ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ธรรมะภาษิต

๑ ก.พ. ๒๕๕๒

 

ธรรมะภาษิต
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลามา เขาภาวนาไป เรา พวกเรามันไม่มีหลักไง ก็ภาวนาไป พอภาวนาไปมันต่อสู้กับเวทนา นี่ต่อสู้กับเวทนา เวทนาเห็นไหม คนไม่เข้าใจนะ เวทนาหรือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง หรือว่ากาย หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ ท่านพูดว่าเป็นได้ทั้งสมถะ เป็นได้ทั้งวิปัสสนา แต่พวกเราคิดกันเอง ถ้าเห็นกายจะเป็นวิปัสสนาเห็นไหม เข้าใจว่าเห็นกายเป็นวิปัสสนา

แล้วทีนี้พอเขากำหนดเวทนาไป กำหนดสู้กับเวทนา แล้วพอสู้กับเวทนามันสู้ไม่ไหว สู้ไม่ไหวความรู้สึกมันจะโดนเวทนาดึงไปไง แล้วไปถามพระ พระก็บอกว่ามันสติ ไม่พอคำบริกรรมไม่ดี ก็พยายามดึงไว้ ดึงไว้ ดึงไว้ แต่เวลามาพูดกับเรานะ ถ้าพูดถึงเราต่อสู้กับเวทนานะ แล้วอาการที่มันวูบลง นี่มันลงสมาธิต่างหาก

จิตที่มันเวลาเรานั่งสมาธิกันเห็นไหม เวลาเราเข้าสมาธิมันจะวูบ มันจะลงเรื่อยๆๆ ไป วู้..ไปนี่ พอไปถามพระ พระก็ตอบอย่างนี้อีก เราก็ เออ เวรกรรม! พระก็บอกว่าที่มันจะลงไปคือมันจะตกภวังค์ไง เขาบอกว่าให้ดึงไว้ ให้ดึงไว้

เวลาคำถามกับคำตอบหลวงตาท่านพูดอย่างนี้ ท่านพูดบอกว่าถ้าคนไม่รู้จริงเวลาพูดออกมา เวลาพูดธรรมะเหมือนกับเปิดอกเลย วุฒิภาวะมีแค่ไหนก็พูดได้แค่นั้น นี่พอไปถาม พอมันผิดใช่ไหม พอผิดปั๊บก็ไม่กล้าทำ ไม่กล้าทำก็ไปดูจิต พอดูจิตปั๊บฟังซีดีเรา ที่ว่าเวลามาหาเราถือเทปมาด้วยนี่แหละ เวลามาหาเรานะถือเทปมาด้วย

“หลวงพ่อผิด” “ทำไม” “ก็ซีดีมันบอก” แล้วก็ให้อธิบายต่อเลย พออธิบายต่อ พอเขาไปดูจิตอยู่พักหนึ่ง นี่เขาก็กลับมาพุทโธอีก นี่กลับมาพุทโธอีกต่อสู้กับเวทนาอีก

เราถึงบอกว่าเวทนามันสู้ได้สองวิธี วิธีหนึ่ง วิธีด้วยขันติ อย่างพวกเรานี่เริ่มต้นด้วยขันติคือทนเอา แต่ทนเอา ทนเฉยๆ ไม่ได้นะ ทีนี้พอทนเอาเรากำหนดลมหายใจเฉยๆ ก็ได้ กำหนดพุทโธก็ได้ ให้จิตเราไปอยู่กับที่พุทโธ เห็นไหม อยู่ที่พุทโธมันก็ไม่รับรู้ที่เวทนา นี่เขาเรียกว่าขันติ หลบเอา หลบเอาเพื่อสร้างฐาน แต่ถ้าเป็นอีกวิธีหนึ่งคือถ้าจิตเราสงบแล้ว มีพื้นฐานแล้ว เราถึงจะใช้ปัญญาเราเข้าไปต่อสู้กับเวทนา

เหมือนผู้ใหญ่กับเด็ก เด็กต้องเลี้ยงให้มันโตขึ้นมาก่อน แต่ผู้ใหญ่ต้องให้ทำงาน จิตถ้ามันสงบแล้วมันมีพื้นฐานแล้ว ออกไป ถ้าจิตมันออกไปดูเวทนาอันนั้นถึงจะเป็นวิปัสสนาไง คือเรามีพื้นฐาน เหมือนนักกีฬาร่างกายแข็งแรง ไอ้ทักษะเราค่อยฝึกเอา แต่เราร่างกายก็อ่อนแอ แล้วก็บอกให้ฝึกทักษะ ฝึกทักษะ ก็กูยังเดินไม่ไหวเลย มึงจะให้กูฝึกอะไร?

ถ้าจิตพอมันจะสู้กับเวทนา โดยพื้นฐานพวกเราไม่เข้าใจเพราะไม่เข้าใจว่าถ้าใช้ปัญญาไปแล้วมันจะเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาสายตรง สายตรงที่เขาพูดกัน แต่เวลาเราว่านะ มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เราจะใช้ปัญญาตรึกในธรรมพระพุทธเจ้ามากน้อยขนาดไหน สิ่งที่ตรึกอยู่นั้นเป็นตรึกธรรมะ แต่ตรึกจากที่เราเป็นกิเลสไง

คือจิตเราจะมีพื้นฐาน เราตรึกในธรรมะมันก็เป็นโลกียปัญญาคือปัญญาตรึกในธรรม ผลของมันคือการปล่อยวาง แต่นี่พอผลของมันคือการปล่อยวาง พูดด้วยวุฒิภาวะของเราไม่มี เราไม่เข้าใจไง เราไม่เข้าใจว่าผลของการปล่อยวางนั้นคือธรรม ผลของการปล่อยวางนั้นคือธรรม แต่ความจริงมันเป็นสมถะ เป็นสมถะธรรม ไม่ใช่วิปัสสนาธรรม

ทีนี้ถ้าไม่ใช่วิปัสสนาธรรม ผลของมัน การก้าวเดินของมัน มันยังอยู่ในกฎของสัพเพ ธัมมา อนัตตา สภาวธรรมอันนี้ยังแปรปรวนอยู่ แต่ถ้ามันจาก สัพเพ ธัมมา อนัตตาเห็นไตรลักษณ์แล้ว ถ้าเป็นผลของมันเห็นไหม มันเป็นธรรม มันไม่ใช่อยู่ มันพ้นจากกฎอนัตตา มันพ้นจากกฎการเปลี่ยนแปลง ถ้าผลของวิปัสสนานะ แต่ขณะที่ผลของวิปัสสนาที่มันจะถึงกฎของการไม่เปลี่ยนแปลงมันจะปล่อยวางไปก่อนคือว่ามันต้องปรับตัวมันก่อน

เว้นไว้แต่ เว้นไว้แต่พวกขิปปาภิญญา พวกที่ปฏิบัติง่าย รู้ง่าย อย่างเช่นพระพุทธเจ้า พุทธเจ้าเห็นไหมตั้งแต่คืนเพ็ญเดือนหก ตั้งแต่หัวค่ำได้หญ้า ๘ กำของที่พราหมณ์มาให้แล้วปูนั่งเห็นไหม ก็นั่งอาสนะเดียวไง แต่สำเร็จเลย นั้นขิปปาภิญญาคือปฏิบัติง่าย รู้ง่าย เว้นไว้แต่เฉพาะประเภท ประเภทนี้

จิตมีหลายประเภท แต่จิตประเภททั่วไปมันจะต้องปรับคือว่ามันจะตทังคปหานก่อน คือมันปล่อยก่อน ใช้ปัญญาเข้าไปแล้วมันจะปล่อยก่อน ปล่อย ปล่อย ปล่อย ปล่อยสุดจนเต็มที่เพราะการปล่อยการขาดต่างกัน ถ้าคนมันเห็นสภาวะแบบนั้นมันจะเข้าใจว่าการปล่อยหมายถึงว่าเหมือนกับเราทดลองทางวิทยาศาสตร์ เราเห็นผลของมัน แต่เรายังทำให้มันสำเร็จไม่ได้

เห็นผลของมัน เห็นผลของมันถึงที่สุดเห็นไหม พอมันปล่อย พอปล่อยปั๊บมันเป็นอกุปธรรม มีกุปธรรม อกุปธรรม กุปธรรมคือสภาวธรรมที่มันยังเปลี่ยนแปลง ยังไม่เป็นตัวธรรมคือมันยังแปรสภาพได้อยู่ นี่สัพเพ ธัมมา อนัตตา

ถ้าเราศึกษาเห็นไหม พอเราศึกษาในธรรมในพระไตรปิฎก สัพเพ ธัมมา อนัตตา สภาวธรรมนี่เป็นอนัตตา ก็เลยว่านิพพานก็เป็นอนัตตาไง แต่เวลาถ้าผู้ที่ปฏิบัติ ไม่ใช่ สภาวธรรมนี่เป็นอนัตตา แต่ผลของมันไม่เป็นอนัตตา ผลของมันต้องเป็นความจริง สภาวธรรม

สภาวธรรมตัวธรรม สภาวธรรมตัวสภาวะที่มันเปลี่ยนแปลงที่ว่าสภาวธรรม สภาวธรรมสิ เวลาเรานั่งเห็นไหมที่ว่าจิตนี้เป็นวิทยาศาสตร์นะ กำหนดนะจะเข้าใจ เป็นวิทยาศาสตร์เลย เป็นวิทยาศาสตร์เพราะเราพูดได้ เราพูดได้ แต่ตัวธรรมพูดไม่ได้ ก็เหมือนที่ว่าเห็นไหม เหมือนเวลาช็อก เรารู้ต่างๆ เราอธิบายได้

แต่พอมันช็อกขึ้นมา มัน เอ๊อะ! ตัวนั้นน่ะตัวเป็น ถ้าตัวนั้นเป็นเห็นไหม ตัวนั้นเป็น ตัวธรรม ตัวธรรมเป็นโสดาบัน สกิทา อนาคา จนถึงที่สุด อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ ตัวจิตก็ต้องทำลายหมด มันเปลี่ยนแปลงไป

ทีนี้ตรงนี้ตรงที่มันมีของมัน มันมีเทคนิคของมันในกระบวนการ แต่ของเรา เราไปคิดว่าการใช้ปัญญานี้เป็นธรรม เป็นธรรมก็เลยใช้ปัญญาของเรากันตลอดเวลา นี้ปัญญาอย่างนี้ผลของมันเห็นไหม ผลของมันเป็นสมถะ เราถึงได้พูด การภาวนา การกระทำของทุกๆ วิธีการผลของมันคือสมถะหมด

ทีนี้ด้วยความที่ไม่เข้าใจ ผลที่เป็นสมถะ แต่เราเข้าใจว่าเป็นธรรมๆ พอเป็นธรรมปั๊บมันเสื่อมไง มันก็เลยถึงเวลานั้นมันเสื่อม มันถอยสภาพ แต่ถ้าเป็นธรรมจริงๆ แล้ว มันไม่เสื่อม อฐานะ กุปธรรม อกุปธรรม ธรรมะที่ยังแปรสภาพอยู่ ยังเสื่อมอยู่กับธรรมะที่ไม่เสื่อม

นี้ธรรมะที่ไม่เสื่อมลองคิดดูสิ ธรรมะที่ไม่เสื่อมก่อนที่จะถึงมันไม่เสื่อมมันทำไมถึงไม่เสื่อมล่ะ มันพัฒนาการของมันขึ้นไปอย่างไร? มันพัฒนาการของมันขึ้นไป นั้นเวลาเราถามว่าสู้กับเวทนา อธิบายเยอะมาก อ้าว แล้วทำไมเป็นอย่างนั้น อ้าว แล้วทำไมเป็นอย่างนี้ อ้าว แล้วเป็นอย่างนั้น

เพราะเวลาไปหากระแส กระแสไหนเขาชักไปก็ไปตามเขา ไปตามเขาหมดเลย พอตามเขาไป พอไปแล้วเพียงแต่ว่าเขาดีอย่างหนึ่ง ดีอย่างเวลาเขามีเหตุผลไง พอเขาฟังซีดีเรา อันไหนผิดอันไหนถูกเขายอมรับ ถ้ายอมรับแล้วมีการแก้ไขเพราะเหตุผลมันเหนือกว่า ถ้าเหตุผลมันเหนือกว่าเราต้องฟังเหตุผลที่เหนือกว่า ถ้าเหตุผลที่เหนือกว่ามันอธิบายได้ด้วย

นี้เวทนา กาย เวทนา จิต ธรรม จิตเห็นนะ แต่ประสาที่เราทำกันอยู่สัญญาเห็น สัญญาเห็น สัญญาอารมณ์ไง ตัวจิตมันโดนครอบงำไว้ด้วยขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สัญญาคือข้อมูล มันเหมือนหนามยอกเอาหนามบ่ง มันก็เป็นสัญชาตญาณไง มันเป็นสถานะของมนุษย์ สถานะของมนุษย์มีความคิด

ถ้าไม่มีความคิดเราจะสื่อความหมายกันได้อย่างไร? ภาษาจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? นี้พอมันมีอยู่แล้วสิ่งที่มันเป็นสัญชาตญาณ สัญชาตญาณสถานะของมนุษย์มันมีความคิด มีกายกับใจ ใจก็แบ่งออกเป็นความคิดกับตัวใจ ทีนี้ตัวใจมันก็คิดของมันอยู่อย่างนั้น นี้พอเรามาศึกษาปั๊บเราศึกษาด้วยความคิด เรานึกว่าเป็นใจแล้ว

ทีนี้ถ้าเป็นครูบาอาจารย์เรา ต้องทำให้จิตสงบขึ้นมาก่อน พอจิตสงบขึ้นมาก่อน สงบก็เป็นตัวมันเอง แล้วพอจิตมันเห็น เห็นไหม จิตมันเห็น จิตมันรู้ จิตมันวิปัสสนา แต่นี่เราใช้ความคิดของเรากันเอง พระพุทธเจ้าตีความหมายอย่างหนึ่ง

เราถึงพูดไง เราอ่านพระไตรปิฎกกันนี่ เราอ่านหนังสือออก แต่เราอ่านความหมายของพระพุทธเจ้า สิ่งที่พระพุทธเจ้าปรารถนาที่จะให้พวกเรารู้ เราไม่เข้าใจหรอก เรารู้ได้หยาบกว่า รู้ได้หยาบกว่าและก็ความคิดของเรา ตรรกะของเราคิดกันไป นี้มันทำอย่างนั้น วิปัสสนาอย่างนั้นแล้วมันปล่อยจริงไหม? มันปล่อยไม่ได้ มันไม่ปล่อยหรอก มันติดอยู่อย่างนั้น

นี่ก็เหมือนกัน พอไปพิจารณาเวทนาเพราะการพิจารณาเวทนามันพิจารณาของมันไป แล้วบอกว่าการพิจารณาเวทนาพิจารณาได้อย่างที่เราไปเที่ยวป่าช้ากัน ทำไมเราไปเที่ยวป่าช้าได้ เราคิดถึงความตายเรายังคิดได้เลย ลองคิดถึงความตายสิ เราคิดถึงความตายเรายังสลดสังเวชเลยเห็นไหม

เราคิดถึงว่าเราจะต้องตายอย่างนี้ สิ่งที่มันฟุ้งซ่าน สิ่งที่มันจะแบบว่าดิ้นรนไปมันจะหดตัวเข้ามา มันจะมีสติเลยล่ะ ถ้าเราคิดถึงความตาย มรณานุสติ คำว่ามรณานุสติ สติระลึกถึงความตาย นึกถึงความตายมันยังปล่อยได้ แล้วนี่เราไปดูกายก็เหมือนกัน ไปดูซากศพ ไปพิจารณา

นี่กายนอกกายใน พอดูกายนอกเห็นไหมเป็นได้ทั้งสมถะ เป็นได้ทั้งวิปัสสนามันจะปล่อยเข้ามา มันจะปล่อยเข้ามา ปล่อยเข้ามาเป็นตัวของมันเอง แล้วตัวของมันเองถ้ามันมีหลัก มีหลักมีเกณฑ์ ถ้ามันออกรู้ ทีนี้ถ้ามันไม่มีวุฒิภาวะ มันก็เลยเหมือนกัน เหมือนแบงก์จริงแบงก์ปลอมเลย แบงก์จริงแบงก์ปลอมนี่ใกล้เคียงกันมากเลย แล้วดูอย่างไรแบงก์จริงแบงก์ปลอม?

จิตอย่างไรที่มันออกใช้ปัญญา? แล้วจิตอย่างไรที่ปัญญามันใคร่ครวญอยู่นี่ปัญญาของใคร? เวลาฟังนะ นี่เหมือนกัน เมื่อ ๒ วันนี้ ไม่อยากพูด แต่ถ้ามันพูดมาเพราะมันเป็นคตินะ พระมาจากวัดเทพศิรินทร์หลายองค์ ๗ องค์มาอยู่ด้วยกัน นี้เวลาพูดอย่างนี้ เราก็พูดกับโยมอย่างนี้ เวลาเราไปพูดกับพระนะ เวลาฉันน้ำร้อนพูดแรง

แล้วเวลาจะกลับเขามากราบ “หลวงพ่อ จะถามหลวงพ่อคำหนึ่งแล้วหลวงพ่ออย่าโกรธนะ (หัวเราะ) ทำไมถึงว่าไอ้สัตว์ ไอ้เหี้ยอย่างนี้ มันถูกหรือเปล่า?” เขาว่าอย่างนั้นนะ เวลาพูดว่าไอ้สัตว์ ไอ้เหี้ย เราบอกว่าเวลาปลงอาบัติ เราไม่ได้โกรธหรอก เราก็เลยอธิบายให้เขาฟัง เราบอกว่า “ทุพภาสิต” เวลาอาบัติหนักมันปลงไม่ได้ มันเป็น ถ้าอาบัติหนักนะ ตาลยอดด้วน ปาราชิกนี่ขาดไปเลย

แต่ถ้าเป็น “สังฆาทิเสส” ต้องอยู่ปริวาส อยู่กรรม มันเป็นสังฆาทิเสส สงฆ์เป็นใหญ่ แล้วก็ “ถุลลัจจัย” ปลงได้

ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ทุกกฏ ทุพภาสิต

ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์นี่มันทุพภาสิต มันเป็นภาษิตที่ไม่ดีใช่ไหม? แต่เราบอกว่ามันเป็นสิ่งนี้ นี้เวลาเราพูดกับพระ เขาถามเลยนะ เขาคงแปลกใจเพราะว่าเขามากันบ่อยมาก เดี๋ยวนี้มาบ่อยมาก ประสาเราเหมือนกับเราศึกษาธรรมะ เขาต้องแบบว่าต้องเรียบร้อยหมดไง นี่เขาคิดเองนะ เขาคิดในแง่บวก เขาถามด้วยความสงสัย เขาบอกว่า เวลาพูดกับโยมนี่ไม่ได้ใช่ไหม? เพราะเราพูดกับพระแรงไง

เวลาพูดกับพระไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ อะไรของมัน เราบอกมันถึงใจ ถ้ามันถึงใจนะธรรมะมันออกมันถึงใจเหมือนรสอาหารมันเข้มข้น มันจะออกมาเต็มที่ ถ้ารสอาหารมันไม่เข้มข้น เรากินอาหารที่รสชาติมันจืด แล้วคนปรุงมันจะปรุงให้รสชาติ ให้เข้มข้นใช่ไหม? พอรสชาติเข้มข้นขึ้นมา

เราจะบอกเลยนะ (โทษนะ) กูกับผมมันก็สมมุติเหมือนกันใช่ไหม? ถ้า “ผม” คำว่า “ผม,ท่าน” อย่างนี้ก็พูดได้ แต่นี่เราชอบ “กู” แต่มันเป็นภาษาสมมุติ เราบอกมันเป็นภาษาสมมุติ แต่ถ้ามันเป็นภาษาสมมุติมันพูด มันเป็นจริตนิสัย ถ้าจริตนิสัยมันถึงตรงนั้นปั๊บธรรมะมันจะเข้มข้นคือคำว่าถึงใจนะ ถึงใจ ถ้าเราพูดโดยที่ไม่สะใจเรา ไม่ถึงใจเรา ธรรมะมันไม่ออก มันไม่ถึง เพราะมีครูบาอาจารย์เห็นไหม

ดูสิ อย่างเช่นหลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ตื้อครูบาอาจารย์เรา ท่านเทศน์ยอดธรรม แล้วหลวงตาเรา หลวงตาเราเทศน์ เมื่อก่อนหลวงตาเทศน์จะนุ่มนวลมาก แต่พอออกมาโครงการช่วยชาติเห็นไหม เวลาท่านพูดออกมาทุกคนว่าพูดสัปดน พูดสัปดน แต่เวลาหลวงตาท่านพูดว่าหลวงปู่ตื้อนี่ท่านเทศน์ยอดธรรม ยอดธรรม

คือโลกเราติดกันตรงนี้ ระหว่างเรื่องเพศตรงข้าม เรื่องเพศตรงข้ามเป็นไอ้นั่นนะ เป็นฝากปักเสียบในหัวใจกัน อันนี้พอเทศน์อย่างนี้เทศน์เพื่อจะถอนมันไง นี้ถ้าถอนมัน ถ้ากำลังเราไม่พอ พอจะไปถอนมันเหมือนกับแผล ล้างแผลก็เจ็บ รักษาแผลก็เจ็บ ล้างแผลก็เจ็บนะ ล้างให้มันหายก็เจ็บ

ดูสิ ที่หมอเขามาถาม ที่มาจากวชิระ หมอผ่าตัดนี่เป็นกรรมหรือเปล่า ก็ผ่าตัดเขา เราบอกว่ารักษาเขานะ ผ่าเขา ถ้าเราทำร้ายเขามันก็เจ็บปวดใช่ไหม? นี้เราผ่าตัดเราก็ต้องผ่า ก็ต้องเปิดแผลเหมือนกัน เขาบอกว่าอันนี้ผิดไหม? เราบอกว่ามันการรักษา

นี่ย้อนกลับมาตรงที่พูด คำพูดที่แรงเห็นไหม คำพูดที่แรงถ้าถึงที่สุด ถ้าเราพูดแล้วเรายับยั้งได้ สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ ทีนี้ถ้าพูดอย่างนั้นมันพูดคำสละสลวยมันก็ได้ ได้เหมือนกัน แต่สำหรับเรานะ เราบอกว่าสมมุติเราคิดคำนี้ พูดออกมาคำนี้ มันเป็นด้วยเหตุผลเลย เราพูดออกไปแล้วแบบว่ามันฟังแล้วไม่สละสลวย พูดให้มันสลวยมันเหมือนที่หลวงตาพูด

หลวงตาท่านพูดนะ บอกว่าเวลาท่านพูดท่านเทศน์มันระเบิดนิวเคลียร์คือคำพูดมันแทงใจดำ มันก็แทงหัวใจ ทีนี้พระเวลาเขาถอด มันคำพูดเห็นไหม พระกับสังคม หัวใจมันน้ำหนักไม่พอก็เปลี่ยนคำพูดให้สละสลวย หลวงตาท่านพูดเลยนะ ของเรามันนิวเคลียร์ เขาเอาออกก็เปลี่ยนเป็นกล้วยหอมกล้วยไข่เข้าไปเห็นไหม กล้วยหอมกล้วยไข่กับระเบิดที่เข้าไปทำลายคุณภาพมันต่างกันไหม?

นี้ถ้าอย่างนี้ พูดถึงคำพูดของเขามันเหมือนกับว่าวุฒิภาวะของใจเขาได้แค่นี้ เขาก็รับรู้แค่นี้ แต่เวลาปฏิบัติเข้าไปแล้วนะ พอเขาฟังทุกวันๆ อาหารเรากินทุกวันมันจะจืดชืด เราต้องกินอาหารแบบรสชาติเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ การปฏิบัติก็เหมือนกัน พอเราปฏิบัติเราฟังเห็นไหม เวลาครูบาอาจารย์จะหาครูบาอาจารย์ที่พูดให้ถึงใจไง พูดให้ถึงใจ พูดให้แทงหัวใจ

พอเราปฏิบัติ นี่หลวงตาท่านพูดเวลาท่านเทศน์ท่านบอกเลยเทศน์กับโยมเห็นไหม ถ้าเทศน์กับโยมก็อีกอย่างหนึ่ง ถ้าเทศน์กับพระมันได้เต็มที่เพราะพระ เหมือนกับเราคนไข้หนัก พอคนไข้หนักเราต้องการยาที่เข้มข้น ฉะนั้นเวลาหลวงตาท่านบอกเวลาหลวงปู่มั่นจะเทศน์ หลวงปู่มั่นเทศน์มันก็ทุกกัณฑ์ก็ถึงที่สุดเหมือนกัน แต่มันไม่ถึงใจ ต้องถามให้ผิดๆ ถูกๆ ไง

จนหลวงปู่มั่นบอกว่ามัน “ไม่ใช่” พอไม่ใช่มันจะออกแรงมาก พอออกแรงมากมันก็ถึงใจเพราะเราอยาก เหมือนเราคนป่วยเราก็ต้องอยากยาอะไรที่มันทีเดียวหายเลยอย่างนี้ แล้วพูดแรง เวลาเขาถามนะ เรากับประสาเรานะ เรากลับเอ็นดู ไม่ใช่เมตตา เหมือนเอ็นดูเขา เขากลัวนะ “หลวงพ่ออย่าด่านะ เวลาหลวงพ่อพูดอย่างนั้นมันเป็นอาบัติไหม? ไอ้สัตว์ ไอ้เหี้ยอะไรนั่นน่ะ เขาก็ว่า มันเป็นอาบัติไหม?”

เราบอกว่าถ้าเป็นอาบัติตัวอักษร เป็น “ทุพภาสิต” ทุพภาสิต ภาษิตคำพูดที่ไม่.. ทุพภาสิตมันก็ชัดๆ อยู่แล้ว (หัวเราะ) ภาษิตที่โลกเขาไม่พูดกันเห็นไหม มันเหมือนคำด่า แต่ถ้าเราเอามาเป็นธรรมะ แล้วเพราะอะไร? เพราะหลวงตาท่านพูดอย่างนี้นะ หลวงตาท่านพูดบอกว่า

“สมมุติบัญญัติ แม้แต่กฎหมายนี่มันก็เป็นสมมุติ”

ทีนี้ถ้าจิตเราเป็นธรรมจริงมันพ้นจากสมมุติบัญญัติไป พอพ้นจากสมมุติบัญญัติกฎหมายมันตามไม่ถึงหรอก หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ ท่านไปคุยกับพระนะ ท่านพูดกับพระจนพระองค์ไหนพูดถึงท่านบอกว่าพูดกับท่านว่ามีธรรมในหัวใจแล้ว ท่านบอกจบเลย ใครจะมากล่าวโทษเป็นสังฆาปาราชิกอะไรนี่ ท่านไม่ฟังเลย เพราะจิตอันนี้มันพ้นจากกฎหมายไปแล้ว

ทีนี้เขามาถามว่ากฎหมายนี่ผิดไหม? ผิด กฎหมายนี่ก็ผิด คำพูดนี้เป็นอาบัติไหม? เป็น ทีนี้พอมันเป็นอาบัติปั๊บมันก็เข้ามาที่ .........ที่เขาบอกว่า “หลวงตาเป็นพระอรหันต์ไม่ได้เพราะหลวงตาพูดว่าท่านบรรลุธรรมที่ไหนๆ เขาบอกว่าอันนี้เป็นอวดอุตริ อวดอุตริที่มีในตน เขาว่าปาปมุต”

คำว่าปาปมุตคือพระอรหันต์มันต้องเป็นทำผิดไม่ได้เลย แต่เวลา .........พูดมาอย่างนี้ปั๊บเราย้อนกลับเลยบอกว่า “เขาตีความผิด ปาปมุตหมายถึงว่าไม่เป็น ไม่เป็นอาบัติไม่ใช่ว่าไม่ทำผิดอาบัติ” ถ้าปาปมุตนี่ทำผิดอาบัติไม่ได้เลย คือจะไม่ผิดจากอาบัติเลย ต้อง อาบัตินี่ต้องไม่มีผิดเลย ถ้าผิดเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ แต่เราบอกว่าไม่ใช่

พระอรหันต์นี่คือจิตมันพ้นออกไปจากสมมุติบัญญัติแล้ว สมมุติบัญญัติเข้าไม่ถึงแล้ว วุฒิภาวะของใจมันสูงกว่า ยกตัวอย่างเช่นพระตาบอด ในพระไตรปิฎก พระจักขุบาล พระจักขุบาลไปภาวนา พอพระจักขุบาลไปภาวนาใช่ไหม? เริ่มตาเจ็บ พอตาเจ็บก็ไปหาหมอให้รักษา

หมอบอกต้องให้นอนหยอดตา นี่เขาถือเนสัชชิก ตอนเนสัชชิกก่อนเข้าพรรษา เขาไม่นอน ไม่นอนตลอด นี้หมอบอกต้องให้นอนหยอดตาถึงจะได้ผล นี้เขานั่งหยอด มันไม่หาย อย่างไรก็ไม่หาย ไม่หายหมอบอกเลยถ้าไม่รักษานะ ตาบอดนะ ตานี้ต้องบอดแน่นอน พระจักขุบาลไม่ยอม บอดก็คือบอด พอดีตาก็บอด ใจก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย พอบรรลุเป็นพระอรหันต์ปั๊บกลับบ้านไม่ได้เป็นสุกขวิปัสสโก

สุกขวิปัสสโกนี่มันไม่มีฤทธิ์มีเดชใช่ไหม? ก็ต้องให้หลานมาจูงกลับนะ พอกลับไปอยู่ที่บ้าน อยู่ที่เมืองนะ เขาก็ทำทางจงกรมไว้ให้ไง แล้วคืนนั้นฝนตกหนัก แมลงมันออกมาเยอะ ท่านก็มาเดินจงกรมอยู่ ท่านเหยียบแมลงตาย ท่านเหยียบแมลงตายนะ แล้วพระที่จะมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ามาเห็นเข้า ก็บอกว่าพระจักขุบาลเวลาตาดีก็ขี้เกียจ เวลาตาบอดก็อยากมาอวดเขา

เดินเหยียบสัตว์ตาย ฝนมันตก แมลงมันออก แล้วท่านเดินเหยียบสัตว์ตายหมด ไปฟ้องพุทธเจ้าว่าพระจักขุบาลเป็นปาจิตตีย์คือเหยียบสัตว์ตาย ทำชีวิตสัตว์ให้ตกร่วง อันนี้เป็นปาจิตตีย์ พระพุทธเจ้าบอกไม่เป็น ไม่เป็น พระจักขุบาลไม่มีอาบัติเพราะพระจักขุบาลเป็นพระอรหันต์ ตรงชัดๆ เลย พระจักขุบาล นี่ไงพระอรหันต์เหยียบสัตว์ตายนะ ไม่เป็น ปาปมุตคือไม่เป็นอาบัติ

แต่พวกเราตีความว่าปาปมุตไม่ทำผิดอาบัติ ไม่มี แล้วหลวงตาท่านก็บอกไว้นะ ทางฝ่ายโลกก็จัดว่าท่านอวดอุตริเพราะว่าท่านบอกท่านสำเร็จที่วัดดอยธรรมเจดีย์วันนั้นๆ นี้ท่านบอกว่าไม่ใช่ ท่านเปรียบยกพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่าเรารู้ได้อย่างไรว่าพระพุทธเจ้าสำเร็จที่โคนต้นโพธิ์? ใครเป็นคนบอก? ก็พระพุทธเจ้าบอก อ้าว พระพุทธเจ้าสำเร็จเองแล้วใครรู้? เพราะยังไม่มีใครปฏิบัติเลย

ไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าพระพุทธเจ้าสำเร็จที่ไหน? เพราะพระพุทธเจ้าสำเร็จเป็นองค์แรก ยังไม่มีใครรู้ พระพุทธเจ้าต้องเป็นคนบอก ฉะนั้น เราถึงบอกเหมือนกับว่าถิ่นกำเนิดไง ท่านบอกว่าท่านสำเร็จที่ไหน? ทำที่ไหน? แล้วจบที่ไหน? ท่านพูด ท่านพูดบอกสถานที่ ท่านพูดถึงถิ่นกำเนิดไง แล้วท่านบอกไม่มีอาบัติ ไม่มีอาบัติ แต่โลกไม่เข้าใจกัน ถ้าพูดถึงถ้าเป็นธรรมแล้วพ้นจากตรงนั้น

ไอ้นี่มันเป็นกิริยา อาบัติไม่ถึง แล้วมันอยู่ในปาติโมกข์ด้วย สติวินโยฯ อธิกรณสมถะ ๗ คือว่าสวดเป็นศีล ๒๒๗ เลย แล้ว ๗ ประเภทนี้ไม่เป็นอาบัติ สติวินโยฯ คือมีสติพร้อม มันมีหมดนะเพียงแต่ ๑. คนไม่เข้าใจเพราะว่าอย่างนี้ว่าที่อักษร มันอยู่ที่ตัวกฎหมาย อยู่ที่คนตีความ แล้วจะตีความอย่างไร? ตีความอย่างไร? แต่ถ้าเป็นความรู้จริงแล้ว มันเป็นไม่เป็นเรารู้ดี

ขณะที่ไม่เป็นเราก็รู้ ไม่รู้ตรงไหน เช่น เรากำลังปฏิบัติกันอยู่ ถ้าเราทำผิดเอ็งไปนั่งสมาธิสิ นั่งไปเถอะเพราะหลอกตัวเอง มันขุ่นใจ นี่ไงสีลัพพตปรามาส ลูบคลำ เราเองลูบคลำในศีล เรายังไม่มั่นคงในศีล แล้วถ้าผิด เราจะบอกว่าไม่เป็น ไม่เป็น เป็นไปไม่ได้เพราะเราอยู่ในสังคมนักปฏิบัตินะ

เวลาเย็นๆๆ ขึ้นมาถ้าใครผิดนะ จะต้องรีบปลงอาบัติเลย เพราะอะไร? เพราะมันซื่อสัตย์กับตัวเองนะ อย่างเรา เราตั้งใจ เราจะภาวนาใช่ไหม? แล้วเรานั่งหลับตาแล้วมันไม่ลงทำอย่างไร? ขนาดในวงปฏิบัติเรา ขนาดที่บางองค์นี่นะ โหมเต็มที่เลยแล้วมันไม่ลง ลงไม่ได้ บางทีนั่งน้ำตาไหลเลยนะ จิตมันจะลง จะลง มันเด้งขึ้น เด้งขึ้นเลย

แล้วก็มาปรึกษากัน อย่างพวกเรานักปฏิบัติมันเหมือนทางวิชาการ มันถึงมาปรึกษากัน เฮ้ย ทำไมเอ็งเป็นอย่างนั้น? ทำไมเอ็งเป็นอย่างนี้? เข้าได้ไหม? เข้าไม่ได้ นี่ไงที่หลวงตาทำบอกว่า พระที่ออกมาจากป่าแล้วไปหาหลวงปู่มั่น ใครไปป่าไหนมาก็จะมาคุยว่าภูเขาลูกนั้นภาวนาแล้วเป็นอย่างนั้น ที่หลวงตาเล่าๆ อยู่นี่ พระจะคุยกัน

นี่ของเราปฏิบัติเราก็คุยกัน มีพระองค์หนึ่งอย่างไรก็ไม่ลง อย่างไรก็ไม่ลง อดอาหารแล้ว พระเราพยายามบอกอาบัติมีไหม? อะไรมีไหม? ดูแล้วก็ไม่มี สุดท้ายนะก็นั่งทบทวนกัน สงสัยอุปัชฌาย์ พอสงสัยอุปัชฌาย์ก็ทำทัฬหีกรรม ออกไปแล้วหาโอกาสทำทัฬหีกรรม อย่างเช่นถ้าเราไปอยู่ที่วัดที่เป็นอุปัชฌาย์ไปพักวิเวกแล้วถ้ามีองค์ไหนเข้ามาบวชขอบวชซ้ำไง ทำทัฬหีกรรมซ้อนเข้าไป เหมือนบวชอีกรอบหนึ่งว่าอย่างนั้นเถอะ ตัดอุปัชฌาย์ แล้วก็กลับมาที่บ้านตาดมานั่งภาวนา ดีขึ้น จะลงด้วย

เวลาเราบวชกัน ทำอะไรกันเพราะเราเห็นเหตุการณ์อย่างนี้มาเยอะ ถ้าเราจะบวชเป็นแค่สักว่าบวชนะก็ได้ บวชเป็นพระไหม? เป็น เพราะในวินัยมีนะ เราอ่านพระไตรปิฎกมาสองรอบ สมมุติว่าเราไปบวชพระ อุปัชฌาย์ เขาขาดจากพระแล้ว ในสงฆ์ขาดจากพระแล้ว เราบวชเป็นพระไหม? เป็น เป็นพระโดยสมมุติไง เราถึงศึกษานะ ถ้าไม่เป็นอย่างนี้นะ สมมุติเราไปบวชนี่นะ เราไปบวชกับอุปัชฌาย์ที่ผิดพลาดแล้ว

ถ้าเราไม่เป็นพระ สมมุติว่าเราไม่เป็นพระนะ เราเข้ามาในอุโบสถ เหมือนกับเราไม่ใช่ ส.ส. เราเข้าองค์ประชุม กฎหมายนั้นเป็นโมฆะไหม? ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาพระบวชแล้วมันอยู่ด้วยกันไง เวลาเราฉันข้าว โยมมาโดนอาหารเราไม่ได้นะ ถ้าโยมมาจับอาหารเรา มันแบบว่าคฤหัสถ์มาจับแล้ว เราฉันเป็นอาบัติแล้ว ฉะนั้นถ้าไม่ใช่พระ มากินร่วมกัน เป็นอาบัติไหม?

นี่ไง บวชแล้วเป็นพระไหม? เป็น เพราะเป็นพระแล้ว เป็นพระขึ้นมาเพื่อการในธรรมวินัยนั้นมันถูกต้อง แต่ถ้าวันไหนเรารู้ เรารู้ปั๊บเรารู้ เรารู้หมายถึงว่าเรารู้ว่าอุปัชฌาย์หรือสิ่งที่เราบวชมามันไม่ถูกต้อง ขาดจากพระ ทีนี้พอขาดจากพระไปแล้วเราทำอย่างไร? เราจะบวชใหม่ไหม? นั่นอีกเรื่องหนึ่ง

นี่ไง ถ้าพูดถึงบวชแล้วเป็นพระไหม? เป็น เป็นพระโดยสมมุติ แต่เวลามาปฏิบัติสิ เพราะในพระไตรปิฎกมันมีนะ วิบัติ ๔ อุปัชฌาย์วิบัติ กรรมวาจาวิบัติ สีมาวิบัติ อักขรวิบัติ ไอ้ท่องบวชขานนาคนี่เรายังพูดกับนาคที่มาบวชใหม่จะมาบวช เราจะบอกนะเรานี่นะ เวลาจะคลอด เราต้องไปคลอด เราต้องไปให้หมอทำคลอดให้ แต่เราจะบวชพระนี่นะ เราจะทำคลอดตัวเองด้วยปากของเรา ด้วยโอษฐ์ของเรา ด้วยคำกล่าวคำบวช

ถ้าเราคลอดมาแล้วเราพิการ คือคำท่องนะ มันไม่สมบูรณ์เห็นไหม นี่อักขรวิบัติเห็นไหม วิบัติ ๔ ถ้าอักขรวิบัติไม่ต้องเวลาเราจะท่องขานนาค เราจะท่องให้มันชัดเจน ยิ่งชัดเจนยิ่งดีเท่าไรนะ เราคลอดออกมาไอ้วิบัติ ๔ นี่มันไม่มี เด็กมันคลอดมาแล้วมันแข็งแรง มันสมบูรณ์ มันก็ปฏิบัติง่าย

ถ้าเด็กมันคลอดออกมามันพิการชีวิตมีไหม? มี แต่มันจะทำอะไร เดี๋ยวเนาะ ถ้าพูดอย่างนี้แล้วคนพิการเขาจะเสียใจนะ เฮ้ย นี่เราพูดถึงคนพิการนี่เราเปรียบเทียบ คนพิการก็มีหัวใจนะ พระในสมัยพุทธกาลนะ พระนันทะเหมือนพระพุทธเจ้าเปี๊ยบเลย พระพุทธเจ้านี่อาการ อาการ ๓๒ ของพระพุทธเจ้านี่สวยงามมากแล้วก็มีพระนันทะเหมือนเปี๊ยบเลย แต่พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลนะแบบว่าเป็นค่อมไปเลยก็มี รูปกายมันไม่สำคัญนะ มันสำคัญที่ใจเป็นไหม

ฉะนั้น คำว่าพิการนี่นะ พิการนี่ มันพิการที่กาย หัวใจไม่ได้พิการ พิการก็ปฏิบัติได้ มันมีเห็นไหมที่อาจารย์ที่ธรรมศาสตร์เห็นไหมที่เขาตาบอดไง แล้วเขาไปถามพวกพระ พวกพระบอกเป็นกรรมเป็นกรรม เขาก็เลยบอกว่าเขาเลยนับถือศาสนาคริสต์เลย อะไรก็เป็นกรรม? อะไรก็เป็นกรรม? คือว่ามันเหมือนกับว่ายอมจำนน มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ นะ มันเป็นวาระ มันเป็นคำว่ากรรมของคนนะ

ดูสิ เวลาเราเกิดมาทำไมเราไม่เหมือนกัน ไอ้คำว่าอุบัติเหตุคือกรรม ถึงคราวถึงเวลามันจะเป็นอย่างนั้น ถึงคราวถึงเวลา แต่นี้มัน ไอ้ตรงนี้ที่มันบอกว่ากรรมมันแก้ไขได้ตรงที่เราทำบุญกุศลกันนี้ ทำบุญกุศลนี่นะ มันแบบว่าอุทิศส่วนกุศล มันแบบว่ามันเจือจางไง มันเจือจางให้ความเข้มข้นมันเบาบาง มันหลบหลีก แต่นี่ถึงที่สุดแล้วนะ คนมันถึงที่สุดแล้วมันกรรมมันให้ผล มันมีทั้งกรรมดีและกรรมชั่วของแต่ละบุคคล

นี้ถ้ามันเป็นไปแล้วไอ้นี่เวลาพูดมันพูดถึงเป็นบุคลาธิษฐานคือพูดเป็นตัวอย่าง นี้ถ้าเราบวชแล้ว เวลาไปบวช ไปอุปัชฌาย์ ถ้าเรารู้อย่างนี้ เราก็ตั้งใจ แต่ถ้าเราไม่รู้ตรงนี้เราจะบอกว่ามันจุกจิกไง ส่วนใหญ่พวกเราจะบอกว่ามันเรื่องปลีกย่อย เรื่องเล็กน้อย เรื่องที่ทำไมมันวุ่นวายไง

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ท่านอยู่อย่างนี้ท่านเห็นอย่างนี้ ท่านก็อยากจะให้ลูกศิษย์แบบว่าเหมือนลูกเราละ ให้ทำอะไรสะดวก ให้ทำอะไรง่าย นี้มันจะง่ายเห็นไหม มักง่ายจะได้ยาก คนที่มานะบากบั่นบั้นปลายมันจะสบาย นี่ไงเวลาบวชก็ต้องเข้มข้มหน่อย ไม่ใช่เข้มข้นหรอกทำให้ถูกต้องเท่านั้นนะ ต้องทำให้มันถูกต้อง ให้มันดีงาม นี่ถ้าถูกต้องดีงามบวชแล้วมันก็เป็น นี่บวชเป็นสมมุติสงฆ์นะ แล้วเวลาพอปฏิบัติ อริยสงฆ์ สีลัพพตปรามาส ไม่ลูบคลำในศีล อย่างไรถึงไม่ลูบคลำในศีล

วันนั้นมีหมอมาถาม เขาบอกว่าให้อธิบายเรื่องไม่ลูบคลำในศีล เราบอกว่าไม่ลูบ ไอ้นี่มันจะลูบคลำในศีลทุกคน ทุกคนเพราะอะไร? ทุกคนเพราะเราปฏิบัตินี่เรามีกิเลสทุกคน เรามีความลังเลสงสัยทุกคน มันจะไม่ลูบคลำได้อย่างไร? เขาลองให้อธิบายวิธีปฏิบัติที่ไม่ลูบคลำกับลูบคลำไง เราบอกลูบคลำทั้งหมด เว้นไว้แต่ เวลาเราปฏิบัติไปถึงที่สุดแล้ว ถึงที่สุดไง พระโสดาบันเท่านั้นถึงไม่ลูบคลำในศีล

คนที่เข้าไปรู้จริงเห็นจริงต่างหากมันถึงจะไม่ลูบคลำใช่ไหม? แล้วเรายังไม่รู้จริงถึงเราปฏิบัติกับครูบาอาจารย์ที่เป็นจริง อาจารย์ของเราเป็นพระอรหันต์ หลวงตานี่เป็นพระอรหันต์ แน่นอนเลย แล้วเราปฏิบัติเรายังลูบคลำไหม? ลูบคลำเพราะกูสงสัยไง จนจะทำจนจะถึงวันใดวันหนึ่งเราเห็นจริงขึ้นมา เราจะไม่ลูบคลำเอง ถ้าเรารู้จริงเอง เราจะสลัดทิ้งเอง เราจะลูบคลำได้อย่างไร? เพราะเรารู้เองเห็นเอง

เขาพยายามจะให้อธิบายว่าทำอย่างไรถึงจะไม่ลูบคลำ? แล้วเขาจะไปทำตรงนั้นไง บอก ไม่มีทาง ไม่มีทาง เพราะพวกเรามันมีกิเลสจริงไหม? แล้วจะไม่ลูบคลำได้อย่างไร? แต่ถึงที่สุดแล้วเพราะสิ่งที่ไม่ลูบคลำในศีลมันก็คือพระโสดาบันเท่านั้น อย่างน้อยพระโสดาบัน สกิทา อนาคาขึ้นไปไม่ลูบคลำแล้วเพราะมันรู้จริงเห็นจริงเพียงแต่มันเป็นจริตนิสัย

ทุกคนจะคิดอย่างนี้ ทุกคนเวลาศึกษาแล้วจะถามหาแต่สิ่งที่ถูกต้องสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ไม่ถูกต้องจะไม่เอา แต่ไม่ได้คิดเลยว่าใจเราต่างหากที่มันเป็น ในเมื่อใจต่างหากที่มันเป็นเราก็มาฝึกอยู่เพื่อใจต่างหากที่ให้มันถูกต้อง พอใจต่างหากที่ถูกต้อง นี่ไงเวลาบอกผู้ที่ปฏิบัติเป็นแล้วเห็นไหม นี่พระไตรปิฎกเคลื่อนที่

คือพระไตรปิฎกไม่มีชีวิต มันเป็นตำรา แต่พอเราปฏิบัติขึ้นมาปั๊บเราจะรู้จริงเหมือนพระไตรปิฎกเลย ต้องเหมือนกันเลย แล้วอธิบายเป็นพระไตรปิฎกที่มีชีวิต แล้วอธิบายความได้ชัดเจน ถูกต้องเพราะมันรู้จริง ความรู้จริงอันนั้นอธิบายได้ชัดเจนมากเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จริงจะเป็นอย่างนั้นไปเรื่อยๆ เราก็ต้องฝึกไป มันคือการต้องฝึก ต้องฝึกฝนไป ต้องแก้ไขไป ต้องดัดแปลงไป จะให้มันเป็นไปเองเลย มีเลย ไม่มี

แต่พูดถึงเขาถาม เรายังว่าเอ็นดูเขาเพราะเขาถามด้วยความคิดที่ดี เพราะความคิดของเขาไง เพราะธรรมดาเขามากันต้องคาดหมายว่า เห็นไหม ครูบาอาจารย์เรานี่แจ๋วมาก แจ๋วมาก แต่มาเจอไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์เข้าไป งงเลย นี่ยังน้อยนะ ยังน้อย (หัวเราะ) คนยังงงว่า เวลามัน.. มันสร้อย

ในพระไตรปิฎกเห็นไหม ไอ้ที่พระอรหันต์เรียกว่าไอ้ถ่อย ไอ้ถ่อย ไอ้ถ่อยคำนั่นหยาบที่สุดแล้วนะเพราะในพระไตรปิฎก เราไปอ่านเรางงเลยนะ พระพุทธเจ้าเวลาพูดถึงญาติ เรียกโยมเรียก “น้องหญิง” ถ้าน้องหญิงสมัยปัจจุบันนี้ น้องหญิงคือคนใกล้ชิดนะ แต่พอเรียกน้องหญิง ญาติพระพุทธเจ้าร้องไห้เลย เพราะเรียกน้องหญิงเหมือนดูถูกไง มันห่างไกล ไม่ยอมนะ ในพระไตรปิฎกนี่

พระพุทธเจ้าเรียก “น้องหญิงๆ” เรียกน้องหญิงร้องไห้เลย แต่ถ้าสมัยนี้ไปเรียกน้องหญิงล่ะ โอ มันใกล้ชิด นี่มันความเห็นไง มันเป็นคำพูด เป็นความเห็น สมัยพุทธกาลสังคมเป็นอย่างไร? สังคมนั้นเป็นสังคมหนึ่ง แล้วสังคมในปัจจุบันสังคมนี่ เหมือนวัฒนธรรมมันเคลื่อนมา เคลื่อนมา มันมองกลับกันหมดล่ะ แล้วเราจะคิดอย่างไร? เราจะทำอย่างไรให้มันเป็นความจริง?

แล้วนี่พอไปศึกษาของเขา ไปศึกษาพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกถูกหมด แต่นี่คนมันไม่เข้าใจไง คนจะเอาแต่ความเห็นในปัจจุบันนี้ไปตัดสินพระไตรปิฎก สมัยก่อนมันไม่มีนี่ เทคโนโลยีมันไม่มี ถ้าใครทำอะไรได้นี่ชัดเจนมาก แต่ในปัจจุบันนี่มันแบบว่ามารยาสาไถยมันเยอะไง มันเป็นมารยาหมด

แล้วยังคิดนะ เราคิดเอง อย่างเช่นเวลาเราอ่านพระไตรปิฎกยังว่า พระไตรปิฎกพูดไว้ไม่ชัดเจน เราพูดได้ดีกว่านั้น คือว่าจะบอกว่าเราดีกว่าพระพุทธเจ้าไง ทุกคนจะว่าเก่งกว่าพระพุทธเจ้าทั้งนั้น จะเก่งกว่าพระพุทธเจ้าเพราะอะไร? เพราะพระไตรปิฎกเมื่อก่อนนะมันยังไม่มีพิมพ์เป็นหนังสือ มันเป็นความจำทั้งหมด พอความจำทั้งหมดใครพูดได้ก็ไปศึกษากันตามนั้น

ทีนี้ในปัจจุบันนี้ เห็นไหมเทคโนโลยีมันเจริญใช่ไหม? ในพระไตรปิฎกมันพิมพ์มาเยอะแยะไป เราก็ศึกษาแล้ว เหมือนเวลาเทศน์ ฟังเทศน์สิ โยมฟังเทศน์สิ ถ้าพูดถึงให้โยมนึกเอง นึกไม่ออกนะ แต่เวลาครูบาอาจารย์เทศน์นะ แหม กูคิดได้ดีกว่านั้น กูคิดได้ดีกว่านั้น พระไตรปิฎกนี่เอ็งได้อ่านแล้วไง เอ็งรู้โจทย์แล้วไง เอ็งถึงพูดว่าพระพุทธเจ้าสู้กูไม่ได้ไง แต่ถ้าเอ็งไม่มีโจทย์ เอ็งคิดตรงนี้ออกไหม? เหมือนกัน

นี่ก็เหมือนกันเวลาฟังเทศน์นะ ฟังเทศน์ครูบาอาจารย์ โอ้โฮ อาจารย์เทศน์สู้กูไม่ได้ กูเทศน์ได้ดีกว่า แต่เวลาให้ขึ้นเทศน์ เทศน์ไม่เป็นนะเพราะมันไม่มีโครงเรื่อง มันต้องด้นไปเองไง เทศน์กลอนสดไง แต่ถ้าได้ฟังนะ ทำไมพูดอย่างนี้? มันต้องพูดอย่างนี้สิถึงจะถูก พูดอย่างนี้ผิด ใช่ไหม? นี่ถึงบอกพอไปอ่านพระไตรปิฎกไงเพราะรู้แล้ว แล้วมาอ่านไง ทำไมพระพุทธเจ้าพูดอย่างนั้น? ทำไมพระพุทธเจ้าพูดอย่างนั้น?

นี้เวลาเทศน์เห็นไหม เวลาหลวงตาท่านเทศน์ หลวงปู่มั่นเทศน์ ขณะจิตนะ ขณะจิตหรือจิตที่มันจะรวม จิตที่มันจะฆ่ากิเลส ท่านบอกว่าไม่พูด ถ้าพูดไปแล้ว โทษนะ เหมือนกับการทำร้ายลูกศิษย์เพราะถ้าเราพูดถึงเคล็ดของมัน พูดถึงสิ่งที่มันเป็น เราจะจำทันที แล้วเราจะสร้างภาพ สิ่งที่มันทำตรงนี้เสร็จแล้วมันจะฆ่ากิเลสได้

พอเรามีข้อมูลแล้ว กิเลสมันมีเครื่องมือต่อสู้แล้ว เราจะถึงตรงนี้ได้นะ เราต้องทำให้หนักกว่านี้ไปอีกสองเท่า ฉะนั้นเวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์นะ ท่านจะเทศน์ถึงเหตุถึงการกระทำ พอถึงผลปั๊บท่านไม่พูดถึง ท่านปล่อย เห็นไหม หลวงตาท่านเทศน์ถึงไอ้นั่น ถึงอสุภะ พอเทศน์มาเทศน์มาท่านบอกว่าหยุดแค่นี้เพราะถ้าพูดไป เหมือนเรา เราจะสร้างภาพตาม แล้ววันหลังเราจะคิดอย่างนี้ตลอดเลย ท่านจะปล่อยไว้

เราถึงได้บอกนะว่าในพระไตรปิฎกมันมีแต่วิธีการ ผลของมันไม่มี ผลของมันอยู่ที่ใจเรา ผลของมันไม่มี ท่านไม่ได้เขียนถึงผลไว้ แต่อ่านพระไตรปิฎกนั่นคือวิธีการทั้งหมดนะ วิธีการคือเทคโนโลยี ความรู้ที่เราจะเข้าไปฆ่ากิเลส ต้องทำอย่างนั้นๆ แต่ผลไม่มี ผลหมายถึงว่า ท่านไม่ได้บอกผลไว้

พอตรงนี้ มันไม่ใช่ผลใช่ไหม? เป็นวิธีการใช่ไหม? เราก็เอาวิธีการเป็นผลใช่ไหม? คือต้องทำให้ได้อย่างนี้ พวกเราเอาวิธีการเป็นผล ต้องทำให้ได้อย่างวิธีการนั้น แต่ความจริงนั้น นั่นเป็นวิธีการที่จะเข้าไปหาผล ผลของมันคือโสดาบัน สกิทา อนาคา

ตรงไหนบ้างที่พระพุทธเจ้าอธิบายเรื่องโสดาบัน เรื่องสกิทา เรื่องอนาคา มีแต่วิธีการ วิธีบอกให้ทำอย่างนั้น ทำอย่างนั้น แล้วผลจะเกิด ถ้าครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติท่านจะรู้อย่างนั้น นี้เพียงแต่ตำรา สิ่งที่ในท้องตลาดก็คือว่าธรรมะที่ออกๆ มามันเป็นสัญญาทั้งหมด

เวลาเราพูดเราถึงพูดชัดเจนมาก เราพูดชัดเจน พูดชัดเจน แล้วถึงเวลาแล้วมันค่อยแก้ไขกัน แต่ถ้าตามตำรา หลวงปู่มั่นก็เทศน์อย่างนั้น หลวงตาท่านก็เทศน์อย่างนั้น ท่านพูดแต่เหตุ ท่านไม่ได้บอกผล ไม่บอกผล ถ้าบอกผล บอกผลปั๊บเราตั้งผลปั๊บ โยมก็ตีความ

อย่างเช่นคำว่า ว่างๆ ว่างๆ เราแย้งหมดนะ แต่ความจริงพูดอย่างนั้นก็ได้ พูดอย่างนั้นได้ต่อเมื่อคนเป็นพูดมันถูก แต่ถ้าคนไม่เป็นพูดผิดหมด ว่างๆ ว่างๆ เราเสียดสีไง ว่างๆ ในโอ่งก็ว่าง ในโอ่งที่ไม่มีอะไรก็ว่าง ในไหก็ว่าง แต่มันไม่มีชีวิตไง ในโอ่งในไหว่างไหม? ในโอ่งในไหที่ไม่มีของ มันก็ว่างของมัน แล้วนี่ก็ว่างๆ ว่างๆ แล้วว่างคืออะไร? เราเสียดสีไปอย่างนั้นเอง

แต่ถ้าคนที่เขาจริงนะมันเปรียบเทียบได้ว่าความว่างคือสิ่งที่มันโล่งแจ้ง แต่ถ้าผลของมันที่ตอบมันเป็นอย่างไร? ว่างนี่ว่างมันมีหลายชั้นคือเราคิดให้ว่างก็ได้ เรากดให้ว่างก็ได้ มันว่างตามความเป็นจริงก็ได้ นั้นพอว่างปั๊บถ้ามีครูบาอาจารย์ปั๊บท่านจะซักเลย ซักก็กลับไปหาเหตุไง ในโอ่งนั้นมันมีน้ำอยู่หรือในโอ่งนั้นเขาใส่วัตถุสิ่งใดอยู่ เขาเอาออกอย่างไร? ตักตวงสิ่งที่อยู่ในโอ่งนั้นออกให้มันเหลือแต่ความว่างนั้นทำอย่างไร?

แล้วถ้าโอ่งไม่มีอะไรเลย เขาต้องปั้นขึ้นมา จากอากาศเห็นไหม ดินเขาปั้นขึ้นรูปมา ข้างในนั้นมันก็แยกเป็นความว่าง ความว่าง เอ็งทำอย่างไรมันถึงว่าง ถ้ามันเป็นความจริงมันซักได้ ถ้ามึงตอบไม่ได้มันก็ไม่มีโอ่ง ไม่มี โอ่งก็ไม่มี ความว่างก็ไม่มีเพราะเอ็งพูดไม่เป็น แต่ถ้าเอ็งทำเป็นเห็นไหม เอ็งก็ปั้นโอ่งได้ เอ็งก็มีความว่างได้

ไอ้นี่ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ ก็กูนึกเอาไง คือจริงๆ แล้วโอ่งก็ไม่มี ว่างก็ไม่มี มันเป็นสัญญาเฉยๆ แต่ถ้าคนเป็นนะ ทำได้หมด พูดได้หมด แล้วมันแก้ไขได้หมด นี้มันอยู่ที่เรา อยู่ที่เราปฏิบัติได้มากได้น้อย ถ้าปฏิบัติได้มากนะมันต้องการครูบาอาจารย์ที่ทันกัน ถ้าครูบาอาจารย์ที่ทันกันนะ อย่างน้อยเลยเราไม่เสียเวลา

อย่างเช่นเรา วุฒิภาวะของเรา เราเสกสรรตัวเองว่าเป็นอาจารย์ แต่ความรู้เราแค่ ๒๕ เปอร์เซ็นต์หรือ ๕๐ เปอร์เซ็นต์แล้วลูกศิษย์ปฏิบัติมา เขาไป ๗๕ เปอร์เซ็นต์แล้วอย่างนี้ เขาทำอย่างไร? เขาจะมาถามเรา เราจะรู้ได้อย่างไร? ในเมื่อลูกศิษย์เขาเลยเราไปแล้ว ถ้าเขาเลยไปแล้ว เขาก็ต้องเป็นประสบการณ์ของเขา เขาก็ต้องพยายามแสวงหาของเขาเอง เขาต้องเปรียบเทียบเอง เขาต้องค้นคว้าเอง

ก็เหมือนหลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่นไง หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์เป็นคนสอนหลวงปู่มั่น เอาหลวงปู่มั่นออกมาบวช สุดท้ายแล้วหลวงปู่มั่นกลับไปเอาหลวงปู่เสาร์เพราะสมัยนั้นทางอุบลฯ เขาจะสวดมนต์ไง ขอให้ธรรมมาสถิตที่ตา ขอให้ธรรมมาสถิตที่ใจ คือขอเอาก่อน คือสวดมนต์เยอะ คือทำพิธีกรรมมาก

แล้วก่อนจะภาวนานี่ก็กลัวไง พวกเรานี่นะ สมัยก่อนเขาถือผีถือสางกันนะทั้งๆ ที่ถือพุทธนี่แหละ แต่พุทธเชิงผี อ้อนวอนเอา ก็กลัว กลัวผีจะมาสิง กลัวทำแล้วมันจะธรรมะแตก ก็ต้องขึงสายสิญจน์ ปักสายสิญจน์นะ ก่อนจะเดินจงกรมต้องปัก ขึงสายสิญจน์ ขึงสายสิญจน์ต้องสวดมนต์ ต้องสวดญัติ เสร็จแล้วก็ขอให้ธรรมมาสถิตที่ตา สวดทีหนึ่งกว่าจะทำ ถ้าได้เดินจงกรมนี่ ๒-๓ ชั่วโมง

หลวงปู่มั่นพยายามไปแก้หลวงปู่เสาร์ไง บอกให้ปฏิบัติเลย ให้เดินจงกรมเลย ไม่ให้ติดในพิธี ๓ ปี พอเจอกันก็คุยกันตรงนี้ คุยกันคือพยายามด้วยข้อมูลเพื่อให้หลวงปู่เสาร์ คือว่าไม่ให้เสียเวลาตรงนี้ ให้ปฏิบัติเลย ๓ ปี ฉะนั้นสิ่งที่เราจะได้มาแต่ละอย่างที่เราทำกันนี่นะ ครูบาอาจารย์ต้องทดสอบ ต้องฝึกฝนจนได้ข้อมูลเท็จจริงแล้ว

หลวงปู่มั่นเห็นไหม ออกมาจากถ้ำสาริกา คิดถึงหมู่คณะมากเพราะว่าหนีหมู่คณะมาอยู่ถ้ำสาริกา ก็มาเพื่อจะปฏิบัติตัวเอง พอตัวเองได้ธรรม ได้ธรรม ตอนนั้นออกไปอย่างน้อยอนาคา ออกจากถ้ำสาริกาไป ก็กลับไปอีสาน กลับไปอีสานก็กลับไปสั่งสอน ไปรื้อสัตว์ขนสัตว์เอาหมู่คณะมา แล้วท่านพูดอยู่ประจำที่อีสาน หลวงตาเล่าให้ฟัง

“จิตใจมันยังไม่พอ แบบว่ากำลังยังไม่พอ กำลังยังไม่พอ”

รู้ตัวเองอยู่ไงก็เลยออกอุบาย ออกอุบายเอาแม่ไปส่ง ออกมาก็ขึ้น มากรุงเทพฯ ก็ขึ้นเชียงใหม่เลย แล้วไปสำเร็จที่เชียงใหม่ กลับไปที่อีสานอีกรอบหนึ่ง รอบหลังไม่เคยพูดเลยว่ากำลังไม่พอเพราะใจถึงที่สุดแล้วสอนได้หมด ถ้าใจมันถึงที่สุดแล้วนะใครมารู้หมด วิธีการมันกว่าที่เราจะหลุดมาทีละเปาะๆ

นี่เวลาพูดเราศึกษาธรรมะ มีลูกศิษย์มันพูดนะ ศึกษาธรรมะมามาก บอกว่าผลของวัฏฏะคือจิตเรานี่เหมือนวัฏฏะ เหมือนจิตเรานี่เหมือนสวะอยู่ในน้ำ พระพุทธเจ้าพูดทำนองนี้จริงๆ ถ้าสวะนี้อยู่ในน้ำแล้วมันไหลไปตามน้ำมันต้องลงทะเลแน่นอน เขาก็คิดว่าการปฏิบัติเราถ้าได้ปฏิบัติตรง ปฏิบัติตามที่ความเห็นเรานี่ จะถึงนิพพานแน่นอน แต่มันถึงไหมล่ะ?

เพราะสวะนี่นะมันไปติดที่ไหนมันลงปากน้ำไม่ได้ มันลงตรงทะเลไม่ได้ เราเห็นเป็นวัตถุใช่ไหม? แต่เวลาปฏิบัติเป็นความคิดเราเอง เราก็คิดว่าเราไหลไปเรื่อยไง แต่มันไม่ไหล ไม่ไหลเพราะเราติดไง เราก็คิดว่าผลของวัฏฏะไง คือเราปฏิบัติตรงต้องตรงถึงที่นิพพานแน่นอน คือต้องลงทะเลแน่นอน แล้วมันลงจริงไหม?

เพราะถ้ามันลงจริง เราต้องเทียบเรา เราต้องเทียบใจเราว่าเรามีความสงสัยไหม? เรามีความลังเลไหม? สิ่งใดจะพิสูจน์ ต้องพิสูจน์เลย ถ้ามันพิสูจน์ออกมาแล้ว เหมือนไฟจับแล้วร้อนมันพอง ต้องรักษาแผล พิสูจน์ไปแล้วมันเสื่อมนะ เวลาเราพิสูจน์อะไรจิตมันส่งออกหมดเลย หายหมดเลย พอหายไป อ้าว ไม่ใช่นี่หว่า ต้องกลับมาใหม่เพราะเราทำอย่างนี้มาตลอด

ใหม่ๆ เราพิสูจน์เลยนะ พิสูจน์ก็หมายถึงว่าจิตเรามันอยากได้อะไร? คิดมันได้ผลอย่างนั้นไง แล้วพอคิดได้ผลอย่างนั้นมันหลุดไป หลุดไปดูสิมันมีหลักไหม? มันจะกลับมาได้ไหม? พิสูจน์เลย เสื่อม เสื่อมเดี๋ยวก็เอาใหม่ พอมันเสื่อมไปเสื่อมไปมันไปหมดเลย อารมณ์มันเกิดไง อารมณ์มันเกิด มันไม่เหมือนกับที่มันว่างอยู่ ก็ต้องกลับมาทำสมาธิใหม่ ทำสมาธิใหม่เราก็ลุกขึ้นใหม่

พอเราไปอยู่กับครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะคอยบอก บอกตอนไหน? บอกตอนเทศน์ ตอนเทศน์ถ้าอยู่บ้านตาดนะ ถ้าเทศน์อะไร? ถ้าไม่ตรงใจนะนั่งอย่างนี้ บอกไม่รู้ ไม่เข้าใจ จับประเด็นไม่ได้ ท่านเทศน์ซ้ำเลยล่ะ เหมือนเทศน์ใกล้จะจบ วนอีกรอบหนึ่ง วนอยู่อย่างนั้น

ตอนอยู่กับท่านนะ พอจับประเด็นได้ปั๊บ เทศน์จบปั๊บเข้าทางจงกรมเลย ประมาณทุ่มหนึ่งจะเทศน์ที่บ้านตาด ๒ วัน ๓ วันเทศน์ที ๒ วัน ๓ วันเทศน์ที นี่ขนาดเทศน์อย่างนี้เลยนะ แล้วเวลาอยู่ด้วยกันมันตลอดเวลา ตลอดเวลาคือว่าทำข้อวัตรอยู่ท่านใส่ตลอด ท่านจะใส่เราตลอดเลย จะทำข้อวัตร จะทำอะไรต่างๆ

พอมาเหมือนอาจารย์กับลูกศิษย์ พอมาก็อัดใส่ตลอด อัดใส่ตลอดจนมีความรู้สึก เราพูดบ่อยเมื่อก่อน บอกเราอยู่กับหลวงตานะ เหมือนกับท่านเอาเท้าดันหลังเราไว้ ไปไหนแอ่นอย่างนี้ แอ่นตลอดเลย คือใส่กันตลอด แล้วมันเป็นที่เราด้วย เราก็เป็นคนที่แบบว่ามันเหมือนกับคนงกคืออยากได้มาก ชอบไปเสนอหน้าไง เห็นท่านมาที่ไหนชอบไปดัก ไปให้ คือจะเอา คืออยากได้ อยากพิสูจน์ อยากได้

ธรรมดาเขาจะหลบกัน หลวงตาไปทางไหนพระจะหลบหมด สังเกตได้พระจะไม่กล้าสู้หน้า ไอ้เรานี่มันชอบเข้า ท่านอยู่ไหนก็ชอบเข้าไป เวลาตอนเช้านะ ท่านฉันเสร็จแล้วท่านก็จะเทศน์ พอเทศน์กับโยมเราก็แอบอยู่ข้างหลัง ไอ้ชั้นบนเมื่อก่อนมันมีไอ้นั่น ประตูเลื่อน เราจะนั่งอยู่ตรงนั้นกับนพดล

พอท่านฉันเสร็จแล้วนพดลก็จะมาฝน ฝนไอ้นี่ จางจืด(รางจืด) กินวันละแก้วนะ ท่านฉันข้าวเสร็จแล้วนพดลก็จะฝนจางจืด เรารีบเช็ดล้างบาตรล้างอะไรเสร็จแล้ว เราก็จะมานั่ง นั่งตรงนั้นเพราะอะไร? เพราะว่าท่านจะเทศน์กับโยม เราก็จับข้อมูลไว้ นี่นะ เวลาที่เราได้ข้อมูล คือจับข้อมูลหมายถึงว่าท่านเทศน์เรื่องอะไร? เทคนิคไง ใครจะถามปัญหาเรื่องภาวนาท่านก็จะเทศน์ เราก็จะจับ พอจับเสร็จแล้วนะ ตอนบ่าย

บ่ายโมงปั๊บท่านจะลงมาฉันน้ำร้อน เราก็จะมานั่งอยู่ข้างหลังอีกแล้ว เพราะบ่ายโมงปั๊บท่านก็จะมาฉันน้ำร้อน ประสาเรา ท่านพูดมามันก็เป็นธรรมเหมือนกับเป็นทองทั้งหมดแล้วเรามีภาชนะไปใส่ คนไม่เอาโง่ฉิบหายเลย นี้พอท่านเทศน์ตอนเช้าเสร็จปั๊บ ตอนบ่ายท่านมาฉันน้ำร้อน เราก็ไป ท่านฉันน้ำร้อนใช่ไหม? ตรงโรงน้ำร้อน ข้างหลังท่านมันจะมีปี๊บวางไว้ พระจะนั่งอยู่ข้างหลังไง

แล้วท่านก็จะพูด เมื่อเช้านี้พูดเรื่องนั้นๆ เข้าใจไหม? มันมีอยู่ทีหนึ่งตอนนั้นตอนเรื่องคริสต์ คริสต์เขาเดินขบวนกัน เขาบอกว่าอะไรนะ บอกว่า พระพุทธเจ้านี่เป็นอะไรนะ เป็นพระพุทธเจ้ามาปรับไว้ แล้วคริสต์นี่จะเป็นพระศรีอารย์ อะไรนี่แหละ ที่เดินขบวนกัน แล้วตอนเช้าพวกโยมก็ไปหาหลวงตา ก็ไปบอกว่า เขาเดินขบวนกัน พวกคริสต์นี่เขาดูถูกศาสนา

หลวงตาท่านก็จะฉันจะแจกอาหาร ท่านก็บอกเอาไว้ก่อน เอาไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยคุยกันก่อน ไม่ใช่เวลา ไอ้นั่นก็ร้อนมาก ท่านก็เอ็ดเอา พอเอ็ดเอาก็เสียใจ เสียใจเพราะอะไร? เสียใจเพราะพวกเราอยากจะช่วยกันอุ้มชูศาสนาใช่ไหม? ก็ไปนั่งร้องไห้อยู่ คุณชายปั๋มนี่แหละ คุณชายปั๋มไปเจอเข้า

“คุณร้องไห้ทำไม?” “ร้องไห้เพราะหลวงตาเอ็ด”

“ไปๆ ขึ้นไปหากับผม หลวงตาฉันเสร็จแล้วนะ ไปขึ้นไปหากับผม ผมจะพาขึ้นไป” ไม่ไป “หลวงตาไม่เอ็ดหรอก”

ขึ้นไปท่านเอ็ดซ้ำอีก เอ็ดซ้ำก็ร้องไห้อีก ร้องไห้ไปเลยนะ แล้วพอตอนบ่ายเห็นไหม ตอนบ่ายท่านมาฉันน้ำร้อน เราก็ไปนั่งฟังอีก ตอนเช้าเราก็เห็นเหตุการณ์แล้ว เราก็ฟังท่านเทศน์ด้วย พอตอนบ่ายเหตุผลมันได้อย่างนี้ไง พอไปตอนบ่ายนะ ท่านลงไปฉันน้ำร้อน ท่านก็พูด “ตอนเช้าเห็นไหมที่เขาร้องไห้น่ะ”

ท่านบอกว่า “มันไม่สมควร หนึ่งเวลาพระเขาจะแจกอาหารกันอยู่ เขาเข้ามาแล้วก็บอกว่าเดี๋ยวก่อนสิ ให้พระฉันข้าวเสร็จก่อนเดี๋ยวจะเทศน์ให้ฟัง แต่ด้วยความเร่าร้อนของเขาไง เขาจะให้พูดตอนนั้นเห็นไหม มันเสียเรื่องของพระไง”

แล้วพอตอนหลังก็มาร้องไห้อีก คำว่าร้องไห้ของท่าน ท่านบอกว่า “คำว่าร้องไห้นี่เขาจะเอาน้ำตาคือเอาความสงสารมาเหนือธรรมะ เหนือเหตุผล เหนือถูก เหนือผิด ไม่ได้ อย่าเอาน้ำตา อย่าเอากิริยาน่าสงสารมาเหนือเหตุผลที่ทำผิดไง”

ท่านเอ็ดซ้ำไปอีกก็เลยร้องไห้รอบสองไง มาเรียกร้องว่าทำดีใช่ไหม? จะเอาว่าฉันทำดีมาเรียกร้อง แต่พระแจกอาหารกันอยู่มันเป็นธรรมไหม? จะเอาความเห็นของคนคนเดียวไปทำลายสังคมทั้งหมดได้อย่างไร?

ถึงตัวเองว่าคิดดีก็จริงอยู่ แต่สังคมทั้งสังคมเขากำลังทำกิจกรรมกันอยู่ ถ้าเป็นกาลเทศะไง มันผิดกาลเทศะ พอพ้นจากนี้ไปปั๊บท่านก็พูดให้ฟัง เราก็ไปนั่งฟัง ตอนเช้าเราก็เห็นเหตุการณ์ เราก็ตีความได้ระดับหนึ่ง พอตอนบ่ายท่านมาอธิบายให้ฟังนะ โอ้โฮ ไอ้ผู้หญิงคนนั้นก็เสียใจใช่ไหมว่าทำดี ทำดีเพื่อศาสนา ก็มาพูดกับพระ พระก็ต้อง โอ้โฮ ต้อง โอ๋ ต้อง.. เหยียบซ้ำเลย แล้วไม่ใช่เหยียบรอบเดียว เหยียบสองรอบ

สองรอบแล้วรอบบ่ายยังมาบอกด้วย ผิดอย่างนี้ ผิดอย่างนี้ ผิดอย่างนี้ อยู่กับท่านนะ คำสอนของท่านเราจะได้ตลอดเพียงแต่คนจะเก็บไม่เก็บ คนจะเอาไม่เอาไง ฉะนั้นเวลาถ้าคนไปอยู่โดยที่ไปอยู่แบบไม่เอาอะไรมันก็จะไม่ได้อะไรเลย

แต่ถ้าคนเอานะ ถ้าคนไหนเอาท่านก็รู้ พ่อแม่จะรู้เลยว่าเด็ก ลูกเราคนไหนใฝ่ดี ลูกเราคนไหนอยากได้ ยิ่งให้ยิ่งเก็บ ท่านก็ยิ่งยัดให้นะ โอ้โฮ รับไม่ทัน บางทีเป็นกระสอบๆ เลย โอ้โฮ เต็มที่มาตลอด เวลาท่านพูดตอนหลังนี้เห็นไหม ท่านบอกท่านสอนใครมาท่านยังหวังใคร หวังใครไง หวังให้คนไหน คนไหนจะช่วยอะไร จะดูแลอะไรไปได้ ท่านยังหวังอยู่

นี่พูดถึงไปนี่ ถ้ามันต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ถ้ารู้จักเก็บ อันนี้ก็เป็นวาสนาของคนนะ เวลาท่านพูดเห็นไหม เมื่อสองวันนี้ท่านพูดถึงหลวงปู่ลี เวลาหลวงปู่ลีท่านเอาผ้าป่ามาช่วยเห็นไหม ทีหนึ่ง ๒๐๐ กอง ๓๐๐ กองเห็นไหม ท่านบอกว่า

“ธรรมลีๆ ธรรมข้างในชัดเจนมาก”

คือธรรม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์มาก แต่นิสัยวาสนาเป็นอย่างนั้นเห็นไหม ดูข้างนอกเห็นไหม นี่ท่านพูดนะ เรานั่งฟังอยู่ก็ อือ วาสนาของคนเนาะ พระอรหันต์เหมือนกัน แต่บารมีที่สร้างมา มันแสดงออกได้ไม่เหมือนกัน นี่พูดถึงความเห็น คนเรานะถ้ายังวุฒิภาวะเหมือนเด็ก เด็กก็อยากให้พ่อแม่ โอ๋ แต่พอเป็นผู้ใหญ่แล้วอยากจะวิ่งหนีพ่อแม่เนาะ พ่อแม่นี่กวนฉิบหาย อยากจะอยู่กับเพื่อน เหมือนกัน

ตอนเด็กๆ นี่ หูย ห่างพ่อห่างแม่ไม่ได้จะให้ โอ๋ โอ๋ โอ๋ พอโตขึ้นมาจะวิ่งหนี ไอ้นี่นะเวลาไปอยู่กับครูบาอาจารย์เวลาฟังเทศน์ คำพูดครั้งแรกเห็นไหม ก็ต้องพูดให้นิ่มนวล แต่พอเราอยู่นานๆ ไปต้องการสิ่งที่รุนแรงว่าอย่างนั้นเถอะ สิ่งที่มีน้ำหนัก เหมือนปฏัก ยิ่งปฏักลงแรง ทางโลกปฏักเราเจ็บนะ แต่ธรรมะยิ่งแรง มันกระเทือนกิเลสเรานะ มันกระเทือนใจดำนะ พูดอะไรนี่ให้ช็อก พอช็อกขึ้นมามันสะเทือนหัวใจ สะเทือนหัวใจเราได้เปลี่ยนแปลง

หลวงตาท่านพูดนะ “พูดจนชินปาก ฟังจนชินหู แต่หัวใจมันด้าน”

โอ้โฮ เจ็บมาก เวลาท่านพูดคำนี้นะเจ็บ พูดจนชินปาก ปากนี้พูดกันจ้อยๆ ใช่ไหม? ฟังทุกวัน ฟังจนชินหู แต่หัวใจมันด้าน หัวใจมันไม่กลับ หัวใจมันไม่คิด มันไม่รู้จักเปลี่ยนแปลงแล้วมันแก้ไขอะไร? เวลาท่านพูดเห็นไหมให้เราเหมือนเขยใหม่ เราแต่งงานเข้าไปบ้านใคร วันแรกๆ โอ้โฮ ระวังไปหมด พอมันระวังก็ระวังกิเลส นี่สติไง ให้ทำตัวแบบเขยใหม่ อย่าคุ้นชินกับอะไรทั้งสิ้น ในการประพฤติปฏิบัติอย่าไปคุ้นชินกับมัน ถ้าคุ้นชิน การคุ้นชิน การคุ้นเคย กิเลสมันเกาะทันที

การคุ้นชิน การคุ้นเคยกับเขามันหนีเขาไม่พ้น ต้องสลัดตลอด สลัดตลอด สลัดมันออก สลัดมันออก พอสลัดมันออกปั๊บ ในการปฏิบัติ โอ้โฮ มันเครียด มันเหนื่อย มานั่งจมอยู่กิเลสมันก็ยังพอทน

ไอ้นี่เราต้องตื่นตัวตลอดเวลา ตื่นตัวกับสตินะ ระลึกรู้คือสติ แล้วมันตื่นตัวมันสติ มหาสติ นี่คนปฏิบัติมามันถึงรู้ตรงนี้ไง เห็นไหมที่เขาพูดมา สติไม่ต้องฝึก ไม่ต้องฝึก ไม่ต้องฝึกได้อย่างไร? มันมีสติ ระดับใดเป็นสติระดับใดเป็นมหาสติ? สติทำไมมันเป็นมหาสติ? จิตมันมีกี่ชั้น? ความรับรู้ของจิตมันมีกี่ชั้น? แล้วจิตนี้มันจะรู้ทันกันอย่างไร?

สติมันได้ระดับหนึ่ง พอมันเข้าไปถึงชั้นอสุภะเป็นสติไม่ได้ ถ้าเป็นสตินะจับหล่น จับหล่นเลยล่ะ จับไม่อยู่ มันหลุดมือหมด ต้องเป็นมหาสติ สติละเอียดมากจนคนปฏิบัตินะถ้าถึงตรงนั้นนะมันจะอยู่กับใครไม่ได้ มันจะอยู่คนเดียวเพราะมันเป็นมหาสติไง มันรำคานนะ

เหมือนที่หลวงตาว่า ไปด้วยกันก็จริงอยู่ ไม่เห็นด้วยกันก็จริงอยู่ แต่มันกังวล เหมือนเรารับรู้ว่ามีใครมากับเรา ถ้าเราอยู่คนเดียวไม่ต้องรับรู้อะไรเลย มันหดเข้ามาเห็นไหม แต่ถ้าเราออกไปรับรู้เห็นไหม ถึงให้อยู่ห่างๆ กัน ต่างคนแบบว่าเราคุยกันตกลงกันแล้วว่าไม่ต้องมายุ่งกัน ให้ต่างคนต่างอยู่ แต่มันก็รู้อยู่ว่ามี

นี่ถึงได้ให้แยกหมดๆ สติ มหาสติ สติอัตโนมัติ แล้วสติอย่างนี้มันพัฒนาอย่างไร? มันขั้นอย่างไรมันถึงเป็นสติ? ขั้นอย่างไรมันถึงเป็นมหาสติ? แล้วขั้นอย่างไรจิตมันถึงแรง? ฉะนั้นเวลาเขาพูดเราถึงเอ็นดู สงสารนะเพราะพระผู้ดีไงล่ะ มาเจอไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์เข้าไปช็อกเลย คิดไม่ถึง คิดไม่ถึง แต่เราพูดประสาเรานะ มันเหมือนคนเรามันทำจนเคยเนาะ มันก็คงคิดเป็นเรื่องธรรมดา

แต่เราก็ว่าเราไม่ค่อยมีแล้วนะ เดี๋ยวนี้ดีขึ้นมาก ไม่ค่อยมี เมื่อก่อนมันมีเพราะว่ามันแรง มันแรงแล้วเป็นประสาเรา พอมันพูดอย่างนี้แล้วมัน เราพูดถึงที่สุดแล้วมันไม่จบตรงนี้มันก็ไม่จบไง พอตรงนี้ปั๊บคือว่าคุณสมบัติเขาเป็นอย่างนี้ พระเขาเป็นอย่างนี้ๆ ถึงที่สุดแล้วก็ลงตรงนี้ไง พอลงที่สุดก็จบไง เหมือนผลบทสรุปของมัน มันเป็นอย่างนี้ก็ลงเลย ไอ้ แล้วก็จบ ไม่อย่างนั้นมันไม่จบ มันก็หาเหตุผลมาถึงที่สุด

อะ รำคาญไหมล่ะ? มีอะไรว่ามา เปลี่ยนบทใหม่ ไม่มีจบเนาะ เอวัง