ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะศรัทธาเช้า

๑๕ พ.ย. ๒๕๕๑

 

คณะศรัทธาเช้า
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตอนนี้ทุกคนในวงการปฏิบัตินี่ ทุกคนเชื่อถือมาก นี่คือดูทีวีอีกล่ะ มันมีรายการพระปฏิบัติออก NBT นี่ ......... เขาภาวนากันน่ะ โฮ ปฏิบัตินะ ภาวนาเอามาออกประชาสัมพันธ์กัน แล้วทุกคนเห็นแล้วก็น่าชื่นใจเพราะอะไรรู้ไหม เพราะนักธุรกิจทั้งนั้น ใส่ชุดขาวเดินกัน

“โอ้โฮ เราไปดูแล้วนะเศร้าใจ มันเศร้าใจตรงไหนรู้ไหม เศร้าใจตรงที่แบบว่ามันทำกันเหมือนกับผักชีโรยหน้า”

การปฏิบัติอย่างนี้ เป็นการปฏิบัติแบบผักชีโรยหน้า พระพุทธเจ้าท่านค้นคว้ามาด้วยความเป็นจริงใช่ไหม ด้วยความเป็นจริง ท่านลงทุนลงแรงขนาดไหน แต่พวกเราปรารถนาความสุขกัน อยากได้ธรรมะ ด้วยความเห็นของเรา คำว่าผักชีโรยหน้าก็ทำแต่ผิวเผินไง “ในทางปฏิบัติมองว่าการปฏิบัติอย่างนั้น เป็นการปฏิบัติแบบผิวเผิน แล้วจะเอาผลตามความเป็นจริงมันเป็นไปไม่ได้”

แต่ในการปฏิบัติคำว่าผิวเผิน หมายถึงเหมือนพ่อแม่ดูเด็ก พ่อแม่ได้ทำมาหากินมาขนาดไหน พ่อแม่ทุกข์ยากมา พ่อแม่จะรู้เลยว่าการทำมาหากินมันทุกข์ โลกมันโหดร้ายขนาดไหน สังคมมันขนาดไหนถ้าเราไม่ทันสังคม แต่เด็กมันเห็นว่า ทำไมไม่ทำอย่างนั้นๆ แล้วมันก็ทำเล่นกันไง แล้วทำเล่นกันมันจะเป็นความจริงเป็นไปไม่ได้ นี่ไงคำว่าผักชีโรยหน้า

มันทำด้วยความรู้สึกอารมณ์ความรู้สึกจากภายนอก แต่ถ้ามันเป็นความจริงมันลึกกว่านั้นนะ ถ้าจิตมันไม่สงบขึ้นมา แม้แต่จิตสงบนะเวลาทำจิตสงบโดยข้อเท็จจริง ผู้ที่ปฏิบัติเข้าใจว่าความสงบนี้เป็นนิพพานแล้วกันล่ะ แต่ขณะที่มันสงบๆ น่ะ มันไม่ใช่ ว่างๆ ว่างๆ มันเป็นการสร้างอารมณ์

ในปัจจุบันนี้ สร้างอารมณ์ว่าว่างกัน เลยสบายใจไง ทำให้มันสบายใจขึ้นมาเฉยๆ แล้วความสบายใจ มันเป็นสมาธิไหม เราเปรียบเทียบบ่อยว่า ถ้าเป็นสมาธิ มันต้องมีกำลัง เหมือนเราออกกำลังกาย ร่างกายของคนต้องแข็งแรง อันนี้มันบอกว่ามันออกกำลังนะ แต่มันนอนแหมะอยู่อย่างนั้นไม่มีแรงเลย แล้วมันขัดแย้งกับข้อเท็จจริงใช่ไหม

อย่างพวกเราออกกำลังกายตอนเช้า ร่างกายเราสมบูรณ์เราจะแข็งแรงกันมากเลย ปิ๊งปั๊ง ปิ๊งปั๊ง เพราะเราแข็งแรง เราออกกำลังกาย อันนี้บอกว่างๆ ว่างๆ ทำไมมึงอ่อนแอล่ะ ทำไมจิตมึงไม่มีกำลังเลยล่ะ มันยังไม่รู้อะไรเลย ไม่มีจุดยืนเลย โธ่ แค่ทำสมาธิได้นี่นะร่างกายก็แข็งแรง ร่างกายเราแข็งแรงอะไรมาเราจะวินิจฉัยได้

เราเดินไป เราเจอสิ่งใดที่มันขวางหน้าเรานี่ เราจะหยิบออกได้เพราะเรามีกำลัง แต่ถ้ามันไม่มีกำลังนะ เดินไปก็สะดุดล้มหมดล่ะ เจออะไรมันก็ยกเท้าไม่พ้นจากสิ่งกีดขวางนั้น จิตก็เหมือนกัน คำว่าผักชีโรยหน้า ว่างๆ สบายๆ สบายๆ มันเป็นเรื่อง ประสาเรา เราเศร้าใจมากเห็นเขาทำกันอย่างนั้นนะ ว่าศาสนามันเหมือนของเล่น ทำกันเล่นๆ แล้วจะเอาจริง เวลาผลก็จะเอาจริง แล้วมันเศร้าใจตรงที่ปฏิบัติด้วย

หลวงปู่มั่นท่านลงทุนลงแรงเอาจริงเอาจังนะ แล้วใช้ชีวิตเป็นแบบอย่าง หลวงตาพูดเองเราจำได้ ว่ามีพวกลูกศิษย์ลูกหาที่ปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่มั่น แล้วก็ไปพูดให้กับพระที่มีชื่อเสียงของเขาฟังองค์หนึ่ง บอกว่า

“หลวงปู่มั่นทำขนาดนี้ ขนาดนี้นะ” เขาตกใจเลยนะ

“โอ้โฮ! ต้องทำกันขนาดนั้นเชียวเหรอ” มันก็อย่างหนึ่ง คำพูดว่า โอ้โฮ! แสดงว่าเขาไม่เคยผ่านงาน

เหมือนเรานี่ คนทำงานเราจะรู้เลยว่าการทำงาน หยิบจับเห็นไหม มีดเราทำครัวเราต้องหยิบจับมีดหยิบจับเครื่องไม้เครื่องมือการทำครัว แล้วบอกว่าเราหยิบจับ เขาบอกว่า โอ้โฮ! ทำครัวต้องมีจับมีหยิบต้องมีมีดด้วยเหรอ แสดงว่าไอ้นี่ไม่เคยทำครัว ไม่เคยทำอะไรเลย ถึงได้ โอ้โฮ! พอ โอ้โฮ! ปั๊บนี่ คนคาดการณ์ไม่ถึง แล้วตัวเองมีการศึกษาก็จะบอกว่า “การทำอย่างนั้นเป็นอัตกิลมถานุโยคคือความลำบาก ศาสนาไม่ได้สอนให้ลำบากอย่างนั้น ศาสนาสอนให้สบาย สอนให้มีความสุข” เห็นไหม มันจะชักกลับมา

เราพูดบ่อยมาก เวลาเราเทศน์ เราจะบอกว่า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ ตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว ปรารถนามา จะรื้อสัตว์ขนสัตว์นะ คนเตรียมพร้อมมาเหมือนเรานี่ วิชาชีพทางครู ใครเป็นอาจารย์ ฉะนั้นก่อนจะจบมันต้องฝึกสอน ต้องเตรียมพร้อมถึงการไปสอนเด็กใช่ไหม นี่พระพุทธเจ้าเตรียมพร้อมมาเลยนะ แต่เวลาตรัสรู้ขึ้นมาแล้วนี่ โอ้โฮ! โอ้โฮ!

คิดดูสิ ปัญญาพระพุทธเจ้านี่ พุทธปัญญา มันอจินไตย ๔ พุทธวิสัย โลก กรรม ฌาน พุทธวิสัย วิสัยพระพุทธเจ้านี่ กว้างขวางมากจนพวกเราคาดการณ์ไม่ได้เลย คาดการณ์ไม่ถึงเลย ท่านเองท่านยังทอดอาลัยเลย ท่านยัง “โอ้โฮ! จะสอนได้อย่างไร” เห็นไหม จนต้องพรหมมานิมนต์ อยู่ในพุทธประวัติ

ถ้าใครเข้าถึงความจริงแล้ว มันธรรมเหนือโลก คำว่าธรรมเหนือโลกมันเป็นอย่างนั้น แล้วมันทำกันเล่นๆ อย่างนั้น มันจะเป็นไปได้อย่างไร คนที่เคยผ่านมาแล้ว พอมองกลับไปนี่ “ผักชีโรยหน้า” ทำแบบเล่นขายของ แล้วพอเรามองเขา เขาเล่นขายของนะ แต่เขามองพวกเรานะ “อัตกิลมถานุโยค คือเกินกว่าเหตุอีก”

มันไม่ใช่เกินกว่าเหตุมันสมจริงสมจัง มันทำตามข้อเท็จจริงต้องทำอย่างนี้มันถึงได้ผลอย่างนี้ สมจริงสมจัง แต่เขาไม่ทำสมจริงสมจัง นี่พูดถึงแนวทางปฏิบัติที่มองโลก แล้วพอเวลาพวกเราปฏิบัติ เวลาปฏิบัติเหมือนกับบัว ๔ เหล่า จริงๆ นะบัว ๔ เหล่า ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย ปฏิบัติยากรู้ง่าย ปฏิบัติยากรู้ยาก

ทีนี้พอปฏิบัติเราเข้าไม่ถึง ถ้ามีจุดยืนซะหน่อยหนึ่งนะ เราคบครูบาอาจารย์เยอะท่านบอกว่า “หงบเอ้ย เรานี่ปฏิบัติมันไม่ได้หรอก” เห็นไหม สุภาพบุรุษเขาจะคุยกันอย่างนี้ แล้วมันจะอยู่กันอย่างสบายใจ บอกว่านี่ เรานี่อายุพรรษามาก เป็นครูเป็นอาจารย์ เราก็เคารพท่านเรารักท่านมาก ท่านก็พูดกับเราตรงๆ เลย บอกว่า

“หงบเอ้ย เราภาวนาไม่เป็นหรอก แต่ก็จะภาวนาไปเพื่อจะให้ภพชาติมันสั้นเข้ามา”

ท่านพูดเลยนะว่าเราภาวนาไม่เป็น ถ้าภาวนาเป็น ท่านเป็นอาจารย์เราใช่ไหม เราก็ต้องหวังพึ่ง เราก็จะถามปัญหาท่าน ว่าการปฏิบัติจะทำอย่างไร เวลาปฏิบัติขั้นตอนนี้ทำอย่างไร ท่านตอบเราไม่ได้ใช่ไหม แต่ท่านเป็นสุภาพบุรุษท่านบอกว่า

“หงบเอ้ย เราภาวนาไม่เป็นหรอก แต่! แต่ก็จะอยู่ในร่องในรอยนี่เพื่อจะให้ภพชาติสั้นเข้า” ในวงปฏิบัติมันจะเป็นอย่างนี้

เหมือนเรานี่ เราผ่านงานมา เราทำงานมาประสบความสำเร็จแล้ว แล้วเรามีผู้ใหญ่ที่ทำงานไม่เป็น ถ้าเกิดเขาทำงานกับเรา แล้วเราเสนองาน มันจะขัดแย้งกันไหม แต่ทีนี้มันมีอย่างนี้ ตรงนี้มันมีเยอะ ที่ว่าเป็นพระผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่โดยพรรษานะ แก่เพราะกินข้าวนี่ อย่างนี้มีเยอะแล้วเวลาทำงานขึ้นไป อย่างนี้มันขัดแย้งกัน เพราะผู้ใหญ่ทำงานไม่เป็น

เราไปทำงาน เจอหัวหน้าทำงานไม่เป็นงาน ปวดหัวนะ หน่วยงานเรานี่ หัวหน้าทำงานไม่เป็นไอ้ลูกน้องปวดหัวน่าดูเลย หัวหน้ากูทำงานไม่ได้ แต่เราทำเป็น ทีนี้ถ้าทำเป็น พูดถึงถ้ามีหลักมีเกณฑ์มันก็จะไม่เสียหาย ถ้าไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์ อย่างนี้มันจะเข้าตรงนี้แล้ว ที่ว่าถ้าน้อยใจๆๆ ไอ้น้อยใจ ความจริงแล้วนี่เรื่องกิเลสทั้งนั้นเลย เวลาเราปฏิบัตินะ อย่าให้กิเลสมันได้ เขาเรียกว่ากิเลสมันแซง กิเลสมันออกหน้าก่อน

เราไปน้อยใจก็กิเลสของเรานะ เราจะปฏิบัติต่อสู้กับกิเลส กิเลสนั่นเป็นนามธรรม กิเลสนี่พระพุทธเจ้าบัญญัติว่ากิเลส กิเลสคือสิ่งที่มันเป็นตัณหาความทะยานอยากที่คาดที่หมาย เอาสิ่งที่เกินกว่าเหตุสิ่งที่เป็นไปไม่ได้มาเหยียบย่ำใจเรา แต่ถ้ามันเป็นความอยากที่ไม่ใช่กิเลสเห็นไหม

ทุกคนต้องมีความปรารถนาดี อยากดี ความอยากดีนี้ไม่ใช่กิเลส ความอยากดี อยากทำงาน อยากแสวงหาความที่เป็นประโยชน์ แล้วเราทำของเรา นี่ฟังนะ! เราทำของเราได้หรือไม่ได้น่ะ ที่ว่าเมื่อกี้น้อยใจๆ ไม่ต้องน้อยใจ ประสาเรานะ ถ้าเป็นเรานะ นิสัยเราเป็นอย่างนี้จริงๆ เราปฏิบัติใหม่ๆ นี่ เราสมน้ำหน้าตัวเอง ต้องสมน้ำหน้าตัวเองว่ามึงทำมาเท่านี้ไง

แล้วเคยมาคิดเสียดายไหม เวลาเราทำบุญกุศลกันนี่ อย่าน้อยใจต้องสมน้ำหน้ามันด้วย สมน้ำหน้าเราเองนี่ ว่าเราทำมาเท่านี้ เราทำมาอย่างนี้ กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กันใช่ไหม แล้วกรรมก็จำแนกสัตว์ให้เรามาเกิดเป็นเรา แล้วเราก็มีความศรัทธามีความเชื่อแล้วก็ปฏิบัติอยู่นี่ แล้วถ้ามัน อินทรีย์ในสัมโพชฌงค์ไง อินทรีย์แก่กล้า อินทรีย์จากขุนอินทรีย์ จากอินทรีย์คือตา หู จมูก ลิ้น กาย เห็นไหม

สิ่งที่เป็นอินทรีย์เราบ่มเพาะอินทรีย์ มันมีมโนอินทรีย์คือใจด้วย เห็นไหม การทำบุญกุศลที่เราสร้างมานี่ เราเพาะบ่ม ถ้าเราเพาะบ่มสิ่งที่เราเพาะบ่มมา มันแก่ มันควร ผลไม้มันควรจะสุก พอผลไม้แก่เด็ดมามันก็จะสุก ถ้าผลไม้มันอ่อนผลไม้มันเป็นดอกไม่เป็นผลด้วย แล้วเวลาผลไม้ไม่เป็นผลเลย แต่เวลาเราปรารถนาอยากเอามะม่วง ปรารถนาเอาผลของมัน มันจะเป็นผลไหม

ถ้าไม่เป็นผลแล้วเราจะปฏิบัติกันทำไม เราก็ปฏิบัติเพื่อสร้างมันขึ้นมา มันเป็น ๒ ประเด็น ประเด็นหนึ่งถ้าเราตั้งใจทำดีแล้วมันไม่ได้สิ่งที่สมปรารถนา เราก็ไปน้อยเนื้อต่ำใจอันนั้นเราก็ไปตัดรอนกำลังของตัวเอง แต่เวลาเราทำไม่ได้แล้วเราไปน้อยเนื้อต่ำใจ มันจะทำให้เราหมดกำลังไง ๑. หมดกำลังนะ ๒. มันก็ทำให้เราคิดออกนอกลู่ เหมือนเทวทัต

เทวทัตมาดูนะ ย้อนกลับไปเทวทัตกับพระพุทธเจ้าที่สร้างสมมาเป็นพระเวสสันดรเป็นชูชก เห็นไหม ชูชก ตามล้างตามผลาญ แต่! แต่ก็ได้สร้างตบะธรรมนะ ได้สร้างตบะธรรมมาด้วยกัน แต่กุศลกับอกุศลไง ถ้าไม่ได้สร้างตบะธรรมขึ้นมา ทำไมเวลาพระเทวทัตโดนธรณีสูบไปแล้ว พระพุทธเจ้าบอกว่าเทวทัตถ้าพ้นจากนรกอเวจีจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ต่อไป

คำว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าเขาก็สร้างมาเหมือนกันใช่ไหม ถ้ามันเป็นกุศลกับอกุศลเท่านั้นเอง ทีนี้เราสร้างบารมีก็เหมือนกัน ความอยาก ถ้าอยากเป็นดีล่ะ อยากดี อยากเป็นมรรค คนนั่งสมาธิไม่ตั้งใจ ไม่มีสัจจะมีความอยากไหม สัจจะนี่สำคัญมาก เวลาตั้งสัจจะเลยนี่ เวลาเข้าพรรษาเราตั้งสัจจะเลยว่าเราจะงดเว้นอะไรบ้าง แล้วเรางดเว้น

การงดเว้น ถ้าเป็นกิเลสนะ ก็งดเว้นนะ นู่นก็ไม่ได้ ทำนี่ก็ไม่ได้ เลิก แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีครูบาอาจารย์นะ เว้นไว้แต่ เรายกตัวอย่างบ่อย เช่น หลวงตา ท่านบอกท่านนั่งตลอดรุ่ง ไม่ให้ลุกไม่ให้อะไรเลย เว้นไว้แต่ หลวงปู่มั่นครูบาอาจารย์ของเราเรียกใช้หรือหมู่คณะพระมีปัญหาเราจะออก มี ๒ ประเด็น เว้นไว้แต่ เว้นไว้แต่เรื่องครูบาอาจารย์หนึ่ง เรื่องของพระหนึ่ง เราลุกได้ นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราตั้งสัจจะขึ้นมานะเว้นไว้แต่สิ เว้นไว้ข้อไหนๆ

ทีนี้พอจะทำก็ไม่ได้อีกแหละ ถ้าเว้นแล้วมันก็ไม่สมบูรณ์จะทำก็ต้อง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นี่คนอ่อนแอ จิตใจอ่อนแอเห็นไหม กิเลสมันสอดเข้ามา ถ้าน้อยเนื้อต่ำใจกิเลสมันจะออกหน้า พอการออกหน้าปั๊บการปฏิบัติของเรา ถอยหลังก็ไม่ได้ ก้าวหน้าก็ไม่เดิน แต่ถ้ามีหลักนะถอยหลังก็ถอยหลังเพื่อจะเดินไปข้างหน้า ถ้ามีปัญญา ก้าวหน้าก็ก้าวหน้าเพื่อจะบุกบั่นมันไป จะได้ไม่ได้ช่างมัน

เพราะเวลาเราทำนะ เราเอาถึงความรู้สึกของเรา เวลาเราประพฤติปฏิบัตินี่ ทุกคนเวลาปฏิบัติมันจะมีเวลาที่จิตมันเสื่อม เวลาที่ปฏิบัติแล้วไม่ได้ เวลาเดินจงกรมนะ โอ้โฮ เดินกันทั้งวันเลยนะ โหยมาก อดอาหารมันโหยมาก ทั้งโหยทั้งกระหายทั้งทุกข์ แล้วปฏิบัติก็ไม่ได้เรื่อง อื้อฮือ โลกนี้ไม่น่าอยู่เลย แต่มันก็ตั้งปัญญาขึ้นมา นี่ไงความเพียรของเราสู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ ความเพียรของเราสู้ครูบาอาจารย์ไม่ได้ ความเพียรของเราขนาดนี้ครูบาอาจารย์ท่านมากกว่านั้น เห็นไหม

ที่ว่าเวลาประพฤติปฏิบัติกันไป เวลาสิ่งที่เราชนะกิเลส จะชนะตัวเองเห็นไหม กิเลสมันอยู่ฟากตาย เราจะเอาอะไรสู้มัน มันต้องย้อนหาครูบาอาจารย์ไง ถ้าสิ่งที่ว่าหลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ที่หลวงตาท่านบอกเลยท่านพูดเมื่อ ๒ วันนี้ ท่านบอกว่า

“เวลาอยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นเป็นคนเป่ากระหม่อมมา พอหลวงปู่มั่นนิพพานไปแล้ว ท่านตั้งปฏิญาณกับตัวเองเลย เราจะไม่เอาใครเป็นครูบาอาจารย์อีกแล้ว เราจะเอาตัวเราเองเป็นครูบาอาจารย์ เอาความเพียร เอาปัญญาของเราเป็นครูบาอาจารย์ของเราเอง ไม่ฟังใคร ไม่ฟังใครอีกแล้ว”

เพราะหลวงปู่มั่นท่านนิพพานไป หลวงตาท่านกำลังเต็มที่ของท่าน เวลาที่หลวงปู่มั่นนะเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ ท่านช่วยตัวเองแทบไม่ได้แล้ว เป็นวัณโรค เวลาหลวงตาขึ้นไปกราบเท้า เพราะว่าหลวงปู่มั่นนอนป่วยอยู่ ท่านก็เดินจงกรมอยู่

เราเข้าใจขณะเดินจงกรมอยู่เราจะเกิดปัญญา เราจะเกิดคำว่าเกิดมุมมองเกิดความเห็น มันยังสงสัยอยู่ก็จะขึ้นไปกราบท่าน ท่านลุกไม่ได้นะ พอไปถามธรรมะท่านจะลุกขึ้นมานั่งเลย “อ้าว ว่ามา”

หลวงตาท่านจะรายงานผล ถ้าคนภาวนายังภาวนาไม่เป็นจะไม่เข้าใจเหตุผลอย่างนี้เลย เวลาท่านเทศน์นะ ถ้าคนผ่านแล้วมันจะเข้าใจเหตุผล

เวลาไปกราบปั๊บ ถามปัญหาเลย ท่านป่วยอยู่น่ะ หลวงตาบอกท่านจะลุกขึ้นมาปุ๊บเลย “อ้าว ว่ามา” หลวงตาท่านจะรายงานผลไง ว่ามันเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ๆ ท่านก็จะแก้เลยต้องทำอย่างนั้นๆ เข้าใจไหม ถ้าไม่เข้าใจหลวงตาบอกถ้าไม่เข้าใจท่านจะนิ่งๆ แล้วไม่ไปไหน ท่านก็จะอธิบายรอบ ๒ รอบ ๓ จนถามว่าเข้าใจไหม หลวงตาบอก ถ้าเวลาท่านเข้าใจท่านก็ไม่พูดอีกล่ะ ท่านก็กราบ ปั๊บ ๆๆ แล้วก็ลงเลย พอกราบปั๊บ ท่านก็นอนต่อ เห็นไหม

เวลาเข้าด้ายเข้าเข็ม นี่เป็นกับเป็นไง ลูกศิษย์ก็ภาวนาเป็นอาจารย์ก็แก้ไขเป็น การแก้ไขเข้าไปกราบปั๊บเจ็บไข้ได้ป่วยลุกขึ้นมาเลย แล้วอธิบายทันทีเลย เพราะพ่อแม่กับลูก พ่อแม่นี่เวลาทำงานมา เราทำธุรกิจมันจะมีเหตุการณ์วิกฤติอย่างไรเราจะแก้อย่างไร แล้วเวลาลูกเราทำแล้วมันเจออย่างนั้น ทำไมจะไม่บอก ท่านก็บอก แล้วเวลาหลวงปู่มั่นนิพพานไปต่อหน้าต่อตา โอ๊ย! เราฟังท่านพูดอย่างนั้นมันสะเทือนใจ

ท่านบอกว่า “เวลาหลวงปู่มั่นนิพพานแล้วนะ พระนี่ล้อมเต็มเลย ท่านก็อยู่ด้วย แล้วพอสุดท้ายต่างคนต่างแยกไป ท่านมานั่งอยู่ที่ปลายเท้า นั่งอยู่กับซากศพนั่นน่ะ นั่งร้องไห้อยู่คนเดียวไง”

โอ้โฮ! ฟังแล้วซึ้งนะ เนี่ย เหมือนพ่อกับลูก “ได้อบรมบ่มนิสัย ได้เกลี้ยกล่อม ได้เลี้ยงดูมาตลอด แล้วบัดนี้พ่อตายแล้ว แล้วหัวใจเราจะเอาใครเป็นที่พึ่งอาศัย ไปนั่งร้องไห้อยู่ที่ปลายเท้านั่งอยู่คนเดียวไม่ให้ใครเห็น นั่งร้องไห้อยู่ ๒ ชั่วโมง บัดนี้จะไม่เอาใครเป็นครูอีกแล้ว จะเอาตัวเองเป็นครูอาจารย์ของเราเอง” แล้วท่านก็สมบุกสมบั่นมา

บุกบั่นมาจนถึงที่สุดได้ เพราะด้วยความมีสติด้วยความมุมานะ เอาตัวเองเป็นอาจารย์ เอาความเพียร เอาความผิดพลาด เอาความเห็นของเรานี่เป็นอาจารย์ แล้วทำมันขึ้นมา ไปปรึกษาใคร เขาก็ไม่รู้ถึงการกระทำ เขาบอกเราไม่เป็นหรอก อย่างเช่น อาหารที่มาใหม่นี่ มีกุ๊กเขาทำเป็น แล้วเราทำไม่เป็นน่ะ เราทำไม่เป็นแล้วเราไปถามคนอื่นที่ไม่เป็น มันก็ยิ่งไม่เป็นกันไปใหญ่เลย

แต่ถ้าไปถามคนเป็นมันก็เป็น แล้วไอ้เรื่องเป็นไม่เป็นง่ายนิดเดียวเลย ถามปัญหานะถ้าตอบผิด คือผิด ปัญหานะตอบผิดไม่ใช่หรอก ปัญหาตอบผิดไม่ได้ อริยสัจมีหนึ่งเดียว จะเดินแนวทางไหนก็แล้วแต่ หนึ่งเดียวเหมือนกันหมด ไม่ต่างกันเลย วิธีการหลากหลาย คำว่าวิธีการหลากหลายมันก็อยู่ที่วาสนา ถ้าเราไปเจอนะอย่างตอนนี้ฟังเสียงธรรม

ประวัติของหลวงปู่ชอบ โอ้โฮ! หลวงปู่ชอบเทศน์ให้เทวดาฟังมาตั้งแต่เด็กๆ เทศน์ให้เทวดามาตลอดเลย เรายังคิดว่าท่านมาอยู่กับหลวงปู่มั่น เราเข้าใจว่าหลวงปู่มั่นท่านฝึก ไม่ใช่ เป็นบารมีของหลวงปู่ชอบเอง เป็นมาตั้งแต่เด็กๆ ไปอยู่ที่ไหน เนี่ย ประวัติที่ว่าหลวงปู่สมาอยู่ด้วยกันที่ไหน กลดจะสว่างไปหมดเลย เทวดามาฟังเทศน์ตลอด นี่มันอยู่ที่พื้นฐานของแต่ละองค์

ทีนี้หลวงปู่ชอบท่านเทศน์สอนเทวดาไปหมดเลย หลวงปู่สมาไปถามเลยว่า

“เมื่อคืนแสงสว่างไปหมดน่ะอะไร”

หลวงปู่ชอบเลยถามกลับ “แล้วเข้าไปเห็นอะไรไหม”

“ไม่เห็นอะไรเลย เห็นเจอแต่หลวงปู่ชอบกับแสงสว่าง” ท่านบอกว่านี่คนตาไม่ถึง “เทวดามาฟังธรรม”

แล้วหลวงปู่สมาก็ถามว่า “แล้วสอนเทวดา เทศน์ให้เทวดาฟังเรื่องอะไร”

ท่านบอกเทศน์ให้เทวดาฟัง “เรื่องไตรสรณคมณ์ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เรื่องไตรสรณคมณ์” นี่พูดถึง ฟังนะ

หลวงปู่ชอบเทศน์สอนเทวดาทุกคืนเลย แล้วดูเทศน์มนุษย์สิ หลวงปู่ชอบเทศน์ได้เท่าไร หลวงปู่ชอบเทศน์สอนคนมากขนาดไหน นี่เรายกให้เห็นจริตนิสัย เวลาท่านเทศน์ เทศน์พวกเทพ พวกทิพย์ท่านเทศน์ได้คล่องปากเลย แต่เวลาเทศน์ให้มนุษย์ฟังหลวงปู่ชอบเทศน์ไหม นี่จริตนิสัย

แล้วครูบาอาจารย์ แต่ละองค์ที่ออกมาแสดงธรรม ธรรมมาจากไหน เวลาหลวงตาท่านพูดเวลาจะเทศน์นะ

“ใครอย่าถ่ายภาพนะ ถ้าถ่ายภาพขึ้นมาน่ะมันสะเทือนธรรม ธรรมมันกำลังจะออก” พอถ่ายภาพปุ๊บ ธรรมหายหมดเลย ธรรมมาจากไหน ธรรมมาจากความรู้สึกมาจากใจดวงนั้นไง เวลาแฟลชมันแว้บ มันสะเทือนธรรม

มันสะเทือนความรู้สึกนั้น ความรู้สึกนั้นวูบหายเลย นี่ธรรมะออกมาจากไหน ธรรมะออกมาจากความรู้สึกอันนั้น ความรู้สึกมันจะพรั่งพรูออกมา น้ำอมตะธรรมมันจะไหลออกมา ทีนี้มันจะไหลออกมา อย่าให้มีสิ่งใดไปกระเทือนทำให้สิ่งนั้นมันหายไป แล้วมันออกมา มันก็เป็นครั้งเป็นคราว ถึงที่ว่าหลวงตาท่านบอกว่า

“เราจะไม่เอาใครเป็นครูบาอาจารย์อีกแล้ว เราจะเอาตัวเราเองเป็นครูบาอาจารย์ของเราเอง”

ย้อนกลับมาพวกเรา พวกเราประพฤติปฏิบัติ เราจะเอาอะไรเป็นครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์มีนะพ่อแม่ครูบาอาจารย์เลี้ยงปากเลี้ยงท้องเลี้ยงหัวใจเราด้วย แต่ก็อยู่ข้างนอกใช่ไหม ถ้าเอาเราเป็นอาจารย์เห็นไหม เราหิวเอง เราหากินเอง เราเกิดปัญญาเอง เราทุกข์เอง เอาความทุกข์ความร้อน อัตตาหิ อัตโนนาโถ ถ้าเอาสิ่งนี้เป็นที่พึ่ง มันของจริงไง แต่ถ้าเป็นอาจารย์สอนนะ อาจารย์ลำเอียง ทำไมอาจารย์ว่าแต่เรา ทำไมคนอื่นไม่เห็นว่าเลย ไม่ว่าคนอื่นเพราะเขาภาวนาไม่เป็น

หลวงปู่มั่นนะ หลวงตาท่านเล่าให้ฟัง ว่าหลวงปู่มั่นอยู่ที่บ้านผือ ท่านจะดูพระไม่กี่องค์ คำว่าดูหมายถึงว่าพระองค์นี้ภาวนาเป็น เพราะภาวนาเป็นมันกำลังก้าวเดินอยู่เขามีเหตุมีผลในใจเขาอยู่ มันพูดกันรู้เรื่อง แต่ถ้าบางองค์เขาไม่มีเหตุมีผลในหัวใจของเขาคือว่าเขาอยู่ด้วยสมณสารูป คือเขาก็เป็นพระถูกต้องตามธรรมวินัย คือบวชมาจากอุปัชฌาย์เป็นพระเหมือนกัน ทีนี้เขาอยู่ในศีลในธรรมเขาก็เป็นพระ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ใช่ไหม เขาก็เป็นพระที่ดี

แต่ถ้าคนที่มีหลักมีเกณฑ์ในหัวใจ ในใจมันมีอริยสัจ มันมีมรรคญาณ มันมีปัญญามันหมุนของมันขึ้นไป ครูบาอาจารย์ท่านก็คอยชี้คอยแนะ ยกตัวอย่าง เช่น หลวงตา หลวงปู่มั่นจะถามว่า

“มหา จิตเป็นอย่างไร” เวลาท่านเป็นสมาธิไง

“โอ้โฮ สบายครับ สบาย”

จิตเป็นไง “โอ้ ดีครับ ดีครับ”

พอถึงที่สุดเห็นไหม บ่มเพาะจนอินทรีย์มันแก่กล้า มันสบายอะไร สบายอย่างนี้ มันสุขอย่างนี้ สุขเหมือนเศษเนื้อติดฟัน เศษเนื้อที่เรากินข้าวแล้วเหลือติดฟันน่ะความสุขแค่นี้เอง กับเรากินข้าวทั้งสำรับอะไรจะอร่อยกว่ากัน อ้าว ถ้ามันเป็น มันไม่ใช่ มันเป็นความสุขมันเป็นความว่างมันจะเป็นอย่างไร ท่านก็บอกว่าให้ทำให้ใช้ปัญญาออกมา เห็นไหม ท่านบอกว่าสิ่งนี้มันถูกต้องแล้ว เถียงกันอยู่อย่างนั้นแหละนะ จนถึงที่สุดนะออกมา พอออกมาเห็นไหม บ่มเพาะ

มีคนถามบ่อยนะ โทษนะ เราพูดถึงครูบาอาจารย์มันเป็นบุคลาธิษฐาน มันเป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรม ที่ทำให้เราเชื่อถือได้ แต่ถ้าพูดแล้วถ้าคนตีเป็นแง่ลบนะ เหมือนเราขายครูบาอาจารย์ไม่ใช่นะ เราไม่ได้ขายครูบาอาจารย์ เราเคารพของเรานะ เพียงแต่พูดถึงครูบาอาจารย์มันเป็นบุคลาธิษฐาน ที่เห็นภาพ แล้วเราจะแบบว่าเห็น เราพิจารณาของเราได้ไง

ท่านก็พูดของท่านว่า ถ้ามันไม่ใช่นิพพาน แล้วนี่มันเป็นสัมมา อ้าว ถ้าเป็นสัมมา สัมมาของพระพุทธเจ้ามันไม่มีสมุทัย สัมมาสมาธิไง สัมมาคือความถูกต้องแต่ของท่านน่ะมันมีสมุทัย กิเลสทั้งแท่ง ท่านถึงได้คิดแล้วท่านก็พิจารณาออกมา แต่คนถามบ่อยว่าทำไมอยู่กับหลวงปู่มั่นทำไมหลวงปู่มั่นปล่อยให้หลวงตาติดสมาธิตั้ง ๕ ปี

ไอ้ ๕ ปีนี่ นี่ไงที่ว่าท่านจี้บ่อยๆ ไง ความจี้บ่อยๆ ของท่าน ท่านดูของท่าน ดูความพร้อมของคน คนเตรียมพร้อมไหม คนมีหลักเกณฑ์ไหม นี่ความพร้อมของใจ ถ้าพูดถึงว่ามันเป็นไปไม่ได้หรอก ที่ว่าหลวงปู่มั่นไม่รู้ว่าหลวงตาติด รู้! แต่ก็ต้องบ่มเพาะ! บ่มเพาะ! บ่มเพาะ! นี่ไงการแก้ของครูบาอาจารย์มันมีหลักมีเกณฑ์ของมันนะ เราก็เหมือนกัน เราจะบ่มเพาะใจเรา เรามาสร้างกันนี่บ่มเพาะ แต่การบ่มเพาะของเรา เห็นไหม

ในพระไตรปิฎกบอกว่าคฤหัสถ์เป็นทางคับแคบ มาวัดทุกวันยังคับแคบเลย แต่ถ้าเป็นพระล่ะ พระภิกษุทางกว้างขวาง พระฉันเสร็จแล้วถ้าไม่มีธุระน่ะไปแล้ว ๒๔ ชั่วโมงเลย ทางกว้างขวางคือ ๒๔ ชั่วโมง ตลอดชีวิต เป็นทางที่ปฏิบัติได้ทุกวินาที แต่คฤหัสถ์คับแคบเพราะต้องทำงาน แล้วเช้าขึ้นมาก็ครึ่งชั่วโมง เย็นขึ้นมาก็ครึ่งชั่วโมง นี่ไงมีเท่านี้ไง หนทางมีเท่านี้ แต่อีก ๒๓ ชั่วโมงหน้าที่ในงานประจำชีวิต นี่ทางคับแคบของคฤหัสถ์มันคับแคบที่ไม่มีเวลาปฏิบัติ เวลามันออกไปทำหน้าที่การงานหมด พอทำหน้าที่การงานมันก็ปฏิบัติไปเห็นไหม

ในพระไตรปิฎกทุกข้อทางคฤหัสถ์เป็นทางคับแคบ ทางของสมณะเป็นทางที่กว้างขวาง แล้วถ้าสมณะ ภิกษุนะ ถ้าพูดถึงเห็นคุณตรงนี้นะ เรามาถูกทางแล้ว ทางนี้กว้างขวางเราต้องมุมานะ เราต้องจงใจ เราต้องพยายามของเรา เพราะถนนหนทางเรากว้างขวาง ทีนี้ถนนหนทางเรากว้างขวางแต่ถ้าเราไม่ทำมันก็คับแคบเพราะกิเลสเราเองทำให้หนทางเราคับแคบ

ถ้าหนทางเรากว้างขวาง เราต้องมุมานะ เราต้องทำของเรา เพื่อประโยชน์ของเรา ถ้าทำไป เห็นไหม เห็นประโยชน์ของมัน เห็นการกระทำของเรา เห็นสิ่งต่างๆ แต่ที่เวลาเราพูดนะทุกคนฟังแล้ว มันกินใจ เรารู้อยู่เวลาเราพูดทุกคนจะกินใจ แต่เวลาปฏิบัติมันกินใจไหมล่ะ เวลาเข้าไปทางจงกรมน่ะคอตกอีกแล้ว นี่มันมืดแปดด้าน มันทำไปแล้วมันไม่ได้ มันไม่ได้คืออย่างที่พูดเมื่อกี้ เมื่อกี้เราถึงบอกไง ให้ดูถูกมันซะว่าเราทำมาอย่างนี้ เราคิดของเราอย่างนี้ตลอดนะ เราพูดกับพวกนี้ประจำ บอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมานี่ อะไรเกิดขึ้นกับเรา เรายิ้มรับนะ

ตอนนี้นะ วันนั้นไปวัดป่าสุทธาวาสก็เหมือนกัน มีโยมมาหาหลายคนบอกว่าหลวงพ่อมีคนไปพูดข้างนอกว่าหลวงพ่อนี่ปากจัด ด่าคนมากด่าน่าดูเลย บอก แหม บอกพูดตามความเป็นจริง เราพูดคำไหน เราพูดหมด เราพูดจริงๆ เราพูดแล้วเรารับผิดชอบคำพูดของเรา เรารับผิดชอบเราพูดจริงๆ แล้วคำว่ารับผิดชอบเราบอกเลยว่าให้เอาคนที่ไหนที่เราว่าเขาให้มาหาเราหรือเอากรรมการคนไหนก็ได้ให้มาหาเราว่าเราพูดอย่างนี้มันมีเหตุมีผล พูดอย่างนี้จริงหรือเปล่า เราพูดอย่างนั้นจริงๆ ไอ้ที่เราพูดอย่างนั้นน่ะ แล้วเอามันมาเลย แล้วเอากรรมการมานั่งฟังว่าจริงหรือเปล่า มันก็ไม่กล้ามา นี่เวลาเขาพูดเห็นไหม

เราจะบอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมา เราเป็นคนทำเอง กรรมทั้งหลาย “กรรม” การกระทำ ในเมื่อกรรมเรากระทำแล้วสิ่งที่มันเกิดขึ้นมานี่ เราจะปฏิเสธมันไม่ได้ เราเป็นคนสร้างเหตุมาเอง กรรมที่เกิดขึ้นมากับเรานี่ การประพฤติปฏิบัติสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา มันมากับเรา เราทำมาเอง เราสร้างมาเอง แล้วเวลาเกิดผลของกรรมแล้วเราจะไปน้อยเนื้อต่ำใจ เราจะไปปฏิเสธ เราจะไม่ยอมรับเหรอ

เราพูดอย่างนี้บ่อย เมื่อก่อนน่ะ เวลาอยู่ที่นั่นน่ะ โอ้ย ทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมเป็นอย่างนั้น เราสร้างมาเอง นี่สร้างมาเห็นไหม แม่....เขาสงสารมาก พวกโยมนี่สงสารเรามาก เวลาอยู่ที่โพธารามน่ะ เหตุที่เราโดนสังคมเขาติฉินนินทามาก เขาบอกว่าเพราะเราไม่ถือฤกษ์ถือชัย

พอสร้างพระพุทธรูปที่โพธารามมานะ เขาเอา บัวลอยจีนน่ะมาไหว้ มาอะไร เขาบอกต้องทำอย่างนี้เพื่อจะไม่ให้คนด่า แม่....เขาบอกเลยนะเพราะไม่มีฤกษ์ไม่ดูฮวงจุ้ย โอ้ย ทุกคนจะมาแก้ฮวงจุ้ยให้นะ ทุกคนทำให้ทุกอย่างเลย เราไม่เอา แต่ถ้าโยมมาทำ แม่....ตอนหล่อพระมาที่โพธารามเห็นไหม เพราะอย่างนี้ทุกคนเขาพยายามจะมาทำฮวงจุ้ย ทำอะไรให้เราไม่โดนด่า เราบอกเป็นไปไม่ได้หรอก มันเป็นไปไม่ได้เพราะพวกนี้คิดไม่ออกไง

พวกนี้นะฉาบฉวย มองสังคมโดยความฉาบฉวย แต่ของเรานี่นะ เราไม่ได้มองตรงนี้ เราพูดกับไอ้....บ่อย เมื่อก่อนมาถึงนี่ ด่าทุกวัน ไอ้....โดนด่าร้องไห้ทุกวันเลย เราบอกว่าที่เราพูดอย่างนี้นะ เราพูดอย่างนี้เพราะนิสัยเราเป็นอย่างนี้ เราพูดอย่างนี้เพื่อให้ความรู้สึกเรามันได้ออกโดยธรรมชาติของมัน

ถ้าเราไปทำตัวเรียบร้อย เราไปทำตัวให้ทุกคนศรัทธา แล้วทุกคนก็มาศรัทธาเรา แล้วเราจะแสดงธรรม เราก็ต้องออกโดยธรรมชาติของเรา เพราะถ้าเราออกโดยธรรมชาติของเรา ไอ้คนที่เราทำตัวเรียบร้อยให้เขามั่นใจเราก็จะเสียใจว่าหลอกลวง เมื่อก่อนล่ะแหม..มาทำสงบเสงี่ยมตอนนี้มาออกเป็นพลุแตกเลย เราถึงบอกไม่ได้ เราจะทำตัวเราโดยธรรมชาติ ถ้าเราทำตัวโดยธรรมชาติ เรารู้ถึงเพราะเราอยู่กับครูบาอาจารย์มา

ดูหลวงตาท่านบอกสิ หลวงปู่มั่นท่านเทศน์นะ เทศน์ม้วนไหนก็นิพพานทุกม้วน แต่! แต่ไม่มันส์ วันไหนหลวงปู่มั่นจะเทศน์นะ ต้องหาเหตุเปิดก๊อกน้ำคือต้องเปิดให้ธรรมะออกให้ได้ ไปหาเหตุถามปัญหา ถามผิดๆ ถูกๆ ถามให้มันผิด พอมันผิดมันจะไปสะเทือนใจหลวงปู่มั่น ไม่ใช่! ไม่ใช่! ท่านบอกว่า ถ้าหลวงปู่มั่นพูดอย่างนี้ปั๊บนะ วันนั้นเทศน์ออกมานะ โอ้โฮ! สุดยอดเลย

มันออกมา เวลาจะเทศน์นะ ต้องแกล้งเข้าไปถามปัญหา อริยสัจมันเป็นทางนั้นใช่ไหม ไอ้นี่มันเป็นทางนี้ใช่ไหม ถามให้ผิดนะ อย่าถามให้ถูก ถามให้ผิด พอผิดปั๊บ ไม่ใช่! พอไม่ใช่ปั๊บ พรั่งพรูเลย มันจะออกมาจากความรู้สึกอันนั้น เพราะหลวงตาท่านเล่าบ่อย ท่านพูดถึงหลวงปู่มั่นบ่อย พูดถึงอย่างบ่อย แล้วโทษนะ ไม่ใช่ว่าอวดนะ ไม่ใช่อวดตัว เราก็ความรู้สึกของเรา ถ้าเราจะมาพูดโอ้โลมปฏิโลมนะ ไม่ล่ะ

ไอ้....มันพูดเห็นไหม บอกวันไหน ถ้าเรามีปัญหาบนศาลานี่ แล้วได้เทศน์นะวันนั้นมันส์มาก ถ้ามีอะไรกระทบนะ โอ้โฮ แรงมาก แล้วแรงออกไปมันจะมีเนื้อธรรม มันจะกินใจมาก ฉะนั้นเพราะเรารู้อย่างนี้ เราเลยไม่ต้องการให้คนที่เข้ามาหาเราเห็นว่าเราหน้าไหว้หลังหลอก พลิกไปพลิกมา เราถึงบอกว่าต้องเป็นอย่างนี้ เพราะเราไม่ต้องการให้คนที่เข้ามาทีแรกลำบากมาก ลำบากเพราะอะไร ลำบากเพราะไม่ใช่ความเป็นอยู่หรอก ลำบากเพราะการเผยแผ่ ธรรมะเข้าไปในสถานที่ไม่เคยไป

เราเคยธุดงค์นะเราขึ้นไปทางเชียงใหม่ ทางแม่ฮ่องสอน แปลกใจ เราไปสังเกตดู ถ้าวันไหนเราบิณฑบาตไปนะ แล้วมีคนใส่บาตรมีคนพอสมควรโดยประมาณนะ ลองถามดูสิ หลวงปู่มั่นเคยไปมาแล้ว ถ้าไปที่ไหนที่ครูบาอาจารย์ไม่เคยไปนะ เดินไปเถอะบิณฑบาต ทางเชียงใหม่ทางเหนือ เราต้อง อะแฮ้ม ให้เขารู้ตัวไง ทางนู้นก็ อะแฮ้ม รับรู้ว่าพระมาแล้วนะ เอ็งรอไปครึ่งชั่วโมง

เขาจะเตรียมตัวเป็นครึ่งชั่วโมง เป็นชั่วโมง โอ้โฮ! นานมาก มันเป็นวัฒนธรรม มันเป็นประเพณีเขา นี่ไม่ได้ติเตียนใครนะ นี่พูดถึงประเพณีวัฒนธรรมพื้นถิ่น เขาเป็นอย่างนั้นโดยธรรมชาติของเขานะ แล้วเราก็ไปสังเกต ถ้าทางเหนือนี่นะเวลาเขาจะบิณฑบาตเขาจะมีคนนำหน้า ตีฆ้องไง พระมาแล้ว พระมาแล้ว แล้วเขาจะมาพร้อมกันแล้วพระไปทีเดียว นั่นประเพณีของเขา

แต่กรรมฐานเรามันไม่มีตรงนั้น มันเลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง มันจะบิณฑบาตไปโดยธรรมวินัย จะไปต่างหาก แล้วถ้าที่ไหนไปนะ ถ้าเขามาใส่บาตรเร็วเขารู้จักประเพณีพระป่า แสดงว่าที่นั่นเคยมีครูบาอาจารย์ไปอบรมเขาไว้ แล้วเราไปกินบุญ แต่ถ้าที่ไหนไม่เคยมีใครไปนะ โอ้โฮ! ลำบาก มันลำบากที่ไหน ลำบากที่นิสัยเราไง นิสัยเราเคยทำแบบวัฒนธรรมของพระป่า มันก็บิณฑบาตไป ไปนั่นไม่ได้นะ ทำนั่นไม่ได้ ไม่ได้กินข้าว ต้องยืนสงบเสงี่ยมนะ ต้องยืนรอ ถ้าไม่ยืนรอจะได้บาตรเปล่ากลับวัด นี่ประเพณีเป็นอย่างนั้น

แล้วมาที่นี่เห็นไหม มาที่นี่มันไม่มีพระป่า มันไม่มีธรรมยุต แล้วพอไม่มีปั๊บนี่ หลวงตาท่านบอกนะไปเตะถ้วยลาภเขา เวลาไปเผยแผ่ที่ไหนน่ะ ไปเตะถ้วยลาภเขา คือประเพณีวัฒนธรรมของเขา เขาเป็นเหมือนกับทางโลก เขาได้ลาภได้สักการะของเขาอยู่ แล้วเราเข้าไปในสถานที่อย่างนั้นน่ะ ตรงนี้สำคัญมาก เรามันมีสองประเด็น ประเด็น ๑ เราจะตั้งสัจจะ ๑.ไม่รับกิจนิมนต์เพื่อไม่ไปสะเทือนลาภใคร ๒.ไม่รับกิจนิมนต์เพราะอยู่บ้านตาดไม่มีกิจนิมนต์ เพราะมีกิจนิมนต์มันเป็นลาภสักการะ มันเป็นผลประโยชน์ทางธาตุขันธ์ มันเป็นผลประโยชน์ทางโลก แต่มันเป็นผลลบทางธรรมทางหัวใจ

อย่างเช่นไปฉันที่บ้าน ไปบ้านเขานี่มันต้องมีใช่ไหม ไปเห็นนู่นเห็นนี่พระมันต้องคิด แล้วกลับมาภาวนามันต้องมาลบไง ตรงนี้เราถึงต้องตัดทิ้งไป เราตัดทิ้งหมดนะ อะไรที่จะไปสะเทือนผลประโยชน์ ตอนที่มาอยู่โพธาราม มันยังแรงขนาดนั้น ทีนี้ย้อนกลับมาที่เราไม่มีฮวงจุ้ย เราไม่ทำนั่นน่ะ มันคนละเรื่องมันไม่เกี่ยวกันหรอก มันเกี่ยวกับถ้วยลาภเขาต่างหาก

แล้วพระเข้ามาเผยแผ่ เข้ามาเสนอสิ่งทางเลือก โธ่ พวกนี้มองเกมส์ไม่ออก พอมองเกมส์ไม่ออกเขาก็คิดประสาเขา แต่เราก็เออตามเขานะ เราไม่ขัดขวาง แต่เขาคิดอย่างนั้น เรามันไม่ได้คิดอย่างนั้น นี่ไง ผลประโยชน์ทางร่างกาย ผลประโยชน์ทางโลก กับผลประโยชน์ทางหัวใจ แต่ของเรานี่เราคิดอยู่แล้ว เราคิดว่าถ้าทำไปประโยชน์มันจะเกิดขึ้นเองมันปรากฏขึ้นเอง

หลวงตาหรือครูบาอาจารย์ท่านสอน การสอนโดยไม่ต้องสอนคือการดำรงชีวิตอยู่ของเรานี่แหละ ตอนมาอยู่โพธารามใหม่ๆ เขาบอกว่าเป็นไปไม่ได้ ขนาดมาซื้อที่นี่ ไอ้....จำได้ไหม ผู้ใหญ่...น่ะเขาถามเอ็งว่ามาซื้อที่นี่ทำไม บอกซื้อที่นี่สร้างวัดใช่ไหม เขาบอกเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม เพราะไม่มีบ้านคน สร้างวัดเป็นไปไม่ได้ มันไม่มีบ้านคนเลย เห็นไหม นี่โลกเขาคิดไปอีกอย่างหนึ่ง แต่พวกเรานะคิดในใจเลย ไร้สาระ เรากลัวบ้านคนฉิบหายเลย บ้านคนนี่มาช้าๆ ยิ่งดี เพราะต้องการความสงัด แต่เขาคิดทางโลกไง ทางโลกก็เหมือนกัน นี่โลกคิดอย่างหนึ่งแต่ถ้ามันเป็นธรรมนะ

หลวงตาท่านพูดไว้คำนี้สะเทือนใจมาก ท่านบอกท่านอยากเห็น “อยากเห็นพระที่ปฏิบัติตรงธรรมวินัย แล้วไม่มีปัจจัยเครื่องอยู่อาศัย อยากเห็นน่าดูเลย” พระที่ปฏิบัติตัวอยู่ในธรรมในวินัยนะ แล้วดำรงชีวิตไม่ได้นี่อยากเห็น อยากเห็น มันไม่มีหรอก ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ในเมื่อเราอยู่ในธรรมวินัย แล้วมันไม่มี ไปบิณฑบาตไม่ได้ อะไรไม่ได้นี่ อยากเห็นมาก ท่านอยากเห็นมากนะ

แต่พวกพระเรานี่อ่อนแอกันเอง กลัวแต่ว่าจะไม่มีปัจจัยเครื่องอาศัย กลัวแต่ไง กลัวแต่ แต่มันไม่เป็นจริง กลัวแต่ ก็เลยทำให้เราอ่อนแอกันไปหมดเลย แต่ถ้าเราเข้มแข็งนะ ไปดูได้ ตั้งแต่ถ้ำกลองเพล ถ้ำกลองเพลสมัยหลวงปู่ขาวไปอยู่ใหม่ๆ เขาต้องไปส่งเสบียงห่างจากบ้านเป็นสิบๆ กิโล(เมตร)นะ วัดถ้ำกลองเพลน่ะ วัดที่เป็นหลักชัยของครูบาอาจารย์เรามาแต่ละวัด เมื่อก่อนนะสมบุกสมบั่นมาทั้งนั้น ผาแดงนะเมื่อก่อนบิณฑบาตเดินลงมาที ๑๔ กิโล(เมตร) แล้วเขาขึ้นไปส่ง ที่ผาแดงเดินลงมาคิดดูจากผาแดงเดินลงมาบิณฑบาต หลวงปู่ลีท่านอยู่ได้ ขอให้เราจริงเถิด นี่เพราะเราไม่จริงเห็นไหม

ย้อนกลับมาที่เราปฏิบัติขอให้จริงเถิด ถ้าปฏิบัติเราทำจริงนะแล้วเราทำจริงต้องจริงๆ แบบข้อเท็จจริงอย่าไปจริงด้วยกิเลส เพราะปฏิบัติมันยากตรงเรามีกิเลสอยู่ในใจ พอทำอะไรปั๊บกิเลสมันสร้างภาพ เราพูดบ่อย กิเลส อุปกิเลส กิเลสหยาบๆ เรานี่ เวลาอุปกิเลส เห็นไหมมันก็ละเอียดขึ้นมา ว่าง แสงสว่าง อุปกิเลสทั้งนั้นน่ะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันเป็นผลของสมถะ มันเป็นผลของนามธรรม ผลของจิตสงบ ของพลังงานน่ะ

พลังงานที่สะสมมันต้องมีกำลังมันทั้งนั้นน่ะ พอจิตมันสงบเข้ามา มันก็สว่าง มันก็ว่างเป็นธรรมดา พอว่างธรรมดาปั๊บ ว่างธรรมดา เห็นไหม มันว่างหรือไม่ว่างเป็นสมถะ สมถะอะไร คือนี่ไงที่ว่าสมาธิเห็นไหม ที่ว่าหลวงตาพูดกับหลวงปู่มั่น อ้าวถ้ามันไม่ใช่สัมมาสมาธิแล้วในมรรค ๘ มันเป็นสัมมาสมาธิได้อย่างไร อ้าว สัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง สัมมาสมาธิของท่านอย่างหนึ่ง สัมมาสมาธิของท่านมันไม่เป็นสัมมาสมาธิเพราะมันมีสมุทัยร่วมอยู่ด้วย พอจิตมันสงบเข้ามานี่ สมุทัยเต็มตัวไหม เต็มตัว สมุทัยไง ตัณหาความทะยานอยากมันได้ละไปหรือยัง

เราทำสมถะ จิตสงบเข้ามานี่มันสว่างไสวมันได้คัด มันได้ทำลายตัณหาไปบ้างหรือยัง ไม่ได้ทำอะไรเลยใช่ไหม แล้วมันว่างมันจะเป็นนิพพานได้อย่างไร ในเมื่อมันสงบเข้ามาเฉยๆน่ะแล้วมันจะเป็นนิพพานได้อย่างไร แต่เราก็เข้าใจว่านิพพานเพราะมันมหัศจรรย์ แล้วกิเลสเราไม่ทันมันน่ะเพราะกิเลสเป็นเรา ความคิดเป็นเรา จิตใต้สำนึกเป็นเรา ความที่จิตใต้สำนึกเป็นเรามันก็เข้าใจว่า เห็นไหม เสร็จ พอเข้าใจว่า มันเข้าใจว่า มันต้องตรงนี้ไงที่ว่ามันยาก

มันยากตรงนี้ ยากตรงที่เรามีกิเลส พอยากด้วยกิเลส กิเลสมันเป็นเรา กิเลสก็คือภพ คือขนาดกิเลสที่ละเอียดที่สุดแล้วนะ เวลาขึ้นมาเห็นไหม อนุสัย มันพลังงานออกไปพร้อม เหมือนกับน้ำที่ไหลมานี่เห็นไหม ตะกอนมากับน้ำ เวลาน้ำมันไหลมา น้ำท่วมน่ะ น้ำมันจะมากับตะกอน น้ำคือธรรมชาติ ตะกอนคือกิเลสมันอยู่ด้วยกันน่ะ

ทีนี้พอเราใช้สติของเราเรื่อยๆ จนตะกอนนั้นมันนอนตัว น้ำก็ใสอยู่แต่ตะกอนอยู่ในนั้นอีก พอขยับตะกอนก็ออก พอมันใส เราก็ว่ามันไม่มีกิเลส มันถึงเป็นไหวพริบนะ มันเป็นไหวพริบปฏิภาณที่เราจะเข้าใจแล้วจะแยกแยะตั้งใจอย่างไร ถ้าไม่ตั้งใจ ไม่มีสติ มันจะไม่เห็นกาย เวทนา จิต ธรรม โดยสัจจะความจริง แต่พอจิตสงบปั๊บนี่ มีปฏิภาณไหวพริบ ตรงนี้วาสนา ที่ว่าสมถะและวิปัสสนา

ถ้าวิปัสสนาขึ้นมามันจะเห็นของมัน มันจะใคร่ครวญของมัน เห็นกายนี่นะมันหลากหลายมาก เห็นกายโดยเจโตวิมุตติมันจะเห็นเป็นนิมิต เห็นเป็นภาพ เห็นกายแบบหลวงปู่ดูลย์ เห็นกายคือจิตมันจับขันธ์ได้ จับความรู้สึกได้ แล้วมันเปรียบเทียบเรื่องกาย เปรียบเทียบคือใช้ปัญญาไง เราฟังของหลวงปู่ดูลย์นะ ที่ว่าเขาไปถามว่าเห็นกาย พิจารณากายต้องเห็นกายไหม ท่านบอกไม่ต้องเห็น แล้วเวลาไปถามครูบาอาจารย์เช่น หลวงปู่ชอบ หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงปู่คำดีนี่ เห็นกายต้องเห็นอสุภะไหม ต้องเห็น ต้องให้เห็นภาพ

การเห็นกายมันยังหลากหลายมากนะ มันยังหลากหลายเฉพาะกายอย่างเดียวนะ แล้วเห็นเวทนาล่ะเวทนาคนก็ไม่เท่ากันเห็นไหม มันหลากหลายเพราะมันเป็นที่จริตนิสัย ของใครตกผลึกมากตกผลึกน้อยในหัวใจเรา แล้วมันต้องแก้ไขไปตามนั้น เหมือนคนป่วย จิตป่วย จิตใครป่วยเป็นโรคอะไรก็ต้องรักษาตามโรคนั้น ถ้ามันรักษาตามโรคนั้นมันก็จะหายได้ แล้วต้องรักษาบ่อยครั้งเข้าๆ

นี่โลกุตรปัญญามันละเอียดอย่างนี้ ที่ว่าปัญญาละเอียด ละเอียด โลกุตรปัญญา ปัญญาไม่ใช่สมองคิดหรอก สมองคิดนี่เป็นสัญญาทั้งหมด เป็นการคาดหมาย พอจิตสงบปั๊บพอมันคิดปั๊บ มันจะเกิดภาพเลย เห็นไหม โอภายิกังคะ มันโอภาสสว่างไสว มันเป็นของมันไปนะ มันมหัศจรรย์ จิตมหัศจรรย์มาก แล้วมันเกิดอาการต่างๆ เราก็จะไปติดมัน

ทีนี้อาการต่างๆ มันเป็นการทดสอบ มันต้องเกิดนะ เวลาเราบอกว่าทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นมันจะผิดพลาด มันจะเป็นการผิด แล้วพูดถึงจะให้มันไม่มี มันไม่ใช่ มันต้องมี อาการนี้ต้องมี เรากินข้าวเราปฏิเสธรสของข้าวไม่ได้ จิตของเรามีกิเลส เวลาปฏิบัติไปอาการอย่างนี้คืออาการที่มันแสดงตัวโดยกิเลส โดยธรรม โดยธรรมคือสติ โดยปัญญามันแสดงตัวของมัน แต่มันมีกิเลสนอนเนื่องมากับใจ

บางทีมันก็เป็นออกทางแนวกิเลส หมายถึงรสในอาหารมันต้องมีตลอดไปใช่ไหม นี่ก็เหมือนกันความรู้ความเห็นมันจะมีกับใจนี่ตลอดไปแล้วเราอย่าเพิ่งเชื่อมั่นไง เราต้องตรวจสอบ ทดสอบ ตรวจสอบ ทดสอบ จนมันเป็นเฉพาะความจริงล้วนๆ ไง คือเรากินอาหารให้เป็นประโยชน์กับร่างกายล้วนๆ อย่าให้มันเป็นโทษกับร่างกาย

แต่อาหารทุกอย่างมันก็มีคุณมีโทษในอาหารนั้น ในร่างกายก็เหมือนกัน เราต้องตั้งใจ นี่ความละเอียด ละเอียดตรงนี้ ละเอียดตรงที่เราแยกมัน แต่! แต่ต้องเจอ มันจะเจออาการอย่างนี้ แล้วบอกหลวงพ่อบอกไม่ใช่ ไม่ใช่ ปฏิเสธมัน ไม่ใช่นะ จับมันแล้วใคร่ครวญ เราจับได้ เราดูได้แต่เราไม่เอาไง เราจับได้ดูได้แล้วเราปล่อยวาง ไม่ใช่จับได้ดูได้แล้วยึดว่าเป็นเราเห็นไหม

เราจับได้เราพิจารณาแล้วปล่อยวางเพราะมันจะต้องมีจริงๆ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ต้องสู้ตามข้อเท็จจริง ประสาเราเลยนะพวกเรานี่ไม่ใช่หมอแต่ต้องเป็นหมอ ต้องวิเคราะห์วินิจฉัยโรคเองไง เราไม่ใช่หมอใช่ไหม แต่เราต้องมีภูมิรู้เหมือนหมอ คือเราต้องใคร่ครวญมันน่ะ มันยากตรงนี้ แต่ถ้าเป็นหมออยู่แล้ว หมอมันก็หลอกหมอทั้งนั้นน่ะ มันก็สร้างให้ละเอียดเข้าไปอีก

มันก็สร้างเพราะอะไร เพราะกิเลสเรามันสร้าง กิเลสมันเอาความรู้เรามาหลอกเรา ปัญญามันจะเกิดไปเรื่อยๆ ต่อสู้ไปเรื่อยๆ นี่พูดถึงการปฏิบัติ เริ่มต้นมาจากที่ว่าเรื่องกิเลสมันหลอก เราตั้งใจของเรา เราทำของเรา แล้วเวลามันน้อยเนื้อต่ำใจ

พระก็เหมือนกัน พระที่เป็นนี่ พอน้อยเนื้อต่ำใจขึ้นมา เราคิดนะ เพราะเราก็เคยคิดอย่างนี้ ทุกคนนั่งอยู่นี่ไม่เคยน้อยเนื้อต่ำใจไม่มีหรอก เพราะนี่มันเป็นเรื่องธรรมดา มันเรื่องความคิด ใครห้ามความคิดได้ ทุกคนจะไม่น้อยเนื้อต่ำใจล่ะ ทุกคนต้องน้อยใจทั้งนั้นล่ะ ไม่น้อยใจเรื่องอะไรมันก็ต้องมีเรื่องทั้งนั้นล่ะ แล้วเราน้อยใจแล้วนี่ เราจะน้อยใจให้มันซ้ำๆๆ ไปให้เราเสียศูนย์เหรอ พอเราน้อยใจเราก็พลิกมันกลับไง เราก็เอาความน้อยใจนี่เราน้อยใจเรื่องอะไร ก็เราทำมา อย่างที่เราพูด ที่เราพูดเราทำมาทั้งนั้นนะ อย่างเช่น มันน้อยใจ เราคิดใช้ปัญญาไล่กับมัน มันพลิกได้หมดล่ะ

เวลาทุกข์นะ “หลวงปู่มั่นทุกข์กว่าเราเยอะนัก พระพุทธเจ้าทุกข์กว่าเราเยอะ เยอะมาก” เพราะฉะนั้นความเพียร ไม่ได้ขี้ตีนหลวงปู่มั่น ความเพียรพวกเราไม่ได้ขี้ตีนเลย ท่านไปอยู่กับเสือ เสือมาดมมุ้ง เสือมันมานั่งขวางทางจงกรม เราเคยเจอไหม เราเคยทุกข์ขนาดไหม ก็ไม่อีกล่ะ เวลามันน้อยเนื้อต่ำใจมันคิดอย่างนี้ขึ้นมา มันทำให้เราฮึดขึ้นมาได้

เราใช้อย่างนี้ฮึดขึ้นมาตลอด เวลามันเหมือนไม่มีทางจะไปนะ พระพุทธเจ้าบอกไว้แล้ว ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ๗ปี ๗ ปี ๗ ปี ย้ำเลยนะ ๗ ปี ฮึดขึ้นมาอีก มันสำคัญตรงที่ว่าเวลามันท้อถอยนี่ เราจะมีปัญญาหมุนยังไงให้มันพลิกกลับ พอมันพลิกกลับ เมื่อวานใครมานะแล้วบอกว่าอดอาหารเขาพูดไม่ทุกข์เหรอ ไม่หิวเหรอ หิวสิ โคตรหิวเลย ขนาดมันต้องมีอุบายนะ

อยู่บ้านตาด เมื่อก่อนไม่มีอะไรหรอก อดอาหารได้รับแจกไอ้พวกทอฟฟี่นี่เก็บไว้ เวลาโหยๆ ขึ้นมานะบ่ายๆ อมเม็ดหนึ่ง น้ำนี่นะ ใส่แก้ว ๓-๔ แก้วเหมือนกลูโคส พอได้สักรอบหนึ่งนะ เดินจงกรมได้อีก ๔-๕ ชั่วโมง เวลามันจะเป็นจะตายเราเก็บไว้เลยนะ พวกทอฟฟี่พวกฮอลล์นี่อะไรเก็บไว้ เวลาเขาแจกมายังไม่ฉันเก็บไว้ก่อน เอาไว้เวลาโหยๆ

เวลาเราอดอาหารอยู่มันโหยๆ มันไม่ไหวนะ อมเม็ดหนึ่ง แล้วน้ำฝนนี่ ๔-๕ แก้วอัดเข้าไป โอ้ย คึกคักได้อีกพักหนึ่ง ทำอย่างนี้มาตลอด ไม่หิวเหรอ หิว แต่ถ้ากินข้าวแล้วก็นั่งหลับ กินข้าวแล้วปัญญามันก็ไม่หมุน มันก็ต้องทน ต้องสู้กันๆ เพราะมันเห็นผลนะ คนปฏิบัตินะ เห็นผล เราทำอาหารนะ วันนี้อาหารดี วันนี้ออกมาสวยงาม วันนี้อาหารของเราออกมาไหม้ เราทำเองเรารู้เอง ประสบการณ์มันมี

จิตก็เหมือนกันภาวนาแล้ว วันนี้เป็นอย่างนี้ วันนี้เป็นอย่างนี้ๆๆ แล้วก็เทียบเคียงเอาไง อ้าว ถ่านมันอ่อนไปเว้ย โอ๋ วันนี้ไฟมันแรงไป วันนี้ไอ้นั่นมันอ่อนไป มันก็หาความสมดุลของมัน เพิ่มไอ้นั่นลดไอ้นี่ในปัญญา มันจะเพิ่มมันจะลดของมัน มันจะต่อสู้ของมัน ทำอย่างนี้มาตลอดนะ ไม่ใช่อาหารเสร็จแล้วจะได้กิน ไม่ได้กินหรอก กินเสร็จแล้วนะเดี๋ยวมันก็ถ่ายทิ้ง

จิตสงบทีหนึ่งนะเดี๋ยวมันก็เสื่อม จิตมีปัญญารอบหนึ่งนะเดี๋ยวมันก็ทุกข์ มันอยู่อย่างนั้นน่ะ ทำแล้วทำเล่าๆๆ จนถึงที่สุดมันปั๊บ ขาด ขาดรู้เลย แล้วเวลาสอนคนเวลาใครมาบอกว่า เป็นแล้วกูไม่ฟังมึงหรอก เราเป็นมาพอแรงแล้ว เพียงแต่ว่าเดี๋ยวนี้นะมันต้องให้กำลังใจกันไง

เพราะคนปฏิบัติดูสิในโลกนี้มี ๖,๐๐๐ กว่าล้านคน ชาวพุทธมีเท่าไร ทีนี้ชาวพุทธมีคนมาปฏิบัติกี่คน ไปนับฝั่งนู้นสิมีกี่คน แล้วนับประเทศไทยนี่คนเข้าวัดมีกี่คน แล้วคนเข้าวัดที่ปฏิบัติในวัดมันถึงล้านคนไหม ไม่ถึง แล้วในล้านคนปฏิบัติขึ้นมาแล้วมีหลักมีเกณฑ์น่ะ มีกี่คน เพราะอย่างนี้มันถึงต้องให้กำลังใจกันไง เวลามานะ อือ อือ อือ

แต่ในใจนะกูไม่เชื่อมึงหรอก แต่อือ อือ เพื่อกำลังใจ เพื่อให้ทุกคนฮึกเหิม เพื่อให้ทุกคนมีขวัญกำลังใจให้มันสู้ เพราะรู้อยู่มันอ่อน เข่าอ่อน แต่ครูบาอาจารย์เรานี่ หลวงปู่มั่นใครเป็นคนไปให้กำลังใจ ไปปฏิบัติที่ไหนมีแต่ฝ่ายปกครองจับไม่ให้ทำ จับ จับ มีแต่คนขัดขวาง มีแต่คนรังแก ไอ้ของเรานี่นะ วัดเปิดไว้ให้กว้างเลย ทุกคนคอยยุคอยกระตุ้นเลย ไม่เอา แต่ครูบาอาจารย์ท่านกว่าจะได้มา เห็นไหม

เราอยู่โพธาราม โดนขี้ปานะ โดนเขาเอาสิบล้อชน โดนเขาเอาปืนยิง พยานนั่งอยู่นี่ มาอยู่โพธารามน่ะ ใครส่งเสริม มีใครส่งเสริมบ้าง มีแต่จะฆ่ามึง ฆ่าอย่างเดียว ฆ่าได้ฆ่าเลย ใครส่งเสริม แล้วมาอยู่อย่างนี้มีหัวหน้ามีผู้คุ้มครองส่งเสริมทำไมไม่ทำ ปัญญาไม่มีคิดเหรอ ปัญญาคิดไม่เป็นเหรอ ปัญญาคิดเป็นขึ้นมานะ มันเข้มแข็ง มันต่อสู้ ครูบาอาจารย์เราไม่มีใคร มีแต่คนขัดขวางนะ มีแต่คนคอยรังแก ท่านยังเอาตัวท่านรอดมาได้ ท่านยังเป็นผู้นำของเรา ท่านยังมาเป็นผู้วางรากฐานไว้ แล้วเราผู้เดินตามเฉยๆ นะ

ถ้าย้อนกลับเห็นไหม พระพุทธเจ้า พุทธะ ๔ อสงไขย สร้างมามาก มันถึงมีบุญญาธิการ มีบารมี มีสิ่งต่างๆ เอาวางเป็นธรรมวินัยให้เราก้าวเดินมาเลย แล้วครูบาอาจารย์ก็มารื้อค้น ฉะนั้นคิดบวกอย่างนี้ทำให้เราเข้มแข็งทำให้เราต่อสู้ แล้วมันก็จะย้อนกลับเข้ามาข้างใน ย้อนกลับมาสู้ นี่ไม่ได้ไปคิดแต่เรื่องคนอื่น ไปคิดแต่เรื่องข้างนอก คิดแต่เรื่องของเรา คิดแต่เรื่องกิเลส คิดแต่เรื่องสิ่งต่างๆ

คิดอย่างนี้ขึ้นมาแล้วเข้มแข็งมาก โธ่ เราปฏิบัตินะ จนหมู่คณะนี่ มันก็แปลกใจ จนเขาประชุมกันนะ ให้....... ตอนนั้น.......อยู่ด้วยกัน .......สนิทกันที่สุด .......กล้าพูด เวลาเรามาฉันน้ำร้อนน่ะ

“หงบเว้ย หมู่คณะเขาบอกมึงน่ะทำหน้าเหม็นขี้ทั้งวันเลย”

ก็มันเคร่ง เคร่ง พวกพระด้วยกันเขาประชุมกันนะ เขาเห็นเราแบบว่ากลัวเราจะเครียดมั้ง เขาประชุมกันแล้วเขาให้คนมาสื่อความหมาย

“หงบเว้ย หมู่คณะเขาบอกว่าเอ็งน่ะให้มันยิ้มแย้มบ้างสิ วันๆ น่ะทำแต่หน้าเหม็นขี้ทั้งวันเลย”

เราก็รับฟังไว้ แต่จิตใจนี่มันมีหลักแล้ว มันคิดเลยว่าเขามองเราอย่างไร เขามองเราอย่างไร เขาคิดอย่างไร แต่สำหรับเรานะ

“โอ้ กูจะเดินไปข้างหน้าอีก กูจะไปของกูอีก กูจะไปให้ได้ กูจะไปของกูให้ได้”

เราจะไปให้ได้เราก็ต้องเข้มแข็งของเราเอง ใครจะมาเจาะยางใครจะมาพูดให้เราท้อถอยไม่ได้ ใครพูดอย่างไรให้เขาพูดไป นี่ขนาดพระด้วยกันนะ เพราะเขาเห็นความมุมานะ ความเอาจริงเอาจังไง เพราะความเอาจริงเอาจังไม่ใช่ถูกหมดนะ

ความกล้าหาญไม่ใช่ความถูกต้อง ถ้ากล้าหาญในสิ่งที่วิกฤติสังคมที่เราช่วยเหลือเขา สิ่งนั้นถูกต้อง กล้าหาญในการปล้นการจี้ การทำลายเขาก็คือกล้าหาญ ความกล้าหาญมันเป็นกลาง มันมีดีและชั่ว กล้าในทางดีและกล้าในทางชั่ว ความกล้าหาญเป็นกล้าหาญ นี้คือเป็นกลางๆ ถ้ากล้าหาญในทางที่ถูกต้องกล้าหาญในสิ่งที่ดี สิ่งนี้เป็นมรรคเป็นแง่บวก

ถ้ากล้าหาญในการทำลายล้าง กล้าหาญในสิ่งที่ผิดๆ อันนั้นเป็นบาปอกุศล ฉะนั้นไม่ใช่ว่ากล้าหาญเข้มแข็งแล้วจะถูกต้องไปหมดนะ เข้มแข็งด้วย ต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ ต้องทำความถูกต้อง นี่ไง เวลาชำระกิเลสเห็นไหม ชำระกิเลสโดยชอบ ชำระกิเลสโดยไม่ชอบ กลบเกลื่อนไว้ไง ไม่ชอบหรอก เดี๋ยวมันก็ฟื้นขึ้นมา ความเพียรชอบ การทำหน้าที่การงานชอบ

ทุกอย่างชอบสมดุล แล้วมันเป็นความจริงมันถึงเป็นประโยชน์กับเรา ถ้ามันกล้าหาญแล้วไม่ชอบ กล้าหาญไปทำไม เทวทัตก็กล้าหาญนะ กล้าหาญกับนรกอเวจีไง แล้วเราจะเอาไหม กล้าหาญตกนรก กล้าหาญไหม กล้าหาญมันต้องกล้าหาญในทางที่ดี ในทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่ว่ากล้าหาญ แล้วจะโอ้! คนนี้กล้าหาญนะ คนนี้เก่ง

มีพระมาหาเราเห็นไหม โอ้ย ผมนี่เข้มแข็งกล้าหาญมาก “โอ้! ในคุกเข้มแข็งกว่ามึงอีก” เงียบเลย เวลาใครจะมาเอาคะแนนไง “โอ้ย ผมนี่องอาจกล้าหาญมาก” เราบอกว่า “ในคุก ในคุกเขานักเลงน่ะ เยอะแยะเลย ติดคุกเต็มเลย กล้าหาญๆ น่ะ” เงียบเลย กล้าหาญน่ะกล้าหาญในเรื่องอะไร พิจารณาอะไร เราทำอะไรเป็นประโยชน์

กล้าหาญต้องมีประโยชน์ด้วย มีความถูกต้องด้วย มีความดีงามด้วย มันถึงจะเป็นประโยชน์ นี่ไง ชอบธรรม เวลาเกิดสงคราม เกิดการทะเลาะเบาะแว้งจะเอาแต่ฝ่ายถูกไง ความชอบธรรม จะคุ้มครองเราตลอดนะ ความไม่ชอบธรรมน่ะอกุศลเพราะไม่ชอบธรรมเราก็ไม่กล้าพูด เราก็หลบๆ หลีกๆ เห็นไหม สิ่งนี้ทำให้เราเสียหายนะ ตั้งใจแล้วทำสิ่งที่ดีๆ เนาะ เอวัง