ธรรมฝังกลบ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
เอ้า! ตั้งใจฟังธรรมะ ตั้งใจฟังธรรมนะ ธรรมะขององค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐมาก จนชาวพุทธเราเก็บไว้บนหิ้ง เรามีหิ้งพระๆ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่บนหิ้ง แล้วเราก็มีแต่ความทุกข์ความยากกันไง ทั้งๆ ที่ว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แก้วสารพัดนึกนะ เป็นรัตนตรัย เป็นที่พึ่งที่อาศัย ถ้าเป็นรัตนตรัย เป็นที่พึ่งที่อาศัย มันอยู่ที่อํานาจวาสนาของคน จะได้พึ่งได้อาศัยมากน้อยแค่ไหน
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะนะ ไม่มีกํามือในเรา แบตลอด แบให้ทุกคนตรวจสอบ แบให้ชาวพุทธทุกคนแสวงหา ถ้าแสวงหาเป็นสัจจะเป็นความจริงขึ้นมาในใจของตน ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก มันมีคุณค่า มันมีคุณค่าสําหรับหัวใจของคน
แต่มันลึกลับซับซ้อนจนคนจับต้องอะไรไม่ได้ เวลาคนจับต้องอะไรไม่ได้ โดยประเพณีวัฒนธรรมเลยเป็นความเชื่อ ความเชื่อในพระพุทธศาสนาไง ต้องมีการศึกษา เราต้องเรียนรู้ก่อน เรียนรู้แล้วเราจะประพฤติปฏิบัติ ส่วนใหญ่คิดกันอย่างนั้นเลย เราต้องเรียนรู้ก่อน เพราะเราจะหลงทาง เราจะไม่มีธรรมและวินัยเป็นเครื่องดําเนินเป็นข้อวัตรปฏิบัติเป็นการดําเนินให้เราถูกต้องชอบธรรม ฉะนั้น เราจะต้องเรียนก่อนๆ
มันก็ถูกต้อง มันถูกต้องเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัม-พุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม วางธรรมวินัยนี้ไว้ๆ เวลาองค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการไง เวลามารมันดลใจๆ “ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ เป็นศาสดา ถ้านิพพานเป็นวิมุตติสุขๆ ก็ตายซะ อยู่ไปทําไม” ดลใจมาตลอดถึง ๑๖ คราวนะ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาไปโต้แย้งกับมารตลอดๆ
เวลาของเรา เห็นไหม เวลาเราทุกข์เรายากขึ้นมา อะไรดลใจเราบ้างล่ะ มันมีแต่กิเลสดลใจไง กิเลสมันปิดหูปิดตา มันอั้นตู้ มันคับแค้นใจอยู่อย่างนั้น มีแต่ความทุกข์ความยากในใจตลอดแล้วมีอะไรบ้างที่ขึ้นมาได้ มีแต่มาร มารมันปิดกั้น
เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง เวลาท่านเทศนาว่าการ มารมันขัดมันแย้งตลอดเวลา เพราะอะไร นี่ธรรมโอสถไง สัจธรรมที่ออกมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัม-พุทธเจ้าหนึ่งไม่มีสอง ถูกชอบธรรมทั้งสิ้น ความถูกต้องชอบธรรมทั้งสิ้นขึ้นมา เห็นไหม พระอานนท์เวลาจะได้รับการอุปัฏฐาก ขอสัญญากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ ข้อ
ข้อ ๑. ถ้าเวลาพระอานนท์อยู่ที่องค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการนั้นได้ยินแล้วไม่ต้องบอก แต่ถ้าเมื่อใดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเทศนาว่าการโดยที่พระอานนท์ไม่ได้ไปด้วย ต้องกลับมาพูดให้พระอานนท์ฟังด้วย เพราะอะไร เพราะว่าถ้ารับอุปัฏฐากแล้ว แล้วถ้าคนมาถามว่าองค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรมว่าอย่างไร ถ้าบอกเขาไม่ได้ ก็บอกว่าเป็นผู้ที่ไม่เอาใจใส่ ไม่ฝักใฝ่หาความรู้ เป็นผู้ที่บกพร่องต่อหน้าที่
ข้อ ๒. ได้สิ่งใดมาที่เป็นลาภสักการะนะ ไม่ต้องให้พระอานนท์ เป็นเพราะเหตุใดล่ะ ถ้าอย่างนั้นเขาจะติเตียนว่า พระอานนท์อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพราะเห็นแก่ลาภ ขอสัญญาไว้ ๒ ข้อไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอนุญาต ก็เลยได้อุปัฏฐากมา ก็ได้ฟังธรรมๆ อันนี้มา
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน เห็นไหม ต้องทําสังคายนา เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์เอาไว้แล้ว เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร พระอานนท์ครํ่าครวญ ครํ่าครวญมากเพราะเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันอยากจะมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคุ้มครองดูแลอยู่ต่อไป แล้วถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ใครจะอบรมสั่งสอนเรา เห็นไหม ครํ่าครวญร้องไห้ เสียใจ
“อานนท์ เราบอกเธอแล้วไม่ใช่หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงต้องดับไปเป็นธรรมดา แม้แต่เราตถาคตก็จะต้องปรินิพพานในคืนวันนี้ เธออย่าเสียใจอย่าทุกข์ใจไปเลย อีก ๓ เดือนข้างหน้าเขาจะทําสังคายนา”
นี่อนาคตังสญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ถ้านิพพานไปแล้วอีก ๓ เดือนข้างหน้าเขาจะมีการสังคายนา เธอจะได้เป็นพระอรหันต์ในวันนั้น เธออย่าเสียใจ อย่าครํ่าครวญ อย่าร้องไห้ไปเลย” นี่ไง นี่เวลาปลอบพระอานนท์
แต่เวลามีสังคายนา พระกัสสปะ เห็นไหม นี่ออกพรรษาแล้วก็จะมากราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาจะมากราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เดินระหว่างทางไง เห็นคนเดินสวนทางมา ก็ถามทางเขา “ได้ข่าวองค์สมเด็จพระสัมมาสัม-พุทธเจ้า ศาสดาของเราหรือไม่” เพราะจะมากราบมาเคารพบูชา
“โอ้! องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว”
นี่ไง “นี่มาจากงานองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่แหละ”
โอ! พระกัสสปะอึ้งเลยล่ะ พระที่เป็นลูกศิษย์พระกัสสปะมาด้วยกัน ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็ปลงธรรมสังเวช ผู้ที่มีทุกข์มียากอยู่ยังไม่ถึงที่สิ้นสุดก็มีความเสียใจ พวกปุถุชนก็ร้องไห้ครํ่าครวญไง นี่หลวงตาที่มาด้วยไง “ร้องไห้ไปทําไมๆ องค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว สุดยอดเลย ดีมาก ต่อไปนี้จะไม่มีคนคอยจํ้าจี้จํ้าไช ดีมากเลย”
พระกัสสปะเป็นพระอรหันต์เป็นเลิศเอตทัคคะธุดงควัตร สะเทือนใจมาก มันไปสะเทือนใจพระอรหันต์ มันไปสะเทือนใจ พระอนาคา พระสกิทา พระโสดาบัน สะเทือนใจมาก นี่ปุถุชนก็เสียใจร้องไห้ครํ่าครวญ ถ้าจิตใจที่เป็นธรรม ไอ้หลวงตาที่มันมักมาก อยากสุข อยากสบาย “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว อู้ย! ยอดเยี่ยมเลย จะไม่ต้องมีคนมาคอยจํ้าจี้จํ้าไชอีกแล้ว”
นี่ความคิดฝ่ายทางโลก บวชมาเพื่อความสุข ความสบาย บวชมาเพื่อลาภสักการะ บวชมาเพื่อชื่อเสียงกิตติศัพท์ กิตติคุณ บวชมาเพื่อความอยากดัง นี่เพราะหัวใจด้านไง หัวใจด้านชา
แต่หัวใจที่เป็นธรรม นี่ปลงธรรมสังเวชมาก สังเวชมากไง แล้วพระกัสสปะเห็นดังนั้น นี่เป็นต้นเหตุว่า “ต่อไปเราจะต้องทําสังคายนาให้ถูกต้องชอบธรรม เพราะคนที่จะจาบจ้วงธรรมและวินัยมีมากมายมหาศาล” นี่ไปกราบศพองค์สมเด็จพระสัมมาสัม-พุทธเจ้า แล้วเทวดาจุดไฟประชุมเพลิงเลย แล้วประชุมสงฆ์ให้ทําสังคายนา
เวลาทําสังคายนา นี่ธรรมและวินัยๆ ถ้าวินัยก็เป็นพระอุบาลีที่เลิศทางวินัย ถ้าเป็นธรรมๆ เป็นธรรมก็มาจากพระอานนท์ พระอานนท์นี่ได้ยินได้ฟังมาหมดเลยๆ เวลาทําสังคายนาก็รอพระอานนท์เป็นพระอรหันต์ไง เวลาเป็นพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ นี่เถรวาทๆ “เถรวาท” โอวาทของพระเถระ ๕๐๐ องค์ที่ทําสังคายนา
ที่เราศึกษาค้นคว้ากันอยู่นี่ เถรวาทๆ เรานี้แหละ เราเคารพบูชา ธรรมและวินัยๆ ที่ว่าศึกษาธรรมและวินัย ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าศึกษาๆ แล้วจะได้ประพฤติปฏิบัติไง นี่ภาคปริยัติ ถึงจะเป็นภาคปริยัติ เขาก็ต้องมีทางวิชาการของเขานะ ถ้ามีทางวิชาการของเขา เห็นไหม มันเลยสืบทอดมาเป็นพระพุทธศาสนากึ่งพุทธกาล
เวลากึ่งพุทธกาลแล้วนี่ศาสนา “กึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง” ในพระไตรปิฎกนี่พูดไว้อย่างนั้นเลย แล้วเวลากึ่งพุทธกาลในศาสนา ศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง เจริญที่ไหนล่ะ เวลาเจริญขึ้นมา เห็นไหม สิ่งที่ทางภาควิชาการ ทางภาคปริยัติเขาต้องศึกษาค้นคว้าของเขา ศึกษาค้นคว้าของเขา ถ้าภาคปริยัติชัดเจนนี่ภาคปฏิบัติจะชัดเจนขึ้นมา
นี่ภาคปริยัติ ศึกษามาๆ ภาคปริยัติ ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเรา ศึกษาแล้วมีการสอบ ศึกษาทางวิชาการ ถ้าใช้ได้ก็ต้องทําต้องแต่งเรียงความ ถ้าเรียนทางโลกต้องทําวิทยานิพนธ์ เขาก็ต้องทําของเขา เป็นทางวิชาการที่เจริญขึ้นมา ก็เจริญทางวิชาการ เพราะทรงจําธรรมวินัย เพราะมันมีเราไง
นี่เวลาทางโลกเขา สมมุติบัญญัติๆ สมมุติๆ โลกสมมุติ โลกที่เกิดขึ้นมา ภาษาบาลีก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง ภาษามคธเป็นสมมุติอันหนึ่ง แล้วเวลาแปลบาลีเป็นภาษาไทย ภาษาไทยก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง มันเป็นสมมุติบัญญัติๆ ไง สมมุติบัญญัติขึ้นมา แล้วใครเป็นเจ้าของสมมุติบัญญัติล่ะ ก็จิตไง จิตที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ
เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน แก้จิตๆ ก็แก้จิต จิตดวงที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะไง
ถ้าเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะมาเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา มันมีอํานาจวาสนาบารมีมากมายมหาศาล ได้ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาๆ ศึกษา ศึกษาขึ้นมาก็เป็นสมมุติบัญญัติๆ ไง สมมุติก็ทางภาษาไทยนี่ภาษาสมมุติ ภาษามคธ ภาษาบาลี นี่สมมุติบัญญัติๆ บัญญัติก็ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาศึกษาค้นคว้าขึ้นมาขนาดไหน เขาก็ต้องมีการสอบนะ ทางวิชาการของเขา เขามีการตรวจสอบทั้งสิ้น มันถึงจะได้เจริญงอกงามขึ้นมาไง
แล้วเวลาภาคปฏิบัติล่ะ เวลาจะภาคปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วปฏิบัติขึ้นมาจะเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาหรือไม่ ถ้าเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา ศึกษามาแล้วนี่ ภาคปริยัติศึกษามาแล้ว เวลาชาวพุทธเรา ถ้าเป็นพระต้องมีสมณสารูป เป็นพระต้องละวางสิ่งต่างๆ ถ้าเป็นพระนะ นี่คาดหวัง แต่มันจริงไหม เวลาธรรมทูตๆ ไง นั่นก็ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่ไอ้สุขไอ้ทุกข์เป็นเรื่องของเรา ไอ้กิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจเป็นเรื่องของเรา เวลาเป็นธรรมๆ ขึ้นมา เป็นธรรม เป็นธรรมแค่ไหน เวลาเป็นกิเลส กิเลสมันมองไม่เห็น มันชิงดีชิงชั่ว มันแย่งชิงต่างๆ แย่งชิงกัน นี่พูดถึงว่า ถ้ามันเป็นกิเลส
ถ้าเป็นธรรมล่ะ ศึกษามาเพื่อ? ถ้ามีอํานาจวาสนานะ ศึกษามาเพื่อจะประพฤติปฏิบัติ แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต กึ่งกลางพระพุทธศาสนา ศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง แล้วมันเจริญที่ไหน?
เวลามันเจริญงอกงามขึ้นมา มันก็เจริญงอกงามขึ้นมา ในกึ่งพุทธกาลผู้ที่มีบุญอํานาจวาสนาขึ้นมา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านออกประพฤติปฏิบัติของท่าน เวลาออกประพฤติปฏิบัติของท่านนะ คนที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาหันรีหันขวางทั้งนั้น คําว่า “หันรีหันขวาง” เราจะรู้ได้อย่างไร? เราจะปฏิบัติอย่างไร? แล้วทําความสงบ สงบตรงไหน? มันมีครูบาอาจารย์หรือไม่?
แต่ในปัจจุบันนี้มี แต่สมัยหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านค้นคว้าของท่าน ท่านค้นคว้าขึ้นมาจากธรรมและวินัยขององค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ศาสดา ถ้าศาสดาการเคารพบูชาๆ มันเคารพบูชาจากหัวใจนะ ถ้ามันเป็นจริงเป็นจังขึ้นมามันจะมีรสชาติขึ้นมา รสของธรรมชนะรสทั้งปวง รสของสติธรรม ฝึกหัดสติ สติมันเป็นอย่างไร? สมาธิมันเป็นอย่างไร? แล้วถ้าปัญญา ปัญญามันเป็นอย่างไร? ปัญญาที่เราคิดกันอยู่นี่ปัญญาอะไร?
แล้วปัญญาสิ่งต่างๆ นี่ เวลามันพิจารณาของมันขึ้นมาแล้วมันเทียบเคียงขึ้นมาได้กับจิตใจของเรา แล้วถ้าจิตใจของเรานั้นมันเป็นไปตามสัจจะ เป็นความจริงขึ้นมา มันจะหยุดของมันด้วยสติ จิตมันจะสงบเป็นสัมมาสมาธิ มันจะมีความสุขของมัน ถ้ามันยกขึ้นสู่วิปัสสนาไม่ได้ ล้มลุกคลุกคลานกันอยู่ตรงนี้แหละ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน
เวลาทางโลก เวลาทางโลกมันมีภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ เวลาเรามาประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันก็มีสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐานๆ ถ้าเป็นสมถกรรมฐานเพื่อ เพื่อชนะกิเลส ชนะความมักมาก ชนะความอยากใหญ่ ชนะสิ่งที่เป็นตัวตนของตนให้ได้ก่อน
ถ้าชนะสิ่งที่เป็นตัวตนของตนไม่ได้ก่อน เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันคาดหมาย ทั้งคาดทั้งหมาย ทั้งด้นทั้งเดา มันเข้าถึงความจริงไม่ได้หรอก แล้วก็งงนะ พระพุทธเจ้าก็สอนจริงๆ แต่เราทําแล้วทําไมมันไม่จริง มันจริงได้ยากมากเลย มันยากมากเพราะอะไร เพราะนี่ไงวาสนาของคนไง
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางการประพฤติปฏิบัติไว้ กรรมฐาน ๔๐ ห้อง กรรมฐาน ๔๐ ห้อง คือทําความสงบ ๔๐ วิธีการ การทําความสงบ ๔๐ วิธีการทําได้มากมายมหาศาลเลย ทั้งๆ ที่เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษามา อุทกดาบส อาฬารดาบสไง สมาบัติ ๖ สมาบัติ ๘
เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรื่องมรรค เห็นไหม มันไม่มีสมาบัตินะ มันมีสมาธิ เพราะคนที่ประพฤติปฏิบัติจะเข้าใจแล้วจะรู้เลยถ้ามันเป็นสมาบัติมันจะเป็นอย่างไร ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสา-นัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญา-นาสัญญายตนะ มันเข้ามันออกอย่างไร แล้วมันเข้ามันออกแล้วมันมีกําลังอย่างไร
ถ้ามีกําลัง เห็นไหม ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว ถ้าเขาแก้ไขตัวของเขา นี่ไง อภิญญา ๖ อภิญญาที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ อภิญญา ๖ คือเข้าสู่มรรค ถ้าเข้าสู่มรรคนะ อภิญญา ๖ รู้ว่าพ้นจากทุกข์ได้ แล้วมันพ้นทุกข์ได้มันยากง่ายขนาดไหนถึงได้ตั้งเป็นมรรคเป็นผลขึ้นมา เวลาเป็นมรรคเป็นผลขึ้นมาถึงได้ไม่ให้เข้าไปสู่สมาบัติ ๖ สมาบัติ ๘ เห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่ใช่ ศีล สมาบัติ ปัญญา ไม่เห็นมี แล้วศีล สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญาอย่างไร เวลาประพฤติปฏิบัติ ปฏิบัติอย่างไร
เวลาปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ที่สมบุกสมบันขึ้นมาท่านปฏิบัติของท่านขึ้นมา ท่านเห็นว่าเวลาจะเอาชนะตนเอง ชนะตนเองอย่างไร กรรมฐาน ๔๐ ห้องมันมีวาสนามากน้อยแค่ไหน แล้วอาศัยคอยสังเกต สังเกตว่าเขาตั้งใจ เขาจริงใจ เขาจงใจหรือไม่
เวลาทางวิชาการทางโลก เขาแสวงหาช้างเผือก เพื่อทางวิชาการของเขางอกงาม หลวงปู่เสาร์ท่านรอหลวงปู่มั่น รอแล้วรออีกนะ นี่แสวงหาช้างเผือก แล้วเวลาออกประพฤติปฏิบัติ ปฏิบัติช่วยกันแสวงหาเพื่อเป็นครูเป็นอาจารย์ด้วยกันทั้งคู่ เวลามันเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา เป็นจริงเป็นจังมาในหัวใจของตน ถ้ามันเป็นจริงเป็นจังขึ้นมาในหัวใจของตน ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลของเรา ศีลให้มันถูกต้องชอบธรรม ถ้าชอบธรรมขึ้นมา ถ้ามันทําความสงบเข้ามา ใจมันสงบระงับเข้ามาๆ
ถ้าใจมันสงบระงับเข้ามาแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา ถ้ายกขึ้นสู่วิปัสสนา ถ้ามันเป็นภาวนามยปัญญา มันออกก้าวเดินไป โอ้โฮ! มันต้องอย่างนี้สิ คําว่า “มันต้องอย่างนี้” มันมีรสมีชาติ มันมีข้อเท็จจริงของมันทั้งสิ้น ถ้ามีข้อเท็จจริงขึ้นมาแล้วผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ด้นไม่เดา ไม่คาดไม่หมาย ไม่แซงหน้าไม่แซงหลัง ไม่ลัดสั้นตามแต่ความพอใจของตน
เพราะเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา มันแสนทุกข์แสนยาก คําว่า “แสนทุกข์แสนยาก” เพราะอะไร แสนทุกข์แสนยากเพราะมันจะต่อต้านกิเลส มันจะพยายามค้นคว้าหากิเลสในใจของตน ถ้ามันจะพยายามค้นคว้าหากิเลสในใจของตน แล้วกิเลสมันครอบงํา ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย มันค้นคว้าอย่างไรมันก็ไม่เห็นหรอก มันครอบมิด มืดมิดเลย
ถ้ามืดมิดเลย เราก็ทําความสงบของใจเข้ามาก่อนๆ พอใจสงบระงับเข้ามา ถ้ามันเป็นสัมมาสมาธิ จิตมันมีความสุขมีความสงบของมัน ถ้าจิตมีความสุขมีความสงบของมัน เห็นไหม มันเริ่มเห็นแสงหิ่งห้อย เห็นความสว่างไสวในใจของตน ถ้าเห็นแสงสว่างในใจของตน จิตเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าฝึกหัดยกขึ้นสู่วิปัสสนาๆ เห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง ถ้าเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงมันพิจารณาของมัน มันแยกแยะของมัน มันเกิดภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการภาวนา ไม่ใช่สัญญา
เพราะสัญญามันจะทําให้ทําสมาธิก็แสนยาก จะทําสิ่งใดล้มลุกคลุกคลานทั้งสิ้น เพราะมันเป็นสัญญา สัญญาคือความจํา ถ้าเป็นความจําขึ้นมา แล้วความจํากิเลสมันพ่วงเข้าไปอีกด้วย กิเลสมันชักมันนําเข้าไป มันก็วนอยู่อย่างนั้น
นี่พูดถึงเวลาประพฤติปฏิบัติเริ่มต้น จะทําความสงบของใจมันเลยยุ่งยาก ยุ่งยาก ยุ่งยากเพราะอะไร ยุ่งยากเพราะปุถุชนคนหนาไง
แล้วถ้ามีอํานาจวาสนา เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม เวลาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เกิดจากในใจของพระอัญญาโกณฑัญญะ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น
เวลาแสดงธรรมๆ เวลาจับประเด็นได้ เวลาสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับใจ เกิดขึ้นจากหัวใจ จากความรู้สึก จากความเป็นจริง ไม่ใช่จากการคาดการหมายเกิดจากสัญญา ไม่ใช่! เพราะสัญญาไม่ได้ เพราะมันยังไม่มีอยู่จริง มันมีอยู่จริงในใจขององค์สมเด็จพระ-สัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ มีองค์สมเด็จ-พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระธรรมเท่านั้น
เวลาแสดงธรรม แสดงธรรมสัจจะความจริงในใจองค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะ เห็นไหม มันจะสัญญาไปไหน มันยังไม่มีใครเป็นพระสงฆ์องค์แรกของโลก เวลาสิ่งใดที่เกิดขึ้น มันเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงในใจของพระอัญญาโกณฑัญญะ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดาๆ เกิดปัญญา สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ปัญญามันทั้งหลายทั้งปวงมันพิจารณาของมันไป สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายทั้งปวงต้องดับหมด ขณะจิตนิโรธ ดับทุกข์ ขณะจิต เวลานี่ภาคปฏิบัติ
เวลาภาคปริยัติ ภาคปริยัติเขาศึกษาเล่าเรียนเขามา เขาก็ต้องมีครูมีอาจารย์ของเขา เวลาเขาจะสอบของเขา เขาต้องสอบของเขา ครูบาอาจารย์ของเขาก็ต้องตรวจของเขา ในภาคปฏิบัติ ภาคปฏิบัติแสวงหาครูบาอาจารย์ก็แสนยากเพราะอะไร เพราะครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงๆ เราไม่รู้หรอก มันเลยมีกาลามสูตรไง อย่าเชื่อว่าเป็นอาจารย์ของเรา อย่าเชื่อๆ
เรามีศรัทธาความเชื่อในพระพุทธศาสนานะ เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้วนะ แต่การศึกษามา ศึกษาเป็นภาคปริยัติไง ภาคปริยัติ เห็นไหม ทรงจําธรรมวินัย เป็นแนวทาง เวลาปฏิบัติขึ้นมามันต้องตามความเป็นจริง แล้วตามความเป็นจริงข้อเท็จจริงมันอยู่ที่ไหน นี่ภาคปริยัติ
เวลาภาคปฏิบัติ ภาคปฏิบัติครูบาอาจารย์ของเราท่านเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านปรึกษาตรวจสอบกันมาตลอดว่า “ทําไมจิตมันสงบไม่ได้ สงบแล้วทําอย่างไร” พยายามค้นคว้ากันอยู่อย่างนั้น แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมาแต่ละชั้นแต่ละตอน เห็นไหม ถ้ามันคุยกันไม่ได้ มันพูดตรวจสอบไม่ได้ มันจะเป็นอริยสัจที่ไหนล่ะ
เวลาภาคปริยัติศึกษาแล้วสอบ สอบในสนามสอบ เวลาภาคปฏิบัติๆ เวลาสัจจะเป็นความจริงขึ้นมา อริยสัจมันเกิดขึ้นกลางหัวใจ แล้วถ้าเกิดขึ้นกลางหัวใจแล้ว หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านประพฤติปฏิบัติมาด้วยกัน เห็นไหม เกิดขึ้นกลางหัวใจ แล้วเวลาขณะจิต เวลามันสมุจเฉทปหาน นี่มันตรวจสอบกันได้
ถ้ามันตรวจสอบกันได้นะ มันก็เป็นสัจจะเป็นความจริง เห็นไหม เวลาท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ วางข้อวัตรปฏิบัติไว้ วางข้อวัตรปฏิบัติไว้ กึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง เจริญอีกหนหนึ่ง เจริญที่ เห็นไหม โรงงานใหญ่ที่ผลิตพระอรหันต์ๆ ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์มากมาย คําว่า “เป็นพระอรหันต์” นะ มันชําระล้างกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนๆ เข้าไป เวลาชําระล้างกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปแล้ว แล้วมันเคารพบูชามาก เคารพบูชาคนที่มีคุณ คนที่มีคุณ
ในประวัติของครูบาอาจารย์เรามากมาย อยากจะอุปัฏฐากอุปถัมภ์หลวงปู่มั่นๆ ผู้ที่เป็นมหานิกายมาก่อน เป็นมหานิกายเวลาเข้ามาอบรมบ่มเพาะ ธรรมและวินัย นานาสังวาส นานาสังวาสอยู่ด้วยกันไม่ได้ กินด้วยกันไม่ได้ แต่ก็ปฏิบัติร่วมกันได้ไง
เวลาครูบาอาจารย์หลายๆ องค์มากเลยที่เห็นบุญเห็นคุณขององค์หลวงปู่มั่น อยากจะอุปัฏฐากท่าน อยากจะอุปัฏฐากสิ่งใดให้ท่านได้ขบได้ฉันทําไม่ได้ ญัตติเป็นธรรมยุตเลย “เราเข้ามาเอาผลประโยชน์จากท่านมากมายมหาศาล แต่เราควรจะทําประโยชน์กับท่านบ้าง ทําไม่ได้เลย” นี่ไง เวลาคนที่เขาเห็นบุญเห็นคุณ เขาพยายามแสวงหา เขาพยายามกระทําของเขา เพื่อเป็นบุญเป็นคุณของเขา ถ้าใจของเขาเป็นกุศลนะ
ถ้าใจเขาไม่เป็นกุศลเขาก็ไม่สงบเข้าไป แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติไป หลวงปู่มั่นท่านอบรมบ่มเพาะ ท่านคอยแก้คอยไขขึ้นมา “จิตเป็นอย่างไรๆ” มันเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป กิเลสมันกลัว กิเลสกลัวธรรมะนะ แล้วกิเลสกลัวธรรมะที่แท้จริงด้วย เพราะ เพราะธรรมะที่แท้จริงในใจของหลวงปู่มั่นท่านได้ปราบปรามกิเลสแล้ว ท่านรู้เล่ห์เหลี่ยมของมัน
เวลาหลวงตาพระมหาบัวท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นนะ เพราะไปประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ มันก็มีกิเลสไง ท่านว่าทั้งกลัวนะ กลัวเพราะกลัวกิเลสมันแลบ กิเลสมันทั้งโต้มันทั้งแย้ง มันทั้งอยากพิสูจน์อยากตรวจสอบร้อยแปด เวลากิเลส กลัวกิเลสมันแลบ กลัวมาก แล้วทั้งเคารพรักและบูชา เวลาเคารพรักยิ่งกว่าพ่อยิ่งกว่าแม่ เวลาคุยกันเรื่องส่วนตัว คําว่า “เรื่องส่วนตัว” คือความเป็นอยู่โดยปกติ เหมือนพ่อกับลูก รักกันเคารพบูชาจากหัวใจที่มันเป็นธรรม
แต่เวลาหลวงตาพระมหาบัวท่านถามเรื่องธรรมะไง ปึ๊ง! ทันทีเลยนะ อริยสัจคืออริยสัจ ธรรมคือธรรม ธรรมเหนือโลก ไม่มีพวกเขาพวกเรา ไม่มีใคร ไม่มีสิ่งใดทั้งสิ้น กิเลสมันกลัวไง แล้วของเรา ความรู้ความเห็นของเรามันเป็นจริงไหม ความรู้ความเห็นของเรา เราประพฤติปฏิบัติมันเป็นธรรมจริงหรือเปล่า ถ้ามันเป็นธรรมไม่จริงไง
ถ้ามันเป็นธรรมไม่จริงเพราะมันมีสมุทัย มันมีกิเลส กิเลสมันเจือปนมาไง พอเจือปนมา แล้วความรู้เราไม่เท่าทันไง ถ้าความรู้ไม่เท่าทันมันก็จองหองพองขนเป็นเรื่องธรรมดา กิเลสในหัวใจของสัตว์โลกมันจองหองพองขน แล้วมันพยายามจะยกตนเทียบเสมอให้ได้ว่ามันมีธรรมๆ แต่มันไม่มี เพราะมันไม่มีมันถึงแสดงอาการอย่างนี้ไง
แต่ถ้ามันมีมันหมอบ มันราบคาบเลย มันกตัญญูกตเวที มันเคารพบูชา เคารพบูชามาก แล้วกลัวมาก กลัวมาก กลัวเพราะอะไร กลัวเพราะกิเลสเราคุมไม่ได้ กิเลสเราเองคุมไม่ได้ ฉะนั้น เวลาอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม ท่านถึงพยายามรักษาใจของตน พยายามมีสติสัมปชัญญะ รักษาหัวใจของตน กิเลสนี้น่ากลัวมาก แล้วเวลาอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านจะคอยชี้คอยแนะคอยบอก เห็นไหม แล้วพยายามจะประพฤติปฏิบัติของตนขึ้นไปๆ นี้ภาคปฏิบัติ
เวลาภาคปริยัติเขาก็ศึกษาค้นคว้าของเขา เขาก็มีการสอบของเขา เวลาเขาสอบของเขา สอบแล้วเขาถึงสอบได้ นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก ป.๑ ป.๒ ป.๓ ป.๙ แล้วถ้าศึกษาทางโลก เห็นไหม เขาศึกษาก็ด้านทางวิชาการของเขา เขายังต้องมีสอบ มีสอบของเขา
ในภาคปฏิบัติล่ะ ในภาคปฏิบัติๆ เวลาฝึกหัดทําความสงบของใจ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐานเป็นอย่างไร สมาธิยังทํากันไม่เป็น สมาธินี่สมาธิๆ ว่างๆ ว่างๆ แล้วเหลวไหลมาก เหลวไหลออกนอกลู่นอกทาง ออกกันไปเป็นอภิญญา ออกกันไปเป็นเกจิอาจารย์ อันนั้นมันเป็นเครื่องรางของขลัง เครื่องรางของขลังมันเลยไม่ขังทุกข์ ก็เลยไม่รู้จักทุกข์ ก็สําคัญตนเป็นผู้วิเศษไง
แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ เรายึดตามหลักของครูบาอาจารย์ของเรา ถ้าเรายึดตามหลักครูบาอาจารย์ของเรา มันก็ตั้งสติสัมปชัญญะ แล้วก็จะรักษาตัวเราเอง ถ้ารักษาตัวเราเองนะ สิ่งใดถ้ามันไม่ชอบธรรม มันไม่เป็นธรรม เราพยายามวาง แล้วเราพยายามฝึกหัดบริกรรมของเรา แล้วฝึกหัดใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา ทําความสงบใจของเราเข้ามาให้ได้ ทําความสงบใจของเราเข้ามาได้ ถ้าทําความสงบใจของเราเข้ามาได้นะ “สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี”
แล้วฝึกหัดประพฤติปฏิบัติ ถ้ามีครูบาอาจารย์ ถ้ามันจิตสงบแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา ถ้าวิปัสสนาใช้ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนามันต้องมีสัมมาสมาธิเป็นพื้นฐาน ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิเป็นพื้นฐานมันเป็นสัญญาล้วนๆ มันเป็นความรู้สึกนึกคิดของเราทั้งสิ้น แล้วมันเป็นโดยสัจจะโดยความจริงอยู่แล้ว เพราะสัญชาตญาณของมนุษย์มันเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แล้วไป เห็นไหม อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ กํ้าๆ กึ่งๆ อยู่อย่างนั้น
ถ้าเรามีอํานาจวาสนามันวางหมด วางหมดแล้วก็กลับมาทําความสงบของใจเข้ามา พอใจสงบระงับแล้วนะ ถ้าจิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ตามความเป็นจริง ถ้าจิตสงบแล้วถ้ามันปล่อยแล้วมันเข้าสู่งานทันทีเลย งานนี้คืออะไร งานนี้คือวิปัสสนาไง งานนี้ในแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ไง แล้วถ้าแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ถ้ามันยกขึ้นสู่วิปัสสนา ยกขึ้นสู่วิปัสสนา เวลาปัญญามันก้าวเดิน มันรู้เห็นหมดล่ะ
อ๋อ! การศึกษาเป็นสุตมยปัญญา การฟังมา การไปหาครูบาอาจารย์ทีแรกท่านเทศนาว่าการ ที่เราจดเราจํามามันเป็นสุตมยปัญญาทั้งนั้น แล้วถ้าเราจะทําความสงบใจเข้ามาบ้าง เราใช้สติปัญญาของเรามันเป็นจินตมยปัญญา จินตนาการบ้าง อะไรบ้าง เราก็รู้ได้ ถ้ามันเข้าสู่ความสงบ เออ! สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี แล้วถ้ามันยกขึ้นสู่วิปัสสนาๆ ถ้ามันใช้ปัญญาๆ ขึ้นมา เห็นไหม พอปัญญาขึ้นมา เอ๊อะ! เราไม่เคยเป็นอย่างนี้เลย
หลวงปู่มั่นเวลาท่านพิจารณาของท่านไปแล้วมันปกติ มันเป็นปกติตลอด มันไม่สะเทือนใจเลย “เอ๊ะ! มันแปลก เอ๊ะ! มันไม่ใช่ทาง ไม่ใช่ทาง” สุดท้ายลาความเป็นพระโพธิสัตว์ของท่านซะ แล้วท่านกลับมาพิจารณากายเหมือนเดิมนี่แหละ แต่มันเป็นศีล สมาธิ ปัญญา พอศีล สมาธิ ปัญญา มันเข้าสู่สัจจะเข้าสู่ความจริง มันพิจารณาแล้วมันละ มันถอด มันถอน มันรู้ของมัน เวลามันถอด มันถอน เวลาออกจากภาวนา “เอ้อ! มันต้องอย่างนี้สิ” คําว่า “ต้องอย่างนี้” นี่ภาวนามยปัญญา
ถ้าภาวนามยปัญญามันเกิดขึ้น มันชัดเจนมาก ปัญญา ๓ ในพระพุทธศาสนา สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามย-ปัญญา แล้วถ้าแยกกันเป็นกรรมฐาน เห็นไหม โลกียปัญญากับโลกุตตรปัญญาไง แล้วโลกียปัญญามันเป็นอย่างไร โลกียปัญญาคือกอดกิเลสไว้ กิเลสมันพอกพูนอยู่นั่น แล้วมันเป็นโลกุตตระไปไม่ได้หรอก ไม่ใช่ว่าพวกฉันเป็นโลกียะ พวกเธอเป็นโลกุตตระ ไม่ใช่! มันไม่มีพวก ไม่มีพวกไม่มีใดๆ ทั้งสิ้น มันมีกิเลส มันมีผิดกับถูกเท่านั้น อย่างอื่นไม่มี
แล้วถ้ามันยกขึ้นสู่วิปัสสนามันเป็นภาวนามยปัญญา นี่โลกุตตรปัญญา ภาวนามยปัญญามันเกิดขึ้นอย่างนี้ไง ถ้ามันเป็นสัจจะเป็นความจริงนะ ถ้ามันเป็นความจริงมันเป็นความจริงอย่างนี้
แต่ถ้ามันไม่เป็นความจริง ถ้าภาวนาไม่เป็น ดูสิ เวลาการศึกษา เห็นไหม ศึกษา คนที่ศึกษาแล้วเขาศึกษาไปไม่ได้ เขาก็สอบไม่ได้ สอบแล้วสอบเล่ามันก็สอบไม่ผ่าน
เวลาภาคปฏิบัติ ภาวนาแล้วมันไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ภาวนาแล้วมันไม่มีสิ่งใดเป็นสมบัติของตน มันก็สร้างภาพหลบหลีกไปซะด้วยกิเลสของตน สิ่งใดในโลกนี้นะ กิเลสๆ เห็นไหม ดูขยะสิ เวลาเราซื้อผลไม้ เห็นไหม ผลไม้นี่ได้ผลไม้มา ถ้าคนเขารู้จักเขาปอกเปลือกมันทิ้ง นั่นคือขยะ เขากินเนื้อมัน
ในภาคปฏิบัติๆ เรา มันมีกิเลส มันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากไง เป็นสมุทัย ทุกข์ เหตุที่เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์ โดยธรรมชาติของมันอวิชชาคือความไม่รู้ เพราะความไม่รู้แล้วกิเลสมันหยาบ กิเลสมันหนา มันก็เลยไม่รู้ต่อเนื่องไป ไม่รู้ต่อเนื่องไป สิ่งใดที่มันจินตนาการของมัน แล้วมันสร้างภาพของมัน แล้วมันหลงใหลของมันไง พอมันหลงใหลของมัน มันก็บอก “สิ่งที่ว่าต้องทําความสงบของใจ ใจมันก็สงบอยู่แล้ว ไม่ต้องดิ้นไม่ต้องรนของมัน แล้วฝึกหัดปล่อยวางๆ”
ปล่อยวางอะไร? ปล่อยวางที่ไหน? อะไรกิเลส? อะไรเป็นธรรม? สติ สมาธิ ปัญญาเป็นอย่างไร? แล้วเป็นสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิมันมีกําลังอย่างไร? ไม่รู้จักอะไรทั้งสิ้น ปล่อยวางๆ เพราะคําว่า “ปล่อยวาง” ไม่ต้องดิ้นรน ไม่ต้องเดือดร้อนไง
มันเหมือนกับทางธุรกิจนะ เวลาขยะๆ นี่เขาฝังกลบ ขยะนะโดยต้นทุนตํ่า เขาฝังกลบของเขาๆ ขุดขยะแล้วกลบ เสร็จ ธรรมะฝังกลบไง มันไม่มีที่มาที่ไป มันไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ตอนนี้สภาวะแวดล้อมสังคมตื่นตัวมาก โลกร้อนๆ มันมีปัญหามาก ถ้าโลกร้อนๆ นี่สังคมเขาพยายามจะช่วยเหลือเจือจานกัน ลดการใช้ฟุ่มเฟือย ใช้สิ่งใดที่มันสร้างแต่สภาวะแวดล้อม สร้างขยะเพื่อให้เกิดความโลกร้อนต่างๆ เขาช่วยกัน เขารังเกียจๆ เห็นไหม เวลาโรงเรียนฝึกหัดเด็ก ถ้าฝึกหัดเด็กๆ ต้องฝึกหัดคัดแยกขยะ ขยะเปียกใส่อย่างนี้ ขยะแห้งใส่อย่างนี้ เขาคัดแยกขยะของเขา ขยะเขายังคัดแยกของเขา เพื่อฝึกหัดของเขาให้เป็นความจริงของเขา
ขยะคือกิเลส กิเลสในใจของคนๆ นี่รู้จักกิเลสในใจของคนหรือไม่ แล้วเราเป็นนักประพฤติปฏิบัติขึ้นมานะ เราพยายามทําความสงบของใจ เราก็จะต่อสู้กับกิเลสในใจของตนนี่ไง ถ้ากิเลสในใจของตน ถ้ายังต่อสู้กับมันไม่ได้ แล้วทําสมาธิไม่เป็น แล้วจะภาวนาอะไรกัน
การภาวนาเริ่มต้น สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานนี่ไง สมถกรรมฐานคือทําความสงบของใจเข้ามาก่อน พยายามฝึกหัดทําความสงบของใจเข้ามาก่อน แล้วถ้ามันทําความสงบของใจเข้ามาไม่ได้ เราถึงมีข้อวัตรปฏิบัติ เห็นไหม การข้อวัตรปฏิบัติเครื่องอยู่ของใจๆ ใจนี้ให้มันอยู่กับวัตรปฏิบัติอันนี้
ถ้าอยู่กับวัตรปฏิบัติอันนี้ เรามีหัวใจมีอํานาจวาสนาระลึกถึงธรรมะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มันทําของมัน มันบังคับของมัน ทําของมันให้อยู่กับวัตรปฏิบัตินี้ ให้ใจอยู่กับตรงนี้ แล้วเวลาฝึกหัดของเรา เราฝึกหัดบริกรรมของเรานะ หายใจเข้านึกพุท หายใจออกโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ฝึกหัดทําความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบระงับเข้ามาได้ ถ้าใจสงบเข้ามาได้นะ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี
เวลามันทุกข์มันยาก มันทุกข์มันยากเพราะมันฟุ้งมันซ่าน มันทุกข์มันยากเพราะกิเลสมันฟู มันทุกข์มันยากเพราะกิเลสมันขี่หัว ขี่หัวแล้วบีบบี้สีไฟ เราก็ทุกข์ก็ยากอยู่อย่างนั้น โดยธรรมชาตินะ แต่ถ้ามันมีอํานาจวาสนาขึ้นมา เห็นไหม เราจะรักษาของเรา รักษาของเรา เห็นไหม
การบริหารจัดการเรื่องขยะ มันมีวิธีการมากมาย เขาทําโรงไฟฟ้าขยะก็ได้ เขาประหยัดมัธยัสถ์ของเขาไม่ให้เกิดขยะก็ได้ ถ้าไม่ให้เกิดขึ้นมา เห็นไหม มันก็คือวิธีการปฏิบัติไง ไม่ใช่ธรรมะฝังกลบ ไม่ทําอะไรเลย การกระทํานั้นเพราะภาวนาไม่เป็น การกระทํานั้นทําสักแต่ว่า ทําสักแต่ว่า มันไม่มีที่มาที่ไป เห็นไหม เวลาเรียนภาคปริยัติเขาต้องสอบของเขา สอบแล้วเขาตรวจสอบข้อสอบของเขา เขาตรวจสอบแล้วเขาถึงให้ผ่าน เขาถึงมีความรู้เป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป
ในวงกรรมฐาน เรามีครูบาอาจารย์ของเรา เวลาครูบา-อาจารย์ของเราเวลาท่านฝึกหัด ท่านประพฤติปฏิบัติของท่าน ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมานะ ถ้าจิตสงบระงับเข้ามา เริ่มสงบระงับเข้ามามันเห็นคุณค่าเลย มันเห็นคุณค่า แล้วพอเห็นคุณค่าแล้ว ดูสิ เวลาสังคมโดยทั่วไป ชาวพุทธโดยทั่วไปแค่ทําจิตสงบเท่านั้น แค่เป็นสัมมาสมาธิได้จะเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มันคืออะไรล่ะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นพระรัตนตรัย เป็นแก้วสารพัดนึก ในทางโลกเขาถ้าใครมีศรัทธามีความเชื่อของเขา เขาเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา เขายังได้ลาภได้สักการะได้สิ่งต่างๆ เพื่อการดํารงชีพของเขานะ ด้วยบุญด้วยกุศล
นี่พูดถึงว่า ถ้าเป็นทางโลกของเขา เขาระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ของเขา เขายังมีอํานาจวาสนาได้บุญกุศลของเขาเพื่อดํารงชีพของเขา นี่พูดถึงว่าคนที่เขาอยู่ทางโลกของเขา คนที่มีอํานาจวาสนาขึ้นมา เขาถึงว่าสิ่งที่ทางโลกมันเป็นปัจจัยเครื่องอาศัย มันเป็นปัจจัย ปัจจัย ๔ ปัจจัยเป็นเครื่องอาศัยมันจะได้มากได้น้อยขึ้นมา มันเป็นสมบัติสาธารณะ
เราเกิดมา เรามีชีวิต ชีวิตมันมีสุขมีทุกข์ในหัวใจของตน แล้วสิ่งที่สําคัญที่สุดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเที่ยวสวนเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มันต้องมีฝั่งตรงข้ามที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ความทุกข์ทั้งหมด ความทุกข์ความยากทั้งหมด เกิด ชาติปิ ทุกฺขา ชาติ ความเกิดเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เพราะมันมีการเกิด มันมีชีวิตไง
แล้วถ้ามันมีชีวิตขึ้นมา เห็นไหม เราก็บอก เราเกิดมาใช้เวรใช้กรรม แต่ถ้าเราเป็นคนที่มีอํานาจวาสนานะ เราเกิดมาเพื่อสร้างสมบารมี การสร้างสมบารมี การกระทําคุณงามความดีของเรา การสร้างคุณงามความดี การทําคุณงามความดีเพื่อหัวใจดวงนี้ไง ถ้าหัวใจดวงนี้มันสร้างสมคุณงามความดีจนมันมีอํานาจวาสนาของมัน มันประพฤติปฏิบัติของมัน เห็นไหม
ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เห็นไหม เวลาท่านเทศนาว่าการในพระไตรปิฎก “เราเป็นคนวาสนาน้อย อายุเราแค่ ๘๐ ปี” ก็ ๔ อสงไขยไง ๔ อสงไขย๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา ทํามาอย่างนี้เหมือนกัน มันเป็นข้อเท็จจริงที่ทํามา
เวลาเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราเกิดมาเพื่อสร้างอํานาจวาสนาบารมี ก็เราจะมาทําของเรานี่ไง ถ้าเราจะมาทําของเรานะ ถ้าคนมีอํานาจวาสนามีสติปัญญา เวลามันทํา ทําด้วยความชื่นบาน ทําด้วยเคารพบูชารัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แก้วสารพัดนึกไง จิตใจ เห็นไหม เราอยู่กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จิตใจของเรา เราประพฤติปฏิบัติของเรา ปัจจัยเครื่องอาศัยคือปัจจัยเครื่องอาศัย มีอํานาจวาสนามากน้อยขนาดไหน ทําแล้วประสบความสําเร็จนั้นคือบุญกุศลของเรา
แต่เราไม่พลัดพรากจากเขา เขาก็ต้องพลัดพรากจากเรา
ถ้าเป็นพาลชนนะ เขาทะเลาะกันเรื่องเงินเรื่องทองทั้งสิ้น เขาทะเลาะเบาะแว้งกันด้วยผลประโยชน์นะ แต่เรามีอํานาจวาสนา เราทําแล้วประสบความสําเร็จ นั้นมันก็เป็นอํานาจวาสนาของเรา เห็นไหม เรามีบุญกุศลของเรา
แต่ถ้ามีอํานาจวาสนามากขึ้น มากขึ้น เขาก็พยายามจะฝึกหัดค้นคว้าหาใจของตน ฝึกหัดค้นคว้าหัวใจของตน ถ้าฝึกหัดค้นคว้าหัวใจของตน เห็นไหม ถ้ามันเป็นสัจจะเป็นความจริงขึ้นมา มันเป็นสัจจะเป็นความจริงขึ้นมา เขาแสวงหาครูบาอาจารย์ ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงสอนเขา ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงสอนเขา เห็นไหม ร่มโพธิ์ร่มไทรคุ้มครองดูแล การประพฤติปฏิบัติถ้าเราแสวงหาครูบาอาจารย์ที่ดีงาม ท่านก็พยายามประพฤติปฏิบัติเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป
ความคิดทั้งหมดนี่เป็นสมุทัย ผลของความคิดนี่เป็นทุกข์ ถ้าจิตมันสงบแล้ว ถ้าจิตเห็นอาการของจิตมันเป็นมรรค สิ่งที่จิตเห็นอาการของจิตเป็นนิโรธ
ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริง ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมๆ มันจะทําให้การประพฤติปฏิบัติของเรามันก้าวหน้าไง ถ้าการประพฤติปฏิบัติของเรามันเริ่มก้าวหน้า ก้าวหน้าไป มันจะเห็นต่างเลย ไอ้ธรรมฝังกลบนั่นน่ะ ธรรมฝังกลบๆ มันเป็นเรื่องกระแสสังคมนะ
ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติจนสังคมยอมรับขึ้นมา ในภาคปฏิบัติๆ นี่กึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่งๆ เจริญอีกหนหนึ่งเพราะหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติจนมีเพชรนํ้าหนึ่งๆ เพชรนํ้าหนึ่งมันทําจริงทําจัง ทําจริงทําจังแล้วมันได้ผลจริงผลจัง ถ้าได้ผลจริงผลจังมันไม่มีมารยา ถ้าเป็นธรรมจริงไม่มีมารยาสาไถย ถ้าไม่มีมารยาสาไถยมันน่าเคารพบูชาไง
แต่ถ้ามันไม่เป็นจริงเป็นจังนะ ไม่เป็นจริงเป็นจัง ธรรมฝังกลบมันฝังกลบกิเลสไว้ มันเป็นธรรมตรงไหน เพียงแต่ว่ามันอยู่ในกระแสสังคมไง เราดูในสํานักปฏิบัติทั่วๆ ไป ปฏิบัติพอเป็นพิธีๆ แล้วปฏิบัติพอเป็นพิธีนะ ปฏิบัติพอเป็นพิธีแล้วเวลามีมรรคมีผลของเขา ก็เป็นมรรคผลของเขาในวงของอุปาทานหมู่ เป็นอย่างนี้เป็นขั้นตอนๆ แต่ไม่มีที่มาที่ไป
ภาคปริยัติเวลาเขาศึกษาเล่าเรียนของเขา เขาต้องสอบ เขาต้องผ่านของเขา เขาถึงได้มรรคได้ผลของเขา ในภาคปฏิบัติ เวลาครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม ถ้าไม่มีขณะ ถ้าไม่มีขณะไม่มีความเป็นไป มันจะเป็นไปได้อย่างไร มันไม่มีขณะ ไม่ครบวงจรของมันไง
เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะมีกิจจญาณ มีสัจจญาณ กตญาณ แล้วมีกิจจญาณ กิจจญาณอย่างไร ถ้าว่ามีขณะๆ เวลาตรวจสอบมันจะบอกเริ่มต้นมีสติอย่างไร มีสมาธิอย่างไร แล้วเวลาจะเข้าสู่ปัญญา ที่ประพฤติปฏิบัติกันไม่ได้ผลอยู่นี่ สมถ-กรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงานไม่มี ถ้าฐานที่ตั้งแห่งการงานนะ จิตแก้จิต จิตที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ เราเกิดมาจะเป็นสมมุตินะ จะเป็นชื่อเสียงสิ่งใดก็แล้วแต่นี้พ่อแม่ตั้งให้
เวลาจิตสงบมันเข้าสู่จิตของตน เวลาจิตสงบมันเข้าสู่จิตของตนนะ สมถกรรมฐานนี่การทําความสงบของใจเข้ามา นี่เข้าสู่จิตของตนๆ แล้วถ้าเข้าสู่จิตของตนมันมีความสุขของมันนะ แล้วเวลาคนที่บางเบาไง อ่อนแอไง ถ้าจิตมันอ่อนแอนะ มันไปรู้ไปเห็น มันรักษาจิตไว้ได้ยากไง
ฉะนั้น เวลาจิตเจริญแล้วเสื่อม ถ้าจิตมันไม่เคยเจริญเลยนะ เราทําความสงบของใจเข้ามา ใจมันสงบแล้วนี่หนเดียว แล้วเวลามันคลายออกมาแล้วทําเข้าไปอีกไม่ได้ ทําเข้าอีกไม่ได้ อันนี้ก็เป็นวาสนาของคนนะ มันเป็นวาสนาของคน เหมือนเราชอบ จริตนิสัยเราชอบสิ่งใด เราก็อยากจะได้สิ่งที่เราชอบ แต่เวลาเราอยากได้สิ่งที่เราชอบ แต่เราทําสิ่งที่เราชอบเกิดขึ้นมาไม่ได้ มันก็เกิดความเครียด เกิดความน้อยเนื้อตํ่าใจอยู่ตลอดเวลา อันนั้นก็เป็นกรรมของสัตว์
แต่ถ้าคนมีอํานาจวาสนาเขาก็พยายามจะฝืนของเขา จะทําของเขา ให้ชํานาญในวสี การที่ชํานาญในวสีการเข้าสู่ความสงบของใจ เวลาโดยปกติของมัน มันก็คลายตัวออกมา นี่คลายตัวออกมานะ นี่ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ถ้าจิตมันสงบระงับเข้ามานี่ จิตมันสงบของมันอยู่ ๓ วัน ๔ วัน สบายๆ เลย ถ้ามันเป็นสมาธินะ
แค่เป็นสมาธิก็เป็นเรื่องหนึ่ง สมถกรรมฐานนี่เป็นเรื่องหนึ่งนะ แล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา ยกขึ้นสู่วิปัสสนานี่ สิ่งที่มันยกขึ้นสู่วิปัสสนากันไม่ได้ เพราะมันภาวนากันไม่เป็น มันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ตามความเป็นจริงไม่ได้
ถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตตามความเป็นจริง เขาจะไม่พูดว่า “เราวางหมดแล้ว เราวาง” แค่วางหมดแล้วนะ ธรรมฝังกลบ ธรรมฝังกลบไง ถ้าฝังกลบๆ ขยะฝังกลบ มันให้โทษนะ ดูสิ ดูทางวิทยาศาสตร์ นํ้ามันดิบ นํ้ามันดิบมันมาจากไหน นํ้ามันดิบๆ ดูสิ สิ่งสภาวะของโลก พืชพันธุ์ต่างๆ มันหมักหมมของมัน โดยกาลเวลาของมัน โดยกดทับของมัน มันถึงเป็นสาร เป็นเก็บไว้จนเป็นประโยชน์กับการสูบขึ้นมาใช้งานได้
นี่พูดถึงว่า แล้วถ้าเป็นขยะล่ะ นี่เป็นขยะ เราจะบอกว่าจิตที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะมันไม่มีต้นมันไม่มีปลาย การเวียนว่ายตายเกิดไม่มีต้นไม่มีปลาย แล้วในการประพฤติปฏิบัติภาคปริยัติ เขายังมีการศึกษา เวลาสอบแล้วมันถึงเป็นผลของการสอบ แล้วภาคปฏิบัติล่ะ?
ภาคปฏิบัติ เห็นไหม เวลาภาคปฏิบัติขึ้นมาถ้ามันเป็นสัจจะเป็นความจริงของมันขึ้นมา มันไม่ใช่ธรรมฝังกลบ มันต้องมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา แล้วถ้ามีปัญญามันยกขึ้นสู่วิปัสสนานะ นี่ปุถุชน กัลยาณชน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิ-มรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล
ถ้าเป็นหลวงปู่มั่นจี้เลย เวลาประพฤติปฏิบัติ “ก.ไก่ ก.กา ว่ามา” เริ่มต้นปฏิบัตินี่สําคัญมาก เวลาเริ่มปฏิบัตินี่เริ่มต้น เริ่มต้นกันอย่างไร ถ้าเริ่มต้นเอาอกเอาใจ ปฏิบัติแล้วมีแต่ความอะลุ่มอล่วยกันอยู่อย่างนั้น มันก็ได้อยู่อย่างนั้น ในการปฏิบัติในเริ่มต้นของชาวพุทธเรา เรามีนํ้าใจต่อกันหรือไม่ มี เราก็อยากให้ทุกคนปฏิบัติได้ตามความเป็นจริง
ถ้าเราต้องการให้ทุกคนปฏิบัติได้ตามความเป็นจริง เขาก็ควรที่จะประพฤติปฏิบัติของเขา ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฝึกหัดใหม่ก็ต้องฝึกหัดใหม่ ฝึกหัดใหม่ก็ต้องฝึกหัดประพฤติปฏิบัติขึ้นมาตามความเป็นจริงของตน แล้วถ้าจิตมันสงบยังไม่ได้ก็ค่อยๆ ฝึกหัดของเราไป อย่างไรก็แล้วแต่ฝึกหัดให้มันเป็นจริตเป็นนิสัยของเราอยู่ตลอดเวลา แล้วถ้ามันเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา เป็นจริงเป็นจังอย่างไร เป็นจริงเป็นจังนี่ไง
ถ้าเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา ครูบาอาจารย์ “แก้จิตแก้ยากนะ แก้จิตแก้ยากนะ”การแก้เพื่อเข้าสู่ความสงบระงับ เวลาใช้ปัญญา ปัญญาที่เราใช้ตรึกในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันไม่ผิดหรอก ที่เราใช้กันอยู่นี่โดยสามัญสํานึกที่เราคิด ที่เราคิดๆ นี่ไงสมมุติบัญญัติ มันคิดขึ้นมาจากใจของเรา เวลามันคิดขึ้นมาจากใจของเรา ความคิดอันนั้นมันจะเข้ามาทบทวนกิเลสที่มันเฟื่องฟูในใจของเรา กิเลสเฟื่องฟูในใจของเรากิเลสมันขี่หัวไง กิเลสเป็นเจ้าวัฏจักรไง
กิเลส เห็นไหม มันดลใจอยู่ตลอดเวลาไง เวลามันผุดขึ้นมาความคิดร้อยแปดพันเก้าไง เวลาเราศึกษาธรรมะขององค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเทียบเคียงขึ้นมาเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เพราะ เพราะเหตุผลของธรรมะเหนือกว่าทั้งนั้น มันเหนือกว่าทั้งนั้น ถ้าเหนือกว่าแล้วนี่ใครบ้า ก็คนคิดล่ะบ้า แล้วเหตุผลที่เหนือกว่า ในเมื่อเหตุผลที่เหนือกว่า เรากล้าคิดหรือ มันอายนะ เวลาถ้ามันอายกิเลสมันม้วนต้วนเลย ถ้ามันอายมันก็หยุด หยุดเดี๋ยวมันก็คิดอีก ถ้าคิดอีกเราก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิต่อเนื่องไป ฝึกหัดๆ อยู่อย่างนี้
แล้วฝึกหัดของเราอยู่อย่างนี้ ถ้าจิตมันปล่อยมันหยุด แล้วถ้ามันไม่คิดล่ะ ไม่คิดก็พุทโธต่อเนื่องไป พุทโธต่อเนื่องไป แล้วฝึกหัดๆ น้อมไปสู่ น้อมไป น้อมไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง น้อมไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้ามันเห็น จิตเห็นอาการของจิตไง จากสมถกรรมฐานจะยกขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐาน
สมถกรรมฐาน สมาธิทําไม่เป็น สมถกรรมฐานไม่มี วิปัสสนาเกิดไม่ได้
วิปัสสนาคือโลกุตตรธรรม วิปัสสนา เห็นไหม ในขั้นของปริยัติเขาศึกษาค้นคว้าขึ้นมาด้วยสมอง ด้วยความรู้สึกนึกคิดของเขา ด้วยสมองด้วยความรู้สึกนึกคิดของเขา เขาศึกษาแล้ว “เฮ้ย! ธรรมมีหรือเปล่า? สมาธิทําอย่างไร? มรรคผลนิพพานมีจริงหรือ?” ยิ่งศึกษามากยิ่งมีความรู้มาก คนมีปัญญามากๆ ไง
บ้านหลังใหญ่ ถ้าบ้านหลังใหญ่ต้องทําความสะอาดบ้านของตนทุกข์ยากมาก ของเราจะบ้านหลังใหญ่หรือบ้านหลังเล็ก แต่เราก็มีความมั่นคงของเรา ถ้ามีความมั่นคงของเรา เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติ เราเอาจริงเอาจังของเรา จะบ้านหลังเล็กหรือบ้านหลังใหญ่นั้นมันเป็นอดีต มันเป็นสิ่งที่เราสร้างสมของเรามา แต่ปัจจุบันนี้ ปัจจุบันนี้เรามีสติปัญญามากน้อยแค่ไหน เราพยายามจะกระทําของเรา ถ้าทําของเรามันไม่บอกว่า “เราปล่อยวางๆ แล้วมันจะเป็นของมัน เพราะธรรมะมันมีอยู่โดยดั้งเดิม” ธรรมะฝังกลบ ขยะทั้งนั้น ขยะกิเลสทั้งนั้นไง
กิเลสมันปลิ้นมันปล้อน เพราะมันเป็นอารมณ์ มันเป็นสัญญาอารมณ์ มันไม่มีข้อเท็จจริงเลย แล้วพอมันไม่มีข้อเท็จจริง กิเลสมันก็ไม่ได้ถลอกเลยใช่ไหม กิเลสมันไม่เห็นตัวมันเลยใช่ไหม กิเลสไม่ได้ไปแปะถึงตัวมันเลย กิเลสมันเลย ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไง กิริยาเหมือนพระ แต่เวลาทําสิ่งใดกิเลสมันออกมาเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย เพราะมันเป็นกิเลสไง เพราะธรรมฝังกลบ กลบกิเลสไว้ไง
แต่ถ้ามันเป็นจริงๆ เห็นไหม มันวิธีการที่เราจะชําระล้าง วิธีการที่เราจะพลิกเราจะแพลง เราพลิกเราแพลง เราจะประพฤติปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าปฏิบัติแล้วสิ่งใดที่มันขาดตกบกพร่อง สาธุ! เราพยายามฝึกฝนของเรา เรามีการกระทําของเรา เวลามันเกิดสัจจะเป็นความจริงนะ มรรคมันเกิดที่หัวใจดวงนี้ ศึกษามาในตํารับตํารามากน้อยขนาดไหนนั้นศึกษามาเป็นภาคปริยัติ ภาคปริยัติวางไว้ก่อน เวลาปฏิบัติแล้วให้มันเป็นสัจจะเป็นความจริงของเราขึ้นมาในใจนี้
ถ้ามันเป็นสัจจะเป็นความจริงขึ้นมาในหัวใจดวงนี้ เวลาเรากลับไปทบทวนที่ภาคปริยัติมันกินใจมาก มันยิ่งซาบซึ้งในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง รสของธรรมภาคปฏิบัติมันจะได้รสของธรรม
ภาคปริยัติ สัญญาความจํา ขณะสัญญาความจําเวลาศึกษา คนที่มีอํานาจวาสนานํ้าตาไหล มันสะเทือนใจ แล้วคนที่ยังไม่ได้ศึกษาธรรมะก็คิดว่ามันเป็นของเล็กน้อยไง เวลาเราศึกษา ลองศึกษาวินัยมุข ๑ ๒ ๓ ๔ นวโกวาทต่างๆ ศึกษาค้นคว้าไป “เฮ้ย! พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้เชียวหรือ” พระพุทธเจ้าสอนถึงจิต อาการของจิต จิตที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ แล้วถ้ามันรู้แจ้ง รู้แจ้งเข้ามา เห็นไหม เวลารู้แจ้งขึ้นมา จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง เห็นกายก็ได้ เห็นเวทนาก็ได้ เห็นจิตก็ได้ เห็นธรรมก็ได้ เห็นธรรมๆ ไง
จิตถ้าเป็นสัมมาสมาธิความรู้สึกนั้นเป็นธรรมารมณ์ จิตถ้าไม่เป็นสัมมาสมาธิความรู้สึกนั้นมารทั้งสิ้น นี่ไง พูดถึงว่าถ้ามันวิธีการชําระล้างกิเลส วิธีการจําแนกกิเลส ไม่ใช่ฝังกลบ ถ้าเราปล่อยวางแล้วๆ เราปล่อยวางสิ ปล่อยวาง ปล่อยวาง ธรรมก็ต้องเกิดสิ ธรรมมันเกิดขึ้นมา มันเป็นธรรม เพราะธรรมมีอยู่โดยดั้งเดิมสิ อวิชชาๆ แล้วมันยังไม่มีสิ่งใดขัดหูขัดตา ถ้าลองมันขัดหูขัดตานะ เวลากิเลสมันฟูขึ้นมานะ นี่ไม่มีสิ่งใด ไม่มีสิ่งใดยับยั้งมันได้เลย
แต่ถ้ามันเป็นความจริงของเราขึ้นมา เห็นไหม นี่กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด โอ้โฮ! เพราะหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นได้เผชิญหน้ามากับมันหมดแล้ว แก้จิตแก้ยากนะๆ มันลึกลับซับซ้อน เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันอ้างหมดล่ะ ดีทุกอย่าง ดีทุกเรื่อง เวลาจิตเราเสื่อมนะมันขย่มซํ้าเลย “เราเป็นคนไม่มีวาสนา”
เราฟังมาเยอะ นี่เวลาลูกศิษย์ลูกหาที่มาไง “หลวงพ่อ หลวงพ่อพยายามพูดให้ผมกลับมาปฏิบัติใหม่สิ หลวงพ่อ หลวงพ่อพูดให้ผมพยายามกลับมาปฏิบัติใหม่สิ”
เขาปฏิบัติมา ๕ ปี ๑๐ ปีแล้วเขาหยุดไป แล้วออกไปอยู่ทางโลกมันก็ทุกข์ก็ยากเหมือนกัน สุดท้ายแล้วมันมีทางไหนล่ะ ถ้ามีทางอื่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชี้ทางบอกเราแล้ว ถ้ามีทางอื่นนะ แล้วถ้ามีทางอื่น ทางอื่นทางไหน เพราะอะไร เพราะจิตที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะมันเป็นจิตเดิมแท้ จิตของเราจริงๆ นี่แหละ จิตเดิมแท้ๆ มันก็เป็นชื่อ
แต่ถ้ามันเป็นจริงๆ ขึ้นมา มันต้องเริ่มต้นจากปุถุชน กัลยาณชน เรานี่ปุถุชนคนหนานะ เราเกิดมา เรามีความรู้สึกนึกคิดนี่ปุถุชน ถ้าปุถุชนแล้วดูที่สติปัญญาของคนมากน้อยขนาดไหน ถ้าสติปัญญามากมันก็ไม่เชื่อมาก ถ้าสติปัญญาน้อยมันก็มีเหตุผลน้อยจะต้องโต้แย้งกัน เวลาโต้แย้งกันๆ ฝึกหัดให้ได้ เวลาคนฝึกหัดปฏิบัติใหม่นั่งแป๊บเดียวมันคิดว่า ๕ ปี แต่เวลาครูบา-อาจารย์ของเรานะ เดินจงกรมทั้งวันทั้งคืน เดินจงกรม
ผู้ที่ปฏิบัติอาชีพ ปฏิบัติอาชีพเขาทําเป็นสัจจะเป็นความจริง แล้วถ้าปฏิบัติอาชีพแล้วเขารู้ถึงเหตุถึงผล รู้ถึงว่าเวลามันง่อนแง่น ง่อนแง่นอย่างไร เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเขาถึงสํารวมระวังมาก เขาสํารวมระวังไม่ให้กิเลสมันฟูขึ้นมา แล้วสํารวมระวังอายตนะไม่ให้กระทบไง เวลากระทบเพราะกิเลสมันอยู่กับเรา แล้วมันกระทบจากรูป รส กลิ่น เสียงจากภายนอก เรื่องของเรา เรื่องของกิเลสมันก็ล้นหัวใจอยู่แล้ว เรื่องของเรา เรื่องกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วฝังกลบมันไว้อีกต่างหาก
แต่ถ้าเป็นความจริง เราไม่ฝังกลบ เราคุ้ยขึ้นมา เราต้องคุ้ย เราต้องจัดการ เราต้องนี่มัชฌิมาปฏิปทาทางสายกลาง ทางสายกลางในพระพุทธศาสนา มันต้องคุ้ยขึ้นมา คําว่า “คุ้ยขึ้นมา” เห็นกิเลสไง มันต้องรู้ต้องเห็นกิเลส รู้จักกิเลส แล้วพิจารณาระหว่างกิเลสกับธรรมต่อสู้กัน ถ้ามันเป็นธรรมขึ้นมาในหัวใจ กองทัพธรรมกับกองทัพกิเลสนะ เวลามันประหัตประหารกันบนจิตของเรา มันประหัตประหาร
เพราะเวลากิเลสมันเกิด ถ้าเราไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ เราก็เชื่อมันตลอดเวลา แต่ถ้าเราเริ่มฝึกหัดปฏิบัติแล้วเวลาจิตมันสงบแล้ว โอ้โฮ! ทําไมมีความสุขอย่างนี้ ความสุขอย่างนี้เพราะกิเลสมันเผลอ กิเลสมันเผลอมันควบคุมไม่ได้ มันให้เราบริกรรมจนจิต ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิไง เวลากิเลสมันเผลอ โอ้ฮูย! มีความสุขมาก พอกิเลสมันตื่นขึ้นมานะ พุทโธก็ไม่ได้ ปัญญาอบรมสมาธิก็ไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ กิเลสมันกีดมันขวาง กิเลสเท่านั้นที่ทําลายการประพฤติปฏิบัติของเรา กิเลสเท่านั้นที่มันกีดขวาง ทําให้เราล้มลุกคลุกคลาน กิเลสเท่านั้น กิเลสเท่านั้นเลย
คุณธรรม สัจธรรม ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นของประเสริฐ ของเลอเลิศ ของที่มีคุณค่า ของที่เลอเลิศเราต้องแสวงหา เราต้องค้นคว้าต้องกระทําของเราขึ้นมา เพราะเราสั่งไม่ได้ เราจะสั่งให้คนมาส่ง สั่งให้คนมาต่อมาเติมให้เรา ศีล สมาธิ ปัญญาเกิดกับเราไม่ได้ มันไม่มี มันไม่มีซื้อขายในวัฏฏะนี้ สิ่งที่มันเกิดขึ้น เห็นไหม เวลามันทุกข์มันยากมันเกิดจากจิต
เวลาศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามันจะเกิดขึ้นในภาคปฏิบัติ ภาคปริยัติคือการท่องจํา ในภาคปฏิบัติมันก็เกิดจากความเพียรของเรา การนั่งสมาธิ เดินจงกรม มันจะเกิดศีล เกิดสมาธิ เกิดปัญญา ศีลคือความมั่นคง ศีลคือความปกติของใจ แล้วศีลที่มันง่อนมันแง่นมันทําให้ลังเลสงสัย มันทําให้ระแวง แต่ถ้าศีลมันมั่นคงขึ้นมาแล้วนี่มั่นคง เวลาทําความสงบๆ ความสงบมันจะเกิดขึ้น ถ้าความสงบเกิดขึ้นมันไม่มีการซื้อไม่มีการขาย มันมีการที่เราจะประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา ถ้ามันประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมานี่กองทัพธรรม กองทัพของธรรมถ้ามันจะเกิดขึ้นมา แล้วถ้ามันจับต้องกิเลสได้มันถึงมีคู่ต่อกร การขุดคุ้ยและการค้นหากิเลสเป็นงานประเภทหนึ่ง
งานประเภทหนึ่ง สมถกรรมฐานคือทําความสงบของใจ คือเตรียมพื้นฐานของใจ เป็นงานพื้นฐานของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเริ่มต้นหนึ่ง แล้วถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมีพื้นฐานสมถ-กรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน การงานที่จะเกิดขึ้นจากจิตนี้ ถ้ามันขุดและมันคุ้ย ถ้ามันเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง นั้นคือมันเห็นตัวกิเลส
เห็นอย่างไร?
เห็นกายนี้ขนพองสยองเกล้า ถ้าเวทนาไง โดยผู้ที่ฝึกหัดนะ นั่งสมาธินี่เจ็บปวด เจ็บปวดมากเพราะเวทนาเป็นเรา เวทนาเป็นเรานี่กิเลสเป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา ธรรมะฝังกลบไว้ ฝังกลบกิเลสไว้ในใจของตนทั้งสิ้น ทุกอย่างเป็นเราหมดเลย ถ้าเป็นเรามันก็ทุกข์มันก็ยากอย่างนี้ไง
เวลาเราฝึกหัดหายใจเข้านึกพุท หายใจออกโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตสงบแล้ว จิตสงบแล้วสงบเพราะอะไร เพราะมันผ่านเวทนามาไง มันผ่านเวทนา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์ ๕ โดยธรรมชาติของมันจิตมันเสวยขันธ์ เพราะมีความรู้สึกนึกคิดโดยธรรมชาติของมันอย่างนี้ แล้วพุทโธๆ จนมันหดสั้นเข้ามา มันปล่อยวางเข้ามา พุทโธจนพุทโธไม่ได้ ถ้าพุทโธไม่ได้มันก็ไปเข้าสู่สมถกรรมฐาน ฐานของมัน ฐานความจริงของจิตไง
ถ้าฐานความจริงมันก็ปล่อยเวทนาเข้ามาไง พอปล่อยเวทนาเข้ามา ถ้ามันเป็นสัมมาสมาธิ แล้วถ้ามันออกไปค้นคว้า ออกไปจับต้องเวทนา เวทนาไม่ใช่เรา เวทนาเป็นเวทนา จิตเป็นจิต เวลามันจับเวทนา เอ๊อะ! ทําไมคราวนี้จับได้ล่ะ ทําไมคราวนี้รู้จักเวทนาล่ะ แต่เดิมนั่งสมาธิใหม่ๆ เจ็บปวดมาก เวทนากับเรามันเป็นอันเดียวกัน เวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา เป็นเนื้อเดียวกัน
พุทโธๆ หรือเรามีความสามารถจนเราทําความสงบของใจได้ เวลามันจับเวทนา เอ้า! มันคนละเรื่องเลยนะ นี่ไงถ้ามันจับได้ เพราะอะไร เพราะกาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าจิตเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง เห็นกิเลส! มันรู้เลยล่ะ มันเห็นกิเลส มันเข้าใจเลย เห็นกิเลสเลย นี่ไงภาคปฏิบัติ
ไม่ใช่ว่า “เราวางหมดแล้ว เราไม่ต้องเดือดร้อน เราไม่ต้องขุดคุ้ย เราไม่ต้องค้นคว้า” ไม่ค้นคว้า ธรรมฝังกลบ กิเลสเต็มหัวใจ ธรรมฝังกลบเลยนะ กลบกิเลสไว้ไง มันกลบเกลื่อน เพราะเราวางหมดแล้ว เราวางหมดแล้ว กิเลสไม่มีแล้ว มันเป็นธรรมๆ เพราะเป็นธรรมไง เราใช้ปัญญาได้ไง
ถ้ามีสมาธิมันเป็นปัญญา ถ้าไม่มีสมาธิมันเป็นความคิด มันก็อันเดียวกัน มันเป็นปัญญาเป็นความคิดอย่างไร มันเป็นสัญญา เพราะมันเป็นสัญญา เพราะมันมีสมุทัยเจือปนเข้ามา ถ้ามันเป็นสัญญามันมีความอึดอัดขัดข้อง มันมีความไม่พอใจต่างๆ เจือปนกับความรู้สึกนึกคิดของเรา
แต่ถ้ามีสัมมาสมาธิขึ้นมาแล้ว เห็นไหม เวลามันเกิดภาวนามยปัญญา สัมมาสมาธิเป็นพื้นฐาน ความเพียรชอบ งานชอบ ระลึกชอบ ความชอบธรรม เพราะมันชอบธรรมแล้วถ้าจิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง เวลาปัญญามันเริ่มเคลื่อนนะ มันหมุนของมันนะ จักรเคลื่อนแล้ว
ดวงใจดวงใดไม่มีมรรค ดวงใจดวงนั้นไม่มีผล
ดวงใจดวงใดมันมีมรรค มรรคมันเกิดขึ้นมาจากไหน เวลามรรคมันเกิดขึ้นจากหัวใจ มรรคมันเกิดขึ้นก็ฝึกหัดนี่ไง นี่ภาวนามยปัญญา เวลาปัญญามันเคลื่อนไปแล้ว เวลาปัญญามันหมุนไปแล้วไง นี่ธรรมจักร จักรมันจะบดบี้ไง ระหว่างกองทัพกิเลสกับกองทัพธรรมที่มันประหัตประหารกันไง
แต่โดยปกติธรรมชาติของเรา มันเป็นกองทัพกิเลสทั้งสิ้นๆ เป็นธรรมฝังกลบ เป็นกิเลสชัดๆ กิเลสทั้งนั้นเลย แต่สมมุติกันเอง “วางหมดแล้ว มันเป็นธรรม” แล้วถึงต่อต้านว่าไม่ต้องมีขณะไง ถ้ามีขณะมันก็ภาคปริยัติ ภาคปฏิบัติไง ปริยัติเขาต้องสอบ กรรมการสอบเขาให้ผ่านถึงผลสอบนั้นได้
ภาคปฏิบัติๆ โดยความจริงมันผ่านอริยสัจ มันผ่านทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์ มันผ่านอริยสัจ โดยข้อเท็จจริง เวลาวงกรรมฐาน หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านแก้จิต แก้จิต แก้จิตเพราะเราโง่ แก้จิตเพราะเราติด แก้จิตเพราะเราให้ค่าตัวเองเกินไป ส่วนใหญ่แล้วกิเลสได้ขั้น ๑ นะ ได้ขั้น ๑ มันบอกได้ ๔ ได้ ๔ มันว่าได้ ๘ ความจริงมันไม่มี มันแค่ ๔ แต่มันไม่ได้ด้วย
เพราะ เพราะหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติ ท่านรู้จักตทังคปหาน การประหารชั่วคราว จิตสงบระงับแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา มันใช้สติปัญญาไปแล้วมันปล่อยได้ การปล่อยนั้นเขาเรียกว่าตทังคปหาน การประหารชั่วคราวมันไม่มีขณะ มันไม่รู้จัก นั้นคือการประหารชั่วคราว การของชั่วคราวๆ ชั่วคราวมันก็สมมุติปัญญัติไง
แล้วเวลาใช้สติปัญญาพิจารณาไปแล้วมันปล่อย มันปล่อยนั้นคือการฝึกหัดวิปัสสนาอ่อนๆ นั้นคือการฝึกหัดที่เราจะเกิดภาวนามยปัญญา เราจะเกิดธรรมจักร ดวงใจดวงใดไม่มีมรรค ดวงใจดวงนั้นไม่มีผล มรรคก็คือธรรมจักร เวลาจักรมันเคลื่อนไง ถ้ามันตทังคปหานก็ฝึกหัดให้มันเกิดมรรคเกิดผลไง
การฝึกหัด เห็นไหม ผู้ฝึกหัดใหม่มันก็ขาดตกบกพร่องลุ่มๆ ดอนๆ บ้าง ก็ต้องฝึกหัดบ่อยครั้งเข้าๆ มีความชํานาญมากขึ้นเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป จากตทังคปหานถ้ามันสมดุล มัชฌิมา-ปฏิปทา ทางสายกลาง ถ้ามันสมดุลพอดีของมัน เวลามันสมุจเฉท จากตทังคปหานนะ คือของชั่วคราวๆ ชั่วคราวมากน้อยขนาดไหน มันก็ต้องมุมานะฝึกหัดให้มีความชํานาญให้มากขึ้น ให้มรรคของเราสมดุลพอดีให้มากขึ้น ความสมดุลพอดีมันสมดุลพอดีของคนกิเลสหยาบ กิเลสกลาง กิเลสหนาแตกต่างกัน ความสมดุลพอดีของการฝึกหัด ของการประพฤติปฏิบัติ เราต้องทํา
แต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ท่านคอยคุ้มครอง คอยดูแล ว่านี่เป็นทางสายเอก “เดินมาสายนี้ เดินมาสายนี้” จิตใจที่สูงกว่าคอยชักคอยจูงคอยดึงคอยประคองให้เราทําของเรา เราก็พยายามทําของเราบ่อยครั้งเข้าๆ แล้วถ้ามันสมุจเฉทปหาน ขาด! นั่นล่ะคือขณะ คําว่า “ขาด” คือดับทุกข์ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ มรรคที่มันเคลื่อนมันสมุจเฉท ดับ ดับแล้วเหลืออะไร อะไรดับ อะไรเหลือ อะไรสิ้นไป อะไรคงอยู่ มันชัดเจน ถ้ามันชัดเจน เห็นไหม มันไม่ใช่ธรรมฝังกลบไง กลบกิเลสไว้แล้วอ้างว่าเป็นธรรม มันเป็นธรรมฝังกลบ แต่ภาคปฏิบัติไม่ใช่ ทั้งขุดทั้งคุ้ยทั้งค้นทั้งคว้า รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง
รสของธรรมที่มั่นลุ่มๆ ดอนๆ รสของธรรมที่มันไม่มั่นคงในพระพุทธศาสนา เราก็พยายามฝึกหัดฝึกฝนของเราขึ้นมา เวลาฝึกฝนขึ้นมา “สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี” มันก็แค่จิตสงบนะ แต่บางคนพอจิตสงบหลงนะ ติด เห็นไหม ติดในสมาธิไง ไม่มีสมาธิเกิดปัญญาไม่ได้ สมาธิเกิดปัญญาโดยอัตโนมัติเป็นปัญญาเองไม่มี ไม่มี! ถ้าสมาธิเป็นปัญญาเอง หลวงตาท่านเน้นยํ้าเลย “เราไม่ติดสมาธิ ๕ ปี” แล้วถ้าสมาธิมันเกิดปัญญาได้เอง ฤาษีชีไพรเขาเป็นพระอรหันต์ไปหมดแล้ว ฤาษีชีไพรก่อนที่องค์-สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ธรรม อาฬารดาบส อุทกดาบส สมาบัติ ๖ สมาบัติ ๘ ทั้งนั้นติดหมด ติดสมาธิ
ถ้าคนไม่มีสมาธิมันก็มีความทุกข์ความร้อนในหัวใจ คนมีสมาธิถ้าติดในสมาธิ เห็นไหม ติดในสมาธิก็ติดในสมถะนั่นน่ะ ติดในสมถกรรมฐาน คิดว่าสมถกรรมฐานคือมรรคคือผลไง ติดในสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ ภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นมาไม่ได้ มันเป็นสัญญา มันเป็นเรื่องโลก โลกียะทั้งสิ้น
สัมมาสมาธิเพราะให้กิเลสสงบตัวลงถึงเป็นสัมมาสมาธิ แล้วสัมมาสมาธิเป็นสมถกรรมฐาน ถ้ายกขึ้นสู่วิปัสสนาคือเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง ถ้าเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง ถ้าฝึกหัดใช้ปัญญาต่อเนื่องไป ฝึกหัดใช้ปัญญาต่อเนื่องไป ระหว่างกิเลสกับธรรมประหัตประหารกันด้วยวุฒิภาวะของกิเลสและคุณธรรมที่เราสร้างขึ้น ที่เรากระทําขึ้นมา
ถ้าคุณธรรมที่เราสร้างขึ้นมา เห็นไหม มันเกิดมรรคไง เกิดมรรค ๘ ดําริชอบ งานชอบ เพียรชอบ ทางสายกลางในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ธรรมฝังกลบ ไม่ใช่กลบกิเลสไว้ แล้วบอกว่า“ฉันมีคุณธรรม” ไม่มี! ไม่มี! ต้องขุดต้องคุ้ยต้องพิจารณาต้องค้นคว้าให้เกิด เกิดธรรมจักร
ดวงใจดวงใดไม่มีมรรค ดวงใจดวงนั้นไม่มีผล ดวงใจใดไม่มีภาวนามยปัญญา ดวงใจนั้นไม่สมุจเฉทปหาน ไม่ได้สํารอกคายกิเลสออกไปทั้งสิ้น
ถ้ามันสํารอกมันคายกิเลสออกไปทั้งสิ้น เห็นไหม นี้คือผลของการประพฤติปฏิบัติที่มีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านริเริ่มดําเนินจนเป็นคุณธรรมในใจของท่าน แล้วครูบาอาจารย์ของเรา “หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเป่ากระหม่อมมา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเป่ากระหม่อมมา” ถึงเคารพบูชาด้วยคุณธรรม
ไม่ใช่หน้าไหว้หลังหลอก พูดแต่ปาก ไม่ได้เอาคําสั่งคําสอนมาเป็นแนวทางดํารงชีวิตเลย ไม่ได้มีคุณธรรมดํารงชีพ ดํารงชีพโดยการหน้าไหว้หลังหลอก ด้วยความหวาด ด้วยความระแวง เพราะ เพราะมันเป็นธรรมฝังกลบ ไม่ใช่ธรรมโดยแท้จริง เอวัง