ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

เทศน์ที่ธรรมศาสตร์รังสิตครั้งที่๓ไฟล์๑

๑๒ เม.ย. ๒๕๕๑

 

เทศน์ที่ธรรมศาสตร์รังสิต ครั้งที่ ๓ ไฟล์ ๑
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๑
ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

 

เขียนมา ปัญหา เขียนมา ถ้ามีปัญหามันอยู่ได้ ถ้าไม่มีปัญหานี่ไม่มีอะไรตอบ อ้าว! เขียนสิ มีอะไรสงสัยเขียนมา เขียนมา เขียนมาเลย เขียนเลย เขียนมา เขียนอะไรเขียนมา

มันมีปัญหามาซ้ำเมื่อวานนี้ อันนี้อยากตอบเมื่อวาน ไม่มีเวลา เมื่อวานเขาเขียนนะ

ถาม : ในเมื่อคนเราเกิดมาต้องตาย แล้วคนเราจะเกิดมาทำไม?

หลวงพ่อ :เมื่อวานเขาเขียนมา..ใครเขียน? ไม่ใช่ไอ้หวานเนาะ

ถาม : ในเมื่อคนเราเกิดมาต้องตาย แล้วคนเราจะเกิดมาทำไม?

หลวงพ่อ :แล้ววันนี้เขียนมาอีก เห็นไหม

ถาม : พูดถึงมนุษย์นี่เกิดมาเพื่ออะไร แล้วดำเนินชีวิตอย่างไร?

หลวงพ่อ :เห็นไหม ปัญหา ๒ ข้อนี้คล้ายๆ กัน เมื่อวานนี้ข้อที่เกิดมาทำไมนี่อยากจะพูดมาก แต่ที่ว่าเมื่อคืนมันพูดแต่เรื่องภาวนาหมด เมื่อคืน โอ้โฮ! ใส่ คำถามมันภาวนา มันเลยไล่มาเรื่อยๆ อันนี้ปัญหาพื้นๆ ไง มันต้องตอนเช้าๆ เด็กๆ นี่ชอบ

ถาม : ชีวิตนี้เกิดมาทำไม?

หลวงพ่อ :นี่แหม...ถ้ามีเวลาจะพูดเรื่องนี้ก่อน พวกนี้ดี ปัญหาพื้นบ้านเรานี่แหละดี หญ้าปากคอกนี่แหละ ลึกเกินไปมันก็ต้องคนภาวนา อย่างนี้ดี

เอานะ ฟังธรรม ธรรมะ เราคิดว่าฟังธรรม เวลาธรรม ธรรมะคืออะไร? เวลาสามีภรรยาทะเลาะกันในบ้านเป็นธรรมไหม เวลาสามีภรรยาทะเลากันในบ้านนะ ถ้าเรามีสตินะ เป็นธรรม “เป็นธรรม” คนทะเลาะกันไม่เป็นธรรม แต่เราอยู่ในเหตุการณ์น่ะเป็นธรรม เป็นธรรมเพราะอะไร? เป็นธรรมเพราะเอาคติเตือนใจเราไง

ดูสิ การครองเรือนมันทุกข์ยากอย่างนั้นน่ะ นี่สามีภรรยาในบ้าน เห็นไหม พ่อแม่ตีลูกต่างๆ เป็นธรรมทั้งนั้นน่ะ เป็นธรรม มันเตือนเราไง การครองเรือน พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้ว การครองเรือนเป็นของแสนยาก เพราะการครองเรือน ทางโลกเขาบอก การครองเรือนคือมีครอบครัว แต่ในธรรมะนะ การครองเรือนคือการครองหัวใจ การครองหัวใจ คือการปกครองหัวใจของเราก็แสนยากอยู่แล้ว แล้วดวงใจดวงนี้มันก็ดิ้นรนอยู่แล้ว ยังต้องไปบริหารดวงใจของคู่ครอง ไปบริหารดวงใจของลูกของเรา

แล้วลูกของเรา เด็กๆ มันไร้เดียงสา มันก็น่ารัก เวลามันโตขึ้นมา การไร้เดียงสา ถ้าเราไร้เดียงสา เราอ่อนแอเกินไป เราไม่สามารถปกครองลูกของเราได้ ลูกของเราเรียกร้องสิ่งใดเราก็ให้ปรนเปรอจนลูกของเราเอานิสัย มันก็จะตามใจตัวเอง แต่ถ้าเรามีความเข้มแข็งของเรานะ ลูกจะเรียกร้องขนาดไหนเราก็ให้พอสมควรกับเรา

คนที่เขามีฐานะนะ เขาเลี้ยงลูกของเขา เขาเลี้ยงด้วยกติกาของเขานะ จะให้เงินใช้สัปดาห์เท่านั้น เดือนละเท่านั้น แล้วลูกอยากได้ใช้มากกว่านั้น ลูกต้องทำงานพิเศษ ลูกต้องหาเงินมาเพื่อให้ลูกรู้จักคุณค่าของเงิน นี่คนที่เขาปกครอง นี่การครองเรือน

การครองเรือนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือการครองหัวใจกัน ให้หัวใจนี่ร่มเย็นเป็นสุข แต่โลกปัจจุบัน การครองเรือนคือการอยากมีความสุขของเรา เฉพาะของเรา คิดแต่ตามกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ว่าอย่างนี้จะเป็นความสุขๆ แล้วมันเป็นความสุขจริงไหม? มันเป็นความสุข มันเป็นสิ่งล่อนิดเดียว ความสุขแต่เมื่อเราพอใจ แล้วความทุกข์จะตามมาอีกเป็นขบวนเลย เพราะอะไร? เพราะเราบริหารต้นน้ำไม่ดี ต้นน้ำบริหารผิด ปลายน้ำเอาแต่ความทุกข์มาให้เรานะ ถ้าต้นน้ำ เราบริหารต้นน้ำของเราดีนะ ปลายน้ำ กลางน้ำ ทุกอย่างมันจะดีไปหมดเลย เพราะมันดีจากต้นน้ำ นี่การครองเรือน

“การครองเรือน” เวลาครองเรือนเกิดขึ้นมาแล้วในครอบครัว ในครอบครัวขึ้นมา เกิดขึ้นมาในครอบครัวมันก็เป็นสายบุญสายกรรม เราจะมีนิสัยดี เราจะมีสติสัมปชัญญะ เราจะบริหารขนาดไหนมันก็มีสายบุญสายกรรม เพราะการเกิดมานี่มันเป็นภพเป็นชาติ ชีวิตนี้คืออะไร? นี่มันหักห้ามไม่ได้หรอก ดวงอาทิตย์คืออะไร? พลังงานคืออะไร? แดดออกขึ้นมาแล้วเป็นอย่างไร? มีแต่คนฉลาดเท่านั้นเอาพลังงานนั้นมาใช้

ชีวิตนี้ก็เหมือนกัน ชีวิตนี้มันเกิดโดยธรรมชาติของมัน ชีวิตนี้ จิตนี้มันปิดกั้นไม่ได้ ทำไมเราไม่ต้องการหญ้าเลย มีดิน มีแดด มีน้ำ นี่หญ้ามันเกิดตลอดเวลา แล้วหญ้ามันก็เกิด เห็นไหม เห็ด ถ้ามันมีเชื้อ เห็ดมันจะเกิดใหม่ตลอดเวลา นี่สิ่งนี้มันเกิดมา ถึงอากาศ ถึงความชื้น เห็ดมันจะเกิดแล้ว มันธรรมชาติของมัน สิ่งที่มีชีวิตที่ไม่มีวิญญาณครอง

แต่เรานี่เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่มีวิญญาณครอง จิตต้องเกิดเหมือนเชื้อเห็ดนั่นล่ะ เชื้อเห็ดนะ ถ้ามันมีอากาศอุ่นๆ ถึงภูมิอากาศได้ มันจะเกิดของมัน ชีวิตนี้มันเกิด เกิดเป็นมนุษย์นี่นะมันแจ๊คพ็อต สุดยอดบุญเลย ถ้าไม่เกิดเป็นมนุษย์ เพราะสิ่งมันต้องเกิด มันต้องเกิดเป็นอะไรล่ะ เกิดเป็นสัตว์นรก เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเกิด เกิดทั้งนั้นน่ะ

ดูสิ สิ่งที่มีชีวิตทุกชนิดรักความสุข เกลียดความทุกข์ แล้วทุกคนกลัวตายหมด พอเกิดขึ้นมาปัจจุบัน ปัจจุบันเป็นเราแล้วเราก็สงวนตรงนี้ สงวนว่าเป็นเรา จะไม่ให้มีอะไรกระทบกระเทือนเลย แล้วมันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะชีวิตนี้มันมีอายุขัยของมัน พอมีอายุขัยของมันมันก็เวียนไปๆ

ทีนี้ในครอบครัวของเราไง ในครอบครัวของเรา ถ้าลูกเป็นอภิชาตบุตร ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดกับพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าสุทโธทนะต้องการให้เป็นกษัตริย์ นี่พราหมณ์พยากรณ์ไว้แล้ว ถ้าเป็นกษัตริย์จะเป็นจักรพรรดิ เป็นจักรพรรดิหมายถึงสมัยโบราณไม่มีประเทศ เป็นแว่นแคว้น แล้วถ้าใครมีอำนาจเหนือกว่า กองทัพที่เหนือกว่า จะตีแว่นแคว้นต่างๆ มารวมเป็นประเทศ เรียกว่าจักรพรรดิ จักรพรรดิ คือการรวมชาติ รวมชาติขึ้นมา สมัยก่อนไม่มี ไอ้ประเทศ ไอ้เขตแดน มีสมัยเมื่อไม่นานนี้เอง ตั้งแต่มีแผนที่ นี่เมื่อก่อนไม่มี

ถ้ารวมแว่นแคว้นขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ นี่พ่อแม่ก็อยาก พ่อแม่ก็ต้องการ พ่อเป็นกษัตริย์ก็อยากให้ลูกเป็นจักรพรรดิ ถ้าพูดถึงอภิชาตบุตร ถ้าเป็นจักรพรรดินะ เจ้าชายสิทธัตถะก็เป็นจักรพรรดิองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ แต่นี่ไม่ใช่ นี่เป็นอภิชาตบุตร

พราหมณ์พยากรณ์แล้ว พระเจ้าสุทโธทนะก็พยายามรักษา ให้แต่กามคุณ สิ่งต่างๆ เป็นความสุขปรนเปรอตลอดเพื่อให้อยู่ในสภาพของกษัตริย์ แต่ด้วยบุญกุศลที่สร้างมา ไปเที่ยวสวน ยมทูตมาให้เห็นนะ

คิดดูมันแปลกนะ คนเราเกิดมาเราก็เป็นเด็กมา เป็นอะไรต่างๆ มา แต่ไม่รู้ว่ามีคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย

ไปเห็นเด็ก ถามมหาดเล็ก “นี่อะไร?”

“นี่คนเกิด”

ไปเจอคนแก่ “นี่อะไร?”

“นี่คนแก่”

“คนเจ็บ”

“แล้วนั่นคนตาย”

“อ้าว! เกิดมาต้องมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตายด้วยหรือ ถ้าเกิดมีแก่ มีเจ็บ มีตาย เราต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยสิ”

พอ “เราเกิด แก่ เจ็บ ตาย” เห็นไหม ความคิดมีมุมมอง ความคิด “ถ้าอย่างนั้นมันต้องมีฝั่งตรงข้าม สิ่งที่มันมีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย มันต้องมีไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย”

แล้วไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายมันไปหาที่ไหน

นี่ถึงได้สละ จะครองราชย์อยู่แล้ว จะได้เป็นกษัตริย์ อีก ๗ วันจะสถาปนาเป็นกษัตริย์ ไม่เอา หนีเลย หนีออกจากราชวังไป

ทางโลกเขาคิดกันนะ เห็นแก่ตัว พระเวสสันดรก็เห็นแก่ตัว เวลาสละลูกสละเมีย ไม่ยอมสละตัวเอง เราคิดกันไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ เราอยู่ในเหตุการณ์ ชูชกเขาไม่ได้ขอตัว เขาขอลูกขอเมีย ชูชกขอกัณหา ชาลี ชูชกไม่ขอเรา แล้วเราเป็นสุภาพบุรุษนะ เป็นกษัตริย์นะ พระเวสสันดรเป็นกษัตริย์ เป็นนักรบ แล้วให้ขอทานมาขอลูกไป ขอลูกไปแล้วมาตีต่อหน้า พ่อเจ็บขนาดไหน? มีพ่อคนไหนบ้างที่รักลูกแล้วให้คนมารังแกลูก มีพ่อคนไหนคิดอย่างนี้บ้าง?

ไม่มีพ่อคนไหนหรอกที่ว่า ลูกเรา จะให้คนนู้นกดขี่ข่มเหง ไม่มีหรอก แต่ในเมื่อโพธิญาณ ในเมื่อตั้งใจขึ้นมาว่าเราจะหาสิ่ง โพธิญาณ คือว่าสิ่งที่พ้นจากกิเลส มาเป็นพระโพธิสัตว์ชาติสุดท้าย ชาติสุดท้ายต้องสละลูกสละเมีย เพราะคนเรา เพศตรงข้าม ระหว่างลูกกับเมียนะ ระหว่างสามีภรรยา รักสุดรักเลยนะ ถ้าพูดถึงรักนะ ไม่ใช่พูดถึงทะเลาะเบาะแว้งกัน ถ้าเกลียดนี่ให้เขาไปเลย แต่ถ้ารักสุดรักนี่ใครมาแตะไม่ได้นะ แล้วรักสุดรัก แล้วเขามากระชากดวงใจของเราไปมันทุกข์ขนาดไหน ดวงใจทั้งดวงใจ เขาเอาดวงใจมาวางกับพื้นแล้วก็เหยียบย่ำเลย นี่มันทุกข์ขนาดไหน มันทุกข์มากขนาดไหน

แต่โลกไม่คิดกัน โลกคิดว่าเห็นแก่ตัว สละลูกสละเมียเห็นแก่ตัว

คนมีความรับผิดชอบนะ ยิ่งรับผิดชอบขนาดไหน ความรับผิดชอบอันนั้นทำให้หัวใจนี้เจ็บปวดมาก นี่อภิชาตบุตร อภิชาตบุตรหมายถึงว่าดีกว่าพ่อแม่ แต่ถ้ามันมีเป็นบุญเป็นกรรมนะ สิ่งที่เป็นกรรมขึ้นมา เราจะถนอมรักษาขนาดไหน ในสังคมไหนมีคนดีทั้งหมดก็มีคนเลว ในสังคมที่เป็นโจรมหาโจรก็เป็นคนดี

นี่ก็เหมือนกัน ในครอบครัวของเรา ในการกระทำของเรามันจะมี ถ้าเรามีบุญนะ แล้วลูกเรา ครอบครัวของเรา เราบริหารจัดการในครอบครัวของเรา เราครองเรือนในครอบครัวของเรา ครอบครัวของเรามีแต่คนดีหมดเลย อันนั้นบุญมากๆ

ในศาสนานะ “บุญ” คือในครอบครัวมีความสุข ยิ้มแย้มแจ่มใส มองหน้าหากันแล้วมีความอบอุ่น นั้นคือบุญ ไม่ใช่ตัวเลข ไม่ใช่สมบัติพัสถาน ไอ้นั่นมันเป็นวัตถุ ไม่ใช่ บุญกุศลคือในครอบครัวยิ้มแย้มแจ่มใส ครอบครัวมีความสุข บุญคือความสุข บุญคือความเข้าใจกัน ดูพ่อแม่สิ ลูกคนไหนออกไปทำงานกลับมานะ มีตำแหน่งหน้าที่การงาน พ่อแม่จะชื่นใจมากเลย พ่อแม่ไม่ต้องการอะไรเลย พ่อแม่ขอให้ลูกเรามีจุดยืนอยู่ในสังคม พ่อแม่ขอให้ลูกมีสถานที่ให้สังคมเขายอมรับ พ่อแม่จะมีความสุขมาก พ่อแม่มีความสุข อยากเห็นความประสบความสำเร็จของลูก ถ้าพ่อแม่คนไหนเห็นลูกมีความประสบความสำเร็จ พ่อแม่จะดีใจมาก สุขมากๆ เงินทองซื้อไม่ได้ เงินทองหาไม่ได้ นี่บุญเป็นอย่างนั้น

ในครอบครัวของเรา “บุญกุศล” ถ้าบุญกุศล เราถึงทำบุญกุศล นี่พูดถึงคฤหัสถ์นะ เวลาเข้ามา ดูอย่างเรื่องของทาน ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วคนจะรู้แจ้งในชีวิต ชีวิตนี่คืออะไร? ชีวิตนี้คืออะไร? ชีวิตนี้มาจากไหน? ถ้าพระอรหันต์นะ ไม่เข้าใจเรื่องชีวิต เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ เพราะพระอรหันต์ ชีวิตนี้มาจากไหน? เกิด อะไรมาเกิด? ทำไมถึงมาเกิดเป็นแบบนี้ เกิดแล้วทำไมมันทุกข์มันยากอย่างนี้ แล้วปฏิบัติไป ปฏิบัติง่าย ปฏิบัติยาก ปฏิบัติต่างๆ นี่ถ้าเห็นคุณค่าอย่างนี้มันเหมือนกับเราทำงาน สถานที่ทำงานเราต้องสะอาด เราต้องบริสุทธิ์ นี่เวลาเข้าไปวัดปฏิบัติ พระ ครูบาอาจารย์ท่านถึงเข้มงวดไง เข้มงวด

ถามว่า สัปปายะ ๔ เป็นอะไรสำคัญที่สุด?

สัปปายะ ๔ นะ อาจารย์เป็นสัปปายะ สถานที่เป็นสัปปายะ หมู่คณะเป็นสัปปายะ สัปปายะ ๔ ถ้าเป็นสัปปายะสำคัญที่สุดคือคนชี้นำ คืออาจารย์นี่เป็นสัปปายะอันดับ ๑ อันดับ ๒ นะ หมู่คณะเป็นสัปปายะ ทิฏฐิเสมอกัน ความเห็นเสมอกัน นั่งสมาธินี่ปัจจุบันนี้ทุกคนสงบนิ่งหมด พอทุกคนสงบนิ่งหมดมันไม่กระทบกระเทือนกัน เวลาแสดงธรรมออกไป ทุกดวงใจดูดซับเอา

แต่ถ้าเราพยายามดูดซับอยู่ แต่ดูดซับ เสียงมากระทบหูเรา สิ่งนี้เป็นธรรม ธรรมนี้ออกมาจากหัวใจที่เป็นธรรม ถ้าหัวใจที่เป็นธรรมนะ การแสดงธรรม มันคดในข้องอในกระดูก คดในข้องอในกระดูกอย่างไร? เพราะมันพูดหวังผลประโยชน์ หวังสิ่งตอบแทน หวังทุกๆ อย่างเลย นี่เพราะอะไร?

เพราะจิตมันมีความหวัง จิตมีตัณหาความทะยานอยาก น้ำล้นฝั่ง น้ำล้นฝั่งหมายถึงว่ามันล้นตลอดเวลา มันต้องการตลอดเวลา ถ้าใจมันไม่เป็นธรรม นี่มันคดในข้องอในกระดูก แต่ถ้ามันเป็นธรรมนะ มันออกมาด้วยความสะอาดบริสุทธิ์ใจ จากใจดวงหนึ่งให้อีกใจดวงหนึ่ง แล้วใจของเรา เราคดในข้องอในกระดูกในตัวของเราเอง ในตัวของเราเองนะ กาลเวลา ความเป็นไปของชีวิตนี้พลั้งเผลอ ปล่อยปละละเลย นี่คดในข้องอในกระดูก คือไม่ซื่อสัตย์ ไม่ตามความเป็นจริง

ทีนี้เวลาธรรมเข้ามา ธรรมเข้ามาเพื่อชำระล้าง เห็นไหม เราดูดซับ ดูดซับอย่างนี้เข้าไปมันแทงใจเราไหม ใช้ชีวิตให้ถูกต้องอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางไว้ไหม เราทำอะไรเพื่อเราไหม แล้วไหนว่าเรารักเราล่ะ นี่เวลาคนอื่นรังแกเรา คนอื่นเขาทำลายเรา โอ๋ย! คนโน้นก็ไม่ดี คนนี้ก็ไม่ดี แล้วไอ้กิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจที่มันคดในข้องอในกระดูก มันหลอกลวงเราล่ะ มันทำลายเราล่ะ มันให้เราผัดวันประกันพรุ่ง มันไม่ให้เราทำคุณงามความดี มันไม่ให้เราทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์เลย มันให้ทำแต่สิ่งที่เป็นตัณหาความทะยานอยาก ตัณหาความทะยานอยากคือไปตามกระแสโลก ไปตามอบายมุข สิ่งที่มหรสพต่างๆ อบายมุข ถ้าไปเสพมัน ไปยุ่งกับมัน ไปคลุกคลีกับมัน มันก็ไปอบายภูมิ

แล้วก็เวลาคิดถึงธรรมะกันนะ จะไม่ไปอบายภูมิได้ไหม เราจะทำอย่างไรไม่ให้ไปอบายภูมิ เราจะปิดกั้นอบายภูมิได้ไหม? ถ้ายังทำอบายภูมิอยู่มันจะไม่เป็นอบายภูมิได้อย่างไร ถ้ามันไม่เป็นอบายภูมินะ เราทำดีแล้วมันจะไปอบายภูมิได้อย่างไร

“ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” ถ้ามีต้นเหตุ มีต้นน้ำ มันก็ไปปลายน้ำนั้นน่ะ ถ้าต้นน้ำมันดี ปลายน้ำไปได้ เห็นไหม ถ้าสิ่งที่เราจะประพฤติปฏิบัติกัน มันถึงจะต้องสงบ ต้องนิ่ง นิ่งเพื่ออะไร? นิ่งเพื่อร้อยเข็ม เราจะสอยเข็มนะ ถ้าเราเคลื่อนไหวอยู่ เราจะสอยเข็มได้ไหม จิต ถ้ามันคิดอยู่ มันฟุ้งซ่านอยู่ มันคิด มันแส่ส่ายอยู่ ธรรมะมันจะเข้าไปได้อย่างไร?

พอธรรมะมันจะเข้า อ้าว! ก็ไหนว่าธรรมะเป็นของประเสริฐ ธรรมะเป็นของเลิศ ก็แสดงธรรมมาสิ มันจะขนาดไหน มันจะโลดเต้นเผ่นกระโดดขนาดไหน ธรรมะมันก็ต้องเหนือกว่าสิ นั้นเป็นความคิดของโลกไง ถ้าความคิดของธรรม ทำไมเราต้องทำจิตให้เรานิ่งล่ะ? ทำไมต้องทำจิตให้นิ่งด้วย? ถ้าจิตให้นิ่ง เห็นไหม สิ่งที่เข้ามามันเป็นสัมมาทิฏฐิ แต่ถ้าจิตมันวิ่งเต้นเผ่นกระโดด เห็นไหม ก็ดูสิ ไปเที่ยวตามคลับ ดูสิ เขาเต้น เขาโลดเต้นเผ่นกระโดด นั่นมันเรื่องของกิเลส มันเรื่องของความสะใจ มันเรื่องของตัณหาความทะยานอยาก แล้วกิเลสมันตรงข้ามกับตัณหาความทะยานอยาก

ครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม ที่ว่าท่านดุ ท่านเข้มงวด เข้มงวดก็เพราะว่าเพื่อให้เราได้ประโยชน์ไง แต่เราเอง เวลาเราไป สัปปายะ ต้องสถานที่สงบ ต้องให้เราสะดวกสบาย ต้องตามความพอใจของเรา แล้วมันเป็นตามความพอใจของเราไหม นี่เราเอากิเลสไปวัดไง ไปที่ไหนก็เอาบรรทัดอันหนึ่งเที่ยวไปวัดสังคมไง ไม่วัดใจของตัวเองไง วัดใจของตัวเองก่อนสิ วัดใจของตัวเอง ว่าตัวเองคิดอะไร? ตัวเองทำอะไร? แล้วมันถูกต้องไหม?

มรรคหยาบฆ่ามรรคละเอียดนะ ความคิดของเด็กมันไร้เดียงสา น่ารักมาก แล้วตามมันได้ไหม ถ้าเราตามเด็กไปมันก็เป็นเด็กไง ความคิดของเรานี่ไร้เดียงสามากในทางธรรม ไร้เดียงสามาก พอไร้เดียงสามาก เข้าไปในวัดไหนไม่ได้ดังใจ พอไม่ได้ดังใจมันโดนบังคับ นี่กิเลสมันโดนบังคับ พอกิเลสโดนบังคับ เอาแล้ว มันแผลงฤทธิ์แล้ว โน่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่ดี ไม่ได้ดังใจเลย

ฉะนั้น เราต้องศึกษา เราอยากได้สัปปายะที่ดี อยากได้สิ่งที่ดี เราต้องศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ เพราะศีลในศีล ศีล ๒๒๗ ธุดงควัตร ฉันมื้อเดียว ฉันอาสนะเดียว ฉันต่างๆ มันเป็นศีลในศีลไง ศีลในศีล ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติ ไม่ถือธุดงควัตร ไม่เป็นอาบัติ มันเป็นความสมัครใจ ความสมัครใจ นี่เราฉันมื้อเดียว แล้วยังอดนอนผ่อนอาหาร การอดนอนผ่อนอาหาร

ถ้าทางวิทยาศาสตร์ สิ่งนี้มันเป็นไปไม่ได้ สิ่งนี้มันฝืน มันเป็นกิเลส

แต่ถ้าเป็นทางธรรม สิ่งนี้เป็นการขัดเกลากิเลส

เราเป็นคนไข้ คนไข้หนักเราต้องเข้ารับการผ่าตัด หมอต้องบอกให้เราฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงก่อนใช่ไหม ถ้าฟื้นฟูให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นไป เราเข้าไปผ่าตัด หมอก็รักษาได้สบาย ทุกอย่างทำ โอกาสคนไข้ก็หายได้ง่ายขึ้น การอดนอนผ่อนอาหาร การขัดเกลากิเลส

คำว่า “ขัดเกลากิเลส” ไม่ใช่ “ฆ่ากิเลส”

การฆ่ากิเลสต้องเป็นอริยสัจ เป็นมรรค แต่การขัดเกลากิเลสคือเราเตรียมพร้อมเข้าไปให้หมอรับผ่าตัด ถ้าเตรียมพร้อมให้หมอผ่าตัด เห็นไหม เราอดนอนผ่อนอาหาร เราทำความเตรียมพร้อมของใจ มันการขัดเกลา ขัดเกลากิเลสนะ ให้กิเลส.. มันฆ่าไม่ได้ แต่มันขัดเกลา นี่อดนอนผ่อนอาหาร

เพราะเวลาถือศีล ๘ ไม่กินอาหารเย็น กินมื้อเช้า มือเพล แล้วไม่กินอาหารเย็น เห็นไหม ศีล ๘ ไม่กินอาหารเย็น เพราะอะไร? เพราะสิ่งที่เรากินอาหารเข้าไปในกระเพาะ เวลากระเพาะมันย่อยอาหารนี่ ๘ ชั่วโมง มันย่อย ๖ ชั่วโมง ๘ ชั่วโมง ย่อยอยู่นี่ พอมันย่อยอยู่ มันทำงานอยู่ แล้วเราไปนั่ง เหมือนย่อยอาหาร กระเพาะอาหาร โครงสร้างของร่างกายมันทำงานของมันอยู่ แล้วพอทำงานของมันอยู่ มันกินบ่อยมากเข้า นี่สารอาหารในร่างกาย

ดูสิ เวลาเรากินอาหารกัน เราต้องลดน้ำหนักกัน ลดน้ำหนัก อยากกิน แล้วก็ไปลดมันออก นี่ทางโลกยังเห็นเลยว่าการกินมันเป็นการสะสม การสะสมทำให้เกิดพลังงาน เกิดพลังงานแล้วไปนั่งสัปหงกโงกง่วง พอสัปหงกโงกง่วง พอจะมากินมื้อเดียวก็ไม่ได้ดังใจ ไม่ได้ดังปาก ก็ไม่พอใจอีก นี่มันไม่พอใจอะไรไปทั้งนั้นเลย แล้วพอเสร็จแล้วมาปฏิบัติก็อยากได้สมาธิอีก อยากได้ปัญญาอีก

คนเวลาอยากได้สมาธิ อยากได้ปัญญา เขาว่ากันนะ ว่าพระกรรมฐาน พระป่า ทำอุกฤษฏ์เกินไป ทำรุนแรงเกินไป ต้องทำตามสบายๆ

นั่นครูบาอาจารย์ท่านบอก เวลาจะเทศนาว่าการต้องกราบกิเลสก่อน ขออนุญาตกิเลสก่อนจะเทศน์ นี่ต้องตามใจกิเลสไง แต่ถ้าเราขัดเกลามัน เราต่อสู้มัน ขัดเกลามัน เราต่อสู้มัน เหมือนคนไข้จะเข้าห้องผ่าตัดเลย เตรียมตัวให้พร้อม ต้องทำความสะอาดให้พร้อม ทุกอย่างพร้อมหมด เข้าไปผ่าตัด นี่เราอดนอนผ่อนอาหารก็เพื่อเตรียมตัว ความพร้อม เตรียมตัวให้หัวใจมันเปิดกว้าง แล้วเราประพฤติปฏิบัติ เราก็ทำของเราไป เตรียมตัวพร้อม

แล้วเราก็ไปเกร็งกับมันนะ เขาจะผ่าตัด เขาจะอะไร? พุทโธๆๆ เกร็งไปหมดเลย ทุกอย่างเกร็งไปหมด แล้วสมาธิก็ไม่ได้ ไม่ได้หรอก นี่ตัณหาซ้อนตัณหา คือโดยสัญชาตญาณของมนุษย์มันมีความอยากโดยธรรมชาติของมัน ทีนี้ความอยากอันนี้มันอยู่จิตใต้สำนึก แต่ความอยากข้างนอก อยากได้ผล เห็นไหม อันนี้เป็นตัณหาซ้อนตัณหา แต่เราอยากในเหตุ เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส เปลี่ยนตัณหาความทะยานอยากให้มันเป็นมรรค เปลี่ยนความรู้สึกที่ความต้องการความปรารถนาให้เป็นความปรารถนาในการสร้างเหตุ

“ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” ถ้าเราไปหยุดที่เหตุ แล้วรักษาเหตุ ตั้งสติ ตั้งกำหนดพุทโธ หรือตั้งปัญญาอบรมสมาธิ แล้วรักษาเหตุ เราสร้างเหตุ เราทำธุรกิจ เราทำงานของเรา ผลตอบแทนมันจะได้ไหมโดยธรรมชาติ ถ้าเราไปอยู่ที่เหตุ ผลที่เป็นสมาธิมันจะได้โดยธรรมชาติไหม? มันได้โดยธรรมชาตินะ แต่เรามันไม่รู้ ไปต้องการ ไปแสวงหา ไปเอาอนาคตมาเป็นผลไง ไปคาดไปหมายกัน ไปจินตนาการ ไปเอาอนาคตมาเป็นผล แล้วสมาธิมันก็ไม่ได้

แล้วก็กลับมา “โอ๋ย! ปฏิบัติมหาศาลเลย ปฏิบัติมาอย่างนี้ไม่ได้ มรรค ผลไม่มีแล้วแหละ ครูบาอาจารย์ท่านหลอก”

มันหลอกได้อย่างไร? ไปยืนกลางแดดสิ ยืนกลางแดดไม่ร้อนนะ เป็นไปได้อย่างไร? ออกไปยืนกลางแดดจะร้อนไหม? ยืนกลางแดดมันร้อนแน่นอน มันเป็นความจริงจริงๆ ทั้งนั้นน่ะ ลมพัดมามันก็ต้องเย็นเป็นธรรมดา ถ้าเราสร้างเหตุสมควรแก่ธรรม

“ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์เลย”

ทุกคนนะ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือสมเหตุสมผล มันเหตุผลมันต้องให้เป็นข้อเท็จจริงเด็ดขาดเลย พ้นจากนี้ไปไม่ได้ อริยสัจนี่เป็นความจริงเลยล่ะ แต่เราทำกัน เดี๋ยวนี้โลกเจริญ ทุกคนหลงตัวเองหมดนะ พอโลกเจริญทุกคนมือไม้อ่อนหมด ในปัจจุบันนี้ทุกคนหุงข้าวเช็ดน้ำไม่เป็นหรอก กดปุ่มทั้งนั้นน่ะ เช้าบิณฑบาต ลืมกดปุ่ม ไม่ได้กินข้าว นี่มันว่าโลกนี้เจริญ เจริญจนตัวเองไม่มีคุณค่าของมนุษย์เลย ความเป็นมนุษย์ของเรานี่ไม่มีแล้ว ทำอะไรก็ไม่เป็น ต่อไปนะ การทำความสะอาดร่างกาย ยืนเฉยๆ นะ เขาจะขัดให้หมดเลย เหมือนล้างรถ รถเข้าไปมันจะปั่นให้ออกมาเป็นสะอาดหมดเลย มันจะทำให้ชีวิตจนเราจะทำอะไรกันไม่ได้นะ กลายเป็นตุ๊กตาตัวหนึ่ง ไปตั้งไว้ที่ไหนๆ ตัวหนึ่ง

คำว่า “โลกเจริญ” ไม่ได้ปฏิเสธนะ ธรรมะไม่ปฏิเสธโลกหรอก โลกจะเจริญขนาดไหน เจริญอำนวยความสะดวก แต่วิชาการไม่ได้ใส่บ่าแบกหาม สิ่งรู้สิ่งการกระทำของเรา ดูสิ อย่างเรา เราทำครัวเป็น เราทำอาหารเป็น เราทำอะไรได้หมด เราสบายมากนะ อยู่ที่ไหนเราก็อยู่ได้ เราทำอะไรไม่เป็นนะ เราทำอะไรไม่เป็นเลย แล้วบอกว่านี่โลกเจริญแล้ว ไม่ต้องมีการฝึกฝน ที่ไหนเขาก็มีการบริการอยู่แล้ว การบริการอยู่แล้ว ถ้าเกิดของเขาเลิกกิจการไปล่ะ เขาไม่ทำกัน

ดูสิ พลังงานมันหมดไปทำอย่างไร? ในโลกนี้คิดกันอยู่นี่ พลังงานทดแทน พยายามหากันอยู่ เพราะอะไร? เพราะคนมันเคยแล้วนะ เราไม่มีพลังงานนี่ขยับกันไม่ได้เลย

“ปัจจัยที่ ๕” กล่าวตู่พุทธพจน์

“ภิกษุกล่าวตู่พุทธพจน์ ภิกษุตั้งภิกษุครบสงฆ์ แล้วสวดให้ถอนทิฏฐิความเห็นผิดอันนี้ ภิกษุนั้นไม่ถอน เป็นอาบัติสังฆาทิเสส”

สิ่งที่กล่าวตู่พุทธพจน์ สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ ห้ามบัญญัติซ้ำเข้าไป สิ่งที่บัญญัติแล้วห้ามตัดทอนออก

โดยการสังคายนาครั้งที่ ๑ พระกัสสปะเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของศาสนาต่างๆ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วให้ทำสังคายนา แล้วลงมติไว้ว่าสงฆ์นี้จะไม่แก้ไข ไม่ทำสิ่งใด เพราะถ้าแก้ไขไปเขาจะบอกว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปไม่เท่าไร ภิกษุก็รักษาธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ เถรวาทถืออย่างนี้

มหายานถือไปอีกอย่างหนึ่ง มหายานแตกกระสานซ่านเซ็นออกไปเป็นอาจริยวาท เป็นหัวหน้าพาไปทุกอย่างเลย

แต่เถรวาทถือกันอย่างนี้ไง กล่าวตู่พุทธพจน์ เพราะปัจจัย ๔ พระพุทธเจ้าไม่บอกปัจจัย ๕ หรอก เดี๋ยวนี้การโฆษณา “ปัจจัย ๕ ปัจจัย ๖ ปัจจัย ๘ ปัจจัย ๓๐๐” ปัจจัยคือเครื่องอาศัย บังคับไง นี่เอาศาสนามาเป็นธุรกิจ เอาศาสนามาหากินกัน นี่ปัจจัย ๔ เท่านั้น อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สิ่งนี้ขาดไม่ได้ของมนุษย์ มนุษย์ขาดสิ่งนี้ไม่ได้ แต่เกินกว่านั้นน่ะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ แต่ในปัจจุบันนี้นะ ยานพาหนะเป็นปัจจัยที่ ๕ ขาดยานพาหนะไม่ได้ แล้วเกิดถ้ามันไม่มีขึ้นมาไม่ตายหมดโลกเหรอ

นี่มันไปกล่าวตู่พุทธพจน์ เพราะพุทธพจน์พูดความจริง จริงหนึ่ง ไม่มีสอง คือไม่มีการคลาดเคลื่อน จริง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่นี้เอาไปหาประโยชน์กันทางโลก เอาศาสนามาเป็นธุรกิจ ถ้าเอาศาสนามาเป็นธุรกิจก็เห็นศาสนาเป็นแบงก์ เอาแบงก์มาแล้วเอ็งเอาบุญไป มันไม่จริงหรอก แบงก์คือกระดาษ สมมุติทั้งนั้นน่ะ สมมุติ โลกนี้ คุณค่าของวัตถุ ตีราคากัน สมมุติกันให้มีค่าขึ้นมา แต่ธรรมะเหนือโลกนี่ตีค่าไม่ไดเลย ถ้าธรรมะตีค่าได้นะ มรรค ผล นิพพานไปอยู่กับเศรษฐีหมดน่ะ มันซื้อหมด ซื้อนิพพานหมด นิพพาน แล้วราคาเท่าไรวะ กูซื้อเอง มันเป็นไปไม่ได้หรอก

กษัตริย์สมัยพุทธกาลนะ มาบวช มาปฏิบัติขึ้นมา แล้วอยู่โคนไม้นะ “สุขหนอ สุขหนอ สุขหนอ” จนพระเขาจับผิดกันนะว่านี่คิดถึงกษัตริย์ คิดถึงราชบัลลังก์ มาอยู่โคนไม้แล้วมันทุกข์ ก็เลยไปเฝ้าพระพุทธเจ้า บอก “พระองค์นี้บ่นพร่ำเพ้อคิดถึงแต่กษัตริย์”

พระพุทธเจ้าถามว่า “เธอว่าอย่างนั้นจริงๆ เหรอ”

“ใช่ครับ ผมบ่นจริงๆ ครับว่าสุขหนอ สุขหนอ”

“แล้วทำไมถึงว่าสุขล่ะ”

“สุขสิครับ เพราะเมื่อก่อนเป็นกษัตริย์นะ จะนอนอยู่ที่ไหนก็สะดุ้งสะเทือนตลอด เพราะกลัวคนแย่งชิงอำนาจ เป็นกษัตริย์นอนที่ไหนไม่เคยมีความสุขเลย บัดนี้ออกมาบวชนะ แล้วประพฤติปฏิบัติมาเป็นพระอรหันต์ นอนอยู่โคนต้นไม้มีความสุขมาก”

มันทอดธุระได้ นอนตามสบาย ไม่มีความหวาดระแวง ไม่มีสิ่งใดสะดุ้งในหัวใจเลย สุขมาก เป็นกษัตริย์นอนที่ไหนนะ นอนด้วยความหวาดระแวง คนนอนด้วยความหวาดระแวงมันจะมีความสุขไหม คนต้องบริหารจัดการมันจะมีความสุขไหม? นี่ไม่มีความสุขเลย แต่เวลาทิ้งออกไปหมดเลย ไปอยู่โคนไม้มีความสุขได้อย่างไร? มีความสุขเพราะมันคุมใจของมันได้ ถ้ามีความสุขจริงๆ นะ

ทำไมคนทุกข์จนเข็ญใจ ดูสิ ในที่ราบสูงเขาต้องการเชื้อชาติกัน เขาต้องการสัญชาติกัน เขาต้องการสิทธิหน้าที่ ต้องการหน้าที่เป็นพลเมืองเพราะว่าอะไร? เพราะรัฐบาลมันมีสวัสดิการใช่ไหม มีทุกอย่างหมดเลย เขาต้องการนะ เพราะพระธุดงค์นะ พระนี่เที่ยวมาทั่วประเทศไทย จะเห็นความแตกต่างของสังคมเมือง สังคมชนบท สังคมที่เขามีสิทธิในสัญชาติของเขา กับสังคมที่ไม่มีสัญชาติของเขา ทุกข์ขนาดไหนไปดู

นี่มนุษย์เหมือนกัน ความทุกข์ เกิดในประเทศอันสมควรไง สิ่งที่เขาไม่มีนั้นเขาทุกข์อันหนึ่ง แต่ไม่มีนั้นมันเป็นเรื่องกรรม เรื่องของการที่เขาเกิดในสถานที่ แต่นี้พูดถึงธรรม พูดถึงการถอนทิฏฐิของเราเอง พูดถึงความรู้สึกในหัวใจให้มันถอนทิฏฐิว่าเรานี่เป็นผู้เจริญ เราไปอยู่ในสังคมที่ดี เรา นี่ เราๆๆๆๆ เราติดไปหมดเลย แล้วมันก็ปิดตา นี่ตาบอด ตาใจ ใจบอด พอใจบอดเราก็ไม่เห็นคุณค่าของศาสนา คุณค่าศาสนานี่ละเอียดอ่อนมาก ซึมซับเข้าไปในหัวใจนะ ถ้าจะซึมซับเข้าไปในหัวใจนี่เราต้องทำตัวเราให้จะซึมซับสิ่งนั้นได้

ฉะนั้น เวลาเข้าไปสำนักปฏิบัติ ถึงมีความสงัด ถือความสงบสงัดเป็นอันดับ ๑ พอสงบสงัดนี่มันไม่กระทบกระเทือนกัน พอไม่กระทบกระเทือนกันมันมีโอกาส ทุกคนเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ประพฤติปฏิบัตินะ ถ้าทุกคนไม่เปิดโอกาสให้คนอื่น นี่มันกระทบกับเรา ในผืนแผ่นดินของเรานี่มันต้องมีผืนแผ่นดินข้างเคียงผืนแผ่นดินของเรามันยังอยู่ได้ ถ้าไม่มีผืนแผ่นดินข้างเคียง ผืนดินของเราจะตั้งอยู่เฉยๆ บนโลก เป็นไปได้อย่างไร

นี่เหมือนกัน ถ้าเราให้โอกาสเขา เรารักษาโอกาสเขา สังคมของเรามันก็จะดีขึ้นมา ทุกอย่างจะดีขึ้นมา ฉะนั้น ในการประพฤติปฏิบัติมันถึงต้องทำความสงบ มันต้องเห็นใจกัน ความเห็นใจกันเป็นสัปปายะ คำว่า “สัปปายะ” จะสมควรอย่างไร? สัปปายะสำคัญคืออาจารย์ ถ้าอาจารย์ที่ถูก เพราะอาจารย์นะ คำว่า “อาจารย์” เวลาเราประพฤติปฏิบัติกัน คนยังไม่ปฏิบัตินะ เหมือนคนไข้ คนไข้เวลาไปหาหมอนะ ยิ่งเราป่วยโดยเฉพาะโรค ถ้าไปหาหมอ

๑. หมอไม่เป็น

๒. หมอไม่มี

นี่ทุกข์มาก ถ้าหมอไม่มี คิดดูสิ เราป่วยขนาดไหน เราเป็นไข้นะ เราป่วยซะเอง แล้วเวลาเราไปหาหมอ หมอไม่มี เราต้องรักษาตัวเองน่ะทุกข์ไหม แล้วถ้าไปหาหมอ หมอคนที่รักษาให้เราหายจากไข้ หมอไม่เป็น กับทำให้เรากินของแสลง กับทำให้ไข้ของเราหนักลงไปอีกจะทุกข์ไหม ไปถามปัญหาครูบาอาจารย์ที่ตอบไม่ถูกทางนะ เราเองเราก็ลังเลสงสัย เราเองเราก็ทุกข์ แล้วไปตอบนะ ไปไหนมา สามวาสองศอก ยิ่งทุกข์เข้าไปใหญ่เลย เพราะอะไร?

เพราะถ้าตอบไม่เหมือน ตอบไม่ตรง ตอบไม่เป็นความจริง เรานี่รู้เลยว่าวุฒิภาวะของอาจารย์นี่อยู่ตรงไหน ทางวิชาการเราไปถามคนไม่เป็นสิ เขาจะตอบเราไม่ได้เลย เราทำทางวิชาการ เราสงสัย ถ้าเราไปถามครูบาอาจารย์ที่เขาเป็นวิชาการที่เขาสอน เขาจะบอกเทคนิคเรา เราจะทำต่อยอดได้ขึ้นไปเลย นี่ครูบาอาจารย์สำคัญมาก

แล้วหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านไม่มีครูบาอาจารย์ เวลาเราอยู่ในวงกรรมฐานไง เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูดถึง โอ้โฮ! ทุกข์มากนะ หลวงปู่มั่นเดินธุดงค์รอบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่า ลาว เขมร ไปหมดเลย ไปหาผู้สอน พระไตรปิฎกประเทศไหนก็มี พระไตรปิฎกมีทุกประเทศ แต่คนรู้ อ่านพระไตรปิฎกออก อ่านศัพท์ออกแต่ไม่รู้ความหมาย อ่านศัพท์ออก สมาธิเป็นอย่างไร? ปัญญาเป็นอย่างไร? จนเถียงกันไม่จบนะเรื่องปัญญานี่

สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ยังเถียงกันไม่จบว่าภาวนามยปัญญาเป็นอย่างไร ภาวนามยปัญญาไม่มีหรอก สุตมยก็คือการศึกษาเล่าเรียน จินตมยปัญญาก็จินตนาการ ภาวนามยปัญญาไม่รู้ ไม่รู้จะตอบว่าภาวนามยปัญญาเป็นอย่างไร? เพราะไม่เคยภาวนา

ภาวนามยปัญญาเกิดจากสมาธิ สมาธิที่แนบแน่น แล้วเราออกใคร่ครวญ ออกเกิดภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญาเป็นโลกุตตรธรรม โลกุตตรธรรมนี่เป็นการฆ่ากิเลส ในศาสนาพุทธนี้ภาวนามยปัญญาเป็นหลักชัย เป็นหัวใจของศาสนา หัวใจของศาสนานะ อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ภาวนามยปัญญามันคือมรรค แล้วภาวนามยปัญญาทำให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาวนามยปัญญาทำให้เกิดพระอัญญาโกณฑัญญะเกิดขึ้นมาเป็นสงฆ์องค์แรกของโลก เพราะว่าอะไร? เพราะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา” เห็นจากในหัวใจ

ภาวนามยปัญญาจะทำให้จากปุถุชนเป็นอริยสงฆ์ จากปุถุชนเป็นอริยสงฆ์ขึ้นมาเลย แล้วอริยสงฆ์ขึ้นมาเป็นที่ใจ พระเป็นที่ใจ พระไม่ได้เป็นที่สมมุติ พระไม่ได้เป็นที่.. นี่ธงชัยพระอรหันต์

“ภิกษุนุ่งห่มผ้ากาสายะ เป็นธงชัยพระอรหันต์”

เป็นธงชัยพระอรหันต์ ไม่ใช่พระอรหันต์ ธงชัยพระอรหันต์คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครองจีวร แล้วเราเป็นสมมุติสงฆ์ บวชขึ้นมาแล้วอาศัยบุญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ธรรมและวินัย ประเพณีวัฒนธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ให้พระออกบิณฑบาต บิณฑบาต เช้าๆ ออกไปบิณฑบาต นี่พระพุทธเจ้าวางธรรมวินัยไว้ให้บริษัท ๔ เขาทำ กินบุญพระพุทธเจ้าอยู่ทุกวันนะ ภิกษุสงฆ์นี่กินบุญพระพุทธเจ้าทุกวัน แล้วตัวเอง ถ้าส่งเสริมศาสนาขึ้นมา ตัวเองเป็นธรรมขึ้นมามันก็จะเป็นประโยชน์กับศาสนาขึ้นมา ถ้ากินบุญพระพุทธเจ้าแล้วถ่ายรด ขี้รดในศาสนา ทำแต่ความเลวทรามน่ะ นี่กินบนเรือนถ่ายบนหลังคา

ถึงไม่รู้จักภาวนามยปัญญา ไม่เห็นภาวนามยปัญญา ไม่เข้าใจว่าภาวนามยปัญญาเป็นอย่างไร จนคิดจะตัดออกนะว่า ภาวนามยปัญญามันเป็นการจดจารึกเกินมาในศาสนา เพราะมันอธิบายไม่ได้ แต่ครูบาอาจารย์เราอธิบายทุกวัน ภาวนามยปัญญาเกิดจากศีล สมาธิ ปัญญา นี่ปัญญาที่ภาวนามยปัญญา ปัญญาอันนี้ปัญญาเกิดขึ้นมาจากสมาธิที่เป็นพื้นฐาน

แต่ถ้าไม่มีสมาธิ จิตเราเป็นเรา จิตเป็นเรา จิตเป็นตัวตน เกิดมาจากจิตสำนึก ความคิดเกิดจากภวาสวะ ความคิดเกิดจากกิเลส เกิดจากภวาสวะ เกิดจากภพ เกิดจากชีวิตนี้คืออะไร? ชีวิตนี้คือฐานของความคิด แล้วอวิชชา สิ่งที่เกิดขึ้นมา อวิชชาคือไม่รู้จักตัวมันเอง แล้วเกิดความรู้ คนตาบอดแล้วเกิดความรู้ อวิชชามันไม่รู้แล้วมันเกิดปัญญาน่ะ มันทำลายหมดนะ ให้คนโง่บริหารประเทศชาตินี้ได้ไหม ให้คนไม่เข้าใจบริหารประเทศนี่มีอะไรเหลือ แต่ถ้าให้คนเข้าใจ คนบริหารจัดการที่ดี ประเทศชาติเราจะเจริญนะ

นี่เหมือนกัน ถ้าปัญญาของเราที่เป็นภาวนามยปัญญาไม่เกิดขึ้นมา มันชำระกิเลสได้อย่างไร? มันทำลายกิเลสได้อย่างไร? การทำลายกิเลส นี่ภาวนามยปัญญาเป็นหลักของศาสนาเลย แล้วถ้าใครภาวนาถึงตรงนี้ได้มันจะเป็นประโยชน์ แล้วใครเป็นคนชี้นำล่ะ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ที่รู้จริง ถ้าไม่มีการรู้จริงนะ ใจบอดคลำช้าง เป็นอย่างนั้นๆๆ ช้างเป็นเสา ช้างเป็นงวง ช้างเป็นกระด้ง ว่ากันไปนะ เพราะว่าตามันบอด ถ้าตารู้แจ้ง นี่สัปปายะ ๔ อาจารย์สำคัญที่ ๑ หมู่คณะ อาหาร สถานที่ สถานที่ต้องสงบสงัด

พูดไว้เพื่อเวลาเราเข้าไปในวัดกรรมฐาน ไปวัดที่ครูบาอาจารย์นะ ท่านเดินจงกรม ท่านนั่งสมาธิภาวนา ท่านทำความเพียรของท่านอยู่ เราเข้าไปด้วยความสงบสงัด แล้วมีอะไรเราก็ถามเอา ถ้าไม่เข้าใจนะ เพราะกติกาแต่ละที่มันก็ต่างๆ กันไป บางที่อยู่บนภูเขาสูง อัตคัดน้ำ น้ำก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเขา บางที่อยู่กับแหล่งน้ำ ใกล้แหล่งน้ำ น้ำก็หาง่าย เราเข้าไปในวัดไหนเราก็ต้องดูว่าสิ่งใดมันหายากหรือหาง่าย การหายาก พระก็ต้องหามาทั้งนั้นน่ะ นี่ปัจจัยเครื่องอาศัยไง

ข้อวัตรปฏิบัติ เช้าขึ้นมา โรงฉัน วัตรในโรงฉัน เตรียมน้ำล้างบาตร เตรียมน้ำ นี่สิ่งเป็นข้อวัตรปฏิบัติหมด กิจของสงฆ์ ๑๐ อย่าง คือรักษาความสะอาดในวัด รักษาลานเจดีย์ เดี๋ยวนี้ไม่เคยทำนะ กิจของสงฆ์ไม่ทำน่ะ ไปทำอะไรกันก็ไม่รู้ กิจของตัว หน้าที่ของตัวไม่รู้จัก ไปรู้จักหน้าที่ของโลก มันหน้าที่ของโลกนะ โลกเขาทำกัน เรื่องของโลก ธุรกิจของเขาเป็นเรื่องของเขา พระไม่เกี่ยว หน้าที่ของพระ ใจของตัวได้ทำไหม? ได้ดูแลรักษาไหม? แล้วถ้ารักษาได้

เวลาเจ้าชายสิทธัตถะออกประพฤติปฏิบัตินะ พระเจ้าพิมพิสารคิดว่าโดนปฏิวัติมาไง ให้กองทัพครึ่งหนึ่งไปเอาคืน

“ไม่ใช่ ไม่ใช่หรอก ออกมาหาโมกขธรรมแท้ๆ”

“ถ้าอย่างนั้น ขอสัญญาไว้ว่า ถ้าบรรลุธรรมแล้วให้กลับมาสอนด้วย”

เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ธรรมเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ ยสะ เสร็จแล้วออกเผยแผ่ธรรม พระอรหันต์ ๖๑ องค์ พ้นจากบ่วงที่เป็นโลกและบ่วงที่เป็นทิพย์ บ่วงที่เป็นโลก โลกธรรม ๘ สรรเสริญ เยินยอ บ่วงทั้งนั้นน่ะมันคล้องคอตายหมด บ่วงที่เป็นทิพย์ เทวดา อินทร์ พรหมได้ผลประโยชน์จากเทวดา อินทร์ พรหม นี่บ่วงที่เป็นทิพย์

“เธอทั้งหลาย ๖๐ องค์ รวมทั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น ๖๑ ด้วย พ้นจากบ่วงที่เป็นโลกและเป็นทิพย์ เธอจงไปอย่าซ้อนทางกัน อย่าไปคู่ เสียผลประโยชน์ ให้ต่างคนต่างไปเพื่อดับทุกข์ร้อนของโลก”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาชฏิล ๓ พี่น้อง เสร็จแล้วถึงกลับไปโปรดพระเจ้าพิมพิสาร เห็นไหม พระเจ้าพิมพิสารขอไว้เลย ถ้าตรัสรู้แล้ว รู้ธรรมแล้ว ขอให้มาสอนด้วย

กิจของสงฆ์ รักษาใจของตัวให้ได้ก่อน แล้วค่อยสอนเขา ค่อยสอนคนอื่น สอนที่ไหน? สอนเรื่องความเป็นไปของชีวิต เรื่องความเป็นไปของเรา เรื่องความเป็นไปของกรรม เรื่องกรรม กรรมเป็นอจินไตย ๔ พุทธวิสัย โลก ฌาน ความว่าว่างๆ ว่างๆ ใครก็ว่างๆ ว่างนี้เป็นอจินไตยนะ มันไม่มีขอบเขตเลย

แต่ถ้าว่างในศาสนานะ ว่างของโสดาบัน ว่างของสกิทาคา ว่างของอนาคา ว่างของพระอรหันต์ นี่มีขอบเขต ขอบเขตของโสดาบัน สกิทาคา อนาคา พระอรหันต์ คุยกันได้ เหมือนเราเรียนจบ เรียนจบชั้นไหน เรียนจบขั้นไหน เราคุยกันรู้เรื่อง เราเข้าใจได้ ความเข้าใจได้ ว่างของอริยภูมิ ว่างมีขอบเขต ไม่ใช่อจินไตย ว่างที่ไม่มีขอบเขต ว่างแล้วมีขอบเขตนะ มันเป็นว่างของจักรวาล ว่างของอวกาศ ว่างของอวกาศ ใครเป็นเจ้าของ อวกาศมีความสุขความทุกข์ไหม? แต่ถ้าความว่างของเรานะ มีเจ้าของนะ เป็นธรรมส่วนบุคคล ใจนี้ครองธรรม ใจเรานี่ครองธรรม ใจเราเป็นธรรมซะเอง มันจะสงสัยได้อย่างไร?

ธรรมในศาสนานะ ชีวิตนี้ถ้ามันสกปรก ใจเราสกปรกแล้วมันทุกข์ยากมา ถ้าเราฝืนทนประพฤติปฏิบัติ ฝืนทนนะ เขาทำงานทางโลกเขายังเหน็ดเหนื่อยเลย แล้วเราทำของเรา ถ้าทำของเราได้ ฝืนทนขึ้นไปนะ ใจมันจะเป็นธรรม แล้วถ้าใจครองธรรมนะ มันจะเป็นสมบัติของเรา สมบัติส่วนตน สมบัติในหัวใจของดวงใจนั้น นี่มันสัมผัสได้ มันเป็นสันทิฏฐิโก ถ้าเป็นความจริงอันนี้มันจะมีความสุขมาก วิมุตติสุขหนึ่งเดียว

โลกนี้มันเป็นสุขคู่ สุขคู่มันถึงทุกข์ เพราะสุข เวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา สุขกับทุกข์มันคู่กัน เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ สุขเพราะอะไร? สุขเพราะความพอใจ แล้วเดี๋ยวมันก็คลาดเคลื่อนก็เป็นทุกข์ โลกนี้ความสุขจริงไม่มี สุขจอมปลอม สุขหลอกๆ แต่วิมุตติสุขมันสุขเดียว ไม่มีสอง สุขที่เป็นวิมุตติ หนึ่งไม่มีสอง นี่มันไม่มีคู่ มันไม่มีคู่กับทุกข์ มันสุขอย่างเดียว แต่โลกนี้สุขคู่กับทุกข์ เดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ มันคู่กัน มันถึงสุขไม่เหมือนกัน ถ้าสุขหนึ่งเดียวนี่สุขแท้ๆ แล้วมันอยู่ที่ไหน?

อยู่ในหัวใจนะ แล้วอยู่ในหัวใจนะ หัวใจทำอย่างไร? เดี๋ยวถามเอานะ เอวัง

๙ โมงกว่า เอานี้ก่อน จะพูดเรื่องชีวิตนี้คืออะไรนี่มันจะต่อไปเรื่อยๆ เพราะมันจะต่อจากนี้ไป เอานี่ก่อนเลย เพราะนี่มันแบบว่าธรรมะอย่างนี้มันเป็นธรรมะพื้นๆ แล้วทุกคนเป็นกันบ่อย เป็นในชีวิตประจำวันไง

ถาม :นอนแล้วฝันบ่อย พอผ่านไปแล้ว เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นจริง ต้องทำอย่างไร? หมายความว่าอย่างไรคะ? พอผ่านไปแล้วสักพัก เหตุการณ์นั้น...

หลวงพ่อ :ฝันบ่อย คนนอนฝันนะ คนนอนฝัน ฝันเกิดจากอะไร? นี่เวลาฝันนะ ทุกคนไม่เคยเห็นจิต เวลาฝัน เวลาจิตมันออก เหมือนฝันนี่มันออกไป ฝันคือสังขาร สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง จิตเป็นตัวพลังงาน ความคิดนี้เป็นสังขาร แล้วขณะที่เรานั่งอยู่นี่ เราคิดนี่ความคิด ขณะนอน นั่นสังขารมันทำงาน มันออกรับรู้ไง นั่นคือฝัน แล้วถ้าเหตุการณ์ช่วงเวลามันเกิดขึ้นจริง นี่การฝันของปุถุชนไง จริงก็มี เท็จก็มี

มีลูกศิษย์มาหามาก บางทีฝันนะ ฝันว่าจะไปเยี่ยมญาติ พอไปถึงน่ะเห็นก่อน แล้วพอไปถึงที่บ้านญาติ เป็นอย่างที่ฝันเปี๊ยบเลยน่ะ เขานึกว่าเขามีคุณธรรม มาถามว่ามันทำไมเป็นอย่างนั้นน่ะ? มันเรื่องธรรมดา มันเรื่องของโลก อันนี้ถ้ามันเป็นอย่างนั้น มันฝันอย่างนั้น

เราจะบอกว่า ถ้าเราฝัน หรือเรามีเหตุการณ์อย่างนั้น แล้วเราไปเจอสภาวะเหตุการณ์อย่างนั้น นั่นน่ะ ถ้าเราไปยึดตรงนั้นมันก็เป็นความสุขเปลือกๆ ไง สิ่งที่เป็นความฝัน ถ้าเป็นความฝัน เราไม่ใช้มัน เหมือนเรามีเงิน มีเงินร้อยหนึ่ง มีเงินพันหนึ่ง มีเงินหมื่นหนึ่ง เราสะสมไว้ เงินเราจะมากขึ้นเรื่อยๆ พลังงานของใจ ถ้ามันมีความสุข เราตักน้ำใส่ภาชนะ เราสะสมบ่อยๆ เข้า น้ำจะเต็มภาชนะ แต่นี่พอเราฝันเราก็ส่งออก เราก็ส่งออก เหมือนน้ำนี่เราเอาออกใช้บ่อย น้ำนั้นมันก็ไม่เต็มภาชนะ

ฉะนั้น การนอนจะไม่ฝันนี่ให้นอนหลับไปกับพุทโธ

๑. คนเครียดนอนไม่หลับ

ทุกคนนอนไม่หลับแล้วไปหาหมอ หมอให้ยานอนหลับ พอให้ยานอนหลับก็ต้องกินยานอนหลับ ๑ เม็ด ถึงจะนอนได้ แล้วต่อไปก็ต้องกิน ๒ เม็ด ๓ เม็ด แล้วกินไปแล้วโรคข้างเคียงมันก็เกิดประจำ แต่ถ้าเราอยู่เป็นชาวพุทธ เรามีศาสนาประจำหัวใจ เราใช้ธรรมะเป็นเครื่องอยู่ของใจ เรากำหนดพุทโธๆๆ กำหนดพุทโธแล้วมันเครียด กำหนดพุทโธแล้วมันกำหนดไม่ได้ ไอ้นี่กิเลสมันพูด แล้วเวลาคิดเรื่องอื่นทำไมคิดได้ เวลาทุกข์ทำไมทุกข์ได้ เวลานึกอะไรก็ได้หมด เวลานึกพุทโธ ทำไมมันนึกไม่ได้ มันนึกพุทโธ

เด็กนี่นะ ให้กินขนม เด็กจะชอบมาก เด็กให้กินยา เด็กจะร้องไห้นะ พุทโธนี่เป็นยา พุทโธนี่เป็นน้ำฝนใส สะอาด จืด ให้คุณประโยชน์กับร่างกาย แต่น้ำอัดลม น้ำสุรา น้ำอะไรนี่กินแล้วให้โทษกับร่างกาย แต่คนชอบไปซื้อมากินกันนะ ความคิดที่มันคิดโดยธรรมชาติมันก็เป็นสุรายาเมา มันคิดไปโดยธรรมชาติของมัน พอใจ เวลามันคิดถึงพุทโธมันไม่ยอม เห็นไหม มันไม่ยอมเพราะเราไม่เคยทำ มันเครียดเพราะสิ่งนั้นมันไม่สนองตัณหากิเลส แต่ถ้ามันสนองตัณหากิเลส ทุกอย่างจะดีไปหมดเลย

ถ้ากิเลสมันไม่ยอมทำเราก็ต้องฝืนมัน เราต้องฝืน เราต้องหัดสิ เราจะฝึกลูกเรานี่นะ เราต้องพยายามบังคับลูกเราให้ฝึกให้หัด ให้ลูกเราเป็นคนดี แล้วเราจะบังคับใจเรา พอยื่นอะไรให้ก็จะให้มันตอบรับในแง่บวก ไม่มีหรอก มันเป็นกิเลส แล้วเอาสิ่งที่จืดสนิท มันไม่มีรสชาติ ไม่มีรสชาติของกิเลสนะ แต่มันมีรสชาติของธรรม มันมีรสชาติของความสงบ มันมีรสชาติของการปล่อยวาง มันมีรสชาติของการหลับ การนอนหลับ มันมีรสชาติของการได้เสวยสุข มีรสชาติ แต่เราไม่เคยดื่มไม่เคยกินไง

ทุกคนถามบ่อยมาก “วิมุตติสุขมันเป็นอย่างไร? วิมุตติสุขมันเป็นอย่างไร? มันจะสุขได้อย่างไรในเมื่อมันไม่มีเวทนา มันไม่มีอะไรกระทบมันจะสุขได้อย่างไร?”

ก็มันไม่เคยเห็น ไม่มีแล้วก็ยังถาม เวลามันมีอยู่นี่มันกระทบ เห็นไหม พลังงานกับตัวความรู้สึก พลังงาน ไอ้ความรู้สึก ตัวคิด เวลามันกระทบมันมีความสุขความทุกข์มันก็พอใจ แล้วตัวมันเอง ตัวของความรู้สึกมันไม่กระทบอะไรเลย มันเป็นหนึ่งเดียว มันมีความสุขของมัน แล้วมันสุขอย่างไร? นี่ความสุขอย่างนี้มันเกิด

ถึงบอกว่า การแก้ไขนะ พยายามกำหนดพุทโธๆๆ เวลานอนน่ะ เวลาให้ภาวนาบอกไม่มีเวลาภาวนา หลวงปู่ฝั้นท่านพูดไว้บ่อยมาก แล้วเวลาท่านพูดนะสะเทือนใจ “คนเรานี่หายใจทิ้งเปล่าๆ หายใจเข้าและหายใจออก หายใจทิ้งเปล่าๆ ไม่เป็นประโยชน์”

แต่ทางการแพทย์เป็นประโยชน์เนาะ ถ้าไม่มีออกซิเจน สมองตาย ๕ นาทีตายเกลี้ยงเลย ต้องหายใจเข้าไป ออกซิเจนถึงเข้าไปเลี้ยงสมอง

แต่ในทางธรรมไง หายใจทิ้งเปล่าๆ คือไม่กำหนด หายใจเข้าก็นึกพุท หายใจออกก็นึกโธ “พุทโธ” หายใจเข้า หายใจออกเป็นออกซิเจนเลี้ยงสมอง นึกพุทโธ จิตมันไม่ส่งออก เวลาความรู้สึกเรานี่คิดถึงบ้าน คิดถึงเรือน คิดถึงอะไร มันพุ่งออกไปข้างนอกเลย แต่มันความคิดนี้มาอยู่ที่ “พุท” มาอยู่ที่ “โธ” มาอยู่ที่ “พุท” มาอยู่ที่ “โธ” เหมือนกับความรู้สึกพลังงานส่งกลับๆ ถ้าพลังงานส่งกลับนะ เรา ความคิดไปคิดถึงบ้าน ไปคิดถึงสมบัติ คิดแล้วนะมันให้ผลเป็นความทุกข์ ให้ผลเป็นความวิตกกังวล ถ้ามันนึกพุทโธๆๆ มันคิดถึงตัวเราเองนะ มันเป็นประโยชน์ทั้งนั้นน่ะ ถ้าคนเข้าใจถึงประโยชน์

แต่มันไม่มีพระอธิบายถึงประโยชน์ของมัน แล้วอธิบายไม่เป็น ถ้าคนไม่ภาวนา คนไม่ภาวนานะ ต่อไปนี่นะ ทุกคนบอกน้ำมันแพงมาก แต่ทางวิชาการ ผู้บริหารเขาห่วงเรื่องน้ำจืดกันนะ น้ำจืดนี่ต่อไปจะเกิดสงครามแย่งน้ำ น้ำจืดนี่สำคัญกับชีวิตมากนะ น้ำจืดนี่หายากมาก แล้วประเทศไทยมันเป็นแหล่งน้ำ มันเป็นแหล่งกสิกรรม ประเทศเขาที่ไม่มีน้ำ เขาอิจฉามาก ถ้ามีแหล่งน้ำนี่มันเป็นประโยชน์ เพราะมันเห็นคุณค่า เพราะมันเข้าใจ

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรารู้จักคุณค่าของธรรม นี่มันเป็นประโยชน์หมด ทีนี้ ใจเราเป็นกิเลส ธรรมะอยู่กับธรรมชาติ กิเลสก็เป็นธรรมชาติ ความโกรธนี่เป็นธรรมชาติ ธรรมะอยู่กับธรรมชาติ ในเมื่อใจมันบอดนะ ใจมันมีกิเลสนะ มันมองอะไรมันก็เป็นกิเลสหมดน่ะ แต่ถ้าใจเป็นธรรมนะใช่ มองทุกอย่างจะเป็นธรรมหมดเลย แต่เรานี่มันไปพลิกฟ้าคว่ำดิน มันไปเอาหัวเป็นหาง หางเป็นหัวก่อนไง อะไรก็เป็นธรรมชาติ ทุกอย่างก็เป็นธรรม จะบังคับให้ใจเป็นธรรมไง จะบังคับให้เรามีธรรมกัน ให้มองออกไปเป็นประโยชน์หมด มันเป็นไปไม่ได้หรอก

มันมองออกมา อวิชชา เราใส่แว่นสิ ใส่แว่นสีใดออกไปมองก็สีนั้นน่ะ อวิชชา จิตมันใส่แว่นอยู่ ใส่อวิชชาอยู่ อวิชชามันครอบจิตอยู่ มันออกมาเป็นอวิชชาหมดน่ะ นี้มันต้องฝึกฝน เราจะมองว่าสิ่งใดเป็นธรรม เราจะต้องฝืนไง ถ้าทุกอย่างเป็นธรรมชาติ การนั่งก็เป็นธรรมชาติ การจะดิ้นรน การจะโวยวายก็เป็นธรรมชาติหมดน่ะ มันก็พอใจ มันก็พุ่งส่งออกหมดน่ะสิ

แต่ถ้าการบังคับมัน ศีลเป็นความปกติของใจ บังคับแล้ว นี่ไม่เป็นธรรมชาติแล้ว มันอึดอัด พอจะปฏิบัติธรรมไม่เป็นธรรมชาติแล้ว เวลาเขาอยู่กับธรรมชาติ เขาปฏิบัติกับธรรมชาติ ทำไมเขาดีล่ะ? อันนั้นเขาหลอกกันนะ ปฏิบัติโดยกิเลสนะ ปฏิบัติหลอกๆ นะ เอากิเลสมาหลอกกัน แล้วว่าเป็นปฏิบัติธรรม แต่ถ้ามันเป็นปฏิบัติธรรม มันต้องขัดเกลากิเลสสิ มันขัดเกลา ข่มขี่ มันต้องมีการข่มกิเลส ทำลายมัน การฆ่าที่เป็นบุญกุศลคือการฆ่ากิเลส

“การฆ่ามันผิดศีล ผิดศีลคือการฆ่า” การฆ่า การตัด การทำลายชีวิตกัน การทำลายผลประโยชน์กันนั้นเป็นอกุศล เป็นกิเลส การกล่าวตู่ การพูดเสียดสีกันเป็นกิเลสหมดน่ะ เพราะอะไร? เพราะมันเป็นมโนกรรม มันเกิดมาจากใจ มโนกรรม วจีกรรม

แต่โทษนะ นักปฏิบัติ ครูบาอาจารย์กับครูบาอาจารย์ท่านจะบอก เวลาเราปฏิบัติ โทษนะ นี่พูดในใจไม่ได้คิดออกมา “มึงนี่เลวชาติ มึงนี่เลวทราม” เวลามันไม่ยอมภาวนาไง เราต้องติเราได้นะ เราฟังมาเยอะ นักปฏิบัติ เช่น หลวงตาท่านพูด เวลาท่านจับผิดท่าน ท่านขึ้นมึงกูเลย “โห มึงเอากูขนาดนี้เชียวเหรอ ถ้าอย่างนั้นมึงเอากูขนาดนี้นะ ถึงเวลากูจะเอามึงให้ได้น่ะ” พูดกับกิเลสไง ถ้าพูดกับกิเลส เราต้องเอ็ดมัน เราต้องด่ามัน เราต้องติเขาเพื่อจะข่มขี่เขา เห็นไหม การต่อสู้

เราคุยกับนักปฏิบัติมาเยอะมาก บางทีนะ สถานะทางโลกเขามีสถานะสูงมาก แต่เวลาพูดกับสังคมเขาจะพูดนุ่มนวลมาก แต่เวลาเขาพูดกับกิเลส มึงกูเหมือนกัน เวลาอัดกิเลสเขาจะใส่ “มึง” บอกว่า เราจับผิดเรา เราแก้ไขเราไง ถ้าเราจับผิดเรา เราแก้ เราจะไปอ่อนน้อมกับกิเลส เวลาจะไปอ่อนแอกับมันนะ มันขี่ตายเลย กับกิเลสนี่เราจะต้องต่อสู้

การฆ่าที่เป็นประโยชน์คือการฆ่าทิฏฐิมานะ กิเลสเป็นทิฏฐิมานะในหัวใจของเรา แล้วเราจะไปฆ่า ไปทำลายมันน่ะ มันจะเป็นกิเลสที่ไหน ไม่ใช่กิเลสนะ มันเป็นมรรค แล้วถ้าเป็นมรรคหยาบๆ ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคหยาบๆ ดูสิ เวลาให้ทานกัน เวลาให้ผลประโยชน์กัน อย่างนี้เป็นบุญกุศล บุญกุศลนี่เราเจือจานเขาด้วยนะ ให้ปลาเขา กับสอนเขาจับปลา ให้ทานคือให้ปลาเขา

แต่เวลาภาวนาขึ้นมา เขาภาวนาเป็นขึ้นมา สอนเขาจับปลา ถ้าเขาจับปลาเป็นนะ เขาจับกิเลสเขาเป็น เขาดูแลเขาเป็น มันดีกว่าให้ปลาเขาเยอะแยะเลย เวลาเราต่อสู้กับเรา เราต่อสู้ แล้ววิธีการ วิธีการคือการจับปลา การจับกิเลส การหากิเลส การค้นคว้ากิเลส การต่อสู้กับกิเลส เห็นไหม วิธีการจับปลา ถ้าเราไม่มีกิเลสในหัวใจเสียอย่างเดียว หาปลากินเป็นนะ ปลานี่หากินง่ายๆ เลย

นี่ไง ถึงบอก ถ้ามันละเอียดเข้าไป ถ้าเราไปเห็นแต่ผลประโยชน์แต่เรื่องของหยาบๆ แล้วโลกเห็นกันอย่างนั้นนะ เห็นเป็นเรื่องวัตถุนิยม เห็นเป็นเรื่องที่จับต้องได้ ได้ทำบุญกุศล ได้ทำ โอ๋ย! ถ่ายรูปกันนะ ทำสารคดีนะ โอ๋ย! ทำประโยชน์กับโลก

แล้วงบประมาณใคร แล้วหลอกใครมาใช้บ้าง มันไม่พูดถึงนะ

แต่ถ้าเรานั่งอยู่โคนไม้คนเดียวนะ ไม่มีใครเห็น อยู่ในป่าด้วย อยู่ในป่ามืดตื๊ดตื๋อเลยกลางคืน กลัวไปหมดน่ะ อะไรเข้ามา อะไรก็ตกใจไปหมด เอาชนะตนเองให้ได้ เอาชนะตัวเองให้ได้ ถ้ามันชนะได้มันถึงจะรู้ว่าการเอาชนะกิเลสนี้ไม่ใช่ของง่ายๆ เลย

ฉะนั้น ถ้าฆ่ามันได้ ฆ่ามันเลย ต้องฆ่ามัน ต้องฆ่ามันเลย มหายานบอกเลย “เจอพุทธะที่ไหน ฆ่าพุทธะก่อน” เพราะพุทธะ พุทโธ พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พุทธะคืออวิชชา พุทธะคืออวิชชา แต่ถ้าฆ่าพุทธะแล้วนะ นั่นเป็นธรรม เพราะอะไร? เพราะพุทธะคือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือภวาสวะ คือภพ นั้นคือตัวอวิชชา แต่เราไปให้ชื่อไง

ฉะนั้น กำหนดพุทโธๆๆ พุทโธมันเป็นอารมณ์ความรู้สึก ไม่ใช่ตัวพุทโธ พุทโธๆๆๆ แต่เวลามันพุทโธเข้าไป พุทโธเรื่อยๆ จนถ้าจิตมันสงบ มันพุทโธไม่ได้นะ อืม! เราหุบปากเรา เรานึกอะไรไม่ได้ เราอ้าปากถึงพูดได้ จิตถ้ามันไปตัวมันเองแล้วมันนึกไม่ออก นั่นคือตัวพุทโธ พุทโธคือสมาธิไง พุทโธคือตัวภวาสวะไง พุทโธนี้คือสถานที่ ชัยภูมิให้ควรแก่การทำงาน

กิเลสมันอยู่ที่ใจ พอใจมันเข้าไปอยู่ถึงตัวของใจแล้ว ถ้าวิปัสสนาเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาจากชัยภูมิ เกิดขึ้นมาจากตัวจิต กิเลสมันอยู่ที่จิต แก้ไขกันที่จิต นี้คือการแก้ไขที่กิเลส นี่คือการแก้ไขกิเลส การชำระกิเลสที่เป็นตามความเป็นจริง

แต่การสร้างนามรูปออกมาข้างนอก การสร้างอารมณ์ออกมาข้างนอก สร้างออกมาข้างนอกนี่มันเป็นเป้าลวง แล้วไปดับที่เป้าลวง เขาบอกว่า ว่างๆ ว่างๆ ไม่ถึงกิเลสหรอก พวกนี้ไม่เคยเห็นกิเลส ไม่รู้จักกิเลส พอไม่รู้จักกิเลสก็ไม่รู้จักธรรม พอครูบาอาจารย์ที่แสดงธรรมเป็นธรรม งง พูดอย่างนี้ได้อย่างไร โอ้! หยาบคาย พูดออกมานี่ไม่เป็นธรรม

ก็มันไม่เคยเห็นกิเลสน่ะ มันไม่เคยฆ่ากิเลส ทีนี้ฆ่ากิเลสนี่เป็นธรรม การฆ่ากิเลส การทำลายกิเลสนี่ของดีทั้งนั้นน่ะ แต่เขาไม่รู้ เขาทำไม่ได้ เขาทำไม่เป็น แล้วก็ไปสร้างภาพกัน สัจธรรมปฏิรูป เราปฏิรูปกันขึ้นมาเอง เราสร้างกันขึ้นมาเอง แล้วเราก็สอนกันไปเอง กิเลสสอนกิเลสไง สังคมชาวพุทธ

ถาม :ชอบฟังธรรมเวลานอน และหลับไป ขอทราบกิริยาแบบนี้สมควรหรือไม่

หลวงพ่อ :ถ้าเป็นพระนะ เป็นพระ เป็นผู้ปฏิบัติมันไม่สมควร ไม่สมควรเพราะอะไร? เพราะว่าการนั่งสมาธิ การฟัง ถ้านั่งอยู่นี่ ถ้าจิตมันสงบมันจะดีมาก แต่ขณะที่ว่าถ้าเป็นคฤหัสถ์นะ ถ้าเรานอนฟังธรรม กับเรานอนฟังอย่างอื่น นอนฟังธรรมดีกว่า

ถ้าพูดถึงว่าสมควรไหม? ถ้าพูดถึงเป็นพระนะ เพราะเป็นพระนี่เริ่มต้น พ่อแม่ลูกรักกันเพราะอะไร? พ่อแม่ลูก ลูกเคารพพ่อแม่ เพราะพ่อแม่เป็นพ่อแม่ น้องเคารพพี่ เพราะพี่เป็นพี่เรา ถ้าเราเคารพธรรม ความเคารพทำให้การปกครองง่าย ความเคารพ เห็นไหม เขาเรียก “ลงใจ”

ครูบาอาจารย์ของเรานี่ลงใจ พูดนี่ขนลุกหมดเลย หลวงตาท่านบอกท่านลงหลวงปู่มั่นมาก แค่เห็นรูปนี่จะสงบเลย แล้วถ้าไม่เห็นหลวงปู่มั่น เวลาคิดถึงนะ สร้างภาพขึ้นมา สร้างรูปเคารพขึ้นมาแล้วกราบ มันสะเทือนใจนะ เราไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้า ทำไมเราเคารพพระพุทธเจ้าล่ะ เพราะเราเคารพพระพุทธเจ้าเพราะปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า ถ้าพระพุทธเจ้าไม่มีปัญญาคุณอย่างนี้ ศาสนานี้จะไม่มี ศาสนานี้มีเพราะปัญญาคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะท่านมีปัญญาคุณ มีเมตตาคุณ ท่านถึงวางหลักศาสนาไว้ให้เป็นมรดกตกทอดมาถึงเรา

ถ้าเราเคารพ กิริยาการเคารพ เรานั่งฟังธรรม ทำไมเราฟังธรรมเราต้องสงบเสงี่ยม เราต้องรักษากิริยาเราให้เรียบร้อยเพื่อจะให้ธรรมนั้นชำระแทรกเข้าไปในใจของเรา นั้นถ้าเป็นการเคารพ ถ้าพูดถึงการนอนฟังธรรมจะเป็นการเคารพไหม จะเสียมารยาทไหม?

ถ้าเป็นในที่รโหฐานคือในที่ของเรา ได้ เราเห็นด้วย คำว่า “ได้” หมายถึงว่าให้เขามีโอกาสทำดีกว่าเขาไม่ทำไง แต่ถ้ามีทำสิ่งที่ดีกว่า กิริยาที่เราเคารพนบนอบเป็นมารยาท เป็นสิ่งการแสดงออกของคุณธรรมของเรา

ฉะนั้นจะบอกว่า ถ้าเป็นพระ พระนะ พระเราฟังธรรม นั่งฟังเทศน์เราก็นั่งฟังกัน แต่ถ้าอยู่ที่กุฏิถ้าเขาจะนอนก็บางทีมันเมื่อย มันก็อีกเรื่องหนึ่งนะ แต่ถ้าพูดถึงเหตุผลไงว่าการนอนฟังไปนี่มันจะดีไหม

“เวลาตื่นขึ้นมาบางครั้งข้อธรรมนั้นยังติดใจมา” เห็นไหม มันได้ประโยชน์แล้ว ถ้ามันติดใจมา ข้อธรรมติดใจมา ข้อธรรมหมายถึงคติ ฟังธรรมนี่นะ เวลาฟังธรรมไม่ต้องฟังจำทั้งหมด เอาคำใดคำหนึ่ง คำใดคำหนึ่งที่แทงใจ การแทงใจหมายถึงว่าเหมือนสะกิดให้รู้สึกตัว ฟังธรรม ธรรมะจะสะกิดเราตื่นตัว พอเราฟังธรรม เวลาพูดปุ๊บสะอึกเลยนะ อู้หู! ทำไมพูดแรงขนาดนี้ มันทิ่มเข้าไปในหัวใจ

เราอยู่กับครูบาอาจารย์นะ ครูบาอาจารย์แก้กิเลสนี่ท่านบอกมารยาทสังคม เขาต้องมีมารยาท เขาไม่พูดสะกิดใจกัน เขาไม่พูดแทงใจดำ แต่ธรรมะนี่ต้องพูดจี้ใจดำ ทิ่มเข้าไปที่หัวใจ เพราะกิเลสมันอยู่ที่ตรงใจดำนั้น พูดให้กิเลสมันสั่นไหว เหมือนกับลูกเรามันจับของสิ่งที่เป็นโทษ เช่นมีด เช่นอะไร มันจะทำร้ายตัวเองได้ เราต้องพูดให้มันปล่อยมีดนั้น การปล่อยมีดนั้น การปล่อยมีด การถือมีดอยู่ เห็นไหม ใจดำก็เหมือนกัน ใจดำหมายถึงว่าคติ หรือความฝังใจ แล้วเราพูดถึงสะเทือนหัวใจนั้น คำพูดอย่างนี้พุ่งทิ่มเข้าไปจี้ใจดำ

รู้วาระจิต เราคิดสิ่งที่ไม่ดี คิดอะไรที่ในหัวใจของเรา เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูดทิ่มเข้ามาตรงนั้นเลยน่ะ พอทิ่มเข้ามาตกใจเลยนะ แล้วถ้าอยู่กับครูบาอาจารย์ เราจะไม่กล้าคิดเรื่องอย่างนี้เลย ไม่กล้าคิดสิ่งที่เป็นอกุศลต่างๆ ไม่กล้าคิดนะ ปรมัตถจิต เวลาจิตที่มีคุณสมบัติอย่างนี้จะรู้ตรงนี้ รู้ตรงนี้แล้วเอาตรงนี้มาเป็นเทคนิคการสอนคน

นี่เหมือนกัน รู้อย่างนี้ก็ไม่ใช่อริยสัจ ไม่ใช่มรรค เพราะมันรู้ออก รู้ออกหมายความว่าอย่างไร? รู้ออกหมายความว่าอย่างไร? รู้ออกเพราะจิตมันรู้ใช่ไหม ความคิดของจิตไม่ใช่ตัวจิต ความคิดของจิต จิตคิดอะไร รู้วาระจิต รู้ความคิด รู้ความคิดเพราะจิตมันส่งออกไปที่ความคิด รู้ข้างนอก แต่ถ้าเป็นอริยสัจมันรู้ข้างใน รู้ในคือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค “รู้ใน” จะย้อนกลับไปที่รู้ใน ทีนี้ถ้ารู้ในอย่างนี้มันจะเป็นประโยชน์ สิ่งที่เป็นประโยชน์นะ ถ้ามันเป็นประโยชน์ ครูบาอาจารย์ท่านจะสอน จะให้เป็นสภาวะแบบนั้น

ฉะนั้น การฟังธรรม ฟัง ถ้ามันจำเป็นต้องนอนฟังก็ฟัง ก็เหมือนกับเด็ก เด็กถ้าให้มันทำความดีนะ เด็กถ้ามันถือของให้พ่อแม่นะ พ่อแม่มันปรบมือ มันดีใจใหญ่เลยนะ แค่เอาของมาให้พ่อแม่มันก็โอ้โฮ! เก่งที่ ๑ เลย นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเริ่มฟังธรรม ถ้านอนฟังก็ยังเก่งที่ ๑ เลย ก็ยังได้ฟังไง ที่เราว่าได้เพราะตรงนี้ ได้เพราะเก่งที่ ๑ เลย ได้ฟังธรรม ดีกว่าไปฟังทางโลก แต่ถ้าโตขึ้นมาแล้วเขาจะพัฒนาของเขาขึ้นไป จากเก่งที่ ๑ เลย มันต้องทำมาหากินนะ ต้องเรียนหนังสือ ไม่ใช่เอาของไปให้พ่อแม่ให้ก็เก่งที่ ๑ เลย เก่งที่ ๑ เลย เอ็งต้องเอา เอบวกมาถึงเก่งที่ ๑ เลย นี่มันจะพัฒนาขึ้นมา

“มรรคหยาบ มรรคละเอียด” จิตนี้มันต้องพัฒนาขึ้นไป

จะบอกว่า เวลาบอกว่า “ต้องมรรค ผล นิพพานเลย มรรค ผล นิพพานเลย” แล้วมันจะมีกี่คน มันก็ต้องมีพื้นฐานขึ้นมาก่อน พื้นฐานการประพฤติปฏิบัติกันขึ้นมาก่อน ปฏิบัติหยาบ ปฏิบัติละเอียด ปฏิบัติเข้าไปเรื่อยๆ

ถ้าอย่างเริ่มต้น เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์ ตั้งแต่คฤหัสถ์ จากคฤหัสถ์ให้เขาถือเนกขัมมะ ถือพรหมจรรย์ จากพรหมจรรย์ค่อยมาเป็นนักบวช เป็นพระ เป็นนักรบแล้ว นี่เวลาเทศน์ เทศน์เพื่อใคร? ก็เทศน์เพื่อดึงเขาขึ้นมาๆ แล้วนี่เหมือนกัน ฟังเทศน์ฟังธรรมก็ดึงเขาขึ้นมาให้เขาพัฒนาของเขาขึ้นมาให้ใจเขาพัฒนาขึ้นมาๆ

แล้วบอกว่า “ไม่ได้เลย ไม่ได้เลย” มันก็ไม่มีโอกาสนะ “ทาน ศีล ภาวนา”

ถึงว่า นอนฟังธรรมได้ไหม? สำหรับคฤหัสถ์ ได้ แต่พระ ไม่ได้ ไม่ควร แต่มันก็แอบทำกันน่ะ เวลามันเมื่อยมันก็นอน ไม่เคยเห็นมันหรอก

ถาม :ทำอย่างไรให้ใจสงบนิ่ง?

หลวงพ่อ :โดยสามัญสำนึกนะ ทุกคนไม่รู้จักใจ ถ้าคำว่า “ใจ” เรากลั้นลมหายใจสิ กลั้นลมหายใจ นั่นน่ะคือตัวใจ พอเรากลั้นลมหายใจเราไม่คิดอะไร ทีนี้เรากลั้นลมหายใจไม่ได้ นานไม่ได้ เพราะกลั้นลมหายใจ เราไม่ได้หายใจ การกลั้นลมหายใจนั้นคือตัวใจนะ ตัวใจที่เป็นหยาบๆ ฉะนั้น เวลาเราปล่อยลมหายใจปั๊บ เราหายใจปกติ มันก็คิดไปโดยธรรมชาติของมัน

แล้วเราจะทำอย่างไรให้ใจมันนิ่ง? ความให้ใจมันนิ่ง ไอ้ตรงนี้มันต้องย้อนกลับมาพื้นฐานว่าจริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน คำว่า “ทำอย่างไรให้ใจมันนิ่ง” กับ “สมาธิสั้น” ๒ ข้อนี้ตอบไปด้วยกันได้เลย

ถาม :ทำอย่างไรให้ใจมันนิ่ง?

หลวงพ่อ :ถ้าคนมันไม่นิ่งก็สมาธิสั้น เห็นไหม เด็กสมาธิสั้น-เด็กสมาธิยาว เด็กสมาธิสั้นมันยังควบคุมตัวเองไม่ได้เลย

เขาพาไปหาเราหลายคน เราพยายามให้เขาพัฒนาดีขึ้นมา หายขึ้นมาก็มี ดีขึ้นมามากๆ เลย จากที่ว่าแม่นี่นะ ต้องลาออกจากราชการเลยล่ะ ไปเฝ้าลูกที่โรงเรียน เพราะลูกสมาธิสั้น แล้วเวลาเรียนมันจะโวยวายอยู่ในห้องเรียน ลาออก น่าสงสารมาก เป็นเพื่อนเราเอง บอกลาออกจากครูเลย แล้วเอาลูกไปเรียนแล้วไปนั่งเฝ้า แล้วเวลาลูกปรี๊ด หวีด วี้ด เข้าไปดูแลลูก แล้วมาหาเรา

ทีแรก เพื่อนกัน คำว่า “เพื่อนกัน” มันคุ้นเคย พอคุ้นเคยก็ไม่เคารพศรัทธาหรอก เขาก็พาไปหาพระมาทั่ว แขวนสายสิญจน์เต็มคอเลย พอมาหาเรา ถามเลย

“เอ็งเชื่อกูไหม”

“เชื่อ”

“เชื่อ เอากรรไกรตัดทิ้งหมดเลย แล้วแขวนรูปหลวงตา บอกให้มันตั้งสติไว้”

แล้วเดี๋ยวนี้มาหาเรานะ มันชื่อนัท “น้องนัทอยากเป็นอะไร?”

“น้องนัทอยากเป็นตำรวจ น้องนัทจะจับผู้ร้าย”

นี่ฝึกขึ้นมา พัฒนาขึ้นมา นี่เวลาสมาธิสั้น ฝึกได้ เรารักษาได้

เราจะย้อนกลับมาตรงนี้ ตรงที่ว่า ทำอย่างไรให้จิตสงบ เพราะคำว่า “จิตสงบ” ทำให้ใจสงบ ถ้าคนมีพื้นฐาน ทำง่าย มันเหมือนบุญกุศล เหมือนสมบัติ สมบัติใครมีมาก ซื้อของหรือสินค้า เรามีเงินมาก ทุกคนก็จะมาขายสินค้าให้เราก่อน เรามีเงินน้อย ไม่มีใครอยากมาขายให้เรา เพราะกลัวเราไม่จ่ายสตางค์ นี่พื้นฐานของจิตมันดี มันทำเหมือนกับคนที่มีทุนมาก เขาทำอะไรก็สะดวกใช่ไหม ถ้าคนเรามีเงินน้อย อันนี้พูดอย่างนี้ปั๊บทุกคนจะน้อยใจแล้ว แล้วเรานี่เราก็เป็นคนมีเงินน้อยทุกคน เราทำยากทุกคน

ไม่ใช่ ถ้าเราเป็นคนที่ไม่มีวาสนา เราจะไม่สนใจเรื่องศาสนาเลย ถ้าเรามีความสนใจเรื่องศาสนา คำว่า “สนใจ” นี่คือศรัทธานะ ดูสิ วิทยุหลวงตาออกทั่วประเทศไทย มันฟังกันกี่คน แล้วฟังมันเข้าใจไหม? มันไม่เข้าใจนะ ถ้ามันไปดูข่าว วิทยุที่ออกข่าวสาร ออกสิ่งบันเทิงทั่วเท่าไร นี่เขาไปสนใจอะไรกัน แล้วเราไปฟังเขาอย่างนั้น เราไปฟังแล้วเราได้ประโยชน์อะไร แต่ถ้าเราฟังเทศน์หลวงตานะ สะอึกทุกที เดี๋ยวๆ ก็ ปั๋ง! ทีหนึ่ง เดี๋ยวๆ ก็ ปั๋ง! ทีหนึ่ง คำเทศน์ท่านมันกระตุ้นหัวใจไง นี่คนมันตื่นตัวตลอดเวลา

คนที่ใฝ่ใจ คนที่สนใจนี่คือวาสนาแล้ว วาสนาของเรา วาสนานะ

ถ้ามีวาสนาปั๊บ เวลาเราสนใจขึ้นมาแล้ว เมื่อสนใจขึ้นมาแล้ว เราก็อยากให้มันดีขึ้น พอดีขึ้น เราจะทำอย่างไร? เราจะกำหนดอย่างไร? เราทำใจของเราขึ้นมาได้อย่างไร? พอทำใจขึ้นไป เราทำ เราก็ตั้งสติ “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” เหตุคือตั้งสติ ถ้ามีสติปั๊บ พุทโธก็ได้ กำหนดปัญญาอบรมสมาธิก็ได้

กำหนดปัญญาอบรมสมาธิคือให้มันคิดไป ความคิดให้คิดไป แล้วตั้งสติตามความคิดไป ความคิดนี่คิดไป ถ้ามันจะคิดเรื่องอะไร จะคิดเรื่องอะไรก็ได้ให้มันคิดไป ถึงที่สุดมันคิดจนถึงที่สุดแล้วมันจะหยุด พอหยุดนะ ธรรมชาติของมัน เราคิดโดยที่เราไม่มีสตินะ โดยเมื่อก่อนนั้นเราไม่มีสติ เราก็คิดธรรมชาติของมันอย่างนี้ ธรรมชาติของสัญชาตญาณของมนุษย์เขาคิดกันอย่างนี้ มันเป็นธรรมชาติของมัน

เขาบอก นี่เป็นธรรมชาติของมัน

เพราะไม่มีธรรมะ ธรรมชาตินั้นมันเลยเป็นธรรมชาติของโลก มันอยู่โดยสมมุติ มันอยู่โดยโลก แต่มีสติปั๊บ มันเป็นธรรมชาติของมัน แต่มีสติควบคุมมันไป มันเป็นธรรม เป็นธรรมเพราะมีใจรู้ มีใจรู้ มีสติรู้ มีความควบคุมรู้ นี่พอใจรู้มันเป็นธรรม เป็นธรรมเพราะอะไร? เป็นธรรมเพราะใจมันรู้มันเห็นไง

แต่เดิมมันคิด มันคิดมันคายพิษ พอมันคิดมันก็เอาสิ่งที่มันคิดทุกยากมาให้เราใช่ไหม คิดแล้วก็เสียใจ ทุกข์ใจ ร้อนใจ ทุกข์ไปหมดเลยนะ มันสั่งด้วยนะ คิดให้ทำนั้นนะ วิ่งตามมันไปหมดเลย แต่ถ้าพอสติมันตามความคิดไป พอมันดับ อะไร? คิดทำไม? ความคิดอย่างนี้กูไม่เชื่อมึง

นี่ความคิดกับเรามันคุยกันได้นะ

เราสอนพระ ดูความคิดไปตลอด ดูความคิด ดูปัญญาอบรมสมาธินะ ไม่ใช่ดูเฉยๆ ไม่ใช่ดูเพ่ง จนจิตนี้มันคิด มันเหนื่อยมาก จนบางทีนะมันหยุดแล้วมันจะคิดขึ้นมา เขาพูดกับความคิดได้นะ “เอาน่าๆ เฮ้ย มึงหยุดก่อนสิ” โทษนะ นี่พระเขาพูดนะ เขามาเล่าให้ฟัง ความคิดพูดกับความคิด “เอ็งหยุดก่อนสิ กูเหนื่อยฉิบหายเลย กูคิดไม่ไหว ให้หยุดก่อน” ก็หยุด พอสติทันมันหยุดแล้ว พอเผลอก็คิดอีกแล้ว นี่คือปัญญาอบรมสมาธิ

ใจมันจะสงบเข้ามา ถ้าใจเราสงบนะ คนเรา ถ้าใจมีหลักมีเกณฑ์นะ หน้าที่การงานทั้งหมดที่เมื่อก่อนทุกข์ยาก แล้วทำไม่ได้ พอมันสงบปั๊บมันมีหลักนะ งานทุกอย่างที่เป็นหน้าที่ของเรานะ ง่ายๆ เลย ทำได้ แต่พอไปเครียดกับมัน วิตกกังวลกับมันนะ เหมือนแบกภูเขาเลย โอ๋ย! หนัก หนักมาก หนักมาก แล้วก็ยิ่งคิดมันก็ยิ่งหนัก ภูเขา ๕ ลูก คิดไปอีก ภูเขา ๑๐ ลูก หนักมาก หนักมาก ทุกข์ใจมากนะ

แต่ถ้าเรากำหนดให้จิตเราสงบนะ ภูเขานะ ก็เคลื่อนได้ ภูเขานี่เคลื่อนมันได้ เราพยายามเคลื่อนภูเขาได้ เราทำได้ นี่ผลของจิตที่สงบไง

๑. ผลของจิตที่สงบนะ แม้แต่หน้าที่การงานการกระทำ เรายังทำได้เลย แล้วพอมันสงบขึ้นมาบ่อยครั้งเข้า มันมีความสุข ความสุขเรารักษามันจนมันตั้งมั่นเป็นเอกัคคตารมณ์ พอมันตั้งมั่นขึ้นมานะ เราใช้ประโยชน์ของมันนะ “ศีล สมาธิ ปัญญา”

ที่ว่าภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญามันจะเกิด

น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย น้ำเย็นนี่ปลาตายหมด อยู่กับน้ำเย็นนี่สบายๆ โอ๋ย! สบาย...ตายเกลี้ยง เขาจับไปกินหมดน่ะ น้ำร้อนนะเขาจะต้มอยู่แล้วนะ เป็นนะ น้ำร้อนนี่มันร้อน มันวิกฤตแล้ว มันมีความทุกข์แล้ว มันต้องดิ้นรน มันเอาตัวรอดได้ น้ำร้อนนี่ปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย

จิต ถ้ามันสงบเข้าไปนะ ถ้ามันเห็นของมันนะ มันขวนขวายของมันนะ เดี๋ยวมันเอาตัวรอดได้ แต่เราไม่ยอม เราอยากอยู่กับน้ำเย็น อยู่กับความสะดวกสบาย ภาวนาก็ โอ้! ทางจงกรมนี่ปูพรมเลยล่ะ จะคลานไปคลานมา ขี้เกียจเดิน ต่อไปภาวนานี่จ้างคนภาวนาแทนนะ เอ็งภาวนาแทนที แล้วเอามรรคผลมาให้กู

(หัวเราะ) เยาะเย้ยกิเลสไง พูดเยาะเย้ยกิเลสมัน

จะจ้างให้เขาภาวนาแทนนะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก ถ้ามันเป็นไปได้นะ เราพูดบ่อย เวลาพวกเราคิดกัน อยากสะดวก อยากสบายต่างๆ ถ้ามีทางอะไรที่มันสะดวกสบายกว่านี้นะ พระพุทธเจ้าทำให้แล้ว เราเชื่อมั่นมากว่าในจักรวาล ในโลกนี่ไม่มีใครมีความรู้เกินองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีใครมีบารมี ความรู้ความเห็น ความรู้โลกนอก-โลกในได้เท่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์

มันเหมือนกับน้ำใจของพ่อแม่กับลูก น้ำใจของพ่อแม่กับลูก พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก ของลูกก็เป็นสายบุญสายกรรม แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ของบุคคลสาธารณะนะ ทุกขสัจ ตั้งแต่กษัตริย์มาจนยาจกเข็ญใจ เป็นพระอรหันต์ของทุกๆ คนเลย แล้วท่านปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ ท่านต้องหาวิธีที่ง่ายที่สุด สะดวกที่สุด ปูพรมให้เราเดินที่สุดเลย ก็ต้องแค่นี้

แล้วเราจะไปหาอีกที่ไหน ไปเชื่อพระองค์นั้นสอนอย่างนี้ องค์นี้สอนอย่างนั้นนะ

เราบอก “คนคิดได้อย่างนี้นี่โง่ฉิบหายเลย”

ถ้ามีทางนะ พระพุทธเจ้าสอนก่อนเพื่อน พระพุทธเจ้าสอนแล้ว พระพุทธเจ้าบอกแล้ว ไม่มีใครฉลาดเกินองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรอก ไม่มี

ฉะนั้น ถ้าใจสงบ ใจอยากสงบ อยากมีหลักมีเกณฑ์ เราตั้งใจ เราทำของเราได้ เราต้องทำของเราได้ ตั้งสตินะ เราจะได้ ๕ นาที ๑๐ นาที ฝึกไปเรื่อยๆ นักกีฬานะ เขาจะได้แชมป์มานี่ เขาไม่ใช่ขึ้นแข่งครั้งแรกได้แชมป์หรอก เขาต้องชนะคู่แข่งมาเรื่อยๆ ชนะคู่แข่งมามากๆ เขาถึงจะได้แชมป์นะ ในการปฏิบัติของเรานี่มันก็จะชนะกิเลสไปเรื่อยๆ

การปฏิบัตินะ ระหว่างธรรมะกับกิเลสมันแข่งขันในหัวใจของเรา ถ้าใครวิปัสสนายิ่งจะเห็นเลยว่าการแข่งขันระหว่างธรรมกับกิเลสมันแข่งขันกันขนาดไหน ถ้าธรรมชนะนะ ว่าง โล่ง โอ๋ย! เหมือนกับพระอรหันต์เลย ถ้าวันไหนกิเลสชนะนะ มันเหยียบหัวจมดินเลยล่ะ เหยียบหัวจมดินเลย ทุกข์มาก เพราะเดินจงกรมมาทั้งเหนื่อยทั้งอ่อน นั่งทรมานมาก นี่มันเป็นการแข่งขันกันระหว่างกิเลสกับธรรมในหัวใจ แล้วถ้าแข่งขันกันบ่อยครั้งเข้าๆ

แล้วถ้าปฏิบัติสบายๆ สบายๆ สบายๆ น่ะเอาความสกปรกซุกใต้พรมหมดน่ะ เอาพรมปูไว้ อะไรก็กวาดเข้าไปใต้พรม กวาดเข้าไปใต้พรม แล้วว่าเป็นธรรมกัน ไม่ใช่หรอก ไม่ใช่ ไม่ได้แก้ไขอะไรเลย ไม่ได้ทำอะไรเลย ฤๅษีชีไพร

ถาม :ปุถุชน สามารถทำให้จิตบริสุทธิ์เหมือนพระอรหันต์ชั่วคราวได้หรือไม่ ถ้าทำได้ ทำอย่างไร?

หลวงพ่อ :ไม่ได้ ไม่ได้หรอก ปุถุชนทำให้จิตเหมือนพระอรหันต์ สะอาดบริสุทธิ์เหมือนพระอรหันต์ไม่ได้ ขนาดปุถุชน แม้แต่พระอนาคา พระอนาคาต่ำกว่าพระอรหันต์นะ เวลาพระอนาคากำหนดจิตๆ พอจิตสงบ อย่างไรก็แล้วแต่ เพราะว่าจิตสงบขนาดไหนนะ มันจะมีอวิชชาอยู่ในจิต ฉะนั้น คำว่า “มีอวิชชาอยู่ในจิต” มันจะสะอาดเหมือนพระอรหันต์ได้อย่างไร?

พระอรหันต์คือไม่มีอวิชชา คือสะอาดบริสุทธิ์แบบไม่มีกิเลสเลย แต่ในเมื่อปุถุชน นี่พระอนาคานะ แต่ถ้าเป็นปุถุชน มันกิเลส ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้ากิเลส ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้าทำให้จิตเป็นสมาธิ มันก็กิเลสคือความสกปรก มันซุกอยู่ในหัวใจนั้น เหมือนเด็กนี่ ในโลกเขาบอกเด็กนี่ไร้เดียงสา สะอาดบริสุทธิ์ ไร้เดียงสา นี่เป็นความสะอาดบริสุทธิ์ไร้เดียงสาของโลกไง

ถ้าสะอาด ไร้เดียงสา เวลามันร้องไห้ มันต่อรองกับเรา มันร้องไห้ มันไร้เดียงสาไหม? มันไม่ไร้เดียงสาหรอก คือว่ามันไร้เดียงสา มันคิดกันแบบโลก เด็กนี้ไร้เดียงสา ไร้เดียงสาโดยสัญชาตญาณ เพราะเด็กมันยังสะอาด ยังเป็นผ้าขาว แต่มันอวิชชานะ เพราะมันเกิด แม้แต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์ นั่นคืออวิชชาแล้ว เพราะปฏิสนธิจิตมันพาเกิด ปฏิสนธิจิตคือตัวอวิชชา คือตัวภพ ตัวปฏิสนธิจิตคือจิตวิญญาณที่ตัวเกิด ไม่ใช่วิญญาณตัวรับรู้ นี่วิญญาณมันซ้อนกันเยอะมาก พอมันมาเกิด มันมาเกิดในไข่เป็นตัวอ่อน แล้วก็ฟักตัวอ่อนจนอยู่ในครรภ์ เวลามันไม่พอใจมันดิ้น ท้องเกือบพังน่ะ แล้วบอกว่ามันบริสุทธิ์ ไม่มีทาง

ทีนี้พอมันไร้เดียงสา ไร้เดียงสาแบบทางวิทยาศาสตร์ คิดได้กันแค่นี้ไง แต่ไม่บริสุทธิ์หรอก ความไร้เดียงสาไม่ใช่ความบริสุทธิ์ เพราะพระอรหันต์ไม่ใช่ไร้เดียงสา พระอรหันต์ไม่ใช่ไร้เดียงสาหรอก พระอรหันต์นี่รอบรู้หมด ไม่ใช่ไร้เดียงสา ถ้าความไร้เดียงสาเป็นความสะอาดบริสุทธิ์ พระอรหันต์ก็ไร้เดียงสา จากเรานี่ปฏิบัติกัน ปฏิบัติไปให้เป็นคนไร้เดียงสา (หัวเราะ)

ความบริสุทธิ์นี่มันความคิดบริสุทธิ์ของโลกไง โลกบริสุทธิ์เขาคิดกันอย่างนั้น ฉะนั้น ปุถุชนทำไม่ได้หรอก เพียงแต่ว่ามันเหมือนกับว่าความสกปรกอยู่ใต้พรม คือมันเป็นความบริสุทธิ์ข้างนอก อันนี้มันเป็นมารยาทสังคมนะ ถ้ามารยาทสังคม มารยาทดี อ่อนช้อยนิ่มนวล มารยาทสังคม มารยาทหยาบ หยาบกระโชกโฮกฮากขนาดไหน กิเลสเหมือนกัน อวิชชาตัวเดียวกัน มันเป็นจริตไง โทสจริต โมหะจริต โลภจริต มันเป็นจริตของคน

มีพระสมัยพุทธกาลนะ สงบเสงี่ยมมาก สันตะกาย อยู่ที่นั่งนี่เหมือนพระพุทธรูปเลย พระที่ไหนมาเห็น นี่พระอรหันต์ พระอรหันต์ ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่พระอรหันต์ พระพุทธเจ้านิมนต์มาเลย

“ไหนสันตะกาย เขาว่าเธอเป็นพระอรหันต์เหรอ”

ก็ไม่เป็นอยู่แล้ว ต่อหน้าพระพุทธเจ้าไม่มีใครกล้าโกหกหรอก “ไม่ใช่ครับ ไม่ใช่”

สันตะกายไม่ใช่พระอรหันต์ แต่เพราะด้วยเขาเคยเกิดเป็นราชสีห์ เป็นเสือ ก่อนจะออกหากินเขาจะนอน แล้วตื่นขึ้นมาร่างกายเขาจะไม่ขยับเลย แล้วถ้าไม่ขยับเลยเขาถึงจะออกหากิน ถ้าร่างกายขยับจะนอนอีก ไม่ยอมให้กิริยาขยับเลย เขาเป็นอย่างนี้ถึง ๕๐๐ ชาติ พอเขามาเกิดเป็นมนุษย์ นั่งเฉยๆ นั่งนี่เหมือนแท่งปูนเลย ใครไปเห็นเข้า นี่พระอรหันต์ๆ ไม่ได้เป็น กิเลส ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

พอไปหาพระพุทธเจ้าเทศน์เลย สันตะกาย กายที่สงบ สงบแต่กาย ใจไม่สงบ กายสงบเสงี่ยมมาก หัวใจกิเลสทั้งนั้น พอหัวใจ กิเลส ให้ขุดคุ้ย ให้แยกแยะกิเลส แยกแยะ จนเทศนาว่าการ จนสันตะกายเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาเลย นี่ไง กิริยามารยาทไง มันอยู่ที่จริตนิสัย

ดูสิ พระสันตะกาย นั่งแบบพระพุทธรูปเลย พระสารีบุตรเป็นอัครสาวกเบื้องขวา เป็นพระอรหันต์ เวลาเขานิมนต์ไปบ้าน โดดข้ามร่องน้ำ ร่องสวนนี่โดดข้าม

“โอ้! ทำไมพระอรหันต์กิริยาเหมือนลิง” ไปฟ้องพระพุทธเจ้าเหมือนกัน

พระสารีบุตรมีอยู่ชาติหนึ่งเคยเกิดเป็นลิง ความนิสัยของลิงมันติดมา พอมันติดมา เห็นไหม มารยาทสังคมมันส่วนมารยาทสังคมนะ แต่การทำความสะอาด แต่พูดถึงนะว่า ปุถุชนมีสิทธิ์ทำจิตให้บริสุทธิ์ไหม? มี มีทุกคน เราเกิดมาเป็นญาติกันโดยธรรม มนุษย์เกิดมานี่เป็นญาติกันโดยธรรม

ธรรมะคือความเสมอภาค จะเศรษฐีกุฎุมพี ยาจกเข็ญใจ พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล พระกัสสปะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ตกลงกับภรรยากันว่าจะออกบวช แจกทานอยู่ ๗ วัน ไม่มีวันหมด พระอรหันต์บางองค์ในสมัยพุทธกาลไม่มีจะกิน ไม่มีจะกิน บิณฑบาตไม่ได้กินเลย พระอรหันต์เหมือนกัน เศรษฐีกุฎุมพีมาเป็นพระอรหันต์ก็มี ยาจกเข็ญใจมาเป็นพระอรหันต์ก็มี

จะบอกว่า จิตปุถุชนทำให้เป็นพระอรหันต์ได้ไหม? ได้ทุกดวงเลย

มีสิทธิ์ทุกดวงเลย มีสิทธิทำได้ สิทธิทำได้เพราะอะไร? เพราะพระไตรปิฎกมันเป็นกิริยาของธรรม ธรรมะจริงๆ คืออยู่ในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์คือหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ ใจดวงนั้นรู้จริง แล้วแสดงธรรม แสดงธรรมคือการบอกเล่า คือกิริยา ธรรมในพระไตรปิฎกเป็นกิริยา วิธีการที่อยู่ในพระไตรปิฎก ไม่ใช่ตัวธรรมะจริง ตัวธรรมะจริงคือตัวหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ตู้พระไตรปิฎกเป็นวิธีการเข้าไปถึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่ชาวพุทธน่ะเข้าใจผิด คิดว่าตู้พระไตรปิฎกเป็นธรรม กราบกันใหญ่เลย กราบพระไตรปิฎก กราบกระดาษ พวกนี้กราบกระดาษกับกราบตู้พระไตรปิฎก กราบแล้วกราบอีกว่าเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกอย่างนั้น พระพุทธเจ้าบอกว่าให้อ่าน ให้รื้อค้น เพราะอ่านมันก็เข้าไปสนใจ เห็นไหม อ่านเข้าไปแล้วประพฤติปฏิบัติขึ้นมาให้มันเป็นความรู้สึกของเรา

สิ่งที่จะสัมผัสธรรมได้ เป็นความรู้สึก คือหัวใจของมนุษย์ หัวใจของสัตว์โลกไปสัมผัส อ่านแล้วสัมผัสธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นน่ะ คือสิ่งที่สัมผัสธรรม คือธรรมที่แสดงตัว

ตู้พระไตรปิฎกนะ ถ้าพระไตรปิฎก อ่านเฉยๆ นี่สู้ปลวกไม่ได้ ปลวกมันกินทั้งเล่มเลย ปลวกมันกินพระไตรปิฎกเข้าไปในท้องเลย มันก็ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ มันไม่ได้เป็น ปลวกไม่ได้เป็นพระอรหันต์หรอก มันกินเข้าไปเลย

พูดให้เห็นภาพชัดๆ ไง เราจะได้เข้าใจว่าอะไรควรหรือไม่ควร เราไปอ่านกันมานะ แล้วเราเอาวิธีการนั้นเป็นเป้าหมาย เวลาเราชนกับพวกอภิธรรม อันนั้นมันเป็นวิธีการ ไม่ใช่เป้าหมาย แล้วเอาเป้าหมายมาวิเคราะห์วิจัยกัน เหมือนกรอบ เอากรอบมาวิเคราะห์วิจัยกัน แล้วก็ติดในกรอบนั้น เอากรอบมาขังตัวเองไว้ แล้วขยับไม่ได้ ทำอย่างนั้นก็ผิด ทำอย่างนี้ก็ผิด

ก็ผิด ผิดตรงที่เอ็งทำนั่นล่ะ ทำไปตามธรรมชาติเลย เหมือนเด็กเลย การปฏิบัติใหม่เหมือนเด็ก ไม่รู้อะไรไปหมดหรอก พอทำไปทั้งผิดทั้งถูกไปน่ะ เดี๋ยวสมาธิมันเกิดขึ้นมา อ้อ! เวลามันเสื่อมขึ้นไป เอ้อ! อ้าว แล้วมันรักษาอย่างไร อืม! มันรู้ไปเรื่อย มันพัฒนาไปเรื่อย พอสมาธิอย่างนี้นะ แล้วพอสมาธิเต็มที่แล้วนะ ทำแล้วมันก็แค่นี้ มันไปไหนไม่รอดแล้ว อ้าว! แล้วถ้าไม่ออกวิปัสสนา ทำไมไม่ออกล่ะ? ไม่ออกก็คิดว่าสมาธิเป็นนิพพาน ครูบาอาจารย์ต้องตีออก

เพราะพวกเรามันเหมือนสามล้อถูกหวย สามล้อได้สักล้านหนึ่งนี่รวยมากเลยล่ะ เศรษฐีพันล้าน ร้อยล้าย โอ๋ย! ไอ้เงินแค่นี้เงินเล็กน้อยของเขาเลย นี่เหมือนกัน พอจิตเข้าไปสัมผัสสมาธิ โอ้โฮ! นิพพาน นิพพาน...ยังหรอก ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไอ้สามล้อถูกหวย เดี๋ยวจะรู้ ทำเข้าไปเถอะ เดี๋ยวมันจะเข้าไปอีกโอ้โฮ! เศรษฐีโลกเขามีเป็นแสนๆ ล้านนะ เขาไม่ใช่มีแค่ล้านเดียวอย่างมึงนี้หรอก

พอทำเข้าไปมันจะลึกเข้าไปเรื่อยๆ นะ มันไม่เคยสัมผัส จิตมันไม่เคยสัมผัส พอเข้าไปสัมผัสเข้าก็ตื่นเต้น ตื่นเต้น มหัศจรรย์ โอ๋ย! ลึกลับ มรรคหยาบ มรรคละเอียดไง นี่ไง สัปปายะ ๔ ที่อาจารย์สำคัญ สำคัญตรงนี้ไง แล้วประสบการณ์อย่างนี้ ใจปฏิบัติมาทุกดวง ถ้าใจดวงไหนไม่เคยประสบการณ์อย่างนี้นะ ไม่เคยภาวนา คนภาวนา ถ้าไม่เจอประสบการณ์อย่างนี้เลยเป็นไปไม่ได้ คนเคยกิน¬ข้าว ข้าวเข้าปากต้องรู้ว่าเป็นข้าว คนไม่เคยกินข้าวไปสอนเขากินข้าว แล้วตัวเองไม่เคยสัมผัส มันจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรคือข้าว

ฉะนั้นถึงบอกว่า จิตทุกคน เราจะบอกว่า จิต

ถาม :ปุถุชน สามารถทำให้จิตบริสุทธิ์เหมือนพระอรหันต์ชั่วคราวบ้างได้ไหม?

หลวงพ่อ :ไม่ได้ ไม่ได้หรอก ไม่ได้ สงบขนาดไหนนะ จิตรวมขนาดไหน อวิชชาอยู่ในนั้น คำว่า “อวิชชาอยู่ในนั้น” เพราะอะไร? เพราะถ้าจิตสงบขนาดไหน ความรู้ขนาดไหน ใครเป็นคนรู้? จิตเป็นคนรู้ใช่ไหม

ถ้าเรานั่งสงบ เราเห็น เรามีความรู้มหัศจรรย์เลย โยมรู้กับเราไหม? โยมไม่รู้หรอก เพราะใจของโยม แต่ถ้าเรานั่ง เรารู้นะ โอ้โฮ! จิตสว่างก็รู้ว่าสว่าง เห็นนิมิตเราก็รู้ว่าเห็นนิมิต แล้วใครรู้? ก็ใจรู้ แล้วใจรู้ ใจมันคืออะไร? ใจมันคือตัวภวาสวะ ใจเป็นตัวภวาสวะนะ นี่ตัวตนไง

เราพูดอย่างนี้ปั๊บ วิทยาศาสตร์จะค้านเลย อ้าว! ถ้าเป็นตัวตนเป็นอย่างไร? แล้วจะฆ่าตัวตนอย่างไร? ตัวตนฆ่าตัวตนอย่างไร? นี่ไง อวิชชา ถึงเวลาเข้าไปฆ่ามัน ถึงเวลา แล้วกระแสของมรรคมันจะเข้าไปทำลายตัวมันเองอย่างไร? ถ้าไม่เคยทำนะ ลูกศิษย์ที่เขาทำ เขาถึงเวลาเขามาถามนะ อาจารย์ตอบเขาไม่ได้นะ เขาจะบอกเลย นี่จานกระเบื้อง มันจะมาสอนเขาไม่ได้หรอก แต่ถ้าจะเป็นอาจารย์เขานะ พระที่เขาลงกัน เขาลงกันตรงนี้

ในครอบครัวเรานะ สามีภรรยานี่จะรู้นิสัยกัน เพราะอยู่กันมาทั้งชีวิต พระปฏิบัติกันมา เขาอยู่กันมา ๑๐ ปี ๒๐ ปีนะ ศีลจะรู้ได้เมื่ออยู่ด้วยกัน ธรรมะจะรู้ได้เวลาแสดง ธรรมะนี่รู้ได้ พระนี่กลัวมาก กลัวเรื่องการเทศน์ ถ้าเทศน์ภาคปริยัติไม่กลัว เพราะอ่านหนังสือ เอาพระไตรปิฎกมาอ่านเลย ปรมัตถธรรม อ่านธรรมพระพุทธเจ้า ใครเถียงมาสิ ธรรมะพระพุทธเจ้า เพราะมันอ่านเอา

แต่ถ้าแสดงธรรมมันออกกึ๋นในหัวใจ กึ๋นใครมีมากมีน้อย กึ๋นเล็กกึ๋นใหญ่มันแสดงออกหมด ถามแล้วตอบไม่ได้ นี่กิริยา ความอยู่ด้วยกัน ศีลจะรู้ได้เมื่ออยู่ด้วยกัน ศีล มันอยู่ด้วยกัน ๕ ปี ๑๐ ปี เห็นหมดล่ะ ทำผิดทำถูก คลุกคลีด้วยกัน ทำผิดทำถูกจะรู้หมด แล้วถ้ารู้หมด คราวนี้ยอมรับกัน ไม่ยอมรับกัน

แล้วเวลาปฏิบัติไป ติดขัดขึ้นไป ไปถามครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ตอบได้ไหม ถ้าครูบาอาจารย์ตอบไม่ได้ เคลียร์ไม่ได้ เหมือนไปหาหมอเลยล่ะ ไปโรงพยาบาลไหนนะ เขาไม่มีหมอ ไม่มีเครื่องมือ วิ่งหาโรงพยาบาลไปมันทุกโรงพยาบาลเลย แล้วโรคกูนี้ใครรักษาวะ ที่พระเขาหาอาจารย์กัน เขาหาอาจารย์กันอย่างนี้ เขาหาคนแก้เขา ถ้าแก้ไม่ได้เขาไม่ยอมให้เป็นอาจารย์เขาหรอก ถึงว่า สัปปายะ ๔ ไง

อันนี้สำคัญ

ปัญหาหญ้าปากคอกนี่นะ ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ นี่กลับเป็นความจริงนะ เวลาเรา ลูกศิษย์ใหม่ๆ เขาบอกเลยล่ะ เวลาไปปฏิบัตินี่ใครก็สอนได้ หลวงพ่อ แล้วเวลาติดขัดแล้วค่อยไปหาครูบาอาจารย์ นั่นน่ะ เจ๊งหมดเลย เพราะเราเคยอยู่กับครูบาอาจารย์นะ ถ้าพระโดยทั่วไป เวลาไม่รู้เรื่อง จะเทศน์อวิชชาอย่างเดียว แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมนะ ท่านจะเทศน์พื้นฐานขึ้นมา ไอ้หญ้าปากคอกนี่สำคัญ เหมือนกับการศึกษาของเด็ก เด็กนี่นะ ถ้าเข้าอนุบาลนะ ถ้าเขาวางรากฐานการศึกษาให้เด็กมันแน่นนะ เด็กมันโตขึ้นมาจะเรียนได้ดีมากเลย ถ้าเด็กนะ รากฐานกลวงนะ พอเรียนขึ้นไปข้างบนเดี๋ยวมีปัญหา

ในการปฏิบัติเบื้องต้น เหมือนการหาน้ำมัน เวลาหาน้ำมัน การสำรวจหาน้ำมันนี่ลงทุนไปเป็นพันๆ ล้านเลย แต่ถ้ารู้ว่าน้ำมันอยู่ที่ไหนนะ ลงทุนเจาะนะง่ายกว่าเยอะเลย เราจะเข้าสมาธิ เราจะเริ่มปฏิบัติ เริ่มต้นนี่ล่ะ เริ่มต้นถ้าทำดี มันจะไปดีตลอด

หลวงปู่มั่นบอกไว้ในมุตโตทัย ถ้าต้นมันคด มรรคผลไม่มี ต้นมันคด ปลายหาที่จบไม่ได้ เพราะต้นมันคด ถ้าต้นมันตรง ไม้นะ ต้นมันตรง มันจะขึ้นตรงไปตลอดเลย ถ้าต้นไม้มันคดดูสิ บางต้นไม้มันคด ไม้มันติดดิน มันจะราบดินไปเลย ไม่ขึ้นเลย นี่มันถึงบอก

ถาม :ถ้าจะลองฝึกพุทโธ ทั้งวันทั้งคืน ๓ วัน จะมีจุดพักบ้างไหมคะ? หรือว่าไม่ต้องหยุดเลย เพราะว่ามันจะเครียดมาก ถ้าจะอยู่กับลมหายใจบ้างจะได้ไหม?

หลวงพ่อ :เห็นไหม คำถามอย่างนี้ อย่างนี้มันถามมาแบบ โทษนะ นี่เราพูดกันแบบอาจารย์กับศิษย์นะ เวลาพูดไปเดี๋ยวจะสะดุ้ง ว่าทุกที ไม่ได้ว่า พูดให้เห็นภาพน่ะ มันถามมาแบบเด็กๆ มันถามมาแบบอนุบาล ถามมาแบบไม่เคยปฏิบัติ แต่นี่ก็เพราะไม่เคยปฏิบัติ นี่คนเขาแบบว่าคฤหัสถ์ใช่ไหม เขาถึงถามว่า “ถ้าปฏิบัติพุทโธๆ สัก ๓ วันโดยไม่หยุดพักเลย จะต้องหยุดพักเลย หรือไม่ต้องหยุดพักเลย”

นึกว่า ๓ วันนี้มันเยอะไง ๓ วันนี่มันของเล่น เขาอยู่กับพุทโธทั้งปีทั้งชาติ พุทโธๆๆๆๆ อยู่อย่างนี้ทั้งปีทั้งชาตินะ ไอ้ ๓ วันนี่เด็กเล่นขายของ ทีนี้เพียงแต่ว่าสำหรับเรา ๓ วันนี่โอ้โฮ! ๓ วันนี่ก็หนักมากแล้ว ๕ นาที ๑๐ นาทีมันก็จะเป็นจะตาย ๓ วันนี่มันเรื่องมหาศาลแล้ว

๓ วันเพราะอะไรรู้ไหม? เวลาเราพูดกับลูกศิษย์นะ เวลาเราพูดกับลูกศิษย์ บอก โยมเป็นนักกีฬาสมัครเล่น นักกีฬาสมัครเล่นเขาสมัครเล่น เขามาแข่งด้วยความสมัครเล่น พระนี่นักกีฬาอาชีพ นักกีฬาสมัครเล่นกับนักกีฬาอาชีพ การฝึกก็ต่างกัน นักกีฬาสมัครเล่นเขาฝึกเป็นเมื่อมีการแข่งขัน พอมีการแข่งขัน นักกีฬาสมัครเล่นเขาจะเก็บตัวเพื่อเป็นการแข่งขันเป็นครั้งคราว แต่นักกีฬาอาชีพมันมีรายการแข่งตลอดปี แล้วเขาจะฝึกตัวทั้งปีทั้งชาติ

พระคือนักกีฬาอาชีพ จะต้องฝึกตัวเองทุกวินาที แต่คฤหัสถ์นี่นักกีฬาสมัครเล่น สมัครเล่นเพราะมีอาชีพ มีหน้าที่การงาน เดี๋ยวก็ต้องไปทำหน้าที่การงาน เดี๋ยวก็มาอยากภาวนา เป็นเหมือนนักกีฬาสมัครเล่น แต่นักกีฬาสมัครเล่น เวลาเขาบรรลุธรรมขึ้นมา นักกีฬาอาชีพนี่งงเลยล่ะ มันอยู่ที่วาสนานะ

ฉะนั้น คำว่า “ไอ้ ๓ วัน” จะกี่วันก็ได้ เพราะคำว่า “พุทโธ” มันมีอยู่ ๒ ประเด็น ประเด็นหนึ่ง ลมหายใจเข้านึก “พุท” ลมหายใจออกนึก “โธ” เพราะมันเป็นรูปธรรม การสอนครั้งแรก ใครมาหาเราเราก็จะสอนอย่างนี้ สอนใหม่ๆ นะ ลมหายใจเข้าให้นึก “พุท” ลมหายใจออกให้นึก “โธ” เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะมันเป็นรูปธรรม ความรู้สึกเป็นนามธรรม ถ้าความรู้สึกเป็นนามธรรม เราสอนคนใหม่ๆ ไปจับความสิ่งที่เป็นนามธรรมมันจะไปคว้าเอาอากาศที่ไหน มันยากไปหมด

การปฏิบัติใหม่ๆ น่าเห็นใจมากว่ามันยากมาก มันยากมากเพราะอะไร? เพราะสิ่งที่มันเคย สิ่งที่ทวนกระแสไง จิตนี้มันส่งออก มันไม่รับรู้ ดูสิ สิ่งที่เป็นวัตถุ แบงก์ โอ้โฮ! มันเห็นหมดเลย แล้วมันรู้เลยว่าแบงก์ต้องแบงก์ ๑๐ แบงก์ ๕ มันรู้หมดนะ มันจำได้หมด แต่มันนึกพุทโธนี่มันลืมตลอดเลย เพราะสิ่งนั้นมันเป็นวัตถุ เพราะมันถูกกับกิเลส ถูกกับความชอบใจ

แต่ที่เป็นนามธรรมมันระลึกไม่ได้ ถ้าระลึกไม่ได้ เราจะต้องให้เขาจับต้องได้ การจับต้องได้ ถ้าลมหายใจมันสิ่งที่สัมผัส แล้วนึก เข้านึก “พุท” ออกนึก “โธ” แต่เวลาภาวนาไปรู้เลย ต่อไปข้างหน้าจะมีอุปสรรค อุปสรรคอะไรรู้ไหม?

อุปสรรคว่า ๑. ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก นี่มันเป็นอานาปานสติ มันก็ต้องมีความรู้สึกอันหนึ่งแล้ว แล้วพุทโธนี่เป็นพุทธานุสติ กำหนดพุทโธๆ พุทธานุสติ ธัมโมๆๆ ธัมมานุสติ สังโฆๆๆ สังฆานุสติ เห็นไหม สิ่งนี้มันเป็นกรรมฐานคนละห้อง แต่เอามารวมกันเพื่อจะให้มันเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ที่หัดปฏิบัติใหม่จับต้อง

การจับต้อง นักกีฬาใหม่จับต้อง มันฝึกฝนง่ายขึ้นมา แต่พอไปๆๆ เพราะนักกีฬาใหม่ใช่ไหม จับต้องได้นี่มันจับต้องได้ แต่พอไปแล้วมันใช้น้ำหนักมาก ใช้กำลังมากกว่าเขา เพราะมันต้องนึกทั้งพุทโธด้วย ทั้งลมหายใจเข้าออกด้วย สติมันถึงแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย แล้วมันก็จะตกภวังค์ มันจะไปนั่งหลับ พุทโธๆๆๆ แล้วนอนหลับไม่ตื่นน่ะ

ฉะนั้นพอนอนหลับไม่ตื่น เข้ามา “หลวงพ่อ หลับครับ”

“เออ ถ้าหลับนะ แยกๆๆ เอาลมหายใจอันใดอันหนึ่ง หรือเอาพุทโธอย่างเดียวได้ไหม”

นี้จะเข้าพุทโธแล้ว ทีนี้พอกำหนด ถ้าพุทโธนะ พุทโธ พุทธานุสติ ไม่เกี่ยวกับลมหายใจ พุทโธๆๆๆ ถ้าวันไหนนะ เราออกไป เรามีอารมณ์ความรู้สึกกระทบกระเทือนกับใคร พอกระทบกระเทือน พูดง่ายๆ เลย เหมือนกับมีปัญหากับใคร พอมีปัญหากับใครปั๊บ อารมณ์มันจะรุนแรงมาก พออารมณ์รุนแรงมาก อารมณ์รุนแรงเป็นอารมณ์ประธาน อารมณ์ประธานคือความรู้สึกของจิตมันคิดถึงอารมณ์นั้น มันมีแรงฉุดกระชากแรงมาก

ฉะนั้นแรงฉุดกระชากแรงมาก อารมณ์ประธานมันอยู่กับใจแล้ว เราจะเอาให้มันอยู่กับเรา พุทโธนี่ เราต้อง พุทโธๆๆๆ พุทโธไวๆ สู้กับมันเลย คืออารมณ์ประธาน มันอารมณ์ความรู้สึกอยู่กับมันใช่ไหม ก็ดึงมันมาที่พุทโธให้ได้ ถ้ามันดึงความรู้สึกนี้มาที่พุทโธให้ได้ มันอยู่กับคำบริกรรม อารมณ์ความรู้สึกที่โดนกระทบกระเทือนมามันจะหายไปเอง เพราะจิต ธรรมชาติของจิตมันเป็นหนึ่งเดียว มันรับรู้อารมณ์ได้หนึ่งเดียว

แต่ทำไมคนคิดซ้อนได้ล่ะ คิดซ้อนได้เพราะจิตมันเร็ว จิตนี้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์อีก เร็วกว่าเพราะอะไร? เพราะมันคิดพุทโธ แต่มันก็คิดอีกเรื่องหนึ่งได้ แต่ถ้าพุทโธๆๆ จนมันเป็นพุทโธนะ จิตมันเป็นพุทโธทั้งหมดนะ คิดไม่ได้ เพราะมันเป็นหนึ่งเดียว ธรรมชาติของจิตนี้เป็นหนึ่งเดียว หนึ่งเดียว รู้ได้อันเดียว มือนี่จับของได้ชิ้นเดียว แต่บางทีเราชอบจับหลายๆ ชิ้น มือนี่จับของได้ชิ้นเดียว ถ้าจะจับของชิ้นอื่นต้องวางชิ้นนี้ก่อนแล้วค่อยจับสิ่งอื่น

ถ้ามันเป็นพุทโธเต็มที่ของมัน เนื้อของจิตมันเป็นหนึ่งเดียว ฉะนั้น ถ้าเป็นหนึ่งเดียวอย่างนี้ ถึงบอกไปวิเวกที่ไหนไม่ต้องกลัวผี ไม่ต้องกลัวอะไรเลย ถ้าอยู่กับพุทโธนะ จะไม่มีอะไรเลย เพราะจิตมันเป็นตัวจิต มันจะไม่ออกรับรู้อะไรเลย

ทีนี้พุทโธๆๆ พุทโธเข้าไปเร็วๆ เข้านะ พุทโธเข้าไปมันจะดึงอารมณ์จากที่เรากระทบกระเทือนมาอยู่ที่พุทโธ พออยู่ที่พุทโธไปเรื่อยๆ พุทโธๆๆ ไปถึงที่สุดแล้วนะ มันเป็นพุทโธเองนะ มันนึกอะไรไม่ออกเลย

แล้วถ้ามันเป็นพุทโธนะ คำนี้ มีครูบาอาจารย์ที่สอนพุทโธไวๆ เรานี่นะเป็นรุ่นหลาน เป็นรุ่นหลานของหลวงปู่มั่น ฉะนั้น ครูบาอาจารย์เป็นรุ่นใหญ่ เราพยายามจะศึกษาหมด เรามันเป็นคนงก เรานี่งกมาก งกวิชาความรู้ ครูบาอาจารย์ที่ไหนมีจะศึกษาหมดนะ พุทโธไวๆ เราพยายามค้นคว้าของเรานะ พุทโธไวๆ ที่สอน มีหลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่ชอบ หลวงปู่คำดี

หลวงปู่ชอบก็พุทโธไวๆ พุทโธๆๆๆ นี่พุทโธไวๆ แต่เพียงแต่ว่าท่านไม่ได้ออกมาเผยแพร่มาก เราเลยว่าคำว่าพุทโธไวๆ เราเลยกลายเป็นของแปลกไง แต่คำว่า “พุทโธไวๆ” หลวงปู่ชอบก็สอนพุทโธไวๆ

หลวงปู่เจี๊ยะ แล้วคำว่า “พุทโธไวๆ” พุทโธไวๆ มันแย่งชิงอารมณ์ความรู้สึกกิเลสที่มันจะเข้ามาถึงใจก่อน ถ้าพุทโธๆ นะ โอ้โฮ! มันเปิดช่อง เว้นวรรคไว้เยอะนะ กิเลสมันสอดๆๆ ล้มทุกทีน่ะ ไปไม่รอดหรอก ทีนี้ถ้าพุทโธไวๆ มันต้องใช้สติ ต้องใช้คำบริกรรมมาก มันก็เหนื่อย มันก็เหนื่อย มันก็เครียด แต่เหนื่อยเครียดใหม่ๆ เท่านั้นน่ะ แต่พอทำชำนาญขึ้นมาแล้ว เหมือนนักกีฬาเลย นักกีฬาใหม่ๆ ซ้อม มันจะไม่ค่อยถนัดหรอก แต่นักกีฬาที่เขาเล่นชำนาญนะ โอ้โฮ! หลับตาเล่นได้เลย นี่พุทโธๆๆๆ จนจิตมันเป็นพุทโธเองเลย พุทโธๆๆๆ ไวๆ

ฉะนั้น พอพุทโธไวๆ หลวงปู่เจี๊ยะสอนอย่างนี้ ถ้าพุทโธ ๓ ชั่วโมง ถ้ามันลงสมาธิ จะลง ๒ นาที ถ้าพุทโธ ๖ ชั่วโมง มันลงสมาธิ มันจะลง ๑๐ นาที ถ้าพุทโธ ๒๔ ชั่วโมง มันลงสมาธิ มันจะลงสัก ๑๐ กว่านาที ฉะนั้น ถ้าใหม่ๆ ถ้าพุทโธๆๆ แล้วมันจะลงสมาธิ อย่าให้มันลง พุทโธๆๆๆ ไปเรื่อยๆ แล้วทฤษฎีนี้ โม้อีกแล้ว พิสูจน์มาแล้ว เราพุทโธนี่เป็นเดือนๆ พุทโธๆๆๆ อย่างนี้กับหลวงปู่เจี๊ยะ เพราะหลวงปู่เจี๊ยะสอน หลวงปู่เจี๊ยะบังคับให้ทำ แล้วเราชอบศึกษา เราชอบทดสอบ

พุทโธๆๆๆ มันจะลงอย่างไรก็ไม่ให้มันลงนะ เราปฏิบัติสมาธินี่ใครๆ ก็อยากได้สมาธิ แต่นี่มันจะเราไม่ยอมให้มันลง เราจะพุทโธตลอด พุทโธดึงไว้ พุทโธดึงไว้ แล้วพุทโธจนเราพุทโธเป็นเดือนๆ เลย แล้วเวลามันลงนะ มันลงนี่มันลงแบบเราโดดหอ จิตมันลงแบบโดดหอแล้วมันควงสว่าน วืดๆๆๆๆ ลงไปเลยนะ แล้วไปถึงฐาน กึ้ก! โอ้โฮ! อยู่หลายชั่วโมง แล้วค่อยๆ คลายออกมา

สิ่งใดที่สอนนี่นะ ส่วนใหญ่เราทดสอบมาหมดแล้วแหละ ถ้าพูดไปนี่ไอ้เจ๊กนี่โม้น่าดูเลย โม้จริงๆ ไอ้นี่ แต่โม้จากความจริงนะ โม้จากการทดสอบ ไม่ได้เอาของใครมาพูด เอาจากการฝึกฝนของใจมาพูด ฉะนั้น พุทโธ เห็นอย่างนี้เราขำ ขำเพราะอะไร? เพราะเราก็เป็นอย่างนี้มาก่อน เราก็คิดว่านึกพุทโธหรือการทำมันจะทุกข์ มันจะยากขนาดไหน แล้วเราไปทำ ไปคุยกับครูบาอาจารย์นะ โอ้ย! เด็กเล่นขายของ เด็กเล่นขายของ

ต้องพุทโธทั้งปี พุทโธนานๆ ไม่ใช่ ๓ วัน ไม่ใช่ ๓ วันหรอก แล้วถ้ามันเครียด มันเครียดอย่างที่ว่าเมื่อกี้นี้ มันเครียด พอมันเครียด ถ้ามันจะอยู่กับลมหายใจบ้าง ลมหายใจนี่เป็นอานาปานสติ ลมหายใจนี่นะสุดยอดมาก ถ้าใครกำหนดลมหายใจ จิตใจมีฤทธิ์มีเดช แต่มันไม่ใช่ทุกคนจะทำได้หรอก

หลวงปู่เจี๊ยะ ท่านบอก ถ้ากำหนดลมหายใจท่านไม่ค่อยสอน ท่านไม่ให้ทำ ท่านบอกว่ามันทำยาก แต่บางคนทำยาก เช่น นักกีฬาที่เขาเล่นยาก แต่ถ้าเขาแข่งขันกีฬาชนิดนั้นก็ต้องเล่นยากอย่างนั้น นักกีฬาที่เล่นง่าย วิ่งแข่งก็วิ่งเฉยๆ ถ้าเล่นง่ายเขาถึงเล่นง่าย แต่หลวงปู่เจี๊ยะท่านโดยประสบการณ์ของท่าน ท่านบอกว่าอานาปานสติมีทำได้แต่พระพุทธเจ้า องค์อื่นทำไม่ได้ นี่ท่านพูดกับเราบ่อยนะ เพราะโต้กันประจำ หลวงปู่เจี๊ยะกับเรานี่จะโต้กันตลอด

เราบอกว่าทำไมทำไม่ได้? เพราะหลวงตาท่านก็สอน

แล้วประสาเรา เราก็ทำได้ เราก็เคยทำ แต่ไม่กล้าพูด เพราะพูดออกไป เพราะเราเคารพท่าน เราเคารพท่าน จะบอกว่า “ผมก็ทำนะ อานาปานสติ แล้วพอทำแล้วมันก็ลง มันรวมหมดเลย” ฉะนั้น อานาปานสติ พอกำหนด อานาปานสติ พอจิตมันลง มันจะรู้แปลกๆ ไอ้รู้แปลกๆ นี่นะ ไม่ใช่พูดยั่วยุหรือพูดกระตุ้นให้โยมอยากทำกันนะ

เวลาใครมานี่อยากทำ อยากรู้ อยากเห็นอะไรนี่เราสงสารมาก เราจะบอกว่า อย่าทำ มันเสียพลังงาน ถ้าเรามีพลังงาน เรามีเงินมีทอง เราไปใช้เป็นประโยชน์กับเราดีกว่า ใช้เป็นประโยชน์คือใช้ในทางอริยสัจไง ใช้ในการแก้กิเลสดีกว่า ทำไมเราหาทุนมาแล้ว หาสมาธิมาแล้ว เราไปใช้สุรุ่ยสุร่าย ใช้ออกไปรับรู้สิ่งต่างๆ แล้วมันอยู่นี่มันจะเป็นอะไร

อยากเหาะนะ ซื้อตั๋วเครื่องบินสิ อยากเหาะนะ ซื้อตั๋วเครื่องบินก็เหาะได้แล้ว อยากหูทิพย์นะ โทรศัพท์มึงกดเอาสิ โทรศัพท์นี่กดเลย หูทิพย์ เมื่อก่อน ๒,๐๐๐ กว่าปีมันไม่มีเทคโนโลยี ใครทำได้มันก็เป็นของมหัศจรรย์ใช่ไหม เดี๋ยวนี้นะ หูทิพย์นะ กดโทรศัพท์พูดกับใครก็รู้ ทำไมต้องไปทำ

แต่ถ้าเป็นสมาธิขึ้นมาแล้ว ทำไมไม่ทำสมาธิให้ดีๆ ทีนี้ทำสมาธิให้ดีๆ มันจะรักษาอย่างไร? มันจะรักษาอย่างไรให้มันคงที่ เหมือนลงเรือ เรือมันโคลงเคลงอย่างไร? จะทำให้มันนิ่งอย่างไร? แล้วให้มันออกรับรู้อย่างไร? นี่อานาปานสติได้ แล้วอานาปานสตินี่นะ เวลามันกำหนดลมหายใจเข้าไปเรื่อยๆ บางทีลมนี่ใสเป็นแท่งๆ เลย พอบอกเป็นแท่งๆ เขาพูด ไม่ได้อีกแล้ว มันเป็นนิมิต มันเป็นการเห็น เราเห็นเป็นแท่งๆ เลย แล้วเวลามันลมหายใจมันขาด พอลมหายใจขาด ทุกคนจะบอกว่า ถ้าไม่หายใจจะอยู่ได้อย่างไร?

มันหายใจ มันหายใจโดยละเอียดไง มันหายใจโดยเราแทบไม่รู้สึกตัวเลย แทบไม่รู้สึกตัวเลยนะ คนมันจะหายใจ เวลาเข้าสมาบัติ นั่ง ๗ วัน ๗ คืน ก็ถามอีก อ้าว! โทษนะ แล้วคนเราไม่ต้องปัสสาวะ ไม่ต้องอุจจาระเหรอ ก็คิดแบบวิทยาศาสตร์ไง นั่งอยู่ ๗ วัน คนเราไม่ปวดท้องบ้างเลยเหรอ?

เราบอกว่า มันจะปวดมะเหงกอะไรล่ะ?

เวลามันเข้าสมาบัตินะ อวัยวะทั้งหมดมันจะหยุดนิ่ง น้ำในกระเพาะปัสสาวะมีอยู่เท่าไรมันจะอยู่คงที่ มันไม่เพิ่ม ทุกอย่างมันไม่เพิ่ม ไม่ลด อยู่คงที่ ถ้าไม่มีชีวิตก็เป็นซากศพ แต่อยู่คงที่มันมีจิต แต่จิตมันเข้าอยู่ในความสงบของมัน จะอยู่กี่ปีกี่ชาติมันก็อยู่ของมันอย่างนั้นน่ะ

ทำมาหมดแล้วล่ะ ทีนี้คนมันไม่รู้ มันก็วิตกวิจารไป

อ้าว! แล้วนั่งอยู่ ๗ วัน ๗ คืน แล้วไม่ลุกเข้าส้วมบ้างเหรอ?

เออ ก็กูไม่ได้กินน้ำ ทำไมกูต้องเข้า?

คิดกันไปนะร้อยแปด คนไม่เคยทำจะงงไปหมดล่ะ อวิชชา มันเป็นอวิชชา ถ้ามันเป็นอวิชชามันก็ไม่เข้าใจของมัน นี่พูดถึงการกำหนดพุทโธ กำหนดอะไรก็แล้วแต่ คำบริกรรม กรรมฐาน ๔๐ ห้อง ทำอะไรก็ได้นะ กรรมฐาน ๔๐ ห้องหมายถึงวิธีการ กำหนดพุทโธก็ได้ ถ้ามันเครียด ใช่ มันเครียด

สมมุตินะ สมมุติว่าเราเป็นคนจริง แล้วเรากำหนดพุทโธๆๆ ตลอดไปนะ กิเลสไม่อยู่กับพุทโธ มันก็เสมอกันนะ หลวงตาบอกว่า ทำอะไรสักแต่ว่าทำมันไม่ได้ประโยชน์ ทำแบบคนโง่ จะทำอะไรนี่มันจะต้องมีอุบาย เพราะอวิชชานี่นะ ความไม่รู้ของเรามันอยู่หลังความคิด เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเย้ยมารนะ

“มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา เราเห็นตัวเจ้าแล้ว บัดนี้เธอจะเกิดอีกไม่ได้เลย” มารเกิดในหัวใจเราไม่ได้เลย เพราะความดำริ เห็นไหม มารมันตามมา

ทีนี้เรากำหนดพุทโธหรืออะไรก็แล้วแต่ มารมันอยู่ข้างหลัง จะทำอะไรมารมันรู้ทันหมด ทีนี้พอมารรู้ทันหมด เราทำบ่อยครั้งเข้าๆ มันก็สักแต่ว่าอยู่อย่างนั้นน่ะ เราต้องมีอุบายไง ถึงว่า บางทีเรากำหนดลมหายใจบ้าง อะไรบ้าง นี่ได้

แต่ถ้าเราเป็นคนจับจด ในหลักวิชาการทางกรรมฐาน จะบอกว่า การปลูกต้นไม้ ปลูกต้นไม้แล้วต้องหมั่นรดน้ำพรวนดิน ถ้าปลูกแล้วก็ย้ายต้นไม้ ย้ายต้นไม้ ต้นไม้จะโตไม่ได้ เราก็เลยพุทโธๆ ไม่กล้าไปลง ไปลงแล้วเดี๋ยวมันจะกลายเป็นย้ายต้นไม้ ไม่ใช่

เราปลูกต้นไม้ทีละต้น ปลูกพุทโธ เราก็รดพุทโธๆๆๆ จนมันเครียด มันทำอะไรไม่ได้ พุทโธเราก็วางไว้ เราปลูกต้นใหม่ ปลูกลมหายใจ พอปลูกลมหายใจเราก็รดน้ำลมหายใจ อยู่กับลมหายใจ คือว่าเราปลูกต้นใดต้นหนึ่ง แล้วก็รักษาต้นนั้น ไม่ใช่ย้ายต้นไม้หรอก

การย้ายต้นไม้ ท่านพูดถึงคนจับจด คนทำพลิกไปพลิกมา แต่เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้มันจริงจังทีละอย่างๆ ไป นี่ไม่หรอก เขาเรียกอุบายวิธีการ “อุบาย” เพื่อจะให้กิเลสมันตามการกระทำของเราไม่ทัน ไม่อย่างนั้นกิเลสมันตามทันนะ เหมือนเป็นคนดี ยังไม่ได้สวดมนต์นอนไม่ได้หรอก ต้องขึ้นมานั่ง นะโม ตัสสะ หน่อยหนึ่ง นอนแล้ว มันยังไม่ได้ทำ คือขั้นตอนมันยังไม่จบ ยังนอนไม่ได้ ต้องสวดมนต์ก่อน

ถาม :โอวาท ๓ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส วิธีทำจิตให้ผ่องใส ให้เกิดขึ้นทุกเมื่อ เราจะมีวิธีการอย่างไรคะ? จึงจะทำจิตตัวเองไม่ให้มัวหมอง ไม่ให้ฟุ้งซ่าน

หลวงพ่อ :อันนี้มันจะเหมือนกับอันเดียวกันเลยเนาะ

นี่โอวาท ๓ ใช่ ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตให้ผ่องแผ้ว โอวาทปาติโมกข์ ผู้สอนพระอรหันต์ วันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงพระปาติโมกข์ โอวาทปาติโมกข์ วันนั้นเป็นวันที่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์มาสโมสรสันนิบาตกัน นี่สิ่งที่เป็นพระอรหันต์ อยู่กับความสงบสงัดตลอดอยู่แล้ว ทำไมต้องแสดงปาติโมกข์ โอวาทปาติโมกข์?

เพื่อความรื่นเริง คนไม่เข้าใจ วิหารธรรมเป็นอย่างไร ถึงว่า วิมุตติสุขเป็นอย่างไร วิหารธรรมเป็นอย่างไร

วิหารธรรมนะ รถของเรา ใครถอยรถมานะ แล้วจอดไว้เฉยๆ ทั้งปีทั้งชาตินะ รถคันนี้พัง ถ้าเราถอยรถออกมาแล้วนะ เราอุ่นรถ เรารักษารถของเรา รถนี่จะใช้ได้เป็นประโยชน์มาก จิต ถ้ามันอยู่เฉยๆ ของมัน จิต เวลามันวิหารธรรมมันจะหมุนของมัน ถ้าวิหารธรรมมันหมุนของมัน มันหมุนของมัน มันรักษาของมัน อุ่นเครื่อง วิหารธรรม อยู่กับธรรม มีความสุขมาก

ทีนี้ว่า ทำอย่างไรให้จิตผ่องใส คำว่า “จิตผ่องใส” ถ้าคำว่า “จิตผ่องใส” มันมี ๒ อย่าง จิตผ่องใสโดยอวิชชา กับจิตผ่องใสโดยธรรม คำว่า “ธรรม” มันสะอาด มันผ่องใสขึ้นมาเรื่อยๆ ทีนี้ ถ้าจิตผ่องใสโดยอวิชชา เราเป็นปุถุชน เรามีอวิชชาอยู่แล้ว จะทำจิตให้ผ่องใสได้อย่างไร? ทำจิตให้ผ่องใสมันก็ทำสมาธิไง ทำจิตให้ผ่องใส

เวลาคนเรานะ ความผ่องใส ใสด้วยอะไร? ใสด้วยนิมิต คือจิตมันใสอย่างหนึ่ง ใสด้วยความรู้สึก เพราะจิตมันว่างอย่างหนึ่ง ว่างนอก-ว่างในไง

ทีนี้ ว่างนอก-ว่างใน เรากำหนดของเราเอง ทำอย่างไรคะ?

ถ้าโดยพื้นฐานเลยก็ต้องพุทโธก่อน เพราะพุทโธนี่นะเป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด แล้วปลอดภัยที่สุด พุทโธ เพราะอะไรรู้ไหม? ๑. ถ้าเรากลัวผีนะ เรานึกกลัวผี นึกพุทโธๆๆ ผีไม่กล้าเข้าใกล้ตัวเราแล้ว เพราะผี เรานี่เราเป็นคนนะ เราเป็นมนุษย์ เราตายไป เราเป็นชาวพุทธใช่ไหม เวลาเราตายไปแล้วก็เป็นผี เวลาผีนึกถึงพุทโธ เราเคารพพระพุทธเจ้าเหมือนกัน พอนึกพุทโธนี่ เราไม่เข้าใกล้หรอก

ผีนี่นะ จะไม่รังแกคนดี คนที่นึกถึงพุทโธ คนที่มีศีลธรรมจริยธรรม ผีจะไม่กล้าเข้าใกล้เลย ผีจะ เว้นไว้แต่มีเวรมีกรรมต่อกัน กรรมให้ผล

ถ้าเรานึกพุทโธๆๆ คำว่า “พุทโธๆ” มันพุทธานุสติ เรานึกถึงพุทโธตลอด เรานึกถึงพระพุทธเจ้าตลอด เราปลอดภัยนะ เราปลอดภัยทั้งชีวิตเราด้วย แล้วปลอดภัยทั้งชีวิต ความเป็นอยู่นะ แล้วถ้าจิตมันสงบเข้ามา

พุทโธ เขาบอกว่า ยกหลวงปู่เจี๊ยะอีกล่ะ เพราะว่ามีพระเขาพูดไง พอนึกพุทโธๆๆ ได้ มันนึกได้ เพราะพระเขาบอกว่า “กรรมฐานนี่โง่ฉิบหายเลย อะไรๆ ก็พุทโธๆ พุทโธจะไม่มีอะไรเลย พุทโธนี่ไม่มีปัญญาไง”

หลวงปู่เจี๊ยะ เขานิมนต์มา พวกนั้นเป็นมหาหมดนะ นิมนต์นั่งฉันน้ำร้อน ทำวิสาสะกันก่อน

บอกว่า “ในการประพฤติปฏิบัติ สมมุติว่าคนโง่คนหนึ่ง เขาอยากจะทำภาวนา นี่ไง อยากทำให้ผ่องใส เขาอยากจะภาวนา เขาเป็นคนโง่ เขาคิดอะไรไม่ออก เขาคิดว่า ขี้ๆๆ จิตมันสงบได้ไหม?”

พวกมหาทั้งหมดบอกว่า “ได้ครับ”

ท่านบอกเลย ถ้าบอกไม่ได้นะ ท่านจะมีหมัด ๒ อีกนะ แล้วขนาดว่า “ขี้ๆๆ” จิตมันยังสงบได้เลย แล้วพุทโธจิตสงบไม่ได้ได้อย่างไร? ฉะนั้น คำว่า “พุทโธๆๆ” คำว่า “พุทโธๆๆ” คำว่า “ขี้ๆ” นี่ยังสงบได้เลย เพราะอะไร เพราะมันเป็นคำบริกรรม คำบริกรรมหมายถึงว่าจุดยืนของจิต ถ้าจิตของเรา คนนี่ไม่มีจุดยืน คนนั้นโลเล คนจะดีต้องมีจุดยืน จิต ถ้าทำอะไรโลเล ทำอะไรที่ไม่มีจุดยืน จิตนั้นจะทำสมาธิไม่ได้ มันจะไม่มีสติ มันทำสมาธิจะไม่ได้ประโยชน์ของมัน

แต่ถ้ามีพุทโธๆ มีสติพร้อม นี่คือมีจุดยืน จุดยืน พุทโธๆๆ น้ำหยดลงหิน น้ำหยดลงหินทุกวันๆ หินมันยังกร่อนเลย แล้วนึกพุทโธๆๆ จิตเป็นสมาธิไม่ได้นี่มันก็แปลกใจ เพราะคนทำนี่มันทำอย่างไร เอาน้ำหยดลงหินสิ หยดเรื่อยๆ ดูสิ ไม่กี่วันมันด่างแล้ว เดี๋ยวเป็นรูเลย แล้วเราพุทโธๆๆๆ มันจะไม่สงบได้อย่างไร? เพียงแต่พวกเราไม่จริง พวกเราทำกันไม่จริง พวกเราทำไม่จริงก็เลยไม่ได้ความสว่างขึ้นมาไง ถ้าทำจิตอย่างไรให้มันสว่าง

แล้วประสาเรา กำหนดพุทโธแล้วอย่าไปคาดหมาย อย่าไปคาดหมายนะว่าจิตมันจะสว่าง จิตจะผ่องแผ้วเหมือนที่พูดเมื่อกี้นี้ ที่เขาถามว่าจิตเป็นอย่างนั้น ทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ไหม เป็นครั้งคราว เราอย่าไปคาดหมาย เพราะการคาดหมายมันเหมือนกับระยะทาง เหมือนเรามีกำลัง สมมุติเรามีกำลัง เรามีเงินอยู่ก้อนหนึ่ง เราจะไปซื้อสินค้า ถ้าเงินมันพอสินค้าไหนเราก็ซื้อสิ่งนั้น เราอย่าไปคิดว่าเราจะหมายว่าเราจะไปซื้อสินค้าที่เลิศเกินไป

เพราะเราจะบอกว่าอย่างนี้นะ บอกว่า เวลาจิตมันสงบเข้าไป บางทีมันก็ไม่เห็นอะไรเลย มันสงบเฉยๆ แล้วเราจะเข้าใจผิดไง เราตั้งใจว่าจะไปซื้อสินค้าชนิดนั้น แต่เงินของเราซื้อได้แต่สินค้าชนิดนี้ แล้วเราได้สินค้ามา มันไม่พอใจสินค้าของตัวเอง ทั้งๆ ที่เป็นสินค้าของเรา คือทั้งๆ ที่เป็นสมาธิของเรา แต่เราไปคาดหมายว่าสมาธิมันจะเพริศแพร้ว จะเลิศสมาลา จะอู้หูย! มันไม่ใช่สมบัติของเรา มันเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้า สมบัติของครูบาอาจารย์ที่ท่านสร้างสมบุญญาธิการของท่านมา

สมาธิก็สมาธิเหมือนกัน แต่สมาธิสงบแล้ว ท่านเห็นนิมิต เห็นความสว่างไสว เห็นอาการต่างๆ มันเป็นวาสนาของคนนะ คนที่มานั่งกันอยู่นี่สมบัติของคนไม่เท่ากัน ความรู้สึกของคนไม่เท่ากัน แต่ตอนลมพัดมาเราเย็นเหมือนกันหมดเลยนะ นี่ลมพัดเข้ามานี่เย็น สบาย แต่สมบัติต่างๆ สิ่งที่เป็นของเราไม่เท่ากันนะ

ฉะนั้น ถ้าเราไปคาดหมายว่าจิตต้องผ่องใส จิตต้องเป็นอย่างนั้นนะ แล้วถ้าสงบแล้วไม่ผ่องใส เอ..สมาธินี้เป็นสมาธิหรือเปล่าหนอ ทั้งๆ ที่เป็นสมาธิก็ยังไปสงสัยสมาธินะ เพราะเราไปคาดหมายกันเอง ฉะนั้น ทำอะไรอย่าคาดหมาย เพียงแต่ตั้งเป้าว่าเราอยากจะทำความสงบ เราอยากจะมีความสุข เราอยากจะพิสูจน์

เราพูดอย่างนี้บ่อย เวลาเราภาวนานะ เราภาวนา เวลามันทุกข์มันยาก พระพุทธเจ้าบอกไว้ว่า ถ้าคนตั้งใจทำจริง ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี แล้วเรา ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ต้องสิ้นกิเลส หรือเป็นพระอนาคา เราทำของเราน่ะสมบุกสมบันมาก ทำของเรา อยากจับผิดพระพุทธเจ้า พูดอย่างนั้นเลยนะ ใจนี่คิดอย่างนั้นเลยล่ะ อยากจับผิดพระพุทธเจ้าว่าพระพุทธเจ้าพูดโกหก

แล้วอย่างการทำสมาธิภาวนา ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

เรายืนยันนะ ทำดีมาก เราเป็นพระ เราก็ว่าเรามั่นใจว่าเราทำดี แล้วเราไปอยู่ที่โพธาราม อู้หู! เขากลั่นแกล้งนะ ร้อยทิศ พันทิศ เหยียบมาที่เดียวเลยน่ะ แล้วพระ เพื่อนพระด้วยกันก็ยังต้องบอกว่า อู้หู! หนักมาก แล้วพวกโยมพากันหนี บอกไปเถอะๆ เราบอกว่า “ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว” เขาจะฆ่าเขาจะแกงอย่างไรนะ ทำดีมันจะตายให้มันเห็นจริงๆ นะ สุดท้ายแล้วมันก็ผ่านมาหมด สุดท้ายแล้วเดี๋ยวนี้ไอ้คนที่ทำๆ ไว้นะ

ตอนนั้นมันมีแรงยุต่างๆ อะไรร้อยแปด แล้วเขาก็เข้าใจผิดกัน เขาก็ยุแหย่กัน โอ๋ย! ร้อยแปดเลย แล้วเราทำดี เราไป ไปทำดี เช้าขึ้นมาก็บิณฑบาต แล้วเราไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เราไปทำผิดศีลที่ไหน เราก็ไม่ได้ทำอะไรผิดเลย แล้วเราก็อยู่ในศีลธรรม เขาจะเอ็ด เขาจะว่าก็ว่าไป อย่างพูดเมื่อกี้นี้

พูดเมื่อวานเนาะ เขามานั่งเฝ้าไง ไปบิณฑบาต โทษนะ “วันๆ ไม่ทำอะไรเลย เห็นเดินไปก็เดินมา” เดินจงกรม วันหนึ่งฉันเสร็จก็เดินจงกรมนะ เขามานั่งดู มาจับผิดไง “วันๆ ไม่เห็นมันทำอะไร เห็นมันเดินไปก็เดินมา” มันไม่รู้ว่าเราเดินจงกรม เขาไม่เข้าใจ นี่ความไม่เข้าใจของเขา

ถึงบอกว่า เราอย่าไปคาดหมาย กลัวไง กลัวว่าเราไปคาดหมายว่าจิตมันสงบแล้ว มันจะสว่างไสวจะเป็นอย่างนั้นนะ ถ้ามันสว่างไสวนะ เวลาเราพูดเตือนคน เวลาพูดธรรมะนี่มันต้องพูดให้คนแบบว่าช็อก ให้มันกลับไง ถ้าสว่างไสว ความเป็นสว่างไสวเป็นธรรมนะ แสงพระอาทิตย์ต้องเป็นธรรม แสงไฟฟ้าเป็นธรรม มันสว่างกว่ามึงอีก ใสกว่ามึงอีก

เราไปคาดการณ์อย่างนั้นไม่ได้ ความสว่างไสว ถ้ามันเกิดจากใจ สว่าง สว่างจริงๆ

เวลาเขาไปภาวนาที่วัด แล้วมันเห็นแสงเห็นอะไร? เราบอกนะ เรานั่งภาวนาใหม่ๆ ตอนภาวนาใหม่ๆ นั่งอย่างนี้มันเหมือนแสงหน้ารถยนต์ มันเป็นแสงไฟ ดวงไฟ มันวิ่งชนเราเลย พุ่งเข้ามา พรวดเข้ามาเลย อึ้ก! สะเทือน ผงะเหมือนกันนะ ใหม่ๆ มันจะมีอย่างนี้ ผงะ ตั้งใจดีๆ ตั้งใจดีๆ มันก็ผ่านไป พออะไรเข้ามามันจะมีบททดสอบเยอะมาก เหมือนกับเป็นดวง ไฟรถยนต์ แล้วมันวิ่งชนเราน่ะ ใครบ้างไม่สะดุ้ง ปฏิบัติใหม่ๆ ทุกคนสะดุ้งทั้งนั้นน่ะ มันพุ่งเข้าชนเราเลยล่ะ พุ่งเข้ามาเลย โอ๋ย! ผงะเลยนะ พอผงะมันก็หายหมด เพราะมันออกหมดแล้ว อ้าว! เอาใหม่

แล้วเวลาใครมาถามปัญหา เพราะเราเองเราก็ผ่านมา เราก็สงสัยมา นิมิตนี่เห็นมาก เห็นนิมิตนะ มีภาค ๑ ภาค ๒ เพราะบางวัดเขาทำวัตรที่ศาลา ก็นั่งที่ศาลา ๒-๓ ชั่วโมงนะ โอ้โฮ! นิมิตนี่เป็นหนังซีรี่ส์ยาวเลย พอจบแล้วไปต่อที่กุฏิ ภาค ๒ ต่อได้เลย มีภาค ๒ ต่อ แล้วจดไว้เลยนะ เป็นเรื่องนั้นๆๆ นะ พอเพื่อนมา วันนั้นมึงทำอันนั้นๆ จริงไหม? จริงบ้าง เท็จบ้าง

แล้วพอไปอ่านประวัติหลวงปู่หลุยกับหลวงปู่เทสก์ จำไม่ได้ ๒ องค์นี่มันสลับกัน องค์หนึ่งติดสมาธิ ๑๑ ปี องค์หนึ่งติดสมาธิ ๑๗ ปี อ่านประวัติ ๒ เล่มนี้มันแทงใจมาก มันกลัวตัวเองจะเสียเวลา ตั้งแต่บัดนั้นมาทิ้งหมดเลย ตัวเองทิ้งเอง พอทิ้งเอง อะไรจะเข้ามา ปฏิเสธ ก่อนนั่งจะปฏิเสธว่า นิมิตไม่เอา อะไรก็ไม่เอา แล้วพอเข้ามามันจะมาล่อนะ ไม่เอา ไม่เอา ไม่เอามันก็ออกไป เพราะจิตมันไม่เอา ไม่เอา

ไม่เอานี่เหมือนกับเงินเรานี่ไม่ใช้ แล้วพอไม่ใช้แล้วเก็บไว้ เก็บไว้เรื่อยๆ มันสะสมเรื่อยๆ พอมันเป็นความจริงนะ บุพเพนิวาสานุสติญาณมันย้อนอดีตชาติ พั๊บๆๆๆ หมดเลย เห็นหมด เวลาข้อมูลที่มันรื้อน่ะ

(พูดอย่างนี้มากเดี๋ยวมันเข้าตัว ออกข้างนอกดีกว่า)

นี่มันมีพื้นฐาน ทำมา ทำมาเยอะ แล้วเวลาใครมาถามปัญหา ถึงบอกว่าเวลาพูดเหมือนโม้เลยนะ มันไม่ใช่โม้ มันเหมือนตอนที่เราประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ มันมีอะไรจะตรวจสอบตลอด จะทดสอบ ถึงได้กล้าโต้แย้งกับใครก็กล้าโต้แย้ง เราจะกล้าโต้แย้งกับทุกๆ คน เพราะเราโต้แย้งจากประสบการณ์จริง แล้วเราทำมาจริงๆ

โอ้! ถ้าจะให้เล่านะ กลายเป็นหนังจีนเลยล่ะ อภินิหารเลยล่ะ

ทำมา แล้วมันเป็นอริยสัจไหม?

ไม่ ไม่หรอก รู้ด้วย อะไรจริง อะไรปลอม แต่เพียงต้องการพิสูจน์ไง

ตะกี้พูดถึง บอกว่าให้ทำจิต ให้ทำจิตสงบแล้วชั่วคราวได้ไหม? เราไม่พูดออกมาหรอก ไม่พูดออกมาเพราะอย่างที่ว่าไปเที่ยวนิพพงนิพพานอะไรกันน่ะ มันเป็นไปไม่ได้

หลวงปู่สิมบอกว่า ประตูนิพพานนี่เส้นผมเส้นหนึ่ง แบ่ง ๘ เส้นผมเส้นหนึ่งแบ่ง ๘ แบ่ง ๘ แล้วยังสอดเข้ารูประตูนิพพานไม่ได้เลย หลวงปู่สิมน่ะ ไปฟังเทศน์หลวงปู่สิมสิ เส้นผมเส้นหนึ่งแบ่ง ๘ นะ แล้วแบ่ง ๘ แล้ว ไอ้เส้นที่แบ่ง ๘ ยังเข้ารูนิพพาน ไขรูนิพพานไม่ได้เลย นี่พระอรหันต์พูดมันมีคตินะ

แล้วนี่แหม ไปเที่ยว ไปนิพพาน ไปอะไรกัน ถ้ากูไปนิพพาน กูไม่กลับ กูอยู่เลย กูไม่กลับมาอีกแล้ว

ถาม :จิตผ่องใส...

หลวงพ่อ :เหลืออีก ๑๐ นาที ๒ ชั่วโมง เหลืออีก ๑๐ นาที เรื่องชีวิตนี่ไว้เดี๋ยวพูดรอบต่อไปเนาะ เราอยากตอบเรื่องนี้

ถาม :ชีวิตนี้ ในเมื่อคนเราเกิดมาแล้วต้องตาย แล้วเกิดมาทำไม?

หลวงพ่อ :แหม เดี๋ยวเอาไว้รอบบ่าย เอานี่ก่อน น่าจะหมดเวลา

ถาม :คนที่ชอบเสี่ยงโชค ที่ไม่ว่าจะเป็นการเล่นหวย เล่นหุ้น หรือการเล่นการพนัน ผิดศีล ๕ หรือไม่?

หลวงพ่อ :ศีล ๕ นี่ผิดหมดนะถ้าใช้คำว่า “พนัน”

คำว่า “พนัน” ผิดศีล ๕ นี่ผิดหมด ทีนี้การเล่นหวย การเล่นหุ้น เล่นหวยนี่ผิดแน่นอน แต่การเล่นหุ้นนี่เราว่าไม่ผิด เพราะการเล่นหุ้น หุ้นโดยโลก เขาว่าเป็นการลงทุน ทีนี้เป็นการลงทุน คำว่า “การลงทุน” นั่นคือปรัชญาของเขา แต่เมืองไทยนี่มันเป็นการพนัน อันนี้อีกเรื่องหนึ่ง

เพราะคำว่า “เล่นหุ้น” ถ้าเล่นหุ้นเป็นการลงทุน เราลงทุน มันไม่ใช่การพนัน แต่ถ้าเราไปเล่นการพนันน่ะผิด ผิดเพราะอะไร? เพราะการลงทุน การธุรกิจ ธุรกิจนี้คือการพนันนะ คือการเสี่ยง อัตราเสี่ยงไง ความเสี่ยงของการทำธุรกิจนี้ นี่อัตราเสี่ยงนะ อัตราเสี่ยงนี่ตัวมันเองคือการพนันอยู่แล้ว แล้วเราไปเล่นพนันซ้อนเข้าไปอีก แต่นี้มันเป็นเรื่อง

คำถามนี่เราต้องพูดถึงคำถามก่อน ถ้าคำถามนี่โดยถูกต้อง คำตอบมันก็ถูกต้อง ถ้าคำถามมันเบี่ยงเบน คำตอบมันก็ตกทะเล ฉะนั้นถึงว่า คำถาม

ถาม :คนที่ชอบเสี่ยงโชค...

หลวงพ่อ :ต้องคุยกันก่อนว่ามันเป็นหน้าที่ มันไม่ใช่เสี่ยงโชค การเสี่ยงโชค เล่นหวยนี่เสี่ยงโชค เพราะเล่นหวยเสี่ยงโชคไปเลย แต่การเล่นหุ้น เราลงทุนหุ้น เราซื้อขายนี่มันกลับมาใช่ไหม? เราลงทุน กำไร-ขาดทุน ถ้ามันกำไรแบ่งผลปันผล เวลาเราซื้อขาย ถ้ากำไรก็คือกำไร แต่ถ้าไอ้การวิเคราะห์ นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าไปเล่นหวยนี่ไอ้นี่ผิดศีล ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะถ้ามันผิดมันก็หมดไปเลย ถ้ามันได้มันก็กลับมา นี่คือการพนัน

ถ้าการพนันมันอยู่ในอบายมุข อบายมุขทำให้เกิดอบายภูมิ อบายมุขนะ สิ่งที่เป็นอบายมุข ศาสนานี้ไม่ให้ทำ ไม่ให้ทำเพราะอะไร เพราะเราไปคุ้นชินกับมัน ไปอะไรกับมัน แต่การลงทุนเป็นการลงทุนมันเป็นภาคอุตสาหกรรม ไอ้อย่างนี้เราว่ามันไม่ผิดศีล

แล้วการผิดศีล คำว่า “ผิดศีล” การผิดศีล ศีลด่างพร้อย ศีลทะลุ ศีลขาด ถ้าศีลด่างพร้อย ไม่มีเจตนา เราไม่ได้ทำผิด เรานี่เป็นพระนะ ธุดงค์ไปเรื่อย ไปอยู่วัดหนึ่ง เขาตักบาตรเทโวฯ คนก็เยอะมาก เราก็บิณฑบาตด้วย ตักบาตรไป เขาก็รีบรับไปรับมา เขาวิ่งมาชนเรา ผู้หญิงวิ่งมาชนเรา พอวิ่งมาชนเราพระเขาบอกให้ปลงอาบัติ

เราบอก “ปลงอะไร? เขามาชนกู กูไม่ได้ไปชนเขา” ไม่เห็นน่ะ บิณฑบาตอยู่ เขาวิ่งมาชนข้างหลัง ชนข้างหลัง เขาก็ไปแล้ว มันจะเป็นอาบัติอะไร?

การปลงอาบัตินะ เราอยู่กับครูบาอาจารย์มา หลวงปู่สุวัจน์บอกว่า ถ้าไม่รู้จักอาบัติ ออกอาบัติไม่ได้ เวลาเราเป็นอาบัติสังฆาทิเสสกัน เราเป็นอาบัติอะไรนี่เราต้องสวดนะ ต้องขอกับสงฆ์ ขอเข้าอาบัติ เหมือนเรา เราบอกว่า แล้วอย่างที่เขาจัดกัน เขาจัดอยู่เวรอยู่กรรมกันน่ะ นั่นน่ะ ผิดหมดนะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราไม่ได้เป็น อย่างโยมนี่นะ เราบอกว่าโยมเป็นหนี้เราคนละล้าน แล้วโยมต้องเอาเงินมาจ่ายเรา โยมยอมไหม? โยมนั่งอยู่นี่เป็นหนี้เราคนละล้าน แล้วโยมจะยอมได้อย่างไรเพราะโยมไม่ได้เป็น

เราไม่ได้เป็นอาบัติ แล้วเราไปกล่าวว่าเราเป็นอาบัติ เริ่มต้นก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์แล้ว โกหก เพราะอะไร? เพราะไปขอเป็นหนี้เขาล้านหนึ่ง เพราะอาบัติสังฆาทิเสสเป็นอาบัติหนัก มันเป็นอาบัติหนักนะ คนเรา ปาราชิกนี่ขาดจากพระ ตาลยอดด้วน สังฆาทิเสสนี่เป็นต้องบอกกับสงฆ์ สงฆ์เป็นคนให้เข้าสังฆาทิเสส การอยู่กรรมคือการอยู่กรรม ปิดไว้เท่าไรถึงอยู่ขนาดนั้น

แล้วตัวเองไม่ได้ทำผิดอะไรเลย ไปขอเขาอยู่กรรม ไปขอเขา คนเราอยู่แล้วไปขอเขาลงโทษกับโทษประหาร ปาราชิกคือโทษประหารนะ นี่อยู่ดีๆ ไปบอก “ขอผมติดคุกตลอดชีวิตครับ” ใครบ้าก็ไม่รู้เนาะ อยู่ดีๆ ไปบอกเลย “ขอติดคุกตลอดชีวิต” รองจากโทษประหารไง แล้วก็ไปอยู่กรรมกัน พออยู่กรรมเสร็จแล้วก็ไปอัพภานออก

มันไม่ใช่เรื่องเลย คือมันใช้กฎหมายโดยไม่เป็นกฎหมาย กฎหมายไม่เป็น แต่ถ้าเราเป็นจริง อาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ ถ้าอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ แล้วนี่ต้องขอกับพระ ต้องขอกับสงฆ์ “ต้องขอ” ต้องสวดขอ ต้องสารภาพ ต้องยอมรับ ถ้าเราเป็นอาบัติแล้วทุกคนบังคับให้เราไปเข้าอาบัติโดยที่เราไม่พอใจ อาบัติไม่ออกนะ นี่หลวงปู่สุวัจน์สอนอย่างนั้น

จะปลงอาบัติต้องรู้จักอาบัติ เหมือนเราเป็นโรค ไปหาหมอ เราต้องรู้จักว่าเราเป็นโรคอะไร หมอจะรักษาโรคนั้นตามโรคนั้น เราไปหาหมอ เราบอกว่า เราเป็นโรคหนึ่ง ไปบอกหมออีกโรคหนึ่ง หมอจะรักษาโรคเราเป็นอย่างไร? ถ้าหมอเขาวิเคราะห์ไปแล้ว อ้าว! คนละโรค รักษาผิดนะ

ศีลไง ศีลพูดถึงมันผิดศีลไหม ศีลพูดถึง ถ้าศึกษา พระกรรมฐานเราจะรักษาศีล จะรู้จักศีล แล้วศีลถูกศีลผิดจะต้องรู้จักศีล รู้จักผิด แล้วเข้าขอให้ผิดขอเข้าให้ถูก แล้วถูกแล้วต้องแก้ไขให้ถูกมันถึงจะออกได้ ออกจากอาบัติเพราะว่าเขาว่า ออกอาบัติไง ออกจากอาบัติได้ ออกจากความผิดนั้นได้ ถ้าเราขอผิด เราออกจากความผิดนั้นไม่ได้ นี่บอกเลย ตู้พระไตรปิฎก อยู่ในตู้พระไตรปิฎก แล้วคนศึกษามัน ใครเป็นคนศึกษามัน

แต่ครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่มั่นนี่สุดยอด สุดยอด พระพุทธเจ้าเมืองไทย

ภิกษุสมัยพุทธกาลห่มผ้าสีอะไร? กำหนดจิตดูเลย กำหนดจิตดูสมัยพุทธกาล ย้อนไปดูว่าสมัยพุทธกาลห่มผ้าสีอะไร? นี่หลวงตาเล่าให้ฟังประจำว่า สีแก่นขนุนอ่อน สีแก่นขนุนแก่ สีแก่นขนุนอย่างกลาง สีเหลืองสีอื่นไม่มี

แล้วปลงอาบัติ มันทฤษฎีมันมีอยู่ กฎหมายมันมีอยู่ แต่ไม่เคยใช้ พอไม่เคยใช้ พอใช้เป็นกรณีตัวอย่างไง ถ้าเป็นกรณีตัวอย่าง ทีนี้เขาทำกันเป็นสินค้า แต่ของเรา เวลาจะเข้าอาบัติ ถ้าเข้าอาบัติต้องรู้จักอาบัติว่าเราผิดข้อไหน แล้วผิดข้อไหน ผิดหนเดียว คือตัวเดียว ผิดตัวเดียว ผิด ๒ หน คือลงโทษ ๒ กระทง ผิดกระทงเดียว ๒ กระทง ผิด ๒-๓ กระทง คนละตัว คือกฎหมายคนละข้อ ผิดกฎหมายข้อเดียวกัน แต่ ๓ กระทง

คำว่า “ผิดศีล” ถ้ารู้จักศีล ถึงบอกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย ศีลทะลุ ศีลขาด แล้วนี่ผิดศีลมันก็มีตรงนี้ ๑ เราไม่มีเจตนา เราไม่มีเจตนาทำผิดนะ มันก็ไม่ผิดหรอก ทีนี้เพียงแต่ว่าความเหมาะสม ความเป็นไป ดูสิ ดูพระอรหันต์แต่ละองค์ไม่เหมือนกัน พระอรหันต์แต่ละองค์ต่างๆ กันไป จริตนิสัยต่างๆ กันไป

ทีนี้ความเห็น เราอยู่กับหลวงตานะ หลวงตาท่านพูดบ่อย ไม่มีหรอก ภิกษุสงฆ์องค์ใด จะทำให้ถูกต้องตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ไม่มี แม้แต่หลวงตาท่านพูดกับเราเอง “สำหรับเรา...” ท่านว่าตัวท่านนะ หลวงตาน่ะ “สำหรับเรา เราจะพยายามทำให้ผิดน้อยที่สุด แต่ถูกหมดเลยทุกข้อ โลกนี้หาไม่ได้” นี่หลวงตาพูดกับเราเองนะ “แต่เราจะพยายามทำให้มันผิดน้อยที่สุด”

เพราะพระอรหันต์ไม่ตั้งใจทำผิดอยู่แล้ว ไม่มีความผิดหรอก

แต่ทีนี้ “ชีวิตแบบอย่าง” ชีวิตของหัวหน้า แม่ทัพ ผู้ปกครองสงฆ์ แล้วถ้าทำชีวิตแบบอย่างนี่สงฆ์จะเคารพบูชา ท่านถึงทำเป็นตัวอย่าง ตอนอยู่กับท่านใหม่ๆ สมัยก่อนนะรับพระไม่มาก แล้วเวลามีพระ ท่านจะบอกกับพระ เวลาเทศน์สอนพระนะ

“หมู่คณะอย่าดูกันนะ หมู่คณะอย่าจ้องอย่ามองกัน”

เหมือนเด็กๆ ถ้ามันจ้องมองกันมันจะจับผิดกัน “หมู่คณะนะ มีปัญหาให้เตือนกัน ให้สอนกัน แต่อย่าจับผิดกัน ถ้าจะเอาตัวอย่างให้ดูผม” ให้ดูตัวท่าน ท่านบอกให้ดูตัวท่าน ท่านท้าอย่างนี้ตลอดเวลาเทศน์ ถ้าจะดูนะให้ดูตัวท่าน ให้ดูแบบอย่าง ให้ดูท่าน เด็กๆ อย่าดูกัน เด็กๆ เอาตัวเด็กเป็นตัวอย่างไม่ได้ เพราะเด็กๆ ไม่สามารถจะทำถูกต้องได้ตลอด แต่ตัวท่านเองท่านจะทำเป็นตัวอย่าง

ท่านบอกว่า ทำอะไรให้ดูท่าน อย่ามองกันเอง ถ้ามองกันเองนะ เด็กๆ ดูเด็กๆ นะ มันจะเห็นความบกพร่อง แล้วเราจะเอาความบกพร่องนั้นมามีปัญหากัน แล้วท่านก็พูดคำนี้ พูดเรื่องนี้ ในภิกษุนะ สาวก-สาวกะ เพราะบารมีอย่างนี้จะทำให้ถูกต้อง แหม ถูกต้องโดยแบบว่าเป็นหุ่นยนต์ ไม่มีผิดอะไรเลย ท่านบอกว่า ท่านพูดเองนะว่า ไม่มีหรอก เพียงแต่ตัวท่าน ท่านบอกตัวท่านจะทำให้ผิดน้อยที่สุด พยายามจะทำให้ผิดจากพระไตรปิฎก ธรรมวินัย ให้น้อยที่สุด แต่เรื่องจะไม่ให้ผิดเลยนี่...

แล้วพอท่านมาพูด มาพูดถึงบอกว่าท่านสำเร็จเมื่อนั้นๆๆ ทางฝ่ายวิชาการว่าเป็นปาปมุต ผิดไม่ได้ เราบอก ไม่ใช่หรอก ปาปมุตคือไม่ผิด คือไม่มีเจตนา สวดปาติโมกข์ มันมีสติวินัย สมฺมุขาวินโย ทาตพฺโพ สติวินโย ทาตพฺโพ เวลาสวดปาติโมกข์เสร็จแล้วมันจะมีอยู่ ๗ ตัวอย่าง ๗ กรณีที่ว่าไม่เป็นอาบัติเลย คืออาบัติที่ได้แสดงแล้วด้วยปาก

สมฺมุขา คือได้ตัดสินแล้ว คืออาบัติที่ได้ตัดสินแล้ว ประชุมสงฆ์แล้ว นี่พ้นออกไปจากความผิดนี้

สติ สติวินัย คือกระอรหันต์ ที่มีสติสมบูรณ์แล้วนี่เป็นปาปมุต ปาปมุตคือไม่ผิดในวินัยนี้

แล้วทางวิชาการเขาบอกว่า ปาปมุตคือแบบว่า พระพุทธรูปนี่ นั่งเฉยๆ ห้ามผิด คือปาปมุตของเขาตีความว่าห้ามทำผิดเลย ทำผิดไม่ได้ เป็นปาปมุต แต่เราบอกว่าปาปมุตคือไม่ผิด ไม่ผิดเพราะว่าพระจักขุบาลเป็นพระอรหันต์ แล้วคืนนั้นไปกราบเยี่ยมพระพุทธเจ้า ท่านจำพรรษาอยู่กับพระพุทธเจ้าแล้วมีพระมาเยี่ยมเยียน คืนนั้นฝนตกหนัก แมลงมันมาเต็มเลย แล้วทางจงกรมของพระจักขุบาลนี่แมลงเข้าไป พระจักขุบาลเป็นพระอรหันต์ เดินเหยียบแมลงตาย ทางจงกรมนี่โอ้โฮ! เต็มไปหมดเลย

พระเขาเดินดูกุฏิ พระมากราบเยี่ยมพระพุทธเจ้า ไปเจอเข้า อู้หู! พระจักขุบาลเหยียบแมลงตายเยอะแยะไปหมดเลย ไปฟ้องพระพุทธเจ้าว่าเป็นอาบัติไง ทำสัตว์ตายนี่เป็นอาบัติปาจิตตีย์ สัตว์ตายตัวหนึ่งก็เป็นอาบัติข้อหนึ่ง แล้วสัตว์ตายเป็นร้อยๆ บอกว่า พระจักขุบาลทำอาบัติ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ไปฟ้องพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าบอก “ไม่เป็น เพราะพระจักขุบาลเป็นพระอรหันต์ เป็นปาปมุต”

ปาปมุตคือไม่เป็นอาบัติ พระอรหันต์ไม่เป็นอาบัติหรอก เพราะว่าธรรมวินัยนี่เป็นสมมุติ เป็นกฎหมาย แล้วคนที่ไม่ทำผิดกฎหมายเลย คนที่ไม่มีเจตนาทำอะไรเลยมันอยู่เหนือกฎหมายไง จิตที่มันพ้นไปแล้ว ไม่อยู่ในขอบเขตที่อยู่ในวัฏฏะ คือไม่มีขอบเขตที่ตัดสินจากจิตดวงนั้นได้ แต่ร่างกายที่มันเหลือเศษส่วนอยู่นี่

พูดถึงศีลไง ศีลนี่มันตีความกันไป ถ้าพูดถึงศีลนะ ต้องคุยกันที่ศีล จบกันที่ศีล แล้วถ้าธรรมมันเป็นธรรม ศีลส่วนศีล ธรรมส่วนธรรม ถ้าธรรม ศีลเป็นนิติศาสตร์ ธรรมเป็นรัฐศาสตร์ ธรรมเป็นความสวยงามที่ไม่กระทบกระเทือนกัน แต่ศีลเพราะว่ามันเป็นกฎหมายที่บังคับให้หมู่สงฆ์ทิฏฐิเสมอกัน ความเห็นเสมอกัน สงฆ์อยู่ด้วยกันมันจะมีความสุขไง ถ้ามันเสมอกัน อยู่ด้วยกัน

ทีนี้ว่าพอผิดอย่างนี้ เราจะบอกว่า ศีล ๕ ผิดศีล ๕ หรือเปล่านี่มันอยู่ที่ ถ้าอย่างเราพูดเราบอกว่า พนันนี่ผิด หุ้นนี่ไม่ผิด แล้วถ้าไปที่เขาตัดสิน เขาว่าผิดหมดก็เยอะแยะไป ทีนี้มันต้องดูที่มาไง อย่างเรารื้อพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกแต่ละข้อนิยามกันเพื่ออะไร? ต้องไปดูนิยามไง นิยามคือว่าเหตุที่จะเกิดวินัยข้อนี้ มันจะมีเหตุเกิดขึ้นมาก่อน มีพระทำผิด เพราะว่าพระทำผิด ทำผิดอย่างนี้ๆๆๆ บัญญัติธรรมอย่างนี้ บัญญัติเพื่อหมู่สงฆ์ เพื่อไอ้พวกหน้าด้าน เพื่อบังคับไอ้พวกหน้าด้าน เพื่อไอ้พวกที่หน้าบางจะได้มีความสุขในหมู่สงฆ์ เพราะไอ้พวกหน้าด้านมันชอบรังแกพวกหน้าบาง ธรรมวินัยนี้เพื่อบังคับไอ้พวกหน้าด้าน ไอ้พวกหน้าด้าน ไอ้พวกทำลายเขา พระไตรปิฎกมีทุกข้อ

การปฏิบัติที่ไม่ได้ผล คือการปฏิบัติที่ไม่สม่ำเสมอ เมื่อก่อนเราอ่านเราก็งง แล้วพอเราปฏิบัติไป มาดู อ๋อ! พระพวกเราที่ปฏิบัติไม่ได้ผลคือปฏิบัติไม่เสมอต้นเสมอปลาย การปฏิบัติสม่ำเสมอคือการปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลาย ถ้ามีการปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลายนี่ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี อย่างน้อยเป็นพระอนาคา

ไอ้นี่เวลาฮึดขึ้นมาก็ ๗ วัน อดอาหารหัวคว่ำเลย พอเดี๋ยวเลิก เลิกก็ตีแปลงแล้ว มันไม่สม่ำเสมอ มันเลยปฏิบัติมันถึงไม่ได้ไง เดี๋ยวก็แรง เดี๋ยวก็เบากันอยู่อย่างนั้นน่ะ นี่พระไตรปิฎกบอกไว้ชัดเจนหมดเลย

คนอ่านหนังสือออก แต่ตีความไม่ออก อ่านได้แต่อักขระ อ่านได้แต่พยัญชนะ แต่อรรถเนื้อความไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เรื่อง แต่พอปฏิบัติไปแล้วนะ เข้าใจๆๆ นี่ถึงบอกว่า การเล่นพนัน เล่นหุ้น

แหม อันนี้น่าสนใจนะ

ถาม :จิตกับตัวรู้ เหมือนกันหรือต่างกัน?

หลวงพ่อ :จิตกับตัวรู้นี่นะ ถ้าพูดถึง ถ้าเป็นทางวิชาการต้องตอบเป็น ๒ แต่ถ้าเป็นเรานี่จิตกับตัวรู้เป็นตัวจิตนั่นล่ะ แต่ความคิดนี่ไม่ใช่

ถาม :จิตกับตัวรู้ เหมือนกันหรือต่างกัน?

หลวงพ่อ :ผู้รู้นั่นคือจิต แต่ความรู้สึก ความคิดน่ะไม่ใช่ ความคิดไม่ใช่ผู้รู้นะ ผู้รู้เฉยๆ มันรู้เฉยๆ แต่เวลามีอารมณ์ความรู้สึก ความคิดนี่ไม่ใช่ผู้รู้ ความคิดเป็นสิ่งที่ผู้รู้แสดงออกมา ต่างกัน เพราะว่าถ้าความคิดเป็นเราตลอดไป คนเรานี่บ้าตายหมดแล้ว อยู่ไม่ได้หรอก ความคิดมันหมุนตาย ความคิดมันปั่นหัวตายเลย ทีนี้ความคิดเดี๋ยวมันก็หยุด เวลานอนหลับ ความคิดหายหมด

ความคิดไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ความคิด

ทีนี้ตัวรู้กับความคิด ตัวรู้ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร? ต่างกันมาก

เอาไว้รอบต่อไปเนาะ รอบนี้ เอวัง