ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะศรัทธาเช้า

๑๔ ก.ย. ๒๕๕๑

 

คณะศรัทธาเช้า
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

พูดเรื่องความคิดไง “พื้นฐาน” ถ้าพื้นฐานความคิด เวลาพูดธรรมะกัน เราก็ว่า “เป็นธรรมะ” แต่เป็นธรรมะจริงๆ นะ.. แต่เป็นธรรมะในภาคปริยัติ

ถ้าธรรมะในภาคปฏิบัติ อันนี้มันจะย้อนกลับมาที่หลวงตา หลวงตาท่านพูดบ่อยนะ “ถ้ารู้จริง..”

อย่างเช่นหนังสือ.. เวลามีพระ.. เราอยู่กับท่าน เวลามีพระที่ท่านออกหนังสือ เขียนหนังสือมาผิดๆ เวลาหลวงตาท่านพูดกับพระวงใน ถ้าเขียนหนังสือมาผิดเลย ท่านจะบอกว่า “ผู้รู้จริงมีนะ” ท่านจะเตือนลูกศิษย์ไงว่า “อย่าสุกก่อนห่าม อย่าซื้อก่อนขาย ให้มันเป็นไปตามขั้นตอน”

“อย่าสุกก่อนห่ามไง” เราต้องทำให้รู้จริงก่อน แล้วค่อยสอนเขา ถ้าเราทำไม่รู้จริง เราไปสอนเขา มันเสียหายกันไปหมด

“อย่าซื้อก่อนขาย” คือเราต้องมีสินค้าก่อนไง เดี๋ยวนี้เขาซื้อล่วงหน้ากันหมด.. ไม่มีสินค้า มีกระดาษคนละใบ แล้วซื้อขายล่วงหน้า แต่ท่านบอก “อย่าซื้อก่อนขาย” คือมีสินค้าก่อนแล้วค่อยขาย มันก็อันเดียวกัน.. อันเดียวกัน

ถ้ามีผู้รู้จริง ที่แสดงออกมานี่ จริงๆ นะ.. ไม่อยากพูดนะ เวลาหลวงตาท่าน.. สังเกตไหม.. หลวงตาท่านบอก “ท่านดูพวกเรา ท่านต้องหลับตาดู” ท่านดูพวกเราไม่ได้นะ เพราะพวกเรามันทำอะไรมันผิดๆ พลาดๆ อยู่ แต่พวกเราไม่รู้ ต้องหลับตาดู

แต่ถ้าเราไม่รู้ตัวของเราเอง ทีนี้พอเราไม่รู้ใช่ไหม พอเราไม่รู้เราแสดงออก เรารู้อะไรเราก็แสดงออกไปตามนั้น แล้วแสดงออกไปตามนั้น มันแสดงออกไปด้วยความมั่นใจด้วยว่า เรานี้รู้จริง พอเราแสดงออกด้วยความมั่นใจนั้นน่ะ ผิดร้อยทั้งร้อยเลย!

พูดคำเดียวกัน.. แต่ผิด!

เวลาพูดกับพระไง แล้วพระเขาสงสัย เราพูดคำนี้กับพระ พระเขาสงสัยนะ เราบอก “กิน รับประทาน เสวย” แล้วอันไหนถูก เขาตอบกันใหญ่นะ “อันโน้นถูก อันนี้ถูก อันนั้นถูกนะ” เราบอกว่า “ผิดหมดเลย”

“กิน” นี่มันเป็นสมมุติใช่ไหม “กิน” ภาษาเขียนใช่ไหม

แต่ถ้าเราเอามือหยิบอาหารใส่ปาก นี่คือ “กิน” คือเราได้กินจริงๆ มันเป็น “กิน”

แต่เราเขียน “ก. ไก่ สระ อิ น. หนู” แล้วเอ็งได้กินหรือยัง เอ็งได้กินกันหรือยัง มันเป็นตัวอักษรใช่ไหม เราถึงบอกว่ามันผิดหมดไง นี่ทฤษฎีเป็นอย่างนั้นน่ะ เขียนเลย “ก. ไก่ - สระ อิ – น. หนู” กับ “เราหยิบอาหารใส่ปาก” อันไหนถูก

ไม่ได้เขียนใช่ไหม แต่เอาอาหารใส่ปากนี่ถูก เพราะมันได้กิน มันได้ลิ้มรสจริงๆ แต่เราไปเขียนคำว่า “กิน” แล้วเราก็ไม่เคยกิน แล้วก็คำว่ากินว่าถูกไหม ถูก.. เพราะสังคมเขายอมรับว่า “กิน” เขียนอย่างนี้ แต่เขาเคยได้กินหรือยัง

เราถึงว่า “ผิดหมดไง” แต่เขียนหนังสือถูกไหม ถูก.. เอ็งก็เขียนสิ เขียนเลย แล้วเอ็งไม่ได้กินสักคำ เอ็งว่าเอ็งถูกหรือยัง ก็ผิดไง.. เราถึงบอกว่า “อักษรที่เขียนทั้งหมด คำกิริยาทั้งหมด”.. ผิดหมด!

แต่ถ้าได้กินแล้ว กินจริงๆ แล้วถึงจะถูก แล้วมาเขียนอธิบายได้ด้วย กิน.. “โอ้โฮ วันนี้กินแกงไก่ รสชาติเป็นอย่างนั้นๆๆ” กิน! แต่ไม่รู้กินอะไร.. กินลมไง ลม.. “โอ้โฮ กินแล้ว”.. ลม รสชาติอย่างไรไม่รู้.. ก็กินลม

นี่เราไปยึดกันอย่างนั้น แล้วพอเขียนเป็นหนังสือเขาก็เขียนกันๆ แล้วเขียนออกมานี่ผิดหมด ผิดหมดเพราะอะไร คนไม่เคยกิน เขียนคำว่า “กิน” เขียนมาถูกไหม ถูก! แต่พอถูกปั๊บ เราเขียนคำต่อไปอธิบายไงว่า “กินอะไรๆ” มันจะผิด

นี่ก็เหมือนกัน มรรค ๔ ผล ๔ “มรรค ๔ ผล ๔.. มรรคเป็นอย่างนั้นๆๆ” เขียนมาถูกไหม ถูก! แต่อธิบาย พออธิบายปั๊บ.. ผิด นี่เทศน์ ที่ว่าเทศน์ถูกเทศน์ผิดคือตรงนี้

แล้วมันบางทีมันชัดเจนมากนะ เสียเวลาเปล่า”

แล้วดูหลวงตาสิ ดูหลวงปู่มั่นสิ ท่านทำสมาธิหรือเปล่า

แล้วตอนนั้นมันยังไม่มีใครโต้แย้งไง เพราะตอนนั้น.. เพราะเราดูนะ ดู.. เช่นประวัติหลวงปู่เสาร์ มีหลวงปู่เสาร์ก่อน แล้วหลวงปู่เสาร์เอาหลวงปู่มั่นไปบวชเป็นเณรแล้วสึกไป แล้วกลับมาบวชใหม่ แล้ว ๒ คนปรึกษากัน ๒ คนชวนกันออกธุดงค์

คือในสังคมนี้ไม่มีใครยอมรับเลย ไม่มีใครรับรู้ว่าเรื่องการปฏิบัติมี เขาไม่เชื่อมรรคผลนิพพานมี เขาไม่เชื่อหรอก พระก็อยู่กันไปอย่างนั้นน่ะ พระก็คือเราบวชเป็นพระกันน่ะ

แล้ว ๒ คนปรึกษากัน..

เราจะบอกว่า “มันไม่มีใครโต้แย้งไง” เพราะมันยังไม่มีสังคมเชื่อถือศรัทธาใช่ไหม มันยังไม่มีการยอมรับการศรัทธา ไม่มีใครโต้แย้ง แล้วพอหลวงปู่เสาร์ เวลาท่านธุดงค์ไป ท่านธุดงค์ไป มันมีแม่ชีไป แล้วก็มีปะขาวไป

“เอ๊ะ.. ครอบครัวนี้ไปไหนกัน”

นี่คำนี้เป็นคำพูดของครูบาอาจารย์ที่อุปัฏฐากหลวงปู่เสาร์ท่านพูดไว้ บอกเมื่อก่อนนะ “ผ้าสีกรัก” เมื่อก่อนนะ พระก็ห่มผ้าสีเหลืองกันอย่างนั้นน่ะ พอห่มผ้าสีกรักนี่เขาตื่นเต้น เขากลัว เขาว่าเป็นผีปอบ

ในประวัติในที่หลวงตาเขียน เวลาเห็นพระกรรมฐานมา ชาวอีสานเรานี่ทิ้งหาบทิ้งอะไรวิ่งหนีกันเลย เพราะมันเป็นอย่างนั้นใช่ไหม สังคมยังไม่มีการยอมรับใช่ไหม ในทฤษฎีต่างๆ ในการแสดงออกมันถึงไม่มีการโต้แย้ง

แต่พอศาสนา พอหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นวางหลักไว้ ๑ ชีวิตคน

๑ ชั่วชีวิตของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นรุ่นแรก

รุ่นที่ ๒ หลวงปู่แหวน หลวงปู่ฝั้น ครูบาอาจารย์ หลวงปู่ขาว อีกช่วงชีวิตหนึ่ง

แล้วนี่มาถึงหลวงตาใช่ไหม นี่ชั่ว ๒ ชีวิตคน

ไอ้พวกเรานี่รุ่นหลาน เราจะเป็นรุ่นที่ ๓! รุ่นที่ ๓ นี่เป็นอีกชั่วชีวิตคน ถึงจะทำให้สังคมนี่ยอมรับกันได้ ไปแล้ว ๒ ชั่วชีวิตคนนะ สังคมถึงยอมรับศรัทธานะ

ในหนังสือในธรรมะของหลวงตา ท่านจะบอกเลย บอกว่า “ความอยากที่เป็นมรรคนี่มี” “มรรค ความอยาก ความเพียรชอบ” นี่เป็นมรรค แต่เดิมทางวิชาการบอกว่า “ความอยาก เป็นกิเลสหมด” ตีว่า “ความอยากนี้คือกิเลส” แล้วพอหลวงตาบอก “ความอยาก เป็นมรรคก็มี”

๑ ชั่วชีวิตคนนะ หลวงตานี่เขียนหนังสือแล้วเทศน์ทั้งชีวิตเลยนะ ยืนยันว่า “ความอยากที่เป็นมรรค อยากประพฤติปฏิบัติ อยากทำดีนี่เป็นมรรค ไม่ใช่เป็นกิเลส.. เป็นมรรค”

เราอยากทำดี เราขวนขวายการทำความดี นี่เป็นความดี ไม่ใช่กิเลส แต่ถ้าเราอยากเสเพล อันนั้นเป็นมรรค เราอยากทำต่างๆ เราอยากแต่เราไม่ทำ.. นั่นก็ยังไม่ใช่มรรค

จนเดี๋ยวนี้ เพราะเราดูทางวิชาการ เสฐียรพงษ์ วรรณปก อะไรนี่ ๙ ประโยค เขาบอกเลย เขาเขียนหนังสือนะ เขาเขียนคอลัมน์ เขาบอกว่า “สังคมชาวพุทธตีความหมายคำว่า “อยาก” ผิดมานาน”

แต่เดิมเขาก็โต้แย้งนะ เขาบอกว่า “อยาก.. มันเป็นกามฉันท์”

กามฉันท์ คือความพอใจ ความอยาก อยากกลางๆ ไม่ใช่กิเลส กามฉันท์กับกามราคะ เขาถึงเริ่มยอมรับแล้วว่า “ความอยาก อยากในคุณงามความดี ไม่ใช่กิเลส” แล้วเราก็ย้อนกลับ ย้อนกลับมาถึงผู้ที่จะยืนจรรโลงอันนี้ไว้ “คือหลวงตา คือผู้รู้จริง”

สังคมทั้งสังคมเห็นผิดกันหมดแล้ว กระแสนี่มันไปตกแล้ว แต่เพราะหลวงตาเทศน์ย้ำแล้วย้ำเล่าๆ แล้วหาเหตุหาผลมาโต้แย้ง หาเหตุหาผลมาอธิบายว่า “ความอยากอย่างนี้ การทำความดีอย่างนี้ การกระทำอย่างนี้ มันจะเป็นกิเลสไปได้อย่างไร ในเมื่อเราขวนขวายทำแต่สิ่งที่ดีๆ ”

เราก็ย้อนกลับไปในทางอภิธรรมบอก “อยาก.. ไม่ได้ อยาก.. เป็นกิเลส อยาก.. เป็นกิเลส ห้ามมีความอยากเลย” ห้ามมีความอยากเลยมันก็ทำให้มนุษย์เราเหมือนกับธาตุ

อย่างที่ว่า “โต๊ะนี่มันไม่ทำร้ายใครเลย มันไม่มีอารมณ์ความรู้สึก” แต่ในเมื่อเรามีอารมณ์ความรู้สึก เรามีการเคลื่อนไหว เช่นเราหิวกระหาย เราก็อยากได้น้ำมาดับความกระหาย แล้วถ้าลุกไปเอาน้ำมาดับความกระหาย มันเป็นกิเลสเหรอ มันเป็นความต้องการใช่ไหม

แต่ถ้าเราอยากกินเหล้า เราอยากเสเพล อันนั้นแน่นอน เพราะว่าพวกอบายมุขทำให้ร่างกายเราเสียหาย แล้วเราเสียเงินด้วย

จะบอกว่า “ธรรมะมันละเอียดอ่อนมาก” แล้วเราใช้กิเลสเข้าไปจับ เราเลยแยกไม่ออกไงว่าอะไรเป็นถูกเป็นผิด เหมือนมีด ๒ คม มีดเหมือนมีด เหมือนสิ่งใด เอาไว้ทำอาหาร ทำสิ่งต่างๆ ก็เป็นประโยชน์ เอาไว้ฆ่าคนมันก็เสียหาย

นี่ย้อนมาตรงนี้ ไอ้แค่นี้เอง แค่เส้นแบ่ง ไอ้เส้นยาแดงผ่าแปด เล็กๆ นี่ แล้วมันจะแบ่งกันอย่างไร ฉะนั้นพอแบ่งไม่ได้ปั๊บ เราประพฤติปฏิบัติ เรามีความเชื่อใช่ไหม พอเราปฏิบัติมันก็ต้องลองผิดลองถูกไง ทีนี้การลองผิดลองถูก มันมีอันหนึ่ง คือมันมีอุปาทาน มีความยึดมั่นถือมั่นของเรา พอมีความยึดมั่นของเรา พอเราไปเห็นอะไรพิลึก อะไรแปลกประหลาดกว่าความเห็นทั่วไป เราจะยึดว่าเป็นธรรมไง อันนี้สำคัญ

แต่ถ้าเราไม่ยึดนะ เราเห็นอะไรนะ เราปล่อยวางไว้ แล้วสังเกต ตั้งสติไว้ แล้วรู้ ถ้ามันไม่จริงนะ มันอยู่กับเราไม่ได้ ถ้ามันจริงนะ ของจริงไง ดูสิ อย่างเช่นของจริง เหมือนทองคำ เราจะหลอมขนาดไหน เราจะเอาไฟเผาขนาดไหนนะ มันยิ่งสุกยิ่งสะอาด ถ้าเป็นความจริงนะ ถ้าเป็นสมาธิ เราตั้งสติดีๆ โอ้โฮ.. มันจะชัดเจน มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ

แต่ถ้าไม่ใช่นะ มันทำให้เราสงสัย คือเหตุปัจจัย “เอ.. เอ.. ” มันมีอะไรอยู่ก้นบึ้งในใจ มันจะมีความสงสัยอยู่ แล้วเราพิจารณาของเรา ตั้งสติของเรา เรากลั่นกรองของเราได้ จริงๆ ถ้ามีสติหน่อย แต่เราจะบอกว่าอย่างนี้ ถ้าคนจะมีความรู้สึกอย่างนี้ ความคิดอย่างนี้นะ เราจะบอกว่า “มันจะมีจุดยืน คือมีบารมีมาบ้าง” แต่พวกเรานี่มันมีบารมีเหมือนกัน มีบารมีมาสนใจ แต่จุดยืนไม่ค่อยดี พอจุดยืนไม่ค่อยดี พอมีอะไรมาปั๊บ มันจะไหลตามไป มันจะเชื่อสิ่งนั้นไปๆ

ถ้าเชื่อสิ่งนั้นไป.. ตรงนี้! เลยต้องมีอาจารย์คอยบอก ขณะที่เราเห็นนะ แล้วเราเชื่อไปแล้ว ดูสิ ทำไมหลวงปู่มั่นท่านจะบอกว่า “ผิด.. ผิดอย่างนั้นนะ.. ผิดๆๆ” แต่เราก็ยังเห็นถูกอยู่ เห็นถูกอยู่เพราะมันความเห็นของเรา แต่ต่อไปจะผิด ถ้าเรารู้ของเรานะ

แล้วทีนี้พอไม่มีหลัก ไม่มีผู้รู้จริง ไม่มีหลัก ก็ต้องยึดตำรากัน แล้วถ้าพูดเข้าตำรา “กิน” ใช่ไหม.. ถูกต้อง “ก. ไก่ - สระ อิ - น. หนู” จริงๆ เลย แต่ไม่มีใครเคยเอาข้าวใส่ปากสักคำเดียว รสชาติของกินไม่มีใครรู้ แต่เขียน “กิน” ถูกกัน แล้วก็ว่ากันไปตามเกณฑ์นั่นน่ะ

โลกก็เป็นไปประสาอย่างนั้น ในภาคปฏิบัติตอนนี้จะเป็นอย่างนั้นเกือบหมดเลย นะ.. อันนี้พูดถึงความเห็นนะ แล้วทีนี้จะเข้าปัญหาแล้ว

ถาม พระอรหันต์ที่ท่านจะละขันธ์ไปแล้ว ขณะที่เป็นธาตุรู้อยู่นั้น ท่านยังมีอาการของจิตเกิดขึ้นอีกหรือไม่

หลวงพ่อ ถ้าเป็นปริยัตินะ ตอบจ้อยๆๆๆ ไปเลยน่ะ แต่ถ้าเป็นปฏิบัตินี่รู้จริง เห็นไหม ฟังนะ.. ฟัง! เพราะคำถามนี่มันตอบในตัวมันเองจบไปแล้ว คือคำถามนี่มันถามผิด

ถาม พระอรหันต์ที่ท่านละจากขันธ์ไปแล้วขณะที่เป็นธาตุรู้อยู่นั้นท่านยังมีอาการของจิตเกิดขึ้นอีกหรือไม่

หลวงพ่อ อาการของจิต.. พระอรหันต์.. ดูนะ พระอรหันต์ เวลาพิจารณาไปแล้ว มันจะทิ้งขันธ์มา.. ขันธ์ คือความคิด ความรู้สึกเรา รูป อารมณ์ความรู้สึก ความคิด เวทนา นี่เป็นขันธ์.. ขันธ์ ๕ ไง.. ขันธ์ ๕

“ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕.. ไม่ใช่จิต”

“ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕.. ไม่ใช่จิต”

ตัวจิต.. “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส”

แล้วพอจิตเดิมแท้.. ตัวจิตเดิมแท้ทำลายตัวจิตเดิมแท้ พระอรหันต์ถึงไม่มีจิต แต่มันเป็นคำสมมุติ ถ้าบอกไม่มีเลยจะเอาอะไรมาพูดกันใช่ไหม เขาว่า “จิตพระอรหันต์” แต่ถ้าพูดถึง “จิตพระอรหันต์” แสดงว่าพระองค์นั้นเลินเล่อ

แต่ถ้าหลวงตาท่านบอกว่า “ธรรมธาตุ” มันเป็นสัจจธรรม.. ไม่ใช่จิต ถ้าเป็นจิต มันเป็นภพไง “เป็นจิต” เหมือนกับเรา เรามันมีสัญชาติ

ตัวจิต คือตัวพื้นฐาน ตัวพลังงานไง ตัวพลังงาน คือตัวภพ

เราจะบอกว่า “จรวดยิงออกจากฐาน ความคิดมันมีฐานของมัน” ตัวจิต คือตัวฐานของความคิด ถ้ายังมีตัวฐานอยู่ คือตัวภพ ถ้าตัวภพ อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ ตัวจิตนี่ตัวผู้ทำลายตัวมันเองถึงเป็นนิพพาน ถ้าตัวจิตมันทำลายคนอื่นมา ทำลายขันธ์มา ทำลายอสุภะมา ทำต่างๆ มา ทำจนมันสะอาด

ที่หลวงตาบอกว่า “จิตมันทำลายเข้ามาหมดเลย โลกนี้ว่างหมดเลย” ก็นึกว่าเป็นพระอรหันต์ พอพระอรหันต์ มันก็มันมาสงสัยไง “มัน.. เอ.. ทำไมมันยังเศร้าหมอง มันยังผ่องใสอยู่” แล้วพอย้อนกลับเข้ามา.. ย้อนกลับเข้ามา.. พอทำลายความว่าง.. ทำลายความว่าง..

เราบอกว่า “พระอรหันต์คือความว่าง ธรรมะคือความว่าง”

แต่หลวงตาบอก “ต้องทำลายความว่าง” พอทำลายความว่างไปแล้ว ความว่างเหมือนกองขี้ควายไง

“กองขี้ควาย” หลวงตาเทศน์คำนี้บ่อยเลย “ความว่างเหมือนกองขี้ควาย” เพราะเราไปติดในความว่างนั้น พอผ่านจากความว่างนั้นไปแล้ว “พูดไม่ได้” พอพูดไม่ได้ เพราะมันทำลายตัวภพไง มันทำลายตัวว่ารู้ว่าว่างไง แล้วว่า “ว่างหมดเลย ทุกอย่างว่างหมดเลย” ว่างข้างนอก แต่ตัวในรู้ เพราะตัวในมันไปรู้ว่าว่างไง

พอมันทำลายความว่างตัวนี้ไง พอทำลายตัวว่างคือทำลายตัวฐานไง อย่าว่าแต่ตัวจรวดเลย ฐานยิงจรวดโดนทำลายแล้ว มันจะเอาจรวดไปตั้งไว้ที่ไหน จรวดที่จะยิงออกไป ไปตั้งไว้ที่ไหน เพราะไม่มีฐานตั้ง จรวดนอนอยู่ จรวดมันจะติดตัวมันเอง มันจะยิงไปในตัวมันเองไปเหรอ ถ้าจรวดไม่มีตัวฐานยิง ตัวจรวดจะออกไปได้อย่างไร

ความคิด ถ้าไม่มีฐานที่ตั้ง ไม่มีตัวจิต.. ความคิดมันอยู่ที่ไหน

อ้าว.. พวกเราเวลาคิด มันจะคิดออกไปจากเรา แล้วถ้าไม่มีเราไม่มีอะไรเลย ความคิดมันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร มันเกิดขึ้นไม่ได้ขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณ แล้วพอจิตมันหลุดออกไปแล้ว พอจิตมันหลุดออกไปแล้ว มันเป็นธรรมะแล้ว มันเป็นนิพพานแล้ว

นี่ไง แต่เดิมเวลาเราอธิบายบ่อย แล้วพวกเราจะงง มีคนถามบ่อย ถามว่า “สติกับจิตเป็นอันเดียวกันไหม ” สติกับจิต.. “สติเกิดจากจิต ไม่ใช่จิตนะ” สตินี่เกิดจากจิต

ถ้าสติเป็นจิตนะ พวกเราจะไม่เผลอเลย เพราะพวกเราเกิดมานี่มีจิต พวกเรานี่มีจิตนะ มีความรู้สึกไง มีจิตวิญญาณอยู่ในร่างกาย ถ้าสติเป็นจิตนะ พวกเรานี่จะไม่เผลอเลย เพราะจิตมันมีอยู่ตลอดเวลา จิตจะไม่มีต่อเมื่อเราตาย แม้แต่คนบ้าก็มีจิต คนบ้าไม่มีสติ แต่ก็มีจิต แต่พวกเรามีสติ เราก็มีจิตอยู่

ฉะนั้นเราจะฝึกสติ เหมือนเราระลึกขึ้นมา “ความระลึก” นี่คือตัวจิต คือสติ ระลึกขึ้นมาเดี๋ยวก็เผลอ เดี๋ยวก็ลืม เดี๋ยวก็เผลอ เดี๋ยวก็ลืมไง

แต่ถ้าวิปัสสนาไปเรื่อยๆ มันเป็นสติ-เป็นมหาสติ จนมันมีปัญญาฆ่ากิเลสไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุด ถ้ามันทำลายผู้รู้ว่าว่าง เลยกองขี้ควายเข้าไปแล้ว “สติกับจิตเป็นอันเดียวกัน” สติกับจิตกับพระอรหันต์เป็นอันเดียวกัน อันเดียวกันเพราะอะไร เพราะธรรมธาตุนั้นน่ะ ธรรมธาตุมันจะเข้ามานี่ไง

ถาม ที่ว่า “ท่านยังมีอาการของจิตเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ”

หลวงพ่อ อาการของจิตนี่ไม่มี แต่ขณะที่ “มโนวิญฺ?าเณปิ นิพฺพินฺทติ มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ” ในอาทิตตปริยายสูตร “มโน” คือจิต ในอนัตตลักขณสูตร “รูปสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญฺ?ายปิ นิพฺพินฺทติ สงฺขาเรสุปิ นิพฺพินฺทติ วิญฺ?าณสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ” ละขันธ์ ๕ แล้วถึงนิพพาน.. ไม่ใช่

แต่ใน อาทิตตปริยายสูตร มโนวิญฺ?าเณปิ นิพฺพินฺทติ มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ มโนสัมผัส ความสัมผัสของจิต

“นิพพินทติ” คือผลที่เกิด ทิ้งๆๆๆๆ หมด พอทำลายหมดแล้ว พอทำลายหมดไปแล้วมันพ้นจากมโนไป ทีนี้พอพ้นจากมโนไป มันก็เป็นนิพพาน แล้วมีอาการของจิตอีกไหม ไม่มี! ไม่มีทั้งสิ้น! นิพพานคือนิพพาน พ้นจากสมมุติทั้งหมด ถ้านิพพาน คนรู้นิพพานจริงต้องลุกขึ้น เม้มปาก แล้วนั่งลง นั้นคือนิพพาน ถ้ายังอ้าปากจ้อยๆๆ อยู่.. สมมุติหมด

เพียงแต่ในแวดวงของกรรมฐาน เวลาครูบาอาจารย์ท่านจะอธิบาย อธิบายโดยสมมุติไง อธิบายโดยสมมุติก็เข้าอันนี้ “สติกับจิตเป็นอัตโนมัติ” สติกับธรรมธาตุเป็นอัตโนมัติเพราะอะไร เพราะมันอยู่ในตัวของมันเอง แล้วเวลามันจะสื่อสาร มันจะคิดไง นี่ที่ว่าเสวยอารมณ์ มันกระเพื่อม นี่ธรรมธาตุมันกระเพื่อมมันไหว ถ้ามันกระเพื่อมมันไหว นี่คืออะไร

เราขยับตัว เรารู้สึกตัวเราไหม ถ้าเราขยับตัว เราต้องรู้สึกตัวใช่ไหม แล้วจิตมันกระเพื่อม จิตมันไหวตัว มันจะมีสติไหม นี่ไง สติกับจิตถึงเป็นอันเดียวกันเฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น

แต่เวลาฝึกขึ้นมา สติไม่ใช่จิต! สติไม่ใช่จิต! จิตก็ไม่ใช่สติ! มันต้องฝึกฝนขึ้นไปก่อนไง แต่ถึงที่สุดแล้ว “สติกับจิตเป็นอันเดียวกัน” แต่ต้องเป็นพระอรหันต์ เพราะมันกระเพื่อม พอกระเพื่อม มันก็เสวยอารมณ์

อย่างเวลาเราพูด อย่างพระโสดาบัน “โสดาปัตติมรรค” ทำไมถึงเป็นโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติมรรคก็เพราะมันต้อง.. มันเห็นๆ เห็นจิตเสวยอารมณ์

จิต.. อาการของจิต.. จิตเห็นจิตไง จิตเห็นจิตนะ จิตเห็นอาการของจิต แล้วพิจารณาวิปัสสนาไปเป็นพระโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคาขึ้นไป

“จิตเห็นจิต แล้วทำลายจิต” สุดท้ายต้องทำลายจิต ถ้าไม่ทำลายจิต เป็นพระอรหันต์ไม่ได้

เราจะพูดอย่างนี้นะ คำถามอย่างนี้ ต่อไปเราจะไม่ค่อยตอบแล้วล่ะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่ามันเป็นคำถามที่ว่า “เหนือความรู้สึกของคนปฏิบัติ” เพราะเราปฏิบัติแค่ให้จิตสงบ แล้วประพฤติปฏิบัติเป็นขั้นตอนไป เราก็โอเค เราอยากตอบปัญหาอย่างนั้น เราไม่อยากตอบปัญหาสุดวิสัยที่พวกเรายังไม่ถึงกัน แต่นี้มันปัญหาขึ้นมา เราก็จะตอบ

แต่ทีนี้ต่อไปเราจะพูดไง ถ้าปัญญาอย่างนี้ เราจะตอบเป็นธรรม เป็นธรรมหมายถึงว่าฟังกันเป็นการรื่นเริงอาจหาญ แต่จะตอบเหมือนกับคนไข้ พวกเราเป็นแค่ปวดหัวตัวร้อนไง แต่จะกินยามะเร็ง มันก็ไม่ใช่ใช่ไหม เราปวดหัวตัวร้อน เราก็ต้องกินยาพาราฯ กันใช่ไหม

ไอ้นี่ปวดหัวตัวร้อนนะ จะเข้าห้องผ่าตัด จะเปลี่ยนหัวใจกันน่ะ ปัญหามันเป็นอย่างนั้น ถ้าปัญหานะ มันตอบแล้วเป็นประโยชน์ เราก็จะตอบ ถ้าอย่างนี้มันถ้าปัญหาอย่างนี้ต่อไปนะ เราจะตอบ อยากจะตอบว่า “เราภาวนาไป แล้วเจออะไร ทำแล้วเป็นอย่างไร ” เราอยากตอบปัญหาอย่างนั้น

อันนี้เวลาเราพูดถึงธรรมะ เราพูดถึงอย่างนั้นปั๊บ เราอยากจะตอบว่าเหมือนกับว่า “อยากให้มั่นใจว่าเวลาปฏิบัติบอกมีปัญหา ให้มีปัญหามา เราจะแก้ว่ะ” ถ้าเราจะแก้คือว่าเราสามารถแก้ได้ ว่าอย่างนั้นเถอะ จะปัญหาอะไรมา ทำมาเถอะ เพราะว่าเราก็รู้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าถ้าตอบไปอย่างนี้เรื่อยๆ เราก็จะปีนบันไดกันทุกวัน ปัญหามันเป็นปัญหาไอ้นั่น.. ไอ้นี่ข้อที่ ๑ นะ ยังมีข้อที่ ๒

ถาม ข้อที่ ๒ ขณะที่ธาตุรู้อยู่ล้วนๆ ไม่มีอวิชชาครอบงำ ก็ไม่ใช่เรา เป็นสักแต่ว่าธาตุรู้เท่านั้น ที่ว่าเป็นเราเป็นเขา ก็คือกิเลส กิเลสหลอกว่าเป็นเราใช่หรือไม่ ขอความกรุณาหลวงพ่อช่วยอธิบายให้เข้าใจถึงใจด้วยค่ะ

หลวงพ่อ พูดกรณีอย่างนี้มันก็เหมือนกับที่พูดทีแรก พูดทีแรกที่ว่าพูดถึงธรรมะที่ว่า “เป็นธาตุ เป็นขันธ์” จริงๆ อยู่แล้ว มันเป็นอย่างนี้จริงๆ มันเป็นที่ว่า “ไม่ใช่.. ธาตุรู้นี่นะ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา” ถ้ามันไม่ใช่ นี่มันไม่ใช่ ไม่ใช่เพราะเป็นสมมุติไง

อย่างเช่น อย่างเรา นาย ก. เราไปที่อำเภอ เราไปเปลี่ยนเป็น นาย ข.

นาย ก. หายไปไหน มันไม่ใช่ใช่ไหม เราสมมุติขึ้นมา “ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา” มันเป็นสัจจะความจริงอันหนึ่ง แต่เราอยู่ในโลกสมมุติ มันก็ต้องสมมุติว่าเป็นนั่นเป็นนี่เพื่อสื่อสารกัน เราจะสื่อสารกันนะ อย่างไอ้พวกสื่อที่เขาทำมาหากินกัน เขาสื่อเพื่อความรับรู้ใช่ไหม

“ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา” อันนี้มันเป็นธรรมะหยาบๆ นะ

แต่ถ้าเวลามันเป็นจริงแล้ว อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ “ลุกขึ้นยืน แล้วเม้มปาก แล้วนั่งลง” ในเมื่อเรายังไม่ใช่เราเลย ในเมื่อธาตุรู้มันยังไม่มี แล้วมันจะเป็นเราได้อย่างไร

แล้วทีนี้คำว่าเราว่าเขา มันเป็นโวหาร เอามาโม้เล่นกันนะ เอามาคุยอวดกันว่ากู..

เหมือนอภิธรรมนะ เรามีเพื่อนอยู่ เขาคุยให้เราฟังอยู่ เขาบอกพวกนี้พอเจอกันปั๊บ เขาจะตั้งโต๊ะ ตั้งกาน้ำชา แล้วก็นั่งถกกันอย่างนี้ นั่งถกว่า “ใคร.. ปรัชญาใครจะลึกซึ้งกว่า ใครจะอธิบายได้มากกว่า” แล้วก็นั่งซื้ดซ้าดๆ กันน่ะ ก็เท่านั้นนะ! เท่านั้นเอง! มันเป็นตรรกะ ใครมาพูดตรรกะกันไง

เหมือนกับพวกปรัชญานั่งคุยกัน “ก็นี่ถ้าไม่ใช่เรา” ไม่ใช่เราเพราะอะไร ก็คุยโม้กันไป “ไม่ใช่สัตว์” พอไม่ใช่สัตว์ ก็มันไม่ใช่สัตว์ ก็เป็นคน ก็มันก็ไม่ใช่สัตว์ “ไม่ใช่บุคคล” เห็นไหม อธิบายเป็นอย่างนี้ไง

แต่ถ้าความจริง เหมือนกับคำว่า “กิน” นั่นน่ะ “กิน” ถ้าได้เอาอาหารใส่ปาก เรารู้รสอยู่ นั่นคือกิน แต่ “ก. ไก่ – สระ อิ..” ก็คือเขียนว่า “กิน” “ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล” ก็อาการของใจคิด อาการของใจพูดไง แล้วเป็นสัตว์ไหม เป็นทั้งตัวเลย เป็นทั้งตัวตรงไหน ตัวจิตนี่ไง ตัวฐานที่ยิงจรวดนี่ไง

ตัวจรวด คือความคิดนะ ตัวจรวด คือ “รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ” มันออกไปจากจิต ทีนี้ถ้าไม่มี “รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ” คือไม่มีจรวด แล้วตัวฐานยิงยังมีไหม ตัวฐานยิงเขาต้องสร้างไว้ที่ตั้งประจำเลยใช่ไหม แล้วจะยิงจรวด เขาก็เอาจรวดไปติดฐานแล้วยิงออกไปใช่ไหม แต่ฐานของเรามันเคลื่อนอยู่กับเรา

ในเมื่อเดี๋ยวเกิด เดี๋ยวดับ เดี๋ยวคิด เดี๋ยวไม่คิด มันอยู่กับเรา ฐานความคิด นี่ภพไง “กิเลสวะ อวิชชาสวะ ภวาสวะ” ภพ ชาติ ภวาสวะ ตัวภพคือตัวจิต ตัวที่เรารู้อยู่ มันจะอยู่กับเราตลอดเวลา ทีนี้มันอยู่กับเราตลอดเวลา นี่ไง “ตัวฐานยิงไง” ตัวนี้ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา

ขณะที่มันปล่อยความคิดแล้ว มันเป็นไหม มันก็เป็นทั้งตัวไง แล้วต้องไปทำลายภพ นี่ไง พอทำลายแล้ว ที่ว่า “ความว่างเป็นกองขี้ควายไง” เวลาท่านพูดนะ ท่านพูดเป็นขั้นตอนนะ แต่ถ้าเราภาวนาไม่ถึงนะ เราจะสร้างอารมณ์ สร้างสัญญาอารมณ์ แล้วก็พยายามเคลมว่า “เป็นขั้นนั้น.. ขั้นนั้น.. ขั้นนั้น.. ขั้นนั้น.. ” พวกเรานี่จะเคลมเลย สร้างความคิดไง

ที่ว่าพิจารณากายไง อย่างที่ว่าในวงกรรมฐาน ที่พูดไว้ “เห็นกายรอบหนึ่ง พิจารณารอบหนึ่ง เป็นโสดาบัน” ถ้าถามคนเป็นนะ “ไม่เป็น” เพราะอะไร เพราะคนที่เห็นมันรู้ เราเห็นกายก็จริงอยู่ แต่กิเลสเราไม่ได้ละเลย เราจะรู้ของเรา แล้วเห็นจริงไหม “เห็นจริง” นี่ไง มันเห็นโดยสามัญสำนึก เห็นโดยกิริยา เห็นโดยจิตที่มันเป็น แต่มันไม่เป็นมรรค

ถ้ามันเป็นมรรคนะ มันจะมีสติ มันจะมีสมาธิ แล้วมันควบคุม

เหมือนเราทำงานเลย เห็นไหม เล่นเกม เล่นคอมพิวเตอร์ กดมันจะเป็นตามเกมกดที่เราอยากกดให้มันเป็นไป จิตก็เหมือนกัน ให้มันแปรสภาพ ให้มันวิภาคะ ให้มันแยกส่วน-ขยายส่วน มันจะแยกของมันไป ถ้ากำลังมันพอมันเป็นไป ไอ้เกมนี่ถ้ามันกดแล้วไม่ลง เหมือนนี่ถ่านอ่อนก็เปลี่ยน แต่ถ้าเป็นจิต.. มันไม่ใช่ สมาธิไม่ดี นี่ถ่านอ่อน แล้วมึงจะเอาอะไรไปเปลี่ยนมัน..

ก็พุทโธไง! “พุทโธ” สติย้ำเข้าไปๆๆ ถ่านมันก็มากขึ้น แล้วพอมากขึ้นปั๊บ เดี๋ยวมันก็ไปทำได้อีก แล้วพอทำได้ไป ทำไปๆ..

พระนะ เขาตรวจสอบกันตรงนี้ ตรงจุดสรุป ตรงสิ้นสุดโครงการ เป็นโสดาบันอย่างไร เป็นสกิทาคาอย่างไร เป็นอนาคาอย่างไร เป็นพระอรหันต์อย่างไร

ถ้าไม่เป็น สรุปไม่ได้ ทำงานน่ะ ทำงานจบไม่เป็น เวลาพูดธรรมะนี่จ้อยๆๆ เลยนะ แต่สรุปไม่เป็น สรุปไม่เป็น

เหมือนทนาย เหมือนศาล สรุปฟ้องไม่ได้ ไม่มีประโยชน์หรอก ศาลไม่รับฟ้อง ศาลวินิจฉัยไม่ได้ ไม่จบ! ไม่จบ! มันจะไปจบกันตรงนั้น ยกฟ้องอย่างไร ถ้ายกฟ้องมันไม่ได้ แล้วตัดสินอย่างไร แล้วมันจบอย่างไร

นี่ถึงว่า “ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล” เราจะพูดว่าอย่างนี้ “มันไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ด้วยปรัชญา ด้วยความคิดก็ได้” อย่างเรา เราใช้ปัญญาคิดว่า “ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา” มันก็มีเหตุมีผล มันก็เชื่อได้ระดับหนึ่ง แต่มันชำระกิเลสไม่ได้ แต่พอจิตมันเข้าไป มันไปเห็นของมัน มันไปชำระของมัน

“ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล” ดูสิ เราไปพูดกับเด็ก เด็กมันไม่รู้เรื่อง “มันก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลนะ” เด็กหัดฝึกพูด มันไม่รู้อะไรเลย มันเป็นสัตว์หรือบุคคลไหม ไปพูดกับมัน มันรู้เรื่องกับเราไหม เด็กเล็กๆ เวลาสอนมันพูด เราไปบอกว่า “ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล” มันก็ “เออ.. ” กับเรานะ แต่มันไม่รู้ความหมายหรอก

เราจะบอกว่า “ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล” มันมีหลายระดับ

หลวงตาถึงบอกว่า “ถ้าขั้นของปัญญา มันกว้างขวางมาก”

ถาม จิตแรกเริ่มเมื่ออวิชชาเกาะเกี่ยวได้อย่างไร ทั้งๆ ที่เป็นจิตที่แสนวิเศษอย่างนั้น

หลวงพ่อ (หัวเราะ)

ถาม จิตแรกเริ่มเมื่ออวิชชาเกาะเกี่ยวได้อย่างไร

หลวงพ่อ มันเกาะเกี่ยวไม่ได้ เห็นไหม เราอ่านหนังสือกันมาก แล้วเราศึกษากันมาก แล้วเราก็คิดกันมาก นี่จินตมยปัญญา จินตมยปัญญาว่า..

ถาม จิตเริ่มแรกที่อวิชชาเกาะเกี่ยวได้อย่างไร

หลวงพ่อ คือว่า “จิตเสวยอารมณ์นี่อวิชชาเกาะได้อย่างไร ” ไม่เกาะ! มันไม่มีอวิชชา!

พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นะ พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ อย่างเช่นพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๔๕ ปี อวิชชามันตายไป ไม่มีอวิชชา ฉะนั้นความคิดของพระพุทธเจ้า ๔๕ ปีนั้นถึงสะอาดบริสุทธิ์ตลอดเวลา

อย่างเช่นที่หลวงตาท่านพูดอยู่ “ท่านมีแต่เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก” ท่านมีแต่เมตตา.. แต่เมตตานะ ไม่ใช่กิเลส

แต่ท่านพูดบอกเรา หลวงตาพูดนะ คำนี้ท่านบอกว่า “เราไม่ต้องการอะไรเลย แต่เราดีดดิ้นมากกว่าทุกๆ คน” หลวงตาท่านไม่มีกิเลส ท่านไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้นเลย แต่ท่านต้องหาเงินหมื่นๆ ล้านเพื่อโลก ท่านสงเคราะห์โลก ท่านสงสารโลก ท่านไม่ได้หาเงินหมื่นๆ ล้านไว้เป็นของตัวเองไง แต่เราก็คิดกันผิด

ถาม จิตแรกเริ่มนี่ไม่มีอวิชชา แล้วมันเกาะเกี่ยวได้อย่างไร

หลวงพ่อ ถ้าคนมองคำว่า “ท่านดีดดิ้น” คือท่านต้องแสวงหา ต้องเทศน์ ต้องชักนำ ต้องพยายามให้คนมาทำบุญเพื่อ..

ทำบุญนี่นะ ถ้าเรามองกันด้วยวิทยาศาสตร์.. เขาโจมตีตรงนี้ เขาโจมตีกันว่า “รากหญ้านี่ทุกข์ยาก แล้วก็เอาเงินของรากหญ้าไปไว้ในคลังหลวง” เขามองว่า “รากหญ้าคือคนทุกข์คนยากไง” คนที่สละทองคำให้หลวงตา ก็คือชาวไร่ชาวนา คนทุกข์คนยาก พวกเราสละเงินทองกันไป ไปให้กับพวกนายทุน เพื่อคลังหลวง เพื่อประโยชน์.. เขามองอย่างนี้ นี่มองแบบวิทยาศาสตร์ไง

แต่ถ้ามองแบบหลวงตา มองแบบพวกเรา มองแบบผู้มีคุณธรรม

“ไอ้เงินน่ะ มันเศษเงิน ไอ้น้ำใจที่มันสละอันนั้นน่ะ.. บุญกุศล! ”

ท่านถึงบอก หลวงตาท่านบอก “ไอ้เงินน่ะ ทุกคนมองว่าหมื่นกว่าล้านคือสิ่งที่แสวงหา”

“แต่ท่านไม่มองตรงนี้ ท่านมองธรรมะ ท่านมองหัวใจไง”

เราพูดกับพระ เวลาเราไปประชุม เวลาพระมันแบบว่ามันทดท้อ เราบอกนะ เราบอกกับพระ เราปลุกปลอบประโลมใจมันน่ะว่า “เวลาไม่มีครูมีอาจารย์ พระโพธิสัตว์เขาต้องแสวงหาเอง เขาต้องทำคุณงามความดีเอง เพื่อสร้างบารมีกัน แต่ของเรา เราแค่ทำตามที่หลวงตาท่านเปิดทาง ท่านชี้นำ ท่านมีธงนำ เราแค่เดินตาม มันง่ายๆ! ”

คือพวกเราได้โอกาส ได้สร้างบุญไง แล้วแต่.. ถ้า..

โทษนะ.. โทษนะ.. ถ้าหลวงตาท่านล่วงไปแล้ว โครงการทุกอย่างปิดหมด แล้วเกิดมีใครคนหนึ่งอยากจะเอาเงินเข้าคลังหลวงนะ มึงไปวิ่งจนตาย มึงก็เอาเข้าไม่ได้ พวกมึงจะไม่มีโอกาสเลย การเข้าคลังหลวง ถ้าไม่แก้กฎหมาย คลังหลวงมันอยู่กันมาตั้งแต่สมัย ร.๕ แต่ถ้ามันแก้กฎหมายไปแล้ว ไอ้เงินคงคลังมันก็หมุนกันไป เราจะบอกว่า “เงินนี่มันมั่นคงไง”

นี่เขาบอกว่า “ทำบุญกับหลวงตานี่ไม่ได้บุญ ทำบุญต้องไปสร้างโบสถ์สร้างวิหาร”

เราถามมันกลับนะ เมื่อก่อนโครงการเกิดใหม่ๆ มีคนมาโจมตีมาก เขาบอกว่า “ทำบุญช่วยชาติๆ ได้บุญอะไร ”

เราก็ถามเลย “ในบุญของในศาสนาคือการสร้างโบสถ์สร้างวิหารใช่ไหม ถ้าสร้างโบสถ์สร้างวิหาร ถ้าไม่มีแผ่นดิน มึงไปสร้างบนอากาศเหรอ มึงสร้างโบสถ์สร้างวิหาร กูลงทุนซื้อแผ่นดินทั้งประเทศให้มึงสร้างนะมึง โบสถ์วิหารน่ะ สิ่งก่อสร้างทั้งหมด ถ้าสร้างอยู่บนกองเงินกองทองที่หลวงตาเอาเงินไปไถ่ประเทศชาติมาให้พวกมึงสร้าง! ได้บุญไหม ”

หลวงตาท่านบอก “นี่ไง มหาบุญ บุญนี้เป็นมหาบุญ.. เราสร้างชาติ เราทำอะไรกัน”

สิ่งนี้คนไปมองที่วัตถุกันหมด แต่ถ้าหลวงตา ท่านมองที่หัวใจ มองที่คนที่เสียสละ มองที่บุญกุศลอันนั้น แต่บุญกุศลอันนั้นมันจะเกิดขึ้นมาได้ด้วยการเสียสละ ด้วยการเสียสละปัจจัย

ทีนี้เสียสละปัจจัย คนไปติดที่เสียสละปัจจัย มันเสียสละไม่ได้ พอเสียสละไม่ได้ เพราะมันก็ตระหนี่ถี่เหนียวใช่ไหม มันก็บอกว่า “เอาเงินของคนทุกข์คนยาก เอาไปไอ้นั่น.. ” ก็เงินของคนทุกข์คนยาก ก็เขาทุกข์เขายาก เขาอยากทำบุญกุศลของเขา เขาอยากจะมั่งจะมี แล้วไม่มีคนชักนำเขา ไม่มีคนชี้นำเขา แล้วเขาจะไปทำอะไรกัน!

นี่ไงๆ หัวหน้าไง หัวหน้าที่สำคัญ เปิดโอกาส สร้างโอกาสให้ แล้วชวนชักชวนกันเข้าไปเพื่อเป็นประโยชน์กับเขา ประโยชน์ของคนเสียสละนะ เงินจะกี่หมื่นล้าน คนละกี่ร้อยกี่พัน เราก็เสียสละไปใช่ไหม

แต่เงินกองนั้นมันไปเป็นสาธารณะประโยชน์ แล้วมันผ่านใคร

ตรงนี้สำคัญมากที่สุดเลย

ถ้าไม่มีหลวงตานะ ไม่มีผู้นำ ไม่มีพระอรหันต์ที่สะอาดบริสุทธิ์ ไอ้เงินนี้มันจะรั่วไหล แล้วเงินนี้มันจะไม่เป็นประโยชน์ แล้วถ้าไม่มีหลวงตาแล้วทำไป มันก็เหมือนกับสมบัติสาธารณะ ถวายสังฆทานกัน ถวายสังฆทานเป็นสมบัติสาธารณะ

แต่สมมุติสังฆทานถวายกับพระอรหันต์มันได้กี่ชั้น เพราะเนื้อนาบุญไง

โธ่.. เมื่อ ๒ วันนี้ที่ออกมาบอกว่า “เทวดา อินทร์ พรหม มาอนุโมทนาน่ะ” ใครจะเห็นไม่เห็นนั่นอีกเรื่องหนึ่งนะ โอกาสอย่างนี้เกิดมาพบก็ส่วนหนึ่ง เกิดมาแล้วพบสมณะ

“สมณะที่ ๑ โสดาบัน สมณะที่ ๒ สกิทาคา สมณะที่ ๓ อนาคา สมณะที่ ๔ พระอรหันต์”

“การเกิดมาพบ.. พบแล้วได้เห็นสมณะ เป็นมงคลอย่างยิ่ง”

แล้วสมณะนั้นน่ะ ช่วยเป็นหัวรถจักร แล้วชักนำพวกเราให้ทำบุญกุศลกับสมณะนั้นน่ะ การได้ทำบุญร่วมกับสมณะนั้น นี่เป็นบุญอย่างยิ่ง! แต่ใครจะการันตีว่า “เป็นสมณะจริงและสมณะปลอมล่ะ ” (หัวเราะ)ใครจะเป็นคนยืนยันว่า “เป็นสมณะแท้หรือว่าไม่แท้ล่ะ ”

มันก็เป็นบุญเป็นกุศลที่จะเชื่อไม่เชื่อ ถ้าเราเชื่อ เราทำของเรา เราก็ได้ประโยชน์ ไอ้ที่ไม่เชื่อมันก็เรื่องของเขา

ถาม นี่เพราะคำว่า “จิตนี้เมื่อไม่มีอวิชชาเกาะเกี่ยว” ไม่มีอวิชชาแล้วเกาะเกี่ยวได้อย่างไร ทั้งๆ ที่เป็นจิตที่แสนวิเศษ

หลวงพ่อ มันไม่เกาะเกี่ยว มันไม่มีเลย.. มันไม่มีเลย..

ดูสิ ดูเวลาพระพุทธเจ้าเย้ยมาร “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา” ความดำริกับความคิด.. เวลาเราคิด จิตกระเพื่อม ถ้าพระอรหันต์นะ จิตกระเพื่อม คือว่าจิตกระเพื่อมหมายถึงว่า “พลังงานที่มันจะทำงาน” จิตไม่กระเพื่อม คือจิตนิพพาน คือจิตที่มันอยู่เฉยๆ คือพลังงานที่นิ่งอยู่ ธรรมธาตุที่นิ่งอยู่ คือพระอรหันต์ นี่นิพพาน

แล้วนิพพาน.. นิพพานก็คือคุณสมบัติของนิพพาน ก็อยู่กับนิพพานนั้น มันก็สุขสบายดีอยู่แล้ว ทีนี้สิ่งที่พลังงานที่เป็นธรรมธาตุ มันสุขสบายดีอยู่แล้ว มันก็อยู่ของมันใช่ไหม นี่ไงถึงบอกว่า “จิตที่เป็นนิพพาน มันแสดงธรรมไม่ได้ มันจะแสดงตัวไม่ได้”

พอแสดงตัวไม่ได้ ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่ “ภาราหะเว ปัญจักขันธา”

“สอุปาทิเสสนิพพาน” พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มันมีภาระ มีขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไง..ขันธ์ ๕ พอมีขันธ์ ๕.. ขันธ์ ๕ มันเป็นสมมุติ นี่ไงสมมุติ ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี่เป็นสมมุติ.. สมมุตินี่ไม่ใช่วิมุตติ

วิมุตติ คือตัวพลังงานที่นิ่งอยู่เฉยๆ ทีนี้พอตัวพลังงานนิ่งอยู่เฉยๆ มันจะสื่อความหมาย มันกระเพื่อม มันจะทำงาน มันจะออกรู้ พอมันจะออกรู้ มันจะออกทำงาน มันจะออกรู้ออกทำงาน พอออกทำงาน มันทำงานกับใคร

ในเมื่อยังมีชีวิตอยู่ มันก็ออกมาเป็นพลังงานที่จะสื่อ.. คือมโน

“มโนเจตนาหาร” อาหาร ๔ ในวัฏฏะ

“กวฬิงการาหาร” อาหารคำข้าวที่เรากินอยู่นี่

“วิญญาณาหาร” ตั้งแต่เทวดาลงมา.. “วิญญาณาหาร”

“ผัสสาหาร” พรหม.. “ผัสสาหาร”

“มโนเจตนาหาร” เขาตีความหมายกันว่า “เป็นเจตนาของมนุษย์”

แต่เจตนาของมนุษย์มันมีกวฬิงการาหารอยู่แล้ว คืออาหารคำข้าวอยู่แล้ว ทีนี้มโนเจตนาหาร นี่ไง จิตที่เป็นวิมุตติมันจะกระเพื่อมออกมาเป็นมโน เป็นมโนก็เป็นเจตนาที่บริสุทธิ์ ไม่มีอวิชชา เพราะอวิชชานี่มันตายไปตั้งแต่มรรคญาณ อรหัตตมรรคทำลายมันหมดแล้ว ทำลายตัวฐานยิงตัวที่ตั้ง มโนคือตัวตั้ง

“มโนวิญฺ?าเณปิ นิพฺพินฺทติ มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ” มันทำลายหมดแล้ว เพราะมีมโน เพราะอะไร เพราะมันมีอวิชชา เพราะมันมีความไม่รู้ พอมันทำลายถึงสะอาดแล้ว มันเป็นความรู้แล้ว

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส”

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส”

พอมันทำลายกิเลสหมดสิ้นแล้ว มันไม่มีอะไรสิ่งใดแล้ว มันเป็นธรรมธาตุ ทีนี้เป็นธรรมธาตุนะ มันก็ไม่ใช่มโน ทีนี้พอมันจะมาสื่อ มันก็ต้องเป็นมโนเจตนาหาร

“มโนเจตนาหาร” มันแสดงตัวของมัน แล้วพอมันเจตนาหาร มันก็สื่อออกมา

มันถึงว่า “จิตแรก” “จิตหนึ่ง” ต่างหาก..

ถ้าบอก “จิตแรก” จิตแรกมาจากไหน จิตนี้มาจากไหน ทำไมมันถึงเป็นจิต จิตเริ่มต้นที่ไหน แล้วจบลงที่ไหน

เพราะเราเคยสงสัยอย่างนี้มาแล้ว เราก็เคยสงสัยตอนเราปฏิบัติ สงสัยมากเลย “ชีวิตนี้มาจากไหน ทุกอย่างมาจากไหน ” แล้วเราค้นคว้ามาหมดแล้ว

นี่เลย “จิตแรกไง” จิตแรกก็คือพระเจ้าสิ มนุษย์คนแรก (หัวเราะ)

วันหลังจะให้ถามเป็นปัญหาภาวนาเนาะ ถ้าปัญหาอย่างนี้มันเป็นปัญหา..วันนี้จะพูด พูดได้เต็มที่หมด พูดเพื่อให้.. เขาเรียกว่าพูดให้แบบว่า “ให้มั่นใจในผู้สอน” เราพยายามจะพูดอยู่นี่ ให้มั่นใจ ให้มั่นใจว่า “เราไม่โดนหลอก” ฉะนั้นคำถามอย่างใดมาก็จะตอบได้ ทีนี้เพียงแต่ว่าคำถาม ถ้ามันถามแล้ว ตอบแล้ว ไอ้คนฟังนี่มันจะรู้อะไรไหม

สิ่งที่เป็นธาตุรู้.. ธาตุรู้ คือพุทธะ

ในมหายาน “เจอพระพุทธเจ้าที่ไหน ให้ฆ่าพระพุทธเจ้าก่อน” ถ้าเราฟังภาษาเรา เหมือนเราไม่เคารพ มหายานพูดอย่างนั้นนะ “เจอพระพุทธเจ้าที่ไหน ต้องฆ่าพระพุทธเจ้าก่อนเลย”

นี่ไง ธาตุรู้ไง ธาตุรู้ คือธาตุพุทธะ “ถ้าเจอพุทธะที่ไหน” ในภาษาในกรรมฐานเรา “ถ้าเจอผู้รู้ที่ไหน ก็คือเจออวิชชา” อวิชชา คือธาตุรู้ อวิชชา คือจิตเดิมแท้ “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส” ความผ่องใสนั้นคืออวิชชา

แต่เขาบอก “ไม่ได้เจออวิชชา” เขาบอก “เจอพระพุทธเจ้า” เจอพระพุทธเจ้าที่ไหน ต้องฆ่าพระพุทธเจ้า ถ้าพอฆ่าพระพุทธเจ้าปั๊บ มันก็จะสะอาดบริสุทธิ์หมด แต่พอถ้าเป็นเราเคารพพระพุทธเจ้า ไปกราบพระพุทธเจ้าอยู่ ก็คือไปกราบอวิชชา คือไปกราบอวิชชา กราบมาร ฉะนั้น ถ้าเราจะทำได้จริงนะ..

ทีนี้มันธาตุรู้ มันก็มีหลายระดับ เพราะขณะที่.. ดูสิ อย่างไฟฟ้า ไฟฟ้าที่มันให้แสงสว่างเรา มันจะมีแก้วครอบใช่ไหม แก้วครอบสีอะไรล่ะ ไอ้แก้วครอบนั้นน่ะ มันเป็นที่ว่า “อวิชชามีหลายระดับ” ไอ้แก้วครอบนี่มันหนามันบาง มันลอกไปทีละชั้นๆ ไง

เหมือนผู้ปฏิบัติที่มาพูดให้เราฟัง เขาบอกว่า “เขาเห็นจิตเขาเหมือนกับหัวหอม แล้วเขาแกะหัวออกเป็นชั้นๆ เลย เขาแกะออกแยกออก แกะออกแยกออก.. ”

นี่ถึงว่า “อวิชชามันมีหลายชั้นนะ”

ฉะนั้นพอใครมาก็แล้วแต่ พอไปเห็นอวิชชา แล้วทำลายอวิชชาครั้งแรกปั๊บ ก็คิดว่า “ตัวเองสิ้น” ก็ยังไม่ใช่ มันยังมีอีก มรรค ๔ ผล ๔ ไง เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญา ทีเดียวจบเลย สิ้นก็มี แต่พอมีอย่างนั้นปั๊บ เขาจะอธิบายเรื่องอวิชชาได้ชัดเจนมาก เขาจะอธิบายด้วยมรรค ๔ ผล ๔

เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ทีเดียวสิ้นเลย

เพราะเริ่มต้นปฐมยาม บุพเพนิวาสานุสติญาณ มัชฌิมยาม จุตูปปาตญาณ มัชฌิมยาม ถึงปัจฉิมยาม ถึงที่สุด อาสวักขยญาณ นั่นทีเดียวเลย ทีเดียวจบ สิ้นกิเลสเลย แล้วสิ้นแล้วคือสิ้น ถ้ากิเลสตายแล้วนะ ฟื้นอีกไม่ได้ กิเลสตายแล้วตายเลย

พอตายไปเลยแล้ว ในเมื่อจิตแรกมันจะเกาะเกี่ยวได้อย่างไร ในเมื่อมันตายไปแล้ว

อวิชชาตายไปแล้ว มันสะอาดบริสุทธิ์ตลอดเวลา

นี่ไง ถ้าเป็นโสดาบันนะ เป็นอกุปปธรรม ถ้าเป็นตทังคปหาน ยังเป็นกุปปธรรม “กุปปธรรม” มันยังเจริญแล้วเสื่อม “อกุปปธรรม” ยังไงก็ไม่เสื่อม เอาหัวทิ่มดินขนาดไหน มันก็ไม่เสื่อม แล้วพอเป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคา ไปถึงพระอรหันต์แล้ว มันจะเสื่อมได้อย่างไร พอมันเสื่อมได้อย่างไร.. ถ้ามันไม่เสื่อมแล้ว อวิชชามันเกาะได้อย่างไร มันเกาะไม่ได้

ไอ้นี่คิดว่า “อวิชชามันคือสิ่งที่คงที่ตลอดไปไง” อวิชชามันตายนะ มันไม่มีตัวมัน แล้วมันจะกระโดดเกาะได้อย่างไร จิตแรกมันก็ไม่เกาะ จิตสุดท้ายมันก็ไม่เกาะ จิตไหนมันก็ไม่เกาะ เพราะมันเกาะไม่ได้แล้ว มันไม่มีจะเกาะ เพราะตัวมันไม่มี (ไม่ใช่อวิชชา)

ถ้ามันอย่างนี้แล้ว มันต้องมีพื้นฐานมาก่อน พื้นฐานในการปฏิบัตินี่นะ เวลาเช่นขั้นแรก เราก็ทุ่มไปทั้ง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แล้วขั้นต่อไปแล้วทุ่มร้อยๆๆ หมด แต่พอเวลาเราถึงที่สุดแล้ว เราย้อนกลับ เราจะเห็นเลยว่า “โสดาบัน มันใช้สติปัญญา ๒๕ เปอร์เซ็นต์ สกิทาคา ๕๐ เปอร์เซ็นต์ อนาคา ๗๕ เปอร์เซ็นต์ พระอรหันต์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์”

มหาสติ-มหาปัญญา สติ-ปัญญา มหาสติ-มหาปัญญา แล้วสติปัญญาอัตโนมัติ มันจะเห็นความต่างของปัญญาแต่ละขั้นไง นี่ที่หลวงตาท่านพูดบอกว่า “เวลาปฏิบัติไปแล้ว นึกว่าพอปฏิบัติไปแล้ว ต่อไปจะสบายขึ้นเรื่อยๆ”

โสดาบัน เราทุ่มไป ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว ก็ทำจนถึงที่สุดเพราะอะไร เพราะเหมือนกับเด็กฝึกทำงาน มันก็ต้องต่อสู้เต็มที่ พอสกิทาคาก็ขึ้นไปอีก อนาคาก็ขึ้นไปอีก ขึ้นไปแล้วละเอียดขึ้นไปไง เราเคยทำงาน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ก็ได้แล้วใช่ไหม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์จบแล้ว

แต่ถ้ามาเทียบแล้วมันแค่ ๒๕ กับอีก ๕๐ เปอร์เซ็นต์ กับอีกเท่าตัว

“โอ้โฮ.. มันจะต้องใช้สติ โอ้โฮ.. มันต้องละเอียดกว่า ต้อง.. โอ้โฮ..”

มันก็ไอ้ตอนทำงานนี่มันก็เลยเป็นสิ่งที่ว่า “โอ้โฮ.. ทำงานเต็มที่เลย” แต่เรานึกว่าเป็นโสดาบันแล้วนะ สกิทาคา อนาคา มันต้องว่าง่ายๆ คืองานต่อไปยิ่งง่ายขึ้นเรื่อยๆ แต่การปฏิบัติ..

มันไม่ยาก แต่มันต้องละเอียด มันต้องตั้งเต็ม “โอ้โฮ..” ไม่อย่างนั้น ทำไมหลวงตาท่านบอกว่า “ท่านอยู่กับใครไม่ได้ ๒๔ ชั่วโมง มันหมุนตลอดเวลา” คือความคิดมันจะมีของมันอยู่ตลอดเวลาเลย แล้วพระเพื่อนฝูงมาก็จะมาบอกถามนู่นถามนี่

คำถามข้างนอกมันพูดช้าๆ อ้าปากพูด แต่ความคิด “ฟึ่บๆๆๆ” แล้วเราอยู่กับความคิดอันนี้ เอ็งจะรำคาญข้างนอกไหม ไอ้ข้างในนี่ความคิดมันจะเร็วมาก มันจะหมุนของมัน เพราะคำว่า “มันหมุนของมัน” นะ คือกิเลสใช่ไหม แล้วธรรมะนี่มันหมุนต่อสู้กัน ฉะนั้นความคิด ระหว่างธรรมกับกิเลสมันจะสู้กัน มันจะหมุนกัน หมุนอยู่ในหัวใจเรา

แล้วข้างนอกก็จะมา “เรื่องไอ้นั่น เรื่องไอ้นี่ เรื่อง.. ”

มันก็เลยดูเห็นว่า “ข้างนอกนี่เป็นเรื่องเปลือกๆ เป็นเรื่องที่ไร้สาระไง”

แล้วถ้าเราไปแสดงอะไรออกไปนะ อยู่กับเพื่อนฝูง เพื่อนฝูงก็จะบอกว่า “เอ.. ก็เพื่อนรักกันน่ะ ทำไมคุยกันไม่ได้ ทำไมถามอะไรก็ไม่ตอบ ” มันก็ไม่ได้ใช่ไหม

นี่มันถึงว่า “ข้างนอก-ข้างในมันต่างกันเยอะมาก” พอมันละเอียดเข้าไปๆ โอ้โฮ.. มันยิ่งลึกซึ้งเข้าไปๆ ลึกซึ้งมาก ฉะนั้นเวลาพูดกันอย่างนี้ “กิน” กินคำเดียว สื่อความหมายได้หมดไง ไอ้นี่ก็มรรค ๔ ผล ๔ ก็คือมรรค แล้วมรรคไหนก็ไม่รู้ “อ้าว.. มึงมรรค กูก็มรรค แล้วมึงมรรคไหน ”

แต่ถ้าภาวนานะ พูดมารู้เลย “ละกาย.. สักกายทิฏฐิ กลับคืนสู่ธาตุเดิมของมัน จิตนี้แยกออก ระหว่างกายกับจิตนี้แยกออกจากธรรมชาติ เข้าไปเห็นกามราคะ.. มันเข้าไปกลืนกันที่ใจ แล้วระเบิดลงที่ใจ ใจระเบิดแล้วนี่ใจว่างหมดแล้ว แล้วมันทำอย่างไร ”

ไอ้คนถามน่ะ มันจะพูดอย่างนี้ๆ นี่เวลาถามมา คำถาม-คำเขียนในตัวเองมันจะหมุนเวียนตลอด คำถามนี่มันบอกเลยว่า “คนถามนี่มันอยู่ตรงไหน จิตน่ะ” เพราะถ้ามันจริง มันไม่พูดอย่างนี้ มันพูดอย่างนี้ไม่ได้

“จิตแรก เริ่มที่อวิชชามาเกาะ” จิตแรกเริ่ม คือจิตพระอรหันต์ แล้วอวิชชามาเกาะ มันก็ผิดแล้ว ผิดเพราะอะไร ถ้าอวิชชามาเกาะ ก็คือไม่ใช่พระอรหันต์ เพราะมีอวิชชาอยู่ ถ้าพระอรหันต์ ก็คือไม่มีอวิชชา แล้วอวิชชามาเกาะได้อย่างไร

แต่คนเขียนมาก็ไม่รู้ใช่ไหม เพราะไม่รู้ ถึงเขียนอย่างนี้ใช่ไหม แต่ถ้ารู้ เขียนอย่างนี้ไม่ได้.. พูดนี่รู้เลย (หัวเราะ) อ้าว.. คิดดีๆ นะ อ่านให้ฟังเต็มๆ แล้วคิด จะได้เห็นชัด เขาเขียนอย่างนี้

ถาม จิตแรกเริ่ม เมื่อมีอวิชชาเกาะเกี่ยวได้อย่างไร ทั้งๆ ที่จิตที่แสนวิเศษ

หลวงพ่อ จิตที่แสนวิเศษ คือจิตพระอรหันต์

โยม ....(เสียงไม่ชัดเจน)

หลวงพ่อ ใช่.. ถ้าปุถุชน.. ใช่ ก็นี่คิดแบบคิดนี่ ถ้าเป็นปุถุชน ไม่รู้ถึงภาวะจิตถึงพูดอย่างนี้ไง นี่ถึงบอกว่า “คำพูด คำถาม หรือการแสดงธรรม มันจะแสดงออกถึงจิตตัวนั้น”

ฉะนั้นเวลาคนแสดงธรรมออกมา เวลาคำพูดนี่มันจะรู้เลย ถ้ามันเป็นจริง มันจะพูดอย่างนี้ไม่ได้ ทีนี้ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บ มันก็แสดงถามถึงพื้นฐานของปุถุชนก่อน ถ้าพื้นฐานปุถุชน เราแสดงอย่างนี้เลย เห็นไหม

เราถึงพูด เราคัดค้านกับพวกที่ว่า “สรรพสิ่งที่เป็นธาตุ อะไรเป็นธาตุ.. ” เราบอก “ไม่ใช่.. สรรพสิ่งนี้เป็นเรา ชีวิตนี้เป็นเรา การเกิดนี้เป็นเรา มนุษย์สมบัตินี้เป็นอริยทรัพย์! มนุษย์สมบัตินี้เป็นอริยทรัพย์! เพราะการเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก”

ทีนี้การเกิดเป็นมนุษย์ ภพมนุษย์ คือเรา แล้วเราเชื่อมั่นในธรรมะแล้วเราค่อยมาประพฤติปฏิบัติจนเห็นว่า “มันไม่ใช่เรา” แต่ถ้าบอกว่า “ไม่ใช่เรา” ตั้งแต่ทีแรกเลย

นี่ไงที่บอกว่า “มรรค.. ความอยากเป็นกิเลสๆ ” นี่ไง ธรรมของพระพุทธเจ้าบอก “ไม่ใช่เรา” ใช่ไหม.. ใช่ แต่ในจิตใต้สำนึกบอก “เป็นเราไหม ”

“ไม่เป็นกูให้เตะเลย”

“ถ้าใครบอกไม่เป็น.. กูให้เตะ”

มันเป็นไปไม่ได้หรอก.. จิตใต้สำนึกนี่มันบอกว่า “เป็นเรา” เราจะไปแก้กันตรงนั้น ในเมื่อเป็นเรา เรารู้ว่าเป็นเรา เราต้องทำสมาธิให้มันเข้ามาถึงสงบตรงนั้นก่อน แล้วเดี๋ยวมันจะออกไปสู้กัน แต่ไปบอกว่า “ไม่ใช่เรา” เสียก่อนไง

ก็เหมือนโยมนี่นะ ขึ้นไปบนเวที เป็นนักมวยไง ฝ่ายน้ำเงินกับฝ่ายแดง พอขึ้นไปถึงบนเวทีแล้วบอกว่า “คู่ชกไม่ใช่เรา” แล้วก็เดินลง “เหรอ ” คู่ชกเป็นเราไหม ถ้าปฏิเสธก่อน มันทำนองอย่างนั้นน่ะ

สมมุติ.. ระหว่างกิเลสกับธรรม แดงกับน้ำเงิน ขึ้นไปแล้วต้องแข่งขัน แพ้คะแนน-ชนะคะแนน แพ้น็อคๆ ถึงจะมีเหตุมีผล

นี่ก็เหมือนกัน มันถึงว่า “มันเป็นเรา มันเป็นกิเลสจริงๆ” แล้วเราต้องทำความสงบเข้ามา แล้วต่อสู้มัน ชำระมัน ถ้าวันไหนได้ทำลายมันแล้ว พอมันแพ้ชนะแล้ว “เอ้อ! ไม่ใช่เรา”

แต่เริ่มต้นไม่ได้แข่งเลย คนดูนี่ “เฮๆๆ” บอกว่า “กูชนะ”.. ไม่ใช่

เพราะเราฟังเขาเทศน์กันมาก เพราะเขาเทศน์กันอย่างนี้ไง เราถึงบอกถ้าเทศน์อย่างนี้ปั๊บ นักมวยของเรา คือหัวใจของเรา คือพวกเราจะปฏิบัติธรรม เราต้องมั่นคงแข็งแรง แล้วขึ้นไปแข่งขัน แพ้ชนะลงมา ถึงเป็นผลของเรา อันนั้นถึงเป็นความจริง

แต่นี่บอกว่า “สักแต่ว่า นู่นก็ไม่ใช่เรา นี่ก็ไม่ใช่เรา” ว่ากันไป ปากเปียกปากแฉะ

ไอ้พวกเรานักมวยไม่ขึ้นเวที ไม่มีใครขึ้นชกสักคนหนึ่ง แล้วก็บอก “ไม่ใช่เราๆ”

เพราะการแสดงธรรมอย่างนั้น ผลมันจะออกมาเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าแสดงธรรมแบบครูบาอาจารย์เรา “ให้มั่นคง ให้แข็งแรง ให้มีความเพียร ให้มีวิริยะ ให้มีอุตสาหะ ให้มีการต่อสู้ ให้มีสติทุกการเคลื่อนไหว”.. เป็นเราไหม แล้วพอมันต่อสู้ถึงที่สุด “เอ้อ.. จบ” ไอ้นี่ อันนู้นก็วางไว้ ไม่ใช่เรา ไอ้นี่ก็ไม่ใช่เรา

โยม อันนี้ที่หลวงตาบอกว่า (เสียงไม่ชัดเจน) กิเลสยังไม่ปล่อยลอย เพราะฉะนั้น..

หลวงพ่อ (หัวเราะ) “กระทิงแดงๆ” มันเอาเขาจ่อกันไง ไม่เห็นมันชนกันสักที

นี่ไง ไม่ใช่เราไง พอเทศน์อย่างนี้ปั๊บ เราจะบอกว่าครูบาอาจารย์ที่เทศน์อย่างนี้ ในความรู้สึกเราเลยนะ “ครูบาอาจารย์องค์นี้ ยังไม่เคยจบกระบวนการสักรอบเดียวเลย” คือไม่มีวุฒิภาวะ ถ้าครูบาอาจารย์ที่มีวุฒิภาวะ แล้วเคยผ่านแล้ว มันพูดอะไรออกมา มันจะไม่ผิด เพียงแต่ว่าพูดหยาบ-พูดละเอียดเท่านั้น

ถ้าพูด.. ท่านพูดหยาบ ท่านความหมายหยาบ เพื่อคนพื้นฐาน ท่านจะพูดไม่ละเอียด ไอ้อย่างนี้ยกผลประโยชน์ให้กับจำเลย เพราะท่านไม่ได้ตั้งใจพูด เพียงแต่ท่านต้องลดธรรมะลงมา เพื่อให้พวกที่ใจต่ำๆ ฟังแล้วเข้าใจ คือธรรมะจริงท่านก็รู้อยู่ แต่ท่านลด ลดให้มันหยาบ ลดลงมาเพื่อจะสื่อกับผู้ฟัง ให้ผู้ฟังมีพื้นฐานเข้าใจ แล้วให้ก้าวขึ้นบันไดมา ไอ้อย่างนี้ไม่ถือว่าผิด

แต่พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่มีหยาบ ไม่มีละเอียด พูดเป็นสัจธรรมเลย.. อย่างนี้ผิด!

เพราะธรรมะนี่นะ “มันสูงมาก หยาบก็มี สูงส่งก็มี ถึงที่สุดก็มี”

แล้วพวกเราพื้นฐาน หัดกัน จะต้องทำ.. เห็นไหม

หลวงตาพูดว่าหลวงปู่มั่นท่านก็พูด ท่านบอก “ท่านหย่อนลงมา ท่านหยาบลงมา” ท่านหย่อนลงมาจนจะบอกว่า “ร่างกายนี้สกปรกนะ” ท่านเทศน์ให้พระฟัง “ถ้าไม่เชื่อนะ ไม่เชื่อ ให้นิ้วล้วงเข้าไปในทวารหนัก แล้วออกมาดม” ท่านพูดขนาดนี้ก็เพื่อจะให้เราเห็นว่ามันสกปรกจริงๆ คือว่าท่านจะสื่อกับคนโง่ไม่ได้ขนาดไหนอีกแล้ว ท่านสื่อให้เห็นชัดเจนว่า “เอานิ้วเราเองล้วงเข้าไป แล้วมาดม แล้วมึงจะว่ามันจะสะอาดอยู่ไหม ” ให้ชัดเจนขนาดนั้น แล้วเราคิดอะไร เราก็คิดกันไปอย่างนั้น

ท่านสื่อ เห็นไหม ถ้าพูดถึงธรรมะนี่ ถ้าสื่อให้หยาบ หยาบเพื่อให้คนหยาบมันเข้าใจก่อน แล้วถ้าละเอียดเข้ามา ละเอียดเข้ามาเราก็แก้ได้ๆ “โอ้โฮ.. พระองค์นี้ใช้ได้”

แต่ถ้าพระองค์นี้พูดเป็นสัจจะ คือพูดเป็นขั้นตอนที่เป็นอย่างนี้ตายตัว คือว่าขนาดตายตัวเราก็ไม่รับนะ เราจะ.. โทษนะ.. เราก็ใช้วิทยาศาสตร์อยู่ เราจะสบประมาทวิทยาศาสตร์ประจำเลยว่า “วิทยาศาสตร์เราไม่เชื่อเลย เพราะมันตายตัว” เพราะวิทยาศาสตร์มันไม่มี ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่มีปรมัตถ์.. ๙๙.๙๙

แต่ธรรมนะนี่ล้านเปอร์เซ็นต์ ร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องสะอาดบริสุทธิ์หมด

แล้วมันยังมีหยาบ มีกลาง มีละเอียด

อย่าง “โสดาบัน สกิทาคา อนาคา” แล้วจิตมันยังมีหยาบ มีละเอียด เพราะมันพัฒนา ธรรมะนี่หัวใจมันพัฒนา แล้วมันสูงขึ้นไป มันละเอียดขึ้นไป ปัญญามันจะละเอียดเข้าไป มันไม่ตายตัว แต่วิทยาศาสตร์มันตายตัว พอตายตัวปั๊บ พวกเราก็ปัญญาชนใช่ไหม พอตายตัว ก็เลยเอาธรรมะมาสวม.. เคลมไง

“ธาตุ ๔ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ธาตุ ๔..”

เวรกรรม! เวรกรรมฉิบหาย!

ถ้าพูดถึงถูกไหม “ถูก” ท่องธรรมะถูกไง ท่องสูตรพระพุทธเจ้าถูก.. พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้จริงๆ ถูก.. “ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕.. ศีล สมาธิ ปัญญา”.. ถูกหมด! แต่มันเป็นสูตร! เป็นสูตร!

แต่ถ้ามันเป็นความจริง เหมือนใจเรามันเป็น.. ไม่เป็นสูตร มีเสื่อม-มีเจริญ สมาธิเดี๋ยวก็เสื่อม-เดี๋ยวก็เจริญ ปัญญาเดี๋ยวก็กว้างขวาง-เดี๋ยวก็คิดดี-เดี๋ยวปัญญามันก็ฟาดฟันตัวเราเอง มันมีสูตรไหม มันไม่มีสูตร นี่ความจริงมันเป็นอย่างนี้ แต่อันนั้นเป็นสูตร

“ธรรมวินัยเป็นศาสดาของเรา” ธรรมและวินัยเป็นศาสดานะ.. ไม่คัดค้าน

มันถึงมัน.. อืม.. มันจะพูดอะไรไม่ได้หรอก มันเป็นอย่างนี้เอง เพราะคนเรามันก็มีมาอย่างนี้เอง มันก็เริ่มต้นกันมาเอง

อ้าว.. ใครมีอะไรอีกไหม ไม่มี.. จะพัก เพราะเดี๋ยวพระจะมา เทศน์อีกรอบหนึ่ง เดี๋ยวพระจะมาอุโบสถ เดี๋ยวจะเทศน์อีกรอบหนึ่งตอนเที่ยง งั้นเราจะขอพักหน่อยเนาะ

เอวัง