เทศน์ที่ธรรมศาสตร์รังสิตครั้งที่ ๑ ไฟล์ ๕
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๐
ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
เรื่องเวทนา เรื่องเวทนานะมันเป็นเรื่องทุกคนก็ต้องประสบ แม้แต่เราโตขึ้นมานะ เวลาในกระเพาะเราขาดอาหารมันก็หิว เวทนาเราไปบอกว่าเวทนาคือการเจ็บปวดนี้ เวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา เวทนามีสาม แต่ขณะที่เราไปทุกข์กับเวทนา แล้วเวทนาเราไปฝังใจกับมัน เราไปฝังใจกับเวทนานะ
สิ่งใด บางคนเกิดเวทนาแล้ว เหมือนเราจะเปรียบเทียบ เหมือนเราเดินไปในที่รกชัก เราไปโดนหนามเกี่ยว เลือดออกเลยแต่เราไม่รู้สึกตัว มันยังไม่เจ็บเห็นไหม พอเรามาเห็นเลือด โอ้โฮ เจ็บมาก เจ็บมากเห็นไหม เพราะมันอยู่ที่ว่าเราไปฝังใจกับเวทนา นั้นพอไปฝังใจกับเวทนา เวทนามันจะเกิดกับเราแล้วรุนแรงมาก ทีนี้ถ้าเป็นเวทนาอย่างนี้นะ ทำไมมันถึงเจ็บมันถึงปวดใช่ไหม มันจะเจ็บมันจะปวด นี่พูดถึงจริตนิสัยก่อน แล้วจะพูดถึงวิธีการแก้ไขไง
ถ้าเวทนามันเจ็บมันปวดเพราะอะไร? เพราะการปฏิบัติเราอ่อนด้อย ถ้าปฏิบัติเราอ่อนด้อย อะไรมันเกิดขึ้นมันก็จะเห็นภาพชัดเจน ดูสิ ดูอย่างนักนักกีฬาที่เขาชำนาญการเห็นไหม เขาจะทำอะไรด้วยกำลังของเขา เขาทำด้วยความธรรมดาเลย คนแก่คนเฒ่าเดินแทบไม่ไหวเลยเห็นไหม จิตมันอ่อนด้อยไง
ถ้าจิตมันอ่อนด้อย มันควรจะฝึกมัน เวทนาก็คือเวทนานี่แหละ ดูสิ เวลาเรากินอาหารอร่อย เวลาเรามีความร่มเย็นเราก็พอใจ ก็สุขเวทนา สุขดับไปก็เป็นทุกข์ ทุกข์กับสุขมันก็คืออันเดียวกันนั่นล่ะ เพียงแต่จิตมันชอบกับไม่ชอบ จิตมันชอบมันก็เป็นสุขเวทนาใช่ไหม? จิตมันไม่ชอบมันก็เป็นทุกขเวทนาใช่ไหม?
เวทนามันสักแต่ว่าเวทนา เวทนาคืออาการของความรู้สึก เวทนามันเป็นอาการความรู้สึกนะ แล้วที่จิตมันไปชอบ เวลาจิตมันรวมมันร่มเย็นน่ะ สุขเวทนาชอบไหม แล้วเวลาทุกขเวทนาทำไมไม่สู้มัน เราเป็นสุภาพบุรุษสิ เวลาสุขชอบ เวลาทุกข์น่ะปฏิเสธ สุขเห็นไหม เวลาปฏิบัติ ทุกข์ควรกำหนด มันจะทุกข์ไปเรื่อยๆ แต่เวลามันสงบตัวลง ทุกข์มันสงบตัวลงมันจะเป็นสุขล้วนๆ เลย
สุขต้องกำหนดไหม สุขมันเป็นที่พักไง เราก้าวเดินไป เราจะมีที่ร่มเย็นให้เราได้พักผ่อนอยู่บ้าง เห็นไหมเขาสร้างศาลาริมทาง เขาสร้างโอ่งน้ำ อ่างน้ำไว้ให้เราได้ดื่มกันเวลาเราเดินทางเห็นไหม เราจะมีความเราได้พักผ่อน สุขก็เหมือนกันเรามีความสุขอยู่บ้าง ถ้าเวทนามันสงบตัวลง
จะบอกว่าให้พยายามไง ให้พยายามฝึกฝน พยายามฝึกขึ้นมา แล้วถ้าเราจิตใจมันเข้มแข็งขึ้นมา มันจะแบ่งแยกได้ กลางวันนี้พูดไปแล้วว่าจริงๆ เวทนามันไม่มีหรอก ถ้าเวทนามันมีนะ ตอนนี้มันไปไหน? ตอนนี้เวทนามันไปไหน? ไม่มี
โยม : มันไม่มี (เสียงไม่ชัดเจน)
หลวงพ่อ : อ้า น่ะ มันไม่มี มันมีเพราะใจไปยึดไง ขณะที่ใจไปยึดมันถึงเกิดเวทนา แล้วทุกข์มาก แต่ถ้าเราใช้ปัญญาเข้าไปนะ เวลามันปล่อยนะมันรวมหมดเลย เวทนาสักแต่ว่าเวทนา เวทนาเป็นเวทนา ขันธ์ ๕ เป็นขันธ์ ๕ จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์
ขณะที่พระโสดาบันที่พิจารณาเวทนาผ่านทางเวทนานะ เวทนามันสักแต่ว่าเวทนา ต่างอันต่างจริง เวทนาจริงก็จริงของเวทนา ทุกข์ก็จริงของทุกข์ จิตก็จริงของจิต แล้วจิตที่รวมลง จิตก็จริงของจิต แล้วเวลาสงบตัวลง ยังมีจิตอีกตัวหนึ่งรับรู้ขึ้นมาละเอียดขึ้นมา นี่โสดาบัน
ขณะที่ผ่านเวทนา แล้วเวทนามันไปไหน เวทนานี่จิตมันไปยึด จิตไปยึด แต่มันเป็นความจริง เป็นความจริงเพราะเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ สัญชาตญาณของเทวดา สัญชาตญาณของพรหม สัญชาตญาณของมนุษย์มันมีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มันมีขันธ์ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
สัญชาตญาณของความคิด ถ้าความคิดไม่เป็นรูปขึ้นมานะ ความคิดมันเป็นรูป เวทนา สัญญา ความคิดมันเป็นอารมณ์ความรู้สึก แล้วในความคิดนั้นมันต้องมีเวทนา มันต้องมีความดี ความชอบและไม่ชอบ มันต้องมีข้อมูลคือสัญญา มันต้องมีสังขาร มันต้องมีวิญญาณ นี่ไง มันหมุนของมันไปโดยสัญชาตญาณของมนุษย์ มันต้องมี แล้วเวลาเราใช้ปัญญาของเราเข้าไป มันถึงที่สุดแล้วมันปล่อยหมด ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ สักกายทิฏฐิ ๒๐
เวลามันผ่านมันผ่านได้ ถ้าพระอริยบุคคลผ่านทางเวทนา กาย เวทนา จิต ธรรมไง ถึงจะบอกว่า ต้อง มันจะผ่านพ้นไปได้เหมือนนักกีฬา ถ้าฝึกฝนจนแข็งแรงทักษะดีแล้วนะ เดี๋ยวจะได้เหรียญทอง ทางอื่นไม่มี มีแต่สู้กับสู้ สู้เท่านั้น จะไปได้ ถอยมีแต่แพ้กับแพ้ ให้กิเลสมันเหยียบหัวเกิดซ้ำเกิดซาก มีแต่สู้กับสู้ เพียงแต่ว่าจะพลิกแพลงว่าสู้ทางเวทนา ถ้าเวทนาไม่ได้จะมาสู้ทางกาย
ถ้าเวลาพิจารณาเห็นไหม คนพิจารณากาย อู๊ย ไม่กล้า พิจารณากายจะกลัวผี ไม่ใช่ ผีกับกายไม่เหมือนกัน ผีคือจิตวิญญาณ กายคือสิ่งที่เราเห็นโครงสร้างของกาย ไม่ใช่ผี แต่โดยสามัญสำนึกเราคิดว่ากาย กายที่มันย่อยสลาย กายที่เน่าเปื่อยคือผี ไม่ใช่นะ ใครเห็นกายคือเห็นอริยสัจ ทุกคนเลยคิดว่าเห็นกายคือเห็นผี เห็นผีก็โดนผีหลอก ไม่ใช่เห็นกาย เห็นกายเป็นอริยสัจ เห็นผีคือเห็นจิตวิญญาณ คนละเรื่องกัน
แต่พอจิตมันไปเห็นกาย มันไปกลัวก่อนไง แต่คนถ้าไปเห็นจริงๆ นะมันจะไม่กลัวหรอก มันจะสะเทือนกิเลส สะเทือนหัวใจมาก จะบอกว่าถ้ามันผ่านเวทนา มันผ่านทางเวทนานี่มันทุกข์มันยาก เราก็ไปผ่านทางอื่นไง กาย เวทนา จิต ธรรม เดี๋ยวจะ.. จิตเห็นจิตเราจะอธิบายอีกทีหนึ่ง
ถาม :การเห็นเปลวเทียนแว็บหนึ่งหายไป ทำอย่างไรเทียนถึงจะสว่างนาน?
หลวงพ่อ :การเห็นเทียน แล้วแว็บหายไป การเห็นนี่นะ ถ้าจิตมันไม่สงบมันเห็นไม่ได้ รถที่จอดตายนะ ล้อไม่หมุนนี่นะ เข็มไมล์จะขึ้นไม่ได้ ล้อรถ เข็มไมล์มันจะเริ่มกระดิกตัวต่อเมื่อล้อรถมันหมุน จิตโดยสามัญสำนึกมันจะเห็นอะไรไม่ได้ มันจะเห็นโดยสามัญสำนึก เห็นก็เห็นด้วยตา รับรู้ด้วยอายตนะ
แต่ถ้าเราปฏิบัติแล้วจิตมันสงบเข้ามา มันจะเห็น แว็บๆ นี่คือมันบอกอาการว่าจิตมันต่าง ล้อมันหมุนแล้วไง คือจิตมันต่างจากปกติ จิตปกติคือรถที่จอดนิ่งอยู่ รถที่ขยับไป พอล้อมันหมุนไปเข็มไมล์มันจะกระดิก นี่เข็มไมล์กระดิก เข็มไมล์มันสูง รถจะเหยียบ ๑๒๐ หรือรถจะไปแค่ ๑๐ แค่ ๕ ไมล์ต่อชั่วโมง
นี่ไง ถึงต้องทำอย่างไรต่อไป คือต้องทำให้มันมากขึ้น แล้วอย่าไปตื่นเต้นกับอย่างนี้ เราขับรถ เราต้องการรถเราไปถึงเป้าหมายนะ เราไม่ต้องการเห็นเข็มไมล์รถ เข็มไมล์รถมันเพียงแต่บอกว่ารถเคลื่อน นี่ก็เหมือนกัน ไม่ให้ไปติดที่แสงเทียนนี่ไงไม่ให้ไปติดสิ่งที่เห็น เพราะจิตเป็นผู้เห็น
จิตเห็นนิมิตคือสิ่งที่เห็น ถ้าจิตมันดีขึ้นมามันเห็นสิ่งนั้นแล้วก็คือผ่านไป แล้วทำอีก เพราะถ้าเราบอกว่าจะให้เห็นเทียน แล้วเราเห็นอย่างนี้ เราจะเป็นทุกข์ทันทีเลย เพราะขณะที่เห็นมันเห็นเทียน ถ้าจิตสงบต่อไปมันไม่เห็นเทียนหรอก มันไปเห็นอย่างอื่น การเห็นนิมิตมันได้ร้อยแปด ไม่ใช่เห็นเฉพาะอย่างนั้น
เราเข้าใจว่าต้องเห็นอย่างนั้น เราก็เลยไปกรอบ ไปบังคับจิต มันเลยไม่เป็นปัจจุบัน มันเลยไม่เป็นการภาวนาโดยมรรค มันเป็นโดยกิเลสครอบงำไง เข้าใจว่าเห็นอย่างนี้แล้วคือจิตสงบ คือจะให้เห็นอย่างนั้นอีก วันนี้มานั่งนี่ เวลามีงานนะมานั่งที่นี่ เขาให้เข้ามานะ ถ้าไม่มีงานเข้ามานี่เขาจับนะ เขาไม่ให้เข้าหรอกสถานที่เขาไม่ให้ใช้ สถานที่ราชการ เข้ามาได้อย่างไร? แต่เวลางานเขาเชิญเข้ามาเลย
เวลาจิตสงบมันไปเห็นอย่างนั้นเข้า มันเห็นของมัน นี่เวลาราชการ แล้วเวลามันไม่เห็น แล้วเราจะ คือว่ามันเป็นอดีตไปแล้วไง ให้มันผ่านไป แล้วทำความสงบไป เดี๋ยวมันจะเห็นดีกว่านี้ เดี๋ยวมันจะเห็นดีกว่านี้ ถ้ามันเห็นนะ เห็นนี้เป็นนิมิต เราทำกันนี้เราไม่ต้องการนิมิต เราต้องการจิตสงบ เราต้องการพลังงาน
ถ้าจิตสงบนี้มันมีพลังงาน เราต้องการทำความสงบของใจ แต่มันอยู่ที่อำนาจวาสนา อยู่ที่จริตนิสัย คนเห็นก็คือต้องเห็น แล้วแก้ไขไป คนไม่เห็นมันไม่เห็น เวลาภาวนา ผมไม่เห็นอะไรเลยแล้วจิตผมสงบดี ดีๆ กว่าเขาอีก ดีกว่าเขาหมายถึงว่ามันไม่เสี่ยงภัย การเห็นมันเสี่ยงภัย กลัวไปติด กลัวไปเห็นว่าสิ่งนั้นเป็นผลไง
เวลาไปเห็นคิดว่าสิ่งนั้นมันเป็นผล สิ่งนั้นมันเป็นเครื่องบอกเท่านั้นเอง คิดดูสิ รถวิ่งไปกับเข็มไมล์มันต่างกันน่ะ รถวิ่งไปคือตัวรถมันเคลื่อนไป แล้วเข็มไมล์มันบอกนะ แล้วเข็มไมล์มันเกี่ยวอะไรกับรถ นิมิตเห็นไหม นิมิตเครื่องหมาย แต่ถ้าเห็นกายนะ เห็นกายก็นิมิตเหมือนกัน แต่เห็นกายนั้นมันจะเป็นขั้นวิปัสสนาแล้ว ไอ้นั้นมันต้องเป็นกายานุปัสสนา อันนั้นอันหนึ่งนะ เอาไปเรื่อยๆ ก่อน
ถาม :เดินจงกรมให้ตั้งสติ พุทโธ หรือนั่งสมาธิให้ทำจิต
หลวงพ่อ :เหมือนกัน การเดินจงกรมก็พุทโธ การนั่งสมาธิก็พุทโธ ถ้าเรานึกพุทโธ ถ้าการเดินจงกรมเรากำหนดสัมมาอรหัง การเดินจงกรมเรากำหนดอานาปานสติ การนั่งก็อานาปานสติ การเดินจงกรมกับการนั่งมันเป็นอิริยาบถเท่านั้น อิริยาบถที่เราต้องการทำให้จิตเราสงบ
ถ้าจิตเราสงบ เราจะใช้อย่างไรเราก็ใช้อย่างนั้น แต่การเดินและการนั่งมันเป็นกิริยาเท่านั้น ฉะนั้นการเดินและการนั่งให้ใช้อย่างเดิม ให้ใช้อย่างเดิมหมายถึงเราชำนาญงาน งานที่เราเคยทำแล้วให้เป็นอย่างนั้น การนั่งสมาธิแล้วตัวแข็ง การนั่งสมาธิแล้วตัวแข็ง การนั่งสมาธิแล้วตัวโป่งพอง การนั่งสมาธิแล้วโยกคลอน อันนี้เป็นปีติ
ถ้าปีติมันเกิดนะ การโยกคลอนการอะไรนี่ สิ่งนี้มันจะผ่าน เหมือนกับเรา เราเคยกินอาหาร อาหารอะไรก็แล้วแต่ที่มันอร่อยนะ เรากินแล้ว มื้อแรกอร่อยมาก มื้อสอง มื้อสาม มื้อสี่ มื้อห้า ความอร่อยมันจะลดน้อยลง ปีติเราปฏิบัติบ่อยๆ ครั้งเข้า เข้าปีติมันก็มีอยู่ แต่เราไปคุ้นเคยกับมัน ปีตินี้ มันเลยไม่รับรู้ปีติอันนี้ แต่จิตมันจะพัฒนาขึ้นไป ไม่ใช่ว่าพอมันเป็นอาการอย่างนี้แล้ว เราจะผูกอย่างนี้ไว้ว่าต้องเป็นอย่างนี้หมด ไม่ใช่นะ
ถ้ามันผูกอย่างนี้หมดนะ เราจะไม่พัฒนา เราจะพัฒนาขึ้นไป เพราะ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ สุข ปีติสุข แล้วจิตเอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น มันยังไป ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ แต่เราพอไปเจออาการอย่างไร แล้วเราไปยึดติดว่าต้องเป็นอย่างนั้นเห็นไหม เราก็ไปติด สวะนี่มันไปติดอยู่อย่างนั้นแล้วมันไปไม่ได้ ถ้าสวะนี้ไม่มีติดอะไรมันจะพัดของมันไปเรื่อยๆ
อันนั้นพูดถึงกายโยกกายไหวนะ อันนี้ อันที่ว่า ใช่ มโนกรรม พูดถึงกรรม แล้วพูดถึงการพูดเร็วอะไรอย่างนี้ มัน ไอ้อย่างนี้นะมันเป็นจริตนิสัย หลวงปู่ฝั้นท่านพูดของท่านช้าๆ แล้วฟังร่มเย็นมาก ความร่มเย็นมาจากใจ พุทโธ พุทโธสว่างไสว พุทโธผ่องใส มันนุ่มนวล แต่มีพลัง
แต่ครูบาอาจารย์เราบางองค์ มันออกมาๆ นี่นะ มันออกมา ออกมาจากธรรมะป่า ธรรมะป่าออกมาจากใจ ถ้าทำปริยัตินะ เทศน์แบบปริยัติ เทศน์แบบข้อมูลที่ต้องทำ ต้องทำข้อมูลแล้วเทศน์อย่างไรก็ไม่ทัน ขณะที่ธรรมมันจะออกนะ ธรรมมันจะออกมันเหมือนความสัมผัส
ฟังหลวงตาเทศน์สิ ท่านจะบอกว่าสัมผัสปั๊บออกเลย อะไรที่สัมผัสใจท่านปั๊บ ท่านจะออกเลย ออกเลย ความสัมผัสคือมันกระทบใจ พอกระทบใจข้อมูลมันจะไหล ไหล ไหล แล้วเราเอง เราเอง พวกเราเราจะไปบังคับ จะให้มันนุ่มนวล ให้มันเป็นมารยาทสังคม มันเป็นมารยาทสังคมมันเป็นรูปแบบ แต่เนื้อหาสาระ เนื้อหาสาระของธรรม
ครูบาอาจารย์ท่านบอก ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น ถ้าหลวงปู่มั่นนะ ถ้าฟ้าร้องนะ โอ้โหย ฝนตกชุ่มเย็นมาก ถ้าวันไหนหลวงปู่มั่นเสียงดังนะ พระจะวิ่งไปฟังกันใหญ่เลย เพราะมันชุ่มชื่น มันชุ่มชื่นหัวใจ กรรมฐานเรา พระป่าเรามันต้องการตรงนี้ไง ฝนตก ฟ้าร้องทำให้ฝนตก อย่าให้เป็นฟ้าร้องแล้วไม่มีฝน ฟ้าร้องครืนๆ ไม่มีฝนสักเม็ดเลยแต่ฟ้าร้องแล้วฝนตกเห็นไหม
เวลาที่มันพูดเร็วมาก เร็วๆ มาก จะให้ช้านะ เคยบังคับอยู่พักหนึ่ง ให้ช้าๆ มันก็ได้อยู่พักหนึ่ง แต่มีลูกศิษย์หลายคน บอกว่าเร็วมาก เร็วมาก เราบอกว่ามนุษย์คนหนึ่ง การเกิดมา ช่วงทำงานวัยหนึ่ง วัยทำงานมีอยู่ช่วงหนึ่ง แล้วก็จะแก่ไป จิตก็เหมือนกัน ร่างกายก็เหมือนกัน จะพูดเร็วอย่างนี้ไปไม่ได้ตลอดหรอก ถึงเวลามันแก่เฒ่าแล้ว มันจะต้องช้าลงไปเป็นธรรมชาติของมัน
แต่ในเมื่อมันเป็นวัยทำงาน แล้วมันออกอย่างนี้ ควรให้มันออกไปเพื่อไว้เป็นประโยชน์กับโลก ไว้เป็นประโยชน์กับโลกนะ เพราะโลกนี้เขาจะได้เอาอันนี้ไว้เป็นประโยชน์ แล้วต่อไปจะพูดอย่างนี้ไม่ได้หรอก ฉะนั้นถ้ามันเป็นอย่างนี้ปล่อยให้มันเป็นอย่างนี้ไป เพื่อ เพื่อเอาคุณภาพของเนื้อหาสาระ ถ้ามันออกอย่างนี้มันออกมาจากความรู้สึก มันได้เนื้อหาสาระเต็มๆ
เหมือนกับมารยาทไง คำพูดใดเห็นไหม หลวงตาท่านพูดบ่อย บอกเวลาคำพูด ทางโลกบอกว่าพูดหยาบพูดคาย ท่านบอกเลยความคิดมันคิดมากกว่านั้นนะ มันคิดมากกว่าความหยาบคายนั้น แล้วท่านพูดสิ่งที่เราคิด สิ่งที่มันหนามมันยอกอยู่ในใจ ท่านคิดเพื่อที่จะบ่งออก หนามยอกเอาหนามบ่ง แล้วจะบอกว่าเอาสิ่งที่คมเอาสิ่งที่มีคุณภาพไปบ่งหนามไม่ได้ แล้วธรรมะมันจะออกได้อย่างไร?
นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อคุณภาพให้มันออกไปตามธรรมชาติของมัน เรารู้อยู่ ทุกคน ถ้าไม่เคยได้ยินได้ฟังบ้างเลย ใครมาฟัง เขาจะบอกว่ามันเป็นไปได้อย่างไร? ให้มันเป็นไปตามธรรมชาติอย่างนั้น มันเป็นธรรมชาติอย่างนั้น เอาประโยชน์นะ อยู่ในวงกรรมฐาน ทางวิชาการใครจะเหนือทางวิชาการทางไหนก็แล้วแต่ จะรู้กันว่าการยอมรับในสังคมวิชาการนั้นจะยอมรับอย่างไง?
ในวงกรรมฐานก็เหมือนกัน เขาจะยอมรับกันตรงนี้ อันนี้มันเป็น มันเป็นเหมือนกับเห็นไหม เราคิดกันนะว่าพระอรหันต์ เวลาองค์สัมมาสัมพุทธเจ้านะต้องนอนสีหไสยาสน์ มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียว ที่แก้จริตนิสัยได้ แม้แต่พระสารีบุตรเป็นอัครสาวก เป็นธรรมเสนาบดีเห็นไหม ยังกระโดดข้ามคลองกิริยามารยาท จนขนาดว่าคนเอาไปฟ้ององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย
แต่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า เขาเคยเป็นไง พระสารีบุตรเคยเป็นลิงมาก่อนมันมีนิสัย แม้แต่พระสารีบุตรนะยังแก้ไขเรื่องนี้ไม่ได้เลย แต่พวกเราไม่เข้าใจกัน เข้าใจว่าถ้ามีคุณธรรมต้องแบบพระพุทธรูป ต้องขยับไม่ได้ นั้นเป็นแร่ธาตุนะ แต่ถ้าเป็นความจริงเขาจะเอาเนื้อหาสาระ
เหมือนว่า ที่ว่าคนป่วยไปหาหมอ ทุกคนอยากไปหาหมอ อยากหาหมอที่รักษาโรค จิตกับใจเหมือนกันหรือต่างกัน เวลาพูด ถ้าพูดเป็นบาลี พูดเป็นวิชาการต่างกัน ต่างกัน จิตเห็นไหม ใจ ใจใจเป็นสามัญสำนึก จิตมันละเอียดกว่า ใช่ไหม จิตมันเป็นทาส แต่ใจเห็นไหมใจพวกเรา
แต่ถ้าพูดเป็นกรรมฐานน่ะ จิตกับใจใช้แทนกัน เพราะ เพราะเวลาเทศนาว่าการ ถ้าเทศน์โดยทางวิชาการ หรือว่าพระด้วยกันมันก็อย่างหนึ่ง ถ้าเทศน์กับเด็กๆ เทศน์กับอะไรก็ต้องบอกหัวใจ ต้องบอกความรู้สึก บางทีมันใช้แทนกัน มันใช้แทนกันได้ ถ้าโดยพยัญชนะ โดยอักขระต่างกัน มันต่างกัน แต่เราใช้แทนกัน บางทีไปใช้แทนกัน ไอ้อย่างนี้ ถ้าเราภาวนาไปเราจะรู้ไปเรื่อยๆ
ไอ้อย่างนี้ เวลาเราพูดนะ เราบอกว่า ผู้ที่รู้จริงจะพูดผิดโดยหลักไม่ได้ หลัก เช่น เราเป็นนักกฎหมาย เราจะพูดหลักกฎหมายผิดไม่ได้ แต่เราพูดผิดโดยไม่ตั้งใจโดยลิ้นพันกัน ได้ เวลาลิ้นพัน พูดๆ ไป มันไม่ให้ผิด มันไม่ตั้งใจจะให้ผิด มันผิดโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ ถ้าแต่เราพูดหลักวิชาการ หลักกฎหมายผิดไม่ได้
ถ้าผิด ถ้าเราพูดหลักกฎหมายผิด แสดงว่าไม่ใช่ทนาย เป็นทแนะ แต่จิตกับใจ โดยหลักเห็นไหม เราต้องเอาโดยหลัก โดยหลักคือว่ามรรค ด้วยอริยสัจ ด้วยความจริง โดยหลักต้องได้ แต่จิตและใจ มันบางที มันเร็วมันใช้ มันอย่างที่ว่า เวลามันฟูออกมาพูดไม่ทันหรอก
บางทีนะมันดันออกมาจากความรู้สึกนี่นะ อัดอั้นตันใจ พูดไม่ทัน มันอัดออกมาเต็มที่เลย พลังงานเวลามันอัดออกมา มันดันออกมา แล้วจะมาจิตมาใจอยู่นี่ อะไรได้เอาก่อน ใจหรือจิตอะไร จับได้ไปก่อนแล้ว ไม่รู้ว่าจิตหรือใจ เอาไปก่อนเลย
ถาม :เวลาปฏิบัติแล้วตัวโยกตัวคลอนอย่างรุนแรง บางครั้งไปข้างๆ พยายามกำหนดรู้ แต่ไม่หยุด
หลวงพ่อ :ตัวโยกตัวคลอนนะ ถ้าจิตมันสงบนะ ถ้าปฏิบัติเวลาตัวโยกตัวคลอน มันเป็นได้สองอย่าง อย่างหนึ่งมันตัวโยกตัวคลอนโดยธรรมชาติของมันนะ ถ้าเรากำหนดจิตไว้เฉยๆ มีเหมือนกันนะตัวโยกตัวคลอนมันก็สงบได้ แต่ถ้าอีกอย่างหนึ่งคือมาร มันจะโยกมันจะคลอน โยกคลอนโดยนั่นน่ะ เราจะฝืนไว้ก่อน เวลาปฏิบัติไปแล้วตัวโยกตัวคลอน เราจะตั้งสติไว้
แต่ถ้าพอจิตมันกำหนดพุทโธ พุทโธ มันเริ่มรู้สึกจากภายในแล้ว ขณิกสมาธิมันสงบเป็นครั้งเป็นคราวแล้วออกรับรู้ ถ้ากำหนดพุทโธ พุทโธ บ่อยครั้งเข้าเป็นอุปจารสมาธิมันลึกเข้าไปอีกนะ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อุปจารสมาธิมันออก มันรู้ มันสงบ แต่ยังได้ยินเสียง ได้ยินเสียงเพราะอุปจาระ มันรับรู้เสียงได้ เห็นไหมในอุปจาระมันถึงวิปัสสนาได้ มันถึงใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ได้
ถ้าในอัปปนานี่นะ มันจะละเอียดลึกซึ้งเข้าไปจนตัดหมด ตัดอายตนะเลยนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดับ แต่จิตไม่ดับ จิตมันสักแต่ว่ารู้ ถ้าจิตดับมันเป็นสมาธิไม่ได้ เพราะมันไม่มีสติ มันไม่เป็นสัมมา ถ้าเป็นสัมมาสมาธินะ ขณะที่สงบ ขณะที่สักแต่ว่ารู้ดับหมดเลย โลกนี้ไม่มี
ถึงบอกว่าสมาธินี่นะสามารถปล่อยกายได้ เวลาจิตมันเข้าไปสักแต่ว่ามันดับ ไม่รับรู้เรื่องกายเลย ให้ระเบิดขึ้นมา ให้รถวิ่งมาทับนะมันก็ไม่รู้เรื่อง นั่งอยู่อย่างนั้น นี่พูดถึงเปรียบเทียบ แต่ทับไม่ได้ ทับไม่ได้ เวลาเข้าสมาบัตินะ ขนาดนะพระปัจเจกพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาลเข้าสมาบัติ แล้วนางอะไรที่ไปอาบน้ำ แล้วก็มาเผาเห็นไหม พอเผาทีแรกไม่มีเจตนา กรรมก็ยังไม่เท่าไรนะ เพราะหนาว มาถึงก็เผา
แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าไปเข้าอยู่ในล้อมฟาง ไปนั่งอยู่ข้างใน เข้า ๗ วัน ๗ คืนเห็นไหม เข้าสมาบัติ แล้วเข้านิโรธสมาบัติ แล้วผู้หญิงนั้นเขาไปอาบน้ำขึ้นมา เขาก็มาก่อกองไฟผิง พอก่อกองไฟผิง มันหนาวไง พอผิงไฟปุ๊บไปเห็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้าอยู่ กลัว กลัว เป็นอาจารย์ของกษัตริย์ ก็กลัวโทษกลัวภัย ก็ไปเก็บฟืนเก็บไฟ เก็บทุกอย่างเลยมากองสุมไว้แล้วจุดไฟเผาเพื่อจะทำลายหลักฐานไง เผาเท่าไรก็ไม่เป็นไรเลย
เวลาเข้าสมาบัติ เวลาเข้านี่นะ เวลาเข้าสมาบัติ จิตสงบนะ ทุกอย่างดับหมดเลย ทุกคนถามบ่อยมาก นั่งอยู่ ๗ วัน ๗ คืน โทษนะ ไม่ปัสสาวะบ้างเหรอ? ไม่ อวัยวะทั้งหมดหยุดหมด สักแต่ว่ารู้ หยุดหมดเลย อยู่กับที่ ทุกอย่างไม่เคลื่อนไหว มีแต่ธาตุรู้อยู่เฉยๆ
นี่เหมือนกัน เวลาเข้าไปอัปปนาสมาธิมันปล่อยกายได้เห็นไหม มันจะปล่อยกายอย่างนี้เลย ปล่อยกายอย่างนี้ไม่ใช่วิปัสสนา ไม่ได้อะไรเลย มันปล่อยโดยข้อเท็จจริงของจิตที่มันหดตัวเข้ามา มันเหมือนกับปล่อยแบบไม่รับรู้ไง ปล่อยไม่ใช่วิปัสสนา เวลาจิตมันโยกมันคลอนเห็นไหม จะบอกย้อนกลับมาที่เวลามันโยกมันคลอน
ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันสงบเข้ามา จะโยกคลอนมันเป็นเรื่องภายนอก เราภาวนากันเอาจิต เพราะสิ่งที่จิตนี้มีความรู้สึกอันนี้ มันมีคุณสมบัติมาก เราต้องการเอาตัวนี้ ถ้ามันจะโยกจะคลอน ถ้ามันสงบนะ ถ้าไม่สงบเรารั้งไว้ คือว่าเราจะไม่ทำอย่างนี้ให้มันไปข้างหน้าไง เราแก้ไขเสียตรงนี้ ถ้ามันแก้ไขได้ นั้นจิตโยกคลอน
ถาม :ให้พูดเรื่องจิตเห็นจิตอีกหนหนึ่ง
หลวงพ่อ :ตอนเช้าพวกเราพูดเรื่องจิต เราบอกว่า ที่ว่าจิตเห็นจิต จิตเห็นจิตกัน ไม่เคยเห็นจิต กลางวันพูดอย่างนั้นเนาะ จิตที่เห็นจิต เห็นจิต ไม่ใช่จิตเห็นจิต เป็นเอาอารมณ์เห็นจิต เพราะสิ่งที่เกิดกับเราเป็นอารมณ์ความรู้สึกทั้งหมดไม่ใช่จิต โยมจับตัวเองสิว่าเราอยู่ทางไหน จับแขนมันก็คือแขนเป็นความรู้สึก จับตัวเองสิ
ตัวเองมันเป็นความรู้สึกทั้งหมดเลย ความรู้สึกนี้เป็นอารมณ์ แล้วเอาอารมณ์ เอาอารมณ์คืออย่างที่ว่ากางร่มเห็นไหม ขันธ์ ๕ เอาขันธ์ ๕ รู้จิต เอาขันธ์ ๕ รู้ว่าว่างไง ถ้าจิตเห็นจิต ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ มันจะคล้ายใช้ปัญญาไล่ๆ ความคิดเข้ามา ไล่ความคิดเข้ามา ความคิดนะเป็นอาการของจิตไม่ใช่จิต จนอาการของจิตมันสงบเข้ามาบ่อยครั้งเข้า ความคิดเวลาพุ่งออกไปมันจะเป็นความคิดออกไปตลอด
แล้วเราเอาสติตามไป สติตามไป มันจะหยุดของมัน หยุดของมัน หยุดอย่างนี้ยังไม่ใช่จิต เพราะมันหยุดชั่วคราว พอเราหยุดบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า การหยุดดูจิตไปบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า การดูจิตโดยใช้ปัญญา ถ้าการดูจิตโดยการดูจิตมันไม่มีสติ เพราะมันไม่มีปัญญาควบคุม
การดูจิตเฉย ๆ หลวงตาท่านบอกว่าจิตเสื่อมไปปีกับหกเดือน ทุกข์มาก เพราะดูจิต ไม่ได้กำหนดคำบริกรรม แล้วทำอย่างไรก็ไม่ได้ พยายามฝืนขนาดไหนนะ เหมือนกับเข็นครกขึ้นภูเขา แล้วมันก็กลิ้งทับเราตลอดเวลา ทำอย่างไรก็ทำไม่ได้ จนใช้ปัญญาคิดว่ามันเป็นเพราะเหตุใด อ้อ เพราะขาดคำบริกรรมว่าพุทโธ พุทโธ พุทโธ ท่านเลยมาบริกรรมพุทโธ พุทโธ
แต่ แต่เพราะดูจิตเคย มันเลยไม่ยอมรับ ท่านบอก ๓ วันแรกอกเกือบแตก เพราะ เพราะทำอย่างนั้นเคยไง ปล่อยให้สัตว์ตัวนี้มันเพ่นพ่าน มันดื้อด้าน แล้วเอาสัตว์ที่ดื้อด้าน เอาไว้อำนาจของตัวมันจะต่อต้าน มันไม่ยอม แต่ด้วยสัจจะ เมื่อลงใจแล้วว่าเพราะขาดคำบริกรรม ถึงใช้คำบริกรรมพุทโธ พุทโธ ฟื้นกลับมาหมดเลย
ถ้ามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้ว่าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิมันจะมีสติเข้ามา สติเข้ามา มันตามเข้าไปเห็นไหม ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือปัญญารอบรู้ในกองสังขาร ถ้าปัญญาที่เกิดขึ้นมันจะไล่ ปัญญาที่ไล่กองสังขารคือความคิดเข้ามา สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่งของใจ เป็นอาการของจิตไม่ใช่จิต
ถ้าอาการของจิต แล้วความรู้สึกเกิดจากอาการของจิตมันจะเป็นจิตได้อย่างไร? สิ่งที่เกิดขึ้นจากจิตมันเป็นอาการของจิต มันเป็นรูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นขันธ์ ๕ จิตนี้เป็นพลังงานเฉย ๆ พลังงานถ้าไม่มาเข้าหลอดไฟฟ้า เราไม่เห็นมันหรอก พอเข้าหลอดไฟฟ้าเป็นแสงสว่างมา เข้าพัดลมมามันก็ให้ลมมา พลังงานตัวนั้นน่ะคือตัวจิต แล้วสิ่งขันธ์ ๕ มันคือสิ่งเครื่องเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานนั้นนะ แล้วพลังงานนั้นมันเป็นจิตไหม
หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนว่าให้ดูจิต ดูจิตเข้าไปจนจิตสงบ พอจิตมันเป็นจิตแล้ว ให้จิตเห็นอาการของจิต แล้วให้วิปัสสนาอาการนั้น อาการคือขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ แล้วดูไป ดูไปมันไปเห็นอะไร
ถึงบอกว่าถ้าจะดูจิตนะ การดูจิตเฉย ๆ มันการดูจิต ถ้าดูจิตเฉย ๆ ไม่มีสตินะมันจะไม่มีจุดยืน มันจะเป็นของมัน แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิเป็นปัญญาวิมุตติ เป็นทางฝ่ายของพระสารีบุตร ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ กำหนดพุทโธ พุทโธจิตสงบเข้ามา เป็นเจโตวิมุตติทางฝ่ายพระโมคคัลลานะ
หลวงปู่ชอบ หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่ครูบาอาจารย์เรา ที่ทำพิจารณากาย เป็นเจโตวิมุตติ เพราะจิตสงบก่อนแล้วเห็นกาย แล้ววิภาคะ วิภาคะคือแยกส่วนขยายส่วนเป็นวิปัสสนา พวกนี้จะมีคุณธรรม จะเรื่องของจิตมันจะมีกำลัง มีฤทธิ์มีเดช
แต่ถ้าเป็นหลวงปู่ดูลย์ เป็นหลวงตา มันเป็นปัญญาวิมุตติ ปัญญาวิมุตติใช้ปัญญา ถ้าปัญญาวิมุตติจะแสดงธรรมได้กว้างไกล ได้กว้างขวางเพราะมันมีข้อเปรียบเทียบ ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ ครูบาอาจารย์ที่เป็นเจโตวิมุตติ ส่วนใหญ่ไปฟังเทศน์สิ พิจารณากาย พิจารณากาย ก็กายกับกายอยู่นั่นน่ะ แต่ของจริงนะ ของจริงคือของจริง จิตเห็นจิต
แล้วที่พูดนี่นะพูดด้วยความเมตตานะ พูดนี่พูดด้วยข้อเท็จจริง แล้วนั่งอยู่นี่ ใครจะค้านเชิญ อยากหาคนค้าน แต่เวลาโยมไปฟังกันเอง มันไม่มีใครรู้ทันกัน พอไม่มีใครรู้ทันเขาพูดอะไรก็เชื่อเขาไปหมดเลย สุภาพบุรุษนะ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ของจริงต้องกล้าเผชิญหน้า
จิตเห็นจิต จิตมันต้องสงบเข้ามา พอจิตสงบเข้ามา จิตเห็นจิต นี่ไง สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ธรรมก็คล้ายๆ จิต เพราะอะไร? เพราะธรรมเกิดจากจิต ธรรมคือธรรมมารมณ์ อารมณ์คือความรู้สึก อาการ อาการคือธรรมารมณ์ ใช่ เราเห็นอารมณ์ของเราเราไม่เห็นจิต
แต่ถ้าเราจิตเราสงบเข้าไป เราเห็นจิตที่มันคิดนะ มโนวิญฺาเณปิ นิพฺพินฺทติ มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ มโน ไง มโนวิญฺาเณปิ นิพฺพินฺทติ มโน สัมผัส จิตน่ะ มโน สัมผัส ผลที่เกิดจากสัมผัส นิพฺพินฺทติ นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ ตัวจิตก็เบื่อหน่าย ตัวกระทบระหว่างจิตกับขันธ์ก็เบื่อหน่าย ผลที่เกิดจากการกระทบก็เบื่อหน่าย นี่พระอรหันต์ แล้วไม่รู้อะไรเลย ดูจิต ดูจิต
กล้องวงจรปิดที่เขาติดกันอยู่นี่มันเป็นพระอรหันต์หมดเลยนะมึง กล้องวงจรปิดที่เขาติดกันอยู่ในกรุงเทพฯ ไปกราบมัน มันดูตลอด มันส่องตลอด มันจับภาพตลอด ไปกราบมัน พระอรหันต์เต็มกรุงเทพฯ เลย ถนนทุกสาย ทุกสี่แยก พระอรหันต์เต็มกรุงเทพฯ มันต้องมีเหตุมีผลสิ หลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ฝากไว้ไปอ่านข้อที่สามสิ ดูจิต เพราะว่ามันเป็นการ
คำว่าดูจิตนะ คำว่าดูจิต ถ้าผู้อำนวยการที่นี่นะสั่งบอกให้ทำงานนะ พวกนี้ พวกคนงานทำงานกันทั้งวันไม่จบเลย คำว่าดูจิตนะ คำว่าดูจิตโดยสามัญสำนึก ดูโดยบริหารจัดการ กับคำว่าดูจิตของนักการที่มันอยู่ที่ปากประตู มันก็ดูรถเข้าออกอยู่ทั้งวันนะ คำว่าดูจิตนะ เราไปตีความกันเองไง ว่าดูจิตก็คือการดู
แต่หลวงปู่ดูลย์บอกว่า ดูจิตรู้จิต การดูการรู้แบบผู้บริหาร การดูการรู้แบบรับผิดชอบ แต่เพียงแต่ว่าเป็นปัญญาวิมุตติคำพูดให้กระชับ ให้พูดเป็นโฉลก ดูหรือรู้ เราเคยไปคุยกับเขามา เขาบอกหลวงปู่สั่งให้ดู ให้ดู ใช่ ดู แต่ดูแบบผู้บริหารจัดการรับผิดชอบ ไม่ใช่ดูแบบไอ้คนอยู่ปากประตูนั่นนะ อ้างว่าดู ใช่ดู นี่ไง วุฒิภาวะของใจที่มีคุณธรรมหรือไม่มีคุณธรรมมันต่างกันตรงนี้ไง
คำว่าดูนี้ ดูสิ พ่อแม่เราก็สั่งมาพี่คนโตให้ดูแลน้องๆ นะ แล้วมึงก็นั่งดูกันอยู่นั่นน่ะ มันจะทุกข์ยากก็ช่างหัวมัน อย่างนั้นเหรอ พ่อแม่เขาสั่งให้ดูน้องๆ นะ น้องนี่มันจะทุกข์มันจะยากดูแลมันนะ พอน้องมันทุกข์มันยากเราก็ช่วยเหลือน้องเราใช่ไหม พี่คนโตพ่อแม่คนที่สอง ก็ต้องรับผิดชอบน้องๆ สิ พ่อแม่สั่งให้ดูก็นั่งดูอยู่นั่นน่ะ มันไม่มีจะกินก็นั่งดูอยู่นั่นน่ะ เนี่ย ดูจิต
มันยังไม่จบ โอ้โฮ ไม่ถอยๆ ไม่ต้องตกใจ ไม่ถอยหรอก
ดูจิตนะ มีพวกโยมเขาไปหาที่วัด เป็นพวกหมอ แล้วเขาก็บอกว่า หลวงพ่อทำไมมหายานมันสว่างโพลงๆ ทำง่ายๆ ทั้งนั้นเลย ทำไมของพวกเรามันทุกข์ขนาดนี้ เราบอกว่านะ สว่างโพลงน่ะ แต่ของหลวงปู่มั่นน่ะ ช้างกระดิกหูงูแลบลิ้นน่ะกับสว่างโพลงมันต่างกันตรงไหน?
เวลาจิตมันสมุจเฉทปหานนะ ดั่งช้างกระดิกหูงูแลบลิ้นแผล๊บ ขาดแล้ว แต่กว่าที่จะช้างกระดิกหูงูแลบลิ้น ท่านต่อสู้มาเป็นสิบ ๆ ปี สว่างโพลงของเขาก็เหมือนกัน ไปดูมหายานสิ เขานั่งสมาธิกัน
(เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)