คณะโจ้
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๖ มกราคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
โยม ๑ : ผมฝึกปฏิบัติมาประมาณ ๑ ปีกับ ๔ เดือนครับ ใช้ตามดูลมหายใจบ้าง ตามดูการเคลื่อนไหวนี้บ้าง ในระยะหลังๆ ในปัจจุบันผลการฝึกแล้วดูว่าธรรมดา เราก็ว่า ตอนแรกๆ ฝึกแล้วจะรู้สึกเครียดมาก แต่ปัจจุบันก็รู้สึกเครียดบ้างเล็กน้อย ส่วนในอดีตบางทีมันสงบ สบาย ผ่อนคลายมาก ปัจจุบันมันรู้สึกว่ามันไม่ค่อยสงบหรือผ่อนคลายเหมือนเดิมแล้ว แล้วก็ผลข้างเคียงก็มีแบบสะดุ้งบ้าง กระตุกบ้าง ก็ไม่ทราบว่าที่ปฏิบัติ ประเมินแล้วควรจะปรับปรุงอย่างไรดีถึงเหมาะสม
หลวงพ่อ : กำหนดลมหายใจเข้าออก กำหนดอย่างไร?
โยม ๑ : คือเราตามดูที่ท้อง ของ..
หลวงพ่อ : ของใคร? ยุบหนอ พองหนอ ยุบไหม ดูอย่างนั้นเลยเหรอ ดูอย่างนั้นเลยใช่ไหม?
โยม ๑ : ครับ พอท้องยุบเราก็ตามดู เราหลับตา พอมันขึ้นไปเราก็ตามดูไปเรื่อยๆ
หลวงพ่อ : แล้วพูดถึง โทษนะ เราไม่ใช่อะไรกันนะ เราเอาข้อเท็จจริง เราต้องคุยกันข้อเท็จจริง เราจะเคลียร์ แล้วพูดถึง โยม คนสอนใคร? โยมไปฟังมาจากใคร?
โยม ๑ : อ๋อ คนสอนนี้...อาจารย์สอนที่จุฬา
หลวงพ่อ : แล้วเขาสอนลูกศิษย์เยอะไหม เฉพาะคน
โยม ๑ : คอร์สหนึ่งประมาณ ๓๐๐ กว่าคน
หลวงพ่อ : แล้วสอนบ่อยไหม
โยม ๑ : สอนบ่อย
หลวงพ่อ : คนเยอะมากเลยสิ
โยม ๑ : คนเยอะครับ ก็ประมาณ ก็รวมๆ ก็ ๔ ครั้งต่อปี ๓๐๐ ก็ประมาณเป็นพัน
หลวงพ่อ : แล้วพูดถึงโยมไปทำหนแรกแล้วตอนนี้มาทำเองหรือไปกับเขา พอมีเขาเปิด ก็ไปทุกเที่ยว
โยม ๑ : คือเปิดรอบแรกแล้วก็ไป
หลวงพ่อ : แล้วก็ไปอีกไหม หรือว่าฝึกเอาเอง
โยม ๑ : แล้วก็นำซีดี หนังสือมา ฟังซีดีไปแล้วก็ปฏิบัติตามไป แล้วก็พออีกปีหนึ่งก็ไปอีก ไปเข้าคอร์ส
หลวงพ่อ : ไปทบทวน ของเขาเป็นอย่างนั้น เมื่อกี้ให้ซีดีไป ให้ซีดีเราไปนะ โยมลองไปฟังดู เพราะมันจะพูดอย่างนี้แล้วอัดเทปไว้ ส่วนใหญ่จะมาถามอย่างนี้เยอะมาก มันมีพวกนี้ มันเป็นพวกคณะหมอ เขาเป็นหมอ แต่แบบว่าเกษียณแล้ว อายุมากแล้ว ผู้หญิง เขาทำอย่างนี้มานาน เขากำหนดนามรูปนี้มานาน แล้วเขาก็มาหาเรา พอเขามาหาเราก็คุยกันไป พอคุยไป มันฟังแล้วมันขัดแย้ง เขาขัดแย้ง เขาจะถามเรา เขาจะถามเราว่า
ไอ้ของเราเวลาพูดกำหนดลมอะไรนะ มันแบบว่าเหมือนกับจับต้องไม่ได้ คือมันไม่เป็นวิทยาศาสตร์ เขาว่าอย่างนั้น แต่ของเขาเป็นวิทยาศาสตร์ คืออธิบายความรู้สึกได้หมด ใช่ไหม เราบอกว่ามันผิดตรงนี้แหละ ผิดตรงเป็นวิทยาศาสตร์แหละ มันผิดตรงเป็นวิทยาศาสตร์เพราะอะไร? เพราะวิทยาศาสตร์เป็นโลก แต่ถ้าเป็นธรรมนะ เป็นธรรมมันแบบ เราคาดหมายไม่ได้ไง มันจะเป็นปัจจุบัน
ทีนี้คำว่าปัจจุบันของเรามันไม่เป็นอย่าง อย่างที่เราพูด เขาจะเป็นสเต็ปเลย แต่จริงๆ ธรรมะเป็นสเต็ปเหมือนกันนะ เป็นสเต็ปของพระพุทธเจ้า เป็นสเต็ปของผู้ที่รู้แล้ว แต่ถ้าผู้ที่ยังไม่รู้ มันเหมือนกับเราสร้างภาพไง เราสร้างกรอบ ไอ้วิทยาศาสตร์นี้เป็นกรอบเลย ทฤษฎีใช่ไหม ทฤษฎีมันมีอยู่แล้วใช่ไหม พอเราทำแล้วต้องเป็นตามทฤษฎีนั้น ถ้าผิดจากทฤษฎีนั้นไปเราจะผิดพลาดใช่ไหม
ไงผิดตรงนี้ ผิดตรงที่ว่าเราไปสร้างว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ เป็นแบบวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ พอเราอธิบายให้เขาฟัง ไอ้ที่ผิดเขาถามว่ามันผิดตรงไหน? เราบอกว่า ธรรมะนะ เหมือนกับเอาธรรมะมาเปรียบอย่างนี้ อย่างเช่นนักเรียนหรือว่าพวกเราก็ได้ ๔-๕ คน รสนิยมต้องแตกต่างกันหมด รสนิยมคนจะเหมือนกันได้ไหม อาจจะคล้ายคลึงกัน แต่คล้ายคลึงยังไงก็ไม่เหมือนกัน
เราพูดอย่างนี้นะ เราจะพูดให้เห็นปัจจุบันธรรมก่อนไง ธรรมะเป็นปัจจุบัน ปัจจุบัน มันจะเกิดโดยปัจจุบันนั้น แต่ถ้าเป็นความคิดของพวกเรา มันเป็นปัจจุบันโดยความคิดแต่ไม่ใช่ ฟังนะ เราจะคิดว่า ความคิดจากสมอง พวกเราคิดจากสมอง จริงไหม แต่ถ้าเป็นธรรมะนะ คิดจากสมองนี่ผิดหมดเลย เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะสมองเราคิดถึง สมองคนเป็นอัลไซเมอร์หรือ(โทษนะ) หรือคนตายเป็นซากศพ สมองมันคิดได้ไหม?
โยม ๑ : ไม่ได้ครับ
หลวงพ่อ : เพราะคนไม่มีวิญญาณ สมองมันต้องมีพลังงาน คือตัววิญญาณ ตัวนามธรรม ทีนี้ตัวนามธรรม มันรับรู้ออกมาที่สมอง มันเป็นอนาคตหรือยัง? มันเคลื่อนออกมาหรือยัง? (นะ ตามทันนะ)
เพราะเราจะอธิบายเปรียบเทียบ แล้วเดี๋ยวจะตอบปัญหานี้ไง เราจะตอบปัญหาของโยม แต่เราจะอธิบายให้เห็นก่อนว่า ธรรมชาติการทำงานของหัวใจ การทำงานของร่างกาย มันทำงานอย่างไร? แล้วพอเราเอาวิทยาศาสตร์มาคำนวณปั๊บ เราคิดว่ามันถูกต้องไง แต่มันผิดหมดเลย ความผิดหมดเลยเดี๋ยวเราจะย้อนกลับไปที่การปฏิบัติ ถ้าเราพูดตรงนั้นปั๊บ ถ้าเรามีตรงนี้ปั๊บ เดี๋ยวถ้าเราไม่ปูพื้นก่อน โยมจะไม่เข้าใจไง
ทีนี้ถ้าพูดถึง ปัญญาจากสมอง มันเป็นปัญญาโดยสามัญสำนึกของมนุษย์ เราเกิดเป็นมนุษย์ เรามีร่างกายและจิตใจ ทีนี้พอจิตใจคือปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตนะ ไม่ใช่ความคิดนี้นะ ปฏิสนธิจิตมันเป็นพลังงานเฉยๆ พลังงาน ทำไมคนระลึกชาติไม่ได้ ระลึกชาติไม่ได้เพราะเวลาเกิดมันได้อีกชาติหนึ่ง ชาติหนึ่ง แต่ตัวพลังงาน คือว่าคนเกิดมาต้องตาย แต่ตัวจิตไม่เคยตาย เพราะเราตายปั๊บ จิตมันจะเคลื่อนไปต่อไป ต่อไป เพราะมันทำลายตัวมันเองไม่ได้
ทีนี้ ปฏิสนธิวิญญาณมันไปเกิด เกิดมา โดยสามัญสำนึกเรามีร่างกายกับจิตใจ ทีนี้คำว่าจิตใจของเรา จิตใจของมนุษย์นะ จิตใจของมนุษย์ จิตใจของเทวดา จิตใจของพรหม มันก็คนละภพ ทีนี้จิตใจของมนุษย์มันก็มีธาตุ๔ ขันธ์ ๕ ใช่ไหม ทีนี้ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ปั๊บเราก็
พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ ท่านพูดถึงธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ท่านพูดถึงว่าสิ่งที่ท่านปล่อยวางแล้ว แต่เรา เราเปรียบเทียบนะ เราเปรียบเทียบความรู้สึกของพวกเราเหมือนส้ม เราจะหยิบส้มเราต้องจับเปลือกส้มใช่ไหม เราต้องจับเปลือกส้ม ถ้าเราจับส้มเราต้องจับเปลือกส้ม ความคิดคือเปลือกส้ม แต่ตัวจิตคือตัวเนื้อส้ม
ทีนี้ร่างกายกับจิตใจไง จะเห็นว่าเปลือกส้มเหมือนร่างกายใช่ไหม จิตใจคือเนื้อส้ม ทีนี้ส้มกับเนื้อส้มมันไม่มีชีวิต มันเลยเวลามันกระทบกันมันไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าเราทำจิตเราสงบเข้าไปแล้ว มันจะเป็นเนื้อส้ม เนื้อส้มกับเปลือกส้มมันกระทบกัน เราถึงจะเห็นว่าความคิดกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน
ความคิดกับความรู้สึกมันจะไม่ใช่อันเดียวกัน พอไม่ใช่อันเดียวกัน เราต้องทำจิตสงบเข้ามาก่อน ทำจิตสงบเข้ามาก่อน ถ้าจิตมันสงบเข้ามา พอจิตสงบเข้ามาแล้วมันเป็นเนื้อส้ม เนื้อส้มกับเปลือกส้ม ทั้งๆ ที่มันอยู่ด้วยกัน เนื้อส้มกับเปลือกส้มไม่ใช่อันเดียวกัน แต่มันอยู่ด้วยกัน
ความคิดกับจิตมันก็ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่มันอยู่ด้วยกัน เพราะสัญชาตญาณของมนุษย์ไง สัญชาตญาณของมนุษย์ พอมันเกิดมาปั๊บ ทีนี้พอออกมาแล้ว มันก็ออกมาเรื่องของร่างกาย ทีนี้พอเราไปทำกัน ที่ว่ามันเป็นวิทยาศาสตร์ มันไปจับต้องตัวนี้ไง แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะ เวลาครูบาอาจารย์เราปฏิบัตินะ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
ปริยัติคือการศึกษา ที่เราไปศึกษาๆ พอปฏิบัติขึ้นมา ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติมันคือข้อมูล แล้วเราปฏิบัติกันด้วยข้อมูล อยู่ที่ข้อมูล มันไม่เป็นการปฏิบัติโดยข้อเท็จจริง ถ้าปฏิบัติโดยข้อเท็จจริงคือเข้าตรงนี้แล้ว กำหนดลมหายใจนะ เรากำหนดลมหายใจเฉยๆ กำหนดลมหายใจเราเป็นอานาปานสติ เราตั้งความรู้สึกเอาไว้ที่ปลายจมูก เวลาหายใจเข้า หายใจออกนี่มันจะมีความอุ่นๆ ที่ปลายจมูกจริงไหม?
หายใจเข้าและหายใจออกเรากำหนดที่นี่ ทีนี้พอหายใจเข้าเราตามเข้า เราตามเข้าไป พอตามเข้าไปมันเคลื่อนตลอดไง ทีแรกสบายไหม? ทุกคนปฏิบัติทุกคนจะสบายหมดเลย สบายเพราะอะไร? สบายเพราะเมื่อก่อน พวกเราอยู่กันโดยสามัญสำนึกใช่ไหม พอเรามาตรึกในธรรมะพระพุทธเจ้า มันเหมือนกับเราเป็นไข้ แล้วเรากินยาลดไข้
ธรรมะนี่เป็นยาลดไข้นะ พอเราปฏิบัติปั๊บทุกคนจะสบายๆ แล้วพอต่อไป มันจะอยู่แค่นี้ การปฏิบัติของแนวทางนี้ มันจะอยู่แค่นี้ สังเกตได้นะ คนปฏิบัติจะไม่เจริญไปมากกว่านี้ นี่ยังดีนะ มีคนปฏิบัติแล้วมาหาเราเยอะมากเลย หลวงพ่อ ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ นะความคิด แล้วพอเราตามทันความคิด มันก็หยุด แล้วได้อะไร?
โยม ๑ : ได้ความสงบ สบาย
หลวงพ่อ : นี่สบายๆ สบายอย่างนี้เราจะบอกว่ามันไม่ใช่สมาธิไง สงบอย่างนี้ยังไม่ใช่สมาธินะ สงบอย่างนี้มันเป็นสัญญาอารมณ์ ความคิด เราพูด ความคิดกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน ใช่ไหม ถ้าความคิดกับจิตเป็นอันเดียวกัน เวลาเราคิดเราก็คิดอยู่ เวลาเราไม่คิด มันจิตไปไหน? ความคิดไปไหน? แต่ความรู้สึกเรายังมีอยู่ จริงไหม?
นี้ถ้าเรากำหนดลม กำหนดลม มันจะเข้ามา มันผ่านความคิดเข้ามาถึงตัวมันเอง แล้วถ้าว่างอันนี้นะ มันจะมหัศจรรย์กว่านี้อีกเยอะเลย ไอ้ที่ว่าสบายๆ นะ เวลามันสงบนะ โอ้โฮ พูดออกมาเป็นอธิบายไม่ได้แล้วกัน
เราจะบอกว่าในการปฏิบัติที่เขาทำกันอยู่นี่นะ ประสาเราเลย มันเหมือนกับเรา เราจะบอกว่าวิปัสสนึก มันเป็นการสร้างภาพ พอสร้างภาพขึ้นมา มันจะอยู่แค่นี้ บางทีนะมีพวกอภิธรรมมา กำหนดนามรูปนามรูป ว่างๆ อย่างนี้มาเยอะมาก แล้วบอกว่าให้ทำอย่างไรต่อไป? บอกว่าให้ทำอย่างไรต่อไป? เราจะถามเขากลับว่า โยมปฏิบัติเพื่ออะไร? ถ้าโยมปฏิบัติเพื่อว่าเป็นปฏิบัติธรรม ถูกต้อง เขาบอกปฏิบัติเพื่อมรรคผล ถ้ามรรคผลผิดหมด
ผิดหมดเพราะอะไร? เพราะในธรรมะมันมีมิจฉากับสัมมาไหม? ว่างๆ สบายๆ มิจฉา (อ้าว งงยัง) มันมิจฉาเพราะอะไร? มันมิจฉาเพราะมันไม่ใช่ข้อเท็จจริง มันไม่ใช่ข้อเท็จจริงเพราะอะไร? มันไม่ใช่ข้อเท็จจริงเพราะว่า เราตั้งเป้าไว้ผิด เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะไตรสิขา ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา จริงไหม
ทีนี้ถ้าเรารักษาจิตเรา จิตเราจะเป็นปกติของใจ เป็นศีล ถ้าเรารักษาศีลนะ ศีลจะปกติของใจ แล้วถ้าเป็นสมาธิ พอเกิดสมาธิแล้ว เราจะบอกว่าปัญญาที่พระพุทธเจ้าสอนนี่นะ ไม่ใช่ปัญญาอย่างพวกเรา ปัญญาที่เขาบอกเขาใช้ปัญญา มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาเกิดขึ้น เราเป็นคนคิดใช่ไหม?
โยม ๑ : ครับ คิดมาก
หลวงพ่อ : เราเป็นคนคิดหมด ถ้าเราเป็นคนคิด มันจะเป็นโลกียปัญญา เพราะปัญญาเกิดจากเรา แต่ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามานะ พอเราทำ เราพุทโธก็ได้ หรือเรากำหนด กำหนดลมนี่ได้ เพราะว่ากรรมฐาน ๔๐ ห้อง การทำความสงบ ๔๐ วิธีการ
อานาปานสติคือกำหนดลมหายใจเข้าออก อานาปานสติกำหนดลม (หายใจ) อานาปานสติ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ มรณานุสติ เทวตานุสติ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ มันมีวิธีการหลากหลาย แล้ววิธีการหลากหลาย มันต้องให้อยู่ในวิธีการ วิธีการนั้นให้เป็นเนื้อหาสาระของวิธีการนั้น แต่นี้พอเราวิธีการอย่างนั้นปั๊บ เราสร้างวิธีการขึ้นมา แล้วเรา
เราเปรียบเลยนะ การที่ว่ากำหนดแล้วมันสบายๆ เหมือนกับเราดูทีวี เรามีความครุ่นคิดอยู่ เราไปเปลี่ยนอารมณ์ไง เราไปดูข่าวสารไง เราไปดูข่าว อารมณ์จะอยู่กับข่าวไหม? นี่ก็เหมือนกัน อารมณ์ความคิดมันมีอยู่ใช่ไหม เราไปอยู่ที่อารมณ์ว่าง อารมณ์ว่างไม่ใช่ความว่าง อารมณ์ว่างกับตัวมันว่าง ตรงนี้คนอธิบายไม่ชัดนะ คนถ้าไม่เข้าใจจะอธิบายตรงนี้ไม่เห็น ถ้าอธิบายตรงนี้ไม่ได้ปั๊บ เราก็เชื่อว่าในการปฏิบัติเรามันเป็นผลแล้ว แต่มันไม่เป็นผลเพราะอะไร? เพราะสิ่งนี้มันเป็นความคิด มันไม่ใช่ตัวมันเอง แล้วตัวมันเองเข้าหายากมาก
เราจะบอก ในปัจจุบันนี้คนที่ทำสมาธิได้จริงๆ น้อยมากเลย เพราะอะไร? เพราะมันเข้าไม่ถึงไง เพราะถ้าเป็นตัวสมาธิ เราบอกว่าสมาธินี่นะ เหมือนเราเปิดน้ำ เราเปิดน้ำ แล้วเราเอาภาชนะใส่มัน มันต้องมีแรงอัด หรืออากาศมันต้องมีแรงอัดใช่ไหม ตัวสมาธิมันมีพลังงาน ต้องมีแรงอัด นี้ทำไมเราไม่มีล่ะ? แสดงว่าเราเปิดน้ำทิ้ง ไม่มีภาชนะใส่มัน
มันกรณีนี้กรณีหนึ่ง แต่ถ้าอีกกรณีหนึ่งนะ ถ้าเราปฏิบัติจริงนะ เราปฏิบัติจริงแล้วมันถูกต้อง เวลาปฏิบัติแล้วยากมาก ยากกว่านี้อีก เพราะอะไร? นี้พูดถึงว่า เราปฏิบัติของเรา เราปฏิบัติโดยเราคิดขึ้นมามัน โดยเราคิดขึ้นมานะมันยังยากขนาดนี้ ถ้าโดยเนื้อหาสาระของมันจะยากกว่านี้ ยากกว่านี้เพราะอะไร? เพราะมันเป็นข้อเท็จจริง เหมือนแบงก์เทียม เงินเก๊กับเงินจริงเลย แบงก์ปลอมกับแบงก์จริง แบงก์จริงเราจะเอามาจากไหน? เราต้องทำหน้าที่การงานมันถึงได้ผลตอบแทนมา แบงก์ปลอมเราทำเองก็ได้ อะไรก็ได้?
เราจะพูดเลย การปฏิบัติอย่างนั้นนะ มันเป็น ประสาเรานะมันเป็นทฤษฎีไง มันเป็นปริยัติไง เอามาทำกัน เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะคนที่สอนมันไม่รู้จักสมาธิ นี้ย้อนกลับมาที่เรา ถ้าทำสมาธิ โดยสามัญสำนึกที่เขาสอนกันบอกว่า สมถะไม่ต้องทำ สมถะเป็นเรื่องเกิน จะบอกว่าไร้สาระเลยก็ได้ หรือเรื่องที่ว่ามันไม่มีความจำเป็น ให้ใช้ปัญญาไปเลย สมถะเขาบอกว่าไม่มีความจำเป็นเนาะ
โยม ๑ : มันจำเป็นครับ จำเป็นต้องทำความสงบ
หลวงพ่อ : ใช่ ถ้าจำเป็นต้องทำความสงบก่อน ถ้ายอมรับว่าต้องทำความสงบก่อน มันต้องให้สงบตามข้อเท็จจริง ถ้าตามข้อเท็จจริง กำหนดลมต้องอยู่กับลม แล้วถ้ากำหนดลมเราบอกเลยนะ เหมือนเราจะเข้าบ้าน พอเราจะเข้าบ้าน แล้วทีนี้คนจะเข้าบ้าน แล้วแต่ว่าบ้านของคนทำทางเข้าไว้ดี หรือทำทางเข้าไว้มีปัญหาบ้าง
ทีนี้บางคนมันจะสงบไปเฉยๆ บางคนสงบมันจะมีอาการที่ว่าเหมือนตกจากที่สูง บางคนสงบปั๊บมันจะมีอาการต่างๆ ถ้าอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการ เราต้องกำหนดพุทโธไว้ พุทโธ พุทโธ หรือว่าถ้าใครกำหนดลม ต้องกำหนดไว้ พอกำหนดลมปั๊บ พอมีอะไรมากระทบมันจะดึงลมออกไป มันจะดึงความรู้สึกเราไป เราจะต้องอยู่กับลม อยู่กับลม เพราะถ้าจิตมันอยู่กับลม อย่างอื่นจะเข้ามาแทรกไม่ได้
อันนี้เป็นคำบริกรรมนะ อันนี้เป็น ถ้ากำหนดลม กำหนดคำบริกรรม คำบริกรรมหมายถึงว่าจิตนี้เป็นนามธรรม จิตนี้คือธาตุรู้ เป็นพลังงานอันหนึ่ง พลังงานอันหนึ่ง ธรรมชาติของมัน มันจะคลายตัวตลอดเลย เขาเรียกว่าส่งออก ความคิดมันจะส่งออกตลอดเวลา ถ้าความคิดมันส่งออกไปเห็นไหม เราก็กำหนดเข้ามา กำหนดเพื่อจะให้มันทวนกระแสกลับ ให้มันทวนกระแสกลับเข้าไป
พอมันทวนกระแสกลับ ทีนี้ทวนกระแสกลับ นี่คือธรรมะที่เราต้องการ สิ่งที่ปฏิบัติมันมีปัญหา ปัญหาเพราะว่าเรามีกิเลสกันไง เรามีมารไง ไอ้ตัวกิเลสตัวมารมันเบี่ยงเบนไง ตัวเบี่ยงเบนตัวต้าน อันนี้ไอ้ตัวเบี่ยงเบนตัวต้าน มันก็เป็นกิเลสของแต่ละบุคคล ไอ้ตรงนี้ไม่มีสูตรสำเร็จนะ เป็นแบบ มีเยอะมากเวลาคนปฏิบัติไป คือคนปฏิบัติในทางนี้ เวลาปฏิบัติไปมันจะ ตัวจะเอนบ้าง จะเกิดการโยกการคลอน จะเกิด มันจะเกิดของมันตลอด
อันนี้คือแรงต้าน แรงต้านโดย เหมือนคนไข้ไง คนไข้มันมีอาการไข้มาก อาการไข้น้อยของแต่ละบุคคลมันไม่เหมือนกัน นี้อาจารย์ต้องรู้ตรงนี้ ถ้ารู้ตรงนี้ปั๊บ เราตั้งสติให้ดี ถ้ากำหนดลมกำหนดลม เพียงแต่ที่พูดนะ เราจะถามก่อนว่ากำหนดอย่างไร? เพราะกำหนดลม เวลาเราเข้าตามเข้าตามออก
หลวงตาท่านสอนอย่างนี้ ท่านบอกว่าอานาปานสติควรอยู่ที่ปลายจมูก เหมือนอยู่ที่ปากประตูบ้าน ถ้าเรายืนอยู่ที่ปากประตูบ้าน คนจะเข้าบ้านเรา ผ่านบ้านเรา เราจะรู้หมด ถ้าพูดถึงว่าลมเข้าแล้วเราตามไป เหมือนพอมีคนมาเข้าบ้าน เราก็เดินตามเขาไป หน้าบ้านเราปล่อยแล้วเห็นไหม เราเดินตามเขาไป แล้วเราก็ตามเขาออกมา อยู่อย่างนั้นล่ะ สมาธิคือหนึ่ง แต่เราเคลื่อนอยู่ มันจะหนึ่งไหม
ทีนี้เพียงแต่ว่า ประสาเราเวลาเราพูดมันจะขัดแย้งกับอาจารย์เดิมที่สอนมานิดหนึ่ง ถ้าเวลาใครมาเราจะถามถึงอาจารย์เดิมที่สอนก่อน แล้วเราคุยกันตามข้อเท็จจริง แล้วตอนนี้พูดถึงความถนัดคือกำหนดลมอย่างเดียว
โยม ๑ : ถนัดลม แล้วรู้สึกว่าเคลื่อนมือจะถนัดดีกว่า
หลวงพ่อ : เคลื่อนมืออย่างไร?
โยม ๑ : เคลื่อนมือแบบว่าเราขยับมือให้มันแบบว่าเรารู้สึกตัวบ้าง
หลวงพ่อ : เคลื่อนมืออย่างนี้เหรอ?
โยม ๑ : ครับ
หลวงพ่อ : เคลื่อนมือนี้ของหลวงปู่เทียน
โยม ๑ : อย่างนั้นแหละครับ
หลวงพ่อ : หลวงปู่เทียนนะท่านทำอย่างนี้เลย ท่านเคลื่อนมือนี่นะ การเคลื่อนมือคนปฏิบัติจะรู้การเคลื่อนมือมันเหมือนบางทีเราถ้าเรานั่งกำหนดลมหายใจ หรือกำหนดพุทโธไป บางทีมันหายวูบไปเลย การเคลื่อนมือเพื่อจะไม่ให้ตกภวังค์ไง การเคลื่อนมือไม่ให้ตกภวังค์ แต่มันมีดี ของทุกอย่างจะมีสองด้าน จะมีดีและผิด มีดีและไม่ดีเหมือนกัน
พอเคลื่อนมือ สมมุติว่าจิตเรามันจะลงใช่ไหม จิตเราจะลงไป ถ้ามันจะลง ถ้ามันลงมีสติ นั่นคือถูกต้องนะ แต่ถ้าการเคลื่อน หมายถึงว่าเรากระตุกมันออกมา มันมีผลไม่ให้ตกภวังค์ แล้วมันก็มีผลให้จิตที่มันจะละเอียด ให้หยาบอยู่ตลอดเวลา โอ้โฮ ทุกอย่างมันจะมีบวกและลบในตัวของมันเองทั้งหมด นี้เราเลือกใช้ เราต้องเลือกใช้เอาแต่บวก ลบไม่เอา ทีนี้เราจะพูดอย่างนี้ไง ถ้ามันกำหนดว่ามันจะลงได้ เราต้องลง
นี่เห็นไหม หลวงตากับหลวงปู่เจี๊ยะ เวลาท่านสอนเรื่องนี้ ท่านจะห่วงตรงนี้มาก ท่านบอกว่าถ้าจิตมันลงนะ ถ้าจิตมันเข้าสมาธิไปหรือมันลงไปแล้ว อย่าไปกวนมัน อย่าไปกระตุกมันออก ถ้ากระตุกออกแล้ว ต่อไปจะทำให้เข้าได้ยากมาก การเข้าแล้ว ถ้ามันเข้าแล้วดีแล้ว ถ้าออกให้มันคลายตัวออกมา การเข้า-ออกสมาธิ ไม่ใช่เราเข้าประตูออกประตู
เหมือนกับของ น้ำนี่มันขุ่น น้ำมันจะสะอาด แล้วเดี๋ยวพอเราเขย่า ตะกอนมันก็ออกมา คือว่ามันอยู่ในตัวมันนั่นแหละ แต่มันหยุดยุบตัวลง ความรู้สึกเรามันหดตัวเข้ามา แล้วความรู้สึกเวลาจะออก มันก็ต้องความรู้สึกมันคลายตัวออกมา ถ้ามันหดเข้า เวลามันหด เขาเรียกหดสั้นเข้ามา หดสั้นเข้ามา บางทีบางคนมันมีอาการไง อาการมันทำให้เราตกใจ
นี้อาการตกใจ ถ้าอาการตกใจนี่นะ ถ้าเราตาม มันก็ออก แต่ถ้ามันเป็นภวังค์นะ มันไม่ตกใจ มันค่อยๆ เงียบๆๆๆ แล้วก็หายไปเลย ถ้าเงียบๆๆๆ แล้วหายไปเลย อาการเคลื่อนอย่างนี้ดีมาก คือว่าไม่ให้มันหายไป หายไปเขาเรียกภวังค์ไง เราจะวูบหายไปเลยล่ะ อันเคลื่อนๆ จะแก้ตรงนี้ได้ดีมาก แต่ถ้าจิตมันจะลงสงบต้องให้มันลง พอให้มันลงปั๊บ ถ้าเราเห็น สติเราพร้อม ความรู้เราชัดเจน เราอย่าเคลื่อน ถ้าความรู้ชัดเจนให้มันลงไป ลงไป จะลงไปขนาดไหนนะ อาการบางทีมันตก เหมือนเราตกเหวไปเลย แต่ความจริงไม่ใช่ เรานั่งอยู่นี่ไม่ไปไหนหรอก มันเป็นของมันไง
อันนี้ ถ้ากรณีนี้เกิดขึ้นมา จะไปโทษใครอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น มันเป็น เราเรียกว่าพันธุกรรมทางจิต เราเกิดตายกันมาเยอะแยะนะ แล้วเราการสร้างมา เขาเรียกพันธุกรรมคือมันแต่งมาอย่างนี้ไง คือเราทำมาเองไง ถ้ามันเกิดอะไรขึ้นมานะ เราก็ต้องยอมรับสิ่งที่เราทำมา สิ่งที่ทำมาแล้ว เราต้องแก้ไขตามนั้น เรา สิ่งที่เราทำมาเป็นอย่างนี้ แล้วเราจะไปหาทฤษฎี ให้มันมาแก้กับสิ่งนี้โดยตรง สิ่งนี้มันไม่มี
ทฤษฎีนะ กรรมฐาน ๔๐ ห้อง แต่การกระทำอย่างนี้ ถ้ามันเป็นอย่างนี้ปั๊บเราต้องแก้ไข คือว่าต้องแก้ไขตามจริตของคนเลย การปฏิบัติมันถึงเหมือนกับว่า ทำด้วยมือเลย มีชิ้นเดียว เรากระจายของเรา เราทำของเราคนเดียว จะไม่มีการซ้อนกันนะ ของใครของมันเลย นั่ง ๒ คนนี่ไม่เหมือนกันหรอก ภาวนาไม่เหมือนกันหรอก เถียงกันตายเลย ถ้าไปเถียงกัน ๒ คน
มันจะไม่เหมือนกัน แม้แต่พี่น้องกัน เราพูดถึงขนาดนี้ว่าคู่แฝดไข่ใบเดียวกัน มาจากพ่อแม่คนเดียวกัน นิสัยยังไม่เหมือนกันเลย นิสัยคืออะไร? นิสัยคือการสั่งสมมาของจิต ร่างกายที่เกิดพันธุกรรมนี้ของพ่อแม่หมด DNA นะ กรรมพันธุ์พ่อแม่หมดเลย แต่นิสัยไม่ใช่ นิสัยใจคอไม่ใช่ นิสัยใจคอเป็นจิตที่มาปฏิสนธิ จิตของเราเอง จิตที่มันเกิดตายเกิดตาย
ทีนี้เกิดตายเกิดตาย เราจะบอกว่า สิ่งใดที่สอนเป็นสูตร ผิดหมด เราต้องทำของเราเอง มันเป็นเองไง ทฤษฎี สิ่งที่เป็นสูตรนะ มันเป็นทฤษฎี แต่เวลาปฏิบัติ สูตรรู้แล้ว แต่มันจะมีตัวแปร มันจะมีเหตุปัจจัย โอ้โฮมันจะมีอะไรอีกเยอะแยะเลย สูตรนั้นเขาเรียนเอาไว้เฉยๆ แต่ถ้าทำ ต้องทำอย่างนี้
นี่พูดถึงว่าเวลาจะให้มันดีขึ้นไง พูดซะยาวเลยนะ เวลาใครมาถามธรรมะ เราจะบอกเลย ตอบเหมือนไม่ได้ตอบเลย แต่เคลียร์ให้เห็นก่อนไง เพราะว่านั่งไปแล้วใช่ไหม กำหนดลมแล้วทำอะไรต่อไป ถ้ากำหนดลม ถ้าเราใช้ลม กำหนดลมแล้วดี ตั้งสติ เราพูดถึง เราพูดให้เห็นถึงผลที่มัน ผลการโต้แย้งที่มันเป็นความผลักดันของกิเลส กับผลของที่ความเป็นจริง แล้วเราทำเข้าไป เราเองเราก็ไม่เข้าใจ
เราจะบอกว่าให้กำหนดลมชัดๆ แล้วไม่ต้องห่วงนะ มันมีพระมาหาเรา เขาบอกว่าเขาไปคุยกับพวกครูบาอาจารย์เขาก็บอกว่า กำหนดไปนี่ลมต้องหาย โดยข้อเท็จจริงนะ จริงๆ แล้ว พอถึงที่สุดแล้ว ลมมันจะหายไปเอง แต่ทีนี้พูดอย่างนี้ปั๊บนะ คนทำจะผิดหมด เพราะเราก็เคยปฏิบัติมา ลมหายเลยนะ กำหนดลมหายใจ กำหนดไปเรื่อยๆ บางทีนะถ้ามันไม่ลง คำว่าไม่ลงมันยังรับรู้อยู่
ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ถ้ามันยังไม่ถึงที่สุดนะ บางทีเห็นลมเป็นแท่งเลย ใสเลย ถ้าใสเราบอกไม่ลงเพราะอะไร? เพราะการเห็นอยู่นี่คือจิตรับรู้กระทบ ตากระทบรูป มันมีความรับรู้อยู่ เห็นลม มันเห็นชัดอยู่ จิต ส้มกับเปลือกส้มมันรับรู้กันอยู่ เพราะลมกระทบปลายจมูก ปลายจมูกก็คือร่างกายใช่ไหม แล้วจิตมันอยู่ข้างในมันเห็น แล้วบางทีกำหนดไปเรื่อยๆ กำหนดไปเรื่อยๆ กำหนดเรื่อยๆ มันจะละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ ละเอียดเรื่อยๆ
จนถึงที่สุดนะกำหนดไม่ได้ มันจะหดเข้ามา ดิ่งเข้ามา ดิ่งเข้ามา สติตามตลอดนะ ไม่มีช่วงเว้นวรรคเลย จนลมเริ่มเบาลง จนลมขาดไปหมดเลย ความรู้สึกดับหมด อย่างเช่นเรานั่งอยู่นี่ ลมพัดมาไม่รู้สึกหรอก เพราะมันสักแต่ว่ารู้ มันไม่รับรู้เรื่องร่างกายเลย มันปล่อยหมดเลย
นั่นเราจะบอกว่า จริงๆ ลมมันต้องขาด ถ้าถึงที่อัปปนาสมาธิลมมันขาด แต่เราบอกพระองค์นั้น เราแก้เขานะ เราบอกว่า เป็นไปไม่ได้ ลมห้ามขาด ถ้าบอกลมขาดปั๊บเราจะสร้างภาพ ลมหายใจ ลองกำหนดลมดูสิ แล้วก็เบาลง เบาลง อยากให้ขาดไง มันก็เลยนั่งหลับหมดเลยไง
ถ้าใครบอกว่าลมมันจะขาดหมดนะ ไอ้คนนั้นล่ะนั่งหลับ แต่ถ้าเรากำหนดลม ลมขาดไม่ได้ ห้ามขาดเด็ดขาด เรารู้กันมาตลอดไง ถึงที่สุดแล้วลมมันไม่มี มันละเอียดนะ จิตมันละเอียดจนไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้นเลย แต่รู้อยู่ มันรู้ตัวมันเองอยู่แต่ไม่เห็นลม ทุกอย่างไม่มี ดับหมด
ความจริงมันเป็นอย่างนี้ แต่เวลาเราไปสอนเด็กๆ นะ อย่างเราอ่านตำรามา เราไม่เคยเป็น เราจะสอนเลยนะถึงที่สุดแล้วลมต้องดับ โอ้โฮ กิเลสมันยิ้มเลย กำหนดลม กำหนดลม แล้วก็เบาลง โอ๋ย หลับเลย ดับหมดเลย เพราะคนถ้าภาวนาเป็นนะ มันจะเคยผ่านเหตุการณ์วิกฤตอย่างนี้มาไง มันจะเคยโดนหลอกมาจนเข็ดไง ถ้าหลับนั่นล่ะตกภวังค์ มันหายไปเลย แล้วพอหายไปสักพักหนึ่งแล้ว สักครึ่งชั่วโมง ชั่วโมงหนึ่งแล้ว มันจะออกมานะเหมือนคนสะดุ้งตื่น เพราะมันหายไป แล้วมันรู้สึกตัวขึ้นมา มันสะดุด อันนี้หลับ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ (หัวเราะ) เราเป็นมาหมดล่ะ
โยม ๒ : แล้วถ้าเกิดนั่งแล้วรู้สึกว่าตัวหายไป แต่มีความสุขล่ะคะ
หลวงพ่อ : มีสติอยู่นะ ถ้าจริงๆ แล้วมันจะหายหมด มันจะปล่อยหมดเลยนะ สมาธิ กายกับจิตปล่อยกันได้ แต่ปล่อยโดยสมาธิ เราถึงไม่ค้านมหายาน มหายานเขาบอกว่า เวลาถอดจิตนี่นะเหมือนกล้วย เขาปลอกกล้วย เปลือกกล้วยกับกล้วยไม่ใช่อันเดียวกัน กายกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน เขาเอาจิตออกได้เลย
แต่พวกนี้เขา พวกมหายานเขาโพธิสัตว์ไง เวลาเขาเกิดตายเกิดตาย เขาจะตามจิตเขาไปอีก ถ้าพูดถึงนะดับหมด ถ้ามันมีความสุข สำคัญที่ความรู้สึกเรามันจะมีสติตลอด ตรงนี้สำคัญมากเลย จะพุทโธ จะลมหายใจมันมีสติตลอด ถ้าสติ แว็บ! ไปแล้วขึ้นต้นใหม่ สติมันมีกับเรา เหมือนกับเราจุดธูปหรือจุดเทียนก็ได้ ธูปมันจะลามเข้าไปเรื่อยๆ อย่างนี้ มันจะไหม้ตัวมันเองเข้าไปเรื่อยๆ ทำไมเราจะไม่รู้ล่ะว่าธูปมันไหม้ตัวมันเองเข้าไป
สติก็เหมือนกัน จิตก็เหมือนกัน ที่เป็นสมาธิมันจากหยาบๆ มันจะลามมันเข้ามา ลามมันเข้ามา มันเห็นหมดล่ะ ทีนี้ถ้าจุดธูป ธูปไฟมันจะติดตัวมันเองตลอด แล้วถ้ามันดับ ไฟดับ มันจะไหม้ตัวมันเองไหม? มันจะเข้าถึงตัวมันเองได้ไหม? ข้อเท็จจริงเลย จิตก็เหมือนกัน กำหนดอะไรก็ได้ แต่ต้องอยู่กับมัน เหมือนกับจุดธูป ธูปมันจะเผาไหม้ตัวมันเอง จนธูปมันหมด ธูปมันหมดนั่นล่ะคือเข้าสมาธิ
ถ้าสติเรารู้อยู่ กำหนดลมกำหนดอะไรก็แล้วแต่กำหนดไปเรื่อยๆ สติพร้อม แต่นี้มันเสียอย่างเดียว เพราะพวกเรามันชิงสุกก่อนหามกันไง ครูบาอาจารย์ท่านบอกเลยนะ พุทโธ พุทโธ แล้วพุทโธมันจะค่อยๆ จางลง จางลง จนพุทโธไม่ได้ พุทโธหายไป ทุกคนคิดเหมือนกับลมนั่นแหละ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ หลับไปเลย แล้วก็มานะ
หลวงพ่อ ว่าง ว่าง กูล่ะปวดหัว
จนเราคิดอย่างนี้ เรารู้ทันไง เพราะอาจารย์ใช่ไหม ไม่ใช่ลูกศิษย์ แล้วบางทีมา เขาจะไม่ยอมรับใช่ไหม? เราบอกว่าอย่างนี้ได้ไหม? สมมุติว่าให้นึกพุทโธจะนึกได้ไหม? ได้ครับ แล้วทำไมไม่นึกล่ะ อ้าวนึกแล้วมันก็หยาบ เพราะครูบาอาจารย์ท่านเทศน์อย่างนี้ ถ้าจิตละเอียดเข้าไป ถ้าเรานึกพุทโธมันจะหยาบ แต่ถ้าเรานึกชัดๆ มันละเอียด มันละเอียดตัวมันเอง ไม่หยาบหรอก
มันนึกได้พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ ตะโกนเลย พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธอยู่อย่างนั้นนะ มันอยู่อย่างนั้นแหละ นานๆ แล้วพอมันเป็นนะ ตะโกนอย่างไรก็แล้วแต่จิตมันลง ไม่เกี่ยวกันเลย จิตมันจะเข้าไปเลย เพราะคำพุทโธหรือกำหนดลมหายใจ เราเปรียบเหมือนเด็ก เด็กมันจะหัดเดิน มันเดินไม่เป็น มันต้องเกาะราวบันไดไป หรือเกาะราวไป หรือเวลาจะฝึกให้เด็กหัดเดิน
จิตนี่นะเวลามันจะเข้าสมาธิ มันจะอาศัยพุทโธเป็นราว อาศัยลมหายใจเป็นราวเกาะไป ถ้ามันไม่มีราวเกาะไป มันวูบหายไปเลย คำบริกรรมมันถึงสำคัญตรงนี้ไง สำคัญ มันเหมือนกับราวเราจับเข้าไป ฉะนั้นเราทิ้งไม่ได้ เหมือนเราไต่ไปหน้าผา หรือสะพานแขวน แล้วถ้าเราไม่เกาะสลิงนี้ไป เราจะข้ามไปฝั่งนู้นได้ไหม
ทีนี้ถ้ามันไปแล้วถึงกลางทางวูบหาย วูบหาย คือมันตก มันไม่ถึงฝั่งนู้น มันตกวูบหายไปเลย ทีนี้ตกวูบหายไปแล้ว มันก็อยู่ที่ว่าเราผิด ไม่ใช่ธรรมะผิด ไม่มีอะไรผิด เราผิด เราผิด เราผิด
ศีล สมาธิ ปัญญานะ ถ้าพูดถึงว่าสมาธิสำคัญ เราเห็นด้วยมาก สมาธิสำคัญมากเลยรู้ไหม เพราะสมาธิมันตัวแบ่งแยก โลกียะกับโลกุตตระ ถ้าไม่มีสมาธิ ความคิดเกิดขึ้นมาเป็นโลกียะ โลกียะคือความคิดจากกิเลสเรา ความคิดจากฐานของจิต พอจิตสงบปั๊บมัน ตัวตนเรามันสงบลง เกิด ถ้าความคิดมันเกิดได้นะ เห็นเป็นสัจธรรมได้นะเรียกโลกุตตระ
โลกุตตระเกิดจากอะไร? เกิดจากสัจธรรม ไม่ใช่เรามีการคาดหมายไง คือปัญญาที่ไม่มีเราร่วม ถ้ามีปัญหา ถ้าเราแก้ปัญหาได้คือจบ ถ้าเราไม่แก้ปัญหา ตัวเราเป็นปัญหาปัญหาหนึ่ง ทีนี้พอความคิดเรา ตัวเราเป็นปัญหา เราต้องทำตัวเราไม่ให้มันเป็นปัญหา คือเอาตัวเราแก้ปัญหา เอาตัวเราแก้ปัญหามันก็เกิดเป็นโลกุตตรปัญญา
ทีนี้ไอ้ตัวเรา มันเป็นปัญหาอยู่ ถึงต้องทำความสงบ ถ้าตัวเราสงบเข้ามา อะไรเกิดขึ้นมา อะไรเกิดขึ้น คำว่าอะไรเกิดขึ้นหมายถึงว่าสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้ามันเกิดขึ้นมาปั๊บ จิตมันเป็นโลกุตตระ โลกุตตระเพราะอะไร? เพราะไปเห็นตามข้อเท็จจริง โลกุตตระเพราะอะไร? โลกุตตระเพราะว่า จิตมันเห็นด้วยจิต อย่างที่ว่าไม่ใช่ความคิดสมองไม่ใช่ความคิดของจิต เห็นปัจจุบันนั้นนะ ถ้าเป็นสมาธิมันก็ตื่นเต้นอยู่แล้ว ถ้ามันไปเห็นกายอีก โอ้โฮ ยิ่งตื่นเต้นซ้ำสองซ้ำสามเลย
สบายอย่างไรก็แล้วแต่นะ เราตั้งสติไว้ แล้วเวลาจะทำ เวลาถ้าเรากำหนดลมอะไรนี่เราวางให้หมด ความคิดวางให้หมด เว้นไว้แต่ เว้นไว้แต่ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าทำแล้วมันเครียดนะ เราสอนปัญญาอบรมสมาธิด้วย คือว่าใช้ปัญญาไล่ไป มันหยุดได้เหมือนกัน ไล่ปัญญาไป คือไล่ความคิดไป ปัญญาคือความคิดนี่แหละ บางทีมันหยุดได้ ดังนั้นอย่างที่ว่ามันหลายหลากไง แต่ถ้าถนัดทางนี้แล้วไม่ต้องไปเปลี่ยน
โยม ๑ : ถนัดทำความสงบก่อน หรือทำสมาธิก่อน
หลวงพ่อ : ใช่ ทำสมาธิก่อน ต้องทำสมาธิก่อน ทีนี้ถ้าทำสมาธิก่อนเรากำหนดลมหายใจ ถ้ากำหนดลมหายใจ ชัดๆ อยู่กับลมหายใจชัดๆ แล้วถ้ามันพลาดก็ อยู่อย่างนั้นล่ะ คือเกาะลมหายใจไป เดี๋ยวจะเห็นของดี
แต่พวกเราบางที เพราะครูบาอาจารย์ไปสอน ครูบาอาจารย์ไปสอนก่อน สอนว่าข้างหน้าจะเป็นอย่างนั้น แล้วเรายังไม่เป็นอย่างนั้นไง แต่ไปสร้างภาพให้เป็นอย่างนั้น แล้วพอสร้างภาพให้เป็นอย่างนั้น มันไม่เป็น พอทีนี้มันไม่เป็น มันไม่เป็นความจริงแล้ว แล้วทีนี้มันก็หายเลย บางทีมันหายมันหายไปเลย แล้วพอหายไปเลยเข้าใจว่าเป็นอีก ว่างๆ ว่างๆ
แต่ถ้ามันเป็นเองนะ มันเป็นที โอ้โฮ เวลาจิตมันจนอย่างนั้นนะ มันตื่นเต้นมาก บางทีเราลงทีหนึ่ง ๓ ชั่วโมง ๔ ชั่วโมงเลย กำหนดลมไปเรื่อยๆ เดินไม่ได้แล้ว ยืน ยืนไม่ได้นั่งลง นั่งลงไม่ได้มันก็หดเข้ามา พอมันหายใจจะขาด หายใจมันจะหมด เฮ้ย มึงไม่ตายเหรอ ขนาดนี้มันยังคิดนะ ไม่เป็นไรไป แล้วพอทำบ่อยๆ เข้า
ตอนหลัง ดูอย่างที่เข้าสมาบัติ ๗ วัน ๗ คืน ทุกคนจะถามเลยนะ โทษนะ แล้วไม่ปวดถ่ายไม่ปวดอะไรเลยเหรอ พอมันเข้าปั๊บมันหยุดหมด อวัยวะทุกอย่างมันอยู่คงที่ของมัน ดูอย่างกระเพาะปัสสาวะมันไม่ทำงาน มันจะมีน้ำปัสสาวะไหม? ไม่มีหรอก ๗ วัน ๗ คืนนั่งไม่กระดิกเลย เวลาเข้าสมาบัติ พั้บ! พั้บ! ได้หมดเลย แต่คนเราแปลกใจ เราแปลกใจเรานึกว่าธรรมดานี่ไง
พอคนถ้ามันไม่ได้ทำ พอทำแล้วมันจะเข้าใจ อย่างพอมันรวมลงปั๊บ โอ้โฮ แล้วเวลามันออกนะ อู้ฮู อู้ฮู ร้อง อู้ฮู อู้ฮู อยู่คนเดียวนะ ร้อง อู้ฮู เพราะมันเห็นความต่างไง แล้วเราทำอย่างนั้นปั๊บมันมีกำลัง พอมันมีกำลัง พอจิตเป็นอย่างนั้นนะ พอมองมาในชีวิตประจำวันสิ โอ้โฮ มันเห็นทุกข์หมดเลยล่ะ เห็นโดยสมาธินะ แล้วเราฝึกบ่อยๆ บ่อยๆ เห็นเป็นทุกข์เลย ดูชีวิตประจำวันมันจะบอกเลย อืม ทำไมเราโง่ขนาดนี้ ทำไมต้องไปยุ่งกับมันขนาดนี้
ถ้าจิตมันสงบนะ ประสาเราเขาว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ใช่ ถ้าคนที่เป็นธรรมจะมองเป็นธรรมชาติ อย่างพวกเรามอง มองสังคมมองอย่างหนึ่ง แต่ไอ้คนที่อยู่ในสังคม เขาไม่ได้คิดอย่างนั้นนะ เขามองแบบเขาอยู่ในสังคมใช่ไหม เขาแก่งแย่งกันใช่ไหม แต่แล้วเราออกมาแล้วเรามองเขาสิ เอ๊ะ ทำไมเขาทำกันอย่างนั้น? ทำไมเขาเป็นอย่างนี้กันวะ? แต่ถ้าเราเข้าไปอยู่อย่างนั้นปั๊บ เราก็แข่งขันกับเขาเหมือนกัน เพราะจิตไม่สงบไง จิตเหมือนกัน
มีอะไรอีกไหม
โยม ๑ : ถามอีกเรื่อง เรื่องความฝัน ถ้าเผื่อเราฝันต้องรู้ตัวไหมว่านี่คือฝันอยู่นี่
หลวงพ่อ : ไม่ ขณะฝันไม่รู้สึกตัวหรอก ขณะฝันไม่รู้สึกตัวเพราะอะไรรู้ไหม? เพราะถ้าฝันรู้สึกตัวฝันจะหยุดทันที
โยม ๑ : ครับ รู้ว่าฝันร้ายแล้วก็จะตื่น
หลวงพ่อ : เออ ถ้ารู้สึกตัวจะหยุดทันที เพราะมันฝันนะ หลวงตาบอกว่ามันฝันดิบฝันสุก เราคุยกันฝันดิบๆ คือความคิด การสื่อสารคือการฝัน ชีวิตเราเพ้อเจ้อ เพ้อฝัน ทีนี้พอหลับไป ฝันสุก คือฝันจริงๆ
เราจะบอกว่าความฝันก็คือความคิด คือสังขารไง แต่ขณะที่ว่าเรา เรามีฝันดิบ แต่เรามีสติ เราสามารถยับยั้งได้ เรารู้สึกตัวได้ แต่ขณะที่หลับไป มันไม่มีสติ ถ้ามีสติหลับไม่ลง เวลาพุทโธ พุทโธจะหลับไป กำหนด กำหนดลม กำหนดลมไปเรื่อยๆ ถ้าเราหลับไปพร้อมกับพุทโธ หรือหลับไปกับลมหายใจ ความฝันจะน้อยไปเรื่อยๆ
มันมีคนมาหาบ่อย บางคนน่าสงสารนะ มีลูกศิษย์คนหนึ่ง ไม่กล้านอนหลับ นอนแล้วฝันร้ายทุกที พอนอนแล้วฝันร้ายทุกที เราก็บอกว่า จนบางทีนะพอนอนแล้วละเมอ ภรรยาจะเขย่าให้ตื่น ไอ้อย่างนี้นะ ประสาเราเลย ถ้าคนมีประสบการณ์อย่างนี้ มันเป็นผลของเรา
ในสมัยพุทธกาลนะ มันมีเพื่อนอยู่ ๒ คน เพื่อน ๒ คนนะไปทำมาหากินด้วยกัน แล้วมันจะผลัดกันฆ่าทุกชาติ แล้วพอพระพุทธเจ้า ชาติสุดท้ายชาติสมัยพุทธกาลไง เพื่อนเขาไปด้วยกัน ไปหาเงิน มีเงินมา ก็อีกคนจะลุกขึ้นฆ่าอีกคนหนึ่ง พระพุทธเจ้ามาเลย หยุด แล้วปลุกให้ตื่นขึ้นมา ปลุกเพื่อนให้ตื่นขึ้นมา
พอปลุกแล้วตื่นขึ้นมา พระพุทธเจ้าท่านเทศน์เลย ๒ คนนี้ผลัดกันฆ่า ผลัดกันอยู่อย่างนี้มากี่พันชาติแล้ว ให้อโหสิกรรมต่อกันทั้ง ๒ คน ถ้าไม่อโหสิกรรมต่อกัน เพราะชาตินี้ ไอ้คนที่มันจะฆ่ามันได้ฆ่า แล้วชาติต่อไป ไอ้คนโดนฆ่าจะมาฆ่าไอ้คนนี้
เวร ย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร นี้มันเป็นเวรเป็นกรรมในใจไง พื้นเพของคนมันมาจากตรงนี้
เราจะสอนบ่อยมาก ใครมาที่เวลาทุกข์ยากนะ เราจะบอกว่าอย่าเสียใจ อย่าเสียใจ เพราะ เพราะสิ่งที่เราทำมา พันธุกรรมทางจิต การสร้างมาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน พี่น้องด้วยกัน ออกมา ในพ่อแม่เดียวกัน ชีวิตยังสมบุกสมบัน หรือราบเรียบต่างกัน ชีวิตเรา ถ้ามันเป็นแบบนี้
นี่ยังดีนะ ดีอย่างนี้เพราะเรามีศาสนาเป็นที่พึ่ง นี่ไงมาหาเรา เราจะเคลียร์ให้ เราจะเคลียร์ให้ว่า สิ่งนี้มันเกิดขึ้นมาแล้ว เราต้องแก้ไข เราแก้ไขกัน เวลาทำบุญให้อุทิศส่วนกุศล มีพระหลายองค์มากเลย เคารพพระพุทธเจ้ามาก เคารพครูบาอาจารย์มาก แต่พอทำสมาธิเข้าไปจะตั้งพระพุทธเจ้าขึ้นมา โทษนะ แล้วโจมตี ด่าๆๆๆ พระบอกว่าผมไม่อยากทำเลย ผมไม่ต้องการทำเลย อาจารย์ของผมแท้ๆ
ทำไมมันเป็นอย่างนี้ล่ะ? มันควบคุมไม่ได้เลย พอควบคุมไม่ได้เราบอก เวลาไหว้พระสวดมนต์ให้ขอขมาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รัตนตรัยไง อโหสิกรรมต่อกัน เราไม่มีความสามารถยับยั้งได้ แต่เราอโหสิกรรม คือว่าเราสำนึกผิด เราสำนึกผิด เราเห็นโทษ เหมือนเราสำนึกผิด เหมือนเด็กลักของแล้วโดนจับได้ ไอ้นี่ใจไปลักเขามา มันก็ผูกพันมา แล้วเขาจับได้ทำอย่างไร? อโหสิกรรม อโหสิกรรม อโหสิกรรม ขอโทษ ขอโทษ
อย่างทำบุญเมื่อกี้นี้ อโหสิกรรม เวลาเราทำบุญนะ เวลาให้พร เจ้ากรรมนายเวร มันมีเจ้ากรรม มีนายเวรนะ ทำอย่างนี้บ่อยๆ มันจะไม่หายขาด พรึ่บ! ขาดไม่ใช่ แต่มันจะเบาลง เบาลง เบาลง เบาลง กรรมไง มันจะเบาลงนะ เพราะอะไรรู้ไหมท บุญ บุญกุศลมันเจือจางได้ สิ่งนี้มันเป็น..
โธ่ เราพูดถึงนะ พระสมัยพุทธกาลที่ว่าไม่เคยฉันข้าวอิ่มเลย กรรมสร้างมานะ ฉันข้าวไม่เคยอิ่ม เป็นพระอรหันต์นะ ร่ำลือไปทั่ว พระสารีบุตรไปช่วยไง
เขาบอกท่านฉันข้าวไม่เคยอิ่มใช่ไหม? ใช่ครับ
ทำไมถึงไม่อิ่มล่ะ เขาไม่ใส่เหรอ?
เขาบอก อู๋ย ทุกคนดูแลหมดเลย ทุกคนใส่ให้เต็มหมดเลย แต่ฉันไม่เคยอิ่ม พอเริ่มฉันข้าวมันจะหายไปเอง
พระสารีบุตรเป็นพระอรหันต์ แล้วรู้ด้วย
อย่างนั้นเอานะ อ้าว วันนี้จับให้ดีนะ ท่านใส่บาตรเองแล้วจับบาตรไว้
อ้าว ฉัน
บุญของพระสารีบุตรไง วันนั้นฉันข้าวอิ่มมื้อหนึ่ง เกิดมาไม่เคยฉันข้าวอิ่มเลย ทุกข์ไหม? นี่มันเป็นกรรมของเขา แล้วพอไปถามพระพุทธเจ้าเป็นเพราะเหตุใด?
พระพุทธเจ้าบอกว่า ในวัฏฏะของเขานะ เขาเป็นเศรษฐี เวลาเขาถ่ายข้าว เมล็ดข้าวมันตกลงดิน มดมันเห็นมดมันมาขนไป เขายังเอาเสียมไปขุดเอาเมล็ดข้าวนั้นคืนเลยล่ะ มันตระหนี่ขนาดนั้น มันขี้เหนียว มันไม่ให้ใครกินเลย
เวลาเขาทำชาตินู้นมันก็อีกเรื่องหนึ่งไง แต่ผลทำไมมันมาให้ชาตินี้ล่ะ? อันนี้สิ่งที่เกิดขึ้น เราไม่รู้ มันเป็นของเก่าใช่ไหม? ประสาเราเราจะบอกทุกคนว่า เอ็งไปแก้ไขประวัติศาสตร์ไม่ได้ ทุกคนไม่สามารถไปแก้ไขประวัติศาสตร์ แต่ประวัติศาสตร์สร้างให้เรามาเป็นปัจจุบันนี้ เราจะแก้ไขที่นี่ได้
พระพุทธเจ้าสอนตรงนี้ ให้แก้ไขที่ปัจจุบันนี้ แล้วแก้ไขปัจจุบันนี้เราก็ สิ่งนั้นมันเป็นเวรเป็นกรรม ฝันร้าย นอนฝันร้ายนอนอย่างนี้นะ ส่วนใหญ่แล้วครูบาอาจารย์จะให้กำหนดพุทโธ แผ่เมตตาก่อนนอนไง แล้วให้หลับไปกับพุทโธ อย่างนี้กำหนดลมก็ได้ ถ้าถนัดลมก็ลมก็ได้ เพราะอะไรรู้ไหม? พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ
คำว่าอนุสติ จะหลับ หลับพร้อมไปกับ แบบเราศาสดา เรากอดหลับไปด้วยกันเว้ย กูกลัวฉิบหายเลย กูขอหลับด้วย แล้วมันก็จะได้จางไปๆ
โยม ๒ : อาจารย์สอน หนูก็ปฏิบัติแบบว่า ถ้าเราพอเข้าถึงความสงบแล้ว เอาความสงบนี้มาแผ่เมตตา อุทิศเหมือนกัน
หลวงพ่อ : ถ้าอย่างนั้นสุดยอดเลย เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะเวลาโยมทำบุญ แล้วอุทิศส่วนกุศล เขาเรียกอามิสศรัทธา แล้วพระพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ไว้บอกว่า
อานนท์ เธอบอกให้เขาปฏิบัติบูชาเถิด
ทีนี้ปฏิบัติบูชามันได้ความสงบอันนี้ แล้วอันนั้นอุทิศ ฉะนั้นเวลาเรานั่งสมาธิ เดินจงกรม เวลานั่งสมาธิ ตอนจะเลิก เราจะได้มากได้น้อยแล้วแต่ เพราะปฏิบัติบูชา อุทิศไปตรงนั้นล่ะ เจ้ากรรมนายเวร อันนี้ฝันร้ายคือเจ้ากรรมนายเวร
บุญกุศลนี้ ข้าพเจ้าสร้างได้มากขนาดไหน ขออุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร เจ้ากรรมนายเวรมีทั้งดีและชั่ว เจ้ากรรมนายเวรที่เป็นบุญกุศลเขาก็สร้างมาที่ดี เราให้เขา ถ้าสิ่งที่เขาทำมาดีเขาจะได้คุ้มครองเราดีขึ้น สิ่งที่มีความผูกพัน มีความเจ็บช้ำในใจกันมา ให้เจือจางกันไป บางทีไม่ยอมรับนะ อาฆาตไม่ยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับขึ้นมาแล้ว ขอโทษ ขอโทษ ขอโทษ ขอโทษ ไม่ยอมรับก็ช่างมัน
บางทีมี จิตที่อาฆาตมี ในสังคมทุกสังคม สังคมของเทวดาอินทร์พรหม มีทั้งดีและชั่ว มนุษย์มีทั้งดีและชั่ว สิ่งที่เราสร้างกันมามีทั้งดีและชั่ว ถ้าดี สิ่งเกิดดีเกิดดีเท่ากัน เพราะชั่วเข้ากับดีไม่ได้ แต่เขาเข้าไม่ได้ เราก็อุทิศให้เขา คือเขาจะไม่เอา เราก็ไปวางไว้ต่อหน้าเขา เพราะบุญกุศลมันเป็นนามธรรม จะเอาไปวางไว้หน้าคนนี้ วางไว้หน้าคนนี้ วางไว้หน้าคนนี้ มันไม่มีวันหมดไง คือมันเป็นเหมือนทิพย์ วางเท่าไหร่มันก็มีเท่าเก่า
นี้เราไม่เข้าใจไง เราเข้าใจว่าบุญคือวัตถุ ถ้าให้เขาแล้วคือหมดเลย ทุกคนไม่กล้าให้ หวง แต่บุญที่มันเป็นนามธรรมให้แล้วก็เท่าเก่า ให้แล้วก็เท่าเก่า เหมือนแสงเทียน จุดเทียนทุกดวงอื่น เทียนเรามันจะมอดไหม? เราต่อให้เขา ต่อให้เขา ต่อให้เขา บุญเป็นอย่างนี้ แล้วอย่างที่พูด ถ้าจิตสงบ สุดยอดเลย
ถ้าให้เราพูดเราอยากพูดอย่างนี้ด้วย แต่ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บ แล้วของผมก็ไม่เคยสงบสักที? แล้วเมื่อไหร่จะได้อุทิศล่ะ? เราอุทิศทุกเที่ยวที่ทำ แล้วยิ่งสงบยิ่งอุทิศยิ่งยอดใหญ่เลย เพราะอุทิศนั่นล่ะ เนื้อนาบุญ เนื้อนาที่ดี ดินที่ดี ดินที่ชุ่มน้ำ แล้วพืชผลเราหว่านลงไป มันจะให้ผลมหาศาลเลย ถ้าดินที่มันแบบว่าดินปนทราย ถ้าเป็นหินล้วนๆ แล้วถ้าซีเมนต์อย่างนี้จะปลูกอะไร?
บุญกุศลอยู่ตรงนี้ไง ถ้าเรายิ่งทำที่ดี ผลมันยิ่งเยอะมาก แต่ถ้ามันแบบว่าเรามีเท่านี้ เราก็ทำ เพราะอย่างว่า เนื้อดินดีเราทำกสิกรรมใช่ไหม? แต่ไอ้มันเป็นความรู้สึก มันเป็นความคิด เราเปรียบเทียบ พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบไว้
อย่างนั้นถูก แต่นี้ถ้าอย่างนั้นถูก เราสงบมากสงบน้อยเราก็อุทิศไปเรื่อยๆ ไอ้นี่ดีแล้ว ต้องทำไง คืออะไรก็แล้วแต่เราต้องทำ อาหารเราไม่กินเราไม่อิ่มหรอก ใจของเรามันกินบุญกุศลเป็นอาหาร ใจต้องการธรรมะ ใจมันไม่ต้องการวัตถุหรอก แต่พวกเรา พวกเราแบบจะว่าเซ่อกันไปเอง เห็นวัตถุแล้วอยากได้ แล้วก็มีความสุขแป๊บๆๆ หนึ่ง ก็มันก็มาหลอกกันไง กิเลสมันหลอก แต่ใจจริงๆ แล้วต้องการธรรมะ
นี้ธรรมะคืออะไร? ศีลธรรม เอาตรงนี้ไปแก้มัน แก้มัน เราคุยกันนี่ วันนี้เราคุยกัน ตอนนี้เป็นบุญแล้ว บุญเขาเรียก นี่แสดงธรรม ผลของมันนะ สิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง สิ่งที่ได้ยินได้ฟังแล้วเข้าใจ สิ่งที่เข้าใจแล้วตอกย้ำ คำว่าตอกย้ำเข้าไปมันเข้าไปทำความเข้าใจ นี่คือบุญ ผลของมันคือการสว่าง คือการเข้าใจ ทีนี้พอเราเข้าใจ อุทิศส่วนกุศลให้มันได้แล้ว เจ้ากรรมนายเวรอุทิศให้มันไป
ประสาเราเลยนะ กูรู้ทันมึงแล้ว ถ้าเป็นเรานะ นี่เป็นโยม ถ้าเป็นเรานะเดี๋ยวกูจะฆ่ามึง จริงๆ ถ้าเป็นเรานะ กูหามึงอยู่กิเลส มึงอยู่ไหนเดี๋ยวกูจะฆ่ามึง ทีนี้กับโยม โยมไม่กล้าคิดแบบเรา กลัวมันไง พอความคิดเป็นเราไม่กล้า โอ๋ย กูยอมแพ้ กูยอมแพ้ สำหรับเรานะ อะไรก็แล้วแต่เดี๋ยวกูจะฆ่ามึง
ตอนนี้กูแพ้มึงก่อน เดี๋ยวกูจะเข้าไปหามึง แล้วกูจะฆ่า ฆ่ากิเลสประเสริฐที่สุดนะ ฆ่ากิเลสคือฆ่าความชั่ว ไม่ใช่ฆ่าสิ่งที่มีชีวิต ไม่ใช่ฆ่าทำร้ายใคร สิ่งนี้จรมา มันเป็นอนุสัย มันนอนเนื่องมากับจิต แล้วกิเลสมีตัวตนไหม? ไม่มีตัวตนมันจะมีมารได้อย่างไร? ทำลายมันได้ ทำลายได้
นี่ทำความสงบเข้ามา เพียงแต่เราอธิบาย อธิบายถึงว่า ถ้าเข้าไปแล้วจะมีอุปสรรคอะไร? ส่วนใหญ่จะมีอุปสรรคตอนนี้ อุปสรรคที่มันจะกีดขวางเรา อุปสรรคคือเวรกรรมของเรา ในปัจจุบันนี้เราเชื่อธรรมะมาก เราอยากได้บุญกุศลมาก แต่ทำไปแล้วก็มีอุปสรรค แล้วอุปสรรคของคนมากน้อยแตกต่างกันไป
อย่างที่หลวงตาท่านพูด ท่านถ่อมตัวนะ เวลาท่านพูดท่านบอกว่า เราเป็นคนวาสนาน้อย เราเป็นคนหยาบเราต้องทำอย่างนั้น ความจริงไม่ใช่ ความจริงนั่นล่ะคือคนมีวาสนา แต่เวลาท่านพูด เวลาครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม (โทษนะ) ท่านไม่ยกตูดไง ท่านพยายามจะกดตัวท่านลงไง เราเป็นคนวาสนาน้อย เราเป็นคนที่ไม่มีบุญกุศล เราเลยต้องลงทุนลงแรง ต้องอดอาหาร แต่ความจริงจิตมันคึกคะนอง มันมีผลใหญ่ ขนาดมีผลใหญ่ขนาดนั้น เขายังต้องลงทุนลงแรงขนาดนั้น
คือลงทุนลงแรงเพราะเราพอใจไง เราเต็มใจ เราพอใจ เราเห็นผลตอบแทน ถ้าเราทำไปเราไม่เห็นผลตอบสนองเลย เราจะมีกำลังใจไหม? เราจะมีแรงฮึดไหม? เราทำอะไรแล้วเราต้องมีผลตอบสนองสิ ว่าจิตเราเป็นอย่างไร? เรารู้เองไง ผิดก็รู้ว่าผิด ถูกก็รู้ว่าถูก
ถ้ามันมีสติสักหน่อยหนึ่ง แต่ถ้ามีสติหน่อยหนึ่ง ผิดเข้าไป อู้ฮู จะเป็นพระอรหันต์เลยนะ พระอรหันต์ส่งโรงพยาบาลศรีธัญญาไง จับส่งโรงพยาบาลเลย เป็นพระอรหันต์แล้ว สติขาดหมดเลย ว่างหมดเลย ถ้ามีสติสักหน่อยมันจะรู้ตัวตลอด แล้วมันจะรู้ถูกรู้ผิด
เอาเนาะ จบอันนี้แล้ว