ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

คณะศรัทธาเช้า

๘ มี.ค. ๒๕๕๒

 

คณะศรัทธาเช้า
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

เวลาความคิด เห็นไหม ความคิดกับเรามันเป็นความคิดโดยดิบๆ น่ะ ความคิดของพวกเรานี่ความคิดดิบๆ แต่เราไม่เข้าใจนะ เราไม่เข้าใจว่าความคิดเราดิบๆ “ดิบๆ” เพราะอะไร ดิบๆ เพราะมันมาจากความรู้สึกของเรา มันมาจากอวิชชา

หลวงตาท่านบอกว่า “ถ้าเราเป็นปุถุชน ปัญญาของเรา กิเลสมันพาใช้” ความคิดเราทั้งหมดกิเลสมันใช้หมดนะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิตมันมีอวิชชา ถ้าไม่มีอวิชชา มันไม่มาเกิดเป็นเราหรอก ในเมื่อต้นน้ำมันเป็นอย่างนั้น แล้วความคิดเราเหมือนต้นน้ำใช่ไหม ต้นของความคิด

“มารเอย.. เธอเกิดจากความดำริของเรา เราเห็นตัวเจ้าแล้ว เจ้าจะเกิดจากจิตเราอีกไม่ได้เลย” ต้นน้ำ เห็นไหม “มารเอย.. เธอเกิดจากความดำริของเรา ” แล้วพอมีความคิดออกมา ต้นน้ำมันเป็นอวิชชา ทีนี้ความคิดของเรา ความคิดดิบๆ คือว่าความคิดดิบๆ มันเป็นอย่างนั้น

ทีนี้พอคิดออกมา เราคิดว่าแนบเนียนนะ เราคิดว่ามันแนบเนียนเพราะอะไร เพราะคิดว่าเราคิดแล้วมันไม่มีความเข้าใจเรา แต่ถ้าพูดถึงอาชญากรรม เขายังบอกเลยนะ ใครทำอาชญากรรมขนาดไหน มันต้องทิ้งร่องรอยไว้ ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ความคิดของเรามันทิ้งร่องรอย ถึงว่าผลประโยชน์ของใครไง มันพูดเพื่ออะไร? ทำเพื่อใคร?

แต่ถ้าเป็นธรรมะนะ...ไม่ มันสะอาดมาจากใจใช่ไหม ทุกอย่างมันสะอาดมาน่ะ มันไม่ใช่ของเราหรอก มันยิ่งสงสารนะ จริงๆ นะ คนเขามองกันแต่เรื่องโลกๆ สังเกตได้ไหมว่าครูบาอาจารย์เวลาท่านพูด ท่านพูดถึงบอกว่า “สิ่งนั้นเป็นของชั่วคราว สิ่งนั้นเป็นเรื่องโลก” เรื่องโลกมันไม่มีที่จบที่สิ้น ก็มองกันแค่นั้นไง

แต่ความจริงนะ เรื่องโลกมันก็เหมือนกับเครื่องอาศัย มันเหมือนกับเปลือกไง ผลไม้ต้องมีเปลือกทุกอย่าง เราก็เหมือนกัน ความคิดมันมีเปลือก ความจริงสิ่งที่เป็นเปลือกก็เรื่องของโลก แล้วสิ่งที่ละเอียดกว่านั้นล่ะ?

นี่อย่างเมื่อกี้นี้เขารีบกลับเพราะไม่มีเวลา เขามาหา เขาก็ไปหาครูบาอาจารย์มา แล้วก็มาหาเรา แล้วเมื่อกี้เราก็บอกไปแล้ว บอกว่าให้กำหนดพุทโธไปก่อน เขาบอก “พุทโธไม่ได้ ฟุ้งซ่านมาก”

“ฟุ้งซ่าน.. ให้ตามฟุ้งซ่านไป”

ความให้ตามฟุ้งซ่านไป ให้ตามความฟุ้งซ่านไป.. ถ้ามันจะทิ้งพุทโธ ให้ทิ้งพุทโธเลย ถ้าไม่ทิ้งพุทโธเลยนะ เพราะอะไร ถ้าเราไม่เอาจิตเราสงบก่อน ความคิดขนาดไหนที่เราคิดกันอยู่นี่ มันเป็นความคิดของกิเลสหมด ทั้งๆ ที่ตรึกในธรรมนี่

เพราะเราพูดบ่อยนะ กระบวนการปฏิบัติของทุกๆ วิธีการ ทุกๆ แนวทาง ผลของมันคือสมถะหมด ผลของมันน่ะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมีปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา สิ่งการกระทำทั้งหมด เพราะอะไร เพราะพวกเรามันไม่เป็น พวกเราไม่เป็น พวกเรานี่ความคิดดิบๆ ใช่ไหม

ดูสิ อย่างผลไม้ เราคั้นผลไม้ ต้องมีน้ำผลไม้ น้ำผลไม้ชนิดที่เราคั้น อะไรก็แล้วแต่ มันจะคั้นออกมาเป็นน้ำผลไม้ ความคิดก็เหมือนกัน กลั่นออกมาจากอะไร พอมันคิดออกมา ความคิดมันกลั่นออกมา มันสิ่งที่มันกลั่นออกมาจากความคิดนั้นมันคืออะไร ทีนี้ถ้าจิต สิ่งที่กระบวนการของความคิดมันกลั่นออกมา สิ่งที่กลั่นออกมา ผลของมันคือน้ำ ผลของมันคือความสงบของใจ....(เสียงขัดข้อง)....

มันเป็นสมถะ แต่เพราะขาดสติ ไม่มีสติมันก็เลยไม่รู้ว่าว่างอย่างไร ว่างเพราะอะไร บอกคำว่า “ว่าง” ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ.. ขณิกสมาธิมันปล่อยวาง แว๊บๆ แว๊บๆ ปล่อยวางพั้บ พอมันว่างเดี๋ยวเดียวมันก็คิดอีก ว่าง แว๊บๆ แว๊บๆ นี่มันคุมไม่ได้ มันเป็นขณิกสมาธิ มันว่าง มันสบายอยู่พักๆๆ หนึ่ง โดยธรรมชาติเป็นอย่างนั้นน่ะ

ถ้าอุปจารสมาธิ มันสมาธิที่มีกำลังมากขึ้น พอมีกำลังมากขึ้น คนที่มีกำลัง เวลามันเคลื่อนไหว จิตมันเคลื่อนไหว เห็นไหม อุปจารสมาธิ พอเคลื่อนไหวมันมีสถานที่ทำงานของมัน มันออกรับรู้ได้ไง นี่มันออกรับรู้ได้ มันจับต้องได้ นี่อุปจารสมาธิ “อุปจาระ” คือตัวจิต แล้ววงรอบของจิตที่จิตออกรับรู้

อัปปนาสมาธิ ถ้ามันสงบเข้าไป มันไม่มีวงรอบ ในตัวของมันเองว่างหมด แล้วเป็นสักแต่ว่ารู้ มีสติพร้อมหมดเลย อัปปนาสมาธิ นี่ทำงานไม่ได้ แต่เข้าไปสงบลึกซึ้งมาก

ถ้ามีสติ เรามีสติ เรามีความรู้สึกอันนี้ เราจะจับ เราจะทำสิ่งนี้ได้

เมื่อวานเขาพูดเหมือนกัน เข้าไปหาครูบาอาจารย์ เขาบอกเวลาพูดเรื่องครูบาอาจารย์ ท่านบอกว่า “สมาธิเอ็งทำให้ได้ก่อน” แม้แต่สมาธิยังทำกันไม่ได้ ยังทำกันไม่เป็น

ในปัจจุบันนี้ สมาธิทำกันไม่เป็นนะ ไม่เป็นหรอก ถ้าคนทำสมาธิเป็น เขาจะไม่พูดอย่างนั้น จะไม่พูดอย่างที่เขาพูดกัน ถ้าคนเคยได้สมาธิจะไม่พูดอย่างนี้ ก็เรารู้เราเห็น แล้วเราจะกล้าพูดสิ่งผิดจากสิ่งที่เรารู้เราเห็นได้อย่างไร แต่ที่เขาพูดออกมาน่ะ เพราะเขาไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น เขาถึงได้พูดได้จ้อยๆ จ้อยๆ จ้อยเลยไง แต่ถ้าเขารู้เขาเห็นเขาพูดอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าเขาพูดอย่างนั้นไม่ได้ นั่นน่ะคือตัวจริงของมัน ฉะนั้น ถ้าเป็นตัวจริงของมัน คือสมถกรรมฐาน

นักกีฬานะ เขาต้องมีสนามซ้อม นักกีฬาเล่นกีฬาทุกชนิด เขาต้องมีพื้นที่ ต้องมีสนามเล่นของเขา.. จะวิปัสสนาจะทำลายกิเลส ไม่รู้ว่าทำที่ไหนน่ะ “สมถกรรมฐาน.. ฐานที่ตั้งแห่งการงานน่ะ” ที่ตั้งแห่งการงาน ที่ตั้งของการเริ่มต้นของจิตที่มันมีกิเลสมันอยู่ตรงไหน แล้วถ้าไม่มีที่ นักกีฬามันจะซ้อมบนอากาศเหรอ นักกีฬาก็เล่นกันบนอากาศเหรอ แต่นักกีฬาเขาเล่นซ้อมในสนามเขามีของเขา เราก็เห็นของเขา แต่เราก็มานั่งจินตนาการของเราเองแล้วว่าเราซ้อม เราทำ แต่ไม่ได้ทำอะไรเลย

แต่ถ้ามันเป็นสมาธิขึ้นมา สนามมันอยู่ที่นั่นไง สมาธิคือตัวภพ สมาธิคือตัวจิต สมาธิคือเรา นี่นาย ก. นาย ข. นาย ง. เรามีชื่อเราที่ทะเบียนบ้าน แต่ตัวจริงไม่มีสักคนหนึ่ง อ้าว.. ชี้มาที่ตัวเราสิ แขนเป็นเรา ขาเป็นเรา ลองตัดทิ้งสิ อวัยวะเป็นเรา ลองเปลี่ยนสิ ในตัวเรามีอะไรเป็นเรา

ในมิลินทปัญหา เห็นไหม พระนาคเสนถามว่า “มนุษย์คืออะไร”

“มนุษย์ไม่มี”

พระเจ้ามิลินถาม พระนาคเสนตอบ “มนุษย์ไม่มี ตัวจริงของมนุษย์ไม่มี”

แต่เพราะส่วนประกอบขึ้นมาถึงเป็นคน เปรียบเหมือนรถ ลองไปชี้สิ ล้อ เพลา เหล็ก กระบะ เห็นไหม มึงชี้ตรงไหนเป็นรถ มึงชี้ไปสิ แต่รวมกันขึ้นมาเป็นคันรถใช่ไหม มนุษย์ก็เหมือนกัน มันรวมกันขึ้นมาถึงเป็นคน แล้วคนอยู่ที่ไหน

แต่ถ้าจิตสงบเข้ามานะ “อื้อหือ!” เราอยู่ที่นี่ ความรู้สึกอันนี้อยู่ที่นี่ เห็นไหม

นี่ตัวฐาน กรรมฐานๆ สมถกรรมฐานนะ ทุกการปฏิบัติทั้งหมด ผลของมันคือสมถะ ทีนี้พอสมถะแล้ว มันมีมิจฉากับสัมมาไง ถ้าผลของเป็นสมถะ คือผลของมันคือตัวสมาธิ ผลของมันคือฐานของจิต ผลของมันคือตัวตนของเรา ทีนี้มันเป็นมิจฉา พอเป็นคำว่า “มิจฉา” นี่คือมันไม่เข้าใจ มันไม่รู้ มันปฏิเสธ หรือให้ค่า “ว่างๆ ว่างๆ” นี่คือผลไง ผลงานของการปฏิบัติไง

ถ้าเป็นปฏิบัตินะ เวลาคนใช้ปัญญาแล้ว เวลามันปล่อยวาง ตทังคปหาน มันใช้ปัญญาแล้ว มันปล่อยชั่วคราว การปล่อยชั่วคราวมันตีกลับ คือมันไม่มีสมุจเฉทปหาน นี่ขนาดใช้ปัญญาแล้ว มันยังมีขั้นตอนของมันอีกนะ มันจะมีการก้าวเดินของมันขึ้นไปอีก

ถ้าคนมันประพฤติปฏิบัติขนาดนี้ขึ้นมา แล้วถ้าคนปฏิบัติ เหมือนเรา พวกเราทำธุรกิจการค้ากัน เราต้องมีความพร้อม เราต้องต่อสู้ขนาดไหน เราถึงจะประสบความสำเร็จกันมา แล้วคิดดูสิ เด็กๆ ไม่ทำอะไรเลย มันบอกมันเป็นเถ้าแก่ๆ ใครจะไปเชื่อมัน อันนี้ก็เหมือนกัน ในการปฏิบัตินะ ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัตินะ ท่านมีประสบการณ์ของท่าน ท่านทำท่านได้จริงนะ ท่านจะไม่พูดอย่างนั้นนะ

สิ่งที่โลกคุยกันปัจจุบันนี้ มันพูดกันเหมือนไม่ได้ทำอะไรกันเลยน่ะ แล้วก็เชื่อว่า.. พอมาเห็น มาสายวัดป่าเรา ก็บอกว่า “นี่อัตตกิลมถานุโยค ทำให้มันลำบากๆ” ถ้ามันจะลำบาก มันก็เป็นความจริง คนที่เวลาเราไม่เคยทุกข์เคยยาก เราก็ไม่ได้คิดนะ.. นี่เรากินอาหารกันด้วยความปกติเลย ดูคนป่วยสิ เห็นไหม คนที่กินข้าวไม่ได้ ดูสิ คนเขาป้อนน่ะ โอ๊ย.. ลำบากลำบนไปหมดนะ

นี่ก็เหมือนกัน ในการปฏิบัติ เขาไม่เคยเป็น เขาไม่เคยเป็นไม่เคยทำ ทำไมเป็นอย่างนั้นได้ แล้วมันน่า.. ที่เรา.. นิสัยเรามันเป็นที่นิสัยสันดานเราเอง นิสัยสันดานของเรามันเห็นถึงการกระทำของโลก เรารับไม่ได้ไง เขามองกันที่ผลประโยชน์นะ แต่เขาไม่รับผิดชอบ อย่างเช่นเรานี่ เราเป็นนักปฏิบัติคนหนึ่ง เราอยากปฏิบัติ แล้วเราหลงผิดไป เราก็ต้องหาทรัพยากรมาทั้งหมดมาเพื่อครูบาอาจารย์ของเรา เขาดูที่ทรัพยากรนั้นคือเงินทองอันนั้นไง แต่เขาไม่มองชีวิตเรานะว่าชีวิตของเรา เราจะเสียหายขนาดไหน

เพราะอะไรรู้ไหม เพราะถ้าเราเห็นผิดไปแล้ว ชีวิตของเรา.. มันมีเห็นผิดไปใช่ไหม ชีวิตนี้ทั้งชีวิตนะ แล้วพอทั้งชีวิตแล้ว เวลาไปเกิดตายขึ้นไป มันไปไหน เวลามันเกิดตายไง เวลาเกิดตาย เพราะอะไร เพราะความเห็นผิดอันนี้ ความเห็นผิดอันนี้ เวลาเกิด มันบิดไปแล้ว มันจะบิดไปเลย ในวัฏฏะนี่ มันบิดไปแล้ว เพราะความเห็นผิดอันนั้น อย่างเช่นเรา เราโดนหลอกลวงมา ถึงที่สุดแล้วเรารู้ตัว เราเจ็บปวดในหัวใจเราไหม? ต้องเจ็บปวด แล้วเราตายไปพร้อมกับความเจ็บปวด เราตายไปพร้อมกับความเห็นผิด.. จิตไปไหน?

แต่ถ้าพวกเราปฏิบัติ เราปฏิบัติของเรา ให้ความถูกต้อง มีความถูกต้องใช่ไหม ในเมื่อเราจะตายไป เราก็ตายไปด้วยคุณสมบัติของเรา มันตายไปตามข้อเท็จจริง ตามเนื้อหาสาระนั้น

โบราณเขาสอนกัน เวลาคนใกล้ตายให้คิดถึงพระ.. ให้คิดถึงพระไว้.. ให้คิดถึงพระไว้ คิดถึงความดีไว้ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอะไร เราเปรียบบ่อยนะ เวลาคนจะตาย จิตออกจากร่าง ออกจากร่างนะ วันนี้เราออกจากร่าง ออกจากบ้าน วันนี้โยมมีอะไรติดตัวมาบ้าง ถ้าโยมมีอะไรติดในกระเป๋ามา นี่เป็นของโยม เป็นหน้าที่ของโยม

จิตจะออกจากร่าง ถ้าเราโดนหลอกลวง เราตายไปพร้อมกับความเจ็บปวด จิตเรามันมีความเจ็บปวดเป็นอาภรณ์ เป็นสิ่งที่มันเป็นหลักที่จะไปเกิดในชาตินั้น แต่ถ้าเราออกไปในสิ่งที่ดี จิตจิตหนึ่งนี่นะ ในชีวิตของเรา มันจะมีดีและไม่ดีอยู่ในจิตนั้น ไม่มีใครทำดีตลอดและทำไม่ดีตลอด แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตอนเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนหน้านั้นที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์ ยังตกนรกนะ

ทุกดวงจิตเคยตกนรกอเวจี เคยอยู่บนสวรรค์ เคยเวียนตายเวียนเกิดมาตลอด ทุกดวงจิตที่หมุนเวียนตายกันอยู่นี่ ทุกดวงจิตเคยมีมา พอมันเคยมีมา สิ่งที่มีมามันมีมาอยู่แล้ว ทีนี้พอจิตเราจะออกจากร่าง สิ่งนี้ สิ่งที่มันเป็นไป มันออกจากร่างไป มันก็เป็นสภาวะแบบนั้น เกิดดีเกิดชั่วนี่ไง

มันมองตรงชีวิตของคน ถ้าเริ่มต้นบิดเบี้ยวไปที่นี่ แต่เขาไปดูผลประโยชน์ที่จะได้เล็กน้อย แต่เขาไม่ดูชีวิตของคนที่เสียไป มันจะไปขนาดไหน

ทีนี้โลกมันเป็นอย่างนั้น โลกเป็นหมู่สัตว์ กิเลสมันเป็นสิ่งที่น่ากลัว น่ากลัวเพราะมันมีผู้ที่หลอกลวงกันอย่างนี้มาตลอด พอมาตลอด เห็นไหม ถึงเป็นสายบุญสายกรรม สายบุญสายกรรมนะ ถ้าเกิดเขาเคยมีความสัมพันธ์กันมา เขามีความคุ้นเคยกันมา มันพูดอะไรมันถูกหูไปหมดนะ แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งใด ไม่เคยผูกพันกันมา พูดอะไรมันก็ขัดหูกันไปหมดล่ะ มันพูดขัดหู ทีนี้ถ้ามันมีความสัมพันธ์กันมา มันเกี่ยวเนื่องกันมาไง เขาเรียก..

หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ตอนมาช่วยชาติว่า “สายบุญสายกรรม.. ถ้าไม่ได้สร้างบุญสร้างกรรมกันมาจะไม่เชื่อไม่ฟังเรา” เวลาท่านออกมาพูดอะไร สิทธิของเรา เราเชื่อเราฟังกัน เรามีสายบุญสายกรรมกันมานะ มันดูแล้ว.. มันอย่างน้อยๆ มันถูกชะตานะ เออ.. มันน่าจะใช่ มันมองแล้วมันเห็นด้วย แต่ถ้าไม่ใช่สายบุญสายกรรม มันจะมีแรงต้าน ทั้งๆ ที่จริงนี่แหละ แต่ถ้าไม่จริง แต่ถึงไม่มีสายบุญสายกรรมมันก็เชื่อกันไป

ถ้ามันหลอกลวงกันที่นั่น มันทำเสียกันที่นั่น มันจะทำให้ชีวิตนั้น.. เรามองที่ค่าของชีวิต เราไม่มองที่ทรัพยากร ไม่มองสิ่งที่เขาได้มา อันนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์นะ แต่เวลาปฏิบัติไปแล้ว ไอ้เรื่องนี้เรื่องหนึ่ง เรื่องผลประโยชน์นะ แต่ถ้าเรื่องข้อเท็จจริงอีกล่ะ ถ้าสอนผิดล่ะ สอนผิดสอนถูก

ทีนี้สอนผิดสอนถูก ส่วนใหญ่.. เมื่อก่อนเราก็คิด ทุกคนคิดหมดนะ พื้นฐานใครก็สอนได้ ครูบาอาจารย์ที่มีความสำคัญเรานี่ ให้ถึงเวลาเราปฏิบัติไปเจอสิ่งใดๆ แล้ว ค่อยให้ครูบาอาจารย์สอน เห็นไหม คือว่าพื้นฐานนี่เราทำไปก่อน.. เมื่อก่อนเราก็คิดอย่างนั้นนะ แต่มองๆ ไปแล้วมันผิด เหมือนเด็กอนุบาล ถ้าอนุบาลของเรา เราให้การศึกษามันมาโดยที่อ่อนแอ พอโตขึ้นมา การศึกษาของเขาจะไปไม่ได้ไกล ถ้าเราวางพื้นฐานให้เด็กดีมาก เวลาเขาโตขึ้นมา เขาจะไปได้ไกลมากเลย

การปฏิบัติของเราก็เหมือนกัน เริ่มต้นพื้นฐานถ้าเราวางให้ดี เพราะเรามีความคิดอย่างนี้ เวลาพระบวชกับเรา พรรษาแรกจะบอกเลย “อยู่กับกูก่อน” ใครบวชนะ ถ้าใครจะบวชบอก “ให้อยู่กับกูก่อน ต้องให้วัคซีนก่อน” ถ้าอยู่กับเรา ๑ พรรษา มันจะเห็นพฤติกรรมไง อยู่ด้วยกัน ข้อวัตร พฤติกรรม มันจะเห็นเราทำ แล้วมันเป็นระบบ เราบอกว่าพระทั้งวัดทำอย่างนี้หมด ใช่ไหม พอทำอย่างนี้หมด มันอยู่ ๑ พรรษา พอ ๑ พรรษาปั๊บ ออกไปธุดงค์

พระไปธุดงค์กลับมา ออกไปธุดงค์กลับมานะ ไปก็ไปใช้ชีวิตประจำวันของเขา ไปถึงไปฉันมือเลยที่ข้างนอก

เขาบอกว่า “อยู่กับใคร”

“อยู่กะไอ้หงบ”

“อ๋อ! ไอ้ที่มันพูดกิเลสตบตาใช่ไหม” เขาว่านะ (หัวเราะ)

มันอ่านหนังสือเราอยู่ “อ๋อ! ที่มันพูดกิเลสตบตา”

เขาถามเลยนะ เวลาพระเราออกไป เขาถามเลย แล้วพระออกไป เขาก็ไปอยู่ได้ชั่วคราว พอออกไปเห็นสภาวะแบบนั้นนะ แล้วเขาก็มาถามเรา เขาบอกว่า นี่เขาออกไปเที่ยวข้างนอก ข้างนอกเขาบอกว่า “อยู่กับใคร”

บอก “อยู่กับสงบ”

เขาก็ “อ๋อ!”

แต่ทุกคนแหยง แล้วพระก็บอก ข้างนอกเขาบอกว่า เขาไม่กล้ามาหาเรา เพราะว่าเรื่องข้อวัตรเรื่องการกระทำ เขารับไม่ได้ แล้วพระบอกว่า พระเรานี่ “แล้วหลวงพ่อทำทำไม” เราบอก เห็นไหม ความคิดของคน ความคิดของโลก เห็นไหม ความคิดของโลก ถ้าเขาสะดวกสบายก็เป็นความเห็นของเขา

แต่สำหรับเรา เราบอกว่านักกีฬาน่ะ เอ็งเห็นนักกีฬาไหม นักกีฬานะถ้ามันขยันซ้อม ขยันซ้อมนี่การแข่งขันของเขามันสะดวกสบาย ข้อวัตรของเรามันเหมือนนักกีฬา เหมือนซ้อมไง ใช่.. เราอยู่กับข้อวัตรนี่นะ เราปฏิบัติยังไม่ได้ก็จริง แต่เราอยู่ความคุ้นเคย คุ้นเคยกับเทคนิค กับการฝึกซ้อมของเรา จิตมันควรแก่การงาน จิตมันควรแก่.. คือว่าเราอยู่ใกล้ชิดกับธรรมะ ฉะนั้น ถึงจะปฏิบัติได้-ไม่ได้ เราต้องขยันหมั่นเพียร ให้อยู่กับธรรมวินัย ให้เป็นเครื่องอยู่ ให้จิตใจเราอยู่

เหมือนกับนักกีฬา เขาฝึกซ้อมของเขา เทคนิคเขาฟื้นฟูของเขาตลอดเวลา เขาจะคล่องตัวของเขาอยู่ตลอดเวลา แล้วลงไปแข่งขันเขาก็ได้ชนะ แต่นี่เขาไม่ซ้อมเลย คือว่าธรรมวินัยนี่ไม่กล้าทำอะไรเลย อยู่สุขสบายของเขา สิ่งที่เราทำกันอยู่นี่ สิ่งที่เราทำกันมันผิด มันผิดธรรมวินัยตรงไหน มันไม่ผิดธรรมวินัย

ดูสิ ที่หลวงปู่ฝั้นท่านพูด หลวงปู่ฝั้นท่านบอก พระก็บอกเลย “พระเราปฏิบัติตามธรรมวินัยไม่ได้” แต่หลวงปู่ฝั้นบอกว่า “ไม่แต่ทำตามธรรมวินัยนะ ทำตามตัวอักษรทุกตัว ถ้าทำได้” ทำตามตัวอักษร.. เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าบอกไว้ มันใกล้กับธรรมะ

เขามาถามเราว่า “เราทำทำไม.. พระทำไมต้องลำบากอย่างนี้ ลำบากทำไม”

เราบอกว่า “มันอยู่ที่เป้าหมาย ถ้าเป้าหมายเราบวชมาเพื่อความสุขความสบาย เขาก็อยู่กันอย่างนั้นไง แต่เป้าหมายของเราที่บวชมา อย่างว่าชีวิตเรา เอ็งทุกข์ไหม เอ็งเกิดมาทำไม แล้วเอ็งมาบวชนี่บวชเพื่ออะไร ถ้าเอ็งบวช เอ็งมีเป้าหมายว่าจะพ้นจากทุกข์น่ะ มันก็ต้องขวนขวาย แล้วนี่คือพื้นฐานของมันไง พื้นฐานของมันที่เราจะประพฤติปฏิบัติ ในเมื่อพื้นฐานของมัน เราไม่รักษาพื้นฐานของเราเองน่ะ แล้วเราจะไปทำอะไรกัน”

ถ้าเรารักษาพื้นฐานของเรา ถ้าเขาเปิด เห็นไหม อย่างเช่นเรา เราพร้อมหมด เขาเปิดสมัครงาน สมัครทำหน้าที่อะไร เราพร้อมก่อน เราสมัคร เราต้องได้ก่อนไหม ถ้าจิตเราเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลาใช่ไหม แล้วเราประพฤติปฏิบัติอยู่ แต่ธรรมดา มันก็ต้องมีความเกียจคร้านบ้างเป็นธรรมดา เพราะเรามีกิเลสอยู่ใช่ไหม แต่ถ้ามีความเกียจคร้านอยู่ในระบบ ระบบมันจะทำให้เราต้องทำตามไป แล้วมีครูบาอาจารย์คอยกระตุ้นนะ คอยกระตุ้นน่ะ นี่เขามองข้ามกัน เห็นไหม เขามองข้ามว่าสิ่งนี้..

เราจะบอกว่า ตอนนี้นะ ทุกคนจะพูดเลยว่าการปฏิบัติพวกเรานี่ทุกข์ ลำบาก เราเถียงประจำนะ เราเถียงมาก บอก “ไม่ใช่” เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าของทฤษฎีมัชฌิมาปฏิปทา การทำตามตัวอักษร ตามธรรมวินัยทั้งหมด นั่นน่ะ “สายกลาง” สายกลางของธรรมมันอยู่ตรงนั้น

แต่ของเรามันสายกลางของกิเลส สายกลางของความพอใจ เราชอบเราก็ว่า “สายกลาง” ไม่ชอบก็บอก “ไม่ใช่” เราไปสายกลางด้วยความชอบหรือไม่ชอบ แต่ธรรมวินัยพระพุทธเจ้าวางไว้ นี่สายกลาง ตามธรรมปฏิบัตินี่สายกลางหมดเลย เพราะศีล ๒๒๗ ศีลในศีล ศีล ๒๒๗ แล้วมันก็มีธุดงควัตรอีก เห็นไหม ธุดงควัตรเข้าไป เพราะถ้าไม่ปฏิบัติ ศีล ๒๒๗ นี่เราว่าลำบากแล้ว แต่ลองปฏิบัติสิ พอทุกคนนั่งสัปหงก ทุกคนนั่งหลับ ทุกคนอยากได้สมาธิ ทุกคนอยากได้มรรคผล แล้วอะไรจะมากขึ้นไปล่ะ

มันเหมือนขันน็อตน่ะ เราเร่งเข้าไป ขันน็อตให้มันแน่นเข้าไป ศีลก็ปกติก็ ๒๒๗ อยู่แล้ว แต่ยิ่งพอเราเริ่มเข้มข้นขึ้นไป เห็นไหม ธุดงควัตร ๑๓ ฉันมือเดียว ฉันหนเดียว ผ่อนอาหาร ไม่นอน ถือเนสัชชิก เห็นไหม มันขันน็อตเข้าไป ขันน็อตเข้าไปเพื่อผลประโยชน์อันนั้นไง เพราะธุดงควัตรนี่เป็นเครื่องขัดเกลากิเลส มันไม่ใช่ตัวชำระกิเลสนะ สมาธิก็ไม่ใช่ตัวชำระกิเลส แต่สมาธิเป็นตัวพื้นฐานที่ทำจะให้เราเกิดปัญญา เพราะปัญญาที่พระพุทธเจ้าสอนนี่เป็นโลกุตตรปัญญา มันเป็นภาวนา คำว่า “ภาวนามยปัญญา” ปัญญาเกิดจากการภาวนา แต่ของเราปัญญาเกิดจากการศึกษา ปัญญาเกิดจากการค้นคว้า ปัญญาเกิดจากการทำวิจัย แต่ถ้าเป็นโลกุตตรธรรม ปัญญามันเกิดจากการภาวนา การหลับตานี่แหละ

เขาบอก “หลับหูหลับตาแล้วมันจะไม่รู้อะไรเลยน่ะ”

เรานี่นั่งอยู่นี่ ดอกเตอร์....... ตอนนั้นเป็นผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทยมาหาเรา มาคุยกับเรา เสร็จแล้วถามเลย “พระอย่างนี้สร้างยังไง พระอย่างนี้สร้างยังไง จะต้องเรียนก่อนค่อยปฏิบัติหรือปฏิบัติก่อนค่อยเรียน”

บอกว่า “ฮึ.. กูนั่งหลับตาอยู่นี่”

เขาถามเราเพราะอะไร เพราะการกีฬาแห่งประเทศไทย กกท. เขาสร้างบุคคลากร สร้างทรัพยากรของชาติไง เพื่อให้ชาติไทย ให้ทรัพยากรมนุษย์นี่ให้แข็งแรง นี่เขามาคุยกับเรา เขามาคุยกับ

คุยกับเราว่า “ทำไง.. ต้องทำยังไง ต้องทำยังไง”

แล้วเขาเห็นประโยชน์นะ นี่คุยกันส่วนตัว

ถามเราตรงๆ เลยว่า “พระอย่างเรานี่สร้างยังไง” เพราะเขาเป็นนักสร้างทรัพยากรมนุษย์ใช่ไหม ว่า “ให้เรียนปริยัติก่อนแล้วค่อยมาปฏิบัติถึงจะเป็นอย่างนี้ไหม หรือเรียนปฏิบัติก่อนแล้วค่อยมาปริยัติ มันเป็นอย่างนี้ไหม”

บอก “ไม่” เพราะเรามีความ.. ในใจลึกๆ เราน่ะ มีเรื่องอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไร

เพราะว่าเราไปธุดงค์อยู่ในป่า ไปเจอมหาอุดร ๙ ประโยคจากวัดบวรฯ ไปคุยกันในป่า ไปเจอกันอยู่ในป่า แล้วเขาคุยกับเราแล้วถูกใจ “หงบเอ้ย.. ขอร้องไปเรียนก่อน” เขาเอาเราเข้าไปวัดบวรฯ เลยนะ ไปอยู่วัดบวรอยู่หลายวัน พออยู่วัดบวรน่ะ “เอ.. กูจะออกทางไหนดีวะ” จะหาทางออก ไม่ไหว รับไม่ได้ เพราะมันต้องไปเรียนอย่างนั้น มันรับไม่ได้ แล้วเราก็มาเจอเขา พอเราเข้าบ้านตาด ไปเจอกันที่บ้านตาด ตอนนี้สึกไปแล้ว เห็นว่าไปเป็นอนุศาสตร์ นั่นเขาขอร้องให้เรียนก่อน

เรา.. ใจเรานี่ เราคิดว่า พูดถึงถ้าตามทฤษฎีนะ มันต้องปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ แต่ในความรู้สึกของเรานะ เราอยากว่า “เรานี่มาจากกรรมฐาน มาจากการค้นคว้าด้วยใจ มาจากความรู้จริงของใจเรา” แล้วว่ากรรมฐานรู้จริงของใจ แล้วพิสูจน์กันว่าสิ่งที่รู้ขึ้นมาจากการปฏิบัติ กับทฤษฎีที่เอามานี่ ใครจะถูก?

เราเชื่อมั่นเรามากนะ เชื่อมั่นมาก เพราะเรามีความเชื่อมั่นมาก เราถึงบอกเลยนะ เวลาเราพูดถึงครูบาอาจารย์ เห็นไหม เพราะเราเองนี่ พระไตรปิฎกนี่เราเปิดแล้ว ๒ รอบ.. เปิด ๒ รอบ

เพราะหลวงตาท่านบอกว่าหลวงปู่มั่นท่านเปิดพระไตรปิฎกหลายรอบ แล้วเวลาไปดูหลวงปู่มั่นนะ หลวงปู่มั่น ตอนที่ประวัติหลวงปู่มั่น ตอนหลวงปู่มั่นออกปฏิบัติครั้งแรก ที่ข้ามขอนชาติ แล้วขึ้นม้าขาว ขี่ม้าขาวเข้าไปถึงตู้พระไตรปิฎก ลงจากม้าขาวจะไปเปิดตู้พระไตรปิฎก ยังไม่ทันได้เปิด ท่านออกจากนิมิตก่อน ถ้าได้เปิดตู้พระไตรปิฎกนะ หลวงปู่มั่นนะ จะแตกฉานมากกว่านี้ จะได้สั่งสอนประโยชน์มากกว่านี้อีกเยอะเลย แต่ข้ามขอนชาติคือสิ้นกิเลส แล้วควบม้าเข้าไปเห็นตู้พระไตรปิฎก จะลงไปเปิดตู้พระไตรปิฎก ออกจากนิมิตก่อน

แล้วขณะนั้นพอท่านปฏิบัติแล้ว หลวงตาบอกว่าหลวงปู่มั่นเปิดพระไตรปิฎก เราถึงมาเปิดทีหลัง พอเราปฏิบัติแล้วเราเข้าใจว่ามั่นคงแล้ว เราก็มาเปิดพระไตรปิฎก อ่านพระไตรปิฎกเข้าไปทีไรนะ โอ้โฮ.. มันสะเทือนหัวใจนะ มันสะเทือนหัวใจบอกว่า “ถ้ามึงไม่ปฏิบัติมาก่อนนะ มึงอ่านตรงนี้ไม่เข้าใจ.. ไม่เข้าใจ”

เพราะอะไร เพราะตอนที่เราเปิดพระไตรปิฎกครั้งแรก มันมีกรณีในเมืองไทย มันมีอยู่ มันมีความเห็นต่างในสังคม เถียงกันว่า “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส”

คนหนึ่งก็บอก “จิตเดิมแท้ผ่องใสคือนิพพาน”

อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่า “จิตเดิมแท้นี้มันเป็นกิเลส” เถียงกันไปเถียงกันมานะ

แล้วบังเอิญเราก็เปิดพระไตรปิฎกไปเจอในพระไตรปิฎกไง

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส”

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส”

ในพระไตรปิฎกนี่นะมันชัดเจน “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส” ภาษาบาลีนะ “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส” นี้คือเป็นธรรมชาติของมัน แล้วพอจะแนวปฏิบัติไง “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้น..”

“จิตเดิมแท้นี้ (เห็นไหม) เป็นผู้ข้ามพ้น..” แสดงว่าจิตเดิมแท้นี้มันเป็นกิเลสใช่ไหม “จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส”

พระไตรปิฎกบอกชัดๆ แล้วมันเถียงกันเรื่องอะไรวะ งงมากนะ แล้วก็อ่านไปนะ สอุปาทิเสสนิพพาน เขาก็เถียงกันไป เราอ่านดูแล้วนะชัดเจนมาก มันเข้าใจหมดเลย แล้วก็ย้อนกลับมา ถ้าเราไม่ปฏิบัติมานะ เราอ่านไปเราก็ตีความไม่ออก เราอ่านหนังสือออกนะ แต่เราอ่านความหมายไม่ออก พระไตรปิฎกอ่านหมด รื้อค้นมาหมด เห็นชัดเจนมากเลย มีเยอะแยะเลย ถ้าไม่ได้ปฏิบัติ ตีความไม่ออก อ่านหนังสือออกแต่ไม่เข้าใจ

แต่เราไปอ่านนะ มันยังกลับมา เอ้อ.. ถ้าเรามาอ่านก่อน มันก็เอาตรงนี้เป็นโจทย์ แล้วก็ต้องไปวิตกวิจาร เราก็จะมะงุมมะงาหราอยู่อย่างนั้นนั้นล่ะ คลำไปคลำมา แต่นี่ทิ้งหมดเลย แล้วทำด้วยความเป็นจริงขึ้นมา พอเข้าใจ เพราะสิ่งที่พูดนี่เราผ่านมาหมดแล้ว

ฉะนั้น เวลาเขาเถียงกันเรื่องนิพพาน เราถึงไปพิมพ์ นิพพานไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่อนัตตา นิพพานเป็นนิพพาน แล้วพอหลวงตาท่านตอบ ท่านก็ตอบอย่างนั้นจริงๆ อัตตาคือตัวตน อัตตาคือกิเลส อนัตตาคือกระบวนการของมันที่จะเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าสอนกระบวนการ พระพุทธเจ้าสอนอนัตตา

เขาบอกธรรมะนี่เป็น สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา...ใช่ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา นิพพานถือว่าเป็นอนัตตาด้วย บอก “ไม่ใช่” สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลาย ที่กระบวนการของมันที่จะดำเนินการไปนี่เป็นอนัตตา แต่ผลของมันคือสัจธรรม จะบอกนิจจัง ถ้าจะบอกว่ามั่นคง เดี๋ยวจะบอกว่าเป็นกิเลสอีก

เพราะอะไรรู้ไหม เพราะในธัมมจักฯ มันมี “กุปปธรรม” กุปปธรรมคือกระบวนการของธรรม “อกุปปธรรม” ผลของมันคืออกุปปธรรม อฐานะที่จะแปรสภาพ นั้นคือสัจจะ สัจจะที่มันได้ สัจจะที่มันจะเป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคา สัจธรรมอันนั้นไม่ใช่อนัตตา เพราะมันไม่อยู่ในกระบวนการของ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา กระบวนการของมันน่ะ ทำอาหารไง อาหารของเรา เราทำกระบวนการอาหารที่เราลงไปในหม้อในไห ที่มันกำลังจะสุกขึ้นมา พอสุกแล้วนะ มันกลับไปเป็นวัตถุดิบอีกไม่ได้

จิตที่มันสุกแล้ว จิตที่มันเป็นแล้วนะ.. จบ!

นี่กระบวนการของมันต้องเป็นอย่างนั้น

“สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา.. ธรรมะต้องเป็นอนัตตา”

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ขณะที่เราปฏิบัติ สมาธิก็เป็นอนัตตา ปัญญาก็เป็นอนัตตา เพราะปัญญามันเกิดดับ อะไรมันคงที่กับเราบ้าง ความคิดมันจะคงที่กับเราไหม สิ่งที่เกิดขึ้นมาจะคงที่กับเราไหม อนัตตาไหม? อนัตตา! แต่อนัตตาบ่อยๆ ครั้ง บ่อยครั้ง ฝึกฝนบ่อยครั้งเข้า ผลของมัน สิ้นสุดกระบวนการของมันแล้วนี่เหลืออะไรไง

ที่หลวงปู่เจี๊ยะท่านถามน่ะ “พิจารณายังไง?”

“พิจารณานามรูปสิคะ”

จนหลวงปู่เจี๊ยะบอก “เฮ้ย.. เขาต้องเอาจิตพิจารณานะมึง”

เห็นไหม คำว่า “จิต” คือสมถะนี่ไง คำว่า “จิต” คือสมาธินี่ไง

ถ้าไม่มีสมาธิจะเอาอะไรพิจารณา ที่เราพิจารณากันนี่ เราใช้กระบวนการความคิดของเรา มันเป็นเรื่องกิเลสหมดใช่ไหม แต่ถ้าจิตสงบแล้วน่ะ ตัวจิต.. “จิตเห็น จิตรู้”.. ไม่ใช่ตาเห็น ตารู้ ความคิดเห็น ความคิดรู้

สิ่งที่ทำอยู่นี่คือความคิดรู้ ไม่ใช่จิตรู้

ถ้า “จิตรู้” มันต่างกับความคิดรู้ได้อย่างไร ความคิดรู้ความคิดต่างๆ ที่เราเห็น มันความรู้ ความรู้สึกธรรมดา แต่ถ้า “จิตรู้” มันสะเทือนหัวใจ มันสะเทือนจิต มันสะเทือนกิเลส ถ้า “จิตรู้” นะ.. อึ๊ก.. โอ้โฮ.. มันสะเทือนมากนะ มันสะเทือนขั้วหัวใจเลย ถ้าจิตเห็นกาย จิตเห็นจิต มันสะเทือนมาก

แต่นี่เราเอาความคิดเห็น ความคิดไม่ใช่จิต อาการของจิต แล้วมันไปรู้ไปเห็น การสร้างภาพ สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา พอสร้างขึ้นมา มันก็เป็นกระบวนการของความรู้สึกนั้นออกไป มันไม่เป็นความจริง

แต่ถ้าเป็นความจริง สิ่งที่พูดมาตั้งยาว จะให้เห็นว่า ถ้าทำตามความเป็นจริงนี่มันต้องลงทุนลงแรง มันต้องทำจริงๆ มันต้องทุกข์ว่างั้นเลย ไม่ใช่ทุกข์นิยมนะ ไม่ใช่ซาดิส จะทำร้ายตัวเองนะ ไม่ใช่พวกเรานี่คนที่จะทำให้ตัวเองเจ็บปวด ตัวเองลำบากลำบนนะ

แต่ถ้าเราไม่ทำอย่างนี้นะ กิเลสมันหลอกเรา อะไรรู้ไหม “ตายนะ ลำบากนะ” เราก็ยอมมันแล้ว ศิโรราบกับกิเลสบอกว่า “ลำบาก” กิเลสบอกว่า “จะตาย จะพิการ” เราศิโรราบเลย กิเลสมันใช้อาวุธแค่นี้ กิเลสมันใช้กลอุบายเท่านี้เอง แล้วเราก็นอนให้มันขยำ แต่เวลามันจะตาย ทุ่มเข้าไป.. ทุ่มเข้าไป.. ทุ่มเข้าไป

เพราะมันเป็นประสบการณ์ของเราไง เวลาอดอาหารมันจะตาย “อะไรจะตายก่อน.. ขอดู ขอดูใครตายก่อนวะ” ไม่เห็นมีเลย “อะไรจะตายก่อน” มันขึ้นมาจริงๆ นะ มันจะขึ้นมาเลยนะ อดอาหาร “มึงตายแล้ว มึงจะต้องตายแน่ๆ เลย มึงต้องตายแล้ว” เข่าจะอ่อนนะ พอถึงพอมันไปคิดหลายวันเข้า “ขอดูสิ อะไรตายก่อน ตายมันเป็นอย่างไร” ไม่มี! ฮึดได้ ๒-๓ วัน ฮึดได้อีก พอฮึดขึ้นมาแล้วมันก็สู้ไป ๒-๓ วัน

แต่เราก็เข้าใจได้ใช่ไหมว่า ร่างกายมันต้องการอาหาร พอเราผ่านที่มันต้องการให้เราเลิก เราไม่เลิก เราสู้ไป พอเสร็จแล้ว พอเราสู้ได้แล้ว เราเองต่างหากบอกว่า “เอ้อ.. พรุ่งนี้ฉันข้าวเถิด” เราเองต่างหากเห็นว่ามันได้ผลแล้ว คือว่าสิ่งที่มันเอามาปิดกั้นหลอกลวงเรา มันหลอกเราไม่ได้ เราเคลียร์เหตุผลนี้เสร็จแล้ว เราต่างหาก “ไป.. กินข้าว” เช้าค่อยออกมาบิณฑบาตกินข้าว

ถ้ามันยังบอกว่า “ต้องไม่ให้กิน..” สู้กับมัน

นี่เวลาสู้กับตัวเองมันมีเหตุการณ์อย่างนี้มาตลอด

แล้วเวลาเขาปฏิบัติกัน เขาจะปฏิบัติกันด้วยความเห็น ความที่เขาคิดที่เขาเห็นน่ะ กิเลสสั่งหมดเลย กิเลสสั่งให้ทำ กิเลสสั่งให้คิด กิเลสสั่งให้ทำงาน ทั้งๆ ที่ว่าเป็นธรรมะนะ แต่ถ้าพวกเราทำกัน พอมันชนะตัวเอง เพราะธรรมะคืออะไร? ธรรมะคือการเอาชนะตนเอง การเอาชนะความคิด การเอาชนะสิ่งที่บังคับความรู้สึกเราได้หมดเลย นั่นคือธรรมะ

แต่นี่มันคิดออกมาจากเราเลย แล้วอ้าง! อ้างว่าเป็นธรรมะ เอาธรรมะเป็นฉากบัง แต่กิเลสอยู่เบื้องหลัง อ้างอิงว่าเราทำตามนั้น แล้วก็สร้างภาพว่าเป็นธรรมๆ เป็นธรรมๆ แล้วว่า ง่ายๆ ง่ายๆ ง่ายๆ.. โอ้โฮ.. อย่างพวกนักเขียนนวนิยายเขาสร้างธรรมะได้เยอะแยะเลย แล้วเขาจะสร้างนิพพานให้จิตเขาได้มหาศาลเลย...มันไม่เป็นความจริง!

ถ้าเป็นความจริงน่ะ.. เป็นความจริงมันออกมาจากใจเลยล่ะ ผลออกมาจากใจนะ

ดูสิ จิตใจที่สูงกว่ามันจะชักจิตใจที่ต่ำกว่าขึ้นมา อย่างเช่นอย่างนี้ (มันสังเวชนะ) ดูสิ ครูบาอาจารย์ท่านบอกท่านบรรลุธรรมนะ โอ้โฮ.. นั่งน้ำตาไหลพรากๆๆ.. มันสังเวชน่ะ มันสังเวชถึงการเกิดและการตาย ขนาดการตายการเกิดของเรายังสังเวชขนาดนี้แล้วน่ะ แล้วคิดดูสิ ที่เขานั่งอยู่นี่เขาเกิดตายเหมือนกันน่ะ แล้วเขาหวังอะไร แล้วเราจะเอาสิ่งนั้นมาเป็นผลประโยชน์ของเราเหรอ แล้วเราจะทำให้เขารู้ถึงการเกิดและการตายของเขา อย่างนั้นสำคัญไหม อันนั้นสำคัญกว่าเยอะเลย

เวลามันไปรู้ไปเห็นมันพรากๆ เลยนะ

นี่มันย้อนกลับมาถึงใจ ใจอันละเอียดอันนี้ ถ้าเราสู้.. จะบอกว่านะ แล้วมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ มันเหมือนกับ.. ถ้าพูดถึงโบราณเรา สมัยโบราณ ลูกเจ๊กเรา พ่อแม่นี่เสื่อผืนหมอนใบมาจากเมืองจีน สร้างเนื้อสร้างตัวได้นะ เดี๋ยวนี้เด็กๆ น่ะนะ ขนาดพ่อแม่โอ๋ขนาดไหน มันยังทำกินไม่เป็นเลย

ปฏิบัติเหมือนกัน รุ่นพ่อรุ่นแม่เรา หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ ทุกข์น่าดูเลยนะ

เราไปอยู่กับครูบาอาจารย์ เราไปอีสานใหม่ๆ เราไปสืบค้นไง เวลาท่านสอนเรา เราไปถึง

“ไอ้นี้ทำไปเพราะอะไร.. นี่ทำเพราะอะไร.. นี่ทำเพราะอะไร”

“กัปปิยัง กะโรหิ” หลวงปู่มั่นท่านเห็นในพระไตรปิฎกแล้ว สมเด็จครูบาอาจารย์ท่านไม่ให้ทำนะ สิ่งที่เรามาได้ “กัปปิยัง กะโรหิ” เพราะว่าหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ฝั้นไปพูดกับสมเด็จที่วัดป่าสาละวันน่ะ เปิดพระไตรปิฎกกันเลย ในพระไตรปิฎกบอก พีชคาม ภูตคาม พีชคามคือพรากของเขียวเป็นอาบัติ ภูตคาม มันมีอยู่ของมัน มันมีสิทธิเกิด นี่เป็นภูตคาม แล้วภูตคาม ภิกษุขบให้มันแตกหรือเคี้ยวแตกมันเป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน ในพระไตรปิฎกบอกว่าให้ทำ “กัปปิยัง กะโรหิ”

ทำกัปปิยัง กะโรหินะ สิ้นสุดกระบวนการ ถ้ามันแข็งมาก อย่างเช่นพริกไทย พริกไทยให้ใช้ไฟจี้ พระไตรปิฎกบอกไว้ชัดๆ เลย

“เอ้อ.. จริง อ้าว.. ทำก็ได้”

ไม่อย่างนั้นทำไม่ได้นะ

นี่เสื่อผืนหมอนใบ กว่าครูบาอาจารย์จะทำชีวิตปกติที่เราใช้กันที่ว่าเราปัจจุบัน เมื่อก่อนทำอย่างนี้ ฝ่ายปกครองเขาไม่ยอม

เขาบอกว่า “เพราะประเพณีสงฆ์เขาไม่ทำกันแล้ว” เพราะเมื่อก่อนเรื่องอาสนง อาสนะ ไม่มี แล้วครูบาอาจารย์ท่านมารื้อค้น รื้อฟื้นขึ้นมา คำว่า “รื้อฟื้นขึ้นมา” ฝ่ายปกครองที่เขามีอำนาจ แล้วเราคิดกันก็คิดกันแคบๆ ว่ามีอำนาจ คืออำนาจปัจจุบัน นี่อำนาจรัฐ มหาเถรสมาคม

แต่เมื่อก่อนไม่ใช่อย่างนี้นะ เมื่อก่อนสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์นะ เจ้าคณะภาคมีสิทธิย้ายผู้ว่า เจ้าคณะภาคนี่นะ เจ้าคณะมณฑลน่ะ ผู้ว่านี่สั่งย้ายได้เลย คิดดูว่าเจ้าคณะภาค แล้วมหาเถรสมาคมจะมีอำนาจแค่ไหน แล้วไอ้พระบ้านนอก ไอ้พระที่มีไม่มีวุฒิภาวะมาทำอะไรเกินหน้าเกินตา

โธ่.. หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ นะ ที่อุบลฯ น่ะ ที่สมเด็จจะจับ แล้วสั่งชาวบ้านไม่ให้ใส่บาตร หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ ต้องหนีออกจากอุบลฯ มานครพนม ขึ้นมา เข้ามาสกลฯ เข้ามา

เสื่อผืนหมอนใบ แต่สมัยก่อนนะ.. พวกเรามันแบบว่าพ่อแม่โอ๋มาจนทำอะไรไม่เป็นแล้ว พอโอ๋มาจนทำไม่เป็นแล้วเห็นเขาทำกันนะ “ทำทำไม.. ทำไมต้องทำตัวอย่างนี้ ทำไมต้องทำให้ลำบาก” แต่เราไปศึกษามา ของที่จะใช้จะได้มาแต่ละชิ้น เพราะถ้าเราไปทำ ประสาเรา คณะสงฆ์ไม่ทำอยู่ เราไปทำ มันมีการจุดเด่น อย่างที่ว่าสิ่งที่ทำมาไม่ได้คิดเอง

หลวงตาท่านพูดบ่อย “เราไม่เคยกลัวอะไรเลย เพราะสิ่งที่ทำนี้ ไม่ได้เราคิดขึ้นมาเอง มันมีที่มาที่ไป มันมีหลวงปู่มั่นเป็นผู้ฟื้นฟู แล้วเป็นผู้บุกเบิกมา เราทำตามหลวงปู่มั่น เราทำตามครูบาอาจารย์” นี่หลวงตาท่านพูดอย่างนี้นะ

เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูดน่ะ ท่านจะพูดถ่อมตน ครูบาอาจารย์นะ ที่เป็นคุณธรรมน่ะ ท่านจะพูดให้เราต่ำๆ ไว้ พูดอ่อนน้อมถ่อมตน แต่พูดด้วยความจริงจังนะ แล้วถ้ามีเหตุการณ์นี่เผชิญได้ คือไม่กลัวไง ของจริงอ่อนน้อมถ่อมตน เราเป็นเด็กๆ เราเป็นพระเล็กน้อย เราเป็นพระพื้นๆ แต่ความรู้ในใจไม่อ่อนน้อมถ่อมตน

อยู่กับครูบาอาจารย์มา เราไปค้นคว้ามา นี่พูดถึงผลจากข้างนอก แล้วผลจากข้างในล่ะ

เวลาปฏิบัติไป หลวงปู่มั่น เวลาปฏิบัติไป ท่านเห็นไปหมด รู้ไปหมด นี่สิ่งที่รู้ สิ่งที่เห็น แล้วบอกว่าไม่มีๆ มันเป็นไปได้อย่างไร แล้วถ้ามี เราไปติดมัน เราก็เสียอีก ถ้าเราไปติดมัน มันก็ฤๅษีชีไพรเท่านั้นเอง พอจิตสงบก็เห็นนิมิต ฤๅษีชีไพรเหาะเหินเดินฟ้าได้ กาฬเทวิลระลึกอดีตชาติได้ ๔๐ ชาติ อนาคตได้ ๔๐ ชาติ ไปนอนอยู่บนพรหมได้ กาฬเทวิลนะ พระพุทธเจ้ายังไม่เกิดนะ แล้วมันมีอะไร มันมีอะไร มันเป็นฌานโลกีย์ มันมีอะไร แต่เราก็ไปตื่นเต้นกับฌานโลกีย์

พระพุทธเจ้านี่สุดยอดมาก พุทธบัญญัติไว้เลยนะ “ภิกษุห้ามอวดอุตริมนุสธรรม” ถ้าอวดอุตรินะ ธรรมที่เกิดเหนือมนุษย์ ธรรมที่เป็นอย่างนี้ ถ้าเราอวดแล้วเรารู้แล้วเราเอามาเชิดชูกันนะ ศาสนานี้ไม่มีค่าเลย เพราะฤๅษีชีไพรเขาทำได้แล้ว ฤๅษีชีไพรเขารู้หมดแล้ว อภิญญา ๖ มันทำได้หมดแล้ว

แล้วพอมาในสมัยปัจจุบัน ถ้าพูดถึงเอาอภิญญา ๖ มาเป็นหลักนะ ศาสนาไม่มีค่าเลย เพราะเหาะ ก็ขึ้นเครื่องบิน หูทิพย์ ก็ใช้โทรศัพท์ เพราะสิ่งอย่างนี้ถึงเวลาวิทยาศาสตร์มันเจริญขึ้นมา มันพิสูจน์ได้ไง มันทำได้เหมือน วิทยาศาสตร์ทำได้หมด เอ็งดูเขาเล่นไอ้นี่ (ไอ้อะไรนะ) ไอ้เครื่องร่อน เห็นไหม เขาเหาะสบายเลย เทคโนโลยีทำได้หมด แล้วศาสนามันจะเหลืออะไร วิทยาศาสตร์มันทำได้ มันพิสูจน์ได้เรื่องฌานโลกีย์ เรื่องพลังงาน เรื่องต่างๆ พิสูจน์ได้หมดเลย

แต่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์อริยสัจได้! การเกิดและการตายให้หมอหาจนหัวจนแตกเลย ให้หมอวิจัยจนหมดหมอเลย...เป็นไปไม่ได้ มันเป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าไม่มรรคญาณ เพราะเครื่องมือแพทย์ เครื่องมือแพทย์เครื่องมือที่มันละเอียดนะ ดูสิ อย่างโรค อย่างการผ่าตัด ในเครื่องมือผ่าตัด เครื่องมือต่างๆ ไอ้นี่ก็เหมือนกัน โสดาบันน่ะ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรค อนาคามรรค อรหัตมรรค ดูเครื่องมือแพทย์สิ

โสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรค ต่างกันอย่างไร?

สกิทาคามรรค อนาคามรรค ต่างกันอย่างไร?

อนาคามรรค อรหัตมรรค ต่างกันอย่างไร?

ทำไมสมาธิในโสดาปัตติมรรค ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ทำไมสมาธิในสกิทาคามรรค ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ทำไมสมาธิในอนาคามรรค ๗๕ เปอร์เซ็นต์ สมาธิในอรหัตมรรค ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ สมาธิ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ กำลังของสมาธิเต็มที่เลย กำลังของสมาธิในโสดาปัตติมรรค ๒๕ เปอร์เซ็นต์ แต่นี่เอามาเทียบกันแบบโสดาปัตติมรรค กับอนาคามรรค หรือมรรคที่ละเอียด

แต่ถ้าในปัจจุบันของเรา ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์หมด ในโสดาปัตติมรรคต้องไป ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ จะไป ๒๕ เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ เห็นไหม ถ้าเป็น ๒๕ เปอร์เซ็นต์ปั๊ป อีก ๗๕ เปอร์เซ็นต์นะ กิเลสกระทืบตายเลย มันเป็น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ของโสดาปัตติมรรค แต่ใน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ของโสดาปัตติมรรคน่ะ ไปเทียบกับสกิทาคามรรคมันต่างกัน ในสมาธิ-ในปัญญาของโสดาปัตติมรรค ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ของเขา สกิทาคามรรคก็ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ของเขา อนาคามรรคก็ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ของเขา อรหัตมรรค ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ของเขา แต่ความหยาบ-ละเอียดต่างกันมากๆ

แต่ทางโลกก็ไม่เข้าใจอีก พูดถึงโสดาปัตติมรรค สกิทาคามรรค อนาคามรรค ก็พูดมรรค ซับๆ ซ้อนๆ พูดวนพูดเวียน พูดไม่เข้าใจ...ก็มึงไม่เคยทำ ถ้ามึงเคยทำมึงจะรู้เลย เหมือนเครื่องมือแพทย์เลย เครื่องมือแพทย์อย่างหยาบใช้รักษาอย่างหยาบ เครื่องมือแพทย์อย่างกลาง อย่างละเอียด อย่างละเอียดสุด โรคมันละเอียดลึกซึ้งต่างๆ กัน

ทีนี้เวลาปฏิบัติ เวลาลูกศิษย์มานี่ “โอ๋.. หลวงพ่อละเอียดมาก ปัญญาละเอียดมาก”

“เออ.. มึงทำไปเถอะ ไอ้ละเอียดมากๆ พอมันเข้าไปอีกนะ.. เออ!”

หลวงตาท่านพูด “จิตนี้ว่างหมดเลย.. จิตนี่ว่าง.. ขนาดเพ่งเข้าไป ภูเขาทะลุหมด.. ว่างหมดเลย.. จิตนี้ทำไมมันมหัศจรรย์นัก จิตนี้ว่างหมด โลกนี้ว่างสว่างไปหมดเลย ภูเขาเลากาทะลุหมด มองเลือนๆ น่ะ ไม่มีเลย จิตว่าง”

แต่พอมันจับได้ “ความว่างความสว่างนี้เกิดจากจุดและต่อม”

แล้วพอมันทำลายจุดและต่อมนั้นเสร็จ ความว่างที่จิตมหัศจรรย์นี่เป็นกองขี้ควาย ทีแรกเข้าไป ว่าง มหัศจรรย์มาก “จิตนี้ ทำไมมหัศจรรย์ ลึกล้ำ ลึกซึ้งนัก จิตนี้”

โอ้โฮ.. รำพึงรำพันนะ เวลาเข้าไปจับต้องได้น่ะ พอมันข้ามพ้นไปนะ กองขี้ควาย ถึงเหมือนกองขี้ควายเลย สิ่งที่เหนือพ้นไปมันลึกลับกว่าเยอะเลย

คนที่ปฏิบัติไปมันเห็นอย่างนี้ มันรู้อย่างนี้ มันต้องทำอย่างนี้ ทีนี้พอทำอย่างนี้แล้ว การทำอย่างนี้มันจะทำสะเพร่าได้ไหม จะมาทำสักแต่ว่า ทำเล่น ทำหัวกันอย่างที่เขาทำกันอยู่ มันจะเป็นไปได้ไหม แล้วเวลาเขาบอกนะ “ทำง่ายๆ ทำไมต้องไปทุกข์ไปยากนั่นน่ะ”

เราฟังแล้วเราเศร้าใจนะ

ในปัจจุบันนี้ เสื่อผืนหมอนใบ เราลงทุนลงแรงมาเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว ลูกหลานเราก็อยากจะให้มันยืนได้ในสังคมใช่ไหม ก็ต้องให้มันขยันหมั่นเพียรของมันขึ้นมา แล้วถ้ามันไม่ขยันหมั่นเพียร เราก็ต้องกระตุ้น เราก็ต้องมีวุฒิภาวะที่จะส่งเสริมมัน

แต่นี้สังคมบอกว่า “ไม่ต้องทำ ไอ้เสื่อผืนหมอนใบ มันสมัยพ่อแม่เรา มันมาลำบากก็ลำบาก สมัยเราไม่ต้อง ก็นอนอย่างนี้ นอนจมกองกันอยู่นี่” แล้วมันจะไปไหนกัน แล้วศาสนามันจะไปไหน เสื่อผืนหมอนใบของพ่อแม่เรา เขาก็เป็นสมบัติของพ่อแม่เรานะ สิ่งที่เราทำอยู่นี่คือสมบัติของเรานะ ถ้าเราไม่ทำของเรา เราก็จะไม่ได้สมบัติของเรา มรรคผลมันเกิดจากเรานะ เราจะไปกินบุญของพ่อแม่ได้อย่างไร กินบุญของพ่อแม่คือสายบุญสายกรรม คือผลของวัฏฏะ วัฏฏะการเกิดและการตาย การเวียนเกิดเวียนตายนี่ผลของวัฏฏะ นี่เป็นสายบุญสายกรรม

แต่มรรคผลนิพพานมันต้องสร้างด้วยตัวเอง มันไม่เกิดจากการพ่อแม่ให้หรือเราให้พ่อแม่

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าถึงมาเอาพระเจ้าสุทโธทนะ เอาหมดเลยทั้งครอบครัว เอาให้พ้นให้หมด แล้วต้องมาเทศน์สอนเอา ดึงเอาขึ้นไป แล้วเราจะทำอย่างไร

นี้จะบอกว่า “ง่ายๆ” เป็นไปไม่ได้นะ ทีนี้เขาชอบกันอย่างนั้น เหมือนกิเลสมันชอบอย่างนั้นใช่ไหม ครูบาอาจารย์ที่ท่านสอนอย่างนั้น ท่านก็เห็นว่า “ง่ายๆ” ง่ายๆ มันก็เป็นเรื่องของสัญญาอารมณ์ เรื่องของโลกสร้าง ถ้าเรื่องของธรรมะสร้างนะ เราจะทำของเราอย่างนี้

จะเอาต่อเหรอ.. มีอะไรอีกไหม ใครมีอะไร ไม่มีอะไรจบก่อน เอวัง เนาะ