึกษาค้นคว้ามันมีปัญญาขึ้นมา เราจะรู้ปัญญาไปหมดเลย”

ไม่รู้เลยว่าตาลาย เห็นภาพต่างๆ ด้วยความลายตาไปหมด ไม่เข้าใจอะไรเลย แต่ถ้าเราจะเข้าใจจุดยืน เราจะรู้สิ่งต่างๆ ขึ้นมาไม่ให้ตาลาย เราจะต้องมีศรัทธาความเชื่อในสัจธรรม ทำความเชื่อในสัจธรรมขึ้นมาแล้ว เราพยายามทำความสงบ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนถึงศีล สมาธิ ปัญญา ศีลคือความปกติของใจ ศีล ระดับของศีล อธิศีล ศีลข้างนอก ศีลข้างใน

ศีล ดูสิ ศีล ๕ ของเรา ศีลในคฤหัสถ์ถือศีล ๕ เราเป็นพุทธมามกะต้องมีศีล ๕ ศีล ๕ ไม่ลักทรัพย์ ไม่พูดผิด ไม่โกหก ไม่ผิดในคู่ครอง ไม่ดื่มสุรา สีเลน สุคตึ ยนฺติ สีเลน โภคสมฺปทา...สีเลน สุคตึ ยนฺติ ถ้าเรามีศีล เราเป็นคนปกติ คนที่ดีงาม เราจะมีปัญหากับใคร มีความสุขไหมล่ะ เราจะอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข นี่ศีลทำให้มีสุคติ ศีลทำให้มีโภคะ ถ้าไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมันก็มีโภคะเกิดขึ้นมา โรคภัยไข้เจ็บก็ไม่เกิดขึ้นมา การดำรงชีวิตของเรามันก็อยู่อย่างสุขสบาย นี่ศีลจากข้างนอก

ศีลจากข้างในล่ะ ศีลจากข้างใน เห็นไหม ใจเป็นปกติไหม เราไม่ทำผิดต่างๆ เลย เราไม่ทำสิ่งใด แล้วในหัวใจของเราล่ะ มันคิดไหม? มันคิด มันคิดแล้วมันทุกข์ไหม? มันทุกข์ มันทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะว่าเราไม่รู้ว่าชีวิตนี้มาจากไหน ตายแล้วจะไปไหน แล้วเกิดมาทำไม

สิ่งที่เกิดมา ศาสนาพุทธขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันเหมือนห้างสรรพสินค้า เหมือนศูนย์การค้าที่แสดงสินค้าต่างๆ เราเข้าไปในศูนย์การค้านั้น เราเข้าไปเพื่อสิ่งใด เราจะแสวงหาอะไรเป็นประโยชน์กับเรา นี่ธรรมะมันกว้างขวาง มันซับซ้อนมาก มันกว้างขวาง มันสามารถรื้อสัตว์ขนสัตว์ทุกประเภท ทุกประเภทที่มีความตั้งใจ มีความจริงใจ มันรื้อสัตว์ขนสัตว์ได้ เหมือนห้างสรรพสินค้าเขามีนะ มีชั้นอาหาร ชั้นเครื่องยนต์กลไก ชั้นทุกอย่างเลย จะเอาสิ่งใดก็ได้

แต่เข้าไปเดินดูนะ แล้วก็ออกมา “ดับทุกข์ไง เห็นแล้ว เรารู้แล้ว เรามีแล้ว” มันเป็นของเราไหม? มันไม่ใช่อะไรของเราเลย สิ่งที่ไม่ใช่อะไรของเรา เราจับต้องสิ่งใดไม่ได้เลย จับต้องสิ่งใดไม่ได้ นี่ชาวพุทธเป็นแค่นี้เองเหรอ ศีล สมาธิ ปัญญา คำว่า “ศีล สมาธิ ปัญญา” มันเกิดที่ไหน เราเข้าไปห้างสรรพสินค้า เรามีสิทธิอะไรที่จะไปเอาสินค้านั้นออกมา นี่สินค้า เห็นไหม

นี่ไง เวลาพ่อแม่เลี้ยงลูก ฝึกงาน ฝึกให้ลูกรู้จักเก็บถนอมรักษาทรัพย์สมบัติของตัว ทรัพย์สมบัติของเรา เราจะทำประโยชน์อะไรเพื่อให้ทรัพย์สมบัติงอกงามขึ้นมา ถ้างอกงามขึ้นมา มันไม่แคระแกร็นอยู่อย่างนั้นนะ จิตใจของเรามันมีคุณค่า ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ที่ดี ครูบาอาจารย์ที่ท่านผ่านประสบการณ์เข้ามา ท่านจะรดน้ำพรวนดิน เราไม่รู้จักกระถางต้นไม้ เราก็ไปหามา เราไม่มีดินก็ต้องหาดินมา ดินผสมปุ๋ยก็หามา จะต้นธรรม หน่อของธรรมะก็หามาปักมันเข้าไป แล้วก็รดน้ำพรวนดิน ดูแลรักษามันก็จะเจริญเติบโตงอกงามขึ้นมา

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ท่านไม่เป็นนะ “ทำไมต้องไปลงทุนลงแรง ทำไมต้องไปหามันมา นี่ไงเราเปิดอ่านตำรานี้ มันสัจจะ สัจธรรมนี่ สิ่งนี้มันดับทุกข์นี้ มันพอใจแล้ว”

เราเจออาจารย์ เราจะหาครูบาอาจารย์อย่างไร ครูบาอาจารย์ที่จะชี้นำเรา จะชี้นำให้เรา ชี้นำตรงไหน? ชี้นำในหัวใจเรานี่ ชี้นำในสิ่งที่มันมีอยู่ สิ่งที่อย่าให้มันแคระแกร็น ถ้าเราเชื่อกิเลส แล้วเราทำตามกิเลส คิดว่ามันเป็นปัญญา คิดว่ามันเป็นสัจธรรม คิดว่ามันเป็นการดับทุกข์ คิดว่าเป็นการดับทุกข์ไง มันก็ดับทุกข์จริงๆ น่ะ มันดับทุกข์ มันดับความคิดไง ดับความคิด

ถ้าเวลาเราคิดมันคิดไปร้อยแปดใช่ไหม เราคิดในธรรมะ เราตรึกในธรรมะ มันก็ไปตรึกในธรรมะ สิ่งที่ศึกษาธรรมะ ธรรมะมันก็เตือนสติ มันก็ได้สติ มันก็เท่านั้นน่ะ แล้วมันมีอะไรขึ้นมาในหัวใจล่ะ มันจะพ้นจากทุกข์ไปได้อย่างไรล่ะ แล้วศาสนาสอนแค่นี้เหรอ ถ้าสอนแค่นี้นะ สัญชัยก็สอน ในลัทธิ ดูสิ ดูเจ้าชายสิทธัตถะไปเรียนกับอาฬารดาบส ทำสมาบัติดีกว่านี้อีก นี่มันแค่ดับเฉยๆ แต่สมาบัติมันมีพลังงานของมันด้วย เจ้าชายสิทธัตถะยังปฏิเสธเลย ปฏิเสธอาฬารดาบสนะ อุทกดาบส นั่นเขาก็ทำสมาบัติ ทำสมาธิ

นี่ไง เขาก็ปฏิเสธสมาธิ ปฏิเสธสมถะ ปฏิเสธสมถะว่า “สมถะนี่ไม่มีปัญญา เขาใช้ปัญญาของเขา นี่ปัญญาที่ใคร่ครวญดับทุกข์ในหัวใจเถิด ศึกษาธรรมะ ตรึกในธรรมะ มีธรรมะเกิดขึ้นมา”

มันก็ปล่อยวางเหมือนกัน แล้วมันเป็นเป็นมิจฉาด้วย มิจฉาเพราะอะไร มิจฉาเพราะตัวเองปฏิเสธอย่างไรนะ ปฏิเสธเพราะไม่มีสติ ไม่มีความเข้าใจมัน

ของของเรา ดูสิ เราทำธุรกิจ เราค้าขาย ถ้าเราค้าขาย เราได้แบงก์จริงมา มันก็มีคุณค่า เราได้แบงก์ปลอม แบงก์ปลอมมันมีคุณค่าอะไรล่ะ แบงก์ปลอมเข้ามาเราต้องรีบแลกออกไป เพื่อจะไม่ให้เราเสียผลประโยชน์

นี่ก็เหมือนกัน ว่างๆ ว่างๆ นี่มันจริงหรือมันปลอม ถ้ามันปลอมขึ้นมา ทำไมเราไม่มีความสุขล่ะ ถ้ามันปลอมขึ้นมาของนี่เราเอามือจุ่มน้ำ น้ำเย็นก็เย็นน้ำ น้ำร้อนก็ร้อนน่ะ ถ้าจิตมันจุ่มเข้าไปในสมาธิ มันเป็นสมถะขึ้นมาจริงๆ มันต้องมีความสุขสิ มันต้องมีผลของมันสิ กินข้าวเข้าไป ดูสิ กินข้าวมันก็ต้องอิ่มสิ ของเข้าไปถึงในท้องบอกท้องว่างๆ อยู่ มันเป็นไปได้อย่างไร

นี่ก็เหมือนกัน เราตั้งสติอยู่ เรากำหนดพุทโธของเราอยู่นี่ แม้แต่สมาธิมันยังไม่เป็นสมาธิเลย สิ่งที่ทำอยู่ ถ้าไม่เป็นสมาธิ เห็นไหม ว่างๆ ว่างๆ อย่างนั้นมันว่างอะไร ถ้าว่างอย่างนี้มันก็เป็นโลกียปัญญา ว่างเพราะอะไร ว่างเพราะมันเกิดจากฐานของจิต เกิดมาจากเรา เกิดจากกระถางต้นไม้ เกิดจากสิ่งที่มันแคระแกร็น เพราะจิตนี้มันมหัศจรรย์มากนะ จิตนี้มหัศจรรย์มาก ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามารื้อค้น เราจะไม่รู้อะไรเลย เราจะศึกษาแต่ทางวิชาการกัน เราจะศึกษาแต่ทางโลกกัน ส่งออกทางเรื่องโลกๆ

ดูสิ การพัฒนาการของมันต้องเป็นอย่างนั้นๆๆ มันพัฒนาการอย่างนั้น มันมีวิวัฒนาการของมันเป็นวงรอบหนึ่ง มันเป็นวัฏฏะ แล้วแกนของมันอยู่ไหน สิ่งที่เป็นตัวจิตที่มันเป็นแกนหลัก ถ้าแกนของมันไม่มี พระโพธิสัตว์สืบต่อกันมา ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขยได้อย่างไร ในเมื่อพระอรหันต์ยังต้องหนึ่งแสนกัป

สิ่งที่เป็นอำนาจวาสนา สิ่งที่เป็นบารมี สิ่งที่เป็นจริตนิสัยมันมาจากไหน? ก็มันมาจากการกระทำที่จิตมันได้ทำมา กรรมมันสร้างสมมา มันสะสมมาจนเป็นอำนาจวาสนาบารมี ผู้ที่ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ปฏิบัติยากรู้ยาก สิ่งนี้มันเป็นสัจธรรมมันอยู่ที่นี่ ถ้ามันอยู่ที่นี่ขึ้นมา ความคิดที่ว่าเป็นปัญญาๆ มันเกิดจากฐานตรงนี้

ดูสิ ทั้งๆ ที่ศึกษามาด้วยกันนั่นน่ะ ก็เถียงกันปากเปียกปากแฉะว่า ของใครถูก ของใครไม่ถูก เหมือนกฎหมายตีความกัน ตีความคนละแง่มุมไป แล้วเอาสีข้างเข้าถูกัน มันถูกทั้งคู่ ถูกทั้งคู่เพราะอะไร เพราะมันตีความกันคนละเรื่อง มันตีความกันไป ข้อความนั้นตีความคนละความเห็นกันไป ก็ความเห็นไง ดับทุกข์ไง ก็เข้าใจแล้วไง ก็ดับทุกข์ไง ถูกทั้งคู่ ถูกที่ไหน? ถูกเพราะเป็นโลกียปัญญา ถูกเพราะมันเป็นปัญญาจากภายนอก ถูกเพราะมันเป็นผลของวัฏฏะ มันไม่ได้ถูกโดยสัจธรรม

ถ้าเป็นสัจธรรม นี่ปฏิบัติ เราปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ดับทุกข์ มันดับทุกข์หรือยัง?

มันดับทุกข์แล้ว เพราะเรารู้แล้ว เราเข้าใจแล้ว แต่มันดับทุกข์จริงไหม?

ไม่จริง เพราะมันเข้าไม่ถึงสัจจะความจริง

ถ้าเข้าถึงสัจจะความจริง เห็นไหม มันถึงต้อง...เพราะในมรรค ๘ มันมีสัมมาสมาธินะ ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิ โดยความคิดของเรามันคิดจากกิเลส คิดจากเราทั้งนั้นน่ะ แต่ถ้ามันมีสมาธิขึ้นมา สมาธิเกิดได้อย่างไร ในเมื่อมือเราจุ่มไปในน้ำ ความเย็นเกิดขึ้นไหม ในใจของเราถ้ามันสงบเข้ามาในตัวใจมันจะรู้ไหม นี่ใจของเราเป็นสมาธิเอง ใจเราไม่รู้ว่าเป็นสมาธิเหรอ

แล้วพอเว้นไว้เป็นสมาธิ ใจเราไม่เป็นสมาธิแต่ว่ามันเห็นนิมิตออกไป มันเห็นสิ่งต่างๆ ออกไป เห็นอยู่อย่างนั้น เราจะเอามือจุ่มน้ำ แต่มันไม่ถึงน้ำ มันไปถึงสิ่งที่ภาชนะปิดกั้นอยู่ ปิดกั้นอยู่แล้วตัวเองก็ไปเคลิบเคลิ้ม ไปหลง ไปหลงในสิ่งสภาวะนั้นว่าสิ่งนั้นเป็นสภาวะ สิ่งนั้นเป็นนั้นเป็นนิมิต สิ่งที่เห็น

การกระทำอย่างนี้มันเป็นเรื่องของสัจจะ สัจจะของจิตดวงนั้นนะ จิตดวงนั้นมีปัญหาสิ่งใด นี่ในการประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านจะคอยชี้นำ ชี้นำตรงนี้ ชี้นำในการกระทำ เหมือนฝึกงาน เหมือนกับเราปลูกต้นไม้ เลี้ยงลูก ธรรมะมันหล่อเลี้ยงธรรมะให้เจริญเติบโต นี่ธรรมมะเลี้ยงไม่โต เลี้ยงไม่โต ใจมันไม่โต

แต่เวลาพูดธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเลี้ยงไม่โตนะ เหมือนเด็กที่เราเลี้ยงไม่โตแล้วมันจะเป็นภาระ เป็นภาระเราตลอดไป เป็นภาระเราคือเราใช่ไหม แต่เราว่านี่คือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่างหาก เพราะเราเป็นศากยบุตร เราเป็นพุทธชิโนรส เราเป็นบริษัท ๔ ในศาสนา แล้วแคระแกร็นอยู่ในศาสนานี้ไม่มีเชาวน์ปัญญาสิ่งใดๆ สิ่งที่เราแสดงออกมาได้ก็คือขอบเขตของพระไตรปิฎกที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้เท่านั้น ผิดจากนั้นไปเรายอมรับไม่ได้

แต่ถ้าเป็นสัจจะนะ เราประกอบความเพียรชอบของเรา เราประกอบสิ่งต่างๆ เราเลี้ยงลูกของเรา เลี้ยงหัวใจของเรา มันเติบโตขึ้นมานะ มันแตกกิ่งก้านสาขาออกไปแต่ละแนวทางขึ้นมา มันจะมีประสบการณ์ของมัน สิ่งประสบการณ์ของมัน เวลามันเติบโตขึ้นมานะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็เหมือนต้นไม้ต้นหนึ่ง เราก็ปลูกต้นไม้ต้นหนึ่งเหมือนกัน ต้นไม้หนึ่งเหมือนกัน เสร็จแล้วมันก็ต้นเดียวกัน ต้นสัจธรรม มันเหมือนกัน ถ้ามันไม่เหมือนกันมันจะเป็นสัจธรรมได้อย่างไร มันจะเป็นอริยสัจได้อย่างไร

สิ่งที่เป็นอริยสัจ เห็นไหม มันถึงมรรคผลมีไง

นี่ “ปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ ไม่ต้องไปปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน”

ถ้าไม่ปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพานก็ไม่ต้องมีอะไรเลยไง มีต้นไม้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ต้นหนึ่ง แล้วของเราว่างเปล่า อาศัยอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ต้นนั้นตลอดไป แล้วก็ว่าสัจธรรมเป็นอย่างนั้น แล้วจะมีผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ จะปลูกต้นไม้ขึ้นมา ก็ว่า “อย่าไปทำเลยเสียเวลาเปล่า เสียเวลาเพราะต้องลงทุนลงแรงไง ต้องรดน้ำใส่ปุ๋ย ต้องหาพืชพรรณมา” นี่ความคิดของคนที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์ ความคิดของคนที่ไม่เคยอยู่ในภาคปฏิบัติ

ถ้าอยู่ในภาคปฏิบัติ ปริยัติ ปริยัติการศึกษาเล่าเรียนมา มันปฏิบัติขึ้นมา มันจะมีการกระทำของมันขึ้นมา มันจะมีกิจจญาณของมันขึ้นมา สิ่งที่กิจจญาณขึ้นมา แล้วถ้าทำไม่ถึงสัจธรรมอันนั้น มันก็ล้มลุกคลุกคลาน มันเป็นเรื่องปกตินะ มันก็เหมือนกับเราเลี้ยงลูก เราเลี้ยงหัวใจเรา เราเหมือนเลี้ยงลูกเลย เราดูแลมัน เราถนอมมัน เรารักษามันขึ้นมา ให้มันเติบโตขึ้นมา ให้มันพึ่งตัวมันเองได้ นี่ไง สัมมาสมาธิ ถ้าทำจิตให้มันสงบขึ้นมาได้ มันจะพึ่งตัวมันเองได้ ถ้าจิตมันยังไม่สงบขึ้นมา มันไม่มีหลัก

วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่นที่ฐาน นี่ฐาน ฐานที่มั่นของการทำงาน

แต่เขาปฏิเสธฐานที่มั่นกัน ปฏิเสธฐาน ว่าพุทโธ สมถะ ไม่มีความหมาย

ไม่มีความหมายก็ไปทำงานเร่ร่อนไง ตาลาย ศึกษาธรรมะก็ลายไปหมดเลย สิ่งนั้นเป็นตีค่าตีความกันไป ลายกันไปหมด เหมือนคนตาบอดคลำช้าง ขาช้างนี่เป็นสัจธรรม งวงช้างเป็นสัจธรรม หูช้างเป็นสัจธรรม มันว่ากันไปตามความเห็นของตัว

แต่ถ้าเป็นสัจจะความจริง ช้างทั้งตัวคือช้างนะ ส่วนประกอบอะไรของมันเป็นช้าง คนตาดีเห็นช้างเข้าใจว่าเป็นช้างเลย นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่สัจธรรม จิตมันสงบเข้ามามีฐานที่มั่นของที่ทำงาน มันต้องมีฐานที่ตั้งของการงาน เพราะฐีติจิต กิเลสมันตั้งอยู่บนนี้ เพราะกิเลสมันตั้งอยู่บนนี้ ถ้าทำความสงบของใจขึ้นมาจนมีหลักมีเกณฑ์ของมันแล้วออกวิปัสสนา นี่ไง ออกวิปัสสนาเพื่ออะไร? เพื่อจะให้ต้นไม้มันงอกงามขึ้นมา ให้มันแตกใบอ่อนขึ้นมา การแตกใบอ่อน แตกหน่อแห่งพุทธะ

เพราะใจมันมีความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดในสัจธรรม ไม่ใช่ความเห็นผิดในร่างกายนะ เราเกิดมานี่เราเป็นมนุษย์เรามีบุญกุศล ถ้าไม่มีบุญกุศลเราจะเกิดเป็นมนุษย์ได้อย่างไร สิ่งที่เป็นมนุษย์ เพราะจิตมันเกิด สิ่งที่พลังงานที่มันมีความมหัศจรรย์มันต้องเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ แล้วมันเกิดเป็นอะไรบ้างล่ะ? เกิดเป็นภพชาติต่างๆ พอมันมาเกิดเป็นมนุษย์ นี่คือบุญกุศล สัจธรรมมันจริงตามสมมุติ จริงตามวัฏฏะ แต่ไม่จริงตามธรรม ไม่จริงตามธรรม เพราะไม่จริงตามธรรม ไม่จริงตามธรรม

เราศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า “เกิดมาแล้วก็ต้องตาย ร่างกายก็ไม่ใช่ของเรา จิตใจก็ไม่ใช่ของเรา ไม่มีอะไร ไม่ใช่ของเราสักอย่างเลย” แล้วคนที่บอกว่ามันไม่ใช่ของเรา มันอยู่ที่ไหน

นี่อยู่ใต้ร่มเงาต้นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง แต่ตัวเองอยู่กลางแดด ตัวเองอยู่ในความเร่าร้อนของกิเลส แต่ทำสงบเสงี่ยม ทำเจียมตน

แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะ ถ้ามันสงบเข้ามา มันจะสงบของมันเข้ามานะ ต้องมีศรัทธามีความเชื่อ ตั้งสติให้ดี ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ สิ่งที่ใช้ตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีสติควบคุมมันไป สติจะควบคุมมันไปด้วยเหตุด้วยผล ด้วยเหตุด้วยผลนะ

เพราะความคิดมันให้โทษเรา ความคิดให้โทษเราทั้งหมดนะ ความคิดเรื่องอะไร? ความคิดเรื่องกายนี่ไง สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด คำว่า “สัจธรรม” สัจธรรมนี่ธรรมเหนือโลก ธรรมเหนือโลก มรรคญาณ มันต้องมีการกระทำของมัน ต้องไปฝึกฝนใจของมันขึ้นมา มันถึงจะเข้าใจถึงมรรคผล ถึงว่านิพพานมี มรรคผลมี สิ่งต่างๆ ที่ใจมันมี เพราะสิ่งที่มันมีนี่เวลาเป็นผลขึ้นมา สิ่งนี้ต่างหากที่เป็นการแก้ทุกข์ การแก้กิเลส

ดับทุกข์ ดับทุกข์น่ะไปดับที่ไหน

ดับทุกข์ ดับทุกข์ นี่ไปดับที่ความคิดเหรอ

ดับทุกข์ ดับทุกข์ นี่ไปดับที่ความพอใจใช่ไหม

แล้วมันจะดับได้อย่างไร

มันดับได้ชั่วคราวไง พอใจสิ่งใดมันก็ร่มเย็นเป็นสุข เดี๋ยวมันก็ไม่พอใจ มันจะดับได้อย่างไร มันดับไม่ได้หรอก มันเป็นการกลบเกลื่อนกันไปเฉยๆ นี่มันเสียเวลาทั้งชีวิต ถ้ามีความคิดอย่างนี้ มันจะเสียเวลาของการ...ชีวิตของเรา แล้วชีวิตของเรา ดูสิ มีคุณค่าไหม ในสัจธรรมนะ สิ่งที่มีคุณค่าที่สุดคือเรื่องของนามธรรม คือเรื่องของหัวใจ แล้วหัวใจมาเกิดเป็นเราแล้วนี่ เรามีชีวิตชีวิตหนึ่ง แล้วมันเป็นสิทธิของเรานะ เราจะใช้ชีวิตอย่างไรก็ได้ เราจะใช้ชีวิตสำมะเลเทเมาก็ได้ เราจะใช้ชีวิตนักบวชก็ได้ เราจะใช้ชีวิตอย่างไรก็ได้ทั้งนั้นล่ะ มันเป็นสิทธิของเรา สิทธิของเราแล้วสิทธิอันนี้ใครเป็นคนคิดล่ะ สิทธิมันมีแรงขับตัวไหน มีแรงขับ มีกิเลส หรือมีธรรม ถ้ามีธรรมขึ้นมามันจะแสวงหา

สิ่งที่เขาทำกันอยู่ โลกมันเป็นอย่างนี้ เราก็ไม่ไปกับเขา นี่มันเป็นสติยับยั้ง มันเป็นธรรมสังเวช มันสังเวชในชีวิต สังเวชในการกระทำ แล้วสังเวชในสิ่งที่กระทำกันในโลก แล้วเราจะออกจากโลก เราจะออกจากโลก เราต้องหาทางออก ถ้าทางออก เราจะออกทางไหน ถ้าจะออกทางไหน มันมีศรัทธาแล้ว มีศรัทธาเรามาบวชเป็นพระเป็นเจ้ากัน เรามาประพฤติปฏิบัติกัน นี่สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติ เราก็ต้องทำให้มันเป็นโลกุตตรธรรม ถ้ามันเป็นโลกุตตรธรรม เราจะจับต้อง เราจะเป็นคนประกอบ เราจะเป็นคนรดน้ำพรวนดิน เราจะเห็นผล เราจะมีมรรคมีผลให้เราพิสูจน์

สิ่งที่มันพิสูจน์ มันพิสูจน์จากการกระทำของเรา อย่าไปเชื่อใครทั้งสิ้น อย่าไปเชื่อทฤษฎีของใครที่ชี้นำ ทฤษฎีอันนั้นมันชี้นำ ชี้นำไปไหน? ชี้นำไปด้วยทิฏฐิมานะของความเห็นของเขา แต่มันเป็นความจริงหรือยัง ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา มันจะไปปฏิเสธมรรคผลนิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อย่างไร

นี่เพราะปฏิเสธมรรคผลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “เป็นการเสียเวลา และประพฤติปฏิบัติกันเสียหายมามากแล้ว คนดีเสียหายมา”

เพราะการประพฤติปฏิบัตินะ ดูสิ เวลาพระเราถือธุดงควัตร ฉันมื้อเดียว ผ่อนอาหาร ถือเนสัชชิกเพื่ออะไร ถือเนสัชชิกเพื่อจะให้มันไม่จมปลักอยู่ในกิเลส นี่ลงทุนไปอย่างนี้ มันต้องลงทุนลงแรงไหม

การลงทุนลงแรงนี่นะ “สิ่งนี้ทำไม่ได้อีก สิ่งนี้ทำแล้วมันไม่เป็นประโยชน์กับเรา”

คนที่ทำ คนที่ได้ผลมา เขาได้ประสบการณ์มา สิ่งที่เป็นประสบการณ์มานะ แล้วเราทำตามนี่ เราทดสอบตาม ถ้าเราทดสอบแล้วมันเป็นประโยชน์กับเรา เราเป็นคนทำเอง สิ่งที่ทำเองมันเกิดขึ้นมา ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอดอาหารอยู่ ๔๙ วัน เวลาอดอยู่มันทุกข์ไหม? มันทุกข์ แต่มันได้กำลังนะ แต่กำลังอย่างนี้มันเป็นการทำให้จิตมันสงบ มันสงบเข้ามาแต่มันไม่มีปัญญา ไม่มีปัญญาเพราะยังไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง ถึงมาฉันอาหารของนางสุชาดา ขณะที่ฉันอาหารนะ เราเคยทำกำลังมาแล้ว เรามีกำลังมาแล้ว เรามาทำงานอื่นเราก็ต้องทำได้

สิ่งที่ทำได้ขึ้นมา แล้วย้อนกลับขึ้นมา เพราะมันได้วาสนา ขณะที่ความเป็นไปมันจะมาถึง ย้อนกลับขึ้นมาตั้งแต่บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ ถึงที่สุดเสวยวิมุตติสุข นี่มันส่งต่อกันมานะ ดูสิ เวลาเป็นพระโพธิสัตว์ พระเวสสันดรเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่มันส่งต่อๆ กันมา เพราะจิตดวงเดิม เพียงแต่ว่ามันพัฒนาการของมันขึ้นมาเป็นกาลเป็นเวลาที่มันจะพัฒนาการขึ้นมา

การกระทำของเราก็เหมือนกัน เวลาทุกข์ก็จิตดวงนี้ เวลามีความพอใจก็จิตดวงนี้ ก็ไอ้จิตดวงนี้ที่มันทุกข์ สิ่งที่มันทุกข์ มันทุกข์มันร้อน แต่เวลาทำความสงบของใจ ก็ไอ้จิตดวงนี้มันมีความสงบ สิ่งที่มีความสงบ พอมันสงบขึ้นมา มันมีหลักมีฐานมีเกณฑ์ขึ้นมา นี่เราต้องมาค้นคว้า นี่ไง ที่บอกว่า “สิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ มันเป็นความจริง สิ่งที่เป็นร่างกาย ทุกอย่างเป็นของเราหมด แต่มันเป็นของชั่วคราว คำว่า “ชั่วคราว” คือมันไม่ยั่งยืน มันไม่จีรังยั่งยืน

แต่เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราประพฤติปฏิบัติแล้ว มันจะยั่งยืนเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไปนะ นี่อกุปปธรรม โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหัตตผล

นี่เขาบอก “อย่าปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน”

ถ้าอย่าปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน มันก็เหมือนความเห็นของเขานั้นน่ะ “ปฏิบัติเพื่อความสุข ปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ในใจ”

มันดับทุกข์ในใจนี่ มันเอาอะไรเป็นมาตรฐานนะ มาตรฐานที่ดับทุกข์ในใจมันดับกันอย่างไร

มาตรฐานของธรรมะ เวลาเราพิจารณา นี่สิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นสัจธรรม เป็นความจริง การเกิดโดยกรรม การเกิดเป็นมนุษย์นี่ ดูสิ การเกิดเป็นพระ จากคฤหัสถ์มาเป็นพระนี่ญัตติจตุตถกรรม ถูกต้องตามธรรมวินัย นี่ไง จริงทั้งนั้นน่ะ จริงตามสมมุติ ถ้าไม่จริงแล้วเราจะลงอุโบสถร่วมกันอย่างไร เราจะอยู่ร่วมสภากันได้อย่างไร นี่สิ่งนี้เป็นความจริง จริงตามสมมุติ จริงหมด

แต่มันไม่จริงตามสัจจะสิ สัจธรรมมันยังไม่จริง ถ้ามันยังไม่จริง เราถึงทำความสงบของใจเข้ามา พอใจมันสงบเข้ามา มีหลักมีฐานของมันขึ้นมาแล้วออกค้นคว้าออกหา ออกหา ออกหาอะไร? ออกหาสิ่งที่มันหลงผิด สิ่งที่มันหลงผิด หลงผิดในอะไร? สักกายทิฏฐิความเห็นผิดในกายของเรา ทุกคนจิตใต้สำนึกรักตัวเองหมด ทุกคนเห็นแก่ตัวหมด โดยกิเลสโดยธรรมชาติของมัน มันยึดมั่นถือมั่นในธรรมชาติของมัน ถ้ามันยึดมั่นถือมั่นในธรรมชาติของมัน สอนมัน ให้ค้นคว้ามันว่ามันเป็นความจริงไหม ความยึดมั่นถือมั่นนะ มันหลงผิดอย่างไร

ถ้ากำลังมันมีสติขึ้นมา จิตเห็นกายขึ้นมา นี่แยกแยะได้ แยกแยะด้วยรำพึงขึ้นมาในสมาธินั้น สิ่งที่รำพึงขึ้นมาให้เป็นวิภาคะ มันจะปล่อยวางอย่างไร มันถึงถ้ามีกำลัง มันจะเป็นไปตามที่แรงด้วยความรำพึงนั้น จะเป็นพั๊บๆๆ ไป เห็นจะแจ้ง พอเห็นจะแจ้งขึ้นมานี่ มันสะเทือนหัวใจนะ มันสะเทือนมันปล่อย มันปล่อย มันปล่อย มันปล่อย นี่มันมีการกระทำ

สิ่งที่มันจะเป็นมรรคผลนี่มันต้องมีเหตุมีผล “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” ถ้าเอ็งสร้างเหตุไม่ถึง เอ็งทำไม่ถึงจุดที่กิเลสอวิชชามันซ่อนตัวอยู่ แล้วกิเลสอวิชชามันจะหลุดออกไปจากใจได้อย่างไร สิ่งที่ถ้ากิเลสอวิชชามันอยู่ที่ไหน

ดูสิ เวลาเราขุดน้ำ น้ำในบ่อน้ำเรา เราขุดน้ำตื้นหรือน้ำลึก ถ้าน้ำของเราอยู่ลึก เราก็ต้องขุดลึก นี่ก็เหมือนกัน จริตนิสัยของคน วิปัสสนาครั้งแล้วครั้งเล่า พิจารณาแล้วมันปล่อยได้ง่าย มันปล่อย มันก็ปล่อยไป เดี๋ยวมันก็ปล่อยได้ง่าย เดี๋ยวมันก็ปล่อยได้ยาก การปล่อยได้ง่ายได้ยากก็เพราะอะไร ก็เพราะกิเลสมันแก่นกิเลส สิ่งที่มันมีกับเรานะ ในวัฏฏะเราเกิดตาย เกิดตายนี่ ไม่มีต้นไม่มีปลายหรอก ใครจะปฏิเสธ ใครจะไม่ยอมรับรู้สิ่งใดก็แล้วแต่ นั่นเป็นคำพูด นั่นเป็นความนึกคิด แต่ความจริงเป็นอีกอย่างหนึ่ง

ดูสิ จะปฏิเสธว่านรกสวรรค์ไม่มี สิ่งไหนไม่มีก็แล้วแต่ เวลาถ้าปฏิเสธว่านรกไม่มี มันก็ต้องทำตามความพอใจของตัว ถ้าทำตามความพอใจของตัว มันจะไปไหน มันจะไปไหน...แต่ถ้ามันเข้าใจว่านรกสวรรค์มี เราก็ต้องทำแต่คุณงามความดี นี่ในเมื่อทำคุณงามความดี ความดีมันจะส่งไปไหน? มันก็ส่งไปตามสัจธรรมอันนั้น

อันนี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราประพฤติปฏิบัติ ในเมื่อมันเข้าไม่ถึงจุด ไม่ถึงฐานของอวิชชา ไม่ถึงฐานของกิเลสที่มันอยู่ในกรรมฐาน ในฐาน ฐีติจิต มันจะวิปัสสนาอะไรกัน มันจะเชื่อมรรคผลนิพพานได้อย่างไร?

มันก็ไม่เชื่อมรรคผลนิพพาน แล้วก็บอกว่า “ไม่ต้องปฏิบัติ ไม่ต้องปฏิบัติให้มันหลง เสียเวลา มันจะต้องทำให้ผิดพลาดกันมามากแล้ว”

การผิดพลาดมันเป็นเรื่องปกตินะ ในการประพฤติปฏิบัติถ้าไม่มีการผิดพลาด ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปทดสอบอยู่ ๖ ปีนั้นผิดพลาดไหม ความผิดพลาดเพราะมันยังไม่มีสัจธรรมความจริงใช่ไหม แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้วนี่ สิ่งนี้สะอาดบริสุทธิ์โดยสัจจะความจริง แล้วเวลาสั่งสอนขึ้นมา สั่งสอนขึ้นมา แต่ผู้ที่ไปฝึกฝนกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูสิ ดูพระโมคคัลลานะ ยังนั่งง่วงเหงาหาวนอนเลย สิ่งต่างๆ ขนาดที่เป็นพระโสดาบันแล้วนะ

การกระทำ มรรคหยาบ มรรคละเอียด มันจะเป็นขั้นเป็นตอนของมันขึ้นไป สิ่งที่เป็นความหยาบๆ อยู่นี่ เราต้องมุมานะของเรา เรามีเหตุมีผลนะ เราตั้งอกตั้งใจขึ้นมาเพื่อการกระทำสิ่งที่ดีงามกับเรา มันจะเป็นความดีงามกับเรา ดีงาม เห็นไหม ความดีเพื่อเรา ไม่ใช่ดีเพื่อโลก ถ้าดีเพื่อโลกมันก็ดีกับเขา อยู่กับเขา เป็นความโลกกับเขา ทุกข์จนตรอมใจกับเขา ทุกข์จนตรอมใจนะ

เพราะโลกนี้ โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ โลกไม่มีวันอิ่มเต็ม โลกเต็มไม่ได้ โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ ดูสิ ดูร่างกายเรานี่เป็นโลก กินทุกวันนี่มันพร่องไหม หามาป้อนมัน มันพอไหม โลกนี้มันพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่มีวันพอ กินไปจนวันตาย จะต้องใช้สอยไปจนวันตาย นี่เราจะไปตื่นกับโลกทำไม

ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะนะ เราจะไม่ตื่นไปกับเขา อาศัยเขาอยู่ เพราะเราเกิดมา ผลของวัฏฏะนะ วัฏฏะคือมันจะหลบเลี่ยงไม่ได้ เราจะหลบเลี่ยงสิ่งนี้ไปไม่ได้ มันเป็นธรรมชาติของมัน ธรรมชาติมันเป็นสัจจะความจริงของมัน แล้วเราเกิดมาโดยมีบุญวาสนา ถ้าไม่มีบุญวาสนา เวลาเกิดมาไม่พบพระพุทธศาสนา ดูสิ ดูทั่วโลกเขาจะมีศาสนาให้ประพฤติปฏิบัติไหม เขาจะมีครูบาอาจารย์ให้คอยชี้นำเขาไหม แต่เราเกิดมาเราพร้อมหมดนะ เราพร้อมหมด เพียงแต่ว่ามันเป็นกบเฝ้ากอบัว ถ้าไม่มีใครสนใจหรือสนใจก็ทำไม่จริงไม่จัง สนใจก็ทำไม่จริงไม่จัง สักแต่ว่าทำ นี่มันก็อยู่ที่อำนาจวาสนา อยู่ที่บารมี ของตัว ที่ว่าบารมีมันอ่อน ทำไปก็ยังลังเลสงสัย จะปักใจเชื่อหรือไม่เชื่อ มันสักแต่ว่าไง ถ้าขาดสติทำด้วยไม่มีความจงใจ มันเหมือนคนโลเลน่ะ

ถ้าคนมีหลักมีเกณฑ์ เป็นคฤหัสถ์ก็มีหลักมีเกณฑ์นะ บวชเป็นพระเป็นเจ้าขึ้นมาก็มีหลักมีเกณฑ์ คนมีหลักมีเกณฑ์ ความจริง สัจธรรมเป็นความจริง คำว่า “สัจธรรม” แล้วจะเอาของปลอมไปจับสัจธรรม มันจะเป็นสัจธรรมขึ้นมาได้อย่างไร ในเมื่อมันเป็นสัจธรรม มันก็ต้องเอาของจริงเข้าไปจับ ของจริงที่สะอาดบริสุทธิ์คือฐีติจิต คือจิตที่มันสงบแล้ว จิตที่มีฐานที่มั่นแล้ว

ไม่ใช่จิตที่มันมีอวิชชา มีความฟุ้งซ่าน มีความคิด มีต่างๆ มันเป็นจิตที่สกปรก มันเป็นจิตที่มันมีโลกครอบงำ มันมีมารครอบงำ มีอวิชชาครอบงำ ในเมื่อมีมารครอบงำมันก็คิดโดยมาร ความคิดนี่ ขณะที่ว่าตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่แหละ โลกียปัญญา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่กิเลสในหัวใจเรามันผิด มันเห็นผิด ใช่ไหม

นี่ถ้าวิปัสสนาขึ้นไป ถ้าจิตมันมีความสงบขึ้นมา วิปัสสนากายให้มันเห็นถูกไง ความเห็นถูก เห็น ความรู้ความเห็น เห็นคือปัญญา ปัญญาที่เห็น ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ จิตที่มันสงบแล้วเห็นภาพของกาย แล้วหมั่นคราด หมั่นไถ หมั่นพิจารณา

ถ้าจิตมันพิจารณาได้ จับสิ่งใด มันพิจารณาลงสู่สภาวะเดิมของมัน อย่างเช่น ร่างกายของมนุษย์ ร่างกายเป็นกายที่เราเห็น ให้มันแปรสภาพของมันออกไปโดยธรรมชาติของมัน มันจะเหลือสิ่งใดก็แล้วแต่ มันเป็นครั้งเป็นคราวนะ บางที่มันก็เหลือกระดูกก่อน สิ่งใดมันยุบยอบหายไปเหลือแต่กระดูก แล้วลงสู่สภาพเดิมของมันคือเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ หรือมันจะกลายเป็นน้ำ กลายเป็นสิ่งใด ถ้ามันไม่ได้ก็ให้มันกลบไปด้วยดิน ด้วยน้ำ มันเปลี่ยนแปลง มันใช้กำลังพิจารณาของมันบ่อยๆ ครั้ง

ความเห็นคือปัญญา ความเห็นในเจโตวิมุตติเป็นปัญญา แต่ถ้ามันพิจารณาโดยปัญญาวิมุตติ ปัญญาคือสัจธรรม นี่ธรรมารมณ์ ธรรมกับอารมณ์ความรู้สึกที่จิตมันมีฐานขึ้นมา มันเป็นธรรม เป็นธรรมขึ้นมามันแยกแยะในอะไร? แยกแยะในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม มันแยกแยะของมัน นี่สิ่งที่การกระทำอย่างนี้ นี่ทำให้มันเห็นถูก

ความเห็นผิดของจิต ความเห็นผิดของฐีติจิต ความเห็นผิดของมารที่มันครอบงำ เพราะมีมารครอบงำมันถึงเห็นผิด เห็นผิดแม้แต่การทำสมาธินะ การทำสมาธิ เห็นไหม สัจธรรมมันว่าง สมาธิก็ไม่ยอมรับว่าเป็นสมาธิ พอมันว่างขึ้นมานี่ สิ่งที่ว่างคือผลของธรรม ถ้ามันไม่บอกว่าความว่างนี้เป็นนิพพานล่ะ ถ้าเป็นผลของธรรมมันก็ต้องเป็นมรรคผลนิพพานสิ

นี่มันบอกว่า “เป็นความว่าง แล้วบอกมรรคผลนิพพานมันเป็นสิ่งที่สุดวิสัยที่ทำกันได้”

นี่มันขัดแย้งกันไปหมดเลย สัจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐนะ ประเสริฐมากๆ ถ้าไม่ประเสริฐจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ได้อย่างไร รื้อสัตว์ขนสัตว์นะ สัตตะผู้ข้อง รื้อสัตว์คือรื้อหัวใจ ไม่ใช่สัตว์มนุษย์ สัตว์ต่างๆ สัตว์คือหัวใจ สัตตะผู้ข้อง รื้อสัตว์ตรงนี้ไง สัตว์ตรงความข้องใจ ใจที่มันข้อง ใจที่มันเวียนตายเวียนเกิด รื้อสัตว์ขนสัตว์ที่นี่ ถ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์ที่นี่ จะเอาอะไรไปรื้อมัน

มันก็ต้องเอาจิตแก้จิต เอาสัจธรรมความจริงอันนั้นแก้เข้าไป เห็นไหม ย้อนกลับขึ้นมา ย้อนกลับเข้าไปในหัวใจแล้วมันรื้อค้น รื้อค้นในงานการกระทำ นี่ภาคปฏิบัติเขามีการกระทำนะ สิ่งที่การกระทำ การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม การภาวนา การถือต่างๆ นี่ มันถึงเป็นกำลัง เป็นกำลังนะ

ดูสิ ระหว่างกองทัพกิเลสกับกองทัพธรรมต่อสู้กัน กองทัพกิเลสไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย มันจะเกิดตลอดเวลา ดูสิ ตัณหาความทะยานอยากใครไม่มี สิ่งที่ความปรารถนาของใจมีไหม? มันมีทั้งนั้นน่ะ แล้วลองสุมไฟเข้าไปสิ ลองคิดตามไปสิ โลกแตก นี่กองทัพกิเลสมันมีโดยธรรมชาติของมัน

แล้วกองทัพธรรมล่ะ กองทัพธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรม สติธรรม นี่สิ่งต่างๆ ต้องฝึก ต้องฝน ต้องสร้างกองทัพ แล้วเวลามันต่อสู้นะ ระหว่างวิปัสสนามันใช้ปัญญาต่อสู้กัน มันต่อสู้กันนี่เดี๋ยวมันแพ้ เดี๋ยวธรรมะแพ้ เดี๋ยวกิเลสแพ้ ต่อสู้กัน การต่อสู้ พอเห็นการต่อสู้ เราเห็นการกระทำแล้วมันเป็นประโยชน์กับเราใช่ไหม เราถึงมีกำลังใจที่จะอดนอน ที่จะผ่อนอาหาร

การที่คนที่ภาวนาเป็น คำว่า “ภาวนาเป็น” มันมีหลักมีเกณฑ์ในใจ พอมีหลักมีเกณฑ์ การกระทำอันนั้นมันจะอุกฤษฏ์ แล้วคนที่ภาวนาไม่เป็นพอเห็นเข้าก็ตกใจ “ทำไมทำขนาดนั้น ทำไมทำได้ขนาดนี้” นั่นน่ะเขามีงานของเขานะ มีงานของเขา เพราะเขาเห็นผลประโยชน์ของเขา เหมือนเราทุกข์ร้อนมานี่ เราได้ดื่มกินน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ เรามีความชุ่มชื่นในหัวใจ เราจะฝังใจไหม คนที่เขาทุกข์เขาร้อนอยู่นะ แล้วเขาไม่เคยดื่มน้ำ เขาไม่มีน้ำดื่มกินเพื่อความชุ่มชื่นของเขาเลย เขาทุกข์อยู่อย่างนั้น แล้วเขาเร่าร้อนอยู่อย่างนั้นตลอดไป โลกอยู่อย่างนั้นไง

แล้วก็นี่ไง “ถ้ามันปลดทุกข์ในใจ มาดับทุกข์ในใจเถิด มาปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ในใจ”

มันดับทุกข์ในใจ มันมีอะไรไปดับล่ะ มันมีอะไรไปรับรู้ มันมีอะไรไปสัมผัส

แต่ถ้าเรา การปฏิบัติใช่ไหม เราได้ดื่มได้กินขึ้นมา มันแค่มีสมาธินะ ถ้าทำสมาธิบ่อยๆ สมาธิแล้ววิปัสสนาขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป นี่มันจะว่างมาก จนเข้าใจว่าสมาธินี้เป็นนิพพานได้ แต่ถ้ามันมีสติ เรามีสติแล้วเรามีความใคร่ครวญของเรา มรรค ๔ ผล ๔ โสดาบันมันเป็นอย่างไร เป็นโสดาบันเพราะเหตุใด

เราพิจารณากายขนาดไหน เวลาพิจารณากาย เวลามันปล่อย ปล่อยแล้วมันรวมลงขนาดไหน ถ้ามันปล่อยแล้ว ว่างขนาดไหน มันมีความสุขขนาดไหน มันยังไม่เป็นโสดาบัน มันเป็นตทังคปหาน การพิจารณา การปล่อยกายชั่วคราว การปล่อยออกชั่วคราว ใจสงบแล้วมันพิจารณากาย มันจะว่างหมดมันสุขหมด สุขขนาดไหน พอเดี๋ยวมันก็มีหลัก มีภวาสวะ มีภพ คือมีจุดยืนไง คือมีสถานที่ที่กรรมฐาน จิตที่มันปล่อยวางมา

ถ้าเป็นสมาธินะ เวลาจิตทำสมาธิขึ้นมา จิตมันเป็นสมาธิ มีสติ แล้วเราออกไปทำงานสิ่งใดก็ได้ แต่ขณะที่เราใช้สมาธิแล้วออกวิปัสสนาแล้วนี่ วิปัสสนาแก้ไขขนาดไหน มันปล่อยวางขนาดไหน ถึงที่อยู่แล้วมันมีฐานของจิต ตัวนี้ ถ้ามันยังมีสิ่งที่จับต้องได้อยู่ ยังมีการกระทำอยู่ นี่ไง มันปล่อยวางชั่วคราว พอปล่อยวางแล้วมันก็เวิ้งว้างนะ เพราะการปล่อยวางโดยปัญญา

การทำสมาธินี่มันมีสติสัมปชัญญะ มีสติ มีการใช้คำบริกรรม หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิให้จิตสงบเข้ามา สงบเข้ามาจนถึงฐานที่ตั้ง มันก็มีความสุข มีความสงบอันหนึ่ง ขณะที่เราใช้ปัญญาใคร่ครวญ ใคร่ครวญในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม การใคร่ครวญคือการถอดถอน คือการฝึกฝน การสิ่งที่ว่ามารครอบงำ ความสกปรกของใจมันครอบงำ สิ่งที่ครอบงำเป็นอวิชชาครอบงำใจไว้ การใช้วิปัสสนาขนาดไหนมันก็มีสิ่งนี้ร่วมเข้ามา มรรคะถึงไม่สามัคคี มรรคถึงไม่สะอาดบริสุทธิ์

เราพิจารณาบ่อยครั้งเข้ามันก็ปล่อย ปล่อย แต่มันยังไม่ถึงที่สุด มันยังมีส่วนเหลืออยู่ ปล่อยแล้วปล่อยเล่า เราถึงต้องหมั่นการกระทำ ขณะที่ปล่อยขึ้นมามันก็มีความสุข มีความปล่อยเวิ้งว้างขนาดไหน เวิ้งว้าง ทำไปเพราะมันยังไม่มีคำตอบ ถ้ามันมีคำตอบขึ้นมา กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์นี่ คำตอบที่มันเป็นขึ้นมา ถ้าคำตอบขึ้นมานี่ สังโยชน์ขาดเด็ดขาด สักกายทิฏฐิ

นี่ไง ที่ว่าความเห็นผิดนี่ เราเกิดมาโดยความจริง ความเห็นโดยปุถุชนนี่ ร่างกายเป็นเราไหม สรรพสิ่งเป็นเราไหม ของในร่างกายเป็นของเราหรือเปล่า? เป็น เป็นนะ ถ้าไม่เป็นลองสิ ใครไปทำร้ายกัน เป็นคดีอาญานะ สิทธิของเรามันเป็นของเรา ร่างกายนี่เป็นของเราโดยสมมุติ โดยกฎหมายรับรอง แต่ธรรมะไม่รับรอง ถ้าธรรมะไม่รับรองแล้วก็ไม่ได้อะไรด้วย ถ้าธรรมะไม่รับรอง แล้วไม่ถึงสัจธรรม ไม่ถึงมรรคผล ไม่ถึงมรรคผล “ดับทุกข์ในใจ ดับทุกข์ในใจ” ไม่มีประโยชน์

มันต้องถึงมรรคถึงผล ถึงมรรคถึงผล ถึงสัจธรรม ถึงสัจธรรม มรรคผลมันมี นี่แล้วทำขึ้นไปโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ต้องมี ทำจริงต้องได้จริง

ถ้ามันมีสัจจะความจริงขึ้นมา จิตมันทำได้ มันถึงความจริงได้ มันพัฒนาของมันขึ้นไปได้ ทำของมันขึ้นมาได้ สิ่งที่มีอยู่แล้วใครจะคัดค้านอย่างไรนั่นมันเรื่องของเขาแล้ว สิ่งที่อย่างนี้เราเกิดขึ้นมานะ ด้วยสติสัมปชัญญะ นี่สติ สติปัญญา แล้วใคร่ครวญต่อไปมันจะละเอียดเป็นสติขึ้นมา มันจะเป็นสติปัญญาอยู่ ถ้าพิจารณากายเข้าไป พิจารณากายเข้าไป สิ่งที่พิจารณากายซ้ำเข้าไป กายในกาย กายนอก กายใน กายในกายนี่ เขาว่ามันเป็นโวหารของกรรมฐานนะ

“ถ้าเป็นปริยัติ กายก็คือกาย ภูตรูป มหาภูตรูป แล้วมันจะมีกายนอกกายในของมันได้อย่างไร”

เพราะไม่เคยเห็น ไม่เคยรับรู้ไง ไม่มีการกระทำไง

นี่ไง เด็ก เด็กมันเลี้ยงไม่โต เด็กใจแตก เด็กที่พ่อแม่เลี้ยงแล้วนะ ไม่เติบโตขึ้นมา เพราะหัวใจนั้นไม่มีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา ในเมื่อหัวใจไม่มีหลักมีเกณฑ์ เด็กทำงานไม่เป็น ใจเรามันไม่โต ไม่เป็นผู้ใหญ่ ทำงานไม่เป็น ใจเด็กๆ นะ มันจะเกิดเวียนตายเวียนเกิดไปในวัฏฏะ สิ่งที่วัฏฏะมีอย่างไรมันก็จะไปกับวัฏฏะอย่างนั้น เพราะมันอาศัยเขา เพราะมันไม่เป็นอิสระ เพราะมันทำงานไม่ได้

แต่ถ้าเราทำของเราไปในภาคปฏิบัติ เราต้องทำของเรา เราต้องพยายามทำของเรา แล้วสร้างผลของเราขึ้นมา จิตให้มันสงบเข้ามา แล้วเวลาออกปัญญาขึ้นมา ออกปัญญา แล้วเราจะกราบจะไหว้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยหัวใจ เพราะเวลาปฏิบัติขึ้นไป ถ้าแค่จิตมันสงบ เราก็เห็นสมาธิธรรม สิ่งที่จิตเห็นสมาธิธรรม เวลาใช้ปัญญาขึ้นไป ใคร่ครวญขึ้นไปถ้ามันยังไม่ขาด มันยังไม่ขาด มันยังไม่ปล่อย ไม่ถึงที่สุดของมัน มันก็เป็นการใช้ปัญญา ฝึกฝนใช้ปัญญา

แต่ถ้าคนที่สติอ่อน อำนาจวาสนาบารมียังไม่แก่กล้า มันก็จะเข้าใจผิดว่าสิ่งนี้เป็นธรรม พอเข้าใจผิดนี่ คำว่า “หลง” พอหลงปั๊บ มันไม่บำรุงรักษา พอไม่บำรุงรักษา มาร มารในหัวใจเรานี่มันคอยท่าตลอดเวลา ถ้าไม่รักษาปั๊บ มันจะใส่ปัญหา ใส่สิ่งต่างๆ ขึ้นมาให้ใจมันขุ่นมัว ใจจะขุ่นมัวไปหมด แล้วจับต้นชนปลายไม่ถูก

เพราะมันเหมือนกับเด็กใจแตกนั่นล่ะ เหมือนกับเวลาธรรมเลี้ยงไม่โต มีธรรมอยู่ แต่เลี้ยงให้มันโตขึ้นมาไม่ได้ การเลี้ยงธรรมให้โตขึ้นมา ดูสิ สติ มหาสติ สติอัตโนมัติ นี่เราต้องหมั่นกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดู เราถึงเวลาประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์นะ ท่านจะไปองค์เดียว ท่านจะถนอมรักษาใจของท่านมาก ข้อวัตรปฏิบัติเป็นการแสดงออก การแสดงออกให้ใจมีเครื่องอยู่ ใจของเราบางทีมันดี ดีในแง่หนึ่ง มันก็ไปเสียอีกแง่หนึ่ง มันจะดีอีกแง่หนึ่ง มันจะปล่อยวางอีกแง่หนึ่ง เราถึงต้อง...ในทางโลกเขามีศีล ศีลเป็นการตรวจสอบว่าเราคิดถูก คิดผิด

นี่ก็เหมือนกัน ข้อวัตรปฏิบัติมันควบคุมใจไว้ มันเป็นการที่ว่า เครื่องอยู่ให้ใจได้พัก ให้ใจได้อยู่อาศัย ขนาดไปคนเดียวนะก็ทำข้อวัตร สิ่งต่างๆ ที่เราทำอยู่นี่ เราต้องมีสติเพื่อฝึกใจนี้ไว้ ถนอมรักษามัน แล้วเวลามันพัฒนาขึ้นมา สิ่งที่พัฒนามันถึงที่สุดของมัน มันปล่อยขาดไปเป็นโสดาบัน สิ่งนี้เป็นความจริงนะ เป็นความจริงกับใจ เพราะโสดาบันเกิดอีก ๗ ชาติ นางวิสาขาเกิดอีก ๗ ชาติ ยังเกิดยังตายเวียนอีก ๗ ชาติเท่านั้น

แต่ถ้าเป็นปุถุชนนะ มันไม่ใช่ ๗ ชาติ มันไม่มีต้นมันไม่มีปลาย ไม่มีเงื่อนไข ทำดีก็ไปเกิดดี ทำชั่วก็ไปเกิดชั่ว เกิดชั่วแล้วเกิดชั่วซ้ำซ้อนเข้าไปล่ะ พอเกิดดีขึ้นมา มันหมดอายุก็ต้องกลับมาเกิดใหม่ กลับมาเกิดวนอยู่อย่างนั้น เราจะปฏิเสธหรือไม่ปฏิเสธ นั่นมันเป็นคำพูด มันปฏิเสธหรือไม่ปฏิเสธมันตรงกับจริต ตรงกับนิสัย มันเป็นการสะสม มันเป็นการพัฒนาใจ นี่สิ่งที่ทำทางโลก

สิ่งที่ทำทางธรรม ถ้าทำทางธรรมขึ้นมา มันต้องย้อนกลับ ทวนกระแสตลอด คำว่า “ทวนกระแส” นี่ เราก็คิดว่าทวนกระแสน้ำขึ้นไป ทวนกระแสน้ำนี้มันเป็นบุคลาธิษฐาน ทวนกระแสใจ ถ้ามันสงบ มันสงบอย่างไร ขณะที่มันปล่อยวาง เราทำจิตให้มีฐานขึ้นมา แล้วออกไปรู้ ออกไปวิปัสสนาในกาย ถ้าพิจารณากายนะ กาย พอพิจารณาอย่างนี้ปั๊บ ถ้าถึงที่สุดของมัน โลกมันจะราบเป็นหน้ากลอง มันจะแยกเลย จิตจะรวมใหญ่ กายกับจิตมันจะแยกออกจากกันโดยธรรมชาติ

ถ้ากายกับจิตแยกออกโดยธรรมชาติ มันจะแยกออกอย่างไร ไม่มีการกระทำจะแยกได้อย่างไร นี่มันแยกออกโดยสัจธรรมเลย ว่างหมดนะ เราเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นนิพพานได้เหมือนกัน เพราะผลมันลึกล้ำมาก ผลที่มีความสุขที่มันว่าง มีความสุข โอ๋ย! สุขมหาศาลเลย

เพราะมันมีความสุขใช่ไหม ในเมื่อมีความสุขก็ยังมีตัวใจ ทีนี้มีตัวใจๆ สุขขนาดไหน สิ่งกิเลสที่มัน...ถ้ามีสติสัมปชัญญะควบคุม มันจะหลง หลงคือไม่รู้ ก็เข้าใจว่าคือนิพพาน พอคือนิพพาน สิ่งที่มีสติ ที่เราเป็นธรรมมา มันจะรักษาสิ่งนี้ไว้ รักษาสภาวะนี้ไว้เพราะมันอกุปปธรรมใช่ไหม พระโสดาบันก็เป็นอกุปปธรรม คือพระโสดาบัน ฐานของพระโสดาบันจะรองรับไว้

ฐานของพระสกิทามี เพราะกายกับจิตมันแยกออกจากกันโดยธรรมชาติ ฐานนี้มันจะรองรับไว้ พอรองรับไว้ ผลของมันก็เหมือน ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ไม่ครบ ๑๐๐ ถ้านิพพานคือ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นี่ได้มาโสดาบัน สกิทาคามีก็ได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ฐานที่ ๕๐ นี่รับไว้ นิพพานของเราก็คือนิพพานแค่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ที่เราเข้าใจว่าเป็นนิพพาน แต่มันไม่เป็นนิพพานเพราะอะไร เพราะมันยังไม่ทำลายกามราคะ ๗๕ เปอร์เซ็นต์มันถึงต้องทำลายกามราคะ สิ่งที่ทำลายกามราคะ มันก็ไม่กลับมาเกิดในกามภพ นี่ถ้ามันยังเป็น ๕๐ เปอร์เซ็นต์มันยังเกิดเป็นเทวดาอยู่นะ ถ้าตายไปเป็นเทวดา เทวดาอริยบุคคล แต่ถ้ามนุษย์ที่ทำคุณงามความดีไปเกิดเป็นเทวดาก็เป็นเทวดาปุถุชน นี่มันต่างกันตรงนั้น ต่างกันตรงคุณภาพของจิต

ถ้าเรามีครูบาอาจารย์หรือเราตรวจสอบของเรานะ มันจะย้อนกลับขึ้นไป ย้อนกลับขึ้นไป ไปที่ไหน? ก็ไปที่จิต ไปที่สมถะ ไปที่กรรมฐาน ฐีติจิต จิตมันเป็นเปลือก เหมือนกับส้มที่มันปอกเปลือกเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป นี่สิ่งที่หยาบ ละเอียด ขิปปาภิญญาออกทีเดียวหมด แต่ถ้าเป็นเวไนยสัตว์ มรรค ๔ ผล ๔ ปอกเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป การปอก ขณะที่ปอก ขณะที่ทำ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ขณะที่ทำ แต่คุณภาพผลของมัน ถ้าเราครบวงจรนะ

ในการประพฤติปฏิบัติถ้าเราไม่มีครูบาอาจารย์ เราจะแยกแยะสิ่งนี้ไม่ถูก เราฟังแล้วเรากำหนดไม่ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ครบวงจรไง สิ่งที่ครบวงจร เรารู้ตั้งแต่หลักพื้นฐานถึงที่สุด เราจะแยกแยะ เราจะบอกขั้นตอนวิธีการได้ถูกต้อง แต่ถ้าเรารู้เฉพาะสิ่งที่เราปอกเปลือกชั้นแรกได้ เราก็จะรู้วิธีการปอกเปลือกชั้นแรกที่ถูกต้อง แต่ชั้นต่อไปเราก็โมเมไง เราก็คาดหมายไง ปฏิบัติธรรมโดยความด้นเดา มันจะเข้าถึงสัจจะความจริงไม่ได้

การประพฤติปฏิบัติเข้าสู่สัจจะความจริงไม่ได้ แต่ถ้ามีประพฤติปฏิบัติอยู่ มันจะมีการผิดพลาด มันจะมีความใกล้เคียง มีการที่จะเข้าไปจุดความสำคัญ นี่ไง สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติที่มันมีปัญหา ปัญหาตรงนี้ ปัญหาถ้าเราคนทำงาน คนพยายามทำงานอยู่ พยายามแก้ไขอยู่ มันก็มีความผิดพลาดบ้าง มีครูมีอาจารย์ เราก็จะรีบกลับเข้าไปหาครูบาอาจารย์ให้ท่านแก้ให้ มีธรรมะ มีสิ่งต่างๆ ในพระไตรปิฎก เราก็รื้อค้นเปรียบเทียบ เราจะเปรียบเทียบ นี่ไง เห็นไหม ธรรมะเลี้ยงแล้วโต

ถ้าธรรมะเลี้ยงไม่โตนะ เลี้ยงไม่โตมันจะเป็นลูกแหง่ แล้วมันจะอ้างอิงธรรมะ แล้วมันจะขัดขวาง ดูสิ ดูในครอบครัวครอบครัวหนึ่ง ถ้ามันมีลูกหลายคน ลูกที่เราเลี้ยงแล้วโต เลี้ยงแล้วเป็นคนดีขึ้นมา กับลูกที่มันเกเร มันก็จะยังขัดขวางลูกที่ดีของเรานี่ เพราะมันอิจฉาตาร้อน นี่ก็เหมือนกัน ในหมู่สงฆ์ ในหมู่การประพฤติปฏิบัติ ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเข้าไปถึงสัจจะความจริง มรรคผลนิพพานมันมี การที่มันผิดพลาด มันก็ผิดพลาดด้วยอำนาจวาสนา ผิดพลาดด้วยกรรม ผิดพลาดด้วยการกระทำ ผิดพลาดขนาดไหนเราก็ต้องแก้ไข

เพราะที่เราประพฤติปฏิบัติกันอยู่นี่คือเราแก้ไข เราชำระกิเลส การชำระกิเลส แก่นของกิเลส การเกิดและการตาย ในเมื่อเราต้องลงทุนลงแรงในการกระทำขนาดนี้แล้ว สิ่งที่มันผิดพลาดนั้นมันจะไปแยแสทำไม การเกิดการตายมันผิดมาทั้งตัวอยู่แล้ว

เกิดมานี่เกิดมาจากไหน เกิดมาทำไม แล้วเกิดมานี่อมทุกข์ไหม หน้าชื่นตาบานแต่หัวใจเศร้าหมอง หัวใจเศร้าหมอง หัวใจอมทุกข์อยู่นี่มันพอใจหรือยัง เกิดมาอย่างนี้มันก็เป็นผิดพลาดอยู่แล้ว แล้วเวลาเอาความจริงขึ้นมา มีสัจธรรม มีความจริง มีกาลเวลาของครูบาอาจารย์ที่มีอยู่ มีผู้ชี้นำเราอยู่ สัจธรรม เห็นไหม ดูสิ กึ่งพุทธกาลศาสนามีอยู่ แล้วเรามีโอกาสได้ประพฤติปฏิบัติ มันจะกลัวผิดพลาดไปไหน มันจะกลัวผิดพลาดไปทำไม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย มันผิดพลาดไหม ท่านลงทุนลงแรงมาขนาดไหน

แล้วเรานี่ เราจะลงทุนลงแรงมาขนาดไหน แล้วเราไม่มีอำนาจวาสนาหรือ เราถึงมาพบพระพุทธศาสนา พบถึงสิ่งที่กึ่งพุทธศาสนาที่ครูบาอาจารย์ของเราที่รื้อค้นมา รื้อค้นขึ้นมาให้เราตรวจสอบพิสูจน์ นี่มันต่อมาหลายชั่วคนแล้วนะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์เป็นชั่วคนชั่วคน มาหลายชั่วคนแล้ว แล้วสิ่งนี้ยังพิสูจน์ตรวจสอบได้ ยังมีชีวิตอยู่ ครูบาอาจารย์เรายังมีชีวิตอยู่ที่จะสืบค้นได้ สืบค้นว่าสิ่งนี้หลวงปู่มั่นพูดจริงหรือเปล่า สิ่งที่ทำมานี่มันเป็นสัจจะความจริงหรือไม่จริง แล้วพิสูจน์กันด้วยสัจธรรมในหัวใจก่อน

สิ่งที่ถึงที่สุดแล้วเวลาท่านนิพพานไป ดูสิ เวลาท่านประชุมเพลิงขึ้นมาเป็นพระธาตุหมด พระธาตุหมด นี่มันยืนยัน อย่างนี้เรายังไม่มีกำลังใจอีกเหรอ อย่างนี้เรายังไม่มีกำลังที่จะต่อสู้อีกใช่ไหม

ถ้ามีกำลังใจต่อสู้ มันก็ว่าไม่มีคุณค่า ใจเรานี้อ่อนแอมาก ถ้าใจเรามีคุณค่าขึ้นมา เราก็ต้องมีจุดยืนของเราขึ้นมา ต่อสู้ขึ้นมา นี่มันจะละเอียดเข้าไปเป็นชั้นๆ นะ สิ่งที่ว่า ๕๐ เปอร์เซ็นต์เพราะมันหลง มันไม่เข้าใจ มันก็ว่านิพพาน แต่นิพพาน ถ้ามีครูบาอาจารย์ของเราคอยชี้นำ แล้วเราค้นคว้าของเราขึ้นมา มันจะย้อนกลับ ทวนกระแสกลับเข้าไปที่ใจ นี่ไง กายนอก กายใน กายในกายไง นี่ไงที่ว่า ขันธ์ ๕ ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด แล้วขันธ์อย่างละเอียดขึ้นมา มันก็เป็นตัวกามราคะ เป็นตัวข้อมูล กายนอก กายใน กายในกาย ตัวเป็นกายในกายเพราะอะไร เพราะเป็นอสุภะ สิ่งที่พิจารณาอสุภะนะ นี่ว่า พิจารณาอสุภะ

การพิจารณาโสดาบัน พิจารณากาย การพิจารณาอสุภะเป็นสักกายทิฏฐิให้มันเป็นไตรลักษณ์ สิ่งที่เป็นพิจารณากาย เป็นสักกายทิฏฐิให้มันเป็นไตรลักษณ์ ความเป็นไตรลักษณ์คือมันแปรสภาพ พิจารณากายซ้ำเข้าไป มันคืนสู่สภาพเดิม พิจารณากายอีกซ้ำเข้าไปมันจะเป็นอสุภะ เป็นอสุภะนะ อสุภะเพราะอะไร อสุภะเพราะมันเป็นมหาสติ มหาปัญญา คำว่า “อสุภะ” มันจะไปลบล้าง ลบล้างสักกายทิฏฐิ คือความเห็นผิดเรื่องกาย มีอุปาทานปักเสียบในใจ มันถึงว่าธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เป็นเรา

ถ้ามันถอนออกมา เราพิจารณาเป็นโสดาบัน มันละสักกายทิฏฐิ ละความเห็นผิด เป็นสัจธรรม ความเห็นของโลก ความเห็นของบุญกุศล ความเห็นของการเกิดมาเป็นภพ นี่ถูก ถูกโดยมนุษย์สมบัติ แต่ขณะที่เราพิจารณาไปโดยสัจธรรม มันเป็นทิฏฐิที่เห็นผิด พอพิจารณา ผิดนี่ถอนตรงนี้ปั๊บเป็นโสดาบัน

พิจารณาซ้ำเข้าไป พอพิจารณาซ้ำเข้าไป ส่วนหนึ่งมันพิจารณากาย กายแปรสภาพสู่สภาวะเป็นธาตุ ๔ เวลาพิจารณาไปมันจะสู่สภาพเดิม มันจะเป็นดิน เป็นน้ำ มันจะระเหยออกไปจนไม่มีสิ่งใด พรึ่บๆ หายหมดเลย นี่ไง ว่างหมด กายกับจิตแยกออกจากกัน ถอนอุปาทานของจิต ถอนอุปาทานของจิตออกไป กามราคะปฏิฆะอ่อนลง นี่กายนอก กายใน กายในกาย กายในกายมันเป็นกายในกายเพราะอะไร เพราะมันเป็นข้อมูลสิ่งที่ฝังใจ ฝังใจนะ

จิตนี้ไม่มีเพศ จิตนี้ไม่มีหญิงไม่มีชาย มรรคผลไม่มีหญิงไม่มีชาย แต่ขณะที่ข้อมูลของใจปฏิฆะ ข้อมูลปฏิฆะ กามราคะนี่ สิ่งที่มันเสียบฝังอยู่ที่ใจ พิจารณาเข้าไปถึงข้อมูลอันนี้ ถ้าข้อมูลอันนี้มันถึงเป็นอสุภะ อสุภะเพราะอะไร เพราะสัจธรรม เพราะเป็นมหาสติมันถึงเป็นอสุภะ แต่ข้อมูลมันเป็นสุภะไง สิ่งที่ฝังใจคือความพอใจ สิ่งที่ฝังใจอยู่นี่ ข้อมูลนี้ มันอยู่ในข้อมูลนี้ ถ้าถึงตามข้อมูลอันนี้ปั๊บมันจะเกิด เพราะตัวมันเองเป็นกามฉัน คือข้อมูลที่มันเป็นโปรแกรมส่วนข้อมูลอยู่แล้ว ถ้าเข้าไปถึงจุดนั้นปั๊บ มันจะออกทันทีเลย พอออกมาทันทีขึ้นมานี่มันเป็นอะไร

เพราะมันต้องการความสวยความงาม ความพอใจของมันใช่ไหม นี่คือสุภะ นี่คือกิเลส

“อสุภะ” อสุภะนี่เพราะอะไร? เพราะเป็นข้อมูลของธรรม เพราะจิตนี้เป็นมหาสติ มหาปัญญา ถ้าไม่เป็นมหาสติ มหาปัญญา มันจะจับอสุภะไม่ได้ การจะจับอสุภะมันต้องเป็นมหาสติ มหาปัญญา การที่เป็นมหาสติ มหาปัญญา มันจับได้แล้วมันใคร่ครวญ ใคร่ครวญเพราะอะไร ถ้าจับได้แล้วนี่มันเยิ้ม มันขนาดไหน มันจะเป็นอสุภะที่น่าสะอิดสะเอียนขนาดไหน สิ่งที่มันฝังอยู่ในหัวใจ มันเป็นอสุภะเพราะมันมีสมาธินะ มันมีปัญญานะ มันถึงเป็นอสุภะ

ถ้ามันไม่มีปัญญามันจะเป็นอสุภะไปได้อย่างไร มันเป็นความพอใจ มันเป็นสิ่งที่เป็นแรงปรารถนาของจิตนะ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ต้องมีความชำนาญ มันจะละเอียดเข้าไปบ่อยครั้งเข้า คำว่า “ละเอียด” คือทำแล้วมันจะปล่อยได้รวดเร็วขึ้น ถ้ากำลังไม่พอนะ เราจับแล้วเรานั่งพิจารณาของเราไปนี่ มันจะมีปัญหาโต้แย้ง มันจะมีความไม่สมดุล ความเป็นไปมันไม่เป็นไป มันก็ต้องยื้อต้อง...โอ้โฮ! เหนื่อยมาก

ถ้ามันไม่ได้ก็ปล่อย กลับมาที่พุทโธก่อน กลับมาที่ทำให้จิตสงบ แต่พอมีกำลังขึ้นไปนี่ ถ้ากำลังมันดีพิจารณาไปมันจะปล่อยพั๊บๆๆๆ ละเอียดเข้ามาเรื่อยๆ ละเอียดเข้ามาเรื่อยๆ ชำนาญการเข้ามาเรื่อยๆ จนถึงจิต ไปครืน! กันที่จิตนะ นี่ข้อมูลไง ทำลายข้อมูล กายนอก กายใน กายในกาย พอกายในกายทำลายกายในกายหมดแล้ว ทำหมดเลย พิจารณาซ้ำๆ เศษส่วนที่เหลือคือข้อมูลเก็บตก นี่อนาคามี ๕ ชั้น ถึงที่สุดแล้วว่างหมดเลย กายนอก กายใน กายในกาย แล้วตัวจิตล่ะ ตัวจิตเราจะเปรียบเทียบเป็นอะไรล่ะ ตัวจิตถ้าจิตมันกลับเข้าไปจับต้อง

นี่ธรรมะเลี้ยงแล้วโต เราเลี้ยง เราบำรุงรักษา มันโตขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี ถึงที่สุดนะ เราจะทำลายถึงที่สุด ถึงที่สุดถ้ามันย้อนกลับมา ถ้ามันย้อนกลับเข้ามาได้ จิตเดิมแท้มันผ่องใส มันผ่องใส มันสว่างไสว เหมือนพลังงานที่มันจะย้อนกลับไม่ได้เลย

ธรรมชาติของพลังงานที่ส่งออก คือธรรมชาติของมัน อรหัตตมรรคนะ มันจะย้อนกลับเข้ามาจับตัวนี้ได้ ถ้าจับตัวนี้ได้ สิ่งที่เลี้ยงโตขึ้นมาแล้วมันเป็นผู้มีอิทธิพล เจ้าวัฏจักร เราจะต้องพลิกฟ้าคว่ำดิน พลิกฟ้าคว่ำดินในภพนะ ภวาสวะ กายนอก กายใน กายในกาย มันตั้งอยู่บนนี้ ตั้งอยู่บนจิตเดิมแท้ที่ผ่องใส จิตเดิมแท้เป็นผู้หมองไปด้วยกิเลส

จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส คำว่า “จิตเดิมแท้” แล้วตัวจิตเดิมแท้ คำว่าจิตเดิมแท้กับตัวจิตมันทำงานกันอย่างไร ถึงจะทำให้ถึงที่สุด มันจะเติบโตขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอน การกระทำขึ้นมานะ นี่มรรคผลมันจะมีมาเป็นระดับให้เราเข้าใจมันตลอด จนถึงที่สุดนะ เราย้อนกลับ สิ่งที่ย้อนกลับเป็นสติอัตโนมัติ แล้วจิตใจนะ มันจะมองสภาพข้างนอกนี่เห็นเป็นสิ่งที่มันไม่น่ารื่นรมย์เลย มันอยากจะอยู่ของมันอยู่ภายใน ถ้ามันอยากจะอยู่ของมันอยู่ภายใน มันย้อนกลับเข้ามาอยู่ภายใน เราถึงต้องหาที่สงัด หาที่วิเวก หาที่การกระทำ

นี่ไง นักปฏิบัติเรานี่ถ้าเราเห็นผู้ที่เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ด้วยความขะมักเขม้น ด้วยความตั้งใจของเขา เราควรจะสาธุการนะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเขามีงานข้างในหรือไม่มีงานข้างใน ถ้าเขามีงานข้างใน งานอันนี้เขาไม่ต้องการให้ใครไปกระทบกระเทือนของเขา เขาต้องการให้งานของเขาสืบต่อต่อเนื่องตลอดไป ถ้าต่อเนื่องตลอดไป มันเป็นผลงานที่แสวงหาได้ยาก ที่ทำได้ยาก การทำนี่ ดูสิ ขณะทำได้ยาก ทำสมาธิ ทำปัญญาแต่ละชั้นแต่ละตอนมันก็ยาก

นี่สมาธิก็ยังไม่เชื่อสมาธิเลย แล้วปัญญาที่เกิดขึ้น ถ้ามันเป็นปัญญาที่เขาคุยกันน่ะ ที่ว่า “การดับทุกข์ในใจเถิด ไม่ต้องมรรคผลนิพพาน”

มันเป็นความคิดจากอวิชชา มันเป็นความคิดจากภพ

ขณะที่เราเข้ามาถึงตัวจิตเดิมแท้ที่ผ่องใสนี่ เรากำลังจะทำลายภพนะ ทำลายภพ นี่พรหม ขณะที่สิ้นสุดกระบวนการของมัน สุทัสสา สุทัสสีขึ้นไป อนาคามี ๕ ชั้นนี่ ถ้ามันดับที่นี่ อำนาจวาสนาไม่มี ตายในขณะนี้มันก็ไปเกิดบนพรหม นี่ถ้าทำลายพรหม พรหมอะไรไปเกิดล่ะ? หนึ่งเดียวไปเกิด ของที่เป็นหนึ่งเดียวไปเกิด แล้วถ้าทำลายหนึ่งเดียว ทำลายสิ่งต่างๆ นี่ มันจะละเอียดอ่อนย้อนกลับมาถึงมัน แล้วย้อนกลับมาด้วยญาณ ด้วยสติ ที่เป็นอรหัตตมรรค เข้าไปจับต้อง

แล้ว อุทธัจจะ สิ่งที่เป็นอุทธัจจะมันขยับออก ขยับออกเพราะอะไร เพราะเราชำนาญงานในการกระทำโดยปัญญา เราชำนาญการโดยปัญญาขึ้นมา เราจะคิดว่าเป็นอย่างนั้น จนมีครูบาอาจารย์คอยบอก หรือเราใช้ความละเอียดอ่อนของเรา ถ้ามันละเอียดเข้าไป เครื่องมือที่หยาบจะไปทำงานในที่ละเอียดไม่ได้ งานที่ละเอียดต้องใช้เครื่องมือที่ละเอียด เครื่องมือที่ละเอียด มันเป็นภพเฉยๆ ไม่ใช่ความคิด ไม่ใช่อะไร

นี่ไง ที่ว่าเป็นตัวใจๆ ที่เป็นตัวพลังงานเฉยๆ ตัวพลังงานเฉยๆ เป็นตัวภพนี่ จะทำลายมันอย่างไร นี่ทำลายด้วยเครื่องมือที่เข้าไป ไม่ใช่ความคิด ด้วยการซึมซับ ด้วยการเข้าไปถึงจับต้องได้ แล้วใคร่ครวญ ใคร่ครวญด้วยอรหัตตมรรค ด้วยปัญญาญาณ ถึงที่สุดนะ พลิกฟ้าคว่ำดิน จบกระบวนการของมัน

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นไม้ต้นหนึ่ง ธรรมของสาวก สาวกะเป็นต้นไม้ต้นหนึ่ง พระสารีบุตรบอกว่า “ไม่เชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมีต้นไม้ต้นหนึ่งที่สะอาดบริสุทธิ์เหมือนกับต้นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มีต้นธรรมต้นหนึ่งเป็นศาสดาของเรา

ครูบาอาจารย์ของเราในดวงใจของท่านก็มีต้นธรรมต้นหนึ่ง การที่มีต้นธรรม ต้นธรรมนั้นมันคืออะไร? ต้นธรรมนั้นคือสิ่งที่ได้กระทำมา คือมรรคผลนิพพาน สิ่งที่มีอยู่ไง แต่ถ้ามันเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เป็นสิ่งที่อาศัยอยู่ ถึงว่า “ดับทุกข์ในใจของเราเถิด อย่าได้ไปดับถึงมรรคผลนิพพานเลย”

มันปฏิเสธมรรค ปฏิเสธผล แล้วมันจะทำขึ้นมาให้เป็นมรรคผลนิพพานเป็นไปได้อย่างไร นี่ไง มันถึงเป็นเด็กน้อยที่ธรรมะเลี้ยงไม่เคยโต ธรรมะเลี้ยงไม่ได้ ธรรมะเลี้ยงให้จิตใจโตขึ้นมาไม่ได้ แล้วก็เป็นสังคมที่ใหญ่ด้วย สังคมที่ใหญ่เพราะเป็นเด็กอ่อนหมด สิ่งที่ไม่มีอำนาจวาสนา สิ่งที่เป็นว่าปัญญาชน สิ่งที่การศึกษามา แต่ศึกษามาด้วยสัญญา ศึกษามาด้วยร่มเงาของธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะถึงเลี้ยงไม่โต

ในการประพฤติปฏิบัติของเรานี่ลงทุนลงแรง ในการประพฤติปฏิบัติลงทุนลงแรง นี่มีครูบาอาจารย์ มีศรัทธามีความเชื่อ มีอำนาจวาสนา ครูบาอาจารย์ท่านชี้นำอย่างไร ศึกษาอย่างไร ในการประพฤติปฏิบัติจะกำหนดพุทโธ จะกำหนดปัญญาสมาธิ จะมีการต่อสู้ขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป นี่ไง ในเมื่อเราทำขึ้นไปมันมีเหตุมีผลของมัน

“ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนบอกว่า ถ้าจะดับแต่เหตุต้องกลับไปดับที่เหตุนั้น”

นี่ไง เราก็กระทำของเรา แล้วมันก็มีมรรคมีผลให้เราได้เห็น นี่ไง ธรรมะเลี้ยงโตนะ ธรรมะเลี้ยงผู้ที่ประพฤติปฏิบัติโตขึ้นมาเรื่อยๆ ธรรมที่ในหัวใจมี ในหัวใจเรามีทั้งธรรม ธรรมะคือพุทธะ พุทธะคืออยู่ในหัวใจของเรา พุทธะ ตัวจิต ตัวเกิด ตัวตาย แล้วเกิดเป็นเรามันมีพื้นเพอยู่แล้ว แต่เพราะมันมีอวิชชา มันมีมารครอบงำมาด้วย แล้วถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติ มันก็ไปตามกระแสวัฏฏะ แต่เพราะเราจะประพฤติปฏิบัติตามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราคบบัณฑิต เราคบหมู่คณะที่ประพฤติปฏิบัติที่มีจิตใจที่มีคุณธรรม เราจะไม่เชื่ออะไรโดยกระแส ในกระแสเขาชักนำกันไป กระแสนะ สิ่งที่เป็นสังคม สิ่งที่เป็นการเกื้อหนุนกัน แต่ของเรานี่ เราจะอยู่โคนไม้ เราจะทำอยู่ในความสงัด

เวลาไปวัด วัดคืออะไร? วัดคือวัตรข้อวัตรปฏิบัติ วัตรคือข้อวัตรปฏิบัติ สิ่งที่เป็นเครื่องอาศัยนั้นเป็นอาราม เป็นที่อาศัยชั่วคราว เวลาเราธุดงค์ไป เราเที่ยวไป นี่อยู่ในเรือนว่าง อยู่โคนไม้ อยู่ในสิ่งต่างๆ มันมีความสุขของมันนะ ความสุขถ้าใจมันมีงานทำ มันจะมีความสุข แต่ถ้าใจไม่มีงานทำมันก็วิตกกังวลไปตามประสากิเลส

กิเลสมากก็คิดมาก ทุกข์มาก กิเลสน้อยก็คิดน้อย ทุกข์น้อย การทุกข์มาก ทุกข์น้อย แล้วก็เปรียบเทียบมาภายในใจของเรา ถ้าใจเราเห็นโทษของมัน มันก็จะตั้งสติ มันก็ต้องต่อสู้กับมัน อยู่ที่การกระทำมา อย่าไปคิดน้อยเนื้อต่ำใจ เราจะต้องไม่น้อยเนื้อต่ำใจกับสิ่งต่างๆ เพราะอะไร

เพราะกัมมะพันธุ กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กรรมที่ทำมา ถ้ากรรมไม่ทำมา กรรมไม่ดี เราจะมีความเชื่อมั่นขนาดนี้หรือ เราจะมานั่งสมาธิภาวนาได้ทำขนาดนี้หรือ เขาไม่มองนะ เขามองผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นเศษคน เป็นผู้ที่ไม่มีความสุข เป็นผู้ที่เห็นทุกข์เป็นสัจธรรม ถ้าเขาไม่ได้เข้าใจอะไร

ทุกข์เป็นความจริง เราจะพ้นจากทุกข์

ในการประพฤติปฏิบัติของเราไม่ต้องให้มีใครมาสงสาร ไม่ต้องให้มีการช่วยเหลือ เพราะมันช่วยเหลือไม่ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกเป็นผู้ชี้ทางเท่านั้นนะ เราต่างหากเป็นผู้ที่ค้นคว้า รื้อค้น รื้อค้นจากไหน ศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราเลี้ยงใจขึ้นมา ปลุกปลอบใจขึ้นมา จนมันเติบโตขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา นี่เป็นสมบัติของเรานะ สมบัติจริงๆ ต้นไม้จริงๆ ต้นธรรมจะเกิดกับเรา เลี้ยงเติบโตขึ้นมาจนเป็นสมบัติของเรา เอวัง