ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะอ.หมอสมสิทธิ์

๒๔ ก.พ. ๒๕๕๑

 

คณะอาจารย์หมอสมสิทธิ์
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

หลวงพ่อ : พวกโยมปฏิบัติกันบ้างหรือเปล่า? ว่าไป

โยม ๑: ปฏิบัติบ้าง กะท่อนกะแท่น บางทีก็แอบทำอย่างอื่นบ้างไงคะ มันก็เลยกะท่อนกะแท่น

โยม ๒: ผมไม่ทราบว่า ... เล่าอะไรให้ท่านอาจารย์ฟังไปบ้างแล้ว

โยม ๓: ยังไม่ได้พูดอะไรเลย

โยม ๒: อ๋อ ยังไม่ได้เล่าอะไรเลย ช่วงนี้ผมไม่ค่อยมีปัญหาอะไรครับท่านอาจารย์ เพียงแต่ รับรู้ว่าทำไปเรื่อยๆ ครับ เดี๋ยวมันก็คงถึงของมันสักวันหนึ่ง อาจารย์จะให้คำแนะนำอย่างไรครับ

หลวงพ่อ : การแนะนำมันก็อย่างว่า มันหลาย มันอยู่ที่จริตนิสัยเนาะ อย่างที่โยมว่าเรื่องจริตนิสัยหนึ่ง เรื่องจริตของเรา แล้วประพฤติปฏิบัตินี่ ถ้าโดยทางพุทธศาสนามันก็ต้องให้ครบ ศีล สมาธิ ปัญญา

ทีนี้พอในปัจจุบันนี้ ครูบาอาจารย์บอกว่าไม่ต้องทำสมาธิ ให้ทำปัญญาไปเลย เราทำบางคนก็ว่าไม่ต้องทำปัญญา ให้ดูสมาธิไปเลย มันก็ว่ากันไป พอว่ากันไปมันก็ยิ่งแตกแขนงออกไป พอแตกแขนงออกไป มันอยู่ที่ความเห็นน่ะ พอความเห็นปั๊บ พวกนี้มันไม่มีสิ่งใดรองรับความจริง ถ้าสิ่งที่รองรับความจริงคือมรรคผล

แล้วถ้ามีมรรคผลขึ้นมาแล้ว เหมือนกับคนทำงาน เพราะคนทำงานเราดูที่ผลงาน เห็นไหม เราพูดบ่อย อย่างเช่นหมอนี่ เราผ่าตัดเราเย็บแผลดี เวลาเขามาเห็นผลงาน นี่ใครทำ แล้วถ้าไปเห็นคนผ่าตัดเสร็จแล้ว มันเย็บแผลใช้ไม่ได้เลย ใช้ไม่ได้เลย แล้วยังติดเชื้ออีกนี่แล้วใครทำ อันนี้พูดถึง ย้อนมาที่พระเรานี่ไง ย้อนมาที่ว่าครูบาอาจารย์สอนใครพ้น ใครสอนคนนั้นสอน สอนนี่ผลงานเขาคืออย่างไร

เพราะตอนนี้ฟังไม่ได้เลยนะ เพราะอย่างในกรุงเทพฯเราก็พูดกัน เห็นไหม นิพพานคือสงบเย็นๆ ไม่ต้องทำอะไรเลยจิตสงบเย็น ถ้าสงบเย็นอย่างนี้ขั้วโลกเหนือก็สงบเย็น มันไปพูดแบบออกไปข้างนอกไง มันพูดอย่างนี้มันพูดตามตัวบท ตามตัวบทคือในนิพพานคือความสงบ นิพพานคือความว่างไง ในตามตัวบท

ตัวบทเขาสอนไว้ให้เป็นทฤษฎี ให้เราค้นคว้า ให้เราปฏิบัติ แต่จริงๆ แล้วนิพพานคือว่าเม้มปากไว้ เพราะมันรู้สึกอย่างไรในหัวใจ นิพพานเรารู้นะ เรานี่ทุกข์ เรื่องของคนอื่น ทางโลกเขาจะรู้เรื่องทำวิจัยรู้เรื่องคนอื่น แต่ทางศาสนานี่ให้รู้เรื่องของเรา สุขทุกข์มันเรื่องของเรานะ แล้วปิดไม่ได้ ความลับไม่มีในโลก ไม่มีตรงนี้ไง

แล้วที่เขาจะบอกเราว่านิพพานขนาดไหนก็แล้วแต่ ถ้าเราทุกข์ล่ะ มันนิพพานจริงไหม มันนิพพานไม่จริงหรอก แต่ถ้าเขาบอกว่าเรานี่ใช้ไม่ได้เลย เราเป็นคนที่ใช้ไม่ได้เลย สังคมไม่ยอมรับเลย แต่ถ้าเราเป็นล่ะ ถ้าเราเป็นของเรา แล้วมันไอ้ตรงนี้ถ้าเราเป็น คำว่าเราเป็น เป็นเพราะอะไร ถ้าเป็นมันต้องมีเหตุสิ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เหตุทำให้เป็นพระอรหันต์ทำอย่างไร

ทีนี้เหตุเป็นพระอรหันต์ นี่ไงเวลาทำในวงกรรมฐานเรา ถ้าพูดถึงการเทศนาว่าการ หลวงตาท่านว่าเหมือนเปิดอกเลยนะ การเทศนากัณฑ์หนึ่งมันก็เหมือนกับเริ่มต้นตั้งแต่วิธีการ ตั้งแต่ปูพื้นฐานจนถึงที่สุด ปุถุชน กัลยาณปุถุชน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล ทำไมมีโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ต่างกันอย่างไร สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล ต่างกันอย่างไร อนาคามิมรรค อนาคามิผล ต่างกันอย่างไร

มรรค มรรคคือเหตุไง ผล ถ้ามรรคคือผล มรรคมัน เหตุมันไม่สมควร เหตุมันไม่เป็นไป มันเป็นผลได้ไหม ผลไม้ไม่แก่เอามาบ่มเน่าหมด ถ้าผลไม้มันแก่มันไม่ต้องบ่มหรอก มันสุกบนต้น ไอ้การประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ถ้าเราทำของเราไป มันเป็นเหตุเป็นผล มันเป็นเองเลยนะ มันเป็นของมันไปเลย ถ้าเป็นไปเลย ของเราทำอยู่กับมือ ของเราทำชำนาญ ทำไมเราจะบอกเขาไม่ได้

ถ้าบอกเขาได้มันก็ตรงนี้ไง ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การสนทนาธรรมเป็นมงคลอย่างยิ่ง หลวงตาท่านพูดบ่อย ถ้าเวลาครูบาอาจารย์ท่านมา เห็นไหม หลวงตาเทศน์น่ะอันดับหนึ่งเลย แต่ถ้ามีการตอบปัญหา การเทศน์เป็นอันดับสอง เพราะการเทศน์มันเทศน์แสดงธรรม แต่ถ้าการตอบปัญหานี่คือมันมีเหตุมันเข้าเป้าเลย ถ้ามีปัญหา ปัญหานี่ ทำไมมันถึงไม่สงบ แล้วมันสงบแล้วทำไมมันไม่ทำงานของมันขึ้นมา

งาน งานภายในนะ ดูสิ อย่างนักบริหาร ลูกน้อง เห็นไหม เขาอาบเหงื่อต่างน้ำเขาว่างานเขาหนัก ไอ้เรานั่งเฉยๆ เราก็ปวดหัวนะ แล้วงานข้างในมันเป็นอย่างนี้ งานเวลามันบริหารข้างในมันยิ่งกว่านี้อีก หลวงตาบอกงานข้างนอกงานของโลกเขา ทำสภาวะแบบนั้น แต่งานของเรามันต่อเนื่อง งานจากภายใน

โยม : ....(เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ปฏิบัติกันหมดเลยเหรอ แล้วปฏิบัติกับใคร

โยม ๑ : อ๋อ เคยไปปฏิบัติที่สายวัดมหาธาตุ ค่ะ ที่เป็นยุบหนอพองหนอ

หลวงพ่อ : ยุบหนอพองหนอ แล้วไปด้วยกัน ไปด้วยกันหรือเปล่า?

โยม ๒: อ๋อ ครับ ผมทำสารพัดสายเลยครับ สุดท้ายผมลงสติครับ

โยม ๑ : แนวสติปัฏฐาน ๔

โยม ๒ :แต่ว่า ก็ความสามารถไม่มีด้วย แล้วก็ผสมผสานกัน

หลวงพ่อ : เมื่อวานพูดกับทางนู้นก็เหมือนกัน ทางนู้นลูกศิษย์หลวงปู่เจี๊ยะ เขาทำกรรมฐาน กรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน กรรมฐานนะ ฐานที่ตั้งแห่งการงาน ต้องมีฐานที่ตั้งแห่งการงาน แต่ถ้าไปทางอื่น ที่ตั้งอยู่ตรงไหน ที่ตั้งแห่งการงานอยู่ตรงไหน ที่ตั้งแห่งงาน

โยม ๑: ที่ตั้งแห่งงาน งานในกรรมฐานเหรอคะ

หลวงพ่อ : กรรมฐานวิปัสสนาด้วย อะไรก็ได้ เริ่มต้นเลยตั้งที่ไหน

โยม ๑: ก็คือว่าเกิดขึ้น รูปและนามค่ะ ตั้งที่... หมายถึงว่าก็ไม่ค่อยมีอะไรเกิดขึ้นในนามก็....(เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ถ้าอย่างนี้มันก็ต้อง แล้วเราไม่รู้เหรอ ไอ้...มันชวนพวกนี้มา เอ็งชวนพวกนี้มา เอ็งไม่บอกเหรอว่าให้สอนเรื่องอะไร

โยม ๓: ตอนแรกหนูกะว่าจะมากราบเรียน เสร็จแล้วมาไม่ทัน เข้ามาพอดี ก็เลยเริ่มทุกอย่างก่อน คือหนูเห็นว่าทั้งพี่...หนูรู้จักพี่...มาตั้งแต่มาปฏิบัติธรรม แล้วก็ได้คุยกันสนิมสนมกันมาตลอด แล้วพี่เขาก็จะส่งเสริมหนูให้มา เพราะว่าตัวเขาจะไม่ค่อยมีเวลาได้ปฏิบัติ เขาก็ส่งเสริมให้หนูมา หาเวรหาคนอยู่แทนให้หนู ให้มาปฏิบัติ ส่งเสริมทุกอย่าง

เขาก็เลย พอเสร็จแล้ว ชวนมาตั้งนานแล้วค่ะ เขาก็บอกเขาอยากมีงานมีคำถามอะไรให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยมาหาหลวงพ่อ แล้ววันนี้พอเขาว่างเขาก็เลยมา พอดีแล้วอาจารย์หมอสมสิทธิ์ หนูไปรู้จักอาจารย์หมอสมสิทธิ์โดยบังเอิญ ไม่อย่างนั้น คือไปคุยเรื่องงานกันปกติธรรมดาค่ะ เสร็จแล้ว คุยกันเรื่องงานแค่สิบห้านาที พอรู้ว่าเขาเป็นคนที่เข้าทางนี้ ก็เลยคุยเรื่องธรรมะกันสองชั่วโมงค่ะ ก็เลยกลายเป็นว่าเรื่องงานคือเรื่องรองไป ทีนี้ก็เลย หนูก็คุยกับพี่...อยู่บ่อยๆ เสร็จแล้ว พี่...ก็เลยจะมา พอจะมาก็เลยบอกว่าแล้วทำไมไม่ชวนหมอสมสิทธิ์มาด้วย ก็เลยได้โอกาสก็เลยมาพร้อมกัน ก็เท่านี้ค่ะ

หลวงพ่อ : เพราะถ้ามันเป็นธรรมะนะเราให้ถาม ให้เคลียร์ปัญหากันเลย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะอยากให้ไปถูกทาง ให้ไปทางที่ดี ให้เข้าเป้าได้เพราะเราเสียดาย เสียดายชีวิตเรา เราเสียดายชีวิตมนุษย์ เพราะการเกิดเป็นมนุษย์นี่เกิดยากมาก จิตวิญญาณมีอยู่ทั่วไป แล้วถ้าไม่เกิดเป็นมนุษย์มันต้องเกิดในสถานะของเขา เป็นสัมภเวสี เป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เป็นทั้งหมด จิตไม่มีเว้นวรรคนะ

แต่พอมาเกิดเป็นมนุษย์เป็นวาระ วาระของมนุษย์ วาระของเทวดา วาระคือว่าช่วงอายุขัยเขาแล้วต้องตายไป ตายไป ตายไป ทีนี้พอเกิดเป็นมนุษย์มีพระพุทธศาสนา แล้วพระพุทธศาสนามันอยู่ที่ไหน ทีนี้พระพุทธศาสนา คำว่าพุทธศาสนา พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พุทธะอยู่ที่เรา อยู่ที่ใจเรา พระพุทธศาสนานี่สิ่งที่สัมผัสมันได้คือหัวใจ ทีนี้ตำรับตำรานี่มันเป็นทฤษฎี

พระพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้ วางธรรมและวินัย แล้วเราเดินตามธรรมและวินัย แต่ใครเป็นคนพาเดิน ในพระไตรปิฎกบอกไว้เลยนะ ถ้าโคนำฝูงคือหัวหน้า คืออาจารย์ของเราไม่เข้าใจ จะพาพวกเราลงไปในวังน้ำวนหมดเลย เราจะโดนน้ำดูดอยู่ในวัฏฏะนี่ ไปไหนไม่รอดหรอก แต่ถ้าโคฉลาดจะพาเราออกจากวังน้ำวน จะพาเราขึ้นฝั่งได้

ทีนี้ธรรมวินัยมันก็เหมือนกระแส ธรรมวินัย ศาสนา แล้วนี่มีหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นไปพาขึ้นฝั่งก่อน เพราะถ้าไม่พาขึ้นฝั่งท่านจะไม่สอนเราด้วยความชัดเจน มันต้องมีศีลก่อน มีศีลเพราะอะไร ถ้าเราไม่มีศีล เราทำสมาธิได้นะ พอทำสมาธิได้เขาทำคุณไสยกัน เพราะอะไร เพราะไม่มีศีล

ไม่มีศีลนี่มันทำปาณาติปาตา คือทำร้ายเขาได้ คือทำลายครอบครัวเขาได้ ทำให้เขาเศร้าหมองได้ ทำทุกอย่างได้ แต่ถ้ามีปาณาติปาตา มันเบียดเบียนกันไม่ได้ ถ้าจิตเราสงบแล้ว จิตเรามีกำลังไม่ไปเบียดเบียนเขา มันก็เป็นสัมมา มันก็เป็นสมาธิ ทีนี้เป็นสมาธิขึ้นมา

ทีนี้เป็นสมาธินี่ โดยการปฏิบัติโดยทั่วไป โดยอภิธรรม พวกนี้เขาบอกว่าไม่ต้องทำสมาธิมันเสียเวลา ถ้าพูดถึงการกำหนดนามรูปการกำหนดอะไรต่างๆ มันเป็นวิปัสสนา มันเป็นการปฏิบัติสายตรง นี่คือโวหาร มันไม่เป็นความจริง โวหารนะ โวหารทำกัน แล้วก็ทำกันเป็นขบวนการ เป็นกระแส เป็นการปฏิบัติโดยกระแสไปทั้งหมดเลย ปฏิบัติตามกระแสไปแล้วเป็นอย่างไร มีความสบายใจไหม มีความสบายใจ ไม่ต้องปฏิบัติหรอก ไปวัดเราไปอ่านธรรมะกันแล้วไปนั่งสัมมนากันเราก็สบายใจ ไอ้นั่นเป็นธรรมหรือเปล่า

แต่ถ้าการจะเป็นธรรมนะ มันต้องมีการเปลี่ยนแปลงของใจ ใจนี่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงนะ อย่างเช่นเรานี่ เราเป็นปุถุชนกัน ปุถุชนคืออะไร ปุถุชนคือคนหนาด้วยกิเลส ปุถุชนคือคนหนา คนหนาทำไมถึงเป็นคนหนา คนหนาเพราะอะไร เพราะจิตนี่ เราพูดนะ เปรียบเทียบ อภิธรรมนี่นะเหมือนดูจิต ดูจิตกับอภิธรรมนี่อันเดียวกัน

ดูจิต เห็นไหม เราบอกว่า รถเรานี่ โยมขับรถมา ใครเป็นคนขับ ใครเป็นคนขับ เราจะเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ไง เราขับรถมา เราขับรถมาถึงปั๊บ เราไม่ต้องปลดเกียร์ ไม่ได้อะไร เราดับเครื่องไปเลยใช้ได้ไหม ไม่ได้ โดยสามัญสำนึกของเรา ความคิดของเราน่ะ ความคิดมันเหมือนเครื่องยนต์ ความคิดนี่ จิตมันเหมือนพลังงานใช่ไหม พลังงานมันเกิดจาก

เครื่องยนต์หมุนจนเกิดพลังงาน ใช่ไหม แต่ถ้าธรรมดาของจิต จิตมันเป็นพลังงาน แต่ความคิดนี่มันเกิดดับ มันอยู่อย่างนี้ แล้วเราดูกันอย่างนี้ ให้ดับเครื่องโดยที่ไม่ต้องปลดเกียร์ มันจะว่างได้ไหม ลองคิด ถ้าเราขับรถมาแล้วเราดับเครื่องเลยโดยไม่ต้องปลดเกียร์ว่างได้ไหม โดยข้อเท็จจริงนั้นเครื่องยนต์มันเป็นไปไม่ได้ แต่โดยนามธรรมมันเป็นไปได้

เราจะเปรียบเทียบให้เห็นไง เปรียบเทียบให้เห็นว่าถ้าเราดับเครื่องยนต์โดยไม่ปลดเกียร์ว่างมันก็ดับคาเกียร์ ใช่ไหม แล้วเราก็ติดเครื่องอีกก็ไม่ได้ เพราะมันอยู่ในเกียร์ต้องปลดเกียร์ว่าง ทีนี้พูดถึงนะ มันเป็นวัตถุที่มันขัดแย้งกัน ให้เห็นภาพชัดๆ เลย ว่าอภิธรรมกับการดูจิตมันเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าพูดถึงเป็นนามธรรมนะ ทำไมมันถึงเป็นได้ล่ะ ที่เป็นได้เพราะเป็นนามธรรมน่ะ

ความคิดมันเกิดดับใช่ไหม เราดูความเกิดดับ ก็ดูนามรูป ดูเกิดดับ ดูนามรูป ดูเกิดดับ มันก็อยู่อย่างนั้น แล้วมันได้อะไร มันได้อะไร ก็ดับเครื่องในเกียร์ไง แล้วเขาบอกว่าเป็นวิปัสสนา เป็นวิปัสสนาสายตรง โทษนะ นี่เราคุยกันเป็นธรรมะนะ เราไม่พูดถึงตัวบุคคล ไม่พูดถึงอะไรทั้งสิ้น เราพูดถึงธรรมะ เราพูดถึงทฤษฎี ทฤษฎีคำสอน แล้วเราจะยกให้เห็นว่ามันเป็นอย่างไร เป็นอย่างไรมาไง

อันนี้ถ้าอย่างนี้ปั๊บมันก็อยู่กันอย่างนี้ แล้วเราถึงบอกว่าเวลาเราพูดนะเราถึงสงสารมาก สงสารเพราะว่ามีลูกศิษย์มาเยอะ อย่างนี้ มีอย่างนี้ ...มันก็ชวนพวกโยมมา ลูกศิษย์เรามันก็ลูกศิษย์พระทั่วไป เพราะเป็นชาวพุทธด้วยกัน ก็ถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอาจารย์นั่นแหละ แล้วก็วนเข้ามา เสร็จแล้วก็มาคุยกับเรา

พอมาคุยกับเราเขาก็เห็นดีเห็นงามด้วย เห็นช่องทาง เขาก็เลยไปเชิญพวกญาติพวกอะไรเขามา มาอยู่ที่นี่ พวกอภิธรรมมานี่ บางคนปฏิบัติมา ๔๐ ปี ๓๐ ปี มาร้องไห้อยู่นี้ บอกว่านี่ปฏิบัติมาอย่างนี้ ว่างๆ ว่างๆ ทำอะไรอยู่ ว่างๆ ดูนามรูปมันก็ว่าง เขาว่าเป็นวิปัสสนา โทษนะ โยมไม่ต้องดูนามรูปหรอก โยมอยู่เฉยๆ นี่ก็ว่าง ถ้าใครมีสติควบคุมตัวเองได้ว่าง พูดขนาดไหนก็ว่าง ถ้าเรามีความคิดนะ คนที่ควบคุมตัวเองได้มันก็อยู่เฉยๆ ได้จริงไหม

นี่ไง แค่นี้ แล้วดูนามรูปมันก็ว่าง ว่างอย่างนี้ เราบอกว่าเวลาเราคิดเราทุกข์นะ มันความคิดมันเกิดขึ้น นี่มันก็ทุกข์ แล้วเราก็คิดให้มันว่าง มันก็เป็นความคิดใช่ไหม คิดให้ทุกข์มันก็ทุกข์ คิดให้ว่างมันก็ว่าง มันว่างที่ความคิดไม่ได้ว่างที่ตัวใจ ว่างกันอยู่อย่างนั้น ๓๐ ปี ๔๐ ปีนะ มี ๓๐ ปีมาคนหนึ่ง ...พาน้ามา นั่น ๓๐ กว่าปี ผู้ชายน่ะ บอกว่าว่างๆ ว่างๆ นี่ทำไง

ใครมาจะบอกเลยว่าว่างๆ ว่างๆ ทำอย่างไร เพราะคำว่าว่าง นี่ไงเราจะบอกว่า นิพพานสงบเย็นมันเป็นโวหาร ก็พูดกันไปน่ะ ว่างๆ ว่างๆ ก็ว่างๆ ทั้งนั้น ใครก็ว่างๆ ว่างๆ ทั้งนั้นน่ะ แล้วอะไรว่างกูก็ไม่รู้ แต่มันก็ว่าง ว่างไม่มีสติ เป็นมิจฉา ไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ แต่เขาว่ามี มีเพราะอะไร มีเพราะในหมู่เขานี่คุยกัน มันไม่ได้คุยกันโต้แย้งระหว่างธรรมะกับอธรรม ที่ว่ามันคุยให้มันชัดเจนมาไง ก็ไปคุย

อ้าวเรา โทษนะ บัณฑิตคุยในหมู่บัณฑิต บัณฑิตก็คุยกันถึงเรื่องปัญญา คุยกันในหมู่โจรเขาคุยกัน เขาก็ต้องคุยกันแต่เรื่องปล้นเรื่องอะไรเพราะมันเป็นในหมู่โจร นี่ในทิฏฐิ ในความเห็น ในหมู่คณะของใคร เขาก็ต้องคุยกันในรูปแบบนั้น พูดถึงว่าถ้าเป็นความว่างมันว่างอย่างนี้ แต่ถ้าพูดถึงของเรานะ เพราะอะไร เราบอกว่า ถ้าการ เมื่อกี้ให้ไปแล้ว จิตเห็นจิต เดี๋ยวจะให้ จิตเห็นจิต มันไม่ใช่ดูจิตหรืออภิธรรมเขาดูเฉยๆ ดูเพ่งนี่เป็นกสิณ ดูนามรูปดูอารมณ์นี่เหมือนกสิณ

แต่บอกไม่ใช่กสิณ เพราะเราดูเป็นปัญญา เราคิดว่าเป็นปัญญา คิดว่าเป็นปัญญาเพราะอะไร เพราะมันเป็นโลกียปัญญา เราจะบอกนะ หลวงตาท่านสอนอย่างนี้ หลวงตาท่านสอนเพราะว่าครูบาอาจารย์สอนว่า มันมีไง ในการปฏิบัติของเรา ในหลักใหญ่ๆ สาแหรกใหญ่ๆ มีสองอัน

อันหนึ่งคือว่า พุทโธๆๆ คำบริกรรมนี่ มันเป็นสมาธิอบรมปัญญา เป็นผู้ที่เป็นเจโตวิมุตติแบบพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้าย แล้วถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เห็นไหม มันใช้ปัญญานำ มันเป็นสายพระสารีบุตร มันเป็นปัญญาวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติ ถ้าเป็นปัญญาวิมุตตินี่ ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันคือปัญญาอบรมสมาธิ คำว่าปัญญาอบรมสมาธิ จิตเห็นจิต เราให้จิตๆ จิตเห็นจิต โยมมาที่นี่กันใครเป็นคนพามา ถ้าบอกว่าก็รถพามา มันก็ไม่ใช่ โยมตั้งใจมา โยมตั้งใจมา โยมมีเจตนามา โยมอยากมา ความคิดอยากมาถึงพาร่างกายนี้มา

ร่างกายนี้ถ้ามันนอนหลับมันไปไหนไม่ได้หรอก แต่เพราะเราอยากมา จิตมันพามา นี่เหมือนกัน ความคิดมันเกิดจากจิต แล้วเราไปดูมันอยู่เฉยๆ ไง มันก็เหมือนสามัญสำนึกนี่แหละเราก็อยู่กันไปวันๆ เราจะบอกว่าเป็นเรื่องโลกๆ ไง เป็นเรื่องฌานโลกีย์ เป็นเรื่องของโลก สาวกภาษิต พุทธภาษิต

พุทธภาษิตคือพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนไว้ สาวกภาษิตนะ ถ้าสาวกภาษิต ถ้าสาวกภาษิต สาวกนั้นที่เป็นปฏิบัติธรรมมันก็เป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ในหัวใจ แต่สาวกภาษิต สาวกเป็นสมมุติสงฆ์ สมมุติสงฆ์ศึกษาธรรมแต่ยังไม่เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ไม่เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าไม่เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มันสอนด้วยสาวกภาษิต ก็ภาษิตของเขา ภาษิตของเขาก็ได้แก่ความเห็นของเขา แต่ถ้าเราเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์คือที่ไหน เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะว่าหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ ครูบาอาจารย์ หลวงตาท่านเล่าให้ฟังบ่อยว่า เจ้าคุณจูม ธรรมเจดีย์ มาจัดให้หมู่คณะมาสนทนาธรรมกัน

อย่างเช่นหลวงปู่มั่นท่านบอกเลย ดูนะ ให้ไปกับหลวงปู่ขาวนะ เพราะได้สนทนาธรรมกันแล้ว เราจะบอกว่าตรวจสอบ เช็คกันแล้วไง ถึงจะเป็นสาวกภาษิต แต่สาวกที่ปฏิบัติถึงธรรม ธรรมกับธรรมตรวจสอบกัน เห็นไหม มันทำให้เชื่อมั่นได้ แต่สาวกภาษิตที่ว่านามรูปต่างๆ นี่มันเป็น ไม่ใช่บอกว่านามรูป คำว่านามรูป คำบริกรรมอย่างนี้ใช้ไม่ได้นะ ใช้ได้ทั้งนั้นน่ะ

แต่คำว่ามิจฉาคือมันทำผิด ถ้าพูดถึง อย่างดูสิ เพราะเวลาเราสอนไป เราจะบอกว่าอะไรก็ได้ คำบริกรรมนี่อะไรก็ได้ อย่างเช่นหลวงปู่เจี๊ยะ มีคนไปบอกว่าพุทโธนี่โง่มาก พุทโธนี่โง่ ไม่มีประโยชน์อะไรเลย นี่หลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟังเอง ตอนอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ คนที่พูดนี่เป็นมหาอยู่วัดอโศฯ

ทีนี้หลวงปู่เจี๊ยะก็บอกว่าวันนั้นท่านต้มน้ำร้อนมา ก็นิมนต์มาฉัน ก็เป็นพระด้วยกันก็คุยธรรมะกัน ท่านนิมนต์ฉันน้ำร้อน ทำปฏิสันถารคุยกันจนเข้าใจ ผมขอถามปัญหาข้อหนึ่ง แล้วเขาเป็นมหานี่ เราเป็นพระปฏิบัติ

“ผมอยากถามปัญหาข้อหนึ่งได้ไหมครับ?”

“ได้”

“สมมุติว่ามีนักปฏิบัติคนหนึ่งอยากปฏิบัติมากแต่ไม่มีปัญญา เขาใช้คำบริกรรมว่า ขี้ ขี้ ขี้ คนคนนั้นใช้คำบริกรรมอย่างนั้นจะทำให้จิตสงบได้ไหม?”

“ได้ครับ”

ท่านบอก “ถ้าได้ครับ แล้วพุทโธมันโง่ตรงไหนวะ”

เงียบเลยนะ ท่านบอก ถ้าไม่ได้ท่านจะมีลูกต่อนะ นี่จะบอกเห็นไหม คำว่า ขี้ ขี้ เราจะย้อนกลับไปที่มหายาน เห็นไหม นิพพานอยู่ในขี้ นิพพานอยู่ในตัวสัตว์ มด นิพพานอยู่ในอะไรเห็นไหม คือว่าไม่ให้เรามีมานะ ไม่ให้เรามีมานะ อันนี้คืออุบายอันหนึ่งแต่ไม่ใช่ความจริง ขี้ ขี้ ขี้ มันก็เป็นคำบริกรรมที่เกาะไว้เฉยๆ

ถ้าจิตมันเกาะไว้ จิตมันมีจุดยืน พุทโธ ธัมโม สังโฆ มรณานุสติ ถ้าคนมีจุดยืน คำว่าจุดยืนมันทำให้เรานี่ไม่เหลวไหล แต่ถ้าไม่มีจุดยืนนี่มันจะเหลวไหล เหลวไหลนี่มันจะไม่มีจุดยืน จิตนี่จะเข้าสมาธิไม่ได้เลย แล้วก็ว่างๆ ว่างอะไร ว่างเหมือนเราปฏิเสธ มันว่างเพราะการปฏิเสธ มันไม่ใช่ว่างเพราะความจริง

ถ้าว่างเป็นความจริงนะ จิตมันลงมานี่ มันว่าง ถ้าว่างนะ คนๆ นั้นจะเห็นคุณค่าอันนี้ ทรัพย์สินเงินทองทุกอย่างที่มีอยู่นะไร้ค่าทันทีเลย เพราะทรัพย์สินเงินทองมันให้ผลเป็นบวกและลบตลอด คือวิตกกังวลด้วยรักษาด้วยทะนุถนอมรักษา ทุกอย่างมันให้โทษหมด แต่สุขอันนี้มันมหัศจรรย์มาก แล้วจะมีกำลัง

เราจะบอกว่าแม้แต่สมาธิตอนนี้ยังทำกันไม่เป็นเลย ไม่มีใครเคยทำสมาธิได้ ไม่มีใครเคยรู้จักสมาธิ ถึงได้ไปพูดว่าว่างๆ ว่างๆ ครับทำอย่างไรต่อ ผมว่างๆ มา ๕ ปีแล้ว ถ้าพูดอย่างนี้นะ ก็มึงนอนหลับมาไง มึงก็นอนหลับมาแล้วเพิ่งตื่นมา มึงจะให้ทำอย่างไร จิตมันไม่มีกำลัง จิตไม่มีกำลัง จิตไม่รู้จักตัวตน จิตเห็นจิต นี่พูดถึงว่าง ว่างเป็นสมาธินะ แล้วถ้าเกิดว่าอย่างที่ว่าปัญญาวิมุตติ ถ้ามันไปไม่ได้ เราจะใช้ปัญญา

ปัญญานี่ดูเฉยๆ มันดูเพ่ง พอดูเพ่ง ดูปฏิเสธ ดูให้หายไป นามรูป ดูนามรูป คำว่าดูนามรูปเป็นปัญญา มันไปดู สมมุติเรานี่ เราเป็นไข้ เราไม่สบาย เราให้ไอ้นี่กินยาแทนเราเราหายไหม เพราะว่าอาการของจิตไม่ใช่จิต ความรู้สึกไม่ใช่จิต แล้วจิตไปดูที่ความรู้สึก แล้วความรู้สึกนี้หายไป ไม่ใช่ว่าง แต่ถ้าปัญญาอบรมสมาธินะ

ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญามันจะคิด เราใช่ไหม เรามีความคิด ความคิดมันให้ผลดีและผลเสียกับตัวเองตลอดเวลา เพราะมันคิดแล้วมันเสียใจ ถ้าปัญญาไล่ความคิดนี้ไป ปัญญานะ สติตามความคิดไป ความคิดนี่มันต้องหยุดโดยธรรมชาติของมัน โดยธรรมชาติของความคิดมันเกิดดับ

ทีนี้เขาดูเฉยๆ แต่ถ้าปัญญาไล่ไป คำว่าปัญญา ถ้าไม่มีสติปัญญามันจะไล่ไหม เพราะมีสติมันถึงไล่ได้ พอมีสติก็ตัวสติมาจากไหน สติคือความระลึกรู้กับจิต สติไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่สติ สติมันเกิดจากจิต ถ้ามีสติขึ้นมาจิตมันก็มีจุดยืน จุดยืนนี่มัน หมายถึงว่ามีจุดยืนปั๊บ ก็เจ้าของไง สิทธิหน้าที่ของเรา แล้วเราดูไป

พอดูไปนี่มันเห็นโทษ คิดอย่างนี้ แล้วก็เจ็บทุกทีเลย แล้วก็อยากคิดบ่อยๆ คิดทุกทีเลย มันก็ปล่อย ก็ทัน ถ้าบอกคิดไป มันไม่ใช่ดูเฉยๆ ปัญญาอบรมสมาธิ ฟังว่าคำว่าปัญญาอบรมสมาธิ มันคิดไปแล้วมันเห็นโทษ ใครไม่เห็นโทษไม่รู้จักเห็นคุณ พอเห็นโทษมันก็ปล่อย ปล่อยมันก็หยุด หยุดนี้ สมาธิ ปัญญาอบรมสมาธินี่มันไม่ลึก ถ้าสมาธิ พุทโธๆๆ สมาธิอบรมปัญญานี่นะ เวลามันลงนะ ขณิกะ สงบเบาๆ

ทีนี้อุปจาระมันจะลึกเข้าไป พอลึกเข้าไปอุปจาระมันจะระลึกนิมิต ถ้าเราไม่ให้นิมิตเราก็พุทโธเข้าไปอีก มันก็เป็นอัปปนา สักแต่ว่ารู้มันดับหมด ดับหมดเลยนะ ดับความรู้สึกทั้งหมดเลย แต่ใจไม่เคยดับ ใจจะหยุดนิ่งเลย อันนี้คิดไม่ได้ อันนี้จะมีกำลัง รู้สึกมาก โอ้โฮ ใครเข้าตรงนี้ได้นึกว่านิพพาน ติดสมาธินึกว่านิพพานหมดเลย แต่ถ้ามันคลายตัวออกมาก็เป็นปกติ

นี่เราจะเทียบผลของสมาธิก่อน แล้วถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เวลาปัญญามันไล่เข้าไปแล้วมันปล่อยเข้ามา ปล่อยเข้ามา มันสบายๆ เฉยๆ ฮ้า แค่นี้ ฮ้า แต่มันไม่ลึก แต่มันจะรักษาได้ด้วยสติมันตัด พอมัน เฮ้อ เบา พอคิดไล่ไปอีก ไล่ไปอีก ไล่จนชำนาญ พอชำนาญพอความคิดจะเกิดนะ ฮั่นแน่ๆ มันจะไม่กล้าเกิดแล้ว จิตเป็นสมาธิตลอด ต้องให้ละเอียดเข้ามา มีปัญญาเข้ามา

นี่นะฟังนะ จิตเห็นจิต ถ้ามันเห็นจริง ตัวจิตมันจะสงบเข้ามาแล้วเห็นอาการของจิต การเห็นอาการของจิตคือเห็นสิ่งที่เขาว่าเป็นนามธรรมๆ ในตำราบอกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม มันเป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้าเทศน์กับหลานพระสารีบุตรที่เขาคิชฌกูฏ หลานพระสารีบุตรไปต่อว่าพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าเอาตระกูลพระสารีบุตรมาบวชเป็นพระอรหันต์ตั้งหลายองค์

หลานพระสารีบุตรมาต่อว่าพระพุทธเจ้าว่า “ข้าพเจ้าไม่พอใจพระพุทธเจ้า” จะพูดอย่างนี้แต่เกรงใจ

“ข้าพเจ้าไม่พอใจในโลกนี้ ข้าพเจ้าไม่พอใจโน่น ข้าพเจ้าไม่พอใจนี่”

พระพุทธเจ้าบอกถ้าเธอไม่พอใจสิ่งต่างๆ ที่พูดอยู่นี่ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย เพราะอารมณ์อันนั้นมันเป็นธาตุวัตถุ อารมณ์ความรู้สึกมันเป็นธาตุวัตถุ ถ้าจิตมันเห็นน่ะ สิ่งที่เป็นนามธรรมน่ะมันเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จับต้องได้เลยแล้วไปแยกแยะ พอจับได้ปั๊บจับจำเลยขึ้นศาลได้ วิปัสสนาเกิดตรงนี้

ถ้าจิตสงบเข้ามามันเห็นกายนะ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เพราะจิตมันเห็น จิตมันเห็นมันสะเทือนกิเลส เพราะกิเลสมันอยู่ที่จิต ถ้าจิตมันเห็นเหมือนกับรักษาคนไข้เลย ถ้าคนไข้นอนอยู่นี่ รักษาคนไข้ คนไข้จะหาย เรารู้ว่าคนนี้เป็นไข้ แต่เราไม่เจอตัวเขา รักษาอย่างไรก็ไม่หายเพราะไม่ได้รักษาที่ตัวมัน กิเลสมันอยู่ที่จิต ถ้าจิตมันเห็น จิตมันดู มันรักษาที่นี่

นี่จะถอนอุปาทานกันที่นี่ เพราะจิตมันวิปัสสนากาย ตัวจิตมันเห็น มันต้องวิปัสสนาเพราะจิตเป็นผู้วิปัสสนา จิตมันเห็นกาย จิตมันแยกกาย วิภาคะ ถ้าจิตแยก วิภาคะ ถ้ามันแยก กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ นี่แหละโสดาบัน ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าปัญญาอบรมสมาธินี่มันเป็นปัญญาวิมุตติ มันจะเห็นเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เห็นเป็นนามธรรม แต่แยกเป็นขันธ์ได้

ที่เขาว่าเป็นนามรูปๆ นั่นล่ะ นามรูปๆ น่ะ มันพูดแล้วมันไม่เข้าหลักเกณฑ์ ไม่เข้าหลักเกณฑ์คือว่าไม่เข้าข้อเท็จจริง ไม่เข้าอริยมรรค มันเป็นจินตมยปัญญา จินตมยปัญญามันฆ่ากิเลสไม่ได้ แต่ถ้าเข้ามาถึงนี่ปั๊บมันเห็น มันต้องเห็น มันต้องจับต้อง เห็นแล้วจับต้องได้แล้วแยกแยะได้ บ่อยครั้งเข้าๆ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขาดปุ๊บ โสดาบัน สกิทา อนาคา ขึ้นไปเรื่อยๆ เลย หลักเกณฑ์มันเป็นอย่างนี้

แต่นี่ดูกันไป ยี่สิบปีสามสิบปี เรารู้ทันนะ เรารู้ทันหมายถึงว่า เวลาจะสอนพวกโยมนี่นะ เขาบอกว่าให้กำหนดนามรูป นี่เป็นวิปัสสนาสายตรง แต่พอโยมปฏิบัติเข้าไปบ่อย จนเป็นคนในนะ คือสนิทชิดเชื้อเข้าไปนะ นิพพานไม่มีหรอก เพราะกึ่งพุทธกาลไม่มีมรรคผล ไม่มี ไม่มีแล้วสอนทำไม ก็กูหลอกพวกมึงไง (หัวเราะ)

อ้าว พอปฏิบัติเข้าไปถึงวงในแล้วจะบอกว่านิพพานไม่มี เพราะคำสอนเขาเป็นอย่างนั้น กึ่งพุทธกาลแล้วมรรคผลไม่มี ถ้าไม่มีก็ขัดแย้งกับธรรมะใช่ไหม อกาลิโก ไม่มีกาล ไม่มีเวลา แล้วถ้ากึ่งพุทธกาล ๒,๕๐๐ ปีแล้ว มรรคผลไม่มี ๕,๐๐๐ ปีก็ต้องยิ่งไม่มีใหญ่ ฉะนั้นต่อไปนี้ศาสนากุดด้วนที่นี่ ศาสนาก็กุดด้วนที่นี่ไง พระศรีอริยเมตไตรยมาตรัสรู้ไม่ได้ อนาคตวงศ์อีก ๑๐ องค์ ไม่มีมาตรัสรู้ไม่ได้เพราะกาลเวลามันปิดกั้น คำพูดของเขานี่ไม่มีเหตุมีผลเลย แล้วพูดกัน แล้วสังคมก็เชื่อ มันน่าเศร้า

โยม ๒ : อาจารย์ครับ ผมจะถาม ถามให้เขาก็แล้วกันนะครับว่า ผมคิดว่าผมพอเข้าใจเพราะว่าปฏิบัติมาทำนองนี้นะครับ ทีนี้คือโดยทั่วไปที่กำหนดนามรูปหรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ว่า กำหนดสตินะอาจารย์ คือในระยะแรกก็เหมือนที่อาจารย์ว่า ก็คือว่ากดไว้ก่อน เหมือนเป็นสมถะคือกดไว้ก่อน พอคิดก็คือกดซะ คือเปลี่ยนจากอาการคิดมาเป็นอาการดูจิต แล้วมันก็จะเปลี่ยนไปอีก คือเขาตั้งอยู่ไม่ได้หรอกครับ โดยธรรมชาติของจิตมันต้องตั้งอยู่ไม่ได้ อันนี้คือธรรมชาติที่เขาปฏิบัติโดยทั่วไป ผมมองว่า ก็คือลักษณะตอนแรกผมก็ปฏิบัติอย่างนี้ ผมมองว่ามันเป็นพื้นฐานเหมือนกันครับ จนกระทั่งเรามองว่าอาการคิดอย่างนี้เป็นอย่างไร ทำไมเราถึงเจ็บปวด ทำไมเราถึงพอใจ ทำไมเราถึงไม่พอใจ อันนั้นก็คือเหมือนกับเราเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ผมมองว่าในระยะแรกเหมือนเป็นสมถะ

หลวงพ่อ : ใช่ ใช่ๆ

โยม ๒ : แล้วพอระยะหลังคือเป็นวิปัสสนา คือมองให้เห็นสภาพธรรมชาติตามความเป็นจริง ผมเข้าใจอย่างนี้ครับอาจารย์

หลวงพ่อ : มองสภาพตามความเป็นจริง แล้วพูดถึงนะ โยมเข้าใจ แล้วถ้าโยมมองตามสภาพความเป็นจริง แล้วความเป็นจริง ใครเป็นคนรู้จริง แล้วจับจริงตรงไหน

โยม ๒ : คือในระยะแรก เรายังพัวพันกับมันอยู่

หลวงพ่อ : อ้าว ว่าไป

โยม ๒ : ครับ เสร็จแล้วเราก็ค่อยถอน แล้วต่อไป ค่อยเหมือนกับเราเป็นผู้ใหญ่ขึ้น คือมองสิ่งต่างๆ เราจะมองแบบผู้ใหญ่ มองแบบไม่ยึดไม่ถือ ครับ อันนี้คือที่ผมปฏิบัติ แล้วผมก็มองว่ามันก็แช่ไปอย่างนี้ครับ แล้วมันก็จะดีขึ้น ดีขึ้นตามระยะเวลาที่เราปฏิบัติไปเรื่อย

หลวงพ่อ : ดีขึ้นๆ คำว่าดีขึ้นกับครั้งแรก อารมณ์มันเป็นอย่างไร อารมณ์ความรู้สึก

โยม ๒ : ก็คืออย่างที่อาจารย์ว่าเมื่อกี้ ก็คือว่า วาง เห็นอย่างวาง ไม่ใช่เห็นอย่างยึด

หลวงพ่อ : เห็นอย่างวาง ถ้าเห็นอย่างวางมันเป็นสมถะหมด ทีนี้เห็นอย่างวางมันเป็นสมถะหมดนะ วิปัสสนานะ สติปัฏฐาน ๔ ใช่ไหม พวกสมถะ กำหนดพุทโธ เขาบอกว่าไม่มีปัญญาเพราะว่ามันเป็นสมถะ ต้องวิปัสสนา ทีนี้การวิปัสสนาของกรรมฐานเรานี่ ฐานที่ตั้งแห่งการงาน ต้องจิตสงบเข้ามาก่อน

ถ้าจิตสงบเข้ามาก่อนมันมีฐานที่ตั้ง แล้วฐานที่ตั้งนี่ออกเห็น เพราะมันเห็นจากจิต ถ้ามันไม่ได้เห็นจากจิตนะ เราพูดสบประมาทโลกเยอะ บ่อยมากเลย ว่าพวกหมออยู่ในวงการแพทย์นี่ผ่าตัดทุกวันเลย แต่ไม่เคยเห็นกาย มีดนี่กรีดทุกวันเลย ไม่เคยเห็นกายเลยเพราะมันเห็นจากตาเนื้อ ถ้าคนเห็นกายนะ จิตมันสงบเข้ามา แล้วพอเห็นกายขึ้นมานะ มันจะกระเทือนขั้วหัวใจ

เพราะบนขั้วหัวใจ ตัวจิตมันเห็นมันจะสะเทือนขั้วหัวใจเพราะว่ากิเลสอยู่ที่ขั้วหัวใจ พอมันเห็นปั๊บนี่มันสะเทือนที่นี่ พอสะเทือนที่นี่ นี่พูดถึง เดี๋ยว เอาทีละชนิดนะ นี่จะพูดแต่เอาเจโตก่อน เอาเห็นกายก่อน พอเห็นกายนี่ พอมันสะเทือนถึงขั้วหัวใจ มันจะหลุดมือเลย เพราะมันเป็นงานรื้อภพถอนชาติ มันเป็นงานใหญ่

งานใหญ่เพราะจิตมันเกิดตายในบุพเพนิวาสานุสติญาณมันไม่มีภพ มันไม่มีต้นไม่มีปลาย มันเกิดตายมาทับซ้อนมานี่มันสะสม สะสมไอ้อุปาทาน สะสมไอ้อวิชชา สะสมไอ้กิเลสในหัวใจเราเยอะมาก ทีนี้ถ้าเราไม่มีอย่างนี้ไป มันก็จะหมุนไปอย่างนี้ มันกลิ้งไปในวัฏฏะ จิตนี่

นี้พอมันไปเห็นอย่างนี้ปั๊บมันไปเห็นข้อมูล พอมันเห็นข้อมูลนี่มันสะเทือนมาก ใครเห็นกายนะ เห็นกายครั้งแรก ผู้ที่เคยปฏิบัติ เห็นกายครั้งแรก ขนพองสยองเกล้า โอ้โฮ มันจะซึ้งมาก มันไม่พูดกันพล่อยๆ พูดกันเปะปะที่ว่าเห็นนามรูป เป็นไปไม่ได้เลย เห็นนี่ โอ้โฮ สะเทือนเลย

พอสะเทือนแล้วนะจะบอกว่า พอสะเทือนปั๊บมันก็จะหลุดมือ เหมือนกับภพนี่ คือใจกำลังมันไม่พอ พอไปเจออะไรเข้ามันก็จะหลุดมือไป ก็ต้องมาพยายาม พยายามสะสมขึ้นมา พอสะสมขึ้นมาจนมันมีกำลังขึ้นมา เหมือนเราเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา งานเราก็ทำได้ง่ายขึ้น พอง่ายขึ้น พอกำหนดเห็นภาพกาย ถ้าจิตมันดี กายมันก็จะเห็นอยู่ ถ้าจิตไม่ดีมันจะไหว มันจะหลุด มันจะไม่เป็นไป

ถ้าเห็นดีปั๊บ กำลังพอ วิภาคะคือให้มันขยาย ภาพนิ่งให้เป็นภาพขยาย เหมือนกับเราทดสอบเชื้อโรคให้เห็นว่าเราเป็นโรคอะไร ถ้ามันขยายไปมันขยาย มันขยายมันคืออะไร มันคืออนัตตา คือแปรสภาพไปโดยธรรม นี่พูดถึงเหตุผลนะ แล้วถ้าเป็นจิตมันดู มันเห็น คำว่าเห็นเมื่อกี้ เรายังไม่ปล่อย เรายังไม่ปล่อยหมายถึงว่าถ้าจิตเห็นจิต จิตเห็นจิตนะ อย่างที่โยมพูดว่ามันเป็นเด็ก แล้วมันจะพัฒนาขึ้นมา

โทษนะ จิตนี่ไม่มีวัย ถ้าเราอายุร้อยปีนะ เรายังรักสาวๆ ได้เลย จิตมันยังรัก อายุร้อยยี่สิบปีก็ยังรัก จิตนี่ไม่มีวัย แล้วถ้าจิตนี้ไม่มีวัย มันไม่มีแก่ชราคร่ำคร่า มันแก่ชราคร่ำคร่าที่ร่างกายนี้ มันหมดวาระที่ร่างกายนี้ แต่วาระของจิตไม่มีวันหมด ฉะนั้น พอไม่มีหมดปั๊บ ที่โยมบอกว่าเดี๋ยวมัน พอมันพัฒนาขึ้น มันพัฒนาขึ้นขนาดไหนนะ มันอยู่ในวงของสมมุติ มันอยู่ในวงของสมถะนี่ แต่ถ้ามันจะเห็นจิตเห็นจิตนะ จิตนี่มันสงบเข้ามา พอมันเห็นเข้ามา ตัวจิตนี่จะไหว สิ่งที่เป็นนามธรรม โยมว่ามันจับต้องได้ไหม?

โยม ๒ : อ๋อ จับไม่ค่อยติดหรอกครับ

หลวงพ่อ : มันเป็นวัตถุอันหนึ่งเลย มันเห็นจิตนี่นะเห็นเป็นวัตถุเลย ถ้าเห็นเป็นวัตถุเพราะอะไร เพราะตัวจิตนี่มันละเอียดกว่า สิ่งที่เหนือกว่าจะเห็นสิ่งที่ต่ำกว่า ถ้าจิตมันพัฒนาขึ้นมาจนมันเป็นสมาธินะ มันมีกำลังของมันนะ มันจะเห็นเชื้อโรคของมันเอง เพราะอะไรรู้ไหม จิต ความคิดกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน มันจับต้องกันได้

ฉะนั้นความคิด อาการของขันธ์ ๕ กับตัวจิตมันจับต้องกันได้ วิปัสสนามันเกิดอย่างนี้ แล้วนี่มันยังจับต้องกันไม่ได้ มันจับต้องกันไม่ได้เพราะอะไร เพราะอย่างที่พูด มันดับในเกียร์ พอดับในเกียร์นะมันไม่ว่าง พอไม่ว่างมันก็ไม่เป็นอิสระ มันก็ผลประโยชน์ทับซ้อน ทับซ้อนด้วยกิเลส เราปฏิบัติกันด้วยกิเลส ครอบงำโดยกิเลส ปฏิบัติโดยกิเลส แล้วกิเลสชักจูงมันไป แล้วเคลิบเคลิ้ม เคลมว่าเป็นธรรม

ถ้ามันเป็นธรรมนะ เราต้องถอนอัตตานุทิฏฐิ ถอนการฝังใจ ถอนสิ่งที่มันฝังอยู่ในหัวใจ ถอนสิ่งที่มันคาใจอยู่นี่ออก แต่นี่ไม่ได้ถอนออก เคลม นั่นน่ะ ถ้าพูดถึงนะ ถ้าจิตมันสงบแล้วนะ ถ้าจิตมันมีหลักมีเกณฑ์ การเห็นจิตน่ะ จิตเห็นจิต ที่พูดกันว่าจิตเห็นจิต มันสงบอย่างนั้นแล้วมันไปเห็นอาการอย่างนั้น เราจะบอกเลยนะ มันว่างอยู่ที่อวกาศ ไม่ได้ว่างอยู่ที่เรา

ในพระไตรปิฎกเห็นไหมที่หลวงตาพูดบ่อย เวลาโมฆราช พราหมณ์ทั้ง ๑๖ ไปถามพระพุทธเจ้า เห็นไหม โมฆราชเธอจงดูโลกนี้เป็นความว่าง เธอจงดูโลกนี้เป็นความว่างนะ เอาแค่นี้ ดูเป็นความว่างมันก็เป็นความว่างไง ไม่ใช่ เธอจงดูโลกนี้เป็นความว่าง ถ้าเราไม่ดูโลกนี้เป็นความว่าง เราจะมีอารมณ์ความรู้สึกเราจะไปติดมัน เธอจงดูโลกนี้เป็นความว่าง พอมันเป็นความว่างมันเป็นสากล แล้วให้ถอนอัตตานุทิฏฐิ ไม่ใช่ดูความว่างแล้วจบนะ ดูความว่าง เห็นไหม พอดูความว่าง จิตปรับพื้นจิตให้มันเสมอภาค แล้วถอนอัตตานุทิฏฐิ ไอ้คนที่รู้ว่าว่าง ไอ้นี่เรารู้ว่าว่างกันหมด รู้ไปหมดเลย แต่ตัวมันกิเลสท่วมหัวเลย ไม่ได้สะกิดมันเลย

โยม ๒ : แต่จริงๆ ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้เองใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : ไหน ใช่

โยม ๒ : คือหมายความว่า เราจะต้องรู้ได้เองว่า เหมือนกับเราทานข้าว แล้วกิเลสมันอยู่ในจานข้าวใช่ไหมครับ ทีนี้ถ้ากิเลสเราบางลงไปเท่าไร เจ้าตัวผู้ปฏิบัติก็น่าจะรู้ถูกไหมครับ

หลวงพ่อ : ถ้ารู้นะพอจิตมันดีขึ้นมา พอจิตขึ้นมาดีเราพูดอย่างนี้นะ ในการปฏิบัติของเรานะ น้ำลง สวะก็ลงด้วย น้ำขึ้น สวะก็ขึ้นด้วย ถ้ากิเลสเรารู้เองได้หมด คำว่ารู้เองนี่เรายอมรับครึ่งหนึ่ง เพราะว่า สันทิฏฐิโกนี่ต้องรู้เองเห็นเอง คำว่ารู้เองเห็นเองนี่มันต้องรู้จริง แต่ถ้าบอกว่าเรารู้โดยกิเลสมันเคลม ถ้ารู้โดยกิเลสมันเคลม เหมือนกับที่ว่า ถ้าน้ำเราน้อย กิเลส สวะมันก็อยู่ต่ำ เพราะมันอยู่บนเหนือน้ำ ถ้าน้ำมากขึ้นมา น้ำท่วม น้ำมันขึ้นมา มันก็ยกสวะขึ้นมาด้วย

เราจะบอกว่ากิเลสนี่นะเราพูดบ่อย ในวงกรรมฐานนะ หลานกิเลส ลูกกิเลส พ่อกิเลส ปู่กิเลส แล้วในทางโลกนี่นะ ไอ้หลานนี่ก็ต้องอ่อนแอหน่อย แต่ในทางธรรมนะ ไอ้พวกนั้นกิเลสหยาบหยาบ ไอ้พวกหลานนี่ ไอ้ปู่มันนี่ ก็ปู่มันนี่ เพราะปู่ กิเลสเป็นเรา เราเป็นกิเลส จิตเดิมแท้นี่ผ่องใส จิตเดิมแท้นี่หมองไปด้วยอุปกิเลส

จิตเดิมแท้นี่ผ่องใส มันเป็นพ่อ มันเป็นปู่ เรือนยอดของเรือนสามหลัง เรือนยอดของนางตัณหานางอรดี ทีนี้ที่บอกว่ารู้เอง มันรู้เองโดยสัจธรรม แต่ถ้ามันรู้โดยกิเลส มันรู้อย่างนี้มันไม่รู้ ถ้ารู้นะมันไม่หลง ในวงการปฏิบัติ ครูบาอาจารย์เรานี่จะมีครูบาอาจารย์คอยแก้เพราะมันจะมีการคิดเข้าข้างตัวเอง

มันจะคิดเข้าข้างตัวเองตลอดหมด ทีนี้ถึงบอกว่า พอวิปัสสนูกิเลส มันก็ต้องหาเหตุผลอ้างอิงให้มันเป็นถูกใช่ไหม ฉะนั้น พอบอกว่า พอปฏิบัติไป โอ๊ย นี่ว่างละ รู้นิพพานละ มันบอกว่าให้คะแนนสองเท่าเลย ใช่ไหม ใช่ แล้วเดี๋ยวพอมันเสื่อมนะ มันก็หมด หมดเลย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะกรรมฐานม้วนเสื่อนี่บ่อยมาก แล้วจิตเจริญแล้วเสื่อม มันจิตเจริญแล้วเสื่อม ไอ้เรื่องอย่างนี้มันไม่มีใครไม่ประสบเลย

ในปฏิบัติเรา มันมีปฏิบัติมาแล้วมันถอย มันจะอยู่อย่างนี้ตลอดจนกว่าเราจะขึ้นไป กุปปธรรม อกุปปธรรม จากกุปปธรรมมันเป็นอกุปปธรรมอย่างไร ถ้าเป็นอกุปปธรรมแล้วนะไม่มีวันเสื่อม คงที่ๆๆ ทีนี้พอทำไปอย่างนั้น เราจะบอกว่าที่ทำนี่ มันมีกรรมฐานเรานี่เยอะมากเลยที่ไปเรียนอภิธรรม เพราะในการปฏิบัติแล้วนี่ ปฏิบัติไปแล้วมันไปอั้นตู้ ไม่มีทางออก ไปศึกษาก่อน ไปศึกษาอภิธรรม ทีนี้พอไปศึกษาอภิธรรมแล้วมากรรมฐานก็เยอะ นี้เพียงแต่เราพูดกันน่ะ เราพูดด้วยวิชาการ

โยม ๒ : ครับ ท่านอาจารย์ผมถามอย่าง

หลวงพ่อ : ว่าเลย

โยม ๒ : ครับ อย่างถ้าอย่างนั้นเราจะมี จุดอะไรที่เป็นตัวสังเกตที่ชัดเจนว่า อาการที่ว่ากายเบาใจเบา หรือว่าความรู้สึกที่ ครับ ตัวไหนที่ว่าเป็นจริงหรือไม่จริง

หลวงพ่อ : เป็นจริงหรือไม่จริงนะ เห็นกายมันเป็นอย่างนี้ เรายกอย่างนี้ เมื่อกี้พูดไปรอบหนึ่งแล้ว หลวงปู่มั่นน่ะ หลวงปู่มั่นน่ะ เพราะท่านปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ เพราะท่านพิจารณากาย ท่านทำจิตท่านสงบได้ เพราะพระโพธิสัตว์ใช่ไหม พระโพธิสัตว์ต้องมีบารมี

พอท่านทำจิตสงบแล้ว พอไปเห็นกาย พิจารณากาย พิจารณาอย่างไรก็แล้วแต่ มันก็เฉยๆ ออกมาแล้วนี่เป็นปกติ นี่ไง ที่ว่าพิสูจน์ได้อย่างไร พิสูจน์ว่าถ้าเรา เรานี่พิสูจน์บ่อยนะ เอาหลวงปู่มั่นก่อน เอาพื้นฐานก่อน เพราะเวลาพิสูจน์ เวลาออกมาพิสูจน์ พอออกมาแล้ว จิตมันรู้สึกว่ามันเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย

ขณะที่อยู่ในสมาธิ ขณะที่วิปัสสนาอยู่มีปัญญา แต่เวลาออกมาแล้วมันก็เหมือนปกติ คือเหมือนกับว่าเราไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย แล้วพอท่านว่า ท่านว่า เอ๊ะ มันไม่ใช่ มันไม่ใช่ แล้วมาพิจารณาตัวเอง เพราะท่านมีปัญญา ท่านบอกว่าท่านปรารถนาพุทธภูมิ ท่านก็ลาพุทธภูมิก่อน พอลาพุทธภูมิเสร็จแล้ว

พอลาพุทธภูมิแล้ว พอเข้าไปเห็นกาย พิจารณากาย พอพิจารณากายมันเห็นโทษ มันเห็นโทษอะไรรู้ไหม ทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ เรานี่ร่างกายเป็นจริงสมมุติเราเป็นอย่างนี้ จริงในสมมุติ นี่เป็นของเราจริงไหม เป็นจริง จริงตามสมมุติ แต่ไม่จริงหรอก ไม่จริงเพราะว่าเราต้องตาย ไม่จริงเพราะเราสั่งไม่ได้ ไม่จริงเพราะเราควบคุมไม่ได้ เราต้องสละมันไป

ทีนี้สละมันไป มันเป็นไปตามข้อเท็จจริงในวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าขณะที่จิตเราเห็น จิตมันเป็นสมาธิไม่มีมิติไม่มีกาลเวลาเป็นปัจจุบัน แล้วพอมันมาแยก แยกขยาย มันเห็น พอมันเห็นปั๊บมันสะเทือนตรงนี้ พอออกมา เฮ้อ จิตใต้สำนึกน่ะ ไอ้ที่ว่าเป็นเราเราน่ะ เฮ้อ เฮ้อ เราอ่านธรรมะกันมาทั้งนั้น กายไม่ใช่เรา ไม่ใช่เรา ปากนะว่าไม่ใช่หมดเลย

เอ็งถามใจว่าใช่หรือเปล่า ใจยอมรับไหม ใจไม่ยอมรับหรอก จิตใต้สำนึกมันไม่ยอมรับ มันยอมรับที่ปากนี่ ปากก็บอกว่าเป็นชาวพุทธ แต่ที่นี่ไม่ยอมรับ แต่ถ้าไปวิปัสสนาปั๊บมันเห็นจริงน่ะ มันแทงใจ แล้วใจมันเริ่มเบาลง นี่รู้ได้อย่างนี้ มันรู้ที่ใจเลย แล้วพอรู้ที่ใจปั๊บ อันนี้แค่ไปเห็นทางที่ถูกเท่านั้น

แล้วพอถูกทางปั๊บมันก็เร่งใหญ่เลย เร่งใหญ่เลย พอเร่งไปปั๊บจิตมันก็เริ่มเสื่อม พอเสื่อมน่ะมันทำไม่ได้แล้วมันขัดแย้งหมด ร่างกายก็ไหว กายก็ไม่เห็น กายก็ไม่เป็นไป ถ้ายิ่งเรื่องยิ่งอยากทำนะยิ่งเละเลย ต้องกลับมาที่พุทโธก่อน สร้างให้ใจมันมีฐาน ให้มันมั่นคงก่อน แล้วพอน้อมไปที่กาย ชัดเจน พอเหนื่อยมันก็รู้สึกว่าต้องหยุดงานกลับมาที่พุทโธอีก ต้นทุนนะต้องมีไปตลอด แล้วพอไปนะ มันออกมานะ ทำไป บางคน บางทีมันคิดว่าใช่ คิดว่าใช่ พระปฏิบัติก็เหมือนกันคิดว่าใช่ พอคิดว่าใช่ปั๊บ ก็นึกว่าใช่ก็รักษาไว้ เดี๋ยวเสื่อมหมดเลย

ถ้ายังไม่เป็นอกุปปธรรมนะ มันอยู่กฎของไตรลักษณ์ มันอยู่กฎของอนิจจัง ไม่มีอะไรคงที่หรอก สมาธิจะดีขนาดไหน จะอย่างไรก็แล้วแต่นะ ไม่มีอะไรคงที่เลย แล้วถ้าอย่างนั้นปั๊บ พอมันเสื่อมแล้วนะ พอเสื่อมปั๊บมันก็รู้ว่าเสื่อมเพราะตัวมันทุกข์ พอรู้สึกตัวเองทุกข์ปั๊บ มันก็ต้องกลับมาเริ่มทำใหม่ ก็เหมือนเศรษฐีล้มละลายแล้วมาสร้างตัวใหม่ มันจะมีวิธีการต่อสู้อย่างนี้บ่อยครั้งมาก จนกว่ามันจะทำ มันเข็ด

พอมันเข็ด ทีนี้กลัว กลัวแล้วถ้าถึงไม่มีคำตอบไม่มีเหตุผล ยังต้องทำไปเรื่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ หลวงปู่มั่นพูดไว้ในมุตโตทัย หมั่นคราดหมั่นไถ หมั่นตรวจสอบหมั่นทดสอบตลอด จนถึงที่สุดนะ พอมัน ขันธ์เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ปั๊บ หลวงตานั่งตลอดรุ่ง

พอขาดปั๊บ แต่เดิมเคยเคารพศรัทธา ไม่กล้าพูดเสียงดังเลย แต่พอมันเป็นจริงขึ้นมาน่ะ โอ้โฮ รายงานผลน่ะ ท่านก็ยุใหญ่เลย เอ้อ จิตมันไม่ตาย ๕ อัตภาพเว้ย ได้หลักแล้ว ต่อไปนี้ให้เร่งเลย ได้หลักแล้วคือได้โสดาบันแล้ว จิตนี่บอกชัดเจนมาก เพียงแต่ชัดเจนตามข้อเท็จจริง แต่ถ้ามันชัดเจนโดยกิเลสมันก็หลอก โดนหลอกหมด มันถึงมีครูบาอาจารย์คอยช่วยเหลือคอยประคองกัน เพราะมันปล่อยทีมันมหัศจรรย์มากนะ โอ้โฮ ล้านเปอร์เซ็นต์เลยอันนี้แหละใช่ เดี๋ยวเสร็จ เดี๋ยว มันล้านเปอร์เซ็นต์เลย เพราะมันธรรมเหนือโลก มหัศจรรย์มาก

โยม ๒ : ทีนี้ผมถามต่อนะครับ คือโดยทั่วไปที่ผมเรียบเรียงมานะครับ ครูบาอาจารย์จะบอกว่าปฏิบัตินี่ต้องละ เหมือนกับที่อาจารย์เล่าเมื่อกี้ครับ ก็คือว่าต้องวางกายให้ได้ ให้เห็นกายสักแต่ว่าให้ได้ก่อนแล้วจะเหลือจิต แล้วก็ให้ทำลาย จนถึงขณะว่าให้ข้ามพ้นตัวจิตแทน แล้วจึงจะเข้าถึงอนัตตา จำเป็นต้องเป็นขั้นตอนอย่างนี้เสมอไหมครับ

หลวงพ่อ : ไม่ ไม่จำเป็นเพราะอะไร เพราะว่ามันแบบว่า ผู้ที่ทำ เห็นไหม มันมีกาย เวทนา จิต ธรรม แล้วพิจารณากายก็ส่วนพิจารณากาย ถ้าพิจารณาจิตส่วนพิจารณาจิต พิจารณาเวทนาคือพิจารณาเวทนา ถ้าไปเรียงตามขั้นตอน มันเหมือนกับ พูดประสาเรานะ เรายกตัวอย่างเลย อย่างเช่น หลวงปู่คำดี หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่ชอบ พิจารณากายเหมือนกัน

โยม ๒ : ครับ สายทางอีสานจะเป็นอย่างนี้หมด

หลวงพ่อ : ไม่หมด หลวงตาไม่เป็นอย่างนี้ หลวงตาคือพิจารณาจิต ที่จริง สายอีสานส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่ท่านจะเป็นอย่างนี้

โยม ๒ : โดยพระกรรมฐานนำ

หลวงพ่อ : ใช่ แล้วพอเป็นอย่างนี้ปั๊บ ความหยาบละเอียดแก่อ่อนก็ต่างกัน คำว่า มันไม่ใช่ว่าอย่างนี้ปั๊บนะ มีคนมาถามบ่อยมากเลยว่า ถ้ามรรค ๘ มรรคสามัคคีรวมตัวใช้ค่าของสมาธิค่าของปัญญาเท่าไร มันไม่ใช่ ก็อย่างที่ว่า แม้แต่อาหารนะ แกง บางคนว่ารสกลมกล่อม บางคนก็ว่าเค็มไป เปรี้ยวไป เผ็ดไป เห็นไหม เขาต้องเติมให้กลมกล่อมของเขา

คำว่ากลมกล่อมของเขาคือจุดสมดุลของเขา ถ้าจิตนี้เป็นสมดุลของเขาแล้ว มันรวมตัว มรรคสามัคคีรวมตัวตรงนั้น ถ้ารวมตัวแล้วมันก็มาลงอันที่โยมพูดเมื่อกี้ มันต้องเป็นอนัตตา พอเป็นอนัตตานะ สัพเพ ธัมมา อนัตตา สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา นี่คือธรรมที่เป็นสมมุตินะ ธรรมที่เป็นวิธีการ สัพเพ ธัมมา อนัตตา พอมันพ้นจากอนัตตา รวมตัวปั๊บ จิตมันพ้นออกไปนี่ อันนี้เป็นอกุปปธรรม พ้นจากสัพเพ ธัมมา อนัตตา ผลของมันไม่อยู่ในสัพเพ ธัมมา อนัตตา วิธีการเป็นสัพเพ ธัมมา อนัตตา อัตตา อนัตตาไง อัตตา คือกิเลสตัวตน อนัตตาคือสิ่งที่เข้ามาทำลายมัน ทั้งอัตตาและอนัตตาไม่ใช่ผล ผลมันเป็นอกุปปธรรม

โยม ๒ : ก็พอเข้าใจอยู่ แต่ว่า ก็ใช้เวลาไปเรื่อยครับผมท่านอาจารย์

หลวงพ่อ : พูดถึงว่าถ้ามันเป็นปัญญาวิมุตติมันใช้ปัญญาไล่เข้าไป ปัญญาไล่เข้าไปมันมีผู้รับผิดชอบ มีคนเป็นเจ้าของงาน มันต้องมีผู้รับผิดชอบคือสติชอบ งานชอบ เพียรชอบ งานชอบ งานอะไรชอบ สัมมาอาชีวะ ทำอาชีพชอบประกอบอาชีพชอบ อันนี้มัน สัมมาอาชีวะมันเป็นมรรคของคฤหัสถ์ มันไม่เข้าอริยภูมิ ถ้าเข้าอริยภูมินะ เลี้ยงชอบ คิดชั่ว โจร คิดดี บัณฑิต นี่สมาธิชอบ

ถ้าเป็นสมาธิแล้วเราจะเอาสมาธินี้ไปทำคุณไสย นี่สมาธินี้มิจฉา แล้วสัมมา สัมมาก็เข้ามานี่ มรรคนี่มันมีมิจฉาสัมมา มีมิจฉา ถ้ามิจฉานี่ ถ้าศีลมันเป็นตัวกรอให้มันเป็นสัมมา ถึงต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา เพราะศีลนี่มันไม่ร่วมกับคนอื่น

โยม ๒ :คือถ้าผมจะเปรียบอย่างนี้นะอาจารย์ อย่างเรื่องการปฏิบัติที่อาจารย์บอกว่าเดี๋ยวมันก็ได้เดี๋ยวมันก็ล้มนะ ผมเปรียบเหมือนกับว่าสมมุติว่าด้านนี้แดดส่อง แล้วเราขับรถรอบภูเขาจะขึ้นเขาไป เราขับตั้งแต่รอบกว้างไปจนรอบแคบไปเรื่อยๆ จนขึ้นถึงยอดเขา ถึงนิพพานที่ว่านี่ครับ คือช่วงไหนเราได้แสงแดดเราก็บอก โอ๊ย ดีจังเลย พอเราขับไปด้านมืดที่ไม่มีแสงเราก็ว่าแย่จังเลย คือการปฏิบัติที่ผมปฏิบัติมามันเป็นลักษณะนั้น แล้วระยะแรก รอบมันจะไกลมาก บางทีรอบมันเป็นอาทิตย์ๆ ดีเป็นอาทิตย์ หรือแย่เป็นอาทิตย์ หรือว่าแย่เป็นเดือน ดีเป็นอาทิตย์อย่างนี้นะครับอาจารย์ เสร็จแล้ว ความถี่มันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเต็ม นาทีเกือบทุกนาทีจะต้องอย่างนี้ๆ ใช่ไหมครับ คือเวลาปฏิบัติมันต้องอย่างนี้เสมอไหมครับ

หลวงพ่อ : ไอ้นี่ พูดถึงว่ามันดีหรือไม่ดี

โยม ๒ :อันนี้เปรียบครับ

หลวงพ่อ : พอเปรียบอย่างนี้แล้ว พอดีหรือไม่ดี ผลมันเป็นอย่างไร ความรู้สึก

โยม ๒ : ก็คือความที่ว่า คำว่าดีไม่ดีคือผลรวมทั้งหมด แม้แต่ว่าการนั่งสมาธิได้สงบดี หรือนั่งสมาธิได้ไม่สงบ หรือว่ามีสติดูได้ดี หรือว่าช่วงนี้เราปล่อยวางได้ดี หรือว่าเราปล่อยวางไม่ได้ดี คือมันเป็นช่วงๆ มันมืดมันสว่างอย่างที่อาจารย์ว่าครับ ก็คือว่ามันถูกหลอกกันได้ไหม เวลาคือได้จังหวะ

หลวงพ่อ : หลอก เราพูดเราจะถามว่าผลของมันนะ เวลาปฏิบัติมานี่เวลาผลของมันเกิดขึ้นมาแล้ว เราต้องเอาผลของมันมาตรวจสอบด้วย

โยม ๒ : ก็คือดู

หลวงพ่อ : ใช่ๆ

โยม ๒ : ผมดูว่า ความคึก ผมเป็นคนช่างโกรธในสมัยก่อนครับ ทีนี้ผมก็ดูความโกรธว่ามันน้อยลง น้อย จำนวนครั้งก็น้อย หรือมีจำนวนครั้งก็มีจำนวนเวลาที่ลดลง อย่างนี้เป็นต้น นี่ยกตัวอย่างให้เห็น

โยม ๑ : ถ้ารู้เท่ารู้ตามไปเรื่อยๆ รู้เท่ารู้ตามลมไปเรื่อยๆ มันจะรู้แจ้งเห็นจริงไปได้เองไหม

หลวงพ่อ : ไม่ได้ มันไม่ได้หรอก ไม่ได้เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามันอยู่ในวงอย่างนี้มันก็อยู่ในวง เราจะบอกว่าผลของการปฏิบัติอย่างนี้ ขบวนการของมันคือสงบเสงี่ยม คืออยู่ในธรรม แต่เป็น ตรงนี้นะ โลกียธรรม โลกุตรธรรม ถ้าโลกียธรรม เราเป็นคนดี ศีลธรรม จริยธรรม เราเป็นคนดี เราเป็นคนมีศีลมีศักดิ์ แล้วพูดอย่างนี้ เมื่อก่อนโทษนะ มีหลายคนมากที่อยู่โพธาราม

เมื่อก่อนคนกินเหล้าเป็นคนขี้โกรธ แล้วเดี๋ยวนี้มาสนใจในธรรม เดี๋ยวนี้หายโกรธไม่คิดโกรธ ไม่ใช่หรอก เพราะว่าเรามีสติสัมปชัญญะเราควบคุมได้ มันยังไม่โดนแหย่รังแตนไง ถ้ารังแตนโดนแหย่ปุ๊ปโกรธทันทีเลยนะ เพราะรังแตนเป็นสิ่งที่รักสงวนไง อะไรที่รักสงวน ทิ่มเข้าไปเลย ทันทีเลย เปล่านี่ไม่ได้ว่านะ นี่ข้อเท็จจริง เพราะอะไรรู้ไหม เพราะ ดี ต้องอย่างนี้ก่อน เราต้องพัฒนาขึ้นมา เราต้องควบคุมตัวเองได้ก่อน แต่เชื้อไขมันยังไม่ได้ถอดออก

โยม ๒ : ต้องทำยังไงครับอาจารย์ ถึงจะว่า อ่า.. ถอดเขี้ยวเล็บออกไปครับ

หลวงพ่อ : ใช่ ความโกรธนี่ เราพูดเลยนะ ถ้าพิจารณากาย ขอโทษนะ พิจารณากายหรือพิจารณาจิตก็แล้วแต่นะ ถ้าเห็นขันธ์ ขันธ์ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์เป็นโสดาบัน ถ้าเห็นกายกับจิตแยกจากกันโดยธรรมชาตินี่เป็นสกิทา แล้วไปเห็นกามราคะ ถ้าถอนกามราคะได้จะหายโกรธ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะปฏิฆะ กามราคะ กามราคะนี่เกิดจากปฏิฆะ ปฏิฆะคือข้อมูล ปฏิฆะ ปฏิฆะไง ใครชอบใครไม่ชอบอย่างไร ปฏิฆะ ผูกโกรธ ปฏิฆะนี่ แล้วพอ มันก็เกิดกามราคะ ใช่ไหม ถ้าไม่มีปฏิฆะ..

โยม ๒ : ปฏิฆะนี่เน้นเรื่องกามคุณทั้ง ๕ หมดไหมครับ คือรูป รส กลิ่น เสียง หรือว่าเน้นเฉพาะเรื่องเพศอย่างเดียว

หลวงพ่อ : ไม่ เพศเลย ถ้า รูป รส กลิ่น เสียง นะมันขาดไปตั้งแต่ปุถุชน กัลยาณปุถุชนแล้ว ปุถุชนนะ อย่างเวลาเรา เราทำ โทษนะ ถ้าอย่างของเราดูนามรูปไป เราก็ดูนามรูปกันไปเฉยๆ เราไม่รู้ว่าเราจะมีขั้นตอนหรือว่าเราจะพัฒนาอย่างไร แต่ถ้าเรากำหนดพุทโธหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธินะ เดี๋ยวสมาธิก็ดี เดี๋ยวสมาธิก็เสื่อม

คำว่า “สมาธิเสื่อม” มันไปตามอารมณ์ความรู้สึกมันเป็นเพราะเหตุใด เพราะสมาธิมันไปเพราะเหตุใด จิตนี่นะมันธรรมชาติที่รู้ พอมันมี รูป รส กลิ่น เสียง เห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง เห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร อย่างเสียงไม่พอใจ รูปไม่พอใจ เสียงไม่พอใจ มันจะตามไป นี่ไงที่ว่ากามราคะที่ละลงนี่ไง พออย่างนี้ปั๊บ พอเห็นนะ จิตที่มันควบคุมไม่ได้เพราะมันติดรูป รส กลิ่น เสียง เสียงด่า เสียงติ เสียงติง เสียงชม มันไปหมดล่ะ

แต่ถ้าพูดถึงนะเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้าไปบ่อยครั้งเข้า มันเห็นนะ เห็นว่าเพราะรูป รส กลิ่น เสียง เห็นไหม เรามีอุปาทานใน รูป รส กลิ่น เสียง เราติดไปหมดเลย เรายังควบคุมมันไม่ได้เลย มันเหมือนกับเราควบคุมไม่ได้ ทุกอย่างเป็นสิ่งเร้าหมด แต่พอเราเห็นโทษของมัน บ่อยครั้ง พออีกครั้งเพราะเห็นโทษ

โยม ๒ : ...(เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ : ขาดไม่ใช่รู้ทันมัน ใช้คำว่าขาดเลย

โยม ๒ : ให้เห็นขาดเลย

หลวงพ่อ : เห็นขาดเพราะอะไรรู้ไหม ขาดเพราะมันเห็นว่านี่มันเป็นโทษของมัน เพราะมันเห็นพิจารณาบ่อยครั้งมันจะขาด ขาดตรงไหนรู้ไหม ขาดที่อุปาทาน พอขาดที่อุปาทาน รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ใช่กิเลสไม่ใช่อะไรเลย เพราะอุปาทานของเรา มันเป็นเครื่องล่อแล้วเราไปติดมัน เพราะฉะนั้นเราถอนตัวเราทั้งหมดปั๊บ รูป รส กลิ่น เสียง มันเก้อๆ เขินๆ อยู่อย่างนั้นเลยนะ

เสียงก็คือเสียง โลกก็คือโลก ทุกอย่างเป็นอย่างนั้นหมดเลย เราเป็นเรา นี่คือกัลยาณปุถุชน มันควบคุมสมาธิได้ คนอย่างนี้ทำสมาธิได้ง่ายเพราะมันตั้งสติปุ๊บ ประสาเราตั้งสติเฉยๆ มันก็แทบจะเป็นสมาธิในตัวมันเองอยู่แล้ว ถ้ามันไม่ติดในรูป รส กลิ่น เสียง แต่เพราะไปติด พอไปติดปั๊บ ความคิดมันไป มันไปตาม

แต่ถ้าเราเห็นโทษเราจะถอน ถอนความยึด รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร แล้วมารมันล่อไม่ได้ ไอ้นี่ก็เป็นอิสระ พอเป็นอิสระปุ๊บมันถึงน้อมไปหา น้อมไปดูจิตจะเห็นจิต น้อมไปดูกายจะเห็นกาย อันนี้ถึงจะเป็นวิปัสสนา มันเห็นจากตาของใจ แล้วมันก็จะผ่านโสดาบัน สกิทา แล้วไปเห็น.. อนาคามรรคนี่ แล้วไปถอนกามราคะปฏิฆะ คนนี้จะละความโกรธได้ จะละโกรธ รูป โลภ โกรธ หลง ตรงนี้ ที่จะละรูป รส ใครจะถอนความโลภโกรธ หลง ได้ต้องเป็นพระอนาคา

ถ้ายังเป็นสกิทายังเป็นโสดาบัน โสดาบันไปแหย่สิ ลองแหย่ดูสิ เสร็จ เสร็จทั้งนั้น นางวิสาขาเป็นพระโสดาบัน หลานตาย ร้องไห้กับพระพุทธเจ้าเลย ร้องไห้ “วิสาขาเธอเป็นอะไร?” “หลานตาย” ร้องไห้โฮโฮ พระโสดาบันนะ “วิสาขา ถ้าคนในโลกนี้เป็นหลานเธอทั้งหมด เธอไม่ต้องร้องไห้ทุกวันเหรอ เพราะมันมีคนตายทุกวัน” พระโสดาบัน กึก! หยุดร้องไห้เลย

โยม ๒ : อาจารย์ครับ ทีนี้ของผมถามแบบทั้งประสาหนังสือของผมกับประสบการณ์นะครับอาจารย์ ผมมองว่าเรื่องพระโสดาบัน ที่เมื่อกี้อาจารย์พูดว่าเราวางเรื่องกามคุณ ๕ มันจะต้องเป็นพระอนาคา เพราะมันอยู่ที่ขั้นข้อที่ ๔ กับ ๕ ใช่ไหมครับ หลักปฏิฆะ กามราคะกับปฏิฆะเป็นข้อที่ ๔ กับ ๕ ใช่ไหมครับ

ทีนี้ผมมองว่า ๓ ข้อแรก มันเป็นเรื่องของความเห็น ความเห็นผมนะครับ ผมมองว่าเป็นเรื่องความถูก อย่างเช่นสักกายทิฏฐิ คือมีความถูกว่ากายนี้ไม่ใช่ตน แต่ไม่ใช่ว่าเราวางกายนี้ไม่ใช่ตนจะได้เลย เพียงแต่มองเห็น คือคำว่าทิฏฐิลงท้าย ทิฏฐิที่แปลว่าความเห็น อย่างที่ว่ากายนี้ไม่ใช่ตนใช่ไหมครับ ทีนี้พออีกสองข้อต่อมาก็คือวิจิกิจฉากับสีลัพพตปรามาส ก็คือว่าไม่มีความลังเลสงสัย แล้วก็ไม่รูปคลำศีล คือหมายถึงว่ามอง ๒ ข้อนี้หมายถึงว่ามองแนวทางการปฏิบัติทั้งสองด้าน ก็คือเป็นความเห็น ผมมองว่า ๓ ข้อนี้เป็นเรื่องการปรับความเห็นทั้งหมดเลยครับ

หลวงพ่อ : นั่นน่ะสิ ถ้าพูดอย่างนี้นะ นี่เราคุยด้วยเหตุผลนะ ถ้าอย่างนั้นนะ

โยม ๒ : แต่ว่าต้องยอมรับด้วยนะครับ ไม่ใช่ให้คำตอบเฉยๆ

หลวงพ่อ : เราจะบอกว่าถ้าเป็นอย่างนั้นนะ ถ้าเป็นอย่างนั้นนะ ในมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย มหาจุฬามหาวิทยาลัยเป็นพระโสดาบันหมดเลยเพราะว่าเขาเรียนมหากัน

โยม ๒ : ที่เมื่อกี้ผมเกริ่นนะครับอาจารย์ ก็คือว่าพูดทั้งประสาและการปฏิบัติ

หลวงพ่อ : ใช่ๆ มันไม่ใช่อย่างนั้น เพราะอะไรรู้ไหม มันไม่ใช่อย่างนั้นเพราะเรานั่งอยู่นี่ โทษนะ โยมนะ ไม่ใช่เอามาเป็นเหตุผล ๗ ประโยค ๘ ประโยค ๙ ประโยค มาหาเรานี่เยอะมาก ศึกษาอยู่ ศึกษา ศึกษาความเห็นมันจะไม่เห็นเหตุให้ศึกษา ตอนนั้นพอดีหลวงตาท่านพูดถึงว่าขณะของท่านที่วัดดอยธรรมเจดีย์ ขณะท่านรุนแรง แล้วท่านเห็นการแยกออกระหว่างโลกกับธรรมเลย ท่านสะเทือนใจเป็นปลงธรรมสังเวชแล้วท่านน้ำตาไหล

พวกนั้นก็มาหาเราเยอะแยะไปหมดเลย บอกพระอรหันต์เป็นอย่างนี้ได้อย่างไร พระอรหันต์เป็นอย่างนี้ได้อย่างไร นี่ความเห็นไง ความเห็นถึงพระอรหันต์ เราก็พูดกับเขานะ เราพยายามพูดให้เขาฟังว่า มันมีในสวนมะพร้าว ในพระไตรปิฎก ในสวนมะพร้าวมันมีพระอรหันต์ ๕ องค์เถียงกัน พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระอุบาลี อีกสององค์จำไม่ได้ พระโมคคัลลานะก็บอกว่าฌานดีที่สุด ความเห็นคือฌานนี่อันดับหนึ่ง คือฌานสำคัญที่สุด เพราะมีความรู้เรื่องฤทธิ์ไง ฤทธิ์ดีที่สุด พระสารีบุตรก็บอกว่าปัญญาดีที่สุด พระอุบาลีบอกวินัยดีที่สุด ทุกคนบอกว่าความถนัดของตัวคือสิ่งที่ดีที่สุด

โยม ๒ : ความถนัด

หลวงพ่อ : ความถนัดของตัวคือสิ่งที่ดีที่สุด ตกลงกันไม่ได้ ก็เลยไปเฝ้าพระพุทธเจ้าด้วยกัน พระพุทธเจ้าคือผู้ตัดสิน ไปถึงพระพุทธเจ้าบอกว่า ถามว่า เขาว่าสิ่งนี้เขาบอกทุกอย่างดีที่สุด พระพุทธเจ้าบอกว่าอาสวักขยญาณสำคัญที่สุด อาสวักขยญาณ ญาณที่ชำระกิเลสสำคัญที่สุด เพราะญาณอันนั้นชำระให้ผู้นี้เป็นพระอรหันต์ขึ้นมา สิ่งที่ตัวเองถนัดไม่ใช่ว่าสำคัญที่สุด เพราะถนัดของตัว ตัวว่าสำคัญที่สุด

เราพูดอย่างนี้ไปใช่ไหม พวกนี้นะ เราแปลกใจ เขาถามว่า แล้วจริงหรือเปล่า เราก็ถามกลับ เฮ้ย พวก ๙ ประโยค ๑๐ ประโยคนี่นะเป็นอาจารย์สอนอยู่ในมหามงกุฎฯ มหาจุฬาฯ นี่ กอดตำราอยู่ เราพูดเรื่องตำรามาถามเราได้อย่างไร เราซะอีกต้องถามพวกอาจารย์สอนต่างหาก แล้วพวกอาจารย์สอนทำไมกลับมาถามเรา นี่เลยบอกปรับความเห็นไง ความเห็นนะ ทิฏฐิคือความเห็น สัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นน่ะมันเป็นความเห็น เวลาเราพูด เราพูดแบบให้เป็นคตินะ เราบอกพระไตรปิฎกนะปลวกมันกินทั้งเล่มเลย ปลวกมันยังไม่ได้อะไรเลย ปลวกน่ะ แล้วความเห็นมันเป็นความเห็นของเรา

โยม ๒ : คือที่เมื่อกี้ผมพูดก็หมายความว่าเห็นแบบที่เรายอมรับด้วย

หลวงพ่อ : ไม่ใช่

โยม ๒ : ทีนี้ถ้าเห็นทั่วไปก็คือแค่เข้าใจใช่ไหม

หลวงพ่อ : ใช่ มันไม่ยอมรับ

โยม ๒ : แต่มันไม่เข้าซึ้ง ทีนี้ถ้าเราปฏิบัติไปด้วย เราก็จะเข้าซึ้งถึงสามคำที่ว่าไหมครับ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา..

หลวงพ่อ : ไม่ นี่ อันนี้อันหนึ่งนะ แต่ที่พูดในวงการปฏิบัตินี่นะ เวลามันปล่อยอย่างนี้ มันปล่อย เป็นตทังคปหาน ใช่ไหม การปล่อยโดยชั่วคราว กับสมุจเฉทปหาน การขาดโดยกิเลส ทีนี้เวลาวิปัสสนาไป เวลาทำไปมันมีตรงนี้ มันมีตทังคปหาน ขณะตทังคปหานมันปล่อยขนาดนี้ ที่พูดเมื่อกี้ไงว่า เราจะรู้ไปเรื่อยๆ ไง ปฏิบัติจะเข้าถึงใจไง ถ้าเข้าถึงใจขนาดไหนมันก็เป็นตทังคปหาน พอมันปล่อยมันก็มหัศจรรย์แล้ว

เราจะบอกว่าสมาธินะ ผลของสมาธิคือความสุขอันหนึ่ง ถ้าผลของภาวนาที่ว่ารู้ได้อย่างไร เพราะเวลามันปล่อย มันมีความว่าง ว่างของสมาธิกับว่างของปัญญามันต่างกัน ว่างของปัญญามันมีสมาธิหนุนรับมันจะปล่อยลึกกว่าซึ้งกว่าแต่มันก็ไม่มีจุดสรุป ไม่มีขณะจิต ขณะจิตคือขณะที่มันขาดมันจะเป็นสมุจเฉทฯ ถ้าสมุจเฉทฯ อย่างนี้ปั๊บ เห็นไหม คำว่าสมุจเฉทฯ ความกิเลสมันขาด สังโยชน์มันขาดออกไป มันไม่ใช่ความเห็นไม่ใช่ประสบการณ์ มันเป็นข้อเท็จจริงเลย

โยม ๒:ใช่ครับ แต่พระโสดาก็ยังไม่ใช่เป็นสมุจเฉทฯ

หลวงพ่อ : สมุจเฉทฯ

โยม ๒:สมุจเฉทฯ ของพระโสดาเหรอ

หลวงพ่อ : แน่นอน

โยม ๒:อย่างเช่น อาจารย์ยกตัวอย่าง อย่างเช่น ตัวอย่างครับ ว่าเหตุการณ์จะต้องเป็นอย่างไรครับที่ว่าสมุจเฉทฯ ของพระโสดา

หลวงพ่อ : สมุจเฉทฯ พระโสดาบันนะ ถ้าพิจารณาเป็นปัญญาวิมุตตินะ พิจารณา พิจารณา พอจิตมันสงบเข้าไปใช่ไหม พอจิตสงบ จิตนี้สงบ แล้วจิตมันจับจิตได้ จิตจับจิตได้จิตคือจับสิ่งที่เป็นนามรูป นามรูปที่ว่านามรูปที่เป็นปัญญา ปัญญาเป็นความคิดที่จับได้ พอจับได้ พอจับได้ พอจับได้มันเป็นสสาร เป็นสสารที่ธาตุรู้ มันแยก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แยกอย่างไร เพราะอะไร เพราะมันมีวิญญาณเป็นตัวเชื่อม

มันแยกขนาดไหน พอมันแยกปุ๊บมันก็ปล่อยทีหนึ่งปล่อยทีหนึ่ง ถึงที่สุด ถึงที่สุดถ้าเป็นสมุจเฉทฯ นะ ขันธ์นี่ ขันธ์เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ขาดแยกปุ๊บ ขาดออกจากกัน จิตรวมตัวลง รวมตัวลง รับรู้ขึ้นมา สัมปยุติ วิปปยุติ คลายออกมา ขาด พิจารณากาย พิจารณาถ้าเป็นเจโตวิมุตติ พิจารณากาย จิตนี่เห็นสภาวะของกาย กายที่เป็นนิมิต ทีนี้เป็นวิภาคะมันแยก แยกนี่เป็นอนัตตา จากอุคหนิมิตเป็นปฏิภาคนิมิต แยก พอแยกไปแยกไปมันก็ปล่อย แยกนี่มันสอนตัวไง

เหมือนกับเราแลคเชอร์ให้นักเรียนดู โอ้ ใช่ ใช่ ใช่ อันนั้นมันทำให้จิตดู ปัญญาของจิต พอจิตมันดู ทีแรกมันดูทีก็.. ก็มันหลงผิด พอดูอีกที ก็มันก็ผิด แล้วมันยิ่งผิดใหญ่เลย มันจะผิดไปเรื่อย มึงผิดๆๆ พอผิดถึงที่สุดปั๊บนะ ธรรมมันสมดุล พอธรรมสมดุลปั๊บรวมลง ต่างอันต่างจริง มันต่างอันต่างสมมุติ กายก็เป็นเรา ขันธ์ก็เป็นเรา จิตก็เป็นเรา ทุกอย่างเป็นเราหมดเลย นี่ไงสมมุติไง

มันต่างกันต่างสมมุติ แล้วจิตมันจริง จิตมันจริงเพราะมันไม่เคยตาย แต่มันสมมุติ สมมุติว่าเกิดเป็นมนุษย์ แล้วพอมันพิจารณาไป กายก็กาย จิตก็ต่างอันต่างจริง ต่อไปนี้ กายก็จริงของกาย จิตก็จริงของจิต ทุกข์ก็จริงของทุกข์ นี่จิตก็จริงของจิต แล้วอะไรอีกที่มันรวมตัวลง นี่คืออริยสัจ พอขาดปุ๊บ จิตเป็นจิตเลยไม่มีอะไรเลย

โยม ๒:อันนั้นคือสภาวะแสดงออกในขณะนั้น ถูกไหมครับอาจารย์ เสร็จแล้วพระโสดาก็ยังต้องกลับมาที่ว่าร้องไห้ได้อะไรได้ก็แสดงว่ากลับมายึดเหมือนเดิม

หลวงพ่อ : ไม่มีทาง ถ้ามันขาดไปแล้วจะมายึดได้อย่างไร คำว่าต่างอันต่างจริง

โยม ๒:ครับ แต่ว่าขณะนั้นที่อาจารย์ยกคือพระโสดาหรือพระอรหันต์ครับ

หลวงพ่อ : พระโสดา นี่แค่โสดาบันเอง

โยม ๒:นั่นน่ะครับ

หลวงพ่อ : เออ

โยม ๒:ทีนี้พระโสดา สมมุติว่า ไม่ได้สมมุติครับ เรื่องจริงก็คือว่า

หลวงพ่อ : เออ ร้องไห้

โยม ๒:มีสภาวะนั้นที่คือ

หลวงพ่อ : ขาดไปแล้ว

โยม ๒:ก็คือขาดไปแล้ว

หลวงพ่อ : เออ

โยม ๒:แต่พอออกมา พ้นจากสภาวะนั้นล่ะ แล้วพอถึงวันรุ่งขึ้น

หลวงพ่อ : ก็ไปร้องไห้

โยม ๒:ซึ่งผมมองว่าสภาวะนั้นเหมือนเป็นสภาวะที่ จะเรียกว่า สมมุติเราเข้าใจ สมมุติถูก ผมยกตัวอย่างมีผู้ปฏิบัติคนหนึ่งเข้าใจคำว่าอนัตตา แต่ต่างกับปฏิบัติ มีอาการคล้ายๆ อย่างที่อาจารย์เล่านี่นะครับ แต่เขาก็สามารถกลับมาที่จะ..ร้องไห้ที่ว่า นี่ครับยกตัวอย่าง

หลวงพ่อ : ร้องไห้ได้ ร้องไห้ได้ทั้งนั้นน่ะ คำว่าร้องไห้ได้นี่นะมันไม่เกี่ยวกับตรงนี้เลย ไอ้ตรงนี้พอขาดแล้วคือขาดแล้ว โยมเป็นหนี้เราสี่ล้าน โยมใช้หนี้เราแล้วล้านหนึ่ง แล้วโยมมีสิทธิเสียใจร้องไห้ได้ไหม ร้องไห้ได้อยู่ตามปกติใช่ไหม เพราะอะไรเพราะโยมก็คือโยม แต่หนี้ที่ใช้เราแล้วก็คือใช้เราแล้ว ใช้หนี้แล้วกับร้องไห้เกี่ยวอะไรกัน

โยม ๒:ก็คือผมฟังว่าอาจารย์เล่านี่มันค่อนข้างจะเหมือนสมุจเฉทฯ

หลวงพ่อ : สมุจเฉทฯ

โยม ๒:ที่อาจารย์เล่า

หลวงพ่อ : ใช่ๆ

โยม ๒:อาจารย์ก็ยังยืนยันว่าเป็นสมุจเฉทฯ

หลวงพ่อ : สมุจเฉทฯ ใช่

โยม ๒:แต่ผมมองว่าโดยสภาวะอารมณ์ของเราที่ผู้ปฏิบัตินี่นะครับ

หลวงพ่อ : เป็นอย่างนี้ได้ทุกคน

โยม ๒:จะย้อนไปย้อนมา คือจะเจอสภาวะนี้ก็เจอกันได้

หลวงพ่อ : ใช่ แล้วเจอ ถ้าคิดว่าจะเจอสภาวะแบบนี้ เราจะบอกว่านี่เขาคิด ทางอภิธรรมบอกว่านี่คือนิมิต

โยม ๒:อ๋อ ไม่ใช่ครับ

หลวงพ่อ : นี่คือจิตที่มันเป็นประสบการณ์อันนิดเดียว อันที่ว่ามันเป็นประสบการณ์ได้ คือแบบว่าเป็นจินตนาการได้ มันสร้างภาพได้

โยม ๒:คือผมว่าส่วนมากผู้ปฏิบัตินี่

โยม ๑: อันนี้คือสันตติหรือคะ

โยม ๒:ยัง

หลวงพ่อ : ยัง

โยม ๒:ยัง สันตติแปลว่าความต่อเนื่อง

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๒:อันนี้มันยังไม่ผ่าน แต่ว่าอาจารย์ สมุจเฉทฯ เฉพาะ จะว่าเป็นช่วงของพระโสดา ซึ่งผมมองว่าอย่างนี้ครับอาจารย์

หลวงพ่อ : ได้ๆๆ ใช่ อยากให้โยมคุยเต็มที่เลย

โยม ๒:ผมเล่าประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติคนหนึ่งแล้วกันนะครับคือว่าจะเป็นใครก็ได้ ก็คือว่าโดยธรรมชาติผู้ปฏิบัติจะต้องพบสภาวะที่อาจารย์เล่าอยู่บ่อยๆ เหมือนกัน เพียงแต่ แต่ละครั้งเราจะรู้สึกเลยนะครับว่า เหมือนกับเราก้าวข้ามไปหลายขั้นในสภาวะจิตของเรา ที่อาจารย์เล่าอย่างนี้ อาจารย์ใช้คำว่าสมุจเฉทฯ แต่ผมไม่ได้ใช้คำว่าสมุจเฉทฯ แต่ผมมองว่ามันเป็นอัศจรรย์ขึ้นมาในจิตเรา

หลวงต่อ : ว่าไปสิ ว่าไปเลย

โยม ๒:ทีนี้มันจะเกิดอยู่ หลาย ครั้งก็แล้วกันนะครับอาจารย์ คือแต่ละหนึ่งครั้งมันก็จะทำให้เรามองเห็นว่า เหมือนกับอย่างที่ผมบอกเหมือนมันพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ แต่ผมไม่ได้หมายความว่าความเป็นผู้ใหญ่มันน่าหยิ่งผยองอะไรนะครับอาจารย์ แต่ผมมองว่าเหมือนกับว่าจิตของเรา เวลาเรา สมัยก่อน เราจะเป็น ถ้าเป็นนักแสดง เป็นผู้แสดง ลงไปพัวพัน ไม่ได้ก็ ไม่ได้สิ่งที่ต้องการก็จะเป็นทุกข์มาก ถ้าเป็นผู้ใหญ่เราก็จะทุกข์น้อยเพราะเหมือนกับเราผ่านมาแล้ว เหมือนอย่างนั้นนะครับอาจารย์ ฉะนั้นการปฏิบัติก็จะพบสภาวะอย่างที่อาจารย์เล่า

หลวงพ่อ : ไม่ มันพบสภาวะแต่ถ้ามันไม่มีอาจารย์ มันไม่มีอาจารย์รู้ทัน เราก็ยึดของเราแล้วเราก็หลงของเรา มันจะหลง มันจะหลงหมายถึงว่ามันวุฒิภาวะมันไม่พอ ทำไมนะ ทำไมเวลาบางทีครูบาอาจารย์ต้องรอ อินทรี พละ พละนะ ดูสิ ในพระอภิธรรมบอกว่าพระอรหันต์จะต้องสร้างมาแสนกัปพระพุทธเจ้าต้อง ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ใช่ไหม มันเป็นภวาสวะที่จิต มีภาวะมีกำลังจะรับอริยภูมิได้หรือไม่ได้

ไอ้ตรงนี้มันก็มีส่วนใช่ไหม แล้วอย่างที่พูดเมื่อกี้ ในการปฏิบัติมาอย่างโยมพูดยังน้อยไป เวลาเราปฏิบัติกันนี่ธรรมมันเกิด คำว่าธรรมเกิดธรรมไม่ใช่อริยสัจ เข้าใจคำว่าธรรมกับคำว่าอริยสัจไหม อริยสัจคือสัจจะความจริงที่เราก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา ศีล สมาธิ ปัญญา แต่ถ้าเราทำสมาธิขึ้นไปมันมีสภาวธรรมเกิด สภาวธรรมเกิด สมมุติว่าจิต ไม่สมมุติจริงๆ เลยนี่ จิตเรารวมตัวลง สงบลงนี่มันธรรมพรั่งพรูออกมา มีธรรมพรั่งพรูออกมานะ พอธรรมพรั่งพรูนี่มันแตกฉาน

พอแตกฉานขึ้นมา พระบางองค์เวลาประพฤติปฏิบัติ พอมีปัญหาอยากจะเทศน์มาก อยากจะสอนมาก ทั้งๆ ที่ยังไม่เข้าอริยสัจเลยนะ มันมีธรรม ดูสิ เขาเรียกธรรมแตกไง สภาวธรรมมันเกิดได้ตลอด สภาวธรรมมันอยู่ที่หัวใจเรา หัวใจเราสงบขนาดไหน มันมีความรู้สึก รู้ตื้นลึกหนาบาง ไม่ใช่อริยสัจเลย

อริยสัจ ที่ว่าสภาวะที่เป็นอย่างนั้นๆ บางคนมันเป็นไปไม่ได้ จริงอยู่ มันเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะว่าเราศึกษาธรรมะกัน เราศึกษานะมันมีข้อมูล พอมีข้อมูล จิตนี่สร้างภาพได้หมด มันเป็นสัญญาไง แต่ถ้าเป็นของเรานะ สัญญาขนาดไหนนะ สัญญาก็คือสัญญา ความจริงก็คือความจริง จับอย่างนี้จริงๆ ก็จริงอย่างนี้ ถ้าจับอย่างนี้ อื้ม กูก็จับอยู่อย่างนี้ อื้ม อื้ม กูก็จับอยู่นี้มันก็จับต่างกัน

เราเองนี่แหละจะต้องทดสอบเราเอง ในการปฏิบัติไปนี่ ครูบาอาจารย์บอกจับ ก็ผมก็จับแล้วนี่ ก็จับสิ ก็จับแล้วนี่ เถียงกันจนตาย ให้จับอย่างนี้สิ ก็ผมก็จับอยู่แล้วนี่ มันจับเหมือนกัน แต่จับโดนหรือจับไม่โดน จับถึงจิตหรือจับไม่ถึงจิต แล้วคนฟังจะรู้ อาจารย์จะรู้ เพราะอะไรรู้ไหม คนจับเป็นกับคนจับไม่เป็น เพราะเราพูดนะ อย่างคณะสัจธรรมทัวร์มาเมื่อก่อนมาบ่อยมาก มาถึงก็บอกว่างๆ ว่างๆ เราบอกว่าพวกโยมนี่ทุจริตหมดเลย สมมุติว่าให้โยมกำหนดพุทโธได้ไหม ได้ค่ะ ก็ทำไมไม่กำหนดล่ะ ก็มันหยาบไง นี่ ก็จับแล้วน่ะ ก็จับแล้ว ก็ว่างแล้ว ก็บอกว่าให้กำหนดพุทโธๆ ให้ว่าง ก็นี่ว่างแล้ว ทำอย่างไรต่อไป ไปไหนมาสามวาสองศอก พูดคนละเรื่องเดียวกัน

โยม ๑: ถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่า ถ้าไม่ว่าพิจารณาความคิดหรือพิจารณาสังขาร ถ้าคิดว่ามันสิ้นสุดคือต้องเห็นทุกข์ ต้องเห็นโทษของสิ่งที่คิดนั้น

หลวงพ่อ : ฮึ เห็นทุกข์เห็นโทษนี่นะ มันเห็นทุกข์เห็นโทษมันต้องสงบเข้ามา แล้วมันต้องจับได้ คำว่าจับได้นี่สำคัญมาก คำว่าจับได้ นี่ วิปัสสนามันเกิดตรงนี้ กาย เวทนา จิต ธรรม มันเหมือนกับที่สกปรกที่ไหน ต้องทำความสะอาดที่นั่น แล้วความจริงๆ แล้วมันสกปรกที่จิต กายเกยมันเป็นภาพล่อให้จิตออกมาวิปัสสนาเท่านั้น จริงๆ เรื่องกาย เรื่องเห็นกงเห็นกายนี่ กายนี่มันก็คือสภาวะกาย มันก็เป็นธาตุอันหนึ่งเท่านั้นแหละ แต่เพราะจิตนี่มันยึด จิตนี่มันเข้าใจผิด ถึงต้องเอากายล่อให้จิตมันออกมาวิปัสสนาให้มันมาศึกษา

ถ้ามันศึกษามันเห็นจริงขึ้นมาแล้วมันเห็นโทษ เห็นโทษหมายถึงว่าเพราะถ้ามัน พอเราพิจารณาไป ถ้าพิจารณากายนะ มันเป็นไตรลักษณ์คือมันแปรสภาพ ถ้าพิจารณาถึงสกิทานะ มันจะกลับคืนสู่สภาพของมัน คือว่าดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ มันจะกลับคืนสู่สภาพเดิมของมัน จะไม่มีอะไรเลย จะหลุดออกหมดเลย จิตจะพ้นออกไป

แล้วพอพิจารณาเข้าไปมันจะถึงอสุภะ อสุภะเพราะอะไร อสุภะเพราะจิตโดยสามัญสำนึก เพราะคนนี่ชอบสวยชอบงาม ที่กามราคะชอบเพราะชอบกลิ่นหอมสวยงาม ของดีๆ ทั้งนั้นน่ะ แล้วมันดีจริงไหมล่ะ มันดีไม่จริงเพราะอะไร มันดีไม่จริงเพราะว่าจิตนี่มันชอบความงามอย่างนั้น มันเป็นสุภะ มันชอบงาม ชอบสวยงาม แต่ถ้าโดยสภาวธรรม โดยสภาวธรรมถ้าจิตนี่มันมีสมาธิมันมีสติแล้วนี่ พอมันเจอกายขึ้นมา มันวิปัสสนาไป มันจะแปรสภาพ คือมันจะเน่า มันจะหนอง

โอ้โฮ มันจะแปรสภาพเพราะมันเป็นอสุภะ อสุภะเพราะมันเป็นสภาวะของน้ำหนัก ของสมาธิ ของสติปัญญา แล้วมันเห็น เห็นที่ใจ อ๊อก อ๊อก ตลอดเลยนะ อ๋อ เป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้มันก็ถอน ถอนมันก็ละเอียดเข้ามาๆ พอละเอียดเข้ามามันกลืนเข้าไปที่ใจ แล้วมันไปทำลายกันที่ใจ ก็เพราะมันเห็นดีเห็นโทษ เราก็พูดอย่างนี้ โดยสามัญสำนึกแล้วนี่ คิดแบบวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเลย ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนี้

พอพิจารณาไป ข้อเท็จจริงมันจะเป็นอย่างอื่น กลับไม่ยอม จะดึงให้เป็นอย่างนี้ ตายห่าเลย อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด เพราะจริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน ปัจจุบันมันจะเป็นอะไรให้มันเป็นไป มันจะเป็นปัจจุบัน เดี๋ยวนี้ก็ต้องเป็นอย่างนี้ มันจะเป็นเดี๋ยวนี้ก็ต้องดูมันเดี๋ยวนี้ มันจะเป็นอย่างไรก็ต้องดูมันตรงนั้น เพราะมันเป็นที่ มันเป็นค่าของใจ ค่าของบุญกุศล ค่าของคนมันไม่เท่ากัน ค่าของชีวิตนี่ เอ็งสร้างมานี่ บาปกุศลเอ็งสร้างมานี่ไม่มีใครเท่ากันเลย

ฉะนั้นพิจารณากายได้เหมือนกันหมด พิจารณากายเหมือนกันหมด บางคนพิจารณาแค่นี้ พรึ่บ หายแล้ว บางคนพิจารณาขนาดนี้ยังไม่หายสักที เพราะอะไร เพราะกิเลสทิฏฐิมานะมันมากกว่าเขา ธรรมของใจนี่มันไม่เท่ากัน ทีนี้มันไม่เท่ากันหมายถึงว่าเป็นปัจจุบันตลอดไป อย่าเอาของใครมาเทียบกับของใคร นี่คำว่าเห็นคุณเห็นโทษ เห็นคุณเห็นโทษ เห็นคุณเห็นโทษในปัจจุบัน เห็นคุณเห็นโทษเพราะมันเป็นไตรลักษณ์ คือมึงจะบ้าเหรอไปจับของที่ไม่มี

โยม ๒ : ครับอาจารย์ ผมสรุปอย่างที่อาจารย์พูด

หลวงพ่อ : แล้วเขาไม่ทำอะไรเลย เขาปฏิบัติอย่างเดียว เขาบอกเขาโน้มเอียงไปทางมหายาน แล้วพอถึงเวลาเขาภาวนาไป เขาไปเห็นกามราคะ เขามาหาเรานะ หลวงพ่อ ทุกข์น่าดูเลย นั่งอย่างนี้แล้วก็เอาหน้าให้มันต่อย สู้มันไม่ได้เลย ต้องยื่นหน้าให้มันต่อยอย่างนี้ เราก็บอกว่า ก็ไหนมึงบอกว่าทานไม่มีผลไง นี่มัน เพราะมันสร้างมาอย่างไร ดูสิ ทำไมพระสีวลีกับพระอรหันต์ที่ว่า บวชเป็นพระอรหันต์ แต่กินข้าวไม่เคยอิ่มเลย พระอรหันต์เหมือนกัน อีกคนรวยมหาศาลเลย อีกคนหนึ่งไม่มีจะกิน นี่มันเป็นอย่างนี้ถึงบอกว่านะเราทำไปโดยปัจจุบัน ทำอะไรก็ได้ ทำอะไรก็ได้แต่มีสติ แล้วไล่ ไล่ไป ไล่กับความคิด ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิก็ไล่กันไป ถ้าพุทโธก็ต้องพุทโธเข้ามา

โยม ๒:อย่างนี้โดยทั่วไปนี่ครับอาจารย์ คือผมพูดถึงผู้ปฏิบัติที่จะพยายามมีสตินะครับ แต่มันก็พยายามไม่ได้เพราะกำลังมันไม่พอ

หลวงพ่อ : กำลังไม่พอเราพูดตรงนี้แล้วใช่ไหม พูดถึงว่าเราต้องย้อนกลับมาดู

โยม ๒:ที่ว่า ทาน ศีล ทีนี้จะได้ภาวนาไหมครับ หมายถึงว่าภาวนาในแง่ต้องนั่งสมาธิมากเพื่อให้เกิดกำลังหรือเปล่า อย่างนี้หรือเปล่า

หลวงพ่อ : ไอ้อย่างนี้เท่ากับทำโอได้ แต่ทีนี้มันอยู่ที่ว่าพอมีเวลาหรือเปล่า เพราะการภาวนานี่เดินจงกรมก็ได้อะไรก็ได้ การเคลื่อนไหวก็ได้ ใช่ไหม เพราะว่าการเคลื่อนไหวได้มันก็ทำได้ แต่ถ้าพูดถึงว่าให้เน้นน่ะเน้น เพราะอะไร เพราะคนตั้งสติ คนเตรียมพร้อมดีกว่าคนเผอเรอ ถ้าเน้นได้

โยม ๒:หมายถึง อาจารย์ก็ยังส่งเสริมว่าการนั่งสมาธิจะเป็นตัวสร้างพลัง

หลวงพ่อ : แน่นอน ตัวตั้งสมาธิเพราะมันก็โอกาส เราต้องเน้นให้คนมีโอกาสมากที่สุด แล้วจะทำได้ไม่ได้นั่นอีกประเด็นหนึ่ง การนั่งสมาธิการเดินจงกรมนี้เป็นโอกาสของเรานะ เราสร้างโอกาสของเรา เราไม่ทำลายโอกาสของเรา

โยม ๒ : อ้าว ใครจะถามอาจารย์ ให้คนอื่นถามบ้าง

หลวงพ่อ : อ้าว มีอะไรว่ามา ทีนี้พูดถึงเขา เขาไม่ถามแล้ว แสดงว่าเขายังไม่มีอะไรถาม ทีนี้ย้อนกลับมาเมื่อกี้นี้ ย้อนกลับมาที่ว่า ถ้ามันขาดแล้วนี่ การร้องไห้อยู่ การร้องไห้อยู่เมื่อกี้ หมายถึงว่า มันร้องไห้อยู่ มันยังมีทุกข์อยู่ หรือมันขาดแล้วทำไมถึงต้องร้องไห้

โยม ๒:พระอรหันต์ก็ร้องไห้

หลวงพ่อ : ร้องไห้ ร้องไห้นี่พูดถึง ร้องไห้ โยมเข้าใจแค่นี้ ทุกข์ถึงร้องไห้ใช่ไหม

โยม ๒:ส่วนมากเราไม่ได้ดั่งใจเราร้อง

หลวงพ่อ : ฮ่ะฮ่ะฮ่ะ ถ้าได้ดั่งใจ สมใจเกินไปร้องไห้ มีไหม

โยม ๒:ก็มีครับ คือผมมองว่ามันเป็นการสวิงที่ไม่อยู่ตรงกลาง ถึงร้องไห้

หลวงพ่อ : การร้องไห้นี่มันเป็นเรื่องของธาตุขันธ์ ดูอย่างที่นางวิสาขาร้องไห้นี่เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าพระโสดาบันมันยังมีความทุกข์ได้ เพราะว่าพระสกิทา อนาคา เห็นไหม ถ้าเป็นพระโสดาบัน ทำไมนางวิสาขาได้เป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ทำไมมีครอบครัว มีลูก๒๑ คนล่ะ เพราะยังละกามราคะไม่ได้ แต่อย่างพระอรหันต์ พระอรหันต์นี่นะ พูดถึงนะ มันเป็นปลงธรรมสังเวช อย่างพระอรหันต์นะ อย่างโยมนี่ แล้วเกิดถ้ามีอะไรสะเทือนใจถึงในศาสนา โยมจะเสียใจไหม

โยม ๒:ตอนนี้ยังเสียอยู่ครับ

หลวงพ่อ : เป็นพระอรหันต์ก็เสียใจ คำว่าเสียใจนี่มันเป็นธรรมสังเวชไง เพราะอะไรรู้ไหม พระอรหันต์นะ ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ สอุปาทิเสสนิพพาน สะ คือความคิดในเศษส่วน สอุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์ยังมีร่างกายมีจิตใจอยู่ไง

โยม ๒:แต่ผมมองว่าความพลิกตัวพลิกใจมันจะเร็วนะครับ

หลวงพ่อ : เร็ว โอ้โฮ เร็วสิ

โยม ๒:ทีนี้ถ้าเราร้องไห้ มันเหมือนกับมันใช้ มันลงไปลึกเกินกว่าที่จะพลิก คือผมมักจะนึกถึงคำของ เอาคำของหลวงปู่ดูลย์ส่วนหนึ่ง แล้วอีกส่วนหนึ่งจากประสบการณ์ของเราเองนะครับอาจารย์ ก็คือว่าที่มีคนถามว่า “หลวงปู่ดูลย์ยังโกรธไหม?” หลวงปู่บอก “มีแต่ไม่เอา” คือคำนี้ผมก็ตีความว่า รับรู้ได้อย่างที่อาจารย์ว่านะครับ แต่ว่าความเร็วของมันก็คือว่าไม่ไหลตามมันไป

หลวงพ่อ :ใช่

โยม ๒:ทีนี้ผมมองว่าการร้องไห้มันเหมือนไหลตาม มันน่าจะ

หลวงพ่อ : อันนี้ไหลตามนี่มันไม่ใช่ไหลตาม เพราะว่ามันอยู่ที่ประสบการณ์ไง ประสบการณ์ว่าซึ้งใจกับอะไร มันเป็นธรรม ถ้าพูดถึงเรา เราก็ร้องไห้มันเป็นกิเลส แต่นี่มันเป็นธรรม พอเป็นธรรม เพราะมันมีธรรมสังเวช ปลงธรรมสังเวช มันเป็นธรรมแล้วมันสังเวช มันสะเทือนใจ

โยม ๒: แต่ระยะเวลามันคงจะนานมาก

หลวงพ่อ : ไม่นาน

โยม ๒:คือโดยทั่วไป อย่างสมมุติว่าเราถูกปั่น เราก็โกรธง่ายๆ เลย แต่ผมบอกผมไม่โกรธแล้วนะ แต่ว่ามันมีน้อยจนกระทั่งเรารู้สึกพอใจกับมันนะครับ คืออย่างเรื่องโกรธนะครับ ถ้าเผื่อเราไหวตัวทันคือเรามีสติหรืออะไรก็แล้วแต่ เขาเรียกพลังเราดีนี่นะ มันก็จะไม่โกรธ หมายถึงว่า คือรู้ว่ากำลังจะโกรธหรือว่าอาการอย่างนี้เป็นสิ่งที่เราเคยไม่พอใจ แล้วมันก็จะหายไปเองโดยอัตโนมัติครับ

หลวงพ่อ : ใช่ๆๆๆ ใช่เพราะอะไรรู้ไหม ถ้าจิตมันดี เราพูดถึงน้ำขึ้นน้ำลงเมื่อกี้ ถ้าน้ำมันขึ้นนะ เวลาจิตมันดีนะ โอ๊ย พระอรหันต์ดีๆ โลกนี้มีความสุขมากเลย ถ้าจิตมันเสื่อมนะ โอ๊ย ทุกข์ทั้งโลกบีบกูคนเดียวเลยล่ะ ถ้าจิตมันดี นี่ไง ถ้าภาวนาอยู่ ถ้าจิตมันดีนะ ทันหมด เหมือนพระอรหันต์เลย แล้วเข้าใจว่าพระอรหันต์ พอเข้าใจว่าเพราะจิตมันดี

พอจิตมันดีแล้วมันไม่มีเชาวน์ปัญญาที่จะหาเหตุหาผลมาทำงานได้ มันต้อง จิตจะดีขนาดไหนนะ เวลาอัปปนาสมาธินี่ มันสักแต่ว่าเลย มันตัดหมดนะ สมาธินี่ตัดกายได้เลย เพราะอะไร เพราะมันเข้าไปสงบจนไม่รับรู้กาย ถ้ามันรับรู้กาย หูตาจะไม่ได้ยิน อัปปนาสมาธิ หูนี่ดับหมด ทุกอย่างดับหมด มันละกายได้เลยนะ แต่เดี๋ยวมันก็คายออกมา นี่ถ้าจิตมันดี ถ้าจิตมันดีนะ โอ๊ย ไม่โกรธ โทษนะ ใครตบหน้าให้ตบอีกทีหนึ่ง ไม่โกรธเลย ถ้าจิตฉันดี โอ๊ย ฉันดีมาก ขณะที่มันดี

แล้วขณะที่มันเสื่อมนะ อย่าเข้ามาใกล้เลยนะ พอเราเสื่อม แต่ แต่ถ้ามันขาดแล้วนะ มันไม่มีตรงนี้ ไม่ใช่ว่ามันจะเร็วนะ มันไม่มีเลย มันไม่มีเลยหมายถึงว่ามันจะเข้ามาที่พระโสดาบัน ต่างอันต่างจริง ระดับที่ต่างอันต่างจริง สักกายทิฏฐิ ความเห็นเรื่องกายมันต่างอันต่างจริง แต่เวลามันเสียใจว่าหลานตาย มันเสียใจเรื่องความผูกพันลึกๆ เห็นไหม มันก็เสียใจ

ทีนี้พระอรหันต์เวลาที่ว่าร้องไห้ปลงธรรมสังเวช อะไรที่มันจะกระเทือนกับวัฏฏะ ดูสิ เวลาพระอรหันต์ที่ว่าเป็นเณร เป็นองค์อุปัฏฐากหลวงตา หลวงตาเอาพัดตบจนตาแตกไม่รู้ตัว พอบอกว่า

“เณรทำไมทำอย่างนั้น?”

“ก็ตามันแตกแล้ว”

โอ้โฮ สังเวชมาก “ขอขมา”

“ไม่ต้องขอขมาหรอก มันเป็นเรื่องของวัฏฏะ”

เรื่องของวัฏฏะคือว่ามันเกิดมาเจอกันน่ะ แล้วเหตุการณ์มันก็มาเจอกันอย่างนี้ ไม่เสียใจไม่อะไรใจเลยไม่ทุกข์ใจเลย นี่มันผลของวัฏฏะไง ทีนี้ผลของวัฏฏะ สิ่งที่มันสะเทือนใจเรื่องอย่างนี้ เรื่องว่านี่วัฏฏะ อย่างเรานี่ โทษนะ เราเป็นหมอ เวลาเห็นคนไข้เข้ามาที่เขาประพฤติตัวไม่ดี เขากินเหล้าหยำเปแล้วเขาเป็นโรคมานี่เราสังเวชไหม แต่เขาทำตัวเขาไม่ได้เขาใช้ชีวิตอย่างนั้นใช่ไหม เขาต้องกินเหล้ากันทั้งปีทั้งชาติ เขาต้องสำมะเลเทเมา เขาต้องเสียเงินเสียทอง แล้วชีวิตเขาก็ทุกข์อยู่อย่างนั้น เราเห็นแล้วก็ของแค่นี้ละไม่ได้ แต่เขาละไม่ได้นะ

โยม ๒:ถ้าตัวอย่างนี้ได้ไหมครับอาจารย์ ความสังเวช ถ้าเราปฏิบัติช่วงต้นเราจะสังเวชมาก รวมทั้งไม่พอใจ ถูกไหมครับ แต่ถ้าเกิดพออาการจิตเราพัฒนา ผมมองว่าใช้คำว่าพัฒนาก็แล้วกันนะครับอาจารย์ เราก็จะมองว่าก็สังเวชอย่างที่อาจารย์ว่า แต่ว่ามันเร็วไงครับ ก็คือว่า เราก็จะไม่ เหมือนกับทำงานกันตามปกติล่ะ คือสังเวชก็แวบหนึ่งหรือน้อยหนึ่ง อะไรอย่างนี้

หลวงพ่อ : มันเป็นสุดวิสัยที่จะคุมได้ มันเป็นเหตุสุดวิสัยที่เราจะไปควบคุมมัน

โยม ๒:คือผมใช้ศัพท์ว่าเรามองธรรมชาติตามความเป็นจริง คือผมมองว่าเวลาเราปฏิบัติไป ถ้าเราเหมือนกับที่ว่าเป็นผู้ใหญ่ขึ้นก็คือคำนี้ล่ะครับ

หลวงพ่อ : ใช่ อันนี้เราจะพูดไง เราจะพูดว่า ไอ้อย่างนี้มันเป็นเรื่องของวัฏฏะ เรื่องอย่างนี้มันเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นเรื่องของธรรม มันเป็นธรรมะที่เหนือธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นกฎของธรรมชาติ ใช่ไหม กฎธรรมชาติ ความแปรปรวนของกฎธรรมชาติ ชีวิตนี้ก็กฎตายตัวธรรมชาติ กิเลสก็เป็นธรรมชาติ เพราะมันอยู่กับใจ เพราะใจมันต้องหมุนไปตามมัน แล้วพอธรรมะมันเกิด มันเกิดเหนือธรรมชาติ อริยสัจมันเป็นสัจจะ อริยะสัจจะ มันไปทำลายสิ่งที่รู้ตามกฎธรรมชาติ สิ่งที่ต้องเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ทำลายสิ่งนั้นจนพ้นออกไปจากธรรมชาติ ธรรมเหนือโลกคือธรรมะที่เหนือธรรมชาติ มันถึงไม่เวียนกลับมาที่ธรรมชาติ

โยม ๒:หลวงพ่อครับ นักปฏิบัตินี่งานอยู่ที่การทำงานที่ความคิด หรืออยู่ที่ทำงานด้วยความรู้สึก

หลวงพ่อ : ถ้าเริ่มต้น พูดถึงว่ามันเกี่ยวเนื่องกันนะ เพราะความคิดนะ ถ้าไม่มีความรู้สึกความคิดคิดไม่ได้ ความคิดมันต้องความรู้สึกเป็นฐานของความคิด ความคิดไม่ใช่ความรู้สึก ความรู้สึกไม่ใช่ความคิด แต่ความคิดถ้าไม่มีฐานความรู้สึก ความคิดเกิดไม่ได้ เพราะความคิดเกิดจากจิต

โยม ๒:แสดงว่าความคิดที่เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความรู้สึกอีกทีมันเป็นแต่ละบุคคล

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๒:แสดงว่าความคิดนี่อาจเป็นตัวปิดล้อมความรู้สึกได้ใช่ไหมครับในแต่ละบุคคล

หลวงพ่อ : ถ้าพูดอย่างนี้ ถ้าความคิดปิดล้อมความรู้สึกเรา ความคิดปิดล้อมความรู้สึก ความคิดอบรมสมาธินี่ไง นี่ ปัญญาอบรมสมาธิเลย ความคิดปิดล้อมเข้ามา เพราะธรรมดาพอคิดแล้วนี่มันต่างออกไป พลังงานมันออกไปกับความคิด เพราะความคิดนี่มันคิดเองไม่ได้ มันต้องมีพลังงาน พลังงานไปกับความคิด ความคิดพอคิดออกไปก็ทุกข์ออกไป ก็ส่งออกหมด ส่งออกหมด คนก็เลยแห้งผากกันอยู่นี่ก็เลยทุกข์ร้อนเพราะไม่มีอะไร

แต่ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิก็ย้อนกลับ ความคิดก็ไล่ต้อนกลับ ไล่ต้อนความรู้สึกให้มันทรงตัวขึ้นมา ความสะสมของความรู้สึกนั่นคือสมาธิ พอสมาธิมันมีกำลังขึ้นมา สมาธิมันก็ย้อนออกไปวิปัสสนา คือออกไปดูความคิดเพราะความคิดไม่ใช่จิต แล้วมันติดกันอยู่ตรงนี้ คือว่าสังโยชน์มันติดอยู่ตรงนี้ สังโยชน์มันติดอยู่ที่ฐีติจิตนี้ แล้วพอปัญญามันเป็นธรรม

ธรรมก็คือสัญญานี่แหละ คือสังขารความคิดนี่แหละ แต่ว่ามันมีสมาธิ พอมีสมาธินี่มันไม่มีกิเลส ไม่มีกิเลสเจือปน แต่พอโดยคิดเราปกตินี่ คิดโดยธรรมชาติของเรานี่มันมีกิเลสเจือปน ก็ความคิดเราเหมือนกัน คิดธรรมะนี่เหมือนกัน แต่กิเลสมันเจือปน มันถึงไม่เป็นธรรม มันถึงเป็นโลกียปัญญา

แต่ถ้าเป็น มันมีสมาธิขึ้นมา พอสมาธิมันเกิดขึ้นมา เพราะมันมีสมาธิ สมาธิเป็นสากล สมาธิเป็นแบบ..สมาธินี่เหมือนพระอรหันต์ก็ได้ เพราะสมาธินี่ กิเลสสงบตัวลงถึงมีสมาธิ พอสมาธิเกิดขึ้น พอมีสมาธิปุ๊บ ความคิดมันเกิดขึ้นมาจากความรู้สึกอันนี้มันก็เป็นธรรม แล้วเขาว่ามันเป็นความอยาก ห้ามมีความอยากเลย ความอยากอันนี้ ความอยากในการดำรงชีวิต ความอยากจะมีสถานะ นั่นคือกิเลส

ความอยากในธรรม อันนี้มันเป็นมรรค เป็นมรรคแล้วมันย้อนกลับมาก่อน ย้อนกลับมาเพราะความอยากอันนี้จะให้พลังงานตรงนี้มันสร้างตัวขึ้นมา อันนี้พูดโดยหลักนะ แล้วไปทำนี่แล้วแต่ไปทำ จะไปเก็บเล็กผสมน้อย ไอ้นั่นมันเรื่องส่วนตัว

โยม ๑: ก็คือสมมุติว่าจะมีขั้นตอนไหมคะในการปฏิบัติ คือตอนช่วงแรกจะเป็นเรื่องของการปรับยกกำลัง (ใช่) แล้วก็การเดินวิปัสสนา (ใช่) ทีนี้ในช่วงการสะสมกำลังของแต่ละบุคคลก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีในรูปแบบว่า พุทโธ ยุบหนอพองหนอ อะไรอย่างนี้ใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : ใช่ ๆ ใช่ทั้งหมดเลย แต่เราค้านหน่อยเดียวเท่านั้นล่ะ เราค้านว่าต้องมีสติ ทีนี้เราค้านว่าต้องมีสติ สตินี่เหมือนกับเรา เรานี่เรารู้ว่าเราทำงานอะไร ที่เราค้านอภิธรรมที่ผิดตรงไหนรู้ไหม ผิดที่ไม่รู้ว่าทำอะไร เพราะคิดว่าตัวเองเป็นวิปัสสนาสายตรง เป็นการวิปัสสนาทางตรง วิปัสสนาทางตรงก็คิดว่าเป็นวิปัสสนาทั้งๆ ที่มันเป็นสมถะ สมถะพอมันใช้ความคิดไปแล้วนี่มันหยุด คิดนามรูปคิดอะไรน่ะ อย่างที่โยมว่านี่มันหยุด นั่นสมถะทั้งนั้นล่ะ เพราะมันไม่มีการแก้กิเลสเลย แต่มันเป็นการสร้างกำลังใจขึ้นมา พอสร้างกำลังใจขึ้นมาแล้ว เพราะมันไม่เข้าใจตัวเองก็เลยเป็นมิจฉา

มิจฉาเพราะว่ามันไม่มีสติควบคุมตัวเอง พลังงาน มันเป็นพลังงานขึ้นมา แต่พลังงานไม่มีเจ้าของ แต่ถ้ามีสติตามไป ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ มันมีสติตามไป เห็นไหม เวลามันเป็นพลังงานขึ้นมา เราก็ ก็กูเป็นเจ้าของพลังงานนะเว้ย ก็กูเป็นแล้วกูก็ยก กูก็บังคับ สมาธิใช่ไหม พอมีสติใช่ไหม มันน้อมไป น้อมไปดูกาย น้อมไปดูเวทนา น้อมไปดูจิต น้อมไปดูธรรม ถ้าน้อมไปเห็นนะ ขอให้โยมได้เห็นเถอะ ถ้าโยมได้เห็นนะ มันจะมาโต้แย้งกับสิ่งที่โยมเห็นมาข้างหน้า เพราะสิ่งที่โยมเห็นมาแล้วนี่มันเห็นในโลกสมมุติ เห็นในโลกียปัญญา มันเป็นข้อมูลที่สะสมเพราะเราเห็นเองรู้เองนี่มันอยู่เต็มหัวอก แต่เราจะไม่มีข้อมูลอันอื่นมาเปรียบเทียบ แต่ถ้าจิตเราสงบนะ จิตเรามีฐานแล้วนะ เรารำพึงไปที่กายหรือรำพึงไปที่จิต

ถ้ามันเห็นขึ้นมานะ แล้วยกตัวเองขึ้นมาเนาะ เรามาอยู่ที่โพธาราม โยมเกียเฮงนี่แกฟังวิทยุทุกวัน แกมาหาเราบ่อย แกเป็นคหบดีอายุเจ็ดสิบแปดสิบแล้ว เวลามาหาเรา อายุมาก แล้วเป็นนักธรรมมาตั้งแต่เด็กๆ เพราะว่าเขาอยู่ในวงนี้ เพราะเขาบอกว่า เขามาเจอเราบอกว่า “ผมมานี่ผมไม่มีตัวของกูแล้ว” เราก็เฉย เฉย บอก เพราะเขาฟังธรรมะไง แล้วพอถึงเวลาเราจะแก้เขานะ พอเขาบอกเขาไม่มีตัวของกูแล้ว เราบอก “ไอ้ที่ไม่มีตัวของกู ในโรงพยาบาลศรีธัญญาเต็มไปหมดเลย”

โอ้โฮ แกโกรธใหญ่เลยนะ “แล้วนี่ให้ทำอย่างไรล่ะ อย่างนี้ให้ทำอย่างไร” เราบอกต้องทำจิตสงบก่อนสิ ทำจิตสงบก่อน ก่อนที่จะไม่มีของกูนี่มันต้องมีเหตุมีผล แกก็ไปทำของแกนะ แกไปทำของแก ทำเรื่อย อายุตั้งเจ็ดสิบแปดสิบแล้ว แกปฏิบัติมาตลอด แต่ไม่มีใครบอก พอแกทำไป จิตแกสงบนะ พอสงบปั๊บแกเห็นเป็นโครงกระดูกมาเลย

ตกบ่ายมานะ แกมาทุกวัน คหบดีนี่ แกมาหาพระต้องมีอะไรติดมือมา แกจะมีถาดใบหนึ่ง แล้วมีถ้วยกาแฟถ้วยหนึ่ง ชงกาแฟมาให้ทุกวัน วันละถ้วย ทุกวันจะมาเถียงกับแก แล้วนั่งคุยกันเรื่องธรรมะ คนแก่นี่ พอแกไปเห็นโครงกระดูก ขนลุก แกถือถ้วยกาแฟมานี่ “โอ้โฮๆ หลวงพ่อ เมื่อคืนนะเห็นกระดูกนะ จะว่ากลัวก็ไม่กลัว จะว่ากล้าก็ไม่กล้า โอ้โฮๆ”

คนเรานะจะไม่มีตัวกูของกูนะมันต้องเห็นกายก่อน มันต้องเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม แล้ววิปัสสนา กาย เวทนา จิต ธรรม ให้มันสัจจะ เป็นสัจจะความจริง มันถึงจะไม่มีตัวของกู นี่ไม่ได้ทำอะไรกันเลย ฟังเฉยๆ แล้วก็ไม่มีตัวของกู ก็บอกกูก็ไม่มีตัวของกู กูก็ไม่มีเพราะกูกดมันไว้ กูก็ไม่มี ก็กูไม่มี พอไปพูดให้แกฟัง โยมเกียเฮง แล้วพระที่มาอยู่กับเรา “โห หลวงพ่อ หลวงพ่อ เท่ากับมาเอาเขาโดยเฉพาะ”

เพราะเราไปอยู่ที่โพธาราม บ้านแกอยู่ข้างๆ แล้วแกบอกแกสนใจเรื่องพระมาก แล้วแกไปคุยกับใครก็ไม่รู้เรื่อง พอมาคุยกับเรานี่ถูกอกถูกใจไปหมดเลย แล้วก็จะให้เรายอมรับว่าแกมีขั้นมีตอนไง เราก็ฟังไปเรื่อยๆ พอถึงวันไหนเราก็บอกว่าไม่มีอย่างนี้ ไม่มีของกู อยู่โรงพยาบาลศรีธัญญาเต็มไปหมดเลย เพราะมันปฏิเสธหมดไง

โยม ๒:อาจารย์ครับ แล้วคนเราจะหลงตัวเองได้ขนาดนั้นเหรอครับว่าเราไม่มีตัวกูของกู โดยที่ทุกวันก็จะต้องมีอารมณ์แสดงออกอยู่นะครับ แล้วทำไมจะไปเข้าใจว่าเราไม่มีอยู่ได้อย่างไร

หลวงพ่อ : อ้าว ก็เขาเข้าใจของเขาอย่างนั้น เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเขาคิดว่าเวลาเขามีอารมณ์ขึ้นมานี่เขาคิดว่าเขาทันไง เพราะอารมณ์เป็นเรา สังเกตได้ไหม เด็กลูกเราหลานเรานี่มันจะบอกมันไม่ผิด เพราะอะไร เพราะมันเป็นคนทำผิด มันก็บอกว่ามันไม่ผิด ไอ้เราก็เหมือนกัน มันมีอยู่นี่ บอกว่ามันไม่มี

โยม ๒: แต่อันนั้นมันเด็กนะครับ เราเป็นผู้ปฏิบัติ เราต้องยอมรับสภาพธรรมชาติ ต้องยอมรับความจริง

หลวงพ่อ : เออ อันนั้น เราดูเขาอยู่ เราไม่ได้ดูเราเอง เราพูดอยู่ได้ใครผิด

โยม ๒: แต่ว่าในความเป็นจริงเราก็...ก็มีการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้

หลวงพ่อ : ไม่ดูตัวเองเลย กิเลสมันส่งออกหมดนะ กิเลสไม่ย้อนกลับหรอก

โยม ๒:คือผมเทียบกับประสบการณ์การปฏิบัติของที่ทุกคนต้องทำผ่านมานะครับ มันก็ต้องยุติธรรมกับตัวเองใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : เราว่ายุติธรรมนะ กิเลสมันให้ค่าเรานี่นะ เวลามันให้ค่ามันบวกสองบวกสามนะ ฟังเทศน์หลวงตา ฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์นี่ เหมือนกูเลย เหมือนกูเลย ปีนบันไดเทียบตลอด เหมือนกัน เหมือนกัน แล้วเอาจริงๆ เข้าเหมือนไหม ไม่เหมือนหรอก กิเลสมันให้คะแนนตัวเอง สองเท่าสามเท่า โธ่ ถ้าปฏิบัติมันจะรู้ มันให้คะแนนตัวเอง พอให้คะแนนปั๊บนะมันก็สบายใจ มันก็เคลิบเคลิ้ม มันก็เหมือนจริงเลย ทั้งๆ ที่ไม่จริง

ไม่จริงเพราะอะไรรู้ไหม ไม่จริงถ้าอยู่กับครูบาอาจารย์ ไม่จริงตอนนี้ ไม่จริงตอนเวลาท่านพูดอะไรนี่ เราจะไม่เข้าใจเหมือนกันหมด มันจะขัด เราไม่ทันไง เวลาท่านพูดอะไรนี่ เอ๊ะ ทำไมกูไม่รู้วะ หืม.. มันน่าจะรู้สิ ไม่รู้หรอก แต่ถ้าเราพูดถึงผลนะ เออ คล้ายกัน แต่เวลาท่านฝึก เหมือนเราเป็นหมอ เทคนิคในการกระทำ หมอจบใหม่มามันสู้เราไม่ได้หรอก เราชำนาญกว่าเขาเยอะ นี่ก็เหมือนกัน ปฏิบัติไปถ้าเราเป็นนะ ไอ้ไม่เป็นทำไม่ได้หรอก แต่เวลาพูดมันเห็นผลข้างนอกว่ากูก็ทำได้ กูทำได้ดีกว่านี้เยอะ แต่ให้ทำจริงๆ ทำไม่ได้ ทำไม่ได้หรอก

โยม ๒:มันมืดขนาดหนักนะครับ ถ้าพูดอย่างนั้น

หลวงพ่อ : ลองดูสิ ลองดูสิ โธ่ กิเลสนะ เราอยู่ในวงการพระ พระเรานี่เป็นร้อย นักปฏิบัติล้วนๆ นะ โธ่ แล้วเราคุยกันนะ โธ่ เหมือนกับโยมอยู่ในวงการวิชาการ ลองย้อนกลับไปดูในวงวิชาการสิ เวลาไอ้คนที่อีโก้มันแรงๆ โยมคิดว่ามันเป็นอย่างไรล่ะ พระก็เหมือนกัน เวลามันปฏิบัติมันเป็นอย่างนั้น มันเป็นอย่างนั้นเลย แล้วเวลาทำออกมา มันดูที่ข้อเท็จจริง ธรรมะนี่เวลาพูดนี่สำคัญ นี่อย่างพูดเมื่อกี้นี้ พอโยมพูดถึงว่าไอ้ที่ว่าร้องไห้ ร้องไห้น่ะ โยมยังติดใจ ยังติดใจอย่างนั้นเลย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะความคิดของเราเป็นอย่างนี้

เรานะเวลาเราเรานั่งอยู่นี่นะ เวลาทุกคนเห็นหลวงตาเป็นอย่างนั้น แล้วทุกคนลูกศิษย์หลวงตามาหาเรานี่ จะเอากิริยาอย่างนั้นมาแสดงให้เราดู ว่าร้องไห้แล้วให้เรายอมรับ เราบอกว่า “เฮ้ย ถ้าร้องไห้เป็นพระอรหันต์นะ เด็กอนุบาล ตอนเช้าๆ ไปโรงเรียน มันร้องไห้เต็มเลย นั่นพระอรหันต์ทั้งนั้นล่ะ” การร้องไห้ของเด็ก กับสิ่งที่เกิดเป็นการปลงธรรมสังเวช ท่านพูดขนาดนี้ หลวงตาเวลาพูดกับข้างในนะ “นี่มันเป็นกิริยาของขันธ์ ขันธ์ทำงาน ขันธ์ทำงาน”

คือสมมุติทำงาน นี่ย้อนมาเวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย เห็นไหม คือธาตุร่างกาย ร่างกายมันขับ มันขับเคลื่อนของมันไป ขันธ์มันทำงาน ขันธ์มันทำงาน โอ้โฮ ท่านพูดนะ เวลามันออก “ดูสิ ดูสิ ดูขันธ์มันทำงาน” คือใจมันฟรีแล้ว เหมือนรถมันฟรีไปแล้ว แต่แรงเฉื่อยมันยังมี ขันธ์ทำงาน ขันธ์ทำงาน โอ้โฮ แล้วท่านก็เต็มที่ของท่านนะ ทีนี้ ขันธ์ ขันธ์ ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่นิพพาน ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นิพพานไม่ได้ ใจนิพพาน ความคิดนิพพานไม่ได้ ความคิดคือขันธ์ ๕ คือสังขารความคิดเกิดดับ

โยม ๑: หลวงพ่อคะ หนูต่อด้วยเรื่องกำลังเมื่อกี้ค่ะ คือถ้าอาศัยกำลังเราจะต้องเข้าไปถึงสมาธิขั้นอัปปนาก่อนหรือเปล่าคะ หรือว่าแค่..

หลวงพ่อ : โดยหลัก ถ้าพูดอย่างนี้นะ คนจะพูดบ่อย โดยหลัก ถ้าเราภาวนา ขณิกสมาธิ ถ้าอุปจารสมาธิ ขณิกะนี่สมาธิสงบเล็กน้อย แต่ถ้าขณิกะ คำว่าขณิกสมาธิ ขณิกะคือวงรอบของจิต เพราะฉะนั้นถ้าวิปัสสนานี่มัน ขณิกสมาธิเพราะจิตมันมีวงรอบ มันมีฝึกมีความรับรู้ มีความรับรู้นี่มันฝึกงาน คือมีการทำงานของจิตมันอยู่ที่ขณิกะอยู่ที่อุปจารสมาธิ ทีนี้พอถึงนี้ปั๊บ พอถึงตรงนี้ปั๊บกำลังไม่พอ คำว่ากำลังไม่พอมันยกของไม่ได้ อย่างเด็กนี่ยกของหนักไม่ได้

ถ้าจิตอย่างนี้ปั๊บมันไม่เห็นกายไม่เห็นอะไรเลย ถ้าไม่เห็นกายจะทดสอบอย่างไรว่าเราคือมีนิสัยอย่างไร คือนิสัยเราต้องพิจารณากาย หรือต้องพิจารณาจิต หรือต้องพิจารณาเวทนา หรือพิจารณาธรรม ใช่ไหม อย่างนั้นปั๊บเราก็พยายามทำให้สงบเข้าไปอีก เข้าไปถึงอัปปนาสมาธิ ก็มีฐานขึ้นมา แล้วออกมารำพึง รำพึงถึงกาย ถ้ามี เรารำพึง เราฝึกขึ้นมา คือว่าปัญญาต้องฝึก ถ้าปัญญาไม่ฝึกนะ พระพุทธเจ้าไม่ต้องเกิด ฤๅษีชีไพรไปนิพพานหมดแล้ว

สมาธิเกิดปัญญาไม่ได้ แต่ถ้าไม่มีสมาธิ โลกุตรปัญญาก็เกิดไม่ได้ เป็นโลกียปัญญาหมด ต้องมีสมาธิ พอมีสมาธิถ้ามันไม่ได้อีก มันไม่ได้ใช่ไหม เราก็ใช้รำพึงขึ้นมา ถ้ามันเห็นเอง เห็นไหม คำว่าเห็นเองมันเป็นวาสนาใช่ไหม เหมือนเราจบมานี่ โอ้โฮ งานรอกูแล้ว แต่ถ้ากูจบมาแล้วงานไม่มีกูต้องไปหางานทำ ถ้าจบมามีงานเลยมันก็มี ถ้าจิตสงบมันก็เห็นกายเลย

แต่ถ้าจบมาแล้วงานไม่มีทำอย่างไร รำพึง รำพึงคือในใจนี่นึกในสมาธิ นึกกายขึ้นมานึกขึ้นมาก่อน จุดประเด็นมันขึ้นมา รำพึงมันขึ้นมา ตั้งประเด็นมันขึ้นมา ถ้าตั้งประเด็นขึ้นมามันได้ก็คือได้ ถ้าไม่ได้นะก็พิจารณากายโดยปัญญาแล้ว ถ้าไม่ได้ ไม่ได้ใช่ไหม เราจะพิจารณากายแบบหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ดูลย์พิจารณากายโดยไม่ต้องเห็นกาย ใช้ปัญญาเปรียบเทียบ

ร่างกายมนุษย์มันเกิดมาโดยเพราะเหตุใด ร่างกายใช้อะไรเป็นอาหาร ร่างกายมนุษย์มันเสื่อมสภาพอย่างไร ร่างกายมนุษย์มันแปรสภาพอย่างไร นี่คือการพิจารณากายโดยปัญญาไง แต่ถ้าจิตมันสงบก่อน ทีนี้คำว่า คำว่า เราเน้นตรงนี้ปั๊บ ทุกคน พระกรรมฐานลูกศิษย์กรรมฐานก็เลยเข่าอ่อนเลย โอ้โฮ แล้วเมื่อไรจะมีสมาธิ แล้วเมื่อไหร่จะได้วิปัสสนาเสียที มันก็อย่างนี้ ถ้าจิตของเรา เราทำสมาธิ พอทำสมาธิ สมาธินี่มันเข้าได้ยาก มันไม่สงบซะที เราใช้ปัญญาได้ คือใช้ปัญญา

ปัญญาอบรมสมาธิคือปัญญาเปรียบเทียบ คือพิจารณากายก็ได้ พิจารณาก็ได้ พิจารณาเพื่อ พิจารณาให้มันสังเวช เห็นกายนอก เราไปเที่ยวป่าช้ามานี่กายนอก โดยสามัญสำนึกเราไปถนน เราไปเจออุบัติเหตุ เห็นไหม เห็นอุบัติเหตุ มันยังสยดสยอง มันเห็นแล้วมันสังเวช ถ้าเราไปดูกายนอก เราไปดูพิจารณาอย่างนี้ เพื่อให้มันสลดขึ้นมา คือไม่ให้มันฟุ้งซ่านไง พอไม่ฟุ้งซ่านมันก็สงบเข้ามา

ถ้าเราใช้ปัญญา ปัญญามันใช้ได้แต่ แต่เราดูว่าปัญญาที่เราใช้มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ อย่าให้กิเลสมันหลอกไง พอใช้ปัญญาปุ๊บมันปล่อยวาง ก็คิดว่าผล พอคิดว่าผลแล้วมันประมาท พอประมาทปุ๊บมันทำให้การปฏิบัติเรามันไม่ต่อเนื่อง มันไม่ต่อเนื่อง มันไม่สืบต่อ แล้วมันก็ขาดวรรคขาดตอน มันก็ขลุกขลัก มันก็กลับตัวไม่เป็น ก็พลิกไปพลิกมา เลิกดีกว่าวะ จบกันเลย

โยม ๑: ถ้าอย่างนั้นกลับมา คำว่าสัมมาสมาธิคือสมาธิที่ใช้งานได้

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ :ก็ตั้งต้นที่อัปปนาสมาธิเท่านั้น คำพูดนี้ถูกหรือผิด

หลวงพ่อ : ไม่ ผิด อัปปนาสมาธินี่นะ มันเป็นแบบว่า เพราะบางคนไม่เคยเข้าถึงอัปปนาสมาธิเลยก็มี แล้วพิจารณาไปเรื่อยๆ อัปปนาสมาธินี่มันเป็นฐีติจิต คือข้อมูลคือฐานของจิตที่ลึกที่สุดคือแค่นี้ จิตที่เข้าไปถึงทิฏฐิคือจิตเดิมแท้ ปฏิสนธิจิต คือตัวที่จิตเกิดจิตตายคือตัวนี้ คือสภาวะคือภพ คือตัวจิต เข้าไปถึงตรงนี้ปั๊บมันจะตัดเลย นี่สมาธิที่ละกายได้ พอถึงตรงนี้ปั๊บมันจะไม่รับรู้เรื่องกายเลย จิตอยู่ในร่างกายนี้ แต่มันถอยลงมา หดลงมา จนไม่รับรู้ร่างกายนี้ได้เลย บางคนก็เข้าถึงได้ ถ้าบางคนเข้าถึงไม่ได้ พอดีชาตินี้เอ็งไม่ต้องทำเลยหรอก

ฉะนั้นเข้าถึงนี่เพื่อตรวจสอบไง เพื่อตรวจสอบนิสัยพวกเราเพื่อตรวจสอบว่ากำลัง เพื่อตรวจสอบว่าเราควรจะทำงานชนิดไหน ถ้าเราจะตรวจสอบนะ ทีนี้ถ้าเราโอกาสเราตรวจสอบมันไม่มี เราก็ใช้วิปัสสนาไป พอมันทำไป เดี๋ยวมันจะมีช่องทางให้ มันจะมีช่องทางไปเพราะอะไรรู้ไหม คำว่าช่องทาง เพราะเราปฏิบัติมาแล้ว ถ้าเราทำไป เมื่อก่อนนะ เราพิจารณาเราเห็นกายเยอะแยะเลยแล้วเรานึกว่าพิจารณากาย แล้วพอพิจารณาๆ ไปมันอั้นตู้

พออั้นตู้ขึ้นมาเราก็พยายามเปรียบเทียบ เพราะเราเคยอยู่โพธารามมันมีการเก็บศพ มันมีการรูดศพ เขารูดศพกันน่ะเก็บศพ เราก็เอาภาพนั้นมานึก มันก็สลดใจวันสองวันแล้วมันก็ไม่เอา มันก็ไม่เอา ขนาดเราเห็นแล้ว เรานึกเรายังต้องพิจารณากายเลย แล้วทำไมมันอั้นตู้ มันไปไม่ได้ ทำอย่างไรมันก็เหมือนกับเอาหัวนี่ชนภูเขาเลย ทำอย่างไรดี แล้วก็ลองมาใช้ปัญญาที่ว่านี่

ปัญญาอบรมสมาธินี่ พอใช้ปัญญาอบรมสมาธินี่มันปล่อย มันคิดแล้วมันดี พอคิดไปแล้วมันสลด มันหดเข้ามา มันรู้เท่าความคิด พอรู้เท่ามันก็หยุด เอ๊ะ ทำไมมันทำแล้วรู้สึกว่ามันคล่องตัว นี่น่าจะเป็นทางของเรา นั่งสมาธิอยู่นะ พอตกกลางคืนนั่งสมาธินั่งตรงนี้อยู่นะ กลางคืนนั่งสมาธิอยู่เกิดนิมิต หลวงปู่มั่นเดินมานะยืนตรงหน้าถือไม้เท้ามาอย่างนี้ “นี่ทางของมึง ทางของมึง” ตั้งแต่นั้นมาเราก็ใช้ปัญญาใหญ่เลย

พอใช้ปัญญาใหญ่เลย พอใช้ปัญญาไปมันก็ไปจับจิตได้ เราเห็นจิตเลยนะ เพราะทีแรกโดยสามัญสำนึกนี่เราว่าจิตนี่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ คำว่านามธรรมคือมันไม่มีตัวตน คือมันไม่มีสิ่งใดใด แล้วก็จิต เราก็ไล่เข้าไปเรื่อยๆ พอจิตมันดีขึ้นมาเราก็ไล่ใช่ไหม พอไล่เข้าไปมันก็ติด ติดเพราะว่ามันนั่งไปแล้วมันเกิดอาการที่ว่า มันตกภวังค์ นั่งไป ๗-๘ ชั่วโมงหายหมดเลย นั่งนี่จะออกเมื่อไหร่ก็ได้ พอออกมานี่ วันหนึ่งมันเห็นน้ำลายติดที่จีวร เฮ้ย มึงนั่งหลับ มึงนั่งหลับ

โยม ๑: คือมันไม่ใช่สมาธิ(ใช่) คือนั่งนานๆ แต่นั่งหลับอย่างนี้(ใช่) ถ้ายังมีสติแล้วมีสมาธิต้องนั่งตรง(ใช่) ถ้านั่งแล้วหลับนี่คือไม่ใช่(ใช่) ถึงจะนั่งทั้งคืนก็ไม่ใช่

หลวงพ่อ : ไม่ใช่ พอไปได้น้ำลาย อ้าวน้ำลาย เอ็งนั่งหลับ พอนั่งหลับก็รู้ตัวเอง พอรู้ตัวเองก็หาทาง หาทางจะแก้ภวังค์ ก็เริ่มผ่อนอาหารแล้วมันไม่ได้ พอผ่อนอาหารปั๊บ เราก็แบบว่าพอจะผ่อนอาหารไง มันก็อยู่ในป่า กลอยนี่แช่น้ำก็คิดว่าต้องให้อิ่มหนึ่ง เพราะมื้อเดียวน่ะ อะไรมาก็ตัก มันเผลอ เวลาเดินจงกรม เอาล่ะ โทษนะ ไอ้สัตว์ ไอ้ชาติชั่ว มึงเลวชาติ มึงเฮงซวย มึงชาติชั่ว ครูบาอาจารย์ท่านไม่ติดนรก มึงนี่เลวชาติมาก มึงนี่เฮงซวย เกิดมาเสียชาติเกิด อู๊ย เพราะเข้าใจว่า ถ้าคนสละรสได้คือรสมันจืด คือไม่มีรสไง

พอมันถึงเต็มที่แล้ว ด่าจนอยู่สามวันเดินจงกรมนี่ รูป รส กลิ่น เสียง ไง เวลามันขึ้นนะ พอเวลาปัญญามันทันนะ เฮ้ย ครูบาอาจารย์ไม่ใช่ตะเข้นะ ครูบาอาจารย์ท่านก็มีลิ้น รสก็คือรส เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม ก็อันเดิมนั่นแหละ แต่ท่านถอนอัตตานุทิฎฐิ ท่านถอนทิฎฐิ ท่านถอนอุปาทานในรสนั้น ปั๊บ พรุ่งนี้มานะ กลอยมานะ ตักชิ้นเดียวแล้วพูดกับมันด้วย กูตักมึงชิ้นเดียวเท่ากับกูตักมึงทั้งกะละมัง เพราะในกะละมังนี้กับชิ้นนี้รสเดียวกัน กูกินชิ้นเดียวกูเท่ากับกินทั้งกะละมังเลย สติมันพร้อมขนาดนั้นน่ะ แล้วก็กินวันละคำ วันละคำมา

พอวันละคำจะเข้าตรงนี้ มันก็ไล่เข้าไปเรื่อยๆ พอมันตัดรูป รส กลิ่น เสียง แล้วมันไม่มีอารมณ์ มันเฉยตลอด เฉยเราก็ไล่เข้าไปเรื่อยๆ ไล่เข้าไปเรื่อยๆ พอไล่เข้าไปเรื่อยๆ จิตมันสงบไปเรื่อยๆ สงบไปเรื่อยๆ นะ พอมันไปเห็นจิต จิตนี่นะมันเป็นเหมือนกับผ้าแพร แต่เป็นแบบใสๆ นะ ผ้าแพรมันเหมือนกับสายฟ้าน่ะ พอเดินจงกรมอยู่มันฟาดใส่หน้านี่ พั่บ! พั่บ! พั่บ! เฮ้ย ไหนว่าจิตมันไม่มีวะ แล้วที่มันฟาดใส่หน้ากูนี่มันอะไร ทางจงกรมเดินชัดๆ นี่นะกลางวัน กลางวันนี่ ฟาดใส่หน้าเลย พั่บ! พั่บ! เป็นเหมือนผ้าแพรนี่เป็นสายเลย ฟาดใส่หน้า

“เฮ้ย จิตมันมีอย่างนี้เหรอ” จับได้แล้วนะมันเห็น จิตเห็นจิต พอเสร็จออกจากทางจงกรมวิ่งไปหาอาจารย์เลย จะเอาพยานนะ “อาจารย์ อาจารย์ ไหนว่าจิตมันไม่มีไง” “แล้วใครบอกมึงว่ามันไม่มี” กูเดินลงบันไดเลย ก็ความเข้าใจของปุถุชนเราใช่ไหม อ่านหนังสือ อ่านแม่งทั่วโลกอ่านหมดเลย ว่าจิตเป็นนามธรรม จิตจับต้องไม่ได้ แต่กูนี่ มันฟาดใส่หน้ากูเอง จับต้องไม่ได้ได้อย่างไร

แล้วตั้งแต่นั้นมา พอจับได้แล้วก็แยกแล้ว ความรู้สึกอันนี้คือรูป มันมีเวทนาคือความรู้สึก มันมีเวทนาคือแบ่งได้ชั่วและดี มันมีสัญญาถึงมีข้อมูลให้ความคิดเกิดขึ้นมาได้ ความคิดเกิดขึ้นมาได้มันมีสัญญาปรุง สัญญาจะปรุงได้มันต้องมีวิญญาณรับรู้ ให้ขันธ์ ๕ นี้รวมเป็นอารมณ์ความรู้สึกความคิดถึงเกิด ความคิดเกิดเกิดเพราะข้อมูลเกิดเพราะความรู้สึก แล้วพอปัญญามันไล่เข้ามาปุ๊บ ขันธ์ ๕ แยกปุ๊บ ปล่อย จิตเป็นจิต ขันธ์เป็นขันธ์ อยู่อย่างนั้นน่ะ วันแล้ววันเล่า วันแล้ววันเล่า

แล้วเวลามันทันขึ้นมา สติมันทันขึ้นมา ไปที่สัญญา คือความรู้สึกนี่อยู่ที่สัญญาไว้ จะไม่มีความคิดเลย ปล่อยมันออกมา ปล่อยมาคือสังขาร สังขารคิดเพราะอะไร สังขารคิดเพราะมีข้อมูลเพราะข้อมูลแล้วมีความรู้สึก รู้สึกคือเวทนา เวทนาดีหรือชั่ว ดีหรือชั่ว วิญญาณสมานให้ขันธ์ทั้งห้ากองนี้เป็นนามธรรม เป็นความรู้สึก เป็นอารมณ์ อารมณ์ก็หมุนไปอยู่อย่างนี้ แยกออก แยกออก พออารมณ์เป็นไป พออารมณ์เอาไป อารมณ์คือสสาร สสารสิ่งที่ทุกข์ที่สุดคือให้ค่า ให้ค่าของกิเลส ให้ค่าว่าดีก็เป็นสุข ให้ค่าว่าชั่วก็เป็นทุกข์ ไล่เข้าไป ไล่เข้าไป มันก็ ปล่อย ปล่อย ปล่อยเพราะมันเข็ด

เข็ดเพราะมันเคยเจริญแล้วเสื่อมมามากแล้ว ก็เลยไล่ไปเยอะ วันหนึ่งหลายรอบนะ เดินจงกรม ทั้งวันๆ อยู่อย่างนั้น พิจารณาไป ปล่อย ปล่อย ถึงที่สุด ขันธ์เป็นขันธ์ มันแยก ฟุ๊บ! จิตปล่อยหมดเลย เอออันนี้ล่ะใช่ อันนี้ใช่ พอใช่ขึ้นมาน่ะ โอ้โฮ ตั้งแต่นั้นมาก็เข้าบ้านตาด พอใช่ พอดีเครื่องบินก็ตก เครื่องบินอาจารย์จวนตกปี ๒๔ พอตกก็กูหมดหมออีกแล้ว ควาญช้างไม่มี ช้างไม่มีควาญตายห่า เดี๋ยวไปขวิดเขาตาย ต้องไปหาควาญใหม่ เข้าบ้านตาดเลย

พอเข้าบ้านตาดไป ท่านก็ไล่เข้าไปอีก อัดเข้าไปเลย อัดเข้าไปเลยก็ใส่เข้าไปอีก พอใส่เข้าไป ใส่เข้าไป ทีนี้แบบว่า หมอกับหมอคุยกันนะมันส์ตายห่าเลย นี่คนภาวนาใส่กันนะโอ้โฮ ซัดกันทั้งวัน ซัดกันอยู่อย่างนั้น มันรู้จริงเห็นจริง นี่ยกมาให้โยมฟังตั้งยาวตั้งยืดเลย ก็เพราะว่าถ้าจิตนี่มันมีพลังงานก่อนใช่ไหมแล้วค่อยออกวิปัสสนา เราจะบอกว่าที่ยกมาให้ฟังตลอดนี่ มันออกฤทธิ์ มันใช้ปัญญาได้เลย ไม่ใช่ต้องรอให้เป็นอัปปนาสมาธิหรือมีกำลังแล้วค่อยวิปัสสนา

แต่เราเข้าใจว่าที่เราใช้ปัญญานี่คือปัญญาเพื่อจะให้จิตมันสงบ เพื่อจะสร้างฐาน แล้วถ้ามันเห็นอีกทีหนึ่ง พอมันคิดอย่างนี้ปั๊บ จิตมันอยากทำงาน จิตมันจะค้นคว้า ไม่ใช่ว่าเราบอกนี่เป็นวิปัสสนาแล้วนะ กิเลสมันก็จะสวมรอย ว่ามันใช้ปัญญาแล้ว วิปัสสนาแล้ว เหมือนกับมันจะไม่ละเอียดไง มันไม่ละเอียดคือมันไม่คอยค้นคว้า มันไม่จับจำเลยไง แต่ถ้าจิตเรา

ถ้าเราบอกว่านี่ นี่ นี่ นี่เป็นการสร้างพลังงานนะ ปัญญานี้ก็เป็นปัญญาสร้างพลังงาน เพื่อให้พลังงานมันแก่กล้าขึ้นมา เพื่อพลังงานนี่ให้เห็นจำเลย ให้เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม แล้วถ้าเห็น มีการกระทบให้เห็นแล้วขึ้นมาน่ะ แล้วเดี๋ยวเราจะจับมันไต่สวน การไต่สวนนั้นเป็นวิปัสสนา เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม โดยธรรมชาติ โดยข้อเท็จจริง โดยสัจธรรม นั้นจะเป็นวิปัสสนา

โยม ๒ : ที่เมื่อกี้อาจารย์เล่าหมายถึงว่าเราแยกอาการจิต โดยที่อาจารย์ไม่ได้แยกอาการกายเลยใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๒ : เราไม่ผ่านอาการกายก่อนเลยใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : ไม่ผ่าน

โยม ๒ : แล้วเราก็จะซึ้งในอาการกายด้วยไหมครับ ถ้าเราซึ้งอาการจิตที่ว่านี่

หลวงพ่อ : เพราะมันเห็นว่าขันธ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์นี่มันปล่อยกาย เพราะกายมันเกาะไว้ด้วยนามธรรม

โยม ๒ :คือกาย จะพูดว่ากายมันหยาบกว่านั้นหรือกายมันอยู่ในระดับเดียวกันกับการปล่อยวางอาการจิตที่เกิดขึ้น

หลวงพ่อ : ระดับเดียวกัน เพราะอะไร เพราะนี่ขันธ์ ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด พระโสดาบันละขันธ์ ๕ ละขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ขาดหรือยัง? ยัง ขันธ์ ๕ ไปขาดที่อนาคา

โยม ๒ : คือถ้ามันแยกเป็นว่า รูปและก็อีก ๔ ตัวนี่ก็เป็นนามใช่ไหมครับ คือไม่แน่ใจว่าเป็นรูปกับเป็นนาม ทีนี้ถ้าที่อาจารย์เล่าคือว่าอาจารย์เล่าถึง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยไม่ได้ใช้รูปกาย แต่ว่าใช้รูปของอาการ เอ่อของนามครับ ใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : ใช่ นี่ไง การพิจารณาจิตไงเพราะนี่เราพูดถึงการพิจารณาจิต แต่เรามาพิจารณากายอีกรอบหนึ่งตอนมาฝึกงานกับหลวงปู่เจี๊ยะ พิจารณากายตั้งกายขึ้นมาเลยแล้วกายละลายลงเลย

โยม ๒ : แต่ถ้าตัวเราพิจารณาจิตได้แล้ว กายมันน่าจะเหมือนกับ

หลวงพ่อ :ไม่มีแล้ว

โยม ๒ : มันอยู่ในระดับเดียวกันอยู่แล้วอาจารย์ ทีนี้มันจะทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ไม่ใช่เหรอ

หลวงพ่อ : ใช่ ไม่ทำก็ได้ แต่ต้องทำเพื่อเข้าอยู่ในวงวิชาการเดียวกัน

โยม ๒ : อ๋อ

หลวงพ่อ : ต้องทำงานวิจัยเพื่อ

โยม ๒:จะได้พูดอาสวักกรรมฐานให้คนอื่นเข้าใจได้อย่างนั้นเหรอครับ

หลวงพ่อ : ใช่ เราถึงบอกว่า เวลาเราพูดกับโยมบ่อยว่าเราได้สองทาง ได้สองทาง พูดบ่อย องค์อื่นเขาจะได้ข้างใดข้างหนึ่ง คือได้อย่าง ถ้าได้ทางจิตพิจารณาจิตอย่างที่พูดเมื่อกี้ ที่ว่าขันธ์ ๕ คำว่ารูปนั่นน่ะ รูปของนามธรรมนะ รูปของจิต

โยม ๒:ครับ รูปของอาการจิต

หลวงพ่อ : รูปของความรู้สึกมันจับได้เลย มันเห็นเป็นรูปเลย แล้วก็มาซึ้งในพระไตรปิฎกที่บอกว่า ความรู้สึกนี่เหมือนวัตถุก้อนหนึ่งเลย มันจับได้เลย พิสูจน์ได้เลย ก็มันฟาดใส่หน้ากูเอง ใครจะพูดอย่างไรเรื่องของมึง ประสบการณ์ใครประสบการณ์มัน นี่พูดถึงพิจารณากาย พิจารณากายมันเป็นอีกทางหนึ่ง อันนี้เวลาครูบาอาจารย์ ส่วนใหญ่เวลาท่านเทศน์ ท่านจะเทศน์ด้วยประสบการณ์ ถ้าเทศน์ด้วยประสบการณ์นี่ปลาในสุ่ม

เรื่องในหัวใจเรา กูพูดได้ทั้งปีเลย ถ้าไปพูดข้างนอกนะกูต้องคิดเหมือนกัน แต่ถ้าเรื่องในใจเรากูพูดทั้งปีเลย แล้วเราบังเอิญเรามีทั้งสองอย่าง เวลาเทศน์หรือเวลาสอนมันจะบอกว่า จะพูดบ่อยมาก เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ แล้วแยกเลย พระสารีบุตรพระโมคคัลลานะ เพราะเราเอามาจากพระพุทธเจ้าแล้ว เอามาจากต้นสายเลยไม่ต้องเถียงกัน ไม่ใช่ว่าเราไปแต่งมาจากไหน กูลอกมาจากพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะเลย แล้วมันเป็นกรรมฐาน อย่างที่ว่าพิจารณานามรูปนี่ อภิธรรมนี่มันเป็นเรื่องนามธรรม พิจารณา

ถ้ามันทำถูกหมายถึงว่าตั้งคำสอนไว้ถูก ทีนี้คำว่าตั้งคำสอนไว้ผิด ทฤษฎีมันผิด เข็มทิศมันผิดมันไปไหน ตั้งคำสอนไว้ถูกนี่นะ มันต้องบอกว่าอะไร เป็นอย่างที่โยมว่า มันหยาบละเอียดขึ้นมา อันนี้มันบอกว่าพิจารณาโดย โดยการใช้ปัญญาทางตรง แล้วพอใช้นามรูปพิจารณานามรูปนี่คือวิปัสสนา คนมันเข้าใจผิดตรงนี้หมดนะ พอวิปัสสนาไปก็ทำไปเรื่อยๆ เหมือนเด็ก เด็กนี่เราตั้งเป้าให้มันผิดมันก็เดินไปทางที่ผิด เป้านี่อยู่ที่ใจ เป้านี่มันอยู่ที่ใจนะ พอเป้ามันอยู่ที่ใจ ใจมันเจอเป้านั้น แล้วมันก็เดินไปตามเป้านั้น แล้วมันก็โดน มันเป็นนามธรรมใช่ไหม มันก็หลอก หลอกอยู่ข้างใน

หลอกอยู่ว่าเราเป็นทิฏฐิ ว่าเรานี่เดินวิปัสสนาสายตรง ทั้งๆ ที่ผลของมันคือปล่อยวาง เพราะมันเข้าไปถึงนามรูปแล้วมันปล่อยวาง รื้อนามรื้อรูปไง มันก็รู้อาการของจิต มันก็ปล่อยวางโดยธรรมชาติของมันจริงๆ แต่ แต่เพราะความเข้าใจผิด พอเข้าใจผิดปั๊บมันเข้าใจไง แล้วสิ่งที่พูดถึงเมื่อกี้ว่า ถ้าพูดถึงมันเป็นสภาวธรรม นี่สภาวธรรม สภาวธรรมมันเกิด แต่ไม่ใช่อริยสัจ เวลาปัญญาเราเกิดขึ้นมา เรามีไหมปัญญาเราเกิดขึ้นมา เกิดมาแล้วรู้เท่า โอ้โฮ นั่นล่ะสภาวธรรม ฟังธรรมทุกวันเลยแต่ไม่ใช่อริยสัจ ถ้าอริยสัจนี่เราบริหารมัน ตัวจิตมันเป็นตัวติด ตัวจิตมันเป็นตัวทุกข์ ตัวจิตมันเป็นตัวเห็น ตัวจิตเป็นตัวสร้าง ตัวสร้างเลยนะ สร้างขึ้นมาเป็นอะไร สร้างขึ้นมาเป็นธรรมจักร จักรอยู่ที่ไหน จักรคือปัญญามันหมุน ปัญญามันหมุน หมุนไปด้วยอะไร มันหมุนไปด้วยศีล หมุนด้วยงานชอบเพียรชอบ

งานชอบตรงไหน งานชอบที่มันเห็นกายชอบ งานไม่ชอบ นี่ไง สัมมากัมมันโต มันเป็นมิจฉา มิจฉากัมมันโต มันไปคาดกายผิด คาดรูปผิด คาดทุกอย่างผิด พอคาดผิดมันก็หมุนผิด คำว่าหมุนผิดนี่หมุนผิดโดยสัจธรรม แต่เราทำอยู่โดยกิเลส ใช่ ถูก ถูก ถูกสิเว้ย กูทำต้องถูก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะคำนี้ โทษนะ หลวงตาก็เถียงกับหลวงปู่มั่น ขึ้นไปล่ะ แหม จะใส่เลย เราก็ กูก็จะหัวชนฝาเลย กูจะเอาหัวทิ่มหลวงปู่เจี๊ยะมาเป็นปีเลย ถูก ถูก หงายท้อง เฟี้ยวเลย โดยกิเลส อย่างที่พูดน่ะ โดยนามธรรมเราไม่รู้หรอก กิเลสละเอียดมาก เราไม่รู้ว่าเราผิด แล้วเราเห็นเห็นอยู่นี่ นี่ผ้าจีวรครับ ก็บอกไม่ใช่ ก็ผ้าจีวรจับอยู่นี่ บอกไม่ใช่ ก็จับอยู่นี่ทำไมไม่ใช่ ก็มันสมมุติ ก็ไม่รู้น่ะ ก็จับอยู่นี่

โยม ๒:แล้วอาจารย์แก้อย่างไรครับที่เอาหัวไปชน

หลวงพ่อ : เอาหัวไปชน เฮ้ย เราไม่แก้ อาจารย์แก้เราสิ

โยม ๒:แก้ให้ว่า ว่าอย่างไร

หลวงพ่อ : แก้ก็ พลิกทิฏฐิไง พลิกว่านี่เห็นไหม ท่านทำอย่างนี้ แล้วเหตุผลอย่างนี้เอ็งมีไหม เอ็งเคยทำอย่างนี้ได้หรือเปล่า

โยม ๒:โดยใช้เรื่องรูปหรือเรื่องนามครับ

หลวงพ่อ : ด้วยคำพูด ด้วยท่านสะกิด

โยม ๒ : อาจารย์จะยกตัวอย่างสักนิดได้ไหมครับ

หลวงพ่อ : ยกตัวอย่างเลยล่ะ เพราะเวลาเราพิจารณาจิตไปอยู่กับท่าน แล้วท่านจะให้เราพิจารณาต่อไป ท่านบอกว่าเราคุยธรรมะกันแล้วนี่ มันเหมือนกับมีทางไปได้อีก แต่เราคิดว่าตรงนี้มันจบ ท่านก็บอกว่า ท่านอยู่ ท่านจำพรรษาอยู่ที่บ้านตาดกับหลวงตา หลวงตาก็บอกว่า เจี๊ยะ เจี๊ยะเอ๋ย เจี๊ยะพิจารณากายลองพิจารณาจิตดูสิ แล้วบอกท่านก็พิจารณาคืนหนึ่ง พอเช้ามาก็บอกเลย เหมือนกัน คือท่านมาบอกว่ามันเหมือนกัน ทีนี้ถ้าเราพิจารณาจิตได้ เราต้องพิจารณากายได้ เราก็ลอง อื้ม ลอง เพราะท่านพูดถึงว่า พูดถึงว่าหลวงตาท่านพูดอย่างนั้นแล้ว ถ้าหลวงตาทำได้ หลวงปู่เจี๊ยะทำได้ ถ้าเราเป็นของจริงเราต้องทำได้ เราก็ไปลองเลย นั่งเลย นั่งสมาธิ เรากำหนดจิตขึ้นมาเลย เรากำหนดกายขึ้นมาเลย พอกายขึ้นมาเลยเป็นโครงสร้าง เหมือน อนาโตมี่ที่เราสอนนักเรียนเลย เหมือนโครงกระดูกอย่างนั้นเลย แล้วมันละลายลง ละลายลงหมดเลย เราก็บอกว่า อาจารย์ละลายหมดเลย แล้วมันเหลืออะไรล่ะ โอ้โฮ ยังเหลืออีกเหรอวะ กูนึกว่าละลายแล้วก็จบ พอมันปล่อย มัน..

โยม ๒ : เหลือแต่ผู้รู้

หลวงพ่อ : ยัง เรายังไม่ถึงตรงนั้น มันเหลือผู้รู้ แต่มันเหลืออะไรมันต้องตอบได้สิ แต่นี่เราไปเห็นน่ะ

โยม ๒ : ก็คือเราตั้งขึ้น

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๒ :เราไม่ได้ผลักมันออกไป

หลวงพ่อ : ใช่ คำว่าตั้งขึ้นน่ะมันต้อง ถ้าจิตมันไม่มีกำลัง มันตั้งได้อย่างไร

โยม ๒:ครับ ต้องมีความเพียรถึงจะตั้งได้

หลวงพ่อ : ใช่ จิตไม่มีนี่เราจะไม่เห็นรูปหรอก มันมีแต่โครงสร้าง มันมีแต่สัญญา มันมีแต่อารมณ์ความรู้สึก มันไม่เห็นมันไม่รู้หรอก ที่จะรู้จะเห็นได้นี่มันต้องมีกำลัง มันถึงทำของมันได้

โยม ๒:ฉะนั้น อาการอย่างนั้น เราจะมีดีใจหรือเสียใจไหมล่ะครับอาจารย์

หลวงพ่อ : มันก็ดีใจสิ พอมันละลายหมดเลย เราก็นึกว่าเราจะเอาผลงานนี้ไปรายงานท่าน พอขึ้นไปรายงาน

โยม ๒ : คำว่าดีใจมันก็เป็นเรา

หลวงพ่อ : ใช่ แหม ไอ้พูดกันนี่นะ

โยม ๒:ผมไม่ได้ว่าอาจารย์ คือผมเป็นผู้ดูฮะอาจารย์

หลวงพ่อ : เราจะบอกว่านะ เวลาพูดมันได้ทั้งหมดน่ะ แต่เวลาพอไปเจอเหตุการณ์เท่านั้นแหละ งงเป็นไก่ตาแตกเลย

โยม ๒:อันนี้ผงไม่เข้าตาจนครับ เขี่ยผงไปให้ผู้อื่นได้

หลวงพ่อ : ล่อกันอยู่ใหญ่ ท่านมีเหตุผลมาให้เราทดให้เราสอบ ให้เราทดให้เราสอบจนเริ่ม หืม หรือว่า ไม่ยอมรับหรอก หรือว่าวะ พอหรือว่าสักพัก น่าจะ พอน่าจะแล้ว

โยม ๒ : ใช่เลย

หลวงพ่อ : อือ พอน่าจะปั๊บ มันต้องย้อนกลับแล้ว พอย้อนกลับขึ้นมามันก็มาจับ พอย้อนกลับ จิตมันย้อนกลับแล้ว พอจิตมันย้อนกลับแล้วมันจับได้ โอ้โฮ มึงอยู่นี่ พออยู่นี่พอจับอยู่นี่ปั๊บแล้วใช้เข้าไปที่ท่านทำ พอเข้าไปขลุกขลิกจบ เข้าไปขลุกขลิกจบปั๊บ ตอนนี้ท่านพูดอะไรมานะ พูดไปเหอะ พูดมาเลย พูดไปเหอะ มันเข้าใจกันหมด แต่ก่อนท่านพูด เออ ก็เข้าใจบ้าง เอ๊ะ ข้างบนนี่ทำไมกูไม่รู้ ทำไมข้างบนกูไม่รู้ แต่พอมันจบแล้วนะ โธ่ ใครเทศน์มาเถอะ ใครก็ได้เทศน์มาเถอะ กูฟังได้หมดล่ะ รู้เลยถูกหรือไม่ถูก

โยม ๒:อาจารย์ เท่าที่พระอาจารย์เล่าแบบนี้ กว่าเราจะรู้ถึงที่สุด ก็ต้องมีอาการโลกธาตุสั่นสะเทือนทุกรายเลยไหมครับ

หลวงพ่อ : โลกธาตุหวั่นไหวนี่นะ โลกธาตุไหว โลกธาตุคือธาตุสี่ โลกนอกโลกใน ธาตุสี่คือร่างกายมันไหว

โยม ๒:มันต้องแสดงอาการให้เรารับทราบ

หลวงพ่อ : มันเป็นคนละระดับ เราไม่อยากจะพูด เพราะที่หลวงตาท่านโลกธาตุหวั่นไหว ขณะของท่านใหญ่มาก แต่ของเราไม่ไปตรงนั้น ของเราเราเป็นขั้นก่อนหน้านั้น ก่อนนั้นอยู่ที่บ้านตาด เดินจงกรมอยู่ พิจารณากามราคะ พิจารณาถึงการเคลื่อนไหวของจิต แล้วพิจารณาไป บ่ายโมง มันขาดประมาณบ่ายโมง เดินจงกรมอยู่ แดดเปรี้ยงๆ อย่างนี้นะ โอ้โฮ ไอ้ฟ้านี่ ครืน! ครืน! ครืน! โอ้โฮ กูได้ยินคนเดียวนะ ก็พระทั้งวัดนี่ไอ้ห่า ครืน! อยู่บ้านตาดนะ เดินจงกรมอยู่ก่อนบ่ายโมง เพราะเราถามตลอดไง เพราะบ่ายโมงต้องไปฉันน้ำร้อนใช่ไหม เราเดินตั้งแต่เช้าแล้ว พอถึงจุดไคลแมกซ์ของมัน มันโยนตัวลง โอ้โฮ ครืน! โลกธาตุนี่ไหวหมดเลย

โยม ๒ : หมายถึงเกิดขึ้นได้โดยยังไม่ต้องเป็นพระอรหันต์ด้วยใช่ไหมครับ อันนี้ขั้นพระหัดๆ ก็ได้

หลวงพ่อ : ก็นี่ของเราไง อันนี้มันคือวาสนาบารมีไง ของคนไม่เหมือนกัน นี่เราเกิดตรงนี้ แล้วพอขึ้นไปชั้นบนไปอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะนี่ไง พออยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่เจี๊ยะมาอัดกันตรงนั้นน่ะ เวลาลงนะ เวลาเข้าใจเพราะอะไร เพราะหลวงตาท่านบอกถ้าเห็นจุดและต่อมแล้วนี่ เพราะหลวงปู่มั่นไม่อยู่ ท่านก็เลยต้องเสียเวลาไปอีก ๘ เดือน พอเราไปจับของเราได้นะ กูไม่ไปไหน กูนั่งเฝ้าเลย กูนั่งเฝ้า เพราะหลวงตาเทศน์บ่อยๆ กูไม่ไปไหน กูนั่งเฝ้าอยู่ตรงนี้ มันก็เป็นอยู่ประมาณ ๗-๘ วัน พอมันแยบออกมา ก็พลิกปั๊บ โอ้โฮ พลิกหมดเลย จบ

โยม ๒ : แต่ก็ยังแสดงอาการอยู่

หลวงพ่อ : นิดเดียว มันไม่แรง ไม่แรงเหมือนของครูบาอาจารย์ มันอยู่ที่วาสนา ที่หลวงตาท่านบอก ท่านพูดถึงอาจารย์สิงห์ทอง เห็นไหม หายไปเลย หายไป พอดูของนี่ ของหลวงปู่บัวขางคานขาด วื้บเลย

โยม ๒ : อาจารย์ถามนอกเรื่องอีกนิด แล้ว วิชชา ๓ ที่อาจารย์บอกจะแบกจำเป็นต้องมีทุกท่านไหมครับ

หลวงพ่อ : วิชชา ๓ บุพเพนิวาสานุสติญาณ

โยม ๒ : จุตูปปาตญาณ

หลวงพ่อ : ฮึ มันมีแต่ละองค์ คือแต่ละชนิด

โยม ๒ : ไม่จำเป็นว่าเป็นพระอรหันต์ต้องมีวิชชา ๓ เป็นขั้นต่ำไม่จำเป็นหรือเปล่าครับ คือหมายถึงว่า

หลวงพ่อ : สุขวิปัสสโกมีหรือเปล่า

โยม ๒ : คือในตำราว่าไม่มีใช่ไหมครับ ว่าแห้งแล้ง

หลวงพ่อ : แต่มี แต่มีของท่านไง วิชชา ๓ เป็นพื้นฐาน

โยม ๒ : ก็คือเป็นเหตุของตน แต่ไม่มีจูตูปปาตญาณของสัตว์โลก

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๒:ถ้าไม่เข้าใจจูตูปปาตญาณ จะเข้าใจความขึ้นไปของการเกิดดับใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : แน่นอน วิชชา ๓ มันเป็นพื้นฐาน มันแต่ละบุคคลใช่ไหม เพราะว่าพอจิตมันเข้าไปแล้ว พอเข้าไปถึง พูดถึงว่าจิตสงบแล้ว จิตสงบเป็นสมาธิแล้ว วิปัสสนาเป็นโสดาบัน เป็นสกิทา อนาคา ไอ้นี่มันเป็นจิตอาการของจิตมัน ๒ มือประกบกัน พอไปถึงตัวจิตเดิมแท้ที่ผ่องใสนี่ เพราะพระอนาคามันจะทิ้งกามราคะ ทิ้งข้อมูล พอเข้าไปถึงตรงนี้ปั๊บ พอเข้าถึงตรงนี้ปั๊บ พอเข้าถึงตรงนี้ นี่ ข้อมูลมันเปิด อดีตเห็นหมด แล้วถ้าอดีตเห็นหมดถ้าวิปัสสนาไป บางทีเราไม่ทัน มันเห็นจุตู(จุตูปปาตญาณ)

โยม ๒ : ครับ แต่เห็นในส่วนของตน คือความเข้าใจในส่วนของตน

หลวงพ่อ : ใช่ ที่เห็นตรงนี้นะ มันยังไม่เห็นตัวมันเองด้วย เพราะเราเป็นอย่างนี้มาก่อน แล้วค่อยมาอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะไง พอหลวงปู่เจี๊ยะเข้ามานี่ เราถึงเข้าไปเห็นตัวมัน พอเห็นตัวมันปั๊บ โอ้โฮ เวรกรรม กูนึกว่ามึงไปไหนแล้ว ไอ้อย่างนี้ เราถึงบอกว่าถ้าเป็นความจริง เพราะถ้ารู้อย่างนี้แล้ว เห็นไหม เวลาเทศน์มันจะติดอะไร เวลาเทศน์เพราะอะไรนะ นี่คือวัฏฏะ ตัวนี้มันเป็นเจ้าวัฏจักรที่มันไปในวัฏฏะ แล้วพอมันไปเห็นตัวเจ้าวัฏจักรแล้ว มันจะไปติดอะไร ในการแสดงธรรมจะไปติดอะไร

โยม ๒:อาจารย์คืองี้ คือผมมีความเข้าใจ น่าจะผิดคือว่า จูตูปปาตญาณหรือบุพเพนิวาสานุสสติญาณก็ตาม มันเป็นเรื่องเข้าใจความนัยของใจตน คือจำเป็นจะต้องเกิดเป็นรูป รูปร่างนะครับ ว่าชาติโน้นภพโน้นเป็น เกิดเป็นนั้นเป็นนี้ จำเป็นไหมครับ ผมมองว่ามันไม่ใช่ลักษณะนั้นความเห็นผม ก็ปรึกษาอาจารย์ด้วย หรือว่าต้องเป็นรูปเสมอ

หลวงพ่อ : เป็นรูปนี่นะ ประสาเรานะ ถ้าพูดถึงตรงนี้ เอาตรงนี้เป็นตัวตั้งนะ ศาสนานี่คลอนแคลนเลย เพราะว่าอะไรรู้ไหม เพราะว่าฤๅษีชีไพร กาฬเทวิล ระลึกอดีตชาติได้ ๔๐ ชาติยังไม่ไปไหนเลย การระลึกอดีตชาติได้นี่แค่เข้าสมาธิ ก็บอกข้อมูล ข้อมูลนี่ เข้ามาถึงจิตเดิมแท้ อัปปนาสมาธิ ถ้าเข้าไปแล้ว ถ้ามีวาสนามันก็ทำได้ คำว่าระลึกอดีตชาติได้นี่ ฤๅษีชีไพรเขาก็ระลึกได้นะ แต่จริงหรือไม่จริง เชื่อถือได้แค่ไหนนั่นอีกเรื่องหนึ่ง

ทีนี้อย่างในศาสนาเรา ถ้าเข้ามาถึงตรงนี้ได้ปั๊บมันก็เป็นแบบพระพุทธเจ้าวิชชา ๓ พระพุทธเจ้าก็เข้าอย่างนี้เหมือนกัน แบบอย่างพระพุทธเจ้า คือบุพเพก่อน เห็นไหม ปฐมยามแล้วก็มัชฌิมยาม มันเข้าบุพเพก่อนแล้วก็จูตูปปาตญาณ แล้วค่อยอาสวักขยญาณ นี่คือหลัก แต่พระอรหันต์ทั่วๆ ไปนี่ อย่างที่โยมพูด ถ้ามันไม่ได้เห็นเป็นรูปธรรม มันก็ต้องมาเห็นข้อมูลนี้ มันต้องลบข้อมูลนี้ มันถึงไม่มีความลังเลสงสัย ไม่มีความลังเลสงสัย ถ้ามีความลังเลสงสัย มันจะเป็นพระอรหันต์ได้ไง แล้วจิตสามัญสำนึกเอ็งสงสัยตัวเองไหม ทุกดวงใจสงสัยตัวเองหมด แล้วถ้าเอ็งยังสงสัยอยู่เอ็งจะเป็นพระอรหันต์ได้ไง

หลวงพ่อ : ก็แสดงเป็นรูปธรรม คืออย่างนี้นะ

โยม ๒ :ก็อย่างเช่น สมมุติบอกว่า อ๋อ ถ้าเราจะเป็นปลา เป็นอะไร

หลวงพ่อ : นี่ องค์หลวงปู่ฝั้นนี่ไง

โยม ๒: ใช่ครับ แต่ว่าหมายถึงว่าจำเป็นจะต้อง...

หลวงพ่อ : ไม่จำเป็น ไม่จำเป็นเพราะอะไร เพราะมันไม่จำเป็น ไม่จำเป็นหมายถึงว่าทำไมลูกศิษย์หลวงปู่มั่น หลวงปู่คำดี หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่แหวน ทำไมคนที่หลวงปู่มั่นไว้ใจให้ทำงานคือหลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อะไรนะ หลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่ชอบที่ว่าสอนเทวดาได้ เราจะบอกว่าแม้แต่พระอรหันต์ วุฒิภาวะของพระอรหันต์ยังไม่เท่ากันเลย ทีนี้พอคะแนนเท่ากันก็วาสนามันไม่เท่ากัน แล้วจะบอกว่าพระอรหันต์ต้องขีดบรรทัดให้เดิน ไม่ใช่ อริยสัจขีดบรรทัดไว้ แต่ของใครของมัน

โยม ๒:คือถ้าอย่างนั้นอาจารย์จะอธิบายว่าไม่สงสัยในตนด้วยอะไรหรือครับ ถ้าไม่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้หรือครับ

หลวงพ่อ : ไม่สงสัยตรงไหน เรื่องอะไร ขั้นไหน

โยม ๒ : ที่อาจารย์พูดเรื่อง บุพเพนี่ครับ คืออย่างคนทั่วไปแบบว่าเราต้องสงสัยในตนแน่เพราะเรายังไม่รู้แจ้ง ทีนี้เราจะเป็นพระอรหันต์เราต้องรู้แจ้งนี่ครับ รู้แจ้งในตัวบุพเพ ถึงอยากจะถามอาจารย์ว่าต้องเป็นรูปธรรมเสมอไหม คำตอบคือไม่ใช่ใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : เฮอะ รูปธรรมก็มี เพราะรูปธรรมนี่มันเป็นของหยาบด้วย มันเข้าไปค้นข้อมูลเพราะมันมีตัวภพ มันมีตัวใจ ตัวใจในภพมันสะสมข้อมูลไว้หมดแล้ว มึงไม่ต้องไปหาที่ไหนหรอก ใจเอ็งนั่นแหละ ค้นเข้าไปมันเปิดออกมาหมด นี่รูปธรรม แล้วตัวนี้รูปธรรมมันใกล้เคียงกัน แต่ไม่ได้แก้ แต่พอมันไปอาสวักขยญาณมันทำลายหมดแล้วยิ่งชัดเจน เพราะพอมันถอนอัตตานุทิฏฐิแล้ว หมดแล้ว คือสิ่งที่ปิดข้อมูลไม่มี มันดึงออกหมดเลย โอ้โฮ ยิ่งชัวร์ใหญ่ มันไปชัวร์ที่อาสวักขยญาณ ไมได้ชัวร์ที่บุพเพหรอก

โยม ๒:ถูกครับ คืออย่างนี้อาจารย์ คือผมถามแบบภาษาง่ายเลยก็แล้วกันนะครับอาจารย์ คือภาษาว่าเหมือนชาวบ้านเขาพูดบอกว่า ถ้าอย่างนั้นการที่คนเราตายเกิดมีจริงหรือไม่มีจริง

หลวงพ่อ : มีจริง ยิ่งกว่าจริงด้วย

โยม ๒: และหมายถึงว่าพระอรหันต์จะต้องเข้าใจข้อนี้เสมอทั้งที่การปฏิบัติของพระปฏิบัติ เราล้าง...

หลวงพ่อ : ใช่ แหม แล้วไม่ถาม ถามตั้งแต่ต้นเลยก็จบไปแล้ว

โยม ๒: ไม่ใช่ครับ ผมมองว่าอย่างนี้ครับ ผมมองว่าเราล้างความเห็นผิด คือลบอวิชชา ก็คืออาสวักขยญาณ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๒ :อืมม ผมยังมองว่ามีหรือไม่มีภพชาติก่อนไม่น่าจะเกี่ยวกับการที่เราเข้าถึงอาสวักขยญาณ

หลวงพ่อ : โอ้ นี่คิดโดยโลกๆ ไง เรากลับเห็นตรงนี้ เรากลับเห็นว่าตรงนี้สำคัญที่สุดเลย ถ้าไม่สำคัญที่สุด ทำไมพระเวสสันดรไม่เหมือนเป็นพระพุทธเจ้า ชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ต้องสละลูกสละเมีย ชาติของพระโพธิสัตว์ทั้งหมดต้องสละทั้งนั้นมันถึงจะมีอำนาจวาสนามาขนาดนี้ แล้วพูดถึงว่าถ้าไม่สำคัญ ไม่สำคัญวาสนามาจากไหน ไม่สำคัญมาสนใจเรื่องศาสนากันทำไม ไม่สำคัญทำไมคนทำสมาธิง่าย ทำสมาธิยาก เพราะเราเห็นตรงนี้เราเข้าใจตรงนี้ พอถึงเวลาเราสอน เราถึงไม่มีรูปแบบตายตัวที่จะบังคับให้คนทำตายตัวไง เพราะเราต้องปล่อยให้แล้วแต่ความถนัดของเขา แล้วแต่สิ่งที่เขาสร้างมาไง โยมนี่ชอบกินก๋วยเตี๋ยว เขาบังคับให้ไปกินอย่างอื่นโยมเบื่อตายเลย โยมกินก๋วยเตี๋ยวเขายกมาเสริฟให้ก็ถูกใจสิ ภาวนาอย่างไรให้มันถูกกับจริตของเรา ก็ต้องเสริฟให้เขาพอดีของเขา พอดีของเขา แล้วถ้ามันพอดีของเขานี่มาจากไหน สำคัญ อ้าว รักษาโรคอยู่นี่ เวลาเขามาถึงบอกเขารักษาเลย ไม่ถามอาการเขาเลย ไม่ถามประวัติคนไข้เลยเหรอ

โยม ๒:ก็ส่วนมากคนไข้จะลืมประวัติตัวเองนะครับ

หลวงพ่อ : เวลาคนไข้มาไม่ถามเลยเหรอมึงมาโรงพยาบาลมาทำไม เพราะอะไร เพราะว่าประวัติคนไข้นั่นล่ะมันบอกโรคคนไข้

โยม ๒:คนไข้ก็จะจำอดีตตัวเองไม่ได้นะครับอาจารย์ คนไข้แบบนี้ คนไข้ทางใจ

หลวงพ่อ : นี่เปรียบเทียบ เปรียบเทียบ มันต้องเป็นอย่างนี้ เราถึงเข้าใจเวลาครูบาอาจารย์สอน ท่าน สังเกตหลวงตาตอนนี้สิ ใครมาถามอะไรท่าน ท่านเบื่อ เพราะอะไรนะ เรื่องมันยาวน่ะ เอ็งคิดดูสิวาสนาเอ็ง การกระทำของเอ็ง แล้วกว่าจะมาคุยกันนาทีสองนาที เรื่องมันยาวนะ บางทีถ้ามาถามปัญหาใช่ไหม แล้วบางคนคิดว่าทำไมไม่ตอบ มันพูดกันไม่รู้เรื่อง เรื่องมันยาว มันไม่มีเวลาแล้วเหนื่อย เพราะมันเห็นตรงนี้ไง โธ่ เมื่อวาน เห็นไหม ที่เมื่อวานเขามาถามน่ะอะไร ไอ้อินโดนีเซีย เห็นไหม ถามเมื่อวาน ว่าไปอยู่ที่ไหน เขาว่าไม่เป็นๆ มาให้หลวงตารับประกัน ทำไมต้องให้หลวงตารับประกัน ตัวเองไม่รับประกันตัวเองเหรอ

โยม : เหมือนท่านจูฬปันถกอะไรใช่ไหมคะ ทำไมพระพุทธเจ้าถึงได้ชี้ให้ลูบผ้าขาว แต่เผอิญถ้าท่านไม่ชี้แล้วจะเป็นยังไงคะ

หลวงพ่อ : อ้าว ไม่ชี้สิ ชี้คนอื่นทำไม่เป็น สมมุติว่ามาชี้ให้เอ็ง เอ็งลูบ ๕๐ ผืนเอ็งก็ไม่เป็นพระอรหันต์ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าในธรรมบทไง เพราะว่า เอ็งดูสิ พี่ชายเป็นพระอรหันต์นะ แล้วน้องชายจูฬปันถกบอกว่าให้ท่องคาถาข้อเดียวยังท่องไม่ได้ พี่ชายเป็นพระอรหันต์ไม่เห็นข้อมูลตรงนี้เพราะว่าอะไรเพราะวาสนา แบบกล้องจุลทรรศน์น่ะ คือจิตมันย้อนอดีตได้สั้นยาวต่างกัน แล้วอย่างบางทีมันย้อนไม่ได้เลยก็มี พระอรหันต์ไม่ย้อนเลยก็มี บางทีย้อนได้ชาติหนึ่งสิบชาติร้อยชาติพันชาติไม่ใช่พระอรหันต์สักชาติหนึ่ง พระพุทธเจ้าไปดักรอเลยเพราะรู้มีวาสนาไง

“จูฬปันถกเธอจะไปไหน”

“จะไปสึก”

“ทำไม”

“เพราะพี่ชายให้สึก”

“บวชเพราะใคร บวชเพราะเรา ไม่ต้องสึก เอาผ้าขาวไปลูบ”

พอลูบๆๆๆ เลย ลูบผ้าขาว เพราะคนจิตมันละเอียดอ่อน เพราะลูบผ้าขาวแล้วมันดำ เพราะมือมันเลอะ พอเลอะก็เป็นพระอรหันต์เลย โอ้โฮ มีอภิญญาด้วย แล้วพระพุทธเจ้าบอกตรงนี้ไง ชาติหนึ่งเคยเป็นกษัตริย์ กษัตริย์นี่ออกตรวจพลสวนสนาม เวลาเขาตรวจ กษัตริย์น่ะ รถม้าฝุ่นมันมาผ้าเช็ดหน้านี่เช็ด แล้วมันเห็นน่ะ คนเรามันกษัตริย์นะ มันประณีตแล้วพอเห็น มันเลยฝังใจ การฝังใจนี่อย่างนี้ไง ที่เราทำบุญกันนี่เราฝังใจ นี่ไงบุพเพนิวาสา

บุพเพนี่มันฝังอยู่ที่ใจ ข้อมูลมันไปไหน ทำดีทำชั่วกันมาทั้งนั้น ที่มานี่บอกอย่าเสียใจ ทำดีทำชั่วเราทำมาทั้งนั้นแหละ เราทำมากับมือ แล้วมันถึงมาถึงความรู้สึกอันนี้ มันมีข้อมูลนี้ใช่ไหม พอมันลูบมันก็ปิ๊งอันนี้ใช่ไหม พอปิ๊งอันนี้มันก็ไปปลดเลย อันนี้สะเทือนแล้วปล่อย เป็นพระอรหันต์เลย เราถึงบอกว่าตรงนี้พอพระพุทธเจ้าท่านเห็นว่าอันนี้มันอยู่ในใจของ สิ่งที่มันฝัง ข้อมูลนี้มันฝัง เหมือนกับเอาระเบิดไปวางไว้ในใจ แล้วก็เอาผ้าขาวนี่จุดชนวนเข้าไป มันระเบิด ตูม! พระอรหันต์เลย

แต่เขาพอจะจุดปั๊บไม่รู้จักชนวน ไม่รู้จักระเบิดอยู่ไหนก็ไม่รู้ ก็ของมันตรงๆ ซึ่งๆ หน้านี่ สำคัญ ทีนี้พอเราบอก ถ้าไม่สำคัญนะ เราพูดอย่างนี้บ่อย เรามาเปรียบเทียบกับโยม ครอบครัวหนึ่งมีลูกสามสี่คน ถ้าพูดถึงโตโยต้ารุ่นเดียวกัน ออกจากสายการผลิตเดียวกันต้องเหมือนกันหมดเลย ลูกสามสี่คนเหมือนกันไหม เพราะอะไร ร่างกายน่ะดีเอ็นเอพ่อแม่หมดเลย กรรมพันธุ์พ่อแม่หมดเลยแต่ใจไม่ใช่ เพราะอะไร เพราะมันเกิดนี้ไง ใจที่มันสร้างมาไม่เหมือนกันนี่ไง แม้แต่ท้องเดียวกันออกมายังไม่เหมือนกันเลย แล้วจะให้เหมือนกัน พระอรหันต์นี่ต้องรู้เหมือนกัน เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้หรอก นี่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้ ทีนี้เวลาสอนต้องสอนอย่างนี้ อ้าว ว่าไป

โยม ๒:ผมถามเพื่อความรู้เฉยๆ นะครับ ไม่ได้ถามแบบเย้ยครับอาจารย์

โยม ๑ : ถามก่อน เมื่อกี้นี้พูดว่า หลวงพ่อบอกว่ารำพึงกาย แต่ว่าถ้าเกิดเราไม่รำพึงกาย แต่ว่าเราต้องการที่จะสาวเข้าไปหาตัวจิต

หลวงพ่อ : หาตัวจิต ก็จิตสงบแล้ว ดูอาการของจิต จิตนี่มันเป็นนามธรรม จิตมันแสดงตัวอะไร มันแสดงตัวที่ความคิด

โยม ๑ : คือ ณ ขณะนั้นคิดว่ามันไม่คิด

หลวงพ่อ : ไม่คิดเราก็อยู่กับมัน อยู่กับจิต อยู่กับผู้รู้ เวลาภาวนาไป เวลาเราเห็นนิมิต เห็นอาการตกใจ เราไปตกใจ สิ่งที่ตกใจเพราะเราเห็นแล้วเราตกใจเราก็ไปกับมัน ไปเลย ถ้าเห็นอะไรปั๊บ ย้อนกลับมาที่ผู้รู้ ย้อนกลับมาที่จิต เพราะจิตมันเป็นคนเห็น ถ้าเราย้อนมาที่จิต เหมือนเราปิดสวิตซ์ปั๊บ ทุกอย่างดับหมด ทีนี้เราจะเห็นถึงจิตใช่ไหม ทีนี้ตัวจิตมันโดยตัวมันเอง มันต้องแสดงออก จิตนี่เหมือนน้ำ น้ำใส่สี เป็นอย่างไร น้ำในแก้ว ถ้าเราไม่เห็นมีสีเลย เราก็นึกว่าไม่มีน้ำ ถ้าเติมสีลงไป เราจะเห็นว่า เอาสีเขียวสีแดงมันก็จะเห็นสี ทีนี้จะเห็นสี ถ้าจิตมันสงบแล้ว พอเข้าไปเรื่อยๆ ดูความรู้สึกของมัน จิตเศร้าหมอง จิตผ่องใส จิตนี่ จับตัวนี้ เราจับตัวนี้ปั๊บ ดูอาการของมัน ดูอาการก็ได้ ดูตัวมันก็ได้ ดูความรู้สึก ความรู้สึกก็คือเรานี่ เก่งไปหมดเลย รู้ไปหมดเลย แต่ไม่รู้จัก มึงน่ะ ได้

โยม ๑ : ดูอาการ

หลวงพ่อ : ใช่ ดูอาการกับความรู้สึกไง เวลาคิด จับมัน ค่อยจับมัน ถ้าจับมันได้นะค่อยจับ ถ้าจับได้นะ โทษนะ ถ้าโยมจับได้นะ เราบอกว่า แข่งร้อยเมตร จุดสตาร์ทมันอยู่ตรงนี้ที่เขาวิ่งร้อยเมตรกัน แต่โทษนะ หาจุดสตาร์ทไม่เจอ ทำมาตั้งนานหาจุดสตาร์ทไม่เจอ จุดสตาร์ทคือจิตไง ถ้าจับจิตได้ จับจุดสตาร์ทได้นะ เราจะเริ่มแข็ง คือจะเริ่มวิปัสสนา ที่ทำทำกันมา ทำอะไรก็ไม่รู้ ก็เพราะทำวิปัสสนากัน วิปัสสนากัน วิปัสสนาอะไรของมึง จุดสตาร์ทตรงไหน

โยม ๑ : เหมือนในชีวิตประจำวันที่เรากำลังทำงานอยู่ แล้วเราก็ว่าเราก็ทำแบบนี้อยู่ แล้วเราก็ได้ทำแบบนี้อยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นการภาวนาที่ดีไหมคะ

หลวงพ่อ : ไม่ อันนี้เรารักษาใจ อันนี้ครูบาอาจารย์ท่านสอนอย่างนี้ วัว วัวน่ะเราเลี้ยง เราเลี้ยงผูก ถึงเวลาใช้งาน เขาก็ไปแก้เชือกไปใช้งานเลย ถ้าอีสานนี่วัวมันเยอะ พอไปเลี้ยงเขาเลี้ยงไว้ในป่า เขาปล่อยในป่าเลย แล้วถึงเวลาค่อยไปหามา ถ้าเราทำงานอยู่ เรากำหนดอยู่ เหมือนเราผูกวัวไว้ เพราะมันหน้าที่การงานใช่ไหม เรามีสติอยู่ด้วย เราก็ผูกวัวไว้ วัวผูก คือผูกใจไว้กับสติ กับภาวนาของเรา พอถึงเวลาแล้วเราจะนั่งสมาธิ เรานั่งภาวนา เราจะเดินจงกรม ก็วัวอยู่นี่ไง ก็จับเชือกมามันก็ง่ายขึ้นไง ถ้าไม่อย่างนั้นก็ปล่อยไปกับชีวิตประจำวันใช่ไหม พอจะเข้าทางจงกรม จะมานั่งสมาธินะ โอ้โฮ มึงอยู่ไหนวะ กูจะหามึงนี่มึงอยู่ไหน อยู่ในป่า มันไปหมดเลย มันไปกับงานหมดเลย มันไปกับชีวิตประจำวันหมดเลย แต่ถ้าเรารักษาของเราไว้มันอยู่กับเรา เห็นไหม ถึงจะไม่ใช่ละเอียดแต่ก็อยู่กับเรา พอเรามานั่งปุ๊บ มันก็อยู่กับเราแล้ว นี่ อยู่ตรงนี้

โยม ๑ : ในชีวิตประจำวัน ขันธ์ มันเหมือนขันธ์ทำงาน ขันธ์ทำงาน สมมุติถ้าเกิดเราผูกโทสะขึ้นมาแล้ว ก็มีสติเข้าไปรู้ เหมือนกับคล้ายๆ ผูกไว้อยู่นิดหนึ่ง อย่างนี้ไม่รู้จะดีหรือเปล่า

หลวงพ่อ : ดีหมด ได้หมด

โยม ๑ : แต่อันนี้เป็นกำลังที่มันหยาบๆ

หลวงพ่อ : แน่นอน ประสาเรา เราไม่รักษาเลย เราไม่ดูแลเลย จิตมันไปหมด พลังงานที่ส่งออก เราพูดบ่อย น้ำนี่เราสาดไปในอากาศ มันไปหมดเลย อากาศนี่มันอยู่ในธรรมชาติของมัน แล้วใจนี่มีความรู้สึกมันก็ส่งออกหมด ลองนึกถึงอเมริกาตอนนี้สิ ไปแล้ว แล้วมันก็ไปอยู่อย่างนี้ คือพลังงานมันมีอยู่แต่มันเหมือนมันบานหมดเลยมันไปหมดเลย แต่ถ้าเราดึงสติปุ๊บเราก็ตะล่อมมันเข้ามา ยิ่งพุทโธนี่เห็นไหม พุทโธนี่ เล่นเทนนิส ตีเข้าไปกำแพงก็กลับมา พุทโธนี่คือมันออกพุทโธ พุทโธ มันไปไม่ได้เลยนะ พุทโธกั้นไว้เลยนะ พุทโธๆๆ กั้นมันจนมันรวมตัวมาไง เราก็ดูของเรา รักษาด้วยดี นามธรรมแก้ด้วยนามธรรม จิตแก้ด้วยจิต อะไรอย่างอื่นมันทำไม่ได้หรอก สร้างเทคโนโลยีมาเลย เครื่องยนต์กลไกแล้วจะมาบังคับให้จิตเป็นสมาธิ มึงสร้างไปเถอะ ผ่าอกยังไม่เจอเลย

โยม ๑ : แต่พอขั้นละเอียดเข้าไปแล้ว การทำงานของขันธ์มันจะลดลง พลังงานจากจิตเลยมันคือจิต

หลวงพ่อ : ใช่ ถ้าจิตมันสงบนะ คือไม่มีขันธ์ มันจะหดตัวเข้ามา ขันธ์คือเปลือกส้ม ขันธ์คือสิ่งที่จิตมันแสดงตัว มันอยู่ มันหุ้มจิตอยู่ พอทะลุขันธ์เข้าไป เปลือกส้ม พอถึงเปลือกส้มก็เจอเนื้อส้ม สมาธิมันเฉยๆ อยู่ สมาธิคือนิ่ง มันไม่คิด คิดคือขันธ์ แล้วพอมันคลายตัวออกมา มันคลายตัวออกมา มันก็คลายตัวออกมาที่พลังงานตัวนี้ ที่ความคิด มันก็ออกมาสื่อความหมายกัน แต่ถ้าสมาธิเข้ามามันจะหดเข้ามาๆ จนมันนิ่ง ไม่รับรู้อะไรเลย นั่นคือผ่านขันธ์เข้าไป นั้นขันธ์ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ไม่ต้องกลัว อ้าว ว่าไป

โยม ๑ : ก็คือ จากที่ปฏิบัติมาค่ะหลวงพ่อ คือใช้ลักษณะเหมือนสติ สติเข้าไปอบรมสมาธิ คือเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นเราก็รู้ รู้เสร็จแล้วมันก็จะสงบลง พอสงบลงอยู่เรื่อยๆ ก็เข้ามาดูที่ รูปคือขันธ์ของดิน แต่ว่ามันก็เข้าไปอยู่ในอัปปนาได้ไหมคะ แต่ว่าพอถอนออกมาแล้ว มันไม่คิดแล้ว มันไม่คิด

หลวงพ่อ : ได้ เวลาเข้าถึงอัปปนา

โยม ๑ : ครั้งเดียวนะคะ

หลวงพ่อ : ใช่ เวลาเข้าไปถึงอัปปนา เข้าสมาธินี่ เราเข้าไปถึงได้ เหมือนกับเรา โทษนะ เราเข้าไปในธนาคารได้ เงินในธนาคารเต็มเลย เราเข้าไปในธนาคารแล้วเราก็ออกมาแล้วเราก็พยายามฝึกเข้าไปบ่อยๆ ฝึกจนเราเป็นเจ้าของธนาคารเลย สมาธินี่นะ ไม่รักษาสมาธินี่เสื่อมหมด ถ้าไปรักษาที่เหตุคือตั้งสติ คือกำหนด โทษนะ เมื่อกี้เราบอกว่าขี้ยังทำได้เลย ยุบหนอพองหนออะไรนี่เราไม่ได้ค้านเลยนะ แต่เราค้านที่คำสอนน่ะ คำสอนว่าเป็นวิปัสสนามันหลอก หลอกให้เราสำคัญตนว่าเราได้ทำวิปัสสนาอยู่

พอหลอกว่าสำคัญวิปัสสนาอยู่แล้วนี่มันไม่รู้หรอกว่านี่คือสมถะนี่คือการปล่อยวาง ถ้าเราหลอกตัวเองว่าเราวิปัสสนาอยู่คือเราทำงานแล้ว เราก็ไม่ต้องทำงานอีกใช่ไหม แต่ถ้าเราไม่หลอกตัวเอง เราบอกว่านี่คือสมถะ แล้วถ้าเกิดไปเห็นข้อเท็จจริง เห็นจริงตามข้อเท็จจริงแล้วถึงไปวิปัสสนา แล้วเราจะมีงานอีกเสต็ปหนึ่ง ที่เราจะต้องทำอีกขั้นตอนหนึ่ง แล้วเราจะได้ผลจริง ไอ้นี้แค่สมถะ แค่เราทำเข้าไป เราเข้าไปในธนาคาร เข้าบ่อยครั้งๆ เข้า จนธนาคารนี้เป็นของเราหมดเลย

ทีนี้พอเรามีเงินมีทองแล้ว เราจะใช้จ่ายได้แล้ว ถ้าเราไปเห็น ทำไปเถอะ ถ้าคนเราทำจริง ทำไป ทำไป เดี๋ยวจะเห็นจริง เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันก็อยู่กับเรานี่ หลบกันอยู่ในนี้ นี่มันก็อยู่กับเรา มันก็อยู่กับเรา แต่ทำไมพวกมึงหากันไม่เจอวะ ทำไมไม่เจอ พอทำบ่อยๆ เข้า ของอยู่กับเรา เราหันไปหาก็ต้องเจอ ถ้าเจอแล้วนะวิปัสสนาเกิดตรงนั้น วิปัสสนาเกิดปั๊บนะ พอมันเข้าใจวิปัสสนา แต่ถ้ามันไม่มี เรารู้เรื่องจิตดี จิตนี่นะมันติดหนึ่ง แล้วมันจะเอาเปรียบตลอดเวลา

แล้วพอเราว่าเป็นวิปัสสนาแล้วนะ มันก็บอกว่านี้ นี้ มันติดไง เวลาครูบาอาจารย์มีลูกศิษย์นะ แก้ลูกศิษย์เขาจะแก้จิต แก้ตรงติดนี่ ให้ออกมาทำงานแก้ยากมาก แต่นี่โดยสังคมเขาบอก นี่คือวิปัสสนาแล้วคือว่าไปให้อีโก้ คือไปเสริมกิเลส ให้ความสำคัญกับกิเลส แล้วมันจะแก้กันอย่างไร ของเรานี่ แก้ให้มาวิปัสสนา แต่ของเขาพยายามส่งเสริมว่าคือวิปัสสนา มันผิดตรงนี้ ที่เราค้านอยู่เราค้านตรงนี้ แต่เวลาบอกว่าแม้แต่ขี้ยังเป็นคำบริกรรมได้ แล้วยุบหนอพองหนอ ไอ้นามรูป มันจะเป็นคำบริกรรมได้ไหม ทำไมจะไม่ได้ แต่ไปสำคัญว่านี่เป็นผล

โยม ๑ : มันเหมือนกับการฝึกสติมากกว่า

หลวงพ่อ : แน่นอน

โยม ๑ : ฝึกสติแล้วอบรมจนเกิดสมาธิ

หลวงพ่อ : แน่นอน

โยม ๑ : แล้วเราค่อยไปสตาร์ทที่ ที่สมาธิ

หลวงพ่อ : ให้มันเห็นก่อนไง ให้มันเห็น มันเหมือนกับกรณีขึ้นศาล ถ้าเราไปพิพากษาหลังจำเลย ก็เท่านั้นน่ะ เอาจำเลยมันขึ้นมา แล้วให้จำเลยมันโต้แย้ง พอปัญญามันเกิดนะ พอปัญญามันเกิดนะ พอกิเลสมันแพ้นะ โอ้โฮ ว่างหมดเลยนะ แต่บางวันนะกำลังไม่พอ ปัญญามันเกิดแต่สู้กิเลสไม่ได้ กิเลสมันขี่หัวปัญญานะ โอ้โฮ โลกมืดตื้อเลย ไต่สวนแล้วไม่ใช่ว่ามึงจะชนะหรอกนะ เดี๋ยวกิเลสมันก็ยันหน้าหงายเหมือนกัน

โยม ๑ : จุดที่จะเรียกว่าวิปัสสนานั้นคือว่าต้องมีกำลัง

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : ไม่ใช่ช่วงสร้างเหตุ..... ในเมื่อใช้สติเข้าไประลึกรู้

หลวงพ่อ : ใช่ๆ สุดท้ายแล้วมันก็ต้องมาทำอย่างนี้คือเราต้องสร้างขึ้นไปไง คนเรามันต้องสร้างขึ้นไป เราให้รู้ว่าสร้างจริง รู้ว่าสร้างจริง รู้ว่าทำงานจริง พอเรารู้จริงเราทำของเราจริง โอ้โฮ กิเลสนี่ร้ายนัก กิเลสนี่หลอกเราหัวปั่นเลย แล้วเราไปฟังธรรมมาแล้วเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น โอ้โฮ ตายเลย วิปัสสนูกิเลส ความว่าง ว่าง ใสสะอาด ผ่องใสอะไร วิปัสสนูกิเลสหมดเลย ใสๆ ใครว่าว่าง ใสๆ กิเลสทั้งนั้น

โยม ๑ : หลวงพ่อคะ สมมุติเอาจริงๆ เลยนะคะ ในเชิงปฏิบัติจริงๆ ถ้าเข้าอัปปนาสักพักหนึ่งพอถอนออกมาแล้ว หูจะได้ยินแล้วค่ะ คราวนี้เหมือนจะได้ยินแล้ว แล้วจิตกลับเข้ามาอยู่ที่ เอ่อ เขามาตั้งอยู่แถวนี้ แต่เมื่อกี้หลวงพ่อว่ามันไม่ต้องผ่านทางกาย เราก็ผ่านทางจิต เข้าไปดูจิตสมมุติว่าทางนี้เราจะเดินแล้ว มันเหมือนกับทางเสี่ยงต้องทำอย่างไร

หลวงพ่อ : เพราะมันจะเดิน พอเห็นจิตใช่ไหม พอเราเห็นจิต จิตคืออะไร พอเห็นจิต จิตนี่เป็นรูปธรรม ในจิตนั้นมันมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้าไม่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเป็นตัวจิตไม่ได้ มันเป็นอารมณ์ไม่ได้ไง อารมณ์ความคิดเรามันมีขันธ์ ๕ นะ มันมีข้อมูล ถ้าไม่มีข้อมูลคิดออกมาได้อย่างไร แล้วเวลาวิปัสสนาไปแล้ว มันแยกแล้วนี่นะมันไม่ขาดนะ ในรูปมันก็มี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในสัญญามันก็มี รูป มีสังขาร วิญญาณ ในสัญญามันก็มีเวทนา ในขันธ์ๆ หนึ่ง มันมีจิตมีขันธ์ ๕ ซ้อนอยู่ในขันธ์ ๕ อีก แยกเข้าไปอีก แยกเข้าไปอีก ถ้ามันไม่ขาดนะ ถ้ามันไม่ขาดปัญญาต้องไล่เข้าไปไล่เข้าไป อันนี้มันอยู่ที่กิเลส โทษนะ กิเลสใครแน่น แก่นกิเลสใครเหนียวแน่น กิเลสใครเปราะบาง นี่แหละวิปัสสนา เวลาทำวิปัสสนามันถึงไม่เหมือนกันไม่เท่ากัน นี่ถามว่าให้ทำอย่างไรนะ อ้าว ว่าไป

โยม ๑ : เราคิดว่า ณ เวลานั้นที่ออกมาจิตเป็นสุข แต่พออยู่ข้างใน มันจะเนียนๆ นามมันจะเนียนๆ มันไม่มีความคิด แต่พอออกมาแล้วรู้สึกว่าเป็นสุขเพราะฉะนั้นเราต้องดูความสุขที่จิตอยู่ ณ จุดนั้นใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : ใช่ อยู่ ทุกข์ควรกำหนด

โยม ๑ : ให้ดูให้สติระลึก

หลวงพ่อ : ใช่ สุขเป็นผลไง พอเข้าไปแล้วพอออกมาเป็นสุข เราก็อยู่กับสุข

โยม ๑ : ใครใคร่รู้มันก็กิน

หลวงพ่อ : ใช่ เดี๋ยว เดี๋ยวก็หมดไป แป๊บเดียว

โยม ๒ : อาจารย์จะบอกว่าอิ่มก็ได้ แต่เดี๋ยวมันก็หมด

หลวงพ่อ : เดี๋ยวมันก็หมดไป พอหมดไปเราก็สร้างใหม่ ไม่มีปัญหาหรอก

โยม ๑ : แต่พอเริ่มทุกข์ก็ต้องกลับไปทำสมาธิ แล้วก็ย้อนออกมากูแบบนี้

หลวงพ่อ : ใช่ๆๆ ต้องทำ สมาธินี่นะมันจะอยู่ได้เพราะเหตุ เราต้องตั้งสติแล้วควบคุมมันตลอด ถ้าเราควบคุมเป็นแล้วนะ ไม่ต้องไปห่วงสมาธิเสื่อมเลย โทษนะ ผลักมันไปมันก็ไม่ไป สมาธินี่ ถ้าเราชำนาญแล้ว ผลักมันไปมันยังไม่ไปเลย ถ้าอยากได้สมาธินะต้องวิ่งหนี ถ้าควบคุมมันจะวิ่งหนี แต่ถ้าชำนาญแล้วนะ ผลักมันไปมันยังอยู่กับมึงเลย ไม่ไปไหนหรอก เพราะเราอยู่ที่เหตุ เราคุมได้หมด แต่ถ้าเราไม่เป็นนะ วิ่งตะครุบมันเถอะ เหมือนตะครุบเงาน่ะ วิ่งไปมันก็ไปโน่นโน่นๆ ไปตลอด

โยม ๑ : แล้ว พุทโธ ของหลวงพ่อนี่คืออะไร ดูเฉพาะคำบริกรรมหรือดูลมหายใจด้วยคะ

หลวงพ่อ : ใหม่ๆ มาน่ะ วันนั้นเราสอน มีกรุงเทพฯ มา เราบอกลมหายใจเข้าพุท ลมหายใจออกโธ แล้วพอออกไปเขาถามว่า แล้ว พุทโธ กับลมหายใจจะไม่แยกกันเหรอ แยก แต่ใหม่ๆ มาเราจะสอนว่าพุทโธไปด้วยกันก่อน เพราะว่าถ้าไม่สอนอย่างนี้นะ เหมือนกับว่าเขาจะจับจดหรือว่าสับสน มันไม่เป็นรูปธรรมไง เข้าพุท ออกโธ แล้วพอไปนะเดี๋ยวก็หลับ พอหลับแล้ว กูบอกว่าเอ็งถนัดอะไรล่ะ ถนัดลมก็เอาลมไว้เฉยๆ ถนัดพุทโธๆ เฉยๆ เพราะว่าพุทโธ พุทโธคือพุทธานุสสติ ลมคืออานาปานสติ แต่มันเป็นรูปธรรม เพราะว่าสิ่งที่การปฏิบัติเป็นเรื่องของนามธรรม แล้วคนมาจากโลก มันจับไปนี่มันจับอะไรไม่ได้เลย ก็ต้องเอารูปธรรม อ้าว มึงจับนี่ไว้ ลมหายใจเข้านะ นึกลมหายใจเข้าออกพุทโธนะ แล้วพอเดี๋ยวจะหลับ อ้าว มึงก็เตะมันทิ้งไปสิ ก็คือมึงก็เอาแต่ตัวมึงก็ได้ มันเป็นสเต็ปไง สอนคนเด็กๆ ก็ต้อง โอ้โฮ น่าเบื่อ

หลวงพ่อ : ใช่ ต้องคอยโอ๋มันขึ้นมานะ แล้วก็แหม

โยม ๑ : เพราะมันเป็นเทคนิคเฉพาะคนใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : นิสัย หนึ่งนิสัย วาสนา บางทีทำ บางคนปั๊บๆ ได้ บางคนทำตั้งนานกว่าจะได้ บางคนทำทั้งชีวิต แล้วอยู่กับครูบาอาจารย์หลายองค์ พรรษาท่านมากเลย ตอนไปใหม่ๆ ท่านบอกหงบเว้ย กูทำไม่ค่อยได้หรอก แต่ก็จะปฏิบัติไปอย่างนี้ให้ภพชาติมันสั้นเข้ามา โอ้ เราจะเคารพท่านมากเลยนะ คือท่านเป็นสุภาพบุรุษไง ท่านบอกเราภาวนานี่ โอ้โฮ ภาวนามาด้วยกัน ธุดงค์มาด้วยกัน ทำไม่ค่อยได้เลย แต่ว่าไม่หนี เพื่อให้ภพชาติมันสั้นเข้ามา นี่ขนาดนี่ทำ คือได้ไม่ได้กูก็หัวปักหัวปำ กูอัดอยู่อย่างนี้ ดีกว่าไปทุกข์ยากอย่างโยม ออกไปนี่ทุกข์ยาก หากินนี่ทุกข์ยากมากเลย มันอยู่อย่างนี้ ยังไงกูก็ดันอยู่อย่างนี้ แล้วจะไปกับใครล่ะ ก็อยู่อย่างนี้ ได้ก็เอาไม่ได้ก็เอาอยู่อย่างนี้ ไม่ไปไหน ให้ภพชาติสั้นลง แล้วถ้าได้ขึ้นมานี่ โอ้โฮ สุดยอดเลย เวลาพวกโยมมาจะพูดบ่อย เริ่มต้นจะบอกว่าชีวิตมีคุณค่า แล้วเห็นใจมาก พอเกิดมาตั้งแต่มีชีวิตมาจนป่านนี้ ดูสิ เรามาอยู่อย่างนี้ เกือบยี่สิบปี เราบวชมาแล้ว ๓๐ ปี ๓๑ ปีนี้ พูดอย่างนี้ทุกวัน พูดทุกวัน พูดทุกวัน แล้วก็ไม่หนีเพราะอะไร เพราะเห็นใจไง เพราะตายไปแล้วหมดนะ เพราะตายไปแล้วบุญกุศลสร้างใหม่ ไปเกิดเป็นเทวดานะ โอ้โฮ อีกกี่ล้านปีกว่าเราจะได้มาเกิดใหม่ ศาสนาอีกกี่รอบยังไม่ได้เกิดเลย ทำบุญอย่างนี้ปฏิบัติอย่างนี้ ไปเกิดเป็นพรหม ไม่ลงมาอีก อีกกี่หมื่นปีไม่รู้ ไม่เจอหน้ากันอีกแล้ว

โยม ๒:อาจารย์อย่าเพิ่งแช่งครับ

หลวงพ่อ : ไม่ได้แช่ง อ้าว ก็นิ่งอยู่แล้ว ก็ไปเป็นพรหมอยู่แล้ว จิตมันเป็นอยู่แล้ว ถ้ามันว่างๆ มันนิ่ง มาอีกทีไม่เจอเราแล้ว เราไปแล้ว

โยม ๒ : ลงมาจากพรหมหยกๆ จะไล่ขึ้นไปอีกแล้วหรือครับ

หลวงพ่อ : เพราะเหตุมันเป็นอย่างนี้มันไปโน่น สวรรค์ในอก นรกในใจ ถ้ามันหมดนี่เราไปจริงๆ แล้ว ไอ้นั่นมันที่พัก ไอ้ตัวจริงมันอยู่นี่ แต่เวลามันไปแล้วมันก็ไปอยู่ที่นั่น

โยม ๒ : อาจารย์แช่งกันอีกแล้ว

หลวงพ่อ : พูด พูดถึงเหตุผล เหตุเป็นอย่างนี้ ผลจะต่อเป็นอย่างนั้น นี่ไงเราบอกว่าเวลาปฏิบัติ กิเลสมันเหมือนตั๋วเครื่องบิน ถ้ามันยังมีตั๋วเครื่องบินอยู่นะ มันต้องขึ้นเครื่องบิน ถ้ามึงฉีกตั๋วทิ้งนะ สวรรค์ในอก กูไม่ไปแล้ว กูไม่ไปหรอก มึงไปเถอะ กูฉีกตั๋วทิ้งหมดแล้ว กูไม่ไปกับมึง มันอยู่ที่นี่ ปฏิบัติแล้วมันเห็นจริงน่ะ พอเห็นจริงอย่างนี้ซักมาเถอะ แล้วอยากให้ซัก ซักเพื่ออะไรนะ ซักเพื่อประโยชน์คนภาวนา หลวงตาเวลาท่านไปหาหมู่คณะนะ คนที่แบบว่าดื้อๆ ถามมา ถามมาสิ ถามมา เขาก็ถาม ๙ ประโยค ๑๐ ประโยค เขาก็ถาม เพราะยิ่งถาม ยิ่งตอบได้ เขายิ่งทึ่ง ถามมา มรรค ผล นิพพาน ใครว่าไม่มีถามมา ถามมา มันก็ถาม ถามก็อธิบาย

โยม ๒ : ถามอาจารย์ก็ได้ครับ ไม่ให้เป็นพรหมทำอย่างไรครับ

หลวงพ่อ : วิปัสสนาให้มันขาดซะ

โยม ๒ : จริงๆ มันก็ดูอยู่นะอาจารย์ แต่ว่า

หลวงพ่อ : จับให้มั่นคั้นให้ตาย จับให้มั่น สติให้ดี จับให้มั่นคั้นให้ตาย โธ่ ขนาดใช้ไม่ได้ เวลาวิปัสสนา เหมือนนักมวย ป้อนกิเลสเข้ามุมไปเลย พอเข้าไป มันปิ้นออกมานะ ซุกคางให้ได้นะ คว้ามันไม่ทันมันไปอีกแล้ว โธ่ ถ้าไม่เคยวิปัสสนาจะไม่รู้หรอกว่ากิเลสนี่มันขนาดไหน ไอ้นี่ไปโอ้โลมลูบคลำมันนี่ โอ๊ย ตั้งนานอยู่นี่เองเหรอ

โยม ๒ : เออ ให้มันว่านอนสอนง่าย

หลวงพ่อ : เออ เสร็จมัน

โยม ๒ : คือจากที่มันดิ้นมาก มันว่านอนสอนง่าย

หลวงพ่อ : ใช่ นั่นล่ะ ไปยอมจำนนกับมัน โธ่ ไม่เคยเห็นตัวมันนะ เวลาดีขึ้นมา โอ้โฮ ใช้ปัญญามันสนุกมาก มันก็ต้อนเข้ามุมนะ เผลอหน่อยมันปิ้นออกไปแล้ว หันกลับมาฉิบหาย เหนื่อยมาก สู้กับกิเลส พูดถึงสนุกสนุกมากนะ เราพูดกับเด็กๆ เกมส์คอมพิวเตอร์มึงน่ะ มันส์ไม่เท่ากูหรอก กูมันส์กว่าเยอะ เวลาสู้กันมันส์กว่าเยอะเลย เดี๋ยวแพ้เดี๋ยวชนะ เดี๋ยวได้คะแนนเดี๋ยวโดนตัดคะแนน โอ๊ย ปวดหัวฉิบหาย ไอ้เกมส์น่ะมันกดเฉยๆ ไอ้กูนี่เกือบตาย เวลาหลวงตาท่านพูดเราฟังแล้วซึ้งมาก ท่านบอกว่าหัวใจดวงเดียวนี้ เดี๋ยวกิเลสนั่ง เดี๋ยวธรรมะนั่ง ถ้าธรรมะนั่งก็สุขสบาย ถ้ากิเลสนั่งก็ทุกข์ หัวใจดวงนี้ เก้าอี้ดนตรีไง ผลัดกันนั่ง เดี๋ยวธรรมะก็ได้นั่งครอง เดี๋ยวกิเลสก็ได้นั่งครอง

โยม ๑ :อย่างคนบางคนที่คิดว่าตัวเองสำเร็จ แล้วคิดว่าเป็นนิพพานเลยค่ะอย่างนี้ แสดงว่าเขาไม่ได้คิดเหมือนที่ท่านอาจารย์พูดอยู่ แล้วเขาก็เข้าใจว่าตัวเองสำเร็จเป็นนิพพาน อย่างนี้ก็แสดงว่า แม้กระทั่งแค่พระโสดาบันเขาก็ไม่ได้

หลวงพ่อ : ไม่ได้

โยม ๑ : แล้วอย่างนี้เขาสอนลูกศิษย์ต่อ ด้วยคิดว่าเขาใช่ เขาบาปไหมคะ

หลวงพ่อ : บาป

โยม ๑ : ไปสร้างเจดีย์สร้างอะไรโดยคิดว่าตัวเองใช่แล้ว

หลวงพ่อ : ทิฎฐิด้วย เขาเกิดทิฏฐิมาก เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันไม่มีเหตุมีผล โธ่ แค่สงบๆ สมาธิมันก็เป็นไป แล้วถ้าพูดถึงมันเป็นแค่โสดาบัน มันรู้แล้ว เพราะเป็นโสดาบันปั๊บ พระโสดาบันมันก็ต่างจากนั้นแล้ว

โยม ๑ :ทีนี้ว่าอย่างท่านอาจารย์บอกว่า จะเป็นสันทิฎฐิโกใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : เขาก็เข้าใจว่านี่คือสันทิฏฐิโก โดยที่ไม่ไปหาครูบาอาจารย์ที่จะตรวจสอบ

หลวงพ่อ : สันทิฏฐิโกของกิเลสไง

โยม ๑ : นี่ค่ะ แล้วเขาจะรู้ได้อย่างไร คือคนบางคนเขาคิดอย่างนี้ แล้วก็ตั้งตัวอย่างนี้ เขาเป็นกัน

หลวงพ่อ : มันเป็นอย่างนี้เยอะ ตอนนี้เป็นอย่างนี้เยอะ มันเป็นอย่างนี้เยอะด้วยนะ มันไม่ใช่เป็นอย่างนี้ เราเห็นนะ บางทีเขาบวชเข้ามานะเขาตั้งเป้ามาเป็นอย่างนี้เลย คือเขา นี่เราเห็นพระหลายองค์ เพราะอะไร เพราะมันมีครูบาอาจารย์ใช่ไหม ก็ศึกษาประวัติ แล้วก็จะสร้างประวัติของตัวเองให้เป็นอย่างนั้น ก็ทำมา แล้วพอเข้ามาแล้ว พรรษาสองพรรษา โอ๊ย เขาฮือฮากันมาก พอดูไปๆ ก็เฉาไป เพราะอะไรรู้ไหม เพราะในวงการพระนี่มันจะมีการตรวจสอบ

ทีนี้ในวงการพระนี่มันเข้ามาไม่ได้ มันเป็นอย่างนี้เยอะ แล้วมีชื่อเสียง ชื่อเสียงใหม่ ที่ไปบวชกับหลวงตา มีชื่อเสียงขึ้นมา หลวงตาสั่งห้ามเทศน์ห้ามเทศน์ไว้หมดแล้ว เพราะนี่หลวงตายังอยู่นะดีอย่าง มันแบบว่าเขาต้องฟังไง ทีนี้หลวงตาสั่งห้ามเทศน์หมดแล้วนะพวกนั้น สั่งเลยห้ามเทศน์ ไม่ให้ออกสังคมเลย เพราะออกไปแล้วมันยุ่ง แต่อย่างที่ว่า เพราะอะไรที่ว่า พอมันว่างๆ ขึ้นมา มันเป็นอย่างนี้จริงๆ

พอจิตสงบน่ะ พอจิตสงบขึ้นมาพอมันว่างขึ้นไปเพราะอะไรรู้ไหม เพราะอย่างนี้ เวลาเขาไม่มีเหตุมีผล เวลาเขาพูดไม่มีตัวกูของกู ไม่มีตัวกูของกู มันไม่มีเหตุมีผลอะไรเลย แล้วเวลาพอไม่มีเหตุมีผลมันดูตรงนี้ได้ไง เพราะว่าลูกศิษย์ของเขา เขาพูดให้ฟัง บอกว่าพอหลวงปู่มั่นมีชื่อเสียง เขาก็ไปถามว่าหลวงปู่มั่นปฏิบัติอย่างนั้น โอ้โฮ ต้องทำกันขนาดนั้นเชียวเหรอ แสดงว่าพวกนี้หุงข้าวยังไม่เป็นเลย

ไม่เคยหุงข้าวไม่เคยทำกับข้าว แต่มันกินทุกวันนะ คนหุงข้าวทำกับข้าวนะกว่าจะทำได้มันยากไหม แล้วคนที่เขาหุงข้าวเขาทำกับข้าวเขาทำมาน่ะ คนไม่เคยทำนะ โอ้โฮ ต้องทำกันขนาดนั้นเชียวเหรอ แสดงว่า แสดงว่าไม่เคยทำอะไรเลย มันเป็นปรัชญาเฉยๆ คิดเฉยๆ แล้วก็ว่ากันไป แล้วก็เชื่อกันไป แล้วก็สร้างภาพกันไป กรุงเทพฯ เป็นทั้งหมดเลย ไม่มี ไม่มีหรอก ถ้ามีนะ พระอริยบุคคลมีหิริโอตตัปปะ มีความละอาย มันมีความละอายในใจของมัน มันมีความละอาย มีหิริโอตตัปปะ มีความสะดุ้งกลัวต่อบาป

โยม ๑ : เขาไม่รู้หรือเปล่า

หลวงพ่อ : ไม่รู้อะไร มันเอาสตางค์อยู่นั่น ไม่รู้ได้อย่างไร ไม่รู้ขึ้นคัทเอาต์โน่นน่ะ มันไม่ได้ดูที่ภาวนา มันดูที่สตางค์ ดูที่แบงก์ เอาล่ะ พอแล้ว