ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ปฏิบัติไม่ผิด

๑๕ ก.พ. ๒๕๕๒

 

ปฏิบัติไม่ผิด
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลาเขาภาวนา เขาว่าเขากลัวเขาจะหลง เลยถามว่าแล้วทำอย่างไรล่ะ? เขากำหนด กำหนดพุทโธอยู่ นี่กำหนดพุทโธอยู่ เวลาปฏิบัติทุกคนก็ต้องกำหนดตั้งสติของเราไว้ไง พื้นฐานเริ่มต้นจากเรา ไอ้เรื่องผิดพลาดมันเรื่องธรรมดานะ จะไม่ให้ผิดเลยเอามาจากไหน

อย่างเมื่อวานเขาก็ถาม นี่เมื่อวานก็เหมือนกันเขาบอกเขานั่งไปแล้ว เขาศึกษามากไงเขาบอกเขากลัวตกภวังค์แล้วตกอย่างนี้ใช่ไหม? อย่างนี้ใช่ไหม? เขาได้สมาธิไหม? บอกว่านี่ภวังค์๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย หัวเราะก๊ากเลยนะ คือเขากลัวไปหมดเลย กลัวว่าจะผิด แล้วเขาทำอยู่อย่างนั้นคือตัวผิด เขาผิดอยู่ไง ผิดอยู่แล้วเหมือนกับเรา เราเป็นโรคแล้วเราพยายามจะศึกษาว่าเราเป็นโรคอะไร?

ทั้งๆ เราเป็นโรคนั่นแหละ แต่เราศึกษาอย่างไรก็ไม่รู้ พอเราบอกว่าอย่างนี้ภวังค์ เขายอมรับนะ คือว่ามันลงไง มันว่างหมดไง เขาคิดว่าสิ่งนี้มันก็ถูก แล้วเวลาพูด อย่างเรา เรามีวัตถุอันใดอันหนึ่งของเราอยู่ เหมือนเล่นพระเราก็ว่าพระเราจริงหมด เรามีพระอยู่องค์หนึ่งใช่ไหม? จริงหรือปลอม มันปลอมอยู่แล้วล่ะ แต่เราถืออยู่เราว่าจริง ไอ้นี่ก็เหมือนกัน พอบอกภวังค์เขายอมรับเลย

เมื่อกี้ก็เหมือนกัน บอกว่ากลัวผิดๆ คำว่ากลัวผิดทำให้เราทำอะไรไม่ได้เลย ผิดมันก็ต้องผิดเป็นธรรมดาเหมือนเด็กเลยนะ เด็กนะดูสิมันจะหัดเดินมันต้องหัดนั่งก่อน มันต้องเสือกคลานไปก่อน แล้วมันก็จะลุกยืนได้แล้วมันจะเดินได้ เราอยากเดิน เราอยากเดินกันเป็น แต่การจะเดินจิตมันต้องลุกขึ้นมาให้ได้ก่อน

จิตจะลุกขึ้นมาได้ เวลามันลุกขึ้นมา มันจะมีความผิดพลาดอย่างไรบ้าง? แหม เด็กมันหัดยืนไม่ให้ล้มเลยน่ะไม่มีหรอก มันต้องล้มลุกคลุกคลานเป็นธรรมดา แต่ถ้าล้มลุกคลุกคลานมันก็ยังดีนะ มันยังมีการกระทำมีการเริ่มต้นนะ นี้ก็เหมือนกันในการปฏิบัติน่ะกลัวผิด กลัวผิด เราก็พูดบ่อยนะ คนที่ปฏิบัติผิดหมดเลย ผิด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะเริ่มต้นเรามันจะรู้อะไร?

ขณะที่ขิปปาภิญญานะที่ปฏิบัติง่ายรู้ง่ายมันก็ต้องมีการ ถ้าเราไม่รู้ว่าผิดมันจะรู้ว่าถูกได้อย่างไร? เราไม่เคยกินอาหารอร่อยกับไม่อร่อยแล้วเราจะแยกได้อย่างไรว่าอาหารไหนอร่อยอาหารไหนไม่อร่อย

ไอ้การปฏิบัติมันก็เหมือนกัน ผิดถูกไม่สำคัญ ผิดถูกเริ่มต้นนะ แต่ถ้ามันจะมันหลงผิดสิ อันนี้สำคัญ พอหลงผิดคือเราว่าเราไม่ได้เป็น หลงผิดมันหลงผิดไปเลย มันเหมือนมิจฉาทิฏฐิใช่ไหม มันจะเข้าทางได้อย่างไร? มันก็ไปผิดทาง แต่ถ้าเราไปถูกทาง คำว่าถูกทางมันยังผิดอยู่ ผิดอยู่เพราะอะไร? เพราะเรายังทำไม่ได้

การผิดเพราะเรายังทำไม่ได้ ถ้าเราทำให้ดีขึ้นมามันก็จะถูกทางได้ แต่ถ้าหลงผิด เราหลงผิดไปแล้วเราทำอย่างไรทำให้ถูก ยิ่งถูกยิ่งหลงผิดไปใหญ่ เพราะถูกเข้าทางผิดไง ฉะนั้นถ้ามันจะผิดนะ มันจะผิดไม่ผิดมันอยู่ที่ เรามีกิเลสอยู่แล้ว พุทโธไปเรื่อยๆ แล้วอย่างพุทโธ บางคนพุทโธไม่ได้ เราพยายามพุทโธ อย่างตัวเราเองพยายามพุทโธอยู่ ๒ ปี แล้วพยายามตั้งใจทำมาก แล้วเราทำเราทำจริงๆ จังๆ เลย

แล้วเวลามันลงนะ จิตเคยนั่งอยู่อย่างนี้สงบ นั่งแล้วลงหมดเลย พอจิตลงหมดเลยมันก็มีวาสนาพอสมควรน่ะ นั่งสมาธิพอจิตลงปั๊บเห็นก้อนเนื้อแดงๆ มันกลิ้งเข้ามาทับเรา กลิ้งเข้ามาทับเราเลยนะ คนนั่งสมาธิอยู่ผงะออกมาจากสมาธิได้เลยล่ะ ผงะออกมาเลยนะ แล้วมันก็มั่นใจ มั่นใจว่าเราต้องกำหนดพุทโธ จิตสงบแล้วต้องพิจารณากาย มันทำอย่างนี้อยู่ ๒ ปี มันจืดชืด

พอมันทำได้หนสองหนแล้วมันก็จืดชืด พอจืดชืดเราพยายามกระตุ้น เราพยายามกระตุ้นตัวเองนะว่าเรา โพธาราม เซียนซือเขาเก็บศพไร้ญาติ เราเคยเก็บศพไร้ญาติ ศพมันลอยแม่น้ำแม่กลองประมาณเดือนเศษๆ แล้วเขาก็เอาเก็บไปเข้าสุสาน แล้วถึงเวลาเขาก็รื้อป่าช้าไง ทีนี้เขาก็ต้องเอามารูดเนื้อออกเพื่อเอากระดูกมาเผา

รูดเอาเนื้อออกเห็นไหม เนื้อ เนื้อที่เน่าๆ รูดออกแล้วเราก็อยู่ที่นั่น เราก็อาศัยภาพพยายามจะทำให้เป็นอสุภะ พยายามให้เห็นกายไง มันพอนึกขึ้นมามันก็มีอารมณ์นิดหน่อย แต่พอไปไปสักวัน ๒ วัน มันก็จืดอีก พอมันจืดอีก จนมันไปไม่รอดนะพอไปไม่ได้ปั๊บเราก็ เอ ทำไมไปไม่ได้ๆ เราก็ใช้ปัญญาของเราอย่างที่ว่า ใช้ปัญญาใช้ความคิด ใช้สติตามความคิดไป ตามความคิดไป ตามความคิดไป จนความคิดมันหยุดได้ อื้อหื้อ! มันแปลกใจ เอ๊ะ ทำไมความคิดหยุดได้?

พอความคิดมันหยุดได้ พอหยุดปั๊บทำได้ ๒-๓ หนแล้วก็นั่งสมาธิด้วย ในปฏิบัติของเราเองนะ คนอื่นจะเป็นไม่เป็นไม่เกี่ยว พอเรานั่งไป พอเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปล่อยให้มันสงบ พอสงบหลวงปู่มั่นมาในนิมิตเลย หลวงปู่มั่นมาเลย เรานั่งอยู่อย่างนี้หลวงปู่มั่นมายืนต่อหน้าเราเลย เหมือนภาพที่ ภาพยืนท่านน่ะ ท่านมายืนต่อหน้าเลย ท่านพูดในนิมิตนะ

“ทางของมึง ทางของมึง” ท่านพูดอย่างนี้เลยนะ

เพราะเรามันคนเราพูดภาษานี่ เราชอบพูดภาษาโบราณ ถ้าเป็นคนอื่นท่านอาจจะพูด “ทางของท่าน” หรือท่านอาจจะพูดดีหน่อย แต่เป็นเราไง “ทางของมึง ทางของมึง” แล้วเราคิดในใจนะ แหม ทำไมบอกช้าเหลือเกิน เกือบตาย แล้วเราก็เอาจริงเอาจังน่ะ เอาจริงเอาจังเลยใช้ปัญญาเลยเพราะมันมั่นใจล่ะ

มั่นใจเพราะว่าจิตมันหยุดได้ตอนนี้ยังไม่สงบหรอกมันเริ่มหยุดเฉยๆ พอหยุดมันก็แปลกแล้ว พอจิตมันหยุด พอจิตมันหยุดปั๊บ พอหลวงปู่มั่นมาชี้ทาง ชี้ทางปั๊บ เราลุยเลย ลุยหมายถึงว่าผ่อนอาหารอดอาหาร แล้วใช้ความคิดลุยเลย พอลุยเข้าไปมันก็เห็นเข้าไปเรื่อยๆ หยุด หยุดบ่อยครั้งเข้าๆ นี่ไงปัญญาอบรมสมาธิ เพราะที่เราทำนั้นมันปี ๒๐, ๒๑, ๒๒

ตอนนั้นนะ “ปัญญาอบรมสมาธิ” ของหลวงตาท่านยังไม่ได้พิมพ์ ถ้าตอนนั้นท่านพิมพ์แล้วนะ เรายิ่งมั่นใจเข้าไปใหญ่ ตอนนั้นหนังสือเล่มนี้ยังไม่ได้พิมพ์ แต่ท่านเทศน์ไว้แล้วแต่ยังไม่ได้พิมพ์เป็นหนังสือไง ปัญญาอบรมสมาธิของหลวงตา

ทีนี้เราทำอย่างนี้ มันก็มาเข้ากับปัญญาอบรมสมาธิ แต่มันเราทำไปก่อน แล้วพอเข้าปัญญาอบรมสมาธิแล้วเห็นไหม ปัญญาไล่ไป

เราจะบอกว่าถ้ากำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธ ถ้าเป็นศรัทธาจริตนี่ได้ ทำได้ ศรัทธาจริตคือมีความเชื่อนำ มีความเชื่อ มีความมั่นคง แต่ถ้าเป็นพุทธจริต พวกปัญญาชน พวกมีเหตุผลมันไม่ยอมเชื่อ เหมือนที่หลวงตาว่า เวลาเราไปอ่านปริยัติกัน นิพพานมีไหม? สวรรค์มีไหม? เชื่อ แต่มันมีส่วนหนึ่งไม่เชื่อ คือมันไม่เชื่อ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไง เชื่อ อย่างมากบางคนนะ ๗๐ เปอร์เซ็นต์ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ อย่างมาก ๙๐ เปอร์เซ็นต์ บางคน ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ไม่มีใครเชื่อได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่มี

ไอ้ตรงที่ ๕ เปอร์เซ็นต์ ๑๐ เปอร์เซ็นต์ตรงนั้นล่ะมันมาคาใจ พอมันคาใจแล้วใช้ปัญญาอบรมสมาธิไล่เข้าไปเลย ไล่เข้าไปเลย ไล่เข้าไปเลย เพราะเป็นสมาธิก็ต้องเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นปัญญาก็เป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้ามัน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์จิตมันลงไม่ได้ ทีนี้พอเราพุทโธ พุทโธ พุทธจริตมันคาตรงนี้ ฮื้อ มันมีอะไรคาใจนะ เชื่ออยู่ มุ่งมั่นอยู่ แต่เห็นไหม ไอ้แต่นิดเดียวตรงนั้นน่ะ

ทีนี้พอของเรา มันใช้ปัญญาไล่ของเรามันหยุดได้ พอมันหยุดปั๊บมันก็ อื้อ ยิ่งนิมิตหลวงปู่มั่นมาด้วย โอ้โฮ มันทุ่มนะ พอมันทุ่มไปมันละเอียดเข้าเรื่อยๆ ถ้าเราพุทโธไม่ได้นะ แต่โดยหลักนะพวกเราให้ทำพุทโธกันก่อน เพราะพุทโธ มันเหมือนเราบอกว่า มันโดยหลักใช่ไหม? เราทำงานบนดินใช่ไหม? เราทำงานบนพื้นดินเราทำง่ายใช่ไหม?

แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เหมือนเราทำนั่งร้านขึ้นไป แล้วไปทำงานในที่สูงน่ะ เพราะจิต พิจารณาจิต มันเป็นความคิดน่ะ มันเป็นความคิดมันไอ้นี่มันอะไรนะ มันเหมือนอากาศ ในอากาศมันไม่มีที่ยืน มันจะเกิดผิดพลาดได้ง่าย แล้วผิดพลาดได้ง่ายขนาดไหนก็ในเมื่อเราเป็นพุทธจริต

คำว่าพุทธจริต ศรัทธาจริต ศรัทธาจริตมันเชื่อมั่น เชื่อมั่นมันก็ยืนอยู่บนดินเพราะมันยืนอยู่ที่ใจเพราะใจพุทโธ ใจมันคิดพุทโธนี่พุทโธที่ปากนี้คือความคิด พุทโธที่ใจนึกพุทโธนี่พุทโธที่ใจ พุทโธที่ใจกลัวผีกลัวที่ใจ คิด คิดที่ใจ ทีนี้พุทโธที่ใจปั๊บ ผีนี่มันไม่มีเลยเพราะใจมันคิดไม่ได้มันออกมาไม่ได้เห็นไหม ถ้าพุทโธที่ใจทุกอย่างดับหมด

ทีนี้เราพุทโธที่ปาก พอพุทโธที่ปากมันก็เลยไม่เป็นสมาธิไง ไม่เป็นสมาธิเพราะเราพุทโธที่ปากไม่ใช่พุทโธที่ใจ พุทโธกับความรู้สึกมันเป็นสอง สองปั๊บมีความรู้สึกอันหนึ่ง เรานึกพุทโธอันหนึ่งใช่ไหม พุทโธบ่อยๆ เข้ามันยังเป็นความคิดอยู่ พุทโธบ่อยๆ บ่อยๆ จนพุทโธกับจิตเป็นอันเดียวกันนั่นคือสมาธิ

เราไล่ความคิดไปเหมือนกัน ความคิดเราไล่ความคิด ความคิดไล่ความคิดเห็นไหม มันเป็นสัจธรรมทั้งหมดแต่ความคิดมาจากไหน? ความคิดมาจากตัวใจ ความคิดพอมันหยุด หยุดแล้วมันไปไหน? มันความคิดมาจากใจใช่ไหม พอหยุด ก็หยุด หยุดมันต้องกลับมาที่ใจ แต่นี่เราเพ่งออก เพ่งออกกันน่ะ เราไล่ไปพอไล่ไปมันจะเห็นของมันนะ พอเห็นมันหยุด

มันเริ่มหยุดบ่อยครั้งเข้า หยุดได้เร็วขึ้นพอมันหยุดได้เร็วขึ้น ความคิดเราจะตามมากขึ้นๆ มากขึ้นๆ มันจะหยุดได้ชำนาญขึ้นๆ จนสุดท้ายนะมันคิดไม่คิดนี่เราสั่งได้เลยล่ะ เราสั่งได้เลย พอสั่งได้เลยมันเห็นหมดนะ แล้วมันจะเห็นเลยว่า ทำไมเมื่อก่อนนะที่เราคิดๆ กันอยู่นี่ที่เราทุกข์อยู่นี่มันเป็นเพราะอะไร? เป็นเพราะว่ามันมีตัวกระตุ้นไง ตัวกระตุ้นคือตัวกิเลส แล้วเราไม่เห็นมัน แต่เวลามันทัน มันทันบ่อยครั้งเข้ามันปล่อย มันปล่อย จนขาดได้ รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร สิ่งที่มันคิดมันมีข้อมูลเดิมเท่านั้นน่ะ พอมันขาด มันขาดหมายถึงว่าข้อมูลที่มันเกี่ยวกันมันไม่มีแล้ว

ความคิดกับจิตแยกออกจากกันโดยธรรมชาติเลย มันจะแยกเมื่อไหร่ก็ได้เหมือนสายน้ำ สายน้ำเปลี่ยนสายได้ เราควบคุมพลังงานที่น้ำมันไหลไปได้ ควบคุมความคิดได้ ควบคุมได้หมดนี่สัมมาสมาธิ ฉะนั้นถึงบอกว่าสิ่งที่เขาทำกัน ที่เขาว่าเป็นวิปัสสนาที่เขาทำกันนะ เราให้ค่าอย่างมากก็ปัญญาอบรมสมาธิเท่านั้น คือว่ามันคิดจนมันหยุดได้ แค่หยุดได้เท่านั้นเองนะ

เราถึงบอกว่าพวกที่ทำพิจารณาของเขาอยู่ เราบอกว่าการพิจารณาอย่างนั้น เป็นธรรมะแบบไร้เดียงสามาก เป็นธรรมะไร้เดียงสา แต่ของเราของครูบาอาจารย์พระป่าเราต้องจิตสงบเข้ามาก่อน แล้วตัวจิตสงบเราควบคุมสายน้ำ สายน้ำมันออกมาเห็น ออกมารู้ขึ้นมาตัวนั้นต่างหากถึงเป็นการกระทำ เป็นการกระทำเป็นวิปัสสนาไง ถ้าจิตมันเห็นจิตมันเป็น

พอจิตมันเป็นขึ้นมา จิตเห็นจิต เขาพูดกันนะเวลาเขาพูดกัน เขาพูดเหมือนทางวิชาการ เวลาเขาคุยกันเป็นทางวิชาการแต่เวลาครูบาอาจารย์เราพูด มันพูดออกมาจากใจ พอพูดออกมาจากใจ ประสาเราจะบอกว่าคำพูดคำเดียวกัน จิตเห็นจิตเขาก็พูดเห็นจิต เขาก็บอกจิตเห็นจิตใช่ไหม? แล้วเขาอธิบายเป็นคุ้งเป็นแควเลย เพราะอะไรรู้ไหม? เพราะมันเป็นจินตนาการ

แต่ถ้าเป็นจิตเห็นจิตเท่านั้นนะ จิตเห็นจิต จิตหยุดทันที แล้วจิตเห็นจิตมันเห็นลึกกว่ากัน มันเห็นลึกกว่ากันมันเห็นจากข้อเท็จจริงแล้วมันหยุดได้ หยุดได้เพราะอะไร? เพราะตัวมันเองใช่ไหม

เวลาเราไปดูคนอื่นเห็นไหม เราบังคับเขาไม่ได้หรอก เขาจะทำดีทำชั่วหรือว่าเขามีอารมณ์ความรู้สึกเขาคิด คนอื่นกับเรา แต่เรา ถ้าเราทันความคิดเรา เราหยุดเราได้ ไอ้ที่เขาจินตนาการก็เหมือนกัน จินตนาการมันเป็นใจ ใจกับความคิด แล้วเขาเอาความคิดมา เอาความคิดอาการของใจไง เอาความคิดมาขยายความ พูดได้เป็นน้ำเป็นแคว

แต่ถ้าเรา ตัวเราเองเราหยุดความคิดเราเองเราจะเทียบอย่างไร? ถ้าจิตเรา เราเห็นความคิดเราเองเราหยุดเราเองเราจะคิดอย่างไร? เราทันหมดใช่ไหม เราทันหมดความคิดมันไม่พูดออกไปเป็นคุ้งเป็นแควอย่างที่เขาอธิบาย รู้จริง ถ้ามันรู้จริงมันรู้จากภายใน ฉะนั้นถ้ากำหนดพุทโธ ส่วนใหญ่แล้วเรากำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธแล้วมัน ประสาเรานะมันเป็นเหมือนกับสูตรเลย

มันเป็นสูตรมันต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนั้นต่อไป มันง่ายกว่า แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิมันต้องเป็นกรณีที่ว่าเราจะต้องมีเชาว์ปัญญามันต้องมีปฏิภาณไหวพริบต้องดูของเราเลย มันจะตัวดูความคิดเราแล้วไล่ความคิดของเราไป อันนี้ถูกต้องนะ

เพราะเมื่อวานก่อนจะกลับเขามาถามปัญหาอยู่ บอกว่า “เขาพุทโธไม่ได้” แต่เขาใช้ความคิดแล้วดี ตอนนี้นะมีคนใช้ความคิดแล้วดีเพราะคำว่าใช้ความคิดแล้วดี ตรงนี้สำคัญมาก อย่างพวกเราใช้ความคิดแล้ว เราคิดว่าสบายเฉยๆ ไงไม่ใช่ดี สบายคืออะไร สบายคือว่าไล่ความคิดไปแล้วความคิดมันหยุดเฉยๆ แต่ถ้าใช้ความคิดแล้วดี คำว่าดีมีสติ คำว่าดีมีผู้ดูแล คำว่าดีคือมีผู้บริหารไง เพราะมันเข้าใจแล้ว

เหมือนเราเราเป็นคนที่บริหาร เราเป็นคนที่ดูแลเราเป็นคนที่จัดการกับว่าสบายๆ เหมือนเราอาศัยเขา เราอาศัยเฉยๆ อาศัยว่าจิตเกิดดับแล้วก็สบายๆ แต่ถ้า แหม มันมีสติแล้วมันดีขึ้นมากนะ เหมือนเราทำงานเราเป็นคนทำงานแล้วมันมีผลงานใช่ไหม? มันมีผลงานพอมีผลงานขึ้นมาเราก็อยากจะทำอีก เราอยากจะทำให้มันดีขึ้น อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันสงบ สติมันดีมันดีคือมันควบคุมได้

พอควบคุมได้คนทำงานเป็นกับคนทำงานไม่เป็น คนทำงานไม่เป็นนะถือเอกสารอยู่เดินไปเดินมาไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน แต่ถ้าคนทำงานเป็นนะ เอามาเลย กางเอกสารมาเลย เสนอเรื่องได้หมด นี้ไงคำว่าดีถ้าเขาใช้ความคิดแล้วดี เราบอกถ้าเราดีสิ่งนี้มันยืนยันกับเราใช่ไหม? ว่าเราทำแล้วได้ประโยชน์แล้วเราจะไปเชื่อใคร ใครจะพูดอย่างไรนะ

ทีนี้ประสาเรานะคนที่ปฏิบัติใหม่พอนี่ไปพูดกับคนที่ไม่เข้าใจนะ เขาจะบอกว่าผิดไง ต้องกลับมาที่พุทโธด้วยหรือไม่ก็ต้องทำอย่างอื่น พอทำอย่างอื่น ทำอย่างอื่นมันเป็นคำสอนไหม? ใช่ มันเป็นคำสอนวิธีการหนึ่งแต่เราทำแล้วมันไม่ได้ผล ฉะนั้นถ้าอาจารย์พูดเราจะเชื่ออาจารย์หรือเชื่อความเห็นของเรา แต่ทุกคนไม่กล้าไม่มั่นใจไม่เชื่อตัวเอง ไปเชื่อที่อาจารย์ผิด

อาจารย์ที่สอนผิดจากจริตเรา เราดันไปเชื่อเขา แล้วเราก็จะทำ ทำสิ่งที่ว่าเราดีแล้วไปตามสิ่งที่อาจารย์สอน อาจารย์สอนโดยหลัก แต่มันโดยจริตนิสัย โดยตัวแปร โดยความเห็นต่างๆ ของเราต้องเอาตัวนี้เป็นตัวตั้ง เอาประสบการณ์เอาความเห็นของเรา เอาสิ่งที่เราภาวนาดีหรือไม่ดีนี่ตัวนี้เป็นตัวตั้ง แล้วพอเป็นตัวตั้งแล้วเราเทียบเคียงสิ เทียบเคียงกับคำสอนของครูบาอาจารย์น่ะ ถ้ามันคำสอนอันเดียวกันมันก็เป็นไปได้

ถ้าท่านสอนอย่างหนึ่ง เราจะไม่อยากจะพูดเลยว่าอาจารย์จะผิดก็ได้ เราเข้าใจว่าเป็นอาจารย์ อาจารย์เราน่ะอาจารย์เราทำเป็นหรือเปล่า ถ้ามันทำเป็นนะ คนเป็นมันต้องเข้าใจได้ เราก็เข้าใจสิ่งนั้นไม่ได้

การภาวนาที่เรากลัวผิดๆ น่ะ เราไม่ต้องไปกลัวเราตั้งใจทำนะ เพราะเวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์ เทศน์ก็เพื่อให้เรามั่นใจ เวลาหลวงตาท่านพูดบ่อยมากเลย ขอให้ภาวนาเถิด ขอให้ภาวนาเถิด ทำบุญกุศลใครๆ ก็ทำได้ แล้วเราก็ทำได้ แต่ไอ้ภาวนาถ้าภาวนามันเป็นสมบัติที่ไปกับเรานะ มันจิตมันสัมผัสไง สมาธิจิตก็เป็นสมาธิ จิตฟุ้งซ่านจิตก็ฟุ้งซ่าน จิตได้ผลจิตก็ได้ผล

แล้วเวลาเกิดน่ะก็จิตนี่ตายหรือเกิด ไอ้ตัวจิตตัวตายหรือตัวเกิดแล้วไอ้ตัวจิตเป็นตัวสัมผัสเอง แต่ทำบุญทำบุญจากความคิด เพราะอะไร? เพราะมีเจตนาใช่ไหม? เจตนาตัวจิตตัวพลังงานต้องมีเจตนามีความคิดออกมา จะทำบุญ พรุ่งนี้จะทำบุญอะไร? จะหาอะไรมาใส่บาตร? นี่เป็นความคิดหรือเปล่า? มันมีเจตนาออกไป เวลาเข้ามันเจตสิก เวลากระทบรูปเจตสิกมันเข้าไป มันเข้าไปที่ไหน? รูปกระทบ รูปกระทบนะ

เรานี่ ตาเห็นภาพ ถ้าจิตมันไม่รับรู้นะมันก็เห็นภาพลอยๆ มันไม่รู้ภาพอะไรใช่ไหม? แต่ถ้าจิตมันทำงานเห็นไหม ถ้าจิตมันทำงานน่ะจิตมันเสวยอารมณ์จิตมันรับรู้พอจิตรับรู้ตากระทบรูป รูปนี้สีอะไร? เห็นไหม รูปนี้สีอะไร? นี่เจตสิกมันเข้า มันเข้าไปที่จิต แต่เวลาเราคิดเราจะทำอะไรออกมามันเจตนา นี้ไงเจตนาเจตสิกเห็นไหม หมายถึงว่าทำบุญที่ความคิดไง แต่มันก็มีใจอยู่ด้วย ถ้าไม่มีใจอยู่ด้วย ทำบุญแล้วใครเป็นคนรับ มันมีใจอยู่ด้วยแต่มันเป็นอามิสเห็นไหม แต่เวลาปฏิบัติน่ะมันตัวพลังงานโดยตรงเลย

หลวงตาท่านพูดบ่อย ทำบุญกุศลจะมากน้อยขนาดไหนก็แล้วแต่ ถึงที่สุดแล้วต้องภาวนา ถ้าใครยังไม่ถึงภาวนาก็ยังไม่จบ จะทำบุญน่ะดูพระเจ้าอโศกมหาราชสิ ๘๔,๐๐๐ วัด ไปถามอาจารย์ของตัวว่าเป็นญาติศาสนาหรือยัง อาจารย์บอกยัง แล้วจะเป็นญาติศาสนาน่ะต้องเอาลูกมาบวช เพราะลูกคือสายเลือดไง ลูกเห็นไหม ไข่ของแม่ สเปิร์มของพ่อ ออกมา ออกมาหมายถึงว่าสายบุญสายกรรม

ถ้าเอาเลือดเนื้อเชื้อไขมาบวช นี่เป็นญาติกับศาสนา เป็นญาติ ทีนี้เป็นญาติกับศาสนาพอถึงเวลาบุญกุศลเห็นไหม พระมหินทร์น่ะมันเกี่ยวพันกันไปน่ะ เป็นพระอรหันต์ทั้งคู่เลย แล้วเวลาพระเจ้าอโศกยังไม่บรรลุธรรมก็ตายไป พระมหินทร์นี่ไปเอาพ่อมาบวชอีกทีหนึ่ง มันก็วนอยู่ มันก็วนของมันอยู่อย่างนั้น บุญกุศล มันก็ต้องมีตรงนี้เป็น เราจะบอกว่าโลกอดีต โลกปัจจุบัน โลกอนาคต

โลกอดีตเห็นไหม โลกอดีตก็สิ่งที่เราจะมาเกิดอยู่นี่โลกอดีต โลกอดีตมันมีมาเราถึงมาเกิดเป็นเรา นี่โลกปัจจุบัน ทีนี้โลกปัจจุบันปั๊บ ก็มองที่ปัจจุบัน ทุกคนเทศน์ธรรมะปัจจุบันไม่ใช่ ปัจจุบัน ปัจจุบันกับธรรมะมันลึกกว่านั้น ปัจจุบันเราก็คิดว่าปัจจุบันนี้ไง คือเรานี้ไง ทีนี้ประสาเรา ถ้ามรรคญาณ เห็นไหม ถ้าความคิดแล้วมันออกมาแล้ว พลังงานออกมาแล้วไม่ใช่ปัจจุบันแล้วเป็นอดีต อนาคตของสัจธรรม แต่เป็นปัจจุบันของโลก แต่มันไม่เป็นปัจจุบันของอริยสัจ

อริยสัจมันเป็นอะไร ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์อยู่ที่ไหนทุกข์ควรกำหนด ถ้ามันไม่เห็นจริงมันกำหนดไม่ได้ เราเห็นแต่ผล เราเห็นแต่วิบากกรรม ดูสิ เวลาทุกข์ร้องไห้ทุกคนนะ แล้วร้องไห้นี่เป็นอะไร เป็นวิบากเป็นผลใช่ไหม? แล้วทุกข์อยู่ที่ไหน? นี่เราเสวยทุกข์แล้วไง เราทุกข์แล้ว เราถึงน้ำตาไหล แล้วทุกข์อยู่ที่ไหน? ทุกข์มันอยู่ที่ใจไง ทุกข์ควรกำหนดเรากำหนดได้ไหม? ถ้ากำหนดเราก็หยุด ทุกข์ควรกำหนดสมุทัยควรละ ทุกข์ควรกำหนด

แต่นี่เราได้ผลของทุกข์นะได้วิบาก เห็นไหม เขามาพูดเรื่องอะไรให้เราฟังแล้วเรารับรู้แล้วเราก็เสียใจ เสียใจก็น้ำตาไหล นี่อาการทั้งหมดเลย ตัวใจมันทุกข์อยู่ที่ใจ เขามาบอกเรา เขามาบอกเรา ข่าวมันของเก่าแล้วแต่พอเรารับรู้ไปเราก็รับรู้ไป นี่ไงสมุทัยควรละ เพราะเรารับรู้แล้วมันมีตัณหาความทะยานอยาก ตัณหาไง สิ่งที่ไม่อยากให้เป็นก็ไม่ต้องการให้เป็น ตัณหา วิภวตัณหา สิ่งที่มันไม่เป็น มันเป็นแล้วไม่อยากให้เป็นผลักออก เห็นไหม

ตัณหา วิภวตัณหา มันตัวมันเองมันเป็นกลางๆ มันก็เป็นตัณหา ตัวตัณหาเลย เพราะมันเป็นเหมือนยางเหนียว พออยากอุเบกขา อุเบกขามันก็จะเอียงไปดีและชั่ว ตัวอุเบกขานี่ก็ตัวมันพร้อมที่จะตะปบไปทุกๆ อย่างเหมือนกัน ทีนี้มันยังไม่ได้ตะปบอะไรมันก็ยังเป็นอุเบกขาอยู่ นี่ตัณหา วิภวตัณหา สิ่งที่มันเป็นของมันอยู่แล้ว นี่มันถึงควรละ

ทีนี้เวลาพูดสิ่งเวลาพูดธรรมะพูดคำเดียวกันนั่นแหละแต่อีกอันหนึ่งเป็นนิยาย อีกอันหนึ่งเป็นความจริง ถ้าเป็นความจริงคนนั้นมันพูดไม่ออก มันพูดไม่ออกเลยมันรู้จริงแต่เวลาถ้ามันเป็นธรรมะนะ มันเป็นนิยายนะ โอ้โฮมันเขียนได้เป็นจินตนาการแล้วพวกเราก็ไปชอบด้วยนะ พวกเราชอบเพราะสิ่งนั้นมันเข้าใจได้ไง

ทีนี้พอมาปฏิบัติเห็นไหม เราเรียนปริยัติกันมาแล้ว ทีนี้พอเราปฏิบัติแล้วปฏิบัติไม่ได้เราก็จะอ่านหนังสือกันจะหาทางออกกัน นั่นก็ย้อนกลับไปปริยัติไง เห็นไหม เวลาวันนั้นที่เขาจะเอาหนังสือมาแจก ที่เราไม่ให้แจกน่ะ เขาก็บอกว่า “ทำไมจะแจกไม่ได้” มีเยอะนะไปเรียนอภิธรรมกันมาแล้วเขียนมาเลยนะ รูปวัฏฏะ เขียนกันมาแล้วจะมาแจก

“เราบอกไม่ได้”

“ทำไมจะแจกไม่ได้ อันนี้เป็นธรรมของพระพุทธเจ้านะ”

“เราบอกแจกได้ แจกได้ที่สำนักเรียนน่ะ”

เพราะสำนักเรียนเขากำลังเรียนกันอยู่นั่นปริยัติคือกำลัง เหมือนทหาร เวลาทหารใหม่มา จะฝึกทหารใหม่ ขณะฝึกซ้อมอยู่ เขาฝึกซ้อมอยู่เวลาฝึกซ้อมจะออกรบ ฝึกซ้อมอยู่นี่เขาไม่ ปืนนี่ปืนเปล่าๆ นะเขาฝึกทหารเขาเอาไม้มาให้เป็นปืนแทนนะ เพราะใส่ลูกไม่ได้เดี๋ยวมันยิงกันตายเพราะมันยังใช้ปืนไม่เป็น

แต่ถ้าฝึกเสร็จแล้วเวลาออกรบมันเอาไม้ไปรบกับเขาได้ไหม? มันต้องเอาปืนไป ไปพร้อมกับกระสุนจริงด้วย เจอข้าศึกต้องยิงข้าศึกเลย ไม่ยิงคือเขาก็ยิงเรา นี้ก็เหมือนกันปริยัติมันก็เหมือนกับการฝึกซ้อม มันการฝึกซ้อมมันเรียนรู้แล้ว แล้วเราจะมาปฏิบัติแล้ว พอเราจะมาปฏิบัติแล้วเราห่วงอะไรกับการฝึกอีก

หนังสือตำรานั่นนะมันเป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า มันเป็นทฤษฎีของพระพุทธเจ้าแล้วเราต้องไปศึกษาอะไรอีก? แล้วเวลาเราไปปฏิบัติก็เอาธรรมะไปพิมพ์มานะมาแจกกันนะ เราฟังแล้วเศร้า มันปริยัติ ปฏิบัติ ขณะนี้เราจะปฏิบัติใช่ไหม? ขณะนี้จะปฏิบัติแล้วหนังสือวางไว้ดูสิดูหลวงตาสิท่านเป็นมหาเห็นไหมที่ไปหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นรับหลวงตาครั้งแรกเลย

“ธรรมะพระพุทธเจ้าเราเชิดไว้บนหัวนะ”

ถ้าพูดไปแล้วมันก็แบบว่า คนหนึ่งเรียนมาแล้วยึดทฤษฎี อีกคนหนึ่งจะปฏิเสธทฤษฎีไปเลยมันก็ปฏิเสธไม่ได้ แต่คนที่ปฏิบัติแล้วฉลาดกว่า

“สิ่งที่เรียนมาแล้วมันเป็นธรรมะของพระพุทธเจ้านะ ถ้าเอามาปฏิบัติน่ะมันจะเตะมันจะถีบกัน”

มันจะเตะมันจะถีบกันเพราะอะไร? เพราะว่าธรรมะพระพุทธเจ้ามันเป็นสูตรทฤษฎี การปฏิบัติของเราเป็นความจริง สูตรทฤษฎีนั้นเหมือนเราทำกับข้าวเลย กางตำราทำกับข้าวเลย เราต้องใส่น้ำตาลเท่านั้นๆ น่ะ แล้วไอ้ตำราก็กางอยู่นะไอ้ในกระทะมันจะไหม้อยู่แล้ว ไอ้ในกระทะมันใส่ไม่ทัน แต่ถ้าคนเป็นนะมันจะเร็วกว่า จิตที่มันเป็นน่ะ มันจะเตะมันจะถีบกันนี่ไง

ตำราว่าอย่างนั้นแล้วจิตนี่มันเป็นอย่างนี้ แล้วมันขัดแย้งกันอย่างไร? นี้ขัดนี้ทำได้จริงนะ ถ้าทำไม่ได้จริงตำราบอกเป็นอย่างนี้เราทำยังไม่ได้เลยเราก็คิดว่ามันเป็น มันสร้างภาพนะ มันเตะมันถีบ เตะคือว่าขัดแย้งถีบคือมันส่งไปในทางที่ผิด

หลวงปู่มั่นบอกว่า “ให้เอาสิ่งที่เรียนรู้มาเก็บใส่ลิ้นชักไว้ แล้วลั่นกุญแจมันไว้อย่าให้มันออกมา” เห็นไหม

ทฤษฎีอย่าให้เอาเข้ามาคลุกเคล้ากับในการปฏิบัติ แล้วปฏิบัติพอเป็นแล้วมันจะมาประสานกันเป็นอันเดียวกัน เป็นอันเดียวกันเพราะอะไร? เพราะสิ่งนั้นเป็นความจริงของพระพุทธเจ้าที่ทำจริงแล้ว แต่เรายังทำไม่ได้จริงแล้วเราไปคิดอยู่ อันนี้ก็เหมือนกัน อันที่เขาจะพิมพ์หนังสือแล้วมาแจกเราไม่ให้แจก เขาบอกทำไมไม่ให้แจกหนังสือพระพุทธเจ้า เพราะเขาไป อภิธรรมเขาเอามาจากพระไตรปิฎกเลย บอกควรจะแจกควรจะศึกษากันเป็นทฤษฎี

ขณะที่เราจะศึกษาเราฝึกทฤษฎีเราควรจะท่องหรือควรจะทำให้เข้าใจเลย แล้วเวลาปฏิบัติแล้วต้องวางไว้ ขณะภาคปฏิบัตินะ หลวงปู่มั่นท่านเทศน์ ท่านยังไม่เทศน์ถึงขณะจิตเลย ท่านเทศน์ถึงพื้นฐานในการปฏิบัติ ถึงเหตุในการต่างๆ ถึงความทุกข์ของท่าน ท่านจะพูดถึงความทุกข์ของท่านนะ ความทุกข์นั้นคือการปฏิบัติคือการประสบการณ์ แล้วจะพูดให้เป็นแบบอย่างให้ลูกศิษย์ลูกหาให้มีความเข้มแข็ง

เวลาท่านไปอยู่ในป่าเห็นไหม เวลาลูกศิษย์ไปอยู่บิณฑบาตมา เวลาอาหารไม่พอกินท่านก็บอกว่า พอกิน กินกันเพื่อให้ลำไส้มันมีอาหารแค่ย่อยก็พอ แล้วทำตัวเองเป็นตัวอย่างเห็นไหม ท่านไม่เห็นกับเรื่องการกินการอยู่นั้นเป็นเรื่องหลักเลย แต่เพราะเราทุกข์เรายากกันเราอยากจะพ้นจากทุกข์เราจะประพฤติปฏิบัติกัน เรื่องการกินการอยู่มันเป็นปัญหารอง เป็นปัญหาที่รองนะ เห็นไหม

ท่านจะพูดถึงความทุกข์ความประสบการณ์ของท่าน เพื่อให้พวกเราเข้มแข็ง ให้เราเข้มแข็งเพราะท่านมีประสบการณ์จริงอยู่แล้ว นี่จะออกปฏิบัติแล้ว ทีนี้ถ้าเราจะไปเขียนตำรามา ท่านเทศน์นะท่านยังไม่บอกถึงขณะจิตเพราะกลัวเราจะสร้างภาพ เวลาจิตมันควรจะได้มันควรจะเป็นนะ จิตถ้ามันสมดุลมันควรจะเป็น อาหารเรามันควรจะสุกอยู่แล้ว ถ้าไฟอย่างพอดีมันจะสุกพอดีเลย แต่เราไปเห็น เคยเห็นเขาทำมาแล้วอร่อย มันเป็นอย่างไรมันอยากให้สุกก่อนหรือไม่อยากให้เป็นอย่างนั้น มันเป็นไปได้ไหม?

จิตของเราถ้ามันจะเป็นไป เวลาถ้าเราไปคาดการณ์มันก็จะเป็นอย่างนั้น เสียหาย ท่านถึงไม่บอกถึงขณะจิตเลยนะ ไม่บอกถึงวิธีการที่มันจะลง ที่มันจะเป็นไป แต่พูดถึงเหตุหมดเลย เหตุให้เราการกระทำ ทีนี้เราไปศึกษาทฤษฎี ทฤษฎีธรรมะแล้วเราคิดกันอย่างไร? เราก็จะให้มันเป็นอย่างนั้นๆ ใช่ไหม? นี่ไง ภาคปริยัติ เราถึงไม่ให้ เราไม่ให้แจก มันอธิบายยากอยู่เนาะ

อธิบายยากว่า ก็เป็นธรรมะพระพุทธเจ้า แล้วเราจะไม่ให้แจกได้อย่างไร? เราบอกธรรมะพระพุทธเจ้ามันเป็นเวลาของการฝึกในเวลาของขั้นในปริยัติ แต่เวลาปฏิบัติเราต้องวาง วางแล้วปฏิบัติไปเลย แล้วถ้าสงสัยหรืออย่างไรแล้วเราค่อยไปรื้อค้น แล้วถ้าสงสัยรื้อค้นเราก็จะรื้อค้นพระไตรปิฎก ถ้าสงสัยจะรื้อค้นเราก็รื้อค้นประวัติหลวงปู่มั่น ประวัติครูบาอาจารย์ที่ท่านประสบการณ์จริงมันเป็นภาษา ภาษาสมัยปัจจุบัน

พระไตรปิฎกหรือภาษาไทยโบราณมันเขียนเป็นอีกอย่างหนึ่ง มันตีความหมายไปอีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้นปริยัติไม่ให้แจก อย่างไรก็ไม่ให้แจก แจกนะมันเป็นการพะว้าพะวงในการปฏิบัติ ในการปฏิบัติแล้วเราจะต้องให้มันจริงจังแล้ววางไว้ แล้วปฏิบัติให้มันจริงจังไปเลยไม่ต้องพะว้าพะวง ปฏิบัติให้มันสมจริงสมจังแล้วมันผิดถูกอย่างไรแล้วเราค่อยมาตรวจสอบทีหลัง

คือเหมือนกับตั้งใจทำสิ่งใดแล้ว ทำจริงแล้วมันจะได้จริง ไม่ใช่มาพะว้าพะวง ไอ้จะไปหรือก็จะห่วงหน้าพะวงหลังมันเป็นไปไม่ได้หรอก มันเพราะอย่างนี้มันถึงปฏิบัติกันแล้วไม่ได้ผล เราไม่คิดอย่างนั้น เราเอาจริงเอาจังนะ เอาจริงเอาจังไม่ใช่เอาจริงเอาจังอย่างเดียวมันเห็นโทษของตัวเอง ตัวเองก็เคยเห็นโทษอย่างนั้น แล้วครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติท่านจะเห็นโทษอย่างนั้น

ถ้ามันเป็นทางวิชาการก็วิชาการไปเลย อย่างถ้าอยากจะศึกษานะอยากจะเรียนก็เรียนไปเลย เรียนเสร็จแล้วมาปฏิบัติจะปล่อยวางได้ไหม? แต่ว่ามาปฏิบัติแล้วจะเอาสิ่งนั้นมาเรียน จะปฏิบัติแล้วจะเอาตำรามากางอยู่มันเป็นไปไม่ได้ มันห่วงหน้าพะวงหลังมันเลยเหมือนลูกครึ่งน่ะ เข้าไม่ได้ทิ้งมันเลยแล้วไม่ต้องห่วงกลัวจะไม่รู้ไอ้ผิดไม่ผิดมันประสบการณ์มันรู้นะ

ครูบาอาจารย์หลายองค์ท่านคุยกัน ท่านบอกจะบอกว่าคนที่ผิด คนที่เข้าใจผิดนี่จริงๆ รู้ เพราะเวลามันฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์นะมันขัดแย้งกับความรู้สึกเรา อย่างเราเมื่อก่อนอยู่กับหลวงตาเวลาท่านพูดอะไร จะมีไอ้นี่ไง เขามีคำถามมา เขาจะให้พระอ่าน ท่านจะเขียน เขาถามมาเป็นหนังสือถามตอบเล่มใหญ่นั่นน่ะ เวลาท่านตอบ จดหมายคนละฉบับไง แต่ท่านให้พระอ่าน ท่านเอาไว้ที่ศาลา ต้องอ่าน

เราจะอ่านคำถามก่อน แล้วเราคิดคำตอบ เหมือนสมมุติว่าเราตอบ เวลาท่านตอบมา โอ๋ย คนละเรื่องเลย คนละเรื่องเราไม่ได้ขี้ตีนเลย แล้วตอบผิดด้วย เพราะตอนนั้น แล้วเวลาท่านตอบมาเราพยายามจะทำความเข้าใจกับคำตอบของท่านน่ะ เข้าใจไหม? บางอย่างขั้นตอนเราไม่เข้าใจหรอก แต่พอได้ปฏิบัติจนถึงที่สุดแล้วนะเข้าใจหมด เข้าใจหมด คำตอบอันเดียวกัน

แต่ขณะที่เรายังไม่ครบวงจรเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย แล้วทีนี้ย้อนกลับมาที่เราปฏิบัติเราเริ่มต้นเรายังไม่มีพื้นฐานเลย เราจะตอบปัญหามันเป็นไปไม่ได้หรอก ฉะนั้นจะทำอะไร ต้องทำให้มันจริงจัง ทำให้มันจริงจังว่าเป็น มันจะผิดจะถูกช่างหัวมัน นี่มันมีครูมีอาจารย์นะถ้าผิดถูก ครูบาอาจารย์ท่านจะบอกเราได้ ครูบาอาจารย์ท่านจะสอนเราได้ถ้ามันผิดมันถูก พอมันผิดมันถูกตรงนี้สำคัญมาก

เราเอาตัวนี้เป็นประเด็นๆ หนึ่งเวลาคนมาถามปัญหาหรือว่าปฏิบัติมาจากแนวทางอื่น เราจะพูดอยู่คำหนึ่งแบบแม่พิมพ์ไง ไม่มีแม่พิมพ์มันจะมีวัตถุสิ่งที่จะพิมพ์ขึ้นมาได้อย่างไร ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ใครสอนมามันอยู่ที่พระพุทธเจ้านะ เวลาพระพุทธเจ้าไปดูในพระไตรปิฎกสิ เวลาคนที่มาถามธรรมะถ้าเป็นความจริงท่านจะถามว่า ใครทรมานมา? ใครทรมานมา?

แล้วเห็นไหมดูสิ อย่างที่ว่า โปฐิละ เห็นไหม ที่ว่า สามเณรน้อยสอน ถึงเวลาแล้วพาไปหาพระพุทธเจ้า แล้วเวลาพระที่ไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าถามว่าใครเป็นคนเทศน์สอนมา ถ้าคนเทศน์สอนมามันจริงมันจะมาได้ ถ้าอย่างนี้หมดนะมันต้องมี ประสาเราต้องมีครูมีอาจารย์คอยชี้นำมา แล้วเราสังเกตได้พระที่เสียๆ ส่วนใหญ่ไม่เข้าหาครูบาอาจารย์ อย่างเช่นเรา เราพอเราบวชปั๊บ พอเราบวชเสร็จปั๊บเราก็เป็นอาจารย์เอง

พอเราเป็นอาจารย์เอง มันมีนะ เราดู เราสังเกตหมด พระบางองค์สังเกตได้ไหม? อย่างเช่น เราบวชใหม่ ทุกคนบวชใหม่ พอมาเจอพระ สิ่งของที่พระใช้เราไม่เคยเห็นใช่ไหม? เราจะเห็นว่าเป็นของแปลกประหลาด เห็นของเป็นของแปลกประหลาดเราจะทะนุถนอม แต่ถ้าเป็นพระ พระที่ครูบาอาจารย์ท่านอยู่ของท่านมา ท่านใช้ของท่านมา ท่านทำของท่านมา อย่างเช่น เถรส่องบาตรๆ เขาส่องบาตรทำไม?

ครูบาอาจารย์เขาส่องบาตรเขาดูว่าบาตรมีรอยรั่วไหม ถ้าเราส่องบาตรไปถ้ามันรั่วเห็นไหมมันจะมีแสงสว่างมันจะเข้ามา มันจะเห็น ทีนี้ลูกศิษย์เข้าไปไม่รู้นะเห็นอาจารย์ส่องเราก็ส่องบ้าง เขาถามส่องทำไมล่ะ? ส่องเป็นพิธีไง เช็ดบาตรเสร็จต้องส่องก่อนเพราะอาจารย์ท่านส่อง แต่ในเหตุผลอาจารย์ท่านส่องท่านดูว่าบาตรท่านชำรุดหรือเปล่า?

ถ้ามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ ถ้าท่านบอกมันก็จะรู้ว่าเหตุผลเป็นอย่างไร? ทำเพื่ออะไร? แต่ถ้าเราบวชแล้วเราทำเองเราเห็นเราไปดู ครูพักลักจำไง เห็นเขาส่องก็ส่องแต่ไม่รู้เหตุผล ก็ไปเขียนเลย การส่องนี้ การส่องบาตรนี้มันจะให้ผลต่อการปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วมันจะดีไปอย่างนั้น บ้าไปเลย

ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์นะ เราเห็นพระหลายองค์ที่เสียไปเพราะไม่มีครูบาอาจารย์ ถ้ามีครูบาอาจารย์ขอนิสัยได้นิสัยไง แล้วการปฏิบัติมันก็มีพื้นฐานมา นี่พูดถึงแม่พิมพ์ แต่! แต่ในพระไตรปิฎกมีนะว่าพระอานนท์สอน พระอานนท์เป็นพระโสดาบันแต่สอนให้คนอื่นเป็นพระอรหันต์ได้ เพราะพระอานนท์เป็นพหูสูต อาจจะแนะนำได้ แนะนำได้ แต่แนะนำก็แนะนำคนที่มีวาสนา

เพราะในพระไตรปิฎกมีมากว่าพระอานนท์ เวลาถึงวาระที่ต้องไปสอนนางภิกษุณี เพราะนางภิกษุณีมีฤทธิ์ นางภิกษุณีเป็นพระอรหันต์เยอะแยะเลย แล้วเราไปพูดคนที่เขารู้จริงเขาเห็นอกเราเลย ฉะนั้นพระอานนท์ถึงได้นิมนต์พระกัสสปะไปแสดงเทศน์ ไปเทศน์ภิกษุณีแทน พระอานนท์ไม่กล้าไปพูด เรารู้นะ เรารู้เลยอย่างทุกคนเป็นพระอรหันต์แล้วเราไม่มีจริงเรากล้ามาพูดต่อหน้าเขาไหม?

มันเหมือนเครื่องยนต์มันเสียเราไม่ใช่ช่าง เราโม้มามันเสียตรงนั้นๆ ตรงนั้นน่ะไปเปิดมามันไม่เสียตามที่เราว่าหรอกมันเสียตรงข้อเท็จจริง ไอ้นี่ก็เหมือนกันในการปฏิบัติก็เหมือนกัน สิ่งที่ครูบาอาจารย์ที่จะทำในภาคปฏิบัติเราดูในหนังสือนะ หลวงตาท่านพูดเองท่านบอกเมื่อตอนที่ท่านอยู่โคราชน่ะวัดป่าสาละวันไง

แล้วสมเด็จวัดมงกุฎ..ท่านไปถามว่า “เห็นได้ข่าวว่าพระปฏิบัติจะแยกการปกครองเหรอ?” แบบว่าปกครองเป็นฝ่ายอะไรนะ วิปัสสนาธุระ คันถธุระไง ถ้าคันถธุระมันก็ฝ่ายปกครองใช่ไหม? มันก็ศึกษากันตามตำรา แล้วทีนี้มันก็ปกครองกันมันก็รู้ อย่างข้าราชการมันก็อยู่ในการปกครอง แต่ถ้าวิปัสสนาธุระ ถ้าอาจารย์ไม่เป็นน่ะมันจะแก้เหมือนทางวิชาการ เวลามันตอบปัญหาตอบโจทย์มาใครจะเป็นคนชี้ใครจะเป็นคนให้คะแนนว่าถูกหรือผิด วิปัสสนาธุระนะถ้าอาจารย์ไม่เป็นมันจะแยกอย่างไรว่าภาวนาถูกหรือผิด?

ในประวัติหลวงปู่มั่นใช่ไหมที่ว่ามีหลวงตาองค์หนึ่งที่หลงตัวเองว่าเป็นพระอรหันต์ แล้วสมเด็จวัดอะไรนะ สมเด็จวัดพระศรีมหาธาตุ สมเด็จแต่งตั้ง ๙ ประโยคตั้ง ๔-๕ องค์ตรวจสอบ ตรวจสอบอย่างไรก็ไม่รู้เรื่องก็หลบไปหลบมาไง หลวงปู่มั่นลงมาจากเชียงใหม่ ก็พาไปหาหลวงปู่มั่นพอเล่าให้หลวงปู่มั่นฟังเท่านั้นแหละ หลวงปู่มั่นบอก “เอ็งติดสมาธิ เอ็งติดสมาธิ” ก้มลงกราบหลวงปู่มั่นเลยไม่กล้าเถียงแม้แต่คำเดียว นี่ไงวิปัสสนาธุระ

ถ้าปกครองวิปัสสนาธุระตรงนี้เป็นอีกเรื่องหนึ่ง นี้กรณีอย่างนี้มันมีมาในพระไตรปิฎก คันถธุระ วิปัสสนาธุระ

แล้วเมื่อก่อนสมัยอยุธยาเราดูตามประวัติศาสตร์ มันมีเขาเพิ่งมารวบรัดเอาสมัยรัตนโกสินทร์ ให้การปกครองอยู่ในเถรสมาคมทั้งหมด แต่เดิมมันมีคันถธุระคือพระป่า ดูอะไรน่ะ อาจารย์ของพระนเรศวรใช่ไหม? ที่พระนเรศวรหลงเข้าไปในนั้นน่ะ ที่เข้าไปทำยุทธหัตถีกลับมาแล้วจะสั่งฆ่าหมดเลย นั่นน่ะ มหาเถรคันฉ่องไอ้ที่ว่าไปขอไง ที่ไปเทศน์

เทศน์เอาสมเด็จพระนเรศวรว่า “ก็มันเหมือนพระพุทธเจ้า ปัญจวัคคีย์ดูแลอยู่ก็ไม่ได้เป็นสมเด็จพระพุทธเจ้าใช่ไหม? พอปัญจวัคคีย์ทิ้ง องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็ได้ปฏิบัติจนเป็นพระพุทธเจ้า สมเด็จพระนเรศวรก็เหมือนกัน ถ้ามีทหารล้อมหน้าล้อมหลังสมเด็จพระนเรศวรก็ไม่ได้แสดงออกถึงการเป็นนักรบ”

การที่ออกรบทหารตามไม่ทันใช่ไหม? ก็หลุดเข้าไปคนเดียว หลุดเข้าไปทำยุทธหัตถีไง พอพูดอย่างนั้นปั๊บก็เลยแบบว่าให้อภัยโทษแต่ถอดยศนะ ไม่ฆ่า ไม่อย่างนั้นตัดหัวหมดเลย นั่นน่ะองค์นั้นเขาก็ว่าพระป่า นั่นน่ะวิปัสสนาธุระ ถ้าวิปัสสนาธุระนี่นะเวลาเหตุการณ์เฉพาะหน้ามันจะเทียบเคียงอย่างเช่นหลวงตาท่านบอกว่า “เวลาท่านมีอธิกรท่านไปแก้ไขอธิกร”

อธิกรหมายถึงว่าพระมีปัญหากันเรื่องวินัย ทีนี้เรื่องวินัยปั๊บต่างคนต่างถือตำรามาคนละเล่ม มันก็เหมือนทนายขึ้นศาลมันก็ออกตามกฎหมายใช่ไหม? ตีความ แต่ถ้าเป็นพระปฏิบัตินี่นะมันรัด มันรัดหมายถึงว่าพูดถึงเหตุผลไง ผิดอย่างนี้ๆ ผิดอย่างนี้มันเถียงไม่ได้ มันเถียงไม่ออก แต่ถ้าเอาตำรามาพูดกันนะ เถียงได้ มันพอผิดอย่างนี้มันก็มีข้อแย้งว่ายกเว้นอย่างนี้ ยกเว้นอย่างนี้ทำอย่างนี้มันก็เถียงกันไปไม่มีวันจบ

แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาธุระเวลาพูดมันพูดจากความรู้สึกมันเอาตายเลยมันรัดคอตาย ถ้าไม่รัดคอตายกิเลสมันหลอกออกได้ เมื่อก่อนสมัยพุทธกาลเขามีการปกครองกันมาอย่างนี้ แล้วเราฟังหลวงตาพูด บอกว่าสมเด็จวัดมงกุฎท่านพูดขึ้นมาแล้วหลวงตาท่านบอก “ไม่หรอกอยู่อย่างนี้มันก็สุขสบายแล้วไง มีการปกครองอย่างนี้มีผู้ปกครองแล้วมันก็ดีอยู่แล้ว”

ทีนี้ดีอยู่แล้วตอนนี้พอมาปฏิบัติมันก็เลยลูกครึ่ง มันเหมือนกับว่ากึ่งพุทธกาลมันก็ได้ครึ่งเดียวว่าอย่างนั้นเถอะ มันไม่ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แต่ก็เป็นประโยชน์ ถ้าคิดอย่างนี้แล้วนะมันต้องมาเป็นประโยชน์ตั้งแต่ตรงที่ว่าเราพบมีครูมีอาจารย์ไง มีครูมีอาจารย์นะ ไม่มีครูมีอาจารย์เพราะครูบาอาจารย์กว่าจะได้มา

เราดูหลวงปู่มั่นหลวงปู่เสาร์ตอนที่ออกปฏิบัติไปอุบลฯ ที่เขาจับ จับ จับตลอดเลย เพราะสมัยโบราณนะการปกครองเราพวกเราศึกษาก็ศึกษา การปกครองสมัยโบราณสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์มีอำนาจ พอกษัตริย์มีอำนาจกษัตริย์จะตั้งใครให้มีอำนาจก็ได้ ดูสิ ดูอย่างเก็บภาษีส่วยอากรจะตั้งใครเก็บก็ได้

นี่ก็เหมือนกันสมัยนั้น เจ้าคณะภาค เจ้าคณะมณฑลมีอำนาจปลดผู้ว่า มีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการทั้งหมด ทีนี้สั่งว่าไม่ให้ใส่บาตรสั่งอะไรนี่ใครจะกล้าขืน แล้วหลวงปู่มั่นท่านก็ต้องหนี หนีๆ ตลอด แล้วพอมา พ.ศ. ๒๔๗๕ เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ เปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้ว แต่ก่อนหน้านั้นล่ะ

ฉะนั้น สมบูรณาญาสิทธิราชย์ กษัตริย์มีอำนาจมาก แล้วพระเห็นไหม ได้รับการแต่งตั้ง ถ้ามองภาพออกนะ มองภาพออกมองการปกครองแล้วเดี๋ยวนี้มันเปลี่ยนมาประชาธิปไตย ประชาธิปไตยปั๊บทุกอย่างเป็นสิทธิ แล้วสิทธิของใครล่ะ กิเลสมันก็มีสิทธิ์เหมือนกัน ถ้ามองอย่างนี้ปั๊บนะ เราก็คิดมาถึงเรา คิดถึงความเข้มแข็งของเรา คิดถึงความจริงของเรานะ แล้วเราจะเห็นโอกาสแล้วเราจะตั้งใจมาก ไม่อย่างนั้นนะ เมื่อก่อนที่สังคม สังคมมันแคบแล้วสังคมมันเป็นอย่างนั้น สังคมมันเป็นอย่างนั้นหมายถึงว่าการคมนาคมทุกอย่างมันยังไม่มี

เวลาพูดถึงโลกเจริญๆ เห็นไหมหลวงตาท่านพูดท่านก็ไม่เห็นด้วย เราก็ไม่เห็นด้วย โลกเจริญๆ อะไรเจริญ โลกเจริญ ๒๐๐ ปีนี้เอง ตั้งสมัยอุตสาหกรรม ก่อนหน้านั้นไม่มีใครเหนือใครเลย ก่อนหน้ายุคเครื่องจักรไอน้ำก่อนหน้ามีใครเหนือใคร?

แต่พอเทคโนโลยีมันเจริญปั๊บ อาวุธเขาเจริญกว่า การคมนาคมเจริญกว่า ทุกอย่างเขาครอบงำได้ แค่ ๒๐๐ ปีนะ เท่านั้นเอง ทีนี้เราอายุเรามันไม่ถึงร้อยปีกัน เราก็มองเราก็เกิดในยุคนี้ดูสิ เขาพูดกันเห็นไหม ยุคสงครามโลก ยุคสงครามโลกนะตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๘๘ ตอนเริ่มสงครามไปถามคนที่อยู่ตอนนั้นสิเขาจะเห็นคุณค่าตอนสงครามมันทุกข์ยากขนาดไหน

อย่างยุคเราไม่เคยเจอ เหมือนกัน แล้วนี่การปฏิบัติ นี่ขนาดปฏิบัติยังว่าทุกข์ยากๆ อยู่ ลองดูไปอีกพักหนึ่งสิ เหมือนสัตว์ประหลาดนะ คนปฏิบัตินี่เหมือนสัตว์ประหลาดเลย ลองคิดดูสิเราเดินจงกรมนะเดินไปเดินมา เราไปอยู่ที่โพธารามเห็นไหม พวกที่นั่นเขาบอกเลย วันๆ ไม่เห็นมันทำอะไร เห็นมันเดินไปเดินมาคือเขาไม่เห็นค่าเลยไง เขาไม่เห็นคุณค่าของเราเลยนะ เรานั่งอยู่โคนไม้นะ

เดินจงกรม เขาบอกว่า เอ๊ะ วันๆ เห็นแต่เดินไปเดินมา เขาคงคิดว่าเราต้องอาบเหงื่อต่างน้ำมันถึงจะได้งานมา เขาไม่คิดว่าเดินไปเดินมา โลกเขามองเลยนะนี่พวกนี้ว่างงานไม่มีอะไรทำ วันๆ นั่งตบยุงแล้วเดินไปเดินมา แต่เดินไปเดินมาของพวกเรานะมันยาก มันยากเพราะอะไร เพราะมันไม่อยากเดินมันเบื่อไง เราเดินไปเดินมาเราจะทนไหวไหม? เราจะอยู่ เพราะในการปฏิบัตินะมันจะดูตรงนี้ คนที่นั่งสมาธิได้คนที่เดินอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืนมันจะมีงานข้างในไง

เหมือนเราเราทำงานแล้วประสบความสำเร็จเราจะเห็นคุณค่ามาก ไอ้คนเดินอยู่ได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นวันเป็นเดือนเป็นปีมันเดินอยู่ได้อย่างไร? แต่ทางโลกเขามองกันบอกว่าคนขี้เกียจ คนไม่ทำมาหากิน

แต่ในการปฏิบัติ โธ่ คนมันปฏิบัติพระบวชมาทุกคนมีสิทธิ์เดิน อ้าว มึงเดินสิ ทำไมมึงขี้เกียจ ทำไมมึงไม่เดิน อ้าว ก็มึงมาเดินสิ ลองเดินดูสักอาทิตย์หนึ่ง ลองเดินมึงจะเดินอยู่ได้ไหม? นี่มันเวลามองมันเอากิเลสมอง ถ้าคนขยันหมั่นเพียรมันต้องอาบเหงื่อต่างน้ำได้ผลประโยชน์มา นี่แล้วพูดถึงทุกเสียงเขาพูดกันอย่างนั้นเขามีความเห็นอย่างนั้นแล้วพวกเราจะยืนอยู่ได้ไหม?

แต่ถ้าคนปฏิบัติหลวงตาท่านท้าทายตลอดนะ ท่านบอกเลยนะ บอกว่าไอ้ทางโลกเห็นไหม เหมือนคนติดคุกน่ะ แค่อะไรนะ แค่ตักไปวันๆ ฆ่าเวลาไป แต่ของเราไม่ใช่มันเอาจริงเอาจังจริงๆ งานทางโลกมันเป็นอย่างนั้น โลกเจริญๆ ไง โลกเจริญมันเหมือนประสาเราเลย มันไม่ได้ทำอะไรมันอยู่เฉยๆ ยิ่งเจริญเท่าไรเวลามันยิ่งเหลือเยอะ แต่ของเราไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร? ไม่ได้ เดินจงกรมทั้งวันเลย พอวันนี้หยุดสิ พรุ่งนี้มาเดินใหม่สิ มันขาดช่วงไม่ได้ไง มันต้องสืบต่อ

แล้วภาวนาดีอยู่พักหนึ่งเห็นไหม วันนี้ภาวนาดีมากเลยแล้วมันหยุดไปหรือมันเสื่อมไปแล้วมาทำใหม่สิ โอ้โฮ เหมือนกับฝึกหัดใหม่เลย มันต้องต่อเนื่องมันหยุดไม่ได้ ถ้ามันหยุดปั๊บ เหมือนมาหัดใหม่ ถ้ามันต่อเนื่องได้ต่อเนื่องไปได้นี่มันถึงต้องกระตุ้นเห็นไหม ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ถ้าทำได้มันจะเป็นประโยชน์กับเรามาก นี่พูดถึงเรื่องกลัวเสื่อมไง

คนปฏิบัติก็กลัวเสื่อมกลัวจะผิดกลัวจะพลาดมันก็ธรรมดานะ ธรรมดาเพราะอะไรเพราะเรามีกิเลสใช่ไหม? อวิชชามันไม่รู้อยู่แล้ว เราทำไปมันก็จับพลัดจับผลู เพียงแต่เรามีวาสนาเราเชื่อธรรมของพระพุทธเจ้า เราเชื่อเพราะข้างนอกเขาไม่เชื่อกันนะ แล้วก็พูด เราสังเกตได้ เราสังเกตพวกนี้บ่อยพวกที่ต่อต้าน เขาจะบอกเลยนะไอ้พระที่บอกว่าชาตินี้ชาติสุดท้าย ชาติสุดท้ายเขาว่าโกหกทั้งนั้น

ทีนี้คำว่าโกหกทั้งนั้น ทีนี้หลวงตาท่านพูดแต่หลวงตาเราเชื่อมั่นว่าจริงแล้วท่านทำได้จริงแต่เวลาไอ้พระที่มันจะเป็น ๑๘ มงกุฎมันก็พูดอย่างนี้เหมือนกัน มันก็ว่ากูชาติสุดท้ายเหมือนกัน ไอ้ที่ สิบแปดมงกุฎน่ะ แล้วทีนี้ฝ่ายทางนี้มันมีพวกทางฝ่ายปกครองนะ ดูอย่าง...เขาบอกกับพระเลย พระห้ามพูดเรื่องมักน้อยสันโดษเพราะทำให้คนขี้เกียจ

แล้วเวลามักน้อยสันโดษเวลาหลวงตาท่านอธิบาย มักน้อยสันโดษในเรื่องตัณหาความทะยานอยาก มักน้อยสันโดษอย่างนั้น เราพออยู่พอกินของเรา เราทำของเรามันไม่ทุกข์ของเรา มักน้อยสันโดษตรงนั้น ไม่ใช่มักน้อยสันโดษตรงทำงาน คนขยันหมั่นเพียรมันขยันหมั่นเพียรโดยธรรมชาติ

แล้วนี่ก็เหมือนกันบอกเลย พวกเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์พวกนี้ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ไม่มีเหตุผล เขาพูดอย่างนั้นนะ สมมุติถ้าเราเรียนมาเราเป็นนักวิทยาศาสตร์เราก็ไม่กล้าสิ เขาบอกเชื่ออย่างนี้มันเป็นความงมงาย มันจะบีบรัดเข้ามาเรื่อยๆ บีบรัดเข้ามาให้พวกเราที่เชื่อในคุณธรรมไม่กล้าแสดงออก สังคมมันจะบีบเข้ามาแล้วมันพูดเป็นเชิงวิทยาศาสตร์ แต่สำหรับเรานะสัจธรรมเราถึงว่าวิทยาศาสตร์โดนดูถูกเพราะอะไร เพราะมันไม่มีค่า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ใช่ไหม

แต่ถ้าของเราปรมัตถธรรมมันต้องมีล้านเปอร์เซ็นต์ คำว่าเปอร์เซ็นต์ที่สะอาด ปรมัตถธรรม ไม่อย่างนั้นมันชำระกิเลสไม่ได้ มันยิ่งมันละเอียดกว่าวิทยาศาสตร์แล้วพิสูจน์ได้ลึกซึ้งกว่าวิทยาศาสตร์ด้วย เพียงแต่ว่าไอ้คนที่มันรู้จริงที่จะโต้แย้งกับพวกวิทยาศาสตร์มันไม่มีเท่านั้นน่ะ แล้วสิ่งที่เขาให้มาอย่างพวกอภิธรรม

อภิธรรมนี่นะเขา ๙ ประโยคนะ ๑. เขา ๙ ประโยค ๒. พวกนี้เขาจบปริญญาโท ปริญญาเอกทั้งนั้น แล้วเขาเขียนออกมา โอ้โฮ เขาเขียนออกมานะแต่สำหรับเราดูแล้วนะไร้เดียงสาในการปฏิบัติเลย ไร้เดียงสามาก เพราะเขาวิจัยกันทางความคิดไง เขาวิจัยอาการของใจไม่ใช่ ถ้าเป็นความจริงนะเหมือนกับหลวงปู่บุดดาเห็นไหม หลวงปู่บุดดาของจริง

หลวงปู่บุดดาท่านก็อยู่ในวงอภิธรรมเหมือนกัน ในวงหลวงปู่บุดดาบอกเลยนะจิตหนึ่งจิตหนึ่ง แต่ของเขาจิต ๑๐๘ ดวงต้องอธิบายให้ได้อย่างนั้น ๑๐๘ ดวง หลวงปู่บุดดาบอกจิตหนึ่งเท่านั้น จิตหนึ่งเท่านั้น แล้วพอเขาอธิบายจิตหนึ่งเขาก็อธิบายเหมือนกับที่ว่าอธิบายในอารมณ์ไม่ได้อธิบายตัวจิต

อภิธรรมอธิบายที่อารมณ์เพราะเขาเข้าไม่ถึงตัวจิต จิตหนึ่งๆ เขาก็คือว่าอยู่ของเขาจิตหนึ่ง คือคิดให้เป็นหนึ่ง หยุดให้เป็นหนึ่งแล้วหนึ่งมันก็เป็นสอง เป็นสาม เป็นสี่ หนึ่งจิตเห็นจิตไง เขาก็อธิบายของเขาไป เราดูแล้วจิตผุดธรรมะผุดน่ะ โอ้! เวรกรรม

มันไร้เดียงสาสำหรับภาคปฏิบัติแต่มันไปมีศักยภาพในทางวิชาการที่เขาคุยกันได้ มันเป็นนิยายธรรมะไง คือเข้าไม่ถึงน่ะ ประสาเราเขาเข้าไม่ถึง พอเข้าไม่ถึงเขายิ่งอธิบายก็ยิ่งเป็นวิชาการ เขายิ่งเห็นคุณค่านะ เวรกรรม โลกเจริญไง โลกเจริญแล้วอธิบายธรรมะไม่ได้แล้วมันจะละเอียด มันอธิบายธรรมะทุกคนก็..ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ มันเป็น ยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์อีก

แต่พออธิบายแล้วไอ้คนที่เข้าไม่ถึงมันเข้าใจไม่ได้ แล้วมันเข้าใจไม่ได้ เราถึงพูดอยู่นี่ปัญญานี่มันเป็นปัญญาคนละมิติ มิติคือโลก โลกียปัญญา ปัญญาจากโลกทัศน์ ปัญญาจากโลกที่เป็นความคิด แต่โลกุตรธรรม โลกุตรปัญญามันปัญญาในใจ ปัญญาปัญญาในใจปัญญาที่ลึกกว่า มันก็เหมือนนิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา? มันก็ว่ากันไปใช่ไหม แต่หลวงตาบอกนิพพานเป็นนิพพาน อันนี้ก็เหมือนกัน อันนี้มันบอกว่านี้ไงสิ่งที่อาการของใจสิ่งเป็นธรรมเป็นธรรมที่เขาว่ากันไง

เนี่ยเห็นไหมนิพพานเป็นอัตตาหรือเป็นอนัตตา? แต่นิพพานคือนิพพานเพราะนิพพานมันลึกกว่าอัตตาหรืออนัตตา นิพพานไม่ใช่อัตตาและไม่ใช่อนัตตา ใจก็เหมือนกัน ว่างคู่กับไม่ว่าง ความคิดมันจะเป็นความว่างได้อย่างไร? ดูปัญญาอบรมสมาธิ มันทิ้งความคิดแล้วมันถึงเป็นตัวมัน

พุทโธ พุทโธ พุทโธเข้าไปถึงเป็นตัวมัน แต่เขาไม่พูดตรงนี้นะ เขาพูดจิตมันว่างจิตมันผุดเขาว่าของเขาไป แล้วเราดูแล้ว ทีนี้เพียงแต่ว่าอธิบาย ถ้าเราอธิบาย พูดแล้วถอดแล้วลองเขียนหนังสือสิ แล้วไปดูที่เขาเขียนสิก็คือคำพูดคำเดียวกัน ก็เขาพูดจิตหนึ่งเราก็พูดจิตหนึ่ง เขาพูดว่าว่างเราก็ว่าว่าง เวลาเขียนก็เหมือนกัน แต่! แต่สำนวนน่ะมันต่างกัน สำนวนมันต่างกัน เพราะสำนวนมันเหมือนกับว่าเหมือนเราเจตนาเห็นไหม

ที่พระพุทธเจ้าบอกว่าทวนกระแสน่ะ เราพูดชี้เข้ามาที่จิต แต่เขาพูดชี้ออกไปที่เหตุผล เพราะเขาเป็นวิทยาศาสตร์ เขาชี้ออกไปที่เหตุผลนะ แล้วเขาก็อธิบายเป็นคุ้งเป็นแควไปเลย แต่ของเราชี้กลับมาที่ต้นเหตุ ของเราชี้กลับ ชี้กลับมาที่ใจ ถ้าชี้กลับมาที่ใจมันถึงจะเป็นความว่างจริงไง แต่เขาอธิบายออกไปเป็นเนื้อหาสาระไปเลย มันต่างกันตรงนี้

เขาถึงว่าผุดออกผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมาไม่ใช่แล้ว เราจะย้อนกลับเข้าไปทำลายมันแต่เขา ทีนี้คนไม่เคยเห็น คนไม่เคยเข้าถ้ำจะไม่รู้ว่าในถ้ำนั้นมันกว้างยาวขนาดไหน คนไม่เข้าไปถึงจิตจะไม่รู้เลยว่าจิตนี้เป็นอย่างไรบ้าง ไม่รู้หรอก รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาปฏิบัติแล้วไม่ต้องไปกลัวผิด ถ้าเราไปรู้ไปเห็นเองเห็นไหม นี่ไงปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก นี่วิปัสสนาธุระเขาดูกันตรงนี้

วิปัสสนาธุระเขาดูกันตรงนี้ พูดถูกพูดต้องพูดจริงใช้ได้หมด ถ้าพูดจริงความจริงมันต้องทำได้จริง ถ้าพูดไม่จริงทำไม่ได้ เราจะพูดน่ะตั้งแต่เริ่มต้นมาเลยเห็นไหม เมื่อกี้เขาถามแล้วเขาจะรีบกลับให้หนังสือไว้ตั้งหนึ่ง ลูกศิษย์หลวงปู่ดูลย์ คงดูจิตมาเหมือนกัน ทำอย่างไรถูก? คงได้ยินล่ะนะ

เขาบอกว่า “เขาจะถามว่าทำอย่างนี้กลัวจะผิด”

แล้วเราถามว่า “ทำไมถึงกลัวผิดล่ะทำอย่างไรก็กำหนดพุทโธเหมือนกัน?”

เดี๋ยวเราจะพูด กลับไปแล้ว เราจะพูดบอกว่าประสาเรานะ โทษนะผิดหมดล่ะ ผิด มันผิดเพราะอะไร? ผิดเพราะเรามีอวิชชาต้องผิดไปก่อน จะบอกว่าทำอย่างนี้แล้วถูกเลยมันก็เหมือนกับเราชี้ไปทางที่ถูก แต่คนเดินไม่ถูกมันก็ผิดทั้งนั้นวันยังค่ำ ธรรมะของพระพุทธเจ้าชี้ไปทางไหนถูกหมด แต่พวกเรายังทำอยู่มันยังผิดอยู่

แต่ผิดแล้วชี้ไปในทางที่ถูกแล้วเดินครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ มันจะรู้เอง มันจะรู้ขึ้นมาเราเดินไปใช่ไหม? คราวนี้หลงผิดไป มันจะรู้ได้ด้วยอะไร? รู้เพราะเราเดินเข้าไปแล้วมันผิด แล้วเราก็เดินซ้ำอีก เดินซ้ำอีก เดินซ้ำอีก พอเดินเข้าไปแล้ว อ๋อ เพราะมันผิดครั้งแรกเราก็จำไว้ อันนี้ผิดไม่เข้าไป มันต้องไปทางนี้ อันนี้ผิดเป็นอย่างนี้มันถูกจนได้ ถูกก็คือปฏิบัติถูกแต่ถ้าเดินไปปั๊บแล้วถูกเลยไม่มี ไม่มี ไม่ต้องกลัวว่า กลัวผิด ปฏิบัติไปเรื่อยๆ เดี๋ยวผิดนั่นล่ะมันจะสอนเรา ผิดอันนั้นมันจะสอนๆ สอนจนถูกจนได้ ถ้าไม่เข้าข้างตัวเอง

เวลาฟังธรรมะเห็นไหม เวลาเขาถึงบอกว่าองค์นั้นเป็นโสดาบันเป็นอะไร? ไม่ฟังเลย เพราะอะไร? เพราะเวลาเขาพูดคำว่าเข้าข้างตัวเองมันไม่เป็นสุภาพบุรุษ ถ้าเป็นสุภาพบุรุษนะ เรารู้อย่างไรเราเห็นอย่างไรเราจะบอกเลย พิจารณากายไปมันปล่อยกายอย่างไร? ปล่อย ปล่อยแล้วผลมันเป็นอย่างไร? ตรงนี้มันจะบอกถูก-ผิด

แล้วถ้าคนเราบอกไป มันปล่อยอย่างนี้ แต่เวลาธรรมะนะมันปล่อยแล้ว ยถาภูตัง มันปล่อยหมดเลย แล้วมันเหลืออะไร หลวงปู่เจี๊ยะถามน่ะมันจะเหลืออะไร? สิ่งที่เหลือมันจะรู้อะไร? เขาตอบไม่ได้ สิ่งที่บอกว่าปล่อยเราสร้างจินตนาการได้ไหม? เราถือของมา เราทิ้งของถือว่าทิ้งเราก็ปล่อยแล้ว

ทีนี้ถ้าทิ้งแล้วคนที่เขาเป็น เอ็งทิ้งอะไรออกไป ทิ้งออกไปแล้วมันตกอยู่ตรงไหน? เพราะมันไม่ทิ้งจริงใช่ไหม? เราหยิบก้อนหินมาก้อนหนึ่ง เราปาก้อนหินหลุดจากมือไป เห็นก้อนหินตก ทีนี้เราภาวนาไม่เป็นใช่ไหม เราบอกเราได้ทิ้งก้อนหินไป แล้วก้อนหินมึงอยู่ไหน? แล้วมันตกอย่างไรล่ะ? นี่ไงถ้าไม่เป็นมันจะพูดไม่ได้เราถึงฟังบ่อย

พอพิจารณากายแล้วขาด ขาดอย่างไร? ขาดแบบอริยสัจ โอ๊ย! เวรกรรม แต่ของเรานะถ้าขาด ทำอย่างไรจิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์? อะไรหลุดออกไป? แล้วเหลืออะไร? อะไรที่เหลือ? อะไรที่เป็น? โสดาบัน โสดาบันจะตอบขั้นโสดาบันได้ สกิทาตอบสกิทาได้ อนาคาตอบอนาคาได้ พระอรหันต์ตอบพระอรหันต์ได้

แต่ถ้ามันตอบไม่ได้อย่างเรา ถ้าเรา เรานะเราไม่ตอบ เราจะบิดเบี่ยงเบนแสดงว่าเราสงสัยแล้ว สงสัยเพราะอะไรเพราะเราไม่แน่ใจในความเห็นของเรา ถ้าเราแน่ใจความเห็นของเรา เราจะกล้าพูดว่าเราทำอย่างไรผลเป็นอย่างไรสรุปเป็นอย่างไร? แล้วอาจารย์ท่านจะเป็นคนชี้ขาดว่าถูกหรือผิดเพราะเราก็มั่นใจของเรา แต่ถ้าเราตอบนะยังบิดเบือนอยู่เห็นไหม เพราะ! เพราะเราไม่แน่ใจ

เรากลัวอาจารย์บอกว่าผิดแล้วเราจะเสียหน้า บอกไปเลย ถ้าอาจารย์บอกผิดถ้ามันผิดจริงเราก็ได้แก้ไข ถ้าเราถูกแล้วอาจารย์ผิดล่ะ อาจารย์ผิดล่ะเราจะแก้อาจารย์ บอกไปเลย เพราะเราพูดอย่างนี้เพราะอะไรเพราะเราตรวจสอบพระหลายองค์ พระบางองค์จะไม่ยอมตอบ มาถึงนะถามแล้วนะ ไม่ตอบ

มาถามนะแต่ถามเฉพาะให้เราเหมือนกับให้เราเซ็นใบประกาศให้ ต้องให้บอกว่า “ใช่เท่านั้น” หึ ไม่ ต้องตอบโจทย์ก่อน ต้องให้เห็นคำตอบของโจทย์คำตอบให้ได้ก่อน เราซักกันอย่างนั้นนะ นี่พูดถึงพระปฏิบัติไง ถ้าตอบไม่ได้ไม่รับ รับไม่ได้ ถ้าตอบได้ ถ้าตอบได้นะซึ้งมาก เพราะตอบได้นะ

เวลาฟังครูบาอาจารย์ เวลาฟังพระปฏิบัติแต่ละองค์ชีวิตเขาทั้งชีวิตเลยอย่างเรา ชีวิตหนึ่งเราได้สมบุกสมบันมาทั้งชีวิตแล้วเอามาเล่าให้เราฟังไง ดูสิไอ้พวกนักเขียนน่ะเห็นไหม เวลาเขาจะเขียนเรื่องอะไร เขาต้องไปใช้ชีวิตอย่างนั้นเพื่อจะเขียนให้ได้เรื่องนั้นมา เห็นไหม เขาต้องไปศึกษาให้เข้าใจเรื่องนั้นถึงจะเขียนเรื่องนั้นได้ เขาเขียนนี้คืองานเขียนนะ แต่งานปฏิบัติไม่ใช่งานเขียน

งานปฏิบัติคือเอาตัวเองเข้าไปเลย ย่อยสลายมันให้ได้ แล้วย่อยสลายมันเสร็จแล้วผลที่ตอบมาเป็นอย่างไร? ถ้ามันยังมี เรายังคิดอยู่นะ ที่เราพูดอยู่แล้วคนมาฟังเรามันมีอะไรนะ มันมีน้ำหนักมันมีรสชาติ เรายัง โทษนะไม่ใช่อวดตัวนะ ไม่ได้ยกหาง อันนี้เขาพูดนิดหนึ่งน่ะ เพราะเราพูดอย่างนี้เราสามารถดึงความสนใจของโยมได้ไง เราสามารถเป็นแรงดึงดูดให้คนยังสนใจในศาสนาอยู่ เหมือนแม่เหล็กมันจะดึงคนเข้ามาให้หาศาสนา

แล้วถ้าเกิดถ้าไม่มีแม่เหล็ก แล้วศาสนาไม่มีคนดึง นี่เราคิดอย่างนี้นะ เราไม่ได้คิดว่า เราจะดีไม่ดีหรอก เราคิดว่าเรานี่เป็นที่สิ่งพูดโน้มน้าวดึงดูดของคนเขามาสนใจในศาสนาอยู่ ยังปฏิบัติอยู่ไง แล้วถ้าไม่มีตรงนี้มันจะเหลืออะไร? เพราะเราก็ไม่อยู่ตลอดไปหรอก ไม่มีใครค้ำฟ้าหรอก ทุกคนก็อยู่ชั่วชีวิตหนึ่ง แล้วชีวิตของคนๆ นั้นมันโน้มน้าวไง พูดโน้มน้าว

มันมีโยมหลายคนที่มาหาเราแล้วเขากลับไปพูดต่อได้ยินมา เขามาพูดต่อ โอ้ หลวงพ่อแม่งพูดท้าทายฉิบหายเลย ใครๆ ก็พูดฝากกันมานะ โอ้หลวงพ่อพูดท้าทายฉิบหายเลย อ้าว ก็กระตุ้นให้เขาทำไง กระตุ้น กระตุ้น กระตุ้น เพราะเราอยู่บ้านตาด อยู่กับหลวงตา เดินจงกรมน่ะบางทีมันล้าหมดนะอดอาหารอดนอนด้วย อื้อหือ มันเต็มทีแล้วล่ะ

โอ้โฮ ท่านไปนะท่านใส่ คือใครทำความเพียรขนาดไหนนะ ก็อยากให้อาจารย์ชมไง เข้าไปนะ มีแต่ค้อนไง ขี้เกียจ ไม่เอาไหน โอ้โฮ ทำมาเกือบตายนะ มาถึงบอกไม่เอาไหน ไอ้ขี้เกียจ คิดในใจว่าขี้เกียจอย่างไรนี่? กูเดินทั้งวันๆ เลยขี้เกียจ ยังขี้เกียจอยู่ มันโดนค้อนทุบหัวๆ ตลอดนะ โอ้โฮ มันก็ตื่นเต้น แล้วเวลาหมดกำลังใจท่านจะหนุน เราได้ประสบการณ์อย่างนี้มา

เวลาเราฉันน้ำร้อนกับพระนี่กระตุ้นมาก เพราะเวลาเราเหนื่อยเวลาเราล้าเวลาเราเฉาเวลาเรา จิตใจเราไม่เอาไหนมันจะทำอย่างไร? เราทุกคนเป็นมาหมด ทุกคนมันจะเป็นนะ ไม่ใช่ว่าเราแหม จะสดชื่นจะมีความคึกคักตลอดไม่ใช่ มันก็มีเวลานะ บางทีเวลามันก็คอตก เดินจงกรมแล้วก็คอตกแล้วจะทำอย่างไรกันต่อ? แล้วจะไปอย่างไร? แล้วจะต่อสู้อย่างไร? มันมีนะท่านกระตุ้น กระตุ้น กระตุ้น

อยู่กับครูบาอาจารย์ได้นิสัย พระเรานี่เรารู้หมดนะ รู้เลยว่าพระนี่มันว้าเหว่ไหม? มันจะไปทางไหนกัน? ฉะนั้นเวลาอยู่กับเรา เราถึงบอกว่าถ้ากูไม่ตายพวกมึงไม่ตายก็แล้วกันล่ะ บางทีเราไม่อยู่นะ เราไปเดิน พระเขาก็เก็บไอ้พวกปลากระป๋องไว้ไง บอก เฮ้ย ปลากระป๋องต้องเก็บด้วยเหรอ เก็บไว้ให้หมาไง เวลาหลวงพ่อไม่อยู่นะแทบจะไม่มีอะไรกินเลยล่ะ

โอ้โฮ เราสะอึกเลยนะ เวลาเราไปอุทัยฯ ไปนู้นน่ะ เวลาหลวงพ่อไม่อยู่นะไม่มีใครมาเลยนะ แทบไม่มีอะไรกินเลย นี่ยังมีชีวิตอยู่นะยังไม่ได้ไปไหนนะ แล้วถ้าเราไม่อยู่สักคนหนึ่งล่ะ เราเห็นพระมันเอาปลากระป๋องไปแขวนไว้ให้หมา เวลาเรา.. เราก็เห็นเราตักเยอะแยะ ในบาตรเราน่ะตักไว้ให้หมาทั้งนั้น เพราะเรากินนิดเดียวนั่นน่ะ เรากินแต่ข้าว

แล้วก็ถาม เราก็เห็นว่า เราอยู่มันก็เห็นอย่างนี้ไง ทีนี้พอไปเห็นปลากระป๋องแขวนอยู่น่ะเราก็ถาม “เฮ้ย ต้องเอาปลากระป๋องแขวนไว้ด้วยเหรอ” “บอกเอาไปให้หมา เวลาหลวงพ่อไม่อยู่นะแทบไม่มีอะไรเลย” แหม มันแทงใจ ผลัวะ! เลย ยังคิดในใจเลยนะนี่ขนาดยังอยู่นะ แล้วถ้ากูไม่อยู่จริงๆ ล่ะไม่มีเหลือ ทั้งๆ ที่เราก็ไม่เคยคิดนะ เราเป็นคน ประสาเราเราเป็นคนติดดิน เราไม่เคยคิดว่ากูดัง กูใหญ่ทั้งสิ้นเลย

แต่ด้วยศักยภาพที่เราทำจริง ทำจนเป็นความเคยชินเราไม่เคยคิดว่าเราดีเราเด่นนะ เราคิดแต่ว่าเมื่อไหร่กูจะไปซะทีเท่านั้นแหละ แต่มันทำตามหน้าที่ เวลาเขาพูดออกมา แต่นี่พระก็ต้องรู้ เวลาหลวงพ่อไม่อยู่ แล้วเราไม่อยู่เราไปไหนบ้างล่ะ ก็มีแค่ไปอุทัยฯ ไปหัวหิน ไปเมืองกาญจน์แล้วก็ไปหาหลวงตา เพราะเราไม่เคยไปไหนเลยล่ะ เราเคยไปไหนไม่เคยไปไหนเลยนะ

พอมีอย่างนี้ปั๊บ มันก็คิด คิด คิด แล้วมันก็ดูไง แล้วเราจะทำ ถึงบอกว่านี่เราพูดอยู่เพราะมีคนบอกหลวงพ่อนี่ท้าทายมาก อะไรมาก ท้าทายก็เพื่อให้พวกมึงทำไง ถ้าเอ็งทำเสร็จขึ้นมาแล้วกูยังนั่งอยู่นี่ไง กูสอนผิดมึงมาฆ่ากูสิ มึงทำไม่ได้มึงก็มาจัดการกูนี่ กูเป็นคนยุให้พวกมึงทำกันเองแล้วกูทำให้พวกมึงผิด อ้าว ยังนั่งอยู่นี้เว้ย จำเลยยังนั่งอยู่นี้ยังจับได้ยังขังคุกได้ จำเลยตายไปแล้ว โอ้ มึงไปเอาใครไม่ได้แล้ว

เราเข้าไปอยู่กับหลวงตานะ เรายังกระตุ้นตัวเองอย่างนี้ตลอดว่า

“หลวงตาอยู่บนกุฏิ เราปฏิบัติขึ้นมาหลวงตาจะแก้เราว่ะ”

เมื่อก่อนห่วงมาก ห่วงไม่มีใครแก้ไง นี้ก็เหมือนกันเรายังอยู่นะ ทีนี้เวลาพูดมันท้าทายนะ เพราะอยากให้ทำได้ อยากให้ปฏิบัติได้ แล้วปฏิบัติมาส่วนใหญ่แล้ว มันจะได้ จะได้ แล้วยังไม่ถึงแล้วพอไปผ่อน พอไปผ่อนจะขึ้นมาอีกน่ะมันยาก พอมันได้แล้วดันไปเลย เพราะเราเคยมีประสบการณ์อย่างนี้ไง เรานี่นิสัย นิสัยที่เราปฏิบัติได้ มันมีตัวยืนตัวนี้

มันเหมือนกับว่าคนจริงทำอะไรต้องให้มันถึงที่สุด ดันอยู่อย่างนั้นน่ะ ดันอยู่อย่างนั้น ดันอยู่อย่างนั้น แต่เหนื่อยไหม เหนื่อย รากเลือดเลย แต่มันดีอย่างหนึ่งคือว่าเหมือนกับรถน่ะ อัดอย่างเดียวไม่ยอมถอยเลยไม่ปลดไม่ใส่เกียร์ว่างไม่ถอยหลังเด็ดขาด อัดลูกเดียวอัดลูกเดียว แล้วผิดถูกอาจารย์แก้ ผิดถูกให้อาจารย์แก้ไปเราอัดอย่างเดียว แล้วพอมาอ่านพระไตรปิฎกทีหลัง

ผู้ที่ปฏิบัติไม่ได้หนึ่งคือไม่ปฏิบัติสม่ำเสมอในพระไตรปิฎกเขียนอย่างนั้น แต่ประสาเราคือไม่เสมอต้นเสมอปลาย ถ้าเสมอต้นเสมอปลายมันถึงที่สุดได้ แล้วปฏิบัติไปเห็นไหม เวลาเข้าด้ายเข้าเข็มมันมั่ว มันมั่วหมายถึงว่าความเห็นหรือสิ่งที่ประสบการณ์หนึ่ง แล้วความเพียรของเราก็อีกอันหนึ่ง ความเพียรคือความจริงจังเราอันหนึ่งนะ แต่ผลที่เห็นมันก็ทำให้สงสัยอีกอันหนึ่ง

มันมีอยู่สองประเด็น ประเด็นหนึ่งคือสิ่งที่ประสบกับอีกประเด็นหนึ่งคือความเพียรของเรา ความเพียรของเรานี่ก็ต้องเข้มแข็งด้วย แล้วสิ่งที่เห็น สิ่งที่เห็นมันจะทำให้เราออกนอกลู่นอกทางหรือมันจะจริงไม่จริงนี่อีกอันหนึ่ง มันยังมีปัญหาอยู่ ๒ ปัญหาซ้อนกันอยู่ แล้วสู้อย่างเดียว แค่สู้อย่างเดียวนี่ก็ต้อง ต้องให้เราเข้มแข็งแล้ว แล้วพอสู้เข้าไปแล้วมันเห็นเลือนรางเห็นการคาดหมายเห็นว่าจริงไม่จริง ว่าเราจะวินิจฉัยสิ่งที่เห็นว่าอย่างไร?

ไปรู้ไปเห็นนี่มันจะวินิจฉัยอันนี้อีกอันหนึ่ง แล้วความวิริยะอุตสาหะของเราอีกอันหนึ่ง แล้วต้องดันกันไปสู้กันไป นี่แล้วกว่ามันจะได้มามันได้มาอย่างนี้ไง แล้วคนบอกคนโน้นทำอย่างโน้น นอนฝันมาก็ว่าพระอรหันต์ไง หลับฝันไปตื่นมาแม่งเป็นพระอรหันต์ กูไม่เชื่อ อย่างไรก็ไม่เชื่อ กูไม่เชื่อ เป็นไปไม่ได้ แล้ว โธ่ เมื่อก่อนเราปฏิบัตินะ เราก็ว่าเราเข้มแข็งมาก แล้วเข้มแข็งแล้วมันมีเทคนิคมันมีวิธีการของเราเก็บไว้ในใจไม่กล้าพูดให้ใครฟัง เพราะพูดให้ใครฟังมันจะหาว่าเราคิดเป็นแบบว่าเป็นเรื่องไม่ดีไป

ไปอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ ผมทำอย่างนี้ครับ ทำอย่างนี้ครับ เออ กูก็ทำอย่างนี้ โอ้โฮ มีเพื่อนแล้วมีเพื่อน เมื่อก่อนมันคิดอยู่ในใจคนเดียวไม่กล้าพูดให้ใครฟังนะ ทีนี้ไปอยู่กับท่านจนสนิทไง เราก็ว่าเราตั้งอุบายอย่างนี้พิจารณาอย่างนี้พิจารณาอย่างนี้ อย่างนี้ แล้วดูสิ เราพูดเสร็จคอยดูว่าท่านตอบอย่างไรเลยนะ กูก็ทำอย่างนี้ เออ ค่อยยังชั่วหน่อย ไม่อย่างนั้นมันเก็บอยู่ข้างในคนเดียวนะ

มันจะพูดไปมันเหมือนที่หลวงตาท่านพูดน่ะเขาว่าเราบ้า ทุกคนนี่หาว่าบ้า มันจะเป็นไปได้อย่างไร? ปฏิบัติธรรมทำกันอย่างนี้เหรอ ทีนี้พอเราไปอยู่กับท่านจนคุ้นเคย บอกท่านเลยนะผมทำอย่างนี้ ทำอย่างนี้ ทำอย่างนี้ เสร็จแล้วก็รอ รอฟังคำตอบ เออ กูก็ทำอย่างนี้ พออย่างนั้นปั๊บไม่ถามอีกเลย ทีนี้ก็คุยเรื่องอื่นแล้วเพราะมันเคลียร์ ท่านก็ทำแล้วเราก็ทำแล้วจบ เหมือนเราทำด้วยกัน ไปเจอของเดียวกันมันก็จบ

นี่เห็นไหมจะพูดเลยตั้งแต่เริ่มต้น ผิดมาก่อน ผิดมาล้มลุกคลุกคลาน ผิดมามหาศาลเลย แต่พอมันจะเข้าทางเข้าถูกต้องมันก็เป็นไปได้ แล้วถูกต้อง

มันตอนบวชใหม่ๆ นะ มันอยู่กับพวกพระที่ปฏิบัติเขาจะคุยพูดกันอวดดีน่ะ ว่ามรรคสามัคคีเขาจะพูดถึงเขาว่าเขาเป็นผล เราก็ฟัง ฟังไว้เป็นความจำไง แต่ไปเป็นครั้งแรก ไอ้คำนี้มันขึ้นทันทีเลยนะ เวลาพิจารณาๆ ไป กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ แล้วมันปล่อย โอ้โฮ มันเป็นอย่างนี้เอง มรรคสามัคคี มันมารวมกันอย่างนี้ไง มารวมอย่างนี้แล้วมันปล่อยอย่างนี้เว้ย อ๋อ ทั้งๆ ที่คำนี้นะ เขาเรียนปริยัติกันเราไม่สน แต่เขาพูดกันมันก็ผ่านหูเราเฉยๆ มันผ่านหูเราเฉยๆ

แต่พอเราไปเจอเข้า อ๋อ แล้วเก็บไว้ในใจเลยไม่บอกใคร จนเข้าบ้านตาด พอเข้าบ้านตาดไปมันก็เพราะมันไม่เหมือนกับที่เขาคุยกันหรอกไม่เหมือนเลย มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลย

ทีนี้มันพอมาแจกหนังสือเราถึง อืม เรื่องหนังสือนี่เยอะนะ เรื่องหนังสือเราคิดว่าอย่างนี้ เราคิดว่าเรานี่นะ เราอยู่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ฉะนั้นมันต้องมีหลักมีเกณฑ์อย่างที่พูดเมื่อกี้เรามาพิจารณาของเรา เรื่องนี้พิจารณามามาก คันถธุระวิปัสสนาธุระแล้วตอนนี้เราเอาคันถธุระวิปัสสนาธุระมั่วกัน มามั่วจนเป็นความมั่วไปหมดเลย แต่ถ้าเรา เราแยกของเราออก วิปัสสนาธุระให้มันชัดเจนมันจะเห็นเป็นประโยชน์ขึ้นมาได้

นี้วิปัสสนาธุระเรามันไม่ชัดเจน มันก็เลยไปเอาคันถธุระคือนิยายธรรมะมาอ้างอิงกัน แล้วอ้างตัวเองว่าเป็นวิปัสสนาธุระ คันถธุระมันเข้ามาก้าวก่ายวิปัสสนาธุระแล้วบอกว่านี้คือทางวิชาการนี้คือพุทธะนี้คือพุทธพจน์ห้ามเถียงห้ามเถียง แล้วนี่ถ้ามันเป็นวิปัสสนาธุระถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมาได้ มันก็จะสร้างบุคลากรขึ้นมา

วิปัสสนาธุระจะทำให้เป็นอริยบุคคลขึ้นมาถ้าหมดตรงนี้มันก็หมดแล้วล่ะ ฉะนั้นถึงว่ามันเหมือนกับบางที ถ้าโลกเขามองอีกอย่างหนึ่ง เขาจะมองแบบจงอางหวงไข่ คือหวงไง คืออะไรเข้ามาก็ไม่ได้ อะไรก็เข้ามาไม่ได้ เหมือนหวง แต่เราย้อนกลับนะ ถ้าเราพูดคำว่าหวงเอ็งย้อนกลับไปดูหลวงตาสิ เมื่อก่อนท่านเคยให้แจกหนังสืออยู่ในวัดท่านไหม?

สมัยท่านยังหนุ่มๆ อยู่หนังสือคนอื่นจะเข้าไปไม่ได้เลย แล้วท่านพูดด้วย “เรามั่นใจว่าเราสอนไม่ผิด” เวลาคนจะเอาหนังสือเข้าไปแจกนะท่านพูดอย่างนี้เลย “เรามั่นใจว่าของเราไม่ผิด” แต่ถ้าพูดประสาโลกนะ ท่านจะบอกว่าของที่เอามาแจกมันผิดหมดท่านไม่ให้แจก แต่ท่านไม่พูดอย่างนั้น ท่านจะบอกว่า “เรามั่นใจว่าหนังสือเราไม่ผิด เราสอนได้ ไม่ต้องให้คนอื่นมาสอน”

ท่านจะพูดแบบว่าไม่ให้บาดหมางไง แต่เดี๋ยวนี้ทุกคนเข้าไป เข้าไปอ้างอิงตรงนี้ แล้วนี่พยายามจะเข้ามา แล้วพอเข้ามาแล้วพออ้างพุทธพจน์ไง อ้างพุทธพจน์ก็คือว่าหนังสือธรรมะพระพุทธเจ้าทำไมจะแจกไม่ได้ ก็เหมือนกับพระพุทธพจน์นั่นแหละ พุทธพจน์ไม่ได้คัดค้านนะ แต่คัดค้านที่พวกมึงคัดลอกออกมา พวกไม่รู้จริงนั่นน่ะ

ทำไมกูจะไม่เคารพพุทธพจน์ ทำไมกูจะไม่เคารพพระพุทธเจ้า กูนี่เคารพสุดหัวใจเลย แต่กูเคารพแล้วกูเคารพบูชาไม่ใช่อย่างพวกมึง เคารพเอามาเป็นสินค้าขายกินกัน พวกมึงเอามาเป็นสินค้า แต่ของเราเคารพบูชาเทิดทูนไว้บนหัวมันคนละเรื่องกัน แล้วจะบอกไม่เคารพได้อย่างไร? ถ้าเคารพจะไปทำอย่างพวกมึงทำกันเหรอ

พวกมึงทำกันอย่างนั้นเป็นสินค้าแล้ว เวลาเขามาเคารพบูชามึงจะมาว่าเขาอีก มึงจะให้เราอ่อนเป็นสินค้าอย่างพวกมึงใช่ไหม? มีปัญญาเท่าไรก็เอาความรู้ของมึงออกมาสิ ความรู้ที่มึงเป็นจริงน่ะเอาออกมา ทำไมไม่เอาล่ะ ก็อ้างเอาพระพุทธเจ้ามาตั้ง แล้วก็ตีความกัน

ให้ทำตามความเป็นจริงเนาะ อ้าว วันนี้เอาแค่นี้ เอวัง