เที่ยวในศีล สมาธิ ปัญญา
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒
ณ วัดป่าสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจนั่งให้ดีนะ ต่อไปนี้เป็นการเข้าสงคราม เข้าสงครามเอาชนะตัวเอง เกิดเป็นคน ทุกคนปรารถนาความสุขนะ เกิดเป็นคน ทุกคนปรารถนาแต่ความสุขความเจริญ แต่มันไม่สมปรารถนาเพราะอะไร มันไม่สมปรารถนาเพราะกรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน การกระทำที่ทำมามันจำแนกเราไป แล้วแต่การกระทำมาเลย แต่การกระทำมาจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน
แม้แต่องค์สมเด็จสัมมาพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้ว และประกาศธรรมออกไปผู้ที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ได้ทำตามความเป็นจริงในอริยสาวกต่างๆ ก็มีจริตนิสัยต่างๆ กัน เป็นเอตทัคคะ ๘๐ ทาง ๘๐ องค์ ก็ ๘๐ ทาง พระอานนท์ได้มากหน่อย ๓-๔ แนวทาง นั่นน่ะ กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน แม้แต่ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วก็ยังต่างกัน ต่างกันในวาสนาบารมี แต่เสมอกันด้วยการพ้นทุกข์ ถึงธรรมเหมือนกันไง
อริยสาวกตามเสด็จทันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากว่าจะแสวงหาธรรมมา เพื่อจะให้เราเดินตามนี่ทุกข์ยากลำบากมหาศาล เป็นองค์ศาสดาเป็นผู้เดินนำทางเราไปก่อน แล้วเราเป็นผู้เดินตาม จะเป็นผู้เดินตาม ถึงว่า กรรมจำแนกสัตว์ในเกิดต่างๆ กันนี้ เป็นคำพูดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ตามความเป็นจริง แล้วจำแนกออกไว้ตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงที่ท่านรู้ท่านเห็นนะ รู้ทั้งโลกนอกและโลกใน
โลกใน คือโลกของกิเลส โลกของอริยสัจ กำจัดอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ออกไปจากใจได้ทั้งหมด แล้ววาสนาบารมีเป็นพุทธภูมิ รู้ออกไปทั้งหมด ถึงว่ากรรมทำให้เราสัตว์จำแนกเกิดต่างๆ กัน เราเกิดตายเกิดตายมาในวัฏสงสารนี้มหาศาล ไม่มีต้นไม่มีปลาย แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่มีต้นไม่มีปลาย
แล้วเราเป็นใครล่ะ เราเกิดมา เกิดมาแล้วพบพระพุทธศาสนานี้ถึงว่าเป็นวาสนาบารมีอย่างมหาศาล อย่างมหาศาลเลย เพราะการเที่ยวในวัฏฏะ จิตนี้เป็นนักท่องเที่ยว เคยเกิดเคยตายในภพสูงๆ ต่ำๆ มามากมายมหาศาล เคยเกิดสูงแล้วก็ต้องกลับมา หมดบุญวาสนาแล้วก็ย้อนกลับมาเกิดใหม่ เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิด เกิดทุกอย่างที่เคยในวัฏฏะนี้มี จิตนี้เคยเกิดมาทั้งนั้น เคยเกิด เกิดแล้วตาย เกิดแล้วตาย จนซากศพที่มันตายทับตายซ้อนมาเป็นแผ่นดินขึ้นมานี่ขนาดไหน
ดินในร่างกายของเรา ธาตุ ๔ ผสมกันเกิดมา จิตนี้ปฏิสนธิเกิดขึ้นมา แล้วมันเจริญเติบโตขึ้นมา ได้ใช้สอยสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ แล้วก็ตายไปตายไป จนว่าสิ่งที่เกิดตายซับตายซ้อนนี้เรามานั่งบนกองกระดูกของเรากันเองไง พระพุทธเจ้าบอกธาตุดิน เราเคยเกิดเคยตายมา เรามานั่งทับบนกองกระดูกของเราเองด้วยนะ ไม่ใช่ของสัตว์โลกอื่น ถึงว่า จิตนี้เป็นนักท่องเที่ยว แต่ท่องเที่ยวตามกิเลสไง ท่องเที่ยวตามอำนาจวาสนาไป เราท่องเที่ยวไปเรื่อยท่องเที่ยวไปเรื่อย
ดังนั้นในโลกของวัฎฎะนี้เราไม่สามารถมองเห็นได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระอรหันต์ต่างๆ ที่สิ้นไปแล้ว ถึงจะเข้าใจเห็นตามความเป็นจริง ในเมื่อเราเป็นคนที่มองไม่เห็นเราต้องเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิว่า จิตนี้เคยเกิด เกิดตายทับตายซ้อนมา เที่ยวในวัฎฎะมา เที่ยวทุกข์เที่ยวยากมาตลอด จะมีความสุขบ้างก็พอหายใจเท่านั้น นอกนั้นมีความทุกข์เป็นสัจจะ ความทุกข์เป็นอริยสัจ เป็นความจริงแนบไปกับใจทุกๆ ดวง จะเกิดภพไหนชาติไหน ต้องมีความเศร้าหมองความทุกข์ใจแนบไปกับใจ จะมีบุญวาสนา เกิดเป็นเทวดาจะเพลิดเพลินไป แต่มันก็มีการเศร้าหมองมีการเศร้าหมองมีความอมทุกข์อยู่ภายในนั้น
เพราะทุกข์นี้มันเป็นอวิชชาฝังอยู่ในหัวใจของทุกๆ ดวงจิต ที่เที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร จิตนี้เป็นนักท่องเที่ยว ก็เที่ยวไปพร้อมกับอวิชชา เที่ยวไปพร้อมกับความมืดบอด ความมืดบอด ฟังสิ ความมือบอดเพราะอะไร เพราะเวลาตายไปแล้ว เกิดภพใหม่มันจำภพเก่าไม่ได้หรอก
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม ซึ้งในคุณของอาฬารดาบส อุทกดาบส
ธรรมนี้ละเอียดอ่อนลึกซึ้งมาก จะสอนใครดีหนอ จะสอนใคร ใครจะรู้ตามได้ คนที่รู้ตามได้ต้องมีพื้นฐาน อาฬารดาบส อุทกดาบสนี้ เป็นผู้ที่มีสมาบัติ ๖ สมาบัติ ๘ ควรจะรู้ธรรม ควรจะรู้ธรรมกำหนดดูว่าจะสอนใครก่อน อาฬารดาบสก็ตายไปแล้วเมื่อวานนี้ ตายไปแล้วเมื่อ ๗ วันนี้ นั่นอาฬารดาบส ดาบสทั้งสองตายไปแล้ว นี่ไม่ตามไปสอนล่ะ ในเมื่อคุณก็มีกันอยู่ ทำไมไม่ตามไปสอนคนที่ตายแล้ว?
เพราะคนที่ตายแล้ว พอเขาตายจากดาบสนั้น เขาไปเกิดเป็นพรหมทันที จะไปสาวถึงเขาเหรอ จะสาวถึงในภพคนละภพน่ะเขาจำไม่ได้แล้ว เห็นไหม มันสอนกันไม่ได้แล้วเพราะคนตายแล้วไปเกิดภพใหม่มันก็เป็นคนใหม่ เป็นพรหมใหม่ เป็นเทวดาใหม่ มันจำชาติเก่าไม่ได้ เป็นไปด้วยความมืดบอด มีบุญมีกุศลขนาดนั้นก็ระลึกอดีตไม่ได้หรอก
ไปเกิดภพใหม่ชาติใหม่ก็ไปอยู่ในภพใหม่ชาติใหม่ การที่เกิดอันนั้น ถึงว่าคนตายไปแล้วไม่ใช่ตายแล้วตายเปล่า ตายแล้วมันเสวยภพเสวยชาติใหม่ไปเลย ยกเว้นไว้แต่สัมภเวสีตายแล้วรออันนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่ถ้ามีบุญกุศลตายแล้วจะไปเลย ไปเลย เสวยภพไป ถึงว่าคนตายแล้วหมดโอกาสไง หมดโอกาสเพราะว่าเขาต้องไปเสวยร่างใหม่ เขาไปเสวยความคิดใหม่ความคิดที่บังความคิด
เราถึงเป็นมนุษย์อยู่ปัจจุบันนี้ เราพบพระศาสนา เรามีบุญกุศลมาก เพราะพระพุทธเจ้าพูดถึงอริยสัจไง พระพุทธเจ้าสอนมรรคอริยสัจจังให้เราก้าวดำเนินตามไป นี่วาสนามันอยู่ตรงนั้น ถ้าตายไปแล้ว เราได้สร้างกุศลไว้ เราก็ไปเกิดเป็นเทวดาเป็นอะไร ภพของเทวดานั้นมันทำให้เราเพลินไปอีก ถึงว่าอันนั้นมันเป็นผลของบุญกุศล แต่บุญกุศลนั้นสะสมไว้ให้ใจนี้พัฒนาขึ้นมา ใจพัฒนาขึ้นมาเพราะว่านักบวช พระเณรเอย ผู้ที่บวช ผู้ที่เข้ามาในศาสนาเป็นคนที่จนตรอก เป็นคนที่ไม่มีทางออก ถึงต้องมาเป็นนักบวช มันจริงอย่างนั้นหรือ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถึงกษัตริย์ จะเสวยราชย์อยู่แล้วในอีก ๗ วันข้างหน้า ยังสละออก คนที่หันหน้าเข้ามาประพฤติปฏิบัติ มันละเอียดอ่อนลึกซึ้งจนโลกเขามองเห็นไปไม่ได้ไง
การท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะกับการท่องเที่ยวอยู่ในโลก เอาโลกเราปัจจุบันนี้ วัฏฏะนี้มัน ๓โลกธาตุ เอาแค่โลกเราที่เกิดเป็นมนุษย์นี้ เราก็อยากท่องเที่ยวไปในโลก เราอยากใช้ชีวิตแบบความสุขของโลกที่เขามีกันอยู่ เขามี รูป รส กลิ่น เสียงขนาดไหน เราก็อยากจะมีเป็นไปกับเขา แล้วมันเป็นไปกับเขาแล้ว มันสมความเป็นไปไหม
ที่มันล่มจมอยู่นี้ ชาติล่มจมอยู่นี้ก็เพราะอยากเจริญรุ่งเรืองเหมือนเขา เจริญรุ่งเรืองทางวัตถุ แต่หัวใจแห้งผาก หัวใจเศร้าหมอง หัวใจเดือนร้อน ตะเกียกตะกายอยากให้มีวัตถุสิ่งที่มันเกินความจำเป็นไง ปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัยให้จิตกับกายนี้พอเครื่องดำเนินไปได้เท่านั้นเอง มันเครื่องอยู่อาศัย ถ้าเราอาศัยด้วยมีสติมีสัมปชัญญะมันเป็นเครื่องอยู่อาศัย เงินจะมีประโยชน์ต่อเมื่อที่จิตใจคนนั้นประเสริฐไง จิตใจคนนั้นประเสริฐ เงินจะเป็นประโยชน์ เราจะใช้เป็นประโยชน์ทั้งหมดเลย เราเป็นเจ้านายของเงิน เราจะใช้เงินนั้นไป
แต่เราแสวงหาเงินมาให้เงินเป็นเจ้านายเรา เก็บรักษาไว้ก็เป็นทุกข์ เก็บรักษาอย่างเดียวก็ยังเป็นทุกข์อยู่แล้ว ถ้าเราใช้ผิดประเภทอีก ใช้ในทางความชั่ว เงินนั้นให้ผลเป็นลบกับเรา เราหาเงินนั้นมาด้วยความทุกข์ยากแสนเข็ญ แล้วมีเงินมา เงินยังมาทำให้เราตกทุกข์ตกต่ำไปอีก นั่นน่ะ เพราะเราไม่ใช้ปัจจัย ๔ ตามความเป็นจริง ปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัย เราอาศัยเขาให้ชีวิตนี้มีความสะดวกสบายพอจำเป็นในปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัยเท่านั้น
พอความจำเป็น ถ้ามันมากเกินไปมันทำให้คนนั้นนิสัยเสียไปได้ นิสัยเสียเป็นคนใจแตก เป็นคนก้นรั่ว เก็บหอมรอมริบไว้ไม่ได้ นั่นน่ะ เงินที่หามาเองมันก็ยังเป็นสิ่งย้อนกลับมาให้เราเป็นคนนิสัยเสียไปได้ เพราะว่าใจคนที่เป็นประเสริฐ ท่องไปในโลก ท่องไปในโลกของเขา เราท่องไปแล้วย้อนกลับมาว่าเราได้อะไรติดตัวของเรามา เราได้อะไรเป็นแก่นสารของชีวิตนี้
แต่คนที่ว่าจนตรอกจนมุม เขาว่าไม่มีทางออก ต้องมาเป็นนักบวช ต้องบวชพระ บวชเณรบวชชี บวชอะไรเป็นคนจนตรอก...เป็นคนประเสริฐต่างหาก เป็นคนที่หัวใจสูงส่ง เป็นคนมองเห็นประโยชน์ที่โลกเขามองไม่เห็นไง มันเป็นประโยชน์ของโลก เป็นอริยภูมิ ภูมิที่จะทำให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด อย่าว่าแต่โลกมนุษย์นี้เลย แม้แต่จะหักวัฏฏะออกไปจาก ๓ โลกธาตุนั้นน่ะ มันเป็นไปได้ไหม
โลกนี้เขามืดบอดไง มืดบอดว่าเป็นไปไม่ได้ โลกอยู่อาศัยกัน ตายแล้วก็ตายสูญ ให้เที่ยววนไปในวัฏฏะ เที่ยวไปในความทุกข์ความยาก แล้วยังสะสมมาให้เป็นบาปอกุศลไป เป็นบาปเป็นอกุศลไปตกต่ำไปอีก เพราะมันจะทำแต่ตามใจตัวมัน พอจะทำคุณงามความดี บอกว่าเป็นคนจนตรอกจนมุม...คนจนตรอกจนมุม หรือจะเอาชีวิตเอาดวงจิตออกพ้นจากวัฏฏะไป ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก
ตายเกิด ตายเกิด มันเป็นความทุกข์ยาก ความเกิดความตาย เกิดมากว่าจะเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาเป็นอะไรก็ทุกข์อย่างนั้นเหมือนกันหมด การเกิดนี้ ชาติปิ ทุกขา การเกิดนี้เป็นทุกข์อย่างยิ่ง การเกิดแล้วถึงทุกข์ถึงจรมาทั้งหมด ทุกข์ในปัจจุบันที่เราเห็นกันอยู่นี้ที่ว่าเป็นความทุกข์ ความทุกข์ของเรา มันเศร้าหมอง มันเศร้าหมองเพราะมันไม่สมความปรารถนา เราสร้างสิ่งใดแล้วไม่สมความปรารถนาแล้ว อันนั้นเป็นทุกข์ อันนี้จรมา
แต่จะมี ทุกข์อย่างนี้ก็เกิดเพราะเราเกิดขึ้นมา เราเป็นมนุษย์ ในมนุษย์เขาต้องการสิ่งใด ในมนุษย์นี้ ในโลกนี้เขาปรารถนาอะไร เขาเห่อในอะไรเป็นครั้งเป็นคราว เขาปั่นกันขึ้นมาให้เราหลงกันขึ้นมา เป็นคนที่มีปัญญาเขาหาเงินได้ในโลก คนที่ไม่มีปัญญาเป็นขี้ข้าเขาไปตลอดในโลกนี้ เขาปั่น มันมีคุณค่าเป็นครั้งเป็นคราวขึ้นไป เดี๋ยวก็หมดคุณค่าไป แล้วแต่กระแสของโลกจะเป็นไป มันเพราะมีชาติมีความเป็นมนุษย์ มีความเห่อตามเขา มีจิตมีการรับรู้
ชาติการเกิดถึงเป็นทุกข์อย่างยิ่ง แล้วการหักออกจากการเกิดการตายมันจะไปหักออกที่ไหนถ้าเราไม่เจอพุทธศาสนา ลัทธิศาสนาต่างๆ ก็สอนกันมา สอนกันมาว่าตายไปแล้วจะรอ บุญกุศลจะตามไปข้างหน้า มันเป็นความเป็นจริงอย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะจิตนี้ต้องตายแล้วเกิด เกิดแล้วตายไม่มีที่สิ้นสุด
เว้นไว้แต่พระอรหันต์เท่านั้น ตายแล้วไม่เกิด เกิดมานี้เป็นชาติสุดท้าย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระองค์แรกที่ปฏิญาณอย่างนั้น แล้วเสวยวิมุตติสุขในใจองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นความเป็นจริง รู้เห็นตามความเป็นจริงแล้วจำแนกธรรมไว้ให้เราเดินตาม เราจึงต้องท่องเที่ยวไปในธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าให้ท่องเที่ยวเข้ามาในธรรมนี้ไง ไม่ให้ท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ ไม่ให้ท่องเที่ยวไปในโลกของเขา
ในโลก ในสงสาร ในสิ่งที่โลกเขาเห่อเหิมกันไป ท่องเที่ยวไปอย่างนั้น ท่องเที่ยวเอาแต่ความอ่อนเพลีย อ่อนล้ามา เสียพลังงานไปทั้งหมด แล้วก็สะสมแต่กองทุกข์เข้ามา ไม่เป็นประโยชน์เลยกับการเกิดการตายนี้ กลัวแต่ว่าจะไม่ทันเขา กลัวแต่จะไม่ทันโลกเขา กลัวแต่ปัญญาจะน้อยไง พยายามสะสมไปตามเขา จะให้เห็นตามความเป็นจริงกับเขาว่าเราก็เคยเห็น สิ่งนั้นเราก็เคยเห็น เราก็วนไปกับเขา แล้วไปกว้านเอาอะไรเข้ามา กว้านเอายาเสพติด เอาสิ่งที่ติดเข้ามา ไปเห็นภาพ มันฝังเข้าไปที่ใจ
สิ่งที่เราเห็นมาเป็นประโยชน์ของทางโลก มันจะมาขัดแย้งกับการประพฤติปฏิบัติทั้งหมดเลย เพราะว่าเห็นปฏิบัติแล้วมันคิดฟุ้งซ่านไป สิ่งที่เห็นปฏิบัติมา สิ่งที่ไปเห็นไปสะสมมามันเป็นสัญญาซับเข้าไปที่ใจ เวลาจิตมันจะสงบเข้าไป สิ่งนั้นจะต่อต้านออกมา สิ่งนั้นจะมีการกระทุ้งออกมา เหมือนสิ่งนั้น เหมือนสิ่งนี้ สิ่งที่เคยมีอยู่ในใจมันจะเทียบค่าออกไปกับความกระทบของอารมณ์ตลอดเวลา มันเป็นประโยชน์ต่อเมื่อ เราออกมาใช้เป็นประโยชน์
สื่อ กามคุณ ๕ การสื่อสารกันจะเป็นประโยชน์ต่อเมื่อสื่อความหมาย สื่อออกมาเป็นสมมุติเฉยๆ แต่การจะเที่ยวเข้ามาในธรรมวินัย เที่ยวเข้ามาในธรรมวินัย พระพุทธเจ้าจำแนกธรรมไว้ ศีล สมาธิ ปัญญา คฤหัสถ์ก็ให้ทาน ศีล ภาวนา ให้แต่มีทานก่อนเพราะมันจับต้องใดๆ ไม่ได้เลย มันไม่เห็นสิ่งใดมีคุณค่าไปหมดเลย เห็นแต่เรามีคุณค่า สิ่งของต่างๆ มันจะกว้านเข้ามาเป็นเรามันจะยึดมั่นถือมั่นในสมบัติทุกอย่างว่าเป็นของเรา
ถึงต้องให้มีการสละทานออกไป ทานออกไป สละออก สิ่งที่สละออกกิเลสมันจะต่อต้านไม่ให้สละออก สิ่งที่เราไม่ยอมสละออกมันก็สะสมเข้ามาที่ใจ มันเป็นยางเหนียวยึดเข้าไป ซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไปอยู่ในหัวใจนั้น ถึงว่าถ้า ทาน ศีล ภาวนา มีทานก่อน ทานเพื่อให้หัวใจนั้นควรแก่การงานคือสละออก การสละออกหัวใจมันจะเปิด เพราะความตระหนี่ถี่เหนียวน้อยออกไป ความให้อภัย ความเปิดใจ ใจจะเปิดกว้างออกไปถึงต้องมีทานก่อน
นักบวช พระ เณร ผู้ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา ท่องเที่ยวไปในศีล สมาธิ ปัญญา ศีลคือการจำกัด ตั้งแต่ศีล ๕ ศีล ๕ นี้เป็นศีลของพวกคฤหัสถ์ ศีล ๕ ปาณาติปาตา ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่เบียดเบียนเขา ไม่ลักของเขา ไม่ผิดในกามคุณ ไม่โป้ปดมดเท็จ นั่นน่ะ แล้วก็ไม่ดื่มสุราเมรัย ความเมาไง เมาในรสของความเมา
แต่ถ้าศีล ๘ ขึ้นไป เริ่มขยับเข้ามา ผู้ปฏิบัติมีศีล ๘ ศีล ๘ ไม่ให้เมาในสิ่ง รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ให้ดูการละเล่นฟ้อนรำ นั่นน่ะ เพื่อกันใจเข้ามา นี่ศีล ศีลคือการละเอียดเข้าไปเรื่อย ศีล ๘ ก็เริ่มตั้งแต่ไม่ให้รับรู้อารมณ์โลกต่างๆ อารมณ์ที่ทำให้เคลิบเคลิ้มหลงใหลไง ในการฟ้อนรำไม่ให้ดูในการฟ้อนรำ นั่นศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล ๒๑,๐๐๐ ข้อ ศีลคือข้อจำกัด คือตาข่ายกันไม่ให้จิตใจนี้ออกไปข้างนอก นี่เที่ยวเข้ามาในศีล
ศีล ธุดงควัตร ให้มักน้อยสันโดษในสิ่งที่เกิดขึ้น ได้มาแล้วก็ยังเอาแต่พอเป็นไปกับการดำรงชีวิต นี่ศีล ท่องเที่ยวไปในศีลไง ศีลบังคับใจเราไม่ให้เตลิดเปิดเปิงไปเหมือนกับโลกเขา โลกเขา เขาทำอะไรเขาก็พอใจในการกระทำของเขา อันนั้นเขาท่องเที่ยวอยู่ในโลกในวัฏฏะ เราจะท่องเที่ยวเข้ามาในศีลสมาธิ ปัญญา ท่องเที่ยว คำว่า ท่องเที่ยว เพราะอะไร ถึงว่าคนจนตรอกจนมุมหรือจะเอามาท่องเที่ยว คนจนตรอกจนมุมมันต้องเป็นคนที่อั้นตู้ ไม่มีทางออกสิ แต่ทำไมนักปฏิบัติเวิ้งว้างไปในอวกาศ จิตนี้มองขึ้นไปในอวกาศเวิ้งว้างไปหมด
จิตนี้เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์เหนือสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น คนจนตรอกหรือจะมีทางออกได้ขนาดนั้นเครื่องบินบินขึ้นไปในอวกาศมันบินไปได้ทั่วไปได้กว้างขวาง ดีกว่าทางของรถ ดีกว่าถนนหนทางที่รถวิ่งไป มันบังคับไปตามถนน จะเลี้ยวไปทางไหนมันต้องอยู่ตามถนนหนทาง แต่ในเมื่อเครื่องบินของเรา กระสวยอวกาศเราขึ้นออกไปจากโลก มันเวิ้งว้างไปหมด แล้วแต่มันจะไป
หัวใจของผู้ที่ปฏิบัติ คนจนตรอกจนมุมหรือที่มีทางออกได้ขนาดนั้น กว้างขวางมหาศาลที่จะเป็นไปได้หมดเลย ถึงมีศีล ๒๑,๐๐๐ ข้อโน่นน่ะ ศีลควบคุมใจ ท่องเที่ยวไปในศีล ศีลทำใจให้ปกติ ปกติของใจคือศีลไง ศีลคึกคะนอง ความผิดของใจ นั่นน่ะ โลกเขาถ้าทำผิดออกไปถึงการปาณาติปาตา ออกไปแล้ว ถึงจะเป็นการทำผิดศีล แต่ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ศีล อธิศีล ศีลในความบริสุทธิ์ภายใน ไม่น้อมนึก ไม่คิดในทางชั่ว ไม่คิดออกไปเลย เพราะเป็นมโนกรรม
มโนกรรม คิดในการเบียดเบียนเขา คิดในความคิดอันนี้ผิดศีลแล้ว ผิดศีลเพราะอะไร เพราะเวลามันจะทำสมาธิขึ้นมา มันจะทำได้ยากเพราะอะไร เพราะใจมันมีช่องไป ถึงไม่ให้ย้ำคิดย้ำทำ ความคิดที่คิดอยู่ คิดเจตนาเบียดเบียนเขานั่นน่ะ ความคิด ทำไมเขาทำเราอย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนี้ อันนั้นเลี้ยงชีวิตผิดแล้ว ทางโลกเขาเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความดำริชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ คือการประกอบอาชีพชอบ
แต่ผู้ที่ปฏิบัติ ใจเสวยอารมณ์ ใจเสวยความคิดเป็นอาหาร ความคิดที่เกิดดับ เกิดดับในหัวใจมันจรมา เวลามันคิดแส่ส่ายไป ใจฟุ้งซ่าน ใจเดือดร้อน เลือดในร่างกายสูบฉีดแรงร้อนไปหมดเลย เลี้ยงชีวิตผิด คิดแล้วมันย้ำคิดย้ำทำจนเกิดอารมณ์ภายในใจ มันฟุ้งซ่านไง
มันถึงว่าศีลไม่บริสุทธิ์ ศีลภายในไง ศีลนอก-ศีลใน ศีลของเราไม่บริสุทธิ์ เวลาทำสมาธิก็เกิดขึ้นได้ยาก ศีลที่บริสุทธิ์ ศีลที่บริบูรณ์ จะทำให้เกิดสมาธิที่ตั้งมั่น สมาธิที่ได้ศีลจากได้รับผลจากศีลที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ความเพียรชอบ ทำให้เกิดสมาธิตั้งมั่น สมาธิควรแก่การงานจะเกิดปัญญาศีล สมาธิ ปัญญา เราบังคับไง เราขับไสใจของเราให้ท่องเที่ยวไปในศีล สมาธิปัญญา เราไม่ท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ
ในวัฏฏะนี้มันแสนทุกข์แสนยาก ในวัฏฏะ เราท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ สะสมเอามาแต่กองทุกข์ สะสมมาในหัวใจนี่เต็มไปหมดเลย แล้วยังต้องตายเกิดตายเกิดไปอีก ทีนี้ พอจิตมันเคย ความเคยชินกับสิ่งที่มันเป็นอารมณ์โลก อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อยู่ในหัวใจ มันถึงจะไม่ยอมเข้าทางไง เราถึงต้องพยายามบังคับขับไสให้ใจเราเข้ามา บวชมันก็บวชที่ตัว บวชที่หัว บวชที่การเราโกนผมโกนคิ้ว มันยังไม่ได้บวชใจ ใจมันบวชไม่ได้ ใจมันไม่เป็นขึ้นมา เป็นความสมความปรารถนาที่เราเชื่อมั่นในธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันถึงต้องมีการบังคับไง
ศีล มีศีล เที่ยวไปในศีล ศีลนี้มันผิดขนาดไหน มันจะตรวจสอบตลอดเวลา การตรวจสอบเก็บเล็กผสมน้อยให้มันบริสุทธิ์ผุดผ่องในหัวใจ มันตั้งมั่น มันควรแก่การงาน มันอยู่ในอำนาจของเรา นี่เราพยายามบังคับศีลของเราเข้ามา เราต้องบังคับต้องมีสติ ถ้าไม่มีสติ เราไม่คิดมันก็คิดเอง สิ่งที่สะสมมาที่ว่าเราไปเที่ยวไปดู ไปอะไรนี่มันเกิดขึ้น สัญญามันเกิดขึ้น มันกระทบแล้วมันฟุ้งออกมา มันฟุ้งออกมา
นี่แหละศีลบริสุทธิ์ ศีลภายในบริสุทธิ์ ศีลเราดี บังคับเข้ามา บังคับเข้ามา ศีล ๒๑,๐๐๐ ข้อยังว่า ในธุดงควัตรยังเข้ามาอีกชั้นหนึ่งเข้ามา ธุดงควัตรไม่ปฏิบัติก็ไม่ผิด แต่ศีลถ้าเราผิดไป...ผิด แต่ไม่มีใครหรอกที่จะรักษาศีลได้โดยปกติสมบูรณ์ได้ขนาดนั้น เพราะอวิชชามันอยู่ที่ใจ เพราะความเคยใจของเราทำให้ผิดพลาดได้ตลอดเวลา
ความผิดพลาด การกระทำทุกอย่าง การฝึกฝนครั้งแรกมันต้องมีการผิดพลาดทั้งนั้นน่ะ การผิดพลาดแล้ว มันถึงว่าพระถึงต้องมีการปลงอาบัติไง การปลงอาบัติคือว่าสิ่งที่ผิดพลาดนี้สำนึกตนไง เห็นโทษของมัน ผ้าขาดแล้วต้องปะต้องชุน หัวใจขาด ศีลขาดจากใจ มีช่องทางให้ใจมันทะลุออกไป ข่ายของปัญญา ศีลของปัญญา มันจะต้อนใจเข้ามา ข่ายกันไม่ให้จิตมันฟุ้งออกไปข้างนอก ในเมื่อมันขาด มันทะลุ เราก็ปลงของเรา ในเมื่อเราอาบัติในวินัยของพระพุทธเจ้า
แต่ถ้ามันเป็นอธิศีลข้างใน เวลามันคิดผิดเรามีสัมปชัญญะ เรารู้ทัน มันไม่เป็นอาบัติเราก็เตือนเราสิ เราเตือนไม่เป็นอาบัติ แต่มันทำให้ใจเราไม่สงบเข้ามาพอ มันไม่เป็นอาบัติ แต่มันเป็นโทษ เป็นโทษกับความฟุ้งซ่านของเรา เป็นอาบัติเพราะมันขัดผิดวินัยของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ เราทำผิดวินัยนั้นคือเป็นอาบัติ ผิดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านี่เป็นอาบัติทั้งหมด แต่ถ้ามันคิดผิด มันทำผิดภายในหัวใจ อันนี้ผิด อันนี้ไม่เป็นอาบัติ เพราะมันยังไม่แสดงออก แต่มันเป็นมโนกรรม มโนกรรมที่ทำให้หัวใจมันเคย ถึงไม่ให้ย้ำคิดย้ำทำ ความผิดนี้ถึงจะเห็น
คนท่องเที่ยวไปในศีลของตัวเอง ตรวจสอบศีลของตัวเองตลอดเวลา นี่ท่องเที่ยวไปในธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า เราบังคับด้วยสติสัมปชัญญะของเรา เราบังคับใจเราเที่ยวเข้าไปในธรรมให้มันได้ดื่มกินรสของธรรม
อาหารจากกิเลสมันเลี้ยงใจมาตลอด ให้หัวใจเจ็บแสบปวดร้อนมาตลอด ร้องห่มร้องไห้จนน้ำตาไหลพรากเพราะอะไร เพราะว่ามันกินแต่ความเจ็บแสบที่มันเคยกินมา เลี้ยงใจผิด เลี้ยงใจผิดหัวใจมีแต่ความทุกข์ เราบังคับเพราะเราเห็นโทษของมัน เห็นโทษกับการกินอารมณ์โลก โทสัคคินา โมหัคคินา ไฟทั้งนั้น ถึงไฟก็อมไฟเข้าไปโดยไม่รู้ว่าทำอย่างไร มันจะคายไฟออกจากใจได้ไง ถึงต้องเชื่อในศีลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่องเที่ยวไปในศีล บังคับไว้ ถึงจะไม่สูงกว่านั้นก็บังคับไว้ พอใจบังคับ ไม่ใช่คนจนตรอกจนมุม คนจนตรอกจนมุมจะไม่มีปัญญาได้อย่างนี้หรอก คนจนตรอกจนมุมจะไม่มีช่องทางออกไปจากวัฏฏะได้
คนประเสริฐต่างหาก เห็นผลของสิ่งที่โลกเขาตาบอดเขามองไม่เห็น โลกนี้ตามืดตาบอดเห็นแต่วัตถุ เห็นแต่ความที่ว่าเป็นการเบียดสี เบียดชนะคะคานกัน อันนั้นเป็นประโยชน์ไง เห็นว่าเป็นผู้แพ้ แพ้เป็นพระ แพ้นี้เป็นพระ แพ้ข้างนอกแต่มันชนะข้างใน ชนะใจของตัว ใจชนะกิเลสไง กิเลสมันไม่ยอมแพ้ใคร ไม่ยอมแพ้ทุกๆ สิ่ง แต่มันยอมแพ้ธรรม เพราะเราเอาธรรมนี้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาบังคับไว้ไง บังคับให้อยู่ในศีล อยู่ในธรรม
ศีล สมาธิ พอศีลมันดีขึ้น ยกขึ้นสมาธิไง
สมาธิ การทำสมาธิให้เกิดขึ้น ใจนี้มันทุกข์มันเร่าร้อนอยู่ เพราะว่ามันแส่ส่ายตลอดเวลา ถึงครอบด้วยศีลอยู่มันก็ครอบเอาไว้เฉยๆ มันมีรั้วไว้ไง มีรั้วบ้านไว้ป้องกันสัตว์ร้ายจะเข้ามาทำลายบ้านเรา มันก็ต้องมาชนรั้วก่อน เรามีศีลนี้เราก็มีรั้ว และหัวใจตัวบ้านตัวใจมันยังไม่ได้สร้างขึ้นมา นี่ท่องเที่ยวไปใน ศีลสมาธิ ปัญญา ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อมั่นไง
ท่องเที่ยวไปในวัฏฏะก็เห็นอยู่แล้ว ท่องเที่ยวไปในโลกก็กว้านแต่ความทุกข์เข้ามาใส่ตัว ท่องเที่ยวมาตลอด เห็นๆ กันอยู่ ยืนยันกันได้ ไม่ต้องถามใคร เราก็รู้ เราก็เห็น ทุกคนมีแต่ความทุกข์ยากมาตลอด แล้วเราก็ทุกข์ยากมาจนถึงป่านนี้ เราก็ทุกข์ยากมา นี่มันยืนยันได้ด้วยความทุกข์อันนั้นแล้วไม่เข็ดไม่หลาบเหรอ ถ้าเข็ดหลาบมันก็ต้องยกใจเราขึ้นมา
จากมีรั้วขอบขึ้นมา เราก็ต้องลึกเข้าไป ลึกเข้าไป ยกใจให้สูงขึ้น วุฒิภาวะของใจจะเจริญขึ้นไปตลอด ไม่อยู่คงที่หรอก เราใช้พลังงานไปตลอด กำหนดนั่งขัดสมาธิ นั่งสมาธิเราเดินจงกรมอยู่ทุกวี่ทุกวัน แล้วหัวใจมันจะด้านชาอยู่อย่างเก่าเหรอ หัวใจด้านชาอยู่อย่างเก่านั้นเพราะว่าเราทำแต่นิดๆ หน่อยๆ เราทำแต่ความว่าเราทำว่าสักแต่ว่าทำไง อยากจะเป็นชาวพุทธ อยากจะปฏิบัติแล้วก็ทำ แล้วใจมันด้านไป ด้านไป ความชินชากับศีลกับธรรม ความชินชาไง ถึงไม่ให้ชินชา ความชินชา การทำสักแต่ว่าทำ เพราะว่าเราเข้าใจว่าเราปฏิบัติธรรมแล้วจะได้ธรรมไง
เราปฏิบัติธรรม ศึกษามาว่าการปฏิบัติธรรม การเดินจงกรม นั่งสมาธิแล้วจะเป็นอย่างนั้น ความคาดความหมาย การคาดการหมายนี้เป็นตัณหาไง ตัณหาที่มันอยู่ในใจเรา อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นี่มันคือตัณหาอยู่แล้ว มันเป็นโลภัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา ความหลง ความโลภอยู่ภายใน มันเผาผลาญ มันพยายามจะดันออกมาจากใจอยู่แล้ว แล้วเราก็มีตัณหาที่มีอยู่ในใจโดยเป็นธรรมชาติของมันที่มีอยู่ดั้งเดิม แล้วเราก็ศึกษามา แล้วเราก็คาดหมายว่าทำอย่างนี้จะได้อย่างนั้น นี่คือการสนิทกับธรรมไง
พระพุทธเจ้าไม่ให้สนิทกับธรรม ต้องเคารพธรรมไง กิริยาธรรม ขณะที่ว่าเราปฏิบัติ เราสละสิทธิ เราสละอิสรภาพของเราทั้งหมดมานั่งอยู่ในความสงบ เรายกกายเราถวายพระพุทธเจ้า อานนท์บอกเขาด้วยบอกคฤหัสถ์ที่เขาออกดอกไม้ธูปเทียนมาบูชาพระพุทธเจ้า วันวิสาขะที่จะปรินิพพานนั่นน่ะ บูชาพระพุทธเจ้าด้วยอามิส สิ่งที่ทำบุญกุศลนี้เป็นอามิสทั้งหมด บอกเขาด้วยว่า
บุญกุศลที่ด้วยเป็นอามิสบูชาไม่ประเสริฐเท่ากับปฏิบัติบูชา
ถ้าเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของเราจริง เราเคารพ เราเชื่อมั่นในธรรมไง รัตนตรัยที่มันจะปักอยู่กลางหัวอกเป็นปักมั่นตั้งมั่นอยู่ในหัวใจของเรา เราเชื่อพระพุทธเจ้า พอเราเชื่อพระพุทธเจ้า เราตั้งมั่น ใจเราตั้งมั่น พอเราใจตั้งมั่น เราก็จะปฏิบัติบูชาตามไง พระพุทธเจ้าบอกว่า ปฏิบัติบูชานี้เป็นบูชาพระพุทธเจ้าอย่างประเสริฐที่สุด แล้วเราจะทำสมาธิ เราปฏิบัติบูชา เราต้องปฏิบัติบูชาตามความเป็นจริงสิ แต่นี่ปฏิบัติบูชาแต่เปลือกไง
ร่างกายนี้ว่าถ้าได้บุญก็ได้บุญตอนปฏิบัติ ละกิริยาของตัวเอง ความสะดวกของตัวเองทั้งหมดมานั่งขัดสมาธิ มานั่งทำท่าขัดสมาธิ บังคับไม่ให้หัวใจนี้มันแผ่ออกไป ไม่ให้ความรู้สึกมันแตกออกไป แล้วก็นั่งปฏิบัติ แต่ความสนิทชิดเชื้อไง ความสนิท ความเคย ความคาดความหมาย ความคาดความหมายว่า ธรรมต้องเป็นอย่างนั้น สักแต่ว่าปฏิบัติ แล้วก็คาดหมายธรรมไป การไปชิดเชื้อไปคาดไปหมายเป็นตัณหาตัวที่ ๒ ไง ตัณหาซ้อนตัณหาไง
ความอยากในผลของตัณหา ๑ การคาดการหมายว่าผล แล้วจิตมันก็วิปัสสนึกเป็นไปตามความเป็นจริง นี่คือการไปสนิทชิดเชื้อก่อนไง ไม่เคารพธรรมตามความเป็นจริง เราเคารพธรรมตามความเป็นจริงเราต้องปฏิบัติแล้วให้เป็นปัจจัตตัง รู้ขึ้นมาตามความเป็นจริงไง แล้วจิตจะรวมลงตามความเป็นจริงนั้น เกิดจากศีลที่บริสุทธิ์ การเที่ยวไปในสมาธิธรรมไง การท่องเที่ยว การบังคับจิต การประพฤติปฏิบัติให้ใจนี้เป็นสมาธิ เป็นการสร้างบ้านขึ้นมาในรั้วนั้น
เรามีศีลอยู่ เราท่องเที่ยวไปในศีล เราล้อมรั้วของเราได้ ใจเราหมุนอยู่ในศีลนั้น อยู่ในขอบเขตของรั้วอยู่ในศีล ท่องเที่ยวไปในศีล นี้เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ที่จะเห็นทางออกจากวัฏฏะ พออยู่ในรั้วนั้น เราก็สร้างบ้านขึ้นมาในรั้วนั้นอีก สร้างบ้านคือท่องเที่ยวไปในธรรมในสมาธิไง ในสมาธิธรรมพยายามสร้างให้ได้ ปักเสาลงเข็มตั้งปลูกบ้านปลูกเรือนของใจขึ้นมาไง จิตใจเร่าร้อน จิตใจไม่เคยมีที่อยู่ที่อาศัย จิตใจอยู่กลางแดดกลางฝน
ถึงมีศีลอยู่ก็มีแค่รั้วล้อมไว้ไม่ให้ไปเผ่นกระโดด เผ่นไปตามวัฏฏะของเขา ตามสิ่งที่โฆษณาชวนเชื่อที่จะให้ใจนี้กิเลสมันฟูขึ้นไปกับเขา ก็มีแค่รั้วล้อมไว้ เราก็ต้องกำหนดสมาธิ กำหนดพุทโธ ธัมโม สังโฆ พุทโธ ธัมโม สังโฆด้วยความเคารพ ไม่ใช่ด้วยความชิดเชื้อ ไม่ใช่ด้วยความคาดหมาย พุทโธเป็นหญ้าปากคอก พุทโธเป็นสิ่งที่ว่าเล็กน้อย กำหนดเมื่อไรก็ได้ เป็นของหลอกเด็กไง...ศาสนาไม่ใช่ตุ๊กตาหลอกเด็ก
พุทโธนี้เป็นชื่อขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธานุสติด้วยความเคารพ ไม่ใช่พุทธานุสติด้วยความสักแต่ว่าทำ สักแต่ว่าทำจะเอาผล เอาผลอย่างคาดหมาย นี่การคาดหมายคือว่าไปสนิท สนิทจนเราไม่ได้ผล ได้แต่ขี้กลากมาไง ได้แต่ขี้กลาก ได้แต่ความคาดหมาย มันไม่ใช่ผลจริง ปฏิบัติธรรมแล้วหัวใจเป็นขี้เรื้อน เป็นขี้มูตร ขี้คูถอย่างนั้นเหรอ มันต้องเป็นความสะอาดสิมันต้องเป็นความเวิ้งว้าง เป็นความสุข เป็นความสุขที่เกิดขึ้น
เราเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคารพด้วยความเป็นจริง กำหนดบริกรรม พุทโธ พุทโธ ด้วยความเป็นจริง แล้วพยายามกดไอ้ตัณหาความทะยานอยากที่ว่า คาดหมายธรรม มันศึกษากันมาด้วยกันทุกๆ คน แต่เวลาจะปฏิบัติต้องด้วยความเคารพไม่ใช่ด้วยความสนิทชิดเชื้อ ด้วยความเคารพ ด้วยความตั้งใจ แต่มันจะฝืนใจ ฝืนความรู้สึก เพราะอาหารที่ไม่เคยกินไง เราเคยกินเคยปาก กิเลสคือความเคยใจ หัวใจนี้มันคลุกคลีอยู่กับกิเลส กิเลสมันอยู่ในหัวใจอยู่แล้ว ถ้าคิดเรื่องกิเลสนี้ร้อยแปดเลย อะไรก็ได้ที่แวบขึ้นมา มันจะตามไปหมด คิดเรื่องโลภ เรื่องโกรธ เรื่องหลง ไปทั้งหมดเลยหัวใจทั้งหมดจะลากไปทั้งขบวนเลย จนจบเรื่องหมดเรื่องแล้วมันยังอยากจะคิดรอบ ๒ รอบ ๓ เพราะสิ่งที่มันเคยเป็น
แต่ธรรมะเราไม่เคยประสบ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สมาธิธรรมนี้มีมาก่อนครั้งพุทธกาลก็จริงอยู่ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องว่า มีสมาธิถึงจะเป็นพื้นฐานของใจของผู้ที่ปฏิบัติยกขึ้นออกมาจากแรงดึงดูดของโลก
วัฏวน กิเลสมันหนา มันพาวนไปเที่ยวในวัฏฏะมาตลอด เราจะทำใจนี้ออกมาเป็นอิสระจากวัฏฏะ จากความพอใจ จากรั้วกั้น รั้วกั้นไม่ให้เราเที่ยวไปในโลกของเขา ไม่ให้จิตเราส่งออกไปในตาข่ายนั้น นั่นน่ะ ออกไป อันนั้นเป็นศีล แล้วสมาธินี้อยู่ในขอบเขตของศีลเป็นสัมมาสมาธิไง มีสัมมาสมาธิ สร้างบ้านสร้างเรือน สร้างบ้านสร้างเรือนขึ้นมา เราก็มีที่จะยกขึ้นวิปัสสนา จะใช้ปัญญาไง ศีล สมาธิ ปัญญา
ฉะนั้น เราต้องสร้างบ้านเราขึ้นมา เพื่อจะไม่ให้มันไหลไปตามกิเลสนั้น กิเลสคือความเคยใจ ที่อาหารที่มันป้อนเข้ามาในใจ มันเคยกิน มีศีลก็มีศีล แต่หัวใจมันคิดได้ร้อยแปดมันก็ยังคิดของมันได้ กำหนดพุทโธขึ้นมานี่มันจะต่อต้าน คิดไม่ได้ คิดไม่ออก คำคิดนี้มันนึกแล้วไม่มีรสชาติไง รสของความเจ็บแสบปวดร้อนนั้นพอใจ แต่เวลาทุกข์ไม่อยากได้ แต่อยากได้กับความเคยชินของใจ อันนั้นคืออวิชชา
สิ่งที่เข้ามาหล่อเลี้ยงใจ พุทโธ พุทโธ พุทโธมันเป็นการตัดอารมณ์ทั้งหมด พุทโธ พุทธานุสติ เราเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วอัญเชิญชื่อของท่านมาสถิตกลางหัวใจ นึกขึ้นมามันก็บันลือลือลั่นออกมาแล้วว่า พุทโธ พุทโธนี้ก็ต้องตัดอารมณ์อื่นออกจากใจ แล้วถ้าพุทโธนั้นสืบต่อสาวออกไป นี่มันจะตั้งมั่นขึ้นมา เพราะอะไร เพราะเราป้อนใจเราด้วยพุทโธ ใจนี้คือผู้รู้ ใจนี้คือผู้รู้แต่รู้ด้วยอวิชชา รู้แล้วมันจะกินแต่อาหารที่มันเคยชอบ มันจะเป็นไปตามประสาของมัน
เราก็บังคับด้วยสติ สติถ้ามีอยู่จะบังคับให้เข้ามากินอาหารให้ถูกต้อง คือกินอาหารองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทโธ พุทโธ อันนี้คือว่าท่องเที่ยวไปในสมาธิ ท่องเที่ยวไปในศีล ท่องเที่ยวไปในสมาธิ ท่องเที่ยวใน...ปัญญาต้องยกขึ้นมาอีก นี่ท่องเที่ยวไปในธรรม
ท่องเที่ยวในวัฏฏะนี้ มันก็เอาแต่ความหนัก มีแต่ความทุกข์ ความเกิดตายเกิดตายซ้ำแล้วซ้ำเล่ามา มันควรจะเบื่อควรจะเห็นโทษของมัน
การท่องเที่ยวไปในสมาธิ ท่องเที่ยวไปไหน มันยังไม่มีให้ท่องเที่ยว มันไม่เคยเห็นน่ะ ธรรมนี้เราไม่เคยเห็น เราไม่เคยเป็น ถึงเวลาน้อมมาหรือกำหนดพุทโธเข้ามามันถึงต่อต้าน ต่อต้านเพราะว่ามันไปขัดแย้งกับความคิดเดิมไง ต่อต้านเพราะมันไปขัดแย้งกับกิเลสที่มันเคยหากินไง อวิชชานี้อยู่ที่ใจ มันเคยออกหากินเป็นเจ้าวัฏจักรอยู่ แล้วเรากำหนดพุทโธเข้าไป กำหนดคำบริกรรมเข้าไปแย่งพื้นที่ในหัวใจ แย่งพื้นที่ในหัวใจ จะตั้งบ้านตั้งเรือนขึ้นมาบนใจ
ถ้าจิตนี้สงบ จิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นคือว่าเป็นผู้ที่มีบ้านมีเรือนขึ้นมา จิตตั้งมั่น ในพระไตรปิฎกเปรียบเหมือนกับเราสร้างบ้านสร้างเรือนคร่อมใจไว้ ใจนี้ไม่เคยมีบ้านมีเรือน อยู่กับกลางแดดกลางฝน พายุฟ้อนขนาดไหนก็ไม่เคยตาย มันไปตามกระแสของเขา กลิ้งไปกับกระแสโลก กลิ้งไปกับวัฏฏะอยู่นี้ ไม่เคยตั้งมั่นเลย แล้วเราตั้งมั่นขึ้นมา เราตั้งมั่น ท่องเที่ยวไปในสมาธิธรรมไง สมาธิที่จิตตั้งมั่น มีความสุขพร้อมกับความตั้งมั่น เพราะจิตมันอิ่มไง
จิตนี้หิวไง หัวใจนี้หิวโหยถึงเสวยอารมณ์ตามที่อวิชชาป้อนมากินทั้งหมด มีอะไรผ่านหน้ามากินไปทั้งหมดเลย ความคิดผิด-คิดถูกไม่รู้ กินไว้ก่อน คือมันเสวยอารมณ์ไว้ตลอด แล้วเราให้มาดื่มกินพุทโธ พุทโธ คำบริกรรมนี้ย้ำเข้าไปที่หัวใจให้ปากใจนี่กินเข้าไปกินเข้าไป จนมันอิ่ม อิ่มโดยสมาธิอิ่มโดยคำว่าพุทโธ อิ่มมันก็ตั้งมั่น อิ่มมันก็ปล่อยวางอารมณ์อื่น เพราะอิ่มในพุทโธ พุทโธนี้เข้ามาใกล้ตัวเข้าเรื่อย เหมือนกับการตามหารอยโคกับโค ย้ำตามรอยโคไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ จนโคกับผู้ตามเป็นอันเดียวกัน
พุทโธนี้มันอยู่ห่าง ห่างออกไป นึกอยู่นี่ยังไกลอยู่ พุทโธ พุทโธ จนมันละเอียดเข้าๆ มันใกล้เข้ามา ใกล้เข้ามา จนเป็นเนื้อเดียวกัน พุทโธกับใจเป็นอันเดียวกัน พุทโธนี้เป็นคำระลึกอยู่ จะหายไป หายไปเพราะเป็นเนื้อเดียวกันแล้วนึกไม่ได้ไง แต่ถ้ามันอยู่ไกลเรานึกได้นึกพุทโธได้ พุทโธ พุทโธยังนึกออกอยู่ แต่ถ้าจิต เพราะความนึกนั้นกับพุทโธมันคนละอัน แต่ถ้าเป็นเนื้อเดียวกันนั้นนึกได้ไหม มันไม่นึกมันก็เป็นเนื้อเดียวกัน...อิ่ม พออิ่มนี่มันไม่มีเนื้อที่เลยจะให้คิดอารมณ์อื่น ไม่มีเนื้อที่เลย ในความว่างที่จะให้คิดออกไปตามโลกไม่มี แล้วมันจะทำไมไม่สุข
สุขเพราะคนไม่เคยอิ่ม คนหิว เวลาโลก เราเวลาหิวน่ะ กระเพาะแทบทะลุ เพราะมันมีความหิว นี่หิวอาหารนะ แต่หิวอยากได้ตามตัณหาทะยานอยาก หิวอยากได้วัตถุ หิวอยากได้ นี่ความหิวไม่ได้มีอย่างเดียวเหรอ ความทะยานอยากต่างๆ หัวใจมันกินไม่มีที่เมืองพอ อยากได้เงินห้าร้อยล้าน อยากได้แสนล้านอยากได้ไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งมีมากยิ่งอยากใหญ่ ยิ่งปากใหญ่ยิ่งคิดมาก ยิ่งกินมากหัวใจมันกินได้ทั้งหมดเลย แล้วมันอิ่ม มันสละทิ้งทั้งหมดเลย ว่าสิ่งที่คิดนี้จะมี-ไม่มีมันก็เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้ว
หัวใจนี้เป็นขี้ข้าของมัน โดนบีบบี้สีไฟมาตลอด แล้วอิ่มจากทุกอย่าง จะมีเท่าไรก็วางไว้ตามความเป็นจริง มันเป็นขี้ข้าเราไง หัวใจนี้เป็นเรา สิ่งที่เกิดขึ้นมานั้นอยู่ข้างนอกนั่น นี่อิ่ม ความอิ่มสิ่งวัตถุจะเกิดหรือไม่เกิดมันอยู่ข้างนอก แต่หัวใจอิ่ม หัวใจเป็นอิสระ นี่จิตตั้งมั่น
ในสมาธิธรรมนะ ลึกเข้าไปได้เรื่อยๆ จากการปล่อยวางเข้ามาเล็กน้อย ปล่อยวางเข้ามาจิตก็สงบ พอจิตสงบก็มีความสุขเข้ามา มีความสุขเข้ามาเรื่อย บ่อยเข้าตั้งมั่น หนักเข้า มากครั้งเข้าจิตตั้งมั่น จิตตั้งมั่นออกมา ออกจากสมาธิมาแล้ว ใจนี้ยังตั้งมั่นอยู่ การทำอะไรไปสักแต่ว่าทำ ทำไปเฉยๆ แต่สติ สมาธิดีอยู่ แต่มันเหมือนกับไม่เหมือนเก่า
เก่า ปกติเราทำอะไรเราจะเพลินในงานนั้น เราจะทำได้เต็มไม้เต็มมือ ถ้าจิตตั้งมั่นก็ทำได้เต็มไม้เต็มมือ แต่เหมือนกับมีเงาอยู่อีกเงาหนึ่งไง เหมือนกับมีเราอยู่อีกคนหนึ่งคอยควบคุมอีกทีหนึ่ง นั่นคือจิตตั้งมั่น การงานนี้จะไปอีกอย่าง งานข้างนอกนะ ถ้าเป็นงานข้างนอก นี่จะเปรียบว่าอารมณ์ของจิตที่มันท่องเที่ยวไปในสมาธิธรรมไง ท่องเที่ยวไปในสมาธิธรรม
สมาธิธรรมนี้ทำให้จิตตั้งมั่น จิตนี้เป็นเอกเทศ จิตนี้สามารถยกขึ้นเป็นปัญญา
ศีล สมาธิ ปัญญา ในศาสนาพุทธนี้ปัญญาสำคัญที่สุด ในการนับถือศาสนานี้ถ้าไม่มีปัญญาก็ต้องเป็นไปตามกระแสโลกเขา สิ่งที่เขาให้เห็นอยู่ภายนอกนั้น ใครๆ ก็ทำได้ สิ่งที่เป็นมหัศจรรย์ของโลกใครเป็นคนสร้างขึ้นมา? มนุษย์ทั้งนั้น มนุษย์สร้างสิ่งมหัศจรรย์ทางโลกให้พวกเราไปท่องเที่ยวกัน ไปดูสิ่งมหัศจรรย์ที่มนุษย์สร้างไว้
แล้วสิ่งที่มนุษย์ทำกันอยู่ ในการที่ว่าไม่มีปัญญา เราเชื่อตามกระแสไป เราจะไม่โดนเขาหลอกเหรอ มันต้องมีปัญญาควบคุมไปกับศรัทธาของเราตลอด เห็นไหม เริ่มต้นตั้งแต่การจะว่านับถือศาสนายังต้องอาศัยปัญญา เพื่อจะให้เราเข้าถูกทางให้เข้ามาเป็นธรรมะในธรรมจักรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ปัญญาจากเริ่มต้นจากการนับถือศาสนา ปัญญาจากการยกขึ้นเป็นนักบวช เป็นพระ เป็นเณร เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติ
สังคมโลกเขาจะบอกว่าคนที่บวชพระ คนที่ได้บวชพระ คนที่ปฏิบัติเป็นคนจนตรอกไม่มีทางไป...นี่ปัญญาหางอึ่ง ปัญญาคิดของโลกเขาไง ปัญญาจะผูกมัดไว้ในวัฏวนไง เที่ยวมาในวัฏฏะกี่ภพกี่ชาติมาก็ยังไม่รู้จักว่าตัวเองเที่ยวอยู่ในวัฏฏะนี้มาตลอด แล้วมีคนที่เขาเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะหักวัฏฏะหักออกไปจากโลกจากสงสาร กลับไปมองว่าคนแบบนั้นเป็นคนที่จนตรอกจนมุมไม่มีทางออก
เจ้าชายสิทธัตถะเป็นถึงกษัตริย์ อย่างนั้นเหรอเป็นคนจนตรอก กษัตริย์นี้เหรอเป็นคนจนตรอก ยสะมีปราสาท ๓ หลังอย่างนั้นเหรอเป็นคนจนตรอก พระกัสสปะสละสมบัติออก ๗ วัน ๗ คืน แจกสมบัติอยู่ไม่หมด คนอย่างนั้นเหรอคนจนตรอก ไอ้กิเลสของเรานี่มันติเตียนไป ปัญญาหางอึ่งไง ปัญญาว่าผู้ที่ออกไปนี้เป็นคนจนตรอกจนมุม นี่ให้เทียบเห็นปัญญาคุณไง คุณของการสละสมบัติไว้ตามความเป็นจริง สมบัติผลัดกันชมในโลกนี้ ใครหาได้ก็มีปัญญาก็หากันได้ทั้งนั้น
เราเป็นนักปฏิบัติ ถ้ามีปัญญา มีสมาธิ มีความเห็นในหัวใจที่ละเอียดอ่อน ทำไมมันจะสร้างประโยชน์อย่างนั้นไม่ได้ มันสร้างได้แต่มันไม่เห็นโทษไง เห็นโทษว่าสร้างขึ้นมาแล้วก็เป็นเหมือนกับโซ่ตรวนผูกขาไว้ให้เกิดตายเกิดตายในวัฏฏะนี้ไง แม้แต่สละสมบัติของโลกที่มีอยู่ออกมา โซ่ตรวนที่ผูกขาอยู่ไม่ให้เราออกไป แค่นี้โลกเขายังมองไม่เห็นเลย แล้วปัญญาของผู้ที่ออกปฏิบัติ ปัญญาประเสริฐ ปัญญาของนักรบ ปัญญาของผู้ที่จะเอาตนออกจากกิเลส
ทำไมให้เขามาว่าเป็นคนจนตรอกจนมุมล่ะ แล้วเขาว่าจนตรอกจนมุมจะไปเชื่อเขาทำไม
ไอ้กิเลสพาพูด กิเลสที่เขา...มารยาที่ว่ามีโซ่ตรวนผูกอยู่ที่ขา พาคิด พาปฏิบัติ ปัญญาหางอึ่งอย่างนั้นเราไปฟังทำไม แต่เขาไม่สามารถเห็นปัญญาอย่างเรา เขาไม่สามารถเห็นปัญญาในการจะพ้นออกไปจากโลกแห่งสงสาร มันเป็นนามธรรมที่มองไม่เห็นเพราะวัฏฏะนี้ นรกสวรรค์ยังเถียงเลยว่าไม่มี นรกสวรรค์ก็ไม่มี นิพพานก็ไม่มี อยากจะเวียนว่ายตายเกิดไปไม่มีวันที่สิ้นสุด แล้วเราจะเอาสิ่งที่ว่าเขาว่าไม่มีนั่นไง แล้วใครมันจะเชื่อล่ะ นี่ปัญญาของเขาคือปัญญาที่ว่าดึงไว้ ปัญญาทำให้ผู้ปฏิบัติอ่อนแอ
แต่นี้เราเป็นผู้ที่จะพ้นออกจากทุกข์ เป็นผู้ที่สร้างสมบารมี เกิดมาในพุทธศาสนา นี่ปัญญาเริ่มต้นจากแค่ศรัทธา แล้วอยู่ในศีล ทำศีล เชื่อในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เที่ยวไปในศีล เที่ยวท่องเที่ยวอยู่ในศีล เขาท่องเที่ยวอยู่ในโลก ท่องเที่ยวเกลือกกลั้วอยู่กับโลกเขา เราท่องเที่ยวอยู่ในศีลให้จิตเรามีขอบมีเขตไม่ให้เป็นอิสระ จนเกินให้อวิชชามันพาใช้ไง
เราให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ศีลครอบไว้ ให้สมาธิตั้งมั่นไว้ ให้ปัญญาพาใช้ไง ศีล สมาธิ ปัญญา ใช้หัวใจเรา พลังงานที่เกิดขึ้นจากพลังงานของใจเรา พลังงานจากใจเรานี้ให้มาท่องเที่ยวอยู่ใน ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วเราก็ทำขึ้นมาจากเป็นสมาธิขึ้นมา จากธรรมขึ้นมาแล้วมันตั้งมั่นแล้ว มันจะยกขึ้นเป็นปัญญา อันนี้มันเป็นโลกุตตรปัญญา
ปัญญาหางอึ่งอย่างนั้นยังมองไม่เห็น แล้วจะยกขึ้นเป็นโลกุตตรปัญญาไง โลกุตตรปัญญาต้องมีจิตตั้งมั่น ถึงจะเป็นโลกุตตรปัญญา จิตไม่ตั้งมั่น จิตนี้ให้อวิชชาพาคิด วิปัสสนาขนาดไหน เห็นรูปเห็นนามขนาดไหนมันก็เป็นอวิชชาพาเห็น มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันเป็นโลกียะไง อวิชชาอยู่ในหัวใจ ตัณหาความทะยานอยากฝังอยู่ที่ใจ สิ่งที่ฝังอยู่ที่ใจเป็นเชื้อ สิ่งที่เป็นเชื้อวิปัสสนาไป เชื้อนั้นก็จะสมมุติไปตลอด
ปัญญาที่ว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น สิ่งนี้เป็นอย่างนี้เพราะอะไร เพราะอันนี้มันเป็นอวิชชา
อวิชชา ๑.
๒. ยังศึกษาธรรมะมาเพราะเป็นปริยัติ
เราศึกษามาเพราะศาสนาวางมาแล้ว ๒,๕๐๐ ปี เราศึกษาอันนั้นมาวิปัสสนาไป ไอ้สิ่งที่ว่าเราสนิทชิดเชื้อ เราสนิทชิดเชื้อกับธรรมไง ต้องเคารพรัตนตรัย แก้วสารพัดนึก ต้องให้เป็นแก้วสารพัดนึก สิ่งที่ประเสริฐ จักรที่หมุนไปให้หมุนไปตามความเป็นจริง ไม่ใช่ให้กิเลสเป็นแก่นของจักรแล้วให้กิเลสหมุนไป
พิจารณาโดยไม่มีสมาธินี้ แก่นของกิเลสหมุนไป แก่นของกิเลสหมุนไป พลังงานนี้เป็นพลังงานจากอวิชชา พลังงานนี้ ปัญญานี้ ปัญญาเกิดจากอวิชชา แล้วมันจะไปฆ่าอวิชชาเป็นไปได้หรือ เห็นไหม ถึงต้องทำให้จิตนี้สงบ จิตนี้สงบเป็นสมาธิตั้งมั่นแล้วยกขึ้นวิปัสสนา ถึงจะพิจารณานามรูปตามความเป็นจริงไง นามรูปที่เห็นตามความเป็นจริง จากจิตที่ตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นยกขึ้นเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม ตามความเป็นจริง สิ่งที่กระทบกับใจต้องเป็นใจกระทบแล้วเกิดความรู้สึกมันสะเทือนถึงใจ
สิ่งที่อวิชชาพาวิปัสสนามันไม่กระเทือนถึงใจ มันแค่ปลื้มใจ แค่เห็นใจ
สะเทือนไหม? มันเป็นเปลือกไง สะเทือนแค่สิ่งที่เป็นเปลือก
แต่ถ้าเราเห็นจากหลักจากแก่น จากหลักจากแก่นเพราะอวิชชาเกิดที่แก่นนั้น แก่นของอวิชชาไง แก่นของอวิชชา พอจิตสงบเข้าไปมันเห็นแก่น แก่นกับแก่นเห็นกัน อย่างน้อยก็เหมือนกับนักกีฬา ปล่อยออกจากจุดสตาร์ทเดียวกัน นักกีฬาปล่อยออกไปแล้วครึ่งทางแล้วค่อยให้ธรรมวิ่งตามมา มันไม่ทันไง วิปัสสนาโดยอวิชชา วิ่งไปแล้ว แล้ววิ่งตามหลังมา ยังว่าฉันเป็นอย่างนั้น ฉันเป็นอย่างนี้...เพราะอะไร? เพราะคาดหมายธรรม สนิทชิดเชื้อกับธรรม ปัญญาที่หมุนไปด้วยอวิชชาแล้วยังไปกว้านเอาธรรมะของพระพุทธเจ้ามาหนุนความเห็นของตัวว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องอีกต่างหาก
แล้วมันจะถูกต้องได้อย่างไร ในเมื่อมันไม่เป็นปัจจัตตัง ไม่มีสิ่งใดเลยสะเทือนเรือนลั่น
ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะหลุดออกไปจากความเห็นของตัว ความเห็นผิดนะ
ความเห็นถูกจะเกิดขึ้นความเห็นผิดจะหลุดออกไป นี่คือปัญญาปัญญา
ปัญญาต้องมีสมาธินี้หนุนตลอด ถ้ามีสมาธินี้หนุนนี้มันเป็นโลกุตตระ
แม้แต่มีสมาธินี้หนุน อวิชชาก็ยังต่อต้าน
ในการวิปัสสนา กาย เวทนา จิต ธรรม การวิปัสสนา ยกขึ้นวิปัสสนาด้วยปัญญาของเรา การก้าวเดินด้วยปัญญาของเรา ก้าวเดินไป ก้าวเดินไปจนมันเป็นธรรมชาติ มันเป็นภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เป็นภาวนามยปัญญาถึงว่าไม่มีใครเคยเห็นไง ไม่มีใครเคยสร้างได้ไง
ภาวนามยปัญญานี้คือธรรมจักร จักรที่หมุนไปกับจักรที่เกิดจากอวิชชาพาหมุน จักรที่อวิชชาพาหมุน มันไปกว้านเอาธรรมะพระพุทธเจ้ามาอ้างอิงไง การอ้างอิงในขณะปฏิบัติไม่ได้ การอ้างอิงว่าเป็นผลไม่ได้ แต่ปัญญาที่อ้างอิงเข้าไป ปัญญาที่อ้างอิง อ้างอิงตามความเป็นจริง แล้วเทียบเคียงมองไง ปัญญาที่อ้างอิงแล้วเทียบเคียง
อ้างอิงเพื่อเทียบเคียง กับ อ้างอิงเพื่อหนุนประโยชน์ของตัว ต่างกัน
ปัญญาอ้างอิงให้เกิดขึ้น ถึงผลจะเกิดขึ้นแล้วก็เทียบเคียงอีก ให้เห็นผลไปเรื่อยๆเทียบเคียงไปเรื่อย เทียบเคียงไปเรื่อย จะไม่หลงตัวเอง จะไม่หยุดต่อเมื่อผลมันยังไม่เกิดขึ้น มันยังไม่เป็นไปตามสัจจะ เป็นไปตามสัจจะ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค คืออริยสัจ จิตนี้หมุนเข้าไปในอริยสัจนี้ตามสัจจะ
ทุกข์เราควรกำหนด กำหนดแล้ว
ตัณหาความทะยานอยากเราได้ละแล้ว
นิโรธดับ ดับด้วยอะไร? ดับด้วยมรรคไง
มรรค ๘ หมุนไป นี่คือสัจจะ แล้วมันต้องหลุดออกมาจากสัจจะ ไม่ใช่สัจจะนั้นถ้าสัจจะนั้นยังเคลื่อนอยู่ ยังหมุนอยู่ เราไม่ได้หลุดออกมาจากสัจจะ เราจะไม่รู้ตามความเป็นจริง ในเมื่อนักกีฬาที่อยู่ในสนามยังไม่หมดเวลาของการแข่งขัน มันต้องมีการแข่งขันอยู่ในสนามนั้น ถ้านักกีฬาฝ่ายใดไม่เล่น ปล่อยให้อีกฝ่ายหนึ่งทำคะแนนอยู่ตลอดเวลา นักกีฬานั้นจะชนะได้อย่างไร
ในอริยสัจก็เหมือนกัน ในอริยสัจที่มันหมุนอยู่นี่ ในอริยสัจเพราะว่ามรรค ภาวนามยปัญญานี้เป็นอริยสัจ เป็นสัจจะความจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบ เป็นผู้ค้นพบนะ ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรรคไม่มี มรรคที่อื่นไม่เคยเห็นอย่างนี้ ปัญญาของเขาคือปัญญาโลกหมด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม แล้วรู้ถึงมรรคองค์ ๘ นี้ไง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคถึงได้หมุนไปในอริยสัจนี้ มันก็เป็นบัญญัติของพระพุทธเจ้าให้เราก้าวเดิน เป็นบัญญัติให้เราท่องเที่ยวไปในปัญญา
ในมรรคอริยสัจจังนี้ไง เราท่องเที่ยวไปในมรรคาอันเอก ในการเราเชิดจรวด เชิดใจของเราขึ้นไปในอวกาศ มันปัญญาใน ๓ โลกธาตุ มันกว้างขวางขนาดไหน ใน ๓ โลกธาตุ จิตนี้เคยท่องเที่ยวมาตลอด แล้วเราจะชำระจิตนี้ออกจาก ๓ โลกธาตุ เราก็ต้องล้างมันทั้ง ๓ โลกธาตุ ๓ โลกธาตุต้องล้างให้มันหมด จิตที่เคยเกาะเกี่ยวเคยเกิดเคยตายขึ้นมาต้องชักจิตนั้นออกมาจากความเกาะเกี่ยวอันนั้นทั้งหมด นี่ปัญญาที่มันหมุนออกไป มันหมุนไปได้ขนาดนั้น
เพราะจิตมันเกาะเกี่ยวไปหมด มันสงสัย มันรับรู้ไปหมด นี่ปัญญาค่อยไล่ต้อนออกมา นี่คือยังอยู่ในอริยสัจอยู่ มันเป็นการแข่งขันอยู่ เป็นการต่อสู้กันระหว่างกิเลสกับธรรม กิเลสกับธรรม ฟังนะ กิเลสกับธรรม ความเคยใจกับธรรม ธรรมอันนี้ไม่เคยประพฤติปฏิบัติ ธรรมอันนี้ไม่เคยเห็น ไม่มีใครเคยเห็นเลย แม้แต่ปัญญานี้ได้เคลื่อนออกไปจากใจแล้ว สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้น แค่เห็นปัญญาเรามันจะย้อนกลับมาเลย
โอ้โฮ! โอ้โฮ! เหรอ พระพุทธเจ้าสอนไว้ในปริยัตินะ ก็ศึกษากันมา ในปฏิบัติเขาทำเกือบเป็นเกือบตายอยู่ เวลามันเกิดขึ้นจากใจ มันหมุนไป มันมหัศจรรย์แค่เห็นปัญญา เห็นเหตุเฉยๆ ยังมหัศจรรย์เลย ไม่ใช่เห็นผลนะ แค่เห็นเหตุของปัญญาที่มันหมุนไป สิ่งนี้หนอในโลกมันมีที่ไหน ปัญญาที่มันหมุนไปอย่างนี้มันจะมีได้อย่างไร...ไม่ใช่เราคิด ไม่ใช่อวิชชาพาคิด ถ้าเราคิดคืออวิชชาเป็นแก่น อวิชชาเป็นจักร จักรของอวิชชาหมุนไป มันหลอก หลอกแล้วไม่หลอกเปล่า ยังอ้างอิงผลเพราะเรา เพราะผู้ปฏิบัติคนไหนบ้างที่ไม่เคยได้ยินเรื่องมรรคเรื่องผล ทุกคนมันจะอ้างผลอันนั้นมาไง สิ่งนี้เป็นผล สิ่งนี้เป็นผล นี่คือปฏิบัติธรรมด้นเดาธรรม
ผู้ที่ด้นเดา ผู้ที่คิด ผู้ที่คาดหมายธรรม คาดหมายปัญญา คาดหมายทั้งหมด ถึงห้ามคาดหมาย คาดหมายไม่ได้ อ้างอิงเทียบเคียงตลอดไป แล้วไม่ใช่เป็นผู้ที่ประมาทไง ผู้ที่ประมาทหมายถึงว่ามันพักอยู่ขั้นตอนใดแล้วจะ เอ้อเฮอ! นี่ไง ว่านี่เป็นบางอ้อไง มันไม่ใช่อ้อแท้นี่ มันบางบัง มันบังไว้ไง บางอ้อมันอ้อจริง บางอ๋อบางอ้อนั่นถึงที่สุด แต่มันบางบัง บางแล้วก็บังไว้ ไม่ใช่บางอ้อ บางก็อ๋อ! แต่มันบังไว้ไง กิเลสมันบังไว้ มันไม่ไห้เราไปได้ทั้งหมด มันไม่ให้เราทะลุออกไป ถึงต้องกลับมาที่สมาธิ
การวิปัสสนาถ้าได้ผลจากสมาธิ ถึงท่องเที่ยวต้องท่องเที่ยวไปในศีล สมาธิ ปัญญา ท่องเที่ยวไปในธรรม ต้องมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา แม้แต่ความคิดที่ถูกต้อง มโนกรรมความคิดที่ถูกต้อง แล้วเวลาคิดผิด คิดถูก อย่างนี้มันก็เป็นการคิด แต่การใช้ปัญญานี้มันกว้างกว่านั้นไง แล้วต้องอาศัยสมาธินี้เป็นเครื่องหนุนขึ้นมา เพราะสมาธินี้หนุน หนุนให้อวิชชานี้เบาบางลง เราจะวิปัสสนา เราไม่ต้องการให้อวิชชานี้มาจูงจมูกเราให้วิปัสสนา
เราต้องการวิปัสสนาด้วยธรรมะของพระพุทธเจ้า ท่องเที่ยวไปในธรรม ไม่ใช่เอาอวิชชามาจูงจมูกนะ แล้วก็เชื่อตามมัน อย่างนี้เป็นธรรม อย่างนี้เป็นธรรม...เราไม่ฟัง เราต้องไม่ฟัง เราต้องท่องเที่ยว ท่องเที่ยวขุดคุ้ย พยายามตรวจสอบ ปัญญาจะหมุนออกไปตลอด นี่ปัญญา ปัญญาจะกว้านออกไป กว้านออกไป เทียบเคียงมาตลอด แล้วจะปล่อยวางเข้ามาเรื่อยๆ ปล่อยวางนะ จับต้องได้จริง ๑ จับต้อง กาย เวทนา จิต ธรรมได้จริง
ไม่ใช่พิจารณานามรูปโดยมโนภาพ มโนนึก มโนนี้เป็นการนึกขึ้นมา มโนภาพก็เห็น นึกภาพใครก็นึกได้ทั้งนั้นน่ะ นึกออก ภาพอะไรก็นึกออก แต่เป็นมโนแล้วก็ยิงด้วยธรรม ยิงผิดที่ไง เพราะยิงที่มโน ไม่ได้ยิงตรงกลางหัวใจ
แต่ถ้ามันเกิดขึ้นตามความเป็นจริง จิตนี้สงบตัวลงแล้วยกขึ้น พยายามค้นคว้าหาให้ได้ หาแก่นของอวิชชา หาแก่นของธรรมไง หาแก่นของพื้นฐานที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต ให้เห็นหัวใจนั้นไง ให้เห็นแก่นของใจที่มันท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะไง ใจนี้เกิดตายเกิดตายมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ ในวัฏวนนี้เที่ยวท่องเที่ยวมาจนน่าขยะแขยง เวลาเชื่อธรรม เวลาอ่านธรรม เวลาพิจารณาธรรม เวลาปริยัติ เราก็สลดสังเวชพอแรงอยู่แล้ว พอแรงเลยนะ
เพราะว่าอย่างน้อยๆ ก็เชื่อปัญญาคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราจะปฏิบัติเข้าไป ปฏิบัติเข้าไป ขณะที่ปฏิบัตินี้ออกรบ ขณะที่ออกรบทำไมต้องให้ข้าศึกมาหลอกใช้อยู่ตลอดเวลา เราจะเข้าไปทำลายข้าศึก เรากำลังแข่งขันกีฬาเราต้องมีฝ่ายตรงข้ามกำลังต่อสู้อยู่ ทำไมเราไปง่อยเปลี้ยเสียขาให้เขาทำคะแนนอยู่ตลอดเวลา ให้อวิชชาทำคะแนน พาคิดพาทำ เราต้องยึดพื้นที่ในสนามไม่ให้ที่ว่างของนักกีฬาฝ่ายตรงข้ามได้ยึดพื้นที่เข้ามาทำคะแนนกับเราได้ เราก็ต้องพยายามทำสมาธิธรรมให้อวิชชาสงบตัวลง อวิชชาสงบตัวลงเป็นโลกกุตตระ
ถ้าอวิชชาสงบตัวลง มันมีพื้นที่ให้ปัญญาได้ก้าวเดิน ปัญญาที่ก้าวเดินถ้าพื้นที่นี้น้อยปัญญาก้าวเดินด้วยไม่สะดวก ต้องกลับมาทำความสงบแล้วก้าวเดินออกไป มีพื้นที่ให้ปัญญาได้ขยับตัว ปัญญาขยับตัวแล้วปัญญาต้องออกให้ได้ ขยับตัวไม่ขยับตัวเปล่า เพราะขยับตัวแล้วมันก็ต้องมีการนักกีฬาฝ่ายตรงข้าม มันต้องเข้ามาเลาะเราตลอด
ปัญญาที่หมุนออกไปน่ะมันต้องเราคิด ปัญญาของพระพุทธเจ้า ปัญญาของพระอริยสาวกทั้งหลายก็ชำระกิเลสของท่าน พระอรหันต์ทุกๆ พระองค์ที่พ้นไปแล้วก็เป็นปัญญาของท่าน เป็นปัจจัตตังที่เกิดขึ้นจากใจดวงนั้นไง ภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นจากหัวใจที่วิปัสสนาธรรมขึ้นมา วิปัสสนา ศีล สมาธิขึ้นมาแล้วจะเกิดภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาจะเกิดขึ้นแล้วมันชำระกิเลสออกแล้ว มันจะพ้นออกไปจากใจดวงนั้น คือภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นจากใจที่มีกิเลสนั้น
แต่ด้วยสมาธิครอบงำกิเลสไว้ให้ภาวนามยปัญญาหงาย ให้ภาวนามยปัญญานี้แสดงตัวขึ้นมา แล้วพอมันใช้ออกไปนี้เป็นภาวนามยปัญญาที่ว่าเป็นนามธรรม พอใช้หมดไปจากใจดวงนั้น ดวงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดวงใจของพระอริยสาวกต่างๆ มันก็หมดไป แต่ว่าจารึกไว้เป็นแค่ช่องทาง เป็นแค่แนวทางเท่านั้น เราจะยึดมาเป็นของเราเองไม่ได้ มันจะต้องเกิดขึ้นมาเฉพาะหน้าของเราโดยปัจจัตตัง เดี๋ยวนั้นไง ต้องเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเดี๋ยวนั้นเป็นปัจจุบันธรรมเดี๋ยวนั้นไง
ฉะนั้น ถึงว่าขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของครูบาอาจารย์หรือของใครก็แล้วแต่เป็นของท่าน เป็นของเรา เราต้องสร้างขึ้น เราต้องสร้างขึ้น เราต้องทำขึ้นมาถึงจะเป็นของเรา ถ้าไปเอาของคนอื่นมา ก็อปปี้มามันก็เป็นไม่ได้ เราเคารพครู เคารพอาจารย์ เคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เคารพ พระอริยสาวกก็เคารพ แต่ผลของท่านก็คือของท่าน เราปฏิบัติธรรมถ้าเราได้ผลก็เป็นผลของเรา แต่มันเป็นเครื่องยืนยันกัน
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระโมคคัลลานะยืนยันกันว่าเห็นจริงด้วยกัน ยืนยันกันเป็นพยานต่อกัน ถ้าเราทำได้จริงมันก็เป็นพยานกับหัวใจ เห็นกลางใจก่อน อวิชชาดับไปก่อน อวิชชาดับธรรมได้แสดงตัวขึ้นมา มันต้องเสวยธรรมในใจเราก่อน เราต้องเสวยสุขก่อน สมาธิธรรมก็ทำให้ใจมีความสุขมหาศาลอยู่แล้ว แล้วสมาธิธรรม สมาธิความสงบอิ่ม อิ่มแต่เชื้อโรคอยู่ในใจ วิปัสสนาธรรมจนเชื้อโรคเชื้อภัยในหัวใจหลุดออกไปจากใจทั้งหมด
ทั้งอิ่ม ทั้งไม่มีเชื้อโรค ทั้งไม่มีใครมาบังคับเบียดบี้สีไฟ ใจจะพ้นออกไป ใจจะเป็นอิสระขึ้นมา อิสระขึ้นมาพลังงานนี้เป็นพลังงานที่สะอาด พลังงานที่ไม่ใช่สกปรก ไม่ใช่พลังงานที่มีแรงดึงดูดที่ต้องไปท่องเที่ยวในวัฏฏะอีก หัวใจนี้เป็นพลังงาน ไออุ่นของจิตนี้มันหมุนไปตลอด เพราะมันมีเชื้อมีตัวนี้ไง แล้วภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นมาทำลายไอ ทำลายเชื้อออกทั้งหมด มันเป็นพลังงานเย็น พลังงานที่ว่าไม่มีกระแสทำให้เกิดดับเกิดดับไปอีก
นี้ย้อนกลับเข้ามา ที่ว่า ต้องใช้ปัญญาท่องเที่ยวในปัญญา ท่องเที่ยว ฟังสิ ท่องเที่ยวเกิดขึ้นจากเราพยายามตั้งไข่ให้ได้ ตั้งไข่ปัญญาเราขึ้นมาให้ได้บนสมาธินะ ไม่ได้ตั้งไข่ขึ้นมาโดยที่ไม่ได้ทำสมาธิ แล้วตั้งไข่ปัญญาขึ้นมาเป็นปัญญาโลก ปัญญาเบียดเบียนกัน ปัญญาเอาเปรียบ เอาเปรียบแม้แต่กระทั่งตัวเอง หลอกตัวเองแม้จนวันเกิดจนวันตาย เมื่อนั้นจะปฏิบัติเมื่อนี้จะปฏิบัติ เห็นไหม ปัญญาที่เกิดขึ้นจากเราคิดนั้นเป็นปัญญาที่เอาเปรียบ เป็นปัญญาของอวิชชาพาคิด
ถ้ามีสมาธิมาตัด มาวางพื้นฐานให้มีที่ว่างให้เรายืนได้ นี่คือโลกกุตตรปัญญา นี่คือภาวนามยปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา ท่องเที่ยวไปใน ศีล สมาธิ ปัญญา จิตนี้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะมาตลอด จิตนี้เคยเกิดตายมาตลอด แล้วพอเกิดขึ้นมาพบพระพุทธศาสนายังจะท่องเที่ยวอยู่ในโลกอีกหรือ ทำไมไม่ละโลกสละโลกให้ได้ก่อนมาประพฤติพรหมจรรย์ สละโลกทิ้งโลกอยู่ในพรหมจรรย์ อยู่ในพรหมจรรย์ของการสมมุติ
แล้วก็อยู่ในพรหมจรรย์สร้าง ศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นมาบังคับใจให้ท่องเที่ยวขึ้นมาใน ศีล สมาธิ ปัญญา ท่องเที่ยวให้ได้ จากการท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ แล้วเรามาท่องเที่ยว ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วมหัศจรรย์เหนือมหัศจรรย์คือการพ้นจากวัฏฏะ ท่องเที่ยวแล้วหลุด กับท่องเที่ยวแล้วผูกพัน ท่องเที่ยวแล้วมีหนี้มีสินต้องใช้จ่ายต้องหมุนกันไปตลอดในวัฏฏะนั้น กับท่องเที่ยวในธรรม แล้วถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้ววางธรรมไว้แล้วเราจะไปท่องเที่ยวที่ไหน
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ถึงวาง ศีล สมาธิ ปัญญา ไว้ให้สาวกต่างๆ ให้สาวกให้ลูกศิษย์ ให้พุทธบริษัท ๔ ที่เราประพฤติปฏิบัตินี้เดินตามทางนี้ ทางนี้มองเห็นอยู่ตำตา ทางนี้ควรจะเดินไป แต่ทำไมยังไม่ก้าวเดินกัน นี่แล้วเวลาทุกข์ก็มาบ่นนะ เวลาทุกข์เวลาร้อนบ่น เวลาเที่ยวอยู่ในวัฏฏะเจ็บแสบก็ยังไม่รู้จักตัวเองจะเป็นขนาดไหน ไม่มีธรรมมาเป็นที่แก้โรค
แต่นี้ธรรมมีอยู่แล้ว คนเป็นโรคแล้วยามีอยู่ ทำไมปฏิเสธยาล่ะ ถึงปฏิบัติอยู่ก็กินแต่ของแสลงไง ถึงต้องไปปฏิเสธโลกด้วย ปฏิเสธของแสลงด้วย ถึงต้องท่องเที่ยวบังคับใจให้ท่องเที่ยวในศีล สมาธิ ปัญญาไง ต้องบังคับถ้าไม่บังคับอวิชชา ความเคยใจมันจะกินแต่ของแสลง มันจะเอาแต่ธรรมะมาหนุนแต่ความเห็นของมัน เราไม่เชื่อ ต้องไม่เชื่อไว้ก่อน อันนี้เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมของครูบาอาจารย์
เรายังไม่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงในหัวใจ มันยังไม่บันลือลือลั่นขึ้นมากลางหัวใจ ยังไม่เชื่อ ในเมื่อยังไม่เชื่อจะต้องวิปัสสนาไปเรื่อยๆ ต้องใช้ปัญญาไปตลอด ปัญญานี้ต้องก้าวเดินแล้วฟันมันตลอด ฟันอะไร ฟันความเคยใจไง ฟันอวิชชาที่เกิดขึ้น อวิชชาที่พาคิดอยู่นี้ไง อวิชชาที่พาให้หลงใหลอยู่นี่ไง ถึงว่าทำจิตสงบแล้วเข้าไปฆ่าอวิชชาให้ได้ อวิชชาที่พาให้เกิดตายเกิดตายในวัฏวน ในวัฏฏะที่แม้แต่น้ำตายังท่วมโลก ที่พาให้เกิดตายในวัฏฏะนี้ แล้วยังชาตินี้ยังให้น้ำตาท่วมโอ่งท่วมไหจะอยู่ในชาตินี้อีกหรือ
ถึงต้องทิ้งทั้งหมด ทิ้งทั้งวัฏฏะ ทิ้งทั้งโลกเข้ามาท่องเที่ยวในธรรม ท่องเที่ยวใน ศีล สมาธิ ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงเป็นผู้ที่ว่ามีวาสนา วาสนาเกิดขึ้นมากลางพุทธศาสนา ศาสนากำลังเจริญรุ่งเรือง แล้วทำไมปล่อยหัวใจ ปล่อยความเคยชิน ปล่อยชีวิตเสเพลไปล่ะ ปล่อยการปฏิบัติไม่ปฏิบัติจริงจังตามความปฏิบัติ ปฏิบัติก็ว่าปฏิบัติ ประพฤติธรรม ประพฤติธรรมแล้วจะได้ธรรมตามเป็นจริงอย่างนั้นไหม ประพฤติธรรมด้วยความสนิทชิดเชื้อกับกิเลสพาปฏิบัติไง
ปฏิบัติด้วยความมุมานะให้ธรรมพาปฏิบัติสิ
ท่องเที่ยวในศีล สมาธิ ปัญญา ให้ปัญญาพาทำสิ ปัญญาจริง
ปัญญาจริง คือปัญญาของที่ไม่มีกิเลสหลอกใช้ไง ไม่ใช่ปัญญาในอวิชชาจูงจมูกไปไง ถึงต้องมีสมาธิกั้นตัวเอง บังคับตัวเอง การบังคับตัวเองนั้นถึงจะเป็นปัญญาจริงไง นี่ถึงว่าท่องเที่ยวใน ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาอันนี้ใครๆ ก็อยากได้ แล้วใครเป็นคนสร้างให้ ถ้าเราไม่สร้างของเราขึ้นมาเอง
เราคือใคร เราคือผู้ปฏิบัติทุกๆ คน ผู้ที่ปฏิบัติ ผู้ที่ปฏิบัติผู้นั้นน่ะ คือเรา
ธรรมะเป็นของกลาง วางไว้ตั้งแต่เป็นกลาง เหมือนกับแสงอาทิตย์แสงจันทร์แล้วแต่ใครจะน้อมน้าวใส่ใจ เรามีแสงมีแผงไหม แผงรับแสงอาทิตย์นั่นน่ะ รับเข้ามาสิ นี่แผงก็ไม่ยองกลางออกเพราะขี้เกียจ การกางออกไปก็ลำบากแล้ว การกางใจออกไปรับนั้นเข้ามา ถึงว่านี่เป็นปัญญาผู้ที่ปฏิบัติ เรากางออกไป แล้วเราก็น้อมเข้ามาเป็นใจของเรา เรากางออกไปรับ รับกับธรรมอันนั้นไม่ใช่ธรรมที่เราคิดขึ้น (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)