จิตเดิมแท้คือกิเลสแท้ๆ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๔๑
ณ วัดป่าสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจนะ วันคืนล่วงไป ล่วงไปน่ะ เกิดมาแล้วตายหมด ตั้งใจเลยล่ะ เวลามีน้อย คนเราประมาทในกาลเวลานะ ถึงเวลาแล้วต้องไปหมด กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างกัน กรรมจำแนกให้เกิดต่างกัน การเกิดเป็นมนุษย์ก็ยังมีความทุกข์กับความสุขต่างกัน แล้วทุกคนที่เกิดมาแล้วมีความเพียรพยายามจะออกจากทุกข์ พบพระพุทธศาสนาแล้วพยายามจะออกจากทุกข์ ก็ยังอยากจะสะดวกสบายไง อยากจะไปทางลัด ติดความสะดวก ติดความสบายกันหมดเลย จนอยากหาทางที่มันจะออกได้ง่าย เลยกลายเป็นบ่วงรัดคอตัวเองไง
มนุษย์เกิดมาแล้ว การเกิดมาของมนุษย์นี้มีจิตเดิมแท้ไง จิตเดิมแท้ คำว่า จิตเดิมแท้ มีลัทธิศาสนาสอนกันว่า คนเรามาจากนิพพาน มาจากนิพพานต้องกลับไปที่นิพพานไง ไปเปิดประตูนิพพานที่หัวใจไง
จิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้นะ จิตเดิมแท้ก็คือกิเลสแท้ๆ
จิตเดิมแท้นะ เราฟังเข้าใจว่า จิตเดิมแท้นี้ประเสริฐนัก จิตเดิมแท้นี้มหัศจรรย์
จิตเดิมแท้นี้คือกิเลสแท้ๆ แต่เราไม่เคยเห็นไง เราเคยเห็นแต่ความทุกข์ปกตินี่ เราไม่เคยเห็นจิตเดิมแท้กันทั้งนั้นน่ะ พอเขาพูดว่า จิตเดิมแท้ถึงได้ตื่นเต้น จิตเดิมแท้คือการเข้าไปเปิดประตูนิพพานเท่านั้นน่ะ ด้วยการอ้อนวอน ด้วยการขอเอา ด้วยการพยายามจะเข้าไปหาตรงนั้นน่ะ เข้าไปหาจิตเดิมแท้ไง...ไม่มีใครเคยเห็น
บอกว่า มนุษย์มาจากนิพพาน มาจากจิตเดิมแท้ มันถูกครึ่งหนึ่ง มาจากจิตเดิมแท้แต่ไม่ใช่มาจากนิพพาน มาจากนิพพานแล้วกลับไปสู่นิพพาน แล้วคนเราเกิดมาทำไม
การเกิดของมนุษย์ไง การเกิดมา ตอนเกิดขึ้นมา จิตปฏิสนธิเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาแล้วถึงไม่รู้จักไง จำอดีตชาติไม่ได้ เราเกิดมาแล้วเราจะรู้แต่ชาติปัจจุบันนี้ พ่อแม่ปัจจุบันนี้ ปู่ย่าตายายปัจจุบันนี้ แล้วก็ทุกข์ในปัจจุบันนี้ไง เกิดจากการสั่งสมไง เกิดจากการสั่งสมการศึกษา เกิดมาแล้วน่ะจิตไร้เดียงสา ต้องฝึกสอนกันให้จำนั่น จำนี่
ความจำน่ะ ความจำ คือสัญญาขันธ์ ความคิด ความปรุง ความแต่ง คือสังขารขันธ์ ความรับรู้สะสมไว้ คือวิญญาณขันธ์ นี่มันเป็นอารมณ์ความรู้สึกของเปลือกไง การเปลือกนี่การศึกษาการสะสมมา การความจำขึ้นมา ศึกษาเล่าเรียนใดๆ ก็แล้วแต่เป็นความจำสะสมเข้ามาในหัวใจ เป็นข้อมูลในหัวใจนี่ เราอยู่ในอารมณ์ในเงาของจิตไง มันถึงไม่ใช่จิตเดิมแท้...เป็นเงาไง เป็นขันธ์ ขันธ์ในอารมณ์นั้นน่ะ นั่นน่ะ มันถึงยังไม่เห็นจิตเดิมแท้
จิตเดิมแท้คือปฏิสนธิจิต การเกิดนะ การเกิดปฏิสนธิในครรภ์มารดา แล้วออกมาแล้วถึงมีมนุษย์สมบัติไง ได้ขันธ์ ๕ มาไง ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เราถึงว่าเราถึงไม่เคยเห็น เพียงแต่พอใครพูดแล้วเราก็ตื่นกัน เราไม่เคยเห็น เราสะสมมาแต่อารมณ์เปลือก อารมณ์ของขันธ์ อารมณ์ของจิตไม่ใช่ตัวจิต ทีนี้ว่า จิตเดิมแท้เป็นกิเลสแท้ๆ ถึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ไง มาเกิดเป็นมนุษย์เพราะว่ามีกรรม เพราะจิตเดิมแท้นั่นปฏิสนธิมาเกิดเป็นมนุษย์ การเกิดและการตาย เกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ภพของมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม การเกิดเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ในวัฏวนนี้
การเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นโอปปาติกะต่างๆ ไม่มีใครเคยเห็นจิตเดิมแท้ เพราะเป็นโอปปาติกะ เกิดเป็นคนแล้ว เกิดเป็นเทวดาแล้ว เวลาตายเป็นเทวดาเกิดเป็นเทวดาเลย เกิดเป็นเทวดาก็มีขันธ์ ๔ ตามตำรา แต่ว่าน่าจะมีขันธ์ ๕ เพราะว่ารูปของเทวดา รูปของเทวดากับรูปของมนุษย์ มนุษย์นี้มีธาตุ ๔ กับขันธ์ ๕ ถึงได้ว่าขันธ์ ๕ มีเป็นรูป รูปร่างกาย แต่เป็นเทวดารูปของจิต รูปของเทวดา ทำไมเทวดาถึงรู้กัน รู้จักกัน เห็นกัน คุยกันได้ สื่อสัมผัสสัมพันธ์กันได้ เพราะเขามีร่างกายของเทวดา ขันธ์ของเทวดา เห็นไหม อันนั้นก็ไม่เห็นจิตเดิมแท้อีกแหละ เพราะว่าอยู่ที่กามภพ วัฏวน กามภพของเทวดา เขาสื่อความหมายกันเทวดาด้วยทิพย์สมบัติ ด้วยสื่อของเทวดานั้น เวลาเขาตายล่ะ เวลาเขาจะตายลง แสงบุญกุศลมันเป็นทิพย์เริ่มหมดลง พอเริ่มหมดลงเขาก็ต้องตายเกิดใหม่ในวัฏฏะนั้น ก็ไม่เห็นจิตเดิมแท้
ไปเกิดบนพรหม บนพรหมเป็นขันธ์ ๑ ได้บุญกุศลเกิดบนพรหม ขันธ์ ๑...ขันธ์ ๑ ก็เป็นพรหม จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส หมองไปด้วยอุปกิเลส อุปกิเลสในจิตเดิมแท้นั้นน่ะ เป็นพรหมนั้นก็เป็นพรหม มีความสุข-ความทุกข์อยู่ในอุปกิเลส ก็คือกิเลสไง นั่นขันธ์ ๑ คือขันธ์ ๑ ขันธ์ของพรหมเวลายาวด้วย ก็ไม่เห็นจิตเดิมแท้ ไม่เห็น
เพราะว่าไม่มีใครเคยเห็นจิตเดิมแท้ไง แต่เวลาพูดถึงมันถึงคลาดไปเป็นสุตมยปัญญา
ในพระไตรปิฎกเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม รู้ตามความเป็นจริงถึงได้บัญญัติไว้ไง มา ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว แล้วเราศึกษามา การศึกษามาแล้วก็เอามาเป็นความคิด เป็นความปรุง เป็นความแต่ง แต่ความจริงมีอยู่โดย ครูบาอาจารย์บางองค์ถึงตรงนั้นแล้วอาจเป็นอุบายในการสั่งสอนของลัทธิเขา ของลัทธิเขาคือถูกครึ่งเดียวไง
คำว่า จิตเดิมแท้น่ะ จิตเดิมแท้มันเป็นกิเลสแท้ๆ กิเลสแท้ๆ จริงๆ
ทีนี้ เราเข้าใจกันว่าจิตเดิมแท้นี่มันเป็นถึงที่ตรงนั้นไง ถึงที่ว่าเป็นนิพพาน ถึงได้บอกว่า มนุษย์มาจากนิพพาน คนเราเกิดมา ทุกคนมีนิพพานอยู่ในหัวใจ...มีแน่นอนถ้าเราปฏิบัติถึง แต่คำว่า มีอยู่แล้ว แล้วอะไรมาเกิดล่ะ มันถึงเป็นการถกเถียงกันว่าจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นั้นในมนุษย์เรานี้มีจิตเดิมแท้อยู่ที่มาจากนิพพาน...แล้วมาเกิดทำไม ทำไมต้องมาเกิดในทุกข์นี้ล่ะ เพราะมันไม่ใช่ไง
มันมีอยู่ครึ่งหนึ่งหมายถึงว่าตัวนี้คือตัวเดิมแท้คือเป็นตัวเริ่มต้นตัวจิตของเรา เป็นตัวพลังงานพื้นฐานของใจ เป็นพลังงานพื้นฐานของปฏิสนธิจิตที่มาเกิดเป็นมนุษย์เรานี้ แต่มันได้สะสมมาในวัฏฏะ ในวัฏวนนี้การเกิดการตายมาไม่มีที่สิ้นสุด มันเกิดๆ ดับๆ มา มันสะสมมามหาศาลเลย จึงได้พัฒนาวิวัฒนาการขึ้นมาเกิดเป็นภพชาติต่างๆ ขึ้นมา ในเทวดา ในอินทร์ ในพรหมจนเป็นมนุษย์สมบัตินี้ นั้นเป็นกรรมจำแนกออกไป กรรมจำแนกให้มันต่างๆ กันไปในวัฏวนนั้น
มันถึงเห็นวัฏวนอันนี้ มันถึงว่าน่าจะเศร้าใจไง น่าจะสยดสยองในความเกิดและความตายของเราที่เป็นมนุษย์นี้ไง ถึงว่าการประมาทในชีวิตที่พบพระพุทธศาสนา ในการประพฤติปฏิบัตินี้ถึงเป็นความประมาทมาก เป็นความไม่เข้าใจชีวิต ใช้ชีวิตแบบฟุ่มเฟือยไง ถึงว่ากลับมาหาที่ตนนี้ไง จิตเดิมแท้มันอยู่ที่ไหน จิตเดิมแท้นั่นน่ะ จิตเดิมแท้
ทำไมต้องทำให้จิตสงบก่อนล่ะ เวลาเราภาวนากันทำไมต้องทำให้จิตนี้สงบตัวลง เห็นไหม ทำไมต้องทำให้จิตนี้สงบตัว จิตสงบตัวลง จนแม้แต่ผู้ที่ปฏิบัติจนเข้าสมาบัติได้ก็แล้วแต่ ก็ไม่เห็นจิตเดิมแท้...ไม่เห็นหรอก จิตสงบเข้าไปขนาดไหนก็แล้วแต่นะ จนถึงฐีติจิตก็ไม่เห็น ไม่มีใครเคยเห็นเพราะอะไร เพราะขันธ์มันครอบคลุมอยู่ไง ความยึดของกาย ความยึดของกาย กายกับใจนี้เกิดมา เราเกิดมา ในเมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์เรามีกายกับใจ ความยึด ขันธ์นี่มันพุ่งออกไป จิตนี้มันติดอยู่ที่กาย พอมันคิดถึงกาย...คิดถึงกาย คิดถึงเรา คิดถึงจิต คิดถึงจิตทีไรมันก็คิดถึงเราไปด้วย กายนี้มันไปพร้อมกัน
เพราะมันเป็นเหมือนกับผลไม้กับเปลือก เราจะหยิบผลไม้เราต้องโดนเปลือกผลไม้ก่อน จิตก็เหมือนกัน มันอยู่ในกายนี้ มันติดอยู่ในกายนี้ มันเห็นแก่ตัว เห็นแก่ทุกอย่าง มันเลยหลงไปไง มันถึงไม่เห็น เห็นไหม แม้แต่ขันธ์ของจิตมันก็ไม่เห็น ไม่เห็นอยู่แล้วนะ ยังไม่เห็นความยึดของกายอีก เราเข้าใจว่าเรารักนวลสงวนตัว เรารักตนเอง ทุกๆ คนเราคิดว่าเราดี แต่ความจริงแล้วอันนั้นคือกิเลสทั้งหมดเลย
ความสะสมมาที่ว่าเกิดตาย เกิดตายมา คือความนอนใจนั้นคือกิเลส กิเลสนี้เป็นนามธรรม กิเลสคือทำให้เราหลงใหลไง ถึงว่าความประมาท ประมาทเพราะว่าเรามีกิเลสไง ความว่ากิเลสนี่มันทำให้เคลื่อนไปจากปัจจุบัน คิดก็คิดแต่จะพรุ่งนี้ มะรืนนี้ คิดถึงอดีต-อนาคต ไม่เคยคิดถึงปัจจุบัน นี่ปัจจุบันในความคิดนะ ถึงต้องทำให้จิตสงบให้มันเป็นสมาธิให้มันเป็นฐีติ เป็นเอกัคคตารมณ์เป็นหนึ่งเดียวที่ว่าไม่เป็นอดีต-อนาคต
ปกติของกิเลสมันทำให้เราหมุนออกไป มันกว้านโลกทั้งโลกนี้เลยมาเป็นความคิดของเรา มันหวัง มันคาด มันหมาย ไปหมดเลย มันยึดติดว่าอย่างนั้นเลย มันยึดติดในโลกในความรู้ที่เรารู้ข่าวสาร เรารู้ต่างๆ เราจะว่าเรารู้ๆๆ ความรู้ความยึดติดอันนั้นแล้วคาดแล้วหมายไป มันทำให้เคลื่อนออกไปจากปัจจุบันทั้งหมดเลย มันถึงไม่เห็นความเป็นปัจจุบันคือความคิดปัจจุบันนี้ของเราไง มันถึงได้ประมาทไง คิดว่า ยังไม่ถึงกาลยังไม่ถึงเวลา เห็นไหม ยังไม่ถึงกาลไม่ถึงเวลา เมื่อไรก็ได้ ชีวิตนี้ยังยาวไกล ประมาทในประมาท ประมาท ๒ ชั้น ๓ ชั้น ประมาทในชีวิตของตน ประมาทในปัจจุบันนี้ที่ปฏิบัตินี้ นี่ความประมาทอันนี้ถึงว่าต้องพยายามทำจิตให้สงบเพื่อจิตให้สงบ ให้สงบมามันก็เป็นปัจจุบัน
มันเป็นปัจจุบันแล้วจิตมันสงบตัวเข้าไปๆ ที่ว่าสงบตัวเข้าไปจนเข้าสมาบัติ เข้าสมาบัตินะ อย่าว่าแต่สงบตัวอย่างนี้ก็ยังไม่เห็นจิตเดิมแท้ เพราะว่าเข้ามา จิต ความเป็นมนุษย์ ความเกิดเป็นมนุษย์มันมีความหมายมันพร้อมในหัวใจที่เกิดเป็นมนุษย์นี้ไง มันหดเข้ามา หดเข้ามาเฉยๆ มันหดเข้ามามันก็อุปาทานความยึดมั่นถือมั่นทั้งหมดมันก็หดเข้ามาด้วย มันสงบตัวลงเข้าไป ฉะนั้น ผู้ที่พอหดตัวเข้าไป ผู้ที่ปฏิบัติเข้าไปถึงตรงนั้นแล้วต้องให้มันสงบตัวจนออกมา ต้องยกขึ้น คำว่า ยกขึ้น หมายถึงว่า การวิปัสสนา จะสงบตัวขนาดไหนก็ไม่เห็นจิตเดิมแท้ เพราะจิตเดิมแท้มันอยู่ใต้ความสงบนั้น ยกขึ้นวิปัสสนาไง ยกขึ้นวิปัสสนา การยกขึ้น เห็นไหม
นักกีฬาเวลาเขาซ้อม เขาซ้อมกัน กับเวลาเขาลงแข่งขัน การซ้อมขนาดไหนก็แล้วแต่ มันจะได้เฉพาะกำลังกายของเราเท่านั้นเอง แต่ความชนะหรือแพ้ในกีฬานั้น หรือในสิ่งที่เป้าหมายนั้น เราไม่ได้ เพราะเราเป็นการซ้อมเฉยๆ เราซ้อมที่ไหนเราซ้อมได้หมด ถ้าเราซ้อมกีฬาของเราคนเดียวเราเก่งมาก จะเวลาขนาดไหน เราว่าเราทำได้หมดเพราะเราไม่มีคู่แข่งขัน เห็นไหม เวลาจิตสงบตัวลงก็เหมือนกัน จิตสงบตัวลงเหมือนกับการฝึกซ้อม...เราทำได้ เราทำได้ตลอดแล้วมันก็ยึดมั่นถือมั่นว่าเราทำได้ มันถึงว่าไม่เห็นจิตเดิมแท้ เพราะไม่มีคู่แข่งขันไง ไม่มีการต่อสู้ไง
การต่อสู้ ยกขึ้นวิปัสสนาคือการต่อสู้ การต่อสู้กับอะไร การต่อสู้กับกิเลสที่มันติดมาในหัวใจนั้น เวลาจิตเราสงบ เราว่าเราสงบ เรามีความสุข เราพอใจ เวลาออกมามันก็ไอ้ความสงบมันก็คลายตัวออกมา มันก็ติดไปอย่างเก่านั่นล่ะ นั่นน่ะ มันไม่เห็นจิตเดิมแท้ แต่มันคาดหมายว่าเป็นจิตเดิมแท้ไง จิตเดิมแท้เป็นกิเลสแท้ๆ สงบตัวเข้าไปก็หลอกตัวเองอยู่ก่อน ออกมาแล้วก็ยังยึดมั่นถือมั่น มีแต่คาดมีแต่หมายกันไปไง
แม้แต่การวิปัสสนานะ วิปัสสนาจนชำระ จนชำระ นะ จนพิจารณากายจนปล่อยวางตามความเป็นจริง พิจารณาขันธ์ที่เนื่องจากกายจนปล่อยวางตามความเป็นจริง ปล่อยวางตามความเป็นจริงนะ เป็นพระโสดาบันขึ้นมายังต้องเกิดตายอีก ๗ ชาติ ยังต้องเกิดและต้องตายอีก ๗ ชาติ ทำไมต้องเกิดต้องตายอีก ๗ ชาติล่ะ เพราะมันไม่เปิดประตูพระนิพพานเหรอ ถึงได้พลิกออกมาให้สำเร็จให้เป็นนิพพานไปเลย ไม่มาเกิดอีก ยังมาเกิดอีก ๗ ชาติ
วิปัสสนาเข้าไปอีก วิปัสสนาเข้าไปจนเหลือ ๓ ชาติ จนเหลือ ๓ ชาติ
จนถึงปัจจุบันนะ ดับขึ้นไป ไปเกิดบนพรหมเป็นพระอนาคาไปเกิดบนพรหม ไปเกิดบนพรหมก็ไม่เห็นจิตเดิมแท้ มีแต่สุขไปข้างหน้า ทำไมถึงไม่ใช่จิตเดิมแท้ล่ะ เพราะผู้ที่จะเห็นจิตเดิมแท้นะ ต้องอรหัตตมรรคเท่านั้น พระอนาคายังไม่เห็นจิตเดิมแท้เพราะหลงในพระอนาคานี้หลงไง พระอนาคานี้มันเป็นความว่าง ว่าว่างทั้งหมดเลย เป็นความว่าง ความว่าง สิ่งที่เป็นความว่างใครเป็นคนมั่นหมายว่าเป็นความว่าง?...ว่างๆ ก่อนที่จะว่างมันก็ต้องออกมาแล้ว
ถึงว่างคู่กับไม่ว่าง มีเขาถึงมีเรา มีคนนั้นถึงมีคนนี้ใช่ไหม มีเขา มีตัวมีตนขึ้นมา การมีตัวและมีตน มีตัวมีตน มีความว่าง แล้วใครเป็นคนบอกว่าเป็นความว่างนั้นล่ะ สิ่งที่ว่าบอกว่าเป็นความว่างนั้นน่ะ สิ่งนั้นเป็นความว่าง สิ่งนั้นเป็นอะไร คนที่บอกนั้นคือใคร อันนั้นจริงๆ คือจิตเดิมแท้ไง จิตเดิมแท้บอกออกมาว่าสิ่งนั้นเป็นนั้น สิ่งนี้เป็นนี้ไง แต่จิตเดิมแท้มันหลงในตัวมันเองไง ถึงว่า จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส แต่หมองไปด้วยอุปกิเลสไง อุปกิเลสครอบคลุมจิตเดิมแท้นี้อยู่ไง ถึงว่าพระอนาคาไม่เห็นจิตเดิมแท้นี้ เพราะว่าอุปกิเลสมันครอบอยู่ จะเห็นได้อย่างไร
ครอบอยู่ การครอบอยู่ เช่น ของที่ของเราวางอยู่ แล้วมันเอามีสิ่งที่ปกปิดไว้ อุปกิเลสมันปกปิดไว้ไง มันมองไม่เห็นจิตเดิมแท้ไง ปกปิดความเห็นอันนั้นไว้ นี้ความละเอียดของพระอนาคา ความละเอียดมาก จิตนี้ละเอียดมาก มันเป็นความเวิ้งว้าง มันเป็นความสุข มันเป็นความคาดหมายไง กิเลสตัวนี้มันเป็นเจ้าวัฏจักร ความเป็นเจ้าวัฏจักรมันเป็นความอ่อน อ่อนนิ่มเป็นความสวยงาม เป็นความแบบว่าเหนือความคาดหมายใดๆ ทั้งสิ้น
สิ่งที่เหนือความคาดหมายมันถึงไม่กล้าค้นคว้าไง มันไม่กล้าค้นคว้า มันไม่กล้าทำใดๆทั้งสิ้นเพราะว่ามันเหลือสุดวิสัย เป็นความคิดว่าสุดวิสัยไง มันเป็นการนอนจมอยู่อย่างนั้นน่ะ อย่างเช่น เราอยู่ในอารมณ์ที่ว่าอารมณ์ของกาย เกิดเป็นมนุษย์ อารมณ์ของกาย ความเห็นในการที่เป็นมนุษย์นั้นมันติดในกายและใจใช่ไหม เป็นอารมณ์ในขันธ์ อารมณ์ในขันธ์อารมณ์ในความจำ เป็นอารมณ์ในขันธ์ เป็นสังขาร เป็นสัญญา
มันก็เหมือนกับเด็กๆ ไง เราเคยเห็นเด็กๆ เล่นขายของไหม เด็กๆ เล่นขายของก็ต้องสมมุติกันขึ้นมาว่าคนนี้เป็นแม่ค้า คนนั้นเป็นคนซื้อไง แล้วเอาเศษกระดาษมาแลกมาซื้อมาขาย เขาเล่นขายของกัน เขาก็สำเร็จประโยชน์เป็นการกำไรขาดทุน เป็นการสนุกเพลิดเพลินของเขาเป็นชั่วครั้งชั่วคราวใช่ไหม เราเป็นผู้ใหญ่เราไปยืนดูเขาเล่น เราก็ว่า เออ เด็กนี้ทำไมเล่นกันได้ ทำไมเขามีอารมณ์ร่วมเป็นความสนุกสนานของเขาไปได้ เป็นความพอใจ เป็นความสนุกเพลิดเพลิน เรามอง เราเพราะอะไร เพราะเราเป็นผู้ใหญ่เราเห็นใช่ไหม
พระอนาคาก็เหมือนกัน เห็นว่าจิตของพระอริยบุคคลชั้นที่ต่างๆ ขึ้นมา มันเป็นอารมณ์ในขันธ์ มันเป็นอารมณ์ในขันธ์ เป็นความรู้สึก เพราะว่ามันเป็นหยาบๆ ก็เข้าใจว่าตนเองปล่อยเข้ามาแล้วไง เราปล่อยอารมณ์อย่างนั้นเข้ามาหมดแล้ว จนเป็นความว่างหมด เห็นไหม มันก็เหมือนผู้ใหญ่ไปเห็นเด็กๆ เล่นขายของแล้วเราไม่เล่นกับเขา เราเป็นผู้ใหญ่แล้ว ความเล่นอันนี้เราไม่เล่นกับเขา เพราะนั้นมันเล่นแบบเด็กๆ
เราเป็นผู้ใหญ่ พอเราเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา เราก็ต้องทำงานเป็นตามความเป็นจริง เราค้าขายไง เราทำธุรกิจขึ้นมาตามแบบผู้ใหญ่เขาทำธุรกิจกันก็ต้องมีกำไรและขาดทุน ก็ต้องมีเงินตราแลกเปลี่ยน มันแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราขึ้นมา เพราะอะไร เพราะว่าความสมมุติตามความเป็นจริงไง เงินนี้มีกองทุนการเงินต่างๆ ค้ำประกันมาให้เงินนั้นเป็นเงินจริง ใช้ได้ในโลกนี้ แล้วเราก็ใช้จ่ายอยู่ในโลกนี้ เราถึงประกอบธุรกิจขึ้นมาจนเรามีเงินมหาศาลเลย
เรากล้าจะฉีกเงินเราทิ้ง เรากล้าปฏิเสธเงินเราทิ้ง เราจะปฏิเสธออกไปจากโลกนี้ได้ไหม เราปฏิเสธเงินตราในโลกนี้ ไม่ยอมรับรู้ แล้วเราปฏิเสธแล้วเราหลุดออกไปคนเดียว เราจะอยู่ของเราคนเดียวเป็นไปได้ไหม ไม่ได้เพราะอะไร เพราะว่ามันเป็นตามความเป็นจริงใช่ไหม เราอยู่ในโลกตามความเป็นจริง เราประกอบธุรกิจอยู่กับเขา เราก็ต้องใช้เงินตามความจริง เพราะเขาใช้จ่ายกันได้จริงๆ ตามความเป็นจริงนั้น
จิตมันเป็นความว่างก็เหมือนกัน มันเป็นตามความเป็นจริงของพระอนาคาไง มันเป็นความว่างตามความเป็นจริงนั้น มันก็ต้องไม่กล้าการทำลายตัวเองไง ไม่กล้าพิจารณาไง ไม่กล้า ไม่กล้าไง ความว่าไม่กล้าเพราะอะไร เพราะมันติดสุขไง เรามีเงิน เราประกอบธุรกิจ เราประกอบธุรกิจมาแล้วเรามีเงิน เรามีความสุขไหม คนมีเงิน มีหน้ามีตา มียศถาบรรดาศักดิ์ มีคนถือเกียรติคุณ มีคนยกย่องสรรเสริญ มันก็ต้องมีความสุข มันก็ต้องเพลินในความสุขอันนั้นสิ
นี่เหมือนกัน พระอนาคาก็คิดอย่างนั้น ในเมื่อตัวเองวิปัสสนามาจนทิ้งตั้งแต่เปลือกตั้งแต่กายข้างนอกนะ ตั้งแต่ขันธ์ที่ติดกับกาย อุปาทานในขันธ์นั้นจนทิ้งขันธ์จริงๆ ในหัวใจเป็นหนึ่งเดียวไง เป็นจิตเดิมแท้ไง แต่หมองไปด้วยอุปกิเลสที่ครอบคลุมจิตเดิมแท้นี้อยู่ไง มันจะหลงใหลได้ปลื้มอยู่อย่างนั้น อยู่อย่างนั้น ติดความสุขของตัวเอง ติดความยึดมั่นถือมั่น ติดในอุปกิเลสของตัวเอง แล้วก็ยังพูดด้วยว่าไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เป็นความว่างไง เป็นความว่าง เป็นนิพพานไง...เป็นความว่าง เป็นนิพพานได้อย่างไร ในเมื่อยังตัวเองว่าเป็นความว่าง
คนที่บอกว่าเป็นความว่าง คนที่มีความรู้สึกในความว่างนั้น ความรู้สึกจิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส อุปกิเลสคือความมัวหมอง ความเศร้าสร้อยไง ความอ่อน อุปกิเลสคือแสงสว่าง แสงสว่าง แสงมันหมุนอยู่ในตัวมันเองนั่นแหละ อมทุกข์อยู่ในนั้นโดยที่ตัวเองมันมีความเศร้ามีความหงอยเหงาอยู่ในหัวใจ อยู่ในอุปกิเลสนั้น อยู่ในจิตเดิมแท้นั้นน่ะ แต่ไม่หันกลับมาดูเพราะมันหมองด้วย มันหมองอยู่และมันยึดมั่นถือมั่นในความเป็นว่าเป็นเงินจริงไง
มันจริง จริงตามความขั้นตอนที่เป็นจริงนั้น เป็นความจริงที่ว่าถึงต้องพยายาม ต้องมี...ถ้าเป็นสาวกอยู่ในปัจจุบันนี้จะมีครูบาอาจารย์คอยแนะคอยสอนไง คอยแนะคอยสอน คือการเข้า คือการตรวจสอบกัน ๑ แล้วการบอกแนะวิธีการ เพราะว่าถ้าแค่นี้ก็ได้แค่นี้ ตายไป ตายไปชาติปัจจุบันนี้ก็เกิดเป็นพรหม ถึงเป็นพรหมไปเกิดเป็นพรหมก็ไม่เห็นจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้นี้ต้องเดินอรหัตตมรรค
ผู้ที่ถึงอรหัตตมรรคนั้นถึงจะเห็นจิตเดิมแท้
เพราะจิตเดิมแท้นี้เป็นอวิชชา จิตเดิมแท้นี้เป็นตอของจิต
การจะเห็นที่ว่าย้อนกลับเข้ามา สิ่งที่ว่าว่างๆ ที่ว่าเป็นเงิน เราติดอยู่ในกองเงินกองทองที่เราปฏิบัติมาหรือเราค้าขายทำธุรกิจมามหาศาลนี่เงินทองช่วยเหลือเราได้ไหม เวลาเสื่อมค่า เสื่อมค่าทั้งหมด มันใช้ได้ในกาลในเวลานั้นเท่านั้น ในขณะที่ว่าเราจะประพฤติปฏิบัติ เราเดินวิปัสสนา อรหัตตมรรคเราสร้างขึ้นมา ขณะที่เป็นอรหัตตมรรคนั้นจะเป็นประโยชน์มาก การย้อนกลับ การจะสร้างอรหัตตมรรค อรหัตตมรรคเท่านั้นถึงจะเข้าหันกลับมาหาจิตเดิมแท้ไง
จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส ความที่ผ่องใส ความผ่องใสหรือความว่างในหัวใจนั้น ใต้ความว่างอันนั้นน่ะ ใต้ความผ่องใสอันนั้นคืออะไร มโนมิงปิ นิพพินทติ ความเบื่อหน่ายในมโน คือหัวใจ ธัมเมสุปิ นิพพินทติ...สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายที่จิตนี้กระทบความว่างหรือความเป็นไปแล้วแต่ สิ่งที่เกิดขึ้น ธรรมารมณ์เกิดขึ้นระหว่างอุปกิเลสกับใจกับไอ้จิตเดิมแท้ที่กระทบกันอันนั้นน่ะ
นิพพินทติ คือความเบื่อหน่าย มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ ระหว่างธรรมารมณ์กับจิตเดิมแท้นั้นกระทบกันก็ต้องเบื่อหน่าย ในอาทิตตฯ น่ะ ในอาทิตตฯ ในคำสั่งสอนที่พระพุทธเจ้าสอนกัสสปะทั้งหลาย สอนชีวิตทั้งหลาย นี่มันก็เข้ากับตรงนี้ไง จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลสนะ ไม่ใช่ตัวจิตเดิมแท้นั้นเป็นนิพพาน จิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้ การเห็นจิตเดิมแท้ ถึงว่าเป็นอรหัตตมรรค ผู้ที่เดินอรหัตตมรรคถึงจะเห็นจิตเดิมแท้ตัวนี้ไง
ความเบื่อหน่าย เบื่อหน่ายในอุปกิเลส เบื่อหน่ายตัวนี้ถึงข้ามพ้นไปไง ข้ามพ้นจากจิตเดิมแท้นี้ข้ามพ้นอุปกิเลสไป อันนั้นเป็นถึงที่สุดที่สุดตามความเป็นจริงที่ว่าจิตไปเปิดประตูนิพานที่จิตเดิมแท้ไง ผู้ที่เห็นจิตเดิมแท้ตามความเป็นจริงคือผู้ที่เดินอรหัตตมรรค แล้วถ้าเดินถูก เดินจับถึงตรงนี้แล้วจะเป็นไปแล้วเพราะเป็นวิปยุตแล้ว เพราะพระอนาคาตายไปนะไปเกิดบนพรหมก็สุกไป ผลไม้สุกแล้วไป แต่ไปด้วยวิถีของจิตนั้น ไม่ใช่จิตเห็นตั้งแต่ขณะปฏิบัตินี้ไง การพระอนาคาไปอยู่บนสุทธาวาสแล้วสุกไปเลย เหมือนผลไม้เราบ่ม เปรียบเหมือนผลไม้ที่แก่ ต้องสุกไปข้างหน้าประการเดียว ไม่มีประการอื่น ถึงจุดนั้นแล้ว เพราะเกิดเป็นพรหมแล้ว ไม่มาเกิดอีกแล้วก็ต้องสุกไป อันนั้นเป็นไปโดยวิถีความเป็นจริง
แต่ในเดินอรหัตตมรรคนี้เห็นจิตเดิมแท้ตามความเป็นจริง การเห็นจิตเดิมแท้นี้มันมหัศจรรย์มากนะ เป็นธาตุที่รู้ธาตุ เป็นธาตุที่รู้ธาตุ ธาตุที่รู้ตัวเอง เห็นไหม มันไม่มีธาตุใดที่จะรู้ตัวเองได้ ต้องสื่อออกมากระทบกันถึงจะรู้กัน แต่ธาตุที่รู้ธาตุไง จิตเดิมแท้ที่รู้จักจิตเดิมแท้ตัวเอง
จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส หมองไปด้วยอุปกิเลส
จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส
จิตเดิมแท้ตัวเดียวกัน แต่ปกติมันจะหมองด้วยอุปกิเลส แล้วชุ่มอยู่ด้วยอุปกิเลสนั้น
แต่อรหัตตมรรค การเห็นอรหัตตมรรคแล้ว การเดินอรหัตตมรรคหมุนเป็นธรรมจักร จิตเดิมแท้นี้ข้ามพ้นไง ข้ามพ้นไปเอง เห็นไหม ธาตุรู้ธาตุ แล้วธาตุวิวัฒนาการกินตัวเอง พ้นออกไป อันนั้นมันเป็นยิ่งกว่าความว่างนะ สิ่งที่ว่าเป็นความว่างๆ อันนั้นพ้นออกไปเลย มันไม่ใช่ความว่าง ถ้าเป็นความว่าง เป็นความว่างนี้มันเป็นสมมุติไง
ถ้าเป็นความว่างนะ เป็นความว่าง ผู้ที่รู้จริงนะ ผู้ที่รู้จริงแบบเป็นความว่าง ความว่างของผู้ที่ข้ามพ้นกิเลสไปแล้วนี่มันเป็นตุ๊กตา ตั้งเครื่องหมายตุ๊กตามาไง ถ้าผู้ที่พ้นจากความว่างเป็นตามความเป็นจริง บอกว่าความว่าง มองหน้ากันจะยอมรับ เพราะว่าเข้าใจว่าความว่างนี้เหมือนเราตั้งตุ๊กตาขึ้นมาไง ว่างเนาะ ว่างแบบผู้รู้ ผู้รู้จะบอกว่าว่าง ว่างแบบตุ๊กตา แต่ผู้ที่ไม่รู้สิ ผู้ที่ไม่รู้ว่าตุ๊กตาคืออะไร เห็นไหม เราจะวิเคราะห์ตุ๊กตาตัวนั้นไง สิ่งที่ตุ๊กตานี้เป็นติ๊ต่าง เป็นสมมุติ เป็นปูนป้ายหมายไว้ให้รู้ไง เพราะว่านิพพานเป็นสิ่งที่ว่าหลุดพ้นออกไป หลุดออกไปจากโลกทั้งหมด จากสมมุติทั้งหมด สิ่งที่ปูนหมายป้ายทางไว้ไม่ได้ ไม่มีสิ่งใดจะบอกกล่าวได้เลย แต่พ้นออกไปแล้วจะสื่อกัน เพราะยังเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่จะสื่อกันได้อย่างไร เห็นไหม ถึงติ๊ต่างขึ้นว่าเป็นตุ๊กตา เป็นความว่าง
แต่ผู้ที่ไม่รู้ก็จะวิเคราะห์ที่ตุ๊กตานั้น เพราะเขาติ๊ต่าง แต่ตัวเองไม่รู้ว่าเป็นติ๊ต่างไง รู้ว่าเป็นความจริงไง ถึงว่าเป็นนิพพานว่างไง...ว่างจริงตามความติ๊ต่างนั้น แต่ว่างไม่จริงเพราะเราไม่รู้ เราก็คาดหมายความว่าง พอคาดหมายความว่างเราก็ยกตุ๊กตาขึ้นมา ตุ๊กตานี้เป็นตุ๊กตาหญิงก็เรื่องหนึ่ง ถกเถียงกันไป ตุ๊กตาชาย ตุ๊กตารถยนต์เป็นเครื่องเล่น ก็ต้องเถียงกันไปเพราะผู้ที่ไม่รู้ ผู้ที่ไม่รู้ สิ่งที่ติ๊ต่างนั้น สิ่งที่สมมุตินั้นเอามาเถียงกัน ผู้ที่ไม่รู้ไปอย่างหนึ่ง
ผู้ที่รู้ ถึงว่าเป็นความว่าง ถ้ารู้ถ้าเข้าใจตรงนั้นจะบอกว่าว่างก็ได้ เพราะเป็นคำว่าปูนหมายป้ายทาง ฟังนะ ปูนหมายป้ายทาง คือการบอกไง การบอกติ๊ต่าง ติ๊ต่าง แต่คนรู้กับคนรู้ ติ๊ต่างแล้วย้อนกลับไปที่นิพพานนั้น เข้าใจกัน แต่ผู้ที่ไม่รู้ ผู้ที่ไม่รู้ ถึงว่าจิตเดิมแท้นี้ ถ้าเราเข้าถึงจิตเดิมแท้ เราต้องการเข้าถึงจิตเดิมแท้ เข้าถึงจิตเดิมแท้ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นจิตเดิมแท้ด้วย ทั้งๆ ที่ไม่รู้ ทั้งๆ ที่ไม่เห็นไง แล้วก็ติ๊ต่างออกมาไง ติ๊ต่างว่าจะเข้าถึงจิตเดิมแท้...ถึงได้หลงใหลจิต มันเป็นการหลงใหล หมายถึงว่าเป็นเป้าหมายที่ผิดพลาดไง การกระทำถึงได้ผิดพลาดหมดไง ความผิดพลาด เพราะเราไม่รู้เท่า
เราตั้งเป้าหมายไว้ผิด เราตั้งเป้าหมายผิดเพราะเราต้องการเข้าถึงจิตเดิมแท้แล้วไปเปิดประตูนิพพาน มันกลับกันเลย กลับกันเลยกับตามความเป็นจริงที่ผู้รู้จริงที่ผู้ปฏิบัติจริงเข้าถึงตามความเป็นจริงนั้น พอกลับกันเป้าหมายผิดการกระทำก็ผิด ทุกอย่างก็ผิดไป ว่าจิตเดิมแท้นั้นมันเป็นกิเลสแท้ๆ ถ้าเข้าถึงตามความเป็นจริงนะ เป็นกิเลสแท้ๆ เลย เพราะเป็นตัวอวิชชา เป็นตัวเจ้าวัฏจักร
แต่คนจะเห็นได้ ถึงว่าคนที่จะเห็นได้ต้องสูงส่ง ต้องการประพฤติปฏิบัติ จนเดินอรหัตตมรรคเท่านั้น ฉะนั้นผู้ที่เห็นจิตเดิมแท้จริงแล้วถึงจะไม่เกิดไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก แต่ที่ว่าเกิดเป็นมนุษย์แล้ว เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เรามาจากนิพพานกันไง ถึงได้ว่าเกิดจากมนุษย์ มีนิพพานอยู่ในหัวใจ มันจะมีอยู่ในหัวใจเพราะมีจิต เรามีจิต เรามีหัวใจ ถ้ามีหัวใจ คือตัวพุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่ที่ใจ...
(เทปขัดข้อง)
...ทุกข์ มีทุกข์ มีอิสระมีการประพฤติปฏิบัติ ให้เห็นกายกับใจไง ให้เห็นเป็นอิสระในการบังคับในภพ ถ้าตกนรกไปทุกข์ล้วนๆ สวรรค์ไปก็สุขล้วนๆ ไง ทั้งๆ ที่อย่างนั้นก็ไม่เห็นจิตเดิมแท้ มันผ่านออกไง จิตเดิมแท้นี้มันเป็นระยะผ่านเท่านั้น ปฏิสนธิจิต มันถึงจำไม่ได้ ปฏิสนธิจิตเวลาเกิดเป็นมนุษย์ ทำไมจำอดีตไม่ได้ แต่ก็มีแอ็คซิเดนท์ไง บางคนจำได้ บางคนนะ เพราะการเกิดนั้นมีแอ็คซิเดนท์ มีการที่ว่าบางคนจำอดีตชาติได้ เป็นบางคนนั้นนะ หลายๆ ล้านคนจะมีสักคนหนึ่ง มันมายันกันในการที่ว่าเราตายแล้วเกิดไง
ให้จิตนี้พัฒนาได้ไง จิตนี้ วุฒิภาวะของจิตยกขึ้นสูงได้ไง ปฏิบัติจนเป็นพระโสดาบันได้ในชาตินี้ไง เป็นพระสกิทาคามีได้ในชาตินี้ไง เป็นพระอนาคาได้ในชาตินี้ และเป็นที่สิ้นสุดของกิเลสได้ในชาตินี้เหมือนกัน นี่จิตนี้ถึงมหัศจรรย์ จิตในหัวใจ หัวใจ จิตในร่างกายเรานี่แหละ ถึงว่ามนุษย์นี้ถึงมีมา ไม่ใช่มาจากนิพพาน ไม่ใช่ ไม่เคยเห็นนิพพานต่างหาก แต่มีสิทธิไปนิพพาน ทุกคนมีสิทธิ์ นี่ยอมรับตรงนี้ไงทุกคนมีสิทธิ เพราะทุกคนมีพุทธะอยู่ที่ใจ
ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใด สมาธิธรรมนี้ก็เห็นเงาของตถาคตแล้ว จนถึงที่สุดของความสิ้นกิเลส เห็นไหม จิตดวงนั้นกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสมอกันโดยธรรม เสมอกันโดยธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต มันเสมอกันโดยธรรม รู้กันโดยธรรม เสมอกันโดยธรรม เห็นด้วยโดยธรรม ทำไมจะไม่เห็นล่ะ นี่ถึงเป็นไปได้ นี่มายันกันตรงนั้นไง ปฏิสนธิจิตไม่ใช่จิตอารมณ์อย่างเปลือกๆ นี้ เราเข้าไม่ถึง แม้แต่เข้าฌานสมาบัติไหนก็เข้าไม่ถึงจิตเดิมแท้ แม้แต่พระอนาคายังโดนอุปกิเลสปิดอยู่
เห็นจิตเดิมแท้ถึงเป็นกิเลสแท้ๆ พ้นไปต่างหากถึงเป็นนิพพาน
จิตเดิมแท้ไม่ใช่นิพพาน นิพพานไม่ใช่จิตเดิมแท้
จิตเดิมแท้นี้เป็นปุถุชนด้วยนะ ปุถุชนนี้ ปุถุชนธรรมดาเลย พระอนาคานี้เป็นพระอริยบุคคลขึ้นไปที่จะเข้าไปถึงตรงนั้นน่ะ มันต้องลอกเข้าเป็นชั้นๆๆ เข้าไป จนจะถึงเข้าไปถึงแก่นของใจไง ถึงจิตเดิมแท้ ถึงตัวอวิชชา มันต้องผ่านเหลนผ่านหลานผ่านลูกเข้าไปถึงจะเข้าไปถึงปู่ย่าตายายโน่นน่ะ
เพราะเราเข้าไปดับเลยนะ ดับวัฏฏะในหัวใจ วัฏฏะที่ใจนี้มันสะสมมา เราเข้าไปดับแก่นแท้เลย แล้วเราเข้าไปถึงพ้นไปตามความเป็นจริง ไม่ใช่พ้นจากความคาดความหมายความเดาไง ความว่างๆๆ ว่างจะกลับมาทุกข์อีกนั่นน่ะ พ้นตามความเป็นจริงมันถึงได้กลับ ย้อนกลับมาถึงกับว่า จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้ข้ามพ้นกิเลสไป มันเข้ากับสอุปาทิเสสนิพพาน กับอนุปาทิเสสนิพพาน
สอุปาทิเสสนิพพาน-อนุปาทิเสสนิพพาน คือพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ กับพระอรหันต์ที่สิ้นชีวิตไปแล้ว พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ เพราะมีขันธ์ ๕ ขันธ์ไง ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์ ๕ นี่เปลือกของอารมณ์ แล้วพอชำระล้างเข้าไปชำระล้างเข้าไปจนพ้น พระอนาคานี้ละขันธ์ของใจได้หมดแล้วเป็นตอของจิต ละขาดแต่ขาดมี ถึงเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน คือพระอรหันต์ที่มีขันธ์อยู่ ขันธ์นี้เลยเป็นภาระ ขันธ์นี้เป็นภาระ...กับปุถุชนเรา ความคิดเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา ความยึดมั่นถือมั่นสิ่งต่างๆ นี้เป็นเรา มันเป็นอันเดียวกันไง มันเป็นกำปั้นทุบดินไง อารมณ์ของเราคือเรา ความคิดคือเรา เราจะแย่ขนาดไหนมันก็คือเรา อันนี้มันเลยเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง ถึงว่าขันธ์ ๕ นี้เป็นทุกข์
แต่พอเราถึงปฏิบัติไปจนสิ้นแล้ว สอุปาทิเสสะฯ สะ คือเศษส่วน คือความคิด คือขันธ์ ๕ มันขาดออกจากใจโดยธรรมชาติเด็ดขาดเลย ใจพ้นออกไปแล้ว พ้นออกไปจากขันธ์ ๕ แต่พ้นออกไปด้วยการชำระกิเลส ขาดออกไปเลย ขาดออกไป พอขาดออกไปแล้วกิเลสสิ้นไป ขันธ์นี้บริสุทธิ์ จิตนี้ก็ก็บริสุทธิ์ พออยู่ด้วยกัน อยู่ด้วยกันแบบเศษส่วนแบบเป็นภาระไง เศษ คือของที่เน่าที่เหม็น เศษที่เขาไม่เอาแล้ว เศษเลขเศษเงินเศษทอง เศษที่เขาทิ้ง แต่ปุถุชนนี้ไม่ใช่เศษ ความคิดยึดหมดเลย นี่เศษ เศษถึงไม่มีค่าไม่มีความหมายแต่จำเป็นต้องใช้ไปเพราะยังมีชีวิตอยู่ การที่มีชีวิตอยู่ การดำรงชีวิตอยู่ การสื่อกับคนที่เป็นปัจจุบัน เห็นไหม ถึงได้ว่าเป็นภาระเฉยๆ เป็นภาระนะ ไม่ใช่ความทุกข์ ถึงว่าพ้นทุกข์จริงไง
ถ้าเป็นความว่างมันก็จะกลับมาเป็นความทุกข์อีก เพราะความว่างที่ไหนว่างอยู่ เราเอาของเข้าไปใส่ ตรงนั้นจะมีสิ่งกีดขวางขึ้นมาทันที แต่พ้นตามความเป็นจริงไม่ใช่ความว่าง มันเป็นความไม่ยึดติดตามความเป็นจริง ความไม่ยึดติดตามความเป็นจริง แต่มันสิ่งที่มีอยู่ต้องใช้ประโยชน์ตามความเป็นจริง
คนที่มีปัญญา คนที่การศึกษาเล่าเรียนสถานะทางสังคมเขาสูงมาก แล้วเขาเป็นคนดี เขาจะช่วยสังคมทางโลกนี้ได้มากกว่าคนที่ว่าสถานะทางสังคมเขาต่ำ จิตผู้ที่บริสุทธิ์ จิตผู้ที่พ้นแล้ว เป็นสิ่งที่ว่าไม่ข้องเกี่ยวกับอามิสสินจ้างผลประโยชน์ทั้งหมด มันถึงเป็นที่พึ่งของหัวใจทุกๆ ดวงที่หวังจะพ้นทุกข์ไง หัวใจที่หวังจะพ้นทุกข์ไม่ใช่หัวใจหวังที่จะเกิดอีก การหาครูบาอาจารย์สั่งสอนหรือแนะนำวิธีการการตายแล้วไม่เกิดอีกนี่หาที่ไหน นี่ไง มันถึงว่าถึงเป็นประโยชน์ถึงเป็นที่พึ่ง เห็นไหม การหาครูบาอาจารย์ที่เป็นที่พึ่งจริงตามความเป็นจริง มันถึงเป็นการหายากไง
ฉะนั้น ถ้าเป็นสอุปาทิเสสนิพพานแล้วอยู่ มันก็เหมือนคนธรรมดานั่นล่ะ เพราะมันเป็นขันธ์เหมือนกัน เป็นความคิด เป็นคำพูดทุกอย่างเหมือนกันทั้งหมด เหมือนกันเพราะมันเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ต่างกันอย่างฟ้ากับดินเลย ตรงที่ว่าฝ่ายหนึ่งยึดมั่นถือมั่นแบบกำปั้นทุบดิน เป็นยึดติดเป็นอันเดียวกันกับที่ว่าใช้แค่สื่อเฉยๆ ไง ใช้แค่สื่อ แค่บอก แค่หมาย แค่นั้นเอง เพราะว่าสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัตตัง เกิดขึ้นตามความเป็นจริงกับผู้ที่ปฏิบัติเท่านั้น มันถึงเป็นการที่ว่ายกออกมาให้กันไม่ได้ เห็นไหม ถึงบอกวิธีการ แค่บอกวิธีการ แค่ชี้ทาง แต่ไม่สามารถเปิดหัวใจเพราะมันไม่มีสิ่งใดๆ ใน ๓ โลกธาตุนี้เหมือน
ทีนี้ การพูดหรือการสื่อสารนี้ถึงเป็นติ๊ต่างเป็นตุ๊กตาทั้งหมด เป็นตุ๊กตาทั้งหมด เป็นสพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ไง ธรรมทั้งหลายนี้แปรสภาพไปทั้งหมด เป็นรถยนต์ เป็นเรือ เป็นแค่พาหนะพาเข้าไปถึงตรงนั้น ถึงจุดสุดท้ายแล้ว ถึงจุดสุดท้ายที่จะข้ามฝั่งต้องเป็นจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นั่นน่ะ ถึงขั้นสุดท้ายนะ ฉะนั้น การจะหาจิตเดิมแท้ตามความเป็นจริงนี้เป็นบารมีแบบมหาศาลนะ เป็นส่วนของการประพฤติปฏิบัติ เป็นการไล่ต้อนไง เป็นการไล่ต้อนเสือเข้าไปจนมุมไง
เริ่มต้นจากเราต้องการจำกัดกิเลส เราก็ว่า แหม ลำบากแสนเข็ญ ชำระล้างนี่ลำบากแสนเข็ญนะ เข้าไปๆ เป้าหมายอยากจะเข้าไปเจออวิชชา อยากจะชำระกิเลสให้ได้ ก็พยายามตะเกียกตะกายทำขึ้นไปจนถึงที่สุด เข้าใจว่าเข้าไปถึงตรงนั้นแล้วจะทำได้ง่ายไง มันเป็นเสือนะ มันตะปบเรากินโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย ไปซุกอยู่ตรงว่าต้องไปนอนตายตรงนั้น ต้อนเสือเข้าถ้ำ แล้วก็ไปเฝ้าอยู่หน้าถ้ำ เหมือนกันเลย มันไม่เห็นมันไง จิตเดิมแท้ก็เสือดีๆ นั่นล่ะ มันตะครุบเรากินหมด
ถึงบอกว่ามันไม่ใช่ไง เราฟังคำว่า จิตเดิมแท้ เราฟังแล้วมันแบบ แหม มันชื่นใจ คิดว่าเป็นที่หมายไง เป็นที่หมายที่สุดสิ้นในการประพฤติปฏิบัติ นั่นล่ะ ไปนอนให้เสือกินต่างหาก
ต้องพลิก หมายถึงว่าอรหัตตมรรคเท่านั้น นี่มันเป็นอย่างนี้ขึ้นมาต้องผู้ที่เราปฏิบัติ เราเจอครูเจออาจารย์ ครูบาอาจารย์ถึงได้ชี้แนะทางความถูกต้องไง ตามความเป็นจริง ให้เห็นตามความเป็นจริง มันเป็นความจริงนะ ความจริงส่วนหนึ่ง แต่สมมุติโลกมีไว้เพื่อเป็นการติ๊ต่าง
การติ๊ต่างกับตามความเป็นจริง
ฉะนั้น ถ้าไม่ถึงอย่างไรก็ต้องติ๊ต่าง แต่เราก็ต้องไม่ติดในความที่ว่าเราจะติ๊ต่างของเราอันนั้นให้ได้ มันเหนือ มันพ้นจากการหมายหมด มันพ้นจากการหมายแล้วเราเอาความที่เป็นการหมายนี้มายึดได้อย่างไร สิ่งที่หมายสิ่งที่บอกเหตุแล้วเรายึด ฉะนั้น ถึงว่าถ้าปล่อยไว้ ปล่อยไว้ตามความเป็นจริง...ไม่ต้องคาดไม่ต้องหมายว่าจะเป็นอย่างไร แต่เราต้องเดินของเราขึ้นไป เดินของเราขึ้นไปตาม ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล สมาธิ ปัญญา ต้องตั้งสติไว้ให้ดี ตั้งสติ สติสัมปชัญญะไม่หลงกลของการล่อลวงในการวิปัสสนาตลอดนะ ในการทำสมาธินี้สะดวกสบายพอไปได้เลยล่ะ เพราะทำให้จิตสงบนี่มันเป็นเหมือนกำปั้นทุบดินเหมือนกัน เป็นการตะล่อมเข้ามาเลย แต่ยกขึ้นวิปัสสนาอันนั้นมันเป็นการต่อสู้ระหว่างกิเลสกับธรรม การต่อสู้มาเพื่อให้ได้ผลการชนะและแพ้กันนะ การต่อสู้แล้วแพ้...มี ส่วนใหญ่ต่อสู้แล้วแพ้ เพราะนักกีฬากว่าจะเป็นนักกีฬาชั้นหนึ่งได้นี้ต้องผ่านจากการไต่เต้าขึ้นไป
การวิปัสสนาครั้งแรกก็เหมือนกัน พยายามไต่เต้าขึ้นไปๆ จนถึงจุดหนึ่ง ยันได้เสมอกัน จนเราทำเรามีความชำนาญ จนเรามีความชำนาญแล้ว เรามีความชำนาญ เรารู้เล่ห์กลของมัน ยันไว้ได้แล้วจะเป็นผู้ชนะไปแล้ว จนถึงการขาดไปตามความเป็นจริง ขาดออกไปเป็นสมุจเฉทปหานตามความเป็นจริง เป็นขั้นเป็นตอนไป...ต้องทำอย่างนั้น ไม่ให้ประมาทไง ไม่ให้ประมาทตั้งแต่เริ่มการประพฤติปฏิบัติ แล้วไม่ให้ประมาทในการต่อสู้ ข้าศึกเวลาต่อสู้แล้ว ไม่มีใครจะปล่อยให้ตัวเองโดนทำลายหรอก เป็นการต่อสู้แล้วต้องมีการเอาชนะ-เอาแพ้กันแบบเต็มกำลังทั้งนั้น
แต่เพราะเราคาดหมาย เราตั้งเป้าหมายไว้ผิด แล้วเราเวลาวิปัสสนาขึ้นไป เราจะหมายไว้ก่อนว่าต้องเป็นอย่างนั้นๆ แล้วถึงจุดนั้นแล้วเราจะปล่อย เราจะยอมไง จะยอมหมายถึงว่าตรงนี้คือเป้าหมายไง การยอมเป้าหมายตรงนั้นคือหัวใจมันไม่ก้าวเดินไง หัวใจไม่ก้าวเดินนี้มันยิ่งกว่าการเดินด้วยเท้าของเรานะ การเดินหรือการเคลื่อนไปด้วยวัตถุนี่อย่างไรไม่ก้าวเดินยังขยับเขยื้อนได้ อย่างการไส การช่วยผลัก
แต่ถ้าหัวใจของเรามันไม่ก้าวเดินไปตามความเป็นจริง มันถึงว่าเข้าใจคาดหมายว่าตรงนั้นเป็นเป้าหมายแล้ว ตรงนั้นเองปฏิบัติไม่ก้าวเดิน จิตนี้ไม่ก้าวเดินออกไปแล้ว อยู่ตรงนั้นน่ะ นอนจมอยู่นั่นน่ะ การนอนจม นอนจมอยู่อย่างนั้นเลย เพราะมันเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นความจริงแล้ว อันนั้นเป็นอารมณ์เป็นขันธ์ มันเป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรมในหัวใจ นี่ก็ติ๊ต่างออกมา ยกขึ้นมาให้เห็นไง ความติ๊ต่างอันนี้ ติ๊ต่างตามความเป็นจริงเลยนะ เพราะสิ่งอารมณ์นี้เป็นวัตถุที่ติ๊ต่างได้ง่ายๆ เลย ไม่ใช่ว่าติ๊ต่างแบบข้างบนนี้ อันนั้นก็เป็นการติ๊ต่างเพื่อรู้เท่านั้นเอง แต่เราไปหยิบเอามาไว้ข้างล่างนี่ไง
จากสูงสุด เป้าหมายของชาวพุทธ เราย้อนดึงกลับมาเอามาไว้ข้างล่างนี้ แล้วก็จะเอาข้างล่างนี้ให้เป็นไปเลยไง มันเลยพลิกกลับ กลับตาลปัตร หัวเป็นหางหางเป็นหัวนะ ท้ายมงกุฎหัวมังกรมั่วไปหมด ถ้าเราไปตามเสต็ปขึ้นไปตามความเป็นจริงเรื่อยๆ เรายอมรับ ยอมแบบว่าปฏิบัติเหมือนคนโง่ไง คำว่า ปฏิบัติเหมือนคนโง่ เดินตามครูตามอาจารย์ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากว่าจะตรัสรู้ สะสมบารมีมาขนาดไหน แล้วมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะออกมาแล้วอีก ๖ ปี ทุกข์ยากขนาดไหน ถ้าเราเห็นว่าครูบาอาจารย์ องค์ศาสดาของเราเริ่มต้นมาเป็นผู้ต่อสู้ทางด้านกิเลสเป็นเอกบุรุษของเราแล้วนะ แล้วตามความเป็นจริง บารมีของใครในพุทธกาลนี้จะเท่ากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มี ยังต้องตะเกียกตะกายระดับนั้นน่ะ
แล้วมาปัจจุบันนี้จะเข้าไปเปิดประตูง่ายๆ ไง จะเข้าไปเปิดประตูหัวใจไง เปิดประตูนิพพานไง เราจะเอามักง่ายแล้วจะชุบมือเปิปมันก็เลยจะเสียเวลาไปอีกชาติหนึ่งว่าอย่างนั้นเลยนะ จะทำให้การประพฤติปฏิบัติของเราไขว้เขวนะ
มันภูมิใจมันยกย่องตัวเอง กิเลสมันร้ายมาก มันจะบอกว่า เราเป็นผู้ปฏิบัติ เราเป็นผู้ที่นักธรรมะ แล้วกำลังจะเข้าไปเปิดประตูนิพพาน มันว่าอย่างนั้นเลยนะ มันจะยกย่องตัวเอง มันจะหลงตัวเอง มันจะกระหยิ่มยิ้มย่อง เห็นไหม นี่จิตไม่ก้าวเดิน สร้างคอกขังตัวเองไว้ทั้งหมดเลย ขังตัวเองไว้ให้อยู่ตรงนั้นน่ะ ไม่ก้าวเดินออกไปจากความเห็นตามความเป็นจริงของที่ว่าจะหักด่านกิเลสให้ได้ตามความเป็นจริงไง หักด่านกิเลสนี่นะ หักอารมณ์ที่ครอบใจอยู่ หักเปลือกผลไม้ที่คลุมผลไม้อยู่ หักสิ่งกิเลสห่อหุ้มใจอยู่ หักออกไปเป็นด่านๆๆ ออกไปนะ
มันเป็นเรื่องของเรา มันเป็นเรื่องของนามธรรม แต่ยกขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่ากิเลสเป็นอย่างนี้ มันเป็นเรื่องสิ่งที่ว่าง่ายก็ง่าย ง่ายตรงไหน ง่ายตรงที่ว่าไม่ต้องไปต่อสู้กับใคร มีกายกับใจนี้แล้วเข้ามาชำระเลย สุขก็เกิดขึ้นเดี๋ยวนั้น ทุกข์มหาศาลไม่ต้องพูดถึง ทุกข์มหาศาล เพราะการบังคับตัวเองทำไมไม่ทุกข์ คนเขาไปมีความสุข เขาเพลิดเพลินไป มันสุขเพื่อจะทุกข์ มันเป็นการแบบว่าอมหนองไง มันเป็นการปวดบวมอยู่ในตัวเองนั้น พอมันลูบๆ คลำๆ หน่อยมันก็ว่าความเจ็บความปวดนั้นหายไป เวลาเราเจ็บปวดเอามือลูบๆ คลำๆ มันก็เบาลงทุเลาลง ความสุขของโลกมีเท่านั้น
เหมือนฝี เจ็บปวดอยู่อย่างนั้นน่ะ แต่ของเรานี่เราบ่งฝี เราจะบ่งฝีบ่งหัวใจออกน่ะ ความทุกข์ทำไมมันจะไม่มี แต่ทุกข์แบบนี้ ทุกข์แบบผู้ปฏิบัติ ทุกข์แบบอาชาไนย ทุกข์แบบคนจะพ้นจากโลก มันถึงว่าไม่กลัวไง ไม่กลัวทุกข์อย่างนี้ ถ้าเราศึกษาธรรมที่ว่าจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้นี้... เข้าถึงจิตเดิมแท้ จิตเดิมแท้นี้เป็นประตูนิพพาน นี่ถ้าเราคิดอย่างนั้นเราเอาแต่ง่าย เราจะเอาแต่ง่ายๆ เวลานั้นเราทำไมเราเคลิบเคลิ้มได้
ถ้าเราคิดว่าเราจะทำ เราตั้งเป้าหมายของเรา ตั้งเป้าหมายให้การพ้นทุกข์จริงๆ ทุกข์ก็ใส่ความมุมานะทุ่มเข้าไป สิ่งทุกอย่างเราทุ่มเข้าไปๆ...มันถึงเองไง ระยะทางเท่าไรก็แล้วแต่ เราเริ่มต้นตั้งแต่กิโลเมตรแรก เราออกสตาร์ทตั้งแต่กิโลเมตรแรก จะถึงไม่ถึงนั้นเป็นเรื่องของความสามารถของเรา หน้าที่ของเราคือก้าวเดินไปอย่างเดียวเท่านั้น หน้าที่ของเราคือความเพียรเท่านั้น
ธรรมะตามความเป็นจริง ตามอริยสัจความเป็นจริงอยู่ในหัวใจ ทุกคนไปได้หมด เพราะมีหัวใจ มีพุทโธอยู่ที่ใจ พุทโธคือผู้รู้อยู่ที่ใจ คนยังมีความรู้สึกอยู่ ยังมีตัวเป้าหมายที่เดินไปถึงอยู่ การแข่งขันเขาเดินออกไปข้างนอก ไอ้นี่เราเดินเข้ามาหาใจของเราเอง เราเข้ามาอยู่พุทโธ หัวใจของเรา เราย้อนกลับไปที่ใจของเรา มันถึงว่ามีกายกับใจ มีไง การลงทุนคือลงทุนเกิดมามันมีทุนมีต้นทรัพย์ที่ไปเกิดเป็นมนุษย์นี้ อันนี้ถึงว่าเป็นบุญกุศลของเราแล้วที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วมีโอกาสมาขนาดนี้ไง โอกาสขนาดนี้ไม่มีใครมี
ถ้าเราย้อนกลับมา นี่โลกเขาเพลิดเพลินอยู่ในโลกมหาศาลเลย จะเป็นพันๆ ล้าน กี่พันล้านก็แล้วแต่ เขาเคลิบเคลิ้มกันหมดเลย ส่วนแยกออกมาในวงปฏิบัติมีเท่าไร แล้วก็ยังจะมาหลงใหลกันว่าจิตเดิมแท้ประตูนิพพานนั้นอีกเหรอ นั่นน่ะ ตัวกิเลสมันเริ่มปั่นมาในวงปฏิบัตินะ แล้วก็ยอมคัดลอกย่อยออกมาอีกว่าเราเข้ามาตรงนี้ แล้วคิดดูว่า จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส เป็นเป้าหมายแน่นอน เพราะจิตเดิมแท้มันอยู่ที่กลางหัวใจเรานี้ แต่ไม่มีใครเคยเห็น
ถ้ามีใครเคยเห็น อรหัตตมรรคเท่านั้น พ้นไปแล้ว ถ้าคนเคยเห็นจิตเดิมแท้ คนเคยเอาจิตเดิมแท้ไว้จนเป็นอรหัตตมรรคแล้ว ธรรมจักรหมุนแล้วไม่กลับมาเกิด ไม่กลับมาเป็นมนุษย์อยู่นี้ ยกเว้นไว้แต่ชาติปัจจุบันนี้ แล้วเราประพฤติปฏิบัติในชาติปัจจุบันนี้ สิ้นในชาติปัจจุบันนี้นั่นถูกต้อง เพราะเราก็ยังมีชีวิตอยู่ไง แต่เราเป็นมีชีวิตอยู่เพราะเราทำลายในปัจจุบันนี้ไง เราทำลายในปัจจุบันธรรมนี้ ถึงเข้าใจตามปัจจุบันนี้ตามความเป็นจริงไง
ถึงว่า จิตเดิมแท้นี้มันเป็นกิเลสแท้ๆ ไง ถึงเข้าใจจิตเดิมแท้ตามความเป็นจริง แล้วก็เข้าใจว่าจิตเดิมแท้นี้จะพ้นกิเลสได้ตามความเป็นจริงไง ถึงว่าอันนั้นเป็นสิ้นสุด เป็นเป้าหมายของชาวพุทธ ที่พ้นออกไปจากตามความเป็นจริง เป็นนิพพาน ๑ เท่านั้น
มรรค ๔ ผล ๔ อรหัตตผล นิพพาน ๑ นี่ก็เป็นติ๊ต่างขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ว่าใครจะมารู้ตามหลังมาแล้วก็ไม่สามารถจะรู้เกินองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นี้ อยู่ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าวางไว้หมดเลย ปิดล้อมไว้หมดเลยไม่มีใครที่จะมาปฏิบัติธรรมแล้วจะรู้เกินองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มี แม้แต่สิ้นไปแล้วยังบอกนิพพาน ๑ แล้วใครมารู้เข้า ก็อ๋อ ก็พอ พออ๋อแล้วก็ไม่มีใครกล้าค้าน ไม่มีใครกล้าค้านองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่นิพพานก็ไม่ใช่อัตตา นิพพาน ๑ นั้นไม่ใช่อัตตา แล้วนิพพานว่างนั้นก็ไม่ใช่ความว่างตามอย่างที่เขาว่ากัน มันเป็นความว่างติ๊ต่าง นิพพาน ๑ ก็ติ๊ต่าง แต่ติ๊ต่างขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วผู้เข้าถึงจริงก็รู้จริงตามความเป็นจริงก็ไม่กล้าค้านองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะไปว่าเป็นความว่างก็เป็นติ๊ต่างของผู้รู้ที่จะไปติ๊ต่างกันข้างล่างนี้เท่านั้นเอง มันถึงเป็นตามความเป็นจริง
ขอให้ผู้ปฏิบัติถึงจริงแล้วจะไม่เป็นการโต้เถียงกันเลย สิ่งที่โต้เถียงเพราะว่าผู้ที่ไม่รู้จริงแล้วเข้าไปเอาสิ่งที่ติ๊ต่างมาเพื่อเป็นสิ่งที่จะมาสอนกันนี้มาถกก่อนไง คือว่าไปเอาสิ่งที่ไม่ใช่ถึงที่สุด สุกก่อนห่าม ซื้อก่อนขายไง ซื้อก่อนขายไม่มีสมบัติเลย ไปซื้อล่วงหน้าไว้ตลอดเลย แล้วก็เป็นทุกข์สุดๆ ไปตลอด เพราะเราไปซื้อสิ่งที่ล่วงหน้ามาเป็นความวิตกกังวลในหัวใจ เราไปคาดไปหมายสิ่งที่ยังไม่มาถึง แล้วมาเป็นความใคร่ครวญเป็นการไตร่ตรอง เป็นการแบกทุกข์ เหมือนกับเด็กๆ เอาความรับผิดชอบให้มากๆ เด็กนั้นรับไว้ไม่ไหวไง การประพฤติปฏิบัติก็เลยไม่ก้าวเดินตามความเป็นจริงไง เราเป็นเด็ก การประพฤติปฏิบัติเริ่มต้นเราก็ต้องตามความเป็นจริง สิ่งที่ยังไม่ถึงนั้นวางไว้ก่อน ถึงจุดนั้นแล้วเดี๋ยวค่อยว่ากัน
การต่อสู้ การตีกองทัพ ตีจากปีก ตีจากหน้า ตีจากหลัง ตีจากส่วนนอกย่อยเข้า มันก็ถึงจุดตรงนั้นตามความเป็นจริงแน่นอน ทีนี้ เราไปวิตกกังวลก่อนว่าเราไม่มีความสามารถ หรือเราทำไม่ได้ตามนั้น หรือเราจะลัดเข้าไปเลยนี่มันก็เป็นแค่เราอ่านพิมพ์เขียวกันเฉยๆ ไง พิมพ์เขียวยังดีนะ พิมพ์เขียวยังเป็นตามความเป็นจริงนะ เพราะพิมพ์เขียวนี่ทำตามพิมพ์เขียวแล้วก็จะเป็นจริง แต่นี่มันเป็นความติ๊ต่าง ที่ว่ามันเป็นติ๊ต่างนั้น ความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่ง แต่ติ๊ต่างมามันเหมือนกับไม่ใช่ความเป็นจริงอันนั้นน่ะ มันเลยยิ่งกว่าพิมพ์เขียวอีก พิมพ์เขียวเราทำตามนั้นยังไปได้
ไอ้นี่เห็นอย่างนั้นแล้วกำลังใจเราไม่มี กำลังใจเราไม่มีแล้วเราก็ก้าวเดินไม่ออก ถึงก้าวเดินออกไปก็พลาด ถึงว่าต้องเข้าไปถึงตามความเป็นจริง ถ้าเราปฏิบัติไปเห็นเอง รู้เอง ถึงจุดนั้นเอง หมดสงสัยนะ หมดสงสัยเลย มาเรียกเขาว่าอย่างนั้น เขาเสนออย่างนั้น ความเป็นอย่างนั้นออกไป ถึงว่ามันอยู่เราเกิดมาแล้วเราพบพระพุทธศาสนานะ พบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พบครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้ชี้แนะ ตั้งแต่หลวงปู่มั่นลงมาเลย หลวงปู่มั่นเป็นหลักชัยของผู้ปฏิบัติในสมัยปัจจุบันนี้นะ หลวงปู่มั่นนี้เป็นผู้ที่ข้ามพ้นไปตามความเป็นจริงแล้วนะ ถึงได้เป็นครูอันเอก เป็นผู้ที่สั่งสอนให้ลูกศิษย์เดินตามขึ้นไปนะ
ครูบาอาจารย์เดินตามเข้าไปเป็นพยาน หลวงปู่แหวนเป็นพยานนะ หลวงปู่ขาวเป็นพยานนะ ครูบาอาจารย์เป็นพยานกันมาตลอด แต่พอมีสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา กิเลสในหัวใจเรามันยุแหย่ให้อยากจะให้หาทางสะดวกไง กิเลสในหัวใจนะ ดูโทษของมันสิ ในการประพฤติปฏิบัติจะฆ่ามันอยู่เดี๋ยวนี้ยังลำบากขนาดนี้เลย เราจะฆ่ามันอยู่นะ ทำไมมันมาทำลายแม้แต่ในขณะที่กำลังจะฆ่ามันอยู่ ว่า ให้เอาอย่างนั้นง่ายกว่า เอาอย่างนี้ง่ายกว่า เอาอย่างนี้เป็นทางลัด เอาอย่างนี้เป็นทางที่จะถึง นี่โทษของกิเลส
ตั้งใจเริ่มแรกก็ว่าจะฆ่ามัน ประพฤติปฏิบัติมานี่ได้บุญกุศลนะ ได้บุญกุศลหมายถึงว่าเราเริ่มประพฤติปฏิบัติ บุญกุศล เกิดเป็นพรหมเกิดเป็นอะไรแล้วแต่ ถ้าจิตลงเป็นสมาธิ ถ้าจิตเป็นสมาธิ จิตเราแน่วแน่แล้วรักษาไว้ กาฬเทวิลไม่เคยเจอพระพุทธเจ้าเลย เพราะเกิดก่อนและปฏิบัติมาก่อนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเกิด เขายังไปพรหมได้ นี่เขาเห็นจิตเดิมแท้ที่ไหน
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตเราเป็นสมาธิ จิตเราปฏิบัติ มันก็ไปเกิดเป็นพรหมแน่นอน ถ้าจิตเราเวลาเราจะดับนะ เราถือตรงนั้นเป็นอารมณ์ ถือตรงนั้นเป็นที่เกิด ออกตามการเครื่องแต่งกายด้วย จิตเป็นสมาธิ เกิดเป็นพรหมแน่นอน นี่การเกิดเป็นพรหม...เห็นจิตเดิมแท้ไหม?
นี่การประพฤติปฏิบัติถึงได้กุศลตรงนี้ กุศลตรงนี้ ถ้ายังไปไม่ได้ จิตเราอย่างนี้เราก็เกิดในวัฏฏะนี้ แต่กุศลบุญกุศลในการประพฤติปฏิบัตินี้มีมหาศาลนะ แต่เราไปอ่อนน้อยใจก่อน น้อยใจว่าเราทำจิตไม่ได้อย่างนั้น เราไม่พ้นอย่างนี้ ไม่ถึงขั้นตอน นี่ถ้าไม่ได้มันก็ประกันความว่าเราขึ้น จิตนี้จะพัฒนาขึ้น วุฒิภาวะ เครื่องหมายประกันในการเกิดไง ในการตายไปแล้วเกิด ก็ยังเกิดดี เกิดดีเกิดในที่มันสมควร กับเกิดในตามชุ่มด้วยกิเลส เกิดไปตามกิเลสมันจะพาไปนะ ทีนี้ ไม่เชื่อมรรค ไม่เชื่อผล ไม่เชื่อตามความเป็นจริง ทำแต่ตามอารมณ์ของตัว ทำแต่ความเคยใจไง อันนั้นมันพาไปอีกทางหนึ่ง นี่มันต้องบังคับหักห้ามใจ ถึงเวลาเริ่มชำระกิเลส ถึงว่าเห็นโทษของมัน เห็นโทษของกิเลสมันก็มีกำลังใจจะชำระกิเลส
ขณะชำระกิเลสก็ไม่ให้กิเลสเข้ามาแบ่งเวลาหรือทำให้เราไขว้เขวจากการประพฤติปฏิบัติไขว้เขวจากการจะเป้าหมายตามความเป็นจริงของเรา จะชำระมัน ๑ จะไม่ให้มันทำให้เราผิดเป้าหมาย ผิดจุดประสงค์ ผิดหลักธรรม ผิดธรรมตามความเป็นจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พาจะออกจากกิเลสไง...ซ้ำ ๒ ซ้ำ ๓ ในการมันจะเบนเป้าหมายนะ แล้วพอมาประพฤติปฏิบัติมันก็ยังเข้ามายุแหย่ในท่ามกลางไง อย่างเช่นเราจะเอามีดฟันเนื้อสัตว์ มันจะผลักให้มีดเราฟันไปที่อื่นเลย
นั่นล่ะ มันถึงว่าโทษของมัน พอเห็นโทษของมันก็กลัวมัน จะชำระมัน ต้องยึดหลักยึดมั่นยึดหลักให้ดี ไม่ให้มันมาทำให้เราเขวออกไปจากอันนั้น ถึงเราจะมีที่อุ่นใจได้ไง ที่อุ่นใจได้นะ อุ่นใจเพราะว่าตั้งแต่หลวงปู่มั่นกับครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้ชักนำข้ามไปถึงตามความเป็นจริงแล้วตามความเป็นจริงแล้วชี้บอกทาง แล้วยังยื่นมือมาดึงพวกเราขึ้นไปอีก
ฉะนั้น ถ้าเรามีอย่างนี้แล้วเราถึงจะพอใจ เราถึงจะปฏิบัติตามความเป็นจริง ไม่ต้องไปเชื่อข่าวลือต่างๆ ไม่ต้องไปเชื่อความเห็นจากข้างนอกว่าจะเอามักง่าย เอาทำสะดวกสบาย ถ้าเราไม่มักง่าย มักง่ายแล้วมันจะได้ยากเรามักยากๆ มักตามความเป็นจริงของเราแล้ว มันจะถึง-ไม่ถึงมันอยู่ที่บุญวาสนา อยู่ที่ความมุมานะ อยู่ที่ความจริงของเราผู้ปฏิบัตินี้ เอวัง