เทศน์บนศาลา

แนวทางปฏิบัติธรรม

๓ ก.ย. ๒๕๔๒

 

แนวทางปฏิบัติธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๒
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

แสนยาก การหาโอกาสฟังธรรม การฟังธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหายาก แต่ว่าหายากได้อย่างไร เราก็ได้ฟังอยู่ทุกวัน ออกทางวิทยุ ออกทั่วไปหมดเลย ธรรมน่ะ อันนี้เพราะเราเกิดเป็นชาวพุทธต่างหากเราถึงมีการฟังธรรม มันเป็นประเพณีของพระพุทธศาสนา ถ้าเราไปเกิดในประเทศอื่นมันจะได้ฟังไหม

ถึงเราเกิดในที่อื่น เราเกิดในภพชาติอื่นๆ ก็เหมือนกัน การจะได้ฟังธรรมนี้เพราะว่าต้ององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้มาตรัสรู้ธรรมก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม กัปนี้มี ๕ องค์ พระสมณโคดมเป็นองค์ที่ ๔ พระศรีอริยเมตไตรยยังต่อไป นี่เพราะว่ามีพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม ธรรมนี้เป็นของละเอียดลึกซึ้งมาก เห็นๆ กันต่อหน้านี่แหละ

ว่าธรรมจะเสื่อมไป สัจจะอันนั้นไม่มีวันจะเสื่อมไป แต่คนเราเข้าไม่ถึงเอง ทั้งๆ ที่มีพระไตรปิฎกให้เราก้าวเดินนะ ธรรมและวินัย ธรรมและวินัยที่จะให้เราก้าวเดินตาม “อานนท์ ธรรมและวินัยนี้จะเป็นศาสดาของพุทธบริษัททั้งหลายต่อไป” ธรรมและวินัยนี้วางไว้ให้เราก้าวเดินกัน

มันมีอยู่แล้วไง เรายังมองกันไม่ออก มองไม่ได้ แล้วพระพุทธเจ้ามาตอนนั้น ไม่มีตรงนี้เลย ไม่มีสิ่งที่บอกไว้ก่อน ศาสดาในที่ต่างๆ ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด สอนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนเป็นเจ้าชายสิทธัตถะด้วย แต่สอนแล้วคนที่ว่ามีบุญบารมีเก่ามานี่มันรู้อยู่ว่าในหัวใจมันไม่หมด มันยังมีความทุกข์อยู่

ความสว่างไสว ความผ่องใส ขนาดไหนมันก็ต้องมีความเศร้าหมอง มีความเฉาไปเป็นธรรมดา ในเมื่อสพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาอยู่ สพฺเพ ธมฺมา ธรรมทั้งหลายนี้มันแปรสภาพตลอด แล้วธรรมอันเป็นของจริงอยู่มันก็ซ้อนอยู่ในธรรมนั้นน่ะ แล้วคนมองไม่ถึง แล้วสิ่งที่สัมผัสธรรมได้ เห็นไหม ที่ว่าเข้าถึงธรรม เข้าถึงธรรมนี้เอาอะไรไปเข้าถึงธรรมล่ะ หัวใจต่างหาก หัวใจเป็นภาชนะใส่ธรรม หัวใจเป็นสิ่งที่รู้ดีรู้ชั่ว หัวใจเป็นสิ่งที่ว่ารู้สุขรู้ทุกข์ไง นั่น หัวใจเท่านั้นเป็นผู้ที่สัมผัสธรรมได้จริง

ตาอ่านหนังสือ ตาเราอ่านธรรมะ อ่านพระไตรปิฎก ตาเป็นคนอ่าน แล้วเข้าไปที่สมองไง สมองต้องส่งผ่านไปที่ใจ นั่นน่ะ เรามีธรรมวินัยอยู่เรายังจับต้องไม่ได้ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มี ไม่มีสิ่ง ไม่มีคนสอนไง สยัมภูเป็นผู้ที่ตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง ถึงสร้างบารมีมาเป็นพุทธวิสัย

การสร้างมาเป็นพุทธวิสัย เป็นพระโพธิสัตว์ เกิดๆ ตายๆ ในโลกนี้ ต้องเกิดต้องตาย ความเกิดความตายในโลกนี้มันมีความทุกข์มาพร้อมกับการเกิดและการตายทุกๆ การเกิดและการตายไป การเกิดและการตายไปนี้หมุนเวียนไปพร้อมกับความทุกข์อยู่ในหัวใจนั้นตลอดไป ความทุกข์ไง ความสุขความสะสมมา บุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ก็มีความสุข มีความว่ามีบารมีแก่กล้า มีบารมีที่ว่าเหนือคน เหนือสัตว์ทั่วไป แต่ก็มีความทุกข์อยู่ในหัวใจนั้น ทุกข์ทุกชาติไป รื้อสัตว์ขนสัตว์ ต้องช่วยสัตว์ขนสัตว์ไปนี้พระโพธิสัตว์ การปรารถนาเป็นพุทธภูมิ เป็นพระพุทธเจ้า นี่สะสมมาขนาดนั้นนะ สะสมมาก่อน

แล้วพอมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นเจ้าชายสิทธัตถะแล้วอยู่ในท่ามกลาง เพราะเกิดด้วยบุญพาเกิด พระโพธิสัตว์เกิดของเล่นๆ เหรอ พระพุทธเจ้าเกิดได้ครั้งละองค์เดียว พระโพธิสัตว์เกิดขึ้นมาจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เกิดขึ้นมาในโลกนี้ด้วยบุญญาธิการของการสะสมมา บารมีสะสมมาเต็มที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มีความสุขมาก เกิดมามีแต่เครื่องอำนวยความสะดวก พร้อมไปหมดเลย มีปราสาท ๓ หลัง ฤดูฝนก็อยู่หลังหนึ่ง ฤดูร้อนก็อยู่หลังหนึ่ง ฤดูหนาวก็อยู่หลังหนึ่ง แล้วพร้อมเพียบพร้อมไปหมด นี่ปรนเปรออยู่ในกามคุณทั้ง ๕ นี่

กามคุณที่เราแสวงหากัน เราอยากได้กัน เราอยากได้ความสุขของเราในโลกนี้ แต่ผู้ที่เห็นว่าสิ่งนี้เป็นสมมุติ มันให้ความสุขได้ชั่วคราวไง เมาในอารมณ์ไม่ได้ เมาในความสุขสิ่งที่ว่าปัจจัย ๔ เครื่องดำเนินอาศัยให้เราอาศัยอยู่นี่มันทำให้เรามอมเมา มันเป็นเครื่องอาศัย แต่เราเมาเขา เมาในสิ่งที่สัมผัสนั้น

แต่ผู้ที่มีบุญญาธิการ ผู้ที่มีบุญบารมีไม่ติดในสิ่งนั้น อยู่ก็อยู่ไปกับในความที่ว่าปราสาท ๓ หลังนั้น แต่พอเห็นน่ะ เห็นการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย แค่นี้คนมันได้คิดแล้วว่าสิ่งที่เราเพลิดเพลินอยู่นี่มันเป็นสิ่งที่ชั่วคราว เราก็ยังต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย อย่างนี้อีกเหรอ แล้วเราจะไปเพลิดเพลินสิ่งนี้ได้อย่างไร...นี่มันมีโอกาส มีชีวิตอยู่นี่ไง

ในเมื่อเรามีชีวิตอยู่นี่มันมีโอกาสที่จะขวนขวายธรรมอันที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้วางไว้แล้วนะ แต่ขณะที่เจ้าชายสิทธัตถะนั้นยังไม่มีเรื่องนี้ ยังไม่มีสิ่งที่เป็นธรรมแท้ แต่ก็มีลัทธิ เจ้าลัทธิต่างๆ ปฏิญาณกันอยู่แล้วว่าเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ถึงว่าสิ่งนั้นสิ่งที่ว่าการเกิด การแก่ การเจ็บ การตายนี้ทำให้หูตาสว่างขึ้นมาว่าเราจะเคลิบเคลิ้ม เราจะเสวยสุขอยู่อย่างกับความสุขในกามคุณนี้มันไม่มีประโยชน์ มันก็ต้องตายไปข้างหน้า เห็นไหม ตายไปแล้วก็ต้องเกิดมาอีก เกิดมาคราวนี้มันจะเกิดมาตรงไหนล่ะ

แต่นี่ไม่อย่างนั้น นี่ถึงว่า สิ่งที่เพราะว่าจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าความในโลกนี้พยายามเหนี่ยวรั้งไว้จะให้อยู่ในทางโลก แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะบารมีเต็ม พอเห็นอย่างนั้นแล้วสลัดออก ต้องหนีออกไป ต้องหลีกออกไปจากโลก ต้องหลีกออกไปจากบนความมีความสุขนี่ หลุดออกไปเพื่อจะแสวงหาความจริง

การจะหาความจริงนี้มันไม่ใช่หาอยู่ในกามคุณ ๕ มันไม่ใช่หาอยู่ในความปรนเปรอความสุขนั้นถึงจะเกิดธรรมได้ เห็นไหม ต้องเข้าไปในที่หลีกเร้น เข้าไปในที่ยอกที่เสียวไง ที่ควรแก่การงาน

งานของโลกเขา งานของการประชุมสัมมนาเขา เขาจะมีเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อมหมดเลย แต่งานชนะตนน่ะ ถ้าเราไม่ไปอยู่ในที่สงัดที่วิเวก ใจนี่มันก็หาเกาะเกี่ยวคนอื่นตลอดไป มันเกาะเกี่ยว มันเป็นกังวน แต่ถ้าเราออกไปในที่สงัด ออกไปในป่าช้า ออกไปที่รกชัฏ มันเสียวมันยอกไปหมด นั่นแหละมันจะเห็นตัวตนตรงนั้นไง

เห็นว่า ความที่ว่าเรานี่เป็นคนดี เราเป็นคนกล้าหาญ เราเป็นนักรบ เราเป็นคนอาชาไนย ถ้าไปถึงตรงนั้นมันจะเป็นอย่างไร นี่ความเสียวความยอกนั้นเป็นชัยภูมิการจะชำระกิเลสไง เพราะกิเลสมันติดในเครื่องความสะดวกสบาย มันติด มันชอบ มันชอบอันไหนความสะดวก อันไหนมันสบาย มันชอบอย่างนั้น อำนวยตัวเองไง อำนวยว่าตัวเองเป็นคนที่มีคุณภาพ แต่คุณภาพของกิเลส

แต่คนที่มีคุณภาพในทางธรรม ชัยภูมิสนามรบที่สมควรแก่ประพฤติปฏิบัติน่ะ ออกอย่างนั้น พระพุทธเจ้าตรัสรู้ในป่าไง ตรัสรู้ในป่า แสวงหาธรรมมาด้วยพระองค์เอง แล้วเสวยวิมุตติสุขอยู่ในใจที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เป็นเจ้าของธรรม เพราะว่าผู้ที่ค้นคว้า ผู้ที่เป็นเจ้าของ ผู้ที่หาได้คนแรกเลย เห็นไหม เทคโนโลยีนี้เป็นผู้ที่ขุดค้นเจอ แล้วพยายามเอามาชำระหัวใจจนสิ้นไปจากกิเลสทั้งหมด ถึงวางไว้ เห็นว่ามรรคอริยสัจจัง เห็นไหม

“สุภัททะ เธออย่าถามให้ช้าไปเลย ในศาสนาไหนไม่มีมรรค ในศาสนานั้นไม่มีผลหรอก”

ในศาสนาต่างๆ ตั้งแต่ตรัสรู้มา สอนมาจนครั้งสุดท้าย สุภัททะเข้าไปถามว่า “ศาสนาลัทธิต่างๆ ทุกศาสนานั้นก็ว่าเป็นศาสนาที่ว่าเป็นศาสนาประเสริฐมาก...”

“สุภัททะ อย่าถามให้ช้าไปเลย ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล”

ไม่มีเหตุเอาผลมาจากไหน มันต้องมีเหตุ มรรคต้องมรรคให้ถูกทางด้วย สุภัททะบวชคืนนั้น สำเร็จคืนนั้น พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานยังได้อัครสาวก ยังได้สาวกไปอีกหนึ่งองค์ เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาในคืนนั้นน่ะ สุภัททปริพาชกเป็นผู้ที่มีปัญญามาก เป็นผู้ที่ถือตนมาก ไม่ยอมฟัง

แต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้ว วางธรรมไว้มรรคอริยสัจจังหนึ่ง ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเธอ ธรรมและวินัย วินัยการบังคับ วินัยสงฆ์ วินัยคือข้อกฎหมายไง บังคับมา พระเรา พระนักบวชใช่ไหม ผู้ประพฤติปฏิบัติมีศีลมีธรรมครอบมา นี่มีธรรมและวินัย มีวินัย

ถ้าไม่มีธรรมและไม่มีวินัย ก็ต่างคนต่างคิด นี่ขนาดว่ามีวินัยครอบไว้นะ ให้พระทำตัวตามธรรมตามวินัย ตามวินัยนะ ถ้าไม่มีวินัยไว้ไม่รู้จะไปขนาดไหน อย่างในศาสนาพุทธ ในที่ประเทศต่างๆ เขาปล่อยกันนี่ แล้วแต่อาจริยวาท อาจารย์ทำกันอย่างไร ทำตามกันไป นี่วินัยหมดไป พอวินัยหมดไปพระก็ไม่มีขอบเขต

แต่ในเถรวาทของเรา ในเมืองไทยของเรา มีธรรมและวินัย ถือธรรมและวินัยตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ไว้ไง “ธรรมและวินัยจะเป็นศาสดาของเธอ”

ในเถรวาทในเมืองไทย เถรวาทคือเชื่อตั้งแต่พระกัสสปะลงมา พระกัสสปะเป็นผู้สังคายนา ตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วน่ะ เห็นว่าพระจะออกนอกลู่นอกทาง ถึงได้ตั้งญัตติขึ้นมาว่า เราสังคายนาแล้ว ทุกคนยอมเห็น พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เห็นร่วมกันว่าเราจะไม่แก้ไขธรรมวินัยเล็กๆ น้อยๆ ที่พระพุทธเจ้าอนุญาตให้ ตั้งแต่พระอานนท์บอกว่าวินัยเล็กน้อย ถ้าต่อไปแล้วแต่โลกเปลี่ยนแปลงจะรื้อจะถอนบ้างก็ได้

แต่เพราะว่าพระกัสสปะขอความเห็นในสงฆ์นั้นไงว่า “ถ้าเราแก้ไขวินัยเล็กๆ น้อยๆ ไป ในลัทธิต่างๆ เขาจะบอกว่า แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไป สาวกก็ไม่สามารถทรงธรรมทรงวินัยของพระพุทธเจ้าได้”

คือว่าจะทรงไว้ได้ก็ต่อเมื่อพระพุทธเจ้ามีชีวิตอยู่ พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ไม่มีใครมีความสามารถจะทรงธรรมทรงวินัยไว้ได้ พระกัสสปะจึงขอฉันทามติในสงฆ์ ในพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์นั้นว่าวินัยเล็กน้อยนี้เราจะไม่แก้ไขกัน ถึงเป็นเถรวาทไง

เถระที่ตั้งญัตติกันมา แล้วเราเป็นชาวพุทธรับสืบทอดอันนี้มาถึงไม่แก้ไขธรรมและวินัย ถึงถือธรรมและวินัยนี้เป็นศาสดาของเรามาตลอด เป็นที่พึ่งที่อาศัยที่เราจะก้าวเดินตามธรรมอันนี้ไง แล้วเราก็มาประพฤติปฏิบัติ ถ้าไม่มีตรงนี้นะมันจะออกไปขนาดไหน เพราะอันนี้เป็นขอบเขตไว้

แล้วเราชาวพุทธ เราเป็นคนที่ประเสริฐ เกิดมาท่ามกลางพระพุทธศาสนา เกิดเข้ามาที่ศาสนากำลังเจริญรุ่งเรือง เราจะประพฤติปฏิบัติแนวทางเข้าไปหาธรรมไง แก่นของธรรมที่เราจะเป็นที่พึ่งพาอาศัย

ศาสนาพุทธเวลาเราให้ทานกัน เราปรารถนานิพพานทุกคน ปรารถนาให้สิ้นทุกข์ทั้งหมด ปรารถนาในการพ้นจากทุกข์ไปจากการเวียนว่ายตายเกิด แล้วเราก็จะประพฤติปฏิบัติกัน ในแนวทางประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม ในการประพฤติปฏิบัติธรรมเราก็ว่า เราประพฤติปฏิบัติธรรม เริ่มตั้งแต่ ออกมาจากการที่ว่าเรามีขอบเขตไว้แล้ว นี่ในเถรวาทเรา แต่ก็ยังเชื่อในลัทธิ ในการสั่งสอนในแนวทางที่ประพฤติปฏิบัติที่เขาเสนอกันใหม่มา อยากจะได้ไปทางลัดไง ถ้าอันไหนเป็นทางลัด เป็นทางที่ว่าถูกใจมันจะเป็นไปได้ไง

อย่างว่า สุขาวดี ในการปฏิบัติแนวสุขาวดี ให้นึกถึงสุขาวดี ในพุทธเกษตร พุทธเกษตรนั้นเป็นทางที่ว่าอยู่ทางภาคตะวันตก แล้วเรากำหนดไหว้ไปที่นั้นตลอดแล้วเราจะเข้าถึงได้ไง พอเราจะเข้าถึงได้ มีความเป็นประเพณีในการเคารพ ในการเส้นสรวงบูชา แล้วน้อมใจให้ถึง น้อมใจไปถึงพุทธเกษตร ถึงสุขาวดี พระพุทธเจ้าจะมารอรับทันทีเลย ให้นึกขึ้นที่ใจไง ให้นึกขึ้นที่ใจ ให้เคารพ ให้นบนอบ ให้ยอมตัวตนเป็นลูกศิษย์ แล้วน้อมนึกถึงให้ไปที่นั่น แล้วเราก็เส้นไหว้กัน ทำประเพณีกันให้มันขลัง ให้มันคมเข้ม...ขลังที่ไหน? ขลังไว้ในวัฏฏะไง มันไม่ขลังหลุดออกไปจากใจหรอก ใจหลุดออกจากกิเลสไปไม่ได้เพราะมันนึก เห็นไหม

“สุภัททะ เธออย่าถามให้เนิ่นช้าไปเลย ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล”

การกล่าวถึง การนึกถึง อันนั้นเป็นมรรคหรือ เป็นมรรคอันนั้นใช่ไหม มรรค ถึงว่า มรรค ๘ ในการชำระกิเลสอันนี้หรือ...นี่เราก็เข้าใจ ทั้งๆ ธรรมและวินัยนี้เป็นศาสดาวางไว้นะ เรายังไม่ก้าวเดินตามธรรมและวินัย เราไปน้อมนึกเอาอย่างนั้นเหรอ จะไปพุทธเกษตร จะไปแดนสุขาวดี เสริมใหญ่ว่าใหญ่กว่านิพพานอีก กว้างขวางกว่า รื้อสัตว์ขนสัตว์ได้มากกว่า

มันเป็นการว่า เป็นการคิด เป็นการกล่าวตู่กันไปไง นิพพานก็คือนิพพานเท่ากัน เสมอกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เห็นไหม พระอรหันต์ลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไปก็นิพพานอยู่ที่นิพพานด้วยกัน ทำไมมันใหญ่กว่า สูงกว่า มีค่ากว่าขึ้นมาอีกล่ะ เราก็เชื่อกัน แล้วเราก็น้อมนำไป แล้วเราไปไหน มันขลังอยู่ในวัฏฏะ มันขลังไม่ออกหรอก มันจะไปไหน

นั้นเหมือนกัน แล้วก็มาอีก มาแนวทางใหม่ มาแนวทางประพฤติปฏิบัติ “เดิม จิตเดิมแท้คนเรามาจากนิพพาน แล้วกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ลุ่มหลงไปในแดนของมนุษย์นี่ไง ต้องกลับมาเปิดประตูกลับไปอยู่ที่นิพพานเก่า” นี่เราก็เชื่อกัน แล้วก็ไปเปิดกันนะ ไปเปิดประตู ประตูนิพพาน ใครเคยเห็นประตูนิพพาน ถ้าคนเคยเห็นประตูนิพพานจะไม่มานั่งอยู่ ไม่มาเกิดเป็นมนุษย์อย่างนี้หรอก มันไปแล้วไง มันต้องเข้าถึงนิพพานไปแล้ว มันไม่เห็น

แต่ความคิด ความตรึกที่ว่า คิดออกไปแล้ววางเป็นลัทธิการประพฤติปฏิบัติมาว่าน้อมไปไง เปิดประตูนิพพาน เปิดประตู พยายามอ้างอิง แอบอิงกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมและวินัยที่วางไว้นี้ไง เราชาวพุทธปรารถนานิพพานกันใช่ไหม แต่นี้บอกคนเรานี้มาจากนิพพาน มันก็เข้าพระไตรปิฎก

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส”

จะผ่องใส จะสว่างไสวแค่ไหนมันก็เป็นอวิชชา จิตที่ผ่องใส จิตที่ผ่องใสอยู่นั้น แล้วจะไปเปิดประตูนิพพานที่ไหน มันไม่เคยเห็น จะผ่องใสจะสว่างไสวอันไหนมันก็เป็นอุปกิเลส เป็นกิเลสที่มันครอบงำอยู่ แล้วก็ว่าจะไปเปิดประตูไง เปิดประตูที่พ้นไป ข้ามไป แล้วเราก็เปิดประตู ไปให้เปิดประตู เปิดประตูให้คำบริกรรมมา ให้บริกรรมแต่คำตรงนั้น บริกรรมไว้แล้วสร้างสมความงามคุณดี

การให้ทาน การถือศีล การให้ทานนี้มันเป็นการถือศีลการให้ทานโดยศีลธรรมวัฒนธรรมเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว นี้เราคิดกันเองใช่ไหมว่าถือศีล การถือศีล แล้วการถือศีล การงดเว้นในการกินเนื้อสัตว์ ในการทำความดีของเขา มันจะแล้วนึกเอา นึกเอานี่ “สุภัททะศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล” การกินด้วยปาก กับการกินด้วยใจ กิเลสมันอยู่ที่ใจ กิเลสไม่ได้อยู่ที่ปาก กิเลสอยู่ที่ใจมันต้องชำระใจด้วยมรรค เห็นไหม มรรคที่เป็นภายในไง

ในการประกอบสัมมาอาชีวะทางโลก เห็นไหม การเลี้ยงชีพชอบ กับการเลี้ยงชีพทุจริต นั่นการเลี้ยงชีพ เราตีมรรคลงมาใช้ในวิชาชีพในโลก อันนี้ก็เป็นได้ ทำไมศาสนาพุทธเราสอนถึงโลกียะ โลกุตตระล่ะ ในโลกียชน ถ้าคนมีศีลธรรมมันก็อยู่ในศีลในธรรม อยู่ในศีลในธรรมมันก้าวพ้น มันล่วงพ้นไปจากพญามารไม่ได้หรอก ทำขนาดไหนมันก็เป็นข้าของพญามาร อยู่ใต้อุ้งมือของพญามารทั้งหมด เพราะมันไม่ชำระสิ่งที่ว่า “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา”

แสงสว่าง คืออวิชชา แสงสว่างนั้นมันอยู่ใต้จากดำริอีกนะ ยังไม่เห็นการดำริเลย แล้วมันไม่อยู่ใต้ของพญามารได้อย่างไร สิ่งที่ว่าประตูนิพพาน ประตูนิพพานน่ะ จิตทุกดวงจิตต้องตายต้องเกิดมาทั้งนั้น มาเกิดเป็นมนุษย์ เป็นนักปฏิบัตินี่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาพุทธภูมิสร้างสมบุญญาบารมี เห็นไหม เกิดตาย เกิดตายอยู่ในพุทธภูมิ เป็นพระโพธิสัตว์ก็เกิดตายเกิดตายมาตลอด เกิดตายหมด จิตทุกดวงก็เกิดตายหมดในวัฏวนนี้ ในพรหมโลกก็เคยเกิด แต่ไม่เคยเกิดใน ๕ ชั้นที่พระอนาคามีอยู่หรอก ตรงนั้นก็ไม่เคยเห็น ถ้าเห็นแล้วมันต้องไม่กลับมาเกิดที่นี้

พระอนาคามีจะอยู่ที่ สุทัสสา สุทัสสี อยู่ที่สุทธาวาส สุทธาวาส ๕ ชั้นนั้นแล้วจะไม่กลับมาเกิดอีก แล้วนี้ถ้าวนมาเกิดอีก มาเป็นมนุษย์ มันจะเห็นนิพพานมาจากไหน จิตนี้มาจากนั้นได้อย่างไร จิตนี้อวิชชาล้วนๆ จิตนี้วนเวียนตายเกิดในวัฏฏะอยู่นี้ จิตนี้ไม่เคยเห็นนิพพาน เริ่มต้นว่ามนุษย์ที่เกิดมา จิตทุกดวงที่มาเกิดนี่มาจากนิพพาน...มันไม่ใช่มาจากนิพพาน มันมาจากอวิชชา มันมาจากฐีติจิต มันมาจากจิตดวงปฏิสนธิจิตนั้นแล้วเวียนตายเวียนเกิดในพรหมโลก ในกามโลก ในรูปโลก ในวัฏวนนี้ นี่จิตมันเวียนว่ายเวียนตายเกิดมานี้ จิตมันไม่เคยผ่านนิพพานมา

แต่บอกจิตนี้เคยผ่านนิพพานมา แล้วกลับมาเกิด หลงทางมาไง หลงจากแบบลูกโคหลงจากแม่โคมา จะกลับไปส่งให้ลูกโค การเวียนว่ายเวียนตายเวียนเกิด มันไม่ผ่านมาตรงนั้นหรอก ผ่านมาตรงนั้น ไม่มาอย่างนี้ มันขัดกับธรรมและวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานไว้แล้ว พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่มีตาสว่าง ตานี้ตารู้แจ้งโลกทั้งโลกนอกโลกใน วางไว้หมดแล้ว นี่บอกไว้หมดว่าจิตนี้ผ่านมาอย่างไร วัฏวนมาอย่างไร คนตาย บุพเพนิวาสานุสติญาณ อดีตชาติที่สะสมมานี่

เราเกิดเป็นมนุษย์นี่แสนประเสริฐอยู่แล้ว แต่ทำไมเราเป็นชาวพุทธด้วย เกิดท่ามกลางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็สอนอยู่โต้งๆ นี่ ทำไมไม่เดินแนวทางที่เข้าไปถึงจุดหมายปลายทางได้ตามมรรคอริยสัจจังที่พระพุทธเจ้าวางไว้ล่ะ ทำไมไปเชื่อถือว่าจิตนี้มาจากนิพพาน แล้วก็แค่ไปเปิดประตูแล้วก็วางไป...เป็นมรรคเหรอ มันเป็นมรรคเหรอ

มันเป็นมรรค มันถึงว่า ทำไมต้องโลกียะกับโลกุตตระล่ะ นี่แนวทางประพฤติปฏิบัติ เราก็เชื่อ เราก็ดำเนินไป มันก็พลาดไป ก็ไปอยู่ในใต้พญามารอยู่นั่นล่ะ เราจะได้พ้นจากพญามารไง “มารเอย เธอจะครอบงำเราไม่ได้อีก” เห็นไหม “มารเอย เธอจะเกิดจากใจของเรา” เกิดจากภวาสวะ เกิดจากภพของใจไม่ได้อีกเลย พระพุทธเจ้าเยาะเย้ยมารขนาดนั้นน่ะ แต่นี้ทำใต้พญามารไง ให้มารมันสั่ง ให้มารมันบังคับ ขับไสบีบบี้สีไฟไป ยังภูมิใจว่าเราประพฤติปฏิบัติ เรานักรบ รบอยู่ใต้บงการของพญามาร ยังไม่รู้ตัวน่ะ

นี่ชาวพุทธ นี่แนวประพฤติปฏิบัติ ชาวพุทธ แล้วก็นามรูป พิจารณานามรูป การเคลื่อนไหว ยุบหนอ พองหนอ ตามกันเข้ามา นี่ว่าถูกต้อง นามรูป การพิจารณานามรูป พิจารณาไป ผ่านนาม ผ่านเห็น ผ่านกาย ผ่าน...ผ่านไป ๑๖ ชั้น ผ่านขึ้นไปด้วยขึ้นลิฟต์เหรอ มรรคนี้เป็นลิฟต์ยกขึ้นใช่ไหม ยกขึ้นเป็นชั้นๆ ขึ้นไปเป็นญาณหยั่งรู้หรอ มีญาณหยั่งรู้ ญาณยกขึ้น ขึ้นเป็นลิฟต์ไปเลย เป็นชั้นๆ ขึ้นไปเหรอ

มันนามรูป พิจารณานามรูปเข้าไปว่าอันนี้เป็นวิปัสสนากับสมถกรรมฐานไปพร้อมกันไง เป็นสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ไปพร้อมกัน วิปัสสนาไปพร้อมกัน

ถ้ามันไปพร้อมกัน ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานล่ะ เหตุงานมันทำคนละงานไง สมถกรรมฐานหมายถึงทำให้จิตสงบก่อน ถ้าจิตนี้สงบมันจะเกิด จิตสงบเป็นโลกียะ เห็นไหม จิตสงบแล้วจะเป็นโลกุตตระไป

พิจารณานามรูป นามรูป แล้วผ่านไป ผ่านไป ผ่านไป ผ่านไปพร้อมกับโลกียะ ผ่านไปพร้อมกับให้มารมันบังคับใช้ไปไง เพราะว่าการผ่านไป การผ่านไป ผ่านไป ผ่านไปโดยที่ว่าไม่เข้าใจตามสัจจะตามความเป็นจริง ธรรมซ้อนธรรม ธรรมโลกียะไง ธรรมว่าเราประพฤติธรรม ประพฤติธรรมเพื่อที่จะให้เห็นธรรมใช่ไหม ประพฤติธรรมเพื่อให้เห็นธรรม ประพฤติธรรมเพื่อให้หมดไปเหรอ ให้หมดไป ให้โล่งไป ให้ว่างไป ว่างไปแบบญาณเหรอ ญาณความรู้ของโลกไง ความหมายของโลก ความเห็นของโลกมันเป็นอย่างนั้น

พิจารณานาม พิจารณารูป นามรูป จนผ่านนะ ผ่านเห็น ผ่านเห็นเห็นอะไร ผ่านกาย กายอะไร ผ่านด้วยวิธีอะไร นี่มันเป็นมรรคไม่เป็นมรรค ถ้ามันเป็นมรรคมันก็เป็นศีลธรรมเท่านั้น เป็นศีลเป็นธรรม เป็นให้เห็นความงามคุณดี เป็นการยับยั้งใจให้ใจนี้อยู่ในแนวทางของชาวพุทธ อยู่ในหลักของธรรมและวินัย หลักของธรรมและวินัยนี้เป็นสมมุติใช่ไหม พระพุทธเจ้าบัญญัติทับสมมุติไว้ มันก็เป็นสมมุติบัญญัติใช่ไหม เราก็ศึกษาสมมุติบัญญัติ

นักกฎหมาย เราไปเถียงนักกฎหมายไม่ได้หรอก นักกฎหมายจะรู้กฎหมายไปหมดเลย รู้กฎหมายแล้วทำอะไรตามกฎหมาย เห็นไหม ห่วง การทำอะไรก็ต้องระวังตัวว่ามันจะผิดกฎหมาย ผิดกฎ ผิดระเบียบ แล้วทำอะไรต้องระวังด้วย อยู่ในกรอบ

นี่ก็เหมือนกัน จิต ๑ นามรูป จิต ๒ จิต ดวงจิต ๘ ดวง จิต ๑๒ ดวง คู้ไป เหยียดไป เห็นไป ดูไป...นักกฎหมายต้องศึกษาก่อน ต้องเรียนให้อภิธรรมให้ท่องให้ได้ทุกคำ ถ้าผู้ใดไม่รู้อภิธรรมผู้นั้นปฏิบัติไม่ได้ ต้องรู้อภิธรรมก่อน พอรู้อภิธรรมแล้ว จิตดวงที่ ๑ จิตดวงที่ ๒ จิต ๖๐ ดวง ๘๐ ดวงว่ากันไป

จิตเกิดหนึ่งเดียว อารมณ์ต่างๆ หนึ่งเดียว แล้วมันเร็วมาก มันก็พักไป เราถึงต้องทำสมถกรรมฐานเข้ามาให้จิตหนึ่งเดียวนี้สืบต่อไง จิตหนึ่งเดียวสืบต่อ สืบต่อจนเป็นฐาน ฐานที่มั่นควรแก่การงาน ควรแก่การงานแล้วนี่เป็นโลกียะ เห็นไหม เป็นโลกียะ...ยกขึ้นสิ ยกขึ้นเป็นโลกุตตระ เห็นไหม ทำไมมีบุคคล ๘ จำพวกล่ะ บุคคล ๘ จำพวก ตั้งแต่ ๑ ๒ ๓ ขึ้นไปถึง ๘ จำพวก ถึงหมดเพราะอะไร มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ หลุดออกไป

นี่ไม่อย่างนั้นน่ะสิ เริ่มตั้งแต่โลกียะ เห็นไหม กำหนดเข้าไป นักกฎหมายทำตามกฎหมาย กฎหมายครอบกฎหมาย กฎหมายก็ไม่สามารถ นักกฎหมายก็อยู่ใต้พญามารเหมือนกัน นักกฎหมายรู้หมดเข้าใจหมดในเรื่องของกฎหมาย เอาตัวรอดจากการจองจำ เอาตัวรอดจากกฎ จากระเบียบ จากโทษต่างๆ ได้นะ นักกฎหมายนี่เอาตัวรอดได้หมดเลย

นี่เหมือนกันปฏิบัติไป กำหนดมา เล่าเรียนมา จำมา จำกฎหมายมา จำอภิธรรมมา ไล่ไป ไล่ใจไป ให้หลบจากกิเลส กิเลส พญามารจะเกิด หลบ เบี่ยงไง เบี่ยงให้ใจนี้พ้นออกไป...ว่ามีความสุขไง ไม่ให้ทุกข์นั้นอยู่ที่ใจได้ เบี่ยงเอา เบี่ยงหลบไป หลบไป แล้วมันได้ผลอะไรล่ะ ถ้าได้ผลในการประพฤติปฏิบัติเพื่อสะสมบารมีไป ชาติต่อๆไป เออ! อันนี้เห็นด้วย

แต่ความเห็นธรรมตามความเป็นจริง เห็นธรรมตามความเป็นจริงมันต้องเห็นตั้งแต่เริ่มต้นจิตนี้สงบเข้าไป จิตนี้สงบเข้าไป จิตนี้เป็นสัมมาสมาธิ ตัวที่เป็นสัมมาสมาธินี่ มันตัดจากรูป รส กลิ่น เสียง จากบ่วงของมาร บ่วงของมาร พวงดอกไม้แห่งมาร รูป รส กลิ่น เสียง ภายนอกก็คือกายภายนอกนั่นไง แต่กายในของเรามันต้องเห็นตามความเป็นจริงมันถึงมาได้ เห็นไหม

ถ้าเป็นการกำหนดไปอย่างนั้นน่ะ กำหนดไปพร้อมกับว่า นักกฎหมายไง ให้นักกฎหมายวิเคราะห์วิจารณ์กฎหมายแล้วตามไป จิตเหมือนกัน ภาวนาไปกับนักกฎหมาย พร้อมกับนักกฎหมายไง ว่าเป็นการศึกษา ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอภิธรรมจะปฏิบัติไม่ได้ ผู้ที่ไม่ศึกษาอภิธรรม เห็นไหม แต่หลวงปู่ฝั้นบอกไว้ไง ศึกษาแล้วน่ะ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ทำไมไม่ใช่ปริยัติ ผ่านเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ถ้าทะลุเข้าไป พ้นออกไปได้นั่นน่ะ ถ้าไม่ศึกษาปฏิบัติไม่ได้ ต้องศึกษา ต้องรู้จริง

ถ้ารู้จริงมาวางไว้ รู้จริงแล้ววางไว้ ยกขึ้นปฏิบัติ ปฏิบัติต้องให้ออกไปตามความเป็นจริง ไม่ใช่ออกไปตามกฎหมายไง เดินไปตามแง่ของกฎหมาย กฎหมายวางไว้ต้องหลบเลี่ยงกฎหมายให้เอาตัวรอดให้ได้ นี่มันทำได้เพราะจิต จิตไง ความคิดจินตนาการเป็นได้หมด ผ่านกายเห็นผ่าน ผ่านเห็นนะ มันจะเห็นรูปร่างแปลกๆ เห็นนิมิต ความเห็นใครๆ ก็เห็นได้ จิตสงบขึ้นไป นิมิตนี่เกิดขึ้นร้อยแปด จินตนาการได้หมดเลย ไปได้หมด แล้วลึกลับมาก มีความสุขมาก เห็นไหม เบี่ยงไป มีแง่กฎหมายให้เกาะไป เบี่ยงไป ลอยไป ลอยออกไป

นั่นน่ะว่าเป็นความจริง อันนั้นก็ว่าง ว่างหมด จิตนี่ว่างพ้นจากกาม...พ้น พ้นเพราะอยู่ในสมาธิ พ้น ความว่าง ออกมาก็เป็นอีก ถ้าออกมาแล้วก็ยังกดไว้ เพราะว่าจิตตั้งมั่นไง จิตตั้งมั่นเพราะเรากำหนดพุทโธเข้าไป พุทโธเข้าไป หรือเขากำหนดให้ไปตามของเขานั้นล่ะมันจะว่าง มันจะว่างได้ ว่างด้วยความว่า ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นปัดเข้าไปอยู่ใต้พรมหมด ไม่ได้ทำลาย ไม่ได้ชะล้างอะไรเลย เพราะมันไม่ใช่มรรคอริยสัจจังไง เป็นมรรคก็มรรคหยาบๆ ไม่ยกขึ้นโลกุตตระไง มันเป็นโลกียะอยู่ตลอดไป

อันนั้นก็แนวทางปฏิบัติหนึ่ง ยังมีแนวทางอย่างเซน เห็นไหม สัมโภคกาย ธรรมกาย นิรมานกาย กาย ๓ เห็นไหม การปฏิบัติแบบเซน

“ธรรมและวินัยจะเป็นศาสดาของเธอ”

แต่นี่ธรรม ไม่เอาวินัยไง ไม่เอากรอบ เอาแต่ธรรม เห็นไหม ว่างหมด ทุกอย่างเป็นว่างหมด ทุกข์ เข้าถึงธรรมได้หมด จิตหนึ่งอยู่ในสัตว์ จิตหนึ่งอยู่ในมด จิตหนึ่งอยู่ในเรา จิตหนึ่งอยู่หมด จิตหนึ่งอยู่ในสรรพสิ่ง

ถ้าเป็นรุ่นปฏิบัติรุ่นแรกมาได้อยู่ เพราะมรรคอริยสัจจัง มรรคสามารถทำให้ดำเนินเข้าถึงได้นะ แต่พอปฏิบัติมานี่ให้ว่าง ให้ว่าง ความว่าให้ว่างมันให้ว่างในแนวทางไหนล่ะ ให้ปล่อยวาง ให้ว่าง ไม่ให้เป็นขี้ข้าของสรรพสิ่งทั้งหลาย สรรพสิ่งทั้งหลายมีอยู่ ธรรมมีอยู่ทั่วไป...จริงอยู่มีอยู่ทั่วไป แต่เข้าได้อย่างไร

ถ้าพูดถึงเราจะตามปฏิบัติแบบเซน เห็นด้วยนะ เราเห็นด้วยกับการปฏิบัติแบบเซน เพราะมันเป็นธรรมเข้าถึงธรรมแต่ในรุ่นแรกๆ...รุ่นหลังๆ วิเคราะห์เข้าไปแล้ววิเคราะห์เข้าไปไม่ถึงไง เซนนี้เป็นธรรมจับธรรม เอาธรรมเข้าไป ไม่เอาวินัยไง ไม่เอาวินัยถึงได้เละมาอย่างนี้ไง ปล่อยมา เอาแต่ธรรมเข้าไป อาจริยวาทเหมือนกัน เชื่อตามครูบาอาจารย์เข้าไปไง เชื่อตามครูบาอาจารย์เข้าไป ครูบาอาจารย์สอนอย่างไรทำอย่างนั้น แล้วปล่อยมา เอาเป็นธรรมจับธรรม

แต่เขาลืมไปไง ในพระไตรปิฎก เพราะว่าเซนนี้เอาพระกัสสปะเป็นเจ้าเป็นต้นสาย พระกัสสปะอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “กัสสปะเอย เธอก็อายุ ๘๐ เท่าเรา ทำไมไม่ยอมรับกิจนิมนต์บ้าง” ใช้คหบดีจีวรไง พระกัสสปะถือธุดงค์ ๑๓ ทุกข้อ เป็นเอตทัคคะในธุดงค์ ในธุดงควัตร พระกัสสปะนี้เป็นผู้ที่เคร่งครัดมาก นี่ผู้ที่เคร่งครัดมากอยู่ในกฎ อยู่ในธุดงค์ มันก็อยู่เหนือศีล ศีลในศีลคือธุดงควัตร จนพระพุทธเจ้าขอแลกสังฆาฏิ ผ้าสังฆาฏิปะถึง ๗ ชั้น แล้วไม่เคยไปฉันบ้านใคร ไม่เคยรับกิจนิมนต์ใดๆ ทั้งสิ้น บิณฑบาตตลอด

“กัสสปะเอย เธอก็เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา ทำไมเธอเห็นผลประโยชน์อะไรถึงการทำอย่างนั้น”

“ข้าพระพุทธเจ้าเห็นแก่อนุชนรุ่นหลัง”

อนุชนรุ่นหลัง รุ่นสุดท้ายต่อไป รุ่นหลังนี่จะได้เอาพระกัสสปะนี้เป็นแบบ เป็นอย่าง เป็นเครื่องดำเนินว่าธุดงควัตรพระกัสสปะยึดถือมาแล้ว แม้แต่เป็นพระอรหันต์แล้วก็อยู่ในกรอบของธุดงควัตรอยู่ ขนาดพระพุทธเจ้าทรงแลกผ้านะ เปลี่ยนผ้าให้เลย นั้นน่ะ พระกัสสปะอยู่ในกรอบในเขต

แต่ทำไมว่าไม่รักษาธรรมและวินัยล่ะ เอาธรรมล้วนๆ ไง นี่ถ้ายกขึ้นไปต้นสาย ว่าเอาต้นสายก็ต้องเอาให้ครบสิ ว่าต้นสายคือพระกัสสปะเป็นต้นสายของฝ่ายเซน พระกัสสปะแน่ พระกัสสปะเยี่ยม ยอดเยี่ยม เพราะพระพุทธเจ้ายังเคารพ พระพุทธเจ้ายังยอมรับ เปลี่ยนผ้าไตร เปลี่ยนผ้าสังฆาฏิให้ นี่เคร่งครัดขนาดนั้นอยู่ในธรรมและวินัย อยู่ในวินัยด้วยอยู่ในธรรมด้วย เพราะอยู่ในธรรมและอยู่ในวินัย การอยู่ในธรรมและวินัย มันมีหยาบกับละเอียด วินัยมันครอบได้แต่ร่างกาย วินัยนี่ครอบได้แต่ร่างกาย ร่างกายนี้ทำความผิดเป็นอาบัติ

แต่ธรรมในหัวใจนั่นน่ะ ธรรมในหัวใจที่จะประพฤติปฏิบัติเข้าไปหา อันนั้นถ้ามีวินัย ขนาดเข้มแข็งขนาดนั้นต้องเข้าถึงได้ แต่ในรุ่นหลังมา หลังมา หลังมานี่ไง...ว่าง ว่างหมด สุญญตา ทุกอย่างเป็นความว่าง เราอยู่เฉยๆ นอนหลับมันก็ว่าง ไม่ต้องทำอะไรมันก็ว่าง แต่ใจมันว่างไหมล่ะ เวลาใจมันว่างมันก็ว่าง ถ้าใจว่างนะ สมาธิมันก็ว่าง แต่ความว่างอันนั้นมันว่างก่อน มันว่างแล้วเราไปว่าว่างนี้เป็นผลไง

มรรคอริยสัจจัง เห็นไหม สัมมาสมาธิอยู่ที่ไหน สัมมาสมาธิไง แล้วงานชอบ ชอบในอะไร ชอบกำจัดกิเลส หรือว่าชอบว่างให้พญามารมันหัวเราะเอา...นี่มันเป็นการเข้าถึง ความว่างอันนั้นน่ะมันก็ว่าแสงสว่างคืออวิชชา ความว่างไง ถ้าเข้าไปถึงว่าง แสงสว่างใจมันสงบขึ้นไปมันเจอแสงสว่างขึ้นภายในใจของมัน มันก็เป็นความว่าง แต่ความว่าง ในว่างในว่างน่ะ มันต้องอาศัยความว่างใช่ไหม พออาศัยความว่าง มันถึงว่าเราถึงมีพื้นที่เริ่มจะยกขึ้นวิปัสสนา ถ้าไม่อาศัยความว่างในหัวใจ คือใจยังคิดในโลกียะอยู่ ยังฟุ้งซ่านอยู่ เราจะยกขึ้นวิปัสสนาได้อย่างไร

...มันต้องตรึกให้เป็นโศลก ให้เป็นความคิดไง ให้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ให้เป็นปัญญาอบรมสมาธิใช่ไหม ให้ดูธรรมชาติ สรรพสิ่งนี้เป็นธรรมชาติ เพ่งพินิจธรรมชาติทั้งหมด ธรรมชาตินี้มันแปรปรวนไป ธรรมชาตินี้มันเป็นสมมุติ เห็นไหม ลมพัดไปพัดมามันเป็นกฎตายตัวว่าความร้อนผ่านมาอากาศลอยขึ้น ลมจะพัดมันเข้ามาแทนที่อากาศเข้ามาเป็นลม นี่คือธรรมชาติ ธรรมชาติ เห็นไหม

ธรรมตามความเป็นจริง ธรรมมันเหนือธรรมชาติไง ธรรมคือผู้ที่ไปรู้ว่าลมพัด รู้ทฤษฎีของลมพัดใช่ไหม อากาศร้อนลอยตัวขึ้น อากาศข้างล่างเลื่อนตัวมา อันนี้คือลมใช่ไหม นี่คือกฎของธรรมชาติ แล้วธรรมชาติมันเป็นอะไร ลมมันมีความว่างในตัวมันเองไหม มันรู้ไหม ใครรู้ว่าลม เรารู้ใช่ไหม

เห็นไหม ธรรมที่จะเกิดขึ้นจากธรรมชาติไง สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายต้องแปรสภาพไปทั้งหมด ความรู้นี้ก็แปรสภาพไปทั้งหมด ความเห็นก็แปรสภาพไปทั้งหมด ความรู้นี่ไง รู้ด้วยอะไร? รู้ด้วยญาณ ญาณอะไร? ญาณในกะปิน้ำปลาเหรอ ญาณของลิ้นไง ความรู้ของลิ้นรู้รสเค็มรสหวาน เห็นไหม ญาณในน้ำตาล ญาณในน้ำปลา รู้รสเค็มรสหวาน พระพุทธเจ้าสอนอย่างนั้นเหรอ

จิตความสงบไง จกฺขุ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ความว่างอันนี้เกิดเยี่ยม จกฺขุ อุทปาทิ ดวงตาของธรรมเกิดแล้ว ดวงตาไง พอจิตนี้ว่าง ความกำหนดพุทโธ พุทโธ เข้าไป เห็นไหม กำหนดพุทโธ พุทโธ เรากำหนดพุทโธ พุทโธ หลวงปู่มั่นเป็นผู้ที่ว่าขุดค้นขึ้นมา หลวงปู่มั่นเอาออกมาจากธรรมวินัยไง ธรรมวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้วนะ

ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ในพระไตรปิฎก แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะให้ตรงตามความเป็นจริงไง “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ใช่ผู้ใดปฏิบัติธรรม เอาธรรมะของพระพุทธเจ้านี้มาตีเข้าความเห็นของตัวเองไง ผู้ที่ปฏิบัติอย่างนั้นมันเป็นการคาดหมายใช่ไหม เข้าใจว่า ความเห็นของเราเป็นเหมือนกับในพระไตรปิฎก เห็นไหม ก็เอาความหมายของธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามายกความเห็นของตนให้ถูกต้อง

แต่องค์หลวงปู่มั่น ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เห็นไหม สมควรแก่ธรรม จิตสงบแล้วยกขึ้นวิปัสสนา จิตนี้สงบ ก่อนจะจิตสงบนี่เป็นโลกียชนทั้งนั้น แต่พยายามจะออก แสวงหาทางออก ให้เข้าถึงธรรมแท้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ใฝ่ธรรม เป็นผู้ที่เห็นโทษของการเกิดและการตายแบบเจ้าชายสิทธัตถะที่ออกมาจากราชวังมาเห็นการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย แล้วเศร้าสลดใจว่า มันต้องมีฝ่ายตรงข้ามว่าไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย จนอุตส่าห์พยายาม ๖ ปี ค้นคว้าอยู่นะ จนเห็นออกมาอาสวักขยญาณชำระกิเลสได้จริงตามในนั้น หัวใจนี่หมด วิมุตติสุขเสวยอยู่เต็มที่เลย แล้ววางธรรมไว้ไง

“อานนท์ อย่าถามให้ช้าไปเลย ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ พระอรหันต์จะไม่สิ้นจากโลกเลย”

ไม่มีกาล ไม่มีเวลา พ้นจาก ๕,๐๐๐ ปีไป พระศรีอริยเมตไตรยก็ยังมาตรัสรู้เป็นองค์ต่อไป เห็นไหม ธรรมถึงได้ไม่มีกาล ไม่มีเวลา

แต่เราจะเรียนลัดกัน จะหาทางเข้าให้มันถึงได้เร็วไง เชื่อในการประพฤติปฏิบัติในแนวทางต่างๆ แต่ไม่เชื่อในธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติไปไม่สมควรแก่ธรรมก็ว่าจะเป็นการสมควรแก่ธรรมไง สมควรแก่ธรรมเพราะอยากจะให้ความเห็นของตัวนั้นถูกต้องไง

ความเห็น ความจริง ต่างกันไหม ความจริงที่มันต้องเกิดขึ้นจริงจากหัวใจของเรา หัวใจเป็นผู้สัมผัสธรรม เห็นไหม มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ใจนี้ถึงก่อน ใจนี้ทุกข์ก่อน ใจนี้เกิดก่อน ใจนี้ปฏิสนธิในครรภ์ของมารดาถึงได้ออกมาเป็นมนุษย์นั่งอยู่นี่ไง แล้วยังออกมาเป็นนักบวช ออกมาเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติ มันต้องปฏิบัติให้เข้าถึงแก่นธรรมสิ แก่นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ แล้วหลวงปู่มั่นเป็นผู้นำเป็นองค์แรก เพราะว่ามันเป็นแผนที่ดำเนิน ใครอ่านแผ่นที่มันต้องศึกษาก่อนว่าเรามีภูมิขนาดไหนที่จะอ่านพิกัดออกก่อน

เห็นไหม อ่านแผนที่ก็แสนยาก เพราะแผนที่นี่ กับความจริง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ...ปริยัติ เห็นไหม อ่านก็ยังอ่านไม่รู้เรื่อง แผนที่ยังอ่านไม่ออก แล้วพิกัดจะเอามาจากไหน

องค์หลวงปู่มั่นทุ่มทั้งชีวิต สร้างสมบารมีมาก่อนแล้ว แล้วยังมาทุ่มทั้งชีวิตประพฤติปฏิบัติหลุดพ้นออกไป เผาแล้วกลายเป็นพระธาตุ ประกันด้วยความถูกต้อง นั่นน่ะ ประกันด้วยความถูกต้องบอกว่าต้องทำให้จิตสงบ

ถ้าการทำจิตให้สงบนี้มันก็มี ๒ แนวทาง เป็นปัญญาอบรมสมาธิหมายถึงว่า ผู้ที่กำหนดพุทโธๆ เข้าไปแล้วมันเป็นไปไม่ได้ บางทีคนกำหนดพุทโธหรือคำบริกรรมเข้าไปให้จิตนี้เป็นความสงบ ทำได้ก็มี ทำไม่ได้ก็มี การทำไม่ได้นี่ทำไม่ได้แล้วมันไม่ใช่แนวทางของตัวไง มันไม่ใช่แนวทางของตัว ถึงต้องใช้การพิจารณาแบบเซนเขา

นี่ธรรมนำธรรม แต่มันต้องมีวินัยด้วย ต้องให้ธรรมแล้วเข้าถึงวินัยด้วย วินัยคือครอบควบคุมไว้ไง ไม่ใช่ว่าทำแล้วพิจารณาไปจนเตลิดเปิดเปิง เตลิดเปิดเปิงไปคือว่าพยายามคาดหมาย คาดหมายให้ว่าง ว่าง ว่าง ว่าง มันเป็นการคาดการหมาย มันไม่ใช่เป็นตามความเป็นจริง

“สุภัททะ เธออย่าถามให้ช้าไปเลย ในเมื่อมรรคอริยสัจจังนี้มันไม่รวมตัว ธรรมจักรไม่เคลื่อนไป มันจะชำระกิเลสตรงไหน” สุภัททะนี้ไม่ใช่คนไม่มีปัญญานะ เป็นนักปราชญ์ด้วย เป็นเจ้าลัทธิด้วย เป็นคนที่ถือตัวมากด้วย แต่ก็เอาตัวไม่รอด เห็นไหม วันนี้วันสุดท้ายถ้าไม่ถามพระพุทธเจ้า วันนี้ก็จะหมดโอกาสแล้ว ถึงได้ยอมละทิฏฐิเข้ามาถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ลัทธิศาสนาต่างๆ เขาสอน สอนว่าของเขานี้มีมรรคมีผล แล้วมีผลหมดเหมือนกัน”

พระพุทธเจ้าบอกว่า “ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล”

แต่นี่เราเป็นชาวพุทธ มรรคทั้งนั้น แต่มรรคโลกียะหรือมรรคโลกุตตระล่ะ มรรคโลกียะก็การประพฤติปฏิบัติแบบโลกๆ นี่ไง ศีลธรรมจริยธรรมมันก็เป็นความถูกต้อง เป็นความดีงาม ประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อจะให้เกิดให้ตายอีกหรือ ในเมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาที่ประเสริฐเลอเลิศเยี่ยมยอดที่สามารถชำระกิเลสได้จริงตามความเป็นจริง ทำไมเราไม่ชำระกิเลสไม่ให้ผ่านพ้นไปล่ะ เราจะไปก้าวเดิน เราปฏิบัติธรรมเพื่อจะเอาบุญกุศลเหรอ

ปฏิบัติธรรมมันจะข้ามพ้นจากบุญกุศลนะ ข้ามพ้นสิ บุญกุศลนี้ทำให้เราเกิดมาพบในพระพุทธศาสนา บุญกุศลนี้ทำให้เราได้มาประพฤติปฏิบัติ บุญกุศล เห็นไหม บุญกุศล บุญนี้เราข้ามพ้นจากบุญและบาปไป เราจะยกขึ้นให้ข้ามพ้นจากบุญและบาป เราก็ต้องว่า ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัติ เราก็ต้องว่าเราต้องเชื่อธรรมและวินัย แล้วธรรมและวินัยเราศึกษาได้ด้วยภูมิปัญญาของเราไม่ทัน เราก็ต้องเชื่อหลวงปู่มั่น เชื่อครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้ชำระกิเลสได้ตามความเป็นจริงแล้ว เห็นไหม นี่ถึงว่าบุคคล ๘ จำพวก

การจะยกขึ้นเป็นโสดาปัตติมรรค เป็นจำพวกที่ ๑ ต้องอาศัยให้จิตนี้สงบก่อน

บ่วงของมาร บ่วงของมารนี่ทำให้จิตนี้ฟุ้งซ่านออกไป ฟุ้งซ่านออกไปมันสงบบ้างชั่วคราว ความฟุ้งซ่านออกไป การประพฤติปฏิบัติก็จะเอา ๒ ต่อ ๓ ต่อ เห็นไหม จะเอาง่ายๆ จะเอาให้เป็นไปไง

การเกิดและการตายนี้มันสะสมหัวใจแก่นของกิเลส แก่นของกิเลสนี้ใครจะไปทำลายมันง่ายๆ เป็นไปได้อย่างไร แก่นของกิเลสนะ กิเลสนี้เหนียวแน่นที่สุด ไม่มีแก่นใดๆ เลย ไม่มีความแน่นหนาของสิ่งใดที่ว่ามันสะสมแล้วมันเกาะติดกับสิ่งนั้นโดยที่ว่าทำลายได้ยากเท่ากิเลส แม้จะเป็นเหล็กเป็นไหลเป็นอะไรที่เขาทำกัน เขาก็แก้ไขได้ มันมีเทคโนโลยีที่เอาออกได้

แต่หัวใจพร้อมกับที่ว่าเป็นเนื้อเดียวกับกิเลสนี่ มันเป็นเนื้อเดียวกัน เพราะมันเกิดมาด้วยกันน่ะ บุญกุศลก็สะสมลงไปที่ใจ อกุศลก็สะสมลงไปที่ใจ สิ่งที่สะสมนั้นไป เห็นไหม จกฺขุ อุทปาทิ ดวงตาของธรรมเปิด ดวงตาของธรรมเปิด นั่นความเห็นอันนี้ต่างหาก ต้องเป็นความเห็นอันนี้ ไม่ใช่ความเห็นของโลกียะไง มรรคของศีลธรรมจริยธรรม นี่ความเห็นของเรา ความเห็นของเรา เราเข้าข้างตัวเองตลอด ความเห็นของเรา เราเห็นว่าว่าง เราเห็นว่าหลุดพ้นไง เราเห็น เห็นไหม มันไม่ใช่ จกฺขุ อุทปาทิ

ดวงตาของธรรม จกฺขุไง เปิดดวงตาของธรรมเห็น เห็นในอริยสัจ ทุกข์นี้ควรกำหนด สมุทัยควรละ นิโรธเกิดขึ้นด้วยมรรคอริยสัจจัง นี่ดวงตาของธรรมเห็นอริยสัจ เห็นทุกข์ก่อน เห็นทุกข์เห็นอย่างไร เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม เพราะกาย เวทนา จิต ธรรมนี้ กับกายกับใจมันยึดมั่นถือมั่นกันอยู่ไง เพราะมีกาย มีเวทนา มีจิต มีธรรม มันยึดมั่นมันถึงความคิดพุ่งออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ ของโลก เห็นไหม

เราแบกไว้ทั้งหมดอย่างนี้ ทั้งโทมนัส ทั้งโสมนัส เห็นไหม ทั้งทุกข์ในกาย ทั้งทุกข์ในใจ ทั้งการติด ตัณหาความทะยานอยากทุกอย่างอยู่ที่ใจทั้งหมด มันติดอยู่ที่ใจ ใจนี้มันติดอยู่ แล้วจะเอาอะไรไปชำระล้างมัน ความเห็นก็คือความเห็น ถ้าเห็นออกไปก็ใจนี้พาเห็น มารพาเห็น มารอยู่ข้างหลัง มารอยู่ใต้ความคิด มารพาเห็น มารพารู้ มารพาหลบหลีก ว่าความว่างไง ความว่างเห็นกาย

เห็นกายโดย จกฺขุ อุทปาทิ ดวงตาของธรรมเปิด ญาณํ อุทปาทิ...รู้ รู้ในอะไร ญาณน่ะรู้ รู้อะไร ญาณํ อุทปาทิ ญาณํ ญาณรู้ มันจะรู้การพ้นทุกข์ไง รู้ว่าจะพ้นจากทุกข์เพราะเปิดแล้วญาณรู้ ไม่ใช่ญาณลิฟต์ ญาณลิฟต์ยกขึ้นอยู่ในลิฟต์ ลิฟต์ยกขึ้นไปเหรอ ไอ้ญาณอย่างนั้นมันญาณไป

การเข้าถึงด้วยเข้าอย่างนั้นมันเข้าได้อย่างไร? เข้าอย่างว่านี้มันเข้าแบบสมมุติไง เข้าถึงธรรมกาย เข้าถึงกายใน เข้าถึง เข้าถึง...เอาอะไรไปเข้า ถ้าไม่เอาปัญญาเข้า จกฺขุ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ เห็นไหม

มีญาณเกิดขึ้นถึงมีปัญญา ปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาใคร่ครวญสิ พอจิตมันยกขึ้นเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม กายกับใจ เห็นใจนี่ ใจนี้เป็นขันธ์ เพราะขันธ์นี้มันคลุมใจอยู่ ถ้าเห็นกาย กายก็คืออวัยวะต่างๆ หรือว่ากะโหลกหรือว่าสิ่งใดในอวัยวะ ๓๒ ของเรานี่ แต่มันเห็นด้วยตาใน จกฺขุ อุทปาทิเปิดขึ้นจะเห็นกาย ถ้าจกฺขุไม่เปิดขึ้น ตาธรรมไม่เกิดขึ้น ไม่เห็นกายด้วยตาธรรม มันเห็นด้วย สมมุติไง ถ้าเห็นด้วยสมมุติมันเป็นโลกียะกับโลกุตตระ

ถ้าเป็นโลกุตตระ โลกุตตระต้อง จกฺขุ อุทปาทิ ญาณํ รู้ จกฺขุ คือว่าเห็นกาย รู้กาย รู้แล้ว ญาณเกิดขึ้น ญาณรู้ว่า อ๋อ! นี่กาย กายนี้เป็นกายในอย่างนี้เอง เขาว่ากายๆ อ๋อ!...ไอ้กายข้างนอกใครๆ ก็เห็น เกิดมามันก็เห็น เพราะเราตาก็คือตาเรา มันก้มลงมันก็เห็นตัวแล้ว จกฺขุ อุทปาทิ เห็นไหม นี่ตาในถึงจะเปิดเห็นกาย นี่รู้ ปัญญาไง ปญฺญา อุทปาทิ เพราะมันเห็นแล้วมันรู้แล้ว ปัญญาต้องใคร่ครวญสิ มันเป็นเราหรือ ถ้าเป็นเราทำไมเราบังคับไม่ได้...แปรสภาพทันที แปรสภาพทันที เพราะอยู่ข้างใน นี่ จกฺขุ อุทปาทิ พื้นที่ของใจ ภวาสวะพื้นที่ของใจเปิด เปิดให้มีการต่อสู้ นี่มรรคมันจะเกิดตรงนั้น ความละเอียดอ่อนของภายใน มรรคข้างใน โลกุตตรมรรค ไม่ใช่โลกียะ มันโลกุตตรมรรคไง มรรคของโลกุตตระจะพ้นจากโลก มรรคอันนี้จะทำให้พ้นจากโลก

มรรคอริยสัจจัง ความเห็นชอบ ความดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ สมาธิชอบ สมาธิชอบ นี่ ปัญญาเกิด ปัญญาก็ต้องใคร่ครวญตามความเป็นจริงสิ ใคร่ครวญตามความเป็นจริง ปัญญาใคร่ครวญตามความเป็นจริง

วิชชาเกิดขึ้น อวิชชามันคลุมอยู่ใช่ไหม อวิชชาคือความไม่รู้ มันหลง มันหลงอยู่ จกฺขุ อุทปาทิ เปิดแล้วก็จริงอยู่ เห็นไหม ดวงตาเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น รู้ รู้ในกาย เห็นกายรู้กาย ปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาใคร่ครวญ ใคร่ครวญเห็นตามความเป็นจริงไง จนเห็นตามความเป็นจริง เห็นไหม มันเกิดๆ ดับๆ มันไม่ใช่เรา จิตกับกายมันไม่ใช่อันเดียวกัน มันแยกออกจากกัน แต่มันอาศัยกันอยู่

มันเกิดมาเพราะภวาสวะ เราเกิดมา ภวาสวะ เห็นไหม ภพมันเกิดขึ้น อวิชชามันเข้ากันได้อยู่ เพราะภวาสวะ อวิชชาสวะเข้ากันได้ การเกิดของเรา กายกับใจเกิดขึ้นมา ปฏิสนธิขึ้นมา มันเป็นภพของมนุษย์ไง มันถึงมีกายกับใจ ใจเกิดขึ้นอยู่ในครรภ์ของมารดา เกิดมาเป็นมนุษย์เป็นเรา กายกับใจถึงว่าเป็นเนื้อเดียวกัน เหมือนกับเป็นอันเดียวกัน อวิชชามันผูกมัดมาด้วยพร้อมกัน

ความเห็นของเราก็ว่าเรา สมบัติทุกอย่างเกิดขึ้นก็ว่าเป็นของเรา ทุกอย่างเป็นเรา เรามีหมด เรามีสิทธิในการเป็นมนุษย์ เรามีสิทธิในแง่กฎหมาย เรามีสิทธิในสวัสดิการ เรามีสิทธิทุกอย่าง เรา เรา เพราะมีเรา เราตายไปสิทธิมันอยู่นั่นน่ะ เราไปไหน เพราะมันเกิดแล้วมันเป็นเรา มันยึดว่าเป็นเรา แต่ถ้าปัญญาเห็นตามความเป็นจริง จิตกับกายมันแยกออกจากกันได้

นี่วิชชา วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ถ้าวิชชามันเกิดขึ้นมันก็ปล่อยสิ พอมันปล่อย เห็นไหม อาโลโก นี่ความว่าง มันว่างด้วยมรรค ว่างด้วยมรรคภายใน มันไม่ใช่ว่างว่า เรากำหนดเข้าไปแล้วว่าง เข้าไปแล้วว่าง ว่างด้วยลิฟต์ ลิฟต์มันทะลุขึ้นไปบนฟ้า ทะลุออกไปจากตึกแล้วให้มันว่างอย่างนั้นเหรอ การเข้าแบบนั้นหรือว่าง

ว่างมันต้องมีเหตุมีผลสิ เหตุผลว่าเราก้าวเดินออกไปตามหลวงปู่มั่นวางไว้ไง หลวงปู่มั่นสอนมา หลวงปูมั่นบอกมาให้ทำเข้ากันมาอย่างนี้ นี่มรรคจริงไง บุคคล ๘ จำพวก นี่โสดาปัตติมรรค บุรุษบุคคลพวกที่ ๑ บังเกิดขึ้น นี่รู้ตามถึงปล่อยว่าง อาโลโก อุทปาทิ ก็เกิดขึ้น “สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับไปทั้งหมด” ร่างกายเกิดขึ้นมาพร้อมกับจิตต้องตายทั้งหมด แต่เดี๋ยวนี้มันรู้เท่าทันแล้วมันหลุดเลย มันไม่ใช่ว่าเวลาตายถึงจะเห็น มันหลุดเดี๋ยวนั้น มันดับเดี๋ยวนั้น มันขาดเดี๋ยวนั้น

พอมันขาดเดี๋ยวนั้น เห็นไหม นี่มรรคสามัคคี สามัคคีไป มันก็ครบรอบสิ จกฺขุ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ ครบรอบ ครบรอบ ครบรอบ ๓ รอบ พระพุทธเจ้าถึงปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์

“ปัญจวัคคีย์เราไม่เคยพูดเลย เราไม่เคยพูดเลย ฟัง จงฟัง บัดนี้กิจ ๑๒ อย่างนี้เราทำครบหมดแล้ว”

มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นี้เกิดขึ้นตามความเป็นจริงไง

มันต้องก้าวเดินออกไป จิตนี้ต้องก้าวเดินออกไปจากมรรค ก้าวเดินขึ้นไปตามความเป็นจริงถึงจะเห็น นี่บุคคลที่ ๑ บุคคลที่ ๒ พ้นไป ขึ้นไปบุคคลที่ ๓ คน สกิทาคามิมรรคก็ต้องเดินมรรคอีก ต้องสร้างขึ้นไปอีก เดินมรรคอีก หากาย เวทนา จิต ธรรมอีก มันเป็นถึง ๘ จำพวก บุคคล ๘ จำพวก

เกิดจากผู้ที่ปฏิบัติไง เราคนเดียวนี่แหละมันยกวุฒิภาวะของใจ ภูมิของใจมันยกขึ้นสูงขึ้นไปเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไป เห็นไหม นี่ภูมิของใจ ใจยกขึ้นไปๆ จนมันพ้นออกไป

ใจ เห็นไหม ขนาดว่าเป็นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ก็เป็นภูมิหนึ่ง เป็นสกิทาคามิมรรคก็เป็นภูมิหนึ่ง ภูมินี้มันยกขึ้นได้ ใจนี้มันยกขึ้นได้ บุคคล ๘ จำพวก ไม่ใช่บุคคล ๘ จำพวก ๘ คนมานั่งด้วยกัน คนเดียวนั่นแหละแต่อยู่ตรงไหน ถ้ามันยังยกขึ้นไม่ได้มันไม่ใช่บุคคลเลย ไม่ใช่บุคคลใน ๘ จำพวกนี้ เป็นคนเฉยๆ เป็นคน เป็นนักปฏิบัติที่ยังไม่ก้าวขึ้น ถ้าก้าวขึ้นต้องเห็นตรงนั้นสิ

เราจะเป็นคนคนไหน ในสังฆคุณ เราพูดถึงบุคคล ๘ จำพวก เป็นเนื้อนาบุญของโลก เป็นที่พึ่งที่อาศัยของเรา ถ้าเราเข้าไปถึงตรงนั้น นี่สงฆ์เกิดขึ้นในใจ บวชใจไง ใจนี้เป็นสงฆ์ขึ้นมาจากนักปฏิบัติ จากที่ว่าเป็นปุถุชนนี่แหละยกขึ้นได้ ยกขึ้นโดยการที่ว่า เราเกิดในพุทธศาสนา นี่ถึงการประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง นี่เดินมรรคมันเดินอย่างนั้น บุคคล ๘ จำพวก เกิดขึ้นจากการเราก้าวเดินจากโลกียะก่อน มันต้องมีโลกียะแล้วมันยกขึ้นเป็นโลกุตตระ

แต่ถ้าเราเดินโลกียะแล้วเราเดินแบบนักกฎหมายไป เราไม่ได้ยกขึ้นโลกุตตระเลย โลกุตตระ เห็นไหม จกฺขุ อุทปาทิ...จกฺขุนี่ดวงตาของธรรมเกิดขึ้น ดวงตาของธรรม แล้วมันจะก้าวเดินไปทะลุออกไปได้ ก้าวเดินไปตามความเป็นจริงไง ก้าวเดินไปจากการก้าวเดินของใจ ใจนี้ก้าวเดินออกจากฐาน จากเริ่มต้น จากการขยับตัวออกไป เห็นไหม

จากปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลสนะ แล้วพอชำระกิเลสออกไป บางออกไป บางออกไป บางออกไป วุฒิภาวะของใจก็ยกขึ้น เห็นไหม กายขาดออกไป ใจแยกออกไป เก้อๆ เขินๆ นะ สังโยชน์ ๓ ตัวขาดทันที ในเมื่อ อาโลโก อุทปาทิ ว่างหมด ว่าง ไม่ใช่ว่างแบบสมถะ ถ้าว่างแบบสมถะ มันว่าง ว่าง ว่างนะ ว่างแล้วมันมีเราอยู่ สักแต่ว่า ลึกขนาดไหนนะ อัปปนาสมาธิก็เหมือนกัน อัปปนาสมาธิว่างจนถึงฐีติจิตเลย จนสว่างไสว นั่นมันก็สว่างไสวด้วยพร้อมกับอวิชชาซ่อนอยู่ใต้ตัว

แต่นี้วิชชาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้นแล้ว อาโลโก อุทปาทิ ตามมา เห็นไหม พอมันว่างอันนี้มันว่างแบบไม่มีอะไรเลย แต่รู้อยู่ สักแต่ว่ารู้ ว่าง มีความสุขมาก ลอยไป ออกมาแล้วจะเดินไปไหนเหมือนกับลอย ลอยไป ลอยไป เหมือนไม่ได้ก้าวเดิน ตัวเบาไปหมดเลย เพราะว่ามันชำระกิเลสออกไป สังโยชน์ ๓ ตัว

เห็นไหม พิจารณาโดยก้าวเดินเป็นบุคคลที่ ๒ ด้วยการสร้างมรรคขึ้นมา จกฺขุ อุทปาทิเกิดอีก เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม จกฺขุ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ญาณที่ ๒ เกิดขึ้น ไม่ใช่ญาณที่ ๑ นะ ญาณที่ ๒ เกิดขึ้น ปญฺญา อุทปาทิ ปัญญาต้องใคร่ครวญ ปัญญาใคร่ครวญหรือเปล่า วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ โลกนี้ราบเป็นหน้ากลองเลย โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง นี่ภูมิของใจยกขึ้นไป

จากที่ว่าสังโยชน์ ๓ ตัวขาดไป เก้อๆ เขินๆ นะ คราวนี้หลุดหมด หลุดออกไปเลย กายกับใจแยกขาดออกจากกัน กายเป็นกาย จิตเป็นจิต จิตนี้เป็นเอกเทศเลย จิตนี้ไม่มีร่างกายเข้ามาเกาะเกี่ยวอีกแล้ว จิตนี้เป็นจิต จิตนี้อยู่ล้วนๆ เลย โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง ราบไปหมดเพราะอะไร เพราะเหมือนกับต้นไม้ สิ่งที่ปลูกบนแผ่นดินกับแผ่นดินคือกายกับใจมันจะสลัดออกจากกัน แผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินธรรมดา แผ่นดินล้วนๆ ราบเป็นหน้ากลอง ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ ไม่มีตุ่ม ไม่มีอะไรอยู่บนแผ่นดินนั้นเลย ใจมันสลัดร่างกายออกไป สลัดออกจากกันโดยอิสรเสรี นี่บุคคลจำพวกที่ ๔ บุคคลจำพวกที่ ๕ ไง

จิตออกไปแล้ว จิตถึงจะหลุดพ้นออกไป ออกไปดูจิต แต่จิตนั้นยังต้องไปเกิดในกามราคะต่อไป จิตนี้ยังต้องตายต้องเกิด ถ้าจิตนี้ตายที่ว่าไม่ได้ปฏิบัติต่อไป ตายไปก็ยังเกิดในกามภพอีก ไปเกิดเป็นเทวดาไง ถึงเป็นเทวดาก็เป็นเทวดาพระอริยเจ้า

แต่ถ้าการพิจารณากามราคะ พิจารณากามราคะ พิจารณาจิต เห็นไหม กามราคะอยู่ทั้งจิต ทีนี้จิตมันเป็นจิต หัวใจไง ใจที่มันเป็นอสุภะ อสุภัง อสุภะมันต้องยกขึ้นกาย กายในใช่ไหม กายของจิต เพราะกายของจิตมันเห็นตัวเองข้างในนี้เป็นความโสโครก ร่างกายนี้เป็นสิ่งที่โสโครก โสโครก เพราะว่ากามมันติด มันติดระหว่างหญิงกับชาย ติดระหว่างผิวหนังนี้แบ่งแยกเพศไง มันติดกันที่แบ่งแยกเพศ

แต่สมมุติเราเป็นเพศนักบวช เป็นพระ แต่ใจมันไม่ได้เป็น มันห่มผ้าเหลืองก็ห่มที่ตัวใช่ไหม โกนหัวก็โกนของเราใช่ไหม แต่กิเลสมันไม่ได้โกนหัวด้วย มันไม่ได้ห่มผ้าเหลืองด้วย มันก็เป็นกามราคะอยู่ในใจนั้นน่ะ พิจารณาใจตรงนั้น พิจารณาเป็นอสุภะ ตอนนี้อสุภะมันเป็นตัวมันเอง เราพิจารณาอย่างไร? ก็พิจารณาเป็นกาย พิจารณากายหรือพิจารณาจิต จิตก็เหมือนกัน นี่ชุ่มด้วยกาม เห็นไหม ทำลายตรงนั้น

จกฺขุ อุทปาทิ ต้องเห็น จกฺขุ เกิดขึ้น ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก หลุดออกไป จกฺขุ เกิดขึ้น เห็นไหม เกิดขึ้นหมายถึงว่าจับได้ตามความเป็นจริงนะ ถ้าจับไม่ได้มันยกขึ้นวิปัสสนาไม่ได้ มรรคมันไม่เดินตัวไป...ต้องจับได้ จับได้ จับได้ พอจับได้พิจารณาออกไป มันถึงมีจกฺขุ ถ้า จกฺขุ จับไม่ได้ จักรถึงไม่เปิด เพราะมันเปิดได้อย่างไร ตาของธรรม ไม่ใช่ตาโลก

จกฺขุ อุทปาทิ หมายถึงว่า จับต้องกายหรือใจได้ พอจับได้ จับได้ก็พิจารณาไป ญาณเกิดขึ้น พอจับได้ ความจับได้มันจะตื่นเต้นมาก ตื่นเต้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น อาโลโก อุทปาทิ ความว่าง ความหลุดพ้นเกิดขึ้นไง นี่หลุดออกไป ไม่เกิดในกามภพ ในกามภพหลุดออกไป หลุดออกไปเลย สังโยชน์ ๕ ตัวขาดออกไป ขาดออกไปแล้ว ภูมิของใจยกขึ้นไป นี่บุคคล ๘ จำพวก ด้วยการปฏิบัติมรรคอริยสัจจัง จากการประพฤติปฏิบัติในธรรมและวินัยไง

ในธรรมและวินัยที่ว่า “สุภัททะ ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล”

มรรคคือเราเดินมรรคใน ๘ จำพวกนี้ ในบุคคล ๘ จำพวก ในสังฆคุณของเรา ในสังฆคุณที่เราสวดมนต์อยู่ประจำนี้ เราเชื่อในธรรมวินัย เชื่อในสังฆคุณที่เรากล่าวสวดอยู่ตลอดเวลา เห็นไหม ยกขึ้นข้างบน ยกขึ้นอีกที่หนึ่งเลยล่ะ บุคคล ๘ จำพวก มันต้องให้ครบ ๘ จำพวก มันถึงว่าเป็นศาสนาของเราจริงไง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในพุทธศาสนา ในศาสนาที่ประเสริฐนี้ไง

จกฺขุ อุทปาทิ เปิดอีก เห็นไหม มรรคเดินมรรค เดินมรรคที่ ๗ ไง มรรคที่ ๗ บุคคลที่ ๗ อรหัตตมรรค ถ้าเดินมรรคที่ ๗ ได้ จกฺขุ อุทปาทิ เปิดขึ้น อันนี้มันเปิดยาก เปิดลำบาก เพราะมันสูงส่งมาก แต่ก็ต้องเปิดได้ เปิดได้เพราะอะไร เพราะมันเป็นเป้าหมาย เป้าหมายคือพระนิพพาน ในศาสนาพุทธของเรา ในศาสนาพุทธของชาวพุทธของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ

จกฺขุ อุทปาทิ เกิดขึ้น ญาณํ เกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น เห็นไหม รู้ว่าวิชชา อวิชชาไง อาโลโก อุทปาทิ หลุดออกไปคราวนี้นะ พระพุทธเจ้าถึงปฏิญาณไงว่าวงรอบของธรรมจักรนี้ วงรอบของมรรคอริยสัจจังนี้ “สุภัททะ เธออย่าถามให้เนิ่นช้าไปเลย สุภัททะ ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล” มรรคคือต้องเป็นมรรคใน อาโลโก อุทปาทิ อันนี้ มรรคตามความเป็นจริง เห็นไหม ไม่มีกาลไม่มีเวลา เป็นธรรม ธรรมจริงๆ ธรรมซ้อนธรรมอยู่ไง

ธรรมของโลก ธรรมในศีลธรรม ในการประพฤติปฏิบัติ อันนั้นมาสอน พอสอนก็วางแนวทางไว้เราก็เชื่อ เราก็ทำไป เราทำตามเขาไป เราต้องการสิ่งที่ง่าย สิ่งที่จับต้องได้ สิ่งที่เป็นวัตถุไง สิ่งที่คืบคลานเข้าไปได้ แต่เวลามรรคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำไมเราทำไม่ได้ ทำให้ได้สิ เพราะมันสูงส่งไง มันสูงส่ง มันมีจริง มันมีจริงเราต้องเคลื่อนใจเข้าไปสัมผัสเอง เคลื่อนใจเข้าไปในมรรค เคลื่อนใจจนมรรคนี้ภาวนามยปัญญามันเคลื่อนออกไป ความเคลื่อนออกไปมันถึงกลับมาเชือดเฉือนกิเลสได้

แต่นี้มันไม่ได้เคลื่อนออกไป กิเลสกับใจอยู่กับความคิด ทั้งพญามารเคลื่อนไปพร้อมกัน คือมีเราไปตลอด มีโลกียะ มีปุถุชน มีความเห็นของเราบวกเข้าไปตลอด มันถึงไม่เป็นกลางใช่ไหม มันจะเป็นกลางได้ต่อเมื่อมันเป็นโลกุตตระ โลกุตตระเหมือนธรรมพ้นออกจากโลก โลกุตตระนี้มันพ้นออกจากโลก เพราะเราจะยุบยอบตัวออกไป

นี่ความว่าง ความว่างอันแรกอันนี้มันเป็นความว่างอันนี้ไง ความว่างที่เราว่างลงเฉยๆ ความว่างที่ใจนี้สงบตัวลงเฉยๆ แต่มันไม่ใช่ความว่างที่ชำระกิเลสออกไป มันคนละว่าง มันเป็นว่างในว่าง

ในเซนเขาสอนว่างในว่าง เขาไม่สอนว่างเฉยๆ แต่ชาวพุทธในปัจจุบันนี้ไปเอาความว่างสุญญตาของเขามา แล้วก็ว่าอันนี้เป็นความว่าง เขาบอกสุญญตาเป็นความว่าง

อันนี้เป็นความว่างเริ่มต้น มันต้องเอาความว่างอันนี้ไปใคร่ครวญไปเปิด จกฺขุ อุทปาทิ อีกทีหนึ่ง แล้วมันจะเป็นความว่างที่ ๒ นั้น ความว่างในว่างนั้นถึงจะเป็นความถูกต้อง ถ้าความว่างอันแรกนี้มันเป็นความว่างที่มันแปรสภาพ มันยังเป็น สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา อยู่ เดี๋ยวมันก็ตีกลับมา

แต่ถ้าความว่างตามความเป็นจริงนี้มันขาดออกไปแล้วไม่มีกาล...อกุปปธรรม ธรรมที่ไม่เสื่อมแปรสภาพอีก แต่มันจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เห็นไหม อกุปปธรรมกับกุปธรรม ถ้ากุปธรรมนี้มันแปรสภาพอยู่ ว่างก็ว่างแปรสภาพ เดี๋ยวว่าง เดี๋ยวไม่ว่าง รบกวนกันอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นความว่างจริงมันเป็นอกุปปะ อกุปปะคือว่าไม่เสื่อมลงมา ไม่ต่ำแล้ว มันเป็นว่างแท้ ว่างแท้ๆ ที่สัมผัสได้ จากหัวใจที่เข้าไปสัมผัส

ถึงบอกว่าธรรมกายคือใจที่เป็นธรรม ธรรมที่มีกาย แต่ถ้ายังไม่ปฏิบัติอยู่ มันไม่ใช่ธรรมกาย มันเป็นหัวใจเลอะสกปรกโสโครก เป็นหัวใจที่โสโครกไม่ใช่ธรรม หัวใจที่มีอวิชชาอยู่เป็นหัวใจที่โสโครก แล้วบอกธรรมกายอยู่ในใจของเราได้อย่างไร

ธรรมอยู่ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคือใจดวงธรรมนั้นมันธรรมล้วนๆ กับพระอรหันต์เท่านั้น แต่ถ้ายังเป็นปุถุชนอยู่นี้ไม่ใช่ธรรมกาย เป็นจิตเฉยๆ จิตที่รู้เลอะโสโครกไปด้วยอวิชชา แล้วเราพยายามทำให้สงบลง ให้อวิชชาสงบตัวลง ให้เปิดที่เราจะเคลื่อนธรรมจักรออกไป คือเรา จกฺขุ อุทปาทิ เกิดขึ้นเท่านั้น

จกฺขุ อุทปาทิ เกิดขึ้น คือตาธรรมเปิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ญาณคือการที่เห็นทางออก ญาณเกิดขึ้นคือญาณออกจากกิเลสไง พอญาณเกิดขึ้น ปัญญามันก็จะหมุนได้ เพราะว่าทุกคนเสียวยอกกิเลสอยู่แล้ว ทุกคนอยากจะพ้นทุกข์อยู่แล้ว พอปัญญามันก็หมุนไป หมุนไปเรื่อยๆ จากความว่างคือสมาธิหนุนเข้ามาด้วย พอปัญญาเกิดขึ้น วิชชาก็เกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น อวิชชาต้องดับไป อาโลโก อุทปาทิ ก็เกิดขึ้นพร้อมกัน มันเกิดวูบเดียวนะเวลามันไป

แต่นี้เพราะว่าเป็นธรรมจักร เป็นปัญญาคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้ววางไว้ เราก็ต้องเอา ถึงเอามาก็ต้องแยกออกมา ก็เพียงว่าให้เราเดินตามเท่านั้น แต่เวลาตามความเป็นจริงมันเกิดปั๊บ! ถึงว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อริยสัจ กลั่นออกจากอริยสัจ ใจเรานี้หลุดออกมาจากอริยสัจ ถึงรู้ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ไปรู้อยู่ในท่ามกลางอริยสัจ ก็ไม่ใช่รู้ท่ามกลางว่า จกฺขุ อุทปาทิ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ ไม่ใช่รู้ตามขั้นตามตอนมา

ตามขั้นตามตอนนี้เป็นพุทธปัญญา เป็นปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่ถ้าเรารู้ เรารู้พรึบ! พร้อมกันหมด ทั้ง ๕ ส่วนนี้รวมตัวรู้พร้อมกัน รู้ออกมา รู้ออกมา รู้ออกมา เพราะปัญญาสาวกะพวกเราไม่ถึงปัญญาพระพุทธเจ้าหรอก แต่นี้ปัญญาของพระพุทธเจ้าวางไว้ในธัมมจักฯ

ในธัมมจักฯ นี้เป็นเทศนาครั้งแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จักรนี้เคลื่อนออกไปแล้ว ธรรมนี้เคลื่อนออกไปแล้ว แล้วเราเป็นบริษัท ๔ เราเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำไมเราจะไม่เดินตามปัญญาอันนี้ล่ะ ปัญญาอันนี้ต่างหาก

“สุภัททะ ศาสนาไหนมีมรรค ศาสนานั้นมีผล” นี่คือมรรคอริยสัจจัง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคคือมรรคอยู่ในธัมมจักฯ นี้ จักรนี้เคลื่อนไป ภาวนามยปัญญาเกิดขึ้น ชำระกิเลสมาเป็นขั้นเป็นตอน เป็นขั้นเป็นตอน วุฒิภาวะของใจ ภูมิของจิตสูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้น สูงขึ้นจนถึงพระนิพพานขององค์สมพระเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่เป็นเป้าหมายไง เป็นหลักชัยของเรา จะก้าวถึงหรือไม่ก้าวถึงก็ต้องวางไว้ตามความเป็นจริง ต้องเดินตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามความเป็นจริงสิ

ไม่ใช่ว่าเราจะลัดไปตามทางที่ว่า เขามาสอนลัทธิอะไรว่าใหม่ก็จะไปตามเขา จะสอนในแง่ของกฎหมาย ให้เราหลบเลี่ยงเอา นักกฎหมายก็เบี่ยงไปตามกฎหมาย เข้าใจว่าอันนี้เป็นการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมพร้อมกับนักกฎหมายเหรอ เห็นไหม ปฏิบัติธรรมจนแทบหลุด ต้องปฏิบัติธรรมแบบเราสิ แบบซื่อสัตย์กับตัวเอง แบบสุภาพบุรุษ แบบผู้ที่ชำระกิเลสท่ามกลางหัวใจ

ทุกข์เวลาเราทุกข์เราทุกข์อยู่คนเดียว ทุกคนไม่สามารถจะพาเราไปชาติหน้าได้ เขาส่งเราได้ที่เชิงตะกอน ใจของเรา เราซื่อสัตย์กับใจของเรา แล้วเราพิจารณาใจของเราตามความเป็นจริงเท่านั้น เราถึงจะเอาใจเราพ้นไปได้ พอเราพ้นไปได้ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ร่มโพธิ์ร่มไทรมันเกิดขึ้นกลางหัวใจ ภวาสวะนั้นได้ระเบิดออกหมด ไม่มีสิ่งใดในหัวใจเลย ใจนั้นหลุดออกไปว่างหมด ไม่มีอะไรเข้าไปสัมผัสได้ แต่ร่มโพธิ์คือร่างกายยังอยู่ ร่มโพธิ์ยังอยู่ ร่มโพธิ์อันนี้มันถึงว่าสื่อออกมา นกกาอาศัยนะ

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนคือใจนั้นหลุดพ้น ใจนั้นเข้าตามหลักความเป็นจริงก็เอามาเป็นที่พึ่งของผู้อื่นต่อไป ถ้าผู้ยังพึ่งตนเองไม่ได้ ใครจะมาอาศัย มันต้องพึ่งตัวเองได้แล้ว หลักอันนี้มั่นคงแล้ว นั้นล่ะถึงจะเป็นความเป็นจริง มรรคอริยสัจจัง

เราเกิดมาท่ามกลางพุทธศาสนา เจอครูบาอาจารย์ที่กำลังมีอยู่ เราถึงเชื่อครูบาอาจารย์ของเรา เชื่อครูบาอาจารย์ เป็นผู้ชี้นำ นี่ไง หลวงปู่มั่นเป็นผู้ที่เดินมาเป็นองค์แรก สมบุกสมบันมา เพราะว่าแผนที่นี้มันเป็นแผนที่พิกัดกันคนละอย่างกับโลกนี้ที่มีอยู่ ท่านต้องมาศึกษาพิกัดของแผนที่นี้ แล้วท่านก็เอาองค์ของท่านชำระพ้นจากกิเลสออกไป ถึงได้สั่ง ได้สอน ได้ชักนำลูกศิษย์ลูกหาในวงปฏิบัติของหลวงปู่มั่นมาไง มีหลวงปู่มั่น หลวงปู่ขาว หลวงปูแหวน หลวงปู่พรหม มาเรื่อย จนอาจารย์มาหาบัว อาจารย์เจี๊ยะ เป็นครูเป็นอาจารย์เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรที่เราจะต้องเชื่อต้องฟัง แล้วต้องให้ทดสอบใจของเรา

ใจของเรา เราก็ต้องว่าของเราตามความเป็นจริงของเราเท่านั้นใช่ไหม เราเป็นคนเห็น เราเป็นคนรู้ เราก็ว่าอันนี้ถูกต้อง เราว่านี่นะ เราว่า เราว่า เห็นไหม เราว่ากับธัมมจักฯ ว่ามันยังไม่เหมือนกันเลย นี้เราว่าเสร็จแล้ว ธัมมจักฯ ว่าแล้ว ยังครูบาอาจารย์ว่าซ้ำอีกทีหนึ่ง

นี่ไง ถึงบอกว่าเราเกิดมามีบุญกุศล นี่เกิดเป็นชาวพุทธถึงได้ฟังธรรม ธรรมนี้ถึงฟังได้ยาก โอกาสจะฟังธรรมมันมีโอกาสน้อย โอกาสน้อยเพราะว่ามันการเกิด เวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะนี้เวลามันต่างกัน เวลามันจะพาพลัดให้จิตนี้เกิดดับ เกิดดับ ไปเรื่อยๆ

โอกาสที่มันเจอกันชาตินี้ ชาตินี้เกิดพบพระพุทธศาสนานี้ประเสริฐมาก มันพลัดเข้ามาเข้าเกาะเข้าดอนอยู่พักหนึ่ง ในเวลา ๘๐-๑๐๐ ปี ของชีวิตของมนุษย์ นี่พลัดมาเจอความร่มเย็นในศาสนาพุทธ แล้วมันก็จะพลัดออกไปอีก เราก็เหมือนกับสวะ ชีวิตนี้เหมือนสวะ (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)