ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ใจเป็นกลาง ๑

๑๔ มี.ค. ๒๕๕๒

 

ใจเป็นกลาง ๑
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

พูดถึงอย่างนี้ มันก็เหมือนพระเหมือนกัน เวลาครูบาอาจารย์นะ เวลาท่านอยู่นานๆ ไปน่ะ ท่านตอบปัญหาเยอะไง พอตอบปัญหาไปมากๆ เวลาถามแล้วปัญหาส่วนใหญ่มันก็ซ้ำเดิมนั้นน่ะ ก็เหมือนเด็กฝึกใหม่ เด็กฝึกใหม่มันก็มาเจอปัญหาเดิมนั้นน่ะ นี่พอตอบซ้ำๆ ตอบซ้ำๆ พอตอบซ้ำแล้วไอ้คนใหม่ก็มาถามอีก คนตอบไง มันจืดไป จืดไปไง

แต่ถ้าเป็นใหม่ๆ นะ ถ้าต่างคนต่างใหม่ ไอ้นี่มันผู้ปฏิบัติใหม่ พอปฏิบัติใหม่ เริ่มต้นก็เป็นอย่างนี้ เริ่มต้นมันก็ต้องสงสัยก่อน เริ่มต้นนี่เราสงสัยก่อนว่า เราจะไปทางไหน พอไม่รู้ว่าเราจะไปทางไหนปั๊บ ในการปฏิบัติเรามันก็โลเล เห็นไหม ครูบาอาจารย์ท่านก็บอกว่า “สักแต่ว่าทำ” เพราะเราทำด้วยความไม่มั่นใจไง ในเมื่อเรายังมีความสงสัยอยู่ ถ้าเราทำด้วยความไม่มั่นใจนะ พอมีปัญหาปั๊บ เราเคลียร์ ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่จริงนะ เคลียร์ๆ เคลียร์จนกว่าเราจะมั่นใจ พอมั่นใจทีนี้เราได้เต็มที่ล่ะ เพราะความมั่นใจ

นี่ขวัญ กำลังใจในการทำ ในการปฏิบัตินี่สำคัญมาก หรืออย่างบางคนนะ เขาห่วงมาก เพราะในตำราบอกว่า สีลัพพตปรามาส คือลูบคลำในศีล คือทำด้วยความไม่จริง พอ สีลัพพตปรามาส เขาถามว่า ที่เขาทำนี่เป็นสีลัพพตปรามาสหรือเปล่า บอกว่า เป็น! ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย

ทุกคนเวลาทำนี่เป็นสีลัพพตปรามาส แล้วมันเป็นสีลัพพตปรามาสที่ไหนล่ะ มันเป็นสีลัพพตปรามาสเพราะความสงสัยของเราไง เราทำจริงก็แล้วแต่ อย่างเช่น อาหารเห็นไหม เราไปสั่งอาหาร นี่แม่ค้าที่เขาทำอาหารขายนี่ เขาชินมีความชำนาญมากเลย เวลาเราไปสั่งมา เราก็ได้มา แล้วเราเป็นไหม เราทำไม่เป็นนะอาหารนั่น แต่เราได้อาหารนั้นมา

นี่ก็เหมือนกัน ความตั้งใจจริง เราตั้งใจไหม เราตั้งใจ แต่สีลัพพตปรามาสอยู่ตรงไหน ตรงที่เราไม่เป็นไง คนที่เป็นแล้วนะจะทำด้วยความมั่นใจ แล้วทำไม่มีความผิดพลาดเลย แต่คนที่ไม่เป็นเห็นไหม ได้มาๆ คือว่าเรามีอยู่แล้วไง สิ่งที่เรามีอยู่แล้วเราได้มา แต่เรามีความสงสัยไหม

สีลัพพตปรามาสคือ การลูบคลำ ความลังเลสงสัย มันจะหมดไปไม่ได้ มันจะมีของมัน จิตใต้สำนึก เพราะนี่คือตัวกิเลส แต่เวลาถ้าเราเป็นพระโสดาบันแล้วเห็นไหม สักกายทิฏฐิ เห็นตามความเป็นจริง ความลูบคลำนั้นจะไม่มี เพราะเราเห็นจริง เหมือนคนที่ทำเป็นแล้วนี่ มันจะไม่สงสัยเลยว่า ทำแล้วจะเป็นอย่างไร เพราะมันทำได้

แต่มันจะผิดพลาด ผิดพลาดตรงที่ว่า ผิดพลาดเพราะเวลาทำผิด ผิดพลาดก็รู้ว่าผิด รู้ว่าผิด เหตุมันผิดผลมันก็ต้องผิด เหตุมันถูกผลมันต้องถูก นี่ถ้าเราไม่เข้าใจทั้งเหตุทั้งผลเลย ไม่เข้าใจสิ่งใดเลย มันก็มีความลังเลสงสัยเป็นธรรมดา แล้วจะไม่ให้มี สีลัพพตปรามาสมันเป็นไปไม่ได้

นี่คำว่าเป็นไปไม่ได้ปั๊ป นี่ทางปริยัติเขาบอกว่า ถ้าสีลัพพตปรามาสทำด้วยความลังเลสงสัย ทำด้วยความไม่จริงนี่ มันจะชำระกิเลสได้อย่างไร มันจะเป็นธรรมะได้อย่างไร มันจะเป็นธรรมะได้ ธรรมะได้เห็นไหม

นี่เวลาเราปฏิบัติไปนี่ ข้ามพ้นดีและชั่ว ดีๆ ดีๆ ดีๆ ดีทำไมต้องข้ามล่ะ สิ่งที่ถูกๆ ถูกๆ ถูกๆ นี่ถ้าเราไปยึดนี่มันจะถูกไหม สิ่งที่ถูก ยึดนี่ก็ไม่ถูกแล้วเพราะเรายึด สิ่งที่ถูกนี่เราอาศัยมันใช่ไหม แต่เรายึดไม่ได้ เราต้องอาศัยมัน อาศัยสิ่งที่ถูกนี่เข้าไปถึงเป้าหมาย แต่สิ่งที่ถูกเรายึด พอยึดปั๊บ เป็นทิฐิละ พอยึดปั๊บ เห็นไหม มันจะไม่ให้เป็นอย่างอื่นไปเลยเห็นไหม ดี ข้ามทั้งดี นี้การปฏิบัตินี่ สีลัพพตปรามาส เราทำดี เป็นสีลัพพตปรามาสไหม ยังไม่เป็น เป็นสีลัพพตปรามาส แต่ถ้าอาศัยความดีเรามั่นใจไปเรื่อย จิตมันจะพัฒนาไปเรื่อย มันจะเห็นไปเรื่อย มันจะรู้ไปเรื่อยๆ

ตรงนี้ นี่ อภิธรรม บอกว่า “อยาก” ก็ทำไม่ได้ “อยาก” ก็ทำไม่ได้ อยากในมรรค อยากในเหตุๆ อยากสร้างความดี อยากสร้างคุณงามความดี อาศัยคุณงามความดีเป็นเครื่องดำเนิน นี่สัมมาทิฎฐิ ความเห็นชอบ กลั่นมาจากอริยสัจ จิตนี่เวลาเป็นโสดาบันนะกลั่นออกมาจากอริยสัจนะ มันไม่ใช่ตัวอริยสัจ มันกลั่นออกมาจากอริยสัจ สัจจะความจริงๆ นี่

เวลามันกลั่นออกมานี่ ไม่งั้นทำไมมี กุปปธรรม อกุปปธรรมล่ะ กุปปธรรมเห็นไหม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สภาวะธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนนี่ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สภาวะความเปลี่ยนแปลง อนัตตา ศาสนาพุทธสอนเรื่อง “อนัตตา” ศาสนาอื่นเขาสอนเรื่อง “อัตตา” สอนเรื่องตัวตนของเขา สอนเรื่องอนัตตาเห็นไหม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สภาวะธรรมที่เป็นอนัตตา ทั้งๆ ที่มันมีอยู่กับเราแต่เราไม่เคยเห็น แต่พอเราไปเห็นความเป็นอนัตตา เห็นตามความเป็นจริงแล้วนี่

จะว่าเป็น อัตตา มันเป็นกิเลสนะ แต่เราว่ามันเป็นสัจจะอันหนึ่ง เป็นกุปปธรรม อกุปปธรรม กุปปธรรมคือสภาวะความเป็นจริงนี้ ที่บอกกุปปธรรมเห็นไหม ที่บอกว่า กฎตายตัวๆ น่ะมันไม่มี ดีและชั่วมันเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา มันเปลี่ยนแปลง ดีและชั่วเห็นไหม ดีเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่ดี ชั่วเปลี่ยนแปลงจากสิ่งที่ชั่ว สิ่งที่มันขับเคลื่อนน่ะ มันเป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว

นี่เราไม่รู้เราไม่เห็น เรารู้เห็นแต่ทฤษฎี เรารู้เห็นแต่ของคนอื่น ดูสิ ดูร่างกายเรานี่ เราจะดูปกติในร่างกายเรา เราอยู่กับมัน เราคุ้นชินกับมัน เราจะเห็นว่ามันเป็นธรรมดา แต่เราไม่รู้ว่าเราแก่ขึ้นทุกวันนะ แต่พอไปเจอคนที่รู้จัก นานๆ เจอกันที โอ้โห! ทำไมแก่ถึงขนาดนี้ล่ะ ทั้งๆ ที่แก่เหมือนกันน่ะ แต่เราอยู่คุ้นชินกับเรา เราเห็นทุกวันน่ะ เราไม่แก่ เราก็เลยนึกว่าเราปกติ

ความเป็นอนัตตา ความเปลี่ยนแปลงมันอยู่กับเราตลอดเวลา แต่เราไม่รู้เราไม่เห็น แต่พอเราจิตสงบเห็นไหม เราตั้งฐานขึ้นมาจิตเราสงบ แล้วตัวจิตเราเห็น เห็นความเปลี่ยนแปลงของเราเองน่ะ เห็นการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึก เห็นความเปลี่ยนแปลงของความนึกคิด แล้วมันเห็นโทษของมัน

แล้วมันทิ้งความเปลี่ยนแปลงนั้น เห็นไหม มันทิ้งได้เพราะอะไร เพราะมันไม่ใช่อันเดียวกัน ความคิดไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ความคิด ความคิด สิ่งที่แปรปรวนอยู่นี่ไม่ใช่เราหรอก มันเป็นเกิดจากจิต ไม่ใช่จิต แล้วมันเกิดจากจิตไม่ใช่จิต แล้วมันมีอยู่กับเราไหม มันมีอยู่กับเราตลอดไป มีอยู่กับเราตลอดเป็นสถานะของมนุษย์ไง

สถานะเห็นไหม สถานะความเป็นจริง ความเป็นจริงของมนุษย์ ความเป็นจริงของเทวดา ความเป็นจริงของพรหม ความเป็นจริงของนรก อเวจี มันเป็นความจริงอันหนึ่ง เป็นวัฏฏะหนึ่ง มันเป็นความจริงอันหนึ่ง ทีนี้เราอยู่กับความเป็นจริงอันนั้น เราก็อยู่กับมัน โดยเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่พอจิตมันสงบเข้ามาน่ะ มันอกุปปธรรม มันเป็นจริงโดยสถานะ มันเป็นจริงโดยมนุษย์

แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้า มันปล่อยตรงนั้นได้ มันไปคลายสังโยชน์ออกได้ สังโยชน์คือเครื่องร้อยรัด ร้อยรัดให้เป็นอย่างนั้น นี่สังโยชน์ แล้วสังโยชน์มันมีหมด เทวดาก็มี ทุกอย่างมีหมด แล้วจิตมันเกิดจากสถานะไหน มันเป็นความจริงอันหนึ่ง แต่ถ้ามันเป็นความจริงโดยอริยสัจ เป็นความจริงนี่ที่ว่า “ธรรมะเหนือธรรมชาติ” เราจะเน้นตรงที่ว่า “ธรรมะเหนือธรรมชาติ” สัจธรรมที่มันมีอยู่ มันเป็นความจริงอันหนึ่ง เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง

ธรรมชาติของมนุษย์ ธรรมชาติของเทวดา ธรรมชาติของสัตว์เดรัจฉาน ธรรมชาติของนรกอเวจี ธรรมชาติๆ ธรรมชาติๆ ธรรมชาติอันหนึ่ง มันเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แล้วเราไปตกที่ไหนล่ะ ฝนตกฟ้าร้องแดดออกนี่ความแปรปรวนของมัน มันก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง มันก็เกิดเป็นธรรมดาของมัน

นี่ก็เหมือนกัน จิตเรา ก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่งใช่ไหม แล้วก็ว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติ เราก็วนเวียนเป็นธรรมชาติ แต่เพราะเรามาฝึกฝนนี่ไง เราอาศัยเอาธรรมชาติ เอาความเป็นจริงอันนี้มาฝึกฝน จนมันเหนือธรรมชาติ จนมันรู้ธรรมชาติ รู้กฎทฤษฎีตามความจริง แล้วมันวาง มันวางของมันเห็นไหม วางทั้งดีและชั่ว สำคัญตรงนี้เลย วางทั้งดีและชั่ว สิ่งที่ทำมาแล้วนี่ ดีแสนดีเลย สมาธิทำมาแสนดีเลย ปัญญานี้สุดยอดเลย โอ้โห! เห็นความเปลี่ยนแปลงนะ เราเห็นความเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของมันนะ เวลาปัญญามันเกิด เวลามันปล่อย เวลามันขาด

เวลามันปล่อยนะ มันมีความเปลี่ยนแปลงนี้มหาศาลเลย เหมือนเรา เห็นไหม ธรรมบอกว่า เวลาเราปฏิบัตินี่ แล้วเราจับปลา เราได้ปลามาตัวหนึ่ง เรานึกว่าปลาไหล โอ้โห! ดีใจมากเลย แต่ความเปลี่ยนแปลงน่ะ ความเปลี่ยนแปลง ความรู้สึกนะเห็นว่า ปลาไหลนี่มันเป็นงูเห่า พอมันสลัดงูเห่าทิ้ง มันสลัดงูเห่าทิ้ง พั้บ! ที่มันขาด เนี่ยความเปลี่ยนแปลงที่มันเห็น ที่มันรู้

มันจะเห็นเลยว่า ธรรมชาติมันทิ้งหมดเลย มันทิ้งสภาวะความเป็นจริงทั้งหมดเลย มันปล่อยออกมาเลย เป็นความจริงของมันอีกอันหนึ่ง ความจริงอันนั้นน่ะ อกุปปธรรม นี่ไงล่ะโสดาบัน สกิทาคา อนาคา พระอรหันต์นี่ เสมอภาคของพระโสดาบัน เสมอภาคของสกิทาคา เสมอภาคของอนาคา เสมอภาคของพระอรหันต์ เสมอภาคด้วยความรู้เป็นความจริงนะ

แต่วิธีการอำนาจวาสนาบารมีเห็นไหม ดูสิ เจอครูบาอาจารย์บางองค์นี่คล่องแคล่วมาก ครูบาอาจารย์บางองค์นี่ สามารถ ตี อธิบายได้แตกฉานมากเลย แต่บางองค์น่ะรู้จริงเหมือนกัน แต่อธิบายไม่ได้แตกฉาน เห็นไหม นี่ไง ความเสมอภาค มันสะอาดบริสุทธิ์เหมือนกัน แต่อำนาจวาสนาบารมีเพราะมันทำมาต่างกัน

เหมือนเช่นร่างกายเรานี่ เห็นไหม สูงต่ำดำขาวไม่เหมือนกันน่ะ ไม่เหมือนกัน แตกต่างกันไป เพราะอำนาจของวาสนาบารมี ดูสิ คนมีอายุยืนรักษาศีลมาดี หรือคนไม่เจ็บไข้ได้ป่วยเห็นไหม คนมีเชาวน์ปัญญา เห็นไหม สิ่งนี้ มนุษยสมบัติ ศีล ๕ ผู้ที่มีศีล ๕ มีมนุษยสมบัติเกิดมา สิ่งนี้จะมีเชาวน์ปัญญาที่ดีมาก นี่รูปลักษณ์ภายนอก และรูปลักษณ์ภายใน ในหัวใจล่ะ หัวใจมันพิจารณาของมัน มันเห็นสภาวะความจริงของมันเห็นไหม

เห็นสภาวะตามความจริงของมัน มันเป็นไป ทีนี้ เรื่องนี้นะ ตอนนี้นะ พูดถึงพวกเรานี่ โลกมันเจริญใช่ไหม แล้วมันเห็นวัตถุนี่วิทยาศาสตร์มันพิสูจน์ได้ พวกเราจึงพยายามจะประพฤติปฏิบัติธรรม และตอนนี้นะทางวิชาการเขาจะออกมามากเลยว่า หนังสือธรรมะนี่จะออกมาเยอะมาก เมื่อวานเขาก็มาถาม เมื่อวานเอาหนังสือมากางถามเลย

ด็อกเตอร์อะไรเขียนก็ไม่รู้ จำไม่ได้ มันอยู่ในนิตยสารรายสัปดาห์ บอกว่า “การทำกิ๊ฟ การเกิดหรือเกิดโดยธรรมชาตินี่ มันเกิดโดยธรรมชาติแต่การทำกิ๊ฟ ทำต่างๆ นี่ มันเกิดโดยผิดธรรมชาติ มันไปเกิดเพราะจิตที่มาเกิดไม่ได้ เขาบอกว่า มันจะเป็นจิตที่มาจากนรกอเวจีมาเกิด” เขาว่าอย่างนั้นนะ เพราะมันไปฝืนธรรมชาติไง และเขาก็มาอธิบายให้เราฟัง

เราบอกว่านี่ มันผิด! มันผิด! เพราะถ้ามันบอกว่า คนที่ทำกิ๊ฟ เขาพูดเลย คนที่ทำกิ๊ฟมานี่นะ จิตนี่ส่วนมากวิญญาณนี่มันจะมาจากนรก มันจะไม่ดีอะไรนี่ และสังเกตได้นะ คนทำกิ๊ฟนี่นะ คนจนทำไม่ได้นะ ทำที แสน สองแสน สามแสนนะ ประสาเราถ้านรกมาเกิดนะมันจะไปเกิดกับคนรวยหมดเลยน่ะ (หัวเราะ) คนจนๆ ทำไมไม่ไปเกิด มันจะไปเกิดได้ เห็นไหม

เราถึงว่า พอมาพูดปั๊บ เราบอกว่า “เราสลดสังเวชมาก” เพราะตอนนี้นะ ตอนนี้ทางวิชาการมันเจริญใช่ไหม แล้วนี่เวลาผู้ที่มาเขียน ด็อกเตอร์ทั้งนั้นนะ เขามีด็อกเตอร์เขียนในนามปากกา เป็นด็อกเตอร์หมดเลย ทีนี้พอเป็นด็อกเตอร์ มันเป็นวิทยาศาสตร์ใช่ไหม แล้วเขามาศึกษาธรรมะ

พอศึกษาธรรมะ ด็อกเตอร์นี้นะ พวกนี้เขาศึกษามามาก กระบวนการคิดของเขา ระบบสมองของเขานี่จะดีมาก นี่เขาไปศึกษาธรรมะปั๊บ เขาใช้ตรรกะของเขา มันจะทะลุ มันจะเห็นกว้างขวางมาก และเขามาเขียนหนังสือกัน พอเขามาเขียนหนังสือกัน ดูสิ ดูอย่างที่พระเขียนเห็นไหม เขาจบ ๙ ประโยค ๑๐ ประโยค เขาจะแต่งออกมา เราบอกว่า มันเป็นวิทยาศาสตร์ เขาจะบอกว่ามันจะเป็นอย่างนั้น จิตจะเป็นอย่างนั้น เราบอก มันไม่มีหรอก มันไม่เป็นอย่างนั้นหรอก

โดยธรรมชาติเป็นอย่างนี้ เขาเห็นว่าเป็นธรรมชาติใช่ไหม ถ้าลมพัด เกิดลมขึ้นมาเพราะความร้อนใช่ไหม อากาศที่มันร้อนขึ้นใช่ไหม อากาศเย็นมันไหลมา ก็คือลม นี่ก็เหมือนกัน นี่จิตที่เกิดจากนรกทั้งหมดเลย จริงๆ แล้วจิตนี่ เอ็งจะแบ่งแยกตรงไหนว่า วิญญาณไหนที่เป็นวิญญาณที่มาจากนรก วิญญาณไหนที่เป็นวิญญาณที่มาจากสวรรค์ มึงเอาอะไรมาแบ่งแยก แล้วเอาตรงไหนมาแบ่งแยก

เพราะ พระพุทธเจ้านะก็เคยตกนรก พระพุทธเจ้าเคยตกนรก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะพยากรณ์ เพราะจิตเรามันยังเวียนตายเวียนเกิด มันเกิดความผิดพลาดได้ อย่างเช่น พระโมคคัลลานะนี่ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายนะ มีฤทธิ์มากนะ เหาะเหินเดินฟ้าได้เลย แต่เมื่อชาติหนึ่งเคยฆ่าแม่ไว้ เห็นไหม พอฆ่าแม่ไว้ตัวเองก็ต้องมาโดนทุบ ขณะที่พระพุทธเจ้ายังไม่พยากรณ์ พวกเรานี่มันยังแปรปรวนอยู่ พอเรามาเจอสิ่งเร้าสิ่งใด ที่ทำให้เราทำผิดพลาดไปได้นี่ ผลมันต้องให้มีผล พอมีผลมันก็ต้องรับกรรมอันนั้นไง

เราจะบอกว่า จิตที่อยู่นรกโดยแบ่งแยกว่า จิตประเภทนี้เป็นจิตที่อยู่นรก โดยเฉพาะเลยนี่ แล้วจิตพวกนี้อยู่สวรรค์นี้ ไม่มี มันเหมือนกับความคิดของคนน่ะ ดูสิ ความคิดของเรานี่ เราเป็นซ้ายจัดน่ะ เรามีความคิดทางสังคมนิยมมากเลย แต่พอเราไปเห็นโทษของมัน เราไปเห็นว่า ความเป็นจริงว่า มันเป็นไปไม่ได้

สังคมนิยมนี่คือการเสมอภาคกัน การเสมอภาคกัน การมาเจือจานกัน มันไม่มี มันไม่มีเพราะอะไร มันไม่มีเพราะคนเราเกิดมาน่ะ มีกรรมแตกต่างกันหลากหลายมาก อย่างพวกเรานั่งกันอยู่นี่ ๔-๕ คน จะเอาของมาแบ่งให้เท่ากันหมดเลย ทุกคนพอใจไหม ถ้าคนเป็นธรรม พอใจ ถ้าคนไม่เป็นธรรม มันไม่พอใจ มันไม่พอใจที่หัวใจนะ

ทีนี้ สังคมนิยมทำให้มันเสมอภาคกันหมด มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราศึกษาข้อเท็จจริงนี่ มันเป็นไปไม่ได้ปั๊บ เราก็จะเปลี่ยนความคิด จากที่เป็นสังคมนิยมนี่ เราก็จะเป็นทุนนิยม เห็นไหม แล้วจิตดวงไหนเป็นสังคมนิยม จิตดวงไหนเป็นทุนนิยม จิตดวงไหนที่มาจากนรก จิตดวงไหนมาจากสวรรค์

คือว่า มันเปลี่ยนแปลงได้ไง จิตดวงเดียวนั้นแหละ มันเป็นประเภทอยู่ในสวรรค์ก็มี แล้วถึงคราวหนึ่งที่มันตกนรกไป นี่มันมาจากนรก แต่ว่ามันก็เปลี่ยนแปลงได้ไง คือไม่มีจิตที่จะอยู่ในนรกตลอดไป คือประเภทของจิตที่ตกนรก ชาตินี้เป็นชาติในนรก ชาตินี้เป็นชาติอยู่ในสวรรค์ ไม่ใช่! มันเปลี่ยนแปลงไง ในจิตดวงเดียวนั่นแหละ

ในจิตดวงเดียวน่ะมันเปลี่ยนแปลงได้ แล้วจะบอกว่า จิตดวงไหนมันเป็นประเภทของนรกล่ะ มันไม่มี มันไม่มี แต่เวลาพูดถึงบุญกรรม คนหนานี่ คนหยาบ อย่างเช่นเรานี่ เราเป็นคนหยาบ หรือใครก็แล้วแต่เป็นคนหยาบนี่ มันก็ทำแต่ในเรื่องสิ่งที่ไม่ดี พอสิ่งที่ไม่ดีมันก็ตกนรกมากหน่อยเป็นธรรมดา แต่ถ้าเราเป็นคนปานกลางเห็นไหม ทำดีก็ทำ ทำชั่วก็ทำ ทำดีก็ทำ ดีก็มีชั่วก็มีน่ะ เกิดถ้าเวลาดีให้ผลเราก็ไปเกิดในสวรรค์ เวลาชั่วให้ผลเราก็ไปเกิดในนรก

มันก็เป็นครั้งคราวเห็นไหม เราเองน่ะเป็นทั้งสวรรค์ เป็นทั้งนรกนี่ แล้วส่วนใหญ่จิตมันเป็นอย่างนี้ นรกหรือสวรรค์มันก็มีทั้งนั้นแหละ แล้วจิตประเภทที่มันเป็นนรกล่ะ นี่ไง เวลาเขาเขียน เขาเขียนของเขาอย่างนั้น นี่คนที่มันหยาบ มันก็เป็นอย่างนั้น จริงๆ นะ เวลาพวกเรา คนหยาบ

พวกอาจารย์สอนหนังสือนี่จะรู้มาก บอกสมัยก่อนสอนเด็กๆ น่ะสอนง่ายนะ เด็กเมื่อก่อนนะยังเข้าใจได้ง่าย ยิ่งเด็กต่อไปข้างหน้านี่จะดื้อ จะดื้อแล้วจะสอนได้ยาก นี่มันจะหยาบไปเรื่อยๆ จิตของคนจะหยาบไปเรื่อยๆ นี่สักแต่ว่า ศาสนาเสื่อม ศาสนาเสื่อม มันเสื่อมจากใจของคนนี่ไง คนมันเข้าไม่ได้ คนมันเข้าไม่ถึง

พอคนเข้าไม่ถึง มันก็หยาบของมันเอง แต่ตัวศาสนาไม่เสื่อม ทางวิชาการนั้นไม่มีเสื่อม แต่คนเข้าไม่ถึง คนเข้าไม่ได้ คนทำไม่ได้ พอคนทำไม่ได้มันก็หนาไปโดยธรรมชาติของมัน ไอ้ประเภทนี้มี มีนะ ครูบาอาจารย์เราเห็นนะ

เวลาอยู่ในป่า เวลาที่จะเกิด ที่ว่า หลวงปู่จันทา ท่านเห็นของท่านน่ะ ทั้งครอบครัวเลยนะ เวลาตายเดินเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ไปเกิดในนั้นหมดเลย จากมนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ แล้วพวกอย่างนี้วิทยาศาสตร์จะพิสูจน์อย่างไร นี่เวลาอย่างนี้ จิตที่มาจากนรก จิตที่เป็นมนุษย์แล้วทำไมไปเกิดเป็นสัตว์ล่ะ เนี่ยในพระไตรปิฎก มี ในธรรมบท

ท้าวโฆษกะเป็นหมาน่ะ หมาที่ว่าเป็นสุนัขทำไมไปเกิดเป็นเทวดาล่ะ นี่มันเปลี่ยนแปลงได้ เป็นสุนัขนะ พระปัจเจกพุทธเจ้าไง นัดกันว่า ถึงเวลาแล้วนิมนต์ให้มาฉันข้าวที่บ้าน ๓ เดือน ในพรรษา แล้วพอฉันไปก็บอกว่า ให้นัดกัน แล้วบอกว่าเวลาทำอาหารเสร็จแล้ว จะให้สุนัขนี่มานิมนต์ไง แล้วสุนัขมันก็มาเรียกทุกวันน่ะ พระปัจเจกนี่รักสุนัขมาก รักหมามาก ก็ทำแกล้งหลงไง บุญมันเกิดตรงนี้ไง

ทำแกล้งหลงไปเพื่อมันจะได้สร้างบุญของมัน เดินผิดทางไปมันไม่ยอม มันจะไปคาบจีวร แล้วดึงกลับมา ดึงกลับมาพาไปถูกทาง นี่เพราะความผูกพันไง ความผูกพันในพรรษา ออกพรรษาแล้วมัน.. ประเพณีของพระกรรมฐานออกพรรษาแล้วจะออกธุดงค์ไง ออกพรรษาแล้วก็ร่ำลากันไปน่ะ โอ๊ย! หมามันคิดถึงมาก มันอาลัยอาวรณ์มาก มันหอนจนขาดใจตาย

มันไปเกิดบนสวรรค์ไปเป็นเทวดา เป็นเทวดาที่เสียงเพราะที่สุด เพราะเวลามันเห่า มันไปเรียกพระปัจเจกพุทธเจ้า ไปเห่าๆ ไปหอน นี่มันทำบุญกุศลด้วยเสียง ไปเกิดเป็นเทวดามีเสียงเพราะมากเห็นไหม

ในสังคมพุทธไง โฆษกๆ น่ะ ท้าวโฆษกะน่ะคือหมานะ ไอ้คนพูดเก่งๆ พูดเสียงดีๆ น่ะ มันมาจากหมา เขาก็ทับศัพท์มาไง ท้าวโฆษกะ โฆษกๆ เนี่ยสิ่งนี้ เห็นไหม หมาน่ะสุนัขมันไปเกิดเป็นเทวดา มันเปลี่ยนแปลงเห็นไหม นี่มันเกิดเยอะมาก มันเป็นไปได้มาก นี่ถ้าจะบอกว่าจิตประเภทนั้นเป็นนรก เป็นสวรรค์เลยน่ะ ผิด!

แต่ถ้าบอกว่าจิตที่มันหยาบ มันตกนรกเป็นส่วนใหญ่ แล้วมันมาเกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์ทำสิ่งที่เสียหายนี่ อันนี้ฟังขึ้น เห็นไหม นี่กรรม เวลาพูดถึงกรรม กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน ในเมื่อมีเหตุมีผลของกรรม มันมีอยู่แล้วนี่ มันต้องเป็นไปตามนั้น นี่พอเรามีศรัทธาความเชื่อเห็นไหม

เราสังเกตได้ไหม นี่ดูสิ คนที่มีปัญญาขึ้นมา จะเห็นเลย น่าสงสาร เอ๊ะ ทำไมเป็นอย่างนั้นๆ พวกฝรั่งเขามาบวช ในพุทธศาสนานี่จะบอกว่า “ชาวพุทธอยู่กับศาสนานี่ ทำไมไม่ปฏิบัติ ทำไมเป็นกบอยู่เฝ้ากอบัว” ทีนี้เราก็เหมือนกัน เราก็อยู่ในวงการศาสนา แล้วเราก็ดูพระฝรั่งที่บวชมาแล้ว ภาวนาได้ถึงที่มีกี่องค์

อะ! เวลาเรื่องหยาบๆ นี่เขาเห็นได้ เพราะมันพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์ด้วยการค้นคว้าของเขา ว่าศาสนาพุทธนี่ตอบสนองได้ใช่ไหม นี่เวลามาบวชเข้าจริงๆ อ้าว ก็ทำมาให้ได้ซิ อ้าว นี่! ในเมื่อชาวยุโรปนี่เขาจริงจังมาก เขาทำจริงจังมาก พอทำจริงจังมาก พอลึกเข้าไปมันเป็นนามธรรมละ

พอจิตเป็นสมาธิขึ้นมานี่ เฮ้ย สมาธิเป็นอย่างไร อย่างนี้เหรอเป็นสมาธิ ก็ทดสอบ ปล่อยให้เสื่อม ปล่อยเลย การปล่อยให้เสื่อม หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ เวลาท่านสอนน่ะ เวลาจิตเราสงบแล้วนะ เวลาเข้า เวลาจิตสงบนี่นะ สงบเพราะใคร สงบเพราะเรา แล้วใหม่ๆ นี่สงบเหมือนส้มหล่น มันฟลุ๊ก ! มันเป็นเองโดยที่เราไม่ได้ควบคุม เราไม่มีการเข้ากัน เราไม่มีการเห็นการเข้าหรือควบคุมการเข้าการออกนี่ เราจะรักษาสมาธิได้ยาก

สมาธิที่เจริญแล้วเสื่อมๆ ก็ตรงนี้ แต่เวลาทำใหม่ๆ นี่มันละเอียด พอมันเป็นสมาธิขึ้นมาบ้างนี่ เราไม่รู้เหตุรู้ผลไง เหมือนกับเรา เรารู้เหตุผล ดูอย่างขับรถ คนขับรถ คนที่ชำนาญมาก เขาขับรถไป มันเหมือนกับ มันง่ายดายมากเหลือเกิน แต่เราฝึกขับรถใหม่ๆ นี่เกร็งมากเลย ยิ่งขับรถไม่เป็นด้วยนี่ ไปไม่ได้เลย

จิตที่มันขับรถคล่องแคล่วไง การชำนาญในวสี การเข้าและการออก สมาธิเสื่อมไม่ได้หรอก คนขับรถเป็น เครื่องยนต์ดี ลมดี น้ำมันดี ทุกอย่างดีนะ มันไปไหนก็ได้ มันไปได้ตลอดน่ะ เพราะมีความชำนาญ นี้ไอ้เรื่องเรากำหนดจิตน่ะ เรามีสมาธินี่ เราทำสมาธิ ความชำนาญของเรานี่ การเข้าและการออกนี่ เราชำนาญในการเข้าและการออกนะ คนขับรถเป็น คนคล่องแคล่วมาก คนชำนาญมาก

แต่ถ้ารถมันเสียไง ยางแตก พวงมาลัยหลุด สิ่งต่างๆ รถนี่มันเป็นไปไม่ได้หรอก นี่ก็เหมือนกัน เวลานั่งสมาธิน่ะ คนชำนาญขนาดไหนก็แล้วแต่ มันมีกรรม มันมีกรรมของมัน ถ้ามีความชำนาญแล้วมันต้องตลอดรอดฝั่งไปหมดสิ มันก็ต้องเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาต้องเกิดขึ้นมา มันก็มีกรรมเห็นไหม มันมีเหตุมีอุปสรรค มีอุปสรรคนี่ สมาธิบางทีเข้าชำนาญมาก เหตุผลมันเป็นอย่างนั้นนะ เหตุผลข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างนั้นเลย “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” ถ้าเหตุมันสมควรแล้ว ผลมันต้องเกิดขึ้นมา

แล้วผู้ที่ปฏิบัตินะบางคนทำสมาธิดีมากนะ เห็นนิมิตต่างๆ เป็นไปได้เลย แล้วจิตมันเสื่อม มันเลิกไปเลย ทำไมมันเลิกไปเลยล่ะ ทำไมพระสึกหมดล่ะ มันก็มีกรรมของมันอีกเห็นไหม นี่ไง เวลาอภิธรรมเขาบอกเลย เขาไม่เชื่อตรงนี้ไงว่า พระอรหันต์ต้องสร้างมาแสนกัป พระพุทธเจ้าต้อง ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย แล้วแสนกัป นี่ทุกคนท้อแท้ไง

นี่คำว่า “ท้อแท้” นี่ดู เชาวน์ปัญญา ดูปฏิบัติสิ เวลาปฏิบัติแล้วถ้าจิตมันเสื่อม จิตมันไม่มีกำลังขึ้นมา เราก็ต้องหาเหตุหาผลซิ เวลากรรมมันมาตัดรอนนะ เวลากรรมมันตัดรอนนะ เรานี่ภาวนาดีมากเลย ทุกอย่างดีมากหมดเลย ถึงเวลากรรมมันพลิกนะ มันพลิกขึ้นมามันท้อแท้ มันไม่เอาเลยนะ มันผลักไสเลย แล้วมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ตรงนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มันเกิดขึ้นมาแล้วนี่ กรรมเห็นไหม

กรรม คือการกระทำ แล้วเวลาให้ผลแล้วทำไมเราไม่แก้ไข ถ้าเราแก้ไขขึ้นมา นี่ไง ต้องสู้! พวกเรานี่ มันมี เราใช้รถอยู่นี่ รถมันต้องเสื่อมสภาพ รถมันต้องแก้ไข มันต้องซ่อมแซม มันต้องบำรุงรักษา นี่ครูบาอาจารย์เรา เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์เรา ท่านถึงระวังตรงนี้มากนะ ต้องบำรุงรักษาเห็นไหม ดูข้อวัตรปฏิบัตินี่ อย่าไปคลุกคลี

เวลาอยู่กับหลวงตา เห็นไหม เมื่อก่อนอยู่กับหลวงตานะ ใครจะมาเพ่นพ่านที่ศาลาไม่ได้เลย เพราะศาลานี่มันมีคนเข้าออก แล้วเราออกมาประสบเข้าไป แล้วกรรมมันให้ผลวันไหนจะรู้ไหม แล้วทุกคนมันเกิดขึ้นมา เวลากรรมมันให้ผล แล้วเราจะไปแก้อย่างไร ยังดีนะมีครูบาอาจารย์อยู่ยังช่วยแก้ได้นะ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์อยู่เวลาเจออะไรขึ้นมานี่ เรารักษาตัวเองไม่รอดเลยล่ะ

ฉะนั้นเราต้องหลีกเร้นไง เราไม่รู้ว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาได้เมื่อไหร่ เราต้องหลีกเร้น เราต้องรักษาตัวให้ได้ ทำตัวเองเอาให้รอดให้ได้ พอรอดแล้วนี่ เอาตัวรอดได้แล้วนี่ ไปเจอสิ่งใด อุปสรรคอะไรมันก็แก้ไขได้

นายช่างใหญ่เห็นไหม นายช่างซ่อม ดูสังเกตได้ ไอ้พวกช่างสร้างบ้าน หรือพวกช่างรถ ดูรถเขาสิ จะผุพัง จะพะรุงพะรัง เพราะเขาเป็นช่างเขาไม่กลัว มาเหอะ เสียกูจะซ่อม ไอ้อย่างเราไม่เป็นนะ เกร็งมากนะ เราขับรถไม่เป็น กลัวมากเลย ไปยางรั่วไปยางแตก กูจะทำอย่างไร ช่างบอก ให้รั่วมาสิ กูจะซ่อมให้เดี๋ยวนี้เลย นี่ถึงของเขาจะไม่ดี

นี่เหมือนกัน ถ้าเรามีความชำนาญของเรา ถ้ามันเป็นไปแล้วนะ ไม่กลัวอะไรเลย มันทำได้ แต่ถ้ายังไม่เป็นนี่ โอ้โห! เกร็งนะ กลัวไปหมดเลย นี่ความชำนาญอย่างนี้ เรามีความชำนาญแล้ว ความชำนาญของเราอยู่ที่ไหน มีตั้งสติ ตั้งอารมณ์ไง ตั้งให้มันมีความชำนาญแต่อย่าประมาทนะ เราทำมาหมดแล้ว

เรานี่นั่งที ๗-๘ ชั่วโมง ตอนบวชที่ปฏิบัติใหม่ๆ แล้วอะไรทำอะไรเราไม่ได้หรอก แต่บางทีเราประมาทไง นั่งนะ “พุทโธๆ” ไปเรื่อยนะ พอเวลาเวทนามันมา โอ้โห! แต่นี้มันเป็นนิสัย เวลาเรานั่งแล้วเราจะไม่เปลี่ยนท่า ถ้านั่งสมาธิก็เป็นสมาธิ บางทีมันนั่งมาก มันไม่ไหว มันเมื่อย มันเจ็บ มันปวด เราต้องนั่งพับเพียบ บางคราวก็นั่งพับเพียบ บางคราวก็นั่งสมาธิ นั่งขัดสมาด จะกี่ชั่วโมงก็แล้วแต่ ถ้าได้นั่งแล้ว จะมีสัจจะตลอด นิสัยแปลก นั่งท่าไหนต้องเป็นท่านั้นจนกว่าจะเลิก

นี้พอเวทนามันมา โอ้โห! มันปวด ปวดก็ต้องปวดแล้ว มันจะติตัวเองไง ประมาทไง เสือกอวดดีไง ธรรมดาถ้ากำหนดพุทโธดีๆ นะ ตั้งสติดีๆ หรือใช้ปัญญาดีๆ นี่ ตั้งดีๆ ความปวดจะไม่เกิด เรามันจะตรงแน่วเข้าไปถึงความสงบเลย

แต่ถ้าเรากำหนดอยู่ แต่สักแต่ว่าทำ กำหนดคือว่าทำเพลินๆ ไปงั้น คือว่าทำแบบไม่จริงจังเท่าไร พอมันมาขึ้นมา นี่เวทนามันปวดล่ะ พอปวดแล้วก็ต้องสู้สิ ทีนี้สู้ก็ต้องพุทโธแรงๆ ต้องต่อสู้จนกว่าเวทนามันจะเบาลง เวทนามันจะหายไป เราสู้ขนาดนั้นนะ แล้วเจอบ่อย พอไปนี่ พอมันรักษาดีๆ เวทนาไม่ได้กินละกัน จิตมันลงสมาธิก่อน

แต่ถ้าวันไหนมันประมาท เวทนามาก่อน พอเวทนามาก่อนก็ต้องสู้ ให้เวทนามันดับ แล้วลงสมาธิให้ได้ด้วย โดนบ่อย โดนอย่างนี้ เพราะอะไร เพราะความประมาททั้งๆ ที่ทำได้นี่แหละ ของที่ทำได้อยู่ติดกับมือนี่แหละ ของที่ทำได้อยู่นี่แหละ

ดูสิ อาหารนี่ถ้าเรารักษาไฟไม่ดี บางทีมันยังไฟแรงไป ไฟอ่อนไป อาหารมีรสชาติต่างกันไปเห็นไหม นี่ทำสมาธิ สมาธิที่ทำได้อยู่นี่แหละ เคยทำได้นี่แหละ ว่าทำชำนาญนี่แหละ แต่ถึงเวลา เพราะด้วยอารมณ์ ความรู้สึก คือการกระทบนี่แหละ มันทำให้เข้ายาก-ออกยากเลยล่ะ นี่ถ้าเราชำนาญตรงนี้ เรากำหนดให้ดี ตั้งสติให้ดี เห็นไหม ไม่ให้ส้มหล่น เห็นไหม นี่ชำนาญในวสี

ชำนาญในวสี ชำนาญในการเข้า และในการออก ถ้าเข้าสมาธิแล้วนี่ อย่าไปกระตุก อย่าไปผุนผันออกเห็นไหม เวลาเรามีธุระเรารีบผุนผันออก เวลาวันหลังมันเข้าได้ยาก เวลาออกให้มันค่อยๆ ออกมา แล้วออกมาเราจะระลึกเลยว่า เวลาเข้า เข้าอย่างไร ตั้งอารมณ์อย่างไร ออกอย่างไร เนี่ยสังเกตดู เหมือนกับเราตื่นนอน เราเก็บที่นอน

ก่อนนอนเราปูที่นอน ปูที่นอนนี่ ก็สร้างเหตุ นอนหลับก็สมาธิไง นี่ก็เหมือนกัน ก่อนที่เราจะหลับเราปูที่นอน แล้วทำไมเราถึงนอนหลับได้ เราตั้งสติอย่างไร เรากำหนดสมาธิอย่างไร สมาธิมันถึงได้ดี เวลาออกมาแล้วเห็นไหม ก่อนนอน ลุกจากที่นอน เก็บที่นอนเห็นไหม ลุกออกจากสมาธิ ดูเหตุผลอย่างนี้ นี่รักษาอย่างนี้

ทำให้บ่อยๆ ครั้งเข้า ชำนาญในการเข้า ชำนาญในการออกเห็นไหม เราจะรักษาสมาธิได้ สมาธิแก้กิเลสไม่ได้ แต่สมาธิเป็นที่พักจิตได้ สมาธินี่เวลาจิตสงบ จิตเป็นสมาธินี่ จะมีความสุข เขาพูดกันบ่อยเลย เราไม่ค่อยอยากพูดคำนี้ แต่จะพูดว่า “เป็นนิพพานของคนมีกิเลสไง” ถ้าสมาธิมันเหมือนกับนิพพานของคนมีกิเลส แล้วจิตมันสงบไง แต่มันไม่ใช่นิพพานเป็นสมาธินั้นแหละ แต่มันมีความสุข จนเราหลงได้ว่าเป็นนิพพานได้ เห็นไหม

สมาธิเป็นที่พักจิต สมาธิเป็นที่พักนอน สมาธิทำให้จิตมีกำลัง สมาธินี่ทำให้จิตมีความชุ่มชื่นแจ่มใส แล้วเราได้ออกใช้ค้นคว้า เพื่อใช้ปัญญาเข้าไปจะเป็นโลกุตตรปัญญา ถ้าไม่มีสมาธิ โลกุตตรปัญญาไม่เกิด เพราะมีตัวสมาธิโลกุตตรปัญญาจะเกิด แล้วโลกุตตรปัญญาเกิดขึ้นมา มันจะเกิดขึ้นมาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม

ในธรรมนี่ธรรมารมณ์มันกว้างขวางมาก แล้วถ้ามันค้นคว้ามันแยกแยะมันทำให้เห็นมาแล้วนะ พอมันไปเห็นแล้ว มันขาดของมันอย่างไร พอมันไปเห็นขาดมา มันจะย้อนกลับไปที่ว่า จิตที่มาจากนรก จิตที่มาจากสวรรค์ มันจะรู้หมดเลย รู้เพราะอะไร รู้เพราะจิตถ้ามันมีเปลือกใช่ไหม นี่ผลไม้ที่มีเปลือก เปลือกที่มันขรุขระ เปลือกมันเป็นพิษ เปลือกมันเป็นอะไร มันจะทำให้ผลไม้นั้นมีรสชาติ เป็นผลไม้พิษ เป็นผลไม้ที่ดี เห็นไหม “จิต” ผลไม้คือความคิดกับเปลือกผลไม้ใช่ไหม

จิตที่ตกนรกก็เพราะกรรม เพราะเวร เพราะความคิดนี่มันพาให้จิตนี้ตกนรก จิตนี้ไปสวรรค์นี่ แล้วเวลาเราภาวนาไป จิตเราไปเห็นการปอกเปลือก ไปทำลายเปลือกออกจากจิต มันเห็นน่ะ มันเห็นมันรู้ มันปอกออกมาแล้ว แล้วจิตดวงไหนที่มันอยู่ในนรกตลอดไป แล้วจิตดวงไหนที่มันอยู่บนสวรรค์ตลอดไปน่ะ

เพราะสวรรค์นั้นมันก็เป็นที่พักจิตเห็นไหม เป็นที่เวลาทำบุญดีแล้วก็ไปพักจิต ไปพักบนสวรรค์ ไปเกิดบนสวรรค์ แล้วภาวนาไปมันจะเห็นนะ มันจะปอก มันจะลอกออกไป เพราะสังโยชน์เป็นเครื่องร้อยรัด “ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕” พระโสดาบัน เห็นไหม ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ขันธ์ ๕ คือ ความคิด คือความปรุง ความแต่ง มันเป็นอาการของจิตไม่ใช่จิต

ถ้าเป็นอาการของจิต เวลาเราสบายๆ หรือเรานอนหลับ ความคิดไปไหน ถ้าจิตกับความคิดมันเป็นอันเดียวกันน่ะ ขันธ์ ๕ กับจิตเป็นอันเดียวกันนี่ เราจะนอนหลับไม่ได้ เราจะตื่นโพลงตลอดเวลา แล้วความคิดมันจะอยู่กับเราตลอดไป แล้วเวลาหลับ หลับได้อย่างไร เวลาเรานั่งปกติ ความคิดนี่มันสงบตัวลง มันมีแต่ความรู้สึกเฉยๆ นี่มันอยู่ได้อย่างไร นี่มันมีอยู่กับเรา

มันเหมือนกับตะกอนในน้ำนี่ ขยับปั๊บตะกอนมันก็เกิด ตะกอนมันอยู่ในน้ำน่ะ นี่ตะกอนอยู่ในน้ำนี่ เวลาสมาธิ เหมือนกับตะกอนนี่มันนอนก้น สมาธิตะกอนนอนก้น แต่ขณะที่มันฟุ้งซ่าน นี่ตะกอนมันฟุ้งหมดเลย น้ำมันขุ่น เวลาน้ำมันใสนี่ ตะกอนมันนอนก้น

ถ้าเป็นสมาธิมันเป็นแค่นี้ แต่ถ้าเป็นวิปัสสนาเห็นไหม มันเอาตะกอนออก เอาตะกอนในน้ำออกเลย แล้วตะกอนในน้ำมันออกเห็นไหม ความคิดคือตะกอน มันไม่อยู่ในน้ำแล้ว มันอยู่ในอันเดียวกันไหม ตะกอนกับน้ำเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า ตะกอนกับน้ำมันไม่ใช่อันเดียวกัน มันคนละอันกัน แต่มันอยู่ด้วยกัน

พออยู่ด้วยกัน แล้วพูดถึงเรามีขันธ์ ๕ เรามีความคิด แล้วเป็นนรกอเวจีล่ะ นรกอเวจีมันมีขันธ์ ๕ ไหม มันไม่มีขันธ์ ๕ เพราะมันไม่มีร่างกายนี้ มันมีแต่ร่างกายทิพย์ ร่างกายที่หมายถึงว่าเป็นผี เป็นเปรต ร่างกายเป็นอย่างนั้น ร่างกายเป็นผีมันเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เห็นไหม นี่ตกนรกอเวจีไฟบรรลัยกัลป์มันเผาไหม้ เผาไหม้จนย่อยสลาย เผาไหม้จนหมดเลย แล้วมันก็ขึ้นมาเป็นเราใหม่อีก เพราะว่ามันตายไม่ได้ ในเมื่อกรรมยังไม่หมดมันยังตายไม่ได้หรอก

มันเป็นรูปน่ะ มันเหมือนเปลวไฟน่ะ ดูสิ ก้อนเมฆเปลวไฟน่ะ เวลามันขึ้นมา มันลุกมันเป็นเปลวไฟเลย เปลวไฟนี่เดี๋ยวมันก็ดับไป แล้วมันก็เป็นเปลวไฟอีก เพราะมันเป็นไป นี่มันไม่มีรูปกายเห็นไหม สถานะของนรกก็เป็นอย่างหนึ่ง สถานะของสวรรค์ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง อีกสถานะก็อย่างหนึ่ง มีขันธ์ ๔ เห็นไหม ดูสิ พรหมก็เป็นอย่างหนึ่ง สิ่งนี้มันเวียนตายเวียนเกิด แล้วเวลาเราวิปัสสนาไป จิตมันไปทำลายเปลือกที่มันเป็นพิษ คือความคิดที่มันผูกอยู่กับจิตที่มันเป็นพิษ ที่มันขาดออกไป

“ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕” นี่มันขาดออกไป พอมันขาดไปแล้ว อบายภูมิมันไปไม่ได้แล้ว พระโสดาบันนี่ เรื่องนรกอเวจีนี่ไม่ต้องพูดถึงกันเลย จิตดวงนี้จะไม่ตกนรกเด็ดขาด แต่จิตดวงนี้จะเกิดอีกเกิดบนสวรรค์ เป็นเทวดาที่เป็นอริยภูมิ กับเทวดาที่เป็นปุถุชน เป็นพรหมที่เป็นอริยภูมิ กับพรหมที่เป็นปุถุชน ถ้าเป็นปุถุชนอยู่นี่มันมีผลไม้พิษ คือจิต คำว่ามีเปลือกเป็นพิษ

เปลือกเป็นพิษ คือมันมีความคิด ความคิดกับจิตมันเป็นอันเดียวกันอยู่นี่ มันยังขับเคลื่อนอยู่ มันยังหมุนไปอยู่ใช่ไหม แต่เวลาถ้าเราเป็นโสดาบัน มันก็มีผลไม้พิษอย่างละเอียด แต่ผลไม้พิษอย่างหยาบมันไม่มี พอผลไม้พิษอย่างหยาบมันไม่มี มันจะตกไปในนรกไม่ได้ มันจะตกนรกไม่ได้ เพราะว่าพระโสดาบันนี่ ไม่ลงอบายภูมิอยู่แล้วเห็นไหม ไม่ลงอบายภูมิอยู่แล้วมันเป็นไปไม่ได้ ไม่ลงอบายภูมิอยู่แล้ว นี่จิตนี้มันถึงไม่ลงนรกอเวจีอีกแล้ว นี่นรกอเวจี หรือว่าสวรรค์ พรหม ต่างๆ นี่ มันเป็นสถานะ มันเป็นที่พักของจิต

จิตที่มันหมุนเวียนไป นี่มันเป็นจิตดวงนั้น ไม่มีจิตดวงใดที่จะตกนรกตลอดไป จิตดวงใดจะขึ้นสวรรค์ตลอดไป มันเป็นวัฏฏะที่มันไม่มีสติไม่มีสัมปชัญญะที่มันทำของมัน มันจะเวียนตายเวียนเกิดไปตามธรรมชาติของมันอย่างนี้นะ มันจะเวียนตายเวียนเกิดเป็นธรรมชาติของมัน ถ้าเวียนตายเวียนเกิดนี่ แล้วธรรมชาติคืออะไร ธรรมชาติ คือ กรรมไง

ทำกรรมชั่วมันก็ไปตามนั้นน่ะ การทำชั่วแล้วเราก็ทำความดีด้วย ทำความดีนี่ถึงทำความชั่วอยู่ แต่เราทำความดีแล้วนี่ ความดีจะพาให้เราไปเกิดบนสวรรค์ก่อน แต่ความชั่วอันนั้นมันก็ยังอยู่ในหัวใจนะ หมดจากสวรรค์นั้นถ้าไม่เกิดเป็นมนุษย์ มันก็ลงนรกไปเลย เพราะว่าเราก็ทำไว้แล้วน่ะ ทำไว้แล้วน่ะ เพราะเราตีตั๋ว ๒ ใบ ใบหนึ่งตีตั๋วลงนรก ใบหนึ่งตีไปบนสวรรค์ แต่เราเอาตั๋วไปสวรรค์ยื่นก่อน ก็ไปเกิดบนสวรรค์ก่อน พอหมดจากตั๋วไปสวรรค์ปั๊บ ไอ้ตั๋วไปนรกมันตีไว้แล้ว กรรมมันทำไว้แล้วไง มันลงนรก ผลัวะ! ไปเลย

นี่ไง เทวดาเขาอวยพรกัน เห็นไหม เทวดาอวยพรกันน่ะ เวลาแสงมันเริ่มเฉาลง มันจะหมดกรรมของเขา เขาจะต้องไปเกิดอีกเห็นไหม เทวดาอวยพรกัน นี่ถ้าหมดต้องตาย ต้องไปจุติ “ขอจุติให้ไปเกิดเป็นมนุษย์เถิด และพบพุทธศาสนา เพื่อจะได้ทำบุญกุศลแล้วจะได้เกิดเป็นเทวดาอีก” นี่เทวดาเขาอวยพรกัน นี่เป็นคำอวยพรของเขา

แต่ถ้าทำความดีเขาตีตั๋ว ๒ ใบ ใช่ไหม นรกใบ สวรรค์ใบ ก็ไปสวรรค์ก่อน แล้วลงนรก แต่คนเรานี่มันตีตั๋วไว้เป็นล้านๆ ล้านๆ ล้านๆ ใบเลย คำว่า “ล้านๆ ล้านๆ ล้านๆ ใบ” เพราะอะไร เพราะเราไม่ได้ตีตั๋วเฉพาะแค่ชาตินี้ไง เราตีตั๋วมาทุกภพ ทุกชาติ เราเกิดมาเท่าไรแล้ว มันซับซ้อนไง นี่ไง กรรมนี่ถึงเป็นอจินไตย อจินไตยมี ๔ “กรรม พุทธวิสัย โลก ฌาน”

“กรรม” กรรมนี่เพราะอะไร เพราะเราจะระลึกรู้ได้ในชาตินี้ไง ตั้งแต่เด็กเราทำอะไรมาบ้าง ชาติที่แล้วเรารู้ไหม แล้วชาติต่อๆ มารู้ไหม แล้วคิดดูว่า คนหนึ่งทำกรรมชาติหนึ่ง มันทำมากน้อยขนาดไหน แล้วกรรมที่ให้ผล พอให้ผลน่ะมันเกิดแป๊บเดียวนะ อย่างเช่น จิตจะออกจากร่างนี่ เห็นไหม โบราณจะสอนกันว่า ก่อนที่จิตจะออกจากร่างให้นึกถึง “พุทโธ” ให้นึกถึงพระไว้ ให้นึกถึงคุณงามความดีไว้ คือตีตั๋วสวรรค์ให้ได้ คือตีตั๋วความดีให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์ก่อน

ทีนี้ให้เราระลึกไว้ ระลึกไว้ ถ้าเราไม่ได้ฝึก เราระลึกไว้ได้ไหม ของทุกอย่างมันต้องฝึกฝน มันต้องเตรียมพร้อมไง เตรียมพร้อมตั้งแต่ก่อนจะตาย ถ้าก่อนจะตายปั๊บ มันเวลาถึงที่สุดแล้วนะ มันจะตายดีเลย นึกถึงพระไว้ๆ เว้นไว้แต่กรรมนิมิตนะ คนที่ทำความชั่วไว้เยอะนี่ อย่างพระเทวทัตนี่ ให้นึกอย่างไรก็ไม่รอด เพราะทำไว้มาก

ถ้าทำไว้มากมันจะเป็นนิสัย ถ้าเป็นนิสัยปั๊บ เพราะเราทำมาก แต่ถ้าเราทำน้อย แล้วเราทำคละกัน มันมีดีมีชั่ว มันยังมีโอกาสมาก ให้นึกถึงคุณงามความดีไว้ใช่ไหม เราตีตั๋วไว้เป็นล้านๆ ล้านๆ ล้านๆ ใบเลย แล้วเวลาออกนี่ เวลาจิตมันออก มันอยู่ที่บุญกรรมของเรา ที่เรามาทำบุญกุศลอยู่นี่ เรามาฟังเทศน์อยู่นี่ ให้มันมีข้อมูลในหัวใจ แล้วเราฝึกฝนมาตั้งแต่ปัจจุบันนี้ ถ้าเราฝึกฝน พุทโธๆ พุทโธๆ ทำใจเอาไว้ตั้งแต่ตอนนี้นะ

หนึ่ง ในชีวิตเรานี่มีความสุขมาก มีความสุขที่ไหน คือในความคิดเรา มันมีจุดยืน มันไม่เร่ร่อน อย่างน้อยเราก็มีที่พึ่งคือพระพุทธเจ้า คำว่ามีที่พึ่งพระพุทธเจ้า แล้วเรานึก พุทโธ จิตใจมันไม่อยากนึก มันอยากนึกแต่เรื่องรูป รส กลิ่น เสียง ไปตามประสากิเลส ถ้านึกถึงเรื่อง รูป รส กลิ่น เสียง ไปตามกิเลสนี้น่ะ เพราะกิเลสมันอยู่ในใจเรา มันเข้ากันได้ไง ขั้วบวกขั้วลบเข้าได้ มันก็เกิดพลังงานออกไป

แต่เรานึก พุทโธๆ นี่เป็นธรรม แล้วธรรมเรานี่ ธรรมนี้มันเกิดที่ไหน เรามีพุทธะ เรามีธาตุรู้อยู่ แต่ธาตุรู้นี่ เราต้องสร้างขึ้นมา แล้วเราเกิดเป็นธรรมนี่ เรามีสิ่งกระตุ้น เราเข้าสังคมที่เป็นธรรม เห็นไหม เราก็จะนึกกันอย่างนี้ เราก็จะเตือนกัน เราก็จะรักษากันได้ แต่ขณะที่เราทำนี่เพราะกิเลส มันมีพื้นฐานของมันโดยธรรมชาติของมัน เวลาเราต่อสู้กับมัน มันเลยเป็นความยากลำบากนิดหนึ่ง

เวลาคิดถึงความดีนี่ มันจะคิดได้ชั่วคราวๆ แล้วมันจะทอดอาลัย เหนื่อยมาก ก็เข็นครกขึ้นภูเขา ครกมันก็กลิ้งทับเราเป็นธรรมดาใช่ไหม ถ้าเราปล่อยครกให้มันไหลไป เรายืนดูนี่สบายเลย เวลาเราปล่อยให้มันคิดไปตามธรรมชาติไปนี่ เหมือนกับเรากลิ้งครกปล่อยครกลงภูเขาไป มันก็กลิ้งไปตามสบายเลย ถ้าเราจะปล่อยให้คิดไปตามธรรมชาตินะ

โอ๊ย มันไหลไปตามสบายมากเลย แต่ถ้าเข็นครกขึ้นภูเขาเนี่ย ความคิดที่ดีไง นี่ไงพระพุทธเจ้าถึงบอกว่า “ถ้าเราไม่เข็นครกขึ้นภูเขา ก็เท่ากับว่าเราปล่อยให้ครกกลิ้งลงจากภูเขามา เราถึงต้องสู้ ต้องทำ” ถ้าคำว่า ต้องสู้ต้องทำนี่ มันก็ต้องอยู่ที่วุฒิภาวะอีกแล้ว

วุฒิภาวะคือมีกำลัง มีความตั้งใจ มีความดีของเรา ถ้าเรามีกำลัง มีความตั้งใจ มีความดีของเรานะ เราคืออำนาจวาสนา คือเราสร้างมาเห็นไหม การเสียสละทานและการได้ฟังธรรม ฟังธรรมนี่มันกระตุ้นนะ แล้วถ้าคนมันมีพื้นฐานไง มีพื้นฐานมันมีอยู่แล้วนะ เราตีตั๋วมาล้านๆ ล้านๆ ล้านๆ ใบ แล้วใครตีตั๋วดีๆ มาอยู่ในหัวใจนี่ แต่มันอยู่ลึก มันอยู่ในหลืบ

ถ้าไม่ได้มีการฟังธรรม ไม่ได้มีสิ่งแวดล้อมกระตุ้น ไม่มีคนชักนำนี่ มันก็มีข้อมูลในใจ ถ้าวันไหน มันมีครูบาอาจารย์คอยไปคุ้ยมันขึ้นมา แล้วมีสิ่งแวดล้อมที่ดี เห็นไหม นี่เราตีตั๋วดีไว้แล้ว แต่ไม่รู้จักเอามาใช้ ถ้าเราตีตั๋วดีไว้แล้วนะ แล้วมีส่วนกระตุ้นมัน ดึงมันออกมาใช้นะ ทีเดียวจบได้ ทีเดียวจบได้นะ

เราถึงต้องรักษา เราถึงต้องทำความดีของเรา มันเก็บลงที่ใจ ไม่มีอะไรฟรี ในพุทธศาสนาไม่มีอะไรฟรีหรอก ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว แล้วเราทำมาเยอะมาก ถ้าเราไม่ทำมาเยอะมาก เราจะมีความคิดหลากหลายได้ขนาดนี้ และสังคมมันจะหลากหลายมาก แล้วเวลาถ้าคนที่มีคุณธรรมนะ เวลามองไปแล้วนะ มันสังเวชน่ะ มันสังเวชจริงๆ นะ เพราะอะไร เวลามันมีความรู้สึกอย่างนั้น มันคิดออกมาอย่างนั้น คือมันดึงตั๋วในหัวใจมันน่ะ ดึงความคิดในหัวใจออกมาใช้แล้วมันไม่รู้สึกตัวเห็นไหม แล้วเรายืนดูอยู่นี่ ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะ เรายืนดูอยู่นี่ มันจะสังเวชนะ

ปลงธรรมสังเวช โลกเป็นอย่างนี้ ความเห็นเขาเป็นอย่างนี้ โลกๆ คือความคิดเปลือกๆ โลกคือความคิดไง ธรรมะคือพลังงาน พลังงานที่มีคุณงามความดี เห็นไหม แล้วโลกจะเป็นธรรมไม่ได้ ทางปริยัติเขาว่าอย่างนั้น ต้องธรรมะแก้ธรรมะ โลกมันเป็นโลก แต่โลกนี่โลกเพื่อสะอาด เห็นไหม ความอยากที่เป็นฉันทะ กามฉันทะ กามราคะ ความเป็นราคะ โทสะ โมหะ นั้นเป็นเรื่องของกิเลส ความพอใจ ความฉันทะ มันต้องมีความฉันทะ ความพอใจมันถึงมีพลังงาน มีเครื่องสืบต่อเข้าไปถึงใจไง

เพราะมันเกิดจากใจใช่ไหม การกระทำของเรานี่มันต้องมีสายสืบต่อเข้าไปที่ใจ แล้วเข้าไปแก้กันที่ใจ นี่ ฉันทะมันมาจากหัวใจ มันมีที่มาที่ไป มันมีต้นขั้ว มันเข้าถึงกิเลสได้ มันทำลายกิเลสได้ ถ้ามันเข้าถึงกิเลสมันทำลายกิเลสเห็นไหม มันก็เป็นการชำระล้าง มันมีการต่อสู้ทำสิ่งที่ดีๆ เราตั้งใจทำของเรา มันจะเป็นประโยชน์กับเรา นี่อำนาจวาสนาของเรานะ

ฉะนั้นถ้าเราศึกษาใคร่ครวญไปเห็นตามความเป็นจริง มันจะไม่พูดแบบวิทยาศาสตร์ แล้วตอนนี้เป็นมาก แล้วพอเป็นมากนะเห็นไหม การพยากรณ์บอกแล้วว่า ต่อไป คฤหัสถ์จะสอนธรรมะมาก พระเราจะสอนได้น้อย คฤหัสถ์เพราะการศึกษาทางพระเรานี่ ศึกษาได้บาลี ๙ ประโยคก็จบ แต่การประพฤติปฎิบัติการศึกษาโดยกรรมฐานนี่ มันลึกล้ำลึกซึ้งกว่า

ดูสิ ดูอย่างพวกชาวยุโรปเขามาบวชน่ะ เขาเป็นอาจารย์สอนหนังสือกันนะ ทางนักวิทยาศาสตร์นะ การศึกษาทางโลกเขาเต็มที่แล้ว ดูเช่น หลวงตาท่านเล่าให้ฟังเห็นไหม อาจารย์ปัญญาท่านพูดถึงนะว่า พวกฝรั่งนี่น่าสงสาร ถ้าความคิดทางโลกนี่เขาฉลาดมาก แต่ถ้าความคิดทางธรรมะเขาโง่มาก เพราะเขาไม่รู้จักตัวเขาเอง นี่เป็นคำพูดของอาจารย์ปัญญา

อาจารย์ปัญญานี่เป็นวิศวกรการบิน เก่งมาก แต่ท่านยังพูดเองเลยบอกว่า ถ้าพูดถึงปัญญาทางโลก ทางยุโรปเจริญมาก แต่ถ้าพูดถึงทางธรรม ต่ำมาก เพราะทางวิทยาศาสตร์มันต้องพิสูจน์อย่างนั้น ทางวิทยาศาสตร์มันเข้าได้กับทิฐิมานะ เข้าได้กับ อัตตา อีโก้ เพราะวิทยาศาสตร์มันต้องเป็นอย่างนั้นๆ ไง

แล้วพอวิทยาศาสตร์ต้องพิสูจน์ ต้องเป็นอย่างนั้นๆ อย่างนั้นไง แต่ถ้าธรรมะนะ เราคาดหมายว่าเป็นอย่างนั้นนะผิดหมดเลย เพราะคำว่า “คาดหมาย” ใช่ไหม กิเลสมันเข้าไปยึดใช่ไหม มันต้องเป็นความจริง แล้วพอเป็นความจริงขึ้นมานี่ มันไม่เป็นอย่างที่เราคาดหมาย มันจะเป็นสิ่งที่เราผงะๆ มันจะสะเทือนหัวใจมาก

สิ่งที่คาดหมายนี่เราคาดหมายด้วยความยึดมั่นของเรา แล้วพอเราไปศึกษา ไปศึกษาทางธรรมะของพระพุทธเจ้านี่ เพราะด้วยความกลัวผิด ด้วยความกลัวผิด ด้วยตรรกะของเรา ที่เราแยกแยะได้ เราทำได้ มันก็เลยยิ่งยากเข้าไป มันยากเข้าไป เพราะหลวงปู่มั่นเวลาท่านเทศน์เห็นไหม

ครูบาอาจารย์ท่านพูดประจำ ตอนเทศน์ท่านเทศน์แต่เหตุทั้งนั้นเลย ถ้าเทศน์แต่เหตุท่านไม่บอกถึงผลเลย นี้ไม่บอกถึงผลเห็นไหม แต่ธรรมะมันมีอยู่แล้ว นี่ ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ คำว่า “ว่าง” นี่ เป็นค่ากลางนะ ว่า มันว่าง แต่ว่างนี้ถ้าพูดตามความเป็นจริง

แม้แต่สมาธินะ ขณิกะ อุปจาระ อัปปนา ในขณิกะก็มีหยาบ มีละเอียดนะ ในอุปจาระนี่ คนที่ลึกซึ้ง หยาบ ละเอียดต่างกันมากเลย แล้วเวลา อุปจารนี่ เวลาจิตสงบ เห็นนิมิต เห็นการเหาะเหินเดินฟ้า เห็นความเป็นไปนี่ ยังมีอีกเยอะมากนะ ในขณิกะ มันก็มีหยาบ มีกลาง มีละเอียด แล้วในหยาบ ในกลาง ในละเอียด มันก็มีแยกแยะเข้าไปอีก มันมี บารมีของคนนี่มันหลากหลายมาก

แล้วตรงไหนล่ะ ที่มันเป็นค่าที่ถูกต้อง นี้คนที่ปฏิบัติแล้วพอมันสงบ มันว่าง มันว่างของใคร แล้วว่างแค่ไหน คำว่า “ว่างๆ” อวกาศนี่ว่าง ดูสิ ดูไอ้นี่ กระสวยอวกาศที่ขึ้นไป แต่ดาวเทียมนี่ มันเป็นร้อยๆ พันๆ ดวงนะในอวกาศ มันเป็นเต็มไปหมดเลย แล้วมันว่างของใครล่ะ มันว่างของใคร นี่ก็มา ว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ นี่ มันเป็นอวกาศเห็นไหม ทุกคนก็มีสิทธิที่จะยิงดาวเทียมขึ้นไป อ้าว! ทุกคนก็มีสิทธิยิงขึ้นไป แล้วมันเป็นของใครล่ะ เพราะว่างแล้วมันเป็นว่างสาธารณะไง

แต่ถ้าเป็นสมาธิเรา มันว่างของเรา มันเป็นความว่างของเรา สมมุติในบ้านของเราในเรือนของเรานี่ ในความกว้างขวาง ในบ้านของเรานี่ เราทำความสะอาดในบ้านของเรา ความว่างขนาดไหนมันก็มีขอบเขตอยู่ในบ้านของเรา หัวใจก็เหมือนกัน นี้พอมันเป็นความว่างนะ ดูสิ ว่างหมดเลย ดูสิ หลวงตาท่านบอก “ครอบจักรวาล ครอบโลกธาตุเลย จิตนี้ครอบ ๓ โลกธาตุเลย” มันว่างของใคร มันว่างในความรู้สึก สิ่งที่เป็นวัตถุนี้มันยังมีอีกมากมายมหาศาลเลย แล้วพอว่างๆ ว่างๆ คำว่า “ว่างๆ” มันว่างอย่างไร ความว่างมันมาจากไหน มันเริ่มต้นอย่างไร แล้วมันวางอย่างไร

นี่ถ้าไม่ใช่นักปฏิบัติจะพูดตรงนี้ไม่ถูก ถ้าพูดตรงนี้ไม่ถูกแล้วมันเอาความว่างแบบธรรมสาธารณะไง ความว่างที่ธรรมะเป็นธรรมชาติๆ เอาสิ่งนั้นมาอ้างอิงกันไง นี่แค่พูดถึงสมาธินะ ยังไม่ได้พูดถึงความว่างของพระโสดาบัน พระสกิทาคามี อนาคา ที่มันหลากหลาย มันแตกต่างกันมาก แต่นี้เราไปพูดกันคำเดียว ว่างๆ ใครมาก็ ว่างๆ ว่างๆ ใครมาว่างๆ ก็ทำซื่อบื้อนะ ว่างๆ แล้วเวลาถามก็ทำไม่ตอบไง

ว่างๆ แล้วก็ไม่มีเหตุมีผล ว่างแบบซื่อบื้อ ว่างแบบ มันขาดสติ ว่างที่ไม่มีสติ ไม่รู้เลยว่าเรามาว่างอย่างไร เราเริ่มต้นเราปฏิบัติอย่างไร แล้วมาว่าง แล้วมาปล่อยวางอย่างไรอย่างนี้หรือเป็นธรรมะพระพุทธเจ้า ธรรมะพระพุทธเจ้าซื่อบื่อ หรือให้เด็กทารกมันก็พูดได้

คำว่า “ว่าง” เด็กน้อยคนที่มีปัญญา มันก็พูดได้ทั้งนั้นแหละ แต่ธรรมะพระพุทธเจ้านะ เป็นธรรมะของปัญญาชน เป็นคนที่มีปัญญาหลากหลาย แล้วเป็นความว่างนี่ดูสิ เห็นไหม ดูกำหนดพุทโธ นี่ว่างด้วยคำบริกรรม ว่างด้วยอัปปนาสมาธิ ว่างด้วยเห็นไหม คนมาถามนี่ อัปปนาสมาธิกับกสิณลมอันเดียวกันหรือเปล่า? บอก ไม่เป็น

กสิณลมน่ะเราดูลมเพ่งลม แล้วลมมันแปรปรวน นั่นกสิณลม อัปปนาสมาธิ กำหนดลมแต่เราไม่ได้เพ่งลม กำหนดลมกระทบกับปลายจมูก กระทบกับกายเรา เห็นไหม ดูลมกระทบกับกายเรา อัปปนาสมาธินี่เห็นลม เห็นลมขนาดไหน เห็นลมจิตยังไม่ลงหรอก เพราะเวลา อัปปนาสมาธินี่ มันต้องลมขาด ทุกอย่างขาด ทุกอย่างปล่อยวางหมดเลย แล้วจิตมันปล่อยวางให้มันเป็นอิสระกับตัวมันเอง

นี่ขั้นของอัปปนาสมาธิ นี่ขั้นของสมาธิทั้งนั้นเลยนะ แล้วเวลามันออกรับรู้นี่ ปัญญามันออกใคร่ครวญ ในโลกุตตรปัญญานี่ ปัญญานี้มันเป็นพื้นฐาน พื้นฐานของอะไร พื้นฐานของสมาธิ พื้นฐานของธรรม ในเมื่อพื้นฐานของธรรม เริ่มต้นเป็นธรรม มันก็จะออกมาเป็นโลกุตตรธรรม

เริ่มต้นของเรานี่ เราทำสมาธิเริ่มต้นออกมาจากตัวตน ออกมาจากกิเลส เริ่มต้นออกมาจากความคิดของเรา เราใช้กำหนดพุทโธ สติเราก็คิด พุทโธๆ พุทโธ อัปปนาสมาธิ เราก็ตั้งใจเป็น อัปปนาสมาธิ นี่เราตั้งใจหมด แล้วก็บอก ก็ตั้งใจมันก็เหมือนนามรูป นามรูปก็ตั้งใจ ทำไมว่าผิดล่ะ นามรูปตั้งใจ แต่ความตั้งใจของเขา เขาตั้งใจผลักทิ้งไง นามรูป รู้เท่าทันนามรูปเป็นวิปัสสนาสายตรง วิปัสสนาแล้วก็ปล่อยวาง ว่าง..ไปหมดเห็นไหม

แต่ของเรามันไม่ใช่ เรารู้ว่าสิ่งนี้เป็นการกำหนดเห็นไหม เป็นการกำหนด เป็นสมถกรรมฐาน เรากำหนดอะไรก็แล้วแต่ พุทโธ เรากำหนดขึ้นมา ใครเป็นคนกำหนด คนตายกำหนดได้ไหม วัตถุธาตุมันกำหนดได้ไหม มันกำหนดไม่ได้เพราะมันไม่มีชีวิต ไม่มีสติ ไม่มีความรู้ แต่เพราะเรามีจิต เรามีสติ เรามีจิต เรามีธาตุรู้ของเรา เรากำหนดมาจากภวาสวะ จากภพ จากธาตุรู้ มันเริ่มต้น

นี่ไงเจตนาออกมาจากธาตุรู้ สายบังคับบัญชา เจตนาออกไป ความรู้ออกไป ออกไปกำหนดพุทโธๆ พุทโธๆ ออกไปกำหนดสมาธิแล้วมันก็หดย่นเข้ามา เห็นไหม มันหดสั้นเข้ามาเห็นไหม กำหนดลมจนมันจางไปๆ มันเข้ามาถึงตัวจิต ตัวจิตปล่อยวางหมด ตัวจิตเป็นตัวสมาธิ ตัวจิตเป็นตัวกรรมฐานเห็นไหม เนี่ยสิ่งนี้เป็นกรรมฐาน

ถ้าเป็นโลกเห็นไหม ถ้าเป็นโลก มันก็ออกเป็นโลกียปัญญา มันไม่มีพื้นฐานของธรรม มันพื้นฐานของโลกมันก็เป็นสมถกรรมฐาน ถ้าเป็นพื้นฐานของธรรมเพราะจิตมันสงบแล้ว พอจิตสงบแล้วมันไม่มีตัวตน จิตสงบคือว่ากิเลสมันสงบตัวลง พอกิเลสมันสงบตัวลง มันเป็นธรรมะชั่วคราว ธรรมะชั่วคราวเพราะอะไร เพราะมันไม่มีกิเลสบวก

เห็นไหม ความคิดขึ้นมามันเป็นสัจธรรมได้ชั่วคราว นี่ชั่วคราวๆ จิตสงบชั่วคราว พอจิตสงบชั่วคราว เวลามันเกิดขึ้นมา สัญญา ความคิดความปรุงความแต่งอันนี้ มันมีสมาธิเป็นเครื่องหนุน เป็นเครื่องรองรับ มันมีสถานะของสมาธิมารองรับ ให้มันเป็นอิสระ ให้มันเกิดสภาวธรรม เพราะมันมาจากธรรม มาจากสมาธิ ไม่ใช่มาจากโลก มาจากโลกคือมาจากเรา

โลก ผู้ใดครองโลก ต้องการอำนาจ ต้องทำตามความพอใจของตัว ในเมื่อเกิดจากโลก เกิดจากกิเลส กิเลสมันเป็นเรานี่มันคิดอะไร มันก็คิดจากกิเลส คิดจากความพอใจของเรา มันก็เป็นโลกียปัญญา เป็นโลกหมดเห็นไหม เป็นโลกหมดถึงไม่เป็นธรรมเพราะไม่มีพื้นฐานของธรรม มีแต่พื้นฐานของโลก

ถ้าไม่มีพื้นฐานของธรรม ถ้าธรรมเป็นสมาธิธรรมขึ้นมา นี่มันเกิดโลกุตตรธรรม มันทำลายได้ มันแก้ไขได้ มันเป็นประโยชน์นะ นี่มันถึงว่า ถ้ามีครูมีอาจารย์นะ แล้วฟังคำพูด ฟังสิ่งที่เป็นไป ถ้าโลกก็คือสั่งสอนกันแบบโลกๆ แล้วมันก็จะเป็นโลกอย่างนั้นแหละ

ถ้ามันเป็นธรรม เป็นธรรมแล้วใครเป็นธรรมล่ะ เขาก็บอกว่า เขาเป็นธรรมะ ธรรมะเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว เศร้าใจมากกว่านั้นน่ะ เขาบอกเลยนะ “อย่าปฏิบัติกันเลยไม่ต้องไปทำกรรมฐานเพราะคนหลงผิดกันมาเยอะแล้ว มาทำความสงบของใจก็พอ” คือตัวเองหยาบแล้วนะ เขาจะไปในสิ่งที่ดี มีคุณธรรม เขาบอกว่า “อย่าไปเลยมันจะผิดมันจะพลาด อย่าไปทำเลย กลับมาทำความสงบของใจก็พอ จิตสงบ จิตมีความสุขเท่านี้ก็พอ”

เท่านี้ก็พอ แล้วมันจะพอจริงหรือเปล่าล่ะ คำว่า “พอ” นี่เพราะอะไรนะ เพราะอาจารย์เข้าถึงแนวลึกไม่ได้ เข้าถึงสัจจะความจริงไม่ได้ มันพอไม่ได้ เราต้องเข้มแข็ง ต้องต่อสู้ ต้องอดทน ถ้าเข้มแข็งต่อสู้อดทนไว้ ความเพียรชอบไง เพราะความเพียรชอบ

ดูสิ พระพุทธเจ้าทำไมเป็นพระพุทธเจ้าได้ เป็นพระโพธิสัตว์ ต้องต่อสู้มาขนาดไหน ต่อสู้กับใคร ต่อสู้กับกำลังกิเลสในหัวใจที่มันขับไสให้เราลงต่ำ ทำตามอำนาจของใจ แล้วเราต่อสู้กับมัน ต่อสู้ขัดขวาง ฝืนทนกับมัน ฝืนทนกับมันกำลังมันต้องอ่อนลงๆ จนมันเกิดจากคุณธรรมในหัวใจเห็นไหม อำนาจวาสนาบารมีเกิดที่นั่น

อำนาจวาสนาบารมีจะเอามาจากไหน บางคนไม่เข้าใจนะ อำนาจวาสนาบารมีของคนเขาสร้างขึ้นมา เขาทำดีขึ้นมา จนเขามีบารมี มีคนนับหน้าถือตา ไอ้อย่างเรานี่อยากมีอำนาจวาสนาบารมี เราไปหาเงินมาแล้วเที่ยวจะไปแจกเขา เขาว่าเราโง่อีกต่างหากนะ

อำนาจวาสนาที่เราจะซื้อเอา เราจะแสวงเอา เกิดไม่ได้หรอก อำนาจวาสนาบารมีต้องทำเอา ก็เป็นคุณงามความดีกับเรา เขาดูว่าเราทำดี เขาเชื่อมั่นว่าเราเป็นคนดี เขาถึงจะฟังเราเห็นไหม นี่อำนาจวาสนาบารมีจากนั่น นี่ครูบาอาจารย์ท่านทำมาอย่างนั้น ความเพียรชอบเราต้องมีความวิริยะ มีความอุตสาหะ มีการสร้างความเพียรของเรา ให้เป็นคุณงามความดีของเรา แล้วใจมันจะเปิด ใจมันจะเป็นไป

สิ่งที่นั่งอยู่นี่ ที่มันเป็นไป อย่าน้อยเนื้อต่ำใจ มันเป็นโดยสามัญอย่างนี้แหละ เราจะสู้ของเรา เราจะทำของเรา ทำเพื่อเรานะ ทำเพื่อจิตใจของเรา แล้วใครปฏิบัติ ใครรู้ใครเห็นเข้าไปจะซึ้งมากนะ แล้วโอกาสจะมีตอนนี้

โอกาสตอนนี้เพราะอะไร เพราะจิตใจเราดีอยู่ไง ดูสิ ใจเรานี่ แล้วเราเชื่อใจเราได้ไหม ใจเราน่ะเชื่อได้ไหม ตอนนี้มันยังดีอยู่เพราะอะไร เพราะกำลังมันส่งเสริมมาดี แล้วถ้ากำลังส่งเสริมมานี่ กำลังส่งเสริมมานี่ พละกำลัง พละเห็นไหม อินทรีย์ อินทรีย์สังวร พละ ๕ ถ้าจิตใจมันเข้มแข็ง มันก็เป็นธรรม ถ้าวันไหนมันอ่อนแอนะ คิดดีไม่ได้เลยนะ คิดดีนี่มันเหยียบย่ำเลย กิเลสร้ายมาก

คิดดีมันเหยียบย่ำเลย ถ้าคิดชั่ว คิดความพอใจมันนะ มันจะส่งเสริมมันจะเป็นไปเลย ในหัวใจของเราไม่ต้องไปดูพูดถึงใครเลย พูดถึงใจเรานี่แหละ ในความรู้สึกเรานี่แหละ มันเห็นชัดๆ อยู่นี่แหละ แล้วเวลาปฏิบัติมันจะปฏิบัติกับใครล่ะ กองทัพเขาสู้กันข้างนอกนะ ธุรกิจเขาต้องมีการทำธุรกิจ ถึงจะเป็นผลประโยชน์ของเขา

ไอ้เรานั่งเฉยๆ นี่ ระหว่างความคิดเรา ความคิดดีความคิดชั่ว มันต่อสู้กัน มันทำลายกัน มันยับยั้งกัน มันต่อสู้กันเห็นไหม นี่ธรรมะมันอยู่ที่นี่ ถึงว่าการเอาชนะตนเองสำคัญที่สุด เอาชนะความคิดเรานี่ เอาชนะถึงที่สุด เอาชนะทำลายมันหมดเลย ถึงจะเป็นผลของเราเห็นไหม

ถึงบอกว่า ไม่มีใจดวงไหน ที่บอกว่า มันมาจากนรกมันจะเป็นนรกตลอดไป ไม่มี ใจของคนมันเปลี่ยนแปลงได้ มันพลิกแพลงได้ นรก สวรรค์ นี่นะ มันเป็นที่พักของจิตเท่านั้นเอง จิตทำชั่วมันก็ไปตกนรกอเวจี จิตทำดีมันก็ขึ้นไปสวรรค์ ตามธรรมชาติของมัน แล้วจิตที่เกิดเป็นมนุษย์ๆ ตลอดมา มันก็มีเยอะ นี่การกระทำของเรา เราเพียงแต่เห็นโทษไง การทำด้วยเจตนา การทำด้วยความพลั้งเผลอ การทำด้วยความจำเป็น เห็นไหม มันให้ผลต่างๆ กันทั้งนั้นน่ะ

แล้วชีวิตของคนมันมีความจำเป็นหลากหลาย ไม่ใช่เราจะทื่อ แข็งทื่อ เป็นอะไรนะ เป็นเถรตรงไปอย่างนั้นนะ ชีวิตเราน่ะมันมีเหตุมีผล มันมีกรรม มีเวรนะ ถึงเวลากรรมเวรมันถึงคราวนี่ เราแก้ไขให้หลุดเป็นเปราะๆ ออกไป แก้ไขชีวิตเรา ให้ผ่านพ้นไป แล้วพยายามฝืนทน เพื่อเอาชนะความรู้สึกจากภายใน แล้วจะชนะได้ เอวัง