ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะหมอเต้ย

๙ ม.ค. ๒๕๕๒

 

คณะหมอเต้ย
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบปัญหาธรรม เทศน์เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม(วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

อยู่เฉยๆ ห้ามพูด ไอ้พูดอย่างนี้ ภาษาสมมุติมันมีเท่านี้ไง ถ้ากิริยาอย่างนั้นมันเหมือนการโมโหใช่ไหม เวลาพูดก็พูดเพื่อสื่อความหมายกับเขา ว่าเวลาหลวงปู่เจี๊ยะโมโห โมโหคือการแสดงกิริยาออก แต่ถ้าพูดถึงเราเป็นลูกศิษย์หรือคนใกล้ชิด เขาว่าไม่ใช่โมโห

หลวงตาท่านพูดเห็นไหม เวลาท่านพูดท่านบอกว่า เวลาท่านแสดงธรรมๆ มันออกไง ท่านบอกกิริยาของการสาดน้ำไป ถ้าน้ำสะอาดก็คือกิริยาที่สะอาดเหมือนกัน ถ้าน้ำเป็นน้ำเสียกิริยาที่สาดเหมือนกัน แต่สาดอันหนึ่งเป็นน้ำเสียน้ำที่ไม่มีประโยชน์ สาดอันหนึ่งเป็นน้ำสะอาดเห็นไหม ทีนี้สาดน้ำสะอาด กิริยาที่แสดงออกไปนี่ มันก็เหมือนกับประสาเราว่า อารมณ์ฉุนเฉียว

อย่างเวลาเทศน์ในตอนเช้า เราบอกเลยนี่ คนที่คุมใจไม่ได้เห็นไหม คุมใจตัวเองไม่ได้ มันออกไปนี่ มันลากเราไปหมดเลย ต้องคุมใจให้ได้ แล้วถ้าคุมใจได้ เวลาเทศน์อยู่นี่ออกหมดเลย นี่คุมได้หรือเปล่า ฉะนั้นเวลาเราเทศน์เห็นไหม เวลาเราสอนเขาเห็นไหม กิริยามารยาทของสังคมเขาเป็นอย่างนั้นใช่ไหม ทีนี้แต่เวลาถ้าธรรมะเราพูดเลย เวลาทุกคนบอกว่า ทำไมเราพูด...

ไปธรรมศาสตร์ เด็กมันถามบอก “หลวงพ่อ พูดเป็นชั่วโมงๆ เลย แล้วพูดอย่างนี้ออกมาไม่เหนื่อยตายห่าเลยเหรอ” นี้เด็กมันถามนะ เด็กมันสงสาร ก็บอกว่าตอนนี้วัยทำงานให้เราทำงานไป แต่ถ้าเราจะพูดกิริยานิ่มนวลนี่ธรรมะมันไม่ออก

เปรียบเหมือนท่อน้ำเห็นไหม ถ้ามันไปเต็มท่อน้ำ น้ำมันจะแรงมาก แต่ถ้าท่อน้ำมีอะไรอุดตัน หรือท่อน้ำมันต้องแบบว่าเราใส่สามตามันถึงออกไป กิริยาก็เหมือนกัน เราไปห่วงกันว่าต้องให้นิ่มนวล แต่เราไม่คิดถึงว่าความแรงของน้ำ ถ้ายิ่งออกมาก

ยกเว้นหลวงปู่มั่นนะ สมัยหลวงปู่มั่น หลวงตาท่านบอกว่า หลวงปู่มั่นท่านเทศน์ทุกม้วนเลย ทุกกัณฑ์ที่ท่านเทศน์ต้องถึงที่สุดคือนิพพาน แต่พอฟังบ่อยๆ ครั้ง บ่อยๆ ครั้งเข้ามันคุ้นชิน มันเทศน์มันก็ฟังดีนี่แหละ แต่มันไม่ถึงใจ เวลาหลวงปู่มั่นจะเทศน์ หลวงตาท่านบอก ท่านเองท่านอยากฟังเทศน์ให้มันถึงใจ ครั้นจะไปแกล้ง ต่อหน้าหลวงปู่มั่นไปถามธรรมะผิดๆ ถูกๆ คือตัวเองไม่ได้สงสัยหรอก แต่ต้องการทำให้ผิดไป คือสมมุติว่านี่ หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสอง เราก็ต้องไปถามว่า หนึ่งบวกหนึ่งเป็นสามไหม เป็นแปดไหม เป็นร้อยไหมอย่างนี้

ไอ้คนฟังมันก็ต้อง เอ้ เอ็งถามอะไรอย่างนั้นนะ ท่านบอกท่านยังพูดอยู่นี้ หลวงปู่มั่นท่านก็ทัน ท่านก็ตอบเฉยๆ แต่ถ้าหลวงปู่มั่นท่านยังไม่ “ไม่ใช่ !” นะ ท่านจะถามไปเรื่อยๆ พอไปถามปั๊บ พอหลวงปู่มั่นบอก ไม่ใช่! พอไม่ใช่ปั๊บ ท่านจะฟังเทศน์แล้วท่านบอกว่าเปิดก๊อกน้ำได้แล้ว แล้วพอเดี๋ยวเทศน์ปั๊บนะ พอไม่ใช่ปั๊บนี่

เราก็เหมือนกัน สังเกตว่าเรานี่ เวลาใครมาถามปัญหาไว้นี่ เราจะเก็บไว้ แล้วเวลาเราอธิบาย โอ้โฮ มันจะออกเต็มที่เลย จนเมื่อก่อนนะ เวลาเราเสียงดังทุกคนจะแบบว่าเหมือนกับโดนเอ็ดนี่ทุกคนจะไม่พอใจ แต่พอนานไป นานไป เดี๋ยวนี้พวกโยมที่มานี่ โยมที่นี้ต้องบอกว่าเขาเป็นแม่ค้า แม่ค้าตลาดนี่วุฒิภาวะไม่เหมือนเราหรอก แต่ด้วยความคุ้นชินของเขานะ เขาพูดเลยนะ ถ้าวันไหนไม่โมโหฟังไม่สนุก เขาพูดเองนะ ถ้าวันไหนโมโหนี้สุดยอดเลย ไอ้คนที่มันมานะ มันพูดเองเลย บอกว่าถ้าวันไหนโมโห อย่างนี้เลย

เพราะคำว่าโมโหนี่ มันสะกิดใจ มันสะเทือน สมมุติว่าเราเจาะน้ำ เจาะรูออกเราก็ออกน้อย เจาะรู้กว้างมันก็ออกใหญ่ ทีนี้พอปัญหามันเกิด มันก็เหมือนกระทบตัวนี้ออก ธรรมะมันออก นี่คำว่าหลวงปู่เจี๊ยะโมโห คำว่าโมโห กิริยาที่พูดกับท่าน แล้วพูดถึงท่านก็โมโหท่านก็ออก โฉ้งเฉ้ง โฉ้งเฉ้งเลย แต่ความจริงมันไม่ใช่โมโห เพราะโมโหมันไม่มี แต่กิริยาในโลกเป็นอย่างนั้น

พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ กับพระอรหันต์ที่ตายแล้ว พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่เห็นไหม สอุปาทิเสสนิพพาน พระอรหันต์มันจะมีโมโหไปโกรธได้อย่างไร มันไม่มีหรอก แต่ในเมื่อจริตนิสัย พระสารีบุตรยังโดดข้ามคลองเลย ตั้งแต่พระอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวานี่ ชำระนิสัยไม่ได้ แก้นิสัยไม่ได้ แต่แก้กิเลสได้

กิเลสไม่ใช่นิสัยนะ นิสัยคือความเคยชินของเรา กับกิเลสคือความเข้าใจผิด กิเลสคือความเห็นผิด กิเลสคือความเศร้าหมองของใจ แต่กิริยาท่าทางมันเรื่องปกติ แต่ทีนี้ปฏิบัติใหม่เราก็ต้องสำรวมระวังเป็นเรื่องธรรมดา เพราะเราฝึกหัดใช่ไหม

แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ถ้าท่านจะเทศน์นี่ ถ้าไปสำรวมระวังอยู่ ประสาเราเลยพูดกับโยมเลย มึงให้กูดัดจริตไม่ได้หรอก ถ้ากูดัดจริตแล้วธรรมะกูไม่ออก ต้องปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ ปล่อยธรรมชาติเลย พอมันขึ้นก็ออกเลย แต่ถ้าประสาเรานี่ หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ไง ต้องขออนุญาตกิเลสก่อนแล้วค่อยเทศน์ไง คือพูดไปกลัวมันไปกระเทือนใจเขา กระเทือนใจก็กระเทือนกิเลส แล้วมึงไม่กล้าพูด พอพูดไปแล้วก็ไปกระเทือนกิเลสเขาๆ ก็ไม่พอใจเรา โอ้พระองค์นี้ไม่ดี พระองค์นี้ว่าเรา พระองค์นี้อย่างโน้น ก็มึงไปเห็นแก่ลาภ

ถ้าไปเห็นแก่ลาภ ก็เราจะแก้กิเลสเราพูดเรื่องธรรมะ พูดเรื่องธรรมะมันก็กระเทือนเป็นธรรมดา เพราะมึงมีกิเลส กูพูดเรื่องกิเลส แล้วมึงมีกิเลสอยู่มันก็ต้องกระเทือนมึงเป็นธรรมดา กระเทือนก็กระเทือนเป็นอะไรไป เพราะเราเป็นพระ เราเป็นอาจารย์เขา ทีนี้ด้วยมารยาทใช่ไหม ไม่ได้! ไม่ได้! นี่ไง ขออนุญาตกิเลสก่อนไง หวังลาภสักการะไง หวังให้พอใจว่ากูนี้เมตตาไง เมตตาอย่างนี้เมตตาตอแหล

ถ้าเมตตาจริงๆ ต้องพูดให้มันกระเทือนใจ พูดให้มันได้คิด แล้วถ้ามันไม่พอใจมันจะโกรธก็เรื่องของมัน พอมันกลับไปบ้านห้าวันสิบวันมันก็คิดได้ หรือว่าอีกชาติหนึ่งมันคิดได้ก็เรื่องของมันถ้ามันคิดได้ ถ้าคิดไม่ได้ก็เรื่องของมัน พอพูดถึงธรรมะแล้วมันไปหมดเลยไง

นี้ประสาเราคือว่ามันภาษาโลก โลกท่านก็บอกโมโห เราก็พูดภาษาโลกไง ภาษาว่าโลกเห็นกิริยาไง กิริยาอย่างนี้กิริยาเหมือนคนโกรธ คนเกรี้ยวกราด ถ้าเกรี้ยวกราดเป็นโลกนะ เกรี้ยวกราดอย่างนั้นบ้านเรือนฉิบหายพังหมด แต่เกรี้ยวกราดแบบธรรมะนะเกรี้ยวกราดแบบประสาเราเลย เราสร้างบ้านเห็นไหม เราก็ต้องออกแรงต้องลงทุนลงแรงเหมือนกัน ดูรถเครนสิ มันยกขึ้นไปเพื่อเทปูนนะ นี่เหมือนกัน เราประกอบขึ้นไป คือว่าเกรี้ยวกราดเพื่อจะติเพื่อจะก่อ ไม่มี! พระอรหันต์ไม่มีโกรธหรอก แต่โกรธฉิบหายเลย

หลวงตาบอกหลวงปู่มั่นเวลาเทศน์นะ กระโถนตั้งอยู่นี่ เวลาเทศน์ท่านไปหมดเลย ปึ๊ง กระโถนกระเด็นเลยหลวงปู่มั่นนะ พอกระโถนกระเด็นไปแล้ว เฮ้ย! ดูสิ ไม่ใช่กระโถนฟังนะ กระโถนกระเด็นแล้วพระล่ะ พระเป็นอย่างไร ขนาดกระโถนกระเด็นไปนะ ท่านยังเป็นมุกกลับมาอัดพระได้อีก เราก็เข้าใจว่าหลวงปู่มั่นคือพระอรหันต์ไหม ใครๆ ก็อยากเจอหลวงปู่มั่น ถ้าหลวงปู่มั่นอยู่พวกเอ็งเข้าไม่ติดหรอก ปั๋ง ปั๋ง เลยล่ะ

แต่เราคิดว่าพระอรหันต์นี่ โอ้โฮ ต้องเป็นอย่างนี้เลยล่ะ นี่พระอรหันต์นะ ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ไม่ใช่พระอรหันต์หรอก เราไม่เคยเจอของจริง ถ้าหลวงตาท่านล่วงไปแล้วนะ พอใครพูดถึงหลวงตานะ เขาก็ต้องวาดภาพใช่ไหม ว่าหลวงตาเป็นพระอรหันต์ เขาก็คิดว่าพระอรหันต์นี่ โอ้โฮ คงจะเรียบร้อยน่าดูเลย แต่ตอนนี้ใครลองเข้าไปใกล้สิ กระเด็นเลยล่ะ

เหมือนกัน ธรรมเหนือโลก กิริยามันเป็นอย่างนี้ ถ้าคนเข้าใจแล้วนะ เวลาหลวงปู่มั่นจะเทศน์ พระจะพูดอยู่ ถ้าวันไหนหลวงปู่มั่นจะเทศน์นะ แบบว่าเหมือนถ้าเสียงดังขึ้นมานี่ โอ้โฮ ฟ้าร้องเว้ย ฟ้าร้องโว้ย ฟ้าร้องก็ฝนจะตกไง พอฝนตกมันก็ชุ่มเย็นไง ยิ่งเสียงดังยิ่งชอบ ยิ่ง โอ้โฮ! ปิ้งปั๋ง โอ้โฮ! มันฉิบหายเลย แล้วถ้าพูดนิ่มๆ นะ แอะ

ทีนี้มารยาทสังคม สังคมไม่เข้าใจ โลกกับธรรมต่างกันมาก เราไม่อยากจะพูดเลย แล้วเดี๋ยวนี้สังคมโลกเห็นไหม พระนี้ “แหม คุณโยม คุณโยม” ตอแหลทั้งนั้น นี้มันเป็นภาษาเราไง ภาษาพูด เวลาภาษาพูดหลวงตาบอกสมมุติมีเท่านี้ สมมุติคือภาษาพูดมีเท่านี้ ธรรมะมันเยอะแยะไปหมดเลย แต่เราพูดออกมา ธรรมะมันเหมือนความรู้สึกเราๆ จะสื่อความรู้สึกออกไป บางทีความรู้สึกของเรานี่เจิดจ้าหมดเลย แต่เราอธิบายออกมาไม่ได้เห็นไหม ที่เราไปรู้นี้มันมหาศาลเลย

แต่พูดมานี้มัน อย่าให้มันรู้นะ พูด อื้อ พูดอย่างหนึ่งนะ สองคนยลตามช่อง อีกคนหนึ่งเห็นดาว แล้วอีกคนหนึ่งเห็นตม เราก็พูดให้โยมบอกว่าเห็นดวงดาว ๒ ดวง อู้ย ดาวเต็มฟ้าเลยนะ มันก็บอก โอ้ ทำไมดาวมันเป็นพืดเลยล่ะ ดาวจะเป็นดินอยู่แล้ว นี่ความหมายไง สองคนยลตามช่อง คนหนึ่ง เห็นดาวเห็นเดือน อีกคนเห็นโคลนตม ครูบาอาจารย์ท่านเทศน์ให้เห็นดาวเดือนเลยนะ แต่ไอ้คนฟังมันก็ตมมันเป็นอย่างนั้นโว้ย โอ้โฮ ดาวมันอยู่ในน้ำเนาะ แม่งคิดไปคนล่ะเรื่องเลย เพราะอะไร เพราะคำพูด นี่ไง มันยากตรงนี้ไง

เวลาเทศน์สอนนี่ เราถึงพูดของเราเห็นไหม ธรรมะเหนือธรรมชาติ เพราะธรรมะเหนือธรรมชาติ ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาตินี้เราก็เป็นพระอรหันต์หมดแล้ว เพราะเราเกิดมาเป็นธรรมชาติ เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การเกิดและการตายเป็นธรรมชาติไหม แล้วเป็นธรรมะหรือยัง ถ้าเป็นก็เป็นพระอรหันต์แล้วไง อ้าว ธรรมะเป็นธรรมชาติ อ้าว เราเกิดจากธรรมชาติหรือเปล่า แล้วทำไมไม่เป็นพระอรหันต์ล่ะ โกรธนี้เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง ทุกอย่างเป็นธรรมชาติอันหนึ่งเพราะมันเกิดดับ

แต่ธรรมเหนือโลก ธรรมเหนือธรรมชาติ มันรู้สิ่งที่เป็นธรรมชาติ แล้ววางธรรมชาติไว้ แล้วมันหลุดออกไป เพราะธรรมชาติคือวัฏฏะ ธรรมชาติคือการแปรปรวน ธรรมชาติคือการหมุนเวียนไป สสารไม่มีคงที่ จิตก็หมุนไปตามกรรม แต่ถ้ามันวิวัฏฏะออกจากธรรมชาติมาเหนือธรรมชาติ แล้วมันเหนืออย่างไร เอ้า มีอยู่ ธรรมะเหนือธรรมชาติ ถ้าไม่มีเดี๋ยวหาให้เดี๋ยวนี้ ในห้องเรามี

ทีนี้เวลาพูดก็พูดอย่างนั้นนะ ถ้าเราจะบอกว่าหลวงปู่เจี๊ยะเราไม่โกรธอย่างโน้นอย่างนี้ มันพูดไป คนก็เห็นกิริยาภายนอกใช่ไหม เราอยู่กับท่านมา โอ้โฮ พลั้ว! พลั้ว! เวลาเณรนะ เราเข้าไปกันออกมาเลย อย่างเรานี้เราก็แรง แต่เวลาแรงนี่มันประสาเรานะ แรงของเรานี่ แรงด้วยเนื้อหาสาระ

สังเกตเวลาพูดธรรมดาๆ ก็อย่างนั้นล่ะ แต่ถ้าลองได้ขึ้นเสียงนะ เอาแล้ว มันออกล่ะ ถ้าได้ออกนะไปหมดเลย ลองฟังในเทปสิ เทศน์วันพระเห็นไหม โอ้โฮ ฟังไม่ทันเลยล่ะ พืด! พืด! พืด! เลยล่ะ มันดันออกมาเลยนะ มันเหมือนแรงอัด มันอัดออกมาเลย โอ้ ปากนี่อ้าไม่ทันมันก็แล้วกันล่ะ

ถาม : หลวงพ่อแล้วอย่างที่ศีลข้อ ๓ ตอนวันนั้นผมยังสงสัย

หลวงพ่อ : เอ่อ ว่าไป

ถาม : เกิดเป็นผู้ชายผู้หญิงนี่ ไอ้นี่หมายความว่าเฉพาะในโลกนี้ หรือว่าพอตายไปแล้วไปสวรรค์ ไปเป็นเทพบุตร

หลวงพ่อ : เหมือนกันหมดเลย เพราะเขาพูดอย่างนี้ไง เขาพูดว่า พระมารดาของพระพุทธเจ้าไปเกิดเป็นผู้ชายเห็นไหม นี่เขาพูดกันอย่างนั้น แต่ถ้ากรณีอย่างนั้นมันก็กรณีอย่างนั้น แต่กรณีโดยทั่วไปนี้ ผู้ชายก็ไปเกิดเป็นเทพบุตร ผู้หญิงก็ไปเกิดเป็นเทพอักษรเป็นนางฟ้า ไอ้เรื่องนี้มันเรื่องธรรมดานะ

ทีนี้ไอ้การที่ว่าการที่เราจะเปลี่ยนเพศนี่ก็คือแรงปรารถนา อย่างพระอานนท์เป็นผู้หญิงมาก่อน พอพระอานนท์เป็นผู้หญิงมาก่อนนี่ก็ปรารถนาเป็นผู้ชาย

คุณหญิง........ ไปขอหลวงปู่ขาว คุณหญิง........เป็นเลขานุการของราชินีเมื่อก่อน หน้าที่ไง พวกนี้จะทำการแทนราชินีไปคารวะครูบาอาจารย์ก็คุ้นเคย ด้วยความคุ้นเคย ด้วยความสนิทสนม ก็อาราธนาขอกับหลวงปู่ขาว เพราะไปเห็นสภาพใช่ไหม เพราะคุณหญิง........ รูปสมบัติ คุณสมบัติ ทรัพย์สมบัติ วุฒิสมบัติ เขามีพร้อมหมด แล้วเขาไม่เห็นได้อะไรขึ้นมาเลย เงินก็มี สถานะก็มี สังคมก็มี ชาติวุฒิก็ดี ดีทุกอย่างเลย ก็ยังทุกข์อยู่ไง ก็เลยขอหลวงปู่ขาวว่า ชาติหน้าขอให้เกิดเป็นเด็กผู้ชาย แล้วให้เกิดอยู่บ้านนอก คือเกิดอยู่วัดแถววัดทางอีสาน จะได้บวชเลย จะได้สิ้นกิเลส หลวงปู่ขาวบอกอีก ๕๐๐ ชาติ ร้องไห้โฮๆ เลย

แล้วหลวงปู่ขาวก็เทศน์เลย ทำไมต้องไปเป็นผู้ชายล่ะ เพราะเวลาเป็นไปแล้ว สมาธิไม่มีหญิงไม่มีชาย โสดาบัน สกิทาคา อนาคา พระอรหันต์ ไม่มีหญิงไม่มีชาย คือจิตนี่เวลาถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา แต่ที่เราเกิดเป็นหญิงเพราะเราปรารถนาเป็นผู้หญิง เราเกิดเป็นผู้ชายเพราะเราปรารถนาเป็นผู้ชาย

อย่างเรานี่เราเกิดเป็นผู้ชาย แล้วเรามีใจอยากปรารถนาเป็นผู้หญิง เราก็ตั้งใจปรารถนาเป็นผู้หญิง ตั้งใจอธิษฐานขอให้เป็นผู้หญิง มันก็จะเปลี่ยนไปเกิดอีก ๕๐๐ ชาติไง เราบอกว่าพันธุกรรมทางจิตไง จิตมันจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แต่จิตมันจะไปก่อนกาย มันถึงมีบัณเฑาะก์ไง

บัณเฑาะก์คือกะเทย ห้ามบวช มันมีมาก่อนสมัยพุทธกาล เพราะเป็นเรื่องธรรมดา วัฏฏะมันเป็นมาอย่างนี้ มันเก่าแก่นะ หญิงอยากเป็นผู้ชาย ชายปรารถนาเป็นหญิง มันมีมาเก่าแก่ พอมันระหว่างกลางเห็นไหม ก็อย่างที่เขาเป็นกันอย่างนั้นล่ะ นี่ระหว่างกึ่งกลาง คือใจมันไปก่อน แต่ร่างกายมันยังปรับสภาพไปเรื่อยๆ

แล้วนี่อย่างกรณีที่ว่าถ้าผิดศีลข้อ ๓. ผู้ชายจะไปเกิดเป็นผู้หญิง หญิงจะไปเกิดเป็นผู้ชาย เราบอกอย่างนั้นมันก็ไม่มีผู้ชายหรอก มีแต่ผู้หญิงหมดในโลกนี่ คนไหนที่ว่าไม่ผิดศีลบ้าง โลกนี้จะไม่มีผู้ชายเลยนะ มีแต่ผู้หญิงล้วนๆ เลย แล้วผู้หญิงผิดศีลก็ไม่มีผู้หญิงเลย มีแต่ผู้ชายล้วนๆ เลย มันก็มีกรรมต่อกัน แล้วกรรมหนัก อย่างที่ว่ากรรมหนักมาก เพราะกรรมเรื่องอย่างนี้ มันเรื่องกามไง

เรื่องกามนี่นะ ทุกอย่างลงที่นี่หมด คนที่เกิดมานี่หาเงินเพื่ออะไร ทำงานเพื่ออะไร ทุกอย่างลงทุนทำเพื่อเท่านี้ อ้าว! หญิงออกจากบ้านก็แต่งตัวให้ผู้ชายดู ผู้ชายออกจากบ้านก็แต่งตัวให้ผู้หญิงดู อ้าว มึงจะไปไหน อ้าว ผู้หญิงออกจากบ้าน แหม ต้องเนี้ยบเลย ให้ใครดู? ไอ้ผู้หญิงออกจากบ้านก็ให้ผู้ชายดู ไอ้ผู้ชายออกจากบ้านก็ให้ผู้หญิงดู แล้วมันไปไหน แล้วมันก็มีเรื่องแค่นี้แหละ

ถ้าพูดเรื่องกรรมแล้วมันแรงมาก แต่เฉพาะถ้าผิดศีลแล้วมันกรรม คำว่าแรง คือมันเป็นความทุกข์ มันเป็นความระทม มันจะเกิดความทุกข์ยาก แต่ไอ้เรื่องเพศนี่มันอีกเรื่องหนึ่ง มันคนละเรื่องกัน ผู้หญิงก็ทุกข์แบบผู้หญิง ผู้ชายก็ทุกข์แบบผู้ชาย อ้าว ผู้หญิงไม่ทุกข์หรือ ผู้หญิงก็ทุกข์ไปอย่างนะ ผู้หญิงก็นี่คุณสมบัติเป็นผู้หญิง ผู้ชายก็ทุกข์ไปแบบผู้ชาย ทุกข์ทั้งนั้นนะ

ถาม : แล้วสมมุติว่าจิตมันไม่มีเพศ ฉะนั้นเวลาเกิดมันก็น่าจะเข้าได้ทั้งผู้ชายทั้งผู้หญิง

หลวงพ่อ : ไม่ได้ ว่าไปสิ ว่าไป

ถาม : มันก็เหมือนรถ พอคนขับเปลี่ยนรถ เราอยากจะไปขับยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่เรา

หลวงพ่อ : ถ้าอย่างนั้นนะ ถ้าโยมพูดอย่างนี้ปั๊บนี่ ถ้าเราเปลี่ยนรถก็ได้นะ อย่างนั้นกรรมก็เปลี่ยนได้หมดละสิ

ถาม : ถ้าจิตมันไม่มีเพศ มันก็ไม่...

หลวงพ่อ : จิตไม่มีเพศ แต่มันสร้างกรรมจากหญิงมาใช่ไหม สถานะ ถิ่นกำเนิด ที่มา ฐีติจิต ภวาสวะภพ ใช่! โยมเปลี่ยนรถได้ เปลี่ยนรถเพราะนี้มันเป็นเรื่องของวัตถุเว้ย แต่เรื่องของกรรม มันมีสาแหรกเว้ย ไม่อย่างนั้น พระโพธิ์สัตว์แม่งก็เปลี่ยนสิว่ะ พระโพธิ์สัตว์ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)