ดวงตาเห็นธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๓
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.หนองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ทุกคนปรารถนาจะมีดวงตาเห็นธรรมใช่ไหม ทุกคนปรารถนาจะมีดวงตาเห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรมมันก็เข้าถึงธรรม ทุกคนปรารถนาตรงนั้น ทุกคนมีตา แต่ตาเรา ตาเรา ตาของมนุษย์ ตาของปุถุชน ตาถ้าเปรียบเหมือนว่าตาไม่มี มันก็มี ถ้าว่าตาเสีย ตาไม้ไผ่ ตาไม้ก็ไม่ใช่ แม้แต่ตาบอด-ตาใสไง เห็น ดู รู้ความเคลื่อนไหว แต่มันไม่สะเทือนหัวใจไง
ปรารถนามีดวงตาเห็นธรรม ตาก็มีอยู่ แต่ไม่เห็นธรรม เห็นแต่ความทุกข์ เห็นแต่ความยึดมั่นถือมั่น เวลามันมองออกไป ปรารถนามีดวงตาเห็นธรรม เพราะเราไม่มีสติสัมปชัญญะ บุญญาธิการของเราไม่เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็แล้วแต่ ดูสิ เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะนะ แล้วก็เขาบำรุงบำเรอเพื่อจะไม่ให้ออกมา ไม่ให้ออกมาคือว่าธรรมดาในโลกสงสารก็อย่างนั้นน่ะ พ่อลูกกัน ในราชวงศ์ก็ต้องการให้อยู่ปกครองบ้านเมืองไป บำรุงบำเรอกันไว้ไม่ให้เห็นเลยนะ ให้มีแต่ความสุขอยู่ตลอดเวลา
แต่ยมทูตทั้ง ๔ ความเกิด เทวดาแปลงมาเป็นคนเกิด เกิด แก่ เจ็บ ตาย คนเป็นอย่างนั้นมีหรือ ขนาดแค่นี้ยังงงเลยนะ นึกว่าเกิดมาแล้วก็เป็นเราตลอดไปไง นี่ความเข้าใจ เพลินอยู่ในโลก ก็ถึงว่าเกิดมาแล้วก็จะเป็นอย่างนั้นตลอดไป แต่ว่าพอยมทูตมาแสดงให้เห็นว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันมีความสลดสังเวช มันมีความคิด ทั้งๆ ที่ไม่มีศาสนานะ
พระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเจ้าชายสิทธัตถะอยู่ แต่ก็มีความสะเทือนใจ นี่ปัญญา ตาของปัญญาชนไง ผู้ที่มีปัญญา ความสังเกตสอดรู้ของตา ความสังเกตสอดรู้เข้าไปมันสะเทือนถึงหัวใจ ความสะเทือนถึงหัวใจ ดวงตาเห็นธรรมคือดวงตาดวงนั้นไง ดวงตาของใจไง นี่ธรรมมันสะเทือนหัวใจ
เพราะตานี้มันเป็นอายตนะ จักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณรับรู้เข้าไปแล้ว วิญญาณรับรู้ออกไป เพราะว่าเป็นมนุษย์ แต่มนุษย์ในก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ยังไม่มีศาสนา ยังเรียกกันไปต่างๆ นานา จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกแสวงหาโมกขธรรม จนตรัสรู้แล้วจึงบัญญัติออกมา บัญญัติออกมาเป็น จกฺขุํ จักขุวิญญาณ จกฺขุํ ตากระทบรูป วิญญาณเกิดขึ้น นี่มันเป็นตาเปลือกๆ มันเป็นการเข้ากระทบวิญญาณ
วิญญาณนี้ห่อหุ้มใจอยู่อีกชั้นหนึ่ง ใจของเราห่อหุ้มไปด้วยอะไร ใจของเราห่อหุ้มไปด้วยอารมณ์ อารมณ์ที่ห่อหุ้มใจอยู่ นี่บัญญัติออกมาว่าเป็นขันธ์ ๕ เป็นขันธ์ ๕ ที่ปกคุมใจอยู่ ทีนี้ปกคุมใจอยู่นี่เป็นธรรมชาติของมัน แต่มันมีอีกส่วนหนึ่งที่ว่ามีอำนาจมาก ควบคุมใจนี้ คืออวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาคือตัวกิเลส ตัวกิเลสที่อยู่ในหัวใจ ปกคลุมไปสอดรู้เข้าไปยึดอำนาจหมด ในการดำเนินการของขันธ์ทั้งหมด ในความรู้สึก ของรูป ของอารมณ์ ของใจนั้นไง
มันถึงว่า ตาอันเป็นตาของปุถุชน ตาของเรา ตาของเราเป็นตาอย่างนี้ มันถงว่าไม่เห็นธรรม มันถึงเห็นแต่โลกไป ความเห็นของโลก ความเห็นของโลกเขาคือความเห็นของเรา โลกเป็นหมู่สัตว์ ความเห็นของโลกมันต้องเห็นความยึดมั่นถือมั่น ความกอบโกยเข้ามา เป็นเจ้าอำนาจ เป็นอยากได้อยากดี อยากทั้งหมด ความอยากอันนั้น เป็นตัณหาความทะยานอยาก ตัณหาความทะยานอยากหามา หามาเพื่อความทุกข์ของตัว
แล้วหาเป็นหามา คิดขึ้นมาคิดเป็นอารมณ์ก่อน พอคิดขึ้นมาเป็นอารมณ์แล้วถึงออกไปแสวงหา กระทบออกไปถึงแสวงหาวัตถุเข้ามา แสวงหาวัตถุเข้ามาก็ย้อนกลับมาให้ทุกข์กับตัวเอง ต้องรักษามันอีก นี่ความทุกข์เข้ามา แล้วความจริงๆ แล้วชีวิตคืออะไร
ชีวิตเกิดขึ้นมาเราปรารถนาความสุขกันหมด ชีวิตมันคืออะไร ชีวิตนี้ ความสุขของใจ อาหารของใจ เห็นไหม ความวิเวก ความสงบ ความสงัดเป็นความสุของของใจ ความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมอันนั้นเป็นเรื่องของกิเลส เป็นเรื่องของเจ้าวัฏจักรที่หลอกลวงให้เราคิดฟุ้งไป แล้วโลกก็เป็นแบบนั้น โลกนี้ประกอบด้วยแสง สี เสียงหมดเลย เราหลงไปในโลกทั้งหมด แสง สี เสียง ความคิดต่างๆ นั้นเรื่องของโลก เราก็ไปกับเรื่องของโลกทั้งหมดเลย ความคิดของโลกก็เข้ากับโลก มันเลยไม่เป็นอาหารใจไง นี่มันถึงไม่เห็นธรรม
เพราะสิ่งปกคุมอยู่ทั้งหมด แล้วเราตามสิ่งนี้ออกไป สิ่งนี้ออกไป เราเชื่อว่าเราคิดถูก นี่ความเห็นของเรา ความเห็นของเรากับความเห็นของพระพุทธเจ้าคนละอัน ความเห็นของพระพุทธเจ้า ให้สละ ให้ละ ให้วาง เรื่องของโลกเป็นเรื่องของโลก เราเกิดมาแล้วเราอาศัยโลกนั้นไป ถึงว่าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติแยกออกมาจากโลกให้เป็นธรรม แยกออกจากโลกมา โลกเขาเป็นไป เราไม่เป็นไปกับเขา แต่ต้องอาศัยไปกับเขา เพราะเครื่องมืออันเดียวกัน
นี่มันแปลกประหลาดมหัศจรรย์ตรงนี้ ตรงเครื่องมือที่ใช้นี้เป็นอันเดียวกัน ถ้าใช้เป็นโลกเป็นโลกไป ถ้าใช้เป็นธรรมเป็นธรรมมา ถึงต้องหาความว่าจุดพอดีว่าจะแยกเข้ามาเป็นธรรมไง ทาง ๒ แพร่งอยู่ตรงไหน ทาง ๒ แพร่งของโลกเขาที่เราเป็นอยู่นี่มันเป็นโลกทั้งหมด มันไม่มีทาง ๒ แพร่ง มันถึงต้องมีสุตมยปัญญา
เชื่อในศาสนา เชื่อแล้วพาใจเข้ามา ความเชื่อนี่ดูดดื่มให้ใจเข้ามา พอเชื่อเข้ามาแล้ว วิธีการจะทำให้กิเลส คือทำให้อวิชชาที่มันปกคลุมใจอยู่ เป็นเจ้าวัฏจักร เป็นเจ้าความคิด ความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมที่มันเป็นทางของโลก ที่มันไปกับโลกเขาทั้งหมด มันไปกับโลกเขาทั้งหมด มันประสานกันได้ทั้งหมดนะ ถ้าเรื่องความคิดของโลก คุยกันที่ไหนก็รู้เรื่องกันไปหมด ขนาดว่ามองสบตากันยังเข้าใจว่ามีความปรารถนาอย่างไร นี่เรื่องของโลกเป็นไปอย่างนั้นทั้งหมดเลย
แล้วใจเป็นอยู่นี่มันไม่มีทาง ๒ แพร่ง มันเป็นทางแพร่งเดียว มันเป็นเรื่องของโลกทั้งหมด มันเป็นความคิดธรรมชาติของธรรมชาติ อย่าว่าแต่มนุษย์เลย สัตว์มันก็ยังรู้ สัตว์มันยังเป็นไปได้ตามสัญชาตญาณของมัน นี่ก็เหมือนกัน มนุษย์ แล้วว่าเป็นผู้มีสมองใหญ่กว่าสัตว์ เป็นสัตว์ประเสริฐ แต่มันก็ยังเป็นไปตามธรรมชาติของโลกเขาทั้งหมด มันไม่ถึง ไม่มีทาง ๒ แพร่ง มันเป็นทางแพร่งเดียว
ถึงพอเชื่อศาสนา มาศึกษาศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ปล่อย ให้ละให้วาง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กายกรรม การที่ว่า มันคิดจนขนาดว่าไปหมดแล้วถึงออกมาเป็นกายกรรม-วจีกรรม เพราะความคิด ความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมในใจ นอนคิด นั่งคิด จินตนาการโครงการต่างๆ ที่เราจะแสวงหามานี่มันคิดออกมาแล้ว ความคิดๆ มาแล้วรอบหนึ่ง เผาใจเราแล้ว เบียดเบียนตนก่อน เบียดเบียนตนก่อน
พระพุทธเจ้าสอนว่า ไม่เบียดเบียนตนและไม่เบียดเบียนผู้อื่น อันนี้เบียดเบียนตนก็ไม่รู้ เพราะเบียดเบียนจนเข้าเป็นความพอใจ ความเบียดเบียนนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าความเบียดเบียนตน เป็นความคิด เพราะว่าความเป็นอยู่ของเรามันแค่ปัจจัย ๔ ปัจจัย ๔ เครื่องอยู่อาศัย การทำงานในหน้าที่การงานเป็นหน้าที่การงาน แต่ในการที่ว่ามันคิดต้องการมากไปกว่านั้น อันนั้นเป็นกิเลส อันนั้นเป็นตัณหาความทะยานอยาก มันคิดส่วนเกินไง
คิดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คิดว่าจะเอา ๓ โลกธาตุนี้เป็นเจ้าของ คิดว่าไม่ยอมเป็นไปตามยมทูตทั้ง ๔ ที่มาแสดงตัว มันคิดขวางโลก มันถึงขวางโลกออกไป คิดแล้วขวางสัจจะ ขวางธรรม มันเป็นโลก โลกขวางธรรม ขวางทั้งหมดเลย มันจะเอาแต่ความพอใจของมัน เห็นไหม เกิดมาแล้วอยู่ค้ำฟ้า ที่เขาเป็นไปก็ให้เป็นไป เราคนเดียวที่จะไม่เป็น ไม่ยอมเป็น มันเลยไม่สะเทือนใจขึ้นมา
เจ้าชายสิทธัตถะยังสะเทือนใจเข้ามา สะเทือนใจเข้ามาแล้วถึงออกแสวงหา ออกแสวงหาทุกข์ยากขนาดนั้น นี่เป็นศาสดาองค์เอก เป็นครูของโลก เป็นครูของ ๓ โลกธาตุ เป็นครูของเทวดา เป็นครูอาจารย์ของเราด้วย ฉะนั้น อันนี้ต้องเป็นแบบอย่าง ความเป็นแบบอย่าง คือความจงใจ ความตั้งใจ ความมุมานะไง ความมุมานะ ใจนี้มันก็ตั้งมั่นขึ้นมา
ใจนี้มันเหลาะแหละ ใจของคนมันเหลาะแหละ มันเหมือนอากาศธาตุ มันเป็นเหมือนลมพัดไป พระพุทธเจ้าถึงเปรียบ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบใจของมนุษย์เปรียบเหมือนช้างสารที่ตกมัน เอาไว้ไม่อยู่กับตัวไง บังคับตัวเองไว้ไม่ได้ ช้างสารที่ตกมันมันมีพลังขนาดไหน นี่มันแยบความคิด ล้มทันทีเลย ไปตามมันหมดเลย นี่มันถึงเป็นไป ใจของเรามันถึงเป็นไป เอาไว้ไม่อยู่
ความเอาไว้ไม่อยู่อันนี้ นี้พอมันคิดขึ้นไปมันก็เป็นมโนกรรมออกไปก่อน เบียดเบียนตน พอใจ ใจคิดใจพอใจ ใจพอใจใจคิดหมด คิดแล้วก็ยึดมั่นถือมั่นออกมาเป็นวจีกรรม เป็นกายกรรม นี่กรรมเกิดแล้ว กรรมเกิดขึ้นมาแล้ว เราทำไปแล้วเรายังพอใจ พอใจในการกระทำของเรา มันไม่สะเทือนใจเข้ามา นี่ทางแพร่งเดียวมันออกไปอย่างนี้ ทางแพร่งเดียว มันเป็นไปประสามันทั้งหมดเลย
ทาง ๒ แพร่ง จะเห็นทาง ๒ แพร่งต่อเมื่อทำความสงบเข้ามาไง ทำความสงบเข้ามาแย่งพื้นที่ของใจ พื้นที่ของใจกิเลสมันนั่งบัญชาการอยู่บนครอบหัวใจทั้งหมดเลย หัวใจอยู่ในอำนาจกิเลสทั้งหมด มันให้คิดอย่างไรก็คิดตามมันไป การศึกษาเล่าเรียนมา การได้ประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตมาควรจะเป็นประโยชน์ของตัว มันไม่เป็นประโยชน์กับตัวเองเลย มันใช้ออกไป มันใช้ประสบการณ์นั้นกิเลสมันพาใช้ พอกิเลสมันพาใช้มันก็ยิ่งผูกมัดเข้าไป ความผูกมัดเข้าไป มากเข้าไป มากเข้าไป นี่ประสบการณ์บางอย่างมันควรเป็นคติแก่ใจ คติแก่เรา มันไม่เป็นคติกับเราขึ้นมาได้เลยเพราะกิเลสพาใช้ไง ถึงต้องทำความสงบเข้ามา
พยายามทำความสงบของตัวเข้ามา ทำความสงบของตัวเข้ามาให้กิเลสนั้นมันเบาบางลงไง ให้กิเลสนั้นมันยุบยอบตัวลง พอกิเลสนั้นมันยุบยอบตัวลง ถ้าทำใจสงบนั้น จิตนี้เป็นสมาธิ จิตนี้ตั้งมั่น จิตนี้ตั้งมั่น นั่นน่ะ เริ่มเห็นทาง ๒ แพร่งไง เริ่มเห็นทาง ๒ แพร่ง...
...ทำความสงบของใจ ใจพอสงบขึ้นมา เพราะกิเลสที่เจ้าอำนาจวาสนาที่มันครอบคลุมใจอยู่ มันสงบตัวลงเฉยๆ ความสงบตัวลงของกิเลส กิเลสสงบตัวลงเพราะว่าอำนาจของธรรมเข้าไปบีบบังคับ อำนาจของธรรม พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ เข้าไปครอบงำ ให้กิเลสนั้นยุบยอบตัวลง นั่นล่ะจะเห็นทาง ๒ แพร่ง ทาง ๒ แพร่งคือจิตมันเริ่มสงบ
พอจิตมันสงบ จิตมันสงบ ดวงตาที่ว่าดวงตาของโลก ดวงตาที่ว่ายุ่งออกไปข้างนอกนี่มันเป็นดวงตาที่ว่ายึดเข้ามา ยึดเข้ามา พอจิตมันสงบเข้าไป นี่ที่ว่า ดวงตาเห็นธรรม ดวงตาดวงเริ่มจิตสงบเข้ามา มันเป็นอิสระเข้ามา กิเลสที่ว่าเคยขับไส เคยใช้ กิเลสเคยใช้เรา เป็นเจ้านายของเรา มันก็มองเข้ามา แสวงหาเข้ามา เป็นของมันทั้งหมด เป็นของมันทั้งหมด มองเท่าไรก็เป็นโลก เพราะไม่เห็น เพราะว่ามันยึดอยู่ มันบังคับบัญชา มันใช้อยู่ ความคิดของเราทั้งหมด มันก็ใช้ของมันอยู่อย่างนั้น
เพราะว่าพุทโธ พุทโธเข้าไป คำบริกรรมเข้าไป อาหารใหม่ไง อาหารจากเดิมมันกินอารมณ์เป็นอาหาร ใจนี่กินอารมณ์เป็นอาหาร กินความรู้สึกของเราเป็นอาหาร มันแสดงตัวเองขึ้นมาไม่ได้ มันเป็นนามธรรมอยู่ แต่พอเป็นรูปธรรม เพราะคิดขึ้นมามันก็เป็นรูปธรรมขึ้นมา มันกินอารมณ์เป็นอาหาร มีแต่ความเร่าร้อนเข้าไป เรากำหนดพุทโธ พุทโธเข้าไป ธัมโม สังโฆนี่เข้าไป กินอาหารแทนไง อาหารใหม่เข้าไป กินอาหารใหม่ อาหารใหม่นี้เป็นธรรมไง ธรรมรส
รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง
รสของความเร่าร้อนที่เราคิดฟุ้งซ่านอยู่ เราคิดออกไปมันฟุ้งซ่านออกไปตลอดเวลา มันให้แต่ความเร่าร้อน ไม่ต้องบอกว่าทุกข์ มันก็เป็นทุกข์โดยธรรมชาติของมัน แล้วก็ยังใช้ร่างกาย ใช้ความคิดจนอ่อนเพลีย อ่อนแรง จนทุกข์ จนไม่รู้จะทำอย่างไร มันก็เป็นทุกข์อยู่ในใจนั้นน่ะ มันไม่สามารถเอาออกได้
แต่เพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ก่อนว่า ทำความสงบเพื่อจะหาทางออกไง ทำความสงบของใจ กำหนดพุทโธ พุทโธเข้าไป มันก็กินพุทโธเป็นอาหารแทนไง จากที่กินอารมณ์เป็นอาหาร กินความคิดของตัว เวลาความคิดแยบผ่านเข้ามา มันจะไปพร้อมกับความคิดนั้นเลย พอพุทโธเข้าไป...ใหม่ๆ จะทำได้ยากมาก เพราะว่าพุทโธเข้าไปมันจืดชืด มันไม่ยอมรับรู้อันนี้ไง
เรากำหนดพุทโธเข้าไปพร้อมกับสติ ถ้าสติสัมปชัญญะคุมอยู่นะ เรากำหนดพุทโธอยู่ พุทโธนี้ชัดเจนมาก เป็นพุทโธ พุทโธ เราเห็นอยู่ พุทโธ พุทโธออกตลอดเวลา แล้วใจเกาะอยู่กับพุทโธนี้ อันนี้เป็นสัมมาไง เป็นงานอันชอบ เป็นมรรค ทางเดินที่ทางชอบ ถ้ากำหนดพุทโธ พุทโธ สติขาดไป ขาดตอนไป ตั้งพุทโธใหม่ ตั้งสติขึ้นมาใหม่ ตั้งขึ้นมาพร้อมกับพุทโธ ถ้าสติตามระลึกตลอดไปอย่างนี้ มันจะเป็นงานขึ้นมา ความสงบจะเกิดขึ้นได้ เพราะสติควบคุมไว้ตลอด
พอความสงบเกิดขึ้นมา ความสงบเกิดขึ้นมาจะเกิดความสุขขึ้นมาแล้ว เกิดความสุขขึ้นมาพร้อมกับความสงบนั้น มันเป็นความสงบด้วย เป็นความสุขด้วย ในขณะเดียวกัน เป็นความเวิ้งว้างด้วย เวลาจิตตั้งมั่นขึ้นมา ดวงตาเริ่มจะลืมตาขึ้นมา ต้องมีดวงตาขึ้นมาก่อน ดวงตาเห็นธรรม
นี่ดวงตายังไม่เห็นธรรม แค่เริ่มหาตาไง เราใช้แต่ตาเนื้อกันมาตลอด ตาเนื้อของเรามองสิ่งต่างๆ ขึ้นไป มองไปด้วยกิเลสทั้งหมด พอตาเนื้อเพราะมองออกไป มันยังไม่เคยสัมผัสความผิด ความถูก สัมผัสถ้าเรามองออกไปอะไรแล้วแต่ ความผิด หรือความชอบ ความไม่พอใจ มันจะสะสมเข้ามาที่ใจ สะสมเข้ามาที่ใจ ตานี่ไปรับเข้ามา รับเข้ามา แต่อารมณ์ขุ่นมัวจะอยู่ที่ใจ แล้วเรากำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธไปจนหัวใจสงบ เป็นทาง ๒ แพร่ง
ทาง ๒ แพร่งหมายถึงว่า ถ้าออกมาทางเก่าก็ฟุ้งซ่าน ถ้ายกขึ้นออกไปอีกทางหนึ่ง คือพยายามมองหาเหตุที่ทำไมทำให้ใจนี่มันฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา มองหาเหตุว่าทำไมใจของเรามันเป็นอิสระไม่ได้ในตัวมันเอง ทำไมมันต้องให้กิเลสบังคับขับไสออกไปตลอดเวลา เห็นไหม ทาง ๒ แพร่งหมายถึงตรงนี้ไง หมายถึงว่ายกขึ้นวิปัสสนา หมายถึงยกขึ้นดูเหตุดูผล ถ้ายกขึ้นได้ ยกขึ้นได้ การก้าวเดินเริ่มเกิดขึ้น ยกขึ้นได้ เพิ่งจะมีดวงตาแต่ยังไม่เห็นธรรม แต่ถ้ายกขึ้นไม่ได้ ดวงตามีอยู่ ดวงตานั้นก็หายไป เพราะสมาธิ การแสวงหาสมาธินี้ สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป สภาวะต่างๆ ไม่มีสิ่งใดคงที่ใน ๓ โลกธาตุนี้ แปรสภาพ แปรปรวนอยู่โดยธรรมชาติของมัน
ความแปรปรวนธรรมชาติของความรู้สึก ความแปรปรวนธรรมชาติต่างๆ มันจะแปรปรวนไปตลอด ความแปรปรวนนี้เป็นของจริงอยู่โดยธรรมชาติไง แล้วพอหัวใจเรานี่มันเกิดตายมาใน ๓ โลกธาตุ มันก็หมุนเวียนมาใน ๓ โลกธาตุนี้ มันหมุนเวียนมา เราก็เหมือนคนหลับหูหลับตามา ไม่เคยรับรู้สิ่งนั้นเลย มารับรู้เฉพาะว่ามีปัจจุบันนี้ไง
พอถึงเกิดความแปรสภาพ เราถึงจะคัดค้านไว้ เราถึงจะไม่พอใจ เราถึงจะพยายามไม่ยอมเป็นไปตามสภาวะนั้น อันนี้เป็นสมุทัย อันนี้เป็นตัณหา ความอยาก ความทะยานอยากอีก มันใหญ่ขึ้นไปเรื่อยเพราะอะไร เพราะเราย้ำคิดย้ำทำว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น นี่ความโง่ของใจเกิดขึ้นจากอะไร เกิดขึ้นจากกิเลสมันพาคิดอย่างนั้น
นี่จิตของคนที่มันโง่ๆ อยู่นั่นแหละ มันสามารถพลิกขึ้นมาให้ฉลาดได้ พลิกขึ้นมาให้ฉลาด เพราะว่าการเทียบเคียงเข้ามาที่ใจของตัว ความเทียบเคียงเข้ามาที่ใจของตัว ใจเป็นอย่างนี้ ใจได้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร แค่กำหนดพุทโธ พุทโธ แค่กำหนดพุทโธเข้ามา แค่จิตนี้สงบขึ้นมา มันยังได้ผลถึงกับความสุขความสงบขึ้นมาพร้อมกัน ความสุขและความสงบที่เกิดมาพร้อมกันนี้มันทรงตัวไว้ได้อยู่ชั่วขณะหนึ่ง แล้วพยายามตั้งมั่น ทำเข้าบ่อยๆ ไง ทำสมาธิเข้าบ่อยๆ กำหนดไปบ่อยๆ การเข้าบ่อยๆ การซ้อนทับขึ้นไปของวัตถุที่ซ้อนทับ ๒ ชั้น ๓ ชั้นขึ้นมา เห็นไหม มันจะซ้อนขึ้นไป มันจะหนาแน่นขึ้นไป
นี้ก็เหมือนกัน จิตเคยกำหนดพุทโธเข้ามา พอมีความสงบได้ มีความสงบได้ นี่สงบเข้ามาบ่อยๆ เข้า จิตจะตั้งมั่น ต้องจิตตั้งมั่นก่อน ถ้าจิตไม่ตั้งมั่นเหมือนเด็กอ่อน เด็กอ่อนทำงานมันเป็นงานขึ้นมาไหม เด็กเล่นมันมีแต่เล่นของมัน มันไม่ทำงานขึ้นมาหรอก มันจะเอาแต่ความสนุกสนานของมัน นี่ใจที่ยังไม่ตั้งมั่น มันก็ยังเสื่อมสภาพอยู่ มันไม่ควรแก่การงาน
เห็นไหม แค่มีดวงตา ดวงตาที่ควรแก่การงาน กับดวงตาที่ยังไม่ควรแก่การงาน แต่ถึงไม่ควรแก่การงาน ดวงตานั้นเปิดขึ้นมาได้ เปิดขึ้นมาได้ เพราะความรู้สึก ความรู้สึกความกระทบกับสมาธิธรรมไง ใจลองได้กระทบหรือว่าเสพสัมผัสกับความเป็นธรรมของใจขึ้นมาโดยเราเอง โดยปัจจัตตัง โดยรู้จำเพาะตน มันเป็นอันเดียวกัน ไม่มีใครจะคัดค้านความจริงในใจเราได้ ความจริงคือความจริงวันยังค่ำ ความปลอมของในใจที่มันเคยฟุ้งซ่านนั่น มันหลุดออกไปชั่วคราว
ความจริงอันนี้เกิดขึ้นไม่ต้องไปถามใครเลย ความจริงที่ว่าใจนี้สงบขึ้นมา แต่ความจริงอันมันไม่ตั้งมั่น มันก็อยู่ได้ชั่วคราว มันอยู่ได้ชั่วคราว มันแปรสภาพอยู่ตลอดเวลา ความแปรสภาพอยู่ตลอดเวลา เราถึงต้องกำหนดพุทโธ ตั้งสติอยู่ตลอดเวลา ความตั้งสติไว้ กำหนดพุทโธเข้าไปเพื่อให้ใจเติบโตขึ้น เติบโตขึ้นเป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นความตั้งมั่น ความตั้งมั่นถึงจะเริ่มแสวงหา
ความแปรปรวนของใจ เหตุผลที่ทำให้ใจนี้อยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ นี่มันก็ต้องมองเข้าไป มันเกิดขึ้นอย่างไร มันดับไปอย่างไร ย้อนเข้ามาดูความเกิดดับของใจ ใจว่ามันเกิดดับ เราเห็นหรือไม่เห็นมันเกิดดับโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว อารมณ์ๆ หนึ่งเกิดดับโดยธรรมชาติของมัน แล้วขณะที่ว่าเราย้อนเข้าไป เราถอยเข้าไป ให้ความเกิดดับนั้นมันต่อเนื่อง
แต่ไม่ได้ต่อเนื่องด้วยตัวมันเองนี่ ต่อเนื่องด้วยพุทโธ พุทโธ ต่อเนื่องด้วยคำบริกรรม ไม่ได้ต่อเนื่องด้วยตัวของเขาเอง ตัวของเขาเองมันยังรักษาตัวมันเองไม่ได้ คำบริกรรมเข้าไป เข้าไป จนจิตนี้เป็นหนึ่งเดียว จิตนี้เป็นหนึ่งเดียว จิตนี้เข้าไปถึงตัวของใจแล้ว นี่ไง ตั้งมั่นขึ้นมา แล้วสิ่งที่มันแปรปรวนอยู่ ที่เคยแปรปรวนอยู่นี้ แปรปรวนอย่างไร นี่ยกขึ้นดูถ้ายกขึ้นดูนะ ถ้าไม่ยกขึ้นดู มันก็ต้องแปรสภาพไปเป็นธรรมดา
อยากจะมีดวงตาเห็นธรรม มีดวงตาแล้วก็ยังใช้งานไม่เป็นไง ใช้งานเป็น ใช้งานให้เป็น ต้องหมั่นเทียบเคียง หมั่นพิจารณาดูของเรา เราต้องพิจารณาใจของเราเอง ใจของเรามันเป็นอย่างไร มันมีความสุขความทุกข์ขนาดไหน ใจของเรานะ ถ้ามันเทียบเข้าไป เทียบเข้าไป ความสุขความทุกข์อันนั้นมันก็เป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรมมันต้องจับต้องได้สิ จับต้องได้เพราะใจนี้เปิดมีดวงตาแล้ว ดวงตาคือเครื่องมือ เครื่องมือนี้เข้าไปเทียบเคียงได้ ถ้าไม่มีแล้วคิดอย่างไรก็เป็นโลก โลกที่เราคิดกันอยู่ทุกวันนี้มันเทียบเคียงแล้ว มันเป็นสุตมยปัญญา
ความคิดของโลกเป็นสุตมยปัญญา เราคิดขนาดไหนมันเคยปล่อยวางได้ ความปล่อยวางจากภายนอก นี่เทียบเข้ามา เทียบถึงปัญญา ปัญญาของสุตมยปัญญา เราศึกษาธรรม พระพุทธเจ้าบอกว่าสิ่งที่เรายึดนี่ผิดหมดเลย เราควรปล่อย เราก็ปล่อย แต่เราปล่อยอารมณ์เปลือกไง อารมณ์สัญญา อารมณ์สังขาร ความปรุงความแต่งอาการของใจ ไม่ใช่ใจ เทียบออกมาถึงว่าเครื่องมือที่ใช้อยู่ สุตมยปัญญา ใช้เครื่องมืออันนี้ไง ปัญญาอันนี้ถึงเป็นสุตมยปัญญา สุตมยปัญญาก็เข้าได้กับอาการของขันธ์ อาการของอารมณ์
ทีนี้ ศึกษาไปมันก็ปล่อยได้ ปล่อยได้ สุตมยปัญญาคือการศึกษาเล่าเรียน มันจำมา ศึกษาของที่มีอยู่ไง ก๊อปปี้ของเขามาในของที่มีอยู่ ก๊อปปี้มาได้ จำขึ้นมาได้ แต่เราไม่สามารถสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาเองได้ ก๊อปปี้ขึ้นมาแล้ว ต้องมาฝึกหัด ฝึกหัดวิธีการทำ ฝึกหัดวิธีการทำว่าให้ปล่อยวาง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ปล่อยวาง ปล่อยวางด้วยวิธีการใด ปล่อยวางด้วยสุตมยปัญญามันก็ปล่อยวาง เราก็ปล่อยวางเข้ามา จนเป็นสัมมาสมาธิอยู่นี้มันก็เป็นสุตมยปัญญาเหมือนกัน เห็นไหม มันเป็นปัญญาเปลือกๆ เข้ามา
แต่ปัญญาข้างใน มันต้องใช้ปัญญาอย่างนี้เหมือนกัน จินตมยปัญญา คือจินตนาการเข้ามา เทียบเคียงนี้เป็นจินตมยปัญญา แต่เพราะมีสัมมาสมาธินี้เข้ามาแล้วด้วย สัมมาสมาธิสร้างขึ้นมา สร้างขึ้นมา มรรคเริ่มก้าวเดินตัวออกไป มรรคจะเริ่มก้าวเดินตัวออกไปเพราะว่ามีพื้นฐาน มีพื้นฐานจากจิตของเรา มีพื้นฐานจากหัวใจ
สิ่งใดๆ ในโลกนี้ เป็นประโยชน์ของโลกเขา ไม่เป็นประโยชน์กับเรา ถ้าเราไม่มีส่วนได้เสียกับเขา แต่เราไม่ได้ส่วนได้เสียกับเขาแต่ใจเราก็ไปขัดข้องหมองใจกับเขา นี่ถึงว่าสิ่งใดๆ ในโลกนี้มันเป็นประโยชน์ มีอยู่ในโลกนี้ เป็นธรรมชาติของโลกเขา โลกนี้ผลัดกันชม สมบัตินี้เป็นของโลก ไม่ใช่ของเรา สมบัติของเราคือหัวใจ
สมบัติของเราคือหัวใจ เพราะเราเกิดนี้ใจพาเกิด ใจพาเกิด ใจเป็นพื้นฐาน เป็นภวาสวะ เป็นภพ ภพเกิด ภพตายข้างนอก เกิดเป็นมนุษย์นี่ภพเปลือกๆ ภพของใจที่มันเกิดดับ เกิดดับในใจ ภพอันนี้สำคัญมาก แล้วเราย้อนกลับเข้ามาที่ภพนี้ เรากลับจะชำระกันที่ นี่ฐานของใจมี มรรคเดินออกมาจากนี้ ถ้าไม่มีตรงนี้มรรคลอยลงมาจากไหน มรรคมาจากฟ้าหรือ บ้านเรือนจะปลูกบนเมฆได้ไหม เป็นไปไม่ได้ บ้านเรือนต้องปลูกลงที่แผ่นดิน มีผืนดินมีดินของเรา เราปลูกบ้านปลูกเรือนขึ้นมาได้ ก่อร่างสร้างบ้านเรือนขึ้นมา
ถ้าจิตนี้เรารักษาจิต จะไม่มีความเสียหายเลย กำหนดพุทโธ พุทโธเข้าไป แม้แต่เปลือกๆ จิตสงบเข้าไปเห็นนิมิต เห็นความกลัวต่างๆ...ส่งออกมา ความส่งออกมาย้อนกลับไปพุทโธ จิตนี้สงบทุกอย่างจะดับหมด ถ้ารักษาจิตดวงเดียวทุกอย่างจะไม่มีความผิดพลาดเลย ย้อนกลับมาได้ เราย้อนกลับไปที่จิตของเรา ย้อนกลับเข้าไปที่จิตของเรา ย้อนกลับไปที่จิตของเรา พอย้อนกลับเข้าไปมันจะปล่อยอารมณ์ทั้งหมด เปลือกข้างนอกจะปล่อยวางไปทั้งหมด นี่หลุดเข้ามาตั้งแต่เปลือกเข้ามาถึงใจของตัวเองเลย
พอถึงใจของตัวเอง นี่ทาง ๒ แพร่ง เริ่มออกทางมรรคไง เริ่มก้าวเดินขึ้นไปทางมรรค เพราะจิตนี้เป็นพื้นฐาน จิตนี้สงบ จิตนี้ควรแก่การงาน ควรแก่การงาน การค้นคว้า การวิปัสสนา สมถกรรมฐานทำใจให้สงบเข้ามาเท่านั้น ใจสงบเขามา สงบขนาดไหนก็อยู่เต็มพื้นฐานของความสงบอันนั้น เพราะจะมีดวงตาเห็นธรรมมันต้องเห็นปฏิกิริยาของการกระทบกันในภายใน ต้องเห็นการเคลื่อนตัวไปของกิเลส
กิเลสขับไสออกไปอย่างไร ต้องเลาะเข้ามา เลาะเข้ามา เลาะจากความที่เราไปยึดติดโลกภายนอก ปล่อยวางจากโลกภายนอกเข้ามา ปล่อยวางโลกภายนอกเข้ามา มันปล่อยนั้นเป็นอาการปล่อยจากวัตถุ ถ้าเราว่าเราปล่อยเข้ามา เราปลดความกังวลของใจลงเป็นชั้นๆๆ เข้าไป แต่ภายในมันไม่เป็นอย่างนั้น ภายในมันเป็นเชื้อ เป็นอวิชชาที่ขับไสออกมา ออกมานะ ออกมาพร้อมกับความคิดไง นี่มันต้องย้อนกลับตรงนั้น
พิจารณาดูกายสิ ถ้าตั้งดูกาย จับกายขึ้นมาแล้วพิจารณาดูกาย จับดูกายเพราะอะไร เพราะกายของเรา ทุกคนต้องรักมาก รักตัวเอง ไม่มีใครจะสามารถทำร้ายตัวเองได้ ตัวเองนี้ต้องเป็นสิ่งที่สงวนที่สุดเลย สุดท้ายกิเลสมันมาอยู่ที่สงวนที่สุดไง สิ่งที่สงวนที่สุดมันก็หลอกไว้ไง หลอกว่าเป็นเรา สิ่งที่สงวนอยู่ที่ว่าปลอดภัยที่สุด มันคิดว่ามันปลอดภัยที่สุด กิเลสมันอยู่ตรงนั้น เพื่อจะหลบไม่ยอมให้เราชำระสะสาง กิเลสฉลาดไหม
นี่เราไม่เห็นตรงนั้น เราถึงไม่เห็นธรรม เห็นธรรมคือเห็นสัจจะความจริงไง
อริยสัจจะ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทุกข์เกิดขึ้นที่ไหน นี่อาการก้าวเดินไปของอริยสัจ อริยสัจเกิดขึ้นได้เพราะเราต้องก้าวเดินออกไป นี่ไง มรรคเกิดไหม ถ้ามรรคไม่เกิดมันเป็นอริยสัจได้อย่างไร ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค...มรรคอยู่ที่ไหน มรรคก็เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ มรรคนี้เป็นความจริงไง มรรคอริยสัจจัง
แต่เปลือกๆ มันก็เป็นเปลือกๆ มา เปลือกๆ ออกมา สุตมยปัญญาออกมา นี่ภาวนามยปัญญาจะเกิดขึ้นจากในอริยสัจนี้ไง นี่มรรคเดินตัวออกไป มรรคเดินตัวออกไปถึงเห็นความเป็นไปของความจริง เห็นความจริงอันนั้น ต้องเห็นความจริงอันนั้น เห็นไหม สิ่งที่ว่าปลอดภัย สิ่งที่ว่ากิเลสมันเข้าไปอาศัยคือกายไง แล้วมันจะไม่ยอมให้เป็นไป มันจะให้คงที่ตั้งมั่นอยู่ แล้วมันเป็นไปไม่ได้โดยความจริง นี่มันเป็นความจริง ๒ ชั้น ชั้นหนึ่งคือเขาจริงในตัวของเขาอยู่ แต่เราเอาความปลอมเข้าไปยึด เราถึงไม่เห็นความจริง
๒ ชั้นเพราะว่านี่เขาจริงอยู่แล้ว เขาจริงของเขา แต่กิเลสมันปลอม ถึงเสริมสร้างทุกอย่างให้เป็นของปลอม ชีวิตนี้ก็ชีวิตปลอมๆ การประพฤติปฏิบัติมาว่าจะเป็นความจริง กิเลสมันก็เปลี่ยนวิธีการให้เป็นปลอมไปให้ได้ไง ปลอมคือทำให้เราล้มลุกคลุกคลานไง ไม่เห็นตามความเป็นจริง เราถึงว่าจะเห็นธรรม จะเห็นธรรม ถ้าไม่เห็นความจริงมันก็ไม่เห็นธรรม
มีความจริงก่อน ความจริงมันเป็นอย่างนั้น แล้วเราไปเห็นสัจจะตามความเป็นจริง สัจจะตามความเป็นจริง เราก็เห็นเป็นจริงมันก็จะปล่อย พอความปล่อยนั้นจึงเห็นธรรม เห็นธรรมคือความแปรสภาพของสัจจะทั้งหมด เห็นไหม มันไม่มีสิ่งใดคงที่อยู่เลย แต่เพราะความเชื่อ ความกิเลสมันปกคลุมเราอยู่ เราถึงว่าร่างกายเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา
การที่เป็นเรานี้มันก็ยึดมั่นถือมั่น ความยึดมั่นถือมั่นมันก็ซ่อนอยู่ในตัวเรานั้นน่ะ ซ่อนอยู่ในจิตเราที่ยึดที่กายนั้น พิจารณากาย ดูความแปรสภาพของกาย ตั้งกายขึ้นมาให้ได้ ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น ทาง ๒ แพร่งไม่มี เป็นโลกทั้งหมด เห็นกายก็เห็นโลกๆ เห็นแบบโลกของเขา คือเห็นยึดมั่นถือมั่นมาตลอด
แต่ถ้าจิตตั้งมั่น นี่ทาง ๒ แพร่ง ยกขึ้น ๒ แพร่งนี้ แพร่งนี้คือว่ายกขึ้นเป็นธรรม ยกขึ้นวิปัสสนาไง สมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐาน ยกขึ้นวิปัสสนามา ยกขึ้นวิปัสสนาหมายถึงว่ามาเห็นกาย เห็นกายจากความข้างในนะ ถ้าเป็นนิมิตส่วนใหญ่ว่าจะเป็นนิมิตก็ได้ แต่ถ้าเป็นนิมิตข้างนอก มันเป็นนิมิตข้างนอก อันนั้นเห็นกายขึ้นมามันไม่สะเทือนหัวใจ เห็นนิมิตเฉยๆ
แต่ถ้าเห็นกายมันสะเทือนถึงหัวใจ ขนพองสยองเกล้าถึงสะเทือนถึงหัวใจ นี่เห็นกาย เห็นเฉยๆ แค่เห็นความจริงนะ นี่มีดวงตาขึ้นมาจากความเป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา ถึงเข้ามาเห็นกาย เห็นกายแล้วต้องเห็นความจริงของการแปรสภาพของกายอีก อันนี้คือวิปัสสนา วิปัสสนาคือการแยกแยะออก ให้ความจริงแต่ละส่วน แต่ละส่วน ให้มันแยกออกจากกัน แยกออกจากกัน อยู่ส่วนของความจริง ความจริงต่างอันต่างจริง ใจก็จริงของใจ จิตก็จริงของจิต กายก็เป็นจริงของกาย
ทุกข์มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ทุกอย่างมันเป็นความจริงที่มันแปรสภาพ มันเดินไปตามสัจจะ เดินไปตามความเป็นจริงของเขา แต่เพราะกิเลสมันไปขวางไว้ทั้งหมดเลย ความขวางเอาไว้ทั้งหมด มันก็ยึดทั้งหมด ยึดทั้งหมดว่าขวางเขาด้วย ยึดเขาด้วย แล้วจะให้มีความสุขเหมือนที่เราคิดด้วย...นี่มันหลอกกี่ชั้น ความหลอกของเรา เรา เพราะเราโดนกิเลสควบคุมอยู่ ความหลอกอันนี้มันก็ไม่มีความเข้าใจใดใดทั้งสิ้น แล้วมันจะไปเห็นอะไรล่ะ ก็เห็นความปลอม แม้แต่มีดวงตาแล้วก็ยังเห็นความปลอม
ในวิปัสสนา ไม่ใช่ว่าวิปัสสนาแล้วจะเป็นความจริงเสมอไป เพราะขณะที่วิปัสสนานี้กิเลสมันขึ้นมาแข่งกับธรรมได้ กิเลสหมายถึงเรา มันต้องการพยายามจะดึงไว้ไง มัน้องการพยายามจะดึงไว้ให้อยู่ในอำนาจของมันตลอดไป ในเมื่อวัฏจักรนี้อยู่ในอำนาจของกิเลส กิเลสนี้เป็นเจ้าวัฏจักร กิเลสนี้ควบคุมมาตลอด แล้วมีสัตว์ตัวไหนที่จะหลุดออกไป ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาก่อน เป็นไก่ตัวแรกที่กะเทาะฟองไข่ออกไป กะเทาะอวิชชานั้นออกไป นั่นกว่าจะเล็ดลอดออกไปจากอวิชชานะ กว่าพญามารแต่ละองค์ แต่ละองค์นะ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำอยู่ ๖ ปี ถึงจะมีดวงตาเห็นธรรม แล้วทะลุถึงที่สุดแห่งธรรม
แต่เรานี่ต้องการมีดวงตาเห็นธรรมเท่านั้น ถ้ามีดวงตาเห็นธรรมแล้วมันจะเป็นไปไง มันจะถึงที่สุดแห่งธรรมโดยเด็ดขาด โดยสัจจะเหมือนกัน สัจจะกับสัจจะก็เข้ากันสิ เพราะเห็นธรรมแล้วต้องถึงที่สุดแห่งธรรมได้ แต่ยังไม่เห็นธรรม เห็นแต่ความปลอมอยู่ แล้วก็เห็นโทษของกิเลสด้วย เห็นโทษของกิเลสที่มันพยายามขับไส พยายามบังคับอยู่ให้อยู่ในอำนาจของมันอยู่นี่ โทษของมัน มันถึงเข้ามาต่อล้อต่อกรกับในวิปัสสนานี้ไง
ในวิปัสสนาอยู่ว่าเราก็ทำอยู่ เราทำวิปัสสนาอยู่ แต่กิเลสก็เข้ามาต่อกรอยู่ตลอดเวลา ต่อกร หมายถึงว่า ทำให้เราพัดเคลื่อนออกไปจากความจริง เห็นความจริงแล้วเห็นไม่กระจ่าง เห็นไม่ตลอด เห็นไม่ทะลุไง ความเห็นทะลุ เห็นกระจ่าง เห็นตลอดไป มันถึงจะเห็นสัจจะอันนั้น เราต้องเห็น เราต้องดู เราต้องเห็นเอง ถ้าเราดูแล้วเราเห็นเอง เราเข้าใจเอง มันจะปล่อยวางไปโดยธรรมชาติ ไม่ใช่ปล่อยไปด้วยความคาดความหมาย ปล่อยไปด้วยความคาดความหมาย เป็นปัญญาที่เรามีส่วนเข้าไป มรรคนี้ไม่เป็นอิสระ มรรคนี้ไม่เป็นธรรมชาติ มรรคนี้ไม่เป็นไปโดยธรรมไง มรรคนี้เป็นไปโดยเรา
แต่เริ่มต้นขึ้นมาต้องมีการก้าวเดินแบบนี้ทุกคน ผู้ที่ปฏิบัติดวงใจทุกดวงไม่เคยทำ ต้องมีความผิดพลาดโดยธรรมชาติของใจในการฝึก ถึงว่าดวงตาของใครเป็นดวงตาของคนนั้น งานของใครเป็นงานของบุคคลนั้น บุคคลนั้นทุกข์ เพราะบุคคลนั้นมีกิเลสอยู่ บุคคลนั้นจะพ้นจากทุกข์ต้องเพราะว่าบุคคลนั้นต้องรู้แจ้งด้วยบุคคลนั้นเอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สามารถจะยกใครออกมาจากกิเลสได้โดยการดึงออกมา โดยการช่วยเหลือออกมา เป็นไปไม่ได้ ต้องให้หัวใจดวงนั้น ชำระกิเลสภายในใจดวงนั้น ด้วยธรรมชาติของมรรคอริยสัจจังที่เกิดขึ้น
มรรคอริยสัจจังเกิดขึ้น หมายถึงว่าความเพียรของเราไง ความเพียรของเรา เราค้นคว้า เราหามา เราพยายามทำความสงบเข้ามา เราพยายามยกใจขึ้น เพราะในทางความสงบนั้นมันมีปัญญาไป ปัญญาสามารถยกได้ รำพึงไปเรื่อย ดูไปเรื่อย พลิกแพลงไปเรื่อย นี่ไงคือเครื่องมือของเรา คือมรรคที่เราสร้างสมขึ้นมาในใจดวงนั้น มันถึงเป็นความมหัศจรรย์ไง
ในศาสนาพุทธของเรานี้ ในศาสนาพุทธที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขุดค้นขึ้นมานี้มหัศจรรย์มาก มันชำระกิเลสได้จริงๆ แต่เรายังทำไม่ได้ ความลังเลสงสัย อันนี้ก็เป็นลูกหลานของพญามาร ความลังเลสงสัย เรามีอำนาจวาสนาไหมหนอ เราจะทำได้ไหมหนอ
คำว่า มีดวงตาเห็นธรรม นี้เป็นของที่สูงส่งมาก เป็นของที่ว่าเรากราบไหว้ในพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ เรากราบไหว้ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรม ผู้ที่เป็นครูเป็นอาจารย์ของเรา
เราผู้ที่ปฏิบัตินี้จะมีอำนาจวาสนาไหมหนอ
อันนี้ นี่เป็นวิชาของลูกหลานพญามารจะให้เราอ่อนแอลงไง
เราเป็นไปได้...จิตไม่เคยตาย จิตดวงนี้ ธรรมะมีอยู่ในธรรมชาติ จิตนี้ก็ไม่เคยตาย จิตนี้มันถึงเข้ากับธรรมได้ นิพพานนี้มีอยู่คงที่ตลอดไป มีอยู่ แต่เพราะว่าเรานี่เวียนว่ายตายเกิด มีจิตดวงหนึ่งที่ไม่เคยตาย เข้ากันได้โดยธรรมชาติ เพียงแต่โดนอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารานี้ปิดป้อง ปิดไว้หมด คลุมไว้หมด เวลาเราจะทำขึ้นมาก็ เรามีอำนาจวาสนาไหมหนอ มีอำนาจวาสนาเพราะมีจิตดวงนี้ จิตดวงนี้มีอยู่ จิตดวงนี้เกิดตายอยู่ในวัฏฏะนี้...
...มีอำนาจวาสนาเพราะได้สัมผัสเข้ามาเรื่อยๆ ได้สัมผัสเข้ามา สัมผัสธรรมเข้ามา จนขนาดว่าวิปัสสนาญาณเกิดขึ้น วิปัสสนาญาณเกิดขึ้นหมายถึง...
...ให้ได้ดื่มกินรสของธรรมที่สมาธิธรรมนี้ แล้วนี้ก้าวเดินวิปัสสนาอยู่ มันไม่มีอำนาจวาสนาได้อย่างไร แต่ก็ยังกิเลสหลอกมา พอกิเลสหลอกออกมา พอกิเลสหลอกออกมาคือความต่อสู้ ต้องการให้ควบคุมใจเราอยู่ นี่หลอกออกมา หลอกออกมาเราก็เคลิบเคลิ้มไป
ถ้าวิปัสสนาไปแล้วจะมีสิ่งนี้ มันจะก้าวเดิน มันจะมีคู่เคียงมาตลอด ไม่ใช่วิปัสสนาแล้วเขาจะเปิดทางโล่งให้เราเดินไปโดยธรรมชาติ ให้เราไปโดยที่ว่าเขาไม่ต่อต้าน...กิเลสไม่เคยปล่อยใคร กิเลสไม่เคยไว้หน้าใคร กิเลสมีทุกๆ ดวงใจ ทุกๆ ดวงใจที่มีกิเลสอยู่ในหัวใจ ฉะนั้น ดวงใจทุกดวงก็อยากเป็นอิสระ ทุกๆ ดวงใจอยากพ้นจากกิเลส
นี่พอจิตสงบขึ้นมาชั่วคราวขึ้นมา มันก็จะพ้นชั่วคราว จิตสงบชั่วคราว ตั้งมั่นชั่วคราว กิเลสยุบยอบไปชั่วชั่วคราว วิปัสสนาไป วิปัสสนาไป วิปัสสนาไปด้วยการเห็นกาย พิจารณากายไปเห็นสัจจะความจริง ปล่อยขึ้นมาชั่วคราว ถ้าอำนาจเรามี อำนาจหมายถึงใจตั้งมั่นอยู่ ใจมีพลังงานอยู่ วิปัสสนาไป มันจะเป็นช่อง ช่อง ไป เราทำงานประสบความสำเร็จเป็นช่อง ช่องเลยนะ วิปัสสนาไปนี่จะปล่อย ปล่อย ปล่อยไป นี่อำนาจของสมาธิ พื้นฐานของสมถะนี้สำคัญมาก
สมาธินี้ถ้ามีอยู่ ทาง ๒ แพร่ง ระหว่างแพร่งของโลกกับแพร่งของธรรม ถ้าสมาธินี้ดี อยู่แพร่งของธรรมจะเป็นประโยชน์มากเลย ถ้าสมาธินี้อ่อนตัวลง มันจะย้อนกลับมาเป็นแพร่งทางโลก ถ้าย้อนกลับมาเป็นแพร่งทางโลก เราต้องกำหนด กลับมากำหนด อย่าห่วงในงานไง อย่าห่วงในหน้าที่การงาน เราต้องกลับมาทำความสงบ พุทโธ พุทโธให้สงบ ถึงมันไม่ยอมสงบนะ
คนเราถ้าทำการค้าขึ้นมา เห็นเงิน เห็นทอง ก็อยากได้มากๆ ทุกคน วิปัสสนาก็เป็นแบบนั้น คนเราพอทำงานขึ้นมา อยากจะได้ผล อยากจะได้ผล พออยากจะได้ผลมันก็ใช้แต่ปัญญาหมุนออกไป จนกลายเป็นสังขารปรุง สังขารแต่ง เป็นสัญญามั่นหมาย ก็ไม่รู้ว่าเป็นสัญญา จนเหนื่อยล้านะ จนเหนื่อยจนทุกข์ขึ้นมา จนมานั่งไตร่ตรอง นี้คืออะไร จึงว่า อ๋อ! อันนี้เพราะว่าสมาธิมันไม่พอ งานมันไปไม่ได้ไง ทำงานแล้วงานไม่สำเร็จออกมาเป็นงาน มันเป็นปัญญาโลก มันเป็นโลกียปัญญา มันถึงต้องกลับมาที่พุทโธให้ได้
นี่ประสบการณ์อันนี้มันเป็นประสบการณ์ตรงของผู้ที่ปฏิบัติทุกๆ คนไป จะมีการวิปัสสนาเข้าไปแล้วสมประโยชน์ วิปัสสนาไปแล้วไม่สมประโยชน์ สมประโยชน์ไปเพราะว่างานมันตรงไปก็อย่างหนึ่ง สมประโยชน์ไปเพราะเราใช้ปัญญาถูกต้องหนึ่ง ถ้าไม่สมประโยชน์หนึ่ง เราต้องการทางที่ว่ารวดเร็ว เราต้องการทางที่เข้าถึงด้วยวิธีการที่ลัด
เริ่มต้น เราก็เริ่มต้นไม่รอบคอบ สติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ อยากจะไปทางลัด ทางที่ไปเร็ว แล้วมันก็ไปไม่ได้ ไปไม่ได้เพราะมันต้องเป็นความจริงที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เราก็เห็นความจริงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เห็นไตรลักษณะตามความเป็นจริงทั้งหมด ปล่อยวางมาเป็นครั้งเป็นคราวเข้ามา ปล่อยวางเป็นครั้งเป็นคราวเข้ามานี้ นี่ความสุขที่เกิดขึ้นจากสัมมาสมาธิอย่างหนึ่ง
ความสุขเกิดขึ้นมาจากการปล่อยวาง การปล่อยวางนี่ เห็นธรรม แต่ไม่รู้แจ้งธรรม เห็นธรรมเพราะมันปล่อยวางเข้ามา เห็นกายหลุดออกไป ปล่อยกาย กายจะหลุดออกไปเลยนะ พิจารณากาย กายจะปล่อย จิตจะปล่อยออกมา...ว่าง สบายมาก โล่งหมด นั่นน่ะสายใย สายใยของความผูกพันมัน มันไม่ปล่อย แต่มันปล่อยเพราะอำนาจของธรรม ปล่อยเพราะอำนาจของธรรม มันไม่ได้ปล่อยเพราะสัจจะความจริง ปล่อยเพราะอำนาจของธรรม ที่ว่าสัมมาสมาธิเกิดขึ้น มรรคเดินไปได้เต็มที่
มันถึงว่า เป็นมรรค มรรคนี้ยังมีเราอยู่ เรายังเคอะๆ เขินๆ การทำมรรคเดินออกไป ยังเคอะเขินอยู่เพราะมีเราเข้าไป เราเข้าไปมันก็เลยปล่อยออกมา แต่ยังมีส่วนที่ว่าเป็นเราเป็นอะไรเข้าไป สิ่งที่ว่าเป็นเรานี่มันยึดมั่นถือมั่น กิเลสอยู่ตรงนั้นใช่ไหม กายนี้เป็นเรา สิ่งนี้เป็นเรา จิตนี้ เรากับจิตเป็นอันเดียวกัน กิเลสอยู่ตรงนั้นใช่ไหม
ทีนี้ เราอยู่ในมรรคอีก มรรคหมุนเข้าไปแล้วมันปล่อย ปล่อย ปล่อยเพราะว่ามันยังยังมีเราเสริมขึ้นไป ถึงต้องปล่อยบ่อยๆ ไง ปล่อยจนชิน นี่ต้องหมั่นคราด หมั่นไถ หมั่นวิปัสสนาเข้าไปบ่อยๆ นี่มีดวงตาพร้อม มรรค ๘ พร้อม งานชอบ ความเพียรชอบ ดำริชอบ สัมมาสมาธิชอบ พร้อม สิ่งที่เป็นความพร้อม ต้องคราด ต้องไถ คราดไถจนเป็นมัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทาหมายถึงความลงตัวพอดีของมรรค ความลงตัวพอดีแล้วไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง ความไม่มีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง ถ้ามีเราเข้าไปเกี่ยวข้อง มันก็ปล่อยเหมือนกัน ความปล่อย ต้องปล่อยซ้ำ ปล่อยซาก มันถึงต้องมีการปล่อยซ้ำ และปล่อยซาก งานหมั่นคราด หมั่นไถในกายและจิต ถึงว่าเป็นทางอันเอก
งานเอกของเอกบุรุษ-เอกสตรี ทุกๆ ผู้ที่ปฏิบัตินั้น เพราะเอกหมายถึงว่า การจะมีดวงตาเห็นธรรมไง การจะพ้นจากบ่วงของมารไง จะพ้นจากตัววิชามาร บ่วงของมารหักเข้ามาหักเข้ามาแล้ว นี้คือตัวมาร ตัวของมารเลย ว่าสิ่งทุกๆ อย่างนี้เป็นเรา เราเป็นสิ่งที่ทุกอย่างที่ผูกข้องต้องกัน มัดเข้าอยู่ด้วยกันทั้งหมด ความมัดเข้าอยู่ด้วยกัน มันมัดมันมีอยู่โดยเชื้อ อันนี้มันมีอยู่โดยธรรมชาติ ไม่ใช่ว่าใครต้องการไปมัดหรอก มันเป็นสัจจะความจริงอันหนึ่ง ถึงต้องใช้สัจจะความจริง ในอริยสัจเข้าไป อริยสัจ
สัจจะ สัญญาทางโลก คนที่ยึดมั่นถือมั่นมันยังเป็นสิ่งที่ว่าคอขาดบาดตายได้ นี้เป็นอริยสัจ อริยสัจที่เป็นความจริงอยู่ คงที่อยู่แล้ว แล้วเราเข้าไปในอริยสัจนั้น เราเข้าไป เรายกใจของเราเข้าไปในอริยสัจนั้น แล้วเราหมุนเวียน หมุนงานของเราเข้าไปในอริยสัจนั้น
การทำลายความเห็นจริงในอริยสัจนั้น พรึบเดียว กาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฏฐาน ๔ งานการรื้อค้นขุดคุ้ยในอริยสัจ ในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ความดับอันนั้นเกิดขึ้น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เกิดขึ้นพร้อมกัน ดับขึ้นพร้อมกันทีเดียว หลุดออกมา นี่รู้แจ้งแทงตลอด หลุดออกมาเพราะหลุดออกมาจากอริยสัจ เราผ่านงานของอริยสัจออกมา จิตดวงนั้น ดวงตาดวงนั้นผ่านออกมา เห็นเข้าไป เข้าไปรู้ เข้าไปเห็น อยู่ในอริยสัจนั้น แล้วปล่อยวางอริยสัจนั้นออกมาตามหลักความจริง นี้ต่างหากถึงว่าเป็นดวงตาเห็นธรรม
ดวงตาเห็นธรรมเพราะจิตนี้พ้นออกมาจากอริยสัจ หลุดออกมาจากอริยสัจ นี่สังโยชน์ขาดออกไป ออกไปเพราะกลั่นกรองออกมาแล้วจากอริยสัจนั้น สังโยชน์หลุดออกไป จิตนี้เป็นอิสระ ไม่ใช่เรา กายกับจิตนี้ไม่ใช่อันเดียวกัน กายนี้เป็นกายโดยธรรมชาติของเขา จิตนี้เป็นจิตโดยธรรมชาติของเขา ทุกข์นี้เกิดขึ้นเพราะสิ่งผสมผสานกัน สิ่งที่ก่อตัวขึ้นมาเป็นความทุกข์ทั้งหลายมันปล่อยออกไป
สิ่งที่ก่อตัวขึ้น เห็นไหม เรานั่งอยู่ เวทนาเกิดขึ้น เจ็บปวด เจ็บร้อนอยู่นี้อะไร เพราะกายกับจิตสมานกันทั้งหมด แล้วเกิดขึ้นมาเป็นความรู้สึก ความกระทบกระทั่งกัน เกิดเวทนาขึ้นมา แล้วจิตก็ผูกมัดกับเวทนานั้น พอผูกมัดกับเวทนานั้น สิ่งที่สัมผัสรวมตัวขึ้นมา เกิดขึ้นมาเป็นกองทุกข์ ทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะว่าสิ่งนี้มีอยู่ สิ่งนี้เป็นเรา สิ่งนี้ยึดมั่นถือมั่น
แล้วในอริยสัจนั้นปล่อยวางออกไปทั้งหมด ความปล่อยวางออกไปทั้งหมดนั้น กาย เวทนา จิต ธรรม ในเวทนาก็อยู่ในธรรมอันนั้น มันปล่อยวางออกไป นี่สัจจะความจริง หลุดออกไป กายส่วนกาย จิตส่วนจิต ทุกข์ส่วนทุกข์ที่เกิดๆ ดับๆ อยู่นี้ต้องดับไป
ทุกข์เกิดๆ ดับๆ พร้อมกับความเกิดขึ้นของใจนี้
ทุกข์เกิดๆ ดับๆ พร้อมกับความยึดมั่นถือมั่นนี้
ทุกข์เกิดๆ ดับๆ กับความที่ว่าเป็นเรา เรา เราอยู่นี้
เพราะเรามันก็ไม่มี เรานี้ไม่มีเลย จิตนี้เป็นอิสระเสรี เวิ้งว้างออกไป นี้คือดวงตาเห็นธรรม
ทุกคนปรารถนาจะมีดวงตาเห็นธรรม ดวงตาเห็นธรรมเพราะเราสร้างดวงตาขึ้นมา ดวงตานี้เราก็ต้องสร้างขึ้นมา ดวงตาคือสัมมาสมาธิ ดวงตา ดวงตาของใจ ใจแต่เดิมไม่เคยรู้จักสัมมาสมาธิ ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ใจไม่เคยเป็นอิสระ ใจอยู่ในอารมณ์ยึดมั่นถือมั่น ที่มันปกคลุมใจอยู่ตลอด มันถึงสกปรกไปด้วยกิเลส ตัณหา ราคะในหัวใจนั้น ในหัวใจนั้นถึงไม่รู้จักอิสระ ไม่ถึงว่าเปิดแบ่งแยกดีชั่วได้ ไม่สามารถรู้สิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดดีงาม แต่พอสัมมาสมาธิเกิดขึ้น มันอิ่มตัว มันเปิดขึ้น มันแยกสิ่งนี้ถูก-สิ่งนี้นี้ผิด มันแยกคิด แยกในการเสวยอารมณ์นั้นถูกต้องขึ้นมา
ดวงตา ดวงตา จิตนั้นถึงเป็นดวงตา ดวงตาของตาเรามันเป็นเครื่องอาศัยของใจ ตานี่อาศัยใจผ่านตาออกมา ถ้าเราตากระทบรูปต่างๆ ถ้าเราเหม่อลอยอยู่ เราไม่คิดอยู่ เห็นไหม จิตไม่รับรู้ ดวงตานั้นก็ส่งไปที่ใจไม่ได้ เพราะใจนี่อาศัยตาเข้ามามองสิ่งต่างๆ เห็นภาพนั้นถึงซ้อนเข้ามาอยู่ที่ใจ นี่ดวงตาอย่างนี้มันก็มีแต่เอาความเร่าร้อนมาให้ใจตลอดเวลา เพราะใจนี้มันโดนกิเลสปกคลุมอยู่ กิเลสขับไสอยู่ ใช้มันเป็นขี้ข้าอยู่ แล้วสิ่งเข้าไปนี้ก็คลุกเคล้าเข้ามาก็เสียหายหมด คือว่ามันต้องสกปรกไปพร้อมกับใจที่ดวงสกปรกนั้น นี่มันถึงตาบอดไง ตาถึงเป็นตาไม้ไผ่ไง ตาถึงเป็นตาไม้ไม่ใช่ตาเรา ตาเป็นตาบอด ตาใส สิ่งใดเข้าไปมันให้สิ่งให้ค่าไม่ได้ มันไม่เป็นอิสระแก่ตัวมันเอง
แต่เราเปิดตาขึ้นมาจากสัมมาสมาธินี้มันแยกค่าได้ แล้วพอดวงตานี้ยกขึ้นวิปัสสนา ความยึดมั่นถือมั่นในกายกับจิตนั้น ในกายหรือจิต จิตก็เป็นแบบนี้ จิตกับจิตมันก็ยึดตัวมันเองเหมือนกัน แต่แล้วค่อยยึดออกไปที่กาย พิจารณากายก็ได้ จิตก็ได้ เพราะกาย...สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม สิ่งใดก็ได้ ถ้าพิจารณากายนี้เป้าใหญ่แล้วจับต้องได้ เป้าใหญ่แล้วมันไม่ค่อยใช้ปัญญามากไง ใช้ปัญญาวิปัสสนาให้มันแปรสภาพให้เห็นแจ้งแทงทะลุ ให้เห็นสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
สิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปนี้คืออะไร?...นี้คือไตรลักษณะ ไตรลักษณะคือความที่มันไม่มีคุณค่า...มันมีคุณค่ามาก มีคุณค่าในการที่เราไปเห็นจริง แต่ในเนื้อหาสาระของเขา ในตัวของเขา เขาไม่มีคุณค่าของเขา เพราะเขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป เขามีคุณค่าไหม เขาไม่มี
แต่เพราะกิเลสความยึดมั่นถือมั่นนี้เท่านั้นเลย ไม่ยอมให้เป็นไปตามไตรลักษณะนั้น ๑ ยึดไว้เพราะไม่ยอมให้เป็นไป ไม่เป็นไปแล้วไม่เป็นไป ตัวเองโง่ หลง ไม่เข้าใจ ก็ไม่ยอมเชื่อตามหลักความจริง เป็นอย่างนั้นอีก นี่กิเลสไม่เชื่อสัจจะ ไม่เชื่อความจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันถึงตรัสรู้ธรรมไม่ได้ มันถึงมืดบอด ทั้งที่มีดวงตาอยู่แล้วก็ยังมืดบอด จนต้องใคร่ครวญ ต้องวิปัสสนา จนวิปัสสนาญาณเข้าไป ใคร่ครวญจนมันเข้าใจ
เห็นจริง ๑ เห็นไปเรื่อย เห็นแล้วปล่อย เห็นแล้วปล่อย เห็นแล้วปล่อย เห็นแล้วปล่อยแล้วมันไม่แล้ว เพราะว่ามันยังไม่เป็นอิสระ เห็นๆ ปล่อยๆ ซ้ำๆ ซากๆ ซ้ำๆ ซากๆ ฟังสิ ต้องซ้ำนะ ต้องซ้ำตลอด ไม่ซ้ำตลอด การปล่อยนี้มันตีคืนได้ ปล่อยนี้เป็นตทังคปหานไง มันปล่อย ความปล่อยนี้มันปล่อยชั่วคราว เพราะมันไม่ปล่อยขาด ความปล่อยขาดต้องรู้แจ้งแทงตลอด แล้วปล่อยขาด ความขาดนั้นสมุจเฉทปหาน ต้องสมุจเฉทปหาน สมุจเฉทปหานแล้วไม่มีการตีคืน การไม่มีการตีคืนนั้นเป็นอกุปปธรรม อกุปปะคือการไม่แปรสภาพอีก เป็นอกุปปธรรม อกุปปธรรมไปตลอด
ในธรรมจักรฯ อกุปปธรรมที่ว่า อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ นี่เพราะเป็นอกุปปธรรม เกาะติด เกาะธรรมะติด จิตนี้ไม่ตกจากตรงนั้น พักนั้นไม่มีตก พักนี้เป็นพักที่แน่นอน พักนี้เป็นพักที่มันเป็นอกุปปธรรม ไม่เสื่อมจากสภาพจากตรงนั้น ไม่เสื่อมสภาพไปเลย มันเป็นอยู่อย่างนั้นเลย จะแปรสภาพต่อเมื่อจะสูงขึ้น จะไม่แปรสภาพต่ำลงมา ถึงว่าถ้ามีดวงตาเห็นธรรมอย่างมากอีก ๗ ชาติต้องเข้าถึงที่สุดแห่งธรรม เห็นไหม นี่มันเป็นเครื่องการันตีถึงว่า ความที่ว่ามีดวงตาเห็นธรรมเป็นสิ่งที่ปรารถนาของทุกๆ คน
สิ่งที่ปรารถนาของชาวพุทธนะ ถ้าเขาไม่เชื่อหลักศาสนา เขาก็ไม่รู้เรื่อง เรานี่เป็นคนรู้เรื่อง เราเป็นชาวพุทธ เป็นชาวพุทธด้วย เป็นผู้ที่รักนวลสงวนตัวด้วย แล้วสมบัติในโลกก็มีมหาศาล มีมหาศาลแล้วเอามันขึ้นมาแล้วเราจะมีความสุขกับสมบัตินั้นไหม กับความเห็นของใจ นี่ใจของเรา สมบัติอันนี้มีคุณค่ามากที่สุด สมบัติของในโลกนี้เป็นของเราก็เป็นของเราเพราะมีเราเท่านั้นน่ะ เราดับไปมันจะเป็นของใคร จะเป็นของใครมันก็ยังพอใจ เห็นไหม เป็นของคนนั้นๆ ให้เป็นมรดกตกทอดกันไป
จิตนี้แต่ละดวง แต่ละดวง เกิดขึ้นมา มันก็วนอยู่วนอยู่อย่างนี้นะ เพียงแต่ว่าสิ่งนั้นมันเป็นเปลือกๆ มันเป็นสมมุติ ความที่เป็นสมมุติต้องมีเครื่องรับกัน จากคนนี้ ไปคนนั้น เป็นคนนั้น มันถึงเป็นมรดกตกทอด ธรรมนี้เป็นมรดกตกทอดไหม ธรรม ใจเป็นของที่แน่นอน ใจนี่เป็นสิ่งที่เป็นตัวทุกข์ แล้วถ้าเป็นมรดกตกทอด เราต้องได้รับมรดกตกทอดมาสิ เราได้รับบารมีธรรมมา ถ้าบารมี การสะสมมาเป็นมรดก การที่มรดกตกทอดขับเคลื่อนไปคือบุญกุศล บุญกุศลขับเคลื่อนไป ขับเคลื่อนมีบุญขนาดไหน ถ้าไม่วิปัสสนา ไม่มาชำระกิเลส มันเป็นกิเลสอยู่วันยังค่ำ
กุศล มันก็มีฝ่ายดี ฝ่ายไม่ดี มีอำนาจ มีวาสนา เราเกิดขึ้นมามีอำนาจมีวาสนา เป็นผู้ที่บริหารคนอื่น ถ้าใจเราไม่เป็นธรรมล่ะ เราจะสร้างอะไรไว้กับเรา นี่มรดกตกทอดมาเป็นกลาง เพียงแต่ว่ามาอยู่กับเรา เราจะใช้ในแง่บวกหรือแง่ลบ ถ้าเราใช้ในแง่ลบ มันก็ให้ผลลบกับเรา ให้ผลลบนะ เหมือนเงินถ้ามีอยู่กับเรา เงินถ้าเราใช้เป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์ เงินเราใช้ไปทางความผิดก็ได้ เราจ้างเขาทำความผิดทำทุกอย่าง เงินนี่ใช้ได้หมดเลย...บารมีเป็นกลางไง นี่มรดกเป็นอย่างนั้น
แต่กิเลสมันเป็นโดยธรรมชาติ กิเลสนี้เป็นโดยธรรมชาติ ถึงว่าต้องปัจจัตตัง รู้จำเพาะตน เห็นไหม อกาลิโก ไม่มีกาล ไม่มีเวลา ผู้ที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติธรรมเข้าไปแล้วสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นต้องเห็นธรรมตามความเป็นจริง ผู้นั้นเลย ไม่จำกัดว่าชื่อเรียงเสียงใด ไม่จำกัดว่าจะเป็นบุคคลใด ผู้ใดเลย ผู้ใดใครก็ได้ ใจดวงนั้น เพราะสิ่งอื่นเป็นสมมุติ สิ่งอื่นนี้สมมุติขึ้นมา สมมุติซ้อนบัญญัติ นี่สมมุติขึ้นมา ทำเข้าไปจนเห็นสัจจะความจริงนี้ ก้าวเดินตามสัจจะความจริงไป จนถึงวิมุตติได้ ถ้าถึงวิมุตติ วิมุตติพ้นจากสมมุติออกไป สิ่งที่เป็นถึงวิมุตติ
วิมุตติไม่แปรสภาพ กับจิตที่อยู่ในสมมุติ จิตที่ว่าเราเป็นสมมุติอยู่ จิตที่ไม่เคยตาย มันมีอยู่โดยธรรมชาติ แต่โดนสมมุติครอบคลุมอยู่ มันถึงได้เกิดตาย เกิดตาย ลุ่มๆ ดอนๆ อยู่ การเกิดตาย ลุ่มๆ ดอนๆ อยู่นี้ เพราะอำนาจของกิเลส มันถึงได้มารู้ไง ถ้าเข้าถึงธรรม ถึงที่สุดแห่งธรรม ถึงวิมุตติธรรม ย้อนกลับมาดูจิตดวงนี้สิ ดวงที่มันลุ่มๆ ดอนๆ อยู่ ถึงว่า อ้อ! มันมีจริง มันมีพื้นฐานที่จะเข้ากันได้ รับกันได้ สิ่งที่ถึงจะสัมพันธ์กันได้ รับกันได้ มันต้องมีสิ่งที่เป็นที่จริงเข้าหากันได้ มันถึงสัมผัสสัมพันธ์กันไง นี่ใจที่มีอยู่จริงๆ แต่สมมุตินี้คลุมไว้
กรรมดี-กรรมชั่ว ถ้าฉลาด ทำความดีอยู่ มันก็ให้ผลขึ้นมา มันให้ผลในบุญกุศล แต่อวิชชาในใจนั้นก็ทำให้เป็นทุกข์อยู่ จะสูงส่งขนาดไหนในหัวใจนั้นทุกข์หมด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงได้เตือนชาวพุทธทั้งหมดไง โลกนี้ ๓ โลกธาตุร้อนอยู่ด้วยไฟ ทำไมเราไม่หาทางออก สโมสรสันนิบาตที่ไหน ที่รื่นเริงอยู่ขนาดไหน ทุกๆ ดวงใจในดวงใจนั้นมีแต่ความทุกข์ ทุกดวงใจไม่ยกเว้น เว้นแต่พระอนาคากับพระอรหันต์เท่านั้น พระอนาคายังมีทุกข์อย่างละเอียด กับพระอรหันต์เท่านั้นนะที่พ้นจากทุกข์ไป นอกนั้นไม่มี
ถ้าดวงใจไหนไม่มี มันอยู่ในทุกข์ทั้งหมด มันอยู่ในความเศร้าใจ อยู่ในความอาลัยอาวรณ์ในหัวใจนั้น ความอาลัยอาวรณ์ ความเศร้าใจ นี่เป็นกิเลสทั้งหมด ถึงกิเลสมีในดวงใจ บุญกุศลจะสูงส่งขนาดไหน นี่สมมุติมันพาไป พาดวงจิตตายๆ เกิดๆ นี้ไปเรื่อยๆ นี่สมมุติพาไป
จิตนี้ถึงเป็นนักท่องเที่ยว นักเกิดตาย เกิดตาย ในวัฏฏะนี้เกิดเป็นเทวดา ทุกคนที่นั่งอยู่นี้เคยเกิด ตกนรกก็เคย เพราะเราอยู่ในน้ำ...ไม้ สวะที่อยู่ในน้ำ น้ำมันซัดไป มันชนอะไรไปบ้างล่ะ น้ำที่เวลามันน้ำท่วมมา น้ำหลากมา มันจะพัดสิ่งของนั้นมา มันจะพัดไปไหน มันพัดไปชนต้นไม้ล้ม ชนอะไรไปเรื่อย มันต้องกวาดให้หมด ชีวิตก็เหมือนกัน นี่มันไหลมาตามวัฏฏะ วัฏวน ๓ โลกธาตุนี่ไหลไป มันจะไม่ประสบ ไม่ชนกับอะไรบ้างเลยหรือ...มันต้องเป็นไป มันเป็นไปจริงๆ
ถึงเวลาย้อนกลับ เรื่องขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนอดีตชาติกลับเข้าไป ถึงย้อนอดีตชาติกลับเข้าไป กลับเข้าไป กลับเข้าไป มันย้อนได้เพราะมันซับลงอยู่ที่ใจพื้นฐานของใจดวงนี้ ที่เป็นสมมุติ สมมุติคลุมใจอยู่นี่ ที่พาตายพาเกิดอยู่ มันย่อยสลายไปแล้ว มันถึงเป็นจิตปฏิสนธิในปฏิจจสมุปบาท
ในปฏิจจสมุปบาทนั้นมันจะมีอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ...อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สังขารหรือความคิดความปรุงความแต่งในนั้นมันละเอียดยิบๆๆๆ จนเป็นจิตปฏิสนธิ กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในขันธ์ภายนอกนี้ ขันธ์ภายนอก เวลาเกิดเป็นมนุษย์มีขันธ์ ๕ เกิดเป็นเทวดามีขันธ์ ๔ เกิดเป็นพรหมล่ะ ก็มีขันธ์เดียว ผัสสะ นี้มีผัสสะอย่างเดียว ความละเอียดของเขา ถึงว่าตัวที่ว่าเป็นจิตปฏิสนธินี้ถึงได้พาตาย พาเกิด พาตาย พาเกิดในภพชาติต่างๆ แล้วพอพิจารณาไป พิจารณาไป จนถึงวิมุตติน่ะ มันก็มีพื้นฐานตรงรองรับไง ภวาสวะ อวิชชาสวะ กิเลสสวะ อาสวะ ๓ สิ้นไปจากจิตดวงนี้
ภาวาสวะ คือภพของใจที่มีอยู่ แล้วภพของใจนี้โดนทำลายออกไปทั้งหมด ภพของใจโดนทำลาย โดนระเบิดออกไปจากใจดวงนั้น ใจดวงนั้นก็บริสุทธิ์ขึ้นมาเป็นวิมุตติของใจ ใจที่เป็นวิมุตติ มันก็พ้นออกมาจากใจที่ว่าโดยสมมุติปกคลุมอยู่นั้น โดนกิเลสปกคลุมอยู่นั้น ถึงว่ามันมีอำนาจวาสนาไง เทียบเคียงเข้ามาถึงที่ใจของเรา เทียบเคียงเข้ามาใจของเรา ถึงว่าใจของเราก็มี นิพพานก็ต้องมี มรรคผล นรก สวรรค์มี ทุกอย่างมี แล้วมรรคก็เดินอยู่
เราสร้างมรรค สร้างเหตุ สร้างผลของเราขึ้นมา ขึ้นมา ขึ้นมา มรรคนี้หยาบๆ...ละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไป ละเอียดจนกว่าจะสิ้นถึงความละเอียด มรรค ๔ ผล ๔ เห็นไหม มรรคในมรรคหนึ่งแล้วยังมีหยาบ มีกลาง มีละเอียดนะ มรรคหนึ่งหมายถึงว่า การวิปัสสนาอยู่ กิเลสจะต่อสู้ต่อกรอยู่ตลอดเวลา
จนกว่าพิจารณาซ้ำๆ ต่อสู้กับกิเลสด้วย ให้สัจจะสอนใจให้ฉลาดด้วย ให้ใจนี้เห็นสัจจะความจริง ให้ปล่อย ปล่อยออกไป ปล่อยหมายถึงว่าปล่อยสิ่งที่เป็นไป ปล่อยกายกับจิต ปล่อยอสุภะ-อสุภังจากภายในกับกายกับจิตปล่อยออกจากกัน ให้สัจจะความจริงแยกออกจากกัน ทุกข์เกิดขึ้นไม่ได้เด็ดขาด แล้วจะปล่อยขาด ปล่อยขาดออกไป นี่เห็นความจริงอันด้วย แล้วต่อสู้กับความขัดขืน ความต่อสู้ ความที่กิเลสผลักไสออกมา พลังงานของกิเลสที่จะหลอกลวงอีกด้วย นี่ถึงว่ามีหยาบ มีกลาง มีละเอียด
ในมรรคหนึ่ง มรรคหนึ่ง แล้วยังมีมรรค ๔ ผล ๔ ขึ้นไปอีกเป็นชั้นๆ ขึ้นไป นี่มีมรรคก้าวเดินอยู่ มันถึงเป็นปฏิกิริยาที่สามารถแจกแจงอาการของใจได้ทั้งหมด ถึงเป็นบัญญัติ บัญญัติสมมุตินี้อยู่ในอำนาจที่จะแจกแจงควบคุมได้ทั้งหมด ควบคุมได้ด้วยอะไร ด้วยสติสัมปชัญญะที่เราก้าวเดินขึ้นไป ควบคุมแล้วควบคุมอยู่ในวงงานของใจ ในวงงานพื้นฐานของใจที่เราพิจารณาอยู่นี่ วงงานมันต้องจำกัดกันตรงนี้ เพราะกิเลสมันอยู่ตรงนี้
จะชำระสะสางกัน ต้องชำระสะสางกันที่กลางหัวใจ คุณค่าของใจถึงได้ประเสริฐไง คุณค่าของใจสกปรกให้แต่ความทุกข์ ความโศกเศร้าแก่เรา แล้วคุณค่าของใจที่มีความทุกข์ ความโศก ความเศร้าอยู่นี่ มันพาเราขับเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา ตายเกิด ตายเกิดในวัฎฎะนี้ ตายเกิด ตายเกิด แล้วเราก็ไม่เคยเข้าใจของเราเลย ถ้าเราทำของเราเข้าไป ไม่ต้องถามใครนะ บุพเพนิวาสานุสติญาณ การย้อนต้องย้อนได้
การย้อน เพราะจิต เวลาถ้าเข้าไปถึงจะทำลายให้จิตนั้นสะอาด มันต้องทำลายพื้นฐานตรงนี้เหมือนกัน สิ่งที่เป็นข้อมูลเดิมอยู่นี้ก็ต้องทำลาย สิ่งที่ปกคลุมอยู่ที่ภวาสวะนี้ก็ต้องทำลาย ทุกอย่างต้องทำลายหมดเลย แต่ยิ่งทำลาย ยิ่งสง่าผ่าเผย การทำลายหัวใจเท่าไร มีแต่ความสง่างามในหัวใจนั้น หัวใจนั้นจะสง่างามขึ้นมา มันจะเวิ้งว้าง มีความภูมิอกภูมิใจ มีความสุขเกิดขึ้นกับใจดวงนั้น เพราะใจดวงนั้นทำลายสิ่งที่เป็นสกปรกโสมมออกไป
แต่ถ้าเป็นทางโลก การทำลายเท่าไรมันยิ่งขาดทุนสูญเปล่า มันขัดกันเพราะจิตนี้กับโลกมันเคยกันอยู่ตลอดเวลา แล้วพอบอกว่าเป็นการทำลาย เป็นการทำลาย มันถึงว่าขยะแขยง มันไม่กล้าทำ มันสงวนไง มันสงวน มันไม่อยากทำลายสิ่งที่ว่าเป็นของรักของเรา แต่ของรัก กิเลสมันอยู่ตรงนั้น สิ่งใดรัก สิ่งนั้นมีกิเลสอยู่ สิ่งใดมีกิเลสอยู่ สิ่งนั้นก็ต้องให้โทษแก่เรา
เราพยายามจะชำระ เราล้างขึ้นมา อย่างเสื้อผ้าเราซักขึ้นมาก็เพื่อจะให้มันสะอาด มีส่วนหนึ่งมันมีกลิ่นเหม็นอยู่ตรงมุม ถ้าเราไม่ซัก เวลาไปเก็บพับขึ้นมา มันก็ต้องแผ่ไปทั้งผืนนั้น อันนี้ก็เหมือนกัน สงวนรักษาใจไว้ส่วนหนึ่ง ทำลายส่วนหนึ่ง รักษาไว้ส่วนหนึ่ง กลัวจะทำลายตัวเอง มันถึงสง่างามไม่ได้ มันถึงผ่าเผยขึ้นมาไม่ได้ เพราะสิ่งที่ว่าเราไม่ยอมทำลายตรงนั้นมันจะกระจายออกมาเป็นความสกปรกอีก นี่มันต้องทำลายทั้งหมด ความยิ่งทำลาย มันยิ่งสง่าผ่าเผย แล้วทำลายด้วยเครื่องมือทางโลกหรือ...ไม่ใช่
ทำลายด้วยอาการใจแก้ใจ มรรคอริยสัจจังนี้คืออาการของใจทั้งหมด มรรคภายนอกเป็นมรรคภายนอก อารมณ์ความคิด อารมณ์ความปรุง ความแต่ง มันเกิดขึ้นภายในแล้วมันจะจับต้องได้ เราสร้างราก สร้างฐานขึ้นมาจากภายนอก ความคิดนี้เป็นภายนอกนะ ความคิดที่ว่าเราคิดกันนี่เราว่ามันละเอียดแล้วนะ เวลาปฏิบัติใหม่ๆ ความคิดนี่โอ้โฮ! นามธรรมนี้เป็นของละเอียดมาก แต่เวลามันตัดตอนเข้าไปไง สาวเข้าไป ขันธ์นอก ขันธ์ใน...เวทนาในเวทนา จิตในจิต ขันธ์ในขันธ์ มันจะละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไป
ทีแรกก็ว่าความคิดนี้มันละเอียด มันละเอียดที่เราจับต้องได้ยาก พอเริ่มวิปัสสนาเข้าไป มันจะสาวเข้าไป สาวเข้าไป พอสาวเข้าไป ขันธ์นอกขาด ขันธ์นอกขาดสักกายทิฏฐิก็ขาด เห็นไหม สาวเข้าไป พอขันธ์ในขาด กายกับใจก็ขาด พอสาวเข้าไปอีก ขันธ์ข้างใน สาวเข้าไปอีก...ขันธ์ของใจ คราวนี้ขันธ์ของใจไม่ใช่ขันธ์กายกับใจ ขันธ์ของใจขาด พอขันธ์ของใจขาด นี่ขันธ์ในขันธ์ขาดออกทั้งหมด นี่อาการนี้คืออาการที่จับต้องได้ ที่ว่ายังพูดยังกระทบกระเทือนกันได้
พอไปข้างในนี่เป็นสิ่งที่เป็นตัวของมันเอง สิ่งที่เป็นภวาสวะไง เป็นสิ่งที่มีอยู่ มันละเอียดอ่อนจนไม่มีสิ่งใดจะจับได้เลย ไม่มีอะไรจับได้เลย เพราะมันไม่มีเครื่องมืออะไรไปจับได้ แต่มันก็ไม่พ้นจากที่ว่าพระพุทธเจ้าวางไว้แล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้ว วางไว้คือมรรคอริยสัจจัง มรรคอันละเอียดไง เป็นปัญญาญาณ เป็นญาณอัตโนมัติเข้าไปทำลายไอ้ความละเอียดอ่อน
ถึงบอกว่าสิ่งใดยิ่งสงวน มันสงวนไว้เพื่อกิเลสมันจะอยู่ มันสงวนไว้ว่ามันจะนอนกินอยู่ตรงนั้นไง มันสงวนไว้เพื่อจะตีกลับ มันสงวนไว้เพื่อเราถอยออกมาแล้วมันจะยุ่งออกมาข้างนอก นี่ว่ามันถึงตทังคะไง คำว่า ตทังคะ ของชั่วคราว เราต้องสมุจเฉท สมุจเฉทปหาน แต่สมุจเฉทปหานจะเกิดได้มันต้องมีตทังคะนำหน้าไปก่อน
เว้นไว้แต่ผู้ปฏิบัติเร็ว รู้เร็ว เห็นเร็วไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการอยู่ เทวดา เหล่าเทวดา พระสงฆ์ในสมัยนั้นตรัสรู้เห็นธรรม เห็นธรรม นี่รู้เร็ว เห็นเร็ว ปุ๊บ! ไปเลย ปุ๊บ! ไปเลย แต่อันนั้นผู้ปฏิบัติเห็นเร็ว เราเป็นเวไนยสัตว์ เวไนยสัตว์คือการฟัง เวไนยสัตว์คือว่าการฟัง การพยายามขวนขวาย เราก็ยังมีโอกาสอยู่ โอกาสอันนี้เป็นโอกาสที่ประเสริฐมาก โอกาสไง
โอกาสคือว่ามีลมหายใจเข้าและมีลมหายใจออก ๑
๒. เพราะมีลมหายใจเข้า หายใจออก ยังมีชีวิตอยู่ ๑
ยังมาสนใจในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าไม่สนใจ ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก หายใจทิ้งเปล่าๆ แต่ถ้าลมหายใจเข้าพร้อมกับพุท ลมหายใจออกพร้อมกับโธ เห็นไหม ลมหายใจนี้ไม่ทิ้งเปล่า ลมหายใจนี้มีคุณค่ามาก ลมหายใจนี้เป็นของเอกบุรุษ ลมหายใจนี้เป็นของผู้ที่จะพ้นออกไปจากกิเลส ลมหายใจนี้มันเป็นทางไง เป็นทาง เป็นการสืบต่อ เป็นการจับต้อง เป็นการเริ่มต้น เห็นไหม งานมันเกิดขึ้นจากตรงไง
นี่ถึงว่าเป็นโอกาส โอกาสของเรามหาศาล อำนาจวาสนาเราต้องมีมาก อย่าน้อยอกน้อยใจ ประพฤติปฏิบัติแล้วไม่ได้ผล ไม่ได้คิดไม่ได้ผลอย่างที่เราหวัง อันนั้นผลที่เราหวัง เราปรารถนา ผลที่เราหวังเราปรารถนานี้อะไร มันเป็นความจริงไหม เป็นการคาดเดาทั้งหมดเลย สิ่งที่เป็นการคาด การเดา การด้น การหมาย นี่เป็นเปลือกๆ ได้ เปลือกๆ
บารมี ๑๐ ทัศ ความตั้งใจ ความปรารถนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตั้งใจปรารถนาเป็น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ กำลังใจมันเกิดตรงนี้ไง การที่ว่าปรารถนา ความต้องการ แล้วเราจะให้เป็นอย่างนั้นแล้วไม่เป็นมันก็น้อยเนื้อต่ำใจ ความน้อยเนื้อต่ำใจนั้นปล่อยไว้ ความไม่เป็นไปสมความปรารถนา เพราะอันนั้นผิดธรรม ผิดธรรมเพราะเป็นการคาด การหมาย...การคาด การหมาย ไม่ใช่ความจริง เห็นไหม มันละเอียดขนาดนั้นน่ะ เวลาเข้ามาข้างใน
ความจริงเป็นความจริง ความคาดความหมายเป็นความคาดความหมายมันคนละคำอยู่แล้ว ความจริงเอาชีวิตนี้เข้าสู้ เอาสัจจะ เอาความจริงเราเข้าสู้ เข้าสู้เข้าไปตรงๆ หน้าเลย ทุกข์ขนาดไหนทุ่มเข้าไปตรงที่ทุกข์นั้น เวทนาอยู่ที่ไหน ทุ่มเข้าไปที่เวทนานั้น ทุกข์อยู่ที่ไหน ทุกข์อยู่ที่ไหน ทุกข์มันอยู่ที่ว่าความเกิดขึ้น ความดำริ ความดำริมันเริ่มต้น ชาติปิทุกขา การเกิดนั้นน่ะเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ถ้าไม่เกิดมันก็ไม่มีความทุกข์เลย
นี้มันเกิดมาแล้ว มันก็...ถ้าความทุกข์เลย ถ้าเกิดแล้วก็ตายไป ทุกข์ในชีวิตหนึ่ง การเกิดนี้เป็นทุกข์อย่างยิ่ง แล้วถ้าชำระทุกข์ระหว่างชีวิตนี้ขาดไป ถึงว่าการตายไม่มีไง การตายหลอกกัน ไม่มีการตาย มันแปรสภาพไปเฉยๆ ชีวิตนี้ที่ว่าอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา มันพาจิตนี้ท่องเที่ยวมา ถ้ามันตายมันสูญไป มันต้องไม่เกิดอีกสิ จิตเรานี้ไม่ต้องเกิดอีก บุพเพนิวาสานุสติญาณสาวเข้าไปมันต้องสิ้นสุดสิ ทำไมบุพเพนิวาสานุสติญาณสาวเข้าไป มันไม่สิ้นไม่สุด มันยังไปได้เรื่อยๆ มันไม่สุด เพราะชีวิตนี้มันยาวไกล ยาวไกลไม่มีต้นไม่มีปลาย มันมาดึกดำบรรพ์มาก
ดูอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากว่าจะตรัสรู้ ๔ อสงไขย แสนมหากัป เกิดตาย เกิดตาย มากมายขนาดไหน นี่เป็นชีวิตแบบอย่างที่จับต้องได้ อยู่ในพระไตรปิฎก แล้วชีวิตอย่างพวกเรานี่นะ ชีวิตนักปฏิบัติเรา มันบารมีขนาดไหน ถึงว่ามันเกิดตาย เกิดตายมาไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีต้นไม่มีปลาย อันนี้มันถึงย้อนกลับมาที่ว่ามาปัจจุบันนี้ หมายถึงว่าโอกาสอันนี้ โอกาสที่ว่าเราเข้ามา มันสามารถนะ คิดดูสิ ไม่มีต้นไม่มีปลาย เป็นแสนๆ กัป กับที่เราปฏิบัติชั่วชีวิตหนึ่งนี่คุณค่ามหาศาลถ้ามันชำระตรงไม่เกิด-ไม่ตาย
เกิดมาแล้วเป็นทุกข์แล้วชำระจนทุกข์ออกจากใจทั้งหมด ออกจากใจทั้งหมด ใจสะอาดผ่องใส สะอาดผ่องใสพร้อมกับอยู่ในที่ใจพ้นจากสมมุติไป นั่นน่ะ เป้าหมาย
ถึงว่า ดวงตาเห็นธรรม ถ้าดวงตาเห็นธรรมแล้วไปได้ ต้องทำให้ดวงตาเห็นธรรมก่อน ถึงว่าความตั้งเป้าหมายว่า ดวงตาเห็นธรรมของเรา ก็เป็นเริ่มต้น เป็นเป้าหมาย เป็นอธิษฐานบารมี แล้วถ้าทำได้จริง เห็นจริงตามสัจจะอันนี้ มันก็เป็นดวงตาเห็นธรรม เป็นอกาลิโกของใจดวงนั้น ไม่มีกาล ไม่มีเวลาที่ใครจะไปบังคับให้เห็นและไม่เห็นไม่ได้ ถ้าความจริงนั้นปรากฏแล้ว มันต้องปรากฏจริง จากใจดวงนั้นเลย
นั่นน่ะ อกาลิโกด้วย ปัจจัตตัง รู้จำเพาะตนด้วย อาจหาญ อาจหาญกับกิเลสนะ อาจหาญกับสิ่งที่มันเคยเป็นเจ้าใหญ่นายโตในหัวใจที่บังคับขับไสไป พอมีดวงตาเห็นธรรมนี่กำหนดวันตายของกิเลสแต่ละชั้น ละชั้นเข้าไปเลย เพราะมันได้ดื่ม ได้สัมผัสกับธรรมแล้ว จะมีความอาจหาญ มีความต่อสู้ มีความมุมานะในการประพฤติไง เพราะง่ายกว่าการเริ่มต้นนี้
เริ่มต้นนี้แสนยากเลย มันคนตาบอดเดิน คนตาบอดเดินไปมันก็ต้องคลำไปเรื่อย คลำไปเรื่อย แต่ถ้าดวงตาเห็นธรรมแล้ว คนเปิดตาแล้วเดิน ดวงตา คนตาบอดเดินพยายามเปิดตาขึ้นมาก่อน แล้วถึงทาง ๒ แพร่ง แล้วพอมีเห็นทาง ๒ แพร่ง พิจารณาไปจนดวงตาเห็นธรรม นี่คนตาสว่างเดินแล้ว คนมีตาเดินไป เดินไป กับคนตาบอดเดินต่างกัน
ถึงว่ามีดวงตาเห็นธรรมถึงเป็นเป้าหมายนะ เป็นเป้าหมายก่อน แล้วถ้าถึงที่สุดทุกข์นั้นยิ่งยอดเยี่ยมสำหรับผู้ที่ปฏิบัติ นี่ถึงว่าเราตั้งใจกัน ชีวิตนี้ถึงมีคุณค่า ชีวิตนี้มีคุณค่าที่ตรงนี้ อย่างอื่นนั้นมันไหว้วานทำกันได้ จริงๆ งานของโลกเราไม่อยู่คนอื่นทำแทนได้ เราไม่อยู่คนอื่นทำแทนได้ เราอยู่เราไม่อยากทำ เรายังไหว้วานให้คนอื่นทำแทนได้ แต่งานของใจไม่มี
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกแล้วเป็นผู้ชี้ทางเท่านั้น คนเดินไปถึงก็มี คนเดินไปครึ่งทางก็มี คนไม่ยอมเดินเลยก็มี พระพุทธเจ้าชี้ทางแล้ว ทางอันเอก มรรคอริยสัจจัง ทางอันเอกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราเกิดไม่ทันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราเกิดทันธรรมวินัยไง เกิดทันพระไตรปิฎก ธรรมวินัยบอกแล้ว ธรรมวินัยบอกว่า
ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเรา
แล้วทางอันเอกนี้เราอ่านเราก็ไปเจอ เราอ่าน เราเจอ เราศึกษาในพระไตรปิฎก เราเจอตลอด สดๆ ร้อนๆ ๒,๕๔๓ ปี ไม่มีความหมายเลย ไม่มีความหมายแบ่งกาลแบ่งเวลาตรงนี้เลย ๒,๕๔๓ ปีก็เท่ากับศูนย์ เท่ากับสัมผัสกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าใจนี้ยิ่งสัมผัส ยิ่งมั่นใจเข้าไปใหญ่ เห็นไหม อันนั้นถึงเป็นเรื่องข้างนอก
ถ้าใจเป็นธรรมแล้วถึงมีใจเป็นธรรม ทางอันเอก เราเชื่อแล้วเราเดินตามทางอันเอกนั้น เราถึงเป็นพุทธชิโนรส ศากยบุตร เป็นบุตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเพศ โดยบริษัท ๔ แล้วถ้าปฏิบัติถึงแล้วเป็นศากยบุตรโดยเนื้อหาสาระ เป็นธรรมอันเดียวกัน เป็นศากยบุตรโดยเปลือก ๑ เป็นศากยะบุตรโดยสัจจะความจริง (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)