ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ความคิดไม่ใช่จิต

๘ มี.ค. ๒๕๕๒

 

ความคิดไม่ใช่จิต
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เราจะพูดถึงเรื่องศาสนา เวลาศาสนานี่นะ ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าขึ้นมา ศาสนาพุทธเราไม่มี ทีนี้พอพระพุทธเจ้าเราเกิดขึ้นมาแล้ว ศาสนาพุทธเรานี่ ศาสนาพุทธนี่เป็นศาสนาแห่งปัญญา ศาสนาพุทธนี่เป็นสิ่งที่รื้อค้นออกจากกิเลส ทีนี้ถ้าเราจะฆ่ากิเลส จะชำระกิเลส เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูดเห็นไหม เราต้องเคารพพระพุทธเจ้า เคารพธรรมวินัยไง

เคารพธรรมวินัย ธรรมวินัยคืออะไรล่ะ ก็ข้อวัตรปฏิบัติ ทีนี้ข้อวัตรปฏิบัติ นี่ธรรมวินัยใช่ไหม แต่เวลาเราไพล่ออกไป อ้าว! เป็นวัตถุแล้ว สิ่งนั้นเป็นวัตถุ ถ้าเป็นวัตถุ สิ่งที่เป็นวัตถุมันก็เป็นเรื่องหยาบๆ ใช่ไหม ศาสนามันก็เป็นเปลือกเป็นแก่นเป็นกะพี้ แล้วเราจะเอาอะไร

ทีนี้เพียงแต่เวลาเราพูด ธรรมดาเราพูด เราก็พูดเรื่องแก่นเป็นธรรมดาใช่ไหม มันต้องเอาแก่นเป็นหลัก แก่นคืออะไร นี่ไง แก่น เราฟันไปต้นไม้สิ แก่น มันจะมีแก่นของมันใช่ไหม เป็นกะพี้มันนิ่มไป แก่นมันต้องแข็งแรงใช่ไหม แต่เวลาใจ ใจของแก่นมันคืออะไร แก่นมันคืออะไร แก่นมันคือสติไง แก่นมันคือนามธรรม แก่นมันที่มันจับต้องโดยโลกไม่ได้

แต่แก่นอย่างนี้นะ มันเป็นการจับต้องได้แต่ละบุคคล คนที่เข้าไปถึงสมาธินั่นไง คนที่ทำจิตสงบเข้าไป นั่นน่ะแก่นของชีวิตเราๆ นี่หลักเกณฑ์ของชีวิตเรา ที่มาเกิดๆ ที่จิตปฏิสนธิ จิตที่มาเกิด ตัวนี้มันมาเกิด แล้วถ้าตัวนี้มาเกิด ตัวนี้ ถ้าเราเอาแก่นกัน เราจะได้ประโยชน์กันใช่ไหม แต่ถ้าเราไพล่ไปเอาที่เปลือกที่กะพี้

ทีนี้ นี่พูดถึงแก่นของศาสนานะ ถึงหลักเกณฑ์ของพระป่าเราที่ภาวนาขึ้นมา ครูบาอาจารย์เราที่มีสังคมยอมรับเพราะอะไร เพราะการทำคุณงามความดี ดีแท้ๆ ดีจากภายใน ทีนี้ดีจากภายในนี่ศาสนานี่เป็นตัวหลัก ศาสนาเป็นหลัก ศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พอเป็นสังคมเรา สังคมชาวพุทธเรามันหลากหลายมาก

พอหลากหลายมาก วุฒิภาวะของจิตมันหลากหลาย ถ้าสิ่งที่เขาพอใจ เขาทำอย่างนั้นนะ ไอ้เรื่องเครื่องรางของขลัง ถ้าพูดถึงมันก็เป็นตัวชักนำอันหนึ่ง คนที่เขาไม่สนใจเลย เขาไม่เข้าใจเลย เขามีเครื่องรางของขลัง ก็ชักนำเขาเข้ามาศาสนา ให้เขามาเรื่องพระเรื่องอะไร แต่เขาเข้ามาแล้วเขาต้องเปลี่ยนแปลง เขาต้องพัฒนาการของเขา เขาจะได้ประโยชน์ของเขาใช่ไหม

เราจะไม่ได้อะไร อย่างเช่นเรานี่ อาหารเราก็กินหลากหลาย จะบอกว่าเหมือนเราใส่บาตร เวลาใส่บาตรนะ สังเกตได้ไหม เวลาใส่บาตร เราก็อยาก แหม ต้องทำให้ดี จะบอกว่าเราติดบุญ ว่าอย่างนั้นเถอะ ติดบุญมากนะ ผิดจากนี้ไม่ได้เลย โอ๊ย! เกร็งไปหมด เห็นไหม การติดบุญมันก็เหมือนติดเครื่องรางของขลัง เครื่องรางของขลังมันเป็นเหรียญ เป็นเครื่องรางของขลังที่เราจับต้องได้เลย

ความคิดเราไง ความคิดที่เราไปติด เห็นไหม ความคิดเราติด ความคิดที่เรายึดมั่น นั่นก็ติดแล้ว เราไปติดความคิดของเรา ถ้าติดความคิดของเราปั๊บ พอความคิดมันเป็นตัวตนขึ้นมาเลย เราก็ต้องทำตามนั้น พอตามนั้นนะ ได้ไม่ได้อย่างที่กระทำ มันก็มีผลกระทบกับใจเราแล้ว ผลกระทบกับใจเรา เห็นไหม แต่ถ้ามันปล่อยเข้ามา ปล่อยเข้ามา มันปล่อยเข้ามา พอคนทำบุญจนมีหลักมีเกณฑ์นะ ประเคน เรา อื้อหือ

เวลาเช่นหลวงตา ท่านอุปัฏฐากหลวงปู่มั่น เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ทำด้วยหัวใจ แล้วหลวงปู่มั่นนี่ท่านเป็นวัณโรค เป็นวัณโรคนี่ ท่านอายุ ๘๐ วัณโรคนี่มันฉันอาหารไม่ได้ พอฉันอาหารไม่ได้ขึ้นมานี่ พอตกเย็นขึ้นมา คนป่วยใช่ไหม อายุ ๗๐-๘๐ ใช่ไหม ไม่ได้ฉันข้าวนี่มันจะเป็นอย่างไร ท่านอุตส่าห์เอาน้ำมะพร้าว ให้เณรหามะพร้าวมา

เอาน้ำมะพร้าวมาแล้วเฉาะน้ำมะพร้าว จะให้ท่านดื่มไง ให้ดื่มในเพล

หลวงปู่มั่นบอก “ทำไม่ได้” ท่านดื่มไม่ได้

“ทำไมดื่มไม่ได้”

“มหาผล มันก็เปรียบเหมือนกับอาหารมื้อหนึ่ง”

คือขาดธุดงค์ไง พอขาดธุดงค์ท่านบอกว่า “ก็หลวงปู่เป็นไข้ หลวงปู่ป่วย หลวงปู่ร่างกายมันอ่อนแอ ฉันเพื่อความสุข เพื่อให้ร่างกายนี่มันพ้นจาก มันระบายความทุกข์นะ เพื่อความคลายความทุกข์บ้าง”

“ไม่ได้”

“ไม่ได้เพราะอะไร” ไม่ได้เพราะว่าท่านเห็นแก่ความสุขสบายอะไรของท่าน ไม่ได้ปั๊บท่านก็ชี้มาที่ลูกศิษย์เลย

“นี่ตาดำๆ มันมองอยู่อย่างนั้นเต็มไปหมดเลย”

คือมันเสียความมั่นใจของลูกศิษย์ไง โอ้โฮ! หลวงตาท่านบอกว่า “ถ้าอย่างนั้นพวกนั้นก็เทวทัต ถ้าใครมาจับผิด ใครไม่เห็นด้วย พวกนั้นก็ต้องเทวทัต”

เพราะอะไร เพราะเคารพบูชาใช่ไหม เคารพบูชา เราจะบอกว่า เคารพบูชา อยากทะนุถนอม ถ้าใจเรานะ เราทำบุญกุศลของเรา จนจิตเราเป็นอย่างนั้น การทำบุญใส่บาตร เราไม่ได้ทำด้วยสักแต่ว่าทำ เราไม่ได้ทำสักแต่ว่า ให้มันพ้นๆ ไป เราทำด้วยความทะนุถนอม เราทำด้วยหัวใจของเรา แต่เราไม่ยึดติด คือเราทำแล้ว พอมันพ้นจากมือเราไป เห็นไหม เราก็สาธุ บุญกุศลเราก็เต็มหัวใจ เห็นไหม

แต่ถ้าใจของคนมันหยาบ เห็นไหม พอใส่บาตรไปแล้ว ตามไปดูเลยนะ ข้าวในนั้นอยู่ในบาตรไหม ท่านเทข้าวเราออกหรือเปล่า โอ๊ย! จะตักแกงเราหรือเปล่าวะ เฮ้ย! แกงที่เราตักในบาตรท่านฉันหรือเปล่า โอ้โฮ! มึงจะจับกูขังคุกเหรอ มันตามไปดูขนาดนั้นเห็นไหม ใจมันหยาบ เห็นไหม

ถ้าใจมันเป็นธรรม เราฝึกเราหัดของเราจนมันเข้มแข็งขึ้นมา ติดไง เราว่าเราไปติด เห็นไหม พอเราไปติดมันเข้าไปติด โอ๊ย! ท่านเอาไปแล้ว ท่านทำ เอาไปทำอย่างไร เราประเคนท่าน ปฏิคาหก ผู้ให้ ให้ด้วยความบริสุทธิ์ ผู้ให้ เห็นไหม สิ่งที่เราได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เพราะเราให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ เราให้แล้วเรามีความชื่นใจ ปฏิคาหก

แต่ถ้าเป็นติด เห็นไหม ให้แล้วไม่ชื่นใจ ให้ไปแล้วนะ ตามเลย ท่านใช้ไหม ท่านทำไหม ปฏิคาหกครบไหม เราศรัทธาแต่เริ่มต้น เราเสียสละไปแล้ว ให้แล้ว ขณะเริ่มให้ ขณะให้ ให้แล้วมีความอิ่มเอมใจ ผู้รับ ผู้รับที่ผู้บริสุทธิ์ รับด้วยความบริสุทธิ์ ใช้ประโยชน์นั้นเป็นประโยชน์ เห็นไหม ปฏิคาหก บุญกุศลเกิดเต็มๆ เลย แต่เพราะเราเอง เราปรารถนาทำบุญกันเอง

แล้วเราก็ตัดทอนกันของเราเอง ตัดทอนด้วยความคิดของเราเอง เห็นไหม เราอธิบาย เราบอกว่า สิ่งที่ว่าไม่ได้คือได้ ไม่ได้คือได้ ได้คือไม่ได้ ไม่ได้เพราะเข้าใจ แล้วปล่อยวาง ถ้าเรา ที่เขาว่า เห็นไหม เราปฏิบัติแล้วไม่เห็นได้อะไรเลย ไม่เห็นได้อะไรเลย

เราปฏิบัติกันนี่นะ เราได้สติสัมปชัญญะ เราได้ชีวิตของเรา เราได้จิตที่บริสุทธิ์ เราได้ความสมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ แต่ถ้าเราได้ เห็นไหม เราได้ เห็นเหมือนได้วิมุตติ(หัวเราะ) แล้วทำไมภาวนาไม่เห็นได้อะไร ไม่ได้คือได้ ไม่ได้คือได้

ทีนี้พอไม่ได้คือเราเสียสละ เราปล่อยวางจนได้ เราปล่อยวางจนหมด มันก็เป็นหลักเกณฑ์เข้ามาใช่ไหม ทีนี้มันโดยสามัญสำนึกนะ นี่เราจะเข้าธรรมะ ธรรมะละเอียดไปเรื่อยๆ เห็นไหม จิตไม่ใช่ความคิด ความคิดไม่ใช่จิต ไม่ใช่แน่นอน ถ้าจิตเป็นความคิดนะ เวลาเราตายไป เราต้องเอาความคิดเราบีบคั้นเราไปตลอด

เวลาคนจะตายนะ เห็นไหม ปุถุชนตายนี่ เวลาเราตายความคิดกับเรามันเป็นอันเดียวกัน ความคิดกับเรา ปุถุชน ธรรมชาติของมนุษย์ไง คนเกิดเป็นมนุษย์ มนุษยสมบัติ คนเกิดเป็นมนุษย์ พอมนุษยสมบัติขึ้นมา มนุษย์มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ คือภาษา คือสิ่งที่สื่อความหมายกัน ภาษา สิ่งที่ฝ่ายความคิดมันมาจากใจ เห็นไหม เพราะเกิดเป็นมนุษย์มันถึงมี

ทำไมถึงบอกเกิดเป็นมนุษย์ล่ะ แล้วเกิดเป็นสัตว์มันมีไหม เกิดเป็นสัตว์มันก็มี เกิดเป็นสัตว์มันก็มี แต่มีประสามันเห็นไหม เกิดเป็นเทวดามีไหม เกิดเป็นนรกอเวจีมีไหม เกิดเป็นนรกอเวจีเขาก็มีของเขา เวลาเกิดเป็นเทวดา เห็นไหม มันไม่ใช่ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ อย่างเรานี้ เกิดเป็นพรหม เห็นไหม

พอเราเกิดเป็นมนุษย์นี่มันมีสิ่งนี้อยู่ พอมีสิ่งนี้อยู่ นี่คือสถานะไง คือที่ว่าอริยทรัพย์ อริยทรัพย์มันเกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์เป็นอริยทรัพย์ อริยทรัพย์ตรงนี้ไง ตรงนี้มนุษย์เกิดขึ้นมาแล้วนี่ มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ คือมีความคิดกับมีร่างกาย แต่ตัวจิต ตัวปฏิสนธิจิต ตัวพลังงานตัวนี้ไม่มีใครเคยเห็นมันไง สิ่งที่เป็นพลัง ตัวจิตตัวนี้ไม่มีใครเห็นมัน เห็นไหม

ทีนี้พอปุถุชนเราจะตาย พอปุถุชนเราจะตาย มันตายไปพร้อมกับความคิดไง เพราะความคิดกับจิตมันแยกกันไม่ได้ใช่ไหม พอมันตายไปกับความคิด สมมุติสิ ลองคิดว่าเราจะต้องตายเดี๋ยวนี้ เราห่วงอะไรบ้างล่ะ โอ๊ย! สิ่งที่ห่วง สิ่งที่ถนอมรักษา สิ่งที่ติดมัน นั่นล่ะๆ มันทำให้วิตกกังวล ให้เกิดความทุกข์ ให้เกิดจิตนี่มันต้องไปตามความคิดนั้น

ความคิดนี่เป็นอาภรณ์ของใจ เราถึงบอกว่าถ้าเราคิดเรื่องดี เราคิดเรื่องบุญกุศลนะ เราตายไปพร้อมบุญกุศล อาภรณ์คือเครื่องประดับ อาภรณ์คือชุดที่เราแต่งออก ที่จิตมันจะตายไป มันก็ไปเกิดบนสวรรค์ ถ้ามันทำดี เห็นไหม สุคโต จิตมันดี มันคิดแต่เรื่องดีๆ มันก็ไปเกิดสิ่งที่ดี จิตมันคิดชั่ว จิตมันไม่คิดชั่ว มันเป็นความชั่วเพราะมันทำบาปอกุศลมา มันต้องไปเกิดตามนั้น

ความคิดกับจิตมันไปอันเดียวกัน แต่พอไปเกิดเป็นเทวดาแล้ว ทำไมมันจำตอนเป็นมนุษย์นี้ไม่ได้ล่ะ ในเมื่อความคิดกับจิตมันเป็นอันเดียวกัน พอมันไปเกิดเป็นเทวดา ไม่รู้ กูมานั่งอยู่นี่ได้อย่างไร แล้วกูทำไมมาเป็นอย่างนี้ล่ะ อ้าว! เป็นอย่างนี้เพราะอะไร เพราะกูมีบุญมา นะ ถ้ามันทำ บุญเคยทำมา ทำมากับใคร

ความคิดไม่ใช่จิต ความคิดไม่ใช่จิต ตัวจิตเป็นตัวภพ เห็นไหม อาสวะ ๓ ไง กิเลสสวะ อวิชชาสวะ ภวาสวะ แล้วนี่ เห็นไหม ในคำถามหลวงปู่มั่น ที่เจ้าคุณจูม (จูม พนฺธุโล) ถาม กิเลสสวะนี่เข้าใจได้ อวิชชาสวะนี่เข้าใจได้ ภวาสวะนี่มันเข้าใจไม่ได้ มันเข้าใจไม่ได้เพราะอะไร เพราะตามประสาความรู้สึกของมนุษย์ไง ภพก็คือแผ่นดิน ภพคือสถานะ แผ่นดินเป็นกิเลสได้ไง

เนี่ย ภพไง สถานที่ไง ภพเป็นกิเลสได้อย่างไร ตัวภพนี่ กิเลสอันละเอียดสุดเลย เพราะอะไร เพราะสถานะไง นี่ปฏิสนธิจิต จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้คือตัวภพ จิตเดิมแท้นี้ หลวงตาท่านพูดของท่านบอกว่าจุดและต่อมของความคิด จุดและต่อมของความคิด จุดและต่อมของแสงสว่าง

จุดและต่อมของความคิด เห็นไหม มีสถานที่ ความคิดทุกอย่างมันเกิดจากภพ ตัวภพคือตัวจิต แล้วความคิดมันอยู่ที่ไหน มันเป็นภพเหรอ แล้วตัวความคิดมันเป็นภพไหม มันไม่เป็น แต่โดยสามัญสำนึกของความเป็นมนุษย์ไง โดยสัญชาตญาณ โดยความเป็นไป โดยสถานะ โดยสถานะเลย พอบอกว่าโดยสถานะ ความคิดกับจิต มนุษย์เป็นอย่างนี้

ถ้าพอเราจะเริ่มปฏิบัติ เราจะเริ่มปฏิบัติ ใช่ไหม เราพยายามพุทโธๆ เราจะกำหนดพุทโธๆ เราเรียกพุทโธออกไป มันไม่ตรงกับจริตนิสัยเรา ทำอย่างไรนะ มันเป็นสมาธิได้ เพราะเริ่มต้น เรากำหนดพุทโธๆ เป็นสมาธิบ่อยมากเลย แต่มันไปไม่ได้ มันเสื่อม แล้วมันไปไม่รอด มันเสื่อมนะ เวลาจะฟื้นขึ้นมา ฟื้นได้ แต่มันเหมือนกับเราอาบเหงื่อต่างน้ำ แต่ผลตอบแทนมันไม่ได้อย่างหวัง

อาบเหงื่อต่างน้ำเพราะทุ่มเทมาก ทุ่มเทมาก จน เอ๊ะ มันจะไปทางไหนรอดดีนะ ก็หาทางออกด้วยการใช้ปัญญา ใช้ปัญญาไล่ความคิดมา ไล่มา มันหยุดได้ มันเป็นประสบการณ์ที่เราหาเองนะ เพราะตอนนั้น ปัญญาอบรมสมาธิของหลวงตาท่านยังไม่ได้พิมพ์ออกมา พอเราปฏิบัติแล้ว พอเราเห็นช่องทางแล้ว แล้วมาเจอปัญญาอบรมสมาธิทีหลัง

แปลกเนอะ เราส่วนใหญ่จะมาเจออะไร ไอ้ข้อมูลนี้ทีหลังทุกทีเลย ตัวเองต้องไปทุกข์ยากก่อน มันบารมีขี้ทุกข์น่ะ บารมีมันต้องไปทุกข์ยาก พอเอาปัญญาไล่เข้ามาๆ เฮ้ย! ความคิดมันหยุดได้เว้ย เฮ้ย! ความคิดมันหยุดได้ แล้วเราก็ขึ้นไปถามอาจารย์ไง

“อ้าว! ทำไมความคิดมันไม่ใช่จิต”

“อ้าว! แล้วใครบอกมึงว่าเป็นจิตล่ะ”

อ้าว! เมื่อก่อนคนยังโง่อยู่ไง ตำราก็พูดอย่างนั้น แต่เมื่อก่อนคนยังโง่อยู่ พอไปเห็นเข้า เฮ้ย! ความคิดไม่ใช่จิต ตัวเองก็งงนะ งงขึ้นมาเลย อ้าว! ทำไมไม่ใช่จิตล่ะ แล้วบอกเพราะมันตำราว่าอย่างนั้น เราเห็นจริงแล้วด้วย พอเห็นจริง มันดับได้ มันหยุดได้ พอมันดับได้หยุดได้ปั๊บ แต่มัน แป๊บๆๆ แป๊บเดียว เร็วมากเลย พอเร็วมากปุ๊บ สติเราตามไป ตามไปๆ มันเริ่มระยะห่าง คือว่าพอมันหยุดแล้วมันหยุดได้นานขึ้น นานขึ้นๆๆๆๆ

พอนานขึ้นถึงที่สุดนะ เราใช้ปัญญา เพราะปัญญาเราไล่เข้าไปบ่อยๆ ไล่ความคิดเข้าไปบ่อย แล้วความคิดมันเกิดจากอะไร ความคิดกับจิตมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ความคิดมันเกิดขึ้นมาจากจิตได้อย่างไร ความคิดมันมาจากไหน ไล่เข้าไปๆ อ๋อ มันเกิดจากข้อมูลของจิตเอง

เช่น เราไม่รู้ว่านี่คืออะไร เราดูอย่างไร เราก็ไม่รู้มันคืออะไร จริงไหม แต่ถ้าเรารู้ว่ามันเป็นอะไร เราพอดูปุ๊บเราก็รู้ว่ามันเป็นอะไร จิตที่มันไม่รู้ว่ามันเป็นอะไร มันจะรู้ว่ามันเป็นอะไร จิตนี่มันไม่รู้ อย่างเช่นประสาที่เราฟังไม่รู้เรื่อง เขาพูดกันทั้งวันเลย เราฟังรู้เรื่องไหม ไม่รู้หรอก จิตข้อมูลที่ความคิดมันเกิดจากข้อมูล คือเกิดจากสัญญา สัญญาของจิต

เราเทศน์บ่อยมาก บอกเด็กๆ มันเกิดมานี่มันไร้เดียงสานะ มันใสสะอาดมากนะ ก็ต้องบอกนะ หนู ไอ้นี่ผิดนะ ไอ้นี่ถูกนะ สอนให้มันทุกข์ไง สอนให้มันรู้จักข้อมูลอย่างนั้น อย่างเราเรียนหนังสือนี่ เราเรียนหนังสือ เราเรียน เราไปจำมาทั้งนั้น เราจำมาทั้งหมดเลย นี่ไง ข้อมูล พอเราจำมาแล้วนะ ตำราบอกว่านี่ผิด ตำราบอกว่านี่ถูก แต่กูไม่รู้ถูกหรือผิดนะ แต่ตำราบอก

นี่ไง ไม่รู้จักข้อมูลใช่ไหม พอเรื่องมากระทบปั๊บ มันก็เกิดความคิด ความคิดเกิดเพราะสัญญา ความคิดเกิดจากใจเรา ใจจริงๆ ไม่ใช่ความคิด แล้วมันคิดขึ้นมาได้อย่างไร มันคิดขึ้นมาได้จากรูป รส กลิ่น เสียง รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ได้ยินไหม ได้ยินชัดๆไหม ชัดไหม รูป รส กลิ่น เสียง เสียงที่มันกระทบ นี่ไง ตัวกระตุ้น มันก็เป็นมัน เสียงก็มีอยู่แล้วทั้งนั้นน่ะ แต่ไม่มีข้อมูล ไม่มีเราไปรับรู้ไง

พอเราไปรับรู้ พอรับรู้ปั๊บ ดีหรือชั่ว ถูกหรือผิด เราไปรับรู้ขึ้นมาเอง พอรับรู้มันก็เทียบไง พอใจไม่พอใจ มันมีแรงขับ พอสิ่งนี้มันกระทบปั๊บ สัญญา ใจมันเร็วมากนะ ตัวภพมันมีใช่ไหม ตัวมีสัญญาข้อมูลใช่ไหม พอมีข้อมูลปั๊บ พอมีข้อมูลขึ้นมา พอรับรู้มันแยกไง มันให้ค่า ให้ค่าสุขทุกข์ดีชั่วนี่ สังขารปรุง ปรุงทันทีเลย พอปรุงมันก็ไปแล้ว พอปรุง สังขารปรุง เวทนานี่รับรู้

พอยิ่งปรุงอย่างที่เราคิดเรื่องใครติฉินนินทาเรานะ ยิ่งคิดยิ่งเจ็บช้ำน้ำใจ ยิ่งชอบคิดยิ่งคิด ยิ่งปรุงมันยิ่งมันไง ยิ่งปรุงมันยิ่งเจ็บแสบไง ยิ่งปรุงก็ยิ่งน้ำตาไหลไง ยิ่งน้ำตาไหลก็ยิ่งคิดไง โอ้โฮ! มันก็ยิ่งอร่อยไง โอ้โฮ! มันก็ไปใหญ่เลย เพราะอะไร เพราะโง่

แต่ถ้ามันมีสติมันทันนะ พอมันทันขึ้นมานี่มันทันความคิดไง พอมันทันความคิดมันหยุด มันหยุดที่ข้อมูล ถ้ามันไล่ไป ไล่ไป มันเห็นปั๊บมันขาดเลยนะ รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร พระพุทธเจ้าเทศน์ไว้ชัดเจนมากเลย รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้ มันบูชาไง มันหลอกล่อไง รูป รส กลิ่น เสียง นี่มันหลอกล่อ แต่เราก็โง่คิดตามมันไป เห็นไหม

ความคิดมันเกิดอย่างนี้ ความคิดไม่ใช่จิต ไม่ใช่ ถ้าความคิดเป็นจิตนะ พวกเรานี่เรียนหนังสือมาแล้วไม่ลืมเลย จำแม่น เพราะเป็นอันเดียวกัน เพราะทำไม เพราะจิตมันอยู่กับเราตลอดไป จิตมันอยู่กับเราตลอดไป คนที่เกิดมาจนวันตาย จิตมันออกจากร่าง คนที่ยังมีชีวิตอยู่ จิตยังอยู่ในร่างเราตลอดเวลา

“ถ้าจิตมันอยู่ในร่างตลอดเวลา มีจิตอยู่ตลอดเวลา แล้วความคิดทำไมลืม สิ่งที่ศึกษามาทำไมลืม มันเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า”

ถ้าอันเดียวกัน จิตมันมีอยู่ตลอดเวลา มันอันเดียวกัน มันจะลืมได้อย่างไร เรามีจิตอยู่ตลอดเวลา ถ้ามันเป็นอันเดียวกัน มันลืมได้อย่างไร พอมันลืมไม่ได้ก็ต้องไปทบทวน ไอ้อย่างนี้มันแก้ไขได้ แล้วมันอยู่ที่วาสนาด้วย สายบุญสายกรรม ถ้ากรรมเราดีเห็นไหม พระโพธิสัตว์ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย การสร้างสมบุญญาธิการทำให้เชาวน์ปัญญา ทำให้สิ่งที่พระโพธิสัตว์จะใคร่ครวญมันลึกซึ้งมาก

พอลึกซึ้งมาก สิ่งใดกระทบขึ้นมานี่ มันจะมีปัญญาอะไรนะ เขาเรียกเชาวน์ปัญญา แล้วมันเกิดขึ้นได้อย่างไร สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ เกิดขึ้นได้ด้วยการภาวนา นั่งกำหนดสมาธิพุทโธๆ จะเกิดปัญญา แล้วจะเกิดดีมาก ทีนี้มันมาย้อน มาเน้นย้ำที่พระจูฬปันถก พระจูฬปันถก เห็นไหม ความจริง ผู้ที่จะเป็นพระอรหันต์มันต้องแสนกัป ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ต้องแสนกัป ต้องสร้างบุญบารมีมามาก

แล้วจูฬปันถก มหาปันถกคือพี่ชาย พี่ชายเวลาปฏิบัติแล้วออกบวช ชีวิตลำเค็ญมากในพระไตรปิฎกนะ มันเป็นเรื่องบุญกุศล พอเกิดขึ้นมาแล้ว มันไปอยู่กับตา เพราะพ่อแม่หนีตามไปไง แล้วก็ไปอยู่กับตา ตาก็รับไว้ รับลูกไม่ได้เพราะลูกหนีตามผู้ชายไป ก็เอาแต่ลูกไว้ ก็เอาแต่ลูกไว้ ใครมาถามนี่ลูกใคร ก็ลูกหลาน ก็ลูกของลูกสาว แต่ลูกสาวนี่ไม่เอาไว้ พอไม่เอาไว้ปั๊บ นี่พ่อนะ พาไปไหนปั๊บก็มีปมในใจอยู่เหมือนกัน

ทีนี้เขาสร้างบุญบารมีของเขามา พอไปถึง ไอ้หลานนี่มันก็ ชีวิตเรามันก็ไม่เหมือนเขา ก็เลยบอกตาบอกอยากบวช ตาก็อนุญาตให้บวช มหาปันถกคือว่าพี่ชายบวชก่อน พอบวชแล้วไปภาวนาเป็นพระอรหันต์ เป็นพระอรหันต์ปุ๊บก็คิดถึงน้องชาย ก็อยากให้น้องชายมาบวชบ้าง

ทีนี้เอาน้องชายมา เห็นไหม น้องชายมาบวชแล้ว ให้ท่องมนต์บทหนึ่ง ท่องไม่ได้ ท่องอย่างไรก็ท่องไม่ได้ แล้วท่องไม่ได้ เห็นไหม พอท่องไม่ได้ปั๊บ ไล่ให้สึก ทีนี้พระพุทธเจ้ารู้ถึงบารมี ไปดักที่ประตูเลย

“จูฬปันถกเธอบวชเพื่อใคร เธอบวชกับใคร”

“บวชกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

“แล้วจะไปไหน”

“จะไปสึก”

“ใครให้สึก”

“พี่ชายให้สึก”

“ไม่ต้องสึก บวชเพื่อเราก็มาอยู่กับเรานี่”

เอาผ้าขาวให้ลูบไง “ผ้านี้ขาวหนอ ขาวหนอ” ทีนี้ผ้าขาว พอลูบไปนี่ทำไม มือเราลูบผ้าขาวไปแล้วก็ดำเป็นธรรมดา พอดำมันก็ ปิ๊ง! พระอรหันต์เลยนะ ทีนี้พอเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาแล้ว พระก็แปลกใจ ประสาเราคนโง่อย่างนี้เป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร มันไม่ใช่โง่ ความโง่อย่างนี้นะ เพราะพระพุทธเจ้าบอกว่า “อดีตชาติเขาเคยเป็นกษัตริย์”

คนเป็นกษัตริย์จะมีปัญญาไหม เป็นกษัตริย์นี่มีปัญญา แล้วเป็นกษัตริย์ออกตรวจพลสวนสนาม ออกตรวจแล้วฝุ่น รถม้า สมัยโบราณมีรถม้า ทีนี้พอเอาผ้าเช็ดหน้าไง มันดำ มันฝังใจไง จากที่เป็นกษัตริย์จากที่มีปัญญา แต่เพราะที่ว่าทำไมบอกว่า ให้ท่องมนต์บทหนึ่งก็ไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร

มีอยู่ชาติหนึ่งเกิดเป็นพระ ฉลาดมาก ท่องปาติโมกข์ทุกอย่างได้หมดเลย แล้วบางทีพระเห็นไหม ดูพระเรานี่ มีพระใหม่บวชเข้ามา ๕ พรรษาจะท่องปาติโมกข์ เพื่อให้ฉลาดให้มีความรู้ไง ทีนี้พอท่องปาติโมกข์ไป ไอ้คนนั้นท่องผิดๆ ถูกๆ ไง ไปเยาะเย้ยเขา ไปหัวเราะเขา จนพระนั้นอาย ไม่กล้าท่องอีกเลย กรรมอันนั้นทำให้ปัญญาคิดไม่ได้เลย

เราจะย้อนกลับมาที่ว่า “จิตไม่ใช่ความคิด ความคิดไม่ใช่จิต” แต่มันดัดแปลง เปลี่ยนแปลงได้อย่างนี้เห็นไหม ด้วยกรรม ด้วยบุญ ความคิดของเรานี่มันจะโลดแล่น ความคิดของเราจะมืดตื้อ ความคิดของเราจะอั้นตู้ มันก็มีกรรมเข้ามาอีกเห็นไหม กรรมนั้นก็ตัวส่งเสริมให้ตัวความคิดของเรามันเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกัน แล้วตัวเชาวน์ปัญญามันจะเกิด เกิดจากการกระทำของเรา

ทีนี้สิ่งนี้เราจะใช้คำพูดอย่างนี้ประจำว่า เป็นสัญชาตญาณ คำว่าสัญชาตญาณ ของมันมีอยู่ ของมันเป็นอยู่ แต่มันมีอยู่เป็นอยู่โดยสามัญสำนึกของมนุษย์ที่เราเอามาใช้สื่อสารกัน แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน ธรรมะเกิดจากใจ ธรรมะเกิดจากใจ ใจนี้เป็นผู้บรรลุธรรม ทีนี้ธรรมะเกิดจากใจ ใจมันมีอะไรเป็นผู้ข้อง ใจมันจะสื่อสารกับใจของเราเองได้อย่างไร

ทีนี้ความคิดมันเกิดจากจิต มันใกล้จิตที่สุด เห็นไหม ความคิดเกิดจากจิต เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาสอนก็สอนกลับมาที่ความคิด แล้วเอาความคิดนี้ไล่ต้อนกลับไปที่จิต เพราะจิตนี่เป็นตัวเกิดตัวตาย จิตนี้เป็นตัวเกิดตัวตายหรือตัวภวาสวะ ตัวภพ ตัวปฏิสนธิจิตมันเป็นตัวเกิดตัวตาย แล้วความคิดเกิดจากที่ตรงนั้น

ความคิดเกิดมาจากจิตแต่ไม่ใช่จิต ทีนี้ความคิดมาจากจิต มันความสัมพันธ์ถึงที่จิตเห็นไหม ถึงย้อนกลับไปที่จิต ไล่เข้าไป ปัญญาอบรมสมาธิ จนจิตมันสงบเข้าไป ไปถึงตัวจิตเห็นไหม แล้วตัวเกิดดับๆ นี่ไงตัวเกิดดับๆ ตัวจิต ตัวเกิดดับนี่ เราคอยตะครุบมัน ถ้ามันเสวยอารมณ์ ถ้าเราตะครุบความคิดได้ เห็นไหม จิตเห็นอาการของจิต วิปัสสนาเกิดตรงนี้ จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นความคิดไง ความคิดถึงเป็นเปลือก (จะอวดว่ามึงฉลาดสักนิดหนึ่ง) เพราะมันเห็นชัดเจนเห็นไหม

เราจะพูดประจำ เราพูดออกมาด้วยความรู้สึกของเรา เห็นไหม ว่าความคิดเป็นเปลือกส้ม จิตเป็นเนื้อส้ม เปลือกส้มกับเนื้อส้มมันเป็นอันเดียวกันไหม เรายกตัวอย่างขึ้นมาชัดเจนมากนะ ว่าความคิดคือเปลือกส้ม ตัวจิตคือตัวเนื้อส้ม ตัวเนื้อส้มไม่ใช่เปลือกส้ม แต่โดยสมมุติ โดยสามัญสำนึกของมนุษย์ เราก็พูดบ่อย เราพูดบอกว่า

“โดยการเราหยิบผลส้มนี่ เราหยิบส้ม เราหยิบส้มเราจับส้ม เราจะไม่โดนเปลือกส้ม เป็นไปได้ไหม ไม่ได้ เราหยิบอะไรมันก็โดนเปลือกส้มทั้งนั้น แต่ตัวเปลือกส้มมันมีเนื้อส้มอยู่ในเปลือกส้มนั้น”

เราจะจับหาจิตเราต้องจับความคิด เห็นไหม ตัวความคิด ถ้าความคิดเราไล่ความคิดไปนี่ แล้วเราก็ปอกเปลือกส้ม เราจะเข้าไปถึงตัวเนื้อส้ม แล้วตัวเนื้อส้มมันหวาน ทีนี้เราศึกษาธรรมะกันด้วยความโง่ เราก็ว่านามรูปๆ ปฏิบัติเป็นนามรูป รูปเกิดรูปดับ นามรูปนามเกิดดับ มึงกินเปลือกส้ม เปลือกส้มขมตายห่าเลย แต่มึงบอกว่าว่าง.. ว่าง..

ความคิด เกิดดับอะไรเกิดดับ ความคิดเกิดดับ ตัวจิตมีเกิดดับไหม ตัวจิตเกิดดับไหม แล้วสิ่งที่เกิดดับคือความคิด แล้วพอความคิดเกิดดับ ดูนี่ ดูนาม ดูรูป ดูเกิด ดูดับ แล้วก็รู้ธรรมๆ

เราถึงบอกว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เราพูดบ่อย เห็นไหมที่ว่าหลวงปู่มั่น ในมุตโตทัย หลวงปู่มั่นบอกเลย การเหยียด การดื่ม การคู้ เราต้องมีสติตลอดเวลา สตินี่มันสติจริงๆ เวลาเราปฏิบัติกัน พระป่าที่ปฏิบัติ เดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา เราทำตามข้อเท็จจริงเห็นไหม เพราะคนรู้จริงสอนจริงๆ แล้วสอนจริงๆ

พอสอนจริงๆ เพราะมันเป็นเรื่องสิ่งที่เร็วมาก ความคิดมันเร็วมาก ความรู้สึกมันเร็วมาก ในเมื่อเร็วมาก เราจะทันมัน มันก็เป็นเรื่องที่ทุกข์ยากมาก นี่ไงที่ว่ากำหนดพุทโธ ปฏิบัติแล้วมันยุ่งมันยาก มันปฏิบัติยุ่งยากมาก โอ๊ย! ทุกข์มาก ทุกอย่างทุกข์ยากหมดเลย

เอ็งอยากสบายไหม เอ็งอยากสบาย นามรูปไง สบายนะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเวลาเราดื่มใช่ไหม เราไม่ทันใช่ไหม เราก็บอกดื่มหนอ เวลาเราเคลื่อนไหวใช่ไหม เราไม่ทันมัน เพราะมันเร็วมากใช่ไหม เราก็เคลื่อนไหวหนอ

ความจริงมันเป็นการกระทำที่มันเป็นสัจจะของมันอยู่แล้ว ทำไมต้องไปสร้างภาพขึ้นมาเพราะเราไม่ทันมันใช่ไหม เราไปสร้างเงาขึ้นมา กูตะครุบเงาๆๆ แล้วพอตะครุบเงา โอ๊ย! เงาไม่มีอะไรเว้ย นั่นนามรูปว่างเว้ย แหม แต่ความจริงไม่ได้อะไรเลย แล้วกินเปลือก เอาเปลือกส้มไปกิน มันก็เลยไม่รู้จักสมาธิไง ความคิดไม่ใช่จิตนะ

แต่ทีนี้ความคิดไม่ใช่จิต ผู้ที่ภาวนาเป็น เรื่องนี้ชัดเจนมาก แล้วเวลาหนังสือมันออกมา หนังสือมันออกไป เวลาเรา คนที่ไม่เป็น เห็นไหม หลวงตาท่านบอกเลยล่ะ ถ้าคนไม่เป็น ไม่รู้ไม่เป็นเขียนไม่ได้ พูดไม่ได้ ถ้าพูดไปมันจับต้นชนปลายไม่ถูกไง มันก็จะบอกว่า สรรพสิ่งเป็นเรา คิดก็เป็นเรา แล้วนามรูปก็เป็นเรา สรรพสิ่งก็เป็นเรา มันปล่อยวางได้

โดยสามัญสำนึก ความคิดเรา เรายังลืมเลย บางทีเราลืมทุกอย่าง อย่างที่เราเป็นสิ่งที่ดี ลืมทั้งนั้นน่ะ ถ้าลืมอย่างนั้นทำไมไม่เป็นพระอรหันต์ล่ะ ก็ความคิดไม่ใช่เราแล้ว ทำไมไม่เป็นพระอรหันต์ล่ะ มันไม่เป็นเห็นไหม ไม่เป็นเพราะมันเป็นสามัญสำนึก มันเป็นเรื่องธรรมดา

แต่เวลาเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันไล่ความคิดของเราเข้าไป ไล่ความคิดของเราเข้าไป พอไล่ความคิดของเราเข้าไป เรารู้เราเห็น สันทิฏฐิโก สิ่งที่จะเป็นธรรมต้องประจักษ์กับเรา ต้องรู้ต้องเห็น ต้องสัมผัส แล้วมันก็ทำให้เราตื่นตัว ให้เรารู้ทันใช่ไหม

ไอ้นี่ฟังเขาว่าน่ะ เออๆ กูรู้แล้ว กูเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่รู้ใครบ้า มันต้องประจักษ์ มันต้องจับต้อง ทีนี้พอมันจับต้องมันยากสิ จริงๆ แล้วเราสงสารทุกๆ คนที่ปฏิบัตินะ เพราะเราต้องสงสารตัวเราก่อน เพราะเราทุกข์มามาก ปฏิบัตินี่เราทุ่มเทมากนะ ทีนี้พอเราทุ่มเทมาก เราทุ่มเทมากแล้ว เราทำของเรานี่มันได้ผล ได้ผลคือว่า เราประจักษ์กับตัวเราว่าเราแน่ใจตัวเราเองมาก

ทีนี้พอเราแน่ใจตัวเราเองมาก คนที่ปฏิบัติมันก็ต้องประจักษ์อย่างนี้ขึ้นมา ถ้าไม่ประจักษ์ ธรรมะเราไม่ไปเห็นไปรู้ ตรงประจักษ์กับใจเราขึ้นมา มันแก้สงสัยเราไม่ได้หรอก ที่มันแก้สงสัยเราไม่ได้ มันแก้ความหลงของเราไม่ได้หรอก ทีนี้ถ้าเราจะแก้ความหลงของเรา เราก็ต้องทุ่มเทอย่างนี้ พระโสดาบัน พระสกิทา พระอนาคา พระอรหันต์ ต้องทำอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ ถึงเป็นพระโสดาบัน พระสกิทา พระอนาคาจริง

แต่ที่เขาพูดกันมันไม่มีข้อเท็จจริงอย่างนี้ไง มาหาเราแล้วปฏิบัติสะดวก มาหาเราปฏิบัติง่าย ไอ้เราก็ชอบง่ายกันอยู่แล้วนะ ก็ลงไปช่องทางเขาหมดเลย แล้วบอกยาก พอบอกยาก ยากไม่เอาๆ แล้วของจริง ความเป็นจริง เราไม่เอา เราก็จะไปเอาแต่ของปลอม แล้วเวลาปฏิบัติไปแล้วเราจะเอาอะไร ถ้ามีความเชื่อมั่นอย่างนี้นะ แล้วเวลาปฏิบัติ เราจะไม่บอกว่าเราปฏิบัติแล้วยากเลย อ้าว! ยากเพราะเราจะพ้นจากทุกข์ ยากเพราะเราจะเอาชนะตัวเราเอง มันเป็นสิ่งที่ยากที่สุด ยากมากๆ แต่ไม่พ้นวิสัยมนุษย์ จะเอาแต่ความสะดวกสบายอย่างนั้นกันมันเป็นไปไม่ได้หรอก

สิ่งที่จะมันเอาของมันเป็น แล้วมันจะเป็นของมัน มันจะเป็นของมันไปได้อย่างไร ทีนี้เวลาบอก ใครเขามาก็จะบอกยากๆ บอกยาก ยากก็ต้องยอมรับว่ามันยาก พอยากขึ้นมาแล้วเราจะหลบหลีกเลย บอกยากไม่เอา กูจะเอาง่าย แล้วก็จะไปหาสิ่งที่ง่ายๆ เสร็จ เสร็จหมด เพราะกิเลสมันพอใจอยู่แล้ว กิเลสมันชอบอยู่แล้ว แล้วไปเข้าทางมัน มันจะไปไหน มันก็เป็นเรื่องของกิเลสหมดล่ะสิ

มันยากก็ฝืน มันยากก็สู้ มันยากก็ทน แล้วสิ่งที่ปฏิบัติ เห็นไหม เรานี่ ดูสิ เราโตมาจากไหน แล้วคลอดออกมา ร่างกายนี่ อาการ ๓๒ นี่ครบ แล้วมันก็โตขึ้นมาเป็นเราใช่ไหม เป็นคนหนุ่มคนสาว แล้วก็จะแก่เฒ่าไป การปฏิบัติก็เหมือนกัน มันมาจากไหน มันก็มาจากจิต ความคิดมันก็ไปอยู่ที่จิต ทุกอย่างมันมาที่จิต ไอ้ของที่เราใช้สอย อย่างเรา เห็นไหม อย่างเฟอร์นิเจอร์อย่างเสื้อผ้า เราตัดออกจากข้างนอกเข้ามา แล้วเราเอามานุ่งห่ม มาใส่

ไอ้นี่เราตัดมาจากวัตถุใช่ไหม แต่ถ้าตัวจิตเรามีให้มันตัด มันจะตัดมาได้ไหม มันจะไปเกิดมาจากไหน มันก็เกิดมาจากใจเรานั่นแหละ พอมันเกิดมาจากใจเรา เราก็ต้องจี้เข้าไปตรงนั้น ต้องไปแสวงหาตรงนั้น ต้องไปทำกันตรงนั้น มันจะเร็วขนาดไหนมันก็ต้องสู้ ต้องทำ มันไม่ใช่จิต เพราะอะไรรู้ไหม เพราะถ้ามันสงบ มันไม่มีความคิด

นี่พอสงบไม่มีความคิด นี่สงบไม่มีความคิดนะ ถ้ามีความคิดความฟุ้งซ่าน มันสงบได้อย่างไร เพราะอะไร เพราะตัวจิต ตัวพลังงานมันไม่มีความคิด มันก็เป็นจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส ผ่องใส แล้วความคิด ความคิดมันเป็นเปลือก ความคิดมันทำให้ขุ่นมัว เพราะมีการ มีความคิด มีความขุ่นมัว เห็นไหม ตะกอนในน้ำถ้ามีคนไปกวนมัน มันก็ขุ่น ความคิดมันคิดอยู่บ่อยๆ มันคิดอยู่ตลอด จิตมันก็ขุ่นมัว

ทีนี้ถ้าเราจะทำให้มันใส ความคิดมันต้องไม่มี พอความคิดไม่มี มันก็ไม่มีอะไรไปกวนให้ตะกอนนั้นขุ่นใช่ไหม สมาธิคือความไม่คิด แต่ไม่คิดมีสติ มีความรับรู้อยู่ ไม่ใช่สมาธิกับความไม่คิด ก็สลบไปเลยสิ วางยา เอ๋อไปเลย มันก็ไม่ใช่สมาธิอีกล่ะ เพราะสมาธิมันมีมิจฉา มีสัมมา มิจฉาสมาธิคือสมาธิหัวตอไง เฉย..เฉย.. อยู่นี่ไม่มีสติ สมาธิหัวตอ สมาธิก็มีสมาธิหัวตอ มีมิจฉาสมาธิ มีสัมมาสมาธิ

สมาธิถ้าคนปฏิบัติสมาธิไปมันจะรู้เรื่องสมาธิอีกเยอะแยะเลย แล้วพอเป็นสมาธิแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีสมาธิจะไม่เกิดโลกุตตรปัญญา จะไม่เกิดมรรคญาณ ความคิดตรึกในธรรรม การศึกษาในธรรมะทั้งหมดเป็นโลกียปัญญา เป็นปัญญาของกิเลส คือปัญญาจากภพนี่ไง ปัญญาจากตัวฐานของความคิด แล้วตัวฐานความคิดเป็นอวิชชา พออวิชชาเกิดความคิดขึ้นมา ก็เกิดอวิชชาอยู่แล้วใช่ไหม

พอเกิดอวิชชา อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารา ปจฺจยา วิญฺญาณํ มันก็หมุนออกไป มันก็หมายถึงว่าเป็นภพเป็นชาติ เป็นภพเป็นชาติ ภพชาติโดยความคิดไง “ความคิดหนึ่งก็เป็นชาติหนึ่ง ชาติหนึ่ง” เร็วขนาดนั้นนะ แล้วพอไล่เข้าไป นิโรโหตุ เห็นไหม นิโรโหติ มันดับไป ดับๆๆๆ ดับจนถึงตัวจิต แล้วตัวจิตมันดับ ดับอย่างไร

ถ้าความคิดเป็นจิตนะ เวลาพระอรหันต์ตาย มันจะเหมือนปุถุชนตายไง ตายไปพร้อมกับความคิด พระอรหันต์กับปุถุชนตาย ต่างกันตรงนี้ไง เพราะพระอรหันต์นี่ขันธ์ ๕ เห็นไหม รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นภาระ เห็นไหม เป็นภาระ ขันธ์ ๕ เป็นภาระ ขันธ์ ๕ เป็นสิ่งที่ต้องรักษา แต่ถ้าเป็นปุถุชน ขันธ์ ๕ เป็นมาร เพราะพระอรหันต์นี่ตัดหมด ตัดความคิดออกหมดเลย แล้วทำลายตัวพลังงานนั้นด้วย

ตัวพลังงานนั้นคือตัวอวิชชา คิดดูสิ ไม่ใช่แต่ความคิดนะ แม้แต่ตัวพลังงานนั้นยังต้องทำลายเลย แล้วความคิดมันจะเกิดได้อย่างไร แล้วพอทำลายไปแล้วมันจะเหลืออะไร เหลือธรรมธาตุไง

“ความคิดไม่ใช่จิตเด็ดขาด”

แต่ความคิดนี้เราเอามาใช้ประโยชน์ ทีนี้พอมาใช้ประโยชน์ เราจะให้กำลังใจตลอดเวลา ว่าเวลาประพฤติปฏิบัติ เราคิด มันเป็นสมมุติหมดล่ะ เราคิด มันเป็นโลกียปัญญาหมด เปลือกส้ม เราจะหยิบส้ม โดยที่ไม่โดนเปลือกส้มก่อนไม่ได้หรอก เราต้องหยิบส้มขึ้นมาแล้วแกะเปลือกออก เราจะได้กินรสส้มหวานหอม

เราก็ใช้ความคิดเรานี่แหละ ปลดเปลื้องความคิด ใช้ปัญญาอบรมสมาธิไง ถ้าเราไม่หยิบผลส้มขึ้นมาแกะ เราจะได้กินรสเนื้อส้มนั้นไหม ถ้าเราไม่จับที่ความคิด ไม่จับไปที่ความรู้สึกของเรา เราจะได้สมาธิไหม ทีนี้พอเราจับขึ้นไป เราจะปฏิเสธเลย บอกว่าขอส้มที่ไม่มีเปลือก เอ็งต้องผสมพันธุ์เอง ผสมพันธุ์ขึ้นมา แล้วปลูกเอง ส้มที่ไม่มีเปลือก มันไม่มี มันไม่มีมันเป็นไปไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่สอนสิ่งที่ไม่มีไม่เป็นนะ พระพุทธเจ้าสอนสิ่งที่มีที่เป็น แล้วสิ่งที่มีที่เป็น มันเป็นจากเรา มันเป็นจากเรานะ มันเป็นจากเรา

เอาอันนี้ก่อน มาก่อน

ถาม : นั่งสมาธิปฏิบัติ จิตเกิดตัวรู้ว่าร่างกายเหมือนบ้านเช่า ถ้าเราติดอยู่ เราต้องย้ายที่อยู่เรื่อยๆ ไป เป็นการรู้แบบใดคะ

หลวงพ่อ : เป็นการความรู้แบบดีมาก เพราะเวลานั่งสมาธิปฏิบัติ จิตเกิดความรู้ขึ้นมา เขาเรียกว่า “ธรรมเกิด” คำว่าธรรมเกิด เห็นไหม เพราะว่า เราก็รู้อยู่ถ้าเราเปรียบเทียบ เห็นไหม คนเช่าบ้านเขาอยู่ เวลาเราย้ายบ้าน มันก็ต้องย้ายเป็นธรรมดา อันนั้นเป็นคนอื่นที่เขาใช้ดำรงชีวิตของเขา แต่ขณะที่จิตเราสงบ จิตเรามีหลักมีเกณฑ์ พอมันมี เหมือนกับร่างกายนี้ เหมือนบ้านเช่า เราติด ย้ายอยู่ไปเรื่อยๆ มันเป็นธรรม

ความคิดอย่างนี้เกิดขึ้นมา มันจะเกิดขนลุกขนพอง เกิดจากความสุข “ธรรมะเกิด” ธรรมะเกิด ไม่ใช่อริยสัจเกิด ธรรมะเกิด สิ่งนี้เป็นความรู้แบบใด เป็นธรรมเกิด แต่คำว่าธรรมเกิดนะ คำว่าธรรมเกิด คือธรรมะมีอยู่แล้ว แล้วจิตของเรา เราเคยสร้างบุญกุศลกันมา เราเคยเป็นชาวพุทธ เราเคยตักบาตร เราเคยฟังเทศน์มา ฟังธรรมมา

คนไปเกิดเป็นเทวดา อินทร์ พรหม เห็นไหม เขาเคยทำบุญทำกุศลเขาก็ไปเกิด เวลาพูดถึงธรรมะ เขาสะเทือนใจเขา นี่เหมือนกัน สิ่งที่มันมีอยู่ในใจเรา พอจิตเราสงบขึ้นมา เหมือนกับเราทำความสะอาดบ้านเรา พอถูๆ ไป สิ่งที่เราซ่อนไว้ในบ้านมันตกอยู่ใต้พรมไม่เคยเห็น นี่ไงเราเจอเพชรนิลจินดาตกอยู่ในพรม เราจะโอ้โฮ! ๆ นี่ก็เหมือนกัน พอจิตมันสงบเข้าไป มันไปเกิดข้อมูลจากใจที่มันขึ้นมาเป็นธรรม

พอมันเป็นธรรม เห็นไหม มันก็เป็นจริงๆ ร่างกายนี่นะ เวลามันตายมันเกิด มันก็เหมือนกับเราเกิดในวัฏฏะ ไปเกิดเป็นคนนี้ ก็ได้ร่างกายนี้ ตายไปเกิดเป็นคนใหม่ก็ได้ร่างกายใหม่ มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เป็นอย่างนั้นจริงๆ โดยวัฏฏะ แต่โดยวัฏฏะ เห็นไหม นั่นคือข้อเท็จจริง แต่ขณะที่มันเกิดกับความรู้สึกของเรา มันเป็นธรรมะเตือนเราไงว่า

“ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติ เราก็จะต้องย้ายบ้านหลังนี้ไปอยู่อีกหลังหนึ่ง”

มันได้บ้านมาเพราะภพ อย่างที่ว่าเมื่อกี้นี้ ภพ ภวาสวะ ตัวภพ มันจะได้บ้านอีกหลังหนึ่ง ได้ไปเรื่อยๆ เวลาพระพุทธเจ้าชนะมาร เห็นไหม เรือนยอดสามหลัง ความโลภ ความโกรธ ความหลง แล้วรวมเป็นเรือนยอด เราได้หักเรือนยอดนั้นแล้ว จะเกิดอีกไม่ได้เลย อันนี้เป็นการประพฤติปฏิบัติขึ้นมาโดยความเป็นจริง แต่ขณะที่เกิดอย่างนี้เป็นธรรมเกิด

ธรรมเกิดคือธรรมะ คือความรู้สึก ธรรมะคือความรู้สึกเห็นไหม ธรรมะ หลวงตาท่านพูดบ่อย ธรรมะที่สัมผัสธรรมะได้แท้จริงคือหัวใจของเรา หัวใจเราสัมผัสสุข สัมผัสทุกข์ สัมผัสดี สัมผัสชั่ว ภาชนะที่ใส่ธรรม ที่สัมผัสจริงๆ คือหัวใจของเรา ไม่ใช่พระไตรปิฎก พระไตรปิฎกเป็นหนังสือ มันไม่มีความรู้สึก เพียงแต่เราจดจารึกไว้เพื่อค้นคว้ากัน เราจดตำราไว้ในพระไตรปิฎกใช่ไหม เราเอาไว้เปิดอ่านๆ

พระไตรปิฎกมันรู้สึก รู้ร้อน รู้หนาว รู้เย็น รู้อ่อน รู้แข็งไหม มันไม่รู้เรื่องนะ เราฝากไว้ในหนังสือ ไว้ไปเปิด ไปเปิดค้นคว้า แต่ขณะที่เราปฏิบัติ เห็นไหม หัวใจ ความสัมผัส มันสัมผัสความรู้สึก สัมผัสธรรม ยิ่งสัมผัสสมาธิธรรม เห็นไหม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต พอสัมผัสสมาธิธรรมก็มีความสุขมาก สัมผัสวิปัสสนาธรรมมันเกิดปัญญาขึ้นมา

ถ้าเกิดปัญญาขึ้นมา วิปัสสนาธรรม เวลาเกิดปัญญาขึ้นมา ปัญญาที่เป็นวิปัสสนา มันจะรู้เลยว่าปัญญาวิปัสสนา โลกุตตรปัญญา กับปัญญาที่เป็นโลกียปัญญา มันต่างกันอย่างไรๆ อ้าว! เวลาเป็นโลกียปัญญาก็นี่ไง เราคิดธรรมะสิ คิดให้หัวแตกเลย คิดไปเถอะ ธรรมะนี่คิดไปเลย เราก็คิดธรรมะกันได้ นี่ไง โลกียปัญญา เพราะคิดแล้วมันก็จบแค่นี้ คิดแล้วก็คิดอีก คิดอีกก็คิดอีก คิดแล้วก็คิดอยู่นั่น คิดแล้วมันได้อะไร

ถ้ามีสติปั๊บ มันก็ได้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ เพราะมันคิดถึงธรรมะปั๊บ มันซึ้งใจปั๊บ มันรู้สึก มันเข้าใจ พอมันประสบเข้ามันก็ปล่อยๆ แล้วถ้าปล่อย ถ้าคนไม่มีบารมี ไม่มีวาสนานะ พอปล่อยแล้วมันก็ อื้ม ทำแล้ว ปฏิบัติธรรมแล้วก็ได้แค่นี้ ปฏิบัติธรรม แต่ถ้าคนมีวาสนานะ โอ้โฮ! เอ๊ะ มันเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์นะ มันเป็นเรื่องที่ดีนะ ทำต่อไปๆๆ พอต่อไปผลมันให้มากขึ้นๆๆๆๆ เราก็จะขวนขวาย เราจะปฏิบัติขึ้นไป เราจะได้ผลของเรา

ถ้ามันมีคำว่าขวนขวาย มีวุฒิอยู่นี่ เพราะอะไร เพราะว่าเชาวน์ปัญญาของเรา เพราะความเปรียบเทียบของเรา เพราะความมุมานะของเรา เราจะได้ประโยชน์ของเรา เห็นไหม สิ่งนี้เรียก “ธรรมเกิด” นี่ธรรมเกิดโดยข้อเท็จจริงนะ

แต่หลวงตาท่านสอนอย่างนี้ “ท่านบอกกิเลสเกิด” กิเลสเกิดเพราะอะไร กิเลสเกิดเพราะ ถ้าเรายังไม่รู้อะไรมัน เราก็คิดว่า อื้ม แปลกใจไปอย่างนั้น แต่พอรู้ว่าเป็นธรรมเกิด อยากได้ ความอยากได้อยากเป็นอีกนั่นคือกิเลสไง ทีนี้กิเลสเรายังอยากให้มันเกิดอีก เราอยู่ของเรา เราทำของเรา มันจะเกิด มันจะไม่เกิด มันอยู่ที่ข้อเท็จจริง อยู่ที่ความจริงจัง ความวิริยะอุตสาหะของเราที่เราจะทำอย่างนั้นอีก

สิ่งนี้มันเป็นผลบุญ เราจะบอก สิ่งที่มันเกิดขึ้นมา ที่ว่า พอมีปัญญาเกิดขึ้นมาว่า เหมือนกับเราต้องย้ายบ้านบ่อยๆ มันเป็นจริงหมดนะ คือธรรมะมาเตือนเราไง คือธรรมะ คือสัจธรรมเตือนหัวใจเรา ให้หัวใจเราได้คิด เวลาธรรมเกิดมันจะมาเตือนเรา ที่หลวงตาท่านพูด เห็นไหม เวลาท่านปฏิบัติไป แล้วพอธรรมมันเกิด พอท่านเห็น “ใจนี่ใส.. ใส..”

“ธรรมะกลัวท่านหลง” นี่ท่านพูดเองนะ

ธรรมะกลัวเราหลง ธรรมะมาเตือนเลยว่า “แสงสว่างทั้งหมดเกิดจากจุดและต่อม จุดและต่อม จุดและต่อมของแสงอยู่ที่ใจของเรา” พอธรรมะเกิดเตือน ธรรมะเตือนแล้ว ท่านก็งงเลยนะ แล้วท่านก็ไม่.. หลวงปู่มั่นนิพพานไปแล้ว ถ้าหลวงปู่มั่นอยู่ไปถามกับหลวงปู่มั่น เพราะหลวงปู่มั่นเคยบอก ก็ตรงนั้น ก็ย้อนกลับมาก็จบ

ทีนี้พอไม่มีคนสอนใช่ไหม พอบอกว่าจุดและต่อม แล้วจุดและต่อมอยู่ที่ไหน มันก็เลยวนอีก ๘ เดือน สุดท้ายก็กลับมาจุดและต่อมที่ใจ ธรรมเกิด ธรรมเกิดมาเตือน ท่านบอก ธรรมะเกิด ท่านพูดบ่อย เห็นไหม ในเทป หลวงตาบอกว่าธรรมะกลัวเราหลง ธรรมะก็เตือนเลย นี่มาเทศน์ให้ฟังไง

ที่หลวงปู่มั่นบอกว่าอยู่ในป่า เห็นไหม แล้วท่านลงมากรุงเทพฯ สมเด็จฯ ถามว่า

“หลวงปู่มั่น ท่านอยู่ในป่า ท่านไปศึกษากับใคร เราอยู่กับตู้พระไตรปิฎก อยู่กับกองตำราหมดเลย เรายังงงอยู่ทุกวันเลย เราต้องรื้อค้นตลอดเวลาเลย แล้วท่านฟังเทศน์ใคร”

“กระผมฟังเทศน์ทั้งวันเลย ผมฟังเทศน์อยู่ตลอดเวลาเลย”

นี่ไง เทศน์ ธรรมมันเตือน หลวงตาท่านเดินจงกรมอยู่ แสงสว่าง ความสว่างไสวมันเกิดจากจุดและต่อมของจิต ย้อนกลับไปที่จุดนั้น ขนาดธรรมะเตือนขนาดนี้นะ คนที่ไม่มีครูบาอาจารย์ เห็นไหม ยังจะต้องจุดต่อมไหนล่ะ แล้วไหนมันจุดต่อม ธรรมะเตือนมานี่ ธรรมะสัจธรรมบอกชัดๆ เลย แต่เราค้นคว้ากันไม่ได้ นี่ก็ธรรมะเตือนชัดๆ เลย จะเอาไม่เอามันอยู่ที่วาสนาเรา มันอยู่ที่วาสนา นี่ธรรมะมาเตือนเราแล้ว นี่เป็นเรื่องจริง

แต่ถ้าเป็นคำว่ากิเลสเกิดก็คือว่า เราเป็นแล้ว เรารู้แล้ว เราอยากจะเป็นไป พอเราอ่านเรารู้เลย ขณะที่เกิดอย่างนั้นมันขนพองสยองเกล้า สั่นไหวไปหมดเลย ธรรมะมันเกิด มันเกิดเลยธรรมสังเวชไง ธรรมะเกิด พอเกิด ผลของมันคือสังเวช สังเวช สัจธรรมมันเตือนแล้ว เราจะ โอ้โฮ! ซาบซึ้งอยู่ แต่พักเดียวนะ ประเดี๋ยวกิเลสมันขี่หัวได้นะ มันจะพาไปต่อ ขณะเกิดอาการจะเป็นอย่างนี้ แล้วมันเกิดได้ มันเกิดขึ้นมาแล้วนี่ มันทำไป แล้วมันจะไม่เกิด

ถ้ามันจะเกิดอีก มันไม่เกิดเป็นอย่างนี้แล้ว ถ้าเกิดอย่างนี้เป็นสัญญา ถ้ามันจะเกิดอีกมันจะเป็นข้อมูลใหม่ มันจะเป็นเรื่องใหม่ไปเรื่อยๆ เรื่องใหม่ที่มันกระเทือนขั้วหัวใจเรา กระเทือนขั้วหัวใจเรา จะเป็นเรื่องใหม่ไป

ถาม : การมีพรหมวิหาร ๔ มายึดที่จิต กับจิตยึดพรหมวิหาร ๔ นี้เหมือนกันหรือต่างกัน

หลวงพ่อ : ต่างกันมาก การมีพรหมวิหาร ๔ มายึดที่จิต เห็นไหม อันนี้เราต้อง เห็นไหม พรหมวิหาร ๔ เราต้องมี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เราต้องมี เราต้องฝึกขึ้นมา แต่กับจิตที่มีพรหมวิหาร ๔ จิตที่มีพรหมวิหาร ๔ คือจิตผู้ที่ปฏิบัติธรรม จนเป็นธรรมในหัวใจไง ใจเป็นธรรมแล้ว มันไม่ต้องฝึก ไม่ต้องมีไง

คือคนที่แบบว่า เราสติไม่ดี เราต้องฝึกสติ แต่คนที่สติเขาดี เขาอยู่กับจิต สติจะดีกว่าจริงไหม มันต่างกันตรงนี้ไง พรหมวิหาร ๔ ที่เราต้องพยายามฝึกให้มันเป็น กับจิตที่มีพรหมวิหาร ๔ อยู่ในจิต ทีนี้พรหมวิหารอยู่ในจิต ถ้าเราจิตยังมีกิเลสอยู่ พรหมวิหาร ๔ นี่มันจะได้ประโยชน์มากน้อยขนาดไหน

อย่างเช่นเราคนดี เราคนมีเมตตา พ่อแม่หรือญาติพี่น้องจะปวดหัวเลยนะ มีเท่าไรก็ให้เขาหมดๆ ทำไมไม่เก็บไว้ใช้เองบ้างล่ะ เพราะจิตเขาดี ถ้าจิตเขาดี สิ่งนี้มันก็เป็นเรื่องวัตถุนะ ถ้าจิตเขาดีจริง มันต้องพัฒนาด้วย ต้องพัฒนาให้มันดีขึ้น สิ่งนี้มันเกิดขึ้นมาอย่างนั้นนะ การมีพรหมวิหาร ๔ เราจะพูดอย่างนี้เลยนะ กับจิตที่มีพรหมวิหาร ๔ คือจิตพระอรหันต์ จะพูดอย่างนี้เลย

จิตพระอรหันต์ จิตมีเมตตาธรรมอย่างนี้ตลอด แต่พวกเรามันยังมีกิเลส ยังมีความเห็นแก่ตัว เห็นไหม ยังมีสิ่งที่ อันนี้จะให้ อื้ม เอาไว้ก่อนน่า เห็นไหม มันยังมีต่อรอง แต่จิตที่มีพรหมวิหาร ๔ มันปล่อยได้หมด มันเป็นธรรมชาติ มันเป็นธรรมชาติของมันเลย อันนี้สงสารมาก

ถาม : หนูเคยพุทโธได้ แต่ตอนนี้พุทโธไม่ได้เลย ทั้งที่พยายามแล้ว หนูคิดว่าถ้าหนูพุทโธแล้วเหมือนหัวตอเดินได้ ลองเปลี่ยนเป็นวิธีอื่น ตั้งสติ ให้มีสติก่อนจึงมาพุทโธได้ไหมคะ

หลวงพ่อ : ได้ ได้หมดล่ะ คำว่าได้หมดนี่นะ ถ้าพุทโธ แต่ก่อนทำได้ ตอนนี้พยายามทำแล้ว คำว่าพยายามนะ เราไปพยายาม เราไปเจาะจง เราไปเพ่ง เหมือนเช่นเราเป็นแผล เห็นไหม แล้วเราเห็นแผล เราก็เกาเรื่อยๆ เลือดมันจะออกมากเห็นไหม ถ้าเราเห็นแผลใช่ไหม เรารักษาทำความสะอาดมัน แล้วเรารักษาแผล แผลเราจะหายนะ ความพยายาม ความเพ่ง ความทำเกินกว่าเหตุ มันก็เหมือนกับเราไปคอยสะกิดแผลเราให้แผลมันมีเลือดออกตลอดเวลา

เราตั้งใจของเรา เรารักษาแผล เราจะไม่ขูดไม่ข่วน ไม่แกะให้แผลนั้นมีเลือดใช่ไหม การกำหนดพุทโธก็เหมือนกัน การกำหนดพุทโธ เราไม่ต้องเกร็งขนาดนั้นไง แต่เรื่องอย่างนี้นะมันก็เป็นจริตนิสัยของคน เราว่าเราไม่เกร็งนะ เราก็ทำดีๆ ทำไมคนเขาว่าเราเกร็งฉิบหายเลย เราไม่ได้เกร็ง การเกร็งหรือการไม่เกร็ง มันเป็นการลองผิดลองถูกของเรา

ถ้าเราเกร็งหรือเราทำแล้ว เราตั้งใจขึ้นมาแล้ว มันไม่ได้ ถ้าไม่ได้ เราจะวางใจอย่างไร ขณะที่เราวางใจ วางใจสบายๆ พุทโธๆ ไปนี่ แล้วจิตมันเคยสงบขึ้นมา มันพอทำได้นี่ เราจำอารมณ์อย่างนี้ไว้สิ เห็นไหม การเข้าสมาธิ การออกสมาธิ หลวงตาท่านสอนอย่างนี้ การเข้าสมาธิได้นี่แสนยาก แล้วพอจิตเป็นสมาธิแล้วอย่าไปบังคับมัน อย่าไปกระตุกมัน อย่าไปทำลายมัน เดี๋ยวจะเข้ายาก

พอเข้าถึงสมาธิแล้ว เวลาออก อย่าปุบปับ เวลาออกจากสมาธิ พอจิตเป็นสมาธิ เห็นไหม ว่าง..สบายหมดเลยเห็นไหม เวลาจะออกจากสมาธิเรากำหนดจิตไว้เฉยๆ มันก็แผ่ซ่านออกมา ความรู้สึกมันจะแผ่ซ่านออกมาเฉยๆ เห็นไหม เราจำอาการอย่างนี้ไว้สิ เราล่าเนื้อล่าสัตว์ เราเห็นทางเนื้อทางสัตว์ ที่เราล่ามัน แล้วเราจะล่าสัตว์ครั้งที่ ๒ ที่ ๓ ไปทางอื่นมันจะได้สัตว์ไหม

เราเคยเห็นหมูมันเข้าไปทางนี้ มันเป็นร่องเป็นทางเดินของหมูป่าทั้งฝูงเลย เราจะเอาหมูป่า เราเคยมาดักที่นี่ เราได้หมูป่า แล้วมึงไปเอาที่อื่นมึงจะได้หมูป่าไหม การเข้าสมาธิ การออกสมาธิ เห็นไหม การเข้าและการออก มันเป็นการยืนยันกับเราว่าเราทำถูกทาง เราทำกันนะหยาบมาก ทำอะไรก็ปุบๆ ปับๆ ไม่ทำด้วยสติปัญญา ไม่เคยใคร่ครวญกิริยาท่าทาง ไม่เคยใคร่ครวญสติปัญญา ไม่เคยใคร่ครวญเลยว่า เริ่มต้นเราทำอย่างไร

เรานะปฏิบัติ เวลาจิตเราเสื่อม จิตเราไม่มีความชำนาญ ไม่รู้ ปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลนะ เราจะนั่งคิดเลย ตื่นเช้าขึ้นมาตั้งแต่ตี ๔ ตี ๕ ทำอะไรบ้าง คิดอะไร อารมณ์ความคิดมันกระเทือนใจอะไรบ้าง จัดบาตร ออกมาจัดบาตรทำข้อวัตร เสร็จแล้วออกไปบิณฑบาต ออกไปบิณฑบาตน่ะ คิดอะไร ไปเจอกระทบ อารมณ์กระทบ ไปบิณฑบาต ไปเห็นรูปเห็นร่าง เห็นอะไรมาบ้าง

บิณฑบาตกลับมาเทอาหารออกแล้ว เทอาหารออกจัดอาหาร เราอยากกินอะไร ไม่อยากกินอะไร ใส่บาตรไปแล้ว คำแรกที่ยัดใส่ปากเข้าไปนี่คืออะไร แล้วยัดใส่ปากกินเข้าไปแล้ว แล้วภาวนา มันเป็นอย่างไร เราไล่ขนาดนั้นนะ ถ้าภาวนาแล้วไม่ได้ผล วันไหนภาวนาไม่ดี ตอนปฏิบัติใหม่ๆ ตอนที่เราทุกข์ เราจะไล่เลยว่าเราทำอย่างไร มันถึงไม่ได้ผล มันทำอย่างไร มันถึงได้ผล

เพราะการปฏิบัตินี่นะ การปฏิบัติของเรา การศึกษาทางวิชาการต่างๆ เห็นไหม เราทำวิจัย ถ้าเรามีอาชีพแล้ว งานวิจัยนั้นเพื่อประโยชน์กับเรา การปฏิบัติของเราก็เพื่อการไม่เกิดไม่ตายเลยล่ะ เราไปปฏิบัติ เราเอาจริงเอาจังกับเรา เพื่อสิ่งที่เรา เราจะล้มภพล้มกิเลส ล้มพญามารเลย แล้วมันจะง่ายๆ มันไม่มีหรอก เราจะปกครองประเทศทั้งประเทศ จะรบยึดประเทศเขา เราจะใช้วิธีการอย่างไรเข้าไปยึดครองประเทศเขา แล้วจะปกครองประเทศเขา

นี่ก็เหมือนกัน เราจะยึดครอง เอาธรรมะยึดครองหัวใจของเรา ไม่ให้มารมันมีที่อยู่อาศัยในหัวใจของเรา มารไหนมันจะยอมให้เราทำได้ง่ายๆ มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลยนะ แล้วสิ่งที่มัน เราจะต่อสู้กับเราเพื่อ เพื่อจะชนะมารในหัวใจของเรา แล้วมันจะไม่ทุกข์ไม่ลำบาก มันเอาอะไรมาพูด แล้วถ้ามันเจอทุกข์มันลำบาก มันก็ต้องมีความกำลังใจสิ

นี่ไง เห็นพระปฏิบัติกัน เห็นครูบาอาจารย์ปฏิบัติกัน ก็เลยปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นพิธี เห็นเขาปฏิบัติกัน ก็จะทำสักแต่ว่า คือไอ้โน่นก็ไม่ได้ ไอ้นี่ก็ไม่ได้ มันจะโน่นไม่ได้นี่ไม่ได้ มันก็ย้อนกลับมาสิ ย้อนกลับมาดูเราก่อน ทำไมมันถึงพุทโธไม่ได้ ทำไมทำไปแล้วมันทุกข์ ถ้ามันทุกข์ขึ้นมานี่ มันทุกข์ขึ้นมานี่ มันไม่ได้ มันเป็นหัวตอ มันทำไมถึงเป็น มันต้องจริงจังเพราะเราพูดบ่อยมาก ใครมาบอกว่าจะเอาสมาธิ จะเอาสมาธิ

สมาธิมันเป็นผล แล้วเหตุมันคืออะไร ทำไมไม่ย้อนไปดูที่เหตุบ้าง นั่งหลับๆ นี่ทำไม ข้าวเย็นไม่ต้องกินมันก็ได้ ถ้าอยากปฏิบัติ ทำไมถือศีล ๘ ไม่ได้ ถือศีล ๘ เราไม่ต้องบอกเขาว่ากูถือศีล ๘ ถือศีล ๘ ไว้ที่ใจนี่ ถ้าวันไหนมันมีความจำเป็นก็กินไปกับมัน วันไหนไม่มีความจำเป็น กูก็หักห้ามกิเลสกูไม่ให้กิน แล้วพอไม่กิน ในท้องมันก็ร้องจ๊อกๆ เราก็หาน้ำหาน้ำปานะ หาน้ำอะไรที่พอหล่อเลี้ยงมัน แล้วก็นั่งพุทโธๆ ของเราไป

ลองดูสิ ลองดูว่า เออ ถ้าทำอย่างนี้แล้วภาวนาได้ไหม ภาวนา ทำอย่างนี้แล้วดีขึ้นไหม มันก็ต้องหาวิธีการหลากหลาย วิธีการที่เราจะเอาตัวรอดสิ ไอ้นี่พุทโธ กูก็พุทโธอยู่นั่น กูก็พุทโธอยู่นั่น วันนี้ก็พุทโธเข้าไป เราต้องหาทางนะ แต่ถ้าถึงที่สุดแล้ว ถ้ามันพุทโธไม่ได้ มันพุทโธทำไม่ได้ จะทำวิธีการตั้งสติ ตั้งสติก็ได้ ค่อยๆ คิดก็ได้

เราจะพูดนะ เวลาเราเอามาเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน พระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบัน ฟังจากพระสารีบุตรมาเห็นไหม “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ละเหตุนั้น” พอพระสารีบุตรไปบอกพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะเป็นพระโสดาบันเลย แล้วไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้บวช พระพุทธเจ้าให้บวช แล้วให้ออกปฏิบัติ

พระโสดาบันนะนั่งหลับ นั่งสัปหงก พระพุทธเจ้านี่เหาะมาเลย “ถ้าเธอง่วงเธอก็มองดาวสิ ถ้าเธอง่วงเธอก็เอาน้ำลูบหน้าสิ ถ้าเธอง่วงเธอก็ตรึกในธรรมสิ”

พระโสดาบันยังนั่งหลับเลย แล้วเราเป็นใคร เราก็ต้อง เวลาเราท้อถอย เราต้องคิดอย่างนั้น มันไม่ใช่ของง่ายนะ เพราะเราเห็นครูบาอาจารย์ปฏิบัติกันใช่ไหม พอศาสนาเป็นที่เคารพบูชา ศาสนาเป็นที่พึ่งปั๊บ พวกเรานี่ ถ้าไม่มีของจริงนะ ของเทียมก็ไม่มี ไม่มีหลวงปู่เสาร์ ไม่มีหลวงปู่มั่น ไม่มีครูบาอาจารย์เรามารื้อค้นขึ้นมา เมื่อก่อนใครปฏิบัติ เขาว่าบ้านะ มึงอย่าทำนะ บ้านะ บ้านะ

พอเดี๋ยวนี้ปฏิบัติขึ้นมา ครูบาอาจารย์ปฏิบัติขึ้นมา เออ บ้าขายได้เว้ย เดี๋ยวนี้กูก็เปิดสำนักบ้าๆ ก็บ้าขายได้แล้วใช่ไหม เมื่อก่อนบ้าขายไม่ได้ มันเลยเปิดสำนักบ้ากันใหญ่เลย แล้วให้ปฏิบัติกัน บ้ากันอยู่อย่างนั้น บ้าเพราะมันไม่มีคนรู้จริงสอนไงมันก็คือบ้า แล้วก็สอนกันบ้าๆ ทางลัดๆๆ

เราอยู่ในวงการนะ เราอยู่ในวงการ บางทีเรายืนยันอย่างนี้ พูดอย่างนี้ปั๊บเขาก็ว่า (พระ)สงบปากจัด เราไม่ได้ปากจัด เราชี้ให้เห็นว่าถ้าทำอย่างนั้นจะผิด ถ้าทำอย่างนี้จะถูก ทำผิดกับทำถูก จะทำสิ่งใด เราไม่ได้อิจฉาตาร้อนใครทั้งสิ้น เราไม่ต้องการอะไรจากใครทั้งหมดเลย แต่เราบอกอย่างนี้ผิด อย่างนี้ถูก แล้วจะบอกเราผิดได้อย่างไร

แล้วถ้าเราบอกว่าผิด เขาบอกว่าถูก ก็มาพูดกับเราสิ เอาข้อมูลมาบอกว่า (พระ)สงบ มึงน่ะพูดผิด แล้ววันหลังอย่าพูดอีกนะ เอาข้อมูลมาพูดกับกู มึงน่ะพูดผิด แล้ววันหลังอย่าพูดอีก มันผิด ก็ไม่เคยเห็นใครมาพูดกับเราสักคน ไม่เคย สงสารไง ถ้าไม่มีของจริงมันก็ไม่มีของเลียนแบบ พอมันมีของจริง แล้วมีของเลียนแบบนะ ฉะนั้นถ้าของจริง ของจริงมันต้องทุกข์ต้องยาก

คำว่าทุกข์ยากไม่ใช่ซาดิสต์ ไม่ใช่อยากทุกข์อยากยาก เพราะกิเลสเรามันหนา เพราะมารในหัวใจเรามันเข้มแข็ง ขัดเกลากิเลส เห็นไหม ธุดงควัตรน่ะเป็นเครื่องขัดเกลากิเลส เป็นการขัดเกลามัน เป็นการบ่อนทำลาย เป็นการดัดแข้งดัดขามันไม่ให้มันแข็งแรง แล้วเราจะมีโอกาสต่อสู้กับมัน ก็บอกว่าไม่ได้ มันเป็นความทุกข์ มันเป็นความลำบาก ก็เพราะลำบากใช่ไหม กิเลสมันก็ลำบากไปกับเราด้วย

เราอดอาหารกิเลสมันก็ไม่ได้กินด้วย เราผ่อนมัน มันก็ไม่ได้กินกับเรา เราถือเนสัชชิก มันก็ไม่ได้นอนกับมัน แต่เราไปเกรงใจมัน ต้องพามันกิน พามันนอนไง แล้วก็จะอยากจะสู้กับมัน ประสาเรา เราไม่ใช่ทุกข์นิยม ไม่ใช่ต้องการความทุกข์มาอวดเขาว่ากูทำเก่ง กูมีแต่ความทุกข์ มันไม่ใช่ๆ ใครก็ไม่อยากให้ทุกข์ทั้งนั้น แต่มันเป็นวิธีการที่จะต้องเอาชนะมัน

มันเป็นวิธีการ มันเป็นอุบายวิธีการที่มันเป็นการเข้าไปทำลายกิเลส แล้วเราไปปฏิเสธวิธีการ ไปปฏิเสธวิธีการ ไปทำวิธีการให้มันอ่อนแอลง แล้วใครบ้างมันจะเข้าไปสู้กับกิเลสมันได้ ในเมื่อสิ่งนี้มันเป็นวิธีการที่จะเข้าไปเผชิญกับมัน พระพุทธเจ้าสอนไว้ พระพุทธเจ้าบอกไว้ หลวงตาบอกว่าอาวุธ อาวุธที่พระพุทธเจ้าประเคนให้กับมือ ยัดใส่มือเราเลยนะ ยัดใส่มือเรามาในพระไตรปิฎก มันปฏิเสธกันหมดเลย บอกไม่ใช่ มานอนตีแปลงกับกูนี่ถูก สำนักบ้ามันว่าอย่างนั้น

ถาม : ทำไมเวลาฟังเทศน์จึงจำไม่ได้ ได้แต่หลับ

หลวงพ่อ : ฟังเทศน์นี่ไม่ต้องจำนะ ฟังเทศน์ตั้งสติไว้เฉยๆ ตั้งสติไว้เฉยๆ เสียงนั้นจะมาเอง พอเสียงมาเอง เราจะรับรู้เอง มันก็เริ่มต้นอย่างนี้ มันเริ่มต้นเหมือนต้นไม้ ต้นไม้เล็กมันใช้ประโยชน์ไม่ได้ เห็นไหม ต้นไม้มันโตขึ้นมาจะใช้ประโยชน์ได้ จิตใจของเราอ่อนแอ จิตใจของเราไม่เคยเข้าไป ดูพระบวชใหม่สิ พระบวชใหม่ มันนิสัยฆราวาสเข้ามา ต้องถือนิสัยพระ สมณสารูป

สมณสารูปเขาต้องมีเสขิยวัตร เห็นไหม การดื่ม การฉัน การเหยียด การคู้ มันต้องมีสติเป็นสมณสารูป พระภิกษุเป็นที่เคารพบูชาของเรา ท่านประพฤติปฏิบัติตน มันน่าเลื่อมใส เห็นไหม นั่นน่ะ สมณสารูป ฉะนั้นเวลาบวชใหม่ ภิกษุบวชใหม่ อันตรายของภิกษุบวชใหม่ นวโกวาท ใครบวชแล้วจะได้ยิน อันตรายของภิกษุบวชใหม่คือทนคำสอนยาก ทนการคำสั่งสอน ทนการบอกกล่าวของครูบาอาจารย์ได้ยาก เพราะเรามาจากคฤหัสถ์ไง

ต้นไม้มันอ่อน ต้นไม้มันเล็ก เราต้องถนอมมัน ต้องรักษามันเพื่อให้มันเป็นต้นไม้ใหญ่ขึ้นมา ในการฟังเทศน์ ทำไมมันถึงหลับ ต้นไม้ เราอ่อน ชวนะ ความรับรู้ ความได้ยินของเรา สติปัญญาของเรามันอ่อนแอ พอมันอ่อนแอ เราก็ฝึกฝนของมัน เราก็มีสติรักษาของมัน

ถ้าพูดถึงนะ เราเวลาพูดถึง อย่างถ้าพูดถึงเวลาพูดถึงปฏิบัติชั้นสูง หรือว่าผู้ที่ทำเรื่องปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติมา เราก็จะบอกว่าอย่างนี้ ผิดๆๆ แต่เวลาเราพูดกับผู้ที่ปฏิบัติใหม่ ผู้ที่เริ่มประพฤติปฏิบัติ เราก็จะบอกว่า เห็นไหม ต้นไม้มันอ่อน ต้นไม้มันเล็ก เห็นไหม เวลาเราตอบปัญหา บางคนฟังแล้วนะ หลวงพ่อนี่กะล่อน ตอบท่าโน้นท่านี้ มันไม่ใช่ มันเป็นคนที่ปฏิบัติมาเข้มแข็งแล้ว คนที่เขารู้เหตุรู้การณ์มาแล้ว มันก็สอนอย่างหนึ่ง

คนที่หัดฝึกใหม่ คนที่เขายังไม่ทำเลย คนที่เขาจะเริ่มต้น เราก็สอนอย่างหนึ่ง แล้วไปบอกคนที่เขารู้แล้ว เขาบอกว่า ไอ้อย่างที่เขากระทำนี่ผิด เราก็บอกไปสิว่าอย่างนี้ผิด ทีนี้คนที่เขามานั่งฟังอยู่ด้วยกัน ไอ้คนใหม่มามันก็นั่งฟังอยู่ ก็กูผิดๆ ก็กูผิด กูไม่รู้เรื่องอะไรเลย ทีนี้ผิด เราก็ต้องตั้งใจตรงนี้ไง ผิดเราก็บอกอีกอย่างหนึ่งเห็นไหม วุฒิภาวะของจิตมันหลากหลายมาก ทีนี้เวลาตอบปัญหา มันตอบเฉพาะของแต่ละบุคคลไป

ทีนี้เวลาเรามาตอบปัญหาอย่างนี้ เราตอบปัญหาอย่างนี้เพื่อจะให้ทุกคนได้ยินได้ฟัง เพื่อมันเป็นคติแก่ทุกๆ คน ทีนี้เราก็ต้องหยิบเอาตรงไหนที่เป็นประโยชน์กับเรา เฮ้ย! ตรงไหนมันไม่เป็นประโยชน์กับเรา เป็นประโยชน์กับคนอื่น มันก็เรื่องของคนอื่นไป ถ้ามันฟังธรรม มันเป็นอย่างนั้น ถ้าพูดถึงนะ คนที่มีสติ คนที่มีปัญญา เวลามันกระทบมันจะมีประโยชน์หมด มันเก็บหมด ส่วนใหญ่แล้วนะ ถ้าเป็นปัญญาชนจะเป็นอย่างนั้น

ปัญญาชน สอนกันซึ่งๆ หน้าไม่ค่อยรับ ปัญญาชนนี่นะมันต้องอ้อม..ไปไกลๆ แล้วย้อนกลับมานี่ มันบอก เออ ใช่ ปัญญาชนจะเป็นอย่างนั้น พระสารีบุตรเป็นผู้มีปัญญามาก พระโมคคัลลานะ ๗ วัน พระพุทธเจ้าสอน ๗ วันเป็นพระอรหันต์

พระสารีบุตรอีก ๑๔ วัน เพราะอะไร ปัญญามาก พระพุทธเจ้าสอนแล้วก็คิด คิดแล้วก็คิด แล้วถ้าคิดบอกเรา มันก็คิด ทีนี้พอ อยู่ที่เขาคิชฌกูฏไง ถ้ำสุกรขาตา หลานพระสารีบุตรจะมาต่อว่าพระสารีบุตร เอาน้ามาบวช เขาจะมาต่อว่า ไม่พอใจเอาน้ามาบวชไง

“ไม่พอใจนั่นไม่พอใจนั่น”

พระพุทธเจ้าบอก “ถ้าเธอไม่พอใจสิ่งใดๆ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์”

ความคิด เห็นไหม ความคิดน่ะ ความคิดไม่ใช่จิต

“ถ้าเธอไม่พอใจอารมณ์สิ่งต่างๆ ถ้าเธอไม่พอใจสิ่งอะไรต่างๆ ในโลกนี้ ไม่พอใจ ไม่พอใจอะไรไปหมด เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย เพราะอารมณ์ความรู้สึกของเธอก็คือวัตถุอันหนึ่ง”

อารมณ์ความรู้สึก เราบอกไม่พอใจสิ่งต่างๆ ไม่พอใจต้นมะพร้าว มะพร้าวเป็นต้นใช่ไหม แต่ความคิดเราก็เป็น เห็นไหม มะพร้าวมาจากไหน เราก็รู้ว่าต้นมะพร้าว เห็นไหม ต้นมะพร้าว มันก็ลูกมะพร้าวอยู่ที่จิต วัตถุอันหนึ่ง พระสารีบุตรฟังนี่ ปิ๊ง เป็นพระอรหันต์เลย

ไม่ได้สอนพระสารีบุตรนะ เทศน์สอนหลานพระสารีบุตรนะ พระสารีบุตรยืนพัดพระพุทธเจ้าอยู่ข้างหลัง ฟังเทศน์สอนหลานพระสารีบุตรเป็นพระอรหันต์เลย เพราะปัญญามาก เห็นไหม สอนตัวเอง จะต้องทบทวน จะต้อง แต่ว่าสอนคนอื่นไม่ได้สอนเรานะ มันไปหยิบขโมยเขามา หยิบใหญ่เลย มันได้ประโยชน์นะ

ภาวนาไปจะรู้เรื่องกิเลสดี แล้วเทคนิคของครูบาอาจารย์ เราผ่านครูบาอาจารย์มาพอสมควร กรณีอย่างนี้เราขึ้นไปกราบหลวงตา แล้วหลวงตาท่านไล่ลงมา เห็นไหม ไล่ลงมาเลย มันภาวนาไป แล้วมันว่างหมดเลย พอมันว่างหมด มันก็โอ้โฮ! จับอะไรไม่ได้เลย ทำอะไรก็ไม่ได้ ว่างๆๆ ก็อยากขึ้นไปหาท่านนะ จะบอกว่าจะทำอย่างไรต่อไปไง

ท่านถีบตกกุฏิมาเลย ถีบตกกุฏิมาเลย คำพูด นี่เราเปรียบเทียบ ท่านไม่ได้ถีบหรอก ท่านไล่ ท่านไล่เราลงมา เราก็บอกว่า ท่านถีบเราตกกุฏิเลย ก็เดินกลับมาที่ร้าน ที่บ้านตาด มานั่งภาวนาต่อ ว่างๆ อย่างนั้น มันว่างใช่ไหม เมื่อก่อนมันว่างๆ พอโดนถีบมา มันไม่ว่างแล้ว มันเสียใจ ภาวนาดีขนาดนี้ ขึ้นไปถามปัญหาท่านก็ไม่ตอบ ท่านก็ถีบลงมาเลยนะ

เสียใจๆ เสียใจอยู่นั่นน่ะ เสียใจถึงประมาณตี ๒ ตั้งแต่ทุ่มหนึ่ง เราขึ้นไปประมาณทุ่มเศษๆ นะ ลงมาประมาณตี ๒ ตี ๓ จิตมันทันอย่างนี้ เมื่อก่อนคนยังโง่อยู่ พอมันฉลาดขึ้นมา มันจับปั๊บ เสียใจคืออะไร ไหนมึงบอกว่าว่างไง ไหนมึงบอกว่าว่าง อารมณ์คำว่าเสียใจ เห็นไหม “ความคิดไม่ใช่จิต”

พอมันจับความเสียใจได้ปั๊บ โอ้โฮ! จะย้อนกลับมาที่นี่เลย ลุกขึ้นเลยนะ “กูจะกราบอาจารย์ร้อยหน กูจะกราบอาจารย์พันหน กูจะกราบอาจารย์หมื่นหน” เพราะอะไรรู้ไหม เพราะความรู้สึกเราเอง ถ้าเมื่อกี้นะ ท่านบอกกูนะ ถ้าเป็นอย่างนั้นๆ นะ กูจะเถียง แล้วบอกเขาไม่ว่าง ไม่ว่างได้อย่างไร กูจะว่างนี่ไง กูจะตั้งหน้าเถียง เพราะอะไร เพราะเรารู้ของเราไง “ทิฐิ”

ถ้าท่านบอกเรา เราจะเสียเวลามากไง มันจะเสียเวลา เห็นไหม นี่ปัญญาของคน เทคนิคท่านสอนเรา อย่างนี้ ถีบตกกุฏิเลย แล้วเดี๋ยวมึงหายเอง ก็มึงเสือกปัญญาเยอะ มึงเสือกเถียงเก่ง กูไม่เถียงกับมึงหรอก กูถีบมึงไปเลย แล้วมึงไปหาเอาเอง พอมันเจอน่ะ มันเจอเองนะ จริงๆ นี่คิดเองนะ มันฝังใจ อะไรที่มันผังใจ มันคิดแล้วมันฝังใจมาก

ถ้าท่านบอก ท่านแนะ มันจะเถียง มันจะเถียง มันจะโต้แย้ง มันจะหาเหตุผล เราจะเสียเวลามาก แต่ท่านถีบลงมาเลย พอมันจับได้นะ จะกราบอาจารย์พันหน จะกราบอาจารย์หมื่นหน เพราะเรามีประสบการณ์อย่างนี้มา พอมาถึงเรื่องพระสารีบุตร เราถึงบอกว่า พวกปัญญาชนนี่ต้องพูดอ้อมๆ ต้องพูดกระทบมัน

ถ้าไปบอกมัน มันจะบอกว่ามันฉลาดกว่า แต่ถ้ามันปิ๊งนะ มันจะบอกว่า โอ้โฮ! กูโง่ฉิบหายเลย แต่ถ้าทิฐินะ มันจะบอกว่ามันฉลาดอยู่ตลอดเวลา อันนั้นเป็นอำนาจวาสนาของเขา

ถาม : ทำไมฟังเทศน์ถึงไม่ได้

หลวงพ่อ :ได้ ถ้าฟังเทศน์นะ เราฟังไม่ได้ เราตั้งสติของเราไว้ เราตั้งสติ เพราะการฟังเทศน์นี่นะ การฟังเทศน์ พระพุทธเจ้าเทศน์ เทวดาสำเร็จเป็นหมื่นเป็นแสน การฟังเทศน์ ครูบาอาจารย์ท่านบอกการฟังเทศน์ เป็นการปฏิบัติธรรมสุดยอด สุดยอดที่สุดเลย เพราะมันควักจากหัวใจดวงหนึ่ง ควักจากดวงใจของพระพุทธเจ้ายัดใส่ดวงใจของเรา คือเอาประสบการณ์อันนั้นมาบอกเรา

เราเอง เราไม่มีประสบการณ์สิ่งใดๆ เลย แล้วเราฟังอย่างนี้ขึ้นมา หลวงปู่มั่นเวลาท่านเทศน์ หลวงตาท่านเล่าให้ฟัง พระจะนั่งอยู่เต็มเลย บนกุฏิหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นจะเริ่มเทศน์ตั้งแต่พื้นฐานของสมาธิ ท่านไม่พูดถึงศีลเลย เพราะพระมีศีลโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ศีลไม่ต้องมาพูดกัน ไม่ต้องเอามาขาย เพราะศีลมันคือสมบัติทุกคนที่มี แต่สมาธิทุกคนยังไม่มี พระปฏิบัติใหม่ยังไม่มี

แล้วพูดถึงการทำสมาธิ การทำสมาธิต้องมีสติอย่างไร การทำอย่างไร ผู้ที่ได้สมาธิแล้วก็นั่งฟัง อื้ม ทบทวน แต่ผู้ที่ยังไม่ได้ ทำไม่เป็น โอ้โฮ! อย่างนี้ ฟังเทศน์ไม่เป็น ถึงจะทำไม่ได้ มันก็ต้องรีบตะขบ โอ๊ย! สอนเรา เราก็หยิบใหญ่เลย ไอ้โน่นก็สอนเรา ไอ้นี่ก็สอนเรา เพราะเราไม่รู้เรื่อง แต่พอผ่านสมาธิมันจะเกิด เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญาแล้ว เรื่องโสดาปัตติมรรคแล้ว คนที่เดินโสดาปัตติมรรคก็จะฟังทางนั้น คนที่ผ่านแล้วก็นั่งฟังอยู่ เป็นสกิทาคามรรค อนาคามรรค ไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุด เวลาเทศน์ครูบาอาจารย์ท่านเทศน์อย่างนี้

ทีนี้การฟังเทศน์ หลวงตาท่านพูดใช่ไหม นี่เพราะไม่มีหลวงปู่มั่น ท่านติดอยู่อีก ๘ เดือน แสงสว่างๆ มันมาจากจุดและต่อมของแสงสว่าง ถ้ามีหลวงปู่มั่นอยู่ หลวงปู่มั่นบอกวันนั้น ท่านจะผ่านวันนั้นเลย แต่เพราะไม่มีหลวงปู่มั่นอยู่ ต้องค้นคว้าเอง การฟังเทศน์ เราไม่ใช่ฟังเทศน์เพื่อจะรู้ทุกๆ อย่างไปหมดหรอก เราไม่ใช่ฟังเทศน์เพื่อทีเดียวเป็นพระอรหันต์เลย แต่ถ้ามันเป็นได้ก็สุดยอด

ทีนี้การฟังเทศน์ของเรามันจะทบทวนความคิดของเราไง มันทบทวนสิ่งที่ทำมา ว่าเราทำถูกหรือทำผิด เพราะเราทำของเรามาแล้วใช่ไหม เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์ออกมา ท่านจะบอกว่าสมาธิเป็นอย่างนั้น ปัญญาจะเป็นอย่างนั้น เอ๊ะ แล้วมันตรงกับเราหรือเปล่า ถ้ามันไม่ตรงกับเรา สงสัยอาจารย์ผิด เราต้องถูก กิเลสมันจะว่าอย่างนั้นนะ แต่ถ้าเราไปคิดดูนะว่าเราถูกหรือผิด

ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์มาเทศน์ เราก็จะเคลมว่าเราถูก เราดี เราแน่ เรายอด แต่ถ้ามีครูอาจารย์เทศน์ เทียบมา ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาครูบาอาจารย์ท่านสนทนาธรรมกัน ท่านจะสนทนาธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อกัน แต่ในปัจจุบันนี้เราไม่ได้สนทนาธรรม แต่เราฟังเทศน์ใช่ไหม เราก็เปรียบเทียบความรู้สึกเราสิ อารมณ์ความรู้สึก ความคิดเรานี่ มันเป็นสมาธิไหม มันเป็นปัญญาไหม นี่ไง การฟังเทศน์

ไม่ใช่ว่าทำไมเวลาฟังเทศน์ มันถึงจำไม่ได้ ได้แต่หลับ ถ้าอย่างนั้นถ้าครูบาอาจารย์อื่น อย่างนั้นก็ไม่เห็นต้องฟังเทศน์เลย ทำอย่างอื่นก็ได้ เราไม่แนะนำอย่างนั้น เพราะการฟังเทศน์นะ มันก็อย่างที่ว่า ถ้าฟังเทศน์ อย่างเช่น เปิดวิทยุหลวงตา เห็นไหม หลวงตาเทศน์ให้ฟังทุกวันเลย หลวงตาเป็นพระอรหันต์ ไม่ผิดร้อยเปอร์เซ็นต์

แต่ถ้าเป็นฟังเทศน์ ขี้หมูราขี้หมาแห้งอย่างนั้น ยิ่งฟังยิ่งโง่ เพราะฟังแล้วมันตรงจริตเราไง เพราะคนโง่มันสอนใช่ไหม จิตเราไม่ฉลาดอยู่แล้วแหละ ถ้าคนโง่มาสอน เฮ้ย! ! ใช่ เหมือนกันเปี๊ยบเลย ถ้ามึงไปฟังคนโง่นะมึงยิ่งโง่ แต่ถ้ามึงฟังหลวงตา มึงจะฉลาด ทำไมมึงไปฟังคนโง่ล่ะ การฟังเทศน์เป็นประโยชน์มากนะ เพราะมันจะทบทวนเราได้นะ มันจะทำความดีให้เรา มันจะเป็นประโยชน์กับเรา เนอะ

เดี๋ยวนะ เอาล่ะ อันนี้แล้วใช่ไหม

ถาม : หนูทำงานที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง มีหน้าที่เสิร์ฟและเก็บเงิน เห็นว่าทางร้านใช้น้ำมันของเก่ามาทอดอาหารให้ลูกค้า ก็เลยบอกเจ้าของร้านว่ามันไม่ดี แต่เขาไม่สนใจ อย่างนี้เราจะบาปไหมคะ

หลวงพ่อ : ไอ้อย่างนี้ มัน หนูทำงานที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง ไอ้อย่างนี้มันเป็นที่จิตใจเรา จิตใจเราเห็นคนทำผิด เรารู้เลยว่าสิ่งนั้นไม่ดี นี่ไง จิตใจคนที่ดี จิตใจคนที่ดี อย่างเช่นข้าราชการตำรวจ เวลาเป็นนักศึกษานะ เป็นนักศึกษาตำรวจ ก่อนที่จะออกมาเป็นตำรวจ เขาจะมีหลักสูตรพาไปอยู่กับคนทุกข์คนยาก พาไปอยู่กับชาวนา ให้เห็นว่าชีวิตมันทุกข์มันยากอย่างไร

เวลาออกมาเป็นผู้ควบคุมกฎ ตำรวจคือคนคุมกฎกติกา ถ้าคุมกติกา เอากติกาไปรีดไถคนอื่นมันได้ทั้งนั้น ทีนี้ก่อนที่จะเป็นตำรวจ เขาจะฝึกให้ดีมากเลย แต่พอเราเข้าไปในระบบ มันก็ไปอีกเรื่องหนึ่งเลยนะ เพราะในระบบเขาเป็นอย่างนั้น ถ้าไม่ทำอย่างนั้น อยู่กับเขาไม่ได้

เรามีลูกศิษย์หลายคนนะ บอกเลย เป็นตำรวจ ถ้าให้ผมไปทำให้ผิดกฎผมไม่ทำ แต่ขณะที่ผมอยู่ที่ สน. อยู่บนสถานี ถ้าถึงเวลา สิ้นเดือนเขาแจกกันนี่ต้องรับ ถ้าไม่รับเราอยู่กับเขาไม่ได้ เขาพูดอย่างนี้เลยนะ สมมุตินะ สิ้นเดือนเขาแจก แล้วถ้าเราไม่รับปั๊บ ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นมา เขาว่าเราร้องเรียนแน่นอนเลย ถ้าเราไปอยู่ในระบบ เราอยู่ในสังคมโลกมันอย่างนี้

ย้อนกลับมาที่ร้านอาหาร ใช่ มันเป็นสิ่งที่ไม่ดี บอกเขาแล้วเก่งมากนะ เขาไม่ไล่ออก เขาเป็นเถ้าแก่ ถ้าบอกเขาแล้วนะ เราแสดงน้ำใจที่ดี กล้าหาญมากนะ อย่างนี้เราชมจริงๆ ทีนี้มันก็อยู่ที่เรานะ เราเป็นลูกน้องเขา เวลาศีลธรรมต้องซื่อตรง ต้องความจริง แล้วทำไมเราพูดอย่างนี้ล่ะ เราพูดอย่างนี้เพราะเราสงสารคนที่เห็นนี่ไง ถ้าเราไปแข็ง ไปทำขึ้นมา อาชีพเราน่ะ

ไม่ใช่กะล่อนนะ ไม่ใช่กะล่อน เพราะอะไรนะ มีมรรคหยาบ มรรคอย่างกลาง มรรคอย่างละเอียด มรรคนี่มันมีขั้นตอนขึ้นไปที่มันจะพัฒนาการของมันขึ้นไป ความดีของเรา เราก็ทำของเรา ทำความดีของเรา ทำดีต้องได้ดี ในเมื่อเห็นว่ามันถูกต้อง แต่เราไม่มีอำนาจมาบังคับมันได้ สิ่งนั้นเราก็ต้องละเว้นไว้ เขาเรียกว่าเหมือนคอมมิวนิสต์ เห็นไหม

คอมมิวนิสต์บอกว่าละจุด สงวนความต่าง เห็นไหม สิ่งที่เราเห็นด้วยกัน เราทำด้วยกัน อย่างการทำงาน อย่างการเจรจาต่างๆ สิ่งใดถ้าเจรจาขัดข้อง เขาวางประเด็นนี้ แขวนไว้ก่อน ประเด็นไหนที่เราคุยกันได้ เราคุยกันไปก่อน เพื่อจะให้เรื่องมันจบ นี่เหมือนกัน สิ่งนี้ถ้าเราพูดกับเขาไม่ได้ เพราะเขาไม่ฟัง ไอ้นี่มันเรื่องของเขา แต่ผิด มันผิดแน่นอน เขาโลภ เขาอยากเอากำไรเยอะๆ

แต่ถ้าประสาเรานะ เราทำแต่สิ่งที่ดี เราทำอะไรไม่ดี มันอยู่ที่ใจเรานะ พระพุทธเจ้านี่มีฤทธิ์มาก พระโมคคัลลานะ เวลามีฤทธิ์ มีเดช ทำอะไรนี่ทำได้หมดเลย แต่เวลาเขาจ้างคนมาด่าพระพุทธเจ้า ทำไมพระพุทธเจ้าไม่เป่าพ่วงให้มันลอยไปเลยล่ะ พระพุทธเจ้านี่มีฤทธิ์นะ แล้วนางอะไร ที่มันจ้างคนมาด่า สมณะหัวโล้น สมณะเป็นอูฐ สมณะเป็นควาย พระพุทธเจ้าโดนด่า

แล้วคนมีฤทธิ์ แค่..(พ่วง) มันก็ลอยไปแล้ว ทำไมพระพุทธเจ้าไม่ทำ เอาประเด็นอย่างนี้มาพูดถึงร้านอาหารนี่ไง บางอย่างนี่ กรรมบุคคลมันมี กรรมของคน เขายังตามืดบอดอยู่ ถ้าพูดอย่างนี้ ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ก็ไปบอกเขานี่มันถูกต้องหมดเลย ทำดี แล้วจะได้ดีไหมล่ะ ทำดีต้องได้ดี แต่ทำกับใครไง

เราพูดเรื่องนี้บ่อยนะ เราพูดเรื่องนี้บ่อย เวลาทำดี โจรมันจะปล้นอยู่นี่ มึงไปบอกให้มันไม่ปล้น มันยิงมึงทิ้งเลยล่ะ ทำดีต้องดูกาละ ดูเทศะ ทำดีต้องดี ทำดีต้องได้ดี มีกาละ มีเทศะ มันไม่ใช่จังหวะ ไม่ใช่โอกาสนั้นใช่ไหม เราไปทำมันเข้าตัวเรา มันก็ต้องฉลาดนิดหนึ่ง เราต้องใช้ปัญญา

ถ้าเป็นอุบาย ถ้าเป็นอุบายนะ เราจะถามเลย ถ้าสมมุติว่าเจ้าของร้านอาหารนี้เขาไปกินอาหาร แล้วที่เขาทำอาหารที่ไม่ดีมาให้เรากิน เราจะคิดอย่างไร ค่อยๆ พูดให้เขาได้คิด แต่ธรรมดานะ คนไม่ค่อยได้คิด เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าโลกมันเป็นอย่างนั้นหมด คนเรานี่มันจะไหลลงไปต่ำ

ที่ว่าศาสนาเสื่อมๆ มันเสื่อมๆ ดูสิ ดูพระ เวลาออกไปบิณฑบาต คนที่เขาศรัทธา โอ้โฮ! เขาทะนุถนอมนะ คนที่เขาไม่ศรัทธา เห็นไหม เขาจะบอกว่าทำไมพระขี้เกียจ ทำไมพระไม่ไถนา ทำไมพระไม่ทำกิน เราคิดว่าพวกนี้โง่มากนะ ไอ้ไถนามันของง่ายๆ ไอ้ทำกิน เดี๋ยวกูจะทำสวน กูจะทำให้มึงดู เดี๋ยวถ้ากูทำข้าวโพด ข้าวโพดกูจะขึ้นเต็มเลย มันยากตรงไหนวะทำสวน

ไอ้ที่ไม่ทำนี่สิมันยาก เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง บิณฑบาตเลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง ด้วยสภาพของภิกษุผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสาร ถ้าเราประพฤติตัวไม่ดี ประพฤติตัวเลวทราม เขาจะใส่บาตรเราไหม เราจะได้กินได้ใช้ เพราะศีลของเรา เพราะพฤติกรรมของเรา พฤติกรรมของเรานี่ทำดี พฤติกรรมของเรานี่ทำโดยความถูกต้อง

ในชาวพุทธ เขาต้องการทำบุญกุศลของเขา เขาก็จะมีความศรัทธาของเขา มันยากกว่าไถนาเยอะนะ ไถนามันยังง่ายๆ เดี๋ยวกูปลูกกินเองสบายมาก กูจะเลี้ยงสัตว์ไว้เต็มเลย แต่โลกคิดกันไง อันนี้มันเป็นเรื่องโลกนะ หลวงตาท่านตอบปัญหาเท่านี้ ปัญหาอย่างนี้ท่านไม่ตอบ ปัญหาเรื่องโลก แต่เรื่องโลกมันก็มีคุณงามความดีเจือปนอยู่เนอะ เราคิดของเรา

ถาม : หลวงพ่อครับ ขอเรียนถามว่า ความคิดเป็นสังขารแล้ว คำภาวนาก็เป็นความคิดอย่างหนึ่ง คือเป็นสังขาร เป็นสังขารได้หรือไม่ครับ ถ้าได้จะพิจารณาให้คำภาวนาแต่ละครั้งมีการท่องเป็นการเกิดดับได้ไหม

หลวงพ่อ : เกลือจิ้มเกลือ หนามยอกเอาหนามบ่ง ถ้าไม่มีหนามตำเท้า ไม่มีหนาม เราจะเอาอะไรบ่งออกไป ความคิดคือสังขาร ความคิดไม่ใช่จิต ความคิดไม่ใช่จิต แล้วพุทโธเป็นสังขารไหม เป็น ก็มึงนึกพุทโธขึ้นมา มันไม่เป็นสังขารได้อย่างไร ก็พุทโธก็กูนึกเอง ทำไมไม่เป็นสังขาร ก็เป็น ปัญญาอบรมสมาธิก็เป็น หนามยอกเอาหนามบ่งไง ก็เอาความคิดแก้ความคิด

หลวงปู่ดูลย์ท่านสอนถูก ความคิดให้ผลเป็นทุกข์หมด ความคิดให้ผลเป็นทุกข์ “ความคิดเป็นสมุทัย ความคิดให้ผลเป็นทุกข์ ต้องหยุดความคิด การหยุดความคิดก็ต้องใช้ความคิด” อ้าว! หลวงปู่ดูลย์สอนน่ะ การหยุดความคิดก็ต้องใช้ความคิด หลวงปู่ดูลย์นี่สอนถูกหมด แต่ลูกศิษย์มาตีความผิดนะ บอกว่าความคิดไม่ต้องคิด เบรกแม่งหยุดให้หมดเลย ดูให้มันหยุด เพ้อฝันๆ เพ้อฝันกันไป ความคิดเป็นสังขาร สังขารมีหยาบมีละเอียด พุทโธก็เป็นสังขาร

แล้วพุทโธมันจะเป็นสมาธิได้อย่างไร พุทโธนี่เป็นพุทธานุสติ เป็นสังขารที่เป็นธรรม สังขารอันหนึ่งเป็นสังขารกิเลส สังขารมาร สังขารอันหนึ่งเป็นสังขารธรรม สังขารธรรม สังขารที่เป็นธรรมะ เป็นพุทธานุสติ เป็นกรรมฐาน ๔๐ ห้อง เราเอาความรู้สึกของเราไปเกาะเกี่ยวไว้กับสัจธรรม ให้เป็นสัจธรรม ให้มันสัจธรรม ให้มันพุทโธหยุดๆๆๆ พลังงานอันนี้มันไม่ส่งออกไป

แต่ถ้าเป็นสังขารมาร สังขารกิเลส พอความคิด ความคิดมันต่อเนื่อง คิดเรื่องหาตังค์ กูจะต้องหาตังค์ทำธุรกิจ กูทำธุรกิจแล้วกูต้องมีกำไร กูก็ต้องเปิดบัญชี กูก็จะเอาเงินเข้าบัญชี กูก็จะเอาเงินไปต่างประเทศ นี่ไง ความคิดมาร มันคิดออก เห็นไหม ความคิดเหมือนกัน แต่ความคิดอันหนึ่งมันคิดต่อเนื่องเลย มันเป็นมาร กูก็จะเอาเงินไปต่างประเทศ กูทำงานมีเงินมาก กูจะไปเที่ยวดาวอังคาร กูจะสร้าง เห็นไหม ความคิดเหมือนกัน

เขามาถามเรา เขาบอกว่า เวลาบอกเลยกำหนดนามรูป สร้างอารมณ์ๆ แล้วพุทโธไม่สร้างเหรอ พุทโธไม่สร้างเหรอ ใช่ นามรูปๆ เห็นไหม ดื่มก็รู้ว่าดื่ม แล้วทำไมต้องดื่ม ดื่มแล้วก็รู้ว่าดื่ม แล้ว ทำไมต้องสร้างว่าเราดื่มอีกล่ะ เห็นไหม มันซ้อน มันผิดตรงนี้ แต่ถ้าพุทโธ มันก็เป็นสังขารเหมือนกัน แต่เป็นสังขารที่มัน ดื่มก็รู้ว่าดื่ม พุทโธก็รู้พุทโธ

เรานึกให้เกิดจากจิต เพราะความคิดไม่ใช่จิต ใช่ไหม ความคิดเป็นความคิด ตัวจิตคือตัวพลังงาน แล้วเราตั้งใจสติ ตั้งใจคิด คิดพุทโธๆๆๆๆ พุทโธนี่มันก็เป็นสังขารธรรม สังขารธรรมนี่มันก็ไม่ให้พลังงานไหลไป เหมือนน้ำ ถ้าน้ำมันไหล เห็นไหม น้ำ แม่น้ำมันก็ไหลไปตามแม่น้ำ

เราสร้างเขื่อนใหญ่โตมากเลย แม่น้ำมันจะไหลไปได้ไหม ถ้ามีเขื่อนกั้นอยู่ แม่น้ำมันจะล้นโลกเลย พุทโธๆๆๆๆ คือเขื่อนไง ทำไมมันจะตั้งเป็นสมาธิไม่ได้ มันต่างกันตรงนี้ ต่างกันที่พุทโธมันหยุด พุทโธมันไม่ไหลไป เห็นไหม พุทโธๆ ไม่ใช่ว่าพุทโธ อ้าว! พุทโธทำอะไร พุทโธไปเป็นหน่อพุทธะ พุทโธ มันก็ไหลไปนะ

แต่เวลาเป็นปัญญาอบรมสมาธิทำไมทำได้ล่ะ มันทำได้ตรงที่ว่า เราตั้งต้นถูกไง หลวงปู่มั่นสอนไว้เห็นไหม “ต้นตรง ปลายก็ตรง ต้นคด ต้นคด ปลายมันก็ตกทะเล” ต้นมันคด ต้นมันไม่รู้ ต้นมันบิดเบี้ยว ต้นมันคดเพราะคนสอนมันโง่ คนสอนมันไม่รู้ มันก็เอาต้นคดๆ มาบอกว่า ต้นคด ดัดมันก็ตรง แล้วมันก็บอกว่าตรง แต่ต้นมันคดมันจะไปตรงได้อย่างไร

หลวงปู่มั่นพูด โอ้โฮ! ชัดเจนมากเลย ต้นคดปลายตรงไม่มี เริ่มต้นมันบิดเบี้ยวแล้วมันจะตรงไม่ได้ แต่ของเรา เราตั้งใจไว้ เราตั้งสัจจะไว้ ต้นมันตรง แต่เหนื่อยทุกข์ เพราะกิเลสมันหนา ถึงต้องต่อสู้กับมัน มันเป็นสังขารธรรม เป็นสังขารเหมือนกัน ความคิดเป็นสังขาร เพราะคิดกันอย่างนี้

เวลาเราพูดเห็นไหมๆ พระมาถามเลยล่ะ ว่าเขาบอกเลย สังคมเขาบอกว่า หลวงปู่ลีวัดอโศการาม สอนโง่ฉิบหายเลย “อะไรก็พุทโธ” “อะไรก็พุทโธ” แล้วหลวงปู่เจี๊ยะ ท่านเคารพหลวงปู่ลีมาก แล้วพระที่พูดนี่ ๙ ประโยค พวก ๙ ประโยคพูด นี่หลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟังเอง บอกว่าพวกนั้นบอกว่า “หลวงปู่ลีนี่โง่ฉิบหาย โง่ฉิบหายเลย สอนแค่พุทโธๆ ไม่มีอะไรเลย”

แล้วท่านนี้หลวงปู่เจี๊ยะท่านก็รู้จัก ถึงเวลามาเยี่ยมเยียนกัน ท่านก็เอาน้ำร้อนมาตั้ง น้ำชา นิมนต์ฉันน้ำชา ปฏิสันถารคุยกัน พอถึงสุดท้าย

“ผมขอถามปัญหาข้อหนึ่งนะได้ไหม”

“ได้ครับ”

“สมมุติมีคนๆ หนึ่ง โง่มากเลย อยากจะปฏิบัติ แล้วไม่มีความคิดอย่างอื่นได้เลย พูดได้คำเดียวว่าขี้ ขี้ๆ นี่จิตมันสงบได้ไหม”

๙ ประโยคตอบเลยว่า “ได้ครับ”

“ถ้าได้ครับ แล้วพุทโธมันโง่ตรงไหนวะ”

หงายท้องเลย ถ้าบอกไม่ได้นะ ท่านสอยเลย เพราะหลวงปู่เจี๊ยะ ท่านปฏิบัติมาจริง ท่านบอกเลย คนๆ หนึ่งโง่มากเลย นึกอะไรก็ไม่ได้ นึกได้แต่ขี้ๆ ก็บริกรรมคำว่าขี้ จิตสงบได้ไหม บอก ได้ครับ พอได้ครับแล้วพุทโธมันโง่ตรงไหนวะ เพราะพุทโธๆ ทำจิตให้สงบ เพราะพวกเรานี่นะ หาความสงบของใจ หาตัวตนของเรา คือหาจิตของเรา

หาตัวตนคือหาภพ จิตคือตัวภพ คือตัวพลังงานตัวนั้น ถ้าเข้าถึงพลังงานตัวนั้นคือเข้าถึงสมาธิ ถ้ามีสมาธิ ตัวสมาธินี้เป็นตัวแบ่งแยก ถ้าปัญญาเกิดจากสมาธิที่เราฝึกฝนเป็น มันจะเป็นโลกุตตรปัญญา คือมันจะเป็นปัญญาฆ่ากิเลส แต่ถ้ามันไม่มีสมาธิ มันเป็นเรา เป็นตัวตนของเรา เราคิดเพื่อเรา คิดโดยกิเลสหมดเลย มันเป็นโลกียปัญญา ทั้งๆ ที่คิดธรรมะนี่แหละ

ทั้งๆ ที่คิดธรรมะนี่แหละ แต่คิดโดยกิเลส มันก็เป็นกิเลสหมดเลย แต่ถ้าเป็นสมาธิปั๊บ เป็นสมาธิเพราะอะไร เพราะตัวตน เพราะกิเลสมันสงบตัวลง ถ้ากิเลสไม่สงบตัวลง เกิดสมาธิไม่ได้ สมาธิเป็นการการันตีว่า ขณะที่เป็นสมาธิอยู่นั้น กิเลสสงบตัวลงชั่วคราว ถ้ากิเลสมันสงบตัวลงชั่วคราว ความคิดที่เราใช้ความคิดอันนั้น มันจะเป็นความคิดที่สะอาด เพราะไม่มีกิเลสบวก

ฉะนั้น พอเป็นสมาธิ ตัวสมาธิถึงเป็นตัวแบ่งแยก ว่าเป็นโลกหรือเป็นธรรม แต่ในปัจจุบันนี้ เรายังไม่มีสมาธิเลย เรากำหนดพุทโธ ใช่ มันก็เป็นกิเลสนี่แหละ แต่เป็นกิเลสคนที่มุ่งดี ก็เราจะบอกเลย เราจะปฏิเสธชีวิตเราไม่ได้ เราจะปฏิเสธตัวตนเราไม่ได้ เพราะเราเกิดมาแล้ว เราเกิดมา เราก็มีกิเลสเป็นธรรมดา ก็ว่าเปลือกส้มอันนั้นแหละ

ฉะนั้น มันต้องทำจากกิเลสอันนี้ไป มันก็ไปเข้ากับอภิธรรมที่ว่า พวกที่กำหนดพุทโธ พวกทำอย่างนี้ไม่ได้หรอก เพราะมีความอยาก ปฏิบัติไม่ได้ ต้องไม่มีความอยากก่อน อย่างนั้นคนที่จะปฏิบัติได้ก็มีพระอรหันต์ประเภทเดียว แล้วพระอรหันต์ต้องปฏิบัติอีกไหม ปุถุชนมีกิเลสทุกคนใช่ไหม แล้วจะไม่มีความอยากมึงเอาอะไรมาพูดๆ คิดเองเออเองไง ว่าถ้ามีกิเลสบวกมันจะเป็นวิปัสสนาไปไม่ได้ ต้องไม่มีความอยาก

เพราะตรงนี้ไง ๑. ต้องพิจารณาโดยไม่มีความอยาก ๒. ต้องเป็นปัญญา ใช้ปัญญา ใช้สมาธิไม่ได้เดี๋ยวเกิดเป็นสมถะ ต้นมันคดตรงนี้ไง แต่ถ้าเป็นสมถะ เป็นพระป่าเรา มีกิเลสไหม มี อยากพ้นทุกข์ไหม อยาก มันเป็นกิเลสไหม เป็น ก็อยากดี อยากทำดี ทำดีเพื่อดี มันจะเสียหายตรงไหน

ใหม่ๆ มันก็เหมือนกับดิน เราจะมาปั้นหม้อ มันก็อยากเป็นธรรมดา เราก็ปั้นไปเรื่อย เราก็เหยียบย่ำ เอาน้ำใส่เข้าไป แช่ไว้ แล้วก็เหยียบไปๆ แล้วดินมันจะเป็นเนื้อเดียวกันได้ไหม มันจะนิ่มควรที่จะปั้นหม้อไหม มันก็ควร นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราพุทโธๆ ไปนี่ อยากไหม อยาก แต่อยากนี่นะ มันอยากที่หลวงตาท่านบอกว่า “ความอยากอย่างนี้เป็นมรรคไง”

ความอยากนี่เป็นอยากทำความดี แต่มันดีหยาบๆ ใช่ไหม มันก็จะส่งเสริมให้ดีเลย ดีละเอียดเข้าไปๆ จนมันถึงเป็นสมาธิได้ จนมันถึงเป็นวิปัสสนาได้ จนมันพ้นกิเลสได้ จากความอยากดีนี่แหละ

แต่อภิธรรมบอกไม่ได้ เพราะมีความอยาก มันเป็นไปไม่ได้ คืออ่านหนังสือไง แล้วก็ไปเอาวุฒิภาวะ เอาคุณธรรมของพระพุทธเจ้ามาเทียบไง นิพพานมันไม่มีความอยาก นิพพานไม่มีอะไรเลย ปฏิบัติก็ต้องเอานิพพานเป็นที่ตั้งไง ก็เลย..ในโลกนี้คนไม่มีใครปฏิบัติได้หรอก แล้วปฏิบัติก็ปฏิบัติโกหกกันทั้งนั้น เพราะคำสอนมันโกหก คำสอนโกหก มันก็เป็นโกหกกันไปหมดเลย

แต่ครูบาอาจารย์เรานี่คำสอนจริง เพราะครูบาอาจารย์เรานี่มีกิเลสทุกคน พระพุทธเจ้าเกิดมาก็มีกิเลส ก็เอาความอยากนี้ปฏิบัติ ปฏิบัติไปนี่ความอยากมันจะสงบตัวลงๆ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะความอยากมันจะให้โทษกับเรา ถ้าเป็นสมาธิแล้วก็อยากเป็นอีก ความอยากจะให้โทษ ธรรมชาติ เรามีความอยากอยู่แล้ว แต่ให้มันอยากดี อยากทำอยากสร้างเหตุผล แต่อย่าไปอยากในผล

อย่างเช่น เราอยากเป็นเศรษฐีมากเลย แล้วก็นั่งอยู่นี่ กูอยากเป็นเศรษฐีๆ อีกร้อยชาติกูก็ไม่ได้เป็น ถ้าเราอยากเป็นเศรษฐี อยากเป็นเศรษฐีใช่ไหม เราก็ต้องทำธุรกิจสิ อยากเป็นเศรษฐีเราก็ต้องลงทุนสิ เห็นไหม พอเราทำขึ้นมาเราก็เป็นเศรษฐีได้ นี่ก็เหมือนกัน เรามีความอยาก เราก็ปฏิบัติไปสิ เราก็ทำได้ใช่ไหม มันทำได้ แล้วครูบาอาจารย์ทำเป็นหลักฐาน ทำเป็นพยานมาแล้ว แม้แต่พระพุทธเจ้าก็ทำมาจากตรงนี้

แล้วพอย้อนกลับมาที่เรา เราถึงค้ำประกันตลอด ทีนี้เราค้ำประกัน ฟังเราก็ฟังชั่วคราว กลับไปใจก็คงจะเต้นตุ้มๆ ต่อมๆ ล่ะ ก็เขาบอกว่า “อยากแล้วปฏิบัติไม่ได้” แล้วหลวงพ่อบอกเขาว่าได้ ก็มีอยู่เสียงเดียว ดูสิ โลกเขามีเป็นล้านๆ เสียงเลย กูไม่รู้จะเชื่อใครดี มันจะยืนยันก็ดีกับเรา ตรงหน้าเรานี่แหละ ทีนี้คำพูดเราถึงได้แรง

เวลาเราสอนบ่อย เห็นไหม เราบอกถ้ากูสอนมึงผิดนะ เราพูดแรงๆ ตลอดนะ เพราะเพื่อความมั่นใจไง เราปฏิบัติมาก่อน เรารู้ ขวัญกำลังใจสำคัญมาก ถ้าขวัญอ่อนไม่มีความมุมานะนะ ล้มกลิ้งล้มหงาย ขนาดมีขวัญมีกำลังใจ มีความมุมานะ ยังทุกข์ขนาดนี้ ถ้าเราขวัญอ่อน ใครเป่าหูพรวด! ก็เชื่อๆ ใครเป่าใครสอนอย่างไร จับมันไว้ก่อน

เมื่อก่อนนะ เราไม่กล้าพูด ที่เขาบอกอาจารย์คนโน้นก็สอนดีๆ น่ะ เอาหนังสือมา เราจะเอาหนังสือหลวงตาเทียบเลย โยมไปอ่านดูสิ แล้ววางใจเป็นกลาง แล้วเปรียบเทียบกัน เพราะเรารู้อยู่ข้อมูลมันขัดแย้งกันหมด เราอ่านหนังสือ เราก็จำไว้อย่างเช่นที่พูดนี่ เห็นไหม เราก็ได้ข้อมูลมาใช่ไหม ก็มาดูหนังสือครูบาอาจารย์ มันก็มีข้อมูลเหมือนกัน แล้วเอ็งจะเชื่อใคร

แค่นี้ก็รู้แล้ว ฉะนั้นเวลาใครพูดอะไรมาอย่าเพิ่งเชื่อ กาลามสูตร พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้วนะ อย่าเชื่อว่าเป็นอาจารย์เรา อย่าเชื่อว่าเหตุผลมันจะลงตัว อย่าเชื่อ ให้เชื่อประสบการณ์จริงกับใจที่มันเป็น ทุกข์กูก็ทุกข์ ใจนี่ทุกข์เกือบตายเลยนะ ปั้นหน้า ว่างๆ ว่างๆ ปวดหัวน่าดูเลย มันพูดออกมาจากใจสิ

จริงๆ นะ ความเรา พวกเรานี่ อวิชชาในหัวใจ มันขวางอยู่ในหัวใจนี่ ใครบ้างที่จะไม่รู้ว่าในใจเรามีทุกข์หรือสุข มึงจะบอกว่างๆ ว่างๆ มันค้ำคอมึงอยู่นี่ มึงกล้าพูดความจริงไหม มันเป็นอย่างนี้จริงๆ ในเมื่อกิเลสมันมีในหัวใจ มันต้องมีจริงๆ

ถ้าจะหลง คนหลงนี่มันก็หลงได้ชั่วคราว อย่างเราหลงทาง มีอยู่สองประเด็น ประเด็นหนึ่ง หลงทางจนมันไปไม่ได้ก็ตาย ถ้าไปได้ มึงหลงทางมึงก็ต้องไปทางที่ถูกได้ จริงไหม ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราหลงไป เรายังมีชีวิตอยู่ เรายังมีความรู้สึกอยู่ ก็มันทุกข์ ก็มันมี

โธ่ “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส” อนาคามรรค เห็นไหม อรหัตมรรค จิตนี้ว่างหมดเลย มันยังเฉา มันยังทุกข์ละเอียด มันยังรู้ได้นะ เป็นพระอนาคามันยังทุกข์นะ มันทุกข์ที่ตรงไหน มันทุกข์ที่ มันอาลัยอาวรณ์ มันเฉามันเหงามันหงอย มันไม่ได้ทุกข์ว่า โอ๊ย! คนโน้นด่ากู คนนี้ ไม่ใช่นะ แค่มันเหงาๆ เศร้าๆ ซึมๆ พระอนาคามีความทุกข์แค่นี้แหละ

คิดถึงคนโน้น คิดถึงคนนี้ อาลัยอาวรณ์ นี่แหละทุกข์ของพระอนาคา แล้วมึงบอก มึงไม่มีนี่กูไม่เชื่อนะ กูไม่เชื่อ ไอ้คนหลงบอกว่าไม่รู้ตัวว่าหลง กูไม่เชื่อ มีแต่ว่า อย่างว่า ทุกข์อยู่ในใจแล้วก็ปั้นหน้าว่างๆ ว่างๆ เท่านั้นเอง

อ้าว! มีอะไรอีกไหม ไม่มีเนาะ เอวัง