คณะศรัทธาเช้า
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
โดยสามัญสำนึกของคน เราคิดว่าวิทยาศาสตร์ ชาวพุทธจะบอกเลยว่าศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ หนึ่งบวกหนึ่งต้องเป็นสอง หนึ่งบวกหนึ่งต้องเป็นสองใช่ไหม คิดไปเลย แต่ศาสนาไม่ใช่ ศาสนาไม่เป็นอย่างนั้นหรอก เพราะศาสนามันมีทิฏฐิ มันมีทิฏฐิ มันมีความเห็นผิดของคน แล้วความเห็นของคนแต่ละคนมันก็ไม่เหมือนกัน บางคนทิฏฐิ ดูสิ ตะล่อมก็มาแล้ว
โธ่! หลวงปู่มั่นท่านพูดไว้ซึ้งมาก หลวงปู่มั่นบอกเลยนะ พระให้ภาวนามา เราจะแก้ว่ะ เราจะแก้ ภิกษุเฒ่าจะแก้จิต ถ้าภิกษุเฒ่าตายไปแล้วแก้ยากนะ ให้รีบภาวนามา ภิกษุเฒ่ายังอยู่ เพราะภิกษุเฒ่าจะแก้
การแก้จิต ทีนี้การแก้จิต พออย่างเขา การแก้จิต ทิฏฐิ แต่พอทิฏฐิ เขาบอกว่าความเห็นของเขา เพราะเขาเข้าใจผิด ที่บอกว่าได้ยินเสียงกระซิบ ได้ยินเสียง เขาคิดว่านั่นเป็นคุณธรรม เขาคิดแค่นั้นว่าเป็นคุณธรรมไง อย่างนี้ประสาเรานะ โดยสามัญสำนึก โดยวิชาการ เขามีทิฏฐิมาก แต่โดยพื้นฐานของใจไม่มีเลย คือไม่มีหลักมีเกณฑ์เลย ถ้ามีหลักมีเกณฑ์จะไม่เชื่อเรื่องอย่างนี้หรอก
ไม่ต้องพวกเรา อย่างพวกชาวบ้านเขาเห็นพวกเราไปถือผีถือสาง เขาเห็นแล้วเขาสงสารใช่ไหม ที่เขาเห็นชาวพุทธเรา ชาวพุทธถืออะไรแบบว่าเรื่องมงคลตื่นข่าว เรื่องของแปลกๆ เขาเห็นเขายังรู้ว่าผิดเลย แต่นี่ตัวเองไปเป็น พอตัวเองไปเป็น เวลาด้วยปัญญา ด้วยสามัญชน ด้วยวิชาการว่าตัวเองเก่ง ตัวเองฉลาด แต่พอปฏิบัตินะ กลับโดนตัวเองหลอก เรื่องพื้นๆ ที่โลกเขาก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ ทำไมเขาไปติดล่ะ แล้วเขาติดไม่ได้ติดธรรมดาด้วย เพราะเขาถือว่านี่เป็นคุณธรรมของเขา แล้วเวลาพอคุณธรรมปั๊บ เรารู้ว่าเขาแรง เรารู้ว่าเขาแบบว่าทิฏฐิไง เราถึงได้ออก บอกว่า ในวัฏฏะนี่นะ พอเข้าสมาบัติ มึงบอกกูมาสิว่าจะไปที่ไหน มึงบอกกูมาว่าอยู่ที่ไหน เหมือนกับเราบอกว่าของหาย หรือเราบอกว่าคนปล้นอะไรอย่างนี้ แล้วกูจะไปเอาจำเลยมาให้มึงดู
เราจะพูดคำนี้ออกมาเพื่อให้เห็นว่าเรื่องฌานโลกีย์ เรื่องอภิญญา มันไม่เกี่ยวกับอริยสัจ แล้วมันทำได้ พอเราพูดอย่างนี้ปั๊บ เขาเลยอ่อนลงเลย ไอ้ที่เสียงกระซิบ ไอ้ที่เสียงที่เขารู้ เขาเลยบอกว่ามันเป็นพื้นๆ คำนี้ คำนี้เขาเริ่มยอมรับ มันเป็นเรื่องพื้นๆ
เราก็บอกว่าพื้นๆ มันถูกอยู่ แต่พื้นๆ มันต้องพัฒนาการของมัน ถ้าพื้นๆ อยู่พื้นๆ มันก็พื้นๆ จนตายไง แต่ทีแรกเขาไม่บอกว่าพื้นๆ เขาบอกว่า เขาคิดว่าเขาสำเร็จแล้ว นี่คือนิพพานนะ นิพพานคือจิตเรา เหมือนหนังจีน ถ้านิพพานปั๊บต้องมีฤทธิ์มีเดชมีอะไรไป มันไม่ใช่ มันแสดงว่า ๑. แสดงว่าคนไม่เคยปฏิบัติ แล้วอีกอย่างหนึ่งมันสายบุญสายกรรม สายบุญสายกรรม เพราะเขาเชื่อว่าอาจารย์เขาสอนอย่างนั้น เรารู้ถึงแนวทางการสอนของครูบาอาจารย์แต่ละองค์ ทีนี้ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ที่เขาสอนมา เขาคิดว่าอย่างนั้นเป็นคุณธรรมของเขา
แต่ของเรา หลวงปู่มั่นนะ แม่ชีแก้วถ้าวันไหนภาวนาแล้วจิตไม่ออกรับรู้อะไรนะ วันนั้นไม่เหมือนภาวนา ภาวนาต้องจิตออกไปเที่ยวเลยนะ ไปเห็นผี เห็นเปรต เห็นเทวดา ที่ไปเห็นในผีก็ยังมีผีตกนรก แล้วถ้าวันไหนไม่ได้ออกเหมือนกับไม่ได้ภาวนา คือภาวนาไม่ดี แต่หลวงตาบอกนี่ภาวนาผิด คือแบบว่าเหมือนกับเด็กๆ เหมือนเด็ก เหมือนกับเรามีเงินให้ลูกหลานเรา แล้วลูกหลานเราใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การใช้ฟุ่มเฟือยมันก็หมดไปใช่ไหม จิตพอสงบ ออกเที่ยว มันก็เหมือนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย คือใช้กำลังจิตนั้นออกไป แต่ถ้าเราไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยนะ ลูกหลานเรารู้จักเก็บหอมรอมริบ มันจะเป็นคนมีฐานะขึ้นมา จิตของเราถ้าแบบว่าสงบแล้วให้มันอยู่กับที่ ไม่ให้มันออก
หลวงตาท่านบอกว่า ใหม่ๆ ท่านบอกว่าให้ออกก็ได้ ไม่ออกก็ได้ได้ไหม
ไม่ได้
ทีแรกไม่บอกไม่ให้ออกเลยนะ การสอนมันต้องทีละสเต็ป มันต้องมีขึ้นไปเล็กๆ น้อยๆ ถ้าจะไปหักเลย คนทำงานมันทำงานไม่ไหว ก็บอกว่าไม่ให้ออกเลยนะ จิตให้ออกบ้าง ไม่ให้ออกบ้างได้ไหม แล้วก็ให้เขาไปลองก่อน เขาก็มาบอกไม่ได้ อะไรก็ไม่ได้ เพราะมันเคย หนึ่ง มันเคย สอง เป็นจริตนิสัย สอง เป็นพื้นฐานของจิต พื้นฐานของจิตเป็นอย่างนี้ ถึงเวลาปั๊บ มันจะออก แล้วจิตสงบปั๊บ มันจะออกรู้เลย แล้วถ้าครูบาอาจารย์ไม่เป็นก็คิดว่านี่เป็นความดี
แต่ถ้าเป็นอย่างที่เราบอกเหมือนเด็กใช้จ่ายฟุ่มเฟือย คือมันสุรุ่ยสุร่ายไง คือเราหาจิตเราได้ แต่เราใช้จิตเราไม่เป็น หาจิตได้คือหาตัวตนได้ไง อย่างเรา เราไม่รู้จักตัวเราเองเลย เพราะเราไม่เคยมีสมาธิ ถ้าใครมีสมาธินะ อืมๆๆ จิตเป็นอย่างนี้ มีกำลังอย่างนี้ รู้จักนะ แต่ก็ทำ มันเจริญแล้วเสื่อม มันก็รักษาไม่ได้อีก มันก็ต้องชำนาญ คือว่าเริ่มกำหนดพุทโธหรือปัญญาอบรมสมาธิบ่อยครั้งเข้าจนจิตมันตั้งมั่นมีกำลัง เหมือนเรา เรามีกำลัง พอเรามีทุนปั๊บ เราจะทำอะไรก็ได้ แต่คนมันไม่รู้ มันใช้จ่ายฟุ่มเฟือย มันก็คิดว่าการใช้นั้นคือประโยชน์ไง การใช้จ่ายฟุ่มเฟือยกับเอาเงินไปลงทุนทำธุรกิจ คนละเรื่องนะมึง คนละอันกันนะ เราใช้จ่ายไปหมดฟรีๆ มันหมดไปโดยหมดไป แต่ถ้าเอาเงินไปลงทุนนะ มันมีกำไรมีขาดทุนนะ แล้วขาดทุนก็มี กำไรก็มี มันต่างกัน ทีนี้มันต่างกัน เราต้องรักษาจิตให้ได้ก่อน พอรักษาจิตให้ได้ ออกก็ได้ ไม่ออกก็ได้ ได้ไหม
อย่างไรก็ไม่ได้เพราะมันเคย
อย่างนั้นไล่ออกเลย ไล่ลงจากเขาเลย ร้องไห้เลย ร้องไห้ เหมือนกับมันไม่มีใครช่วยเหลือแล้ว ต้องไปผจญภัยเองแล้ว ทีนี้คนมันก็มีวาสนา ก่อนที่เขาจะกลับมา แม่ชีแก้วเขาไปคิดเองว่า อ้าว! ก็ในเมื่อเราก็ทำมาอย่างนี้นานเนกาเลแล้ว ถ้ามันเป็นคุณธรรมมันก็ต้องเป็นธรรมแล้ว นี่เราก็ยังสงสัยอยู่ใช่ไหม แล้วเราก็ไม่มีคนสอน
แล้วเรา ประสาเรา คนมีความเห็นอย่างนี้มันจะมีทิฏฐิว่าเราดีกว่าคนอื่น เราแจ๋วกว่า ไอ้พวกนี้นั่งหลับตาไม่เห็นอะไรเลย เราไปรู้เห็นมาหมด เราเก่งกว่าเขาเพื่อน มันมีทิฏฐิ มันมีทุกอย่างพร้อม ทีนี้ทิฏฐิขนาดไหน แต่ถ้าคนมีวาสนาไง มันย้อนกลับมาว่า ถ้ามีทิฏฐิ เราเป็นคนแน่ คนดี เราก็ต้องรู้ธรรมะสิ แต่นี่เราก็เอาตัวไม่รอด แล้วก็หวังพึ่งท่าน แล้วเวลาท่านมา ท่านสอน ทำไมไม่ฟังท่านล่ะ นี่มันเริ่มคิดไง พอเริ่มคิดปั๊บ ถ้าอย่างนั้นเราก็ลองทดสอบดูก่อนสิ คืนนั้นก็กำหนดพุทโธๆ ไม่ให้ออก พอไม่ให้ออกปั๊บ จิตมันก็รวม รวมลงมา มันไม่ออกใช่ไหม
ธรรมดาถ้าจิตมันสงบปั๊บ ถึงเวลาแล้วมันก็ออก ออกคือมันออกไปรับรู้ข้างนอก ผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้ ผู้รู้คือจิตมันสงบเข้ามาแล้วมันก็ออกไปรู้จิตวิญญาณดวงอื่นข้างนอก ไปรับรู้โลกจักรวาลหมดเลย มันก็ใช้ไปหมดใช่ไหม แต่คราวนี้ไม่ให้ออก เพราะท่านบอกว่าไม่ให้ออก ก็ลองพิสูจน์ ก็ท่านไม่ให้ออก พอจิตมันสงบพับ! มันไม่ออก พอไม่ออก ฐานมันเต็มที่แล้ว มันก็เห็นเป็นนิมิตแล้ว ออกไปเห็นจิตวิญญาณนั้นเรื่องหนึ่งนะ เห็นเป็นนิมิตว่าเป็นตัวท่าน ตัวแม่ชีแก้ว แล้วหลวงตาท่านมาถึงท่านก็เอามีดฟันไง พิจารณากาย มันเห็นกาย หลวงตามา ถือตะเกียงมา จะวิ่งเข้ามา ถือดาบมาด้วย นั่งอยู่ ท่านก็มาฟัน ฟันเราเลยนะ ฟันแม่ชีแก้ว พับ! พับ! ฟันหมดเลย แหลกหมดเลย พอแหลกหมดเลยนะ พอแหลกหมด เพราะความยึดมั่น คนเราทุกคนมันยึดว่าอะไรต้องเป็นเรา ทีนี้พอมันโดนทำลายแล้วมันไม่มีเรา เหมือนเราถือของอยู่นี่ ถืออะไรที่เราหลงผิดว่านี่เป็นเรา แต่หลวงตามาถึงก็ฟันๆๆ ทำลายทิ้งหมดเลย อ้าว! มันก็ไม่มี พอไม่มี ความรู้สึกอันนี้ มันเป็นอริยสัจ มันจะมีความแบบว่ามันปล่อยวางลึกซึ้งกว่า โอ้โฮ! ออกมานะ ลุกขึ้นกราบแล้วกราบอีกไง กราบเสร็จแล้วก็ขึ้นไปหาหลวงตา หลวงตาไล่เลย เห็นไหม
นี่ขนาดเป็นข้อเท็จจริงจริงๆ ในใจของเขานะ จริง หมายถึงว่า จิตเขาสงบจริงๆ แล้วออกรู้จริงๆ แต่ความจริงอย่างนี้มันเป็นความจริงที่สุรุ่ยสุร่าย ความจริงของโลก มันไม่วิวัฒนาการขึ้นไปเป็นมรรคไง
แล้วอย่างที่เขารู้ๆ มันเรื่องเด็กๆ เรื่องไร้สาระมากเลย แต่คนไปติด พอติดแล้วก็คิดว่าใช่
เรากล้าพูดนะ พระที่พามาไปหาพระองค์อื่นนะ พระองค์อื่นต้องนั่งอ้าปากฟังเขา อ้าปากหวอเลย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเขารู้ของเขาจริงๆ จิตเขาสงบจริงๆ แล้วเขาได้ยินเสียงแว่วเสียงอะไรมา แล้วเขาคิดว่าใช่ไง ทีนี้พอคิดว่าใช่
๑. คิดว่าใช่
๒. อาจารย์ของเขาก็สอนกันอย่างนี้
คือเราจะบอกเวรกรรมของคนต่างๆ กันนะ ถ้าสมมุติเราปฏิบัติมีแนวทางอยู่ แล้วเราไปเจอสังคมที่เป็นอย่างนี้อยู่ เขารับประกันกันอยู่ คือว่ากระแสสังคมมันใหญ่ สังคมมันกว้างใช่ไหม เขาก็เชื่อถือสังคมของเขาอันนั้น แล้วมันก็ทิฏฐิอันหนึ่ง แล้วสังคมของครูบาอาจารย์เรา สังคมอริยสัจมันก็เป็นอีกอันหนึ่ง เพราะมันพัฒนาการมาจากสังคมอย่างนั้นแล้ว สังคมอย่างนั้น เหมือนกับยุคน้ำแข็ง ยุคดึกดำบรรพ์ แล้วก็ยุคเกษตรกรรม ยุคอุตสาหกรรม จิตมันพัฒนาจากสิ่งนั้นแล้ว มันพัฒนาขึ้นมาแล้ว แต่เขาไม่รู้จักการพัฒนา เขาถึงไม่ยอมรับไง
พอไม่ยอมรับ ถูกไหม ก็ถูกในหมู่ของเขา พอเขาพูดกับเรา เรามันทัน พอมันทัน ธรรมดาจะเห็นไหมว่าเราจะออกแรงอย่างนั้น เคยไหม ไม่เคยหรอก โอ้โฮ! วันนั้นปังๆ เลยนะ โอ้โฮ! เอ็งเห็นอย่างนี้นะขี้หมา ในวัฏฏะนี่นะ โธ่! มึงบอกกูมาสิ ตรงไหน กูจะไปเอามาให้มึงดู เงียบเลย ขนาดอย่างนี้มันยังไร้สาระเลย ติดนะน่ะ อย่างนั้นก็ติด
หลวงปู่เจี๊ยะไง หลวงปู่เจี๊ยะถามหลวงปู่มั่น นี่หลวงปู่เจี๊ยะเล่าเองนะ ท่านพรรษา ๓ แล้วขึ้นไปนวดหลวงปู่มั่นอยู่ มันก็สงสัยว่าอภิญญา อภิญญา ๖ การรู้วาระจิต การรู้ต่างๆ รู้ต่างๆ อภิญญา ๖ อภิญญาที่รู้หมดเลย รู้วาระจิต รู้อนาคตังสญาณ รู้ทุกอย่างนะ ท่านก็สงสัย ท่านก็ไปถามหลวงปู่มั่นไง ถามหลวงปู่มั่นว่า อภิญญาแก้กิเลสได้ไหม
นี่ท่านเล่าเองนะ หลวงปู่มั่นท่านก็รัก ท่านรักหลวงปู่เจี๊ยะมากนะ รักเพราะความรักมากกว่าความคุ้นเคยนะ นี่หลวงปู่เจี๊ยะเล่าเองนะ ไม่ใช่นั่นนะ หลวงปู่มั่นก็เขกหัวป๊อก แก้ไม่ได้เว้ย
ท่านก็โดนไปแล้วทีหนึ่งนะ ก็นวดต่อ นวดไปต่อ เอ๊! แล้วถ้าแก้ไม่ได้ แล้วหลวงปู่มั่นรู้หมดเลย รู้วาระจิต รู้ทุกอย่างเลย หลวงปู่มั่น ถ้าแก้ไม่ได้ แล้วครูจารย์ทำทำไม
ท่านบอกว่าหลวงปู่มั่นก็เขกอีกป๊อกหนึ่ง
ทำอภิญญา ๖ ทำเอาไว้เป็นวิธีการสอนคน เพราะคนมันคิดกันมาก อภิญญาเป็นวิธีการ วิธีการคือดักความรู้คนต่างๆ แต่อันนี้มันไม่ใช่อริยสัจ ดักความรู้ จับความรู้ คือคอยรู้ว่าใครคิดอะไร ใครทำอะไร มันไปรู้วาระจิตเขา แล้วดัดแปลงมา ดัดแปลงมาให้เข้าอริยสัจ ท่านบอกว่ามันเป็นวิธีการ แต่มันไม่ใช่ตัวอริยสัจ แล้วพวกนี้ไปติดที่ตัวนี้ มันไม่ใช่อริยสัจ เพราะเขาไม่เป็น
เพราะเรามีพื้นฐานอย่างนี้อยู่แล้ว พอเราเห็นเขานั่ง เห็นเขาพูด เรารู้หมด ฉะนั้น เวลาสิ่งที่จะแก้ จะแก้คนที่ภาวนาติดนะ เราต้องมีน้ำหนักที่หนักกว่า เราต้องมีเหตุผลที่เหนือกว่า สิ่งที่เขาด้อยกว่า ถ้าเขามีวาสนา เขาจะเปิดใจฟัง ถ้าเหตุผลเราไม่หนักแน่นกว่า เขาจะไม่เปิดใจฟัง ฉะนั้น เขาบอกว่าเขาได้ยินเสียงแว่ว ได้ยินอะไรแว่ว
กูไม่ต้องได้ยินเสียงหรอก กูไปคุยกับเขาเลย กูไปนั่งคุยกับเขาเลย
แล้วเขาก็ถามว่า แล้วจริงหรือๆ
แล้วจริงไหมล่ะ จริงไหมล่ะ
ถ้าพูดถึงนะ ถ้าคำพูดออกไป ถ้าไม่จริง คนมันทันมันจะถามเลย คุยอย่างไร วิธีการไป ไปอย่างไร ไปเจอเขาแล้ว เขารูปร่างเป็นอย่างไร แล้วคุยกัน ใช้อะไรคุย แล้วคุย ความรับรู้ รู้กันอย่างไร ถ้าเขามีพื้นฐานนะ เขาจะซักเลย ไอ้ที่ไปบอกว่าฉันทำได้ๆ ระวังให้ดี ถ้าคนมันทันนะ มันจะซักถึงวิธีการทำ ไอ้ผลที่ทำได้
พวกเราพูดถึงผลของธรรม แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์นะ ท่านจะถามถึงวิธีการที่ทำ ถ้ามึงบอกวิธีการที่ถูก ผลนั้นถึงจะเป็นความถูกต้อง
หลวงตามหาบัวท่านไปซักหลวงปู่บัว ด้วยท่านเจ้าคุณจูม ธรรมเจดีย์ ให้ซัก อ้าว! ว่ามา หลวงพ่อว่ามา
ท่านก็พูดถึงการพิจารณากาย อืม! ผ่าน วิธีการที่พิจารณากายขั้นที่ ๑ ผ่าน อ้าว! ขั้นต่อไป ขั้นที่ ๒ ผ่าน ขั้นที่ ๓ ผ่าน ทีนี้ขั้นที่ ๓ ผ่านแล้ว วิธีการบอกมันถูกหมด พอถูกหมดมันก็ผ่านไปๆ แล้วเขาบอกว่า อ้าว! พูดมาสิ เพราะคนที่ถามรู้ใช่ไหม ขั้นที่ ๓ ผ่าน มันมีขั้นที่ ๔ ทีนี้หลวงปู่บัวท่านบอกท่านผ่านขั้นที่ ๓ แล้ว ท่านบอกว่าขั้นที่ ๓ นั้นคือหมดกิเลสไง
หลวงตาบอก อ้าว! พูดมาสิ
หมดแล้วครับ
หมดแล้ว ตัวเองคิดว่าอย่างไร
ก็คิดว่านี่สิ้นแล้ว
ท่านบอก ว้าว! คืนนี้ไม่ต้องไปสวดมนต์นะ ให้พิจารณาต่อเข้าไปอย่างนี้เลยๆๆ
พอเช้ามา ไปสวดมนต์เสร็จกลับมาอยู่ที่กุฏิ พอตี ๓ ตี ๔ หลวงปู่บัวมาแล้วมากอกๆ แกกๆ
นั่นใครน่ะ
เกล้ากระผมครับ
อ้าว! เข้ามา
พอเปิดเข้ามานะ พอท่านอาจารย์บอก ผมก็กลับไปเลย กลับไป ธรรมดา จิต พลังงานมันส่งออกอยู่แล้ว จิตเดิมแท้นี้ผ่องใสมันก็พลังงานออกไปแล้ว ท่านบังคับได้ บังคับได้เพราะอะไร บังคับได้เพราะติดตรงนี้ ๑๗ ปี หรือ ๑๓ ปี ติดมา ๑๐ กว่าปี พอ ๑๐ กว่าปี มันพร้อมอยู่ตลอดเวลา ความพร้อมมันมีอยู่แล้ว แต่คนบอก มันไม่มีใครบอกไง หรือบอก คนไหนบอกมันก็ไม่ฟัง เพราะเราไปฟังประวัติหลวงปู่จวน เวลาหลวงปู่จวนเล่าให้ฟังว่าหลวงปู่บัวไปจำพรรษากับหลวงปู่จวนที่ถ้ำจันทร์ ถ้ำจันทร์ใกล้ภูทอก ก็ว่าตัวเองนิโรธแล้ว คือดับแล้ว แล้วหลวงปู่จวนบอกนิโรธไม่เป็นอย่างนี้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วก็นิโรธสมาบัติ นิโรธคือนิโรธดับ
ทีนี้นิโรธสมาบัติ เราไปว่านิโรธ ใครเข้าสมาบัติ ปุถุชนเข้าได้ แต่นิโรธสมาบัติ ทุกคนบอกว่านิโรธสมาบัติต้องพระอนาคามีหรือพระอรหันต์เท่านั้นเข้าได้
แต่หลวงปู่จวนบอกว่า หลวงปู่มั่นไม่บอกอย่างนั้น หลวงปู่มั่นบอกนิโรธคือดับทุกข์ คือดับหมด เพราะฉะนั้น นิโรธในความจริงกับนิโรธของหลวงปู่บัว หลวงปู่จวนท่านค้านอยู่ในใจ แล้วท่านคอยเตือนไง แล้วที่ว่าหลวงปู่บัวท่านบอกว่าจะไปตายที่นั่น ให้เขาทำโลงไง แล้วไม่ตาย พอไม่ตายปั๊บ ความเห็นใจผิดแล้ว แต่ก็ยังไม่เอะใจนะ เราบอกถ้าคนติดมันจะมีอาการอย่างนี้ คือว่าเหมือนในสมัยพุทธกาลเลย ชฏิล ๓ พี่น้อง พระพุทธเจ้าไปสอนเลยนะ อืม! สมณะองค์นี้เก่งนะ แต่ไม่ใช่พระอรหันต์เหมือนเรา พอพระพุทธเจ้าสอนไง อืม! พระองค์นี้เก่งนะ แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา
จนพระพุทธเจ้าเมตตามากนะ ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ ท่านไม่รู้อะไรเลย
คอตกเลยนะ ทั้งที่ตัวเองรู้นะ แต่ทิฏฐิมันไม่ยอม พอไม่ยอม พอพระพุทธเจ้าอัดปั๊บ ชฏิล ๓ พี่น้องยอมลง
ไอ้นี่ก็เหมือนกัน หลวงปู่บัวท่านฟังมาเยอะ มันมีกระทบมาเยอะไง พอหลวงตาท่านพูดปั๊บ คืนนั้นหักกลับมาเลย พอหักกลับมา จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส พอเข้าไปในตัวผ่องใส ท่านก็กำหนดย้อนกลับเข้าไปอวิชชา ย้อนอวิชชาปั๊บ พอจิตมันเข้าไป ท่านบอกว่ามันรวมลง รวมลง บึบ! เหมือนกับความรู้สึกมันลงแรง ท่านบอกเลย ขางคานอวิชชาขาด นี่ไง วิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ของหลวงปู่บัว ย้อนกลับมาอวิชชาแล้ว ขางคาน คือเรานั่งอยู่บนกุฏิมันมีคานไง มีตงมีคาน แล้วมันยุบลง ความรู้สึกของใจนะ มันยุบลงวุบ! แต่ความจริงมันไม่ใช่ เพราะท่านก็นั่งอยู่ปกตินี่แหละ แล้วหลวงตาท่านบอกว่า ขางอวิชชา คือคานอวิชชาที่มันคาอยู่มันหักลง ลงวุบ!
พอเช้าขึ้นมา มากราบหลวงตามาก มากราบหลวงตา โอ๋ย! ถ้าไม่มีครูอาจารย์นะ ผมจะติดอย่างนี้ตลอดไป โอ้โฮ! เห็นบุญเห็นคุณ กราบแล้วกราบอีก กราบแล้วกราบอีก กราบแล้วกราบอีก
ถ้ามันมีนิสัยนะ หนึ่ง มันต้องมีนิสัย มีการเปรียบเทียบ ทีนี้ถ้ามันไม่มีนิสัย มันไม่มีนิสัย แต่วันที่เขามา โยมจะคิดว่าเขาจะทิฏฐิขนาดไหนก็แล้วแต่นะ แต่เรารู้ เขาสะเทือนมาก โยมพาพระมาได้ประโยชน์มหาศาลเลย เพราะทิฏฐิแล้ว แต่เหตุผลสู้เราไม่ได้ ไม่ได้อวดนะ เหตุผลสู้ไม่ได้ แล้วท่านยอมรับ ถ้าท่านไม่ยอมรับนะ ท่านจะไม่บอกว่านี่คือพื้นๆ
พวกโยมไม่รู้จักวิธีการแก้จิต สิ่งที่เขาพอรู้สึกตัวว่าถูกหรือผิดนี่นะ คุณค่ามันมหาศาล แล้วโยมยังบอกว่าสอนต่อๆ วิธีการที่จะเอา ทฤษฎีมันเยอะแยะไปหมด แล้วแต่ใครจะเอามาเป็นประโยชน์ วันนั้นแค่เขายอมรับว่าถูกหรือผิด ขณะที่ปฏิบัติกันนี่นะ ผู้ที่ปฏิบัติแล้วติดจะบอกเขาว่าผิดอย่างเดียวนี่ยากมาก
เหมือนที่ว่า สิ่งที่รู้ทั้งหมดรู้จริงไหม? จริง แต่ความรู้จริงไหม? ไม่จริง แต่เรารู้จริง เรารู้จริง เราจะยอมปฏิเสธว่าความรู้เราไม่จริงไหม? ไม่มีทางๆ ต้องใช้เวลามาก แล้ววันนั้นมาแค่นี้ เขายอมรับ อย่างไรก็แล้วแต่นะ ในหัวใจสั่นไหวแล้ว ไอ้อัตตาตัวนี้นะ มันโดนเราทุบนะ มันคลอนแคลนแล้ว
โธ่! แก้คน เราแก้มาเยอะ แค่ขอให้ยอมรับว่าผิดถูกนี่นะ เพราะมันบอกจะอะไรอยู่ก็แล้วแต่นะ เหมือนกัน ใช่ หมุนไปด้วยปัญญา นี่นิพพาน หาเหตุหาผลสรุป นี่นิพพาน มันจะหาเหตุหาผล ไม่ต้องภาวนา มันไปอ่านหนังสือมันยังรู้ว่านิพพานเป็นอย่างไรเลย ทิฏฐิมันจะไปเสริมตลอด
โยม ๑ : อยากสอบถามพระอาจารย์หน่อยครับว่า บวชเพื่ออะไร
หลวงพ่อ : แหม! เพราะเราชกมาจนเบื่อแล้ว แล้วเวลามันไม่มีไง เพราะมันจะมีมาอย่างนี้บ่อย เราต้องถามอย่างนี้ก่อนสิ คือเราต้องถามปิดประตูไว้ก่อน ประสาเรานะ เอากุญแจมือล็อกเลย ถ้าไม่พูดอย่างนี้นะ เขาก็ว่า อ้าว! ก็บวชมาก็เพื่อบวช ต้องถามก่อน ถามว่า เหมือนกับเป้าหมายอะไรไง ต้องชี้ที่เป้าหมายก่อน มึงจะได้หนีกูไม่ได้ ถ้าชี้ถึงเป้าหมายปั๊บ เราก็บอก เอ็งบวชมาเพื่ออะไร ถ้าเขาบอกเขาบวชมาเพื่อพักผ่อน บวชเพื่ออะไรนะ เราก็พูดไปอีกเรื่องหนึ่งนะ เพราะมันมี จะเข้าโน่นด้วย มันมีพวกอภิธรรมมาหาเยอะมาก ปฏิบัตินามรูป คนหนึ่ง ๓๐ ปี ๔๐ ปี ว่างๆ ว่างๆ แล้วญาติๆ ก็พามาที่นี่ เราก็ถามอย่างนี้ โยม โยมปฏิบัติเพื่ออะไร ถ้าปฏิบัติธรรมเพื่อความสุข เออ! ใช่
บอก ไม่ใช่ ปฏิบัติเพื่อมรรคผล
ถ้าปฏิบัติเพื่อมรรคผล ผิดหมด แต่ถ้าปฏิบัติเพื่อความสุข เพราะเขาสบายๆ เขามา ปฏิบัติมานะ ว่าง สบายๆ ถ้าปฏิบัติมาเพื่อความสะดวกสบาย ใช่ แค่นี้แหละ นี่ปฏิบัติธรรมแล้ว
แต่ถ้าปฏิบัติมาเพื่อมรรคผล มันเป็นมิจฉาสมาธิ ว่างๆ ไม่มีสติ ถ้ามีสติ เมื่อวานพระมา พระกลับไปแล้ว พระมาจากวัดเทพศิรินทร์ ๑๑ องค์ ก็ตรงนี้ อ้าว! แล้วถ้าพูดถึงสักแต่ว่ารู้ของหลวงพ่อ ถ้ามันสักแต่ว่ารู้ มันไม่ใช่ภวังค์หรือ เขาถามเราไง
บอก ไม่ใช่ ภวังค์นะ พุทโธๆๆ หลับไปเลย แล้วพอมันจะรู้สึกตัว มันสะดุ้งตื่น ขณะที่หลับไปเลย มันว่างจนไม่มีอะไรเลย ไอ้นามรูปก็เหมือนกัน พิจารณานามรูป พิจารณานาม มันเป็นรูป มันเป็นนาม มันสักแต่ว่าเป็นรูปเป็นนาม ใจก็ปล่อยหมด พอปล่อยหมดมันก็ว่างหมด มันไม่มีสติคุมมันนะ
แต่ถ้าเป็นพุทโธๆๆ หรือปัญญาอบรมสมาธิ มันจะมีสติตามมาตลอด มันมีสตินะ เหมือนกับเราตกจากที่สูง เราก็รู้ตัวตลอดเวลา คนตกจากที่สูงส่วนใหญ่จะไม่รู้ รู้ขณะตกถึงพื้น ตกผลัวะ! ตกถึงพื้นแล้ว ตึ๊ก! โอ้! ถึงรู้ แต่ขณะที่มันลง ไม่รู้ตัวหรอก แต่ถ้าเป็นสมาธิมันจะรู้นะ เราตกจากที่สูง ตกจากที่สูงมันจะถึงพื้นใช่ไหม ขณะที่ถึงพื้น จิตมันร่อนลงมา สติเราพร้อมตลอด สติเราอยู่กับตัวเลย ทุกๆ สิ่งที่มันลงมา สติจะตามมาตลอดเลย สติมันมีตลอด ถ้ามันลงไม่ได้มันก็ขึ้นกลับไปที่เก่า แต่ถ้าลงถึงพื้น มันก็เป็นสมาธิไง ทีนี้ถ้าเราพุทโธๆๆ ลงมา มันมีสติตลอด มันจะตกภวังค์ได้อย่างไร ถ้าสติขาดพับ! หายเลย นั่นคือภวังค์
มันจะพุทโธๆ มันจะพร้อมมาตลอด จะสูงจะต่ำอยู่ตลอดของมัน ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ พอลงถึงอัปปนาสมาธิ สติมันพร้อมหมด มันรู้ตัวตลอดเวลา รู้จนถึงที่สุดนะ พอรู้ปั๊บ พอจิตมันหดตัวเข้ามาเป็นตัวจิต จิตนี้อยู่ในกายเรานี่แหละ พอสมาธิมันหดเข้ามาหมดเลย สมาธิมันลึกมาก หู จมูก ลิ้น ตา รับอะไรไม่ได้ อายตนะนี้ดับหมด ทีนี้พอฟังแบบเราปฏิบัติไม่เป็น เราก็คิดว่านี่คือการหลับ มันบอกว่านี่เป็นตกภวังค์หรือเปล่า? ไม่ตก ถ้าตกภวังค์เป็นตกภวังค์ สมาธิเป็นสมาธิ
ทีนี้พอถึงสักแต่ว่ารู้ มันวิปัสสนาไม่ได้เพราะมันเป็นสมาธิที่ลึก มันถึงต้องคลายออกมา การคลาย การเข้าสมาธิออกสมาธิ เราก็นึกว่าเข้าประตูออกประตู...ไม่ใช่ การเข้าสมาธิ จิตมันละเอียดเข้าไปๆๆ เวลาคลายสมาธิ จิตมันหยาบออกมา มันหยาบออกมา อย่างนี้คลายสมาธิ เข้าสมาธิ มันไม่ได้ตกสูงต่ำ ไม่ได้เข้าออก มันหดตัวเข้ามา จิตมันหดตัวเข้ามาต่างหาก แล้วจิตมันคลายออก เวลาหดเข้ามามันจะไม่รู้อะไรเลย มันจะนิ่งเข้ามา เวลามันออก เราจะเริ่มรู้สึกตัวไง มันจะซ่าออกไป แต่ถ้าหดเข้ามา มันจะหดเข้ามาโดยธรรมชาติของมัน แต่ขณะที่ว่ามันตกจากที่สูง มันเป็นอาการของจิต มันเป็นจิตแต่ละบุคคลมันไม่เหมือนกัน นี่พูดถึงเขาบอกว่าเป็นภวังค์หรือเปล่า
ฉะนั้น ถ้าปฏิบัติเพื่อความสุข ปฏิบัติเพื่อเป็นปฏิบัติธรรม คำว่า ปฏิบัติเพื่อปฏิบัติธรรม เพราะอะไรรู้ไหม เพราะทุกคนมันอยู่ที่บารมีไง เราเห็นว่าการปฏิบัติธรรมนี่ประเสริฐ เราก็อยากปฏิบัติกัน ทีนี้พอบอกปฏิบัติปั๊บ เราบอกว่าปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน เราก็คิดว่า โอ้โฮ! งานมันงานช้าง งานมันงานที่เราจะทำไม่ไหวหรอก เราก็เลยไม่กล้าใช่ไหม ก็เลยกลายเป็นปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมแล้วสร้างบารมี
ถามว่าปฏิบัติเพื่ออะไร ถ้าปฏิบัติเพื่อปฏิบัติธรรม อ้าว! ถูกต้อง
แต่ถ้าปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้หรอก เพราะอะไรรู้ไหม มรรค ๘ นะ สัมมาสมาธิไม่ใช่มิจฉาสมาธิ สัมมาคือมรรคที่ถูกต้อง มิจฉาคือมรรคที่ผิด มรรคไม่ใช่จะถูกหมดนะ มิจฉามรรค สัมมามรรค มิจฉามันก็ออกทะเลไง มิจฉามันก็ลงทะเลสิ อย่าคิดว่าปฏิบัติธรรมแล้วถูกนะ ปฏิบัติผิดก็เยอะ ทีนี้ใครตรวจสอบ ใครก็ปฏิบัติๆ
โธ่! หลวงตาเราก็พูดบ่อย หมาก็ปฏิบัติ มันเดินจงกรม หมากูก็เดินนะมึง
มันต้องหดเข้ามาๆ ฉะนั้น เราพูดเลย เวลาใครมา เราต้องคุยกันก่อนว่าเราจะมีเป้าหมายคุยกันเรื่องอะไร ถ้าคุยกันเรื่องธรรมะก็คุยกันไป แต่ถ้าคุยกันเรื่องเข้าถึงหามรรคผลนะ ไม่ได้นะ เหมือนกับที่ว่าไปอวกาศ ออกไปอวกาศ ต้องออกตามจุดของมัน นี่ก็เหมือนกัน วิวัฒนาการของจิตมันจะเป็นหมด
ฉะนั้น การปฏิบัติจะบอกว่าคนละแนวทางได้ แต่จะบอกว่าวิธีการต่างกันได้ แต่ผลที่มันต่างกัน ไม่มี โสดาบันต้องเป็นโสดาบันเหมือนกัน จะมาช่องทางไหน จะทำอย่างไร โสดาบันคือโสดาบัน โสดาบันต้องบอกว่าเป็นโสดาบันอย่างไร เอ็งบอกกูมา ถ้าเอ็งบอกเอ็งเป็นโสดาบัน กูก็ฟังอยู่ แต่กูไม่เชื่อ แต่ถ้าเอ็งบอกเอ็งเป็นโสดาบันอย่างไร ถ้าเอ็งบอกถูก กูเชื่อ เป็นสกิทาคามีอย่างไร เป็นอนาคามีอย่างไร เป็นพระอรหันต์อย่างไร
ผลของพระอรหันต์ ผลของอนาคามี ผลของสกิทาคามี ผลของโสดาบัน นั่นเป็นผล กูไม่ฟัง ถ้ามึงบอกวิธีการเข้าถูก กูฟังมึง ใครมาก็ว่างๆ ว่างๆ แล้วว่างๆ มันว่างของใคร ถ้าว่างปั๊บ เราจะชักเข้ามาเลย ชักเข้ามาว่ามึงทำอย่างไร แล้วผลมันตอบอย่างไร
ทีนี้แม้แต่สมาธินี่นะ คนยังพูดเรื่องสมาธิผิดเลย
ว่างๆ ครับ
ว่างอย่างไรล่ะ
ก็ว่างๆ ครับ
ว่างอย่างไรล่ะ
ตอบไม่ได้
ว่างๆ มันยังบอกไม่ได้เลยว่างอย่างไร แล้วกูจะเชื่อมึงหรือ ก็มึงนั่งหลับไง ว่างมึงก็ว่างไม่มีเจ้าของไง
โอ๋ย! ว่างๆ พุทโธๆๆ โอ้โฮ! พูดไม่ออกเลย เป็นอย่างนั้นๆ...เออ! มันยังฟังได้บ้าง
ว่างๆ ครับ
แล้วว่างอย่างไร
ก็ไม่รู้ ว่างๆ ครับ ว่างๆ ครับ
แม้แต่สมาธิยังพูดไม่เป็นเลยนะมึง
แต่เราบอกได้ว่าที่โยมพามานี่ได้ประโยชน์มาก ได้ประโยชน์มาก ประโยชน์ที่ว่าประสาเราเลย เราทำดีมาตลอดเลย แล้วไม่เคยมีใครบอกว่าเราผิดตรงไหนเลย แล้วเราชี้เขา เราบอกว่าผิดอย่างนี้ๆๆ แล้วขณะที่อยู่กับเรา เขายอมรับ เราฟังออก ถ้าเขาไม่ยอมรับนะ เขาต้องมีเหตุผลโต้แย้งเราแล้ว
เราบอกเป็นพื้นฐาน เขาบอกพื้นๆ ใช่ ก็พื้นๆ แต่ที่ผิดมันก็ผิดตรงนี้ ผิดตรงเข้าใจว่าพื้นแล้วอยู่กับพื้น เพราะตัวพื้นฐาน เราเหมือนกับเด็ก เด็กเรียนอนุบาล ถ้าให้มันเรียนทางหลักวิชาการมันแน่น มันเรียนต่อไปจะดีมากเลย พื้นๆ ถ้าฐานมันดีนะ ถ้าฐานไม่ดีนะ พอขึ้นไปนะ พ่อแม่เสียดาย เสียใจทีหลังเลยล่ะ พื้นๆ ก็ต้องให้มันแน่นแล้วขึ้นไป
พวกเราพอพื้นๆ แน่น มันก็เหมือนวัดพระป่าเรา โอ้โฮ! ลำบากๆ ก็พื้นไง พื้น พื้น วัตรปฏิบัตินี่เป็นพื้น เซมาจากไหน ล้มมาจากไหนก็มีวัตรปฏิบัติรองรับไว้ คือเครื่องอยู่ คือไม่ถึงกับหมดเนื้อหมดตัว จะทุกข์ยากขนาดไหนมาก็มีข้อวัตรปฏิบัติรองรับอยู่ เขาเรียกเครื่องอยู่ไง จิตมันจะเสื่อมขนาดไหน จิตมันจะโลเลขนาดไหน เราก็มีข้อวัตรปฏิบัติเป็นเครื่องอยู่ เพราะจิตมันมีขึ้นมีลง
ทีนี้พวกเราไปมองกันอย่างนั้น ไปมองว่า โอ้! งานไม่มี งานอะไร งานเก็บกวาด ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
โธ่! กวาดไป สติพร้อมไป มันได้ประโยชน์ทั้งนั้นน่ะ คนจะคิดถึง เห็นประโยชน์มันไหม นี่หลวงปู่มั่นท่านวางรากฐานไว้ เพราะหลวงปู่มั่นเวลาท่านจะหาทางไปได้ มันก็เหมือนเราจะทำอะไรได้มันต้องมีทุกอย่างรองรับ ทุกอย่างทำให้เราไม่ถึงกับผิดพลาดไปไกลไง
ทีนี้พอปฏิบัติโดยทั่วไปไม่มีข้อวัตร มีเด็กวัดบริการหมดเลย ถึงเวลาก็ห่มผ้าหล่อๆ มากินข้าว กินข้าวเสร็จ หล่อๆ เดินกลับกุฏิ...เสร็จ! เรียบร้อย! ไม่เหลือ! งานต่างๆ ให้เด็กวัดมันทำ
แต่กรรมฐานไม่เป็นอย่างนั้น มีมือกินก็ต้องมีมือทำ ไม่บิณฑบาตก็ไม่ต้องฉัน ฉัน ต้องออกบิณฑบาต พระศีล ๒๒๗ เท่ากันหมด มีพระองค์ไหนศีลมากกว่าพระองค์ไหน ไม่มี เคารพกันด้วยคุณธรรมในหัวใจ อาวุโสภันเตเป็นธรรมวินัย เคารพกัน ใครบวชก่อนบวชหลังเป็นอาวุโสภันเต
แต่ถ้าใครมีคุณธรรมในหัวใจ กราบแล้วกราบอีก อยากได้บุญกุศลกับท่าน อยากให้ท่านแนะนำสั่งสอนเรา ศีล ๒๒๗ เท่ากัน ยิ่งครูบาอาจารย์สูงสุดสู่สามัญ ดูครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมสิ เหมือนพระเด็กๆ เหมือนพระธรรมดา
ไอ้ทิฏฐิมานะ พรรษาสองพรรษาอยากจะใหญ่โต แหม! วางฟอร์มเสีย
ดูครูบาอาจารย์เราที่เป็นธรรมสิ ปกติ ธรรมดา ไม่มีอะไรเหนือใครเลย แต่หัวใจเหนือมากๆ แล้วเราเคารพบูชากันมาก แต่พระทางโลกไม่กี่พรรษา แหม! สร้างภาพกัน กิเลสทั้งนั้น
ทีนี้พออย่างนั้นปั๊บ ต่างคนต่างสร้างภาพ ต่างคนต่างสร้างขึ้นมา ก็อย่างนั้นน่ะ ใครมีอะไรแปลกๆ โธ่! ประสาเรา เราถนอมรู้ไหม ถ้าไม่ถนอมนะ เสียง มึงจะเอาเสียงอะไรล่ะ เข้าสมาบัตินะ จิตสงบปั๊บ แสงสว่างออกไป แสงสว่างตกที่ไหน เสียงได้ยินหมด เทวดาคุยกันได้ยินหมดเลย กับไอ้เสียงแว่วอย่างนี้มันจะมีปัญหาอะไร
เราพูด วันนั้นเวลาเราไม่มี เราหักๆๆ เอา ถ้าอธิบายนะ เสียง พวกปฏิบัติอยู่ที่นี่ เสียงดนตรีไทยแว่วมา ตี ๓ ตี ๔ เยอะแยะ เสียงอะไรต่ออะไร พวกนี้ได้ยินหมดล่ะ เสียงมันมีอยู่แล้ว เสียงพระพุทธเจ้าปัจจุบันนี้ยังมีอยู่เลย เสียงพระพุทธเจ้าที่เทศนาว่าการไว้ เสียง เห็นไหม สสารมันมี เสียงตั้งแต่อดีตยังมีอยู่เลย เราจะได้ยินย้อนกลับไปได้อย่างไร โอ้โฮ! ยิ่งพิจารณาไปแล้วนะ
เราคิดไม่ถึงหรอกว่าเขาพูดได้แค่นี้เองไง เราคิดว่าเขาต้องได้รู้อะไรลึกกว่านี้ เขาถึงได้คิดว่าเขาสิ้นกิเลส พอได้ยินแค่นี้ โอ๊ย! เวรเอ๋ย เพราะในวงปฏิบัติมันจะมีเรื่องอย่างนี้เยอะมาก
วันนั้นเรารู้อยู่ โยมสงสารมาก โยมถึงบอกว่าให้สอน แล้วเขาก็พูดอยู่บอกว่า มีอะไรให้สอนต่อล่ะ
ไอ้คำว่า สอน นี่นะ เวลาเราเรียนปริยัติ ปริยัติมันมีอยู่แล้วใช่ไหม ปริยัติ ทีนี้เราปฏิบัติ ภาคปฏิบัติ กว่าจะได้ผล ๑๐ ปี ๒๐ ปียังไม่ได้เลย ทีนี้ที่ว่าให้สอนๆ มันจะสอน ก็พุทโธไง แค่พุทโธ มึงพุทโธเอากับใจให้อยู่ก็จบแล้ว พุทโธๆๆ เอาใจจบ เอาใจนิ่งปั๊บ นี่คือผลแล้ว แต่เราก็ โอ้โฮ! เวลาจะทำนะ โอ้โฮ! พิธีการเยอะแยะไปหมด
พุทโธ หายใจเข้าพุท ออกโธ พุทโธๆๆ เอามันให้อยู่ ถ้ามันสงบเข้ามาอยู่ เรารู้แล้วจิตสงบ แล้วที่ในพระไตรปิฎกนั้น นั่นมันเป็นกิริยาไง มันเป็นบารมีของคนไง อย่างเช่นพระองค์นี้มา จะสอนพระองค์นี้ ท่านก็มีตัวอย่างอย่างหนึ่ง อ้าว! พระองค์นี้มาสอน ก็มีตัวอย่างอย่างหนึ่ง อ้าว! พระองค์นี้มา ก็มีตัวอย่างอย่างหนึ่ง แต่ละองค์ก็ศีล สมาธิ ปัญญาเหมือนกัน แต่ถ้าสอนอย่างนี้เป็นอีกอย่างหนึ่ง
มันมีเลขาของเจ้าคณะภาคไปหาหลวงปู่ฝั้น บอกว่าเขาจบ ๙ ประโยค พระไตรปิฎกเข้าใจหมดเลย ทุกอย่างเลย แต่งบาลีก็ได้ ทุกอย่างเลย แล้วศึกษาหมด แล้วก็สงสัย สงสัยว่าพระพุทธเจ้าสอนพระสารีบุตรก็อย่างหนึ่ง สอนพระโมคคัลลานะก็อย่างหนึ่ง พระสารีบุตร สอนพระสารีบุตรที่เขาคิชฌกูฏในถ้ำ ที่หลานเข้ามาหา แล้วพระสารีบุตรพัดพระพุทธเจ้าอยู่ แล้วหลานก็บอกว่าไม่พอใจพระพุทธเจ้ามาก เพราะพระพุทธเจ้าเอาตระกูลพระสารีบุตรบวชหมดเลย ก็จะพูด จะต่อว่าพระพุทธเจ้าก็ไม่กล้า เขาบอก ผมไม่พอใจไอ้นั่น ผมไม่พอใจไอ้นี่
พระพุทธเจ้าบอกเลย ถ้าเธอไม่พอใจสิ่งใดๆ ในโลกนี้ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย เพราะอารมณ์ความรู้สึกของเธอก็คือวัตถุอันหนึ่ง
ความคิดเรา ถ้าเอ็งไม่พอใจใคร เอ็งต้องไม่พอใจความคิดเอ็งด้วย เพราะความคิดเอ็งคิดไม่พอใจเขา พระสารีบุตรพัดอยู่ข้างหลัง ปิ๊ง! เป็นพระอรหันต์เลย นี่วิธีสอนพระสารีบุตร
วิธีสอนพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะนั่งแล้วก็หลับ พระโสดาบันยังนั่งโงกเลย พระโสดาบันแล้วนะ มาจากพระสารีบุตรฟังมาจากพระอัสสชิ พระสารีบุตรไปสอนพระโมคคัลลานะได้โสดาบันแล้วถึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระโสดาบันเวลานั่งสมาธิยังนั่งสัปหงก พระพุทธเจ้าไปเลยนะ ให้เอาน้ำลูบหน้า ให้มองดาว นี่สอนพระโมคคัลลานะก็อีกอย่างหนึ่ง สอนพระอุบาลีก็อีกอย่างหนึ่ง
นี่เขา ๙ ประโยค เขาบอกสอนทุกอย่าง ทุกคนก็สอนไปคนละอย่าง แล้วผมจะทำอย่างไรล่ะ เพราะผมมีความรู้มาก
หลวงปู่ฝั้นบอกว่า ทุกข์มันอยู่ที่ไหนล่ะ ทุกข์มันอยู่ที่ไหน เราทุกข์เราสุขใช่ไหม เอาปัจจุบันของเราไง อย่าไปเอาอดีตอนาคต ทุกข์เราอยู่ที่ไหน ความรู้สึกเราอยู่ที่ไหน จับลงตรงนั้น
นี่เรียนมาขนาดไหนก็ยังทำอะไรไม่เป็นนะ พูดถึงว่าเอาปัจจุบัน พอปัจจุบันย้อนกลับมา ก็บอกว่าวิธี คำสอนต่างๆ มันมีอยู่แล้ว แล้วคนฉลาดหรือคนไม่ฉลาด ถ้าคนฉลาด เราต้องเก็บมาเป็นประโยชน์กับเราไง
ทีนี้ทุกคนถามว่า บอกวิธีการมาสิ
โธ่! วิธีการหลากหลายมาก แต่ถ้าประสาเรานะ ประสาเรา อย่างหลวงตาท่านพูด ท่านก็ชอบพุทโธ เพราะพุทโธมันก็เป็นพุทธานุสติ มันเป็นอันแรกไง กรรมฐาน ๔๐ ห้อง อันแรก มันมีวิธีการ ๔๐ อย่าง จับให้ได้แล้วกำหนดเลย แล้วมันจะเป็นไป พุทโธ ทำจิตให้สงบก่อน
ฉะนั้น เวลาพื้นฐาน ถ้าเราทำอะไรมาแล้ว ถ้ามันทำอย่างนั้น มันสำคัญตรงที่ว่าพื้นฐาน ถ้าพื้นฐาน เราเข้าใจว่าพื้นฐาน แล้วเราทำให้มันสงบเข้ามา แล้วมันดีขึ้นไป มันจะดีขึ้นไป คำว่า พื้นฐาน แล้วเราย่ำอยู่กับที่ สำคัญคือสติ สติชัดเจนตลอดเวลา ตัวสติจะทำให้ใจนี้ให้มันละเอียดเข้ามา สมาธิคือใจที่มันรับรู้ว่าเป็นสมาธิ สมาธิไม่ใช่เขียนว่าสมาธิ เขียนว่าสมาธินั้นเป็นคำสอน แต่เวลาเกิดกับเรา อื้อหืมๆ แล้วมันมีกำลัง
ตอนนี้พวกเราเป็นมิจฉาสมาธิกันหมด คือพยายามปฏิเสธให้มันว่าง แล้วคิดว่าเป็นสมาธิ พยายามปฏิเสธให้มันว่างไง คือปฏิเสธ ปฏิเสธว่าเราไม่มีไง แล้วมีไหม ก็นั่งอยู่นี่ทั้งคน ไม่มีได้อย่างไร แต่พยายามปฏิเสธมัน พอปฏิเสธไปปฏิเสธมา เออ! ก็ดีเนาะ ปฏิเสธแล้วไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมันก็สบายดี เออ! อะไรก็ไม่ใช่ของเรา อะไรก็ไม่ใช่เรา ปฏิเสธไปเรื่อยๆ เออ! แล้วก็สบายดี แล้วก็คิดว่าเป็นสมาธิ ไม่เป็นหรอก ไม่เป็นหรอก
ถ้าเป็นสมาธินะ ต้องพุทโธๆ เป็นเราหมด ปฏิเสธอะไรไม่ได้ เป็นเรา แล้วเรามันมีสติใคร่ครวญ ใคร่ครวญไปเรื่อยๆ เราจะเปรียบเทียบเหมือนรีไซเคิลน้ำเลย น้ำสกปรกเขากวนมัน เขาจะเอาออกซิเจนมัน แล้วมันสะอาดได้
จิตก็เหมือนกัน ที่มันคิดมา พุทโธๆๆ มันก็รีไซเคิลมัน กวนมัน ออกซิเจนอัดเข้าไป อัดเข้าไป พอเดี๋ยวมันเป็นสมาธิขึ้นมา เออ! น้ำที่มันสกปรกเหม็นมาก กลิ่นเหม็นมากเลย พอมันเป็นน้ำสะอาด อื้อหืม! มันน่าใช้ โอ้! มันใส รู้เองเห็นเอง จับต้องได้หมด มันถึงเป็นสมาธิ
พอจับต้องได้ เรามีน้ำแล้ว น้ำนี้จะเอาไปทำอะไรล่ะ อุตสาหกรรมก็ได้ จะเอาไปทำอะไรก็ได้ แต่น้ำสกปรกนะ น้ำเสีย น้ำเป็นสารพิษ ไม่มีใครเอา ไปลงที่ไหนๆ ก็เหม็นไปหมด ความคิดเรามีแต่กิเลสทั้งหมด ไอ้ที่ใครๆ ก็ไม่เอา กูก็มี ไม่ต้องบอกกูหรอก กูก็มี
แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา ทำอย่างไรให้น้ำเสียเป็นน้ำดี ทำอย่างไรให้จิตที่มันฟุ้งซ่าน จิตที่มันมีอคติให้มันเป็นจิตที่ดี พอเป็นจิตที่ดี นี่ไง สัมมาสมาธิไง ตัวนี้ไง ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญามันจะเกิดจากฐานอันนี้ไง ไอ้นี่มันยังเป็นน้ำสกปรกกันอยู่เลย แล้วก็บอกว่าเอามาต้มเอามาแกง มึงเอาน้ำเสียมาต้มมาแกงหรือ แล้วก็ว่ากันไป นี่เป็นคำพูดนะ
มันก็ดีอย่าง แต่มันเป็นอย่างนี้เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าเวลาพระพุทธเจ้าจะเล็งรื้อสัตว์ขนสัตว์ ท่านจะดูตรงนี้ ดูความพร้อม แต่อย่างนี้นะ ถ้าพูดถึงบวชแล้วปฏิบัติ เขาก็ได้บุญของเขานะ เขาก็ปฏิบัติ เขาก็เป็นพระ เขาปฏิบัติของเขาไป แต่ที่ว่า แต่มันเป็นสายบุญสายกรรม
เพราะเราก่อนจะบวช เราเคยบวชเป็นมหานิกายมาพรรษาหนึ่ง ปี ๒๕๑๙ แล้วแม่ไม่ยอมให้อยู่ ก็สึกออกมา ทีนี้พอจะบวชใหม่ ไปค้นหาหมด หนังสืออ่านเยอะมาก ครูบาอาจารย์ท่านสอนอย่างนี้ๆ อ่านไปอ่านมา เราก็ใช้ปัญญาเราคิด อืม! จะไปทางไหนดี แล้วพอมาเจอประวัติหลวงปู่มั่น เออ! อย่างนี้กูทำได้ เพราะประวัติหลวงปู่มั่น ท่านธุดงค์ไปเหมือนกับสามัญชนเรา แบบว่าธุดงค์ไปที่ไหน เออ! อย่างนี้ทำได้ เราเลยมาทางนี้ มาทางนี้ หมายถึงว่า เราพยายามดูว่าผู้สอนไง เพราะอะไร ลูกศิษย์หลวงปู่มั่นมีเยอะไง เราต้องการผู้สอน ผู้ชักนำ
เราเลือกนะ ก่อนบวชนี่เลือกแล้วเลือกอีกนะ แล้วพอบวชมาแล้วนะ คิดว่าเลือกถูก พอบวชมาแล้วเป็นอย่างนี้ แต่เวลากลับมาอยู่ภาคกลาง เพราะว่าพระปฏิบัติมันน้อย การปฏิบัติมันน้อย พอมาใหม่ๆ นะ โอ้โฮ! แรงต้านมันเยอะมาก เหมือนกับสิ่งที่ว่าในสังคมมันไม่มีไง มันเหมือนกับสัตว์ประหลาด
แต่ถ้าเราไปอยู่ที่ไหน ที่อย่างหลวงตาท่านพูดว่า กรรมฐาน รากเหง้ามันอยู่ทางอีสาน ทีนี้ไปอยู่อีสานนี่สบายมากนะ ไปอยู่อีสาน เมื่อก่อนเราไปอยู่อีสานใหม่ๆ มันต้องไปสามล้อถีบ ไปรถแดง กลับบ้านทีหนึ่ง สามล้อมันจะกุลีกุจอเข้ามารับเข้ามาส่งเลยนะ คือเหมือนกับเขามีพื้นฐานไง พอกลับเข้ามาในกรุงเทพฯ มาลงรถ แล้วก็มาลงสายใต้ เดินนี่ระวังนะ มันจะชนกูนะ ใครๆ ก็จะต้องหลบ ต้องหลบให้ดี มันชนเอา
ไปอีสานไม่นะ พอเดินผ่านไปไหน เขาจะลงข้างทาง กราบแล้วกราบอีก คนเราอยู่ภาคกลางมันไม่เคยเจอสังคมอย่างนั้นน่ะ ไปเจอสังคมที่เขาเคารพนบนอบ เขา โอ้โฮ! นี่ไง มันเกิดมาจากไหนล่ะ เกิดมาจากครูบาอาจารย์ท่านฝึกไว้ คือเราไปกินบุญเก่าของผู้ที่เขาฝึกไว้ ธุดงค์ไปทางภาคเหนือนะ ถ้าไปธุดงค์ขึ้นไปแล้วบิณฑบาตง่ายนะ ไปถามเถอะ หลวงปู่มั่นเคยผ่านหรือครูบาอาจารย์เราเคยผ่านไปแล้ว แต่ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ผ่านไปนะ เราไปเองนะ อื้อหืม!
เพราะทางภาคเหนือ ประเพณีพื้นบ้านเขา เวลาเขาจะบิณฑบาต เขาจะมีเด็กวัด มีฆ้องตีปั๊งๆ แล้วเขาเรียกมาพร้อมกัน ไอ้พวกเราไป เดินไปเฉยๆ รอทีหนึ่งครึ่งชั่วโมงกว่าจะได้ข้าวสักทัพพีหนึ่ง กว่าเขาจะมา โอ้! แล้วเพราะเราไปบิณฑบาตแบบว่าบิณฑบาตเป็นวัตรไง ในเสขิยวัตร ห้ามส่งเสียง ห้ามอะไรทั้งนั้นน่ะ เราจะอยู่ในธรรมวินัย แต่สังคมเขาไม่มีใครฝึกไว้
ธุดงค์ไปมันจะรู้เลย ถ้าที่ไหนพออยู่สะดวกสบาย จะต้องมีคนมาฝึกหัดไว้ ถ้าไปอยู่ที่ไม่มีใครเคยไปนะ เราต้องไปลุยเอง นี่เรามาสังคมนะ สังคมถ้าเป็นอีสานเมื่อก่อน โอ๋ย! สบายมาก แล้วมาอยู่ที่นี่ ขณะที่นี่เขาก็มีของเขานะ แต่คนมันไม่รู้ มาอยู่ที่นี่ใหม่ๆ ชาวบ้านเขามาใส่บาตร แล้วเราฉันข้าว เขาลงไปพูดข้างนอก พอดีลูกศิษย์เราได้ยินน่ะ โอ้โฮ! เฮ้ย! มันย้อนยุคว่ะ มันย้อนยุค เขาไม่เคยเห็นพระฉันในบาตรแล้วไง คนพื้นที่เขาไม่รู้นะ เฮ้ย! มันย้อนยุคเว้ย มันย้อนยุค
แต่พวกเราทำมาสามชั่วอายุคน หลวงปู่มั่นชั่วอายุคนหนึ่ง แล้วหลวงปู่ฝั้นชั่วอายุคนหนึ่ง แล้วพวกเรานี่เป็นรุ่นที่สาม รุ่นพ่อ รุ่นปู่ใช่ไหม แล้วก็รุ่นพ่อ แล้วรุ่นลูกรุ่นหลาน เราเห็นกันมา ๓-๔ ชั่วอายุคน ไม่ตื่นเต้นเลย แต่คนที่ไม่เคยเห็นนะ สังคมเดียวกันนี่แหละ คนที่ไม่เคยเห็นมันก็ยังตื่นเต้น คนที่เขาคุ้นชินนะ ไม่มีอะไรเลย มันอยู่ที่ว่าวาสนาใคร แล้วใครจะเข้าทางไหน
ใครมีอะไรอีก
นี่พูดถึงทิฏฐิ พอวันนั้นมา เราเห็นมาก แล้วเห็น สงสารด้วย เขาพยายามจะบอกว่า หลวงพ่อสอนสิๆ เขาจะให้พูดต่อไง แต่สำหรับเรานะ แค่สะกิดให้รู้ถูกรู้ผิด เพราะทำไมรู้ไหม ทำไมหลวงปู่มั่นปล่อยให้หลวงตาติดสมาธิอยู่ ๕ ปี ทั้งที่หลวงปู่มั่นกับหลวงตาอยู่ด้วยกัน หลวงปู่มั่นจะถามหลวงตาตลอด มหา จิตเป็นอย่างไร
ว่าง สบายดีครับ สบายดี
๕ ปีนะ
พอสุกงอมเต็มที่แล้วนะ มหา จิตเป็นอย่างไร
โอ๊ย! สบายดีครับ
สบายบ้าหรือ สุขอย่างนี้มันสุขเศษเนื้อติดฟันนะ สบายๆ มันยังไปได้อีกนะ
๕ ปีกว่าจะสมดุล กว่าจะสุกงอม ทั้งที่อยู่ด้วยกันนะ หลวงตาอุปัฏฐากหลวงปู่มั่นอยู่ ติดสมาธิอยู่ ๕ ปี ใช้เวลา ๕ ปีแกะตรงนี้ออกมาได้ แก้จิตไม่ใช่ง่ายหรอก
แต่นี่พูดถึงพอพูดแล้วเขายอมรับ แต่มันก็ยอมรับแล้ว ถ้ามันยอมรับแล้วมีคนคอยส่งเสริมมันก็จะได้ออกค้นคว้าออกหา คือออกกระทำเพื่อจะพัฒนาการขึ้นไป แต่ยอมรับ เพียงแต่ไม่มีหมู่คณะ ไม่มีใครคอยชี้นำ มันก็จะไปจมอยู่ที่เก่าไง
รู้แล้ว แต่ก็ไม่พัฒนา รู้แล้วเห็นแล้ว ถ้าพัฒนา มันก็ได้พัฒนาขึ้นไป รู้แล้ว แต่ไม่ได้พัฒนา เดี๋ยวมันก็จมอยู่ที่เดิม มันเป็นตรงนี้ไง แต่ถ้ามันพัฒนาก็แจ๋ว มันเปลี่ยนไปเลย รู้แล้วพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ
ปฏิบัติ ใครไม่เข้าใจ ปฏิบัติ ทุกคนคิดเหมือนการเรียนหนังสือ คือสอบก็ผ่าน สอบก็ผ่านไง การเรียนหนังสือ สอบเข้าเถอะ จบหมด ต้องจบ แต่ภาวนานะ ทั้งชาติเลย อยู่ที่เก่า ไม่ไปไหนเลย ทั้งชาติเลย เพราะมันไม่ไป แต่เรียนหนังสือมันไปนะ ปีนี้ผ่านขั้นหนึ่ง ปีนี้จบชั้นๆ ไม่จบ กูไล่ออก เสียเก้าอี้ แต่ถ้าปฏิบัตินะ ไม่มีทาง ถ้าเราไม่ทำเอง เราก็ไม่รู้เอง เราไม่พัฒนาเอง เอวัง