เทศน์บนศาลา

ต้องฟังธรรม/สมองกับจิต

๒๒ ม.ค. ๒๕๔๓

 

ต้องฟังธรรม/สมองกับจิต
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๔๓
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

วันพระ วันธรรมสวนะ วันฟังธรรม...

“ธรรม” ธรรมะไง ธรรมชาติ ธรรมชาติอันหนึ่ง ธรรมะเหนือธรรมชาติทุกๆ อย่าง

ถ้าพูดถึงกฎธรรมชาติ พวกเราอยู่ในกฎธรรมชาติหมด เวียนว่ายตายเกิดนี้ก็อยู่ในกฎของธรรมชาติทั้งนั้น ธรรมชาติคือสรรพสิ่งที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้านี้ไม่มีการแปรปรวนเด็ดขาด ธรรมนี้เป็นสมบัติกลางที่มีอยู่ดั้งเดิมอยู่แล้ว

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะเห็นไหม เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เสวยราชสมบัติอยู่ มีความสุขในกามคุณเต็มที่เลย แต่ด้วยเพราะว่าสร้างบุญบารมีมา จะได้สำเร็จเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ถึงให้มีเหตุดลใจให้ออกแสวงหาโมกขธรรม ก็แสวงหาโมกขธรรม ฟังสิ ก็สัจจะความจริง ธรรมที่เหนือธรรมชาติไง

สรรพสิ่งในธรรมชาติมันเวียนไปโดยธรรมชาติของมัน มันต้องแปรสภาพไปเหมือนธรรมชาติส่วนหนึ่ง ชีวิตมนุษย์ สัจจะมนุษย์ก็เหมือนกัน ต้องแปรสภาพไปเหมือนกัน แต่แปรสภาพไปด้วยการที่ว่า เราสามารถบังคับขับไสได้ คือบุญหรือบาปพาไปไง ไม่ได้ไปแบบลอยลมไง ไปแบบบุญและบาปพาไป บุญหรือบาปในใจนั้นพาเกิดพาตาย มันก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่งที่จะต้องเป็นไปอย่างนั้น

แต่สิ่งที่จะทำให้ไม่เกิดและไม่ตายที่เหนือธรรมชาติอันนั้น เจ้าชายสิทธัตถะก็ไปฟังธรรม อยากจะฟังธรรม อยากจะหาคน หาทางที่แสวงหาได้ ไปศึกษากับลัทธิต่างๆ ทั้งหมด ไปศึกษานั่นคือการฟังธรรม “การฟังธรรม” การหาแนวทางที่จะออกจากธรรมชาติอันนี้ให้ได้ แต่ใครๆ ไปศึกษาที่ไหนแล้วก็ไม่มีอันไหนที่จะแก้ไขได้เลย ไม่มีอันไหนจะแก้ไขได้ อาฬารดาบสสอนจนหมดวิชาความรู้ นั่นก็ฟังธรรม แต่ธรรมอันนั้นเป็นธรรมแค่เริ่มพื้นฐาน

นั่นน่ะ ธรรมมันไม่มีอยู่ มันไม่มีอยู่ ยังเกิดขึ้นไม่ได้ ยังไม่มีใครรู้จริง

จริงๆ แล้วก็องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้านั้นแหละจะเป็นผู้ที่แสวงหาเป็นองค์แรกไง แต่ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ ทุกคนก็ต้องออกหาศึกษาก่อน ทุกคนต้องหาทางออก หาทางออกโดยเข้าใจว่าจะเป็นทางออก แต่มันก็ไม่ใช่ทางออก เพราะว่ามันยังไม่มีมรรคาเครื่องดำเนินไปไง ธรรมอันนั้นยังไม่เกิด ธรรมนั้นยังไม่มี ผู้ที่แสวงหาธรรมอันนั้นยังไม่พบเห็น

ธรรมะนี้มีอยู่โดยธรรมชาติ มีอยู่โดยสัจจะความจริงอยู่ พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้-ไม่ตรัสรู้ก็มีอยู่ แต่ลึกซึ้งละเอียดอ่อนจนเข้าไม่ถึง เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าถึงอันนั้นเลย ถ้าไม่ได้สร้างบุญวาสนาไว้ นั่นน่ะ คนต้องมีบุญวาสนานะ ถึงจะได้เข้าถึงอันนั้น “บุญวาสนา” แล้วก็ต้องมีบุญวาสนาถึงได้ฟังธรรม ได้ฟังธรรมนะ ถึงต้องฟังธรรมไง

วันนี้วันพระ วันพระเป็นวันพระ ทางอีสานเขาว่าเป็น “วันศีล” วันศีลคือวันพระ คนจะเข้าวัดเข้าวาเพื่อจะประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะเอาศีลบังคับตนให้หาสัจจะของเราให้เจอนี่ไง นี่ต้องฟังด้วย เพราะการฟังอันนั้นสำคัญที่สุด

ในภาคปฏิบัตินี้การฟังธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าแสดงธรรม เทวดา เหล่าเทวดา เหล่ามนุษย์ เหล่าพระภิกษุ ได้สำเร็จมรรคผลเป็นตามๆ กันไป เพราะธรรมอันนั้นเป็นธรรมแท้ๆ ไง ธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วค่อยออกมา ตรัสรู้เสร็จถึงว่าแสวงหาก่อน แสวงหา ไปฟังมาๆ ก็ไม่ใช่ๆ ธรรมะ สัทธรรมปฏิรูปทั้งหมด

มันเป็นธรรม คำว่า “ธรรม” นั้นเป็นคนที่เอ่ยขึ้นมา อย่างพวกเราก็เหมือนกัน อย่างทางโลกเขา นักวิทยาศาสตร์ ผู้ที่ค้นคว้าได้ละเอียดเข้าไปๆ เขาก็ละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ ผู้ที่ค้นได้หยาบกว่า ความหยาบกว่าอันนั้นก็เป็นวิทยาศาสตร์เหมือนกัน แต่วิทยาศาสตร์ความลึก ความละเอียด ความรอบคอบต่างกัน ธรรมก็เหมือนกัน มีหยาบ มีกลาง มีละเอียด กว่าจะเข้าถึงตัวธรรมอันจริงๆ ได้นั้นก็ต่างกัน ถึงว่า เข้าอย่างไรก็เข้าไม่ได้ ทางสารทางเคมีถ้าไม่บริสุทธิ์จริง จะไม่สามารถพิสูจน์ออกมาให้ได้เป็นคุณค่าเท่ากับทางทฤษฎีนั้นทางวิทยาศาสตร์

ทางจิตก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีมรรคะ ไม่มีทางอันเอกให้พ้นออกไป ทางกิเลสในหัวใจมันจะหลุดออกจากใจไปได้อย่างไร กิเลสนี้พาเกิด คนที่เกิดมาทุกคนเกิดมาพร้อมกับกิเลสทั้งนั้น เจ้าชายสิทธัตถะเกิดเป็นมนุษย์ก็กิเลสพาเกิดมา ฉะนั้น การแสวงหานั้นก็ยังมีกิเลสควบคุมอยู่

แต่การที่สร้างสมบารมีมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ต้องตรัสรู้องค์เดียว องค์เดียวเอกเท่านั้น ไม่มีสอง ในศาสนา ในหลักการแล้ว พระพุทธเจ้าเกิดได้องค์เดียวในแต่ละกัปหนึ่ง ในแต่ละกัป กาลของเวลาของพระพุทธเจ้าองค์นั้นๆ เห็นไหม ไม่มีสอง

แต่ยังไม่มี ยังเข้าใจ ยังเข้าถึงอันนั้นไม่ได้ก็ยังเวียนหาก่อน ต้องศึกษามา อันไหนที่ทางจะออก ทางออกอันเอกต้องศึกษา ทางออกที่ว่าจะทางง่าย ทางง่ายดาย กิเลสพาคิดอย่างนั้นหมด แต่ไปแล้วมันก็ไม่ใช่...ดีตรงนี้ ดีตรงที่ว่า “ไม่เชื่อ” ดีตรงที่ว่าในเมื่อความทุกข์ยังมีอยู่ในหัวใจ ความทุกข์ ความเศร้าหมองอยู่ในใจอยู่นี้มันเป็นกิเลสทั้งหมด แล้วมันยังไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นว่า อันที่ชำระออกไป พ้นออกไปจากใจตัวนี้ให้พ้นจากกิเลส คือความครอบคลุมของพญามารนี้ยังไม่พบยังไม่เห็นเป็นปัจจัตตัง

นั่นน่ะ ถึงต้องออกมาปฏิบัติเพื่อตนเอง ทั้งอดอาหาร ทั้งอดนอน ทั้งทุกอย่าง ทำที่มันอุกฤษฏ์ขนาดไหนที่ว่าให้กิเลสมันกลัว ถึงว่า ให้กิเลสมันกลัวจะได้ชำระมัน...มันเป็นไปไม่ได้ เพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจ กิเลสไม่อยู่ที่กายเห็นไหม กิเลสไม่อยู่ที่กาย ทรมานกายไปขนาดไหน มันก็กิเลสมันก็อยู่ในหัวใจนั้น ทรมานกายไป ทรมานแต่เปลือก ไม่โดนตัวมันเอง

มันจะโดนแต่ความที่ว่าสะเทือนใจบ้าง เวลาเราทุกข์ยากสะเทือนใจมาก เวลาคนทุกข์คนยาก คนหิวกระหายจะสะเทือนใจมาก ความสะเทือนใจอันนั้นเห็นไหม แต่มันกิเลสมันอยู่ที่ใจนี่ สะเทือนใจมันก็พาแต่ว่า ผ่อนคลายให้เราได้ผ่อนคลายนิดหน่อย แล้วมันก็ควบคุมเราอยู่อย่างนั้น เพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจ

จนปล่อยหมด สิ่งที่ทรมานขนาดไหน วางไว้ มันก็ได้พลังงานขึ้นมาจากการทรมานอันนั้น แล้วเข้ามาดูที่ใจ จาก “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” นั่นน่ะ มันเกิดจากไหน

“บุพเพนิวาสานุสติญาณ” เกิดจากพลัง ความคิดไง วิญญาณ ในวิญญาณ ในความรู้สึกอันนั้น มันรู้ภายใน ร่างกายสุดแต่ร่างกาย ร่างกายนี้หัวใจมันรับรู้ออกมา ร่างกายถึงเป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์ไปก็เป็นประโยชน์ไป ต่อที่ว่าเสวยภพชาติหนึ่งๆ เท่านั้น ไม่เสวยภพอื่นล่ะ

“บุพเพนิวาสานุสติญาณ” คือเรื่องของหัวใจรับรู้ ร่างกายนี้เป็นแค่ที่ว่าที่อยู่ของใจเท่านั้น

“จตูปปาตญาณ” รู้ว่า วิญญาณตัวนี้ เวลามันดับ มันเกิดที่ไหน ดับแล้วเกิดไปที่ไหน

“อาสวักขยญาณ” จนสิ้นไป อันนี้ต่างหาก พออาสวักขยญาณหลุดออกไปจากใจ

นี่ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเกิด

กิเลสพาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ แล้วพอเกิดอีกทีหนึ่ง ในวันวิสาขบูชา เกิดเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า คือกิเลสตายออกไปจากใจ ขาดออกไปจากใจหมด นั่นน่ะ บริสุทธิ์ผุดผ่องออกไปจากใจนั้นคือ “วิมุตติธรรม”

นี่ไง ธรรมตัวนี้ที่ว่าจะฟังธรรม ธรรมในหัวใจองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าอันนี้คือธรรมที่บริสุทธิ์ที่สุด ธรรมที่บริสุทธิ์ผุดผ่องอันนั้นเห็นไหม จนท้อใจนะ “จะสอนใครได้ๆ” ทั้งๆ ที่ว่า ตั้งศาสนามารื้อสัตว์ขนสัตว์นะ จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ มันละเอียดอ่อนขนาดนั้น

ถึงว่า “ต้องฟังธรรม” ต้องฟังธรรมหาทางออก ต้องฟังธรรมเท่านั้น ธรรมอันนี้

จนไม่อยากจะสอนใคร จนเฉยนะ จนเฉยจนว่าใครจะรู้ได้ จนพรหมมานิมนต์ ๑

จนความรู้สึกว่าคนที่จะออกทางออกได้ต้องมี

ถึงว่าประกาศธรรมครั้งแรก ประกาศธรรมครั้งแรกกับปัญจวัคคีย์ ปัญจวัคคีย์นี้ก็อยากแสวงหาธรรม แสวงหาธรรมนะ ขอทางพึ่ง เวลาพระพุทธเจ้าออกปฏิบัติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นผู้อุปัฏฐากอยู่ตลอด จนพระพุทธเจ้าออกมาฉันอาหารไง คิดว่าเป็นผู้ที่มักมาก กลับมาเสวยความสุขอีก ทิ้งไปเลย จนพระพุทธเจ้าอยู่องค์เดียว ทำองค์เดียว เวลาพิจารณา เวลาจะชำระกิเลสภายใน อยู่องค์เดียวในที่สงัด “ในที่สงัด” ในงานของตัว มันไม่มีงานใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้วุ่นวายให้เป็นวิตกกังวล มันย้อนกลับมาถึงใจ

การชำระเห็นไหม ตนจะพึ่งตน มันจะ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งตน ตนทุกข์ ตนต้องแก้ไขตน ตนเท่านั้นเป็นผู้ที่จะเอาตนพ้นออกไปจากกิเลสได้ จะธรรมขนาดไหน ธรรมที่ฟังธรรมอยู่นี้ก็เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า แต่บริสุทธิ์ผุดผ่องนะ แล้วธรรมเคลื่อนไปๆ มันจะเป็นสัทธรรมปฏิรูปมาเรื่อย

แล้วจะฟังธรรม ฟังธรรมอย่างไรให้เข้าใจไง ถึงต้องฟังธรรมในภาคปฏิบัตินี้ “ฟังธรรม” ธรรมอันนั้นจะเข้ามาถึงใจ ภาคปฏิบัตินี้ จากใจดวงหนึ่ง จากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานให้กับใจของปัญจวัคคีย์

ครั้นเมื่อปัญจวัคคีย์ จิตใจ เวลาจิตใจยังกระด้างกระเดื่องอยู่ นัดหมายกันว่าถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้ามานี้ เราอย่ารับ เราอย่านอบน้อม เพราะองค์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้านี้กลับมามักมากอยู่แล้ว

แต่พอไปด้วยความคุ้นเคย ด้วยอัตโนมัติไง ก็รับกันด้วยอัตโนมัติ จะพูดอะไรก็ยังกระด้างกระเดื่องอยู่ นั้นคือว่าการฟังธรรมด้วยความไม่เคารพ ถ้าการฟังธรรมด้วยความไม่เคารพคือจิตใจกระด้างกระเดื่อง มันเข้าไม่ถึง ความกระด้างกระเดื่องนี้เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง เป็นการต่อต้านของใจชนิดหนึ่ง พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า

“เธอเคยได้ยินได้ฟังไหม เธอเคยได้ยินว่าตถาคตนี้เป็นพระอรหันต์ เคยได้ยินไหม”

“ไม่เคยเลย”

ถึงได้ประกาศธัมมจักฯ ออกไป ประกาศธัมมจักฯ “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” นี้เป็นสูตรที่พระพุทธเจ้าเทศน์เป็นครั้งแรก ประกาศธรรม ธรรมจักรนี้เคลื่อนออกไปแล้ว นี่ฟังธรรม ฟังธรรมด้วยความเป็นจริง ธรรมะที่ว่าเป็นฟังธรรมะจริงๆ อยู่ที่พระพุทธเจ้าแสดงเองครั้งแรก อัญญาโกณฑัญญะฟังธรรมอยู่ด้วยความเคารพ จนมีดวงตาเห็นธรรม

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับทั้งหมด ในอารมณ์ความคิดของเราก็เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมดา แล้วมันก็ดับไปโดยธรรมชาติของมัน โดยที่เราไม่เคยเห็น นี้คือธรรมชาติของมัน เราไม่เคยเห็นว่าอารมณ์ที่เกิดนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ความคิดที่ขัดข้องหมองใจอยู่นี้มันมีอยู่อย่างไร แล้วมันดับลงด้วยอย่างไรเราก็ไม่รู้ แต่ว่าเราเป็นทุกข์อยู่กับมันตลอดเวลา มันบังคับขับไสเราไปตลอดเวลา นี่คือธรรมชาติ เราก็อยู่กับธรรมชาติ แต่เราไม่เคยเห็นธรรมชาติใดๆ เลย เราไม่เคยจับต้องธรรมชาติอันนี้มาเป็นคุณประโยชน์กับเราเลย เพราะเราไม่เคยได้ยินได้ฟังมา

เราอยู่กับมัน ความคิดนี้พาให้เราทุกข์เรายาก ความคิดนี้ทำให้เราเจ็บแสบปวดร้อน ความคิดนี้ทำให้เราน้ำตาตกน้ำตาไหลพรากอยู่ เราก็ไม่เคยคิด พอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ ออกไป อัญญาโกณฑัญญะรู้ รู้แก่นของมันตรงนี้ไง ตรงที่ ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา”

ความดับเป็นธรรมดานั้น มันดับเป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติใช่ไหม แต่หัวใจที่เห็นไง เหมือนเราจับไฟอยู่ แต่เราไม่เคยรู้ว่าไฟมันจะเผาเนื้อเราขนาดไหน เร่าร้อนเราก็ไม่รู้ เพราะมันไม่รู้ แต่พอมันรู้ มันก็ต้องโยนออกไป นี่สิ่งที่เกิดขึ้นมันก็สละออก ใจนี้สละอารมณ์ออกไป ใจนี้สละอารมณ์ออกไป อารมณ์ ความคิด ที่เกิดขึ้น เกิดๆ ดับๆ อยู่ เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ดับไปเป็นธรรมดา...มันสลัดได้ มันสลัดออกไป

พระพุทธเจ้าบอกว่า “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” แล้วเทศน์ต่อไป สอนต่อไป จนปัญจวัคคีย์นี้เป็นพระโสดาบัน มีดวงตาเห็นธรรมพร้อมกันหมด แล้วเทศน์อนัตตลักขณสูตรอีกหนหนึ่ง เป็นพระอรหันต์ขึ้นมา ๕ องค์ พร้อมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเป็น ๖ องค์ เป็นพระสงฆ์ครั้งแรกที่เกิดขึ้นมา นี่การฟังธรรม

แล้วออกไป เผยแผ่ไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าไปเห็นยสะ พระยสะนั้นเป็นคฤหบดีอยู่

“ที่นี่เดือดร้อนหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่เดือดร้อนหนอ”

เพราะว่ามีความคับแค้นอยู่ในการครองเรือนไง แล้วตื่นขึ้นมาปราสาท ๓ หลัง เห็นความเป็นอยู่ว่ามันมีแต่ความทุกข์ มันมีแต่ความเดือดร้อน มันอึดอัด เดินเข้าป่าไปในความสงัดไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเดินจงกรมอยู่ไง พระยสะพูดไปนะ

“ที่นี่ขัดข้อง ที่นี่เดือดร้อน ที่นี่อึดอัด”

พระพุทธเจ้าบอกว่า “มานี่ยสะ มานี่ ที่นี่ไม่มีความเดือดร้อน”

นี่อยู่ในป่า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอรหันต์นะ เป็นศาสดาอยู่ในป่าอยู่องค์เดียว เรียกเข้ามาหา เรียกเข้ามาแล้วเทศน์ให้ฟัง เทศน์ให้ฟัง “ฟังธรรม” ฟังธรรมด้วยธรรมความเป็นจริง ธรรมอันประเสริฐ นี่ฟังธรรม เป็นพระโสดาบันขึ้นมา

แล้วพ่อของพระยสะเดินตามหาไง เดินตามหามาอยู่ เดินตามหา “ลูกชายไปไหนๆ” ไปเจอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเหมือนกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเทศน์สอนแต่บังไว้นะ เทศน์สอนพ่อ พระยสะตรัสรู้เป็นพระอรหันต์ขึ้นมา พระยสะฟังธรรม

ต้องฟังธรรม การฟังธรรมสมัยพุทธกาลนั้นเป็นประโยชน์มาก เป็นประโยชน์เพราะผู้ฟังหาทางออกอยู่ ธรรมะนั้นก็ยังบริสุทธิ์ผุดผ่องอยู่ นี่ธรรม

คำว่า “ธรรม” ธรรมอันนั้นเป็นธรรมจริงๆ

แต่พอความคิดออกมา ความคิดที่ว่าแสดงธรรมกันอยู่ ธรรมเคลื่อนมาๆ เคลื่อนมาเรื่อย เราฟังธรรม “ธรรม” ธรรมจริงๆ คือหัวใจ คือตัวที่รู้ธรรมนั้น แต่เวลาเราออกมาเป็นพระไตรปิฎกเห็นไหม เราอ่านพระไตรปิฎกนี้เป็นอะไร เป็นธรรมไหม

“พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์”

พระธรรม คือศาสนธรรมคำสั่งสอน คำสั่งสอนนี้เราก็ต้องตีว่าพระไตรปิฎกนี้เป็นอันดับแรก พระไตรปิฎกนี้ ครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนธรรมมานี้เป็นต่อๆ กันมา นี่เราอ่าน อ่านธรรมนะ เราอ่านธรรมที่ว่าเป็นพระไตรปิฎกบริสุทธิ์ผุดผ่องอันนี้แหละ แต่ความตีค่าพระไตรปิฎกของเรา ความคิดของเรา ความคิดในใจของเราอ่านพระไตรปิฎกเราต้องคิดพิจารณา เราฟังธรรมเราก็ต้องคิดพิจารณาเห็นไหม ความคิดพิจารณานี้ อะไรมันเป็นพิจารณาล่ะ เรายังมีอะไรอยู่ ความคิดนี้มันสมควรแก่ธรรมไหม?

มันไม่สมควรแก่ธรรม มันไม่สมควรแก่ธรรม เราถึงไม่ได้ตามความเป็นจริงไง เราถึง...

“ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมต้องเข้าถึงสัจจะอันนั้น”

แต่ในเมื่อเราก็ฟังธรรมอยู่ ทำไมเราไม่ได้ธรรมอันนั้นน่ะ นี่มันเป็น ๒ ฝ่ายไง ๒ ฝ่ายที่ว่าธรรมที่มันแปรสภาพออกไป มันเคลื่อนไปๆๆ สัทธรรมปฏิรูป ปฏิรูปขึ้นไป

พระกัสสปะเคยถามพระพุทธเจ้าอยู่ในพระไตรปิฎกว่า

“ธรรมที่มันจะเสื่อมไปๆ โดยธรรมดา ความจะเสื่อมไป เสื่อมค่าไป ธรรมจะเสื่อมค่าไปเพราะเหตุใด?”

พระพุทธเจ้าบอกพระกัสสปะไง

“จะมีสัทธรรมปฏิรูป คือธรรมเทียม”

เปรียบเหมือนเงิน ถ้าเงินนี้มีแต่เงินแท้ เงินธนบัตรเป็นเงินแท้อยู่ตลอดเวลา จะมีคุณค่าอยู่เท่านั้น แต่ถ้าใครพิมพ์เงินปลอมมา แบงก์ปลอมมา ใช้กันร่วมกันไป คุณค่าจะต่ำลงๆ ธรรมก็เหมือนกัน สัทธรรมปฏิรูปคือธรรมที่คิดเอง ครูบาอาจารย์คิดเอง วางเอง ความเป็นด้นเดาธรรมนั้นออกไป นั่นน่ะ แล้วมันก็จะเปลี่ยนคุณค่าไป เปลี่ยนคุณค่าไป คุณค่าของธรรมนั้นจางไปๆ แล้วเราเอาอะไรไปจับตรงนั้น เราก็ต้องเชื่อใช่ไหม เวลาเราฟังนี้เราก็ต้องเชื่อธรรมอันนั้น “เชื่อธรรมอันนั้น”

นี่ไงถึงว่า ธรรมแท้ๆ คือหัวใจก่อน คือหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ปรินิพพานไปแล้ว นั้นคือธรรมแท้ คือความรู้สึก ความรู้สึกคิดเปรียบเทียบออกเป็นคำพูด คำพูดนั้นเข้าถึงสัจจะอันนั้นได้ไหม

กฎทฤษฎีของทางวิทยาศาสตร์ก็เหมือนกัน ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์วางไว้ แล้วเราต้องทดลองตามวิทยาศาสตร์นั้น เราต้องหาทางที่จะทดลองตามวิทยาศาสตร์นั้น นั่นทดลองไป แล้วจะได้คุณค่าเหมือนกันไหม มันต่างกันด้วย ต่างกันด้วยห้องทดลอง ต่างด้วยบุคคล ความละเอียดรอบคอบที่จะส่งออกมาเป็นหลักวิทยาศาสตร์อันนั้น แต่ถ้าทฤษฎีนั้นถูกต้อง ทำได้ นั่นทฤษฎีนะ

แต่นี้จธรรมก็เหมือนกัน เพราะสัจธรรม มรรคอริยสัจจัง นี่ทางอันเอก ทางอันเอกที่พระพุทธเจ้าจะเข้าถึงทางอันนั้น เข้าถึงหัวใจที่ว่าชำระกิเลสได้ ต้องมีทางนี้อันเดียว ไม่มีในศาสนา ลัทธิศาสนาต่างๆ ไม่มีรอยเท้าในอากาศ ไม่มีมรรคต้องไม่มีผล มันต้องมีเหตุ เหตุถึงจะมีผล

หัวใจนี้เป็นนามธรรม ความคิดนี้เห็นไหม ความคิดเกิดๆ ดับๆ อยู่ เกิดมาจากพลังงานอันใด พลังงานนี้ส่งให้ความคิดนี้มีอยู่ ชีวิตนี้คือไออุ่น ชีวิตนี้คือพลังงาน พลังงานที่มันเปื้อนไปด้วยสิ่งสกปรกทั้งหมดคืออวิชชาคลุมพลังงานอันนี้ไว้ พลังงานในใจของเรา นี้พลังงานความสกปรกมันคิดโดยพญามารควบคุมอยู่ พญามารควบคุมความคิดเราอยู่ ความคิดเราจะคิดได้อย่างไร มันก็คิดไปตามธรรมชาติของมัน

“การจะฟังธรรมด้วยความเคารพ” จิตใจสงบ ทำความสงบของใจ ใจต้องมีความสงบก่อนเป็นพื้นฐาน ใครหาความสงบได้ ถึงว่า “ศีล สมาธิ ปัญญา” วันพระ วันไปวัดไปวาเพื่อจำศีล เพื่อฟังธรรม เพื่อประพฤติปฏิบัติ นี่มันต้องมีพื้นฐานขึ้นมา

“ศีล สมาธิ ปัญญา เข้าถึงตัวสัจจะตัวนั้น”

ตัวมีศีลก่อน ศีลมีโดยพื้นฐาน ศีลคือศีล ๕ ศีล ๕ นี้ในฆราวาสนี้ได้โดยเฉพาะ ในธรรมชาติของมันก็คือว่า หัว ๑ แขน ๒ ขา ๒ ก็ ๕ เห็นไหม ๕ นี้ไม่ได้ทำสิ่งผิดพลาด ในร่างกายของเราปกตินั่งอยู่นี้ไม่มีความผิดเลย ศีลบริสุทธิ์โดยปัจจุบันนี้ ปัจจุบันนี้บริสุทธิ์ พระบวชมาศีล ๒๒๗ นี้เป็นปฏิญาณสมมุติสงฆ์ในจตุตถกรรม การญัตติออกมาเป็นสงฆ์ เป็นสงฆ์โดยสัจจะความจริงเลย ศีลบริสุทธิ์มาโดยตรงนั้นเลย ความผิดพลาดมีความผิดพลาดก็ปลงอาบัติมาๆ เพื่อแก้ไขมา

แต่ในปัจจุบันนี้เราไม่ทำผิดพลาดใดๆ ทั้งสิ้น ต้องเป็นความบริสุทธิ์อยู่ บริสุทธิ์ในสมมุติ สมมุติของศีล สมมุติของศีลนี้ ศีลยังเป็นศีล อธิศีล ศีลความบริสุทธิ์ข้างในยังมีอยู่ นี่มันเป็นกังวลไง ถ้าเราไม่ทำอะไรเลยเหมือนเด็ก เด็กจะไม่ปล่อยให้เล่นตามสบายเลย เด็กพอจับเข้าที่เด็กนี้จะต่อต้าน หัวใจก็เหมือนกัน ถ้าไม่ได้ว่าจะไปฟังธรรม จะไปถือศีลนะ มันสบายใจของมัน พอจะไปฟังธรรมถือศีลนี่มันต่อต้าน มันคิดแล้วว่า มันต้องไปทำให้มันลำบากลำบนขึ้นมา

ฉะนั้น ถึงว่า มันพอจะทำความดี “ตัวกิเลส” ตัวกิเลสคือตัวต่อต้านในหัวใจ ตัวต่อต้านนี้คือวิชามาร วิชามารนี้มีอยู่ธรรมชาติของมัน เพราะมันเป็นอนุสัย นอนมากับจิต ไม่มีใครเคยเห็น ไม่มีใครเคยเห็น คนจะเคยเห็นได้ต้องปฏิบัติเข้าไปถึงภายในข้างในถึงจะเห็นสิ่งนี้เข้าไป ต้องรู้ ต้องเห็น ต้องกำจัดไปเรื่อยๆ ไม่อย่างนั้นมันเป็นทางสายยาวที่พญามารอาศัยความคิดเราออกมาในทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในอายตนะที่กระทบ มันเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง

แต่เราไม่เคยใช้ธรรมชาตินี้เข้าไปหาสัจธรรมอันความเป็นจริงอันในธรรมชาตินั้นเลย เราใช้ธรรมชาติไปโดยวันๆ หนึ่งเห็นไหม ถึงเกิดเป็นมนุษย์นี้เป็นผู้ที่ประเสริฐมาก เกิดเป็นมนุษย์ๆ เพราะว่าเกิดเป็นมนุษย์แล้ว มนุษย์นี้เป็นภพที่มีสุขกับทุกข์ที่แยกกันออกไป ถ้าเกิดเป็นเทวดามีแต่ความสุขล้วนๆ เกิดในนรกก็ทุกข์ล้วนๆ เหมือนกัน มันจะเพลินหรือมันจะทรมานของมันอยู่ในภพชาติของมัน

เกิดเป็นมนุษย์นี้เป็นผู้ที่มีอิสระเสรีภาพ จะเลือกทางดีและทางชั่ว แล้วแต่เราจะเลือก ถ้าเราเชื่อของเรา เราต้องเลือกทางดี แต่พอเลือกทางดีขึ้นมาเพื่อจะเอาตัวออก เอาตัวเองฟังธรรมแล้วให้ใจนี้เข้าถึงธรรมไง “ฟังธรรมเข้าถึงธรรม” ความเข้าใจ พอความเข้าใจก็เริ่มต่อต้านให้ความต่อต้าน ให้ความต่อต้านว่ามันเห็นแก่ตัวยุบยอบลง ความเข้าใจคือจัดระบบความคิดให้เรียบร้อยไง ระบบความคิดมันคิดออกไปด้วยกิเลส

ไฟเผาป่ามันเผาทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า เชื้อมีแล้วจะเผาไปทั้งหมด ความคิดที่มันคิดออกไป มีอะไรแว็บเข้ามา มันเผาไหม้ๆ ไป แว็บเข้ามาคือสัญญา สังขารมันปรุงมันเผาไหม้ไปตลอดเวลา มันเผาไหม้เอาอะไรมาให้เรา เอาความเร่าร้อนมาให้เรา นี่มันต่อต้าน

ความจัดระบบความคิดนี้ให้ความคิดนี้อยู่ในระบบ ในระบบคือว่าสิ่งใดถูกต้องมันจะยอมรับไง สิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดดีงาม สิ่งใดที่ผิดพลาด เราไม่ควรคิด ไม่ควรทำ ความไม่ควรคิด ไม่ควรทำนี้เป็นอะไร? จิตนี้ก็ตั้งมั่นใช่ไหม นีhคือจะเข้าสู่ความสมาธิไง

จิตนี้ “ศีล สมาธิ ปัญญา”

“ศีล สมาธิ ปัญญา” นี่คือมันจะเป็นธรรมโดยใจ ใจฟังธรรมแล้ว เข้าใจธรรมแล้วมันจะประพฤติเข้าไป ประพฤติปฏิบัติเข้าไป ดัดตนไง ดัดตนทรมานตน ทรมานความคิด ทรมานความคิดของเราเอง เราต้องเป็นคนทำเข้าไปเอง เราต้องดัดตนของเราเข้าไป

ฟังธรรม ประพฤติธรรม ปฏิบัติธรรม เข้าถึงธรรม

ฟังธรรมจากหูซ้ายทะลุหูขวา แล้วมันยังตกอยู่ในหัวใจเลยเหรอ ฟังธรรมแล้วธรรมอันไหนที่ว่า สิ่งใดที่มันเป็นความทุกข์ก็เห็นๆ กันอยู่ ไม่ต้องถามใคร เราก็ทุกข์เหมือนกัน ในเมื่อมีความทุกข์อยู่ในหัวใจ การจะทำชำระความทุกข์ การจะชนะตน ทุกข์นี้ต้องหลุดออกไปจากใจได้ ทุกข์นี้ต้องหลุดออกไป

เพราะว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านไปก่อนแล้ว แล้วปัญจวัคคีย์ก็ผ่านตามไปๆ ยืนยันเป็นพยานหลักฐานกันมาตลอด เป็นพยานกันว่าสิ่งนั้นมีจริง สิ่งนั้นเป็นธรรมจริง แล้วก็สอนต่อมา สอนต่อมา เลือนรางมา “เลือนราง” หมายถึงว่า ความเชื่อนะ ความเชื่อเลือนราง แต่สัจจะตัวนั้นไม่เคยเลือนราง ถ้าสัจจะตัวนั้นเลือนราง แล้วถ้าเราจะเข้าถึงสัจจะความเป็นจริงนั้นได้อย่างไร

สัจจะความเป็นจริงเป็นสัจจะความเป็นจริง

มันถึงว่า ต้องฟังว่าสัทธรรมปฏิรูปข้างนอก ๑ สัทธรรมปฏิรูปในหัวใจเรา ๑

เราชอบกันเห็นไหม สิ่งใดที่ง่าย ทางลัด...ชอบ ชอบอยากจะไปให้ถึงง่ายดาย อันนั้นเป็นเรื่องของกิเลสมันหลอกทั้งหมดเลย กิเลสมันหลอกว่าจะไปทางนี้ จะเข้าถึงได้เร็วกว่าไปทางที่ว่า ไปเดินตามสัจธรรมอันนี้เป็นทางอันเนิ่นช้า

สัจธรรมจะเนิ่นช้าไปไหน... สัจธรรมนี้เป็นสิ่งที่บอก ศีล สมาธิ ปัญญา เข้าถึงความเป็นจริงโดยถูกต้อง แล้วเดินไม่มีความผิดพลาดไง ความที่อยากจะลัด อยากจะหาทางลัดเข้าไป เดินไปแล้ว เดินไม่ถึง แล้วยังพากันหกล้มหกลุกคลุกคลานจนจิตใจท้อถอยไง จิตใจท้อถอยว่า

“เราไม่มีวาสนา เราเกิดมาแล้ววาสนาน้อย ผู้อื่นเข้าปฏิบัติธรรมแล้วเขาไปกันได้เป็นรุดหน้าๆ เราไปไม่ได้เห็นไหม แล้วเราก็อยากจะ...”

“การแข่งดี” การอยากจะเข้าหาด้วยกิเลสมันหลอก กิเลสหลอกเรา หลอกให้เราผิดพลาดแล้ว ๑

๒. มันอยู่ในหัวใจของเรา มันก็ต่อต้านความคิด ต่อต้านการฟังธรรมที่ธรรมจะเข้าถึงหัวใจเรา ๑

“สิ่งนั้นเป็นไปไม่ได้ หมดยุค หมดกาล หมดสมัย...แค่นี้เอง มันคิดเราก็ล้มลุกคลุกคลานแล้ว แล้วยังสัจจะความเป็นจริงว่า คนอย่างเราหรือ จะมีวาสนาบารมี ผู้ที่ปฏิบัติอย่างเราหรือจะมีวาสนาบารมี”

มันอยู่ที่ใจ ไม่มีวาสนาบารมีทำไมพาร่างกายเข้ามาอยู่สภาพแบบนี้ ในสภาพแบบผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเห็นไหม “ดัดตน” ในสภาพดัดตน มักน้อย สันโดษ ใช้แต่ของที่ว่าจำเป็นแก่ดำรงชีวิตเท่านั้น ไม่เห่อเหิมไปตามโลกตามสงสารเขา โลกสงสารเขาวัดคุณค่ากันที่ว่า สิ่งที่ว่า ประดับประดาขึ้นมา มาอวดกัน

อันนั้นเป็นขี้ข้าทั้งหมด ทุกข์ซ้อนทุกข์ โดยที่เขาไม่รู้สึกตัวเลย เราเห็นโทษอันนั้นไง โทษอันเหนื่อยอ่อนในความพยายามต้องใช้แรงงานหาสิ่งนั้นมาประดับตนให้เข้าสมกับกิเลสมันได้อิ่มอกอิ่มใจ คือป้อนกิเลสทุกวันไปโดยเราไม่รู้สึกตัวเลย เราเห็นโทษอันนั้น เพราะเราจัดระบบความคิดเราถูกต้องแล้ว

ความคิดถูกต้อง การใช้มาก ใช้น้อย ก็แค่อาศัยชีวิตๆ อยู่ไปวันๆ หนึ่งเท่านั้นเอง คนเราเกิดมาต้องดับทั้งหมด ธรรมชาติมันก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แล้วเรายังวนไปตามธรรมชาติ มันก็วนไปกับตามธรรมชาตินั้น วนไปกับธรรมชาตินั้น

ชีวิตนี้เกิดมาตายเปล่า เกิดมาแล้วก็อยู่ในโลกเขาไป ๑ ชีวิตตายไป ต้องเกิดใหม่ ชีวิตนี้ไม่เคยดับ ตัวจิตนี้ไม่มีวันดับ ตัวจิตนี้ตายเกิดๆ ในสัจจะความจริงของมัน ตัวจิตนี้ต้องเวียนว่ายตายเกิด

“บุพเพนิวาสานุสติญาณ” ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ตรัส พิสูจน์มาแล้ว พิสูจน์มาก่อนพวกเราทุกคน มันไม่มีวันเกิด มันไม่มีที่สิ้นสุด มันต้องไปของมันตลอด “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” จิตนี้มันก็ไม่เคยดับ มันตายเกิดๆ นี้เป็นแค่สมมุติที่เราเห็นด้วยตาเนื้อ เราพิสูจน์กันด้วยทางวิทยาศาสตร์ไง ว่าหมดลมหายใจ คนนี้ต้องตายไป แต่ไม่มีวิทยาศาสตร์ไหนพิสูจน์ได้เลยว่า จิตนี้ตายแล้วไปอยู่ที่ไหน...ไม่มี จิตนี้ตาย ตายไปไหน ครอบคลุม จับตัวจิตไว้ไม่ได้เลย จิตนี้มันถึงว่าไม่มีวันดับ

แต่มันมาเกิด มาเกิดเป็นเรานี่สิ มาเกิดเป็นเรา ถ้าเราจัดระบบความคิด เราเข้าไปเห็นถึงความสงบของจิต ความสงบของใจนะ จิตนี้จัดระบบความคิดแล้ว มันยอมรับไง ความยอมรับนี้ เราก็มีบุญวาสนาขึ้นมานะ ความเร่าร้อนของใจมันผ่อนคลายลงมากเลย ความเร่าร้อนของใจ ความใจที่มันเคยกระดิกพลิกแพลงที่มันต่อต้าน ต่อต้านไง นี่แหละ สัทธรรมปฏิรูปในหัวใจ

การต้องฟังธรรม ต้องฟังธรรมเพื่อให้ธรรมมันเข้าใจไง “ต้องฟังธรรม” แล้วถ้าธรรมอันจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าทางจริง “ทางจริง ทางตรง” มันมีความร่มเย็น มันมีวาสนา มีบารมีที่แผ่คลุมความเย็นมาถึงดวงใจทุกๆ ดวงใจด้วย เมตตา มหากรุณิโก นาโถ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เมตตาสัตว์ทั้งหมด อยากรื้อสัตว์ ขนสัตว์ แต่สัตว์ที่จะให้ท่านรื้อขนไปไม่ขวนขวายเอง นอนจมอยู่ในกองของกิเลส ไม่ขวนขวายตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ต้องขวนขวายเอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเป็นผู้ชี้ทางเท่านั้น ทุกคนต้องเดินตาม ต้องเดินตาม

ถ้าเราขวนขวายขึ้นไป ความคิดขึ้นมา มันทำให้เราร่มเย็นขึ้นมานะ จิตนี้อยู่ด้วยความทรงตัวของมัน พอจิตสงบเข้าไป ผู้ที่มีศีล สมาธิ ปัญญาเห็นไหม มีศีลแล้วมีสมาธิ สมาธิที่ตั้งมั่น ธรรมนั้นเข้ามานี้มันก็ยิ่งร่มเย็นไง ผู้ที่เย็นใจอยู่แล้ว ไม่กระเสือกกระสน เย็นใจ ร่มเย็นใจอยู่ มีสิ่งใดเข้ามากระทบใจ ใจก็ตั้งมั่น ใจก็ไม่เร่าร้อนจนเกินไป นี่ควรแก่การงานไง ดินจะปั้นหม้อ เขาต้องขยำก่อน เขาต้องทำให้ดินนี้ ควรแก่การปั้นหม้อ ปั้นพวกสิ่งวัตถุที่เขาจะปั้นขึ้นมา ดินนี้ต้องนวด

หัวใจที่มันเร่าร้อนอยู่ หัวใจที่มันทุกข์อยู่ มันจะวิปัสสนาได้อย่างไร การทำความสงบอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมอยู่ในครั้งพุทธกาลก็มีเท่านี้เอง คือทำใจให้สงบเท่านั้นเอง มีสมาบัติมีอยู่เท่านั้น แต่ไม่มีปัญญา นั่นน่ะ ไม่มีปัญญา แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เองด้วยปัญญาไง มรรคอริยสัจจังด้วยปัญญา ความดำริ ความเห็นชอบ

ทีนี้ พอมีอันนี้ขึ้นมา พวกเราถึงได้ฟังธรรมอันจริงไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้ายังไปฟังธรรมจากอาฬารดาบสนี้ ยังไปฟังของที่ว่า สอนไม่ทะลุปรุโปร่ง ถ้าเทียบวาสนากัน แล้วเราเกิดมาภายหลังมีคนที่ดำเนินทางไปก่อน แล้วเจอของจริงแล้วมาถ่ายทอดให้เราฟัง ถึงว่าวาสนาเราต้องมีขนาดไหน จะว่ามีมากกว่าหรอ...ไม่ใช่ เพราะเราสาวกะไง สาวกะผู้ได้ยินได้ฟัง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าปรารถนามาอย่างนั้น ปรารถนามาเพื่อจะเป็นครูเป็นอาจารย์ ถึงต้องทุกข์มากกว่าพวกเรา เรามีความทุกข์น้อยกว่า ทุกข์น้อยกว่านะ แต่ธรรมอันเดียวกัน ถ้าธรรมถึงกัน ธรรมเสมอกัน จิตนี้ทำความสะอาดเสมอกัน พระอรหันต์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน พระสารีบุตร พระปัญจัควัคคีย์นี้เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน ความสะอาด ความเสมอกัน ต้องเหมือนกัน

ความเหมือนกัน กิเลสถึงหลุดจากใจเหมือนกัน แต่อำนาจวาสนาต่างกัน ต่างกันว่า เพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้านี้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า สร้างวาสนาบารมีมามาก สละทานไว้มหาศาล สละทานไว้มากกว่า คือสร้างเหตุไว้มากกว่า เหตุที่มากกว่า ผลต้องมากกว่า เรามันเหตุ เราสร้างเหตุไว้น้อยกว่า วาสนาว่าเราสร้างไว้น้อยกว่า ความทุกข์ความยากของเรา เราการขวนขวายน้อยกว่า แต่น้อยกว่าก็เข้าถึงธรรมได้ น้อยกว่าขนาดไหนก็มีอำนาจวาสนาบารมี ไม่มีอำนาจวาสนาบารมีจะมาตรงนี้ได้อย่างไร นี้เทียบวาสนาบารมีไง ถึงความสะอาดบริสุทธิ์ตรงนั้น

“ใจ ความสงบ ความร่มเย็นของใจ” มันเป็นแค่บาทฐาน แค่บาทฐานที่เราจะขึ้นรูป เป็นสิ่งวัตถุ สิ่งต่างๆ ขึ้นมา พระปัญจวัคคีย์ได้เห็นตรงนี้ มีดวงตาเห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรมคือยกขึ้นสู่ธรรมได้ไง จากใจเห็นไหม ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลส ปุถุชนคนหนาด้วยกิเลสเห็นไหม ทำใจให้สงบนี้ ใจนี้สงบเป็นกัลยาณปุถุชน กัลยาเห็นไหม กัลยาณปุถุชน คนที่ควรแก่การงาน คนที่กิเลสนี้เริ่มอ่อนตัวลง เปิดทางให้เข้าถึงธรรมได้ไง

ธรรมคืออะไรล่ะ?

ธรรมคือการชำระกิเลส ความเห็นกายกับใจนี้เป็นสิ่งเดียวกัน กายกับใจนี้แยกจากกันเพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นความจริงสัจจะ

แล้วเราศึกษามา มันก็เป็นสัญญาเห็นไหม นี่สัทธรรมปฏิรูป ปฏิรูปคือความจำมา มันไม่ใช่ความจริง ความจริงไม่ใช่ความจำ ความจริงมันต้องพิสูจน์เอง การพิสูจน์ขึ้นมา มันจะเห็น เห็นเอง จะจับตรงไหน ให้กายกับใจแยกออกจากกัน ก็ต้องพิจารณากายไง

พิจารณากาย ใจนี้สงบแล้วถึงพิจารณากายได้ ถ้าใจไม่สงบ พิจารณากายไปแล้วมันเป็นกายนอก กายนอกหมายถึงว่า เห็นด้วยตาเนื้อไง การเห็นตาเนื้อเห็นไหม หมอหรือว่าบุรุษพยาบาลต่างๆ เห็นคนตายมา พิสูจน์ศพมา ตายต่อหน้าต่อตา รักษาตายต่อหน้าต่อตาก็มี ตายแล้วเราไปพิสูจน์ศพก็มี นี่ตาเนื้อ เห็นศพเห็นไหม เห็นคนตายอยู่ตลอดเวลา ตาเนื้อเห็นทุกวัน เห็นจนชินชา ความเห็นอย่างนั้นได้ประโยชน์อะไร นี่ไง ถึงว่าเห็นกายนอก

การเห็นกายมันต้องเห็นกายจากตาธรรม จะรู้ธรรมต้องตาธรรม ตาธรรมคือตาใจ ตาใจเห็นกายไง เห็นกายเห็นจิต เห็นกายต้องเห็นจากภายใน กายจากภายใน มันจะขึ้นมาเป็นรูป กะโหลกศีรษะก็ได้ เป็นอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งก็ได้ ในร่างกายของเราขึ้นนี้ แต่ความเห็นจากภายในมันจะมีความเห็นสะเทือนถึงหัวใจ กายกับใจมันผูกพันกันว่า เพราะเป็นเนื้อเดียวกัน ความลุ่มหลง สิ่งนี้ลุ่มหลงคิดว่าเป็นอย่างเดียวกัน ใจกับเรา ใจนี้เป็นของเรา กายนี้ก็เป็นของเรา เราอยู่กับตัวเราเอง มันจะเป็นของคนอื่นไปได้อย่างไร ความเคลิบเคลิ้มนี่คือความหลง

โลภ โกรธ หลง ทำให้คนนี้ผิดไป ผิดออกจากความเป็นจริง ความเป็นจริงคือสัจจะ นั่นน่ะคือธรรมแท้ สัจจะเป็นอย่างนั้น แต่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า มันไม่ใช่ธรรมของเรา ในเมื่อมันไม่ใช่ธรรมของเรา เราจึงยังมองไม่เห็น มองไม่เห็น เราก็ต้องเชื่อแล้ว จากความที่ว่ามีวาสนาบารมี ปฏิบัติขึ้นมาจนใจสงบ ใจตั้งมั่น ใจตั้งมั่นพิจารณาดูสิ

พิจารณาดูกาย ดูกายถ้าเห็นนะ ถ้าไม่เห็น จิตที่ว่าพิจารณากายนอกนั้นเพื่อจะน้อมใจให้สงบ เพื่อจะน้อมนำใจให้สงบเข้ามา พิจารณากายนอก ดูกายนอกเข้ามาๆ เห็นไหม ดูกายนอกแล้ว มันไม่ใช่เห็นกาย ถ้ามันไม่เห็น ก็ต้องน้อมนึกขึ้นมา น้อมนึกขึ้นมา จิตนี้น้อมนึกขึ้นมาได้ น้อมนึกให้เห็นกาย น้อมนึกเข้าไป

นี่มันต้องเริ่มต้น ถ้าไม่มีการเริ่มต้น ไม่มีการนับ ๑ มันจะขึ้นไป ๒ ๓ ๔ ๕ ไม่ได้ ไม่มีการน้อมนึกขึ้นมา มันก็จะสงบอยู่อย่างนั้นตลอดไป มันจะเป็นสัทธรรมปฏิรูป มันจะเวิ้งว้าง จิตจะตั้งมั่น ระบบความคิดมันจะดี มันจะร่มเย็นพอสมควร ในความเป็นอยู่ ในความเป็นอยู่นั้น แต่จะให้เห็นธรรม มันต้องมีเหตุขึ้นไป เหตุขึ้นไปที่จะเข้าไป...

(เทปขัดข้อง)

...โดยสัจจะเลย ตามสัจจะนี้ไม่ใช่อันเดียวกัน...

(เทปขัดข้อง)

...เป็นมนุษย์ที่ว่ามีบุญมาก หนี้สินอันนั้นพาเกิด พอเกิดขึ้นมาแล้ว มันถึงว่าต้องเป็นตามสภาวะนั้น สภาวะของมนุษย์ กายกับใจมีกายกับใจ พอมีกายกับใจ มันต้องผูกไว้โดยธรรมชาติของมัน แบบบ้าน บ้านเขาจะสมานกันได้ด้วยน็อตด้วยตะปู เขาต้องตอกขึ้นไปเข้าหากัน

“สังโยชน์” โดยธรรมชาติของสังโยชน์มันจะผูกกายกับใจไว้ด้วยกัน นี่ไง ความสภาพที่ผูกกายไว้ด้วยกัน เพราะว่าในฐานะของมนุษย์มันถึงเป็นอย่างนี้โดยธรรมชาติ โดยธรรมชาติเห็นไหม แต่ในการวิปัสสนา มันก็เหมือนเราถอดน็อตถอดตะปูออก ออกจากบ้านนั้นการถอดน็อตถอดตะปูมันต้องหาเครื่องมือใช่ไหม ถึงจะถอดน็อตแล้วจะต้องหาว่าจะถอดตรงไหน น็อตที่เขาผูกไว้ เขารัดตรงไหน ตะปูเขาตอก เขาตอกตรงไหน

นี่เหมือนกัน สังโยชน์มันผูกไว้ ใจมันผูกตรงไหน ความยึดมั่นระหว่างใจกับกาย มันยึดมั่นอย่างไร ถ้าเราไม่เห็นตามความเป็นจริง เราไม่เห็นตามสัจจะ รู้แจ้งแทงทะลุนะ ต้องรู้แจ้ง รู้เท่า รู้ทัน รู้แจ้งแทงตลอด ความรู้แจ้งมันจะแทงทะลุเข้าไประหว่างตรงนี้ไง ถ้าทะลุเข้าไป มันจะปล่อยวางๆ

ความปล่อยวางอันนี้นะ ที่ว่าใจมีความสงบ มีความสงบที่จัดรูปแบบ รูปจิตแล้ว จิตมันสงบ มันต่างกัน ความสงบของใจมีความสุขอันหนึ่ง “วิปัสสนา” ใคร่ครวญจนเห็นเท่า รู้เท่า เหมือนกับเรารื้อออก ความเรารื้อบ้านออก ออกไป สิ่งที่เป็นความสกปรกอยู่ในบ้านนั้นหลุดออกไป หลุดออกไป นี่สังโยชน์ที่มันผูกอยู่ มันต้องหลุดออกไป ความหลุดออกไป มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป นี่คือการเห็นสิ่งสัจธรรม ไตรลักษณ์ไง

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับทั้งหมด”

สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นมาแล้วตั้งอยู่แล้วต้องดับ ดับไปทั้งหมด มันต้องแปรสภาพไป มันเป็นไปแล้วมันผูกมัดไป ปิดบังไว้ด้วยสังโยชน์นี้บังตาไปหมดเลย มันก็แปรสภาพอยู่ตรงนั้นตลอดเวลา แต่ถ้าเราเห็นจริงของเรา เราต้องเห็นจริงของเรา เราเห็นจริงของเรานะ คนอื่นเห็นเป็นเรื่องสมบัติของคนอื่น สมบัติส่วนตน การปฏิบัติ ปัจจัตตังมันสำคัญตรงนี้ไง

สำคัญที่คนๆ นั้นทำเอง

คนๆ นั้นเห็นเอง

คนๆ นั้นรู้เอง

คนๆ นั้นมีญาณทัศนะรู้ว่าขาดเอง ปล่อยวางเอง

พอปล่อยวางเองนั้นเห็นไหม ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนเท่านั้นจะรู้ว่าตนผ่านพ้นอะไรออกไปบ้าง แล้วถ้าเข้าทาง เข้าถึงทางมรรคอริยสัจจังแล้ว จะเบี่ยงเบนประเด็นไปอย่างอื่น เป็นไปไม่ได้เลย จะเข้าไปเรื่อยๆ เข้าไปเรื่อยๆ จะปิดอยู่ข้างหน้านี้ ข้างหน้าที่เข้ามาปิดบังอยู่นั้น คือว่า ความโลภ ความโกรธ ความหลง

“ความโลภ” โลภอยากได้มากไง พอวิปัสสนาเข้าไป มันหลุดออกไปชั้นหนึ่งๆ มันเห็นว่าตัวเองทำได้ ตัวเองอยากได้มาก ความโลภมีอยู่ ความโลภเป็นอะไร ความโลภมันก็เป็นกิเลสเห็นไหม ความโลภอยากได้มาก นั้นเป็น “อุทธัจจะ” อุทธัจจะความอยากได้เร็วเกินไป ความอยากได้เป็นการมักง่าย ความมักง่ายเห็นไหม ความมักง่ายก็ได้ผลง่ายๆ ความมักง่าย ของมันจะรอบคอบได้อย่างไร

ต้องปล่อยไว้ไง ปล่อยไว้ ค่อยๆ ใคร่ครวญเข้าไป ค่อยๆ ใคร่ครวญ เป็นกาลเวลา อำนาจวาสนาของคนมันปิดบังไว้นะ ปิดบังอำนาจวาสนาของคน แล้วก็กิเลสของเรามันจะบังใจไว้ๆ บังไว้ๆ กิเลสบังเงา กิเลสนี้มันอยู่ในหัวใจ แล้วมันจะบังของเราไว้ตลอด บังของเราไม่ให้เห็นสัจจะตัวนี้ เพราะอะไร เพราะมาร มารนี้อาศัยอยู่บนหัวใจของเรา ขับไสไล่บี้เรามาตั้งแต่ไม่มีกาล ไม่มีเวลา เกิดๆ ตายๆ มาตลอด แล้วเวลามันจะชำระขาดออกไป จะชำระให้มันง่ายดายอย่างที่ว่าเราคิด เป็นไปได้อย่างไร

แก่นของกิเลสนะ ความแก่นแท้ของอะไรที่ว่าเป็นแน่นหนาสาหัสในโลกนี้ เก็บไว้ ถ้ามันแก่นของกิเลส กิเลสเห็นไหม ความทิฎฐิมานะ ความอาฆาตพยาบาทมาดร้าย ถ้าเกิดกับใจดวงไหน นั่นน่ะ มันจะชำระออกไปง่ายๆ มันไม่มีเหตุผล ความที่ไม่มีเหตุผล มันก็ไม่ยอมรับ ความไม่ยอมรับเราก็ว่า เราก็ไม่รู้เท่า เพราะอยู่ในใจนั้นล่ะ เป็นนามธรรม เป็นความคิดเท่านั้นเอง แต่มันขับไสให้เราทุกข์ยากมาก แล้วมันละเอียดเป็นชั้นๆๆ เข้าไปนะ มันละเอียดลึกซึ้งเข้าไปๆ ยิ่งเข้าถึงตัวข้างใน มันยิ่งลึกซึ้งเข้าไป มันยิ่งยึดมั่นถือมั่น ยิ่งยึดหนักเข้าไปอีกนะ

เราคิดว่าข้างนอกนี่ก็ต้องทุ่มทั้งชีวิต ข้างนอกนี้หมายถึงว่า มีดวงตาเห็นธรรม ยังต้องทุ่มทั้งชีวิต แล้วลึกเข้าไปๆ ชีวิตนี้ฟากตายเลย เอาตายเข้าแลกเพราะอะไร เพราะคุณค่าของการเกิดและการตาย คุณค่าของการเกิดและการตาย ตายไปๆ คนตายตายเปล่าก็มหาศาล แล้วกิเลสมันสิ่งที่อยู่กับเรา เราก็ต้องเกิด ต้องตายอย่างนั้น ถ้ามันตายพร้อมกับกิเลสขาด ทุกคนก็ควร...มันยังแลกได้ แต่นี่ไม่อย่างนั้น มันเอาความตายนี้มาหลอกเราอีกต่างหาก เพราะความกลัวตายเห็นไหม

ความตายนี้ก็ทำให้เรายอก เราไม่อยากเดินไปข้างหน้า เราไม่มีความมุ่งมานะเข้าไปเกินไป เพราะกลัวว่าตัวเองจะลำบาก...ตัวเองเป็นใคร กิเลสมันอยู่ที่ใจ ถ้ากิเลสลำบากเห็นไหม กิเลสมันลำบาก เราก็ต้องลำบากไปด้วย ถ้าเราลำบาก กิเลสต้องลำบากไปด้วย นี่มันมีความคิดที่จะต่อต้านได้ไง มันมีความคิดที่เราจะคิด คิดหาทางออกได้ ถ้าไม่มีปัญญาตัวนี้ “ศีล สมาธิ ปัญญา” ปัญญาแค่ทำให้เราก้าวเดินไปด้วยความสะดวก ขวากหนามที่มันปักเสียบไว้ไม่ได้เราก้าวเดินไปโดยธรรมชาติ มันทำให้เราไม่มีกำลังใจที่เดินไป

กำลังใจเกิดขึ้นจากเรานะ เราทั้งนั้นมีกำลังใจ ถ้าเราเห็นว่าคุณค่าการทำอันนี้มันเป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์มาก เป็นประโยชน์หนึ่งนะ เราได้เสวยสุขก่อน สุขอันนี้มันจะเกิดขึ้นที่ใจของเรา แล้วยังสุขนี้เป็นอัตตา สุขนี้เป็นสุขจริงๆ ไม่มีการที่ว่าจะแปรสภาพอีก สุขจริงๆ เลย สุขที่เป็นอัตตา อัตตามันคงอยู่ใช่ไหม แต่ตัวของอัตตานั้นมันผิด แต่ความสุขมันมีอยู่ไง สุขที่ว่า สุข สุขเป็นอัตตา

ตัวอัตตากับความสุขต่างกัน เพียงแต่มันยืนยันว่าความสุขนี้สุขจริง แล้วมันทำไมแลกไม่ได้...มันต้องแลกได้ ความแลกได้ ทิศทางการก้าวเดินมันก็เปิดกว้างออกไป การเปิดกว้างมันจะทำให้เราก้าวเดิน ก้าวเดิน ก้าวเดินไป ความก้าวเดินไปก้าวเดินด้วยอะไร “ศีล สมาธิ ปัญญา”

“ศีล สมาธิ ปัญญา” มีศีล ศีลปกครองให้หัวใจสงบไว้ก่อน มันจะทำอะไรมีขอบเขต ถ้ามีขอบเขตมันก็ต้องไปประสามัน สิ่งใดมีขอบเขตอยู่ สมาธิคือพลังงานของใจต้องมี ปัญญาที่หมุนไปๆ หมุนก้าวเดินไปๆๆ ความหมุนอันนี้ ความหมุนอันนี้มันหมุนออกไปเพราะว่า เราส่งเสริมใช่ไหม เราส่งเสริม

เราไม่ส่งเสริม เราไม่บังคับ มันก็หมุนอยู่ธรรมชาติของมัน กิเลสพาใช้ กิเลสพาหมุน ใจนี้มันต้องเผาไหม้ตัวมันเอง มันต้องเกิดและมันต้องตายโดยธรรมชาติของมัน กิเลสพาใช้อยู่ ใช้ร่างกายเรา ใช้ใจเราโดยที่เราไม่รู้สึกตัว แต่เวลาธรรมพาใช้ ทำไมมันเกิดไม่ได้ ธรรมจะพาใช้ไง ธรรมจะพาใช้เพราะเราฟังธรรม เราต้องฟังธรรม เอาธรรมนั้นมาเป็นเครื่องดำเนิน

เราเคารพครูบาอาจารย์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้านี้เป็นองค์ศาสดา เป็นครูองค์แรก เป็นครูองค์แรก สลบถึง ๓ หน ความสลบถึง ๓ หนคือเกิดแล้วตายถึง ๓ หน ถึงจะได้ธรรมมาสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหา สั่งสอนบริษัท ๔

เราเป็นบริษัทหนึ่งในบริษัทหนึ่งในศาสนาพุทธนี้ เราก็ต้องตั้งใจ พอเราตั้งใจ เราตั้งใจ เราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า เพราะเป็นแบบอย่าง แบบอย่างที่เอาฟากตาย เอาตายเข้าแลกมาแล้ว ถึงตายนี้ ถึงเป็นจุดๆ หนึ่งเท่านั้นเอง จุดหนึ่งที่มาหลอกเรา เราข้ามพ้นไปเพราะเราก็มีปัญญาหมุนอยู่แล้ว แถมยังเชื่อครูบาอาจารย์ที่ยังมีครูบาอาจารย์เป็นทางเอก

นี่วิปัสสนาขึ้นมันต้องหมุนไปๆ แล้วดูขึ้นมา “กาย เวทนา จิต ธรรม”

ดวงตาเห็นธรรม แต่ยังไม่ใช่ธรรมทั้งหมด ไม่ใช่ธรรมทั้งหมดมันก็ต้องมีความทุกข์อยู่ในหัวใจเหมือนกัน มีความทุกข์อยู่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะมันติดอยู่ในสังโยชน์เป็นขั้นๆ ขึ้นไป สังโยชน์เป็นขั้นๆ ขึ้นไป เราก็จับตัวสังโยชน์ จับกายพิจารณา พิจารณาซ้ำเข้าไปๆ กายก็ได้ จิตก็ได้ๆ

จิตคือความคิด เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไปๆ แต่มันไวมาก สิ่งที่ไวมาก เราคิดว่าเราไม่มีความสามารถจับได้ เราไม่มีความสามารถจะไปจับมันได้เลย เป็นขี้ข้ามาตลอด แต่ถ้าสมาธิตั้งมั่น จับได้ พิจารณากายมันแล้วปล่อยกายไปแล้ว ดูความคิดอุปาทาน อุปาทานที่ยึดมั่นถือมั่น อุปาทานเกิดขึ้น “อุปาทาน” ความคิดตามตัวไป ความคิดเกิดไปพร้อมไป พร้อมไป พร้อมไป อุปาทานหลงไปไง ความหลงไปๆ ย้อนกลับสิ ย้อนกลับได้นี่ ต่อต้านไว้ ตั้งมั่นไว้

เวลาสิ่งที่พัดมา ลมพัดมามันพัดเอาทุกอย่างไปพร้อมกัน อารมณ์มามันพัดเอาทุกอย่างไปพร้อมกันหมดเลย อารมณ์ความทุกข์ขึ้นมา พัดเอาทุกอย่างไปพร้อมกันหมดเลย พัดไปแล้วเหลืออะไรไว้ เหลือแต่ความว่างเปล่าใช่ไหม ไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์เลย แต่ถ้ามันพัดไปแล้วมันเหลือแต่ความว่างเปล่า มันยังเอาสิ่งที่เหลือไว้คือความทุกข์ของเราทิ้งไว้ที่ใจเราอีก

ถ้าเราต่อต้าน เราก็หยิบตั้งเรดาร์ขึ้นมาดู ตั้งเรดาร์คือตั้งใจให้มั่น แล้วดูมัน ดูอาการที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไป อาการของใจ พิจารณากายก็ได้ ใจก็ได้เห็นไหม

“ใจ” สิ่งที่กระทบกัน สิ่งที่กระทบกับใจคือธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ “ธรรม” ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากใจ แต่ถ้าตัวใจเฉยๆ มันไม่มีอารมณ์กระทบ นี่ความเศร้าหมองของใจ ความเศร้าหมองนี้เกิดเศร้าหมองก็ได้ สว่างไสว ความสุข ความทุกข์ไง สุขใจ ทุกข์ใจนั่นคือตัวใจ แต่ธรรมารมณ์ ใจนั้นกระทบแล้วถึงจะมีอารมณ์เกิดขึ้นๆ นั่นน่ะ พิจารณาตรงนั้นก็ได้ มันอยู่ภายใน มันยิ่งพิจารณาง่ายเข้าไปใหญ่ เหมือนเราอยู่ในห้อง ของในห้องเราเราหยิบฉวยได้ตลอด หยิบฉวยได้เพราะเราเป็นคนเก็บวางไว้เอง ของเก็บได้

ความคิดเกิดขึ้นในใจก็เหมือนกัน เกิดดับๆ ในหัวใจใช่ไหม สติก็ตามรู้ในใจ มันเป็นเรื่องภายในของเรา เราอยู่ที่ไหนเราก็ทำได้ เราอยู่ตรงไหนเราก็ทำงานอันนี้ได้ งานนี้เราทำได้ตลอดเวลา การทำตลอดเวลานั้นคือการวิริยะ มรรคตัวหนึ่งไง ในความอุตสาหะ ต้องมีความอุตสาหะ มีความเพียรของเรา ความเพียร ความอุตสาหะนี้สำคัญมากที่สุด

“การงานชอบ” แต่ถ้าความเพียรไม่ตั้งมั่น มันก็เหลาะๆ แหละๆ ความเหลาะๆ แหละๆ นั้นจะไปต่อสู้กับกิเลสได้อย่างไร กิเลสนี้มันแก่นของกิเลส

ความตั้งมั่นอันนั้นไง ความตั้งมั่นอันนั้นเกิดขึ้นกับความดำริขึ้นมา หมุนเข้าไปตลอดๆ ธรรมมันจะเกิดขึ้นไปตลอดๆ จากความว่าเราตั้งมั่นเข้ามาๆๆ แล้วดู หยิบฉวยดู ต่อต้านดู ดูสิว่ามันเกิด มันเกิดอย่างไร ที่ว่าโลภๆๆ ความโลภๆ อย่างไร ทำไมเราโลภนัก ทำไมเราเป็นคนไม่ดีนัก ความโลภมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ความโลภ... หลงในอารมณ์นั้นหลงได้อย่างไร? เพราะมันให้ค่าไง

สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ความคิดเกิดขึ้นมา มันเกิดดับเกิดดับอยู่แล้ว เรารู้-ไม่รู้มันก็เป็นอย่างนั้นอยู่ แต่เรารู้แล้วมันเทียบค่าแล้วไม่พอใจ มันก็เกิดความต่อต้านขึ้นมา ถ้าพอใจมันก็เคลิบเคลิ้มดีใจขึ้นมา ความดีใจ-เสียใจมันก็ถ่ายไว้ที่หัวใจอีกล่ะ มันถ่ายความทุกข์ไว้ที่หัวใจ ถ่ายความดีใจ-เสียใจอันนั้นไว้ แล้วทำไมเราเป็นขี้ข้ามันอยู่ขนาดนั้น

จับไม่ได้ ถ้าจับไม่ได้ก็วิปัสสนาไม่ได้ ถ้าจับได้ก็วิปัสสนาได้ นี่ถึงว่าอารมณ์ผ่านไป เราต้องจับตรงนี้ให้ได้ก่อน จับตรงทุกข์ที่มันทิ้งไว้ แล้วตามหาเงามันเข้าไปไง ไฟได้เชื้อมันจะเผาไหม้เข้าไป ความชัดเจนมันจะเกิดขึ้น ความชัดเจน มันชัดเจนจนอารมณ์กลายเป็นวัตถุสิ่งหนึ่ง กลายเป็นวัตถุสิ่งหนึ่งที่จับต้องได้เลย

หัวใจ มรรคอริยสัจจังจับหัวใจ จับความคิด เป็นวัตถุขึ้นมา ความคิดที่เขาว่าจับกันไม่ได้นี่แหละ แต่วิปัสสนาญาณสามารถจับได้ สามารถจับความคิดนี้พลิกแพลงออกมาได้ สิ่งใดเกิดก่อน สัญญาตัวเชื้อพาเกิด วิญญาณ สังขารตัวปรุง วิญญาณตัวรับรู้ตัวไหน นี่จับเป็นวัตถุแล้วไม่ใช่จับเป็นวัตถุเปล่าๆ นะ จับเป็นวัตถุแล้วยังแยกส่วนประกอบของวัตถุนั้นอีก แยกส่วนประกอบของความคิดเห็นไหม สัญญาคือเชื้อไฟของมัน สัญญาคือความจำเดิมไง ข้อมูลเดิมของหัวใจ

เครื่องคอมพิวเตอร์มันมีโปรแกรมอยู่ในหัวใจอยู่แล้ว ตั้งแต่เด็กจนเป็นผู้ใหญ่มา เขาก็สอนสิ่งนั้นถูก สิ่งนี้ผิด สิ่งนั้นไม่ดี สิ่งนี้ดี เห็นไหมเขาสอน แยกเป็นหลักวิทยาศาสตร์ แต่ความจริงแล้วมันจะลึกกว่านั้นอีก ลึกเข้าไปชาติต่างๆ ที่สะสมมาเป็นจิตสันดานตัวนั้น ใจนี้เป็นสันดาน สันดานคือความชอบ ถ้าถูกใจมันชอบ มันจะคิดไป แล้วถ้าไม่ถูกใจ มันขยะแขยง

ความขยะแขยงนี้ก็ไปคิดเข้าไป ซ้ำเข้าไปอีก ความขยะแขยงมันจะไม่คิด เพราะมันให้โทษใช่ไหม ทำไมมันคิดซ้ำเข้าไปเพราะอะไร เพราะความไม่รู้ไง ความหลงไง ยิ่งคิดเข้าไปมันยิ่งเผาไหม้ตัวเอง “คิด” อะไรพาคิด? สังขารพาคิด สังขารที่ได้เชื้อมาจากกิเลส ๑ ได้เชื้อมาจากความชอบ-ไม่ชอบ ๑ ...คิดเข้าไปๆ ย้อนเข้าไป นี่สังขารปรุง วิญญาณรับรู้เข้าไป เห็นไหม วัตถุสิ่งที่ว่าจับได้เป็นอารมณ์ที่ว่าจับได้แล้ว แยกออกไปๆ ความแยกออกไปมันจะปล่อยวางออกไป อารมณ์ที่เป็นสิ่งที่ว่าหนักหนาเป็นวัตถุนั้น แกะออกๆ แกะออกแล้วแยกส่วนประกอบมันออก แยกส่วนประกอบมันออก แล้วความคิดนี้ก็หมุนไปไม่ได้ ก็เก้อๆ เขินๆ

ความเก้อๆ เขินๆ อันนั้นเห็นไหม ความเก้อเขินมันก็เกิดขึ้นไม่ได้ อารมณ์ที่จะคิดออกไป ความทุกข์ที่เราปรุงขึ้นมาในหัวใจจะไม่มี ความคิดที่จะปรุงขึ้นมา มันปรุงไปไม่ได้ เพราะมันเก้อเขิน มันแยกออกไปๆ ความแยกออกไปนี้ด้วยภาวนามยปัญญา

“ภาวนามยปัญญา” เกิดขึ้นจากความคิดของเรา จากความคิดเริ่มต้นขึ้นไปๆ จนเป็นภาวนามยปัญญา ภาวนามยปัญญานี้ไม่ใช่เราแล้ว ไม่ใช่เรา ถ้าเป็นเรา เราเข้าไปอยู่ในวงงานนั้นด้วย ถ้าเป็นภาวนามยปัญญา เป็นธรรมชาติอันหนึ่งเห็นไหม ถึงบอกว่าธรรมชาติอันหนึ่ง ธรรมชาตินี้มันก็วนเวียนไป แต่พอภาวนามยปัญญาเกิดธรรมชาติ ธรรมเกิดแล้ว ธรรมชาติเกิดแล้ว ธรรมชาติๆ มันประหารกัน ธรรมชาติกับธรรมชาติ ความบริสุทธิ์ของธรรม กับกิเลสนี้มันเป็นสิ่งที่ละเอียดมาก มันจะทำลายกัน ความทำลายกันอันนั้น ออกแล้วถึงเกิดญาณทัศนะขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง

“ถึงธรรมแท้” ไม่ใช่ธรรมชาติไง ธรรมชาติเป็นธรรมชาติ ความคิดนี้ก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง เกิดดับนี้เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แต่ความเห็นจริงนั้นมันเหนือธรรมชาติ มันปล่อยวางธรรมชาติได้ นั่นคือธรรมจริงๆ ไง แล้วมันจะเกิดขึ้นในหัวใจของผู้ที่ปฏิบัตินั้นไง

ฟังธรรมมาจากสมมุติเข้ามา สมมุติเข้ามาๆ แล้วก็เป็นบัญญัติ บัญญัติของพระพุทธเจ้า สมมุติคือเราให้ค่า อ่านพระไตรปิฎก สมมุติเราให้ค่า ควรจะเป็นอย่างนั้น ควรจะเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนั้น เราก็ให้ค่าผิดไป นี่สมมุติ... บัญญัติขึ้นมา อ่านตามความสัจจะตัวนั้นไง สัจจะในธรรมนั้น เราอ่านแล้ว เราเข้าใจ ตามสัจจะนั้น นี่บัญญัติ

สมมุติบัญญัติ แล้วถึงพ้นจากสมมุติบัญญัติออกไป

พ้นจากสมมุติบัญญัติออกไป ถึงเป็นวิมุตติ

วิมุตติอันนั้น ถึงเป็นธรรมแท้ๆ

ฟังธรรมจากอันนั้นมา แล้วออกมาเป็นกิริยาของธรรม ธรรมอันนั้น ใจที่เป็นประเสริฐ ใจที่ถึงสัมผัสธรรมอันนั้นออกมานั้นก็เป็นสมมุติแล้ว วกกลับมาไง วกกลับมาแล้วออกมา เราถึงว่าใจเราเข้าไปถึงจริงแล้ว มันถึงเสมอกันไง ความเสมอของพระอรหันต์ ถึงเสมอกันในพระอรหันต์นั้น พระอรหันต์นี้เสมอกัน

เพียงแต่ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างวาสนามาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอัครสาวกก็สร้างมาต่างๆ กัน ถึงเอตทัคคะก็ต่างๆ กัน ความต่างกันอันนั้น มันเป็นต่างกันด้วยอำนาจวาสนา ด้วยการสะสม ด้วยเหตุที่สร้างมาต่างกัน แต่ความสะอาดเสมอกัน

ใจก็เหมือนกัน ใจเราผู้ที่ปฏิบัติ ถ้าเข้าถึงแล้ว เข้าถึงถึงธรรมแท้แล้ว ธรรมแท้ๆ ก็เป็นเสมอกันนั้น เพราะว่าใจนี้ไม่เคยตาย ใจนี้เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลา แต่พอเสมอ พอถึงเข้าถึงธรรมปั๊บ มันเป็นใจเหมือนกัน เป็นธรรมแท้ๆ ที่ไม่เกิดไม่ดับ

ใจ...ธรรมที่ไม่เกิดไม่ดับ กับ ใจที่ไม่เคยเกิดเคยตายขึ้นมา เกิดตายๆ ก็วนไปในวัฏฏะ ในวัฏสงสาร แต่นี้เป็นวิวัฏฏะ ถึงธรรมแล้วก็ชำระกิเลสออก พ้นออกไปจากกิเลส พอพ้นออกไปจากกิเลส มันก็พ้นออกไปแล้ว มันก็เป็นธรรมอันหนึ่ง มันไม่อยู่ในเวียนว่ายของธรรมชาตินั้นเห็นไหม มันไม่หมุนไปตามธรรมชาตินั้นอีก มันออกไปจากธรรมชาตินั้น พ้นออกไปจากธรรมชาตินั้นเลย เอวัง

สมองกับจิต

อยู่ใกล้กัน เราอยู่ใกล้เกินไปบางทีมันชินชา ความชินชาทำให้เห็นไม่มีคุณค่า ความชินชาไง ความชินชา ความสนิทชิดเชื้อ เห็นคุณค่าของศาสนาต่ำไปนะ เราอยู่กับหลักศาสนา ทำทุกวันๆ อาจารย์มหาบัว ท่านถึงว่าไม่คุ้นกับใครไง ความคุ้นความสนิท ทำให้มองเห็นมองเป็นปกติกันไปไง

“บุญกุศล” ถึงว่า “บุญกุศล” บุญกุศลพาให้เรามาเกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์มีกายกับใจ มันต่างกับพวกเทวดา พวกอินทร์ พวกพรหม เพราะเขามีแต่หัวใจ เขามีแต่นามธรรม

ในทางบาปก็เหมือนกัน ในทางบาป ทางอบายภูมิ นรก เปรต ผี นั่นน่ะ เขามีแต่หัวใจ แต่เวลาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็มีกายกับใจเหมือนกัน สัตว์เดรัจฉานนี้อยู่ในอบายภูมิเหมือนกัน แต่สัตว์เดรัจฉานก็ยังมีฉลาดมีโง่ต่างกัน บางตัวสัตว์มันฉลาดมาก ความฉลาดของสัตว์เดรัจฉาน แต่ก็อยู่ในอบายภูมิ

พระโพธิสัตว์ ถึงเวลาเกิดนี่เกิดเป็นสัตว์เหมือนกัน เกิดเป็นกวางทองคำ เกิดเป็นนกแขกเต้า เกิดเป็นอะไรเหมือนกัน พระโพธิสัตว์ แต่ไม่เกิดเล็กกว่านกแขกเต้าใช่ไหม นกแขกเต้า ไม่เกิดเล็กกว่านั้น

แต่พวกเรานี่เห็นไหม ในพระไตรปิฎก พระติดใจในจีวรไง ได้จีวรมาใหม่แล้วตัดเย็บเสร็จ สมัยโบราณเย็บด้วยมือ กว่าจะย้อมได้ใช้ ก็ความติดใจอยู่ว่า เราอยากจะได้จีวรใหม่ คืนนั้นเป็นโรคท้องร่วง เหมือนอหิวาต์ ตายคืนนั้นเลย

พระพุทธเจ้าบอกไปเกิดเป็นเลน เราถึงว่าคนไม่เกิดเป็นสัตว์เหรอ ไปเกิดเป็นเลนอยู่ในผ้านั้น พระพุทธเจ้าบอกว่า “ให้ผ้านั้นเก็บไว้ก่อนนะ อย่าเพิ่งแจกกัน” เพราะเลนมาเกิดอยู่ในผ้านั้น จนกว่า ๗ วันหมดอายุขัยเขาแล้ว ถึงให้เอามาแจกกันใหม่

พอมาแจกกัน พระพุทธเจ้าทำประโยชน์ ๓ ชั้น ๔ ชั้นนะ ชั้นที่ ๑ คือว่าไม่ให้สัตว์ตัวนั้นเขาโกรธ ถ้าเลนตัวนั้นมีความรู้สึกอยู่ ถึงเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือเป็นคนก็แล้วแต่ มีความรู้สึกอยู่ มีความคิด มีความรู้สึกแต่ความคิดมันนั้นไป ความหวงแหน มันสัญชาตญาณมีอยู่ ก็หวงผ้านั้น ถ้าเขาเอาไปแจกจะโกรธ ความโกรธนั้นเวลาดับไป พออารมณ์มันหนัก มันจะเกิดในนรก นี่ประโยชน์ชั้น ๑

แล้วถ้ากันไว้ พอกันไว้ปั๊บ ก็อยู่ในเสวยสุข ก็โง่ไง ก็อยู่ในผ้านั้น สุขใจว่า “ผ้าของฉันๆ” อยู่จนหมดอายุขัยไป ตายแล้วไปก็เกิดเป็นเทวดา เพราะบุญจากบวชเป็นพระไง บวชเป็นพระอยู่แล้วปฏิบัติอยู่ แต่ยังไม่ถึงกับสิ้นสุดแห่งทุกข์ ยังไม่ถึงนิพพาน แต่ถ้าเสวยอารมณ์ ถ้าโกรธตอนนั้นไปก็ไปๆ เลย เห็นไหมประโยชน์ ๒ ชั้น ๓ ชั้น นี่ถ้าเกิดในอบายภูมิ

แต่เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นมนุษย์ เราเกิดเป็นมนุษย์ มี ๒ ส่วน กายกับใจ แล้วเราว่าร่างกายของเราส่วนสำคัญที่สุดคือสมอง สมองสำคัญที่สุดนะ การขยับ คิดทุกอย่าง สมองสั่งให้ร่างกายขยับเขยื้อนหรือว่าไป ถ้าสมองตายขึ้นไปจะเป็นอัมพาตหรือเป็นอัมพฤกษ์ไป นี่สมองนี้บังคับร่างกายนะ แล้วเราก็ยังคิดกันอีกว่า ความคิดนี้ก็เป็นสมอง โลกคิดกันว่าความคิดนี้เป็นสมอง

สมองเป็นแค่ประสาทควบคุมร่างกาย...เห็นด้วย แต่ถ้าเป็นความจำ มันมีส่วนเป็นเครื่องมือสื่อสาร มันเนื่องด้วยกันระหว่างกายกับใจ มันเกี่ยวเนื่องด้วยกัน จะบอกว่าเป็นสมองคิดทั้งหมดก็ไม่ใช่ ถ้าคนไม่มีสมองเลยมันก็คิดไม่ได้ ต้องอาศัยสมอง แต่สมองนั้นก็เป็นแค่ทางผ่านเท่านั้น เป็นแค่ประสาท

สมองเห็นไหม ดูอย่างคนเราสิ อย่างนักกีฬา อย่างการเล่นอะไรต่างๆ เขาว่านักกีฬาหรือนักกีฬา เล่นด้วยสมอง คือว่าใช้พลังงานด้วย แล้วบางคนพลังงานเล่นไป เล่นแบบซื่อๆ ไปตรงๆ ไป มันไม่ได้ชนะเขา ถ้าเล่นด้วยสมอง มันจะเล่นด้วยปัญญา ความใช้ปัญญาต้องใช้สมอง นักกีฬานี้ชนะเขาเพราะมีพละกำลังที่แข็งแรง แล้วก็มีสมอง ใช้สมองด้วย นี่ชนะด้วยปัญญาเห็นไหม ต้องอาศัยสมองเหมือนกัน เกี่ยวเนื่องกัน

แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่สมอง...มันเป็นจิต

ร่างกายของเรามีสมองควบคุมอยู่ ถ้าสมองช่วงไหนมันพิการไป จะทำให้ร่างกายเราพิการไป ทำให้ร่างกายเราเสียเหมือนกัน

จิตก็เหมือนกัน จิตเห็นไหม ถ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่ มีสติสัมปชัญญะอยู่เห็นไหม ความคิดนี้จะเป็นประโยชน์หมดเลย ถ้าขาดสติ ขาดผึง สติขาดผึงเลย คนนั้นเป็นคนวิกลจริต หรือคนที่ว่าคนบ้าไป คนบ้า คนที่ขาดสติ ขาดสติจนเป็นเสียสติไป ร่างกายเขาแข็งแรงมากนะ คนบ้าบางคนจะแรงมากมหาศาลเลย ร่างกายเขามีแรงมาก แต่สติเขาเสียไป เวลาสติเสียไป สติแตกไป นี่เรื่องของจิต

แต่เวลาเรื่องของร่างกาย เวลาสมองพิการไป สมองพิการไป ร่างกายก็เป็นแปรสภาพไป ร่างกายก็เป็นอัมพฤกษ์ไป นั้นส่วนของสมอง ถ้าแยกส่วนออกไปเป็นวัตถุนิยม เป็นวัตถุก็เป็นวัตถุ กับเป็นจิต พระพุทธเจ้าสอนหลักศาสนาของเราว่า มาเกิดเป็นมนุษย์มันมีกายกับใจตรงนี้ไง มันมีกายกับใจ มันถึงเกี่ยวเนื่องกัน หลักศาสนาถึงสอนให้ทำกุศล อกุศลเห็นไหม กุศลทำคุณงามความดี กุศล อกุศลทำความชั่วไป มันก็ไปเกิดเป็นวิบากไปข้างหน้า วิบากไปข้างหน้า อันนั้นมันซ้ำเข้ามาในเรื่องของศาสนา ศาสนาสอนตรงนี้

ถ้าเราแบ่งแยกไง เราจะยึดส่วนไหน ถ้ายึดส่วนสมอง เราว่าส่วนสมองทั้งหมด เราก็จะติดอยู่ในส่วนของร่างกายนี้ ถ้าเรายึดว่าส่วนของร่างกายนี้ ถ้าไม่มีร่างกายนี้ เราจะทำบุญได้อย่างไร เรามีความคิดได้อย่างไร เรามาได้อย่างไร นี่ให้เห็นว่าร่างกายเป็นเรื่องของร่างกาย

คนขาดสติ ร่างกายเขาเข้มแข็งขนาดไหน เขาก็แข็งแรง แต่เขาขาดสติ อันนั้นมีคุณค่ามากกว่าว่าสมองเราเสียอีกนะ สมองเราเสียเพราะว่า สมองเราเสีย สมองเราเสียไป ร่างกายเราเสียพิการไปบ้าง แต่สติสัมปชัญญะยังทำคุณงามความดีได้อยู่เห็นไหม

คุณงามความดีกับเรื่องของพละกำลังของร่างกายต่างกัน

ชนะกันด้วยสมอง

นี้ถ้าเราคิดตรงนั้นปั๊บ เราถึงว่าเรื่องร่างกายเป็นเรื่องของร่างกาย เราวางไว้ก่อนไง วางไว้ก่อน แล้วเราทำ เราจะพิสูจน์กัน เราต้องทำความสงบของใจ เรามาทำความสงบของใจ ทำความสงบเข้าไปๆ ให้เห็นจิตนี้สงบเข้าไป กำหนดพุทโธ หรือกำหนดอะไรก็แล้วแต่ จิตนี้พอสงบเข้าไป จิต พอจิตสงบจริงๆ มันสามารถปล่อยร่างกายได้ ตามลัทธิของมหายานเขา

ลัทธิมหายานเขาถอดจิต เขาถอดจิต เขาบอกว่า “จิตนี้กับร่างกายนี้ เปรียบเหมือนเปลือกกล้วยกับกล้วย เวลาเราแกะเปลือกกล้วยออกมา เปลือกกล้วยกับกล้วยไม่ได้อยู่ด้วยกัน กายกับใจไม่ได้อยู่ด้วยกัน” อันนี้ถ้าเขาฝึก เขาฝึกในทางฌาน ว่าฌานกับสมาธิ ถ้าฌานมันจะออกมาทางนี้ ทางที่ถอดจิตออกมา มันเป็นพลังงานของสมาธิทั้งหมด มันไม่ได้ยกขึ้นวิปัสสนาไง

ถ้ายกขึ้นวิปัสสนา ไอ้ฌานหรือสมาธินี้เป็นแค่บาทฐาน ไอ้ที่ว่าถอดจิต จิตที่สงบขึ้นไป เหมือนกล้วยกับเปลือกกล้วยถอดออกมานั่งอยู่ จิตจะถอยออกมาจากข้างหลังออกมา จะเป็นการพิสูจน์กันไงว่าถ้าจิตสงบเข้าไปมันสามารถแยกได้ระหว่างกายกับใจ ให้เห็นเป็น ๒ ส่วนว่า ส่วนนี้เป็นเรื่องของร่างกาย ส่วนนี้เป็นเรื่องของจิตใจ

ถึงความคิดนี้ไม่ใช่สมองทั้งหมดไง ความคิดนี้ผ่านสมองเท่านั้น

เพราะเราเป็นภพของมนุษย์ ความคิดนี้ต้องผ่านสมองเหมือนกับว่า สมองนี้บังคับร่างกายนี้ เป็นกองบัญชาการส่วนที่สำคัญที่สุดของร่างกาย คือ สมอง ส่วนที่สำคัญที่สุดของจิต คือ สติ ถ้าสตินี้ควบคุมอยู่ งานนี้เป็นงานสตินี้ควบคุมอยู่ งานจะเริ่มเป็นงานขึ้นไป แล้วกำหนดทำสมาธิเข้าไป เพื่อให้ส่วนนี้แยกระหว่างกายกับใจ ก็ต้องอาศัยสติทั้งหมด

ถ้าสติขาดไป ความงานนี้มันจะไม่เป็นสมประโยชน์ เป็นงานไป มันก็ถึงว่า “สักแต่ว่าทำ” สักแต่ว่าทำ ทำขนาดไหน มันก็จะไม่เห็นผลระหว่างกายกับจิตแยกออกจากกัน ถ้าไม่เห็นกายกับจิตแยกออกจากกัน มันก็ถึงว่าไม่เห็นส่วนต่างระหว่างกายกับจิตเห็นไหม ถ้ากายกับจิตแยกออกจากกันด้วยพลังของสมาธินะ แล้วถ้าสมองมันทำงานไปปกติร่างกายก็เข้มแข็ง ทำประโยชน์ได้หมดเลย

ถ้าสติควบคุมจิตอยู่โดยสติสัมปชัญญะพร้อมอยู่ จิตมันสงบเข้าไปๆ แล้วมันจะไม่มีทางหลงทางตรงไหน ตรงที่ว่าสติสัมปชัญญะควบคุมเข้าไป เห็นอะไรที่แปลกออกไปจากหลักของอริยสัจ จะไม่หลงทางไปในทางที่ว่าความเห็นอันนั้นไง “ความเห็นออกจากอริยสัจ” ถ้าความเห็นออกจากอริยสัจไป ออกจากกองการพิจารณาไป สติมันก็ตามทัน นี่สติสำคัญตรงนั้น สติถึงว่าไม่เปลี่ยน ถึงว่าสติถึงไม่แตก ถึงไม่เสียหายไป ถ้าสติไม่ควบคุมไว้ดึงไว้ มันก็เหมือนสมองพิการ เหมือนสมองเสื่อมไป ทำให้ร่างกายนี้เสื่อมไป

ถ้าสติสัมปชัญญะไม่พร้อมประกอบไป การวิปัสสนานั้นมันก็ไม่เป็นองค์ประกอบขึ้นมา มันไม่สมบูรณ์ขึ้นมา ความไม่สมบูรณ์ขึ้นมา มันถึงไม่ได้ผล สติสัมปชัญญะคือการเหนี่ยวรั้งไว้นี่สำคัญมาก สติสำคัญมาก สติสำคัญเข้าไป เหนี่ยวรั้งเข้าไปๆ จนเห็นความทำงานของความคิดไง ถ้าเริ่มจับได้ จิตนี้แยกออกไปกับกาย นั่นจิตกับกายนี้แยกออกจากกัน พอจิตกับกายแยกออกจากกัน นี่จับตัวตนได้ เห็นหลักการของว่า พื้นฐานของความคิดไง

ที่ว่าความดำริ “มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา” ความคิดเริ่มต้นจากตรงนี้ นี่จับฐานของความคิดได้ มันสืบสาวไปได้ มันยกขึ้นวิปัสสนาได้ ความยกขึ้นวิปัสสนาไป ถึงบอกว่า อ๋อ! ความคิดมันไม่ใช่สมองแล้ว มันจะแยกออกจากกันเลย อ๋อ! สัญญาเกิดขึ้นอย่างไร สังขารปรุงแต่งอย่างไร เวทนารับรู้อย่างไร ความรู้สึก เวทนารับรู้ เวทนารับรู้อย่างไร” มันจะออกมาเป็นชั้นๆ เข้าไป ถึงว่า อ๋อ! ความคิดเป็นอย่างนี้ ความคิดกับสมองมันถึงแยกออกจากกัน เห็นได้ชัดมากเลยว่ามันไม่ใช่สมอง

แต่ถ้ามันไม่มีสติ ไม่มีสมาธิอยู่ มันจะเชื่อมเป็นเนื้อเดียวกัน

ถึงว่า กายกับใจเกี่ยวเนื่องด้วยกัน หลักของศาสนานี้เป็นการพิสูจน์ระหว่างกายกับใจนี้แยกออกจากกัน พอแยกออกจากกัน ความแยกออกจากกัน ต้องเห็นการทำงานของมันไง การทำงานของขันธ์ ๕ กับการทำงานของสมอง ความเห็นต่างออกไป จากแรงของสมาธิเฉยๆ แรงของสมาธินะ

แต่บางคนก็ไม่เห็น ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นอย่างนี้หมดนะ มันอยู่ที่อำนาจวาสนา

ถ้าพิจารณากายจะไม่เห็นแบบนี้ พิจารณากายไป จิตสงบเข้าไปก็สงบเข้าไป แต่ยังไม่เห็น เพราะเด็กทำงาน เราทำงาน เราสอบอยู่ เราส่งข้อสอบไป เราไม่รู้หรอกว่าเราจะสอบได้หรือสอบไม่ได้ วิปัสสนาอยู่ เริ่มเดินเข้าไปก็เหมือนกัน เวลาเหมือนกับเราทำข้อสอบอยู่ ผ่านข้อสอบไป มันจะได้หรือไม่ได้มันยังไม่รู้ แต่ถ้าได้ ได้แล้วยังไม่ประกาศผล ถ้ามันประกาศผลออกมา มันสมุจเฉทปหานออกไปๆ แต่เราก็ยังลังเลว่าเราทำได้อย่างไร จนกว่าเราจะสอบผ่านเข้าไป จนเรียนจบหลักสูตรนั้น แล้วเราเกิดเป็นครูบาอาจารย์สอน กลับไปสอนหลักสูตรนั้นอีก ย้อนกลับมาจะเห็นเลยว่า อ๋อ! เป็นอย่างนั้น

คนที่จะเห็นการทำงานของสมองกับจิต มันจะต้องผ่านหลักสูตรออกไปก่อน แล้วกลับมาจะเห็นไง เห็นหลักสูตรเข้ามา คือว่ากลับมาสอน คือกลับมาย้อนความเห็นของตัว ย้อนจากการเริ่มสอบ ข้อสอบที่เราทำ เคยผ่านขั้นไหนๆ ขึ้นมา สอบขึ้นไป เพราะเราก็กลับมาทำตรงนั้น ความชำนาญการของการเห็นอันนี้ ความชำนาญการของการเรากลับมาชำนาญการ แล้วเราคล่องตัว มันถึงจะเห็นส่วนแยกชัดเจนไง

ถึงว่า ถ้าเราทำอยู่ ในพิจารณากายมันไม่เห็น ไม่เห็นเพราะเหตุนี้ไง เหตุเพราะเป็นหน้าที่การก้าวเดินอยู่ เราส่งข้อสอบอยู่ แล้วสอบผ่าน-ไม่ผ่านนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แล้วยังต้องสอบผ่านเป็นชั้นๆ เข้าไป จนกว่าจะจบสิ้นการทำงานนั้น ถึงว่าความเห็นนั้นมันก็วางไว้ ความลังเลสงสัยวางไว้ก่อน เพราะเรายังมีกิเลสอยู่ เราต้องมีความลังเลสงสัย

แต่ให้มั่นใจในปัญญาคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในมรรคอริยสัจจัง ในความก้าวเดินอันนั้นไง ถึงให้เห็นส่วนแยกระหว่างกายกับใจ ความกายกับใจแล้วเราตั้งใจจดจ่ออยู่ เริ่มต้นให้เป็นใหม่อยู่ตลอดเวลา พอเป็นใหม่อยู่ตลอดเวลา มันก็คึกคักของมันขึ้นมา ความคึกคัก จิตมีความคึกคัก จิตมีพลังงาน จิตมีความฮึกเหิม การงานของเราจะสมประโยชน์

แต่ถ้าจิตเราไม่คึกคัก นี่ฝ่อ อยู่กันไปวันๆ หนึ่ง ทำบุญก็ไปสักแต่ว่า พอเริ่มสักแต่ว่าไปเรื่อย ความสนิท ความคุ้นเคยของใจ ใจมันสัมพันธ์ไป สัมพันธ์ยึดเหนี่ยวเป็นความเห็นของตัว แต่ถ้าเราแยกออกห่าง เราแยกออกห่าง หลักของศาสนาเป็นหลักของศาสนา สมมุติเป็นสมมุติ สมมุติเป็นขั้นตอนไป สมมุติเป็นสมมุติไง

พระเรานี่เป็นพระสงฆ์โดยสมมุติ เป็นสำเร็จมา จตุตถกรรม เป็นขั้นตอนของสงฆ์ ขั้นตอนของเรา การทำบุญทำกุศลผ่านตรงนี้ไง ถ้าไม่มีพระเห็นไหม ในศาสนาอื่น ครูบาอาจารย์บอกว่าน่าสงสารเขา เขาไม่มีพระสงฆ์ เขาไม่เคยทำบุญเลย เขามีแต่การให้ทานของเขา แต่ในการทำบุญต้องมีสังฆะขึ้นมาก่อน ถึงว่าพระถึงเป็นสมมุติสงฆ์ก็แล้วแต่ ถ้าพระ ๔ องค์ขึ้นไปเป็นสังฆทาน

“การทำสังฆทาน” ทำบุญเหมือนกับเราทำถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเพราะอะไร สังฆะนี้เป็นผู้ที่สืบทอดศาสนา สังฆะนี้เป็นผู้ที่ค้นคว้า เป็นนักรบไง นักรบพยายามปฏิบัติตนให้ได้ถึงธรรม ให้ได้ถึงธรรมแล้ว เอาธรรมนั้นมาสอนเรา ๑ ได้ถึงธรรม

“ทรงธรรม” การทรงธรรมอันนั้นไว้ สืบต่อทอดศาสนา สืบทอดศาสนาเพื่อคนอื่นจะเข้ามาถึงหลักของศาสนานั้น แล้วเราเป็นคนๆ หนึ่งที่สืบทอดศาสนา เพราะเราทำบุญกุศลอันนั้น เราได้ทำบุญกุศลนั้น เราค้ำโพธิ์ไง การค้ำโพธิ์อันนั้น มันก็ทำให้เราได้บุญกุศลขึ้นมา

ถึงว่าเป็นสมมุติก็เป็นสมมุติ แต่สมมุตินั้นเป็นสมมุติที่ส่วนแยกออกไปแล้วจากคฤหัสถ์เห็นไหม เพศของสมณะ เพศของคฤหัสถ์ “เพศ” ความเป็นเพศนั้น เพศประกาศตน ยอมรับตนว่าจะเป็นผู้ที่บุกเบิกไปให้ได้ จะเป็นผู้ที่สั่งสมหลักการอันนี้ จะยืนยาวไว้ แล้วจะอยู่ได้อย่างไร การดำรงชีวิตอย่างนั้น นี่บุญกุศลเกิดตรงนั้น เป็นจังหวะเห็นไหม เป็นระบบๆ ขึ้นมา หลักของศาสนา

เราถึงว่าเราเห็นตรงนั้นปั๊บ เราจะชุ่มชื่นของเราขึ้นมาว่า เราชุ่มชื่น ใจมันจะฮึกเหิม ใจจะมีกำลังใจ กำลังใจของเรา กายกับใจแยกออกจากกัน กำลังใจเกิดขึ้น ร่างกายก็สดชื่นขึ้นไปด้วย ถ้ากำลังใจห่อเหี่ยว ร่างกายมันก็ก้าวเดินไปไม่ไหว ความเพียรที่จะเกิดขึ้นจากการทำให้กายกับใจ หรือสมองกับจิตนี้แยกออกจากกัน มันก็เป็นไปได้ยาก แล้วเราก็มองไม่เห็น มองไม่เห็น เลยจับต้องมันไม่ได้ นี่เกิดเป็นมนุษย์มันประเสริฐตรงนี้ไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ทำไมถึงเป็นมนุษย์

เป็นคนเหมือนกันนี่แหละ แล้วสำเร็จเป็นองค์ศาสดาองค์เอกออกไป

แต่เพราะว่ามีกายกับใจ มีสุขกับทุกข์ที่ให้เราแยกได้ กายกระทบมันก็กระเทือนถึงใจ จับไปว่าใจอยู่ที่ไหน จับที่แขนก็สะเทือนถึงใจ จับที่ขาก็สะเทือนถึงใจ จับตรงไหนของร่างกายมันสะเทือนถึงใจทั้งหมด เพราะมันเป็นอันเดียวกัน มันเกี่ยวเนื่องกัน

แต่เพราะหลักการที่ว่ามาแยกออกจากกัน แล้ววิปัสสนาเข้าไป เพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจ ต้องไปชำระที่ใจ ร่างกายนี้เป็นแค่เปลือก แค่กล่อง แค่ที่อาศัยเท่านั้นเอง แต่ถ้าชำระที่หัวใจได้ มันสะอาด มันบริสุทธิ์ที่ใจ พอใจนี้มันสะอาดขึ้นไปๆ นั่นคือการทรงธรรม ใจเท่านั้นเป็นที่ภาชนะใส่ธรรม ใจเท่านั้นจะเข้าถึงธรรม “ใจ” เท่านั้น

ร่างกายนี้ก็ต้องสละทิ้งไป ถึงจะเป็น ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา

แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้ว สมุจเฉทปหานกิเลสไปแล้ว ยังจะต้องให้หมอชีวกโกมารภัจจ์รักษาร่างกายนั้นอยู่ เพื่อจรรโลงไว้ เพื่อจะให้ใจนี้ได้ทำประโยชน์กับโลกเขา

จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้านิพพานคืนนั้นไป พระอานนท์บอกว่า

“ดวงตาของโลกดับแล้ว”

คำสอนที่เหลือไว้เท่านั้นเป็นองค์ศาสดาสืบต่อมา

“ธรรมและวินัยที่เราตรัสไว้แล้วนั้นจะเป็นศาสดาของเธอต่อไป อานนท์”

บอกไว้กี่หนๆ แล้วเห็นไหม

นี่เวลาท่านดับขันธ์ไปแล้ว เหลือแต่คำสอนไว้เป็นองค์ศาสดา แต่ขณะที่ว่าท่านมีชีวิตอยู่ หัวใจนั้น ทรงธรรมอันนั้น มันยังสอนได้โดยปัจจุบัน (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)