ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะศรัทธาเช้า

๒๒ พ.ย. ๒๕๕๑

 

คณะศรัทธาเช้า
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถ้าพูดถึงปฏิบัติไม่เป็นมันก็จะพูดแบบวิทยาศาสตร์ คำว่า “วิทยาศาสตร์” พูดถึงวิทยาศาสตร์แล้วต้องเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น โลกจะคิดกันเลยว่าธรรมะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ถึงจะพิสูจน์ได้ เราก็บอกว่ายิ่งกว่าวิทยาศาสตร์อีกธรรมะนี่ มันวิทยาศาสตร์ทางจิตนะ เพราะวิทยาศาสตร์นี่มัน ๙๙.๙๙ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไม่มี ปรมัตถธรรมไม่มี แต่ธรรมะนี่ล้านเปอร์เซ็นต์ ต้องล้านเปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่ล้านเปอร์เซ็นต์มันชำระกิเลสไม่ได้ เพราะกิเลสจะแอบอยู่ตรงนั้น แอบตรงที่จุดๆ นะ จุดๆๆๆ ศูนย์เลย กิเลสมันจะแอบอยู่ตรงนั้น มันถึงต้องตรงนั้น

ฉะนั้น พอคิดอย่างนี้ปั๊บจะมาพูดถึงการปฏิบัติของพวกเรา ว่าการศึกษาของพวกเราเป็นปัญญาชน พอเราศึกษาธรรมะแล้ว “ต้องเป็นอย่างนี้ ๆ” แล้วเชื่อมั่นมาก แล้วธรรมะต้องเป็นอย่างนั้นจริง ๆ เพียงแต่ว่า ตรงนี้ที่เราพูดว่าเส้นผมบังภูเขา เส้นผมบังภูเขาไง เพราะเราศึกษาเป็นความจริง แต่ความจริง สัจจะในความจริงจริง ๆ แต่เราไม่จริง เห็นไหม

เราถึงค้านไง เขาว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ เราบอกว่าไม่ใช่ ไม่ใช่ ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาตินะพวกเรานี่เป็นพระอรหันต์หมดแล้ว เพราะเราเกิดจากธรรมชาติ การเกิดและการตาย การหมุนเวียนไป ชีวิตคู่นี่เป็นธรรมชาติใช่ไหม การสืบพันธุ์นี่เป็นธรรมชาตินะ ธรรมชาติของโลกนี่การสืบพันธุ์คือการเกิด การสืบต่อชีวิต นี่เป็นธรรมชาติ แล้วเราก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ทำไมเราไม่เป็นธรรมะล่ะ

ธรรมะนี่ธรรมเหนือโลก คือธรรมเหนือธรรมชาติ มันต้องรู้สัจธรรม รู้ตามความจริงธรรมชาติแล้วปล่อยธรรมชาติตามความเป็นจริง เหมือนกับเรานักวิทยาศาสตร์รู้ทฤษฎีแล้วเราจะไม่สงสัยอะไรเลย นี่มันรู้สัจจะความจริงในการเกิดและการตาย การหมุนไปของธรรมชาติ การหมุนไปของธรรมใช่ไหม แล้วมันปล่อยไว้ตามเป็นจริง ไม่อย่างนั้นเราก็จะเกิดจะตายกันอย่างนั้น

“รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง” แล้วว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาตินี่ค้านนะ ค้านในใจ ถ้าเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นชีวิตคู่ แล้วออกมาถือพรหมจรรย์ไม่มีคู่นี่ผิดธรรมชาติแล้ว นี่ฝืนธรรมชาติ ไอ้พวกนี้เอาไปประหารชีวิตเพราะมันไม่อยู่ในธรรมชาติ เพราะธรรมชาตินี่มันของคู่ ระหว่างชีวิตคู่นี่คือชีวิตเรื่องธรรมชาติ จริงไหม ไม่ผิดหลักธรรมชาติ แล้วทำไมอยู่คนเดียว แล้วไม่เห็นพูดเรื่องพระเลย ถือพรหมจรรย์ ถ้าถือพรหมจรรย์ พรหมจรรย์นี้อยู่เพื่อใคร พรหมจรรย์นี้อยู่เพื่อพรหมจรรย์ ไม่อยู่เพื่อใครเลย

ทีนี้ย้อนกลับมา เราจะบอกก่อน เราจะปูพื้นให้เห็นก่อนว่า “เวลาปฏิบัติแล้วเราก็ว่าเราใช้ปัญญากันแล้วไง เราใช้ปัญญาแล้ว เรารู้แล้ว” ไม่รู้อะไรเลย ไม่รู้อะไรเลย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะไปชิงสุกก่อนห่าม มันต้องเป็นขั้นตอน ผลไม้เวลาออกมามันจะเป็นดอกแล้วเป็นผล แล้วผลไม้มันจะแก่เป็นธรรมดา มันต้องเจริญเติบโตเป็นธรรมชาติ

ทีนี้ของเราก็เหมือนกัน ของเรานี่เราไปชิงสุกก่อนห่ามไง พอเราไปศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าเรารู้หมดแล้ว รู้หมดเลย ศีล สมาธิ ปัญญา มรรคเป็นอย่างนั้น ๆ แต่รู้โดยโลกไง มันไม่เป็นไปตามธรรมชาติ นี้พอเราไม่ศึกษาธรรมะเราก็ไม่รู้อะไรกันเลยใช่ไหม พอเราไปอ่านนี่เราว่าเรารู้แล้ว เราเข้าใจแล้ว แต่เข้าใจโดยอะไร เข้าใจโดยเราเข้าใจ แต่มันไม่เป็นความจริง

ถ้าเป็นความจริงมันเหมือนเลย การปฏิบัติธรรมนี่นะ เหมือนนักวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์เราทำวิจัยต่าง ๆ เราต้องทดสอบ เราจะทดสอบ เราต้องทดสอบจนกว่ามันจะรู้จริง จนกว่าจะได้หลักเกณฑ์มันขึ้นมา

ในการปฏิบัติก็เหมือนกัน ในการปฏิบัตินี่มันต้องเริ่มต้น ธรรมะพระพุทธเจ้าถูกต้อง ๆ แต่ถ้าเราทำความจริงของเราขึ้นมา เราต้องปฏิบัติของเรา ทีนี้พอปฏิบัติขึ้นมานี่ เข้าตรงนี้แล้ว บอกว่าถ้าเราคิดนี่นะเป็นโลกียปัญญา เราถึงบอกว่าโลกียปัญญามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ตรงนี้คนไม่เข้าใจ คำว่าปัญญาอบรมสมาธินี่เราคิดได้ เราใช้ปัญญาได้ แต่ปัญญาเรานี่ใคร่ครวญหาเหตุหาผลหาถูกหาผิด พอหาเหตุหาผลหาถูกหาผิด เราเข้าใจว่าอะไรผิดถูก เราจะทิ้งความผิด เอาแต่ความถูก

แต่ในอภิธรรมเขาไม่เอาตรงนี้ เขาบอกให้ดูการเกิดดับ ให้ดูเฉย ๆ เห็นการเกิดและการดับ ถ้าเห็นการเกิดและการดับ เราเปรียบเทียบพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก หรือไม่เดี๋ยวนี้นะ ไฟถนนนี่ ไฟถนนนี่เดี๋ยวนี้เขาไม่ใช้สวิตซ์ไง เขาใช้แสง เห็นไหม เวลาแสงมันสลัวลง ไฟจะติดเอง มันไม่มีชีวิตนะ มันก็เกิดดับได้ มันติดเองดับเองก็ได้ แล้วเรามาเห็นตอนเกิดดับ เรานี่เราได้อะไร เราได้อะไร เห็นการเกิดและการดับเราได้อะไร เพราะอะไร เพราะไม่มีปัญญา ไม่เข้าใจอะไร

ทีนี้เพียงแต่ว่าถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เราถึงค้านการดูจิตมาก การดูจิตเราค้าน แต่มันใช้ได้เป็นบางคราวไง การดูจิตนี่เป็นการพัก อย่างเช่น เราใช้ปัญญาเรามากนะ เราก็ยันไว้ไง พูดอย่างนี้ปั๊บมันคิดถึงหลวงตา หลวงตาท่านบอกว่าท่านนั่งสมาธิอยู่ตลอดเวลา แล้วใช้ปัญญามาก ตอนที่หลวงปู่มั่นให้ออกพิจารณาแล้วไง ตอนที่แบบว่าสมาธินี้เป็น..ถ้าสัมมาสมาธิไม่มีแล้วอยู่ที่ไหน

“สัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง สัมมาสมาธิพระพุทธเจ้าเป็นสัมมาสมาธิที่ไม่มีสมุทัย ไม่มีความคิดเราบวก แต่สมาธิของท่านมันมีสมุทัย มันถึงไม่ใช่เป็นสัมมา”

แล้วด้วยเหตุผลท่านก็เชื่อ พอเชื่อท่านออกใช้ปัญญา ทีนี้พอใช้ปัญญา ตรงนี้ พอใช้ปัญญาวิปัสสนาไปเรื่อยๆ ทีนี้มันทำทั้งคืน มันเหนื่อยมาก เหมือนเช่นหัวค่ำ จิตเราสงบแล้ว เราก็พิจารณาอสุภะตลอด ทีนี้พอมันเหนื่อยมากมันก็หยุดไว้ไง ยันไว้ ดูจิตยันไว้ ท่านบอกว่า “ท่านเหนื่อยมาก พอใช้ปัญญาหมุนมันเหนื่อยมาก ท่านก็ใช้ขันติ ก็ใช้สติกดไว้ ยันมันไว้เฉย ๆ” พอดีหลวงปู่มั่นท่านส่งจิตมาดู มาเห็นหลวงตาท่านยันไว้โดยขันติ แล้วพอเช้าไปทำข้อวัตรไง เช้าหลวงตาท่านเล่าเองนะ ท่านบอกท่านไปทำข้อวัตร พอขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นซัดปั๊บเลย

“มหา มหาพิจารณาอย่างไร พิจารณาอย่างนั้นน่ะเหรอ”

พิจารณาต้องใช้ปัญญาใช่ไหม แต่นี่ไม่ ท่านบอก “ท่านยันไว้” ท่านเหนื่อยมากแล้วท่านยันไว้ พอยันไว้นี่

“มหา มหาพิจารณาอย่างไร พิจารณาอย่างนั้นน่ะเหรอ พิจารณาแบบหมากัดกัน”

หมากัดกัน เวลามันกัดกัน หมากัดกัน ท่านเปรียบเทียบ หมากัดกันเวลามันกัดกันแล้ว มันต่างคนต่างกัดกันอยู่ มันไม่ปล่อย เห็นไหม มันยันกันไว้ไง นี่มันก็ยันไว้เฉยๆ ท่านบอก

“ไม่ถูกต้อง ต้องใช้ปัญญา ไม่ใช่ไปยันไว้อย่างนั้น ยันไว้อย่างนั้นมันเหมือนกับ…”

ทีนี้หลวงตาท่านเคารพ ท่านก็รับทราบ แล้วท่านมาเล่าให้พวกเราฟัง ท่านบอกว่า หลวงตาท่านพูดอย่างนี้นะ ท่านบอกว่า

“หลวงปู่มั่นท่านส่งจิตมาดูเราคนละเวลา ถ้าท่านส่งจิตมาดูเราก่อนหน้านั้น ท่านจะไม่พูดอย่างนี้เลย เพราะก่อนหน้านั้นท่านใช้ปัญญาต่อสู้กับมันเต็มที่ แล้วท่านเหนื่อยไง”

เราใช้ปัญญาใช้ความคิดมากๆ ใช้ปัญญามันจะเหนื่อยมาก พอเหนื่อยมากท่านก็พักไง พักด้วยการเหมือนพักสมาธิยันไว้ พอดีหลวงปู่มั่นส่งจิตมาดูพอดี มาเห็นตอนนั้นน่ะ เห็นไหม การดูจิต การยันไว้ มันไม่ใช่ทาง แต่มันพักได้ เขาเรียกขันติธรรม ในการดูจิตไง

ทีนี้การใช้ปัญญาอบรมสมาธินี่ ถ้าเราใช้กัน ถ้าคนเข้าใจตรงนี้ คนปฏิบัติมันเขวจากตรงนี้ มันถึงทำให้ไม่เข้าใจอะไรไง ถ้าไม่เขวจากตรงนี้นะ จับตรงนี้ได้จะไม่สงสัยอะไรเลย คือเราใช้ปัญญาได้ ใช้สติปัญญานี่ไปได้ แต่มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ หมายถึงว่า เราใช้ปัญญา สมมุติว่าเราคิด เราคิดเรื่องอะไรก็แล้วแต่ เราก็มีสติยับยั้งมัน เราคิดหาเหตุหาผล นี่คือปัญญาอบรมสมาธิ เราจะเห็นเลยว่าเราคิดถูกคิดผิด เราคิดสิ่งดีหรือไม่ดี

ถ้าเราคิดถึงสิ่งที่ดีๆ เออ เราว่าสิ่งนี้ที่ดี บางทีมันคิดแต่สิ่งที่ไม่ดีไง มันอารมณ์กระทบอะไรอย่างนี้ มันคิด เราจะบอกว่าสิ่งนั้นเป็นกิเลส สิ่งนี้เป็นธรรม เห็นไหม มันจะคัดเลือกอย่างนี้ นี้เราจะคิดดี คิดดีหมายถึงว่าอยากปฏิบัติ อยากตั้งสติ คิดแต่สิ่งที่ครูบาอาจารย์คิดให้เป็นประเด็น เหมือนเอาประวัติของครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติมาเป็นตัวตั้ง แล้วคิดตาม คิดให้ดีๆ ไปนี่ จิตใจมันจะกล่อมของมัน มันจะกลมกล่อมของมันแล้วถึงเวลามันจะปล่อยวางไง มันปล่อยวางความคิด พอปล่อยวางความคิดนี่มันจะมีอิสระ นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ส่วนใหญ่ได้แค่นี้

ที่เขาทำๆ กันอยู่นะคือแค่นี้เอง คือปัญญาอบรมสมาธิ คือผลของมันคือสมถะไง คือผลของมันคือตัวจิต คือความรู้สึก ปล่อยความคิด ความคิดนี้ไม่ใช่ความรู้สึกนะ ความคิดเกิดจากความรู้สึก เพราะมีความรู้สึกเรามันถึงมีความคิด ความรู้สึกคือตัวพลังงาน ความคิดมันเกิดดับ ความคิดนี่เห็นไหม เราคิดเป็นเรื่องๆ จบเป็นเรื่องๆ ไป แต่ตัวความรู้สึกไม่เคยจบ เพียงแต่บางทีมันเผลอ เรานั่งเผลอๆ นี่เราไม่มี แต่พอเรารู้สึกตัวขึ้นมาก็มี ตัวนี้เวลามันปล่อย มันปล่อยความคิดมา มันจะเป็นตัวความรู้สึก คือตัวจิต ถ้ามันปล่อยบ่อยครั้งเข้าๆ นี่ไงเป็นสมาธิ แล้วเป็นสมาธิไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ

พอสมาธิไปเรื่อยๆ นะ มันจะสร้างฐานของมัน เราจะใช้คำนี้เลยว่าการสร้างฐานของมัน เวลามันเห็นความคิดขนาดนี้ปั๊บ มันจะใช้ความคิดนะ ใช้ความคิด พอเห็นความคิด ทำไมความคิดนี่ควบคุมได้ง่าย ควบคุมได้ยาก ความคิดที่ควบคุมได้ง่ายคือมันมีสติ แล้วเราเห็นโทษของมัน เราเห็นโทษ อย่างเช่น เรารู้ว่าน้ำร้อน ถ้าเราจับของร้อนนี่มันจะร้อน จับของเย็นนี่มันจะไม่ร้อน ความคิดถ้ามันคิดเรื่องร้อนมันก็จะร้อน คิดเรื่องเย็นมันก็จะเย็น ฉะนั้นมันก็ควบคุมความคิดเข้ามาเรื่อยๆ มันก็คิดแต่เรื่องที่เป็นคุณก็คือธรรมะ คือความเย็นเข้ามาเรื่อยๆ มันก็ควบคุมใจได้ง่าย

แล้วทำไมถ้ามันควบคุมไม่ได้ บางทีมันเราโดนกระทบรุนแรง จิตมันโดนกระทบรุนแรง มันคิดแต่เรื่องที่มันไม่พอใจไง มันทำไมถึงเป็นอย่างนั้นล่ะ มันเป็นอย่างนั้น เพราะนี่ไง เพราะกิเลสไง เพราะกิเลส กิเลสคืออะไร กิเลสคือตัวตัณหา คือตัวความอยาก มันอยากในอะไร อยากในรูป รส กลิ่น เสียง ความคิดนี่คือรูป รส กลิ่น เสียง เสียงที่เราคิด เสียงที่ได้ยิน รูป รูปที่เรารู้สึก มันคิดแต่ตรงนี้

แต่ถ้าปัญญามันเห็นปั๊บ มันจะรู้เลยว่า รูป รส กลิ่น เสียง นี่มันสักแต่ว่า สมมุติเสียงที่เขาเอ็ดเรานี่ก็เสียงเฉยๆ แต่เราไปให้ค่าเขาเอ็ด พอเสียงเขาชมล่ะ เสียงเขาชมหรือเสียงเขาเอ็ดมามันคือเสียงเท่ากัน คุณค่าของคุณภาพเสียงไง เท่ากัน เสียงดังเสียงเบาเท่ากันใช่ไหม แต่เราให้ค่ามันเองใช่ไหม บวกหรือลบ ไอ้บวกหรือลบ “บ่วงของมาร พวงดอกไม้แห่งมาร” ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ปั๊บ มันจะเห็นเลยว่าเราให้ค่าเอง ถ้าเราให้ค่าเอง เราทันปั๊บ เราจะตัดตรงนี้ได้ ตัดตรงให้ค่าไง ให้ค่าว่าเป็นเสียงที่บวกหรือลบ แต่เสียงคือเสียง

เราวัดเสียงด้วยเทคโนโลยีที่วัดความดังของเสียง เสียงคือเสียง แต่ทำไมเราให้ค่ามันล่ะ เพราะอะไร เพราะเรามีตัณหาไง นี่ไงบ่วงของมาร พวงดอกไม้แห่งมาร รูป รส กลิ่น เสียง นี่เป็นบ่วงของมาร มันเอามาล่อเราไง เพราะเราได้ยินเราอยากได้ยิน ถ้าใครชม แหม อยากฟังมากเลย นี่ไง ตัวนี้มันตัวกระตุ้น ถ้าใช้ปัญญาบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า มันจะเข้าไปเห็นตัวนี้ไง มันจะตัดได้เอง ตัดได้เองหมายถึงว่ารูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร

พอตัดได้ปั๊บจะกลับมาตรงนี้ กลับมาตรงที่ว่า เวลาเราพิจารณา เราใช้ความคิด ความคิดเกิดขึ้น แล้วเราใช้ปัญญาไล่ไป ปัญญาคือตามความคิดไป สติตามความคิดไปเห็นคุณเห็นโทษของมัน แล้วปล่อยวางๆ พอมันปล่อยวางทีหนึ่ง มันก็ปล่อยกลับมาที่ตัวความรู้สึกทีหนึ่ง แต่มันเร็วมาก ปล่อยแปบเดียวเดี๋ยวคิดอีกแล้ว เดี๋ยวคิดอีกแล้ว แต่ถ้ามันปล่อยเราจะเห็นคุณค่ามันแล้ว แล้วปล่อยบ่อยๆ เข้า จนเห็นอย่างอธิบายเมื่อกี้เรื่องบ่วงของมาร เรื่องรูป รส กลิ่น เสียง พอเห็นคุณค่าบ่อยครั้งเข้ามันจะทัน ทันจนรู้จักเลย แล้วมันตัดได้เลย

เพราะทีนี้ ความคิดสักแต่ว่าความคิด เสียงสักแต่ว่าเสียง ทุกอย่างสักแต่ว่าเป็นธรรมชาติของมัน สติพร้อมหมดเลยนะ นี่กัลยาณปุถุชน ปุถุชนคือคนหนาด้วยกิเลส มันจะควบคุมใจได้ยาก แต่พอเห็นเหตุเห็นผลจนเราปล่อยวางได้ มันจะเป็นกัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชน หมายถึงว่า กัลยาณปุถุชนใช่ไหม ปุถุชนคนหนา กัลยาณปุถุชนคือคนบาง บางจากเรื่องโลกๆ มันจะควบคุมตัวนี้ ตัวความรู้สึกนี้ได้ดีขึ้นมากๆ แล้วทำบ่อยครั้งเข้าๆ จนมันมีหลักเกณฑ์ของมัน พอมีหลักเกณฑ์ของมัน ตรงนี้ ตรงนี้มันจะเป็นวิปัสสนา

โดยธรรมชาติ ความรู้สึกกับความคิดนี่มันมีโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แล้วมันจะทำงานของมันเองโดยสัญชาตญาณ เราไม่เคยเห็นไง แต่พอจิตมันสงบปั๊บ เราจับหลักได้นี่เราจะเห็น เพราะเรารู้เอง เห็นว่ามันเสวยอารมณ์ เห็นว่าพลังงานมันเสวยความคิดอย่างไร มันจับได้ พอมันจับได้ตรงนี้ พอจับได้ พลังงาน พลังงานคือตัวจิต ความคิดคือขันธ์ ๕ เห็นไหม ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ แต่ขณะที่มันจะจับนี่มันยังไม่เห็น

มันเหมือนผู้พิพากษาเลย คือมันพิจารณาโดยข้อเท็จจริงเลย ถ้าเห็นอย่างนี้ปั๊บ นี่แค่เห็นเฉยๆ เห็นคือเหมือนกับเราเป็นเจ้าของเทคโนโลยี เราควบคุมมัน แต่เราใช้งาน เราซ่อมมันเป็น เรารักษาเป็น คือ เราแยกมันออกไง เหมือนเอาคอมพิวเตอร์นี่มาถอดออกซ่อมเลย เราเอาความรู้สึกเรา เอาสัญชาตญาณ เอาความสสารที่มันมีพลังงานเอาออกมาซ่อมเลย ออกมารื้อออกๆ พอรื้อออกนี่ความคิดมันเกิดไม่ได้ ความคิดมันดับหมด เพราะว่าเหมือนคอมพิวเตอร์จุดใดจุดหนึ่งเราถอดออก ทำไมทำงานอะไรไม่ได้

นี่ก็เหมือนกัน พอมันเห็นเสวยอารมณ์นี่ไง จิตนี่มันจะเสวยอารมณ์ ถ้าเสวยจับได้ พอจับได้มันถึงวิปัสสนา ในธรรมของครูบาอาจารย์จะบอกว่า เรารู้อยู่ว่านาย ก. ขโมยของไป แต่เราจับตัว นาย ก. ไม่ได้ เราจับตัวนาย ก. ไม่ได้ เรารู้อยู่ นี่ทุกคนรู้อยู่ว่าตัวเองมีกิเลส ทุกคนรู้อยู่ว่าในใจเรามีสิ่งที่เราอยากจะชำระ แต่เราไม่เห็นจำเลยไง เราจับจำเลยไม่ได้ การจับจำเลยไม่ได้นี่วิปัสสนาไม่มีหรอก ครูบาอาจารย์ท่านพูดอย่างนี้นะ ในการประพฤติปฏิบัติมันมีอยู่สองกรณี

กรณีหนึ่ง คือ ขุดคุ้ยหาจำเลย การขุดคุ้ย การพยายามแสวงหามานี่ แต่เราไม่ได้คิดกัน เราไปคิดปฏิเสธตั้งแต่ทีแรก สุกก่อนห่ามไง มันถึงบอกว่า ถ้าบอกว่า “เมื่อไหร่จิตมันจะสงบแล้วถึงจะได้วิปัสสนา” คือ ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บมันจะไม่ใช้ความคิดไง เราถึงบอกว่าเราเทศน์บ่อย เวลาเราพูด เราพูดถึงว่าโลกียปัญญากับโลกุตตรปัญญา โลกียปัญญาคือปัญญาที่เราทำวิจัยกันอยู่นี่ ศาสตราจารย์ จะดอกเตอร์อะไรก็แล้วแต่ที่เขาทำการวิจัยนี่คือโลกียปัญญา คือปัญญาของโลกทั้งหมด

โลกุตตรปัญญาคือจะเป็นนาย ก. นาย ข. จะคนทุกข์จนเข็ญใจ จะเศรษฐีกุฎุมพี จะมีฐานะขนาดไหน ถ้าจิตสงบจนตั้งมั่นแล้วแล้วจิตเห็นจิต อาการของจิต จิตเห็นอาการของจิต เหมือน..เราเปรียบเทียบบ่อย เหมือนส้มกับเปลือกส้ม ตัวจิตคือตัวเนื้อส้ม ความคิดเป็นเปลือกส้ม แล้วส้มมันก็มีโดยธรรมชาติของมัน ส้มก็มีเปลือกโดยธรรมชาติของมัน ความคิดกับจิตมันก็เป็นธรรมชาติของมันที่มันมีอยู่แล้ว แล้วส้มกับเปลือกส้ม เราคนเป็น เราถึงปอกเปลือกส้มเอาเปลือกส้มทิ้งกับกินเนื้อส้ม แต่ถ้าคนไม่รู้จักมันกินทั้งลูกนะ

มีอยู่เขาพูดมีคนมาเล่าให้ฟังว่าเขาเคยขึ้น เขานั่งการบินไทยไง แล้วการบินไทยนี่เขาเสริฟมังคุด ฝรั่งมันไม่รู้จักมังคุด มันเอามังคุดนี่เคี้ยวเลย มันปอกมังคุดไม่เป็น มันไม่รู้ว่ามังคุดต้องปอกเปลือกทิ้ง กินเนื้อ มันนึกว่ามังคุดนี่เป็นผลไม้ไง มันเอามังคุดนี่เคี้ยวกินเลย เขาไปเห็นมา เขาบอกเห็นไหม เป็นความผิดพลาดของประเทศไทย ไม่ได้ทำประชาสัมพันธ์ว่าวิธีกินมังคุดกินอย่างไร

นี่ก็เหมือนกัน เราไม่เข้าใจ เราไม่เข้าใจว่าส้มกับเปลือกส้มมันอยู่ด้วยกัน เพราะเราไม่เคยเห็น เหมือนคนที่ไม่เข้าใจว่ามังคุดกินอย่างไร เคี้ยวทั้งเปลือกไง นี่ธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น แต่พอจิตสงบเข้ามานี่มันเห็น มันรู้ เพราะจิตความรู้สึกนี่มันเป็นเนื้อส้ม ความคิดมันเป็นเปลือกส้ม แต่เราจับไม่ได้ เราไม่รู้จัก แต่ถ้าวันไหนเราจับได้ เราเห็นได้ นั่นจะเป็นวิปัสสนาคือโลกุตตรธรรม

โลกุตตรธรรมคือธรรมเหนือโลก ธรรมที่จิตมันไม่ได้คิดด้วยสมอง พวกเรานี่คิดด้วยสมองนะ สมองนี่คิดด้วยสถิติ ถ้าคิดแบบวิทยาศาสตร์ ถ้าพลิกจากนี้ไปเป็นความผิด คือมันคิดความคิดในกรอบ เป็นกรอบที่ความคิดวิทยาศาสตร์ตายตัว แต่ธรรมะนี่นะมันเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งกว่าเยอะ มันเป็นความคิดจากใจ ไม่ใช่ความคิดจากสมอง

สมองนี่มันเหมือนกับแฟ้มๆ หนึ่ง แล้วต้องเสนองานตามแฟ้มนั้น สมองคิดได้อย่างนี้ ตายตัวอย่างนี้ ตามแฟ้มนั้น เพราะสมองนี่เป็นศูนย์บัญชาการ มันเป็นประสาทที่ควบคุมร่างกาย แต่ถ้ามันไม่มีตัวจิตนะ สมองนี่ทำงานไม่ได้ คือเหมือนกับเครื่องใช้คอมพิวเตอร์ไม่มีไฟ ไฟคือตัวจิต แล้วพอละเอียดเข้ามาเห็นไหม มันพ้นจากแฟ้ม พ้นจากสมอง มันยังเข้ามาที่ตัวจิต เพราะตัวจิตนี่เป็นตัวพลังงาน แล้วถ้าความคิดขึ้นมานี่ จะบอกว่ามันไม่มีกรอบกติกาไง มันเป็นสัจธรรมว่าจะเกิดขึ้นมา

เราใช้ปัญญา สังเกตได้คนปฏิบัติ บางทีเราใช้ปัญญามากเลยไม่สงบ บางทีเราใช้ปัญญาเล็กน้อยก็สงบ เห็นไหม มันเกิดจากตรงนี้ไง มันไม่ใช่กรอบ เราต้องคิดว่าต้องคิดได้แบบนี้ ความรู้สึกคือแบบนี้จิตมันจะสงบ นั่นคือวิทยาศาสตร์ นั้นคือกรอบตายตัว นั่นคือแฟ้ม แต่พอจิตมันสงบเข้ามานี่มันพ้นจากแฟ้มนั้น พ้นจากความคิดของสมอง พ้นจากสถิติ พ้นจากความคิดต่างๆ มันเป็นธรรมชาติของมัน แล้วเกิดนี่ โลกุตตรธรรมไง มันต้องสงบเข้ามาตรงนี้ไง

ทีนี้พอโลกุตตรธรรมมันเกิดขึ้นมานี่ โลกุตตรธรรมเกิดนี่ธรรมจักร สิ่งที่จักร จักรมันเคลื่อน ธรรมจักร ธรรมจักรมันเคลื่อน มันเป็นโลกุตตรธรรม เวลาถ้ามันหมุนไปหรือใช้ปัญญาไปมันจะให้จิตเอาพลังงาน เพราะความคิดเกิดจากใจไม่ใช่สมอง ไม่ใช่เกิดจากข้อมูล มันจะใคร่ครวญของมัน แล้วถ้ามันปล่อยนี่โลกุตตรธรรม จะบอกว่าอย่างนี้นะ จะบอกว่าโลกียธรรมนี่เป็นมิติหนึ่ง โลกุตตรธรรมเป็นอีกมิติหนึ่ง แต่อยู่ในความคิดเรานี่แหละ แต่เป็นคนละมิติ

แล้วทีนี้ย้อนกลับมา ย้อนกลับมาที่โยมถามตอนเช้า โยมถามว่า “แล้วเมื่อไหร่เราถึงจะได้ใช้โลกุตตรธรรมล่ะ” ทุกคนนะจะไปตะครุบโลกุตตรธรรมว่าโลกุตตรธรรมต้องมาหาเรา ไม่ใช่ โลกุตตรธรรมจะเกิดขึ้นจากโลกียธรรม โลกียธรรมคือสามัญสำนึกที่เราคิดอยู่นี่มันเป็นโลกียะคือธรรมชาติไง เพราะเราเกิดมากับโลก เราเกิดมาโดยโลก เพราะเรามีกิเลส มันก็มีความคิดเป็นธรรมดา แล้วเราใช้ความคิดเราไล่ความคิดเข้าไป ให้มันสะอาดเข้าไป มันเกิดจากความคิดเรานี่แหละ

ถึงบอกไม่ต้องน้อยใจ บางทีมันจะเจริญแล้วเสื่อม คำว่าเจริญ พอมันจิตสงบเข้ามามันเป็นโลกุตตรธรรม เราใช้ความคิดในโลกุตตรธรรม แล้วใช้บ่อยครั้งๆ เข้า พลังงานใช้บ่อยครั้งเข้ามันจะเสื่อม คือพลังงานใช้มัน มันจะเสื่อมออกไป มันจากโลกุตตรธรรม มันก็จะถอยออกมาเป็นโลกียธรรม

โลกุตตรธรรมกับโลกียธรรมน่ะต่างกันตรงไหน?

โลกียธรรมมันคิดโดยเรา เหมือนกับเราจับต้องเหมือนวิทยาศาสตร์เลย ทุกอย่างรู้ไปหมดเลย รู้เลยนะ แล้วพอมันจะพิจารณาให้เป็นโลกุตตรธรรม หมายถึงว่า โลกุตตรธรรมหมายถึงเข้าใจในสัจธรรม สัจธรรมในการเกิดและการดับของขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ การเกิดการดับของตัณหาความทะยานอยาก แล้วตัวพลังงานคือตัวสัจธรรมเห็นไหม มันพิจารณาไปแล้วมันไม่ปล่อย

ถ้าเป็นโลกุตตรธรรมที่มันสมดุลนะ ที่มีสมาธิ เวลาพิจารณาไปมันจะปล่อย มันจะคืนสู่สัจธรรม ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ทุกอย่างจะกลับสู่สภาพเดิม แล้วมันจะปล่อยตัวพลังงานตัวจิตนี่หลุดออกมา มันจะว่าง มันจะมีความสุขมากเวลาความคิดหนหนึ่งๆ นี่โลกุตตรธรรม แต่พอใช้งานบ่อยครั้ง พลังงานทุกชนิด พอใช้ไปแล้วมันต้องเสื่อมถอยเป็นธรรมดา

พอใช้บ่อยครั้งเข้าๆ มันก็มีตัวตนเรานี่ เพราะตัวตนคือตัวภพคือตัวความรู้สึก ตัวภพเรานี่ ภพชาติอยู่ที่ความรู้สึก ตัวภพ ภวาสวะ ฐานความคิด ความคิดไม่ใช่ภพ ความคิดเกิดจากฐานคือตัวภพ คือตัวพลังงาน ทีนี้พอมันเสื่อม มันเสื่อมออกมา มันก็เป็นตัวนี้ พอตัวนี้ออกมาปั๊บ มันก็จะเป็นความคิด ความคิดเหมือนกับว่าคิดโดยข้อมูล คิดโดยวิทยาศาสตร์ไง ธรรมะต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ อ้างอิงแล้วเหนื่อยมาก พอเหนื่อยมากต้องปล่อยแล้ว ตรงนี้ไง ปล่อยความคิดกลับมาพุทโธ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา คือสมาธิมันอ่อน

ฉะนั้น ถึงจะเป็นโลกุตตรธรรม เดี๋ยวมันก็เสื่อม เดี๋ยวมันก็เจริญ เจริญแล้วเสื่อมนี่มันอยู่ที่เราควบคุมไง มันอยู่ที่เราควบคุม ถ้าใครภาวนาแล้วมีจุดยืนตรงนี้ เข้าใจว่าถ้าเราใช้ปัญญาอย่างนี้มันเป็นโลกียธรรม เหมือนกับเรานี่หาวัตถุดิบ สิ่งที่หาวัตถุดิบนะ ศีล สมาธิ ปัญญา หาวัตถุดิบ วัตถุดิบคือทำความสงบเข้ามา เหมือนเราทำอาหาร เราต้องมีวัตถุดิบ เราถึงทำเป็นอาหารได้

นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันถอยออกมานี่ มันเหมือนมันหมดเลย เราต้องหาวัตถุดิบ หาสมาธิไง หาสมาธิหาฐาน พอมีสมาธิมีฐานขึ้นไปนี่ เราก็ทำอาหารออกมา เป็นอาหารเป็นชนิดๆ ขึ้นมา ทำอาหาร การทำอาหารมันต้องมีวัตถุดิบ ผักหญ้าต่างๆ มาทำอาหาร การจะวิปัสสนามันต้องมีพื้นฐานของทุน พื้นฐานของสมาธิ

ทีนี้ในปัจจุบันนี่คนเข้าใจผิด คนเข้าใจผิดว่าสมาธินี่มันไม่มีประโยชน์ ก็ทุกคนน่ะมันต้องการ เราพูดบ่อยนะ ทุกคนต้องการข้าวสุกแต่ทุกคนปฏิเสธข้าวสาร มันเป็นไปได้ไหม ทุกคนอยากได้ข้าวสุกไง อยากได้ข้าวจากหม้อ แต่ทุกคนปฏิเสธข้าวสาร นี่ก็เหมือนกัน ทุกคนอยากภาวนาเป็นแต่ทุกคนปฏิเสธสมาธิ

มันบ้า ข้าวสุกมันมาจากข้าวสาร แล้วข้าวสารมันมาจากไหน ข้าวสารมันก็มาจากท้องนา นี่ก็เหมือนกันถ้าเรา มันไปคิดกันเองไง มันไปจินตนาการเองว่า “ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา สมาธิไม่มีประโยชน์ เพราะสมาธินี่มันเป็นสมาธิเฉยๆ มันพ้นจากกิเลสไม่ได้”

แต่ตัวสมาธินี่สำคัญมาก หลวงปู่มั่นพูดไว้ขนาดนี้เลยนะว่า “ตัวสมาธินี่เป็นตัวประธาน ปัญญาสติทุกอย่างเกิดจากสมาธิ”

สมาธินี่เป็นตัวประธานเลย แต่นี้ในพระไตรปิฎกเขาไปคิดกันอย่างนี้ คิดว่าในธรรมจักร ในมรรค ๘ สัมมาทิฏฐิคือปัญญา ปัญญาสำคัญที่สุด ปัญญาสำคัญที่สุด เห็นไหม แต่ถ้าไม่มีสมาธินี่ปัญญามันเป็นปัญญาโจรนะ ปัญญาปล้นชิงเขามานะ ทีนี้ถ้ามันคิดอย่างนี้ได้นะ จะบอกว่า โดยหลักนี่มันต้องปฏิบัติมา พัฒนาการมันขึ้นมา จะบอกว่าจะไปเอาอย่างนั้นๆ ไม่ได้ เพียงแต่ว่าถ้าเราเข้าใจ แต่เราก็ระลึกนะ เพราะตอนที่เราปฏิบัติใหม่ๆ เราก็งงมาก เพราะมันเหมือนกับเรา เหมือนคนฝึกงานยังไม่เป็นงาน ทำอะไรมันก็สุดวิสัยเกือบทั้งนั้น แต่พอเราทำจนชำนาญแล้ว เราจะย้อนกลับไปดูเลยว่าเราเคยทำผิดพลาดอย่างไร ทำตรงไหนบ้างที่มันไม่... มันจะเห็นชัดมาก

ทีนี้อย่างพวกเรามันไม่ได้ตรงนี้ พอไม่ได้ตรงนี้ปั๊บก็ต้องทำไปอย่างนี้ เราพูดเมื่อวานนี้ที่นั่นมันถามว่า “ทำไมมันเป็นอย่างนี้” เราจะบอกว่า การปฏิบัตินี่เริ่มต้นมันเหมือนหญ้าปากคอก หญ้าปากคอกของง่ายๆ นี่หญ้าปากคอก จะกินอะไรก็ได้ เป็นถางหญ้าทั้งหมดเลย เราจะกินอะไรก็ได้ แต่หญ้ามันก็น่ากินทุกๆ ต้น ก็ไม่รู้จะกินอะไร ก็เลยสับสนอยู่นี่ แต่เราพยายามตั้งใจแล้วทำเข้าไปนะ พอมันผ่านตรงนี้เข้าไปนะ มันจะตรงเข้าไปเลย ตรงเข้าไปสู่ตัวกิเลสเลย ตรงเข้าไป ตรงนี้ต้องผ่านให้ได้

เวลาพูดอย่างนี้ มันตอบปัญหาเหมือนไม่ได้ตอบเลย ไม่ได้ตอบหมายถึงว่า “อ้าวแล้วทำอย่างไรเป็นโลกียธรรมล่ะ ทำไงถึงเป็นโลกุตตรธรรมล่ะ” ตอบหมายถึงว่าเราต้องฝึกของเราขึ้นไป จากโลกียะนี่เราใช้บ่อยครั้งเข้า ฝึกฝนบ่อยครั้งเข้าๆ จนชำนาญเข้า พอเราชำนาญเข้า เราจะเห็นถูกเห็นผิด เหมือนนักกีฬาเลย ตอนเราฝึกซ้อมเราจะรู้เองว่าเราเล่นถูกเล่นผิด เล่นควรจะเล่นอย่างไร มันจะบอกว่าถ้ามันตอบเป็นกำปั้นทุบดิน มันต้องพัฒนาไป การปฏิบัตินี่เหมือนกับเราฝึกเอง เรารู้เอง เห็นถูกเห็นผิดเอง แล้วพัฒนาไปเอง

โยม : เท่ากับว่าเราทำเอง ต้องทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ แล้วข้างในมันจะสอนเราเองตลอดเวลา

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : สิ่งนี้ถูก สิ่งนี้ผิด

หลวงพ่อ : ใช่ ข้างในมันจะสอนเราเอง แต่กิเลสสอนหรือธรรมะสอนล่ะ ทราบที่ว่าถ้าเราทำนะ พอเราทำนี่ ไอ้ตรงนี้นะเราเคยเป็นมาแล้วเราอ่านประวัติหลวงปู่มั่น ตอนหลวงปู่มั่นเริ่มต้นปฏิบัติทีแรก ท่านพิจารณากายเหมือนกัน แต่ไปไม่ได้ ท่านบอกมันเหมือนกับไปถึงทางตัน แต่แล้วท่านมาสละของท่าน สละพระโพธิสัตว์ พอสละพระโพธิสัตว์ปั๊บ ท่านมาพิจารณากายเหมือนกัน แต่พิจารณากายแล้วนี่อารมณ์มันต่างกัน ท่านบอกอันนี้ถูก แต่เดิมมาท่านไม่บอกว่าท่านถูกเลยนะ พอพิจารณาออกไปแล้ว เราพิจารณาแล้วนะ ออกมานี่มันเป็นเรื่องปกติ เหมือนกับเรานี่ไม่ได้ทำความสะอาดตัวเองเลย สิ่งที่สกปรกนี่ไม่ได้ทำความสะอาดตัวเองเลย อารมณ์ไม่ดีขึ้นเลย ออกมาแล้วก็เป็นอารมณ์ปกติไง

แต่ถ้ามันเป็นความถูกต้องนะ เวลาพิจารณาเข้าไปแล้วออกมานี่ อารมณ์มันเปลี่ยนแปลง คือมันเห็นโทษเลยล่ะ สิ่งนี้ๆ จะเป็นโทษกับเรา สิ่งนี้เป็นโทษกับเรา สิ่งนี้เป็นคุณกับเรา มันแยกเลย เหมือนเราเหมือนหมอเลย หมอเห็นของแสลง ถ้าเราเป็นโรคนะ กินของแสลงไป โรคมันจะกำเริบ เราจะรู้เลยว่าไม่ควรไปแตะต้อง ทีนี้พอเราปฏิบัติขึ้นมาแล้ว มันออกไปทางโลก มันจะเห็นเลยว่า รูป รส กลิ่น เสียง มันเป็นโทษกับเรา เขาเลยระวังตัวไง สังเกตได้ไหม พระปฏิบัติหรือนักปฏิบัติเขาจะระวังตัวเขา เราจะมองว่าเหมือนคนเกร็งตลอด แต่ไม่ใช่นี่เขาเห็นโทษไง

เพราะเขาเห็นโทษใช่ไหม ในปฏิบัตินี่ลูกศิษย์เยอะนะ อย่างหมออะไร ที่เชียงใหม่หมออะไร หมอ... เขาพูดอย่างนี้นะ เวลาเขาปฏิบัติไปเต็มที่แล้ว นี่เขาพูดกับเราเอง เขาเป็นหมอนะ เวลาเขาไปทำงานเขาทำอย่างไรรู้ไหม เขาเดินก้มหน้า เขาไม่มองหน้าใครเลยนะ เขาบอกเขาเดินก้มหน้า มองหน้าใครไม่ได้ พอมองหน้าเขานี่ อารมณ์มันแบบว่ามันใกล้เคียง มันใกล้ตัวมากไง ความคิดบางทีมันไกลมากนะ เวลามันปฏิบัติแล้วมันจะชิดตัวเองมาก พอมันชิดตัวเองมากปั๊บมันมีอารมณ์กระทบตลอด เขาบอกว่าเขาไปทำงาน เขาเป็นหมอนะ เวลาเขาไปทำงานเขาไม่มองหน้าใคร เขาพยายามก้มหน้า เดินก้มหน้า คือเขาจะคุมจิตเขาตลอด

โยม : ถ้าไม่อย่างนั้น ถ้าเกิดเขามองเขาจะคิดทันที

หลวงพ่อ : คิดทันที คิดทันทีเลย แล้วคิดทันทีมันคิดมันจะคิดแต่เรื่องดีเหรอ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราไม่ได้ภาวนาอยู่ เราไปทำงานนี่มันเป็นชีวิตประจำวันไง แต่ถ้าเรานั่งภาวนาอยู่ มาสิ กูคุมได้ กูคุมได้ เพราะกูหลับตาอยู่ แต่ชีวิตประจำวันเราต้องกระทบอยู่แล้ว เขาฉลาดเห็นไหม เขาไม่มอง มันจะเสียมารยาทนิดหน่อยก็ยอม ไม่ทักใครเลยก้มหน้าเฉยเลย แล้วไปทำงานใครเขาจะทำงานด้วย นี่จะบอกว่าเวลาคนภาวนาจริงๆ เข้าไปแล้ว มันจะเห็นโทษเห็นคุณ แล้วมันจะคุมรักษาเอง

แต่พวกเรานี่เราไปเอาโลกเป็นใหญ่ เห็นไหม เรากลัวเสียมารยาท เรากลัวไปหมด เพราะถามว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรผิดอะไรถูก ถ้ารู้ว่าถูกแล้วทำไมเขากล้าทำ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะสิ่งที่เราได้มา เราจะฝึกมามันแสนยาก แล้วเราได้มาแล้ว เราจะรักษาอย่างไร ต้องรักษาไปนะเพราะอะไรรู้ไหม ดีและชั่ว ชั่วนี่เป็นกิเลส ดีนี่เป็นธรรม แต่เวลาธรรมะจริงๆ นะ มันข้ามพ้นทั้งดีและชั่ว ดีก็ต้องข้ามพ้น

ฉะนั้น ดีต้องข้ามพ้น เราอาศัยดีไปก่อน เราต้องรักษาสิ่งที่ดี สติก็เป็นคุณงามความดีอันหนึ่ง ปัญญาก็เป็นคุณงามความดีอันหนึ่ง แต่มันเป็นอนิจจัง มันไม่อยู่กับเราตลอดไปหรอก สัพเพ ธัมมา อนัตตา มันเกิดดับ ตั้งสติดีๆ มันก็ดี ปัญญามันก็ดี แล้วเดี๋ยวก็เสื่อมไป เราอาศัยดีได้ไหม เราเอาตัวที่ดีเป็นที่พึ่งไม่ได้นะ แต่เราอาศัยมันได้ อาศัยความดี

เหมือนกับไฟน่ะ ไฟมันทำอาหารสุกนะ แต่ไฟมันจะติดอยู่ตลอดไปไหม มันต้องมีเชื้อเพลิงใช่ไหมถึงมีไฟ เชื้อเพลิงหมดมันก็หมด ธรรมะก็เหมือนกัน เราสร้างมันใช่ไหม ถ้าเราสร้างแล้วเราไม่เอามาเป็นประโยชน์ให้มันเต็มที่ ให้มันเผาผลาญกิเลสจนถึงที่สุด เพราะถ้าเผาผลาญกิเลสถึงที่สุดแล้ว พลังงานตัวนี้มันเป็นอนิจจัง มัน สัพเพ ธัมมา อนัตตา สภาวะอนัตตามันเกิดดับๆๆ แต่เพราะความเกิดดับแต่เรารักษามัน เรารักษา เราตั้งสติ เราค้นคว้ามันเรื่อยขึ้นไป สิ่งที่เป็นไฟมันมีเชื้อตลอด มันก็ดีขึ้นตลอดเวลา แล้วมันเผาผลาญกิเลส

ถ้ากิเลสมันดับหมด กิเลสดับหมด เห็นไหม ข้ามพ้นทั้งดี ดีนี่แค่อาศัยนะ อาศัยถึงเป้าหมายเท่านั้นนะ ฉะนั้น ในพระไตรปิฎกเป็นกิริยาทั้งหมด เป็นวิธีการทั้งหมด ทีนี้เวลาคนไม่เข้าใจ ไปอ่านพระไตรปิฎกแล้วไปกอดมันไว้ไง ไปเกาะวิธีการ ต้องวิธีการอย่างนั้นๆ นะ แล้วอยู่กับวิธีการ

ก็เหมือนกับเรานี่ โยมมานี่โยมขับรถมา แล้วโยมรักรถมาก นั่งในรถแล้วขังไว้เลยไม่ออกจากรถ จะขึ้นมาบนนี้ได้ไหม วิธีการคือพาหะที่จะนำเราไปสู่เป้าหมาย ถึงเป้าหมายแล้ววิธีการนี้ก็ต้องวางไว้ ถ้าไม่วางวิธีการจะขึ้นมาถึงเป้าหมายไม่ได้ แต่วิธีการสำคัญนะ พูดอย่างนี้ปั๊บเดี๋ยวจะทิ้งวิธีการทั้งหมด วิธีการสำคัญมาก เราอาศัยวิธีการนั้น อาศัยพระไตรปิฎกไง ธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า แต่ไม่ใช่ของเรา จะพาเราเข้าไปถึงที่ พอเราไปถึงที่ปั๊บข้ามพ้นดีและชั่ว

แต่อันนี้เราพูดถึงสัจธรรมนะ แต่เราปฏิบัติแล้วอย่าเพิ่งข้าม เอาให้จริง หลวงตาท่านพูดอย่างนี้นะ เวลาท่านปฏิบัติท่านเข้มแข็งมาก เวลาท่านผ่านไปแล้วนะ ท่านบอกว่าความเข้มแข็งนั้นก็เป็นบ้าอันหนึ่ง แต่ก็ถูกต้อง ขณะนั้นถูกต้อง ขณะที่เราอยู่ในวิธีการนั้น วิธีการนั้นถูกต้องนะ อย่าทิ้งวิธีการนะ วิธีการนี่จำเป็นมาก แต่ไม่ใช่เป้าหมาย จำตรงนี้ไว้ แต่ไม่ใช่เป้าหมาย พอไปถึงเป้าหมายนะ เอ๊าะ! โอ้โฮ ถ้าไม่ทิ้งมานะ แต่ถ้าไปทิ้งก่อนนะก็ขี้ลอยน้ำ ไม่ถึงเป้าหมาย ห้ามทิ้ง กอดวิธีการให้แน่นเลย แล้วทำไปเต็มที่เลย พอถึงที่สุดแล้วมันเป็นเอง

แต่ถ้ากิเลสมันหลอกนะ โอ๊ะๆ ทิ้งไว้ก่อน นี่ไง ที่ทำสมาธิกันไง ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ นี่นะมันหลอกตัวเอง มันสร้างอารมณ์ว่าง อารมณ์เป็นความคิด อารมณ์กับความคิดเป็นอันเดียวกัน แต่ความรู้สึกอีกอันหนึ่ง แล้วมันไปสร้างอารมณ์ว่าว่าง มันถึงไม่เข้าถึงตัวว่าง มันไปสร้างอารมณ์ว่างกันไง ก็เลยว่างๆ ว่างๆ ฟังทีเดียวก็ออก ว่างๆ ว่างๆ นี่เราสร้างอารมณ์กันเอง เราสร้างความรู้สึกว่าว่าง แล้วเราก็คิดว่าว่าง แล้วเป็นความสุขจริงไหม จริงนะ เรานี่เวลาคิดทุกข์มากเลย เราคิดว่าว่างสบายๆ เลย แต่ว่างอย่างนี้นะ มันเป็นอุปกิเลสไง

กิเลสคือตัณหาความทะยานอยาก ทำให้เราคิดฟุ้งซ่านมาก เวลาว่างเห็นไหม โอภาส อุปกิเลส ๑๖ มันทิ้งความอยากขึ้นมาโดยสามัญสำนึก แล้วมันไปติดอยู่กับกิเลสอันละเอียด มันก็เลยไม่เข้าถึงสมาธิ แล้วโลกเขาคิดอย่างนั้น แม้แต่สมาธิยังไม่รู้ แล้วเวลาพูดเขาจะยืนยันกันที่ตรงนี้ไง ยืนยันกันว่ามันสบาย มันถูก มันสบาย โอ้ คนนอนอยู่ก็สบายเว้ย เขาไปยืนยันกันอย่างนั้น เพราะยืนยันกันอย่างนั้นเพราะมันไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้ไง แล้วคำว่าชี้นี่นะ ประสาเราถ้าชี้มากๆ นะ เด็กนี่ไม่ให้มันเล่นเลย เด็กนี่พยายามจะให้มันอยู่ในกรอบ เด็กมันร้องไห้ ธรรมชาติของเด็กมันต้องซน ธรรมชาติของเด็กมันต้องดื้อเป็นธรรมดา

จิตเรานี่มันเหมือนเด็กๆ มันดื้อมันซนของมันธรรมดา เวลามันปล่อยแล้วนี่ เห็นไหม มันก็ว่าถูกต้องของมันไง ธรรมชาติของเด็ก ธรรมชาติของจิต เขาว่าเขาสบายไหม ก็สบาย ตรงนี้มันทำให้คนตายหมด ประสาเราเลย เด็กนี่นะ สมมุติเรามีเด็ก เด็กเลี้ยงง่าย มันก็เป็นคุณสมบัติ มันก็ต้องดีจริงไหม แล้วให้มันเลี้ยงง่าย กินแล้วก็นอน นอนแล้วก็กินน่ะ ตลอดชีวิตได้ไหม พอโตขึ้นมามันก็ต้องทำงาน เด็กมันจะเป็นเด็กตลอดไปไม่ได้

นี่ก็เหมือนกันสบายๆ เป็นไปไม่ได้ มันไม่มีเหตุไม่มีผล มันไม่ได้กำจัดอะไรเลย แล้วก็บอกว่าทุกคนจะยืนยันอย่างนั้น แล้วก็บอกเลยนะ ว่าถ้าปฏิบัติแบบครูบาอาจารย์เรานี่มันเป็นอัตตกิลมถานุโยค มันทำให้ลำบาก แต่เวลาเราฟังแล้วเราสลดใจ เราสลดใจตรงไหน ตรงที่นี่มันเป็นข้อเท็จจริง เหมือนเราทำธุรกิจการค้า โธ่ อาบเหงื่อต่างน้ำนะ ทุกข์มาก ลำบากลำบนมาก แต่ผลมันตอบแทนได้ผลนะ แต่เราคิดว่าเราทำ เรานึกเอาเอง เราคาดหมายเอง สบายไหม สบาย แล้วได้ผลตอบแทนไหม ไม่ได้

อันนี้มันเป็นผลทางธุรกิจ มันมีตัวเลข มันมีแบงก์ มันมีผลตอบแทน มันเป็นเหตุผลมีคุณค่า แต่เวลาเป็นความปฏิบัติ มันเอาความรู้สึกเราเป็นนามธรรมเป็นคุณค่าไง มันก็เลยโกงกันได้ไง แต่ทำธุรกิจนี่โกงไม่ได้นะ มึงไม่มีแบงก์เข้าธนาคาร ตัวเลขไม่ขึ้นเด็ดขาด แต่ความคิดปฏิบัติเรานี่เราโกงตัวเอง “สบายๆ” เพราะทุกคนมันพูดอย่างนั้น น่าสงสารมาก อย่างพวกที่มาอายุมากๆ ทั้งนั้นนะ “ก็มันสบาย มันถูกต้อง”

ที่เขาส่วนใหญ่แล้วที่เขากลับมาเพราะซีดี บางคนก็จะเอาซีดีมาเลย หลวงพ่อ ผิดครับ หลวงพ่อชี้ทางให้ รู้แล้วว่าผิด รู้แล้ว ซีดีไปฟังนี่ทุกคนมาที่นี่หลายคนมาก “หลวงพ่อ ผิด ยอมรับเลยว่าผิด” แล้วพอฟังมันต่อยอด เราจะบอกว่ามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ แล้วพวกเราคิดกันขนาดนั้น เราถึงบอกว่าปัญญาพวกเรามันด้อยกันเกินไป เอาความคิดโลกๆ มาจับไง พระพุทธเจ้าพูดไว้อย่างนี้ แล้วเราก็คิดว่าใช่ ถ้าคิดว่าใช่ ปฏิบัติไป ปฏิบัติ ๕ ปี ๑๐ ปีมันต้องพัฒนา ไอ้นี้มันไม่พัฒนาเพราะอะไร เพราะหลอกตัวเองแค่นั้นใช่ไหม มันก็อยู่แค่นั้นไปจนตาย

แล้วอย่างที่ปฏิบัติ เห็นไหม ที่เขาปฏิบัติกัน ดูจิตว่าง่ายๆ ง่ายๆ ว่างหมด ง่ายๆ ถ้ามันจริงนะ ถ้ามันง่ายแบบนั้น ว่างหมดน่ะ มันต้องมี อย่างน้อยๆ ต้องมีพระโสดาบัน มีสกิทา ให้เห็นสักคนสองคน นี่ไม่มีเลย แต่เขาก็ให้ค่ากันนะ ให้ค่ากันโดยคิดกันเอง แต่จริงๆ นะ ให้ค่าหรือไม่ให้ค่าตรงนี้สำคัญ สำคัญว่าตัวเองสงสัยไหม อย่างเรานี่เราไม่มีอะไรเลยนะ มีครูบาอาจารย์ที่น่าเชื่อถือนะ เป็นร้อยๆ องค์เลย บอกเรานี่มีคุณธรรม เราจะสงสัยตัวเราไหม

ร้อยเปอร์เซ็นต์ เราจะต้องสงสัย ท่านจะให้ค่าขนาดไหน เราก็สงสัย เพียงแต่ว่าเราจะยอมรับความจริงไหม ถ้าเรายอมรับความจริงปั๊บ เราแก้ไขนะ เราจะมีโอกาส ถ้าเราไม่ยอมรับความจริงนะ ก็เขาให้ค่าแล้ว สถานะทางสังคมมีแล้ว ก็จะอยู่กับเขาไปอย่างนั้น ตายเปล่า นี่ศาสนาหลอกๆ ทั้งๆ ที่ศาสนามันจริงนะ แต่เราปฏิบัติกันหลอกก็เลยหลอก มันน่าเห็นใจตรงนี้ ตรงที่แบบว่า เพราะเราพูดนี่นะมันเป็นปัญญาวิมุตติ

แต่ถ้าเป็นเจโตวิมุตตินะ พุทโธๆๆ มันจะลงไปนะ ถ้าสมาธิเวลามันลงไป บางทีมันวูบลงลึกมาก บางทีมันค่อยๆ สงบเข้ามา แล้วถ้าเป็นสมาธิอย่างนี้มันจะมีความสุขต่างกับปัญญาอบรมสมาธิ ทุกคนจะบอกว่าเวลาปัญญาอบรมสมาธินะ พอมันปล่อยแล้วนี่มันก็เฉยๆ แค่นี้เองนะ เฉยๆ นะ แต่ถ้าไม่ได้คิด มีสตินั่นเป็นสมาธินะ เพราะสมาธินี่ ปัญญาวิมุตตินี่มันไม่ต้องใช้สมาธิมากเท่าเหมือนเจโตวิมุตติ

เจโตวิมุตติ พุทโธๆๆๆๆๆ นี่มันเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ถ้ามันลึกเข้าไปนี่ พอมันปล่อย มันสบายๆ แล้วถ้ามันเข้าไปลึกหน่อยเป็นอุปจาระ มันนิ่ง มันนิ่งนะ แต่หูยังได้ยิน คิดได้ หมุนเวียนได้ นี้คืออุปจารสมาธิ คือว่าคำว่าคิดได้มันมีสมาธิแล้วมันออกเห็น นั่นล่ะมันใช้ปัญญาได้ ถ้าเป็นอัปปนาสมาธิมันจะลึกเข้าไปอีกจนผู้รู้นี่แน่นอน ชัดเจนมาก แต่คิดไม่ได้ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย นี่มันดับหมด แต่ตัวจิตไม่ดับ นั่นเป็นอัปปนาสมาธิ มันจะมีความแตกต่างกันเยอะ

แต่ทีนี้มันจะไม่เข้าใจว่าความแตกต่างระหว่างสมาธิอบรมปัญญา กับปัญญาอบรมสมาธิแตกต่างกันอย่างไร ตรงนี้มันสับสน ถ้าสมาธิอบรมปัญญานะ พุทโธๆๆ ไปนี่พวกนี้เป็นเจโตวิมุตติ ถ้าจิตสงบแล้ว ถ้าเป็นโดยหลักเลย จิตนี่สงบแล้วจะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมด้วย ด้วยใจนี่มันจะเห็นภาพ

แต่ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ เราใช้ปัญญาหมุนเข้าไปมันสงบ สงบ แล้วมันเห็นจิต เห็นอาการของจิต จิตคือตัวจิต อาการของจิตคือความคิด มันเห็นแล้วมันจับต้องได้ มันใช้ปัญญาไล่ไป สมาธิมันไม่ลึกแบบพุทโธ

โยม : พุทโธนี่เวลามันสงบ แล้วมันสว่าง นี่มันสบาย

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : หรือมันคิดแต่มันไม่เห็นกาย

หลวงพ่อ : ไม่เห็นกายก็ได้ แต่ถ้ามันสงบแล้วถ้ามันคิดกายนี่มันใช้ปัญญา เหมือนกัน ทีนี้มันเห็นกาย พิจารณากายแล้วมันปล่อยเข้ามาอีกไหม มันปล่อย มันพิจารณากายแล้วมันปล่อยเข้ามาอีกไหม

โยม : พิจารณาไปมันก็เกิดความสงสัย

หลวงพ่อ : นี่ ถ้าจิตมันสงบแล้วมันสว่าง สว่างขนาดไหนนะ สว่างเพราะจิตไปเห็นสว่าง จิตเห็นสว่างนี่จิตส่งออกแล้วแต่ส่งออกอยู่ภายใน ส่งออกแล้วเพราะมันเห็นสว่างใช่ไหม แต่ถ้ามันสว่างแล้วเรากำหนดพุทโธต่อไป เดี๋ยวก็สงบเข้ามาอีก เพราะที่มันสว่างมันสงบได้นี่เพราะพุทโธ พุทโธๆๆๆ พอจิตมันสงบ เราจะเปรียบว่าเหมือนล้อรถ ถ้าล้อรถมันเคลื่อนเข็มไมล์มันจะกระดิก ถ้าล้อรถไม่หมุนเข็มไมล์ไม่กระดิก รถจอดอยู่เข็มไมล์กระดิกไม่ได้ จิตเห็นสว่าง จิตเห็นอะไรแล้วแต่ จิตไม่สงบเห็นไม่ได้ อย่างพวกเรานี่ เราลืมตา เราจะเห็นโดยข้อเท็จจริงอย่างนี้ เราไม่เห็นความต่าง ถ้าจิตสงบแล้วมันเห็นความต่างไปอีกระดับหนึ่ง อันนี้ถ้าเป็นสมาธิ

ถ้าเป็นสมาธินี่กำหนดพุทโธๆๆๆ ถ้ากำหนดพุทโธนะต้องอยู่กับพุทโธตลอดไป แล้วจิตมันจะเป็นเอง มันจะบอกพุทโธๆๆ โดยเราเข้าใจกันว่า ถ้าพุทโธๆๆๆ ไปเรื่อยๆ แล้วพุทโธมันจะหายไป เราถึงพุทโธๆๆๆ แล้วเราเองเราไปเบาเอง มันหายไปโดยที่จิตมันยังไม่เป็นสมาธิ หายไปโดยจิตที่เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง หายไปโดยจิตที่ไม่เป็นสมาธิเราปล่อยเอง เราปล่อยให้หาย มันไม่หาย พุทโธที่หายไปสมมุติว่าให้นึกพุทโธจะนึกได้ไหม ทุกคนจะบอกว่าได้ แสดงว่ามันไม่หาย มันหายเพราะเราไม่นึกเอง

ถ้าสมมุติเรามีเงินอยู่นะ เงินหายไปคือหายไปจากเราใช่ไหม แต่ถ้าเงินนี่วางอยู่ตรงหน้าเรา เราไม่หยิบมัน เงินก็อยู่ตรงหน้าเราใช่ไหม พุทโธนี่อยู่ตรงหน้าเรา เราพุทโธได้แต่เราไม่พุทโธ จิตมันเลยไม่ลงไปอีก คำว่าพุทโธๆ นี่นะ มันต้องพุทโธโดยที่เราไม่ทิ้ง เราพยายามนึกพุทโธ จนพุทโธนี่มันนึกไม่ได้ นั้นถึงเป็นสมาธิ

ถ้ายังนึกพุทโธได้อยู่แล้วไม่นึก มันกึ่ง เรานึกได้อยู่ เรากับพุทโธ พุทโธเพราะเรานึกขึ้นมา พุทโธถึงมีใช่ไหม พุทโธนี่เป็นวิตกวิจาร จิตเห็นไหม องค์ของสมาธิ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ นึกขึ้นคือวิตกขึ้น นึกขึ้นนี่คือวิตก พุทโธคือวิจาร พุทโธๆ วิตกวิจาร ถ้าพูดถึงพอพุทโธ วิตกวิจารไปเรื่อย

มันเหมือนกับเราจะพูดเปรียบเหมือนน้ำสกปรก เขารีไซเคิลน้ำ เห็นไหม ใจสกปรก พุทโธๆ นี่มันวิตกวิจาร มันเหมือนรีไซเคิลน้ำ มันกวน กวนน้ำบ่อยๆ เข้า พุทโธๆ นี่ พอน้ำมันเริ่มสะอาดขึ้น เห็นไหม เกิดปีติ เห็นไหม ปีติเวลาเกิดนี่ร้อยแปดพันเก้าเลย แล้วแต่คนจะเป็น แล้วเกิดปีติปุ๊บเราก็จะตื่นเต้น ก็ออกบ้าง ดีบ้าง เลวบ้าง แล้วทำไปบ่อยๆ พุทโธนึกไปเรื่อย พุทโธ วิตก วิจาร ปีติ พอถ้ามันละเอียดเข้าไปมันจะเกิดสุข สุขถึงที่สุดแล้ว พอสุขเอกัคคตารมณ์จิตตั้งมั่น

องค์ของสมาธิ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ เอกัคคตารมณ์คือจิตที่มั่นคง จิตที่มั่นคงคืออะไร คือหนึ่ง เห็นไหม พุทโธ เห็นไหม วิตก วิจาร พุทโธ นึกเอาขึ้นมา พุทโธกับความรู้สึก พุทโธๆๆ จนพุทโธกับความรู้สึกนี่เป็นอันเดียวกัน มันนึกพุทโธไม่ได้ เพราะว่าพุทโธนี่มันเกิดจากจิต เขาเรียกอารมณ์สองไง ความรู้สึกนี้เป็นหนึ่ง อารมณ์สองคือพุทโธ แล้วเราพุทโธๆ นี่ระยะมันจะใกล้เข้ามาเรื่อย จนมันเป็นอันเดียวกัน พอมันเป็นอันเดียวกัน ตัวมันเองเป็นพุทโธแล้วมันนึกพุทโธได้ไหม เพราะไม่ใช่สองเป็นหนึ่ง เอกัคคตารมณ์จิตตั้งมั่น

โยม : ก็คือตัวเขาเองใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : นั่น ก็คือตัวเขาเองเป็นพุทโธ แต่แทนที่ตัวเขาเองเป็นพุทโธ โดยสามัญสำนึก เพราะเราคิดกันอยู่ เรามีความรู้สึกโดยสามัญสำนึกใช่ไหม ความคิดกับจิต ก็เลยคิดพุทโธขึ้นมา แต่ถ้าเราไม่คิดพุทโธนะ มันคิดเป็นอารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกนี่มันต่อเนื่อง เราคิดอะไร มันจะมีดีมีชั่ว มีอะไรต่างๆ มันคิดแล้วมีอารมณ์ ถ้าพุทโธนี่ พุทโธๆ มันตัด มันไม่มีอารมณ์ พุทโธๆๆๆ เราเหมือนกับพุทโธไม่มีรสชาติ ไม่มีอะไรเลย แต่ถ้าคิดเป็นอารมณ์มีรสชาตินะ เราพอใจ พุทโธๆ นะ จนถึงที่สุด

โยม : อารมณ์มันก็เป็นสอง

หลวงพ่อ : เป็นสอง เป็นสมาธิไหม นี่เพราะอะไรรู้ไหม เพราะชิงสุกก่อนห่าม ไม่ได้ว่าใครทั้งสิ้น เรื่องของกิเลส เพราะโดยที่ครูบาอาจารย์สอนว่าถ้าเรานึกพุทโธบ่อยๆ ครั้งเข้า จนพุทโธมันหาย ทุกคนก็เลยสมมุติให้มันหาย ให้มันว่าง นี่สร้างอารมณ์กันไง ไม่ใช่สมาธิ

ถ้าเป็นสมาธินะ พอพุทโธๆ โอ้โฮ มันเหมือนกับเอาเราไปแช่ในน้ำต่างอุณหภูมิ มันเปลี่ยนแปลง จิตถ้าเป็นพุทโธนะมันจะเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมินี้ อื้มหืม มันจะต่างกันมาก แล้วจะฝังใจมาก

แต่นี้มันเป็นอุณหภูมิเดียวกัน ในปัจจุบันก็เป็นอย่างนี้ เรานึกพุทโธก็เป็นอย่างนี้ แล้วสมาธิก็เป็นอย่างนี้ เป็นสมาธิน่ะ ว่างๆ ว่างๆ คือจิตมันอยู่ในอุณหภูมินั้น มันไม่เห็นความต่าง คนพูดเลยไม่มีอาการ

แต่ถ้าเป็นความจริง เวลาพูดนะ โอ้โฮๆ เราอยู่ในอุณหภูมิหนึ่ง แล้วเราไปอยู่ในอีกอุณหภูมิหนึ่ง ต่างกันไหม เวลาใครมาถามปัญหาว่าว่างๆๆๆ เรารู้เลย คือเขาไม่เห็นความต่างในใจของเขา ในเมื่อเขาไม่เห็นความต่างในใจของเขา ใจของเขามีการเปลี่ยนแปลงตรงไหน อันนี้หนึ่งนะ สอง ถ้าอุณหภูมิเขาต่างแล้ว อุณหภูมิที่เขาเป็นใหม่นี่มันมีกำลัง มันจะทำงานได้ อันนี้อันหนึ่งนะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะพวกเรา อย่างพวกเราเวลาปฏิบัติกันนี่ เวลาเข้าสมาบัติมันมีกำลังของมัน มันจะรู้อะไรแปลกๆ มันจะไปไหนได้ร้อยแปดเลย มันจะไปของมันได้เลย ไอ้นี่คือฌานโลกีย์นะ มันไม่ใช่ปัญญานะ ถ้าปัญญามันเป็นอีกกรณีหนึ่ง

เพียงแต่เราจะมาให้เห็นความต่างระหว่างจิตปกติเรานี่ ปุถุชนจิตปกติมันเป็นเรื่องของปุถุชน ถ้าเข้าสมาธิปั๊บนี่มันเป็นเรื่องของสากล เรื่องของจิตที่ไม่มีตัวตน ไม่มีสิ่งใดเข้าไปเกี่ยวข้องกับมัน มันมีวาสนาของคนมันจะรู้เห็นอะไรแปลกๆ นั่นเพราะกำลังมันมีไป ฉะนั้นถ้าเป็นสมาธิ มันมีกำลังอย่างนี้ แต่เราไม่ใช่เป็นฌานโลกีย์ ก็ออกไปเป็นสิ่งที่เป็นอภิญญาใช่ไหม มันอยู่ในตัวมันเอง คุณสมบัติของมันต้องมีกำลังมาก เราจะบอกบ่อยว่าถ้าเป็นถึงสมาธินี่ คุณสมบัติในตัวเองจะมีกำลังมาก แล้วกำลังอันนั้นเห็นไหม เวลามันเพ่งไป เวลามันเห็นกายน่ะ เพราะกำลังอันนี้ไง

อุคคหนิมิต เห็นกายคือเห็นมือ เห็นมือปั๊บนี่ นี่เป็นอุคคหนิมิตคือเห็นภาพ อุคคหนิมิตคือภาพ เพราะมีกำลังขยายส่วนวิภาคะให้มือนี่ใหญ่โตขึ้น มือนี่ขยายออกไปให้ใหญ่โตขึ้น ให้มือนี่เล็กลง ให้มือนี่แปรสภาพ นี่สมมุติว่ามือนะ แต่เวลาเราไปเห็น มันเห็นโดยบุญของคน บางคนเห็นเป็นกะโหลกศีรษะ บางคนเห็นเป็นอวัยวะภายใน แล้วให้มันขยายส่วน ให้ขยายส่วนคือว่ามันกระจายออกไปแล้วมันจะไม่มีอะไรอยู่คงที่ เราเห็นไตรลักษณะ เห็นไตรลักษณ์ เห็นการเปลี่ยนแปลงของเราไง โอ๊ะๆ จิตมันจะผงะเลย มันจะรับรู้ มันจะได้ข้อมูลเข้าไปสะเทือนหัวใจมัน กำลังของมันมี มันถึงขยายส่วน แยกส่วนให้มันแปรสภาพได้ ถ้ากำลังไม่พอมันแค่เห็น เห็นเป็นอุคคหนิมิตแล้วคงที่ นี่ก็เป็นคุณสมบัติอันหนึ่ง

ถ้ากำลังมีมากขึ้น เห็นไหม โลกุตตรธรรมคือการแยกส่วนขยายส่วนวิภาคะ เห็นนี่โดยนิมิตโดยการทำสมาธิกันเขาก็เห็นกันร้อยแปดพันเก้า เห็นโน่น เห็นนี่ เขาก็เห็นโดยจิตของเขานั่นแหละ นั่นมันเป็นเห็นแบบอุคคหะไง เห็นแบบประสาเราเห็นแบบสมถะ มันยังไม่เป็นวิปัสสนา ถ้าเป็นวิปัสสนามันแยกส่วนขยายส่วน แยกส่วนกับขยายส่วนคือให้เห็นแล้วทำลายความลังเลสงสัย ความอุปาทานที่ปักเสียบอยู่ในใจทุกๆ คนว่าทุกอย่างเป็นเรา กรรมก็เป็นเรา ดีชั่วก็เรา ทุกอย่างเป็นเรา แล้วพอมันเห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นการเปรียบเทียบ มันทิ้งเอง มันทิ้งเอง มันรู้เองเห็นเองแล้วทิ้งเอง นั่นคือสัจธรรม

แต่เพราะเราเข้าไม่ถึงจุดนั้น มันถอนตรงนั้นไม่ได้ หนามปัก เราเหยียบหนาม เราต้องบ่มมันออก อันนี้มันปักเสียบอยู่ที่ใจ แล้วเราบ่มมันไม่ถึง ออกไม่ได้ แต่ถ้ากำลังเราดีนะ มันบ่งถึง มันเอาออกเลย พอเอาออกแล้ว เราเหยียบหนามเวลาเราเดินมันจะเจ็บปวดขนาดไหน สิ่งที่มันไปปักเสียบอยู่นี่มันสงสัยขนาดไหน แล้วถ้ามันถอน มันรู้ชัดๆ ชัดเจนมาก นี่ไง เวลากิเลสขาดในพระไตรปิฎก ดั่งแขนขาด ในการกระทำของแต่ละบุคคลที่เป็นอริยบุคคล เขาจะบอกตรงนี้ได้ ในกรรมฐานเราเรียกว่าขณะจิต คือมันเปลี่ยนแปลง

เนื้อดิบ เวลาอุณหภูมิมันถึงที่มันเป็นเนื้อสุก เนื้อดิบกับเนื้่อสุกต่างกันอย่างไร ขณะจิตที่มันเปลี่ยนจากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน จากปุถุชน กัลยาณปุถุชน เป็นโสดาปัตติมรรคแล้วเป็นโสดาปัตติผล สกิทาคาผล อนาคาผล ขณะจิตที่เปลี่ยนแปลง นี่ขณะจิตนะ นี่ในตำรา แล้วครูบาอาจารย์ท่านพูดอย่างนั้น

แต่เวลาของเรานะ เราเปรียบเทียบ เพื่อ เพราะปัญญาชนใช่ไหม เราจะบอกว่าเป็นวิทยานิพนธ์แต่ละขั้นตอน ถ้าคนภาวนาเป็น เหมือนเรานี่เรียนผ่านการศึกษามา เราทำวิทยานิพนธ์ไว้แล้ว วิทยานิพนธ์ของเรานี่ใช้ได้ตลอดเวลา ทุกคนเอามากางดูได้ตลอดเวลา จิตที่มันเปลี่ยนแปลง วิทยานิพนธ์คือการเปลี่ยนของจิต มันเอามากางได้ตลอดเวลา ทีนี้คนไม่เคยทำวิทยานิพนธ์ มันเอาวิทยานิพนธ์ตัวนี้มากางไม่ได้เพราะมันไม่มีต้นเหตุ ไม่มีเหตุและผลที่เอามาโชว์กันได้ นี่ปฏิบัติเป็นไม่เป็น เขาวัดกันตรงนี้

ถ้าคนเป็น เราเขียนวิทยานิพนธ์เอง เราทำเอง ทำไมเราจะเอาวิทยานิพนธ์ของเรามาเปิดให้เขาดูไม่ได้ ขณะจิตที่มันเป็น มันเปลี่ยน ถ้าใครพูดไม่เป็นมันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นจริงต่อเมื่อ อันนี้มัน.. นี่ขณะจิต นี่พูดถึงเวลามันปฏิบัตินะ แต่พอย้อนกลับมาแล้วก็เริ่มต้นแบบที่โยมทำนั่นแหละ พัฒนาไป เพียงแต่เราอย่า..

หลวงปู่เจี๊ยะท่านพูดอย่างนี้นะ หลวงปู่เจี๊ยะบอกที่เราปฏิบัติกันอยู่นี่นะ “แช่อยู่กับที่ แช่ไว้เฉยๆ แล้วไม่ขยับ ท่านบอกไม่พอกิน” หลวงปู่เจี๊ยะเวลาท่านพูดกับลูกศิษย์นะ แช่ไว้เฉยๆ จุ่มน้ำไว้อย่างนั้นทั้งปีทั้งชาติ เอาจิตไปจุ่มไว้อย่างนั้น แล้วไม่ได้ขยับอะไรเลย แล้วนึกว่าปฏิบัติไง กี่ปีก็อยู่แค่นั้น เราแช่ไว้เฉยๆ พอจิตมันสบายๆ ว่างๆ ก็แช่ไว้แค่นี้

แต่ถ้าเรารู้เหตุรู้ผล เราต้องขวนขวาย ต้องหมั่นเพียร จะบอกว่าทุกข์ไหม? ทุกข์ ต้องทุกข์ต้องทน คนเราหรือผู้ปฏิบัตินี่มันจะล่วงพ้นทุกข์ได้ด้วยความเพียร พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนั้น พวกเราจะล่วงพ้นทุกข์ด้วยความเพียร เหมือนกับเรานี่ เราจะทำมาหากิน เราต้องขยันหมั่นเพียร ความขยันหมั่นเพียรเท่านั้นทำให้เราประสบความสำเร็จ การปฏิบัติก็ต้องต่อสู้ แล้วเป็นต่อสู้ ต่อสู้สำหรับกิเลสของเรา ถ้ากิเลสคนบางๆ มันก็ง่ายขึ้น ถ้ากิเลสเราหนา หนาจริงๆ นะ กิเลสเราหนา นี่กิเลสหนาก็ยังดีนะ มันยังใฝ่ใจปฏิบัติ บางคนไม่เชื่อเลย อันนั้นไม่ใช่กิเลสหนานะ อันนั้นมืดบอดเลย

ถ้าเรากิเลส พอเราทำไปมันจะทุกข์มันจะยากนั้นล่ะ เราจะพูดคำนี้บ่อย บอกว่าอย่าน้อยใจ อย่าคิดเสียใจ สิ่งที่เป็นปลายธรรมนี่เป็นสมบัติของเรา เราทำมาเองทั้งนั้น เวลาน้อยใจนะต้องถามตัวเองว่า “ก็เราทำมา เราสร้างเหตุอย่างนี้มา แล้วเราจะไปแก้ไขหรือปฏิเสธได้อย่างไร” เพียงแต่เราต้องมุมานะ แล้วพยายามทำเข้าไป มันยังมีโอกาส ตายจากชาตินี้ไปนะ จะไปเกิดเป็นอะไรก็ยังไม่รู้ สร้างบุญกุศลกันไว้นะ บอกว่าสร้างบุญไว้มากจะเกิดดี แต่เวลาใกล้ตายขึ้นมาไปคิดถึงอะไรที่มันฝังใจอยู่ ผลั๊วะ! ไปเสวยนั้นก่อน

คนตายนี่นะเหมือนมันออกจากบ้าน โยมออกจากบ้านโยมใส่ชุดอะไรมาก็เป็นคนนั้น ถ้าใส่ชุดราชการใส่ขึ้นมาก็เป็นอย่างนั้น จิตจะออกจากร่างมันคิดถึงอะไรก่อน อารมณ์ไง จิต เห็นไหม ตัวความรู้สึกกับตัวความคิด ผ้าเขาก็เรียกว่าอาภรณ์ ความคิด เห็นไหม เราคิดดีสิ คิดความสุขเราจะรื่นเริงมาก เราคิดถึงความทุกข์เราจะทุกข์มาก ถ้ามันคิดอะไรปั๊บมันก็เป็นอาภรณ์ คิดสิ่งที่ไม่ดีมันก็ไปเกิดตรงนั้นก่อน โบราณสอนว่าคนใกล้ตายให้นึกถึงพระตลอดเวลา คือให้คิดแต่สิ่งที่ดีๆ แล้วไปเกิดในที่ดีๆ

แต่ถ้าเป็นพระอริยบุคคลไม่ต้องคิด มันเป็นธรรมชาติ โสดาบันสติมันพร้อมตลอด พระโสดาบันถึงไม่ตกไปในอบายภูมิ เพราะความคิดนี่มันเขย่าจิต ความคิดนี่มันทำให้จิตมีความรู้สึกเคลื่อนไหว พอเคลื่อนไหวสติมันมาพร้อม พอมาพร้อมมันทำให้คิดดีได้ทันไง แต่พวกเรานี่คิดจบแล้วยังไม่รู้ตัวเองคิดเลย แต่ถ้าเป็นพระอริยบุคคลนะ ความคิดนี่มันเขย่า เขย่าตัวเองให้มีความรู้สึก พอเขย่าตัวเองให้มีความรู้สึก มันก็รู้สึกตัว มันก็มีสติไง มันก็จะคิดแต่เรื่องดีไง นี่พระโสดาบัน ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปจะไม่ตกลงไปในอบายภูมิ เพราะเวลาตายนะ อย่างพวกคนจะตายนี่มันต้องไหว จิตมันต้องไหวแน่นอน พอจิตไหวปั๊บ สติมันมาพร้อมไง

แต่ของเราเวลาจะตายนะ มันตายโดยที่ว่าไหวขนาดไหนเราก็ไม่รู้ว่าไหว มันไปทุกข์ร้อนกับอารมณ์ความรู้สึก มันไปทุกข์ร้อนกับ… สมบัติอันนั้นยังไม่ให้ใครเลย บ้านหลังนี้ยังไม่ได้โอน มันก็เลยไปเกิดเป็นตุ๊กแกอยู่ที่บ้านนั้นน่ะ เพราะมันห่วงบ้าน คนจะตายห่วงหมดนะ สมบัติยังไม่ได้แบ่ง โอ้! ลูกคนนั้นก็ยังไม่ได้บอกลามันเลย

แต่ถ้าเป็นอริยบุคคลพอมันไหวปั๊บมันจะกลับมาที่ตัวจิต นี่ไง ตัวจิตนี่สำคัญมาก ถ้าภาวนาแล้วมันมีคุณสมบัติขนาดนี้เห็นไหม แล้วมันสมควรทำไหม เรายังสมควรหาเงินหาทองอยู่ หรือหาพออยู่พอกินแล้วเวลาปฏิบัติ มันไม่หาไม่ได้ คนเราต้องหาเป็นธรรมดา เรื่องการอยู่อาศัยต้องหาเป็นธรรมดา แต่เวลาปฏิบัติเราก็ต้องมีด้วย แล้วเราทำหน้าที่ของเราไป

เว้นไว้แต่ถ้าจริงบวชปั๊บนี่ ๒๔ ชั่วโมง ทางของคฤหัสถ์เป็นทางคับแคบ เพราะมันต้องทำหน้าที่การงานด้วย เหลือเวลาแล้วมาปฏิบัติ เห็นไหม ทางเหลือแค่นี้ เหลือตอนเย็นกับตอนเช้าหน่อยหนึ่ง แต่พระภิกษุนี่เดิน ๒๔ ชั่วโมง ทางนี้กว้าง ฉันเสร็จไปแล้ว พรุ่งนี้เช้ามาฉันข้าวอีก แล้วปฏิบัติ ๒๔ ชั่วโมง ๒๔ ชั่วโมงทางกว้างขวาง แต่เดินได้หรือเปล่า

โยม : หลวงพ่อคะ โยมมี ๒ คำถามค่ะ คำถามแรกคือว่า ช่วงหลังพอปฏิบัติไปแล้ว ก็เห็นว่าขันธ์ ๕ นี่มันไม่เที่ยงค่ะ มันรู้สึกดีนะคะ แต่ว่ามันไม่มีการพัฒนาจริงออกมา เป็นเพราะว่ากำลังเราอ่อน ทีนี้เราเลยอ่อนไปใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : ขันธ์ ๕ มันไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงโดยสัจธรรมมันเป็นความจริง ทีนี้ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ขันธ์ ๕ ของเราอยู่ที่ไหน รูป รูปคือความคิดอยู่ที่ไหน ความคิดนี่เป็นรูปนะ ความคิดนี่เป็นรูป แล้วในรูปนี่ถ้าไม่มีเวทนา ไม่มีข้อมูลคือสัญญา สัญญานี่เป็นข้อมูล…

โยม : เปลี่ยนแล้วมันก็ปรุง เปลี่ยนปรุงๆๆ

หลวงพ่อ : พอมันเปลี่ยน จับมันจะหยุด เราจะพูดอย่างนี้ ฟังให้ดีนะ พระเวลาเราวิปัสสนาไปแล้ว ประสาเรากิเลสมันฉลาด กิเลสนี่มันฉลาดมาก ธรรมะพระพุทธเจ้ามันเป็นกลางอยู่แล้ว ทุกคนก็ศึกษาใช่ไหม เป็นสูตร ดูอย่างสูตรฟิสิกส์ ท่องได้หมด ใครก็ท่องได้ ใครท่องสูตรไม่ได้บ้าง ทีนี้พอสูตรมันท่องได้

ขันธ์ ๕ ก็เหมือนกันเราท่องได้ ทีนี้พอท่องได้แล้ว เราพิสูจน์มันอย่างไร ในรูป ในรูปในอารมณ์ความรู้สึก ในรูปมันก็มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในเวทนาก็มีรูป คือเราจับเป็นขันธ์ ๕ แยกไปแล้วนะ เรายังแยกขันธ์ ๕ ในรูปให้เป็นขันธ์ ๕ ได้ ในเวทนาเป็นขันธ์ ๕ ได้ ในสัญญาก็เป็นขันธ์ ๕ ได้นะ คือถ้ามันแยก เขาเรียกขันธ์ในขันธ์ ขันธ์ในขันธ์ ถ้ามันหยาบแล้ว หยาบนี่ทุกคนจับไม่ได้ แต่เราจับได้แล้ว เราแยกแล้ว มันก็ยังสงสัยอยู่ สงสัยอยู่เราก็ต้องตามเข้าไป ตามเข้าไป ตามเข้าไปในรูป ในรูปคืออารมณ์ ในรูปนี่เอ็งรู้สึกอะไรบ้าง ในรูปมีอะไร แยกออกไปอีกๆๆ นี่คือการฝึกไง มันต้องเดินก้าวหน้าไป

ไอ้นี่มันก็เหมือนกับว่าเวลาส่งกระดาษเปล่า ส่งข้อสอบส่งกระดาษเปล่าแล้วจะให้เขาให้คะแนนไง คือว่าเห็นขันธ์ ๕ แล้วไง กิเลสมันหลอกอีกชั้นหนึ่ง ก็ว่ารู้แจ้งขันธ์ ๕ แล้ว นี่เขาเรียกว่าให้คะแนนตัวเองนะ เราให้คะแนนตัวเองไม่ได้ เราเป็นนักกีฬานะ เราไม่สามารถให้คะแนนตัวเองได้ ต้องให้กรรมการให้ เวลาเราวิปัสสนาแล้ว เราไม่สามารถทำความเข้าใจว่าเราเข้าใจแล้วได้ ไม่ได้! หน้าที่ของเราคือต้องใช้ปัญญาไล่เข้าไป ไล่เข้าไป ผลที่ตอบมาคือสัจธรรม เอ๊อะ ! เข้าใจ เอ๊อะ ! ปล่อย

ถ้าไม่ปล่อย ถ้าไม่เข้าใจ ยังจะต้องตามเข้าไป ตามเข้าไป ไม่ต้องไปตามที่ไหน ตามเข้าไปที่ใจนี่ ตามเข้าไปที่ความรู้สึกนี่ ตามเข้าไป ตามมันเข้าไป ในนั้นมีอะไร ในรูปมีอะไร ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บนะ ถ้าเป็นปริยัติเขาก็บอกว่าเป็นทางวิชาการ แต่สำหรับปฏิบัติไม่ใช่ เพราะจิตมันจะจับเอง เหมือนเราจับเชือก เราจับเชือก เราสาวมันมาถึงปลายเชือก จับความรู้สึก จับรูปความรู้สึก แล้วไล่ตามความรู้สึกเข้าไป

เราพูดให้เป็นสูตรตายตัวไม่ได้ เพราะมันเป็นจริตนิสัยของแต่ละบุคคล แล้วการเห็นก็ไม่เหมือนกัน เมื่อวานฟังเขาถามปัญหาหลวงตา เขาบอกเขาปฏิบัติกันสามวิธี วิธีหนึ่งพิจารณารูป พิจารณาเวทนา หลวงตาบอกไม่ใช่สามวิธีหรอก วิธีเดียวแหละแต่อาการเป็นสามอย่าง อันนี้ก็เหมือนกัน เราไปเข้าใจเองไง ว่ามันจะเป็นอย่างนั้นๆ ความจริงแล้วอารมณ์ความรู้สึกเรามันเปลี่ยนแปลงทุกวินาที ฉะนั้นทุกวินาที พอมันเปลี่ยนแปลงหนึ่ง เหตุผลมันก็เปลี่ยนแปลงแล้ว พอเหตุผลมันเปลี่ยนแปลงแล้ว เราใช้สติปัญญาเรานี่ไล่มันเข้าไปในปัจจุบันตลอด

เราถึงบอกว่ามันไม่เป็นอะไรแล้วแต่ เราไม่ได้บอกว่ามันจะเป็นอะไรขึ้นมา มันเป็นปัจจุบันไง มันจะเห็นในขณะนั้น พอเห็นขณะนั้นเราก็ตามเข้าไปๆ มันไม่ไปไหนหรอก มันอยู่ที่เดิมนี่แหละ เพียงแต่มันเปลี่ยนแปลง มันหลบเรา มันหลีกเลี่ยง พอมันหลีกเลี่ยงปั๊บ ถ้าปัญญาเราเข้าไป ขันธ์ ๕ ก็รู้แล้ว ก็ไม่เห็นมีอะไร มันจะบอกอย่างนี้ จบแล้ว งานเสร็จแล้ว มันก็ถอยออกมา

โยม : แล้วอาการตามนี่ไม่ใช่เราหลงหรือเราเพลินไปกับมันหรือคะ

หลวงพ่อ : ไม่ ถ้ามีปัญญามีสตินะ มันตามเข้าไป มันมีเหตุมีผลแล้วมันปล่อย ตามปัญญานะถ้าปัญญาตาม ถ้ามันไปแล้วนี่มันไม่ปล่อย เราก็กลับมาที่สมาธิ คือกำลังไม่พอ กำลังไม่พอกลับมาที่สมาธิ นี่เพราะโยมถามอยู่สองอย่าง อย่างหนึ่งขันธ์ ๕ รู้แล้ว พอรู้แล้วส่วนใหญ่กิเลสจะพูดอย่างนี้ กิเลสมันจะพูดว่ารู้แล้ว เข้าใจแล้ว ไม่ต้องทำ ส่วนใหญ่กิเลสมันจะหลอกคนปฏิบัติอย่างนี้ รู้แล้ว เข้าใจแล้ว ยังดีนะบอกว่า ไม่เป็นพระอรหันต์แล้ว มันจะบอกว่าเดี๋ยวนี้เป็นพระอรหันต์แล้ว จบแล้ว มันพูดอย่างนี้บ่อย กิเลสน่ะ มันจะพูดอย่างนี้ตลอด จะปฏิบัติอะไรกัน โอ้! เดี๋ยวนี้เป็นพระอรหันต์แล้ว รู้หมด รู้แจ้ง ขณะทำนะ พอออกมา อ้าว กูโดนหลอกอีกแล้ว

กิเลสมันฉลาดมาก เพราะโยมถามตรงนี้ด้วยไง ถามว่ามันทำแล้วมันไม่ทำต่อ เราถึงบอกว่า พอกิเลสหลอกปั๊บเราต้องอย่างที่ว่าตามเข้าไปๆๆๆ คือเราไม่ยอมให้มันหลอก คือไม่ยอมให้มันสร้างเหตุผลให้เราเชื่อ กิเลสเรานี่มันจะสร้างเหตุผลให้เราเชื่อ

แต่ธรรมะไม่เป็นอย่างนั้น ธรรมะนี่มันเหมือนกับมีด เป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง แล้วเราทุบปั๊บมันก็ปล่อยหมด ไม่มีอะไร อากาศ ธรรมะเป็นอย่างนี้ ธรรมะเวลาเข้าไปแล้วมันเข้าไปแล้วมันจะทำลายกัน จบสิ้นไม่มีอะไรเลย เอ๊อะ! ไม่มีอะไรเลย แต่มีเรารู้ มันจะมีอย่างนี้ไปตลอด แล้วพอเรารู้ปั๊บ พอเดี๋ยวมันตั้งเหตุผลขึ้นมาได้ มันก็สร้างวัตถุใหม่ อารมณ์คือวัตถุขึ้นมาหลอกเราอีก ก็ตามเข้าไปอีก พอสิ้นขบวนการปุ๊บ เราทำลายหมดเลย เอ๊อะ! เราก็รู้ว่ากิเลสมันหลอกหนสองหนเราจะชำนาญขึ้น ดีขึ้น เร็วขึ้น ดีขึ้น เร็วขึ้น ถึงที่สุดเดี๋ยวกิเลสมันสร้างป้อมไม่ได้แล้ว มันสร้างสถานะมาหลอกเราไม่ได้แล้ว

โยม : เคยเป็นอยู่ครั้งเดียวค่ะ หลวงพ่อ นั่งๆ ไปแล้วก็เห็นว่าจิตกับความคิดมันคนละส่วน มันแยกกันอยู่ แต่ตอนนั้นโยมยังงงอยู่ อ้าว! แล้วผู้รู้ล่ะ คือ พออีกวันต่อมาเหมือนกับว่าหลวงตาบอกว่าให้มีสติอยู่กับผู้รู้

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : แล้วโยมก็งงบอกว่า อ้าว ในเมื่อผู้รู้มันก็รู้อยู่

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : แล้วอีกอันล่ะที่เห็นอยู่นิ่งๆ แต่รู้ว่าภาวะจิตมันนิ่ง มันนิ่งมันไม่มีภาวะอะไรเลย

หลวงพ่อ : ใช่ ผู้รู้มันละเอียดไง ผู้รู้ก็คือเราไง ก็เราปล่อยเขาแล้วเราก็รู้อยู่นี่ แต่มันไม่เห็นหรอก นี่ภพ เวลามันถึงตัวเองแล้ว สมมุติว่าเรายกของหนักมันก็หนัก เวลาเราปล่อยแล้วไปไหน ก็เรานี่ไง เราปล่อย ยกของหนักหนักไหม คลายแล้วของหนักหลุดออกไป คืออารมณ์ความรู้สึกหลุดออกไป แล้วเหลืออะไร อ้าว ก็เหลือกูไง แต่ขณะกูไม่รู้หรอก มันเป็นสิ่งที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น เพราะมันเป็นสิ่งที่เราไม่เคยเห็นไง มันเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้เลย เห็นแต่ในตำราก็ว่าไปอย่างนั้น เวลาเราเห็นเข้า เอ๊อะ! งง งง แต่ทำไปทำมาเดี๋ยวมันก็ดีขึ้นไป

เอ้า! ปัญหาที่หนึ่งตอบแล้ว ปัญหาที่สอง

โยม : ปัญหาที่สองนี้คือว่าเราจะระวังกับสิ่งที่กระทบอย่างไร คือในขณะที่นั่งก็เหมือนเมื่อกี้ค่ะ หลวงพ่อ มันก็จะสงบ สติมันก็พอมี แต่พอออกมา..

หลวงพ่อ : ไม่ได้

โยม : กับข้างนอกเกี่ยวข้องกับการงานอะไรอย่างนี้ค่ะ คือเหมือนกับว่าเราจะต้องระวังกับสิ่งที่จะเข้ามากระทบ แม้กระทั่งความคิดตัวเองที่มันจะแวบออกไป ก็ต้องระวังน่ะค่ะ

หลวงพ่อ : ใช่ ต้องระวัง เร็วมาก ความคิดมันเร็วมาก ทุกคนปฏิบัติใหม่ๆ จะบอกเลย ความคิดมันเร็วมาก แล้วไม่ทันมัน กูบอกไม่จริง ความคิดนี่เร็วมาก แต่สติตามทันหมด สติตามความคิดทันหมด สติเร็วกว่าความคิด ถ้าความคิดเร็วมากแล้วเอาความคิดไว้ไม่ได้ สมาธิเกิดไม่ได้ สมาธิคือจิตหยุดหมด หยุดนิ่งอยู่กับตัวมันเอง ความคิดจะเร็วแค่ไหน เร็วแค่ไหนก็แล้วแต่ สติทันหมด เราฝึกขึ้นมา สติ มหาสติ สติอัตโนมัติ จริงๆ ใหม่ๆ นี่ความคิดเร็วมาก เร็วมากเพราะมันมีกำลัง เพราะเรายังไม่สู้กับมัน แต่เราฝึกฝนจนความคิดอยู่ในอำนาจกูหมด นี่ขณะที่มันเร็วมาก เร็วมากเพราะเรายังตามมันอยู่ไง

หลวงตาท่านพูดอย่างนี้นะ ท่านบอกว่าท่านไปปฏิบัติหลวงปู่มั่น แล้วปฏิบัติแล้วจิตมันสงบแล้วมันเสื่อมหมดเลย เสียใจมากๆ ไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอก

“เป็นอย่างไรล่ะ”

“จิตมันเสื่อม”

บอก “ไม่เป็นไรหรอก จิตนี่มันเหมือนเด็กๆ เด็กๆ นี่มันต้องกินอาหาร มันต้องกินขนม เอาขนมล่อมันก็มา ตอนนี้มันไปเที่ยวปล่อยมันไป อย่าจากมันไปนะ ถือขนมไว้ พุทโธๆๆๆๆ เดี๋ยวมันมากินเอง”

นี่ก็เหมือนกัน อยู่กับพุทโธ อยู่กับสติ มันมาเอง ไอ้ที่เร็วๆๆ ขนาดไหน เดี๋ยวมันต้องกลับมาหาขนมนี่ กลับมาหาพุทโธนี่ นี่หลวงตาท่านพูด เวลาท่านเล่าให้ฟัง แล้วฟังแล้วสะเทือนใจนะ ท่านบอกท่านสะเทือนใจมาก แล้วเราก็สะเทือนใจ สะเทือนใจตรงไหนรู้ไหม ท่านบอกว่า เวลาเราปฏิบัติไม่เป็น ท่านสอนอย่างนี้ก็ตื่นเต้น ก็อยากจะทำนะ แต่เวลาปฏิบัติไปแล้วมันเหมือนกับเด็กๆ มันเหมือนกับคนไม่รู้อะไรเลย เหมือนกับเรานี่ไม่ประสีประสาอะไรเลย ท่านสอนเราเหมือนกับสอนเด็กเล็ก เหมือนแจกยาคูลท์เด็กๆ เลย คนปฏิบัติใหม่ๆ ก็เริ่มต้นมาจากนั่น

หลวงตาท่านพระอรหันต์นะ แต่ตอนท่านปฏิบัติใหม่ๆ ก็เหมือนเด็กๆ เห็นไหม ทุกคนที่ปฏิบัติมันก็มาจากตรงนั้น ก็มาจากที่เราไม่รู้กันทั้งนั้น แต่ปฏิบัติไปๆ ท่านสิ้นกิเลสได้ นี่ก็เหมือนกัน เห็นไหม มันเร็วมาก มันแบบ... ก็อย่างนี้ อย่างนี้ทุกคน ทุกคนก็เป็นอย่างนี้หมด ก็ธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้ความคิด แต่เราตั้งสติ ถ้าพูดอย่างนั้นไปตลอดนะ เราก็จะขาอ่อนไปเรื่อยๆ เราก็จะน้อยเนื้อต่ำใจ เราก็จะอ่อนแอไปตลอด แต่ถ้าเราเข้มแข็งนะ สักวันหนึ่งกูต้องเอามึงได้ มึงจะเดินไปไหนช่างมึง กูพยายามถนอมตัวกูขึ้นมา สักวันหนึ่งต้องเอามึงอยู่ในอำนาจหมด แล้วเข้มแข็งสู้มันไป

ครูบาอาจารย์ท่านทำเป็นตัวอย่างอยู่แล้ว ครูบาอาจารย์เป็นตัวอย่างอยู่แล้ว ถ้าคิดอย่างนี้ สู้อย่างนี้ เราก็เติบโตขึ้นมาได้ เราคิดอย่างนี้มาตลอดนะ เราเองก็คิดอย่างนี้เวลาเราท้อ คิดดูสิ คนทำงานมาทั้งชีวิตมันต้องมีผิดพลาดเป็นธรรมดา อย่างเราใหม่ๆ โอ้โฮ เวลามันสู้ไม่ไหว มันท้อแท้ ท้อแท้มากนะ คอตกเลย สักพักเอาแล้ว “พระพุทธเจ้าท่านทำอย่างไร เราไม่ได้ขี้ตีนท่านเลย” “หลวงปู่มั่นท่านทำอย่างไร หลวงปู่มั่นท่านไม่มีครูบาอาจารย์นะ ท่านต่อสู้มาเองนะ” มันคิดอย่างนี้ปั๊บเดี๋ยวมันก็ฟิตขึ้นมา คือประสาเราว่า เรายังทำไม่ได้แค่เศษหนึ่งในสี่ของท่านเลยอย่างนี้ แล้วเอ็งจะมาน้อยใจอะไร

ถ้าโยมพูดอย่างนี้นะ โยมคิดถึงนางปชาบดีโคตมีสิ กว่าจะได้บวช ตามพระพุทธเจ้าไป เป็นแม่นมด้วยนะ ไปขอบวชทีไรพระพุทธเจ้าไม่ให้บวช จนพระอานนท์ไปขอ โกนหัวไปตั้งแต่ราชวัง เดินเท้าเปล่า เลือดทั้งนั้นเลย นางปชาบดีโคตมี ภิกษุณีองค์แรกของโลก กว่าจะได้บวชนะ

อย่างพวกโยมนี่ไปวัดเมื่อไหร่ก็ได้ ปฏาจารานะกว่าจะได้บวชนะ เสียสามีก่อน เสียลูกสองคน เสียพ่อเสียแม่ เหลือตัวคนเดียว บ้าเลย ไปหาพระพุทธเจ้า “ปฏาจาราเธอเป็นอะไร” สติฟื้นเลย จากคนบ้าแก้ผ้าวิ่งไปเลยนะ พระพุทธเจ้าทัก “ปฏาจาราเธอเป็นอะไร” สติกลับมานะ สติกลับมา พระพุทธเจ้าโยนผ้าให้ แล้วบวชไง เป็นพระอรหันต์ คิดอย่างนี้สิ ถ้าคิดอย่างนี้แล้วนะ ความทุกข์โยนทิ้ง สักเดี๋ยว

โยม : บางครั้งมันก็ไม่อยากไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องพวกนั้นแล้วค่ะ พระอาจารย์ มันอยากหลีกหนีไปอยู่..

หลวงพ่อ : หลีกหนีไปอยู่ ถ้าถึงเวลาแล้วก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ในเมื่อยังไม่ถึงเวลา มันเป็นหน้าที่การงาน เราต้องแบ่งให้ถูกสิว่าเราจะตั้งสติแล้วไปทำงานแค่นี้ เสร็จแล้วเราจะรีบกลับมาภาวนา ในขณะภาวนาเราก็รีบภาวนา แล้วถึงพรุ่งนี้เวลาทำงานมันก็ต้องไปทำงานอีกแล้ว เราก็ต้องแบ่งเวลา เราต้องตั้งใจ แล้วคุยกับตัวเองให้เข้าใจ แล้วจะทำเวลาถูกต้อง จนกว่าถึงที่สุด คนเรานี่นะ ไม้แก่ ผลไม้แก่มันจะหลุดจากขั้วเมื่อไหร่ มันก็จะหลุดจากขั้วมัน ถ้ามันยังไม่หลุดจากขั้ว เราก็ดูแลกันไปก่อน

ชีวิตคนนะ โธ่! เราเป็นอย่างนี้เวลาเราจะบวช เราจะบวชนี่ในบ้านไม่ให้บวชหรอก กว่าเราจะได้บวช บวชเสร็จแล้วไปปฏิบัติ ไปเจอโทษนะ ไปเจออาจารย์โง่ๆ เซ่อๆ สอนกูเข้าป่าเข้าพงไปขนาดไหน กูต้องดึงตัวกูกลับมาไปหาอาจารย์ใหม่ กว่ากูจะไปเจออาจารย์ที่ถูกต้อง กูก็โดนเขาหลอกจนหัวปั่นเหมือนกัน ไอ้คนสอนโง่ๆ เรามันโง่กว่าเขา เพราะไม่เคยปฏิบัติมันก็เชื่อ พอเชื่อแล้วก็พากูหลงไปไหนก็ไม่รู้ เรากลับมาเทียบ อึ้ม! มันไม่ใช่ๆ

พอไปเจอของจริงท่านพูดคำเดียว แล้วของจริงนี่ไม่พร่ำเพรื่อ พูดคำเดียวๆ นะ ตอบปัญหานี่ ผลัวะ! สะอึก หยุดหมด ถ้าเป็นครูบาอาจารย์พร่ำเพรื่อก็พูดเป็นน้ำท่วมทุ่งไม่ได้ผักบุ้งสักเส้น ชีวิตเราผ่านมาอย่างนี้ เวลาชีวิตเราผ่านมาเอง เมื่อวานคุยกับเพื่อนๆ เหมือนกันนะ คุยกับเขาว่า แปลกใจว่าทำไมพวกนี้เขามีความคิดอย่างนี้ เราเองเราว่าเราคิด ปัญญาเรานี่ไม่ได้คนเก่งนะ แต่เราก็คิดปัญญาเราถ้าเทียบกับคนธรรมดาแต่ทำไมเราเอะใจ เราไม่เชื่อบางอย่างเยอะแยะเลย ทำไมพวกคนอื่นเขาเชื่อ กูก็งงฉิบหาย เราไม่เชื่อนะ เราต้องคิด ต้องพิสูจน์ แล้วเราโดนอย่างนี้มาเยอะ จนเรามาเจออาจารย์หลวงปู่จวน พอหลวงปู่จวนเครื่องบินตก เราก็เข้าบ้านตาด

แล้วจากนั้นมา กูก็ไม่ฟังใครแล้ว เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเขาชี้ไม้เป็นนก ชี้นกเป็นไม้ นกก็คือนก ไม้คือไม้ เขาชี้กลับกันตลอด พอเขาชี้กลับกันปั๊บ เขาจะบอกเลยว่าไอ้คนนี้ตาบอด มันชี้ไม้เป็นนกได้อย่างไร เวลามันเทศน์ออกมา มันสอนออกมา นกมันบอกว่าไม้ พอไม้มันบอกว่านก จริงไหม ก็กูก็เห็น ไม้ก็คือไม้ มาบอกนกได้อย่างไร ปฏิบัติไป สมาธิก็คือสมาธิ ปัญญาก็คือปัญญา การฝึกต่างๆ เราทำมาเองเรารู้เอง แล้วเขามาพูดคนละเรื่อง

แล้วอยู่ในวงการมันเห็นมาเยอะ นี่ในวงการปฏิบัตินะ แล้วอย่างวงการที่อย่างในปฏิบัติของสายอื่น เราบอกไม่ใช่ปฏิบัติหรอก อันนั้นคือพิธีกรรมเฉยๆ คือสร้างรูปแบบมาให้เป็นพิธีกรรม ได้เข้ามาในพิธีกรรมแล้วก็ออกมาไม่มีอะไร ไม่มีอะไร ไม่มีเหตุมีผล ไม่มีมรรคมีผล เป็นแต่เป็นพิธีกรรมปฏิบัติ แต่ไม่ใช่การปฏิบัติ เพราะมันไม่ได้ปฏิบัติ มันสร้างตัวเองเป็นหุ่นยนต์ แล้วก็มาทำอยู่ในเหมือนโรงงานอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ หน้าที่อ๊อคก็อ๊อค หน้าที่เจียรก็เจียร ไอ้นี่ก็ เดิน.. หุ่นยนต์

เราเห็นมา เราปฏิบัติมา เราเข้าใจมา เราถึงสงสาร จริงๆ สงสารนะ แต่เวลาพูดไปนะ เขาว่าปากจัด ระรานเขาทั่วบ้านทั่วเมือง แต่ความจริงไม่ใช่นะ ความจริงพยายามจะบอกถูกบอกผิด ชี้ไม้เป็นไม้ ชี้นกเป็นนก ไม่ใช่ชี้นกเป็นไม้ชี้ไม้เป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้ ชี้นกเป็นนก มันชี้กลับกับเขา แต่มันก็อยู่ที่ความเข้าใจนะ อยู่ที่วาสนา

ตอนนี้มันดีอย่างหนึ่งๆ ที่ว่าซีดีออกไป คนกลับมาอย่างนี้ โอ๋ มาหลายคนนะ หลวงพ่อ ผิดครับ อธิบายต่อ ทำไมล่ะ ซีดีมันบอก พูดอย่างนั้นเลยนะ ซีดีมันบอก มาถึงนะ อธิบายต่อครับ วันนั้นหมอมา ทันตแพทย์ มาถึงกดเทปเลย หลวงพ่ออธิบาย ถามใหญ่เลย อย่างอื่นไม่ต้องพูดแล้ว มั่นใจแล้วว่าผิดแล้ว มาถึงบอกให้อธิบายต่อเลย แล้วถามใหญ่เลย ทำไมต้องเป็นสมาธิ สมาธิเป็นอย่างไรๆ แล้วสมาธิผมจะผิดไหม กลัวผิดสมาธิมาก เขาจะอธิบายเลย

บอกไม่ต้องกลัว อย่างนี้ เราบอกไม่ต้องกลัว เราผิดเราถูก ขออย่างเดียวตั้งสติแล้วถามตัวเองตลอด ถามมันตลอด ถามตัวเองก่อนว่าใช่หรือไม่ใช่ จริงหรือไม่จริง แค่นี้ก็พอ ถ้าจริงนะ มันไม่มีเหตุผลที่เราจะไปคัดค้านมัน ถ้าเรายังมีเหตุผลโต้แย้งมันได้ ไม่จริง เรายังสงสัยตัวเราเองได้ไง ว่าอย่างนี้มันน่าจะเป็นอย่างอื่น ไอ้นี่ยังสงสัยอยู่ เราหาจนมันเถียงไม่ได้แล้วนะ เออ เออ ถ้ายังถามตัวเองอยู่ว่ามันยังผิดถูกไหมนี่ มันยังมีส่วนผิด

หลวงพ่อ : จบหรือยัง ใครมีอะไรตอบมา

นี่พื้นฐาน พอพื้นฐานหนึ่ง แล้วตรงนี้ด้วย ตรงที่เราเริ่มต้น เพราะคนจะไปน้อยใจตรงนั้น ไม่ต้องน้อยใจ ถ้าผิด ผิดคือผิด ใครทำงานแล้วไม่ผิดเลยไม่มี ไม่มี เพียงแต่ว่าให้มีสติ ผิดแล้วเรารู้ว่าผิดแล้วแก้ไข อย่าเอาผิดเป็นถูก ผิดคือผิด ถูกคือถูก แล้วทำไป แล้วเราจะเป็นคนดี แต่ถ้าไม่ผิดเลยไม่มี โธ่ ขนาดพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วนะ จะสอนใครได้ มันละเอียดเกินไป แล้วของอย่างนี้ขนาดนั้น แล้วเราทำนะ มันก็ต้องตั้งใจ ผิดก็เริ่มต้นใหม่ ผิดก็ทำใหม่ ผิดก็จะสู้ ไม่ใช่เอาผิดเป็นถูก เออ ถูกแล้ว นี่นิพพาน อย่างว่าแหละ เสร็จกิจแล้ว พระอรหันต์แล้ว นอนอยู่นั่นเป็นพระอรหันต์กันหมด

หลวงปู่ฝั้นท่านพูดนะ เวลาท่านเตือนพระ เวลาไปคุยกับโยม โยมพูดถึงนิพพานหมดเลย แล้วท่านเตือนพระ “มึงดูสิ แม้แต่ผมบนศีรษะเขายังโกนทิ้งไม่ได้เลย” ท่านพูดแค่นี้หลวงปู่ฝั้น ท่านบอกว่าเวลาพูดธรรมะกัน นิพพานทั้งนั้น พระอรหันต์ทั้งนั้นเลย แต่ผมบนศีรษะเขายังทิ้งไม่ได้เลย ผมนี่เป็นวัตถุนะ ไม่ใช่มรรคผลนะ ท่านปฏิบัติมานะ คนที่ปฏิบัติมาไม่เชื่อ เพราะมันกว่าจะได้มา ประสาเรานะ โทษนะ วิกฤติหนึ่งในชีวิตเลยล่ะกว่าจะผ่านมาได้ วิกฤติหนึ่งในชีวิตเลยต้องผจญกับมันมาตลอด จนกว่าเอาชนะมันได้ แล้วไอ้วัตถุนี่มันไร้สาระเลย แล้วของอย่างนี้ยังทิ้งไม่ได้เลย แล้วคุย ปากคุยจ้อยๆๆๆ เลย มรรคผลนิพพาน

หลวงปู่ฝั้นท่านพูดนะ ท่านเตือนบ่อย ท่านบอก “โยม ใครมาพูดนิพพานทั้งนั้น แต่ผมศีรษะมันยังทิ้งไม่ได้” ถ้าพูดถึงมันจะทิ้งหมายถึงว่าถ้าเราอยู่ทางโลกหรืออยู่มันกระเทือนกันไง ถ้าเรา เพศน่ะ พระนี่อย่างน้อยจะติพระก็ต้องคิดก่อนนะ แต่ถ้าโยมนี่ใส่ได้เต็มที่เลย ฉะนั้นถ้าเรามีคุณธรรม ทำไม ประสาเรานะ เราจะไปให้โทษเขาทำไม ทำไมเราไปอยู่ให้เขาแบบว่าให้เขาติเตียนเพื่อจะได้โทษไป เราก็อยู่ในฐานะที่ว่า เขาจะพูดอะไรเขาก็ระวังตัวนิดหนึ่ง ถ้ากรรมของสัตว์เขาไม่เห็นด้วย เขาจะใส่ นั่นก็กรรมของสัตว์แล้ว คือเราไม่สามารถปิดกั้นอะไรได้หมดหรอก นานาจิตตัง ความรู้สึกของคนมันหลายหลาก จะให้คนมีความรู้สึกเหมือนๆ กัน มันเป็นไปได้ แต่เราก็อย่าทำตัวเราให้เป็นต้นเหตุ อย่าทำตัวเราให้เป็นต้นเหตุให้เขาได้รับกรรมของเขา ถ้าอย่างนั้นก็หลบมา

แต่ขณะที่ทำงาน อย่างเช่น หลวงตาเมื่อก่อนท่านไม่ออกมายุ่งเลยนะ แต่เวลาท่านออกมาไทยช่วยไทยแล้ว ออกมาช่วยโลก ท่านก็โดนแรงเสียดสีมาก แต่เพราะท่านต้องแลกมาเพื่อโลก เวลาท่านจะออกมาทำ พอแรงเสียดสีมาท่านก็ไม่กลัว เป็นกรรมของสัตว์ละ เห็นไหม ท่านพูดคำหนึ่ง จำได้ไหม ท่านบอกเลย

“ที่ออกมาช่วยโลกเสียใจอยู่อันเดียวเท่านั้น เสียใจอยู่อันเดียวเท่านั้น คนตกนรกมากนัก อันอื่นไม่เสียใจเลย”

ท่านคิดว่าท่านทำเพื่อโลกไง แต่เสียใจอยู่อันเดียว คือ คนไปจาบจ้วงท่านไว้มากจะตกนรกมาก ทั้งๆ ที่ท่านทำความดี ท่านก็ไม่ต้องการให้ใครได้รับผลไม่ดีเลยนะ แต่มันสุดวิสัยใช่ไหม เพราะเขาทำของเขาเอง ตอนหลังๆ ท่านพูดนะ ท่านบอกที่ออกมาเคลื่อนไหวช่วยโลก เคลื่อนไหวเพื่อประโยชน์ของโลกนี่ อะไรก็ไม่เสียใจเลย เสียใจอยู่อันเดียว “ไอ้คนที่ไปติฉินนินทามันจะตกนรกมาก” เห็นไหม ทั้งๆ ที่เขาทำของเขาเองนะ แล้วเขาทำลายท่านด้วย ท่านยังเสียใจแทนเขาเลย แต่มันไม่รู้ตัว

ดูสิ ดูน้ำใจของพระที่ท่านมีคุณธรรมสิ เขาทำเราแท้ๆ เลยนะ ยังไปสงสารเขาเลย แล้วทำไมจะเสียสละไม่ได้ล่ะผมบนศีรษะ

ไม่มีอะไรเนาะ จบแล้ว เอวัง