ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ผิดถูก

๘ มิ.ย. ๒๕๖๗

ผิดถูก

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๗

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่).หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

ถาม เรื่อง นั่งสมาธิหลังค่อม

หลวงพ่อที่เคารพครับ เวลานั่งสมาธิสามารถนั่งหลังค่อมได้ไหมครับ ขอบพระคุณอย่างสูง

ตอบ เวลาเราทำความดี เราก็อยากได้ความดีสมความปรารถนา แต่ความดีของเรา ความดีของเรามันยังอีกยาวไกล เพราะอะไร เพราะความดีอย่างนี้เป็นความดีแบบโลกๆ

ถ้าความดีแบบธรรมนะ โอ้โฮมันมหัศจรรย์กว่านี้เยอะแยะมากมายมหาศาล แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงต้องทำอย่างนั้น เพราะอริยสัจมีหนึ่งเดียวเท่านั้น

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์ที่ ๔ พระศรีอริยเมตไตรยจะเป็นองค์ที่ ๕ ตรัสรู้อันเดียวกันหมด ฉะนั้น ถ้าประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง อริยสัจจะเป็นอันเดียวกัน ไม่แตกต่างกันเด็ดขาด

แต่ถ้ามันเป็นสังคมโลกๆ ไง เวลาเราเป็นชาวพุทธ เวลาชาวพุทธเราเกิดมาเรามีความทุกข์ความยากในหัวใจของตน เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง มีศรัทธาความเชื่อในพระพุทธศาสนา นี่ระดับของทาน ถ้าทาน เราทำคุณงามความดีของเรามันเป็นประเพณีวัฒนธรรมเพื่อให้สังคมร่มเย็นเป็นสุขไง ถ้าสังคมร่มเย็นเป็นสุข เห็นไหม

ถ้าผู้ที่ไม่สนใจในพระพุทธศาสนาก็คือขาดศีลขาดธรรม เวลาขาดศีลขึ้นมาจะเอารัดเอาเปรียบ จะทำลายใครก็ได้ แล้วทำลายใครไปแล้วจะว่าเป็นความสุข...ไม่หรอก เป็นความทุกข์ทั้งสิ้น เป็นความทุกข์เพราะอะไร เพราะทำผิดกฎหมายมันผิดกฎหมาย มันเป็นบาปเป็นกรรม พ่อแม่ก็เดือดร้อน สังคมก็เดือดร้อน ทุกคนเดือดร้อนไปหมดจากการขาดศีลขาดธรรม

แต่ถ้ามีศีลมีธรรมขึ้นมา พ่อแม่ก็เป็นสุข สังคมก็ร่มเย็นเป็นสุข สิ่งที่ตัวเองทำแล้วเป็นคุณงามความดี จิตมันก็สงบระงับ มันก็มีความสุข มันก็สะดวกสบาย มันไม่หวาดไม่ระแวง ไม่เป็นความทุกข์ความยาก นี่พูดถึงว่าถ้าอยู่ในศีลในธรรม ถ้าอยู่ในศีลในธรรมมันเป็นสิ่งที่ดีงามทั้งสิ้น

ถ้าสิ่งที่ดีงามแล้ว เห็นไหม เวลาเราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา มันเป็นลาภอันประเสริฐ แล้วได้สนใจในพระพุทธศาสนา เวลาอยากฝึกหัดประพฤติปฏิบัตินี่เป็นบุญเป็นกุศลทั้งสิ้น เป็นคุณงามความดีทั้งสิ้น แล้วเวลาจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เพราะอะไร

เพราะโดยทางโลก ปฏิบัติไม่ได้นะ นั่งสมาธิแล้วเดี๋ยวเป็นบ้า ไม่มีครูบาอาจารย์นะ คอยควบคุมดูแล

อันนั้นมันเป็นเรื่องไสยศาสตร์ มันเป็นเรื่องไสยศาสตร์ มันเป็นเรื่องฌานโลกีย์ มันเป็นเรื่องทางโลกๆ ไง เห็นไหม เวลามีศึกมีสงครามเขาก็มีตะกรุด มีพระ มีสิ่งต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องรางของขลัง ถ้าเรื่องเครื่องรางของขลังแล้ว เวลาถ้าเป็นทางมิจฉาทิฏฐิจะมีคุณไสย จะปล่อยควายธนูให้เข้าท้องเลย นั่นน่ะมันเป็นเรื่องโลกๆ มันไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเลย

แต่เวลาสังคมเวลาฝึกหัดจะประพฤติปฏิบัติขึ้นไปแล้วนะ ปฏิบัติไม่ได้ เดี๋ยวมันจะบ้า ปฏิบัติไม่ได้

เอ็งจะเรียนไสยศาสตร์หรือ เอ็งจะปล่อยควายธนูใช่ไหม ก็ไม่เห็นมี แต่โลกมันคิดกันอย่างนั้นเพราะคิดแบบโลกๆ ไง เพราะความคิดมันห้ามกันไม่ได้ เวลาห้ามกันไม่ได้มันก็เป็นแบบนั้น

ฉะนั้น เวลาถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา สิ่งที่ดีงามสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดีงาม มันเป็นเรื่องบุญกุศลของตนๆ เห็นไหม

คนเราเวลามีความเห็นผิด มีความคิดผิด ใช้ชีวิตแบบผิดๆ ใช้ชีวิตแบบทางโลกไง สำมะเลเทเมาแล้วบอกว่ามีความสุข เล่นการพนัน เล่นหวย เล่นทุกอย่าง แล้วหวังว่ามันจะได้ลาภลอย มันจะลาภมา มันเป็นบุญ ทำสิ่งใดแล้วมันจะเป็นของที่เป็นของประเสริฐ...ประเสริฐของกิเลสไง

แต่ถ้าประเสริฐของธรรม เห็นไหม โควิด ตู้ปันสุข เขาช่วยกัน เขาเจือจานกัน ใครมีกำลังก็ช่วยคนที่มีกำลังน้อย ใครมีกำลังน้อยก็ดูแลเขาปกป้องเขา ใครรังแก ถ้าเราช่วยเหลือได้เราจะช่วยเหลือเขา อย่างนี้มันเป็นธรรม นี่แหละสังคมร่มเย็นเป็นสุข นี่สติปัญญา มันต้องมีสติ มันมีปัญญาของมันขึ้นมามันถึงจะเป็นชาวพุทธที่ถูกต้องชอบธรรมในพระพุทธศาสนา

ในพระพุทธศาสนานะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับบริษัท ๔ ไง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา อุบาสก อุบาสิกา เวลาฝึกหัดประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจะเอาความจริง

นั่งสมาธิสามารถนั่งหลังค่อมได้ไหมครับ

ถ้าเป็นคนพิการหลังค่อมนั่งได้เลย นอนภาวนาก็ได้ คนเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาเขาช่วยตัวเองไม่ได้เขาจะภาวนาได้ไหม ได้ทั้งนั้นน่ะ

นั่งหลังค่อมได้ไหม

ถ้าเป็นคนหลังค่อม ได้ แต่ถ้าเป็นคนหลังไม่ค่อม หลังตรง เวลานั่งไปแล้ว พอนั่งไปแล้วจิตมันเริ่มเผลอ จิตมันเริ่มแบบว่าโดนควบคุมแล้วมันดีดมันดิ้นไง นั่งจะหลังงออย่างนี้ นั่งเอียงซ้ายเอียงขวา คนถามมาเยอะแยะ เวลานั่งทำไมเอียงทางซ้าย เอียงๆ ไป

เราบอก ถ้าเอียงไป เอ็งตั้งสติดึงกลับมาก็จบ

มันทำไม่ได้ มันทำไม่ได้

ทำไม่ได้ ทำไมพูดได้ล่ะ

เออได้

เวลานั่งไปแล้วนะ โอ๋ยมันเอนไปข้างหลัง มันจะล้มอย่างนี้

ล้ม เอ็งก็ตั้งสติดึงกลับมาก็จบไง

มันทำไม่ได้” ถ้าทำไม่ได้ มันเผอเรอไง นิวรณธรรมไง เวลานิวรณ์มันเหลวไหลมันเฉไฉไปตามกิเลสไง สู้มันไม่ได้หรอก นี่พูดถึงว่าถ้าเป็นเรื่องของจิตไง

ทีนี้เวลาภาวนาๆ ควรภาวนาไหม

หลวงตาพระมหาบัวท่านพูดเลย เวลาไปวัดป่าบ้านตาด ท่านบอกว่า นี่มารถเปล่าๆ นะ เวลากลับให้พุทโธเต็มรถไปเลย

ให้หัดพุทโธไว้ เพราะอะไร พุทธานุสติ

เวลาเราพูด พุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ

เวลาคนถามปัญหามามากมายมหาศาล ต้องตอบนะ ต้องมีศรัทธาก่อน ศรัทธาแล้วต้องศึกษากรรมฐาน ๔๐ ห้อง แล้วหายใจ ลมหายใจ ตั้งสติไว้ นี่เป็นอานาปานสติ พุทโธๆ คำบริกรรม เราระลึกถึงพุทโธๆ มันอธิบายไปสองสามกิโล

แต่ถ้าบอก พุทโธชัดๆ นี่จบเลยนะ เพราะสติมาก่อน สติชัดเจนมันจะนึกพุทโธๆ ได้ชัดเจน ถ้าพุทโธชัดๆ มันสมบูรณ์ด้วยสติ สมบูรณ์ด้วยพุทธานุสติ แล้วเราก็พุทโธของเราไปจนจิตมันสงบ มันดีขึ้น มันก็จะดีขึ้น

แล้วถ้าฝึกหัดปฏิบัตินะ เราเกิดเป็นมนุษย์นะ เกิดมาพบพระพุทธศาสนานะ เป็นบุญเป็นกุศลนะ แต่กิเลสมันบีบมันคั้นไง ทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำบุญกุศลไม่เห็นได้อะไรเลย” นี่มันคาดหมายของมันไป ทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำบุญกุศลก็ไม่เห็นได้บุญกุศลอะไร

กรรมเก่ากรรมใหม่ กรรมเก่าๆ เห็นไหม เทวทัตกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นการเกิดร่วมสหชาติมาตั้งแต่สมัยไหน เป็นสิ่งที่จองเวรจองกรรมกันมาตลอด ถึงสุดท้ายมาเกิดเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นไปเกิดเป็นเทวทัต เป็นพี่เป็นน้องกัน พระเจ้าสุปปพุทธะกับพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพี่ชายกับน้องชาย คนหนึ่งเกิดลูกพี่ชาย คนหนึ่งเกิดน้องชาย เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน แล้วมาบวชเป็นพระ เป็นอาจารย์กับลูกศิษย์ กรรมเก่ากรรมใหม่

เพราะกรรมเก่ากรรมใหม่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา ประพฤติปฏิบัติจนเป็นพระอรหันต์ เป็นศาสดา เทวทัตได้ฌานโลกีย์ไง ได้เรื่องโลกๆ ไง นี่กรรมเก่าไง กรรมเก่ามันปิดมันกั้นมาถึงที่สุด แต่เวลาที่สร้างมาๆ มันก็ทำฌานโลกีย์ ทำสมาธิได้ จิตเป็นหนึ่งจะเกิดเป็นพรหม มันก็เป็นกุศลอันหนึ่ง อาฆาตมาดร้ายจองเวรจองกรรมนี่เป็นมาร เป็นบาปอันหนึ่ง ฉะนั้น เวลาที่ทำมามันก็มีบุญและบาปเสริมมาในใจของเทวทัต

ทีนี้เทวทัตพอจองเวรจองกรรม แต่ถึงที่สุดแล้วสำนึกได้ พอสำนึกได้จะมาขอขมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าเทวทัตจะไม่ได้เห็นหน้าเราอีกแล้ว ไม่ได้เห็นหน้าหรอก

มาแล้วๆ มาถึงหน้าเชตวันธรณีสูบไปเลย พอสูบไปถึงคาง ถวายกรามกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ว่า ถ้าเขาพ้นจากนรกอเวจีอันนั้นน่ะ ถ้าพ้นจากนรกอเวจีอีกนานแสนนาน ถ้าพ้นขึ้นมาแล้วนะจะได้ตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เพราะเขาทำฌานโลกีย์ เขาได้สร้างความดีมากับสิ่งที่มารมันจองล้างจองผลาญเหมือนกัน

นี่เหมือนกัน ทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำดีไม่ได้ดี

ทัศนคติ แนวคิด นี่ของเก่าทั้งนั้นน่ะ พันธุกรรมของจิตๆ ไอ้คนที่มีความรู้สึกนึกคิดอย่างนั้นน่ะ ของเก่าของเขามาอย่างนั้นน่ะ ดัดแปลงอย่างไรนะ ถ้ามีอำนาจวาสนา นี่ไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเจอ คนนี่เดินหนีเลย เพราะพูดไปเถอะ สีซอ ควายมันยังดี มันยังอือๆ มันยังร้องบ้าง ไอ้นี่พูดมันไม่ฟังเลย นี่พูดถึงว่ากรรมเก่าไง

ทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำดีไม่เห็นได้ดี

ดีอะไร เอ็งทำอะไรดี เอ็งคิดอะไร ทัศนคติอย่างนั้นไง

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์เสียสละมามากมาย ทำคุณงามความดีมากมาย อะไรทำแล้วเป็นเรื่องธรรมดา ไม่เห็นบอกทำดีแล้วไม่ได้ดีเลย ถ้าทำดีแล้วไม่ได้ดีนะ สหชาติ ๑๐ ชาติไม่ได้เป็นพระโพธิสัตว์ ทำดีแล้วไม่ได้ดี ไม่ได้ทำมาจนมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ

ทำดีมันได้ดีมาแล้วล่ะ แล้วถ้าดีปัจจุบันนี้ล่ะ อาสวักขยญาณทำลายอวิชชาในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ้นไป

นี่พูดถึงทำดีแล้วได้ดีหรือไม่

แต่ถ้าเป็นทัศนคติแบบนั้นไง ดิ้นพราดๆ เชียว ทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำดีแล้วไม่ได้ดี” ทัศนคติไง อ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง แล้วไม่มีสัจจะ ทำอะไรไม่ได้หรอก เป็นอยู่อย่างนั้นน่ะ นี่พูดถึงว่าสังคมนะ

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าสังคมแล้ว เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราทำคุณงามความดีของเราแล้ว ถ้าทำคุณงามความดีของเรา ถ้าจะฝึกหัดประพฤติปฏิบัติ ปฏิบัติในแนวทางพระพุทธศาสนาแบบฆราวาส แบบโลก

หลวงตาพระมหาบัวท่านชื่นชมมาก ใครฝึกหัดประพฤติปฏิบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง สั่งพระอานนท์ไว้เลย ให้เขาปฏิบัติบูชาเราเถิด” เพราะการปฏิบัติบูชามันมีโอกาสได้สร้างสมสะสมเป็นจริตนิสัยให้จิตดวงนั้นมีอำนาจวาสนา

ให้ปฏิบัติบูชาเราเถิด ปฏิบัติบูชาเราเถิด

ฉะนั้น ในการประพฤติปฏิบัติของฆราวาส ของทางโลก ของสังคม ทำอะไรก็ได้ ปฏิบัติอย่างไรก็ได้ ทำเถอะ ขอให้ทำ เพราะทำแล้ว เพราะอะไร หนึ่ง มันมีศรัทธา ศรัทธานี่มันถึงทำ ศรัทธาคืออยากทำไง คือเชื่อแล้วทำไง

แต่ถ้าโดนเขาชักจูงนั่นอีกเรื่องหนึ่งนะ โอ้โฮเป็นสายบุญสายกรรมเขาชักจูงกันไปใหญ่เลย นั่นเรื่องของสังคมๆ

แต่ถ้าทำแล้วมันมีที่พึ่ง เราเห็นใจมากนะถ้าใครสร้างบุญสร้างกุศลทำคุณงามความดีของเราแล้วได้อะไรล่ะ มันได้หัวใจดวงนี้มานะ มันได้ ถ้าเป็นธรรมมันจะได้ทัศนคติที่ถูกต้องชอบธรรม ทัศนคตินี่สำคัญมาก สำคัญเพราะอะไร เพราะมันเปลี่ยนชีวิตคนไง

คนถ้ามันพาล ทำดีแล้วไม่ได้ดี กูก็ทำพาลไง ทำดีแล้วไม่ได้ดี มันก็ทำตามใจมันไง ทำดีแล้วไม่ได้ดี มันก็ทำสังคมเลวร้ายไปหมดไง เพราะมันจะเอาสิ่งที่มันคิดแล้วสมความปรารถนามันไง แล้วได้ไหม ไม่ได้หรอก เพราะเอ็งเป็นคนทำ

แต่มันมีคู่ไง ผลที่ทำ คนอื่นเขาจะชมหรือเขาจะติเรา ไม่เกี่ยว เอ็งคิดคนเดียว คิดฝ่ายเดียว คิดข้างเดียว เอ็งคิดไปเถอะ แต่คิดแล้วผลตอบสนองมีหรือเปล่า จริงหรือเปล่า...มันเป็นไปไม่ได้

แต่ถ้าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แล้วเราฝึกหัด เราเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา แล้วเราฝึกหัดภาวนานะ หลังค่อมๆ ก็นั่งได้ แต่ถ้าหลังเราเป็นคนไม่พิการ มันนั่งตรง ท่ามาตรฐานคือท่านั่งสมาธิ คือเป็นท่าที่มนุษย์นั่งได้ดีที่สุดและนานที่สุด และเป็นสิ่งที่จะไปเผชิญกับกิเลสในใจของตนได้ แต่ถ้าคนเรามันนอนก็ได้ ยืนก็ได้ ทุกอย่างได้หมด แต่ถ้าคนพิการค่อมก็ทำได้ ทำเพื่อความสงบสุข

เราชื่นชมนะ เราชื่นชมที่ว่า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติแล้วถ้าเป็นข้อเท็จจริง เป็นสัมมาทิฏฐิถูกต้องชอบธรรม มันจะเป็นความสงบสุข ความสงบสุขของความเป็นมนุษย์ ไม่ต้องไปเป็นผู้วิเศษ ไม่ต้องเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ต้องไปเป็นผู้รู้เห็นให้กิเลสมันลากหลอกลวงไปหรอก ไร้สาระ

ทำให้มันเป็นจริงขึ้นมานั่นน่ะ นั่นแหละฆราวาสธรรม เป็นบริษัท ๔ ที่เป็นชาวพุทธ แล้วมีโอกาสได้ฝึกหัดปฏิบัติเป็นจริตเป็นนิสัย นี่พูดถึงฆราวาส

ถูก ทำอย่างไรก็ได้ ถูก เพราะทำอย่างไรก็ได้ ทำให้มีสติ ทำให้มีปัญญา ทำให้เป็นคนที่หัดคิดเป็น หัดคิด รู้คิด นี้คือฆราวาส จบ

ถาม เรื่อง ผิดถูกขอน้อมรับ

พุทโธไม่ใช่ตัวรู้ พุทโธเพื่อแยกสังขารออกจากตัวรู้ พุทโธถี่ๆ ตัวรู้จะเด่นชัด ความทุกข์จะมาจากไหนในเมื่อตัวรู้เด่นชัด ถ้ายังทุกข์อยู่แสดงว่าสังขารไม่แยกออกจากตัวรู้

ตอบ ผิด!

ถ้าเป็นฆราวาสทำอะไรก็ได้เพื่อความฉลาดของเขา แต่นี่ ผิดถูกขอน้อมรับ” เพราะนี่เป็นผู้ที่ปฏิบัติ เป็นพระที่ถามมาว่า พุทโธๆ ไม่ใช่ตัวรู้

พุทโธนี่สมมุติขึ้นมา นี่ถ้าปฏิบัตินะ ปฏิบัติตามความเป็นจริงนะ ตามข้อเท็จจริงนะ เวลาเป็นจริง ข้อเท็จจริง เพราะเราบวชมา มนุษย์เป็นปุถุชน หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านบวชแล้ว แล้วท่านฝึกหัดปฏิบัติของท่านจนท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านมีอำนาจวาสนาท่านถึงวางข้อวัตรปฏิบัติไว้ เพราะท่านมีอำนาจวาสนาท่านถึงฟื้นฟูภาคปฏิบัติ ฟื้นฟูพระกรรมฐานขึ้นมาในประเทศไทย

ฉะนั้น เวลาฟื้นฟูพระกรรมฐานขึ้นมาในประเทศไทย ท่านวางข้อวัตรปฏิบัติไว้เป็นเครื่องอยู่ของใจๆ คำว่า เครื่องอยู่ของใจ” เห็นไหม ยังไม่ได้พุทโธเลย เพราะเครื่องอยู่ของใจมันเป็นสมณสารูป มันเป็นกิริยาของนักรบ มันเป็นกิริยาของพระ

ฆราวาสๆ สิทธิเสรีภาพ มีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ใครอย่ามารอนสิทธิ์ ไม่มีใครมารอนสิทธิ์ของใครได้

มาบวชเป็นพระ เอ็งละจากฆราวาสมาบวชเป็นพระ เป็นพระเป็นภิกษุ ภิกษุยกเข้าหมู่ มีศีล ๒๒๗ มีเสขิยวัตร มีอาวุโส มีภันเต มีวินัยบังคับไว้ ๒๒๗ แล้วถ้าไปเรียนภาคปริยัติก็เรียนธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นเป็นพระบ้าน

ถ้าพระปฏิบัติๆ ไง พอปฏิบัติขึ้นมาก็มีข้อวัตรปฏิบัติไว้เป็นเครื่องอยู่ของใจ

เห็นไหม เขาไปเรียนหนังสือก็ไปเรียนธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาศึกษา ธรรมะนั้นก็กล่อมเกลาให้เขาอยู่ในสถานะของความเป็นสมณะ ความเป็นพระ

พระปฏิบัติๆ เวลาปฏิบัติ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านวางข้อวัตรปฏิบัติไว้ ท่านวางแนวทางไว้ ในกึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง เจริญขึ้นมาด้วยภาคปฏิบัติ เจริญมาด้วยข้อเท็จจริง เจริญขึ้นมาด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

พระธรรมๆ พระธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านปฏิบัติมาแล้วท่านมีคุณธรรมในหัวใจของท่าน ท่านระลึกถึงพุทโธ พุทธะคือพระพุทธเจ้า ธรรมในหัวใจของท่าน ท่านเป็นพระสงฆ์ สงฆ์ที่ประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงมีข้อเท็จจริง ถึงวางข้อวัตรปฏิบัติไว้ให้เป็นเครื่องอยู่ของใจไง

แล้วถ้าเครื่องอยู่ของใจ ถ้าฝึกหัดประพฤติปฏิบัติ ท่านถึงว่า ถ้าปฏิบัติให้หายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ

ให้ ให้หมายความว่านึกเอา วิตก วิจาร พุทโธคือนึกขึ้น ไม่นึกพุทโธ พุทโธไม่มี พุทโธก็เป็นตัวหนังสือเป็นตัวอักษรอยู่ข้างนอก ไม่เกี่ยวกับใจ ลมมีอยู่ทั่วจักรวาล เราก็หายใจอยู่ แต่ถ้าไม่เอาจิตไปกำหนดลม ไม่เป็นอานาปานสติ

อานาปานสติคือการกำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกของใคร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกของผู้นั้น ผู้นั้นคือมนุษย์ มนุษย์มีจิต จิตกำหนดลมหายใจถึงเป็นอานาปานสติ

ถ้ากำหนดพุทโธๆ พุทโธไม่ใช่ตัวรู้

รู้ได้อย่างไร พุทโธก็พุทโธ ตัวรู้ก็ตัวรู้ เกี่ยวอะไรกัน พุทโธนี่นึกเอาใช่ไหม พุทธานุสติ พุทโธๆ นี่นึกเอา

เขาถามว่า พุทโธไม่ใช่ตัวรู้

แล้วมันใช่ที่ไหนล่ะ แล้วพุทโธๆ ปฏิบัติเป็นหรือเปล่า ถ้าปฏิบัติเป็นตามข้อเท็จจริงไง

แต่ถ้าเป็นประชาชน เป็นชาวพุทธ เขาทำอะไรก็ได้ตามจริตนิสัย ตามอำนาจวาสนา ตามทัศนคติที่เขามีอำนาจวาสนา เขายังใฝ่ใจอยากจะประพฤติปฏิบัติ ถ้าเขาประพฤติปฏิบัติก็เป็นจริตเป็นนิสัยของเขาเท่านั้น

แต่ถ้าเป็นพระแล้วจะฝึกหัดปฏิบัติ นี่ น้อมรับทุกประเด็น” ถ้าน้อมรับทุกประเด็น

พุทโธ พุทโธนี้คือวิตก วิจาร นึกขึ้นจากใจ มันเป็นตัวรู้ที่ไหน

ตัวรู้เป็นตัวรู้ แต่ตัวรู้โดนครอบงำโดยกิเลส ตัวรู้โดนครอบงำโดยความเป็นปุถุชนก็นึกไปร้อยแปดพันเก้า นี่ปุถุชนคนหนา

ทีนี้เวลาจะฝึกหัดปฏิบัติไง ถ้าฝึกหัดปฏิบัติเพราะมีศรัทธาไง ถ้ามีศรัทธาแล้ว ฉะนั้น นึกพุทโธ พุทโธคือพุทธานุสติ พระกรรมฐาน พุทโธนี้เป็นอันดับหนึ่ง ธัมโม สังโฆ มรณานุสติ เทวตานุสติ มันเป็นแนวกรรมฐานไง

พุทโธไม่ใช่ตัวรู้

ก็ไม่ใช่ พุทโธเป็นชื่อ นึกพุทโธก็เป็นอารมณ์ อารมณ์นึกขึ้นมา พุทโธๆๆ ทีแรกพุทโธจะเป็นจะตาย มันขัดแย้งทั้งนั้นน่ะเพราะกิเลสมันเป็นเจ้าพ่อ อีโก้มันยิ่งใหญ่ มันยอมใครที่ไหน มันใหญ่กว่า

แล้วเราเป็นชาวพุทธ เรามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันนั้นก็อารมณ์ ศรัทธาเชื่อกันไป แต่เวลามีศรัทธามั่นคงจะฝึกหัด จะพุทโธ พุทโธก็นึกขึ้น วิตก วิจาร แล้ววิตก วิจาร จากใครล่ะถ้าตัวรู้มันไม่กำหนดขึ้น

ตัวรู้เป็นตัวรู้ไง แต่พุทโธมันเป็นสัญญาอารมณ์ไง เกิดจากจิตไง แต่เรามีศรัทธาความเชื่อ เราก็ใช้สัญญาอารมณ์ระลึกขึ้นๆ วิตก วิจาร ตัวรู้คือตัวรู้ไง

ฉะนั้น พุทโธๆ เพื่อแยกสังขารออกจากตัวรู้

เอ็งรู้ได้อย่างไร พุทโธๆ เขาพุทโธเพื่อสงบ ถ้าจิตสงบนะ พุทโธๆ เริ่มต้นพุทโธมันขัดมันแย้ง เวลาพุทโธมันขัดมันแย้งอยู่แล้ว แต่ถ้ามีศรัทธามีความเชื่อ มีการบังคับ เวลาครูบาอาจารย์ ผู้ที่ฝึกหัดปฏิบัติใหม่ให้บังคับ ให้นึกพุทโธชัดๆ พุทโธให้ได้

แต่นึกได้พักเดียวเดี๋ยวก็อ่อน เดี๋ยวก็เผลอ มันมีปัญหาอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว เพราะอะไร เพราะว่ากิเลสมันขัดมันแย้งไง กิเลสมันพลิกมันแพลงไง

ฉะนั้น พุทโธเพื่อแยกสังขารออกจากตัวรู้

ไม่ใช่ ไม่ใช่ พุทโธๆ พุทโธจนกลมกลืน พุทโธๆ จนมันพุทโธไม่ได้ ถ้าพุทโธไม่ได้ ตัวมันเป็นพุทโธเองไง ตัวรู้น่ะคือตัวพุทธะ

แต่ถ้ายังฝึกหัด พุทโธไม่ใช่ตัวรู้

อันนั้นตัวรู้ไม่เห็นเลย เห็นแต่อารมณ์ อารมณ์ตัวเองทั้งนั้น ไม่เห็นจิต

บอก ดูจิตๆ” ไร้สาระ ดูจิตๆ ถ้าเป็นข้อเท็จจริงมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เดี๋ยวจะพูดอธิบายอีกแนวทางหนึ่ง

ฉะนั้น ถ้า พุทโธๆ พุทโธเพื่อแยกสังขารออกจากตัวรู้

นี่เพราะมันมีความรู้มากเกินไปไง ปฏิบัติไปโดยสัญญาอารมณ์ของตนไง ตนเขียนโครงการเอาไว้แล้วจะปฏิบัติตามโครงการที่ตัวรู้ตัวเข้าใจไง

พุทโธๆ เพื่อแยกกับตัวรู้ แยกแล้วตัวรู้มันจะมีสติมีปัญญา มันจะเป็นพระอรหันต์ไปนู่น...คิดไปเอง เพราะศึกษามาก ฟังมาก แล้วงงไง

เขาพุทโธเพื่อให้จิตสงบ จิตสงบแล้วมันไม่ส่งออกมันก็ไม่ไปอยู่ที่พุทโธไง มันอยู่ที่ตัวพุทธะเองไง มันอยู่ที่ตัวมันเองไง มันไม่ส่งออกไปที่พุทโธไง

แต่ธรรมชาติจิตมันส่งออกอยู่แล้ว จิต ธาตุรู้ สิ่งที่ถูกรู้คือขันธ์ ๕ คืออารมณ์ สิ่งที่ถูกรู้ แล้วเวลาคนนอนหลับ นอนหลับสนิทไม่มีความคิด นอนหลับยังเพ้อเจ้ออยู่ไง นี่มันส่งออกโดยธรรมชาติของมันไง

ฉะนั้น พุทโธเพื่อแยกสังขารออกจากตัวรู้

ไม่ใช่ เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าพุทโธๆ จนพุทโธมันเป็นอิสระ ใช่ ไม่ใช่แยก มันเป็นอิสระโดยสมถกรรมฐาน โดยจิตสงบตัวลง ไม่ใช่วิปัสสนา ยังไม่มีวิปัสสนาเลยนะ ยังไม่เกิดจากวิปัสสนาเลย

นี่ไง หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านถึงอบรมบ่มเพาะไว้ไง ต้องศีล สมาธิ ปัญญา ศีลคือความปกติ คือรั้วรอบขอบชิด พุทโธๆ จนจิตสงบนี่เป็นสมาธิ ปัญญาจะเกิดข้างหน้า ยังไม่เกี่ยว

ฉะนั้น พุทโธไม่ใช่ตัวรู้ พุทโธเพื่อให้แยกสังขารออกจากตัวรู้

สับสนอลหม่าน สับสนจับต้นชนปลายไม่ได้ วางโครงการจะประพฤติปฏิบัติแล้วก็จะปฏิบัติตามโครงการที่ตัวเชื่อ ตัวรู้ ตัวเข้าใจ มันก็เลยขัดแย้ง มันขัดมันแย้ง เห็นไหม

หลวงตาพระมหาบัวท่านไปหาหลวงปู่มั่นครั้งแรกไง ท่านบอกว่า มหา มหาเรียนจนเป็นมหาใช่ไหม ถ้ามหาเรียนจนเป็นมหา มหามาหามรรคผลนิพพานใช่ไหม มรรคผลนิพพานไม่อยู่ในตำรา ไม่อยู่ในทฤษฎีใดๆ ทั้งสิ้น นิพพานๆ นิพพานมันอยู่ที่หัวใจของคนไง

มหาเรียนถึงเป็นมหามานะ ถ้าจะประพฤติปฏิบัติ เอาความรู้ทั้งหมดใส่ลิ้นชักสมองไว้แล้วลั่นกุญแจมันไว้ อย่าให้มันออกมานะ แล้วถ้ามหาปฏิบัติไปๆ ถ้าถึงที่สุดแล้ว ปริยัติ พุทธะ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน วิปัสสนาญาณ ทุกอย่าง ภาคปริยัติ ปฏิบัติ ปริยัติคือทฤษฎี คือธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาปฏิบัติถ้ามันเป็นความจริงแล้วนะ มันเป็นอันเดียวกันเลย มันเป็นอันเดียวกันเลย

ที่ว่า ผู้รู้ไม่รู้” มันเป็นอันเดียวกันเลย แล้วมันชัดแจ้งรู้แจ้ง รู้ครบวงจรทั้งสิ้น

แต่นี่ไม่รู้อะไรเลย ตั้งโครงการไว้แล้วปฏิบัติไป นี่ไง ที่หลวงปู่มั่นบอกมันจะเตะมันจะถีบกันไง ตอนนี้มันกระทืบผู้ถามจนงงน่ะ กิเลสมันกระทืบจนตาลอยไปไหนไม่ถูกแล้ว

ฉะนั้น พุทโธเพื่อแยกสังขารออกจากตัวรู้ใช่ไหม

ไม่ใช่

พุทโธถี่ๆ ตัวรู้จะชัดเจนขึ้น

พุทโธๆ นั่นคือสมมุติ นั่นคือระลึก ระลึกขึ้นมา จิตเวลามันคิดไปร้อยแปดพันเก้า เราบังคับไม่ให้มันคิดไปที่อื่น ให้มันคิดเฉพาะพุทโธ คิดถึงธรรมะ คิดเป็นพุทธานุสติๆ คิดๆๆๆๆ นี่ไง พุทโธถี่ๆ ไง พุทโธมันเด่นชัดขึ้น มันเริ่มกลมกลืนกัน

ความทุกข์จะมาจากไหน

นั่นแสดงว่าจิตสงบแล้ว สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี จริงไหม

พุทโธถี่ๆ ขึ้นจนมันรู้เด่นชัด ความทุกข์จะมาจากไหนในเมื่อตัวรู้มันเด่นชัด

นี่สัมมาสมาธิ จิตสงบตัวลง ถ้ามันคล่องตัวขึ้น มันดีขึ้น มันจะเป็นอย่างนี้ชัดๆ อยู่แล้ว นี่ข้อเท็จจริง นี่ภาคปฏิบัติ

ถ้ายังทุกข์อยู่ แสดงว่าสังขารยังไม่แยกจากตัวรู้

แล้วมันจะแยกตรงไหนล่ะ เพราะสมถะไง สมาธิแก้กิเลสไม่ได้ไง แต่ถ้าไม่มีสมาธิ ไม่พุทโธถี่ๆ จนมันเด่นชัด ทุกข์มันมาจากไหนเราก็รู้ เพราะสุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ในเมื่อผู้รู้มันเด่นชัดไง

ถ้ายังทุกข์อยู่ แสดงว่าสังขารยังไม่แยกจากตัวรู้

แล้วแยกตรงไหนล่ะ แล้วแยกอย่างไรล่ะ

จิตสงบแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง นี่เห็นกิเลส แล้ววิปัสสนาคือใช้ปัญญา ภาวนามยปัญญาจะเกิดขึ้นจากจิตที่มันสงบแล้ว

ที่ว่า จิตที่มันเด่นชัด จิตที่ทุกข์มันไม่มาจากไหน

นั่นน่ะแค่สมาธิ แล้วสมาธินะ จะเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงหรือไม่ ถ้ามันเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงนะ นี่ไง ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ไง ถ้าขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ มันไม่ใช่เพราะอะไรล่ะ

ไอ้นี่เหมือนกัน นี่ไง ถ้ายังทุกข์อยู่ แสดงว่าสังขารยังไม่แยกจากตัวรู้

แล้วมันทุกข์หรือเปล่าล่ะ แล้วถ้ามันแยก มันแยกอย่างไร ไอ้ที่ว่ามันจะแยก มันจะคิดให้แยกมันเป็นไปไม่ได้ พอจิตสงบแล้วมันจะให้ตามความรู้ความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้

แต่ถ้าจิตเห็นสติปัฏฐาน ๔ แล้วมันใช้วิปัสสนา ตทังคปหานคือรู้แจ้งปล่อยวางเป็นครั้งเป็นคราว เวลามันสมุจเฉทปหานนะ ขณะ นิโรธ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕

มันจะแยกไม่ได้ แต่ถ้าสักกายทิฏฐิมันขาด วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส สังโยชน์ ๓ สังโยชน์ ตัวสังโยชน์ต่างหากที่มันผูกมัดไว้ ตัวสังโยชน์ต่างหากที่มันรัดคอจิตไว้ ตัวสังโยชน์ ๑๐ มันรัดหัวใจไว้แล้วไม่รู้จักวิธีแก้ไข ไม่รู้จักวิธีลดละ ไม่รู้จักวิธีปลดเปลื้อง ไม่รู้หรอก เพราะภาวนาไม่เป็นไง มันไม่มี

แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริง นี่พูดถึงข้อเท็จจริงนะ ฉะนั้นถึงบอกว่า สิ่งที่ว่า ถ้าเขานั่งสมาธิ นั่งอะไร ทำอะไรก็ได้ นั่นเขาเป็นฆราวาส เขาเป็นสังคม เขาเป็นโลก แค่มีศรัทธาความเชื่อในการปฏิบัติมันก็มีสติมีปัญญาแล้ว แล้วถ้าจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันจะเป็นจริตเป็นนิสัย เป็นความสุขร่วมของสังคมเขา แต่ถ้าปฏิบัติมันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก นี่สันทิฏฐิโก อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนแล้วตนรู้อะไร

ฉะนั้น เวลาพูด เวลาเข้าใจอย่างนี้ ถ้าเป็นข้อเท็จจริงนะ เป็นที่หลวงตาท่านอบรมบ่มเพาะไว้ไง นี่มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ

เวลาพุทโธ เราพุทโธตลอดเวลา ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานสัทธาจริตไง เวลาพุทโธแล้วมันแฉลบ พุทโธแล้วมันแลบ พุทโธแล้วมันเครียด พุทโธอะไรไม่ได้เลย

ไอ้นี่เหมือนกัน ถ้าพุทโธๆ ถ้ามันจะใช้ปัญญาอย่างนี้มันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาพอเข้าใจไง นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ผู้รู้ สิ่งที่อารมณ์ความรู้สึกถูกรู้ แล้วถ้ามันมีสติมีปัญญา มันพิจารณา มันจะปล่อยอันนี้ มันปล่อยสิ่งที่ถูกรู้ไง

พุทโธๆ มันเป็นสมมุติที่เราสมมุติ เราตั้งขึ้นมา เราวิตก วิจาร ให้มันเป็นข้อเท็จจริง ให้จิตมันอบรมมันบ่มเพาะมันให้มันเป็นจริงขึ้นมา

ถ้ามันพุทโธไม่ได้ มันเครียด พุทโธแล้ว พุทโธเพื่อแยกสังขารออกจากตัวรู้

แยกตรงไหน สมาธิเป็นสมาธิ มันไม่ใช่วิปัสสนา สมาธิมันไม่ใช้ปัญญา เวลาไม่ใช้ปัญญา ปัญญามันแยกแยะมันไม่เป็น

โดยอภิธรรมไง สมาธิแก้กิเลสไม่ได้ๆ เราต้องใช้ปัญญา

แล้วปัญญาอย่างเขา ปัญญาอย่างนั้นน่ะมันเป็นปัญญาแบบทฤษฎี ปัญญาแบบอภิธรรม ปัญญาแบบโลก ปัญญาแบบตำรา ปัญญาแบบนักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์วิจัย มันไม่มีสมาธิ

แต่ถ้าเราพุทโธๆ จนมันเป็นสมาธิหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ แล้วถ้าจิตมันเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริงแล้วมันพิจารณาไป ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕

นี่ไง เวลาพิจารณาไป ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา ๒๐ เวลามันขาด เวลามันขาดมันข้อเท็จจริงอย่างนั้น ขาดคือขณะ ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริงไง ถ้ามันมีข้อเท็จจริง

ฉะนั้น เวลาปฏิบัติไปแล้ว พุทโธๆ มันเป็นพุทธานุสติ แล้วไอ้ที่ใช้ปัญญาๆ ปัญญามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิคือปัญญาแบบโลก ปัญญาแบบวิทยาศาสตร์ ปัญญาแบบการศึกษา สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญาไม่เกิด ถ้าภาวนามยปัญญามันเกิด ทำความสงบเป็นไหม เป็นสมาธิไหม

ถ้าสมาธิ เพราะสมาธิคืออะไร สมาธิคือจิตตั้งมั่น จิตที่มีกำลัง เวลามันน้อมไป โอ้โฮมันสะเทือนนะ มันเห็นกิเลส มันเห็นการร้อยรัด มันเห็นถึงความผูกพัน

แล้วถ้าเวลาใช้ปัญญาไปๆ นี่ไง สิ่งที่ว่าดูจิตๆ ดูจิตดูที่ไหน ดูอารมณ์ ดูไม่เป็น แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริงไง ดูจิตคือปัญญาอบรมสมาธิ เวลามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นจิตตามความเป็นจริง

เวลาหลวงปู่ดูลย์ว่าจิตเห็น เวลาจิตพิจารณาไป พิจารณากิเลส กาย เวทนา จิต ธรรมนี่แหละ เวลามันขาด นิโรธ จิตนอก แล้วถ้าจิตสงบขึ้นมาถ้ามันเห็นกิเลสจากภายใน เวลามันชำระ จิตใน ถ้าเห็นอสุภะนี่จิตถอด เวลาเห็นอวิชชาไง จิตในปฏิจจสมุปบาท จิตในจิตน่ะ นี่มันเป็นข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริง มรรค ๔ ผล ๔ นี่ถ้ามันทำเป็นไง

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า ผิดถูกยอมรับ

เวลาภาวนาแบบฆราวาสเขาจะทำอะไรก็ได้ มันภาวนาเพื่อความสุขสงบในใจ เพราะเขาเป็นฆราวาส เป็นปุถุชน แต่จากฆราวาสภาวนาเพื่อสังคม ภาวนาเรื่องโลกๆ เรื่องความสุขความสงบ

แต่ถ้าเป็นนักรบมันภาวนามันต้องเข้าสู่อริยสัจ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์ นิโรธคือดับทุกข์ มึงดับหรือเปล่า มีจริงหรือเปล่า นี่มันคนละสถานะกัน ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ท่านถึงวงการปฏิบัติไง

ถ้าปฏิบัติพอเป็นพิธี ปฏิบัติแบบโลกก็สาธุ ปฏิบัติเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข เชิญ ชีวิตเรามันทุกข์ยากแสนยาก เพื่อความสงบสุข ได้แค่นั้นแหละ สังคมโลกปฏิบัติอยู่กันได้แค่นี้จริงๆ แล้วมันก็เป็นพื้นฐานของวัฏฏะ เป็นพื้นฐานของโลก รู้กันได้แค่นี้

แต่ถ้าจะปฏิบัติแบบบรรลุธรรมเห็นธรรมน่ะ ดูจิตๆ ถ้าเป็นข้อเท็จจริงมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ หมายความว่า คนมีสติปัญญามีสติสัมปชัญญะทำอะไรก็ไม่ผิดพลาด

แต่ถ้ามันเป็นโลกียะเป็นเรื่องโลก มันเห็นอะไรมันตู่หมดเลยว่ามันรู้มันเห็นมันเข้าใจ...แล้วรู้จริงหรือเปล่า

รู้จริงนะ สันทิฏฐิโกน่ะ ให้มาจากสวรรค์ชั้นไหนก็ได้ มาเถอะ หลวงตาท่านไม่เคยกลัวอะไรเลย เทวดา อินทร์ พรหมไหน เชิญ เทวดา อินทร์ พรหมยังไม่รู้เรื่องธรรมะ

ไอ้นี่มันไม่รู้อะไรเลย แล้วก็พายเรืออยู่ในอ่าง ดูจิตๆ ก็ดูแบบโลกๆ ดูแบบวิทยาศาสตร์ ดูแบบโลก มันไม่ใช่ดูแบบธรรม

ถ้าดูแบบธรรมนะ หลวงปู่ดูลย์ ดูจิตๆ คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ดูจิตๆ ความคิดทั้งหลายเป็นสมุทัย ดูจิตๆ นี่ ความคิดทั้งหลายคือสังขาร คืออารมณ์ ความคิดทั้งหลายทั้งหมดเป็นสมุทัย ผลของมันเป็นทุกข์นี่ไง

แล้ว ทุกข์แยกออกจากสังขาร ออกจากตัวรู้” นี่แยกยังไง ถ้าสงบชั่วคราวมันเผอเรอเผลอไผล มันอ้างอิงว่าใช่ แต่ความจริงไม่ใช่

เพราะปฏิบัติไปมันจะรู้มันจะเห็นหมดเลย ความคิดทั้งหลายทั้งหมดเป็นสมุทัย ผลของมันเป็นทุกข์ จิตเห็นจิต

จิตนอก นี่สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ขาด

จิตใน ขันธ์อย่างกลางขาด

จิตถอด ถอดขันธ์ ๕ ทั้งหมด เหลือจิตล้วนๆ

จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้ เห็นไหม จิตเห็นจิตในปฏิจจสมุปบาท นั่นน่ะ จิตนอก จิตใน จิตถอด จิตทำลายจิต นี่ของหลวงปู่ดูลย์ ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริง

แล้วมันเป็นอย่างไรวะ แล้วมันเป็นอย่างไรล่ะ

จิตนอก สังโยชน์ ๓

จิตใน กามราคะปฏิฆะอ่อนลง

จิตถอด กามราคะปฏิฆะขาดไป

สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะปฏิฆะขาดไป สังโยชน์เบื้องต่ำ

จิตเห็นจิต จิตในจิต รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ขาดหมด ทำลายหมด

สังโยชน์เบื้องต่ำขาดไป จิตเห็นจิตเป็นมรรคแล้วทำลายตัวจิต ทำลายสถานที่ ทำลายที่อยู่ สังโยชน์เบื้องบน รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ มันจะอยู่บนอะไรล่ะ ว่ามันขาดไป มันทำลายไปหมด นี่พูดถึงว่าถ้าปฏิบัติตามข้อเท็จจริงไง

ฉะนั้น คำถามว่า ผิดหรือถูกยอมรับทั้งสิ้น” มันถึงเป็นปัญหาไง

เวลาประชาชนเขาประพฤติปฏิบัติถูก ถูกทั้งนั้นน่ะ ทำอะไรก็ได้ขอให้ร่มเย็นเป็นสุข แต่ถ้าเป็นพระ เป็นนักปฏิบัติต้องตามความเป็นจริง ต้องตามข้อเท็จจริง ฉะนั้น ผิดถูกตามข้อเท็จจริง แล้วไม่ต้องว่าใครถูกใครผิดทั้งสิ้น

เวลาประพฤติปฏิบัติไปแล้ว ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก มันกังวานกลางหัวใจ อริยสัจมีหนึ่งเดียว พระศรีอริยเมตไตรยก็จะมาตรัสรู้อย่างนี้ ไม่มีใครขัดแย้งใครถ้ามันเป็นความจริง ข้ามภพข้ามชาติ ข้ามทุกอย่าง ตั้งแต่ภัทรกัป พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ แล้วยังจะไปอนาคตกาล อริยสัจมีหนึ่งเดียวเท่านั้น จบ