ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะหมอเต้ย

๒๓ ธ.ค. ๒๕๕๑

 

คณะหมอเต้ย
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๑
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

โดยธรรมชาติ ตัวรู้มันมีอยู่ตลอดเวลา โดยธรรมชาตินะ โดยธรรมชาติของคน ตั้งแต่เราเกิด เพราะจิตปฏิสนธิ “ปฏิสนธิจิต” มันเป็นพลังงาน ความคิดของเรามันเป็นเปลือก

เราจะเปรียบจิตของคนเหมือนส้ม ส้มมันต้องมีเปลือกส้มโดยธรรมชาติของมัน เวลาเราหยิบส้ม เราต้องหยิบโดนเปลือกส้มเป็นธรรมชาติใช่ไหม เวลาหยิบผลส้ม เราหยิบไปจะโดนเปลือกส้มไหม? มันธรรมชาติเลย มันต้องโดนเปลือกส้มเป็นธรรมดา ทีนี้โดยเปลือกส้ม เพราะเราหยิบเปลือกส้มกัน

“ความคิด คือเปลือกส้ม”

“ตัวจิต คือตัวเนื้อส้ม”

พวกเราจะไม่เคยจับโดนตัวจิตเลย แล้วไม่เห็นจิตตรงไหนด้วย เห็นแต่ความคิดตัวเอง

“แล้วความคิดเกิดดับ” พอคิดว่าตัวเองความคิดเกิดดับ แล้วก็ว่ามันนามรูปเกิดดับๆ แล้วก็ว่านั่นคือนิพพานกัน.. นี่ มันไม่ใช่! แค่เปลือกส้ม แค่ความคิด

ทีนี้ธรรมดาความคิดมันแค่ความคิดกับตัวจิต?

ตัวจิตมันมีอยู่แล้วใช่ไหม ทีนี้ตัวจิตมีอยู่แล้ว แต่เราไม่เคยเข้าไปถึงมัน เราถึงไม่รู้จักมันเลย

ทีนี้เวลาภาวนากันก็ไปดูความเกิดดับ ดูความเกิดดับความคิด แล้วพอความคิดมันสงบตัวลงก็ว่านั่นเป็นสมาธิ นั่นเป็นอะไรไป.. แต่ไม่ใช่เรื่องเลย!

เราจะเห็นว่า.. เราจะชี้ให้เห็นว่า “ความคิดกับตัวจิต”

ทีนี้ตัวจิต ธรรมดามันมีอยู่โดยธรรมชาติของมันจริงไหม ธรรมชาติมีของมัน แต่เราไม่เคยเห็นมัน เหมือนพลังงานมันจะส่งออกโดยธรรมดา แต่ตัวพลังงานจะไม่รู้จักตัวมันเอง

ทีนี้จิตจะตกภวังค์ เวลาจิตตกภวังค์ เวลากับพุทโธไป โดยธรรมชาติของมัน มันตกภวังค์มันมีตัวรู้ไหม? .. มี! ถ้าไม่มี คือเราคนตาย ถ้าไม่มีตัวรู้ คือจิตออกจากร่างไป

จิตมันมีอยู่โดยธรรมชาติใช่ไหม? เราจะตกภวังค์-ไม่ตกภวังค์ก็มีจิตอยู่

มีตัวรู้ไหม? .. มี! แต่เราเห็นมันไหม? .. ไม่เห็น เราไม่เห็นมัน เราไม่เข้าใจมัน.. มันตกภวังค์ไง ตกภวังค์เพราะอะไร “ตกภวังค์” พอเวลาตกภวังค์มันจะหายไปเลย พอหายไปเลย คำว่า “หายไปเลย” ทำไมหายไปเลย เราต้องไม่มีสิ แต่เรามี แต่ว่ามันหายไปเลย แต่หายไปที่ไหน?

นี่ไง พรหมลูกฟักไง เวลาคนตกภวังค์ เขาเรียกว่าเหมือนกับพรหมลูกฟัก

ถ้าว่าเป็นสมาธิชนิดหนึ่งไหม? .. เป็น! แต่เป็นมิจฉาสมาธิไง เป็นสมาธิที่ผิด ที่ไม่ต้องการ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ไง

โยม : ตัวนี้กับหลับ คนละเรื่องกันใช่ไหม?

หลวงพ่อ : ประสาเรามันอยู่ด้วยกันจะบอกว่ามันอยู่ด้วยกันเราจะยกกลับมาเปรียบเทียบอีกทีหนึ่ง “ส้มกับเปลือกส้ม” โดยธรรมชาติ ส้มก็ต้องมี-เปลือกส้มก็ต้องมีอยู่โดยธรรมชาติใช่ไหม แต่เวลาเราจับถึงตัวเปลือกส้ม เรารู้จักเนื้อส้มไหม? .. ไม่รู้ เพราะเนื้อส้มอยู่ในเปลือกส้ม กระทบสัมผัส สัมผัสเปลือกส้ม จริงไหม

ทีนี้เวลามันตกภวังค์ เวลาตัวจิต.. ตัวรู้มันมีไหม? .. มันมี แต่เราไม่เข้าใจ นี่ไง ถึงว่าเป็นอวิชชา ทีนี้ พอตรงนี้ปั๊บ มันจะอยู่ที่การแบ่งแยกว่า “เราแบ่งแยกถูกหรือเปล่า” ทีนี้ถ้าแบ่งแยกไม่ถูก ส่วนใหญ่แบ่งแยกไม่ถูก แล้วไม่รู้จักแบ่งแยก แล้วแบ่งแยกไม่เป็น ก็เลยเคลมเอาว่า “นี่คือผลของการปฏิบัติ” ทั้งๆ ที่ผิดหมดเลย.. (เอ้อ)

โยม : แล้วเวลาออกจากภวังค์ ออกอย่างไร?

หลวงพ่อ : ออกจากภวังค์ มันเหมือนกับสะดุ้งตื่น มันไม่มีสติหรอก

เวลาเข้าภวังค์ เรากำหนดพุทโธ หรือเรากำหนดพุทโธ เราต้องการสมาธิ แต่เพราะขาดสติ มันเลยวูบหายไปเลย คราวนี้วูบหายไปนั่นน่ะ “วูบหาย” เหมือนรถ เราหลับใน เราเสียการทรงตัวแล้ว ถ้าเสียการทรงตัว รถเสียการทรงตัว รถเราตกถนนแน่นอน เพราะรถมันเป็นวัตถุ

แต่จิตเหมือนกัน จิตนี่พอมันวูบหายไป มันเสียการควบคุมแล้ว แล้วจะออกอย่างไร? ในเมื่อมันเสียการควบคุมไปแล้ว เราจะดึงกลับมาอย่างไร? ทีนี้จะดึงกลับมา ถ้าคนจะเป็น ถ้าเห็นการเสียการทรงตัวด้วย แล้วเห็นการดึงกลับด้วย นี่คือว่า คนแบบว่าทำปฏิบัติมามีความผิดพลาดแล้วแก้ไขจนถูกต้องได้

แต่ขณะที่เรานี่เสียการทรงตัวแล้ว เป็นภวังค์ไปแล้ว หายไปแล้ว แล้วดึงกลับมาอย่างไร? .. ไม่ได้เลย มันจะกลับมา ถ้าดึงกลับมา คำว่า “ไม่ได้เลย” หมายถึงว่า “การกระทำที่ถูกต้อง! การกระทำที่ถูกต้อง! ” แต่มันจะกลับมาโดยสัญชาตญาณ โดยกลับมา เพราะของมันมีอยู่ เหมือนเช่นเรา เราผิดพลาดอะไรไป แล้วสำนึกตัว เรากลับมาทำดีขึ้นมา.. นี่การสำนึกตัว

แต่ขณะที่จิตมันตกภวังค์ไปแล้วมันกลับมา มันไม่สำนึกตัวหรอก มันไม่รู้เรื่อง แล้วยังเคลมมาด้วยว่าเป็นสมาธิด้วย แล้วเถียงเก่งด้วย (หัวเราะ) อ้าว.. ว่าไป

โยม : อยู่ดีๆ มัน “เอ๊ะ” ขึ้นมา

หลวงพ่อ : นั่นล่ะ! นั่นล่ะ! นั่นล่ะ.. ใช่! “เอ๊ะ” เราจะบอกว่าเหมือนกับสะดุ้งตื่นไง เหมือนกับสะดุ้งตื่น

โยม : พอมีความคิดขึ้นมา มันก็เริ่มถอยขึ้นมา

หลวงพ่อ : ตกภวังค์ ล้านเปอร์เซ็นต์

“การแก้การตกภวังค์” การแก้การการตกภวังค์ เห็นไหม เวลาเราพูด อย่างเช่น เวลาพูด เราพูดถึงการปฏิบัติ เราต้องมีสติ! เราต้องมีสติ! แล้วเราต้องมีความพินิจวิเคราะห์ เราต้องมีความรอบคอบ ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อม ต้องอาศัยทุกอย่าง

ทีนี้การปฏิบัติเขาบอก “โอ้โฮ.. ทำไมยุ่งขนาดนี้วะ”

“กูไม่เอาแบบนี้ได้ไหม กูทำของกูเองได้ไหม ทำสบายๆ อย่างที่กูชอบได้ไหม”

ได้! ผลมันก็อย่างนั้นไง

โยม : ถ้าอย่างที่เวลามันลงภวังค์ไปแล้ว

หลวงพ่อ : เออ..

โยม : ความคิดมีไหม?

หลวงพ่อ : ไม่มี.. หายไปเลย

โยม : แล้วถ้ายังมีความคิดอยู่ ก็แสดงว่าไม่ลงภวังค์

หลวงพ่อ : ใช่! ถ้ามีความคิดอยู่ ไม่ใช่ภวังค์.. แต่! แต่ความคิดตัวที่ว่า เราว่ามีความคิด หรือความคิดโดยสัญชาตญาณ มันเป็นไปโดยธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของความคิด ธรรมชาติของธาตุรู้ ธาตุรู้นี่มันมีอยู่ แต่เราไม่เป็นสัมมา คือเราควบคุมไม่ได้ เราไม่สามารถควบคุมได้

ทีนี้ พอคำว่า “มีความคิด” มันต้องมี ๒ ประเด็น

ประเด็น ๑. คำว่า “มีโดยสัญชาตญาณ” คือ แดดกับความร้อน ออกไปกลางแดดต้องร้อนแน่นอน ธรรมชาติของมันมีอยู่แล้ว แต่เราควบคุมไม่ได้ มันก็เป็นมิจฉาเหมือนกัน แต่ถ้ามีความคิดด้วย แล้วควบคุมได้ แล้วเข้าใจได้ เพราะคำว่า “ควบคุมได้” มันจะตกภวังค์ไปไม่ได้! มันจะตกภวังค์ไปไม่ได้!

สิ่งที่ควบคุมได้.. รถนี่ควบคุมได้บนถนน มันจะตกลงข้างทางไหม?

เหมือนกัน.. จิต! จิต.. เวลาเราเทียบจิต เหมือนความเร็วของรถ เวลามันทำงานน่ะ นี่เราคุยกันเรื่องพื้นฐานสมาธิเนาะ เดี๋ยววิปัสสนายังไปอีกไกล อ้าวๆ.. ว่าต่อไป

หมอจะถามว่า “ถ้าตกภวังค์นี่มีผู้รู้อยู่ไหม?”.. มี! แต่ผู้รู้ ทุกอย่าง มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ มิจฉาปัญญา สัมมาปัญญา มิจฉา.. มรรคไง มรรค ๘ “มิจฉามรรค สัมมามรรค”

ตอนปัจจุบันนี้ การปฏิบัติโดยปฏิบัติกันด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผิดกันหมดเลย ๙๙ % มิจฉาหมด.. มิจฉาทั้งนั้น! อ้าว..พูดแล้วขึ้น อ้าว.. ว่าไปเลย

ทีนี้ประสาเรา มันต้องคนรู้จริงแล้วมันจะเคลียร์ตรงปัญหานี้ได้หมด ทีนี้ในสังคมเรามันไม่มีใครรู้จริง มันเลยเคลียร์ปัญหาไม่ได้

โยม : ทำอย่างไร ไม่ให้มันวูบ

หลวงพ่อ : นี่มันต้องแก้.. ที่เราพูดเมื่อกี้นี้ไง บอกว่าเวลาไปปฏิบัติ พอเริ่มต้นมาจากพื้นฐาน ทุกคนก็ไปปฏิเสธมัน เห็นว่าเป็นความยุ่งยาก

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ อย่างเช่นหลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์เรา ท่านจะบอก “ศีล สมาธิ ปัญญา”

ทำไมต้องมี “ศีล สมาธิ ปัญญา”? เพราะตัวศีลทำปกติของใจ ตัวศีลคือตัวพื้นฐาน คือตัวไม่ให้ตกภวังค์ ไม่ให้เป็นมิจฉาไป ให้มันเสียหายไป ในการปฏิบัติเราลงทุนลงแรงแล้วควรได้ประโยชน์ขึ้นมา.. ฉะนั้นมันต้องมีพื้นฐาน

แต่คนไปมองว่า “พื้นฐานนี่เป็นเรื่องยุ่งยาก พื้นฐานเป็นเรื่องไม่มีความจำเป็น” แล้วไอ้พวกโง่ๆ มันก็บอกว่า “ทางลัดๆ” ลัดลงนรก! ลัดลงนรกกัน!

ถ้ามีพื้นฐานขึ้นมาแล้ว แม้แต่มีพื้นฐานก็ยังผิดอยู่ ฟังนะ! พื้นฐานนี่ทำให้พวกเรามี ดูสิ การศึกษาเรามีพื้นฐานดี การศึกษาไป มันจะไปได้ดีมากเลย ถ้าพื้นฐานไม่ดี มันก็มีการศึกษา มันจะมีความลำบากมาก

มีพื้นฐานดี! แต่ไม่มีความจงใจ ไม่มีความเข้าใจ มันก็ยังเสียหายอยู่เหมือนเดิม

มีพื้นฐานดี! โดยธรรมชาติของการปฏิบัติ เรายังมีกิเลสกัน

ผิดทั้งหมด! คนปฏิบัติน่ะ ผิดทั้งนั้นน่ะ เพราะเรามีอวิชชา เรามีความไม่รู้ เหมือนกับเราทำงาน เราตั้งใจเห็นเขาทำงานแล้วเราตั้งใจทำงาน แต่เราทำด้วยความไม่เป็นไป ทำอย่างไรมันก็มีความผิดพลาดเป็นธรรมดา

เราจะบอกว่า “การตกภวังค์เป็นเรื่องธรรมดา” แต่ทีนี้ธรรมดาแล้ว ถ้ามีพื้นฐานมาดี มันจะแก้ไขได้ แล้วมันจะเห็นคุณของศีล เห็นคุณของการสงบสงัดไง ในหมู่ชาวพุทธจะบอกประจำ

มันมีเมื่อ ๒ วันนี้ มีลูกศิษย์การบินไทย เขาพาญาติเขามา เพราะเขาสงสารญาติเขามาก ญาติเขาทำงานโรงแรม แล้วออกมาบวช เขาบอกเขาสำเร็จหมดแล้ว ทีนี้ไอ้ญาติเขา เขาไม่เชื่อ เขาไม่เชื่อแล้วเขาก็พยายามจะดึงมาหาเรานี่ไง

บอก “กูไม่ไปหรอก เพราะพระป่านี้ไม่มีความหมายเลย ไม่จริง ต้องอยู่ป่า สู้กูไม่ได้ กูอยู่ในเมือง กูสำเร็จแล้ว”

สังคมคิดกันอย่างนั้นไง คิดว่าทำไมเราต้องออกวิเวก คิดว่าทำไมเราต้องหลีกเร้น.. ก็นี่ไง ย้อนกลับมานี่ไง เราต้องหลีกเร้นเพราะอะไร เพราะเราหลีกเร้น

การหลีกเร้นน่ะนะ ภาวนายากกว่าอยู่กับการคลุกคลี เพราะการคลุกคลีเรา เรานั่งภาวนากัน เราไปปฏิบัติกัน ๔-๕ คน สบายใจ โอ้โฮ.. มีหมู่มีคณะ ไปคนเดียวสิ โอ้โฮ.. เสียว กลัวผี กลัวทุกอย่างเลย การหลีกเร้นไป มันจะเห็นโทษมหาศาลเลย การหลีกเร้นไปยิ่งจะเห็นโทษยิ่งกว่าการคลุกคลี ก็การคลุกคลีในหมู่นี่ภาวนาไม่เป็นหรอก เพราะกิเลสเราชอบอย่างนี้ มันนอนใจไง

คนคิดมุมกลับ ธรรมะนี่กลับกับโลกหมด ทวนกระแสหมด คิดมุมกลับหมดเลย แต่โลกคิดกันไม่ออก ไม่เห็นคุณค่าของมัน แต่พอเราไปอยู่อย่างนี้ปั๊บ เราปรับตัวเรา เราทำได้จนถึงที่สุดแล้ว มันจะอยู่ที่ไหนก็อยู่ได้ อยู่ในที่คลุกคลีก็ได้ ไปอยู่ในที่หลีกเร้นก็ได้ เพราะมันเข้าใจหมด มันรู้หมด แต่เพราะความไม่เข้าใจของเรา เราถึงบอกว่า “ไม่จริง ไอ้พวกเอ็งไม่จริง ไอ้พวกหลีกเร้นไม่จริง ไอ้พวกมาต่อสู้ ไอ้พวกนี้คือพวกไม่เอาไหน สู้กูไม่ได้ กูคลุกคลีอยู่” ไม่รู้ว่านั่นเรื่องกิเลสหมดเลย

แล้วพอมาหาเรานี่เขาบอก พอมาหาเราปั๊บ พอเขาพูดขึ้นมา เราถามคำเดียวเลย

“ปฏิบัติเพื่ออะไร? ปฏิบัติเพื่ออะไร? บวชนี่บวชเพื่อทำไม? ”

ถ้าบวชมาเพื่อความเป็นอยู่ ก็เท่านั้นน่ะ ถ้าบวชมาเพื่อมรรคผลนิพพาน เอ็งผิดหมดเลย

แล้วบอกให้ถูกทำอย่างไร?

นี่ตรงนี้ไง.. พอเขาภาวนาไป เขาจะไปรู้เห็นสิ่งต่างๆ ด้วยความคิด เห็นนิมิต เห็นความปัญญาที่เกิดขึ้นเป็นความคิดหมด ไม่ใช่ตัวจิต แล้วไปเข้าใจตรงนี้ว่าเป็นคุณธรรม ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ทำอะไรเลยนะ ยังไม่ได้ภาวนาอะไรเลย

พอเราอธิบายปั๊บ แกยอมรับว่าผิด แล้วถามเราว่า “จะทำอย่างไรต่อไป? ควรจะทำให้ถูก ทำอย่างไร? ” “พุทโธคำเดียว” กลับไปที่เนื้อส้ม เปลือกส้มจะเป็นความคิดปอกให้ได้

ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ คือการปอกเนื้อส้ม ถ้าพุทโธๆ คือเจาะส้มเข้าไป ถ้าเจาะเข้าไปถึงเนื้อส้ม เนื้อส้มมีสติ สมาธินี่มันจะดีมาก โดยส้ม ไม่มีชีวิต.. แต่โดยจิต มันมีชีวิตนะ “สันตติ ธาตุรู้ พลังงาน” มันมีชีวิต มันสืบต่อ แร่ธาตุต่างๆ สสารของโลกมันแปรสภาพหมด แต่สสารของธาตุรู้ มันเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่มันสืบต่อได้ตลอดเวลา

แล้วเวลามันสงบเข้าไปถึงตัวมันแล้ว สิ่งที่มันมีชีวิต สิ่งที่มันมีความรู้สึก นี่มันกระทบกัน เห็นไหม ระหว่างเนื้อส้มกับเปลือกส้มมันสัมผัสกัน มันถึงออกมาเป็นคำพูดที่เราพูดกันอยู่ นี่คือขันธ์ ๕ นี่คือสามัญสำนึกของมนุษย์

แต่ในสามัญสำนึกของมนุษย์ มันมีส่วนประกอบ ความคิดมีส่วนประกอบไปด้วยอะไร?

เปลือกส้ม คือขันธ์ ๕ “รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ” คือข้อมูล

แต่ข้อมูลนี้ ถ้าไม่มีพลังงาน มันจะสื่อสารออกมา.. เป็นไปไม่ได้ รูป รส กลิ่น เสียง นี่สื่อสารไม่ได้ ถ้าจิตสงบเข้าไปแล้วมันกระทบ ความรู้สึกกระทบ เพราะอะไร เพราะว่าสิ่งที่คิด

“พลังงานกับความคิดไม่ใช่อันเดียวกัน แต่มันอยู่ด้วยกัน” โดยสามัญสำนึก มันจะเป็นสัญชาตญาณ เป็นการดำเนินงาน ธรรมชาติของมันเป็นอย่างนี้

แต่เพราะสติ พอเรามีสมาธิเข้าไป มันจะล้างตรงนี้ออก ไม่ใช่ความคิด.. เป็นสมาธิ.. แล้วดูมันเสวยอารมณ์ คือเราดูกระทบ ดูความคิด

ที่เขาบอกว่า “ดูนามรูปๆ แล้วเกิดดับๆ” .. เฮงซวย! เกิดดับๆ ไฟก็เกิดดับ.. ไฟถนน เวลาแสงมันอ่อนลง ไฟมันจะติดเอง แล้วเอ็งทำความรู้สึกเอ็ง เอ็งใช้พลังงานอันนั้นอันเดียวเหรอ? แต่ถ้าเป็นชีวิต พลังงานมันจะมีมหาศาลเลย พอมันกระทบ

ทีนี้จะย้อนกลับมาที่สมาธิ.. สมาธิสำคัญอย่างไร?

ถ้าไม่มีสมาธินะ มันเป็นสัญชาตญาณ มันเป็นพลังงานของมัน ความคิดออกมาจากใคร? จากอวิชชา จากภพ จากตัวตน ความคิดออกมาจากตัวตน ปัญญาความคิดทั้งหมดมาจากกิเลส มาจากตัวตน มาจากทิฏฐิมานะของเรา ทั้งที่ธรรมะพระพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง เราคิดอีกอย่างหนึ่ง

ทีนี้พอมันออกมามันเป็นโลกียปัญญา.. โลกียปัญญาคืออะไร?

โลกียปัญญา คือความคิดจากตัวตนของเรา ความคิดจากสถานะของเรา

แต่ถ้ามันเป็นสมาธิเข้ามา ตัวตนมันจะสงบตัวลง ตัวตนของเรา ทิฏฐิมานะของเรา สงบตัวลง แต่พลังงานบริสุทธิ์ พลังงานคือตัวสมาธิไง ถ้าตัวนี้มีปั๊บ ตัวนี้มีขึ้นมา ตัวนี้มีจนมีกำลังแข็งแรงขึ้นมา มันสามารถ พลังงานตัวนี้ เสวยกับความคิด จับความคิดได้ พอจับความคิดได้ แยกแยะความคิดได้! แยกแยะความคิดได้!

พอแยกแยะความคิด “การแยกแยะความคิด” แยกแยะเพื่ออะไร?

เพราะสิ่งที่พวกเรา.. ในสามัญสำนึกของพวกเราว่า “เราคือเรา.. ชีวิตคือเรา”.. สังโยชน์ไง

“สักกายทิฏฐิ” ความเห็นผิด จิตใต้สำนึกเห็นผิด ไม่ใช่ความคิดเห็นผิด ความคิดขี้โม้! ความคิดขี้โม้มาก มันว่ามันเห็นถูก อ่านตำรามาเรารู้หมด ไม่อยากพูดเลย เราจะบอกว่า “รู้แบบควายๆ ไง” ไม่รู้หรอกความจริง

จิตใต้สำนึกไม่ยอมรับ.. นี่ปัญญาคนละมิติไง มิติของความคิดกับมิติของจิต

เราถึงบอกว่า “ปัญญาจากจิตไม่ใช่ปัญญาจากสมอง” วิทยาศาสตร์นี่ปัญญาจากสมอง ปัญญาจากสถิติ ปัญญาจากข้อมูล แต่ตัวพลังงานนี่ปัญญาจากจิต นี่มรรคญาณ! มรรคญาณอยู่นี่!

ทีนี้ว่าสิ่งที่บอกว่า นามรูป การเกิดดับ “เกิดดับ” อะไรทำให้เกิดดับ? อะไรทำให้เกิด? อะไรทำให้ดับ?

เห็นแต่เกิดดับๆ.. ก็คนบ้า! มันเกิดดับ อะไรพาเกิดดับ? แล้วมันพาเกิดดับ ตัวมันเองมันจะเห็นสิ่งที่เร้าให้เกิด สิ่งที่เร้าให้ดับ กระทบ แล้วแยกแยะด้วยปัญญา

โยม : ต้องไล่ลงไปอีกทีหนึ่งการเกิดดับ

หลวงพ่อ : ใช่.. อันนี้มันต้องเห็นก่อน

โดยการปฏิบัติ พวกเราจะเอากำปั้นทุบดิน จะเอาสถานะตามความพอใจของเรา แต่ความจริงมันไม่ใช่ เรานั่งกันอยู่นี่ เรามีเงินกันคนละนิดหน่อย แล้วมีคนปล้นออกไป เรารู้ว่าคนนี้ฉกฉวยชิงเงินของเราไป แต่เรายังจับตัวเขาไม่ได้ เราจะเอาเขามาลงโทษได้ไหม

จิต! จิต! เวลาจิตสงบเข้ามา.. “จิตเห็นอาการของจิต” อาการของจิตเป็นผู้ขโมย อาการของจิตเพราะอะไร เพราะมันลากตัวจิตนี้ออกมา เราไม่เคยจับตัวมันได้ เราจะจับตัวมันได้อย่างไร?

การที่เขาบอกว่า “ปัญญาสายตรง การวิปัสสนานั้น” โกหกทั้งหมด! โกหกทั้งหมด! โกหกทั้งหมด! โกหกทั้งหมด! เพราะมันเป็นสามัญสำนึกที่ตัวเองคิดขึ้นมาเอง เพราะตัวเองยังไม่เห็นโจร ไม่เห็นผู้ขโมย

“การขุดคุ้ยหากิเลส” หลวงตาจะพูดบ่อย “การปฏิบัติมันไม่ใช่ว่าปฏิบัติการวิปัสสนาไปโดยธรรมชาติของมัน มันต้องการขุดคุ้ยหากิเลส หาผู้ต้องหาให้ได้ก่อน จับผู้ต้องหาได้ แล้วเอาผู้ต้องหาขึ้นศาล”

“การขึ้นศาล” นั่นเป็นวิปัสสนา แต่นี่มีใครบ้างเห็นผู้ต้องหา จับผู้ต้องหาได้.. ไม่มีเลย! ไม่มีเลย!

ถ้ามี.. ไม่พูดกันอย่างนั้น การเทศน์การสอนอย่างนั้น โกหกทั้งหมด! เหมือนฟังเขาเล่ามา แล้วมาพูดต่อ ไม่เคยทำงานด้วยข้อเท็จจริง ไม่เคยเห็นจริง ถ้าเห็นจริง พูดอย่างนั้นไม่ได้ เพราะหลวงปู่ดูลย์ เวลาหลวงปู่ดูลย์พูด “จิตเห็นจิต! จิตเห็นจิต! จิตเห็นอาการของจิต จิตรู้จิต! จิตรู้จิต! ”

ไม่ใช่ดูจิต บ้า! บ้า!

โยม : หลวงพ่อครับ แล้วผลจากการตกภวังค์นี่มันจะทำให้สดชื่นไหม เวลาออกจากสมาธิ?

หลวงพ่อ : ไม่.. สดชื่นเพราะเราคิด สดชื่นเพราะมันยังใหม่อยู่

อย่างเช่นเรา เราไปเจอสิ่งใด อาหารจานแรกกินแล้วอร่อยมาก อาหารกินซ้ำๆๆ ไปแล้วมันจะเบื่อ เวลาจิตมันลงภวังค์ไป เพราะคนมันไม่เคยเป็น อย่างนี้พูดแล้วเห็นไหม พูดเมื่อกี้ว่า “ภวังค์นี้คือมิจฉาสมาธิ” จะว่าไม่ใช่สมาธิก็ไม่ใช่ แต่ถ้าเป็นสมาธิโดยสัมมาก็ไม่ใช่

ถ้าเป็นสัมมา มันจะมีกำลังของมัน อย่างที่พูด ถ้าเป็นสัมมานะ ส้ม-เปลือกส้ม จากเนื้อส้มกับเปลือกส้มมันคนละรสนะ “เปลือกส้ม.. ขม เนื้อส้ม.. หวาน”

ถ้าเราอยู่ที่เนื้อส้ม เราอยู่ที่เปลือกส้ม รสของความที่สดชื่น ความสุข ความอะไรนี่มันจะต่างกัน ถ้าเข้าไปถึงอันนี้นะ พูดไม่ออกเลย มันไม่มีในโลก ในโลกเขาหากันไม่ได้

แต่เวลามานะ “ว่างๆ ว่างๆ” โกหกหมด!

โยม : อย่างนี้เอาตัวความสดชื่นเป็นตัววัดได้ไหมว่าที่เมื่อกี้ ที่เข้าสมาธิไปมันใช่หรือไม่ใช่

หลวงพ่อ : ได้.. มันพูดอย่างนี้นะ ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บ เวลาเราพูด เราพูดเป็นข้อเท็จจริงเลย

แล้วมีลูกศิษย์มามาก เราจะบอกว่ามิจฉากับสัมมา “มรรคญาณ” มรรคญาณหรือมรรคสามัคคีมันอย่างไร ลูกศิษย์เคยถามว่า “หลวงพ่อว่ามาสิว่าใช้สมาธิน้ำหนักเท่าไร ใช้ปัญญาน้ำหนักเท่าไร” คิดไง นี่จะย้อนกลับมาที่นี่ ปัญหานี้ปัญหาเดียวกัน

ปัญหาเดียวกันว่า “สมาธินี่มันสดชื่นไหม? กำลังสมาธิเป็นอย่างไร? ”

เราพยายามจะไปตั้งเป้านี่ผิดแล้วรู้ไหม ถ้าการตั้งเป้าอย่างนี้เขาเรียก “ตัณหาซ้อนตัณหา”

๑. โดยสามัญสำนึก ทุกคนปรารถนาดี ทุกคนมีความอยากดีอยู่ ความอยากอันนี้เป็นสัญชาตญาณของมนุษย์

ทีนี้เวลาปฏิบัติปั๊บ เราต้องอยากในเหตุ ในความเพียร แต่ถ้าเราไปสร้างกรอบปั๊บ ถ้าทำอย่างนี้เหมือนสร้างกรอบ พอสร้างกรอบปั๊บ จิตใต้สำนึกมันจะสร้างกรอบขึ้นมา แล้วเราปฏิบัติจะได้แค่นั้นๆๆ

ฉะนั้น เราจะพูดอย่างนี้ขึ้นมา คำนี้ขึ้นมา เพราะเราจะบอกว่า เรานั่งอยู่กัน ๕ คน เราต้องทำสมาธิ คำว่าทำสมาธินี่มันเป็นเจโตวิมุตตินะ ต้องจิตสงบก่อน แล้วค่อยออกวิปัสสนา ถ้าเรานั่งกันอยู่ ๕ คน เราจะทำเจโตวิมุตติ เราทำสมาธิกัน ๕ คนนี้จะไม่เหมือนกัน จะไม่เท่ากัน

แล้วการใช้งาน อย่างเช่นเรา อย่างเรา เราคนประหยัด ให้เราวันละ ๑๐๐ บาท เราใช้เหลือเฟือเลย เราใช้ไม่เกินวันละ ๑๐ บาท เราเหลืออยู่ตั้ง ๙๐ บาทน่ะ อย่างโยมก็ใช้มากหน่อย บางคนขึ้นมานี่เป็นที่แบบว่าคนใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ๑๐๐ บาทนี่ออกไปจากบ้านไม่พอแล้ว

เราจะบอกว่าสมาธิ บางคนแค่นี้ก็วิปัสสนาได้แล้ว บางคนต้องใช้มากหน่อยหนึ่ง การใช้สมาธิ มันไม่ใช่ว่าต้องกฎตายตัว มันอยู่ที่ว่าเรา ถ้ามีกำลังอย่างนี้ แล้วเราใช้ปัญญาแล้ว สิ่งนี้มันจะเป็นประโยชน์กับเราไหม? มันคลี่คลายความสงสัยเราไหม? มันคลี่คลายความยึดมั่นถือมั่นของเราไหม?

บางคนจิตมันมีหลัก มีสมาธิ มีความหนักแน่นมาก แต่พอไปคลี่คลายแล้ว มันก็ไม่ยอมเชื่อ เพราะกิเลสของคนไม่เท่ากัน การทำงานเหมือนกัน แต่กำลังหรือปัญญาของคนต่างกันหมด ผลที่ตอบมานะ ถึงที่สุดแล้วอันเดียวกัน แต่ผลที่ตอบมา คำว่าที่ตอบมา เพราะกิเลสหนา-หยาบต่างกัน พอกิเลสหนา-หยาบต่างกัน คนที่กิเลสหนาก็ต้องใช้ความใคร่ครวญที่มากกว่า ใช้กำลังที่มากกว่า คนที่กิเลสบาง ใช้กำลังที่น้อยกว่า ใช้ปัญญาที่ใคร่ครวญที่กว้างกว่า

แล้วหนากับบางนี่มาจากไหน? .. พันธุกรรมทางจิต

พันธุกรรมทางจิต คือการเกิดและการตาย

การเกิดและการตาย คือการคัดพันธุ์

เกิดตายชาติหนึ่ง ทำคุณงามความดีมากน้อยขนาดไหน คนได้สะสมบุญมาขนาดไหน สิ่งที่มาที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ เกิดเดี๋ยวนี้ มาจากการกระทำทั้งหมด มาจากแรงขับของพันธุกรรมที่เราสร้างกันมา นี่พันธุกรรมแต่ละดวงจิต มันไม่เท่ากันหรอก

ทีนี้การประพฤติปฏิบัติจะให้มันเหมือนกันหรือว่าลงรอยเดียวกัน.. ไม่มี! ไม่มี!

“พระอรหันต์ล้านองค์ ก็ล้านวิธีการ”

พูดอย่างนี้มาเพื่อจะลบล้างข้อมูลที่เราตั้งเป้า เพราะการตั้งเป้าปั๊บ เราถึงว่า “เราจะตั้งเป้าไม่ได้” เราจะตั้งเป้าว่า “เราต้องการความสงบ เราต้องการสมาธิ” แล้วเราทำของเราไป แค่ไหนแค่นั้น เหตุตรงนี้สำคัญมาก “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” มันเลยการตั้งสติ มันเลยการทำความเพียรของเรา การตั้งสติ การมีปัญญา การอบรมของเรา แล้วผลมันไม่เท่ากันหรอก บางวันลงง่าย บางวันลงยาก

โยม : ผมถามเพื่อแบบเป็นการประเมินนะครับว่า สมมุติว่าเวลาเรานั่ง แล้วมันจะมารู้ตัวตอนออก

หลวงพ่อ : ไม่ได้

โยม : แล้วเราถึงจะรู้ว่า.. เอ๊ะ.. เมื่อกี้ตกลงมันถูกหรือมันผิด

หลวงพ่อ : ไม่ ผิดมาก่อน ทุกคนผิดมาก่อน

สมาธิไม่ใช่รู้ตัวตนเข้าหรือตัวตนออก สมาธิจะรู้ตัวตลอดเวลา

พุทโธๆๆ มันสงบพอสมควร แล้วเราทำไม่ได้ แต่ทางนี้เราฝึกบ่อยครั้งเข้าๆ ถ้ามันละเอียดเข้าไป คราวนี้มันจะผิดพลาดบ้าง คำว่าผิดพลาดคือทำแล้วไม่ได้สมาธิ พอไม่ได้สมาธิขึ้นมา มันจะละเอียดเข้าไปเป็นอุปจารสมาธิ คำว่าเป็นอุปจารสมาธิมันจะรู้

จะบอกว่านะ จะบอก.. นี่เราพูดโดยผู้ชำนาญ แต่ผู้ปฏิบัตินี่ยากมาก

เพราะคำว่ายากมาก.. เหมือนกับทำงาน เราปฏิบัติใหม่ๆ แล้วเวลาหลวงตาท่านพูดอะไร เราพยายามจะใช้ความคิด คือเราจะพัฒนาตัวเอง เราไม่ใช่วัดรอยเท้านะ แต่อยากพัฒนาตัวเองว่า “ครูบาอาจารย์ท่านมีความมุ่งหมาย การพูดกับท่านมีประโยชน์อะไร” แล้วเราใช้ปัญญา เราใคร่ครวญตามไปไม่รู้ ไม่ทันหรอก ยังไงก็ไม่ได้ เพราะเรารู้ได้ในระดับหนึ่ง

ฉะนั้นคำพูด.. อย่างเช่นเราทำงาน ตั้งแต่เริ่มกระบวนการของเริ่มต้นการทำงานจนถึงที่สุด ผลสรุปของงาน จบเลยไง เราทำได้ทุกขั้นตอน พอหยิบเครื่องมืออะไรขึ้นมาเราจะรู้หมดเลยว่าควรใช้อะไร ควรทำอะไรอย่างไร เพราะเราทำชำนาญแล้ว

แต่ถ้าเรายังไม่ชำนาญเวลา เราฝึกงาน หยิบอะไรขึ้นมานี่ “อื้ม? อื้ม? ” ยังงงๆ อยู่

นี่ไง ไอ้อย่างนี้มันถึงบอกว่าเวลาเข้าไปที่ว่า “เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ”

ถ้าชำนาญแล้วนะ ต้องชำนาญ ที่พูดนี้เพราะชำนาญ ถ้าพอคนที่ไม่ชำนาญจะพูดอย่างนี้ไม่ได้

“ขณิกสมาธิ” เวลามันสงบเข้ามา ต้องมีสติ มีผู้รู้ตลอดเวลา ถ้าผู้รู้ขาดปั๊บ มันขาดช่วง ถ้าขาดช่วง เวลาเริ่มต้น เหมือนกับวิ่ง ๑๐๐ เมตร พอเราออกจากจุดสตาร์ทไป ถ้ามันมีความผิดพลาดปั๊บ กรรมการ “ต้องเริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นใหม่! เริ่มต้นใหม่! เริ่มต้นใหม่! เริ่มต้นใหม่! ”

ฉะนั้น ขณะที่เราวิ่ง ๑๐๐ เมตรไป เราจะออกนอกเส้นทางเราไม่ได้ เราข้ามเลนไม่ได้ ทุกอย่างไม่ได้หมด ผิดกติกาหมด

ทีนี้พอตั้งกำหนดพุทโธๆๆๆ แล้วมันเป็นขณิกสมาธิ มันจะอยู่ในช่องทางของเราตลอดเวลา จะรู้ตัวตลอดเวลา จะว่าจะขาดจะหายอะไรนะ “ต้องเริ่มต้นใหม่.. เริ่มต้นใหม่”

ฉะนั้นเวลาขณะอัปปนาสมาธิรวมใหญ่เลย “โอ้โฮ.. พุทโธๆๆๆ” มันเข้ามาๆ พุทโธๆๆๆ จนพุทโธไม่ได้ มีพระมาหาองค์หนึ่ง เขาปฏิบัติของเขา ในหมู่ของเขาบอกว่า “ต้องพุทโธหาย” โดยข้อเท็จจริง พุทโธนี่นะ คือความคิด ตัวพลังงาน คือตัวจิต

พุทโธๆ คือความคิด เพราะความคิดเราธรรมชาติ สัญชาตญาณของเราเวลาคิด ความคิดนี่เร็วกว่าแสง เราคิดถึงอเมริกาเดี๋ยวนี้ คิดถึงโพธารามเดี๋ยวนี้ คิดถึงโรงพยาบาลเดี๋ยวนี้.. ไปแล้ว

นั่งอยู่นี่ คิดปั๊บ! ภาพเกิดเต็มไปหมดเลย

“พุทโธๆ” ความคิดนี่มันก็คิดโดยธรรมชาติของมัน “พุทโธๆๆๆ” พุทโธนี่ก็คือความคิด “พุทโธๆๆ” ความคิดพร้อมกับคำพุทโธ พุทโธมีสติ “พุทธานุสสติ” มันก็ละเอียดเข้ามาเรื่อยๆ เป็นชั้นเข้ามา จนถึงพุทโธกับจิตนี้เป็นอันเดียวกัน นั้นคือตัวสมาธิ

พูดไม่ได้ พูดพุทโธไม่ได้ นึกพุทโธไม่ออก ถ้ายังนึกพุทโธได้อยู่ “มีผู้รู้.. สิ่งที่ถูกรู้” มีผู้รู้ คือธรรมชาติ คือพลังงานกับความคิด.. เป็น ๒ เห็นไหม

“ส้ม-เปลือกส้ม” จนส้ม-เปลือกส้มเป็นอันเดียวกัน อันเดียวกันแล้วไม่มีช่องว่าง ไม่มีช่องไฟ ไม่ให้เราไปคิดเรื่องอื่นเลย ไม่มีเลย ละเอียดเข้ามาตลอดเวลา

ฉะนั้นถึงว่า “ที่หายไปๆ” นี่ไม่มี! ไม่มี!

เพียงแต่ว่าที่ทำนี่มันหายบ้างอะไรบ้าง ก็ธรรมดาเราฝึกงาน เราก็มีความผิดพลาดเป็นธรรมดา แต่ถ้าชำนาญแล้วนะ.. (หัวเราะ) เรานี่ชำนาญ หลายช่องทาง ทำมาทุกช่องทาง แนวทางไหนมาเถอะ

โยม : หลวงพ่อ.. แล้วอย่างเวลาคิด จิตเป็นตัวคิดขึ้นมา..

หลวงพ่อ : อ้าว.. ว่าไป

โยม : เออ.. มันสามารถมีหลายๆ ความคิดขึ้นมาพร้อมๆ กันได้ไหมครับ หรือว่ามันเป็น ๑, ๒, ๓, ๔ แล้วก็เร็วมาก

หลวงพ่อ : ใช่ๆๆ

โดยอภิธรรมเลย โดยข้อเท็จจริงของศาสนาเลย โดยข้อเท็จจริงของพระพุทธเจ้าเลย “จิตนี้คิดได้หนึ่งเดียว” เราหยิบได้ชิ้นเดียว ของเราได้อยู่ชิ้นเดียว จิตคิดได้หนึ่งเดียว

ทีนี้เพียงแต่พวกเรามันประสาเรานะ เรรวนกันมาก จิตอ่อนแอมาก มันเลยมีช่องว่าง “เราจับนี่ด้วย จับไอ้นี่ด้วย จับไปหมดเลย” คือมันคิดหลายๆ เรื่องได้ แต่โดยถ้าเราพุทโธกันชัดๆ มันจะคิดอะไรไม่ได้

“หนึ่งเดียว! จิตนี้คิดได้หนึ่งเดียว”

เราถึงกล้าพูดมาก เวลาเรานั่งไป มันจะเกิดความเจ็บปวดมาก พอเกิดความเจ็บปวดมาก ถ้าคนมีสติปั๊บนะ มีสมาธิ ความเจ็บปวดนั้นคือสติปัฏฐาน ๔ นะ “กาย เวทนา จิต ธรรม”

ถ้าจิตมีหลักเกณฑ์ปั๊บ มันจะมีปัญญา มันจะไล่เวทนาเลย “เวทนาคืออะไร? กระดูกเป็นเวทนาเหรอ? เส้นเอ็นเป็นเวทนา? เนื้อเป็นเวทนาได้ไหม? สสารเป็นความเจ็บปวดได้หรือเปล่า? ธาตุมีความเจ็บปวดตรงไหน? ”

ไม่มีหรอก! จิตนี้ไปยึดมัน แล้วพอถ้าปัญญาทันแล้ว นี่ถ้าปัญญามันทันปั๊บมันปล่อย.. ปล่อย.. “ความคิดกับจิต” ถ้ามันปล่อยความคิด มันก็กลับมาที่ตัวมัน.. ว่างหมด! นี่วิปัสสนานะ

แต่ถ้าคนไม่มีพื้นฐาน เวลามันปวด เราบอก “อะไรปวด? ” โห.. มันยิ่งปวด ๒ เท่า ๓ เท่าเลย มันไม่ทัน เพราะอะไร นี่ขาดสมาธิ พอขาดสมาธิ วิธีจะฝึก ฝึกก็ “พุทโธๆๆๆๆ” พุทโธให้ออกมาจากใจ อย่าออกจากปาก ทีนี้พุทโธออกจากปากปั๊บ พุทโธก็ปวด! พุทโธก็ปวด! ไม่ไหว พุทโธก็ปวด! แต่ถ้า “พุทโธๆๆๆๆ” จนมันเป็นหนึ่ง จนพุทโธกับใจเป็นอันเดียวกัน

ในเมื่อใจมันเป็นพุทโธ มันอยู่กับพุทโธ มันจะรับรู้อันที่สองได้ไหม?

มันทำได้ ๒ วิธีการไง วิธีการ ๑. นี่เขาเรียกว่านักหลบ คือเอากำลัง ดึงความรู้สึกทั้งหมดที่มันออกไปรับรู้ปวดกลับมาที่ตัวมัน ถ้ากลับมาที่นี่ปั๊บ.. นี่ไง “จิตหนึ่งได้หนึ่งเดียว”

ถ้ากลับมาที่พุทโธปั๊บ ความเจ็บนี่หายไป.. “หนึ่งเดียว” แน่นอนเลย แต่ถ้าพุทโธๆๆ อยู่ ทำไมมันยังปวดอยู่ล่ะ? “สอง.. สอง.. สอง.. สอง.. ” เดี๋ยวจะสาม สี่ ห้าไปเลย

นี่เหมือนกัน เพราะอะไร เพราะมันมีช่อง เร็วมาก มันเร็วมาก แต่ธรรมชาติของมันหนึ่งเดียว คิดสองไม่ได้ แต่พวกเราทำไม่ถึงจุดของมันไง เลยคิดสอง คิดสามไง

โดยข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้ แต่โดยพื้นฐานพวกเราทำไม่ได้อย่างนั้น เราก็เลยไม่ฝังใจไง นี่ธรรมะ ถ้าไม่เป็นสันทิฏฐิโก ไม่เกิดจากใจเรา ฟังแล้วมันผ่านหูไปเฉยๆ

แต่ถ้าคนเป็นนะ พูดคำเดียวมันสะเทือนหมดเลย ของจริงๆ อ้าปากรู้เลย ไอ้นี่จริงไม่จริง เพียงแต่ว่ามันจะพูดไม่พูดไง พอพูดออกไป.. ทางโลกเนาะ.. มันไปทำลายเครดิตเขา

โดยธรรมชาติ “หนึ่งเดียว” แต่โดยสามัญสำนึกพวกเรา “ทำไม่ได้” นี่พวกเราถึงโลเลไง เรรวนไง เพราะความเพียรเราไม่กล้า ความเพียรเราไม่กล้า

“มนุษย์เราจะล่วงพ้นจากทุกข์ด้วยความเพียร”

ทีนี้ความเพียรโดยการฝึกฝน โดยการจดจ่อจนความชำนาญของมัน มันจะเป็นหนึ่งเดียวได้ แล้วพอหนึ่งเดียวเราจะรู้เลยว่า “อ๋อ! จิตเป็นอย่างนี้ หนึ่งเดียวเป็นอย่างนี้ สมาธิเป็นอย่างนี้ ทุกอย่างเป็นอย่างนี้” ถึงมองออกไปเลยว่า “โอ้โฮ.. พวกนั่นผิดหมดเลย”

แต่โดยข้อเท็จจริง เดี๋ยวนี้ไอ้พวกอย่างนี้มันน้อย ไอ้พวกขี้โม้เลยเยอะไง

แล้วบอก “ทางลัดๆ” ใครมาทำ “โอ้โฮ.. สะดวกสบาย โอ้โฮ.. ดีมากเลย..” ลัดลงนรก โดยข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้ ทีนี้คนพูดอย่างอื่นนะ ใครจะพูดอย่างไร คือสังคมเขา เรื่องของเขา เราไม่เคยสนเลย ถ้ามาหาเรา เราแก้อย่างนี้ ถ้าเราแก้แล้วฟังก็ฟัง ไม่ฟังก็กรรมของสัตว์ ในเมื่อสัตว์มันมีกรรมก็ต้องเรื่องของมัน เราช่วยอะไรไม่ได้

โยม : หลวงพ่อ.. แล้วสัมปชัญญะนี่คือตัวปัญญาหรือเปล่าครับ

หลวงพ่อ : ไม่.. สติสัมปชัญญะ ไม่ใช่.. ตัวสติไง ตัวสติสัมปชัญญะ คือการรอบรู้ คือการรอบรู้ในสติ

โยม : ปัญญาอีกตัวหนึ่ง..

หลวงพ่อ : ปัญญาอีกตัวหนึ่ง..

“สติสัมปชัญญะ” เขาใช้คู่กันไง “สติ-สัมปชัญญะ”

สติ คือสติ สัมปชัญญะ คือความชำนาญของมัน คือบริวารของมัน

“สติ-สัมปชัญญะ” สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม สติ คือตัวมันอยู่ สัมปชัญญะ คือรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติด้วย มีสัมปชัญญะด้วย.. ปัญญาอีกตัวหนึ่ง

โยม : แล้วสตินี่ถือเป็นอารมณ์ของจิตหรือเปล่า?

หลวงพ่อ : (หัวเราะ) นี่อภิธรรมแล้ว

มันพูดอย่างนี้ พูดทางวิชาการ “เป็นอารมณ์ของจิตหรือเปล่า? ” เป็นอารมณ์ของจิต มันเป็นทั้งหมดล่ะ เราบอกเลย เราบอกว่า “สติไม่ใช่จิต”

ถ้าสติเป็นจิตนะ พวกเราจะมีสติตลอดเวลา เราจะไม่เผลออะไรเลย เพราะเรามีจิตอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราตาย ถึงไม่มีจิต เราจะนอนหลับก็มีจิต ถ้ามันมีอยู่.. ถ้าสติเป็นจิต อันเดียวกัน มันก็ต้องรู้ตัวตลอดเวลาสิ ทำไมเราเผลอล่ะ

ทีนี้ “สติเกิดจากจิต.. ไม่ใช่จิต.. เกิดจากจิต” เรานึกพุทโธ ตั้งใจนึกพุทโธ ความตั้งใจนั้นคือสติ นึกพุทโธออกมา แล้วพุทโธๆ ทำไมมันเริ่มจางลงล่ะ? เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราฝึกกันน้อย

“สติเกิดจากการฝึกฝน”

หลวงปู่มั่นถึงสอนว่า “การเหยียดคู้ตลอดเวลาต้องมีสติตลอดเวลา” เราก็บอกว่า “เหมือนกัน อภิธรรมก็สอนว่าการเหยียดคู้ต้องเหมือนกัน”.. ไม่เหมือน!

ไม่เหมือน! ไม่เหมือน! ไม่เหมือน! เพราะหลวงปู่มั่นบอกว่า “ให้ฝึกสติ”

เราฝึกสติ! เราฝึกสติ! การเหยียดคู้ให้มีสติ! แต่การเหยียดคู้ของเขา เขาก็บอก “เขานี่เป็นวิปัสสนา” วิปัสสนาสายตรงที่ใช้ปัญญาไง “โอ้.. รู้หนอ.. รู้หนอ..” ก็สร้างอารมณ์ไปอีกอารมณ์หนึ่ง จะเหมือนตรงไหน? ไม่เหมือนตรงที่เป้าหมายผิดหมดทุกคู่ เป้าหมายไม่เหมือนกัน

เป้าหมายเรา “ฝึกสติ” เป้าหมายเราไม่ใช่วิปัสสนา เป้าหมายเรา เรายังไม่ได้ผู้ต้องหาขึ้นมา เราจะเอาขึ้นศาลไม่ได้ พอขึ้นไปเราก็บ้าสิ ไม่มีผู้ต้องหาแล้วจะไปเสนอศาล ศาลก็ถีบตกศาลน่ะสิ

แต่เขาบอกว่า “เขาได้.. เขาวิปัสสนาสายตรง” “ใช้ปัญญาหนอ.. รู้หนอ.. หนอ..” มึงบ้าหรือเปล่า? เพราะมันผิดกันตรงนี้ไง

เราถึงบอกว่า “การฝึกสติ” สติไม่ใช่จิต แต่เกิดจากจิต ฝึกฝนไปบ่อยๆ

พระอรหันต์ สติกับจิตเป็นอันเดียวกัน พระอรหันต์นะ เพราะอะไร

สมมุติว่านี่คือภพของธรรมชาติ นี่คือพระอรหันต์ เวลามันขยับตัว มันต้องรู้สึกตัวไหม? มันถึงเป็นอัตโนมัติไง จิตของพระอรหันต์เป็นอัตโนมัติ สติเป็นอัตโนมัติหมด

แต่ถ้าปุถุชนนะ ต้องฝึก! ต้องฝึก! ต้องฝึก!

ฉะนั้น “ถ้าเป็นอารมณ์ของจิตไหม?”.. มันก็เป็นหมดล่ะ แต่อารมณ์มันหยาบเกินไป ไม่ใช่สติ อารมณ์คือความคิดนะ จะเป็นอารมณ์ได้ต้องประกอบไปด้วย

“รูป” คือความรู้สึกรูปนั้น ต้องมี “เวทนา” รับรู้ว่าดีหรือชั่ว ต้องมีข้อมูล “สัญญา” ว่าอารมณ์นั้นคือคิดว่าอะไร ต้องมี “สังขาร” ปรุงแต่งว่าอารมณ์ถึงจะต่อเนื่องได้ ต้องมี “วิญญาณ” รับรู้ รวมกันแล้วมันถึงเป็นอารมณ์

แต่พวกเรามันภาวนาไม่เป็น ไม่รู้ แยกไม่เป็นหรอก เห็นว่าส้ม-เปลือกส้มไม่รู้เรื่องหรอก มาก็กินแต่เปลือกส้ม กินไปเถอะ ขมๆ กินไป กูไม่เกี่ยว (หัวเราะ)

โยม : หลวงพ่อ.. แล้วสติเกิดจากจิตแล้ว..

หลวงพ่อ : ใช่..

โยม : พุทโธก็เกิดจากจิต

หลวงพ่อ : ใช่!

โยม : แล้วมันก็มี ๒ อย่าง พร้อมๆ กัน

หลวงพ่อ : ใช่! ใช่หมด เพราะอะไร

ก็อย่างที่พูดเมื่อกี้.. พูดว่า “โดยความคิดกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน” เขาเรียกว่านะ การปฏิบัติเขาเรียกว่า “จิตแก้จิต” คำว่า “จิตแก้จิต” คือต้องเอาตัวมันแก้ตัวมันเอง

“หนามยอก เอาหนามบ่ง” เวลาเราเหยียบหนามมา เราจะเอาอะไรบ่งหนามออก ก็เอาสิ่งที่เป็นกิเลสคมแหลมบ่งมันออกใช่ไหม ความคิดมันให้โทษกับเรา อวิชชาคือตัวตัณหาความทะยานอยาก มันหาเหยื่อที่ไหน? ก็ความคิดเรานี่ไง

เอ็งอยากได้ อยากดี อยากทุกอย่าง อะไร? ก็ความคิดทั้งนั้นน่ะ! แล้วตัณหามันยุแหย่ เราก็ไปหามาป้อนเหยื่อมัน เราก็ต้องเอามันให้สงบให้ได้ ก็ความคิด นี่ไง เราถึงบอกว่า “เป็นสองๆ” ใช่! เป็นสอง ก็เป็นสอง กูจะรวมให้เป็นหนึ่งไง เพราะธรรมชาติเป็นสอง

โยม : ให้มันมีสติ แล้วก็มีพุทโธ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : ขณะพุทโธๆ มันจะมีความคิดพยายามจะแทรกเบียดขึ้นมาอีก

หลวงพ่อ : ใช่.. ว่าไป.. อ้าว.. ว่าไปสิ ว่าไปก่อน ให้จบโจทย์นี้ก่อน เดี๋ยวจะตอบ

โยม : แล้วมันจะทำอย่างไร มันเหมือนกับว่ามันก็มีคลื่นรบกวน พยายามเบียด เหมือนเปิดวิทยุ มันไม่...

หลวงพ่อ : ใช่..

โยม : พยายามเปิดแล้ว..

หลวงพ่อ : ใช่.. เราจะพูดอย่างนี้ไง เวลาปฏิบัติกัน หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์เราเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ เวลาสอนนะ ถึง “จิตแก้จิต” คือเอาตัวเราแก้ตัวเรา

แต่ด้วยความเข้าใจของเรา พวกอภิธรรมเขาบอกว่า “การปฏิบัติแบบพระป่านี่ผิด” ผิดเพราะอะไร ผิดเพราะมีตัวอยาก มีความอยาก มีความอยาก มันเลยผิด ต้องไม่มีความอยาก ต้องทำโดยเป็นธรรมะ แล้วมันจะเอามาจากไหน? ก็เราเกิดมาโดยอวิชชา

เราถึงบอกว่า “ตรงนี้ เป้าหมายเขาเริ่มต้นกันผิด”

ทางวิชาการในศาสนาพุทธนี่นะ ทางวิชาการเขาตีคำสอนพระพุทธเจ้าผิดๆ ผิดตรงนี้เยอะมาก พวกเขาตีผิดเพราะอะไร เพราะเราจินตนาการว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ สะอาดบริสุทธิ์ ปัญญาในศาสนาพุทธต้องเป็นปัญญาที่โลกุตตรปัญญา ปัญญาเหนือโลก

แล้วเราก็คิดกันเองว่านี่คือปัญญา.. ไม่ใช่! ของมึงสัญญา มึงจำมา เอ็งจำธรรมะพระพุทธเจ้ามา เราจำสูตรทฤษฎีมาทั้งหมด เราท่องได้หมด แล้วเอ็งทำได้เป็นหรือเปล่า? .. ไม่เป็น

ทีนี้พอเขาพูดอย่างนี้ปั๊บ เราถึงว่าถ้าพูดถึงมีครูบาอาจารย์ที่รู้จริง ตรงนี้ถึงบอกว่าเวลาเราเทศน์บ่อย เวลาเราเทศน์ เราบอกว่า “เริ่มต้นกับการประพฤติปฏิบัติ เราอย่าไปคิดว่าเราต้องสะอาดบริสุทธิ์.. มันไม่มี เพราะเราเกิดมาจากอวิชชา” คือเราเกิดมาจากเชื้อโรค

เอ็งอย่าปฏิเสธเชื้อโรคในตัวเราว่าไม่มีเชื้อโรค.. เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้หรอก แต่เราต้องควบคุมเชื้อโรคของเรา เอาตัวเชื้อโรคนั้น เอาไปทำวัคซีน แล้วเอาไปทำยา แล้วกลับมาทำลายมัน.. นี่คือการปฏิบัติ

เราจะบอกทุกคนเลย บอกว่า “เรานี่เกิดจากสมมุติ” เกิดจากสมมุติ แล้วเราบอกว่า “สมมุตินี้เป็นสมมุติ เราปฏิเสธมัน.. ไม่ได้” เอ็งปฏิเสธสมมุติ “หินทับหญ้าไว้” เป็นไปไม่ได้ เอ็งต้องเข้าไปหาที่ตัวสมมุตินั้น แล้วเอาตัวสมมุตินั้นให้มันเป็นมรรค แล้วเอาตัวสมมุติ พอเป็นมรรคแล้ว เอาความเป็นมรรคญาณนั้นไปทำลายตัวสมมุติมันอีกทีหนึ่ง

ฉะนั้นถึงพูดเมื่อกี้นี้บอกว่า “มันเป็นอวิชชา มันเป็นหนึ่ง เป็นสอง” มันเป็นอย่างนี้ล่ะ ของมันมีอยู่! ของมันมีอยู่แล้วมึงปฏิเสธมันไม่ได้หรอก

นี่มากัน ๔ คน บอกมากัน ๓ คนก็ไม่ได้ ก็ต้อง ๔ คนวันยังค่ำ

ในเมื่ออวิชชามันมากับเรา เราเกิดมาจากอวิชชา แต่เราจะเปลี่ยนมันเป็นวิชชาไง เราจะเปลี่ยนอวิชชาเป็นวิชชา เปลี่ยนจากโลกเป็นธรรม แล้วพอถึงที่สุดแล้วนะ ข้ามพ้นทั้งดีและชั่ว แม้แต่ธรรมะกูก็ไม่เอา ธรรมะกูถึงทุบทิ้งเลย ถ้ากูไม่ทุบธรรมะทิ้งนะ กูก็ติดธรรมะน่ะสิ

(หัวเราะ) ทำไปแล้ว โอ้โฮ.. เวลาปฏิบัติไป สนุกมากนะ เวลาถ้าภาวนาเป็น มันจะความคิดดีและชั่วมันจะสู้กัน ไอ้เกมส์เด็กเล่นสู้กูไม่ได้ กูมันส์กว่าเยอะเลย สนุกมาก ถ้าภาวนาเป็นนะ โอ้โฮ.. วันทั้งวัน เวลาน้อยมาก พั้บๆ วัน พั้บๆ วัน

แต่มันจะเริ่มต้นจากอย่างนี้ เราถึงเถียงพวกอภิธรรมว่าอภิธรรมบอกว่า “ต้องไม่มีความอยากอะไรหรอก” มึงจับกูฆ่าตาย กูก็มีความอยาก เพราะกูเกิดมาจากจิตใต้สำนึก มึงจะฆ่ากูได้อย่างไร

ความอยากโดยตัณหาทะยานอยาก คืออยากสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

ความอยากสิ่งที่เป็นไปได้ เขาเรียกว่า “มรรคญาณ.. ความอยากดี”

เด็กมันอยากดี อยากทำคุณงามความดี ความอยากทำคุณงามความดีมันผิดตรงไหน? แต่ถ้าอยากสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อยากแต่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อยากสิ่งที่เป็นตัณหาความทะยานอยาก อยากอันนั้นถึงเป็นโทษ

ทีนี้พอธรรมะมันมีความอยาก ถึงเรียกว่า “กามฉันท์” กามฉันท์ คือความพอใจ คือฉันพอใจทำ.. กามฉันท์.. อยากอย่างนี้เป็นมรรค โอ้.. ทางวิชาการตีศัพท์พระพุทธเจ้าผิดหมด คำเดียวกันแต่ตีความหมายต่างกัน

เราถึงบอกว่า “ธรรมะนี้ถูกหมดเลย แต่คนไปอ่านผิดหมดเลย” เพราะอ่านจากมุมมองของเรา แต่พอปฏิบัติถึงที่สุดปั๊บนะ “ถูกหมดเลย! ถูกหมดเลย! ไม่มีอะไรผิดเลย! ” แต่ไอ้โง่เสือกไปอ่านน่ะ.. ไอ้โง่มันผิด! แต่ถ้าฉลาดมันอ่านนะ “โอ้โฮ.. พระพุทธเจ้าพูดนี่สุดยอดเลยๆ”

ทีนี้เวลาปฏิบัติมันต้องมีเทคนิคไง เวลาใครมาเราจะบอกเลย “นี่กระดาษเปื้อนหมึกนะ ถ้ามึงอยากรู้ดีมากกว่านี้ ปลวกมันแดกได้ทั้งเล่มเลย ปลวกมันยังไม่รู้อะไรเลย มึงอยากดี เอาไปต้มกินเลย แล้วมึงได้อะไร? ” มันเป็นกระดาษเปื้อนหมึก แต่เพราะเราไปอ่าน เราไปวิจัยมัน เราปฏิบัติขึ้นมา ความรู้เกิดจากที่นี่ มันไม่ใช่ความรู้เกิดจากหนังสือนั่นหรอก

“ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ”

“ปริยัติ ปฏิเวธ”.. ไม่มี

ก๊อปปี้ไม่มี วิทยานิพนธ์ซ้อนไม่ได้ พระอรหันต์ร้อยองค์ก็ร้อยอย่าง ล้านองค์ก็ล้านอย่าง พระอรหันต์ไม่มีซ้อนกันเลย ซ้อน.. ผิด! นี่เช็คได้ เช็คได้หมด

โยม : หลวงพ่อ.. แล้วเวลาถอดจิต

หลวงพ่อ : อ้าว.. ว่าไป

โยม : ออกจากร่าง

หลวงพ่อ : (หัวเราะ) อ้าว.. ว่าไป

โยม : ทำไมมันไม่ตายครับ?

หลวงพ่อ : ว่าไปสิ..

โยม : ก็ปกติมีร่างกายแล้วก็มีจิตมันถึงเป็นคน

หลวงพ่อ : ว่าไป.. ว่าไป..

โยม : แล้วพอนั่งสมาธิมันก็ถอดจิตไปสวรรค์อย่างนี้ ก็จิตกับร่างแยกออกจากกันแล้วทำไม

หลวงพ่อ : ไม่ตาย

โยม : ร่างยังฟังก์ชันอยู่

หลวงพ่อ : ไม่ตาย ไม่ตาย

โยม : แล้วตัวอะไร เป็นตัวคุมให้มันหายใจ ให้มันทำงานอยู่ตลอดเวลา

หลวงพ่อ : เวลาเข้าสมาบัติ นี่ไม่ใช่พระอริยบุคคลอะไรเลยนะ ปุถุชนนี่ล่ะเข้าสมาบัติ เวลาเข้าสมาบัติปั๊บ ๗ วัน ๗ คืน ทำไมเขาบอกว่า “ทำไมไม่ลุกขึ้นขี้ ไม่ปวดท้องขี้ปวดท้องเยี่ยวบ้างเลยเหรอ? ”

อันนี้เข้าสมาบัติปั๊บ “อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ”

พอเข้าสมาบัติปั๊บ กำหนดว่าจะกี่วันออก.. พอกี่วันออก ร่างกายมันจะหยุดหมด

เวลากำหนดพุทโธๆ อย่างที่พูดเมื่อกี้ที่ว่า “เป็นสมาธิๆ” เวลาพุทโธมันหาย พุทโธมันขาด ลมหายใจไม่มี.. ตกใจไหม? อัปปนาสมาธินี่ดับหมด สมาธิดับหมดแต่รู้อยู่นะ “อัปปนาสมาธิ” แล้วมันหายใจทางไหน? โดยธรรมชาติของมันหายใจ มันหายใจโดยธรรมชาติ แต่จิตเราไม่รับรู้

เวลาจิตสงบ นี่จิตสงบเฉยๆ นี่ฌานสมาบัตินะ ไม่เกี่ยวกับอริยมรรคเลย ทีนี้พอเกี่ยวกับอริยมรรค.. กาฬเทวิล การไปสวรรค์ คือการไปพรหม ไปทั้งร่างกายนี้ก็ได้ นั่งอยู่นี่ ถอดจิตไปก็ได้ มันไปได้ ๒ อย่าง

ทีนี้ถอดจิตไป ทำไมถึงไม่ตาย? ไม่ตาย.. ความสัมพันธ์มันมีอยู่ กระแสมันมี อย่างเรานี่ออกจากร่างไป มันมีเวลาเราปฏิบัติ นั่งอยู่นี่เห็นวิญญาณเรานี่ออกไป แล้วมองกลับมาเห็นร่างกายเรา

คิดไปถึงบ้าน.. ถ้าโยมคิดถึงบ้านเดี๋ยวนี้ โยมตายแล้ว เพราะจิตมันออกไปที่บ้าน (หัวเราะ)

ไม่ตาย.. เพราะพวกโยมเสียเปรียบอย่างหนึ่ง เพราะพวกโยมเป็นหมอ จิตเกาะเกี่ยวหัวใจ มันผูกมัดกับวิทยาศาสตร์ ฉะนั้นพอคิดอะไรก็คิดทางวิทยาศาสตร์.. (หัวเราะ)

เราดูถูกวิทยาศาสตร์มากนะ วิทยาศาสตร์พ้นกิเลสไม่ได้ ค่าความไม่แน่นอนมันมีอยู่

โยม : ก็ไหนว่าจิตกับร่างกาย ถ้ารวมกันก็มีชีวิต พอแยกกันก็..

หลวงพ่อ : ไม่ใช่อย่างนั้นหมด.. แยกกันนี่จิตออกจากร่าง เวลาจะตาย จิตจะหดตัวเข้ามา คนจะตายนะ มันจะหด หดเข้ามา ถึงที่นู่นแล้วออก เวลาเราใช้งานมาก ร่างกาย ประสาทมันจะเริ่มไม่รับรู้เข้ามาก่อน ความรู้สึกเหมือนเราออกไปทั้งตัว มันจะหดเข้ามา (หัวเราะ)

โยม : อย่างนี้มันคล้ายๆ กับว่า..

หลวงพ่อ : ไหน..

โยม : จิตออกไปแล้ว แต่ว่าเหมือนมีสาย..

หลวงพ่อ : ไม่ๆๆ ไม่เป็นถึงขนาดนั้น ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บนะ ถ้าคนไม่เป็นจะตอบอย่างนั้น แล้วตอบอย่างนั้นปั๊บ ก็ยังต้องพิสูจน์กัน เวลาออกมา เอากล้องส่องไว้สายอยู่ไหน (หัวเราะ)

ไอ้เรื่องถอดจิตมันพอฝ่ายทิเบต ลามะ เวลาเขาถอด เรื่องธรรมดาของเขา เวลาเขาถอดจิต จิตออกจากร่าง เขาเปรียบว่า “มนุษย์เหมือนกล้วย” เวลาเราปอกเปลือก เปลือกกล้วยกับกล้วยมันคนละชิ้นกัน กายกับจิตเป็นคนละอัน แน่นอนอยู่แล้ว

แต่พวกเราเขาเรียก “สายบุญสายกรรม” มันมีบุญมีกรรมกันนะ สายบุญสายกรรมนี่สำคัญมากเลย อย่างเช่น เราเป็นคนดีหรือคนชั่วก็แล้วแต่ ในปัจจุบันนี้เราทำดีทำชั่วมาก็แล้วแต่ สิ่งดีชั่วมันให้ผลให้พวกเรามานั่งอยู่นี่ใช่ไหม

แต่ถ้าพอเราลมหายใจขาดพั้บ.. ภพของมนุษย์ไง สถานะของเรา.. มิติหนึ่ง จิตนี้มาเกิดเป็นมนุษย์ ตามอายุขัย อายุขัยว่าเราจะมีอายุกันเท่าไร เวลาหมดอายุขัยปั๊บ มันตายปั๊บ จิตออกจากร่างไปเลย จิตออกจากร่างไปเลย เพราะการตายคือจิตออกจากร่าง พอจิตออกจากร่างปั๊บ พอดีหรือชั่วนี่ทันทีเลย

พระเทวทัตไม่ต้องไปหายมบาล ตกนรกไปเลย

จิตตคหบดี เวลาตาย รถม้า รถเทียมม้าทิพย์มารับเลย

แต่ถ้าเรากึ่งดิบกึ่งสุก เราตายปั๊บ เราก็ต้องไปที่ยมบาลตัดสิน เหมือนเรามีดีและชั่วกึ่งๆ ก็ต้องไปตัดสินกันที่นั่น ดีโดยส่วนดีที่มีมากกว่า ไปทันที โดยส่วนชั่วที่มาก ก็ไปทันที แต่ถ้ากึ่งดิบกึ่งดีต้องไปตรงนั้น

ทีนี้พูดถึงว่าพูดถึง “สายบุญสายกรรม” นี้คำว่าสายบุญสายกรรม เวลามันตาย มันคนละเรื่องกับการถอดจิต (หัวเราะ) เพราะอะไร เพราะการถอดจิต มันยังไม่ถึงวาระ

ทีนี้การถอดจิตมันก็มีว่า “ถอดจริงได้หรือไม่จริง”

เรื่องถอดจิตไปไหน เรารู้หมด แต่ไม่อยากพูดเรื่องนี้มากเพราะอะไรรู้ไหม เพราะยืนยันว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มี ไอ้พระ สิบแปดมงกุฎมันชอบเอาอันนี้ขายแดกกัน เราไปพิสูจน์ไม่ได้ไง ถ้ากูเป็น สิบแปดมงกุฎ อยากดังน่าดู กูจะเอาสลิงแหย่นี่เลย เดี๋ยวกูจะเหาะให้มึงดู พอเหาะปั๊บ แหม.. เงินไหลมาเทมา

ไอ้เข้าสมาบัติๆ ที่ว่าเข้าสมาบัติ นิโรธสมาบัติ ตอแหลทั้งนั้นน่ะ กูไม่เชื่อสักคนหนึ่ง เพราะพวกเราเข้าสมาบัติ อย่างหลวงปู่มั่น เข้าอยู่ในป่า เอ็งคิดว่าการเข้าฌานสมาบัติ การทำสมาธิ การฌานสมาบัติ มันมีคุณค่าน้อยกว่าเศษกระดาษเราเหรอ เศษกระดาษที่เขาหาแบงค์กันน่ะ

ขึ้นคัตเอาท์กันเลยนะ “เข้าฌานสมาบัติ”.. ตอแหลทั้งนั้น!

เพราะการจะเข้าฌานสมาบัติ การเข้าที่จะถอดจิตอย่างที่ว่า “มันต้องมีสติ ต้องฝึก” แล้วมันต้องอาศัยอย่างที่ว่า “ต้องวิเวก” ดูฤๅษีสิ ฤๅษีที่สมัยพุทธกาลเหาะได้ แค่มองมาเห็นผู้หญิงอาบน้ำ.. ตกเลย จิตแว่บเดียว ตกแล้ว

แล้วนี่นะ จัดงานนะ โอ้โฮ.. เครื่องขยายเสียง แหม.. เต็มวัดเลยนะ คนแหม.. คึกคักเลยนะ มันบอกว่ามันเข้าสมาบัติ.. ส้นตีน! ส้นตีน! ตอแหลมันเยอะไง ของอย่างนี้ ของจริงมันมีอยู่ แต่ของจริง ประสาเรา คุณค่าของสารเคมีทุกอย่าง เราใช้เพื่อประโยชน์ของเรา ไม่ใช่เอามาอวดเขาหรือทำลายใคร

“คุณธรรม ความเป็นจริง” มันมีคุณค่ามาก แล้วคุณค่าสิ่งที่ได้มา

“เราเอาชีวิตแลกมา เอาชีวิตแลกมา”

เราจะเทศน์บ่อยนะ ตอนเช้าๆ บอกว่า “คุณค่า.. สิ่งที่มีคุณค่าทั้งหมดในโลกนี้ ไม่มีคุณค่าสิ่งใดเท่ากับความรู้สึก คือใจของเรา” แล้วมันจะมีคุณค่าอะไรกับความรู้สึกอันนี้ ในเมื่อคุณค่าเขาสื่อ

ใจของเรามีคุณค่ามาก เพราะใจดวงนี้เป็นนิพพานได้ ใจดวงนี้ทำอริยทรัพย์ได้ ใจดวงนี้ทำชั่วก็ได้ ทำดีก็ได้หมดเลย แล้วมึงไปเห็นคุณค่าอะไรกับไอ้โลกธรรม ๘ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ ฯ ไร้สาระมากเลย แล้วพระทำกันอย่างนี้ เป็นพระได้อย่างไร

หลวงปู่มั่นเหาะในป่า เหาะมาจาก.. หลวงปู่แหวนกับหลวงปู่ขาวเล่าไว้

หลวงปู่มั่นอยู่ที่ถ้ำเชียงดาว แล้วให้หลวงปู่แหวนกับหลวงปู่ขาวลงมาเอาน้ำ สมัยก่อนโบราณเราใช้ไม้กระบอกมาตักน้ำขึ้นบนเขา หลวงปู่มั่นให้ลงมา พอลงมาปั๊บหลวงปู่แหวนหันหน้าขึ้นไป หลวงปู่ขาวน่ะ หลวงปู่มั่นเหาะลงมาเลย

อันนี้หลวงปู่ขาวเล่าให้ฟัง เล่าให้หลวงตาฟัง หลวงตาไม่เขียนลงในประวัติ เพราะว่าในประวัติหลวงปู่มั่น เขียนมากเกินไปแล้ว คนเขาจะแบบว่า ความเพื่อจะให้เขาได้ประโยชน์ เขาก็อาจจะเป็นโทษกับเขาไง เยอะมากที่ไม่เอามาลง แต่เพราะหลวงปู่มั่นท่านสร้างบุญญาธิการมาเยอะ

แล้วอย่างครูบาอาจารย์ อย่างเช่นหลวงปู่ชอบอย่างนี้ หลวงปู่ฝั้น ท่านทำได้เยอะ ทำได้เยอะ แต่พวกนี้ไม่เคยมาโอ้อวดเลย ทำเอาเอาไว้เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหาว่า “ของจริงมันมี”

แล้วถ้าลูกศิษย์แข่ง.. “กูจะทำให้มึงดู”

เขาไม่เอาตังค์ เขาทำเพื่อคุณธรรม ทำเพื่อพัฒนาใจของคนขึ้นมาให้เป็นประโยชน์

นี่ถ้าพูดอย่างนั้น.. โธ่! มึงจะสมาธิห่าเหว มึง ปัญญาอย่างมึง มาคุยกับกูนี่! ตอแหลทั้งนั้น!

โยม : หลวงพ่อ แล้วที่ว่าเหาะได้ จะอธิบายทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไรว่ามันตัดแรงดึงดูด

หลวงพ่อ : ไอ้นี่มันพูดอยู่.. ดร. มันพูดอยู่ “ขั้วบวก-ขั้วลบ”

พอสมาธิมันเหมือนกับว่าเป็นขั้วลบกับขั้วลบมันผลักกันเอง วิทยาศาสตร์อธิบายอย่างนี้ โลกมีขั้วบวก-ขั้วลบ แรงดึงดูด แล้วเราทำให้เป็นบวก บวกกับบวกก็ผลักกัน ทำเป็นลบ ลบกับลบก็ผลักกัน นี่วิทยาศาสตร์นะ แต่วิทยาศาสตร์มันต้องเป็นอย่างนั้น

แต่ไอ้นี่ไม่ต้องพอเข้าสมาบัติปั๊บ กำหนดไว้เลย เพราะเราตั้งโปรแกรมไว้ เราตั้งโปรแกรมว่า “เหาะ!” เข้าสมาบัติเลย ปั๊บ เรียบร้อย (หัวเราะ)

โยม : หลวงพ่อ แล้วยูเอฟโอ

หลวงพ่อ : ไม่ใช่มีจักรวาลเดียว

พระโมคคัลลานะหลงทิศ พระโมคคัลลานะท่านเป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ท่านมีฤทธิ์มาก แล้วพอธุดงค์ไป มีผู้หญิงเขาเห็นแล้วเขารัก เขาจะมาขอเสพกามด้วย พระโมคคัลลานะเลยบอกว่าท่านพยายามปฏิเสธ สุดท้ายแล้วด้วยความรำคาญ ท่านก็เลยบอกว่า “ของเน่า” พอเน่าปั๊บ มันก็มีพวกหนอนมาเจาะไชตามทวารหมดเลย

โห.. พระโมคคัลลานะสงสารมาก อยากจะช่วย ก็ไปกราบพระพุทธเจ้า บอกว่า “โอ้โฮ.. ทำไมพูดไปอย่างนั้น มันเป็นอย่างนั้น” บอก “กรรมของเขา”

“แล้วจะช่วยเขาได้ไหม? ”

“ช่วยไม่ได้หรอก กรรมมันหนัก กรรมมันใหญ่มาก ใหญ่เท่าแผ่นดิน”

“แผ่นดินขนาดไหน ขอดูหน่อย”

ก็เลยจะเหาะออกไป เพื่อจะดูโลกว่าเล็กขนาดไหน

พระพุทธเจ้าสั่งไว้.. อันนี้มันอยู่ในธรรมบท แต่ทางวิทยาศาสตร์ หรือว่าทางปริยัติเขาไม่ค่อยเชื่อกัน เขาว่าเป็นการแต่งขึ้นมา

พอพระพุทธเจ้าสั่งไว้เลย “โมคคัลลานะ ออกไปแล้วนะ ถ้าเห็นโลกนี้เท่าใบมะขามนะ ให้กลับมานะ อย่าไปต่อ”

เหาะขึ้นไปเรื่อยๆ โลกก็เล็กไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ จนเหลือใบมะขามเล็กนิดเดียว ทีนี้ยังไปอีก ตัวเองยังไปอยู่.. ฟึ่บ! หายไปเลย หลุดไปเลย พอหลุดไปแล้วปั๊บ มันกลับไม่ได้แล้ว.. ไปต่อ.. จิตยังอยู่นะ นี่ยังไม่ใช่คนตายนะ ถ้าพระโมคคัลลานะตายปั๊บ เป็นพระอรหันต์ มันไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว เพราะเรื่องนี้มันอายุขัยยังไม่จบ เห็นไหม

ก็ไปเห็นลำแสง พอเห็นลำแสงนั้นก็ตามลำแสงนั้นไป พอตามลำแสงนั้นไปปั๊บ ไปเจอพระพุทธเจ้าอีกองค์ พระพุทธเจ้าพอเข้าไป เพราะนึกว่าพระพุทธเจ้า เข้าไปกราบ.. “ไม่ใช่.. เราไม่ใช่สมณโคดม”

นี่หลงมา.. “เราจะส่งกลับ เราจะกำหนดแสงนี้ไป” แล้วให้พระโมคคัลลานะตามแสงนั้นกลับมา กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า

นี่เรายกเรื่องนี้ขึ้นมาให้เห็นว่ามันมีจักรวาลหลายจักรวาลซ้อนกันอยู่ มันไม่ใช่มีจักรวาลเดียวนะ ไม่ใช่มีจักรวาลเดียว กว้างมาก ใหญ่มาก

โยม : แล้วหน้าตาพระพุทธเจ้าเหมือนกันไหมครับ?

หลวงพ่อ : (หัวเราะ) กะแล้วต้องถาม

ไอ้เรื่องนี้มันรูปภายนอก ดูพระนันทะกับพระพุทธเจ้าสิ พระนันทะนี่เป็นลูกพี่ลูกน้อง แล้วรูปร่างเหมือนกันเปี๊ยบเลย เวลาพระนันทะไปที่ไหนปั๊บ พวกพระนี่จะ “โอ้.. นั่นพระพุทธเจ้ามา”

โยม : อย่างนี้มนุษย์ต่างดาวก็มีจริงสิ?

หลวงพ่อ : เราจะไม่ยืนยันอย่างนั้น แล้วเรื่องจักรวาลมันมีหลายจักรวาล อย่างที่ว่าปัญญาพวกเราไม่เท่ามนุษย์ต่างดาว ไอ้มนุษย์ต่างดาว ถึงเขาเตือนกันตลอดเวลาว่าถ้าวิทยาศาสตร์เราเจริญมากเกินไป แล้วเราไปทำ..

ดูอย่างไอ้นี่ อะไรนะ ไอ้จีเอ็มโอ ที่ทำตัวอ่อน(โคนนิ่ง) ที่ว่าคนๆ ใหม่แล้วเราจะเอาอวัยวะมาเปลี่ยนเรา นี่เขาคิดกันเองว่าเราเอาเซลล์ของเราไปสร้างมนุษย์ใหม่ขึ้นมา เขานึกว่าเป็นสมบัติของเรา.. ไม่ใช่นะ

ถ้าเราไปสร้างใหม่.. ถ้าไม่มีจิตมาปฏิสนธิ มันจะเกิดเป็นมนุษย์ขึ้นมาไม่ได้ พอเกิดเป็นมนุษย์มันขึ้นมาแล้ว เขาเป็นอีกคนหนึ่ง ไม่ใช่เราแล้ว แล้วเราจะมีสิทธิอะไรไปฆ่าเขา แต่พอความคิดของเราใช่ไหม เราจ้างให้หมอเพาะตัวอ่อนขึ้นมาใช่ไหม แล้วเราไปเอาของเขามาใช้ได้อย่างไร

นี่จะย้อนกลับมาที่นี่ไง ถึงบอกว่าความคิดของเรา ถ้าวิทยาศาสตร์มันคิดอย่างนี้ แต่ธรรมะไม่คิดอย่างนั้น

“จิตหนึ่ง” ทุกคนมีสิทธิเสมอภาคหมด

“จิตหนึ่ง” ถ้าไม่มีปฏิสนธิจิต.. ทำไมบางคนเป็นหมัน เขาไม่มีลูกล่ะ เขาก็มีเพศสัมพันธ์เหมือนกัน แต่ทำไมเรามีเพศสัมพันธ์ ทำไมถึงมีลูกล่ะ? แล้วทำไมถึงเป็นหมัน ก็ทางการแพทย์ว่าเป็นหมัน แต่ถ้าทางเรา เพราะอะไร เพราะจิตมันปฏิสนธิ

โอ.. เรื่องจิตเรื่องวิญญาณนี่ลึกลับ แต่ไม่ลึกลับสำหรับภาวนา หลับตานี่รู้หมดเลย ลืมตานี่ไม่รู้ (หัวเราะ)

โยม : หลวงพ่อ..แล้วอย่างเดินจงกรมที่ว่าขวา-พุท ซ้าย-โธ ฟังในเทปเหมือนกับว่าหลวงพ่อว่ามันไม่ถูก

หลวงพ่อ : ใช่.. เราขัดแย้ง เราแย้งไง เราแย้งว่า ซ้าย-พุท ขวา-โธ มันไปปิดโอกาสของเราเอง ทั้งที่เรากำหนดพุทโธๆ เรากำหนดพุทโธแล้วมันแบบว่ามันไม่ติด คือว่ากำหนดแล้วมันไม่ชัดเจน ถ้าซ้าย-พุท ขวา-โธ เราจะชัดเจนกัน จริงไหม “ซ้าย-พุท ขวา-โธ”

แต่สำหรับคำเราว่า ของเราปฏิเสธเพราะ.. เรานี่นักเดินจงกรม เราเดินจงกรมที ๗ วัน ๗ คืน บางทีเราอดอาหาร อดนอนด้วย ต่อเนื่องเลยนะเว้ย เวลาปฏิบัติ อย่างพวกเด็กนี่เขาเรียก.. เราเห็นพวกโยม หรือการปฏิบัติ นี่นักกีฬาสมัครเล่น ไอ้เรานักกีฬาอาชีพ ไอ้ทำอย่างนี้ ทำเล่นขายของ.. ไม่มีทาง

ทีนี้เวลาเราจะเดินจงกรมมาเยอะมาก ทีนี้การเดินจงกรมของเรา บางทีพอเวลาปฏิบัติขึ้นไป โอกาสของมัน มันจะเกิด อย่างชีวิตประจำวันของเรา บางวันเราก็ต้องมีอะไรกระทบรุนแรงใช่ไหม อารมณ์มันจะไม่ปกติ บางวันอารมณ์เราก็ไม่รุนแรงใช่ไหม

การเดินจงกรม ถ้าวันไหนเรามีอะไรกระทบรุนแรงขึ้นมา มันจะเป็นสมาธิยากมาก เพราะมันจะคิดแต่เรื่องนั้น ทีนี้ถ้าเราเดินจงกรม ถ้าอย่างนั้นปั๊บ เราจะเดินเร็วมาก พั้บๆๆๆๆ เหมือนกับเขาเดินแข่งเดินเร็วเลย พั้บๆๆๆๆ เดินอย่างนี้ บางทีเป็นครึ่งๆ วันเลย บางที ๒-๓ ชั่วโมงก็เริ่มเบาแล้ว พอเดินปั๊บ พอเริ่มเหงื่อตกอะไรตก ความคิดนั้นเราทันแล้ว ความคิดมันจะเริ่มเบาแล้ว

แต่ถ้าเรามาใช้ซ้าย-พุท ขวา-โธ อยู่นี่ เราเปรียบอย่างนี้ เปรียบเหมือนรถ รถเขาสร้างให้มี ๔ เกียร์ใช่ไหม ถ้าเราเข้าเกียร์ ๑ เกียร์เดียว แล้วก็วิ่งรอบประเทศไทยได้ไหม?

ซ้าย-พุท ขวา-โธ เหมือนเกียร์ ๑ มันเร่งไม่ได้ เหมือนเรามี รถเขาให้ ๔ เกียร์ แล้วมีเกียร์ถอยหลังเป็น ๕ เกียร์ด้วย แต่เราบอกว่า “กูซื้อรถ ขอมีเกียร์เดียว”

พุทโธๆ มันล็อคตายไง.. นี่เราปฏิเสธตรงนี้

แต่เมื่อก่อนเราไม่ใช่ เมื่อก่อนเราปฏิเสธหมดเลยนะ แล้วพอดีพระมา เขาบอกเขาซ้าย-พุท ขวา-โธ เราพูดอย่างนี้ เขาบอกว่าเขาก็ปฏิบัติอย่างนั้น บอก “ใครสอนมึง” เขาบอกหลวงปู่จันทา งั้นกูยกให้ บอกหลวงปู่จันทาสอน เพราะหลวงปู่จันทา เราเคารพท่าน

อย่างนี้มันก็เป็นจริตนิสัยของแต่ละบุคคล แต่สำหรับเรา เอ็งคิดว่ารถเกียร์ ๑ กับรถ ๔ เกียร์ มึงจะเลือกรถอะไร?

โยม : คือเดินเร็วขึ้นเพื่อให้ความคิดมันอ่อนตัวลง

หลวงพ่อ : ใช่.. พอเราเดินเร็วขึ้น พอเดินเร็วขึ้นสติมันจะเพิ่มเร็วขึ้น ทุกอย่างจะเร็วขึ้น เหมือนกับว่า ในเมื่อกีฬามีการแข่งขันอยู่ เราเป็นฝ่ายที่ว่าเราเสียเปรียบอยู่ เราจะลงทุนลงแรง เขาเรียกว่าเราจะเป็นฝ่ายรุก รุกตลอด

โยม : ไปตัดกระแสความคิด

หลวงพ่อ : ใช่ๆๆๆ

เวลาปฏิบัติ.. โอย.. มันจะเทคนิคเยอะมาก ในการปฏิบัติ ไม่ใช่ว่ารูปแบบตายตัว เขาเรียกปัจจุบันธรรม ต้องมีอุบาย

บางวัน โอ้โฮ.. จิตวันนี้อยากปฏิบัติมาก กูเดินทอดน่องเลยนะ “พุทโธ สุขมากเลย” แต่ถ้าวันไหนพอมันเพลิน มันกระทบมาแล้ว กูใส่เกียร์ ๒ แล้ว กูใส่เกียร์ ๓ กูใส่เกียร์ ๔ เพราะเราจะควบคุมใจเราตลอด ใจของเราต้องอยู่ในอำนาจของเราตลอด เวลาปฏิบัติ

สติกู ความเห็นของกู ควบคุมความคิดกูตลอด ไม่ให้..

โธ่.. หลวงตาพูด “กำหนดจิต รักษาจิต ยิ่งกว่านักโทษ ควบคุมนักโทษ” ตำรวจควบคุมนักโทษอีก แล้วเวลาปฏิบัติ อย่างนั้นเลย มันต้องต่อเนื่องตลอด พวกที่ปฏิบัติไม่ได้ผล เพราะมันขาดการต่อเนื่อง

โอ้โฮ.. วันนี้ทำดีมากเลย แล้วเว้นไปอีก ๕ เดือนค่อยมาปฏิบัติใหม่

เพราะเราปฏิบัติ หลวงตาจะเปรียบเหมือนกับทหาร ทหารได้การฝึกแล้ว ได้ออกรบกลับมา ทหารได้ผ่านสงครามมาแล้ว ทหารคนนั้นจะมีประสบการณ์ อย่างเราเป็นทหารไม่เคยออกรบเลย อีก ๕ ปี กูก็ไม่มีประสบการณ์อย่างนั้น

โยม : หลวงพ่อ ถ้ามีความคิดขึ้นมา ทำไมเราไม่คิดให้เรื่องนั้นมันขาดไปเลย จะได้จบ

หลวงพ่อ : แล้วเอ็งคิดได้ไหมล่ะ? เอ็งคิดได้ไหมล่ะ? เอ็งคิดได้ไหมล่ะ อ้าว.. เราถามกลับ

โยม : ก็ได้.. ก็..

หลวงพ่อ : อ้าว.. ได้อย่างไร อ้าว.. ว่าไปสิ

โยม : ไม่.. บางทีมันมีปัญหาอย่างนี้ แล้วเราพยายามจะพุทโธแข่งกับ..

หลวงพ่อ : เออ.. เออ..

โยม : มันค่อนข้างจะยาก หรือไม่เราก็ต้องตามความคิด ก็คือดู..

หลวงพ่อ : ใช่.. ไม่ใช่หรอก.. มันจะมีนักรบกับนักหลบ ในการปฏิบัติ นักหลบเป็นสมถะ นักรบเป็นวิปัสสนา ถ้าไม่มีการรบ ไม่มีการเข่นฆ่า ไม่มีการทำลายกิเลส ฆ่ากิเลสไม่ได้

“การฆ่า” อย่างที่ว่า.. “ฆ่าคนไม่บาปๆ” เขาพูดผิด

พระพุทธเจ้าบอกเลย “การฆ่าที่ประเสริฐ คือการฆ่ากิเลส”

ถ้าเป็นวิปัสสนา มันจะมีการฆ่า.. “นักรบ” ถ้านักหลบ นักหลบมันหลบ นักหลบกำหนด เราหลบคือว่าเราดึงให้สงบอย่างเดียว.. คือเราหลบ มันไม่ใช่นักรบ ฉะนั้นพอไม่ใช่นักรบปั๊บ อย่างที่พูดว่าไม่คิดให้มันขาดไป มันจะขาดไปได้อย่างไร? ไม่มีทาง ไม่มีขาด เพราะอะไร

สายบุญสายกรรมนะ แม้แต่ชาติที่แล้ว เราทำอะไรไว้ พระเวสสันดรเกิดเป็นพระพุทธเจ้า พระเวสสันดร นางมัทรีมาเกิดเป็นนางพิมพา กัณหา-ชาลี เวลาให้กัณหา-ชาลีไป ชาลียอมรับ แต่กัณหาต่อต้าน พอต่อต้านไป ชาลีมาเกิดเป็นราหุล กัณหาไปเกิดเป็นนางอุบลวรรณา ขนาดคิด ความคิดที่มันต่อต้าน มันจะแฉลบออกไป ออกนอกวงจรไปเลย

ทีนี้เราย้อนกลับมาที่สายบุญสายกรรมนี่ไง สายบุญสายกรรม คือบุญกรรมที่มันทำมา ทำไมคนเรามีแนวคิดแตกต่างหลากหลาย? ทำไมปฏิภานไหวพริบของคนไม่เท่ากัน?

ทีนี้พอไม่เท่ากัน มันมีข้อมูลนี้มาใช่ไหม พอมีข้อมูล.. เราจะบอกว่า “ตัวนี้คือตัวเร้า” สิ่งเร้าคือว่ามุมมองของคนไม่เหมือนกัน ฉะนั้นเวลาคิดขึ้นมาจะให้มันขาด โธ่.. มันจะขาดได้อย่างไร ถ้าไม่ใช่สมุจเฉทปหาน ด้วยวิปัสสนาญาณ ไม่มีขาด

โยม : ไม่.. เราไม่ได้พูดถึงเรื่องว่าเป็นกิเลสไงครับ แบบสมมุติว่ามีเรื่องอะไรสักอย่างที่จำเป็นต้องคิด

หลวงพ่อ : อ้าว.. ว่าไป

โยม : .. ในทางโลก

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : แล้วมันยังติดอยู่ในใจ แล้วบอกให้มานั่งสมาธิ มันก็อาจจะไม่เป็นสมาธิ ก็อาจจะนั่งสมาธิด้วย แล้วก็คิดไอ้เรื่องนั้นให้มัน..

หลวงพ่อ : ไม่หรอก.. มันเหมือนไอน้ำ มันเหมือนอากาศ

“อากาศ” ความคิดเหมือนอากาศ เหมือนไอน้ำ คือว่ามันก่อตัวได้ มันก็หายไปได้ ความคิด ถ้ามันพอเราสงบ มันก็ไม่มี แต่ว่าขาดไหม? มันไม่ขาด ไม่ขาดเพราะอะไร เพราะมันมีข้อมูลอยู่ ข้อมูลคือตัวสัญญาในใจไง ขาดไม่ได้หรอก

ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ในขันธ์ ๕ มีอะไร? มีสัญญาข้อมูล

“ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์.. ” นี่พระโสดาบันไง

“พระโสดาบัน” ความคิดนี่ควบคุมได้แล้ว “สกิทาคา” มันจะละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ “อนาคา” ถึงที่สุดแล้วทำลายตัวมันเองด้วย ทำลายตัวพลังงานด้วย พลังงานก็ไม่มี พลังงานอะไรก็ไม่มี แล้วมันจะเอาอะไรมาคิด เพราะพลังงานไม่ใช่ข้อมูล นี่เพราะเห็นการ.. แค่ไหนมันถึงตัดความคิดได้? แค่ไหนควบคุมความคิดได้?

พระอริยบุคคลมีระดับชั้น

แล้วเราจะบอกว่า “จะมาควบคุม จะมาทำให้ไม่คิด”.. เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่ว่ามันลืม มันลืมแล้วคิดใหม่ ลืมแล้วคิดใหม่.. อย่างนี้ได้ แต่ให้ขาด.. ไม่มี

โยม : ไม่ฮะ มันคล้ายๆ กับเป็นเรื่องๆ

หลวงพ่อ : ใช่.. ให้สรุป ให้จบเป็นเรื่องๆ ไป

โยม : ไม่ใช่ไปประหารกิเลส

หลวงพ่อ: ใช่ พูดน่ะมันพูดได้ เพราะโยมพูดอย่างนี้ มันเปรียบพูดอย่างนี้ปั๊บ มันก็เหมือนพูดวิทยาศาสตร์อีกแล้ว เราจะเปรียบไง พวกคิดเหมือนวิทยาศาสตร์ไง

คือว่ามะม่วงก็ต้องเป็นมะม่วง ใช่ไหม คือความคิดมันหยุดได้.. คิดควบคุมได้ แต่คนอื่นเขาคิดไม่เหมือนเรา คนอื่นเขาคิดไม่เหมือนเรา ความคิดของคนมันหลากหลาย แล้วอยู่ที่สิ่งเร้า อยู่ที่กิเลสใครหนา ใครหยาบต่างกัน

ถ้าคนที่ปฏิบัติเป็น เขาจะรู้ตรงนี้ไง คือรู้ถึงต้นเหตุ ไอ้นี่ไปคิดที่ปลายเหตุ คิดแบบวิทยาศาสตร์ ทุกอย่างต้องเป็นอย่างนี้ “เหมาเข่งๆๆ” เลยคิดเหมาเข่งอย่างเดียว เอ็งคิดเหมาเข่งสิ.. ผลไม้เขาไม่เหมาเข่ง เขาดูทีละลูก จะเอาลูกไหน ลูกไหนดีไม่ดี คือจริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน แล้วคนเป็นนะ เขาจะสอนอย่างนี้

หลวงปู่มั่นเวลาเทศน์ ท่านกำหนดจิตดู ดูลูกศิษย์แต่ละองค์เลย ใครมีโอกาส-ไม่มีโอกาส ถ้ามีโอกาส ท่านจะจี้ เหมือนนักกีฬา ถ้ามีแวว ช้างเผือกคุมเลย ถ้าไม่ใช่ช้างเผือก ไปคุมมัน เดี๋ยวมันอึดอัดตาย เพราะว่าวาสนามันไม่มี วาสนาไม่พร้อม เขาเรียกว่าอะไรนะ “อินทรีย์พละ” ความพร้อมของใจ ความพร้อมของใจที่จะบรรลุธรรม ความพร้อมของใจเราไม่มี ก็ให้เขาพัฒนาความพร้อมของเขา แต่ถ้าความพร้อมเขายังไม่มี แล้วเราไปบังคับเขา..

เหมือนเด็ก เราบังคับให้เด็กทำงานโดยความปรารถนาของเรา เด็กจะทำประสบความสำเร็จไหม มันเป็นข้อเท็จจริงใช่ไหม ในการปฏิบัติก็เหมือนกัน แต่ในเมื่อเด็กหรือผู้ใหญ่ก็แล้วแต่ ถ้าเขามีความพอใจ เขามีความต้องการ เราเป็นอาจารย์ เราก็.. เขาเรียก.. เราได้ทำหน้าที่เราแล้ว คือธรรมะ แสดงธรรม แสดงธรรมออกไป แล้วใครจะได้ประโยชน์มาก ได้ประโยชน์น้อย มันเรื่องของเขา

พูดออกไป เต็มศาลาเลย คนฟังแล้ว “โอ้โฮ.. หลวงพ่อพูดดีมากเลย” บางคน “โอ้โฮ.. ทำไมหลวงพ่อด่าเจ็บฉิบหายเลย” ไม่เท่ากันน่ะ บางคน “โอ้โฮ.. พูดเสียเวลา ให้จบๆ ไปซะ”

โธ่.. เราพูดออกไปจะรู้เลยว่าคนทั้งศาลาเขาจะคิดอะไรกัน แล้วเราจะเอาประโยชน์อะไร นี่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่คิดเป็นสูตรสำเร็จอย่างนี้ นี่คิดแบบวิทยาศาสตร์ “ต้องเป็นอย่างนี้ๆๆ”

“บ้า บ้า บ้า”

เหมือนเปรต มันไปเห็นคนนอนอยู่ไง แล้วคนสูงต่ำไม่เท่ากัน มันก็ดูทางเท้า มันก็จับให้ตรงเลย เสร็จแล้วก็ไปดูทางหัว อ้าว.. หัวล้ำอีกแล้ว แหม.. ก็ดึงให้หัวตรงกัน ไปดูทางเท้า อ้าว ก็ไม่เท่ากัน ก็มันเป็นไปไม่ได้ใช่ไหม เพราะคนไม่เท่ากัน

ฉะนั้น เรา.. เอาที่เรา “อัตตาหิ อัตตโนนาโถ.. ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” แล้วถ้าตนเอาตนพ้นจากกิเลสแล้ว เราจะเป็นที่พึ่งของเขา เพราะการเทศน์นี่นะ จากใจดวงหนึ่ง คือประสบการณ์ของจิตดวงนี้ แล้วใจของทุกๆ คนเหมือนกัน เพียงแต่หยาบละเอียดต่างกัน

แต่ใจคือใจ ไม่มีหญิง-ไม่มีชาย สมาธิ ไม่มีหญิง-ไม่มีชาย พระอรหันต์ ไม่มีหญิง-ไม่มีชาย.. ไม่มี หญิงและชายนี้มันเป็นความสมมุติของจิตที่มันเป็นมาแล้ว แต่เข้าไปถึงต้นขั้วของมันแล้ว ไม่มีหญิง-ไม่มีชาย หญิงชายนี่สมมุติขึ้นมาด้วยร่างกาย แต่ตัวจิตไม่มี

พระอรหันต์นะ นางอุบลวรรณาเป็นพระอรหันต์ก็ไม่มีหญิง-ไม่มีชาย พระอรหันต์ไม่มีหญิงมีชาย พระอรหันต์ก็คือพระอรหันต์

โยม : มีคำถาม.. หลวงพ่อ ถ้าสมมุติว่าตอนนี้เกิดเป็นผู้ชายอย่างนี้ เราก็ชอบผู้หญิงใช่ไหม

หลวงพ่อ : เออ..

โยม : มันก็เป็นเรคคอร์ด

หลวงพ่อ : ใช่.. ว่าไป

โยม : สะสมในจิต..

หลวงพ่อ : ใช่..

โยม : แล้วถามว่าไปเกิดชาติหน้า เราจะไปเกิดเป็นผู้หญิงไหม?

หลวงพ่อ : ไม่เกิด.. หญิงกับชายนี่มันโดยเวรโดยกรรม

อย่างเช่นเราอย่างนี้ อย่างเรานี่เป็นเนื้อคู่ แล้วรักกันมากเลย แล้วได้แต่งงานกับโยม แล้วทำไมกูไปรักคนอื่นอีกล่ะ ทำไมกูไม่รักคนๆ เดียว (หัวเราะ)

โยม : ก็คือเราชอบ เราชอบผู้หญิง

หลวงพ่อ : ใช่

โยม : มันจะไม่ดึงจิตให้เราไปเกิดเป็นผู้หญิง

หลวงพ่อ : ไม่.. ไม่.. ไม่.. ผู้หญิงก็เป็นผู้หญิง ผู้ชายก็เป็นผู้ชาย แต่ถ้าเราจะเกิดเป็นผู้หญิง คือเราอยากเกิดเป็นผู้หญิง

พระอานนท์เคยเป็นผู้หญิงมาก่อน แล้วพระอานนท์ปรารถนาเป็นผู้ชาย

การเป็นผู้ชาย พอถึง.. พอปรารถนาเป็นผู้หญิง ผู้หญิงปรารถนาเป็นผู้ชาย หรือผู้ชายปรารถนาเป็นผู้หญิงก็แล้วแต่.. ได้หมด แล้วก่อนที่มันจะเปลี่ยนแปลง มันจะมีระหว่าง ระหว่างคือว่าใจมันไปแล้ว แต่ร่างกายยังไม่ไป เพราะมันต้องปรับ ๕๐๐ ชาติ

ทีนี้เวลากึ่ง เห็นไหม กึ่งเขาเรียกว่า “บัณเฑาะก์” บัณเฑาะก์บวชไม่ได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ มันมีอยู่แล้ว แต่เมื่อก่อน ศีลธรรม-จริยธรรมมันเข้ม เขาเลยไม่เปิดออกมา

โดยจิตที่ปรารถนานี้มีเยอะมาก หญิงอยากเกิดเป็นชาย ชายอยากเกิดเป็นหญิง แล้วพอตั้งแรงปรารถนาอธิษฐาน ปรารถนาแล้วอยากเป็นไป พออยากเป็นไป เกิดแต่ละภพแต่ละชาติ มันจะปรับสมดุลมันไปเรื่อยๆ ๕๐๐ ชาติ

พระอานนท์นี่ผู้หญิง เดิมเป็นผู้หญิง แล้วปรารถนาเป็นผู้ชาย “พระอานนท์” พระอานนท์ที่อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า แต่ตอนนี้เป็นผู้ชายนะ เป็นพระอานนท์นะ ไม่ใช่ภิกษุณีพระอานนท์

ทีนี้การเกิดเป็นหญิงเป็นชาย โอ้โฮ.. ลูกศิษย์เราเยอะมาก ผู้ชายอยากเป็นผู้หญิงเยอะมาก มาเต็มเลย “ทำไมพวกผมเป็นอย่างนี้” เขาไปโทษกรรมไง เราจะตอบกลับเลย “เป็นเพราะความปรารถนาพวกมึงเอง”

โยม : แล้วอย่างผิดศีลข้อ ๓ จะทำให้ผู้ชายเป็นผู้หญิงไหมครับ

หลวงพ่อ : ไอ้นี่ตอแหล! เราได้ยินอย่างนี้มาเยอะ ถ้าพูดถึงผิดศีลข้อ ๓ โลกนี้ไม่มีผู้ชาย! โลกนี้ไม่มีผู้ชาย! โลกนี้ไม่มีผู้ชายเลย! ใครเป็นคนพูด.. คำนี้?

เราอ่านพระไตรปิฎกมาแล้ว มันมีคนมาพูดอย่างนี้มาก แล้วเราด่าเช็ดเลย นี่คนสอนมันควาย เขาสอนมาควายๆ ว่าไป.. เถียงมาสิ

โยม : ไม่ได้มาจากพระไตรปิฎกเหรอ หลวงพ่อ

หลวงพ่อ : นี่ไง เวลาคนมาถามปัญหาเรา เราก็ชอบอ้างว่าตำราสอนอย่างนั้นๆ

แต่พวกโยมไม่เข้าใจ หนังสือเข้ามาหาเรา เราเผาทิ้งหมดนะ นี่ปฏิบัติมาหาเรา เข้ามาในนี้ไม่ได้ บางทีบางคนเขาอยากจะมาให้เราแจก มาวางไว้ เราเผาทิ้งหมด ในเมื่อแผนที่มันผิด แล้วมึงจะไปถูกได้ไง เข็มทิศมันชี้ไปทางผิด จะเข้ากรุงเทพฯ แหม.. ลงใต้ไป บอกว่าไปเจอมาเลเซีย มันบอกกรุงเทพฯ

แล้วเวลาคนอ่านมันก็ไม่เข้าใจ อย่างเรา เราไม่รู้เรื่องเลย กรุงเทพฯ ไปทางไหน แต่กูเจอแผนที่ แหม.. ชี้ไปใต้ กูก็ไปเรื่อย แล้วว่าจะถึงกรุงเทพฯ ไหม?

นี่อ้างพระไตรปิฎก.. ต้องถามว่าถ้าพระไตรปิฎก เอามาจากตรงไหน?

เมื่อวานนี้เขามาพูดกันอยู่นะว่าพระตอนนี้ที่เขาออกหนังสืออะไรกันน่ะ ในกรุงเทพฯ กำลังดังขึ้นมา เราบอกว่าเราให้ยกเปรียบเหมือนพระองค์หนึ่ง พระองค์นั้นใหม่ๆ ขึ้นมาจะมีชื่อเสียงมากเลย แล้วเดี๋ยวนี้ไปไหน?

ไอ้พวกที่พระขึ้นมาเป็นดาวรุ่งๆ มันก็อันเดิม เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเป็นสมอง สมองมีข้อมูลเท่านี้ พูดได้เท่านี้.. แล้วก็จบ แล้วก็จบกันไป นี่ก็เหมือนกัน แล้วก็บอกพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกที่ไหนวะ? มีคนเอาหนังสือมาแจกมากเลยบอกว่า “เป็นพุทธทำนาย” กูเผาทิ้งหมดเลย เพราะอะไร

มึงเกิดทันพระพุทธเจ้าหรือเปล่า? พระพุทธเจ้าทำนายให้มึงฟังเหรอ? ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ทำนายให้มึงฟัง มึงก็คัดลอกจากพระไตรปิฎกใช่ไหม ถ้ามึงคัดลอกจากพระไตรปิฎก กูก็อ่านพระไตรปิฎกมาแล้ว มันอยู่ตรงไหน? บอกกูมาสิ บอกกูมา

ทุกคนอ้างว่ามาจากพระไตรปิฎก ทุกคนอ้างว่ามาจากพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าพ่อมึง! มึงเขียนขึ้นมาเอง! ถ้าไม่อ้างนี่แหม.. หนังสือกูไม่มีคุณค่า.. จำคำนี้ไว้

“พุทธพจน์ๆ” พจน์ไหน? พจน์ไหน?

หนังสือน่ะ พุทธทำนายมาหาเราเยอะมาก เผาทิ้งหมดๆ “โอ๊ย.. โลกจะแตกๆ”

พ่อมึงอ่ะแตก โลกนี้เป็นอจินไตย แตกได้อย่างไร พระพุทธเจ้าบอกอีก ๕,๐๐๐ ปี ศาสนาถึงจะเสื่อม อย่างน้อยๆ พวกเราจะอยู่ได้อีก ๕,๐๐๐ ปี มาได้ ๒,๕๐๐ ใช่ไหม ยังเหลืออีก ๒,๕๐๐ ปี

โลกนี้เป็นอจินไตยนะ อจินไตย ๔ “พุทธวิสัย โลก กรรม ฌาน” อจินไตย คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ โลกจะอยู่อย่างนี้โลกเป็นอจินไตย มันจะอยู่อย่างนี้ตลอดไป เพียงแต่ว่าโลกนี้จะปรับสภาพ

ดูสิ.. แผ่นดินไหว เปลือกโลกแยก อย่างนี้มี เพราะถึงเวลาแล้วมันจะเปลี่ยนปรับสภาพ ต่อไปพอ ๕,๐๐๐ ปีไปแล้ว ดูอย่างเปอร์เซียเราเห็นไหม ๕,๐๐๐ ปี ๒,๐๐๐ ปี ตั้งแต่สมัยสงคราม มันกี่พันปีมาแล้ว นี่เราย้อนกลับไปปั๊บ โลกจะปรับสภาพ ถึงพอเป็นปรับสภาพ ป่าจะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ พอฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ พระศรีอาริยเมตไตรยจะขึ้นมาตรัสรู้ โลกไม่มีแตกหรอก

“โลกจะแตก น้ำจะท่วมโลก” มันเป็นธุรกิจ

โลกจะน้ำจะท่วมถึงนครสวรรค์ แหม.. ขายที่กันหมดเลย แล้วไปซื้อทางเชียงใหม่ ลูกศิษย์มาถามนะ “หลวงพ่อ.. เขาบอกว่ากรุงเทพฯ น้ำจะท่วม” “มึงมีตังค์ไหม? ” ไปถามมันเลย ซื้อแหม.. ให้หมดเลย กรุงเทพฯ นี่ซื้อไว้

ทำไมพวกเรามันมีไอคิวแค่นี้ล่ะ อ่านหนังสือแค่นี้แล้วเชื่อมันได้อย่างไร ไอ้อย่างคำนี้เพราะเรามีคนมาถามอย่างนี้เป็นคนที่ ๒ ที่ว่าไอ้ที่ไปเกิดหญิงชายเพราะผิดศีลข้อ ๓

กูบอก “ถ้าผิดศีลข้อ ๓ นะ โลกนี้ไม่มีผู้ชายเลย” ไม่มีหรอก เป็นผู้หญิงหมด

โยม : แล้วผลของการผิดศีลข้อ ๓ คืออะไร

หลวงพ่อ : อันนี้ ถ้าผิดศีลข้อ ๓ กรรมเยอะมาก ผิดศีลข้อ ๓ นะ

มันมีเด็กมา เพื่อนไอ้นั่นน่ะ เป็นญาติของพระ แล้วเขาพาลูกหลานเขามา สงสัยลูกสาวเรียนมหาวิทยาลัย แล้วคงจะไปแบบว่าไปกับเพื่อนน่ะ แล้วเขาพูดกันว่า “ในเมื่อเราสมัครใจด้วยกัน จะไม่มีกรรม” นี่จะผิดศีลข้อ ๓ ไง

เราบอกว่า มาหาเรานะ “ใครบอกไม่มีกรรม” มึงมีพ่อแม่กันไหม? ถ้ามึงเกิดจากไม้กระบอกมา “เออ.. ได้ ไม่มีกรรม” ถ้ามึงเกิดมาจากพ่อแม่นะ เอ็งเป็นสมบัติของพ่อแม่ เอ็งไปทำผิดกัน พ่อแม่เอ็งเสียใจไหม?

แต่ถ้าเราแต่งงานกัน เราไปสู่ขอ พ่อแม่ยกให้ พ่อแม่ตัดใจมาแล้ว แล้วถ้าแต่งงานไปแล้ว ถ้าครอบครัวเรามีกระทบกระเทือนกัน มันก็เป็นเรื่องของกรรมใช่ไหม พ่อแม่รับผิดชอบแล้ว แต่ถ้าพ่อแม่ ต่างฝ่ายต่างไม่รู้ เราสมัครใจกัน เวลาผิดพลาดขึ้นมา พ่อแม่ทุกข์ไหม?

คำว่า “กรรม” มันจะไปกระเทือนที่พ่อแม่ไง พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก เพราะเราให้ชีวิตเขามา เราคลอดเขามา เราไม่เลี้ยงเขาก็ได้ เราดูแลเขามา ทีนี้ดูแลเขามา เราไปทำผิดกระเทือนใจท่าน มีกรรมไหม?

แต่ถ้าที่เขาไม่มีกรรม เขาบอกว่า “สมัครใจ” “ไม่ได้” มึงสมัครใจอย่างไรก็ไม่ได้ มึงไม่ได้เกิดมาจากรูไม้กระบอก เขาถึงต้องไปสู่ขอพ่อแม่ เขาต้องแต่งงานกันไง

โยม : อย่างภาคเหนือ เขาก็ขายลูกสาว เขาก็ยินดีที่จะให้ลูกสาวทำอาชีพอย่างนี้จะผิดไหม?

หลวงพ่อ : ผิดสิ! นี่ก็กรรมของเขาไง

โยม : พ่อแม่ผิด หรือว่าลูกสาวผิด

หลวงพ่อ : มันเป็นความเห็นผิดของภาคเลย เป็นวัฒนธรรม เป็นทัศนคติของเขาใช่ไหม เป็นทัศนคติของเขา

ถ้าพูดถึงภาคเหนือ.. เพราะวันนั้นคนถามเขาคิดอย่างนี้ พวกไอ้ปู้ก็บอกว่าเขาคนลำปาง เขาบอกว่า “ผิดศีลข้อ ๓” มันผิดศีลข้อ ๓

เราบอก “ไม่จริง ไม่จริงหรอก” มันเป็นกรรมนะ ผิดศีลข้อ ๓ ถ้าผิดศีลข้อ ๓ พูดถึงกรรมนะ มันหนักกว่าเกิดหญิงเกิดชาย เพราะมันทุกข์นะ คำว่าทุกข์นะ พ่อแม่ทุกข์ ทำลายน้ำใจพ่อแม่ ทำอย่างนี้ มันให้ผลเป็นอย่างนั้น แล้วพอทำอะไรไปผิดน้ำใจพ่อแม่ปั๊บ ชีวิตเราก็ต้องมีครอบครัวเป็นธรรมดา ลูกเราจะมีปัญหากับเรา

มีลูกศิษย์เยอะมาก ตอนเขาบอกเป็นเด็กๆ นะ เวลาพ่อบอกไม่ให้ไปไหนนะ “ก็จะไป”

แล้วพอเขามีลูกนะ เขามาหาเรา “หลวงพ่อ.. คำเดียวกันเลย”

“เวลาห้าม มันบอกมันจะไป.. ผมคิดถึงคำพูดผมเลย ผมก็พูดอย่างนี้”

โยม : แต่พ่อแม่นั่นเขาอนุญาต..

หลวงพ่อ : ไม่..ไม่หมด..การขายอย่างนี้เราจะบอกว่ามันเป็นวัฒนธรรมมันเป็นความเห็นที่ผิดไง เป็นความเห็นที่ผิด

ดูนางโสเภณีที่ว่าพระที่ไปดู แล้วมันตาย สมัยโบราณ ตรงนี้เขาเป็นคุณธรรมของเขา คือนางโสเภณีคือแบบว่าคืนละกี่กหาปณะ ในพระไตรปิฎก

แต่ทีนี้การขายอย่างนี้มันก็เหมือนเวรเหมือนกรรม ตอนนี้พวกเรา ทางสังคมเขาพยายามจะไปพัฒนาให้มุมมองพ่อแม่เขามีความเห็นให้ถูกต้องขึ้นมา ไอ้นี่มันเป็นความเชื่อ เป็นความมุมมอง ทีนี้ความเชื่ออย่างนี้ บางทีมันมาจากแหล่งที่ว่าคน..

ดูสิ เราธุดงค์ไป.. คนใต้.. คนใต้เวลาเขาเลี้ยงเปรตเดือน ๑๐ เขาจะเรียกว่า “เปรตปากเท่ารูเข็ม” ทางอีสานเขาจะเลี้ยงข้าวประดับดิน ด้วยข้าวต้มมัด

มันอยู่ที่ว่าครูบาอาจารย์องค์ไหนอยู่ที่ทำเลไหน แล้วไอ้เรื่องนี้อยู่ในพระไตรปิฎก แล้วเราจะเอาสิ่งนั้นออกมา เห็นไหม บางคนมาถามว่า “ทำไมต้องถวายข้าวพระพุทธเจ้า? ” เวลาไปทำบุญบ้าน ต้องถวายพระพุทธเจ้า เราก็ถามกลับ “พระพุทธเจ้ากินข้าวอย่างนี้เหรอวะ? ”

(หัวเราะ) พระพุทธเจ้ากินข้าวอย่างนี้เหรอ? พระพุทธเจ้าไม่กิน พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว มันอาหาร ๔ ในวัฏฏะ เรากินคำข้าว เทวดากินวิญญาณาหาร อาหารทิพย์ พรหม ผัสสาหาร มโนเจตนาหาร อาหารที่เป็นทิพย์

นี่เวลาไป โอ้โฮ.. ไปนรกสวรรค์มาแล้วมาคุยโม้โอ้อวด.. มึงพูดผิดหมด

ทีนี้พอพระพุทธเจ้าท่านนิพพานไปแล้ว แล้วกินอย่างนี้ไม่ได้ เพราะท่านไม่มีปาก แต่เป็นประเพณีใช่ไหม ประเพณีพวกเราเคารพพระพุทธเจ้า ถ้าจะทำบุญกับพระก็ขอทำบุญกับพระพุทธเจ้าด้วย ก็ถึงว่าถวายข้าวพระพุทธ

ไอ้ถวายข้าวพระพุทธมันเป็นประเพณี มันไม่ใช่ว่าถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้กินหรอก ต้องพูดจริงๆ ว่า “พระพุทธเจ้าไม่แดกหรอก” แต่เป็นประเพณีพวกเรา เพราะว่าพวกเราเคารพ พวกเราเคารพพระพุทธเจ้าไหม? ใครไม่เคารพ? เราก็เคารพ.. เราก็เคารพ..

ทีนี้เราเคารพ เราจะเทิดทูนท่านด้วยวิธีใด มันก็สร้างศาสนพิธีขึ้นมา แล้วก็ไอ้บ้านั่นก็บอก “ไปถวายข้าวพระพุทธเจ้าๆ” “พระพุทธเจ้าแดกข้าวมึงเหรอ? ” ตอแหลทั้งนั้น เราจะรู้ว่าที่มามันมาอย่างไรไง ที่มาประเพณีนี่มาจากตรงไหน ดูอย่างชักผ้า หลวงตาด่าบ่อย ไอ้ชักผ้าบังสกุลๆ

“ชักผ้าบังสกุล” แต่ก่อนนั้นมันไม่มี แล้วพอพระพุทธเจ้า พอดีอย่างที่ว่านางโสเภณีนิมนต์ไปฉัน พระนั่นไปฉันเข้า โอ้โฮ.. ขนาดว่าท่านป่วยไง คนป่วย แต่คนบางทีมันมีบุญนะ อายุแบบว่าร่างกายมันจะไม่เสื่อมสภาพมาก ขนาดป่วยๆ ยังรัก “โอ้โฮ.. ไปถึงตกใจเลย.. รัก” กลับมากินข้าวไม่ได้เลย รักมาก พอรักมากปั๊บ พอถึงเวลาแล้ว นางโสเภณีนั้นก็ตาย

พระพุทธเจ้าสั่งไว้เลย “อย่าเพิ่งเผา” ให้เก็บไว้อย่างนั้นน่ะ

พอ ๗-๘ วันแล้ว ก็บอกเลย บอกว่า “พระพุทธเจ้าจะเป็นประธานจัดงานศพนี้เอง” แล้วก็นิมนต์พระนั่นไป ให้พระนั่นบอก “นี่ๆ มึงชอบเขา เอาไหม? ” “ไม่เอา”

คนเรามันรักมาก พอคนเรารักมาก ไปเห็นสิ่งที่มันคาดหมายแล้วมันพลิกมาก.. มันปิ๊ง! เป็นพระอรหันต์เลย ไปพิจารณาศพมันเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาได้ ก็เลยเป็นประเพณีที่มาชักผ้า

ทีนี้พอชักผ้าขึ้นมา ชักผ้าบังสกุล เห็นไหม ทอดผ้า ชักผ้า บ้าบอคอแตกอยู่ ไอ้ชักผ้า ทอดผ้า เขาให้ดูศพ.. ไอ้ฉิบหาย! เขาไม่ได้ชักผ้า เอาแบงค์ในซองนั่นหรอก ประเพณีทั้งหมดมันมีที่มาในนี้หมด เพียงแต่ใครจะดึงตรงไหนมาใช้

กรณีข้าวพระพุทธก็เหมือนกัน “ลาข้าวพระพุทธ ถวายข้าวพระพุทธ” แต่มันก็ดีอย่างหนึ่งว่าให้เราเคารพบูชา คือให้เรามีจุดเป้าหมายไง เหมือนเรา เวลาใครมา เด็กๆ มันพาพ่อแม่มาบอกว่า “กราบทำไมทองเหลือง”

เราบอกว่า “เขาไม่กราบทองเหลืองกัน เขากราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์”

“เขากราบปัญญาคุณ เมตตาคุณของพระพุทธเจ้า”

“เขากราบสัจธรรมความเป็นจริงนั้น”

“เขากราบพระอริยสงฆ์”

เขากราบถึงรัตนตรัย เขาไม่ได้กราบทองเหลืองหรอก.. พวกเราคิดกันไม่ถึง

มาถึงเห็นกราบพระๆ

นี่พูดถึงเวลามุมมอง.. มุมมอง ถ้าเราเข้าใจ มันอยู่ที่ประสบการณ์

กลับเนาะ.. เออ.. จบ