ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ใจที่เป็นธรรม

๕ เม.ย. ๒๕๕๒

 

ใจที่เป็นธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ในทางหมอนี่นะ เวลาทำอะไรขึ้นมา เห็นไหม นักกีฬา ถ้าเล่นถึงจุดหนึ่ง เวลาสารมันหลั่ง มีความสุขมากเลยนะ ในการทำสมาธิก็เหมือนกัน แต่เราจะบอกว่าในร่างกาย เวลาใช้งานมาก มันก็ล้าเหมือนกัน มันล้า..

แต่เวลาครูบาอาจารย์ อย่างเช่น หลวงตา เวลาท่านมีอะไรสะเทือนใจ น้ำตาท่านไหล น้ำตาท่านไหล หลวงปู่เจี๊ยะก็เหมือนกัน หลวงปู่เจี๊ยะไปถามหลวงตาเองนะ เวลาหลวงปู่เจี๊ยะ เราอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ เราอุปัฏฐากอยู่ เวลาหลวงตามา เราก็อุปัฏฐาก เพราะว่าเราก็คุ้นเคยกับหลวงตา หลวงปู่เจี๊ยะท่านเคารพนะ

“ผู้ใหญ่เขาจะคุยกันน่ะ เด็กๆ ลงไปข้างล่าง”

ท่านไล่เราลงนะ ไอ้เราก็คลาน พอจะคลานลงไป หลวงตาบอก

“ไม่ต้องๆ นั่งตรงนี้ นั่งตรงนี้”

ก็เลยหลวงตากับหลวงปู่เจี๊ยะนั่งคุยกัน เราก็นั่งฟังด้วยหลายที ทีนี้หลวงปู่เจี๊ยะท่านเคารพนะ เวลาอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ เวลาหลวงตาจะมา หลวงปู่เจี๊ยะท่านไม่ค่อยเดินรอบวัดใช่ไหม เวลาหลวงตาจะมา ท่านจะเดินรอบวัด ให้เราเดินตามหลัง เก็บขวดเฮลล์บลูบอย เก็บขวดกาแฟ เก็บหมด เวลาหลวงตาจะมา หลวงปู่เจี๊ยะท่านจะดูแลวัด

เพราะว่าโดยธรรมวินัย ทุกคนก็รู้กันอยู่ หลวงปู่เจี๊ยะ ครูบาอาจารย์ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นมา แล้วหลวงปู่เจี๊ยะท่านเล่าให้ฟังเองว่า เวลาท่านกวาดวัด เราอยู่กับครูบาอาจารย์มานะ เราถึงเทียบหลวงปู่เจี๊ยะกับหลวงตา เวลาหลวงปู่เจี๊ยะนะ ท่านบอกไว้เลย ตั้งแต่อยู่ที่เชียงใหม่แล้ว พระมาหาหลวงปู่มั่น แล้วไม่ค่อยภาวนา มาเล่นกัน ท่านจะเอ็ดพระองค์นั้นเลย มันก็จะเป็นแบบหลวงตาที่ถ้ำสาริกา คือไปเตือนเขา

หลวงตาที่ถ้ำสาริกา หลวงปู่มั่นท่านกำหนดจิตลงไปดู คิดแต่เรื่องบ้าน คิดแต่เรื่องครอบครัว พระหลวงตา จนตอนเช้าขึ้นมาก็เตือน เตือนเพื่อจะเป็นประโยชน์ไง

“เป็นไงหลวงตา เมื่อคืนคิดถึงเมียคนเก่า แต่งงานกับแม่บ้านคนเก่า”

คือแต่งงาน คือคิดถึงแต่เรื่องบ้านน่ะ หลวงตานั้นร้อนมาก กลัวมากจนหนีไป ก็เลยเห็นเป็นผลเสีย ผลเสียว่า

“คนเขาคิดอะไร เขาทำอะไรอยู่ จะไปเตือนเขาตรงๆ แทนที่จะเป็นประโยชน์นะ ไอ้คนโดนเตือนมันจะเสีย”

ตั้งแต่นั้นมาปั๊บ เวลาพระมาหาหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นจะเตือนตรงๆ จะบอกว่า เมื่อคืนคิดไม่ดี เมื่อคืนทำอะไรกันไม่ดี ทำให้พระองค์นั้นจะเสียได้ ที่เขาอุตส่าห์ธุดงค์ไปหาท่านถึงเชียงใหม่ ท่านก็เลยแบบว่า “ต้องใช้อุบาย” นี้หลวงปู่เจี๊ยะท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านโดนบ่อย ท่านโดนบ่อย อะไรก็มาลงที่หลวงปู่เจี๊ยะ อะไรก็ลงที่ท่านน่ะ ท่านก็บอกว่า “ไม่ได้”

มันเป็นนิสัยของคนนะ ท่านจะทำอะไรไม่ให้ผิดเลย คือว่าถ้าเราไม่ทำผิดเลย อาจารย์จะเอ็ดเราได้อย่างไร? แต่ความจริงไม่ใช่ ความจริงอาจารย์จะอาศัยตรงนี้เป็นแบบว่าแคนนอนไปสอนคนอื่น เพราะจะบอกสอนเขาตรงๆ มันเป็นแบบว่าคนเรามันวุฒิภาวะมันรับไม่เป็น รับไม่ได้ ก็อาศัยแคนนอนไปไง แต่หลวงปู่เจี๊ยะ นิสัยท่านเป็นอีกอย่างหนึ่ง

พอหลวงตามาอยู่ที่หนองผือ “ผิดท้ายวัดหัววัด ก็มหาองค์เดียวๆ” ท่านพูดอย่างนั้นเลยว่า “ท่านเป็นเขียงเลย” ท่านยอมตัวท่านลงให้เป็นเขียงเลย นี่นิสัยต่างกัน นิสัยหลวงปู่เจี๊ยะกับนิสัยหลวงตาต่างกันมาก หลวงปู่เจี๊ยะท่านพยายามจะทำตัวท่านให้ถูกต้อง คือไม่อยากให้หลวงปู่มั่นใช้ท่านแคนนอนไปหาคนอื่น “มันเจ็บ” แต่หลวงตาท่านสมัครใจ ท่านสมัครใจเลย

เวลาไปไหนขึ้นมา พระฉันอาหาร แล้วเอาน้ำแกงใส่ในถ้วยไว้ดื่ม ท่านจะเอ็ดเขาก็เอ็ดไม่ได้ ก็เลย “เอ.. มหาไปไหนนะ มหาซดซ้ายซดขวา” ดื่มน้ำแกงไง “ไปไหน ไม่เห็น หาตั้งนาน”

คือไม่ได้ว่าหลวงตาหรอก ว่าพระองค์ที่ทำ แต่จะพูดตรงๆ ไป พระองค์นั้นก็จะร้อน

นี่พูดอย่างนี้ปั๊บ คำนี้ คำที่ว่าเวลาหลวงตาท่านปฏิบัติไป “ธรรมสังเวช” น้ำตาท่านไหล หลวงปู่เจี๊ยะถามหลวงตา เรานั่งอยู่ที่นั่นเลย

“ท่านอาจารย์ ทำไมผมคิดถึงหลวงปู่มั่นทีไร ผมน้ำตาร่วงทุกทีเลย ผมร้องไห้ทุกทีเลย”

นี่หลวงตาท่านก็พูดไง นี่ไง โลกมันไม่เข้าใจกัน โลกมันบอกว่าพระอรหันต์ร้องไห้ไม่ได้ พระอรหันต์ร้องไห้ไม่ได้ ความจริงนี่มันไม่ใช่ร้องไห้ มันเป็นการปลงธรรมสังเวช มันเป็นสัจธรรม มันเป็นธรรมะ แล้วมันสะเทือนหัวใจของเรา พอธรรมะสะเทือนหัวใจเรา มันเกิดความสังเวช ทางโลกสลดสยดสยอง นี่มันเป็นกิเลส ถ้าธรรมะ “ธรรมสังเวช” มันเป็นธรรมมันสะเทือนหัวใจ มันสะเทือนกิเลส แล้วน้ำตามันก็ไหล

น้ำตามันไหล มันธรรมชาติของน้ำตา เพราะน้ำตา คนเรามีบ่อน้ำตาโดยธรรมชาติอยู่แล้ว เวลาลมพัดมาเราโดนลมแรงๆ น้ำตาเราไหลไหม? ไม่มีลมอะไรเลย น้ำตาเรายังไหลได้เลย แต่เราไปตีความว่า “คนมีน้ำตาไหล คนนั้นเป็นความทุกข์ไง”

นี่หลวงปู่เจี๊ยะท่านถามหลวงตานะ เราก็นั่งอยู่นั่น “ทำไมผมคิดถึงหลวงปู่มั่นทีไร น้ำตาไหลทุกทีเลย ผมคิดถึง ทำไม ” มันคิดถึงพ่อแม่เรา คิดถึงครูบาอาจารย์เรา มันสะเทือนใจไง น้ำตาก็ไหล.. น้ำตาก็ไหล..

ทีนี้พอน้ำตาไหล มันก็เหมือนกับศักยภาพใช่ไหม เป็นพระที่ดี ทำไมมานั่งร้องไห้เหมือนคนอ่อนแอ? หลวงตาท่านตอบดีมาก ท่านบอก ธรรมสังเวช ปลงธรรมสังเวช ธรรมะ! ธรรมะกับความสลดสังเวช มันก็สะเทือนหัวใจ มันเป็นบวก ไม่ใช่ลบ มันเป็นบวก แต่คนไม่เข้าใจนะ คนไม่เข้าใจว่าการอย่างนี้เป็นความทุกข์ไง สิ่งที่เกิดขึ้นมา สิ่งที่เราไม่เคยปฏิบัติกัน เราจะไม่รู้เรื่องอย่างนี้ ถ้ามันปฏิบัติกัน ถ้ามันเข้าใจ แล้วมันจะเห็น มันจะลึกซึ้ง มันจะซึ้ง ลึกซึ้งนะ

แล้วอย่างเช่น ดูสิ หลวงตา มีอยู่ช่วงหนึ่ง ท่านจะปวดหัวเข่ามาก เห็นไหม เวลานั่งเทศน์ “ปวดหัวเข่าๆ” แล้วปวดนี่คือเวทนา แล้วพระอรหันต์ทำไมมีเวทนาล่ะ? คนก็เข้าใจผิดอีกแล้วว่า “โอ๊ย จะเทศน์ก็โอดโอย เจ็บโน่นปวดนี่ สงสัยเป็นปุถุชนเว้ย ไม่ใช่พระอรหันต์”

นี่ถ้าเป็นปุถุชนนะ เวลาปวดนะ มันก็ปวด ทำอะไรไม่ได้หรอก เวลาเราเจ็บปวด ความรู้สึกนะ มันไม่แล่น เทศน์ธรรมะไม่ได้หรอก แต่เวลาท่านจะเทศน์ เวลาท่านปวดนะ ท่านบอกเลย อ้าว ขามันจะปวดก็ปวดไปเถอะ กูจะเทศน์ คือท่านแยกเวทนา แยกความปวดกับความรู้สึกเรา แยกกันได้เลย แต่ความแยกมันแยกแบบมีไง

ถ้าแยกแบบไม่มีนะ พระพุทธเจ้าจะจำสามเณรราหุลไม่ได้ พระพุทธเจ้าจะจำนางพิมพาไม่ได้ พระเจ้าสุทโธทนะนิมนต์พระพุทธเจ้าไปเทศน์ พระพุทธเจ้าไปเทศน์นางพิมพา ไปเทศน์ราหุล นี่มันคืออะไร? นี่คือสัญญา ความจำ

ถ้าพูดถึงพระอรหันต์ไม่มีเลย พระอรหันต์ พอจิตสะอาดบริสุทธิ์แล้ว ก็ต้องจำสามเณรราหุลไม่ได้สิ นี้มันจำได้ นี่ก็เหมือนกัน “เวทนา” เวทนา ความรู้สึกมันเป็นขันธ์ ๕ เวทนามันเป็นความเจ็บความปวด มันมีอยู่

หลวงปู่ดูลย์พูด เห็นไหม “หลวงปู่ โกรธไหม? ”

“โกรธ.. แต่ไม่เอามัน”

“เจ็บไหม? เจ็บมีไหม? ”

“มี.. แต่ไม่เอามัน”

นี้เราก็ไปคิดกันว่า “พระอรหันต์ต้องไม่มี” ถ้าพระอรหันต์ไม่มีนะ ท่านจะไม่รู้ร้อนรู้หนาวแบบเราไง อย่างเรานี่ร้อนกับหนาว ถ้าอย่างนั้น ถ้าพระอรหันต์นะ แดดออกก็นั่งกลางแดด ไม่ร้อน

“ร้อนๆ” มันเป็นพระอรหันต์ที่ใจ มันไม่ได้เป็นพระอรหันต์ที่สิ่งแวดล้อมที่จากภายนอกนี้

ทีนี้พอเป็นพระอรหันต์ที่ใจปั๊บ เราจะย้อนกลับมา ถ้าเป็นพระอรหันต์ที่ใจ ใจเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ครูบาอาจารย์ของเรา ร่างกายมันก็มีวาระการใช้งาน ทีนี้พอมาใช้งาน เราจะต้องคำนึงถึงตรงนี้ด้วย

ถ้าพระอรหันต์นะ “เป็นปาปมุต” ปาปมุตถือว่าไม่ผิดธรรมวินัย เหมือนเรา กฎหมายบังคับให้กับคนทำผิด ถ้าเราไม่ใช่คนทำผิด ไม่ผิดกฎหมาย นี่ธรรมวินัย พระอรหันต์เป็นปาปมุต หมายถึงพระอรหันต์ไม่ผิดวินัยอีกแล้ว เพราะไม่มีเจตนา ไม่มีสิ่งใดๆ เลย การเคลื่อนไปของร่างกาย การเคลื่อนไหวความคิดมันเป็นสิ่งที่เหลือ สิ่งที่เศษ “สอุปาทิเสสนิพพาน” สิ่งที่เหลืออยู่

อย่างพวกเรา มันไม่ใช่เศษ มันเป็นตัวตน “ความคิดเป็นเรา เวทนาเป็นเรา” เวลาเจ็บปวดน่ะ “โอย โอย เลยนะ” ยิ่งคิดยิ่งปวดเลยล่ะ เพราะใจเรากับมันไปยึดกัน แต่พระอรหันต์ไม่มีนะ “ปวดรู้ไหม?” “ปวด” เพราะอะไรรู้ไหม เพราะการนั่งกดทับทุกอย่างมันต้องมีความรู้สึกทั้งนั้นน่ะ แต่ใจมันอีกเรื่องหนึ่ง เพราะมันขาด มี.. มันปล่อยวางหมดแล้ว สังโยชน์มันขาดไปแล้ว แต่ความรู้สึกนี้มันรับรู้ได้ แต่รับรู้ได้ ไม่ไปทุกข์ร้อนกับมัน ถ้าไปทุกข์ร้อนกับมัน ทำอย่างอื่นไม่ได้

เวลาเราคิด เวลาความคิด เราคิดขึ้นมา เวลามีอะไรมาดึงความสนใจเราไป ความคิดเราจะหายแวบไปเลย เวลาเทศน์นี่มันจะต่อเนื่อง แล้วจะมีอะไรกระตุกความคิดนี้ไป มันจะขาดช่วง แต่ถ้าพูดถึง ถ้ามันรักษาใจนี้อยู่ อย่างอื่นมันมีธรรมชาติของมัน สิ่งนี้ของๆ เขามีอยู่

ฉะนั้นสิ่งที่เวลาหลวงปู่มั่นท่านแสดงออกกับครูบาอาจารย์ แล้วครูบาอาจารย์ของเรา เวลาโตขึ้นมา มันก็น่าสงสาร น่าเห็นใจ น่าเห็นใจที่ว่า หลวงตาท่านเตือนมาก ท่านพูดบ่อยมาก ตอนที่ท่านไปเยี่ยมแม่ชีแก้ว แล้วมีพวกหมอกับพวกแม่ชีอุปัฏฐากแม่ชีแก้วอยู่ ทีนี้พออุปัฏฐากแม่ชีแก้ว

แม่ชีแก้วท่านเป็นโรคชราใช่ไหม แล้วมันแบบว่าพอนานไปๆ ลิ้นมันจะหดเข้าไปเรื่อยๆ จะกินอาหารไม่ได้ไง แม่ชีแก้วนะ เวลาตักอาหารใส่ปากคำหนึ่งนี่เคี้ยวเป็นชั่วโมงเลยล่ะ คือว่า จิตมันไม่รับรู้หมดแล้ว

ทีนี้พอคนข้างนอก คนข้างนอกเราคาดการณ์ว่า “พระอรหันต์เป็นสิ่งที่จริง พระอรหันต์ พระนิพพานนี่สุดยอด สุดยอดของพวกเราเลย” แต่ร่างกายเป็นเรื่องธรรมดา ฉะนั้น ถ้าเราไปเห็นอย่างนั้นปั๊บ มันจะ “เอ.. ทำไมเป็นอย่างนั้น เอ.. ทำไมเป็นอย่างนั้น”

เพราะหลวงตาท่านเคยมีประสบการณ์ตอนสมัยหลวงปู่มั่น ตอนนั้นหลวงตาท่านเป็นพระอนาคา เพราะจิตท่าน เพราะหลวงปู่มั่นให้ท่านออกมาพิจารณาอสุภะแล้ว “อนาคามรรค” เพราะตอนนั้นติดสมาธิอยู่ไง

แล้วหลวงปู่มั่นบอกว่า “จิตเป็นยังไง? ”

“จิตสงบดีครับ สงบดีครับ”

ท่านบอกว่า “ความสงบอย่างนี้มันเศษเนื้อติดฟัน” ท่านก็ออกมาพิจารณากาย ก็เป็นอสุภะ ก็ขึ้นไปรายงานหลวงปู่มั่นตลอดมาๆ จนถึงที่สุด ตอนที่หลวงปู่มั่นป่วยอยู่ ท่านไปอุปัฏฐาก ตรงนี้มันผ่านแล้ว พอมันผ่านแล้ว

เวลาหลวงปู่มั่น อุปัฏฐากหลวงปู่มั่นเป็นวัณโรค แล้วหน้าหนาว พอหน้าหนาว วัณโรคคนหายใจไม่ออก อายุ ๘๐ แล้ววัณโรค หายใจไม่ได้ ร่างกายมันหายใจไม่ออก มันก็มี “เออ..” แค่นี้นะ หลวงตาท่านบอก “แค่นี้” แค่ “เออ.. เอ..” นี่ความคิดของท่านนะ ที่ท่านเล่าให้ฟัง “เอ พระอรหันต์เผลอหรือเปล่า? ”

แต่พอคิดปั๊บก็รีบกดความคิด เพราะมันคิด รู้ความคิดเราคิดแล้วมันแบบว่ามันเห็นภาพชัดเจนก็กดไว้ นี่ หลวงตาท่านเคยเห็นอย่างนั้น ท่านเคยคิดไง เพราะพระอรหันต์ อายุ ๘๐ วัณโรค หายใจไม่ออก หน้าหนาว มันก็มี คนหายใจขัด หายใจไม่ออกมันก็ต้องมีการ “เออ.. เออ.. ” แค่นั้นน่ะ ยังคิดได้ แล้วเราปุถุชนน่ะ ไปอุปัฏฐากพระอรหันต์

หลวงตาท่านไม่ต้องการให้คนที่อุปัฏฐากแม่ชีแก้วเป็นกรรมไง ท่านต้องการให้คนทำดี แล้วได้ดี คนทำคุณงามความดีต้องได้ผลตอบที่เป็นคุณงามความดีตลอดไป แต่เราทำคุณงามความดี “กุศล” เห็นไหม แล้วเราไปคิดสิ่งที่ไม่ดี นี่ไง ไปคิดแต่สิ่งไม่ดี เราคิด เราไม่ทันกิเลส ไม่ทันความคิดเราไง พอเราคิดไปแล้ว มันจะเป็นกรรมต่อเราไง

ในศาสนาพุทธ เขาบอกว่า ในศาสนาพุทธ ถ้าไม่เชื่อก็เป็นกรรมๆ ไม่ใช่ ถ้าเราไม่เชื่อนะ เราไม่เชื่อ เราเป็นประสาเรา มันไม่เป็นบาปหรอก แต่พอเราไม่เชื่อแล้วเราจะหาเหตุผลไง อย่างเช่นว่า “นิพพานไม่มี พระโกหก พระอะไร.. ” ตอนที่คิดหาเหตุผล นี่ติเตียน เหตุผลในทางที่ผิด ติเตียนพระอริยเจ้า ตอนติเตียน กรรมเกิดตรงนี้

ถ้าเราไม่เชื่ออะไร เราจะหาเหตุผลไหม? ต้องหา แล้วตอนหาเหตุผล เราหาเหตุผลในทางลบ เพราะเราไม่เชื่อ ถ้าเราเชื่อ เราจะหาเหตุผลในทางบวก ถ้าเราหาเหตุผลในทางลบ กรรมเกิดตรงนี้ เพราะในธรรมของพระพุทธเจ้า

“ติเตียนพระอริยเจ้า กล่าวตู่ ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นกรรม”

แต่ถ้าเราไม่เชื่อ เราไม่ได้ติเตียน มันจะเป็นกรรมตรงไหน? ไม่เป็นกรรมหรอก พระพุทธเจ้าสอนแล้ว “กาลามสูตร” ไม่ให้เชื่อ! ไม่ให้เชื่อ! ให้เราค้นคว้าไง

แต่ถ้าไปติเตียน ประสบการณ์ของครูบาอาจารย์เรา เราถึง ประสาพูดนะ เวลาเราคุยกันเรื่องหมู่คณะ เรื่องพระ มันก็เศร้าใจตรงนี้ เศร้าใจที่ว่า วุฒิภาวะของพระเรานี่ไม่มี พอไม่มี มันก็ไม่เข้าใจว่า “อะไรถูก อะไรไม่ถูก อะไรควร อะไรไม่ควร”

ถ้าเป็นพระนะ เห็นหลวงปู่ลีไหม? หลวงปู่ลี ผาแดง นั่นน่ะ หลวงตาบอก เศรษฐีธรรม แล้วดูหลวงปู่ลีสิ เจอหลวงตาที่ไหนนะ ท่านจะสงบเสงี่ยมมาก ท่านจะไม่ก้าวล่วงเลย แล้วเราจะบอกว่า พระที่มีคุณธรรมนี่นะ คุณธรรมในหัวใจ มันสำคัญกว่าทุกๆ อย่าง

ทำไมหลวงปู่ลีท่านหาทองคำให้หลวงตา เดี๋ยว ๕ กิโล ๗ กิโล ๑๐ กิโล ตลอดเวลา เดี๋ยวเอาเงินมาถวายที ล้าน ๒ ล้าน ๕ ล้าน ๑๐ ล้าน ตลอดเวลา เราจะบอกเลย เงินทอง ทองคำนั่นน่ะ ไม่มีค่าเลย สำหรับจิตใจคนที่เป็นธรรม ของที่เป็นวัตถุนี่ ไม่มีค่าเลย สำหรับหัวใจของคนที่เป็นธรรมนะ

มันมีประโยชน์สำหรับโลกใช่ไหม หลวงตาท่านออกมาช่วยชาติ ตอนท่านออกมาช่วยชาติ ตอนออกมาช่วยชาติ เราก็สะเทือนใจ สะเทือนใจหมายถึงว่าเราก็ตกใจ ทีแรกเลยบอก เอา ๔ ตัน ไอ้พวกเรานี่นะ จะหาทองคำ ๔ ตัน เราตกใจเลยนะ จะไปหาที่ไหน ทองคำ ๔ ตัน แล้วพอทำไปๆ เอา ๘ ตัน โอ้โฮ.. เอา ๑๐ ตัน

นี่ตอนที่เราออกมาเพราะอะไร เพราะพวกเราพระกรรมฐานนะ คุณค่าของธรรมะคือพวกเราต้องประพฤติปฏิบัติ พวกเราจะต้องเอาจริงเอาจังกับหัวใจของเรา พวกเราต้องพยายาม เพราะมันมีคุณค่ากว่าวัตถุ เราก็เลยไม่ได้ขวนขวาย ไม่ได้เปิดช่องทางในการหาวัตถุนั้นมาเพื่อเป็นประโยชน์กับเราเลย เราเอาแต่เอาชนะหัวใจเรากันมา แล้วถึงเวลาต้องออกมาเอาวัตถุ

เหมือนกับคนไม่เป็น คนไม่เคยงาน แล้วต้องมาทำงานที่ไม่เป็น ไม่ทำ บอก ๔ ตัน เราก็สะดุ้งแล้ว เราตกใจแล้ว พอบอก ๘ ตัน โอ้โฮ เราจะพูดตรงนี้ออกมา แล้วคิดถึงนะ หลวงปู่ลีหรือครูบาอาจารย์ท่านพูดให้ฟังว่าตอนที่หลวงตาท่านเริ่มทำทีแรก ท่านก็รู้ว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสสากรรจ์อยู่ การช่วยโลก ท่านถึงไปหาหลวงปู่ลี

ท่านพูดกับหลวงปู่ลี พระเล่าให้ฟัง “ลีเอ๊ย.. เรานะ เราพยายามหาทองคำช่วยชาติกัน ความเป็นอยู่ของวัด ความเป็นอยู่ของเรา จะกัดก้อนเกลือกิน ก็ช่างหัวมัน”

“เราจะกินเกลือกัน เราจะกินสิ่งที่พอดำรงชีวิตเท่านั้น เราจะหาสิ่งที่เป็นวัตถุช่วยชาติกัน”

ฟังนะ นี่พระอรหันต์ปรึกษากับพระอรหันต์ ถ้าพระอรหันต์นะ พระที่มีหัวใจเป็นธรรม ไปปรึกษากับพวกเรา เป็นพวกที่มีกิเลส บอกว่าจะกินเกลือกันน่ะ “อ้าว ก็บิณฑบาตก็ได้ ก็ขอกินข้าวก่อนไม่ได้เหรอ? ขอกินดีๆ ก่อน” พวกเรา ถ้าใจเราอ่อนแอ ใจเราไม่มีหลักมีเกณฑ์ เราจะเห็นวัตถุนั้น เราจะเห็นกับตัวเราเอง เราจะหาอย่างไรก็ขอให้เราเอาชีวิตพอประทังชีวิตไป ไม่ได้คิดแบบท่านหรอก

แต่เวลาคิดกับท่าน เห็นไหม เราจะบอกเลยนะ ถ้าใจเป็นธรรม เรื่องโลกธรรม ๘ แค่ชื่อเสียง แค่ให้ครูบาอาจารย์ชม เรื่องนี้มันเรื่องโลกธรรม ๘ นินทาคู่กับสรรเสริญ มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ สรรเสริญนินทา ถ้าจิตใจยังไปเกาะเกี่ยวกับโลกธรรม ๘ อยากให้ครูบาอาจารย์มาช่วยยก อยากให้ครูบาอาจารย์มาช่วยส่งเสริม “กิเลสทั้งนั้น! กิเลสทั้งนั้น!”

ถ้าครูบาอาจารย์น่ะ มันเป็นเรื่องของน้ำใจ ถ้าครูบาอาจารย์ท่านคิดถึง ท่านเมตตาของท่าน มันเป็นหัวใจของท่าน

อย่างเช่น พ่อแม่รักลูก จะไปเยี่ยมลูก มันจะผิดตรงไหน? พ่อแม่รักลูกห่วงลูก มันก็ไปเยี่ยมลูกเป็นธรรมดา ถ้าท่านมาตามเนื้อผ้า แล้วเราก็รื่นเริงกัน รื่นเริงอาจหาญในธรรม มันเป็นธรรม มันเป็นสัจธรรม มันเป็นความจริง

แต่ถ้าเป็นกิเลส “อ้างว่าท่านว่าชมเราอย่างนั้น อ้างว่าท่านชมเราอย่างนี้”

อย่างนี้พูดถึงนะ ถ้าเป็นคนที่มีธรรมในหัวใจนะ มันขยะแขยงนะ เพราะอะไร? เพราะอย่างที่หลวงตาท่านพูด พระเราไม่มีหลักมีเกณฑ์ เหยียบหัวพระพุทธเจ้าไป

“ธรรมวินัยเป็นศาสดาของเรา”

ถ้าเคารพพระพุทธเจ้า “ธรรมวินัย” เราจะข้ามไปได้อย่างไร?

ธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้แล้ว เราจะฝืนได้อย่างไร? ก็นี่คือตัวพระพุทธเจ้า ถ้าไปฝืนตรงนี้เท่ากับเหยียบหัวพระพุทธเจ้าไป แล้วนี่พระพุทธเจ้านะ ธรรมวินัยพระพุทธเจ้า แล้วนี่ครูบาอาจารย์ท่านยังมีชีวิตอยู่เลย เราไปพูด เราไปออเซาะ เราไปพูดนะ ให้ท่านคิดถึง ให้ท่านพูดออกทีวี อยากออกทีวี อยากออกวิทยุกัน

เราเห็นการกระทำของหมู่คณะแล้วเศร้า เศร้ามากนะ สะเทือนใจมาก คิดในใจตลอดเวลาเลยว่า “ทำไม เราเป็นคน แล้วเป็นพระ บวชมาเป็นพระ เป็นภิกษุ เป็นผู้เห็นภัยในวัฏฏะสงสารด้วย ทำไมเราไม่เข้มแข็งพอที่จะหาอยู่หากินกันเอง ทำไมเราจะไม่ไปบิณฑบาตด้วยปลีแข้ง ทำไมเราไม่ใช้ดำรงชีวิตของเราขึ้นมา ทำไมต้องให้ครูบาอาจารย์เดือดร้อนกันไปหมด”

สังเกตได้ ไม่ใช่อวดนะ ตอนที่มาอยู่โพธารามครั้งแรก ท่านมาเยี่ยมเราครั้งแรกเลย ท่านบอกเลยนะ “อย่าให้เดือดร้อนเรา อย่าให้อะไรกระทบกระเทือนเรา” สังเกตตั้งแต่โพธารามมา จนเราสร้าง ๗ วัด ๘ วัด จะไม่มีอะไรกระทบกระเทือนท่านเลย เว้นไว้แต่เรื่องที่เท่านั้น

เรื่องที่ นี่เราให้ถวายท่าน เพราะเราเห็นประโยชน์ของมัน ๒ ประการ

ประการ ๑. คนถวายที่กับพระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ของเรา เขาจะได้บุญมาก เราต้องการให้คนที่เสียสละของเขาแล้ว เขาได้ผลตอบแทนของเขา

๒. เราอยากให้หลวงตาท่านเห็นว่า “ถ้าลูกศิษย์ของท่านได้ทำประโยชน์กับศาสนา ได้ทำให้ศาสนามั่นคง” เพราะท่านพูดเองว่า “อย่าให้ไปสะเทือนท่าน” แล้วไม่ให้สะเทือนท่าน แล้วเราทำให้ท่าน เหมือนพ่อแม่เรา ลูกคนไหนได้ทำงาน ทำหน้าที่การงานให้ประสบความสำเร็จ พ่อแม่จะมีความสุขใจ

เราให้ถวายที่ เราคิด ๒ ประการนี้

ประการ ๑. คือคนที่เขาถวายที่ เขาจะได้บุญกุศลของเขา

ประการที่ ๒. หลวงตาบอกว่า ลูกศิษย์ลูกหาเรา พระที่เราฝึกฝนมา มันมีความสามารถ มันได้ทำประโยชน์กับศาสนา ให้ท่านมีความสุขใจของท่าน

ที่เราให้ถวาย เพื่อนี่นะ เราไม่ได้ถวายว่า ต้องให้ประกาศ ต้องให้อะไร ไม่มี ไม่เคยเลย จะไปทำอะไร เราจะให้แอบไปทำกัน ไปถวายที่ที่สวนแสงธรรมก็ให้ไปกันเงียบๆ แต่มันไม่เงียบเพราะโยมไปโฆษณากันเอง โยมนี่ไปบอกต่อๆ ปากกัน แต่เราทำอะไรนี่เราจะไม่ให้ใครรู้เลย

เพราะเราเข้าใจ เราเข้าใจนิสัยหลวงตา หลวงตานะ ถ้าใครจริง ท่านจะจริงกับคนๆ นั้น ถ้าใครปลอม ท่านก็จะใช้มารยาทสังคมทางโลกรับ ต้อนรับคนๆ นั้น ถ้าจริงนะ ท่านจริงด้วย จริง คือความจริงในใจ แล้วไม่ต้องให้ใครมาพูด

มีคนไปฟ้องเรื่องเราว่า “เราทำผิดๆ กับหลวงตา เยอะๆ เยอะมากๆ” แต่ท่านไม่เคยว่าเราสักคำเลย ท่านไม่เคย ต่อหน้าเราท่านไม่เคยว่าเราแม้แต่คำเดียวเลยนะ แต่มีคนไปฟ้องเรื่องเรานี่เยอะมาก แต่ของคนอื่นนะ พระองค์อื่นนะ ไปสร้างภาพให้ท่านเห็น ให้ท่านชม พยายามมีคนไปบอกว่า พระองค์นี้ดีๆ หมด แต่เวลาไปหาท่านนะ ท่านเอ็ดพระองค์นั้นตลอดเลย แต่สำหรับเราน่ะ คนไปฟ้องมากเลย จะให้หลวงตาพูดว่าเรา ไม่เคยออกมาสักคำหนึ่งปากหลวงตา

นี่ไง ถ้าท่านไว้ใจแล้ว ถ้าท่านไว้ใจแล้ว นี่ใจ เห็นไหม เวลาเมื่อก่อนท่านมาโพธาราม ท่านจะบอกเลย “ใจถึงใจ ใครคนอื่นไปที่ไหน เขาจะเอาเงินมาให้เท่าไรก็ไม่ไป แต่โพธารามนี่มา” แต่ตอนหลังนี่มัน

๑. ท่านบอกว่า “ย้ายมานี่ ไกลด้วย”

๒. มันเกี่ยวกับเรื่องหมู่คณะด้วย เรื่องพระ

ประสาเราเลย พระเขาแปลกใจว่า “ทำไมหลวงตามาหาเราเยอะมาก มาบ่อยมากเลย” แล้วท่านถาม “มากี่หนแล้ว?” เราจำไม่ได้ ถามบ่อย “มากี่หนแล้ว?” เราจำไม่ได้ จำไม่ได้ เพราะมาเยอะมาก มาจนจำไม่ได้ ท่านถามบ่อย “เรามากี่หนแล้ว?” ถ้าจำอะไรไม่ได้ ถ้าตอบผิด ไม่ควรตอบ ต้องเฉย

เราเคยอยู่กับหลวงตามา ตอนอยู่บ้านตาด เวลาท่าน เวลามีอะไรท่านก็ถามใคร คนชอบตอบ ถ้าเรารู้เราจะตอบทันทีเลย ถ้าไม่รู้นะ “ไม่ทราบครับ ไม่ทราบครับ” รอดตัว ถ้าตอบผิดนะ ท่านจะถามต่อไป แล้วเราก็ตอบไม่ได้ แล้วเราก็คือ เราโกหก

ถ้ารู้ บอกว่า “รู้” ถ้าไม่รู้ บอก “ไม่รู้” ท่านไม่เอ็ด

เรานี่อยู่บ้านตาด ถ้าเวลาถึงปัญหาเข้ามาถึงจนตรอกนะ “ไม่ทราบครับ ไม่ทราบครับ”

“ถ้าไม่ทราบ ไปหาคนที่ทราบมา” ก็วิ่งไปตามคนนั้นมา งานจะได้เดินต่อไป

ถ้าไม่ทราบแล้วไปเอาหน้านะ แล้วไปทำผิดๆ นะ มันเสียหายกันไปหมด ถ้าไม่รู้ บอก “ไม่รู้” กับหลวงตา ต้องซื่อตรง แล้วเราเป็นอย่างนั้นมาตั้งแต่อยู่บ้านตาด แล้วมาอยู่ที่นี่ ตั้งแต่ปี ‘๓๐ มาอยู่โพธาราม แล้วพอเขามาสร้างวัดกัน ท่านคุยกับเราเยอะ ท่านพูดกับเรานะ อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ว่า ที่ไหนก็มีอริยะๆๆ ท่านมาพูดกับเราเองเลย

“องค์นี้ก็เสียไปแล้ว องค์นี้ก็เสียไปแล้ว องค์นี้ก็เสียไปแล้ว” คำว่า “เสียไปแล้ว” ท่านพูดกับเรานะ “มันเสียไปแล้วเพราะเหตุผลอย่างนี้ๆๆ” คือท่านพูดเหมือนสอนเรา ท่านพูดเหมือนสอนเราว่า ถ้าประสาเรานะ สอนเรา แล้วสอนเราก็จะ ถ้าเป็นการเผดียง คือว่า “เอ็งอย่าทำอย่างนี้นะ” นี่คือตัวอย่างไง

“องค์นี้เสียไปแล้ว เสียไปแล้วเพราะทำอย่างนี้ๆๆๆ”

“องค์นี้เสียไปแล้ว เพราะทำอย่างนี้ๆๆ” ท่านพูดกับเรา

ฉะนั้นเราถึงจะไม่ทำสิ่งอะไรที่ออกนอกลู่นอกทางเลย ใครจะมาขอทำอะไร เราจะไม่ให้ทำ ดูอย่างเช่น ป้าย เมื่อ ๒ วันนี้ก็มีโยมเข้ามา มีโยมมาขอทำตอนหลังนี่อีก ๓¬-๔ คนขอทำป้ายมาแขวนไว้ที่ประตู เพราะหนูแนะนำให้คนเขามา แล้วเขาก็เลยไปเลยมา เลยมาเลยไปไม่กล้าเข้าวัด จะขอบอกว่า นี่คือวัด แขวนไว้ที่หน้าประตูได้ไหม?

เราบอก “ไม่ได้ ยังไงก็ไม่ได้” เราบอกเลย

เขาบอกว่า “ก็หลวงพ่ออยู่เฉยๆ สิ ก็บอกว่านี่ลูกศิษย์ทำให้”

เราก็บอก “พวกเอ็งก็คิดกันอย่างนี้ ทุกคนก็คิดอย่างนี้ว่า ลูกศิษย์ทำให้ ลูกศิษย์ทำให้ ลูกศิษย์ทำให้ ถ้าหัวหน้าไม่อนุญาต จะทำได้อย่างไร?”

นี่ความคิดของโลก เขาคิดกันแค่นั้นไง คิดเอาสะดวก แล้วคิดเอาตัวรอดกัน แต่สำหรับเรา เราบอก เราทำไม่ได้ เราเห็นใจโยมนะ โยมจะหลงจะอะไรนี่มันเสียเวลาทั้งนั้น เราก็ยอมรับ แต่หัวใจของโยมทุกๆ ดวงน่ะ มันไม่มีค่าเท่ากับหัวใจของหลวงตากับเราหรอก

เพราะหลวงตาท่านพูดกับเราเรื่องอย่างนี้ไว้หลายเรื่อง แล้วถ้าเราไปทำเข้ามา พอท่านเห็น

สมมุติท่านมาครั้งใหม่ พอท่านมาเห็นป้ายปั๊บ เพราะท่านพูดกับเรา ไม่มีใครรู้ใช่ไหม มีเรากับท่านรู้กัน ๒ คน แล้วท่านพูดกับเราไว้ แล้วพอมาเห็นน่ะ ท่านก็ว่าเราไม่จริงน่ะสิ ก็ที่ว่าไว้ใจมันก็หมดน่ะสิ ท่านพูดกับเราตลอด ท่านชมมากที่โพธาราม

“ศาลานี้ก็อย่าให้ใครมายุ่งนะ อย่างนี้พอดี พระต้องอยู่อย่างนี้ๆ”

แต่พอมาสร้างที่นี่ เห็นไหม ท่านชมหมดทุกอย่างเลยเว้นไว้ศาลา ทีนี้ไอ้คำว่าศาลา เราคิดอยู่ตั้งแต่ทีแรกแล้ว ทีแรกเราจะสร้างให้เล็ก แล้วเราจะต่อทีหลัง ทีนี้พอพระมาถมที่ไปอะไรไป เราก็คิดว่าทำทีเดียว เพราะถ้าไม่ทำทีเดียว มันต้องขยายแน่นอน อย่างเช่นที่บ้านตาดตอนนี้ เห็นไหม ศาลาก็ต้องขยายแล้ว มันต้องขยาย ข้างหน้าต้องขยายเด็ดขาด

ทีนี้ถ้าคำว่า “ขยายเด็ดขาด” เราก็คิดอยู่ ๒ ประเด็น

ประเด็น ๑. คือว่า “ต้องซื่อสัตย์กับท่านก่อน” คือศาลาต้องไม่ใหญ่ แต่พอมันถมที่ไปแล้ว แล้วมันทำไปแล้ว เราเลยตัดสินใจทำไปเลย เพราะก่อนหน้าที่สร้างวัด ก่อนหลวงตาจะมา เราบอกทุกอย่างผ่านหมด เว้นไว้ศาลาอย่างเดียว แล้วมันก็ไม่ผ่านจริงๆ ศาลานี้ก็ไม่ผ่านจริงๆ อย่างอื่นผ่านหมด ท่านชมทุกเรื่องเลย “เออ กระต๊อบกระแต๊บอย่างนี้ดีหมด ดีหมดเลย เว้นไว้แต่ศาลามึงนี่ยาวกี่กิโล? ” (หัวเราะ)

อันนี้มันคงเป็นแอคซิเดนท์ มันคงเป็นเรื่องของกรรม เราก็คิดอยู่แล้ว ทีแรกเราคิดอยู่แล้ว เราจะคิดว่าสร้างให้มันประมาณสักครึ่งหนึ่งนี่ไง แล้วต่อไปเราก็ เราปรึกษากับโยมบุญมาแล้ว ให้สูงไว้ ๘-๙ เมตรไง นี่เหลือ ๗ เมตร ๕๐ (เซนติเมตร) แล้วเวลาเราลดชั้นลงมาไง เราคิดไว้หมดนะ

แต่สุดแล้วมันด้วยแบบว่าลูกศิษย์ถมให้ ทุกอย่างทำให้ คือไปกินเหยื่อเขาว่างั้นเถอะ ตกกระไดพลอยโจน มันก็เลยทำให้ท่าน ประสาเรานะ มันก็ฝังใจเราว่า “เราไปทำให้ท่านสะเทือนเหมือนกัน” เพราะท่านพูดกับเราเองนะ “ทำอะไรอย่าให้สะเทือนถึงเรานะ ทุกอย่างอย่าให้สะเทือนมา”

เราทำอะไรมานี่ เห็นไหม ประสาเราเลยนะ อยู่ที่โพธาราม โดนเขากลั่นแกล้งมหาศาลเลย ไม่เคยแอะสักคำเลย ไม่เคยขึ้นไปพูดให้ท่านฟังแม้แต่คำเดียว แต่ท่านรู้อยู่หมด แล้วท่านเป็นคนดูแลเราเอง ตอนนั้นพระพรหมมุนีสมเด็จวัดนรนารถฯ โทรศัพท์ไปหาเลย เพราะว่าเรื่องมันเข้าเถรสมาคม ท่านโทรไปหาเลย วัดราชบพิธฯ สมเด็จธรรม ท่านเล่าให้ฟัง เพราะท่านอยู่ในเถรสมาคมด้วย แล้วกฎหมายกฤษฎีกามันเข้าไปไงว่า จังหวัดราชบุรีห้ามมีพระอยู่นอกวัด กฤษฎีกาเข้าไปที่เถรสมาคม ถ้าบังคับปั๊บ พระวัดนั้นก็อยู่ไม่ได้

ฉะนั้นพอสมเด็จ ท่านเป็นพรหมมุนี ท่านโทรไปหาหลวงตา ท่านเป็นเพื่อนกันว่า

“พระที่มาอยู่โพธารามนี่ใช่ลูกศิษย์หลวงตาไหม?”

หลวงตาบอกว่า “เด็ดขาด ลูกศิษย์เราเอง”

ธรรมยุติก็เลยบอกว่า “กฤษฎีกาข้อนี้ให้ใช้เฉพาะมหานิกาย ธรรมยุติไม่ให้ใช้” เราก็เลยรอดตาย เรารอดมาตลอดนะ หลวงตานี่ท่านดูแลตลอด แต่ด้วยคำพูดที่เราไปฟ้องท่าน ไม่มีเลยแม้แต่คำเดียว แต่ท่านก็ดูแลเราด้วยเต็มศักยภาพ มันถึงเป็นกันมาอย่างนี้ไง เพราะอย่างนี้ มันถึงได้ใจไง

“มันโดนขนาดนี้ มันโดนรุมขนาดนี้ มันไม่เคยมาพูดแอะกับเราสักคำเลย”

ท่านก็ต้องคิด เราโดนรุมขนาดนี้ แล้วไม่เคยขึ้นไป เหมือนลูกฟ้องแม่ (หัวเราะ) ลูกไม่เคยไปฟ้องพ่อแม่เลย เฉย เฉยอย่างเดียว เพราะมันอยู่กับครูบาอาจารย์มา แล้วได้ฝึกมา นั่นเรื่องของโลก นี่ถ้าพูดถึงถ้าเป็นธรรม แล้วเห็นสภาพแบบนั้น อันนี้อันหนึ่งนะ

เราจะย้อนกลับมาแล้ว นี่พูดถึงมันสะเทือนใจ วันนี้พูดกันถึงว่า “เวลาทำไมท่านต้องมาดูแล ท่านทำไมต้องมาดูแล” พระหลายองค์คิดได้ทำได้ ถ้ามันเป็นไป เราก็ควรทำอย่างนั้น

ประสาพวกเรา มันต้องโตขึ้นมา เราต้องโตขึ้นมา แล้วเราต้องดูแลกันต่อๆ ไป เราเป็นภิกษุด้วยกัน มันต้องดูแลกัน มันต้องรักษากัน รักษาในสิ่งที่ดี อันนี้มันจะรักษาได้ มันจะรักษาได้มันก็ต้องมีหลักในใจ ถ้าใจมีหลักนะ นี่ถ้าใจมีหลัก ในการภาวนา ครูบาอาจารย์เราที่จะมีหลักอย่างนี้ได้ มันเกิดจากการภาวนา ถ้าเกิดจากการภาวนาเพราะอะไร? เพราะที่เราเป็นหลักกันไม่ได้ เพราะเรามีความลังเลสงสัย นิวรณธรรม เป็นเครื่องกั้นสมาธิ การทำสมาธิได้ ใครทำสมาธิได้ ชำนาญในวสี

เราพูดบ่อย พวกคนทำสมาธิ นี่รักษาสมาธิ สมาธิเสื่อมหมดๆ เราบอก ไปรักษาที่สมาธิ สมาธิเสื่อมหมด แต่ถ้าไปรักษาสติ รักษาที่เหตุ ถ้าเรารักษาที่เหตุ เราทำงานอยู่ทุกวัน เราตักน้ำใส่ตุ่มทุกวัน น้ำมันจะพร่องจากตุ่มไปได้ไหม? นี่ใช้น้ำทุกวัน แล้วบอกให้น้ำเต็มตุ่มๆ มันเป็นไปไม่ได้หรอก เราจะให้น้ำเต็มตุ่ม เราตักน้ำใส่ตุ่มทุกวันๆ เรารักษาสติไว้ น้ำในตุ่มนั้นคือสมาธิ แล้วเราตักน้ำใส่ทุกวันๆ

เราตั้งสติไว้ เราตั้งสติไว้ แล้วเรากำหนดพุทโธ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเรารักษาตรงนี้ได้ เราชำนาญในวสี

“วสี” คำว่า “วสี” คือการเข้าสมาธิ “วสี” สิ่งที่เข้าไปหาสมาธิ ถ้าเราชำนาญในวสี ชำนาญในเหตุ ในเหตุที่เกิดสมาธิ สมาธิจะเสื่อมจากเราไปได้อย่างไร? สมาธิไม่เสื่อมไปจากเราหรอก แต่ทีนี้มันจะเสื่อม มันเสื่อมได้หลายกรณี

กรณีหนึ่ง ผู้ที่ทำสมาธิแล้ว ไม่เข้าใจว่านี่เป็นสมาธิไง

คนทำจิตสงบเข้าไป นี่คือมรรคผล เวลาจิตสงบเข้ามา นี่คือมรรคผล ก็ไปอยู่กับมัน มรรคผลมันเป็นอนิจจัง มันจะอยู่กับเราได้อย่างไร? เพราะมันไม่ใช่อกุปปธรรม มันไม่ใช่สัจธรรม มันเป็นความสงบของใจ มันเป็นความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบเข้ามาแล้ว มันต้องออกวิปัสสนา ถ้าออกวิปัสสนา ผลที่เกิดจากการวิปัสสนานั้นมันถึงจะเป็นธรรม พอมันเป็นธรรมแล้ว ธรรมะนี่มันคงที่ ธรรมะนี่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

แต่สมาธินี่ ทุกสรรพสิ่งนี้มันเป็นอนิจจัง “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” สภาวธรรมนี่เป็นอนัตตาทั้งหมด สิ่งที่เกิดขึ้นมันเป็นอนัตตา มันมีอยู่ มันแปรปรวน มันเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครเคยเห็น ไม่มีใครเคยให้ค่า ให้ชื่อกับมัน

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา การตรัสรู้ธรรม คนที่บรรลุธรรม คนที่ตรัสรู้ธรรม มันต้องมีวิธีการ เหตุที่เข้าไปถึงธรรมนั้น ถ้าไม่มีเหตุให้เข้าไปถึงธรรมนั้น มันจะตรัสรู้ธรรมได้อย่างไร?

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ทำไมถึงตรัสรู้ธรรม? ทำไมพระพุทธเจ้าถึงเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา? เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมาก็เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา ตั้งแต่ทุกรกิริยา ๖ ปีนั้น การทำทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปีนั้น จนถึงวันวิสาขบูชา ตั้งแต่ทำอานาปานสติ จนบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ จนทำชำระกิเลส

ทีนี้ย้อนกลับมาที่เรา “ปฏิบัติ” ถ้าคนที่ตรัสรู้ธรรม คนที่ ถ้ามันเป็นธรรม มันต้องมีเหตุสิ นี่เราไม่มีเหตุ แต่บอกเพราะวุฒิภาวะ เพราะใจเรามันไม่มีกำลังใช่ไหม เราก็เข้าใจว่าสมาธินี้เป็นธรรม สมาธินี้เป็นธรรม สมาธินี่มันแปรสภาพ มันสงบได้ มันก็เสื่อมได้ แต่มันต้องสงบก่อน มันต้องเสื่อมขึ้นมาก่อน

แต่คนพอไม่เข้าใจก็ นี่คือสภาวธรรม เพราะความหลงผิด มันก็เสื่อม เพราะความไม่มีความชำนาญ มันก็เสื่อม แต่ถ้าเราเข้าใจนะ เราเป็นชาวพุทธใช่ไหม เราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่น เวลาท่านเทศน์ ท่านเทศน์ถึงความสงบของใจเข้ามาก่อน

โยม ไปฟังเทศน์ที่อื่นสิ ที่อื่นเวลาจะเทศน์นะ เทศน์เรื่องศีล ศีลนะ ศีล ๕ ปาณาติปาตาฯ ไม่ฆ่าสัตว์ พอไม่ฆ่าสัตว์แล้วก็ว่าเราได้บุญนะ พรรณนาเรื่องศีลอยู่อย่างนั้นเพราะอะไร? เพราะเรื่องศีลนี่มันเป็นกฎ ศีล ๕ คือกฎ ๕ ข้อ กฎ ๘ ข้อ กฎ ๑๐ ข้อ กฎ ๒๒๗ ข้อ “กฎ” ไม่ใช่ตัวศีล

“กฎ” กฎที่การผิดศีลไง เราผิดกฎก็คือเราผิดศีล พอผิดกฎ “กฎ” คือข้อห้าม “กฎ” คือกฎหมาย “กฎ” คือธรรมวินัย แต่สมาธิคือใจเรา ธรรมะคือความรู้สึกของเรา

ฉะนั้น ตัวศีลมันอยู่ที่นี่ มันอยู่ที่ใจใช่ไหม แล้วตัวศีลมันอยู่ที่ใจ นี่ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า “โดยเราชาวพุทธ โดยธรรมชาติ เรามีศีลกันอยู่แล้ว เพราะเราเชื่อในศาสนาอยู่แล้ว” ทีนี้ศีลไม่ต้องไปพูดถึงมัน ศีลคือพื้นฐาน ศีลคือชาวพุทธ ต้องเป็นอยู่แล้ว ต้องรู้อยู่แล้ว

เป็นชาวพุทธนี้เป็นชาวพุทธทะเบียนบ้านไง ศีลก็ไม่มี อะไรก็ไม่มี ไม่รู้จักเลย มันก็เหมือนคนป่าคนดอยนั่นน่ะ ชาวพุทธเหมือนคนป่าคนดอยเลย ไม่รู้เรื่องอะไรเลย แต่เป็นชาวพุทธ แต่ชาวพุทธนี่มันต้องมีศีล ๕ มันต้องมีคุณธรรมในหัวใจ ถ้ามันมีศีลอยู่แล้ว ครูบาอาจารย์ถึงบอกให้ทำความสงบของใจเข้ามาเลย ทำความสงบของใจเข้ามา

หลวงปู่มั่นสอน เวลาเทศน์ก็เทศน์เรื่องสมาธิ ครูบาอาจารย์เทศน์เรื่องความสงบของใจ เพราะถ้าใจไม่สงบนะ ความคิดทั้งหมดที่เราคิดขึ้นมา มันเป็นโลกียปัญญา มันเป็นปัญญาของกิเลสไง ทีนี้ ถ้ามันจิตสงบเข้ามา ใจสงบเพราะอะไร?

สมาธิ คือกิเลสมันสงบตัวลง ถ้าไม่มีสมาธิ ความคิดของเรา ดูสิ เราคิดเรื่องธรรมะ คิดเรื่องอะไร เราคิดแล้วสงสัย ทุกคนคิดแล้วสงสัย คิดแล้วลังเลนะ แม้แต่คิดธรรมะ “นิพพานๆ” ครูบาอาจารย์ใจเป็นธรรมนะ นิพพานก็คือนิพพานในใจของท่าน โอ้โฮ มีความสุขมาก นิพพานคือปัจจุบันไง นิพพานก็คือนิพพานนี่ไง นิพพานก็คือความสุขที่อยู่เฉยๆ นี่ไง นี่คือนิพพาน

ไอ้เราก็ “นิพพานๆ นิพพานอยู่ไหนวะ? ” นิพพานก็วิตกวิจารณ์ไป “นิพพานก็.. ” (หัวเราะ) เราคิดเรื่องนิพพานนะ แต่ฟุ้งซ่าน คิดเรื่องนิพพาน ความคิดนี่ โอ้โฮ โลดแล่นเลย “นิพพาน” เราไปตรึกในนิพพาน เราไปวิจัยในนิพพาน

แต่คนที่ใจเขาเป็นธรรมนะ นิพพานของเขาคือสงบนิ่งอยู่ในใจ สุขมาก แต่ความสุขนี้มาจากไหน? ความสุขนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? ความสุขเกิดขึ้นมา นี่เหตุ ถ้ามันเหตุขึ้นมา นี่ครูบาอาจารย์ที่ท่านจะผ่าน ท่านเป็นเศรษฐีธรรม ท่านจะต้องมีเหตุมีผลของท่าน ท่านต้องมีการกระทำของท่าน

การกระทำอันนี้เป็นข้อวัตรปฏิบัติ การกระทำอันนี้จะไปวางเป็นหลักไว้ให้พวกเรา ให้พวกพระปฏิบัติ ให้พวกนักปฏิบัติของเราก้าวเดิน มันเป็นเครื่องก้าวเดิน มันเป็นวิธีการ มันเป็นสิ่งที่เราจะต้องฝึกฝนขึ้นมาเพื่อให้ใจเราเป็นธรรมไง

ถ้าให้ใจเราเป็นธรรมนะ เราต้องมีการปฏิบัติใช่ไหม พอมีปฏิบัติ ถ้ามันจิตสงบเข้ามา จิตสงบเข้ามา สงบอย่างไร? ถ้าสงบอย่างไร? “ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ” แต่ถ้ามันยังไม่สงบ หรือมันสงบแล้วสงบเล็กน้อย มันไม่เข้าถึงหลักอย่างนี้ เพราะถ้ามันเข้าหลักขณิกฯ อุปจารฯ อัปปนาฯ มันเข้าเหมือนกับในสถาบัน หรือในแหล่งทางวิชาการ ค่ามันเป็นอย่างนี้มันต้องถูกต้องหมด

ทีนี้เรา เราศึกษาด้วยตนเอง พอเราศึกษาด้วยตนเอง ทางหลักวิชาการ มันจะไม่เหมือนตลอดไป พอไม่เหมือนตลอดไป เราทำของเราเองใช่ไหม เราทำของเราเอง เราใช้ปัญญาของเราเอง เราฝึกของเราเข้าไปเรื่อยๆ ผลตอบสนองนั้นมันต้องเป็นอันเดียวกัน ถ้าตอบสนองไม่อันเดียวกัน มันจะชำระกิเลสไม่ได้

แต่ถ้าเราเรียนในระบบกับเราเรียนนอกระบบ คำว่า ในระบบ-นอกระบบ นี้มันคือการศึกษา แต่เราจะบอกว่า ถ้าเราเกิดขึ้นมาร่วมสหชาติกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราเกิดมีบารมีขึ้นมา มันจะเป็นสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางหลักไว้ในระบบ วางหลักไว้

แต่ในปัจจุบันนี้มันเป็นปัจจุบันของเรา เราก็พยายามจะทำให้มันเข้าระบบนี่ล่ะ แต่ทีนี้มันเข้าระบบ ต้องเป็นสมาธิ ต้องมีปัญญา ไอ้เราก็เป็นทุกข์เป็นร้อนกันไง

“เมื่อไรจะได้สมาธิสักที? เมื่อไรจะเกิดปัญญาสักที?” “โอ้โฮ ลำบากลำบนไปหมดเลย”

เราก็เลยทำของเราให้เป็นปัจจุบันของเรา จะเป็นในระบบก็ดี จะเป็นนอกระบบก็ควรจะทำ คือว่าจิตมันสงบแล้ว เราใช้ปัญญาได้ไง คือเราหัดคิดได้ เราหัดใช้พิจารณากายได้ กายนี่เราเอามาไตร่ตรองได้ เอามาคิด เอามาแสวงหา เอามาทำวิจัยได้ ไม่เสียหาย มันไม่เสียหาย

หลวงปู่เจี๊ยะท่านพูดอยู่ เวลาเราพิจารณากาย จากกายเรา จิตเรานี่อยู่ในกาย เป็นกระดูกเป็นท่อนๆๆ ท่านบอกให้คิดถึง “ข้อนิ้วซ้าย ข้อมือ จากข้อนิ้วมาเป็นข้อมือ จากข้อมือเป็นข้อแขน ให้วนอย่างนี้” ท่านพูดคำนี้นะ ถ้ามันวนอยู่อย่างนี้ได้เป็นชั่วโมงๆ แต่ความจริง เราจะวนอยู่ไม่ได้เป็นชั่วโมงๆ พอคิดข้อใดข้อหนึ่งแล้วมันจะแฉลบ ความคิดมันจะออกข้างนอก อันนี้คือไม่เป็นสมาธิ

แต่ถ้ามันคิดได้เป็นชั่วโมงๆ คือว่ามันคิดต่อเนื่องๆ คือจิตมันสงบไง เราจะบอกว่า การพิจารณากายหรือการใช้ปัญญาในเรื่องของกาย มันก็คือสมถะนั่นแหละ คือมันเป็นการฝึกสมาธิวิธีการหนึ่งไง

แต่เราเข้าใจผิดกันว่าพอเราเริ่มพิจารณาเรื่องกาย มันพิจารณาอย่างนั้นมันเป็นวิปัสสนา? ยัง

หลวงตาท่านพูด การศึกษานอกระบบ แต่คนที่เป็น อธิบายได้ชัดเจน บอกว่า เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ขันธ์ ๕ เป็นได้ทั้งสมถะ เป็นได้ทั้งวิปัสสนา ถ้าจิตใจเรายังเป็นสมถะ จิตใจเรายังเป็นปุถุชนอยู่ จิตใจเราเป็นโลก เป็นโลกทัศน์ เป็นความเห็นของเรา เราไปตรึกในธรรมขึ้นมา ผลของมันคือสมถะ ผลของมันคือการปล่อยวาง ถ้าผลของมันคือการปล่อยวาง แต่เราใช้เป็นเทคนิค ใช้เป็นวิธีการที่เราจะเอาสิ่งนี้มาใคร่ครวญ เพื่อให้จิตมันสงบได้ พอจิตมันสงบขึ้นไป

นี่ไง เราจะบอกว่า ถ้าจิตมันสงบแล้ว เราอย่าไปติดว่านี่คือมรรคผลไง นี่คือสมถะ

ถ้าสมถะแล้ว ทีนี้พอจิตมันสงบแล้ว มันออกไปเห็นกายหรือเห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม อีกครั้งหนึ่ง อีกครั้งหนึ่งคือว่าจิตที่สงบแล้วยกขึ้นวิปัสสนา “ยกขึ้นวิปัสสนา” ความรู้ความเห็นมันจะแตกต่าง ความรู้ความเห็นของเราที่เราคิดเรื่องกาย เรื่องเวทนา เรื่องจิต เรื่องธรรม เรื่องผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เวลาเราคิดด้วยปัญญาของเรา เราก็คิดโดยสามัญสำนึก

มันก็เหมือน “คิดเรื่องผมก็คือผม คิดเรื่องกายก็คือกาย” มันก็เห็นเป็นกาย เป็นผม เป็นผิวหนัง เป็นต่างๆ มันคิดให้เห็นเป็นวิทยาศาสตร์ ให้เห็นว่ามันแปรสภาพ มันไม่คงที่หรอก ถ้าไม่คงที่ปั๊บ เพราะธรรมะพูดไว้อย่างนั้น พอเราคิดเราเห็นตาม มันก็ปล่อยวาง

คือเราจะบอกว่า เวลาเห็น มันก็เห็นโดยสามัญสำนึก คือเห็นโดยปกติ เห็นโดยวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์กันได้ แต่พอจิตมันสงบนะ เวลามันเห็น มันไม่เห็นอย่างนี้หรอก มันเห็นโดยธรรมนะ

เห็นโดยธรรม ผิวหนังนี่ เราเห็นผิวหนัง รูขุมขนของผิวหนัง ให้มันวิภาคะ คือมันแยกส่วน รู้ผิวหนัง มันจะแยกส่วนออกไป เส้นผมนี่มันขยายส่วนแยกส่วน มันสะเทือนกิเลสมากนะ เพราะคำว่ากิเลส ทุกคนหามันไม่เจอ กระเทือนกิเลส คือกิเลสมันฝังใจเราไง

“ความฝังใจ” คือแบบเราเรียนวิทยาศาสตร์มา เรียนวิทยาศาสตร์มา วิทยาศาสตร์ต้องเป็นอย่างนี้ๆ พอมันฝังใจ กิเลสมันฝังใจอยู่ มันต้องเป็นอย่างนี้ ผมต้องสวยงามอย่างนี้ มันจะสกปรกต่อเมื่อมันมีไขมัน เราต้องสระ เราต้องรักษา มันก็สะอาดขึ้นมา นี่คือวิทยาศาสตร์ นี่คือข้อเท็จจริงทางโลก

แต่พอจิตมันสงบเข้าไป พอไปเห็นเส้นผม แล้วมันขยายส่วน เป็นเส้นผม เป็นน้ำเลี้ยงผมต่างๆ มันขยายส่วน มันเห็น มันจะไปทำลายไอ้ความยึดมั่น ไอ้ข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ในหัวใจเรา ต้องเป็นอย่างนี้ๆ

แต่พอมันมีเหตุผลที่แตกต่าง เหตุผลที่แตกต่างที่เป็นปัจจัตตัง ที่เราเป็นคนสร้างสมาธิ แล้วเราสร้าง “กาย เวทนา จิต ธรรม” โดยเห็นโดยสัจธรรม มันขยายส่วนเห็นส่วน มันจะไปลบล้างไอ้ข้อมูลวิทยาศาสตร์นั้น วิทยาศาสตร์นี้เป็นโลก

แต่ธรรมะที่มันเกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นเป็นธรรม มันจะไปลบล้าง มันจะไปถอนอุปาทาน ถอนความยึดของใจ ความยึดของใจนี้คือสังโยชน์ สิ่งที่มันถอน มันทำลาย พอมันทำลายไปบ่อย พอไปทำลายมันก็ปล่อย ปล่อย มันจะเป็นตทังคปหาน มันปล่อยเป็นชั่วคราวๆ จนมีการฝึกฝนบ่อยครั้งเข้า ชำนาญมากขึ้นๆ

จนถึงที่สุด ตทังคปหาน มันขาด “กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์” กายกับจิตแยกจากกันโดยธรรมชาติ อสุภะ-สุภะ ความฝังใจ มันจะแยกออก กามราคะ ปฏิฆะออกจากใจ วิปัสสนาไปจนทำลายตัวมันเอง จนสิ้นสุดกระบวนการของการปฏิบัตินะ

นี่ผู้ที่ปฏิบัติ ผู้ที่ใจเป็นธรรม เราพูดว่า “หัวใจที่เป็นธรรม มันมีคุณค่า” หลวงปู่ลี เห็นไหม ท่านหาทองคำหลายร้อยกิโลกรัมนะ หลวงปู่ลีหาทองคำ หาต่างๆ มา การหาทองคำ การหาเงินเพื่อจะมาช่วยโลก มันก็ไม่ใช่ของง่าย ทางโลกนี่ยากนะ เราหาเงินหาทองนี่ยากมากเลย

แต่ถ้าไปปฏิบัติ ยากกว่าหาทองหลายเท่า หาทองง่ายกว่าเยอะ หาทองนี่ไม่มีก็กู้ยืมได้นะ แปะโป้งร้านทองก่อนก็ได้ แต่ธรรมะไม่มีทาง ธรรมะไม่มีทาง ทีนี้คนที่ลงทุนลงแรง ประพฤติปฏิบัติ หาธรรมขึ้นมาในหัวใจได้แล้ว มันถึงเป็นคนจริงไง

คนจริงเพราะทำจริงมา ถ้าไม่จริง เราจะลงถึงแหล่งความจริงของใจเราไม่ได้ ในหัวใจที่มันเป็นความจริงอยู่ แล้วมันลงไปถึงก้นบึ้งของใจ ทำลายกิเลสออกมาขนาดนั้น แล้วพอออกมาขนาดนั้น คุณค่าอันนี้มันถึง

เวลาหลวงตาท่าน สังเกตได้ไหม หลวงตาท่านจะกราบพระ ทำไมท่านกราบสวยกราบงาม ตอนที่ร่างกายท่านแข็งแรงนะ ตอนนี้ท่านก็กราบ เห็นไหม เมื่อก่อนร่างกายแข็งแรง ท่านทำอะไรสวยงามไปหมดเลย แต่ในปัจจุบันนี้ ร่างกายท่านมันเริ่มเสื่อมสภาพ หัวใจท่านอยากทำอย่างนั้น แต่ท่านทำไม่ได้ เรื่องของร่างกายมันฝืนทำไม่ได้ แต่หัวใจไม่มีการเปลี่ยนแปลง เรื่องของใจไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่การที่จะทำอย่างนั้นอีก ร่างกายมันทำไม่ได้

พอทำไม่ได้ เราก็ตีค่ากันไปคนละเรื่องนะ แต่ถ้ามันเป็นความจริง คนที่ใจมันถึงใจ ฉะนั้นเวลาปฏิบัติไป มันจะมีข้อขัดแย้ง ทุกๆ คนที่ปฏิบัติ เริ่มต้นนะ กว่าจะจิตสงบ กว่าจะเป็นไป ความขัดแย้ง การขัดแย้งกัน แล้วบางคนขัดแย้งหนัก บางคนขัดแย้งเบา บางคนขัดแย้งปานกลาง คำว่า “ขัดแย้ง” คือภาวนายากไง ภาวนาไปจะมีอุปสรรค จะมีความขัดแย้ง

ความขัดแย้งอันนี้คือกรรมที่เราสร้างมา

คนสร้างมาด้วยกรรมนี่หลากหลายไม่เหมือนกัน บางคนสร้างกรรมมา กรรมโดยทำมาด้วยกรรมหนัก เวลาทำอะไรไปมันจะมีปัญหา คือมันจะมีอุปสรรค มีอะไรต่างๆ

ทีนี้เราจะบอกว่า ถ้าใครเกิดอุปสรรค ใครเกิดอะไร เราจะท้อถอยได้อย่างไร? คือมันผลการกระทำของเราเองไง คือขณะเมื่อใด ครั้งใดครั้งหนึ่ง เราไปผิดพลาด เราไปเผลอ เราให้กิเลสมันมีกำลังมากกว่าเรา พลั้งเผลอแล้วทำสิ่งนั้นลงไป แล้วพอปัจจุบันนี้เราจะมาประพฤติปฏิบัติ เรามามีสติสัมปชัญญะอยู่แล้ว สิ่งนี้เรามารู้ทันแล้ว มันเป็นอดีตที่มันแก้ไม่ได้ แต่วิบากคือผลของมัน ที่มันเกิดกับเรา มันมีให้กับเรา เราจะต้องกระเสือกกระสน ต้องแก้ไขกันไปไง

ขิปปาภิญญานี่ปฏิบัติง่ายๆ นะ ดูสิ หลวงตาท่านออกมาปฏิบัติพรรษา ๗ พรรษา ๑๖ ท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านปฏิบัติอยู่ ๙ ปี

ดูหลวงปู่มั่นสิ หลวงปู่มั่นออกมาปฏิบัติจนเป็นกองทัพธรรมอยู่ภาคอีสาน สุดท้ายท่านบอกว่า “ท่านยังมีภาระ ท่านยัง ใจท่านกำลังไม่พอ” ท่านขึ้นไปเชียงใหม่ พรรษา ๓๘ น่ะ นี่คนเรามันต่างกัน มันต่างกัน

ดูสิ พระพุทธเจ้า ๖ ปีที่ค้นอยู่ แล้วพอมาปฏิบัติ คืนนั้นสำเร็จ ดูยสะ เห็นไหม ฟังเทศน์ ๒ หน พาหิยะ ฟังเทศน์หนเดียว แต่พระสารีบุตรฟังแล้วฟังอีก

เราจะเทียบให้เห็นอุปสรรค “อุปสรรค” เราดูสิ เราคนเหมือนคน แต่เราไม่รู้หรอกว่า “ใครมีบารมีมาก บารมีน้อยขนาดไหน” หัวใจของคนแต่ละคนมีวุฒิภาวะต่างกันอย่างไร? แต่มันจะรู้ได้ตอนปฏิบัติ ของใครของมันไง ของใครของมัน

หลวงตาท่านพูดว่า “น้ำตื้น-น้ำลึก” ขุดบ่อน้ำ ถ้าบ่อน้ำ เราที่ลุ่ม เราขุดลงไปปั๊บ เดี๋ยวเราก็เจอน้ำ ถ้าเราในที่ดอน เราขุดเหงื่อไหลไคลย้อยเลย หลวงตาท่านพูดตลกนะ ท่านบอก “น้ำมันจะออกทีหลังไง มันจะมีแต่เหงื่อไง” เราขุดหาน้ำในดิน แต่น้ำมันออกที่ตัวเรา มันไม่ออกที่ดิน (หัวเราะ)

อุปสรรคของคน ถ้าอย่างนี้มันอยู่ที่เราทำมา “กุสลาธรรมา อกุสลาธรรมา” เราทำดีมา เราทำชั่วมา สิ่งที่ทำมา เราทำมาแล้ว เสียใจตอนหลังนี่ก็ไม่ดีเลย เราต้องตั้งใจของเรา เราทำเพื่อเรานะ

นี่วันนี้ ตั้งแต่เช้าแล้ว มันสะเทือนใจไง เวลาพูดถึงหมู่คณะ พูดถึงอะไรแล้วมันสะเทือนใจ สะเทือนใจมากนะ มันสะเทือนใจคือว่า เราเห็นว่าเป็นเรื่องพื้นๆน่ะ แล้วก็เป็นพระผู้ใหญ่กันทั้งนั้นแล้วทำไมเรื่องอย่างนี้คิดกันไม่ได้ ทำไมเรื่องอย่างนี้ทำไม่ได้?

พ่อแม่เราทุกข์ยากขนาดนี้ ทำไมเราจะต้องไปกดถ่วงท่านอยู่ตลอดเวลา เสียใจน่าดูเลยนะ บางทีคิดแล้วมันเสียใจ มันเสียใจตรงไหน? มันเสียใจคือว่ามันเหมือนของเด็กเล่น เด็กๆ ทั้งนั้น แล้วเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาสักหน่อยนะ เราทำกันเองนะ แล้วมันจะมีความร่มเย็นเป็นสุขไปหมด ปู่ ย่า ตา ยาย ก็มีความร่มเย็นเป็นสุข ลูกหลานเราเข้มแข็ง ทุกอย่างสังคมดีหมดเลย แล้วทำไมมันคิดกันไม่เป็น?

1คิดไม่เป็นนะ

ไอ้คิดไม่เป็นนั่นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าเบื้องหลังเรารู้ถึงว่าเรื่องพยายามจะโน้มน้าว เรื่องอะไรกัน ยิ่งเศร้าใจ ฉะนั้นมันเศร้าใจ มันก็เรื่องของคนที่มีดวงตามองเห็น มันก็เห็นภาพ คนที่ตาบอดสี มันก็เห็นภาพรางๆ คนที่ตาบอดสนิท มันก็บอดสนิทนะ แล้วคนที่ตาบอดสนิท มันคิดว่าไม่มีคนตาดี มันถึงได้ทำแต่สิ่งที่ทำแล้วมันน่าติเตียน

เหมือนนกกระจอกเทศเนาะ เวลาจะหนีภัย มันจะเอาหัวไปซุกในกอไผ่ เหมือนกันเลย คนตาบอด นึกว่าทำแล้วจะไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเห็นนะ (คิดแล้วเศร้า) แต่ถ้าคิดด้วยธรรมนะ มันก็เป็นวุฒิภาวะ คือคนคิดได้แค่นี้ไง

บางทีเราสอนลูกหลานเรา ทุกคนอยากให้เป็นดีหมด แต่ลูกหลานเรามีความสามารถได้แค่นี้ (โทษนะ) พ่อแม่ต้องยอมรับ ถ้าพ่อแม่ไม่ยอมรับนะ พ่อแม่ก็พยายามจะให้ลูกให้ดีขึ้น ลูกก็พยายามเต็มที่ มันก็ทุกข์ทั้ง ๒ ฝ่าย เราก็พยายามเต็มที่ อย่างเวลาสอนนี่สอนเต็มที่เลย แต่ถ้าเขาทำได้ “โอ้โฮ สุดยอดเลย”

ถ้าเขาทำไม่ได้โดยที่อำนาจวาสนา ก็ให้พยายามทำ ถ้ายังไม่ได้ก็ไม่เป็นไร คือดูแลไว้ คำว่าไม่เป็นไร คือปัจจุบันนะ แต่ถ้าเราไม่เป็นไรแล้วปล่อย คำว่า “ปล่อย” มันจะเสื่อม พอมันเสื่อมขึ้นมา ในวงกรรมฐานเขาเรียกว่า “กรรมฐานม้วนเสื่อ” คือเราทำได้ดีขนาดนี้ พอเราปล่อยปั๊บ มันจะทำแต่เรื่องตามกิเลสไง พอม้วนเสื่อแล้ว มันจะทำตามใจชอบ พอทำตามใจชอบ มันก็ทำผิดวินัย ว่างั้นเถอะ

ฉะนั้นเราปลุกเร้าขึ้นมาให้มันดีไว้ แล้วทรงตัวไว้ คืออย่าให้ม้วนเสื่อ อย่าให้ท้อถอย อย่าให้ทำตามใจชอบ จะต้องฝืนไว้อย่างนี้ ฝืนคือฝืนกิเลสไง ฝืนคือฝืน คือความชอบใจ ความชอบใจ ความอยากทำ ฝืนมันไว้ แล้วเราทำดีแค่นี้ ยันมันไว้ เพื่อภพชาติได้สั้นเข้า แล้วเพื่ออนาคต

มีอะไรว่ามา มีไหม?

ถ้าใครมีอะไรสงสัยนะ เราจะตอบปัญหา ถ้าไม่ให้ตอบปัญหา ให้พูดคนเดียว วันนี้มันสะเทือนใจ พอสะเทือนใจนี่มันไหลเลยล่ะ คำว่าสะเทือนใจหมายถึงว่า มันเห็นเป็นของเล็กน้อย เหมือนกับของเราวางกันไว้ ไม่ได้เก็บ แค่ยกเก็บขึ้นก็จบ เราลืมของไว้ใช่ไหม ของเราทิ้งไว้ระเกะระกะ เราจัดเรียง มันก็จบเนาะ ก็ง่ายๆ แค่นี้ ทำไมมันทำกันไม่เป็น?

ไม่รู้ ก็งง งง ก็ของเราวางไว้ระเกะระกะใช่ไหม ก็เก็บก็เข้าที่สิ ก็เท่านั้นเอง เอ๊ะ ทำไมเขาไม่รู้? แปลกมาก แปลกมาก

ทีนี้เพียงแต่ถ้าพอไม่รู้ เมื่อก่อนเราก็คิดเหมือนโยมกันนี่ล่ะ แล้วเราภาวนาแล้ว เราก็มาเรียบเรียงดูไง คือย้อนไปย้อนกลับ ที่หลวงตาท่านว่า “อนุโลม ปฏิโลม ย้อนไปย้อนกลับ” จิตปุถุชนเป็นอย่างนี้ จิตของโสดาบันเป็นอย่างนี้ จิตของสกิทาคาเป็นอย่างนี้ อนาคาเป็นอย่างนี้ พระอรหันต์เป็นอย่างนี้

ความคิดของปุถุชนมันจะมีความคิดได้แค่นี้ ความคิดของโสดาบันก็คิดได้แค่นี้ ความคิดของสกิทาคา ความคิดของอนาคา ความคิดของพระอรหันต์ นี่ไง วุฒิภาวะไง เราถึงพูดถึง เวลาเราจะเน้นวุฒิภาวะ พันธุกรรมทางจิตบ่อยมาก เพราะมันเป็นสิ่งที่เขาไม่รู้ไม่เห็น ถ้าสิ่งที่รู้ที่เห็น หลวงตา ในธรรมะจะบอกไว้เลย

“จิตที่สูงกว่า แก้จิตที่ต่ำกว่าได้ จิตที่ต่ำกว่า แก้จิตที่สูงกว่าไม่ได้”

เหมือนเราอยู่นี่ เราจะไม่รู้บนเพดานหรือบนหลังคามันมีอะไรสิ่งสกปรกอยู่บนนั้นบ้าง แต่คนที่อยู่บนหลังคาก็จะเห็นหมดเลยว่าบนหลังคานี้มีอะไรสกปรกบ้าง แล้วเขารู้ได้ข้างล่างด้วย

“จิตที่สูงกว่า แก้จิตที่ต่ำกว่าได้ จิตที่ต่ำกว่าจะแก้จิตที่สูงกว่าไม่ได้”

พอมาคิดพิจารณาอย่างนี้แล้วก็ต้องยอมรับ พอยอมรับก็หมายถึงว่า ที่เราพูดเมื่อวานนี้ บอกคนเราจะเป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคา หรือพระอนาคา หรือพระอรหันต์ มันไม่ได้อยู่ที่คำพูดหรอก มันอยู่ที่พฤติกรรม พฤติกรรมของคนๆ นั้นน่ะ พฤติกรรมมันบอกนะ พฤติกรรมของคนๆ นั้นน่ะ ถ้าคนๆ นั้นเป็นพระโสดาบัน พฤติกรรมของพระโสดาบันจะเป็นอย่างนั้น มันจะไม่สีลัพพตปรามาส มันจะอยู่ในกรอบ

พฤติกรรมของสกิทาคา พฤติกรรมของอนาคา พฤติกรรมของพระอรหันต์

แต่นี้อวดกันว่าเป็นธรรมๆ ธรรมเหนือโลกๆ แต่พฤติกรรมมันโจรทั้งนั้นเลย ไอ้ตรงนี้เราถึง ใครจะพูดถึงชั้นไหนๆ เราจะเฉยๆ เราดูพฤติกรรม พฤติกรรมที่เขาทำ พฤติกรรมมันฟ้องนะ จริงไหม? ในสุภาษิต “สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล”

พูดอย่างนี้มันสะเทือนเรามาก เพราะใครมาบอก “โอ้โฮ นี่นักเลงนี่หว่า นี่นักเลง” (หัวเราะ)

มีคนเขาพูดกันมากนะ ลูกศิษย์เราเอาซีดีไปเปิด ไปเปิดกัน นั่งฟังกัน แล้วคนเขาไปนั่งฟังข้างๆ ด้วย แล้วเขาบอกลูกศิษย์มา “พระอะไรวะ นักเลงฉิบหายเลย” (หัวเราะ) เขาฟังซีดี “พระอะไรวะ นักเลงฉิบหายเลย” เวลาเขาพูด เขาพูดกันอย่างนั้น

แต่ถ้าในวงการกรรมฐานนะ เวลาครูบาอาจารย์เราอยู่กับหลวงปู่มั่น ถ้าวันไหนเสียงดังปั๊บนะ โอ้โฮ ลูกศิษย์วิ่งเข้ามาเลยนะ

“เฮ้ย ฟ้าผ่าเว้ย ฝนตกเว้ย ฝนกำลังจะตก ฟ้าร้องมาแล้ว” วิ่งเข้ามาฟังกันใหญ่เลย ถ้าเสียงดังทีไรนะ โอ้โฮ วันนั้นธรรมะยอดเยี่ยมเลย ถ้าพูดกิริยามารยาทก็พูดกันเรียบๆ มันก็อย่างนั้นน่ะ

ในมุมกลับ ในมุมกลับนะ ในผู้ที่ฟังจนเคยชิน เขาอยากจะฟังสิ่งที่ลึกซึ้ง ฟังสิ่งที่สะเทือนกิเลส สะเทือนหัวใจ เขาต้องให้ทิ่มถึงหัวใจเลย

คนที่ปฏิบัติ เหมือนเรานี่เป็นโรคร้าย เราต้องการยา ต้องการการรักษา ถึงที่สุดให้สิ้นจากกิเลส ให้สิ้นจากโรคได้ ให้โรคหายให้ได้ เขาต้องใช้ยาที่คุณภาพดีที่สุด

ทีนี้ไอ้พวกที่ไม่ได้เป็นไข้ เป็นเจ็บป่วยเลย มันก็ไม่เอาเนาะ แค่ยาดมมันยังไม่อยากดมเลย เหม็น แต่ถ้าเป็นลม มันจะอยากได้ยาดม พอพระพูดแรงๆ โอ้โฮ พระนักเลง

เนี่ยสังคม สังคมของเขาอย่างหนึ่ง สังคมของกรรมฐานอย่างหนึ่ง สังคมของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติออกต่อสู้กับกิเลส เขาไม่เข้าใจ นี่ถ้าเขาไม่เข้าใจ เห็นไหม โลกเป็นใหญ่ ถ้าเราเชื่อตามไปนะศาสนาเรียวแหลมเลย

ไม่กล้าพูด กลัวเขาติ กลัวเขาว่าเป็นนักเลง “ก็คุณโยมๆ” กันตลอดไป กิเลสมันก็เลยหัวเราะเยาะเลย กิเลสมันก็เลยขี่หัวตลอด แต่พอเข้ามาวัด มันโดนทิ่มเข้าไปๆ กิเลส พอมันโดนธรรมะเข้าไป มันก็ชักต้องหาทางต่อสู้ นี่เวลาเขาพูดกันทางโลก แล้วเวลามันเป็นไปนะ เพราะเราอยู่กับครูบาอาจารย์มา เราก็เหมือนโยม บวชใหม่ๆ

“พระองค์ไหนไม่จริง กูไม่อยู่ด้วย”

“พระองค์ไหนพูดอย่างทำอย่าง เราไม่คบ ไม่ฟัง”

เจอเยอะมาก อวดพูดธรรมะ แต่พฤติกรรมมันไม่ใช่ พอไม่ใช่ นี่มันไม่จริง แต่หลวงตานี่นะ เวลาท่านพูด หลวงตา พูดถึงเวลา สิ่งที่พระสิ้นกิเลสแล้ว ต้องไม่ผิดธรรมวินัยเลย เวลาทำ เห็นไหม

เราบอก มันไม่ใช่ คำว่า “ปาปมุต” ดูสิ ปาปมุตมันไม่ผิด เหมือนกับพระจักขุบาล พระจักขุบาลเป็นพระอรหันต์แต่ตาบอด แล้วคืนนั้นที่ฝนตก แล้วพระจักขุบาลเดิน เพราะแมลงมันเยอะมาก เหยียบแมลงตาย พระเหยียบแมลงตาย “ภิกษุทำให้สัตว์ตาย เป็นอาบัติปาจิตตีย์” แล้วพระเขามาเจอไง พอมาเจอ ไปฟ้องพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอก

“ไม่ใช่ ไม่เป็นอาบัติ เพราะพระจักขุบาลเป็นพระอรหันต์ เป็นปาปมุต”

ปาปมุตหมายถึงไม่ผิด ไม่เป็น ไม่เป็นอาบัติ ไม่เป็นอาบัติ ปาปมุตไม่เป็นอาบัติ แต่เราไปคิดกันว่า “ไม่ทำอาบัติ ไม่ทำ” ทีนี้พอไม่ทำ เราจะบอกว่าอย่าง ยกหลวงตาบ่อย เพราะคำว่าหลวงตา เวลาท่านมาหาเรา บางอย่าง ภิกษุ (ไม่อยากพูดเลย แต่มันเป็นเหตุผล) ภิกษุ เวลาปัสสาวะ อะไรนะ ยืน เป็นอาบัติหมด

แล้วท่านมาที่โพธาราม ท่านยืน ท่านพูดกับเราเอง “มันนั่งไม่ได้ มันนั่งไม่ได้แล้ว หัวเข่ามันล็อคหมดแล้ว” แล้วอย่างนี้เป็นอาบัติไหม? แต่โลกมันไม่ยอมรับ โลกว่าเป็น เพราะตามกฎหมายเขียนว่าเป็น นี่ไง มันไม่เข้าใจกัน มันดูกันไม่ออก

ถ้าใจไม่เป็นธรรมนะไม่เข้าใจ ถ้าใจเป็นธรรมด้วยกันนะ มันเข้าใจได้หมดเลย เข้าใจได้ เพราะธรรมวินัยนี่นะ เอาไว้บังคับพวกเรา พวกมีกิเลส เอาไว้สอนคนมีกิเลส

แต่พระอรหันต์ไม่ต้องสอน พระอรหันต์คือพ้นไปแล้ว แล้วพอพ้นไปแล้ว มันถึงบอกว่า “มันเป็นสติวินัย ไม่มีอาบัติ” ทีนี้ไม่มีอาบัติ สมัยพุทธกาลเขาต้องสวดยกขึ้นมาว่าเป็นสติวินัย แต่ในปัจจุบันมันไม่มีใครสวด แต่มันมีอยู่ในปาฏิโมกข์ไง

“สมฺมุขาวินโย ทาตพฺโพ, สติวินโย ทาตพฺโพ” คือ ๗ ข้อนี้ไม่ผิดอาบัติ

ในปาฏิโมกข์ก็มี ทุกอย่างก็มี พระพุทธเจ้าเอาไว้เวลา เพียงแต่พวกเราใช้เป็นไม่เป็น อันนี้พูดถึงเวลา ผู้ที่ผ่านพ้นไปแล้วก็เข้าใจเรื่องนี้ทั้งหมด นี่พูดถึงว่ามันเป็นธรรมเนาะ

ถ้าไม่มีอะไรเนาะ เอวัง